เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 09:41



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 09:41
ตั้งหัวข้อกระทู้เรียกเรตติ้งไว้ก่อนค่ะ

สิบกว่าปีก่อนตอนตลาดร้อยปีสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรีเปิดกิจการใหม่ๆ   ผู้คนตื่นเต้นแห่กันล้นหลามโดยเฉพาะในวันอาทิตย์     ดิฉันก็ไปกับเขาเหมือนกัน เพราะอยากเห็นสภาพในอดีตว่าเป็นยังไง  ตอนนั้นตลาดโบราณยังเป็นของใหม่มากสำหรับนักท่องเที่ยว

เดินชมร้านด้วยความเพลิดเพลิน  แวะเข้าไปในร้านถ่ายรูปโบราณ  มีเสื้อผ้าจัดให้เสร็จเพื่อถ่ายรูป  ก็นึกสนุกกับพรรคพวกที่ไปด้วยกัน  ถ่ายกันมาคนละใบสองใบ 
เจ้าของร้านถ่ายได้เนียนมาก   ดูรูปแล้วเหมือนกำนันกับอำแดงยังไงยังงั้นเปี๊ยบเลย  ยังใส่กรอบตั้งโชว์ไว้จนทุกวันนี้  ลูกสาวชอบมาก เมื่อไปเรียนต่อก็เอาพ่อกำนันและแม่อำแดงไปตั้งดูที่หัวนอนด้วย

ในร้านนี้เอง เจ้าของร้านประดับประดาผนังด้วยภาพถ่ายเก่าแก่ที่อัดขยายใหม่ หลายภาพด้วยกัน   ดิฉันสะดุดตากับภาพหนึ่งเป็นชายหนุ่มในเครื่องแบบนายทหารอากาศรุ่นเก่า     เพิ่งเห็นเป็นครั้งแรกว่าคนโบราณที่หน้าตาท่วงท่าสง่างาม   และดูทันสมัยไม่แพ้พระเอกหนังยุคนี้มีอยู่เหมือนกัน คือท่านผู้อยู่ในภาพถ่ายนั้นเอง
ถามเจ้าของร้านว่า เป็นภาพของใคร     เจ้าของร้านตอบว่า พระยาเฉลิมอากาศ   
เพิ่งเคยได้ยินราชทินนามนี้ครั้งแรก   เขายังบอกด้วยว่าท่านเป็นชาวศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี  ชื่อเดิมของท่านคือสุนี สุวรรณประทีป

เห็นแล้วอยากทำอย่างคุณนางมารน้อย คือเดินทะลุกระจกไปดูตัวจริงของท่านในสมัยรัชกาลที่ ๖  ค่ะ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 09:53
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 11:15
ถ่ายเมื่อเป็นนายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ขณะศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 พ.ย. 14, 12:00
หน้าตาท่าทางของท่าน เป็นพระเอกหนังได้สบายๆ
อย่างรูปข้างบนนี้ เหมือนไชยา สุริยัน พระเอกสมัยผมเป็นวัยรุ่น


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 10 พ.ย. 14, 13:06
ภาพล้อเส้นหมึก ฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๖



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 13:41
พาเดินกลับไปในอดีต ก่อนรัชกาลที่ ๖ ก่อนค่ะ
เริ่มตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์  กำลังทัพของไทยมีอยู่ทัพเดียว   เป็นทัพบกบุกป่าฝ่าดงกันไปเวลาไปทำศึก  ถ้าต้องล่องไปตามลำน้ำก็กลายเป็นทัพเรือไปโดยปริยาย  แต่แล้วก็ต้องกลับเป็นทัพบกกันตอนปลายทางเมื่อเผชิญกับข้าศึก   
จนกระทั่งในรัชกาลที่ ๕  เราจึงเริ่มมีทหารมะรีนกัน อย่างที่ท่าน NAVARAT.C  อธิบายเอาไว้ในหลายกระทู้  ขาประจำคงอ่านกันมาหมดแล้ว ไม่ต้องเล่าซ้ำ

พอถึงรัชกาลที่ ๖  จากการที่สยามเปิดประเทศรับตัวแทนฝรั่งตะวันตกอย่างเสมอต้นเสมอปลาย    เราจึงทันโลกทันเหตุการณ์ พอจะรู้ว่าบัดนี้ได้เกิดกำลังทัพอย่างใหม่ขึ้นมาแล้วในโลกของยุโรป เจ้าแห่งวิทยาการในยุคนั้น 
นั่นคือ เวหานุภาพ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 21:26
    เกริ่นมาพอสมควรแล้ว ถึงเวลาเปิดตัวพระเอกของกระทู้นี้เสียที

    ขอย้อนเหตุการณ์กลับไปที่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่ ๓   คงจำได้ว่าเป็นยุคที่ไทยเปิดประเทศ รับคนจีนเป็นจำนวนมากให้เข้ามาเป็นแรงงานในสังคมไทย   ทำให้หนุ่มจีนทั้งหลายตัดสินใจจะมาแสวงโชคในดินแดนขวานทองแห่งนี้  หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นจีนแคะ แซ่โอ้ว ชื่อตัวชื่อเทียน   เดินทางข้ามทะเลมาจนถึงสยาม  เมื่อมาแล้วไม่ได้หยุดอยู่ในกรุงเทพ แต่ว่าเดินทางแสวงโชคต่อไปจนถึงสุพรรณบุรี
   นายเทียนไปของานทำเป็นลูกจ้างอยู่ที่บ้านคหบดีริมแม่น้ำสุพรรณ    ในตำบลที่ปัจจุบันคือตำบลวังน้ำซับ    นายเทียนก็เช่นเดียวกับคนจีนโดยมากคือทำงานขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์  จนเจ้าของบ้านไว้เนื้อเชื่อใจ  นายเทียนจึงเลื่อนฐานะจากลูกจ้างขึ้นมาเป็นลูกเขย เพราะนายจ้างยกลูกสาวชื่อทองคำให้เป็นภรรยา
   นายเทียนกับนางทองคำมีลูกชายด้วยกัน 4 คน  ชื่อนายเงิน นายทอง นายนาค และนายปิ่น     เมื่อมีครอบครัว นายเทียนก็สร้างฐานะขึ้นมาเป็นปึกแผ่น   ปลูกเรือนแพหลายหลังเป็นร้านค้า  ขายของกินของใช้ตั้งแต่ข้าว ถ้วยชาม ไม้ขีดไฟ เครื่องสังฆภัณฑ์ไปจนอิฐและฟืน   ดูจากสินค้า นายเทียนน่าจะได้เงินทองเป็นกอบเป็นกำทีเดียวจากร้านโชห่วยริมน้ำเหล่านี้  เพราะเป็นของจำเป็นใครๆก็ต้องซื้อกันทั้งนั้น



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 11 พ.ย. 14, 01:00
ลงชื่อเข้าเรียนไว้ก่อนนะครับคุณครู


ผมนั่งอยู่แถวที่สามสิบห้า โต๊ะตัวที่สิบแปดจากหน้าห้องครับ
เผื่อแอบอู้ นั่งกินขนมหลังห้องคร้าบ....

 ;D ;D ;D ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 11:15
เอาของว่างมาแจกนักเรียน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 11:20
ภารโรงขอแบ่งมาสักจานหนึ่ง ได้เวลาอาหารกลางวันแล้ว  

นักเรียนโต๊ะตัวที่สิบแปด รับประทานแล้วช่วยเอาใบตองทิ้งถังขยะ แล้วเอาจานไปที่ล้างด้วย  เดี๋ยวภารโรงจะล้างให้เอง ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 11:27
นายทอง บุตรคนหนึ่งของนายเทียนไปแต่งงานกับสาวชาวเมืองหลวงชื่อนางสาวหรุ่น  ชาวย่านวัดเกาะสัมพันธวงศ์     พามาอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อ.ศรีประจันต์ จ. สุพรรณบุรีด้วยกัน      มีบุตรธิดาอย่างละ 1 คน
เด็กชายบุตรคนแรกเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน  จ.ศ. ๑๒๔๙  ตรงกับวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๐   เมื่อเกิด มีฝนตกฟ้าผ่า   นายทองจึงตั้งชื่อบุตรชายตามเหตุการณ์นั้นว่า "อสุนี" แปลว่า สายฟ้า    แต่ไม่มีใครเรียกชื่อเต็ม  คงเรียกกันว่า สุนี  ต่อมาก็กลายไปอีกที  คือสะกดว่า สุณี  ส่วนน้องสาวคนเล็ก ชื่อว่า เติม

ต่อมาเมื่อสุนีอายุราว ๘ ขวบ  นางหรุ่นผู้มารดาย้ายกลับมาอยู่บ้านเดิมที่สัมพันธวงศ์     ส่วนสามีกับบุตรชายยังอยู่ที่ศรีประจันต์   นายทองในตอนนั้นทำกิจการโรงสี   ก็ฝึกหัดให้บุตรชายค้าขาย และติดเรือขนข้าวไปดูการค้าข้าวที่บางกอก
ถ้าหากว่าเด็กชายสุนีพอใจกับการค้าขายข้าวต่อไปจนโตเป็นหนุ่ม  ราชอาณาจักรสยามก็คงจะได้เถ้าแก่เจ้าของโรงสีเพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่ง  แต่วาสนาของเด็กชายจะไปได้ไกลกว่านั้น  สุนีจึงไม่ประสงค์จะยึดอาชีพค้าขายอย่างบิดา  แต่อยากจะไปเรียนหนังสือให้สูงกว่านี้ เล่าเรียนวิชากฎหมายจนเป็นนักกฎหมาย


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 11:28
ครูขอเวลานอก  กลับมาจะช่วยภารโรงล้างจานเอง


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 12:43
เด็กชายสุนี ถ่ายเมื่ออายุราว ๑๔-๑๖ ปี  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 13:00
ได้เวลาล้างจาน

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley25.png)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: ศุศศิ ที่ 11 พ.ย. 14, 16:47
เข้ามาจองโต๊ะเรียน  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 11 พ.ย. 14, 18:42
มาไม่ทันของว่างแฮะ เก็บล้างกันไปเรียบร้อยแล้ว


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 19:12
แทนที่จะบอกว่ามาไม่ทันเรียน กลับเสียดายที่มาไม่ทันกิน  มันน่า...
 >:(

เมื่อเด็กชายสุนีนั่งเรือบรรทุกข้าวสารของบิดาไปถึงบางกอก   สุนีขึ้นจากเรือไปเยี่ยมมารดาแล้วตัดสินใจว่าจะไม่กลับสุพรรณบุรี แต่จะขออยู่กรุงเทพกับแม่ดีกว่า ก็เลยขออนุญาตบิดาว่าจะอยู่กรุงเทพเพื่อดูแลมารดา และมีโอกาสได้เข้าโรงเรียนด้วย
ตรงนี้คือหัวเลี้ยวหัวต่อ ครั้งแรกของเด็กชายสุนี ที่จะนำอนาคตอันยาวไกลมาสู่เขา

โชคเข้าข้างเด็กชาย  นายทองอนุญาตให้สุนีอยู่กรุงเทพได้   ทั้งๆท่านก็หวังว่าจะให้บุตรชายเจริญรอยทางค้าขายตามท่าน    ส่วนคุณนายหรุ่นคิดไปอีกอย่างคืออยากให้สุนีเรียนสูงๆเพื่อประกอบอาชีพหมอ หรือครูต่อไปภายหน้า    แต่เด็กชายสุนีไม่อยากทำทั้งสองอย่าง  เขาอยากเรียนกฎหมายมากกว่า

สุนีเข้ากรุงประมาณพ.ศ. ๒๔๓๘ คือเมื่ออายุ ๘ ขวบ    เข้าเรียนในโรงเรียนหลายแห่ง  แรกทีเดียวก็โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส หรือร.ร.วัดสามปลื้ม   ไปต่อที่ร.ร.วัดมหาพฤฒาราม และจบชั้นมัธยมปีที่ ๔ จากโรงเรียนสวนกุหลาบเมื่ออายุ ๑๘ ปี



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 20:42
  หัวเลี้ยวหัวต่อครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อสุนีตัดสินใจ เลือกเส้นทางอื่นนอกจากเส้นทางกฎหมายอย่างที่ตั้งใจแต่แรก     เส้นทางนั้นคือโรงเรียนนายร้อยทหารบก  เหล่าทหารช่าง

 ประวัติของพระยาเฉลิมอากาศในช่วงนี้ ไม่ทราบว่าพิมพ์ผิดหรืออย่างไร เพราะบอกว่าท่านจบม. ๔ จากร.ร.สวนกุหลาบเมื่ออายุ ๑๘ ปี    และจบจากร.ร.นายร้อยทหารบกเมื่ออายุ ๑๘ เช่นกัน    มันน่าจะเป็นว่าท่านจบจากร.ร.สวนกุหลาบเมื่ออายุ ๑๕  แล้วมาสอบเข้าร.ร.นายร้อย เหล่าทหารช่างเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๖  เรียนจบเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๘ ติดยศนายร้อยตรีทหารบก  ประจำกรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์

ทหารช่างเป็นเหล่าเทคนิค  นักเรียนที่สอบได้คะแนนดีเยี่ยมเท่านั้นจึงจะเข้าเป็นทหารช่างได้    นายร้อยตรีสุนีเป็นนักเรียนเก่งคนหนึ่ง  เห็นได้จากเมื่อเรียนจบแล้ว  ทางร.ร.นายร้อยเรียกให้ไปเป็นครูสอนแผนที่ให้นักเรียนนายร้อยรุ่นน้อง
ชีวิตนายทหารก้าวหน้าด้วยดี  เมื่ออายุ ๒๑  ได้เป็นนายร้อยเอก และเมื่ออายุ ๒๓ ปีก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 20:55
    ในช่วงเวลาที่พระเอกของกระทู้นี้เริ่มเป็นหนุ่ม    โลกกำลังตื่นเต้นกับโพยมยาน   เหล็กบินได้บนอากาศ  หลังจากเป็นแค่ความฝันของมนุษยชาติมาหลายพันปีว่าจะบินได้อย่างนก      นับแต่พี่น้องตระกูลไรต์พาเครื่องบินขึ้นทดลองบินได้สำเร็จ  เครื่องบินก็เป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองความตื่นเต้นอัศจรรย์ใจของคนทั้งโลก
    ราชอาณาจักรสยามได้มีโอกาสต้อนรับโพยมยานเป็นครั้งแรกใน ๖ ปีต่อมา   คือปีแรกในรัชกาลที่ ๖  ห้างบางกอกด็อกสั่ง "เรือเหาะ" มาบินให้ชมเป็นครั้งแรกในปลายเดือนมกราคมต่อกับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓  (ถ้าเป็นปัจจุบันนับเป็น ๒๕๕๔) มีนักบินฝรั่งชาวเบลเยี่ยมชื่อชื่อนาย  Charles van den Born เป็นนักบินสาธิต   จุดมุ่งหมายคือจะขายประดิษฐกรรมใหม่ล้ำยุค แก่กระทรวงกลาโหมของสยาม พร้อมแถมฝึกหัดนักบินให้ด้วย
   ระหว่างนำมาแสดงการบิน  ก็หารายได้ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ดูขึ้นเครื่องบินไปชมทัศนียภาพบนพื้นดินได้  คิดเที่ยวละ ๕๐ บาท  เมื่อมีคนสนใจมากขึ้นก็เพิ่มราคาขึ้นไปเป็น ๑๐๐ บาท   ในยุคที่ปลาทูเข่งละ ๑ สตางค์  ราคานี้เห็นจะมีแต่เศรษฐีเท่านั้นขึ้นไปได้

   ถึงเวลาต้องลงเรือนไปอีกแล้วค่ะ  คราวนี้นักเรียนทั้งหลายไม่ต้องกลัวจะปิดชั้นเรียน จนอดของว่าง   ดิฉันได้ติดต่อเชิญอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญหลายกระทู้มาสอนต่อให้แล้ว  อดใจรอท่าน NAVARAT.C   สักครู่
   เผลอๆภารโรงระดับผู้อำนวยการร.ร. จะเข้ามาแจมด้วย 


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 21:29
ราชอาณาจักรสยามได้มีโอกาสต้อนรับโพยมยานเป็นครั้งแรกใน ๖ ปีต่อมา   คือปีแรกในรัชกาลที่ ๖  ห้างบางกอกด็อกสั่ง "เรือเหาะ" มาบินให้ชมเป็นครั้งแรกในปลายเดือนมกราคมต่อกับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓  (ถ้าเป็นปัจจุบันนับเป็น ๒๕๕๔) มีนักบินฝรั่งชาวเบลเยี่ยมชื่อชื่อนาย  Charles van den Born เป็นนักบินสาธิต   จุดมุ่งหมายคือจะขายประดิษฐกรรมใหม่ล้ำยุค แก่กระทรวงกลาโหมของสยาม พร้อมแถมฝึกหัดนักบินให้ด้วย

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

ในปลายเดือนมกราคม, พ.ศ. ๒๔๕๓, ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เปนครั้งแรก ผู้ที่จัดการนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในนี้เปนบริษัทฝรั่งเศสชื่อ "บริษัทการบินแห่งปลายบุรพเทศ" ("Societe d' Aviation de L' Extreme Orient") และนักบินชื่อวันเด็นบอร์น (Van den Born). ได้ขออนุญาตเก็บเงินคนดูโดยปิดถนนสนามม้า, ปะทุมวัน, และใช้สนามม้าของราชกรีฑาสโมสรเปนสนามบิน. การบินมี ๕ วัน, คือวันที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๔, ที่ ๕, ที่ ๖ มีผู้รับให้รางวัลทุกวัน, และของกะลาโหมมีเปนประจำทุกวัน, เพราะเขารับฝึกหัดนายทหารของเราให้ใช้เครื่องบินด้วย. เครื่องที่นำเข้ามาครั้งแรกเปนเครื่องปีก ๒ ชั้น ไม่มีที่คนโดยสารขึ้น, ฉนั้นถ้าใครอยากจะโดยสารก็ต้องยืนเกาะไปข้างหลังคนขับ, ออกจะน่าเสียวใส้อยู่บ้าง. ได้มีคนไทยลองขึ้นกันหลายคน, เจ้านายมีกรมอดิศร, กรมกำแพงเพ็ชร์ และกรมสรรควิสัยนรบดี, พวกเหล่านี้กล่าวว่าไม่น่ากลัวกว่าขึ้นรถยนตร์, แต่ในเวลานั้นออกจะมีคนเห็นด้วยน้อยทีเดียว. ตามความจริงเครื่องบินในเวลานั้นก็ยังไม่ดีเท่าในเวลานี้จริง ๆ ด้วย, และยังมีข่าวตกหล่นและเกิดอุปัทวเหตุบ่อย ๆ นัก. เมื่อฉันยังอยู่ที่ยุโรปนั้น ได้มีผู้คิดสร้างเครื่องบินขึ้นบ้างแล้ว, แต่ฉันยังหาได้เคยเห็นใครขึ้นเครื่องบินแล่นในอากาศไม่, ฉนั้นฉันเองก็ออกจะตื่นมากอยู่ ในการที่ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ครั้งนั้น.

ตามจดหมายเหตุรายวันปรากฏว่า ฉันได้ไปดูการบินถึง ๔ วัน. วันที่ ๑ กุมภาพันธ์เปนวันแรกที่ไปดู. ฉนั้นอยู่ข้างจะตื่นมาก, แต่ก็ไม่ปรากฏว่านักบินได้แสดงอะไรผาดโผนยิ่งไปกว่าขึ้นจากสนามม้าแล่นไปรอบ ๆ แล้วก็กลับลง. วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ได้ไปดูอีกครั้ง ๑, และครั้งนี้เขาเชิญให้ไปดูเครื่องในที่ใกล้ วันที่ ๔ ได้ไปดูอีก, และเสด็จแม่กับเจ้านายฝ่ายในเสด็จไปทอดพระเนตร์ด้วย, แต่ประทับที่โรงเรียนตำรวจพระนครบาล, ไม่ใช่ที่ราชกรีฑาสโมสร. การบินในวันนี้ไม่ได้กระทำเต็มตามกำหนด, เพราะเขาว่าลมบนแรงนัก. วันที่ ๕ เขาได้บินจากราชกรีฑาสโมสรไปสวนดุสิต, ทิ้งหนังสือลงไปที่พระลานฉบับ ๑, แล้วบินกลับไปภายในเวลา ๘ นาที. ฉันได้ให้ถ้วยเงินเปนรางวัลถ้วยหนึ่ง.

จากหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley04.png)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 21:34
อ้างถึง
ถึงเวลาต้องลงเรือนไปอีกแล้วค่ะ  คราวนี้นักเรียนทั้งหลายไม่ต้องกลัวจะปิดชั้นเรียน จนอดของว่าง   ดิฉันได้ติดต่อเชิญอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญหลายกระทู้มาสอนต่อให้แล้ว  อดใจรอท่าน NAVARAT.C   สักครู่
  
เผลอๆภารโรงระดับผู้อำนวยการร.ร. จะเข้ามาแจมด้วย  

มาเร็วประดุจนั่งโพยมยาน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 21:52
ข้อมูลบางตอนจากหนังสือ “เจ้าชีวิต” ประพันธ์โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเขียนถึงการบินครั้งแรกในสยามว่าสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ และกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินผลัดกันขึ้นเสด็จประทับบนเครื่องบินที่ฝรั่งนำมาแสดงสาธิตที่สนามม้าปทุมวัน  แต่ไม่มีหลักฐานบันทึกว่าพระองค์ใดเสด็จขึ้นก่อน จึงไม่มีทางทราบได้ว่าใครเป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นเครื่องบิน แล้วขึ้นบินจริงๆ

ในหนังสือก็มีพระรูปทูลกระหม่อมพ่อของท่าน และกรมพระกำแพงประทับนั่งบนเครื่องบินที่แม้จะจอดอยู่กับพื้น แต่นักบินก็นั่งประจำที่พร้อมจะทำการบิน ดูทะมัดทะแมงยิ่งนัก


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 22:00
ผมก็เคยผ่านตาว่าเคยเห็นหนังสือพระประวัตินายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และหลายเวปเช่นรถไฟไทยที่ถือพระองค์เป็นพระบิดาของการรถไฟไทยก็ลงพระประวัติทำนองเดียวกัน ว่าพระองค์ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นบินกับนักบินฝรั่งที่มาแสดงนั้น


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 22:03
เรื่องราวเหตุการณ์ในตอนนั้น ที่เล่าไว้ละเอียดข้อมูลแน่นหนาน่าเชื่อถือมากมาจากเวปของกรมยุทธการทหารอากาศ เขียนโดย น.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ ผู้ใดไม่สะใจย่อความของผมข้างล่าง อยากอ่านยาวๆก็สามารถตามไปดูได้ ผมแปะที่อยู่ไว้ให้แล้ว

http://www.do.rtaf.mi.th/%5CArticle/detail.asp?id=6 (http://www.do.rtaf.mi.th/%5CArticle/detail.asp?id=6)

ใจความมีว่า
นายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น นักบินลูกครึ่งเบลเยียม-ฝรั่งเศส นำเครื่องบินแบบอังรี ฟาร์มัง 4ชื่อแวนด้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเครื่องบินแบบฟลายเออร์ ของสองพี่น้องตระกูลไรท์มาทำการบินเพื่อหาทางขายเครื่องบินให้แก่ประเทศทางเอเซีย เริ่มที่ไซ่ง่อน เมื่อจบแล้วก็บรรทุกลงเรือต่อมากรุงเทพฯ และได้แสดงการบินให้ชาวไทยได้ชมที่ราชกรีฑาสโมสรหรือที่ส่วนใหญ่เรียกกันว่าสนามม้าสระปทุม  เป็นครั้งแรก ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6กุมภาพันธ์ 2453

ชาร์ล ฟัน เดน บอร์น ยังได้บันทึกไว้อีกว่า เขานำเครื่องบินของเขาขึ้นบินทดสอบก่อนหน้าการแสดงการบินจริงวันนึง ดังนั้นผู้เขียนจึงได้สรุปว่าการบินครั้งแรกในประเทศไทย หรือประเทศสยามในขณะนั้น เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2453 และอย่างเป็นทางการในวันที่ 31มกราคม 2453 จากนั้นก็มีการแสดงการบินทุกวันจนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ และแสดงเพิ่มเติมอีกหนึ่งวัน ในวันที่ 9กุมภาพันธ์2453

วันที่ 2กุมภาพันธ์ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทอดพระเนตรการแสดงการบินโดยมิได้มีหมายกำหนดการมาก่อน ไม่ใช่วันแสดงการบินวันแรกตามที่กองทัพอากาศบันทึกไว้


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 22:08
แต่ในเวปนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้แจ้งว่าแล้วคนไทยผู้ใดล่ะ ที่ได้ขึ้นทำการบินกับนายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น เป็นคนแรก

ผมก็ท่องเนทต่อๆไปจนพบร่องรอยจากหนังสือสารานุกรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้อความในหน้าที่เอามาให้ดูนี้ เอ่ยถึงนายทหารไทยที่ได้รับเชิญให้ขึ้นบินด้วยชื่อ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 22:11
ดูจากประวัติของท่านจากเวปคลังปัญญาไทยก็ชัดเจน

เริ่มจากการรับราชการทหารบก และได้เลื่อนเป็นนายร้อยเอกหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2454 ได้ยศเป็นนายพันตรี และในช่วงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2454 มีฝรั่งนำเครื่องบินชื่อออร์วิลล ไรท์ ใช้เครื่องยนต์ 50 แรงม้า ความเร็วชั่วโมงละ 50 กิโลเมตร เป็นเครื่องบินใบพัด ปีกสองชั้น มาแสดง การบินให้ประชาชนชมที่สนามม้าสระปทุม เมื่อฝรั่งบินให้ประชาชนชมแล้ว เชิญไทยขึ้นเครื่องบินทดลอง ทางฝ่ายทหารไทย ให้หลวงศักดิ์ศัลยาวุธขึ้นเป็นคนแรก พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธตกลงด้วยความเต็มใจ ขึ้นเครื่องบินนั่งคู่กับฝรั่งบินร่อนอยู่ได้สองสามรอบแล้วกลับลงสู่พื้นดิน พอลงมาพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธพูดว่า "เมื่อเครื่องบินอยู่ใน อากาศนั้นไม่มีความรู้สึกอย่างไร สบายเหมือนนั่งรถยนต์"


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 22:15
ถ้าไม่มีทั้งหนังสือทั้งอินเตอร์เนท ผมคงมิอาจสรุปความเชื่อส่วนบุคคลของผม ซึ่งถึงแม้จะหาเอกสารชั้นต้นจริงๆไม่พบ ดังนี้

ผมเชื่อว่า ในวันที่ 30 มกราคม 2454 (1911)  นายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น เมื่อประกอบเครื่องบินเสร็จแล้ว จะต้องนำเครื่องบินของเขาขึ้นบินทดสอบก่อนหน้าการแสดงการบินจริงที่จะมีในวันรุ่งขึ้นแน่นอน  ดังนั้นแม้จะเป็นการบินทดสอบ ก็ต้องถือว่าเป็นการบินครั้งแรกในประเทศไทยโดยมิอาจปฏิเสธได้ แต่นักบินคงจะยังไม่กล้าให้มีผู้ใดโดยสารขึ้นไปด้วยในการบินเพื่อทดสอบเครื่องนี้

ในวันที่ 31 มกราคม 2454 (1911) วันแรกที่แสดงการบินต่อสาธารณะชน ซึ่งคงจะอนุญาตเฉพาะบุคคลระดับVIP  สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินคงเสด็จในวันนั้น หลังจากแสดงการบินโชว์แบบเดี่ยวจนแน่ใจแล้ว นายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น คงจะเชิญคนไทยให้ร่วมทดสอบ ตรงนี้ผมเชื่อว่าเขาคงไม่กล้าทูลเชิญเจ้านายทั้งสองพระองค์โดยตรง หรือมิฉนั้นแล้วจะเป็นการเสี่ยงเกินสำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่และทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอด้วย เพราะตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องมีนายทหารอาสาขึ้นไปลองของก่อน ตอนนั้นพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ผู้บังคับกองพันพิเศษที่ 5เป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุด อาจจะเข้าทางของท่านอยู่แล้วด้วย ความคิดที่จะมีทหารนักบินคงจะไม่ใช่ว่าจะมาพูดกันหลังจากที่ฝรั่งเอาเครื่องบินมาโชว์ คำว่ากองพันพิเศษนี่ก็บ่งบอกอะไรอยู่ไม่น้อย เพราะหลังจากนั้นไม่นานพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ได้เดินทางพร้อมด้วยนายร้อยเอกหลวงวุธสิขิกร (นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ - หลง สินสุข) กับนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต (นาวาอากาศเอกพระยาทยานพิฆาฏ) เพื่อศึกษาการบินในฝรั่งเศส เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้จัดซื้อเครื่องบินรุ่นแรกของกองทัพบกรวม7ลำมาประกอบ และบินขึ้นที่สนามม้าปทุมวันดังรูปข้างล่างนี้ ก่อนจะย้ายไปฐานบินดอนเมือง แล้วพัฒนาเป็นกองทัพอากาศในที่สุด

