เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4672 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 05 เม.ย. 22, 18:04

ลองตั้งกระทู้เล่าความเกี่ยวกับการทำงานในระบบ UN ครับ  (ไม่รู้ว่าจะรอดหรือไม่  ยิงฟันยิ้ม)   

เป็นประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงเวลา 4 ปีที่ต้องปฏิบัติภารกิจอยู่ในกรอบของระบบนี้  ก็คิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะเล่าความเช่นใดจึงจะมีความเหมาะสม เพราะมีเรื่องราวในลักษณะที่ไม่พึงเล่าความอยู่พอสมควรเหมือนกัน

ขอกล่าวแต่เบื้องแรกว่า ระบบการทำงานในรูปแบบของ UN นี้ แม้จะมีกรอบของระบบคล้ายๆกัน แต่ก็มีความต่างกันในด้านของการปฏิบัติทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม   

ผมเพียงเคยปฏิบัติภารกิจอยู่ในองค์กรหนึ่งในระบบของ UN นี้   ดังนั้น เรื่องราวที่จะเล่าความสู่กันฟังนี้จึงมีขอบเขตจำกัด  คงจะมิอาจใช้เป็นข้อมูลมาตรฐานได้กับทุกองค์กรของ UN และแม้กระทั่งกับองค์กรที่ผมเข้าไปปฏิบัติภารกิจอีกด้วย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 เม.ย. 22, 19:07

รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและองค์กรในสังกัดของ UN นั้นสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก Website ของ UN ได้   

ก็พอสรุปได้ว่า UN system นั้น มีองค์ประกอบหลักๆคือ ฝ่ายเลขาฯ (UN Secretariat),  หน่วยทำโครงการ (UN Funds and Programs เช่น UNICEF, UNDP,...),  องค์กรชำนาญการเฉพาะทาง (Specialized Agencies เช่น UNESCO, WHO, World Bank, IMF,...),  งานเฉพาะกิจ (Other entities เช่น UNHCR, UN Women,...) และองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน (Related Organization เช่น IAEA, WTO,...)

ผมมีภารกิจปฏิบัติในองค์กรชำนาญการเฉพาะทาง คือ UNIDO (UN Industrial Development Organization) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย  ซึ่งมีเรื่องให้ต้องไปรับรู้ในบางเรื่องหรือหลายเรื่องของ CTBTO, IAEA, UNOOSA, IEA,...

ชื่อย่อมากมาย แล้วค่อยๆขยายความครับ       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 เม.ย. 22, 20:21

ขอต้อนรับกลับมาเรือนไทยอีกครั้งค่ะ
จองเก้าอี้แถวหน้านะคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 เม.ย. 22, 19:20

UN มี 4 สำนักงานที่เป็นหลักตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ได้แก่ สำนักงานใหญ่ (Headquarter) ตั้งอยู่ที่ New York (USA), สำนักงานที่กรุง Vienna (Austria), สำนักงานที่เมือง Geneva (Switzerland) และสำนักงานที่เมือง Nairobi (Kenya)   

มีสำนักงานของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC _ Economic and Social Council) ตั้งอยู่ใน 5 ภูมิภาคของโลก คือ ESCAP (Economic Commission for Asia ans Pacific) ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ   ECA สำหรับอัฟริกา ตั้งอยู่ที่เมือง Addis Ababa, Ethiopia     ECE สำหรับยุโรป ตั้งอยู่ที่เมือง Geneva, Switzerland    ECLAC สำหรับละตินอเมริกาและคาริเบรียน ตั้งอยู่ที่เมือง Santiago, Ghile    ESCWA สำหรับเอเซียตะวันตก ตั้งอยู่ที่กรุง Beirut, Lebanon 

นอกจากนั้นก็มีสำนักงานย่อยขององค์กร หน่วยงาน หรือหน่วยปฏิบัติงานเพื่อการปฏิบัติงาน/ภารกิจอื่นใด ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆเกือบจะทุกประเทศอีกด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 เม.ย. 22, 19:44

อาจจะเล่าความในเบื้องแรกด้วยความน่าเบื่อไปสักหน่อยนะครับ ค่อยๆขยับเรื่องไปเพื่อให้เห็นโครงสร้างและองค์ประกอบบางส่วนของระบบเสียก่อน 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 เม.ย. 22, 16:54

ESCAP (Economic Commission for Asia and Pacific)


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 เม.ย. 22, 19:20

 ยิงฟันยิ้ม   น่าจะเริ่มเข้าเรื่องได้บ้างแล้ว

ก็คงพอจะเห็นภาพได้บ้างแล้วว่า มีองค์กรอยู่มากมายในระบบของ UN   ในหลายๆชื่อที่เราเคยได้ยินนั้น มีทั้งที่มีลักษณะเป็นองค์กรที่มี Charter จัดตั้งขึ้นมา คือ เกิดความเห็นร่วมกันให้มีการจัดตั้งองค์กรนั้นๆขึ้นมา ที่พร้อมไปด้วยข้อกำหนดทางด้านสิทธิ อำนาจ หน้าที่ ....ฯลฯ       มีทั้งที่เป็นในลักษณะของโครงการ (Funds and Programmes) ที่เกิดขึ้นจากความเห็นร่วมกัน ซึ่งได้รับการจัดสรรเงินช่วยในการบริหาร รวมทั้งได้รับเงินบริจาคเพื่อการดำเนินการจากประเทศผู้ให้เป็นเรื่องๆไป เป็นประเด็นๆไป หรือเป็นยอดรวมสุดแท้แต่ความเหมาะสม       และก็มีทั้งองค์กรเฉพาะทางที่ประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกช่วยกันออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขององค์กร รวมทั้งการทำโครงการต่างๆในรูปแบบของการบริจาคสนับสนุน  สมาชิกจะช่วยกันให้เงินการดำเนินการขององค์กรตามสัดส่วนของตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 เม.ย. 22, 19:27

ศัพท์ที่พึงสังเกตคือคำว่า Program กับ Programme     

ในระบบ UN จะใช้คำว่า Programme  ที่สะกดแบบอังกฤษ  ต่างไปจากที่เราคุ้นๆกันที่เขียนว่า Program ซึ่งสะกดแบบอเมริกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 เม.ย. 22, 17:54

เมื่อมีองค์กร (Organization) และมีกิจกรรมกำหนดที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างมีเป้าหมาย (Programme) ก็ย่อมต้องมีงานด้านธุรการประจำอยู่ในแต่ละหน่วย  และก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ หรือนักวิชาการ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญเฉพาะทางประจำอยู่ในหน่วย     ด้วยที่ งาน Secretariat จึงมีความสำคัญ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 เม.ย. 22, 18:41

เพราะเนื้องานจะต้องแยกออกเป็นหลายส่วน อย่างน้อยก็ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือทำงานสนับสนุนองค์กรหรือโครงการ (ขอใช้คำว่าโครงการแทนคำว่า programme นะครับ) และอีกส่วนหนึ่งทำงานที่ต้องโยงอยู่กับสำนักงานใหญ่ของ UN ที่นิวยอร์ค

ยุ่งเข้าไปอีกนิดนึง ก็คือ โดยหลักพื้นฐานแล้ว การจ้างงานของ UN จะต้องมีการกระจายสัดส่วนให้กับบุคคลสัญชาติต่างๆในการเข้าทำงานตามสัดส่วนที่เป็นธรรม (มีการกำหนดตัวเลขไว้เป็นหลักการ)  แต่ในหลายตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงและบางตำแหน่งทางวิชาชีพนั้น ในหลายๆองค์กรจะเป็นการสนับสนุนโดยรัฐสมาชิก(เสนอ) และมีการเลือกโดยวิธีการให้ประเทศสมาชิกโหวดเสียง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 เม.ย. 22, 19:45

เรื่องหนึ่งที่น่าจะพึงทราบ ก็คือ ในแต่ละองค์กรเฉพาะเรื่องนั้น มิได้หมายความว่าทุกประเทศจะเป็นสมาชิก  ต่างกับ UN ตัวแม่ ที่จะมีทุกประเทศเป็นสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมี 193 ประเทศ  และ Holly See กับ Palestine ในฐานะผู้ (รัฐ) สังเกตการณ์

ก็อาจจะเคยได้ยินชื่อการประชุม 3 ชื่อของ UN ที่นิวยอร์ค คือ การประชุม Sec. Gen. (Secretary-General) ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีเพื่อประมวลเรื่องที่เกี่ยวกับด้านการบริหารองค์กรของหน่วยงาน UN ทั้งหมด (งาน เงิน คน ...)    การประชุม GA (General Assembly) ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีเพื่อลงมติหรือหาฉันทามติเกี่ยวกับเรื่องภารกิจและงานของ UN ทั้งระบบ เป็นการประชุมในระดับผู้บริหารประเทศ     และการประชุม SC (Security Council)  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคงของโลก

ผมไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ แต่จำเป็นต้องรู้กลไกและระบบบ้าง เพราะเป็นสิ่งแวดล้อมประกอบในการพิจารณาการทำงานให้ได้ผล     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 เม.ย. 22, 08:31

ถ้าหนุ่มๆสาวๆเข้ามาอ่าน สนใจอยากจะทำงาน UN บ้าง ต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้างคะ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 เม.ย. 22, 18:12

กำลังจะเข้าไปถึงประเด็นที่อาจารย์ถามมาพอดีครับ

คุณสมบัติแรก ก็คือ ความสามารถในการใช้ภาษา ทั้งในเชิงของความสันทัดและความหลากหลายของภาษา   

ภาษาที่ใช้ในการทำงานตามปกติทั่วๆไปในระบบของ UN  เช่น ในการประชุมหารือ การประชุมกลุ่ม การประสานงาน ฯลฯเหล่านี้จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ในบางครั้งก็มีการใช้ภาษาฝรั่งเศส     ภาษาที่ใช้ในการประชุมอย่างเป็นทางการ เช่น ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือในการประชุมที่มี จนท.ระดับสูงของรัฐบาลของประเทศต่างๆมาประชุมร่วมด้วย  จนท.เหล่านั้นก็อาจจะเลือกกล่าวถ้อยแถลงเป็นภาษาหนึ่งใดใน 6 ภาษากลางของ UN ซึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน จีน และอาหรับ ซึ่งในการประชุมลักษณะนี้จะมีล่ามแปลสด (simultaneously) เป็นภาษากลางทั้ง 6 ซึ่งผู้เข้าประชุมก็สามารถจะหมุนปุ่มหูฟังเพื่อเลือกฟังภาษาที่ตนพอใจได้   

ทั้งนี้ ผู้สมัครงานจะได้เปรียบมากขึ้นในกรณีที่สามารถใช้ภาษาถิ่นในพื้นที่ๆสำนักงานในสังกัดของ UN ตั้งอยู่   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 เม.ย. 22, 19:14

ก็มีศัพท์อยู่ 2 คำ คือ คำว่า interpreter กับคำว่า translator

interpreter หมายถึงผู้ที่ 'แปลคำพูด' ในภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยทันใด รับงานแบบคิดค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงหรือเป็นวัน 

translator หมายถึงผู้ที่ 'แปลเอกสาร' ในภาษาหนึ่งไปเป็นในอีกภาษาหนึ่ง รับงานแบบคิดค่าจ้างตามปริมาณข้อความ หรือเรื่องราว

ทั้ง 2 งานนี้จัดเป็นงานที่สำคัญ   ซึ่งสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ล่ามนั้นจะต้องมีความรอบรู้ค่อนข้างมากในเรื่องของศัพท์ทางเทคนิคและความลึกซึ้งในความหมายของคำเหล่านั้น  แม้กระทั่งในเรื่องของคำพังเพยที่นิยมใช้กันในกลุ่มภาษาต่างๆ ก็ด้วยเหตุที่ต้องแปลในทันใด    สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่แปลเอกสารนั้น ส่วนมากจะมาเข้ามาฟังการประชุมด้วยเสมอ เพราะจะต้องนำร่างความเห็นหรือความตกลงที่ยกร่างกันในภาษาอังกฤษ นำไปแปลเป็นภาษากลางของ UN อื่นๆ แล้วนำกลับมาให้ตรวจสอบว่ามีความหมายตรงกันกับที่ถกกันและที่มีความเห็นกันนั้นหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 เม.ย. 22, 19:46

ที่กล่าวมานั้น เป็นตัวอย่างที่ัจัดอยู่ในประเภทงานเฉพาะทาง

อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษก็ยังเป็นภาษาที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานในการทำงานในระบบ ต้องใช้ตั้งแต่การสมัครและการคัดเลือกเข้าทำงาน   ต้องใช้ในการสื่อสารได้ดีทั้งการอ่าน การพูด และการเขียน   ตำแหน่งงานที่จะได้ก็จะไปขึ้นอยู่กับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง