เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: Wu Zetian ที่ 30 ก.ค. 16, 11:34



กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 30 ก.ค. 16, 11:34
ผมได้ยินคนไทยส่วนใหญ่มักจะพูดว่า คณะราษฎร์ (คะ-นะ-ราด)
มากกว่า คณะราษฎร (คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน) ผมจึงสงสัยว่า
การออกเสียงและการเขียนสะกดคำดังกล่าว ที่ถูกต้อง ควรใช้อย่างไรครับ

ขอบพระคุณครับ


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ค. 16, 11:45
ชื่อจริงเค้าชื่อ คณะราษฎร
คณะราษฎร์ เป็นชื่อเล่นครับ

คนไทยไม่ชอบเรียกชื่ออะไรยาวๆ ใครยาวมาก็ถูกจับย่อหมด  คณะราษฎรเลยถูกเรียกคณะราด


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ก.ค. 16, 13:27
    มาขยายความให้คุณ  Wu Zetian อ่านค่ะ
    ภาษาไทยดั้งเดิมเป็นคำโดด   หมายถึงเป็นคำเดียว   เช่นพ่อ แม่   ต่อมาเรารับศัพท์บาลีสันสกฤตมาใช้ ผ่านทางพระไตรปิฎก และวัฒนธรรมที่ผ่านจากอินเดียมาทางลังกา  และจากอินเดียผ่านขอมมาอีกที    ชื่อทางการของไทยจึงกลายเป็นศัพท์ยาวๆสองสามคำขึ้นไป เช่นบิดา มารดา    ในเอกสารราชการประวัติของบุคคล  ก็มีระบุชื่อบิดา ชื่อมารดา ไม่ใช้คำว่าชื่อพ่อ ชื่อแม่
    แต่คนไทยก็ยังชินกับศัพท์สั้นๆ  จึงมีการย่อคำยาวๆลงให้สั้นลงโดยเอ่ยถึงแต่คำหน้าๆ  คำหลังๆทิ้งไป เพื่อความสะดวกปาก     คณะราษฎร  จึงเป็นคณะราษฎร์    พระยาพหลพลพยุหาเสนา ก็เป็น พระยาพหล    พระยาทรงสุรเดช เป็นพระยาทรง    ชื่อคุณเพ็ญชมพู บางครั้งดิฉันก็เรียก "คุณเพ็ญ" หรือ "คุณหมอเพ็ญ"
    ถ้าคุณ Wu Zetian มีชื่อไทยยาวหน่อย เช่น เสถียรศักดิ์    เพื่อนอาจจะย่อลงเป็น เถียน  หรือเสถียร   ก็เป็นอันรู้ว่าหมายถึงคนเดียวกัน


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 16, 11:45
        แต่คนไทยก็ยังชินกับศัพท์สั้นๆ  จึงมีการย่อคำยาวๆลงให้สั้นลงโดยเอ่ยถึงแต่คำหน้าๆ  คำหลังๆทิ้งไป เพื่อความสะดวกปาก      คณะราษฎร  จึงเป็นคณะราษฎร์    พระยาพหลพลพยุหาเสนา ก็เป็น พระยาพหล    พระยาทรงสุรเดช เป็นพระยาทรง    ชื่อคุณเพ็ญชมพู บางครั้งดิฉันก็เรียก "คุณเพ็ญ" หรือ "คุณหมอเพ็ญ"

เรื่องเรียกแต่คำหน้าโดยตัดคำหลังไปนี่ ก็ไม่แน่เสมอไป อย่างชื่อคุณประกอบ ถ้าให้เรียกสั้น ๆ คงไม่เรียกว่า "คุณประ" ถนัดที่จะเรียกว่า "คุณกอบ" มากกว่า  ;D


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 16, 13:02
ก็ไม่มีใครห้ามนี่คะ  ถ้าจะเรียกคุณ "ประ"   


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ส.ค. 16, 14:32
เอาน่า หมอพูน่า เรื่องพรรค์นี้ มันไม่มีหลักเกณฑ์อะไรน่า นะครับ ๆ


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 16, 14:39
จริงค่ะ คุณนะ


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ส.ค. 16, 14:49
นี่ก็คุณพูเหมือนกัล


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 16, 15:24
ปรกติเมื่อชื่อซ้ำกันมักจะต้องมีคำขยายให้ทราบว่าใครเป็นใคร มีคนรู้จักอยู่ ๒ คนชื่อเล่นว่า "ปุ๊ก" เหมือนกัน คนหนึ่งเป็นรุ่นพี่ตัวเล็ก อีกคนหนึ่งเป็นรุ่นน้องแต่ตัวใหญ่  เวลาเอ่ยถึงถ้าเรียกว่า "ปุ๊ก" เฉย ๆ จะงงว่าหมายถึงคนไหน จึงเรียกคนพี่พร้อมคำขยายว่า "ปุ๊กใหญ่ตัวเล็ก" ส่วนคนน้องคือ "ปุ๊กเล็กตัวใหญ่"  ;D


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 16, 15:37
มีประสบการณ์คล้ายกันค่ะ   
สมัยไปเรียนไกลบ้าน มีนักเรียนไทย 2 คนชื่อเล็กเหมือนกัน คนหนึ่งตัวสูงและใหญ่กว่าอีกคน  เพื่อนฝูงเรียกกันว่า "เล็กใหญ่"  อีกคนที่ตัวเตี้ยและเล็กกว่า ชื่อ "เล็กเล็ก"
เกิดมาในยุคที่ชื่อเล่นของเด็กผู้หญิงยังเป็นชื่อไทย และไม่หลากหลาย   ชื่อ "ติ๋ม" เป็นหนึ่งในชื่อยอดนิยมของเด็กผู้หญิง ซ้ำกันเยอะแยะ
ที่คณะสีเทา จึงมี "ติ๋มเล็ก" "ติ๋มใหญ่"  เรียกกันมาจนทุกวันนี้


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 01 ส.ค. 16, 16:23
ของผม
มีเพื่อนในรุ่นเดียวกัน ชื่อเจี๊ยบ เหมือนกันแต่เป็นชายหนึ่งคน และหญิงหนึ่งคน
สองคนนี้ที่ไปฝึกงานที่เดียวกัน พี่ในที่ทำงานจึงเรียก เจี๊ยบผู้ชายว่า "เจี๊ยบศักดิ์" ส่วนเจี๊ยบผู้หญิง เรียกว่า "เจี๊ยบศรี" ครับ
 :D :D :D


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ส.ค. 16, 17:45
ที่ห้องนี้ไม่มีพูใหญ่พูเล็กครับ มีแต่หมอพูกับจารย์พู หรือจะเรียกพูใหญ่ กับพูใหญ่กว่าก็ได้


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 16, 18:18
ไม่เรียกพูศักดิ์ กับพูศรี หรือคะ

Navarat กับ Naris  จะเป็น "นะ" อะไรดี


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 16, 18:21
เล่นมุกกันหลายค.ห. คุณ Wu Zetian  จะงงไหมนี่


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ส.ค. 16, 18:58
ฝรั่งก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว    เมื่อยังไม่รู้จักสนิทกันดี ก็จะเรียกชื่อสกุล เมื่อรู้จักกันสนิทดีแล้วก็เรียกชื่อหน้า (ชื่อตัว)  แต่หากชื่อตัวยาวเกินไปก็จะเรียกให้สั้นลงด้วยการแปลงไปเลยอย่างเป็นสากล (เช่น Bill, Doc, Bob ฯลฯ)   ก็เลยทำให้มีการเรียกชื่อที่ซ้ำกันเยอะ เช่น ชื่อสกุล Smith และชื่อตัว John เป็นต้น

คนจีนก็มีเรื่องเช่นนี้เหมือนกัน เช่น ชื่อสกุล Lee ที่มีอยู่มากในมาเลเซีย เป็นต้น  แถมยังใช้สลับกันอีกในการเรียกหรือเขียนชื่อ มีทั้งแบบการเรียกชื่อสกุลก่อนและการเรียกชื่อตัวก่อน   เกาหลียิ่งหนักเข้าไปอีกเพราะมีชื่อสกุลอยู่น้อยแต่มีคนใช้ร่วมกันมาก

ของญี่ปุ่นก็แปลกเขาไปอีก ไม่มีการตั้งนามสกุลไหม่ ดังนั้นจึงมีนามสกุลที่ต้องจำหน่ายออกไปเมื่อหมดชุดของคนที่ใช้นามสกุลนั้นๆ แถมมีการประกาศกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ส.ค. 16, 19:11
ทางแก้ของการเรียกบุคคลที่ชื่อซ้ำกันก็เลยใช้วิธีเติมสร้อยท้ายชื่อลงไป   

ในวงสังคมใหญ่ (ในเมือง) ก็มีทั้งการใช้ลักษณะทางกายภาพหรือบุคลิกของคนนั้นๆต่อท้ายชื่อเล่นหรือชื่อจริง  ก็มีที่บ้างก็เรียกชื่อจริงต่อท้ายด้วยชื่อเล่น บ้างก็เรียกชื่อเล่นแล้วต่อท้ายด้วยชื่อจริง   

สำหรับในวงสังคมขนาดเล็ก (ขนาดตำบลหรือหมู่บ้าน) ก็เรียกชื่อคนแล้วต่อท้ายด้วยสร้อยเหมือนกัน โดยเรียกชื่อตัวด้วยชื่อเล่นแล้วต่อด้วยสร้อยที่มักจะเป็นชื่อสถานที่ๆบุคคลนั้นๆอยู่อาศัยหรือความถนัดในการทำมาหากิน  ก็เลยเป็นเรื่องปกติที่แต่ละคนก็มักจะจำชื่อจริงของคนอื่นๆไม่ได้   


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 02 ส.ค. 16, 13:12
ผมขอขอบพระคุณ
อาจารย์เทาชมพู
อาจารย์เพ็ญชมพู
อาจารย์ Navarat.C
อาจารย์ naitang
อาจารย์ Naris
เป็นอย่างสูงครับ


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 02 ส.ค. 16, 21:06
ทางแก้ของการเรียกบุคคลที่ชื่อซ้ำกันก็เลยใช้วิธีเติมสร้อยท้ายชื่อลงไป   

ในวงสังคมใหญ่ (ในเมือง) ก็มีทั้งการใช้ลักษณะทางกายภาพหรือบุคลิกของคนนั้นๆต่อท้ายชื่อเล่นหรือชื่อจริง  ก็มีที่บ้างก็เรียกชื่อจริงต่อท้ายด้วยชื่อเล่น บ้างก็เรียกชื่อเล่นแล้วต่อท้ายด้วยชื่อจริง   

สำหรับในวงสังคมขนาดเล็ก (ขนาดตำบลหรือหมู่บ้าน) ก็เรียกชื่อคนแล้วต่อท้ายด้วยสร้อยเหมือนกัน โดยเรียกชื่อตัวด้วยชื่อเล่นแล้วต่อด้วยสร้อยที่มักจะเป็นชื่อสถานที่ๆบุคคลนั้นๆอยู่อาศัยหรือความถนัดในการทำมาหากิน  ก็เลยเป็นเรื่องปกติที่แต่ละคนก็มักจะจำชื่อจริงของคนอื่นๆไม่ได้   

คิดถึงบรรดาเพื่อนร่วมรุ่นของขุนแผน ที่คุณเพ็ญชมพูเคยนำเสนอไว้ โดยเฉพาะคนสุดท้ายมีลักษณะเฉพาะตัวพิเศษกว่าบุรุษทั่ไป


๓๕ เดนตายสหายขุนแผนออกโรงอีกครา 

ตามคำรายงานตัวมีทั้งไทย, มอญ, ลาว,จีน แถม ละว้า ให้อีกเชื้อชาติหนึ่ง (ไม่ยักมีแขก) เป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ

ขอให้สังเกตว่าคำรายงานตัวมีแบบฟอร์มเดียวกันคือ ชื่อตัว, ชื่อเมีย และโทษที่ต้องติดคุก

ต่อมาข้านี้อ้ายสีอาด                       เมียชื่ออีกงราดพระเจ้าข้า
คบไทยไล่ปล้นบ้านละว้า                  แล้วเข่นฆ่าลาวชื่อท้าวเสน
ขึ้นย่องเบาเอาบาตรผ้าพาดเณร           ทุบตาเถรแล้วซ้ำปล้ำหลวงชี

อ้ายมอญมือด่างบางโฉลง                 เมียชื่ออีโด่งเป็นชาวเหนือ
ลักถ้วนลักถี่ทั้งตีเรือ                       ครกกระบากสากกะเบือไล่เก็บครบ

อ้ายมากสากเหล็กปล้นเจ๊กกือ            เมียมันตาปรือชื่ออีเสา

อ้ายสงผัวอีคงอยู่กงคอน                   ตีชิงผ้าผ่อนฆ่ามอญเสีย

อ้ายจันผัวอีจานบ้านกะเพรา                โทษปล้นจีนเก๊าเผาโรงเจ๊ก
ยิงปืนปึงปังประดังโห่                       แล้วเอาสันพร้าโต้ต่อยหัวเด็ก

อ้ายเกิดกระดูกดำผัวอีคำด่าง               โทษสะดมกรมช้างกับหมอมั่น
ปล้นละว้าป่าดงคงกระพัน                   กระหำไขว้ไข่ดันเป็นทองแดง


เพื่อนร่วมรุ่นขุนแผนแต่ละคน มีประวัติดุเด็ดเผ็ดมัน

 ยิงฟันยิ้ม





กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 03 ส.ค. 16, 09:11
เอ่อ พี่ Wu ขะรับ กระผมหาใช่อาจารย์ไม่ เป็นแต่เพียงเด็กหลังห้องแอบประสมโรงยามอาจารย์เขาคุยกันเท่านั้นครับ


กระทู้: คำว่า "คณะราษฎร" กับ คำว่า "คณะราษฎร์" ในภาษาไทยสะกดได้ทั้งสองแบบ ใช่ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ส.ค. 16, 09:32
อัตตลักษณ์ไอ้เกิด คนสุดท้ายนั่นพิลึกแท้ แต่ละอย่างพิสูจน์ยากทั้งนั้น ใครจะกล้าไปคลำของๆมัน