ในวันนั้นเองหลังจากที่พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ลงจากเครื่องมาแล้วกราบทูลว่าสบายเหมือนนั่งรถยนต์ ผู้บังคับบัญชาจึงได้ทรงขึ้นทดลองด้วยพระองค์เอง เมื่อเป็นที่พอพระทัยมาก จึงได้กราบบังคมทูลในหลวง จนพระองค์สนพระทัยต้องเสด็จมาทอดพระเนตรเองโดยไม่มีหมายกำหนดการสองวันหลังจากนั้น  คือในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 (1911)

ส่วนในวันทดสอบ พระองค์ใดจะทรงได้บินขึ้นก่อนหรือขึ้นหลัง ผมคงไม่ต้องหาคำตอบ
.
.
เพราะประวัติศาสตร์ได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว ว่าใครเป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นบินกับเครื่องบินในประเทศสยาม แม้จะไม่มีรูปถ่ายของท่านปรากฏเป็นหลักฐานก็ตาม


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 22:18
จากเว็บนี้ครับ

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html)

คืนนี้ขอลาไปนอนก่อน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 08:33
ลูกหลานของพระยาเฉลิมอากาศก็คิดเช่นเดียวกับพระยาศรีนวรัตน
เพราะเล่าว่าในความทรงจำและความรับรู้ที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัวและกองทัพอากาศ  พระยาเฉลิมอากาศเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นไปเหินฟ้าอย่างนก เหนือพื้นพสุธา
เหตุผลง่ายๆที่ชัดเจนคือ  การที่เจ้านายระดับพระเจ้าน้องยาเธอตั้งหลายพระองค์จะทรงขึ้นโพยมยานซึ่งเป็นของใหม่  ไม่รู้จะอันตรายมากน้อยแค่ไหน  ย่อมไม่มีใครปล่อยให้ท่านเสด็จขึ้นไปโดยไม่มีการ "เคลียร์ทาง"  คือสำรวจความเรียบร้อยปลอดภัยเสียก่อน   เรียกว่าต้องมี "กระบวนนำ"  จนทุกวันนี้ ธรรมเนียมการเสด็จของเจ้านายก็ยังต้องมีกระบวนนำกันอยู่

เมื่อนายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นกำแพงเพชรฯ (พระยศในขณะนั้น) จเรทหารช่างจะเสด็จโดยสารเครื่องบิน     ก็ต้องมีนายทหารไทยใจกล้าสักคนขึ้นไปเป็น "กระบวนนำ" สำรวจความเรียบร้อยปลอดภัยของการนั่งโพยมยาน     คุณหลวงศักดิ์ศัลยาวุธซึ่งเป็นนายทหารช่าง  ประจำแผนกจเรทหาร จะถูกคัดเลือกหรืออาสาขึ้นไปเองก็ตามแต่   ก็ชอบด้วยเหตุผลที่ท่านจะได้ขึ้นไปก่อนเจ้านาย   
เมื่อนั่งเครื่องบิน เหาะขึ้นเหาะลง พบว่าการนั่งบนเครื่องเรียบร้อยปลอดภัยดีไม่มีอะไรน่าวิตกกังวล    ก็กลับมากราบทูลเจ้านาย  จากนั้นกรมหมื่นกำแพงเพชรถึงเสด็จขึ้นไปอย่างเป็นทางการ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 08:53
ในบันทึกที่ผ่านมายังขาดพระองค์นี้ไปอีกหนึ่ง ทรงขึ้นไปทดลองบินในโอกาสนั้นด้วย


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 08:56
สรุปแล้ว มีพระราชวงศ์ชั้นสูงได้ทรงบินในวาระแรกในประวัติศาสตร์สยาม ๓พระองค์


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 08:58
วันที่ 30 มกราคม 2454
นายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น เมื่อประกอบเครื่องบินเสร็จแล้ว


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 08:59
พร้อมทดสอบเครื่องบิน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 09:00
.


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 09:01
เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย จึงให้ผู้โดยสารคนไทยนั่งทดสอบ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 09:03
ระหว่างท่านเจ้าของกระทู้โดดร่มไปแล้วในวันนี้ เชิญคุณเพ็ญต่อเรื่องได้แล้วครับ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 09:04
ภาพในค.ห. 29 บรรยายว่าเป็นสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุฯ   แต่ดิฉันคิดว่าเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มากกว่า
สมเด็จกรมพระยาฯ ทรงมีพระพักตร์คมและยาว กว่าเจ้านายบนโพยมยาน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 09:04
ระหว่างท่านเจ้าของกระทู้โดดร่มไปแล้วในวันนี้ เชิญคุณเพ็ญต่อเรื่องได้แล้วครับ
เห็นนะ!


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 09:06
สรุปแล้ว มีพระราชวงศ์ชั้นสูงได้ทรงบินในวาระแรกในประวัติศาสตร์สยาม ๓พระองค์

อาจมีมากกว่านั้น  ;D

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

เครื่องที่นำเข้ามาครั้งแรกเปนเครื่องปีก ๒ ชั้น ไม่มีที่คนโดยสารขึ้น, ฉนั้นถ้าใครอยากจะโดยสารก็ต้องยืนเกาะไปข้างหลังคนขับ, ออกจะน่าเสียวใส้อยู่บ้าง. ได้มีคนไทยลองขึ้นกันหลายคน, เจ้านายมีกรมอดิศร, กรมกำแพงเพ็ชร์ และกรมสรรควิสัยนรบดี  


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 09:23
ลูกหลานของพระยาเฉลิมอากาศก็คิดเช่นเดียวกับพระยาศรีนวรัตน
เพราะเล่าว่าในความทรงจำและความรับรู้ที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัวและกองทัพอากาศ  พระยาเฉลิมอากาศเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นไปเหินฟ้าอย่างนก เหนือพื้นพสุธา

เมื่อวันที่ ๒๒ พย ๕๕ ลูกหลานตระกูลสุวรรณประทีปได้จัด "งานเสวนาเรื่องเล่าเจ้าคุณปู่ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุนี สุวรรณประทีป)" ตึกบ้านไร่ (บ้านสุวรรณประทีป) ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี  มีนิทรรศการเกี่ยวกับสายตระกูลสุวรรณประทีป ขอนำมาแสดงเพื่อเสริมประวัติที่คุณเทาชมพูเล่าไว้ข้างต้น  ;D

ภาพจาก คลังภาพกิจกรรมปี ๒๕๕๕ ของโรงเรียนนายเรืออากาศ  (http://www.rtafa.ac.th/gallery/thumbnails.php?album=183&page=1)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 09:33
สรุปแล้ว มีพระราชวงศ์ชั้นสูงได้ทรงบินในวาระแรกในประวัติศาสตร์สยาม ๓พระองค์

อาจมีมากกว่านั้น  ;D

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

เครื่องที่นำเข้ามาครั้งแรกเปนเครื่องปีก ๒ ชั้น ไม่มีที่คนโดยสารขึ้น, ฉนั้นถ้าใครอยากจะโดยสารก็ต้องยืนเกาะไปข้างหลังคนขับ, ออกจะน่าเสียวใส้อยู่บ้าง. ได้มีคนไทยลองขึ้นกันหลายคน, เจ้านายมีกรมอดิศร, กรมกำแพงเพ็ชร์ และกรมสรรควิสัยนรบดี  

ขอแก้ว่า สรุปแล้ว มีพระราชวงศ์ชั้นสูงได้ทรงบินในวาระแรกในประวัติศาสตร์สยาม ๓พระองค์ ที่มีภาพถ่ายปรากฏ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 09:48
ขอเชิญคุณเทาชมพูเล่าประวัติของ "นักบินไทยหมายเลข ๑" ต่อไป  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 09:53
ทั้ง ๓ พระองค์ที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงระบุมา  ไม่ตรงกับภาพข้างล่างสักองค์เดียว
ไม่ใช่สมเด็จวังบูรพาด้วย
เจ้านายองค์ไหน หนอ

ป.ล.  กำลังจะลงจากเรือนไทยเดี๋ยวนี้ละค่ะ  ส่งลูกกลับไปให้ผอ. ภารโรงนะคะ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 11:06
อ้างถึง
ป.ล.  กำลังจะลงจากเรือนไทยเดี๋ยวนี้ละค่ะ  ส่งลูกกลับไปให้ผอ. ภารโรงนะคะ

ใครรู้ตัวก็มารับลูกไปนะครับ ผมจะได้เข้าไปแจมต่อได้



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 11:16
ความเดิมตอนที่แล้ว

ความคิดที่จะมีทหารนักบินคงจะไม่ใช่ว่าจะมาพูดกันหลังจากที่ฝรั่งเอาเครื่องบินมาโชว์ คำว่ากองพันพิเศษนี่ก็บ่งบอกอะไรอยู่ไม่น้อย เพราะหลังจากนั้นไม่นานพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ได้เดินทางพร้อมด้วยนายร้อยเอกหลวงวุธสิขิกร (นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ - หลง สินสุข) กับนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต (นาวาอากาศเอกพระยาทยานพิฆาฏ) เพื่อศึกษาการบินในฝรั่งเศส เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้จัดซื้อเครื่องบินรุ่นแรกของกองทัพบกรวม7ลำมาประกอบ และบินขึ้นที่สนามม้าปทุมวันดังรูปข้างล่างนี้ ก่อนจะย้ายไปฐานบินดอนเมือง แล้วพัฒนาเป็นกองทัพอากาศในที่สุด

จากการที่วันเด็นบอร์นนำเครื่องบินมาบินโชว์เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๓ นั้นเอง จึงทำให้รัฐบาลสยามตระหนักถึงประโยชน์ของการบิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมคัดนายทหารไทย ๓ นาย ส่งไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๖ นายทหารทั้งสามนายซึ่งสำเร็จวิชาการบิน ได้เดินทางกลับสู่สยามพร้อมเครื่องบิน ๓ ลำ  และได้มาแสดงการบินให้คนไทยได้ชมกันที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในโอกาสนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จไปทอดพระเนตรและทรงพระราชบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ในพระราชบันทึกจดหมายเหตุ (Diary) รายวันส่วนพระองค์ พ.ศ. ๒๔๕๖ เล่ม ๒ ทรงพระราชบันทึกไว้ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ดังนี้

"เครื่องบินของกองทัพบก วันอังคารที่ ๑๓ เวลาบ่ายได้ไปดูเครื่องบินของกองทัพบก ซึ่งฃึ้นบินจากสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ส่วนโรงที่ไว้เครื่องบืนนั้น ปลูกไว้ทางริมโรงเรียนพลตระเวณ ได้ไปที่โรงนั้นก่อน แล้วจึ่งออกไปดูบินกลางสนาม เครื่องมีอยู่และได้เห็นเปน ๒ เครื่อง หรือถ้าจะว่าให้ถูกว่า ๒ ชนิด คือ ชนิดปีกชั้นเดียวของเบ็ลริโอต์ ๒ เครื่อง เปนเครื่องประจำตัวของนายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร ๑  นายร้อยเอก หลวงทยานพิฆาฏ ๑  อีกชนิดหนึ่งเปนเครื่องปีก ๒ ชั้นของเบรเคต์ (Breguet) เปนเครื่องประจำตัวแห่งนายพันตรี หลวงศักดิศัลยาวุธ เมื่อดูเครื่องแล้วจึ่งดูบินต่อไป  หลวงทยานขึ้นก่อน ขึ้นโดยเรียบร้อยและบินผ่านไป แต่พะเอินเครื่องจักรไปขลุกขลัก ต้องไปลงในทุ่งนาแห่งอื่น หลวงอาวุธได้ขึ้นเปนที่ ๒ บินวนไปแล้วกลับลงโดยเรียบร้อย ในที่สุดหลวงศักดิ์จึ่งขึ้นเครื่องปีก ๒ ชั้น ดูน่าจะขึ้นยาก แต่แท้จริง ดูขึ้นง่ายดายจริง ๆ และมื่อได้บินไปแล้วกลับมาลงก็โดยเรียบร้อยสนิทสนมดีมาก เห็นได้ว่าหลวงศักดิ์นี้เปนผู้ที่มีความรู้ในวิชาบินดีจริง ได้ประกาศนิยบัตรอย่างชั้นสูง เราจึ่งให้เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา เพื่อเปนเกียรติยศ ที่นายทหารเราที่ได้บินวันนี้ ไม่เลวกว่านักบินฝรั่งชื่อวันเด็นบอร์นซึ่งได้มาบินให้ดูเมื่อ ๒ ปีล่วงมาแล้วนี้เลย ที่จริงดูไม่มีพิธีรีตองมากเท่าฝรั่งด้วยซ้ำ ในเวลาบ่ายวันนี้ไปยืนดู ๆ อยู่รูสึกปลื้มใจ ที่ไทยเรามิได้แพ้ฝรั่งเลยทำอะไรทำได้เท่ากันจริง ๆ ได้ทราบฃ่าวว่าคนไทย ๆ เราพากันตื่นเต้นมาก และวันนี้พากันไปดูการบินแน่นไปทุกด้าน"

ข้อมูลจาก คุณวีมี (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html#15)  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 11:42
สามทหารเสือขณะศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส

(๑) นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต  (๒) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข)  (๓) นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 12:03
ประกาศนียบัตรหลักสูตรการบินที่ฝรั่งเศสของนายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ  "Sakdi Luang - หลวงศักดิ์" ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 12:19
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต  "Thip Nai - นายทิพย์"  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 12:32
นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร "Awond Luang - หลวงอาวุธ"  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 12:49
พักรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงกันก่อน  คุณประกอบมาเร็ว ๆ เดี๋ยวจะหมดเสียก่อน  ;)

เชิญคุณนวรัตนร่วมวงด้วย เรียบร้อยแล้วเชิญแจมต่อ  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 14:53
จากซ้าย นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ในช่วงพักผ่อนอิริยาบทขณะไปเรียนวิชาการบินในฝรั่งเศส



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 14:54
^


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 15:00
นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ กำลังฝึกบินอยู่ที่สนามบินวิลลาดูเบลย์ ด้วยเครื่องเบรเกต์


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 15:03
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ฝึกบินอีกแห่งหนึ่งที่สนามมูร์เมอลอง เลอ กรองต์ ด้วยเครื่องนิเออปอรต์


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 15:05
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ถ่ายภาพกับครูสอนภาษาฝรั่งเศส


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 15:07
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต และนายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร กับจักรยานคู่ชีพ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 15:09
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต และนายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร ขณะฝึกงานสร้างเครื่องบิน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 15:11
นายทหารไทยถ่ายภาพกับเพื่อนนายทหารนักบินฝรั่งเศส


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 15:30
จากซ้าย นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ในช่วงพักผ่อนอิริยาบทขณะไปเรียนวิชาการบินในฝรั่งเศส

น่าจะเรียงลำดับดังนี้

(๑) นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต  (๒) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข)  (๓) นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley04.png)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 16:01
นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธไปศึกษาโรงเรียนการบิน ที่ตำบลวิลลาคูเบลย์  เรียนแบบนักบินพลเรือน ส่วนอีกสองคนนั้นเข้าศึกษาโรงเรียนการบินของบริษัทนิเออเปอร์ต เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๕

นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ฝึกบินด้วยเครื่องบินเบรเกต์ปีกสองชั้น นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกรกับร้อยโททิพย์ เกตุทัต ฝึกด้วยเครื่องบินนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียวจนถึงวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธสอบไล่ตามหลักสูตรสโมสรการบินพลเรือนของประเทศฝรั่งเศส

การศึกษาการบินของบุคคลทั้งสามสอบไล่ได้ใกล้ ๆ กัน แล้วเดินทางไปดูการบินในที่ต่าง ๆ เช่นประเทศอังกฤษและรัสเซีย เป็นต้น และในระหว่างการเรียนการบินอยู่นั้นได้ติดต่อซื้อเครื่องบินให้กระทรวงกลาโหมด้วย เป็นจำนวน ๗ เครื่อง เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้เลื่อนยศเป็นนายพันโท และในวันนั้นเองจะต้องสอบการบินเดินทางไกล ๒๐๐ กิโลเมตร กับวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ต้องบินแบบสามเหลี่ยม ๓๐๐ กิโลเมตร บังเอิญเครื่องชำรุดก้านสูบขาดจึงต้องร่อนลงสู่พื้นดิน  แก้ไขจนใช้การได้จึงบินขึ้นใหม่ ขณะบินขึ้นต้องเลี่ยงหลบยอดไม้ เครื่องบินจึงแฉลบตกลงกระแทกพื้นดิน เครื่องบินเสียหายมากแต่พันโทหลวงศักดิ์ศัลยาวุธมิได้รับอันตรายใด ๆ  เลย เมื่อทำการสอบใหม่ในวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ก็สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของกองทัพบกฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นนักบินทหาร

เมื่อเรียนจบการบินทหารและการบินพลเรือนแล้ว เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖

ข้อมูลจาก คุณหนุ่มสยาม (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4209.msg78492#msg78492)  ;D



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 16:07
นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธไปศึกษาโรงเรียนการบิน ที่ตำบลวิลลาคูเบลย์ เรียนแบบนักบินพลเรือน ส่วนอีกสองคนนั้นเข้าศึกษาโรงเรียนการบินของบริษัทนิเออเปอร์ต เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕

นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ฝึกบินด้วยเครื่องบินเบรเกต์ปีกสองชั้น นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกรกับร้อยโททิพย์ เกตุทัต ฝึกด้วยเครื่องบินนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียวจนถึงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๕๕ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธสอบไล่ตามหลักสูตรสโมสรการบินพลเรือนของประเทศฝรั่งเศส

การศึกษาการบินของบุคคลทั้งสามสอบไล่ได้ใกล้ ๆ กัน แล้วเดินทางไปดูการบินในที่ต่าง ๆ เช่นประเทศอังกฤษและรัสเซีย เป็นต้น และในระหว่างการเรียนการบินอยู่นั้นได้ติดต่อซื้อเครื่องบินให้กระทรวงกลาโหมด้วย เป็นจำนวน ๗ เครื่อง เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๕๖ ได้เลื่อนยศเป็นนายพันโท และในวันนั้นเองจะต้องสอบการบินเดินทางไกล ๒๐๐ กิโลเมตร กับวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๖ ต้องบินแบบสามเหลี่ยม ๓๐๐ กิโลเมตร ดิน แก้ไขจนใช้การได้จึงบินขึ้นใหม่ ขณะบินขึ้นต้องเลี่ยงหลบยอดไม้ เครื่องบินจึงแฉลบตกลงกระแทกพื้นดิน เครื่องบินเสียหายมากแต่พันโทหลวงศักดิ์ศัลยาวุธมิได้รับอันตรายใดๆ  เลย เมื่อทำการสอบใหม่ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๕๖ ก็สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของกองทัพบกฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นนักบินทหารเมื่อเรียนจบการบินทหารและการบินพลเรือนแล้ว เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๖

ข้อมูลจาก เว็บมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี (http://www.suphan.dusit.ac.th/sdusuphan/index.php?option=com_content&view=article&id=76&Itemid=132)




อ้อ ของผมจากหนังสือเล่มนี้ครับ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 16:10
หนังสือหนามาก ข้อมูลเยอะ จะลอกมาพิมพ์ทั้งหมดก็จะทารุณตัวเองมากไปหน่อย เลยเอาเฉพาะภาพมาประกอบกระทู้พร้อมบรรยายนิดๆหน่อยๆ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 16:11
เอาชัดๆอีกทีก็แล้วกัน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 16:15
ภาพในค.ห. 29 บรรยายว่าเป็นสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุฯ   แต่ดิฉันคิดว่าเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มากกว่า
สมเด็จกรมพระยาฯ ทรงมีพระพักตร์คมและยาว กว่าเจ้านายบนโพยมยาน
ส่วนความเห็นนี้ นอกจากข้อความนี้ ใต้ภาพดังกล่าวก็บรรยายไว้ตามที่ผมเขียนไปนั่นแหละ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 16:21
แถมอีกรูปนึงครับ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 16:24
จากซ้าย  นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ในช่วงพักผ่อนอิริยาบทขณะไปเรียนวิชาการบินในฝรั่งเศส

ในหนังสือเรียงลำดับถูกแล้ว  จากขวาไปซ้าย.. ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6129.0;attach=52574;image)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 16:36
 ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 17:40
ไม่ได้แก้ตัวนะครับ ผิดคือผิด แต่ขอบ่นนิดหน่อย

ปกติคนทั้งโลกจะอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา ยกเว้นภาษาตระกูลจีนและญี่ปุ่นจะกลับทิสกัน การอธิบายภาพก็ควรจะเป็นเช่นเดียวกันภาษาที่กำลังใช้ เพื่อป้องกันความไขว้เขวอย่างที่เกิดกับผม ซึ่งไปคิดอีกอย่างหนึ่งว่าเขาอธิบายตามทิศของผู้นั่งในภาพ จากคนขวามาคนซ้าย


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 14, 17:59
เดาใจผู้บรรยายภาพ คงต้องการเรียงลำดับตามยศจาก นายพันตรี --> นายร้อยเอก --> นายร้อยโท

เห็นคุณประกอบอยูแว้บ ๆ รีบมารับประทานข้าวเหนียวมะม่วงเสีย จะเอาจานไปล้างแล้ว  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ย. 14, 18:01
อึมมม์ ทหาร บังเอิญนั่งเรียงยศกันเสียด้วย ความจริงทหารก็จัดแถวเรียงยศจากขวาไปซ้าย(มองเข้าไปหาคือซ้ายไปขวา)เช่นกัน นี่ท่านนั่งกันเล่นๆ

บ่นต่อ
เคร่งครัดนักก็น่าจะบรรยายว่า นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป)นั่งขวาสุด นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) กลาง และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ซ้ายสุด



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 13 พ.ย. 14, 00:25
กำลังเพลินข้าวเหนียวมะม่วง ลงมาเจอภาพปอดดำกับฟันเหลืองจากพิษภัยบุหรี่ เลยพาลอิ่มไปเลยครับ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 09:19
ยังไม่ทวงห้องเรียนคืนนะคะ   เชิญบรรเลงกันต่อ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ย. 14, 09:29
เชิญคุณเพ็ญบรรเลงเลยครับ

ผมสีซออู้อยู่ กว่าจะถึงคิวคงอีกนาน


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 09:59
อาจารย์ใหญ่และผู้เชี่ยวชาญรับจ๊อบนอก มาลงที่ภารโรงอีกแล้ว  :-\
(http://i640.photobucket.com/albums/uu126/login-4/y-30.gif)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 10:29
สำรวจห้องเรียนยังไม่เห็นนักเรียนมาเข้าชั้นเรียน รอนักเรียนรายงานตัวก่อนดีไหมหนอ  ;)

(http://www.bloggang.com/data/junglebunny/picture/1206999198.gif)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ย. 14, 10:34
ไม่มีจ๊อบนอกเช่นเขาอื่น แต่บาดเจ็บอยู่ จะหมุนขวากลายเป็นหมุนซ้ายเลยตีลังกา จะพิมพ์ต่อเลยไม่ค่อยถนัด


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 10:45
.


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ย. 14, 11:05
 ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 11:16
(http://img1.funscrape.com/en/youarewelcome/18.jpg)

ระหว่างรอนักเรียนรายงานตัว

ขออนุญาตส่งเทียบเชิญอาจารย์ผู้ชำนาญการอีก ๒ ท่านคือ คุณวีมี และ คุณหนุ่มสยาม มาเป็นกำลังเสริมด้วย  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ย. 14, 12:42
สงสัยท่านอาจารย์ใหญ่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้ใหม่ซะแล้วละครับ รู้สึกว่าตำแหน่งเดิมจะไม่ค่อยได้งานเท่าไหร่ เห็นคุณวีมี และคุณหนุ่มสยามหลบกันวูบวาบ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 13:57
ดำเนินความตามท้องเรื่องต่อจากคราวที่แล้ว

เมื่อเรียนจบการบินทหารและการบินพลเรือนแล้ว เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖

เมื่อนายทหารทั้ง ๓ นาย สำเร็จการศึกษาวิชาการบินและเดินทางกลับถึงประเทศไทย กระทรวงกลาโหมจึงได้เริ่มงานกิจการบินอย่างจริงจัง โดยตั้ง “แผนกการบินทหารบก” ให้ขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของนายพลโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) จเรการช่าง มีการสร้างโรงเก็บเครื่องบินหลังโรงเรียนพลตำรวจ ปทุมวัน และใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของสนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) เป็นสนามบิน สนามบินสระปทุมจึงเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย

ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ปีเดียวกัน ประมาณ ๒ เดือนหลังจากเดินทางกลับจากฝรั่งเศส สามทหารเรือได้ทำการบินเพื่อทดลองเครื่องบินที่ซื้อมาที่สนามม้าสระปทุม ครั้งนั้นจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา ภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับนายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสด็จมาประทับทอดพระเนตร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน กับประชาราษฎร พากันดูอย่างคับคั่ง

เครื่องบินที่ใช้ทดลองบินในวันนั้นเป็นแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว ๓ เครื่อง ใช้เครื่องยนต์โนม ๕๐ แรงม้า ๒ เครื่อง และใช้เครื่องยนต์นิเออปอร์ต ๒๘ แรงม้า ๑ เครื่อง

ผลการทดลองในวันนั้น ได้มีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์สมัยนั้นดังต่อไปนี้

"ณ เวลา ๗.๓๐ นาฬิกา เครื่องยนต์ของเครื่องบินลำแรกได้ติดเครื่อง และเครื่องบินลำนั้นก็แล่นออกไปข้างหน้า คนดูพากันโห่ร้อง เมื่อเครื่องบินบินขึ้นไปในอากาศและบ้านข้ามสนามม้าไปอย่างรวดเร็ว เครื่องบินลำนั้นเลี้ยวที่ศาลาแดง และนักบินก็บินเวียนสนามม้าและบินข้ามไปลงดิน เครื่องกีดขวางในสนามม้านั้นน่ากลัวอยู่แต่นักบินก็สามารถเลือกที่ลงได้ และเมื่อตอนที่เครื่องบินล่อนลงสู่พื้นดินนั้น เสียงเครื่องยนต์ก็เบาลงจนเงียบ เครื่องบินลำที่สองบินขึ้นสู่อากาศและบินข้ามโรงเรียนพลตำรวจไป แล้วก็เลี้ยวขวา บินหักมุมโค้งอย่างกว้างไปทางศาลาแดง ก่อนที่จะบินกลับมาลงที่สนาม ต่อมาลำที่ ๓ ก็บินขึ้นไปโดยไม่มีเหตุขัดข้องใด ๆ ในการร่อนลงซึ่งนับว่าทำยากที่สุดนั้น ก็มิได้มีเหตุร้ายอันใดเกิดขึ้น"

เครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียวที่ใช้ในการทดลองบินวันนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร คุณนวรัตนคงจัดหามาแสดงได้ในไม่ช้า  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 14:27
๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปที่โรงเก็บเครื่องบิน ทอดพระเนตรเครื่องบินแล้ว เสด็จออกประทับยังสนาม เพื่อทอดพระเนตรการบิน  สามทหารเสือขึ้นเครื่องบินโปรยข้าวตอกดอกไม้ ถวายพระพรชัยมงคล การบินได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นทุกประการ เสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา แก่นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จไปทอดพระเนตรและทรงพระราชบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ในพระราชบันทึกจดหมายเหตุ (Diary) รายวันส่วนพระองค์ พ.ศ. ๒๔๕๖ เล่ม ๒ ทรงพระราชบันทึกไว้ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ดังนี้

"เครื่องบินของกองทัพบก วันอังคารที่ ๑๓ เวลาบ่ายได้ไปดูเครื่องบินของกองทัพบก ซึ่งฃึ้นบินจากสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ส่วนโรงที่ไว้เครื่องบืนนั้น ปลูกไว้ทางริมโรงเรียนพลตระเวณ ได้ไปที่โรงนั้นก่อน แล้วจึ่งออกไปดูบินกลางสนาม เครื่องมีอยู่และได้เห็นเปน ๒ เครื่อง หรือถ้าจะว่าให้ถูกว่า ๒ ชนิด คือ ชนิดปีกชั้นเดียวของเบ็ลริโอต์ ๒ เครื่อง เปนเครื่องประจำตัวของนายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร ๑  นายร้อยเอก หลวงทยานพิฆาฏ ๑  อีกชนิดหนึ่งเปนเครื่องปีก ๒ ชั้นของเบรเคต์ (Breguet) เปนเครื่องประจำตัวแห่งนายพันตรี หลวงศักดิศัลยาวุธ เมื่อดูเครื่องแล้วจึ่งดูบินต่อไป  หลวงทยานขึ้นก่อน ขึ้นโดยเรียบร้อยและบินผ่านไป แต่พะเอินเครื่องจักรไปขลุกขลัก ต้องไปลงในทุ่งนาแห่งอื่น หลวงอาวุธได้ขึ้นเปนที่ ๒ บินวนไปแล้วกลับลงโดยเรียบร้อย ในที่สุดหลวงศักดิ์จึ่งขึ้นเครื่องปีก ๒ ชั้น ดูน่าจะขึ้นยาก แต่แท้จริง ดูขึ้นง่ายดายจริง ๆ และมื่อได้บินไปแล้วกลับมาลงก็โดยเรียบร้อยสนิทสนมดีมาก เห็นได้ว่าหลวงศักดิ์นี้เปนผู้ที่มีความรู้ในวิชาบินดีจริง ได้ประกาศนิยบัตรอย่างชั้นสูง เราจึ่งให้เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา เพื่อเปนเกียรติยศ ที่นายทหารเราที่ได้บินวันนี้ ไม่เลวกว่านักบินฝรั่งชื่อวันเด็นบอร์นซึ่งได้มาบินให้ดูเมื่อ ๒ ปีล่วงมาแล้วนี้เลย ที่จริงดูไม่มีพิธีรีตองมากเท่าฝรั่งด้วยซ้ำ ในเวลาบ่ายวันนี้ไปยืนดู ๆ อยู่รูสึกปลื้มใจ ที่ไทยเรามิได้แพ้ฝรั่งเลยทำอะไรทำได้เท่ากันจริง ๆ ได้ทราบฃ่าวว่าคนไทย ๆ เราพากันตื่นเต้นมาก และวันนี้พากันไปดูการบินแน่นไปทุกด้าน"

ข้อมูลจาก คุณวีมี (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html#15)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 14:43
หลังจากแผนกการบินได้จัดตั้งขึ้นเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี พลเอกเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้มีดำริให้ย้ายแผนกการบินจากตำบลปทุมวัน เนื่องจากสถานที่เดิมเป็นที่ลุ่ม พื้นที่คับแคบ ไม่สะดวกในการขยายสนามบิน นายพันโท หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (ได้รับเลื่อนยศเป็นนายพันโทเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖) จึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการหาสถานที่และได้พบที่นาดอนทางตอนเหนือของอำเภอบางเขน ห่างจากพระนครประมาณ ๒๔ กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถใช้ประโยชน์ในการบินได้ตลอดปี อีกทั้งยังมีรถไฟสายเหนือวิ่งผ่าน และเหมาะจะพัฒนาเป็นสนามบินขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต พื้นที่บริเวณนั้นชาวบ้านเรียกว่า “ดอนอีเหยี่ยว” เพราะมีฝูงเหยี่ยวบินจับกลุ่มมารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ หลังจัดตั้งกองบินแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ดอนเมือง”

ต้น พ.ศ. ๒๔๕๗ กระทรวงกลาโหมสั่งการให้กรมเกียกกายทหารบกดำเนินการปรับพื้นที่ให้เป็น สนามหญ้าที่เครื่องบินสามารถวิ่งและบินขึ้นลงได้ พร้อมก่อสร้างโรงเก็บเครื่องบิน อาคารสถานที่ และบ้านพักอาศัย เมื่อการก่อสร้างสำเร็จบางส่วนแล้ว จึงได้มอบสถานที่ดังกล่าวให้กองบินทหารบกเข้าใช้เป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของแผนกการบิน

วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ พลเอกเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายแผนกการบินไปตั้งอยู่ที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ จากนั้นจึงเริ่มขนสัมภาระเข้าสู่ที่ตั้งแห่งใหม่

วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ นายทหารนักบินทั้ง ๓ นาย ได้ขับเครื่องบินจากสนามบินสระปทุมไปลง ณ สนามบินดอนเมือง รวม ๓ ลำเป็นปฐมฤกษ์ หลังจากการเคลื่อนย้ายเสร็จเรียบร้อย แผนกการบินจึงได้เริ่มปฏิบัติภารกิจที่ดอนเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ข้อมูลจาก กรมการบินพลเรือน (http://portal.aviation.go.th/site/6101.jsp)  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ย. 14, 15:09
จะได้เริ่มต่อได้


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 16:18
ย้อนสยามตามรอยบุพการีทหารอากาศ

ตอน "ผู้ให้กำเนิด"

http://youtube.com/watch?v=JkSDIyAgw3s#ws (http://youtube.com/watch?v=JkSDIyAgw3s#ws)




กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 16:20
ตอน "จากสยามสู่ฝรั่งเศส"

http://youtube.com/watch?v=n6ttZP6Dufk#ws (http://youtube.com/watch?v=n6ttZP6Dufk#ws)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 16:22
ตอน "วันแห่งประวัติศาสตร์"

http://youtube.com/watch?v=tW8vaIFaOGs#ws (http://youtube.com/watch?v=tW8vaIFaOGs#ws)






กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 16:24
ตอน "เหนือน่านฟ้าฝรั่งเศส"

http://youtube.com/watch?v=qqnb9BbnPp4#ws (http://youtube.com/watch?v=qqnb9BbnPp4#ws)





กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 14, 16:26
ตอน "นำสยามสู่ความรุ่งเรือง"

http://youtube.com/watch?v=WkuZAiqihvA#ws (http://youtube.com/watch?v=WkuZAiqihvA#ws)


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ย. 14, 20:36
ดูเหมือนว่าจะครบประวัติท่านตามที่มีในเว็บแล้ว

โปรดสังเกตุว่า ประวัติของบุพการีทหารอากาศท่านนี้ช่วงท้ายเลือนหายไปเฉยๆ ในหนังสือก็บอกแต่ว่า ท่านลาออกหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ (แบบน่าเคลือบแคลงว่าอะไรได้เกิดขึ้นแก่ท่านบ้างในตอนนั้น)

ตามประวัติแบบรวบรัดกล่าวไว้อีกว่า ท่านได้กลับเข้ารับราชการอีกในหลายปีหลังจากนั้น ในกรมการบินพลเรือน แต่ไม่กี่ปีก็ลาออกไป ประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศกล่าวถึงท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อท่านได้รับพระราชทานยศพลอากาศโทเป็นกรณีย์พิเศษ และเมื่อไทยได้รับเครื่องบินไอพ่น ๓เครื่องแรกในปี ๒๔๙๘ ท่านพลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศได้มาปรากฏตัวที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองเพื่อชื่นชมยินดีด้วย

ถ้าใครมีเรื่องราวของท่านในช่วงที่ผมกล่าวมา ขอความกรุณามาเล่าไว้ในกระทู้นี้หน่อยเถิดครับ


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ย. 14, 08:47
ดูเหมือนว่าจะครบประวัติท่านตามที่มีในเว็บแล้ว

ยังมีประวัติตอนสำคัญของท่านในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน กระทู้ของคุณนวรัตนที่พันทิป (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html#31) เขียนถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้สั้น ๆ ว่า

๑๙ มีนาคม ๒๔๖๑ กระทรวงกลาโหมยกฐานะกองบินทหารบกขึ้นเป็นกรมอากาศยานทหารบก ในระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระยาเฉลิมอากาศไปราชการสงครามร่วมศึกกับพันธมิตร เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ปีเดียวกันเสร็จสงครามแล้ว เดินทางกลับถึงเมืองไทย เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒

คุณวีมีเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ค่อนข้างละเอียดดังนี้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางคือ เยอรมนี และออสเตรีย - ฮุงการี (สะกดแบบเก่า) เมื่อวันอาทิตย์ที่  ๒๒  กรกฎาคม  ๒๔๖๐  (คือพอเลยเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่  ๒๑  กรกฎาคม แล้ว  ก็ได้ลงพระปรมาภิไธยประกาศสงคราม)  พร้อมกันนั้นนายทหาร นายตำรวจ และเสือป่าก็ได้แยกย้ายกันเข้าจับกุมชนชาติศัตรู  บางคนถึงถูกควบคุมตัวจากที่นอนเลยทีเดียว

เมื่อทรงมีพระราชดำริที่จะประกาศสงครามนั้น  ได้มีพระราชกระแสกับคุณมหาดเล็กผู้ใกล้ชิดว่า  ถ้ามีเสนาบดีสภาคัดค้านแม้เพียงเสียงเดียวก็จะทรงสละราชสมบัติทันที  แต่เป็นโชคดีของประเทศไทยที่ไม่มีเสนาบดีท่านใดคัดค้าน  ทั้งที่เวลานั้นเยอรมันกำลังขยายแนวรบไปทั่วยุโรป  คนไทยส่วนมากที่ไม่ชอบอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  ต่างก็คิดว่าเยอรมันจะต้องชนะจึงเอาใจช่วยเยอรมันกันเป็นส่วนใหญ่  แต่ด้วยพระปรีชาญาณทางการทหารที่ทรงคาดการณ์ไว้แล้วว่า เยอรมันจะต้องพ่ายแพ้จึงทรงเลือกประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางดังกล่าว

เมื่อประกาศสงครามแล้วโปรดให้กระทรวงกลาโหมออกประกาศรับสมัครพลอาสาไปร่วมรบในสงครามยุโรปจำนวน ๑,๕๐๐ คน  จัดเป็นกองบินทหารบก ๕๐๐ คน  มีนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศเป็นผู้บังคับกอง   และกองทหารบกรถยนต์ ๑,๐๐๐ คน ในบังคับบัญชา นายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย  หัสดิเสวี) ซึ่งต่อมาได้เป็น นายพันโท พระอาสาสงคราม แล้วลาออกจากราชการ โดยมี นายพลตรี พระยาพชัยชาญฤทธิ์ (ผาด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หัวหน้ากองทูตทหาร  เป็นผู้บัญชาการสูงสุดในสนาม

กองทหารที่ส่งไปในการพระราชสงครามครั้งนี้มีเฉพาะนายทหารที่เป็นทหารประจำการ  ส่วนพลทหารล้วนเป็นพลอาสามัคร  ที่น่าสังเกตอย่างยิ่งคือ เมื่อประเทศไทยคิดที่จะจัดตั้งกองบินทหารบกขึ้น  ได้จัดส่งนายทหารไปเรียนการบินที่ฝรั่งเศส ๓ คน คือ พระยาเฉลิมอากาศ  พระยาเวหาสน์ยานศิลปประสิทธิ์ (ทิพย์  เกตุทัต)  และพระยาทยานพิฆาต (...  ทัตตานนท์ ) ต้องขอประทานอภัยหากออกนามเดิมของท่านผิดไป  ที่ส่งไปเพียง ๓ ท่านเพราะมีเงินอยู่เท่านั้น  เมื่อทั้งสามท่านเรียนจบกลับมารับราชการแล้วได้ช่วยกันฝึกหัดนายทหารไทยเป็นนักบินได้อีก ๕ ท่าน  รวมเป็น ๘ ท่าน  ส่วนที่ส่งไปอีก ๕๐๐ คนนั้นไปเรียนขับเครื่องบินส่วนหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งไปเรียนวิศวกรรมอากาศยาน  สงครามเลิกแล้วยังเรียนไม่จบ  รัฐบาลฝรั่งเศสก็เอื้อเฟื้อช่วยฝึกต่อจนสำเร็จเป็นนักบินกว่า ๑๐๐ คน  และเป็นช่างอากาศอีกจำนวนหนึ่ง  ท่านเหล่านี้ต่อมาได้ร่วมกันสร้างเครื่องบินขึ้นใช้ในกองทัพไทยได้สำเร็จในต้นรัชกาลที่ ๗

นายทหาร ๓ นายนั้นไปเรียนการบินที่ประเทศฝรั่งเศสแล้วกลับมาได้ฝาฝึกนายทหารไทยเป็นนักบินได้แก ๕ ตน  ก็พอดีเกิดสงครามในยุโรป (สงครามโลกครั้งที่ ๑) ขึ้น  เมื่อประเทศสยามประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐  ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงกลาโหมรับพลอาสามสมัครไปร่วมรบในสงครามทวีปยุโรป  โดยจัดเป็นกองบินทหารบกกว่า ๓๐๐ คน ในบังคับนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี  สุวรรณประทีป)

เมื่อเดินทางถึงประเทศฝรั่งเศสได้มีการทดสอบร่างกาย  มีผู้ผ่านการทดสอบร่างกายไปเรียนการบิน ๑๒๕ นาย  ส่วนที่เหลือได้ไปเรียนการซ่อมสร้างเครื่องบิน  เมื่อสงครามเลิกมีผู้สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักบิน ๙๗ คน  กับนายช่างซ่อมสร้างเครื่องบินอีกกว่า ๒๐๐ นาย  เมื่อเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันสร้างและพัฒนากรมอากาศยานทหารบกจนเป็นกองทัพอากาศในเวลาต่อมา  และได้นำความรู้ที่ร่ำเรียนกันมานั้นมาออกแบบจัดสร้างเครื่องบินแบบ "บริตร" ขึ้นในช้ในราชการในตอนต้นรัชกาลที่ ๗

สงครามสงบลงแล้ว  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กองบินทหารบกเดินทางกลับกรุงเทพฯ  แต่โปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ คงอยู่ที่ฝรั่งเศสเพื่อเลือกซื้อเครื่องบินรบที่เหลือใช้จากสงครามที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ในราชการอีกด้วย

พระเฉลิมอากาศ หรือต่อมาได้เป็นพระยาเฉลิมอากาศนั้น  ท่านเป็นผู้บังคับกองบินทหารบก  และทำหน้าที่เป็นผู้บังคับกองทหารอาสาสมัครทั้งกองบินทหารบกและกองทหารบกรถยนต์  ขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ (ผาด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หัวหน้ากองทูตทหาร  ซึ่งโดยทางราชการได้รายงานตรงต่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบกซึ่งประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ  แต่ในขณะเดียวกันก็มีพระราชกระแสดำรัสสั่งเป็นทางลับให้ นายพลตรี พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ หัวหน้ากองทูตทหารกราบบังคมทูลรายงานตรงถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวองค์จอมทัพไทยด้วย  จึงอาจกล่าวได้ว่า ในทางปฏิบัติแล้วผู้ที่บัญชาการกองกำลังทหารไทยในยุโรปโดยตรง คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นเอง

หากมีส่วนไหนที่คุณวีมีคิดว่ายังไม่สมบูรณ์ หรือมีรายละเอียดมากกว่านี้ ขอเชิญเข้ามาเสริม  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ย. 14, 09:54
ขออนุญาตเสริมตรงนี้

เมื่อทั้งสามท่านเรียนจบกลับมารับราชการแล้วได้ช่วยกันฝึกหัดนายทหารไทยเป็นนักบินได้อีก ๕ ท่าน  รวมเป็น ๘ ท่าน

หลังจากที่มีการตั้งแผนกการบิน และมีแผนที่จะย้ายสนามบินจากสนามม้าสระปทุม มายังสนามบินดอนเมือง ในช่วงปลายปี ๒๔๕๗ (สมัยนั้นยังนับเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) กรมจเรการช่างทหารบก ออกประกาศไปยังเจ้าพนักงานกรมบัญชาการ  กรมเสนาธิการทหารบก แจ้งความต้องการนายทหารชั้นสัญญาบัตร เพื่อเรียกมาฝึกการใช้เครื่องบิน พร้อมทั้งกำหนดลักษณะของผู้ที่จะเป็นนักบิน เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งถือว่าเป็นการรับสมัครนักบินเป็นครั้งแรก มีผู้มาสมัครมากมาย

๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ มีศิษย์การบินชั้นปฐมชุดแรก สอบไล่ได้ตามหลักสูตรเลื่อนขึ้นเป็นศิษย์การบินชั้นมัธยมรุ่นแรก และรับเงินเดือนเพิ่มพิเศษเดือนละ ๓๐ บาท  จำนวน ๕ ท่าน คือ

นายร้อยโทปลื้ม สุคนธสาร

(http://1.bp.blogspot.com/-U3jP9_fjw1s/VA_qM2Hug6I/AAAAAAAAAyY/akLvdkwX-F4/s1600/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%A1.jpg)


นายร้อยตรีนพ เพ็ญกูล

(http://4.bp.blogspot.com/-_J2NO4gZxvo/VA_qJjEGEZI/AAAAAAAAAyI/XVwgLlCnQMY/s1600/%E0%B8%99%E0%B8%9E.jpg)

ส่วนอีกสามท่านสอบได้ในครั้งต่อมา

นายร้อยโทเหม ยศธร

(http://2.bp.blogspot.com/-kIe7tQP9wiY/VA_qPn-8jMI/AAAAAAAAAyo/MWDm6liZx68/s1600/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1.jpg)


นายร้อยตรีปิ่น มหาสมิติ

(http://1.bp.blogspot.com/-ujv1PrPPJK8/VA_qOG8qxyI/AAAAAAAAAyg/vxFow0W-c9U/s1600/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99.jpg)


นายร้อยตรีช่วง  นิตินันท์

(http://2.bp.blogspot.com/-mT5Ue7NHMdU/VA_qK5P6CiI/AAAAAAAAAyQ/oMhtqTOfHzU/s1600/%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87.jpg)

ข้อมูลจาก  “ศิษย์การบินรุ่นแรกที่สำเร็จการศึกษาในประเทศไทย”  (http://rach1968.blogspot.com/2014/09/blog-post_10.html) โดย พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์  ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 14, 08:39
ประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศกล่าวถึงท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อท่านได้รับพระราชทานยศพลอากาศโทเป็นกรณีย์พิเศษ และเมื่อไทยได้รับเครื่องบินไอพ่น ๓เครื่องแรกในปี ๒๔๙๘ ท่านพลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศได้มาปรากฏตัวที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองเพื่อชื่นชมยินดีด้วย

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร

สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๖            เป็นนักเรียนนายร้อย
มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘           เป็นว่าที่นายร้อยตรี
๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๘       เป็นนายร้อยตรี
๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙         เป็นนายร้อยโท
๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑     เป็นนายร้อยเอก
๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔      เป็นนายพันตรี
๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖     เป็นนายพันโท
๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙        เป็นนายพันเอก
๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖       เป็นนายพลตรี
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓          เป็นนายพลโท
พ.ศ. ๒๔๗๕                     ยกเลิกยศนายทหารชั้นนายพล ใน กองทัพบก
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙         เป็นนายนาวาอากาศเอก
๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๓    เป็นพลอากาศโท

จาก คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8_(%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B5_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9B))
จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๗ หน้า ๔๕๙๑-๔๕๙๒ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/4591.PDF)  ;D



กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 14, 09:20
 ;D


กระทู้: พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ย. 14, 15:08
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ และพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