เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4676 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 27 เม.ย. 22, 19:05

ในเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารนี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านเกือบทั้งหมดจะต้องมีความกังวลทั้งด้านการพูด การอ่าน และการเขียน ว่าจะมีความถูกต้องหรือจะรู้เรื่องหรือไม่     ในประสบการณ์ที่สะสมมาของผม เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องไปสนใจและกังวลกับมันมากนัก คือเลิกกังวลได้เลย ตราบใดที่มันไม่เป็นภาษาแบบงูๆปลาๆ ไปใหนมาสามวาสองศอก 

อีกเรื่องหนึ่งก็คือคำศัพท์ คำแปล และความหมายโดยนัยของมัน   ก็เป็นเรื่องเกือบจะปกติที่เราจะฟังออก รู้ความหมายของทุกคำในประโยคนั้นๆ  แต่บรรดาภาษาที่ใช้กันในการปฏิบัติภารกิจอยู่ในระบบความสัมพันธ์นานาชาตินั้น บางทีก็ไม่ค่อยจะเข้าใจอย่างแท้จริงกับสาระของประโยคนั้นๆหรือคำพูดนั้นๆ   จะมีอยู่หลายคำศัพท์ที่เป็นคำเดียวกันที่ใช้ในกันปกติประจำวัน แต่ไปมีอีกความหมายหนึ่งเมื่อเอาไปใช้ในอีกเรื่องราวหนึ่ง   ก็จึงเป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆเรียนรู้กันไป

ด้วยความที่องค์กรในระบบ UN เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเวทีเพื่อการพูดคุยกันในเรื่องการแสวงหาความร่วมมือและการลดความขัดแย้งกัน เพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรสรรพสิ่งดีๆให้กับมนุษย์โลก   การใช้ภาษาดอกไม้ก็จึงมีอยู่มากมายเพื่อให้เกิดสภาพของการสร้างสรรพร้อมๆไปกับลดความตึงเครียดในเรื่องต่างๆ  แต้ก็มีที่ใช้ในลักษณะของการด่าทอ ประจาน เหน็บแนม เช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 27 เม.ย. 22, 19:27

ตัวอย่างของคำศัพท์ก็เช่น  Appropriation, Outstanding, Quorum, Enscribe, Committee เป็นต้น  นึกไม่ออกแล้วครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 28 เม.ย. 22, 19:48

ภาระงาน   

ด้วยที่ระบบ UN ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นเวทีสำหรับการพูดคุยกันของมนุษยชาติเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลดและกำจัดสาเหตุที่เป็นอุปสรรคทั้งหลาย     เวทีของการประชุมใหญ่ประจำปีที่สำนักงานใหญ่ใน New York ซึ่งเป็นเวทีที่ผู้นำประเทศต่างๆจะมากล่าวถ้อยแถลงเพื่อการแสดงความเห็นว่า เราควรจะร่วมมือกันต่อไปในเรื่องใดที่เป็นประโยชน์กับมวลมนุษย์ชาติ  ร่วมกันจัดทำเป็นวาระงานที่จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนต่อไปเช่นใด... จึงเป็นเวทีที่มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทาง แผนงาน จุดประสงค์/จุดมุ่งหมาย ในการดำเนินการขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ในระบบทั้งทางตรงและทางอ้อม  แต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องหรือโยงใยอยู่ในระบบก็จะเอาไปหารือกันภายในระบบองค์กรของตน ส่งความเห็นกลับไปตามสายงาน กลุ่ม หรืออื่นใด   ซึ่งเมื่อประมวลแล้วก็จะประชาสัมพันธ์ ประกาศออกมาเป็นวาระของความร่วมมือระหว่างนานาชาติที่มีเป้าหมาย เช่น ความประสงค์ที่จะให้บรรลุผลใน 8 เรื่องในวาระ UN Millennium goals
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 เม.ย. 22, 19:27

เมื่อประชุมกันแล้วก็ต้องมีผลการประชุม แล้วจะมีวิธีเช่นใดในการสรุปเรื่องที่ประเทศสมาชิกต่างๆได้กล่าวถ้อยแถลงกันนั้นๆ ให้ออกมาเป็นผลของการประชุมในครั้งนั้นๆ โดยให้เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศที่เป็นสมาชิก  เรื่องนี้จึงต้องมีระบบและกลไกในการดำเนินการ

เคยสังเกตใหมครับ ว่าภาพการประชุุมขององค์กรต่างๆในระบบ UN ที่ปรากฏทางสื่อนั้น จะเห็นภาพของการประชุมอยู่ 2 ลักษณะ คือภาพที่มีการยืนกล่าวอยูที่ Podium และภาพที่มีการนั่งกล่าวอยู่หลังป้ายชื่อบนโต๊ะนั่งประชุม   ซึ่งจะเห็นในภาพแรกว่า ห้องประชุมจะค่อนข้างโล่งๆ มีคนนั่งประชุมเล็กน้อย เห็นแต่ที่นั่งว่างๆเต็มไปหมด  ต่างกับภาพที่สองที่จะเห็นว่ามีคนนั่งอยู่เกือบครบตามป้ายชื่อประเทศ   ทั้งสองภาพเป็นสภาพตามปกติที่เห็นได้ในทุกองค์กร   ภาพแรกจะเป็นภาพในการประชุมที่เรียกว่า Plenary Session   สำหรับภาพที่สองนั้นมักจะเป็นลักษณะของการประชุมที่เรียกว่า Committee ซึ่งก็มีหลายรูปและลักษณะงาน (Committee on / of / for )

ในการประชุมในเรื่องที่สำคัญๆที่จะยังให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ไมว่าจะเป็นในทางบวกหรือทางลบก็ตาม  ก็จะมีการประชุมพร้อมๆกันไปทั้ง Plenary และ Committee เสมอ   ทั้งนี้ ในหลายๆกรณีที่มีผลไปถึงเรื่องทางกฏหมาย ก็ดูจะต้องจัดให้มี Committee of the Whole ขึ้นมา
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 เม.ย. 22, 19:48

ที่เห็นที่นั่งใน Plenary session ว่างๆอยู่นั้น  ที่จริงแล้วก็มีการทำงานกันอยู่ มีการประชุมกันอย่างขมักขเม้นในห้องประชุมของ Committee   ส่วนผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน(Head of Delegates) ที่น่าจะต้องเห็นนั่งอู่ในห้องประชุม Plenary นั้น ที่หายไปก็เพื่อไปทำภารกิจอื่นๆที่สำคัญมากกว่าการมาร่วมประชุมเพียงเพื่อการนั่งฟังถ้อยแถลงของประเทศต่างๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 เม.ย. 22, 18:40

การประชุมใหญ่สามัญประจำปีขององค์กรต่างๆก็จึงมีการประชุมคู่ขนานกันไป 2 การประชุมเสมอ คือ Plenary meeting และ Committee meeting (ซึ่งอาจจะมีหลาย meeting ที่แยกประชุมกันไปเป็นเฉพาะเรื่อง (หนึ่งในนั้นจะมีการประชุมหนึ่งที่ชื่อว่า Committee of the Whole)   

ในภาพง่ายๆก็คือ Plenry meeting เป็นการแสดงความเห็นและจุดยืน  ส่วน Committee meeting เป็นการถกเถียงกันว่าจะเอาอย่างไรกันดี   

ผู้ที่ปรากฏตัวอยู่ใน Plenary จะเป็นผู้แทนของรัฐบาล  ส่วนเจ้าหน้าที่หรือคนที่ทำงานจะไปนั่งประชุมร่วมกันอยู่ใน Committee

การประชุม Committe ที่มีลักษณะค่อนข้างจะเป็นกันเอง ไม่เป็นพิธีรีตรอง ไม่มีป้ายชื่อประเทศกำกับ แต่จะมีการนั่งจับกันเป็นกลุ่มตามความเห็นที่เห็นพ้องกัน หรือเป็นกลุ่มทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือ.... ฯลฯ ก็เป็นการประชุมที่ไม่มีความเครียดแฝงอยู่ บางครั้งก็มีเฮฮาเสียอีกด้วยซ้ำไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 เม.ย. 22, 19:42

การประชุม Committee จัดเป็นการประชุมที่ทำให้ได้รู้ถึงความสามารถของบุคคลที่มาทำหน้าที่ในองค์กรนั้นๆ รวมทั้งทำให้ได้รู้ถึงลักษณะจำเพาะทางตรรกะ ปรัชญา แนวคิด...(behavior และ attitude) ในองค์รวมของแต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศ แต่ละประชาชาติ   ซึ่งจัดเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีประโยชน์มากในการทำงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นการประสานประโยชน์ร่วมกัน หรือการหาทางเดินสายกลาง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 01 พ.ค. 22, 18:35

จะขอฉายภาพและไล่เรียงกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในการประชุมใหญ่แต่ละครั้งนะครับ

เมื่อคณะผู้แทนประเทศต่างๆมาถึงโถงหน้าห้องประชุม    เกือบทุกคณะผู้แทนก็จะยืนหรือนั่งจับกลุ่มกัน เพื่อรับฟังการสรุปวาระงานจากเจ้าหน้าที่ของฝ่ายตน ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่ทำงานในหน้าที่ตัวแทนของประเทศอยู่ในองค์กรนั้นๆ    เรื่องที่จะต้องสรุปให้ทราบโดยหลักๆก็จะมี เรื่องของการขึ้นพูดบนเวทีว่าจะเป็นในวันใด เวลาใด เป็นเรื่องแรก   เรื่องการพบกับผู้แทนของประเทศอื่นๆ หรือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กร  ซึ่งก็จะมีทั้งเขาขอพบเรา/เราขอพบเขาในระหว่างวันประชุม (ในระหว่างการประชุม/นอกเวลาการประชุม)   เรื่องเกี่ยวกับความสำคัญและประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนั้นๆ  เรื่องเกี่ยวกับท่าทีของแต่ะประเทศสมาชิก และท่าที่ในเชิงของกลุ่มที่จับกับกลุ่มกับบนพื้นฐานของความร่วมมือต่างๆ ... ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 01 พ.ค. 22, 19:48

ในเรื่องของการกล่าวถ้อยแถลงนั้นก็มีกระบวนวิธีการ 

ก็คือต้องมีการไปลงชื่อ(inscribe)กับฝ่าย Secretariat ในวันแรกที่เปิดประชุม เพื่อจะได้รู้ลำดับที่จะได้ขึ้นพูดว่าจะเป็นเมื่อใดของการประชุม (วันใหนและประมาณเวลาใด)  พร้อมๆกันไปก็จะมีการขอสำเนาเอกสารหรือ note ที่เตรียมมาจะใช้ในการกล่าวถ้อยแถลงบนเวที   ทั้งนี้ เราจะให้เลยก็ได้ หรือจะให้ตอนเช้าก่อนเวลาประชุมในวันที่จะขึ้นพูดก็ได้ หรือจะไม่ให้เลยก็ได้  จะเลือกเช่นใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆที่คณะผู้แทนจะเห็นเป็นความเหมาะสม   เอกสารนี้ โดยแท้จริงแล้วจะถูกส่งไปให้กับล่ามเพื่อให้ล่ามได้มีโอกาสอ่านทำความเข้าใจก่อนที่จะต้องผันเนื้อหาไปเป็นภาษาอื่นพร้อมๆไปกับการกล่าวถ้อยแถลง  ก็คือจะได้เลือกใช้ศัพท์ที่ให้ความหมายที่เหมาะสมและกินความเช่นเดียวกันกับที่ผู้พูดได้พูดออกไป

เมื่อเป็นการประชุมใหญ่ ผู้มาเข้าร่วมประชุมล้วนมาในฐานะผู้แทนของรัฐ ดังนั้น ถ้อยแถลงต่างๆที่กล่าวออกไปจึงมีความผูกพันกับรัฐ  มิใช่ตัวบุคคลหรือคณะบุคคลที่มาร่วมประชุมและกล่าวถ้อยแถลงนั้นๆ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 02 พ.ค. 22, 18:54

จึงเป็นเรื่องปกติที่การแถลงของประเทศต่างๆจะเป็นการอ่านเท่านั้น  ซึ่งก็เป็นการอ่านตามข้อความที่ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลนั้นๆ หรือที่ของรัฐบาลนั้นๆส่งมาให้อ่าน   ก็มีเหมือนกันที่ผู้แทนของบางประเทศที่เข้าร่วมประชุมเกิดมีความสงสัยขึ้นมาว่า ประเทศหนึ่งใดและผู้ที่กล่าวนั้นเป็นผู้แทนของจริงจากประเทศนั้นๆหรือไม่  ก็จะมีการขอให้มีการตรวจสอบ Credential

Credential ก็คือหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคล/คณะบุคคลที่รัฐบาลนั้นๆได้ส่งมาให้เป็นผู้แทนเพื่อเข้าร่วมการประชุมนั้นๆในนามของรัฐบาล  ตามปกติแล้วคณะผู้แทนจะต้องยื่นหนังสือสำคัญฉบับนี้ให้กับเจ้าหน้าที่ในวันที่ลงทะเบียนก่อนเข้าห้องประชุม จะเข้าห้องประชุมได้ก็จะต้องมีชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนที่ลงไว้   ก็มีการตรวจสอบกันพอสมควร ส่วนมากก็จะปล่อยให้เข้าได้ไม่ยาก แต่ก็เคยเห็นที่มีการขอสอบถามก่อนเข้าห้อง     

ในกรณีที่การประชุมนั้นๆมีวาระที่จะต้องตัดสินใจสำคัญๆ เช่น กรณีมีวาระจะต้องออกเสียง (Vote)  หรือกรณีที่การตัดสินใจนั้นๆจะไปมีผลกระทบในวงกว้างกับประเทศสมาชิกต่างๆ...  วาระแรกๆของการประชุมในครั้งนั้นๆก็จะมีเรื่องของการตั้งคณะผู้ตรวจสอบ Credential อย่างเป็นทางการ   

แสดงว่าจะต้องเคยมีการลักไก่กันพอสมควร 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 02 พ.ค. 22, 19:40

ใช้คำว่าลักไก่บนฐานของเรื่องราวที่มิใช่ในทางลบ ครับ   ที่เคยเห็นมา เป็นเรื่องของเอกสาร Credential ไม่พร้อม ในวัน ว. เวลา น. ที่ขึ้นกล่าวถ้อยแถลง  ซึ่งเกิดจากความไม่สัมพันธ์กันในเรื่องของเงื่อนเวลาที่ได้รับการจัดให้ขึ้นพูดกับความพร้อมทาง Ligitimacy   สาเหตุพื้นฐานก็มาจากเรื่องของลำดับการขึ้นพูดที่จัดลำดับไปตามการมาลงทะเบียน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 18:44

แม้จะมีการลงชื่อก่อนแล้วพูดไล่เลียงกันไป แต่การลงชื่อก็สามารถจะจองได้ว่าจะพร้อมพูดได้ในช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายของวันใด  เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้แทนประเทศที่จะมาประชุม เพราะว่าในการเดินทางมาของเขาเหล่านั้นมักจะต้องมีภาระกิจนัดหมายล่วงหน้าที่เป็นทางการในคราวเดียวกันกับการมาในแต่ละครั้ง

การปฏิบัติที่รับรู้กันในหมู่ประเทศสมาชิก และก็เป็นธรรมเนียมที่จะให้เวลากับประเทศที่ให้การสนับสนุนองค์กรรายใหญ่ๆได้พูดก่อนในช่วงเช้าของวันประชุมในวันแรก ตามมาด้วยผู้แทนของกลุ่มประเทศฝ่ายผู้ให้ ผู้แทนของกลุ่มประเทศฝ่ายผู้รับ ซึ่งเวลาที่จะใช้ในการพูดโดยทั่วไปก็เป็นที่รับรู้กันว่าไม่ควรเกิน 20 นาที  แต่ส่วนมากจะอยู่เกณฑ์ต่ำกว่า 10 นาที

เรื่องลำดับการพูดที่กล่าวถึงนี้ นอกจากจะเป็นเรื่องของการให้เกียรติกันแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องของการฟังน้ำเสียงหรือแนวโน้มที่องค์กรจะถูกผลักดันให้ไปในทางใด ควรจะดำเนินการอย่างใด ....  น้ำเสียงของถอยคำต่างๆที่กล่าวออกมานี้จะบ่งบอกถึงบรรยากาศในการประชุมที่จะดำเนินต่อไป  เรียกกันว่าการ tone ของการประชุม   ผู้ปฏิบัติงานของทั้งของฝ่ายสมาชิกและฝ่ายองค์กรจะสนใจฟังกัน เพราะถ้อยแถลงแรกๆเหล่านั้นคือการ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 18:58

ข้อความส่งออกไปไม่หมดครับ แปลกดี  ฮืม

ข้อความที่ขาดไปคือ " เพราะถ้อยแถลงแรกๆเหล่านั้นคือการ set tone ของการประชุมในครั้งนั้นๆว่าจะเข้มข้น ผ่อนคลาย ขัดแย้ง ฯลฯ "
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 20:03

เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นผู้แทน/คณะผู้แทนต่างๆเข้าไปนั่งอยู่ในห้องประชุมในช่วงเช้าวันแรกของการเปิดประชุม  แต่ในช่วงบ่ายของวันแรกและวันต่อๆไปกลับเกือบจะไม่มีผู้แทนนั่งอยู่เลย ยกเว้นเฉพาะผู้แทน/คณะผู้แทนของประเทศที่จะกล่าวถ้อยแถลงที่ถูกจัดลำดับไว้ในช่วงเวลานั้น   

ภาพในห้องประชุมช่วงเวลาบ่ายที่ฉายมานี้ ดูจะเป็นภาพที่ไม่น่าดูนักสำหรับผู้คนทั่วไป เหมือนกับการร่วมกันโดดประชุม    ใน Plenary นั้น เนื้องานมีแต่เพียงการนั่งฟังผู้แทนของประเทศต่างๆอ่านคำแถลงของภาครัฐของตน  แต่สิ่งที่แต่ละประเทศกำลังต้องการให้เกิดขึ้นตามที่ได้แถลงนั้น แท้จริงแล้วได้กำลังดำเนินการถกกันอยู่ในการประชุม Committee และส่วนมากก็ได้นำไปดำเนินการอยู่ใน Committee ก่อนที่จะได้แถลงในห้องประชุม Plenary ออกไปเสียอีก  โดยปกติแล้วการประชุม Committee จะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาบ่ายของวันแรกที่เปิดประชุมใหญ่
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 18:06

ก็มีที่ความในถ้อยแถลงใน Plenary ไม่สัมพันธ์กับเรื่องราวหรือประเด็นที่สมาชิกส่วนใหญ่เขากล่าวถึง  เรื่องเช่นนี้ดูจะมีสาเหตุจากการขาดข้อมูลและการสื่อสารที่ช้า ไม่ทันการณ์ (ซึ่งจะได้ขยายความต่อไป)   ซึ่งที่จริงแล้วก็สามารถที่จะเลือกไม่กล่าวความใดๆเลยก็ได้ เพราะไม่มีความจำเป็นหรือมีข้อบังคับใดๆที่ประเทศสมาชิกจะต้องกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม

การกล่าวถ้อยแถลงแบบไม่มีการส่งสำเนาข้อความที่จะพูดเพื่อให้ล่ามได้อ่านก่อนเพื่อเตรียมตัวก็มี เรียกกันว่า Play by ears (Play it by ears)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง