เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: naitang ที่ 05 เม.ย. 22, 18:04



กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 เม.ย. 22, 18:04
ลองตั้งกระทู้เล่าความเกี่ยวกับการทำงานในระบบ UN ครับ  (ไม่รู้ว่าจะรอดหรือไม่  ;D)   

เป็นประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงเวลา 4 ปีที่ต้องปฏิบัติภารกิจอยู่ในกรอบของระบบนี้  ก็คิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะเล่าความเช่นใดจึงจะมีความเหมาะสม เพราะมีเรื่องราวในลักษณะที่ไม่พึงเล่าความอยู่พอสมควรเหมือนกัน

ขอกล่าวแต่เบื้องแรกว่า ระบบการทำงานในรูปแบบของ UN นี้ แม้จะมีกรอบของระบบคล้ายๆกัน แต่ก็มีความต่างกันในด้านของการปฏิบัติทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม   

ผมเพียงเคยปฏิบัติภารกิจอยู่ในองค์กรหนึ่งในระบบของ UN นี้   ดังนั้น เรื่องราวที่จะเล่าความสู่กันฟังนี้จึงมีขอบเขตจำกัด  คงจะมิอาจใช้เป็นข้อมูลมาตรฐานได้กับทุกองค์กรของ UN และแม้กระทั่งกับองค์กรที่ผมเข้าไปปฏิบัติภารกิจอีกด้วย     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 เม.ย. 22, 19:07
รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและองค์กรในสังกัดของ UN นั้นสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก Website ของ UN ได้   

ก็พอสรุปได้ว่า UN system นั้น มีองค์ประกอบหลักๆคือ ฝ่ายเลขาฯ (UN Secretariat),  หน่วยทำโครงการ (UN Funds and Programs เช่น UNICEF, UNDP,...),  องค์กรชำนาญการเฉพาะทาง (Specialized Agencies เช่น UNESCO, WHO, World Bank, IMF,...),  งานเฉพาะกิจ (Other entities เช่น UNHCR, UN Women,...) และองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน (Related Organization เช่น IAEA, WTO,...)

ผมมีภารกิจปฏิบัติในองค์กรชำนาญการเฉพาะทาง คือ UNIDO (UN Industrial Development Organization) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย  ซึ่งมีเรื่องให้ต้องไปรับรู้ในบางเรื่องหรือหลายเรื่องของ CTBTO, IAEA, UNOOSA, IEA,...

ชื่อย่อมากมาย แล้วค่อยๆขยายความครับ       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 เม.ย. 22, 20:21
ขอต้อนรับกลับมาเรือนไทยอีกครั้งค่ะ
จองเก้าอี้แถวหน้านะคะ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 เม.ย. 22, 19:20
UN มี 4 สำนักงานที่เป็นหลักตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ได้แก่ สำนักงานใหญ่ (Headquarter) ตั้งอยู่ที่ New York (USA), สำนักงานที่กรุง Vienna (Austria), สำนักงานที่เมือง Geneva (Switzerland) และสำนักงานที่เมือง Nairobi (Kenya)   

มีสำนักงานของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC _ Economic and Social Council) ตั้งอยู่ใน 5 ภูมิภาคของโลก คือ ESCAP (Economic Commission for Asia ans Pacific) ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ   ECA สำหรับอัฟริกา ตั้งอยู่ที่เมือง Addis Ababa, Ethiopia     ECE สำหรับยุโรป ตั้งอยู่ที่เมือง Geneva, Switzerland    ECLAC สำหรับละตินอเมริกาและคาริเบรียน ตั้งอยู่ที่เมือง Santiago, Ghile    ESCWA สำหรับเอเซียตะวันตก ตั้งอยู่ที่กรุง Beirut, Lebanon 

นอกจากนั้นก็มีสำนักงานย่อยขององค์กร หน่วยงาน หรือหน่วยปฏิบัติงานเพื่อการปฏิบัติงาน/ภารกิจอื่นใด ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆเกือบจะทุกประเทศอีกด้วย


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 เม.ย. 22, 19:44
อาจจะเล่าความในเบื้องแรกด้วยความน่าเบื่อไปสักหน่อยนะครับ ค่อยๆขยับเรื่องไปเพื่อให้เห็นโครงสร้างและองค์ประกอบบางส่วนของระบบเสียก่อน 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 เม.ย. 22, 16:54
ESCAP (Economic Commission for Asia and Pacific)


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 เม.ย. 22, 19:20
 ;D   น่าจะเริ่มเข้าเรื่องได้บ้างแล้ว

ก็คงพอจะเห็นภาพได้บ้างแล้วว่า มีองค์กรอยู่มากมายในระบบของ UN   ในหลายๆชื่อที่เราเคยได้ยินนั้น มีทั้งที่มีลักษณะเป็นองค์กรที่มี Charter จัดตั้งขึ้นมา คือ เกิดความเห็นร่วมกันให้มีการจัดตั้งองค์กรนั้นๆขึ้นมา ที่พร้อมไปด้วยข้อกำหนดทางด้านสิทธิ อำนาจ หน้าที่ ....ฯลฯ       มีทั้งที่เป็นในลักษณะของโครงการ (Funds and Programmes) ที่เกิดขึ้นจากความเห็นร่วมกัน ซึ่งได้รับการจัดสรรเงินช่วยในการบริหาร รวมทั้งได้รับเงินบริจาคเพื่อการดำเนินการจากประเทศผู้ให้เป็นเรื่องๆไป เป็นประเด็นๆไป หรือเป็นยอดรวมสุดแท้แต่ความเหมาะสม       และก็มีทั้งองค์กรเฉพาะทางที่ประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกช่วยกันออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขององค์กร รวมทั้งการทำโครงการต่างๆในรูปแบบของการบริจาคสนับสนุน  สมาชิกจะช่วยกันให้เงินการดำเนินการขององค์กรตามสัดส่วนของตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 เม.ย. 22, 19:27
ศัพท์ที่พึงสังเกตคือคำว่า Program กับ Programme     

ในระบบ UN จะใช้คำว่า Programme  ที่สะกดแบบอังกฤษ  ต่างไปจากที่เราคุ้นๆกันที่เขียนว่า Program ซึ่งสะกดแบบอเมริกัน 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 เม.ย. 22, 17:54
เมื่อมีองค์กร (Organization) และมีกิจกรรมกำหนดที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างมีเป้าหมาย (Programme) ก็ย่อมต้องมีงานด้านธุรการประจำอยู่ในแต่ละหน่วย  และก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ หรือนักวิชาการ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญเฉพาะทางประจำอยู่ในหน่วย     ด้วยที่ งาน Secretariat จึงมีความสำคัญ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 เม.ย. 22, 18:41
เพราะเนื้องานจะต้องแยกออกเป็นหลายส่วน อย่างน้อยก็ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือทำงานสนับสนุนองค์กรหรือโครงการ (ขอใช้คำว่าโครงการแทนคำว่า programme นะครับ) และอีกส่วนหนึ่งทำงานที่ต้องโยงอยู่กับสำนักงานใหญ่ของ UN ที่นิวยอร์ค

ยุ่งเข้าไปอีกนิดนึง ก็คือ โดยหลักพื้นฐานแล้ว การจ้างงานของ UN จะต้องมีการกระจายสัดส่วนให้กับบุคคลสัญชาติต่างๆในการเข้าทำงานตามสัดส่วนที่เป็นธรรม (มีการกำหนดตัวเลขไว้เป็นหลักการ)  แต่ในหลายตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงและบางตำแหน่งทางวิชาชีพนั้น ในหลายๆองค์กรจะเป็นการสนับสนุนโดยรัฐสมาชิก(เสนอ) และมีการเลือกโดยวิธีการให้ประเทศสมาชิกโหวดเสียง   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 เม.ย. 22, 19:45
เรื่องหนึ่งที่น่าจะพึงทราบ ก็คือ ในแต่ละองค์กรเฉพาะเรื่องนั้น มิได้หมายความว่าทุกประเทศจะเป็นสมาชิก  ต่างกับ UN ตัวแม่ ที่จะมีทุกประเทศเป็นสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมี 193 ประเทศ  และ Holly See กับ Palestine ในฐานะผู้ (รัฐ) สังเกตการณ์

ก็อาจจะเคยได้ยินชื่อการประชุม 3 ชื่อของ UN ที่นิวยอร์ค คือ การประชุม Sec. Gen. (Secretary-General) ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีเพื่อประมวลเรื่องที่เกี่ยวกับด้านการบริหารองค์กรของหน่วยงาน UN ทั้งหมด (งาน เงิน คน ...)    การประชุม GA (General Assembly) ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีเพื่อลงมติหรือหาฉันทามติเกี่ยวกับเรื่องภารกิจและงานของ UN ทั้งระบบ เป็นการประชุมในระดับผู้บริหารประเทศ     และการประชุม SC (Security Council)  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคงของโลก

ผมไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ แต่จำเป็นต้องรู้กลไกและระบบบ้าง เพราะเป็นสิ่งแวดล้อมประกอบในการพิจารณาการทำงานให้ได้ผล     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 เม.ย. 22, 08:31
ถ้าหนุ่มๆสาวๆเข้ามาอ่าน สนใจอยากจะทำงาน UN บ้าง ต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้างคะ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 เม.ย. 22, 18:12
กำลังจะเข้าไปถึงประเด็นที่อาจารย์ถามมาพอดีครับ

คุณสมบัติแรก ก็คือ ความสามารถในการใช้ภาษา ทั้งในเชิงของความสันทัดและความหลากหลายของภาษา   

ภาษาที่ใช้ในการทำงานตามปกติทั่วๆไปในระบบของ UN  เช่น ในการประชุมหารือ การประชุมกลุ่ม การประสานงาน ฯลฯเหล่านี้จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ในบางครั้งก็มีการใช้ภาษาฝรั่งเศส     ภาษาที่ใช้ในการประชุมอย่างเป็นทางการ เช่น ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือในการประชุมที่มี จนท.ระดับสูงของรัฐบาลของประเทศต่างๆมาประชุมร่วมด้วย  จนท.เหล่านั้นก็อาจจะเลือกกล่าวถ้อยแถลงเป็นภาษาหนึ่งใดใน 6 ภาษากลางของ UN ซึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน จีน และอาหรับ ซึ่งในการประชุมลักษณะนี้จะมีล่ามแปลสด (simultaneously) เป็นภาษากลางทั้ง 6 ซึ่งผู้เข้าประชุมก็สามารถจะหมุนปุ่มหูฟังเพื่อเลือกฟังภาษาที่ตนพอใจได้   

ทั้งนี้ ผู้สมัครงานจะได้เปรียบมากขึ้นในกรณีที่สามารถใช้ภาษาถิ่นในพื้นที่ๆสำนักงานในสังกัดของ UN ตั้งอยู่   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 เม.ย. 22, 19:14
ก็มีศัพท์อยู่ 2 คำ คือ คำว่า interpreter กับคำว่า translator

interpreter หมายถึงผู้ที่ 'แปลคำพูด' ในภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยทันใด รับงานแบบคิดค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงหรือเป็นวัน 

translator หมายถึงผู้ที่ 'แปลเอกสาร' ในภาษาหนึ่งไปเป็นในอีกภาษาหนึ่ง รับงานแบบคิดค่าจ้างตามปริมาณข้อความ หรือเรื่องราว

ทั้ง 2 งานนี้จัดเป็นงานที่สำคัญ   ซึ่งสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ล่ามนั้นจะต้องมีความรอบรู้ค่อนข้างมากในเรื่องของศัพท์ทางเทคนิคและความลึกซึ้งในความหมายของคำเหล่านั้น  แม้กระทั่งในเรื่องของคำพังเพยที่นิยมใช้กันในกลุ่มภาษาต่างๆ ก็ด้วยเหตุที่ต้องแปลในทันใด    สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่แปลเอกสารนั้น ส่วนมากจะมาเข้ามาฟังการประชุมด้วยเสมอ เพราะจะต้องนำร่างความเห็นหรือความตกลงที่ยกร่างกันในภาษาอังกฤษ นำไปแปลเป็นภาษากลางของ UN อื่นๆ แล้วนำกลับมาให้ตรวจสอบว่ามีความหมายตรงกันกับที่ถกกันและที่มีความเห็นกันนั้นหรือไม่ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 เม.ย. 22, 19:46
ที่กล่าวมานั้น เป็นตัวอย่างที่ัจัดอยู่ในประเภทงานเฉพาะทาง

อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษก็ยังเป็นภาษาที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานในการทำงานในระบบ ต้องใช้ตั้งแต่การสมัครและการคัดเลือกเข้าทำงาน   ต้องใช้ในการสื่อสารได้ดีทั้งการอ่าน การพูด และการเขียน   ตำแหน่งงานที่จะได้ก็จะไปขึ้นอยู่กับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 เม.ย. 22, 18:29
ตำแหน่งงานต่างๆที่มีก็จะประกอบด้วยกลุ่มงานต่างๆคล้ายๆกับขององค์กรทางราชการหรือของเอกชนต่างๆ  ซึ่งในความเห็นตามที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสมานั้น ก็น่าจะจัดได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ทำงานในลักษณะของฝ่ายงานธุรการ ซึ่งนิยมจะเรียกกันว่าฝ่าย Secretariat ก็จะมีเช่น งานธุรการทั่วๆไป งานการเงิน งานบุคลากร งานด้านการประสาน ติดตามและประเมิน งานด้านการแปล...   เป็นพวกงานที่ผู้ทำงานต้องมีวุฒิการศึกษาในสายนั้นๆ เช่น บัญชี เศรษฐศาสตร์ กฏหมาย ประชาสัมพันธ์ รัฐศาสตร์บางสาขา การจัดการทรัพยากรบุคคล  IT  กระทั่งบรรณารักษ์ ...  จะว่าไปก็คือทุกศาสตร์ที่มีการสอนกันอยู่ในมหาวิทยาลัย เพียงแต่ผู้สมัครงานจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้มากพอในสิ่งที่เป็นปรัชญาและเป็นแก่นสารของศาสตร์นั้นๆ มิใช่รู้แต่เพียงผิวเผิน    ในกลุ่มงานนี้ก็มีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มากประสบการณ์เฉพาะทางตามลักษณะงานขององค์กรรวมอยู่ด้วย

กลุ่มงานที่สอง คือกลุ่มที่ทำงานในระดับบริหาร  บุคลากรในกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกจะมีหนังสือสนับสนุนให้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่ง  ใช้วิธีการโหวดเสียงในที่ประชุม หรือใช้การหย่อนบัตรลงคะแนนดังเช่นการเลือกตั้ง

กลุ่มงานที่สาม คือกลุ่มงานบริการ ไม่จำกัดความรู้ เพียงแต่ต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษ(หรือฝรั่งเศส ?) ในการสื่อสารได้ ซึ่งส่วนมากจะเป็นคนในพื้นที่   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 เม.ย. 22, 19:22
เรื่องต่อไปก็คงจะเป็นเรื่องของเงินเดือน

เรื่องนี้ผมยังไม่ชัดแจ้ง  พอจะทราบแต่ว่า UN นั้นมีมาตรฐานกลางสำหรับระดับเงินเดือน เงินช่วยค่าครองชีพ และค่าตอบแทนต่างๆ  ซึ่งหมายความว่า หากคุณเป็นบุคลากรในระบบ UN  เมื่อคุณอยู่ประจำทำงานอยู่ที่สำนักงานใด ในประเทศใด คุณจะได้รับเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆ  หรือในภาพรวมก็คือ คุณจะได้รับเงินเดือนแตกต่างกันไปตามประเทศที่ๆคุณอยู่ประจำการ  ทำให้เมื่ออยู่ประจำการในประเทศเช่นออสเตรียและญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าครองชีพที่สูงมาก คุณก็จะได้รับเงินค่าตอบแทนรวมรายเดือนที่สูงมากกว่าการอยู่ประจำการในประเทศอื่น  แต่..หากพิจารณาในองค์รวมแล้ว เจ้าหน้าที่ใระบบ UN หลายๆคนเท่าที่รู้จักมา ดูอยากจะมาอยู่ประจำที่ประเทศไทย เพราะ comparatively แล้ว อยู่ในไทยนั้นมีความคุ้มค่าที่สุดในทุกๆ aspect ของการดำเนินชีวิต


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 เม.ย. 22, 18:04
สรุปตามภาพที่ได้ฉายมา

ข้อแรก ก็คือ หากประสงค์จะสมัครเข้าทำงานในระบบ UN ก็จะต้องมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษาอังกฤษในระดับค่อนข้างดี ทั้งการพูด การอ่านและการเขียน   ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆจะทำให้มีโอกาสมากขึ้นในการพิจารณารับเข้าทำงาน  ภาษาอื่นๆที่ค่อนข้างจะทำให้มีความได้เปรียบมากเป็นพิเศษคือภาษาสเปน     

ข้อสอง ก็คือ ฝ่าย Secretariat ของแต่ละองค์กรเกือบทั้งหมดค่อนข้างจะมีความเป็นอิสระในการรับบุคลากรเข้าทำงาน  ปริมาณบุคลกรตามวุฒิการศึกษา ความชำนัญการ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษ ก็จะเป็นไปตามความต้องการตามลักษณะงานขององค์กร    บุคลากรทุกคนจะมีสัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนด  ผมจำไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างระยะเวลากี่ปี น่าจะอยู่ในระหว่าง 3-7 ปี   สำหรับในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญจะเป็นสัญญา 7 ปี ซึ่งหากได้รับการจ้างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเกษียณแล้วก็ยังมีบำนาญอีกด้วย 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 เม.ย. 22, 18:31
ข้อสาม ก็คือ ได้รับเงินเดือนตามมาตรฐานกลาง แต่จะมีเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพตามที่ได้มีการกำหนดไว้ว่า ทำงานอยู่ประจำที่สำนักงานในประเทศใด จะได้เงินเพิ่มเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด     แต่ด้วยที่การจ้างบุคลกรนั้นดูจะมีการแยกออกเป็นกลุ่มพวก Local staff ด้วย  ก็เลยไม่แน่ใจนักว่าพวกบุคลกรเหล่านี้จะได้รับเงินเพิ่มช่วยเหลือหรือไม่  ซึ่งเรื่องนี้ก็ไปพ่วงกับเรื่องของสถานที่เปิดรับการสมัครงาน

ข้อสี่ ก็คือ ในระบบ UN มีความตกลงกันในเรื่องของปริมาณ / สัดส่วน ในเรื่องของเชื้อชาติของบุคลการที่จะรับเข้ามาทำงาน  เรื่องที่ไดเห็นชัดเจนอยู่ ก็คือ ในประเทศที่เป็นที่ตั้งของสำนักงาน ก็มักจะมีการจ้างบุคลากรของประเทศนั้นๆมากกว่าปกติ ซึ่ง เข้าใจว่าจะเป็นบุคลการในกลุ่ม Local staff   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 เม.ย. 22, 19:02
พอจะได้รู้พื้นฐานบางเรื่องแล้ว 

ก็มาถึงเรื่องของการสมัครงาน ซึ่งดูจะเป็นเรื่องง่ายๆที่ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร  แต่โดยเนื้อในแล้วเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อย    เรื่องนี้ จะต้องขอเอากระบวนการที่เกิดขึ้นในองค์กรที่ผมไปปฏิบัติภารกิจ เอามาเป็นตัวแทนเพื่อเล่าความเรื่องราวต่างๆ  เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสเขาไปสัมผัส ใช้ความสามารถส่วนตัว และช่วยกลุ่มในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งเกิดเป็นผลสำเร็จ แต่ไม่บรรลุถึงจุดประสงค์ของผมในการยังให้คนไทยได้มีตำแน่งเข้าไปทำงานในระดับบริหารขององค์กร


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 เม.ย. 22, 19:22
ขอเริ่มต้นว่า เมื่อองค์กรใดๆประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อเป็นบุคลากรขององค์กร  ตามปกติก็จะต้องมีการออกประกาศรับสมัครบุคคลพร้อมทั้งคุณสมบัติของบุคคลที่ต้องการ  ในระบบของ UN ก็ทำเช่นนั้น แต่เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า บุคลากรของ UN เกือบทั้งหมดจะเป็นพวกที่เรียกรวมกันได้ว่าเป็นฝรั่ง  หากได้เคยเข้าไปประชุมในสำนักงานของ UN ก็อาจจะได้เคยเห็นพวกที่เรียกรวมกันได้ว่าเป็นแขก  เช่นกัน บรรดาพวกยาม ภารโรง... ก็จะเป็นที่เรียกว่าพวกคนในท้องที่   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 เม.ย. 22, 17:22
ย้อนกลับไปอ่านดู เห็นว่าอาจจะเล่าความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้าง  การจ้างก็จะต้องมีการประเมินทุกปีตามปกติทั่วไป แต่จะจ้างต่อเนื่องได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด  อย่างไรก็ตาม ก็สามารถจะสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมได้ใหม่ได้อีก ซึ่งก็ดูเหมือนจะมีกำหนดไว้เหมือนกันว่าจะได้กี่รอบ  สำหรับบุคลากรที่ทำงานอยู่ในองค์นั้นๆได้นานๆนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นการเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่อื่นๆ ไม่ใช่ตำแหน่งเดิม 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 เม.ย. 22, 17:49
เล่าความต่อครับ

ด้วยปรัชญาตามแนวคิดของ UN ที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นองค์กรความร่วมมือในทางที่เป็นคุณประโยชน์สำหรับประชากรโลกและนานาชาติ  ก็จึงทำให้การไปสมัครเข้าทำงานของคนต่างชาติกับองค์กรต่างๆในระบบ UN ที่มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในบางประเทศ ได้มีโอกาสจะได้รับการเข้าทำงานได้ไม่ยาก  แต่มันก็มีข้อจำกัดในบางเรื่องที่ต้องพิจาณา โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของตนเองให้มีความสุขสบายในพื้นที่ๆมีภาษา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ฯลฯ ที่ต่างไปจากบ้านเกิดของตนเองค่อนข้างมาก


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 เม.ย. 22, 18:29
ที่เล่าความมาถึงช่วงนี้ ก็ดูจะเป็นเรื่องตามปกติที่พบเห็นได้ทั่วๆไป   

แล้วอะไรที่เป็นประเด็นปัญหา?      ประเด็นที่เป็นหลักใหญ่ๆก็คือ ผู้สมัครงานมีระยะเวลาน้อยมากสำหรับการเตรียมการต่างๆ  รวมทั้งเรื่องของความพร้อมของตัวเองทั้งด้านกายและใจ   
   
เรื่องเหล่านี้ จะให้เข้าใจได้ดีที่สุดก็คงจะต้องเป็นการลองปฏิบัติการด้วยตัวเอง   ลองดูนะครับ พิมพ์ UN ในอากู๋แล้วเลื่อนหา Employment 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 เม.ย. 22, 19:06
ก็น่าจะได้ความพอสมควรสำหรับกลุ่มงาน Secretariat  ซึ่งก็ดูจะตรงกับกลุ่มงานที่ฝ่ายการเมืองของเราชอบก็เรียกกันว่า ฝ่ายประจำ   ก็เข้ามาถึงงานของพวกสมาชิกขององค์กร ซึ่งจะเรียกว่าฝ่ายผู้ถือหุ้นก็น่าจะพอได้   ผมปฏิบัติภารกิจอยู่ในกลุ่มงานนี้ ในฐานะ Alternate Representative ของผู้แทนไทยประจำองค์กร UNIDO  ก็เลยพอจะเล่าเรื่องภารกิจและการปฏิบัติงานได้มากกว่างานของกลุ่มงานฝ่าย Secretariat   แต่ก็จะมีเรื่องที่โยงไปถึงเรื่องที่ได้การขยายความมาตั้งแต่ต้นกระทู้


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 เม.ย. 22, 19:35
UN ทำงานในระบบพวก แยกออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มที่มีเสียงค่อนข้างจะดังทางด้านบุ๋นก็คือ Group of 77+China (G-77 +China) เป็นกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนา มีสมาชิกทั้งหมดรวม 134 ประเทศ  กลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้องกันและมีการประชุมร่วมกัน ก็มีเช่น  ASIA, AFRICA, GRULAC, ARAB, WEO, Eastern Europe Group (CIS ?), ฯลฯ  มากมายไปหมด


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 เม.ย. 22, 18:40
G77+China เป็นเวทีของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพื่อรวมพลังความคิดและพลังการนำเสนอ พลังในการผลักดันและต่อรอง พลังในการแก้ไข และพลังในการสร้างสรรในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบและกลไกลทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในโลก  มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Geneva (สวิสฯ)  มีสำนักงานประสานงาน (Chapter)  ตั้งประจำอยู่ใน FAO (Food and Agriculture Organization), UNIDO (UN Industrial Devekopment Organizatin), UNESCO (UN Educational, Scientific and Cultural Organization), UNEP (UN Environmenta Programme)   และก็มีกลุ่มประเทศในกลุ่ม G-77 ที่ไปตั้งเป็นกลุ่ม G-24 ทำงานเกี่ยวกับเรื่องทางการเงินและการคลังในระบบ World Bank และ IMF  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาในรูปของ Intergevernmental Group

ยุ่งเหยิงดีนะครับ แต่ก็ต้องรู้พอสมควร เพราะว่ามันล้วนแต่มีผลโยงไปถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในหลายๆเรื่องในระดับของประเทศ อาทิ ในการเลือกผู้นำองค์กรต่างๆในระบบ UN เป็นต้น


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 เม.ย. 22, 19:42
ประเทศสมาชิกของ UN  ก็มีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มภูมิภาค

ASIA Group  ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Asia and the Pacific Group  มีทั้งหมด 53 ประเทศ 
AFRICA Group มีทั้งหมด 54 ประเทศ
GRULAC Group (Group of Latin American and Carribean)  มีทั้งหมด 33 ประเทศ
EEG Group (Eastern European Group)  มีทั้งหมด 23 ประเทศ
WEOG (Western European and Others Group) มีทั้งหมด 28 ประเทศ

ทั้งนี้ ก็มิได้หมายความว่า ในการดำเนินการภารกิจต่างๆนั้น จะต้องมีการประชุมร่วมกันภายในกลุ่มภูมิภาค แล้วมีความเห็นร่วมกัน    แท้จริงแล้ว กลุ่มประเทศในกลุ่มตามภูมิภาคเหล่านี้ต่างก็แยกกันออกไปร่วมอยู่ในกลุ่มต่างๆ เช่นในกลุ่มฝ่ายผู้ให้ (Donor countries_บริจาคความช่วยเหลือ) ประเทศฝ่ายผู้รับ (Recipient countries)  ประเทศกลุ่ม OECD (Organization of Economic Co-operation and Development ) หรือง่ายๆก็คือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ฯลฯ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 เม.ย. 22, 18:35
เรื่องราวกระโดดไปกระโดดมาบ้างนะครับ  ก็คงทำให้พอจะทำให้เห็นภาพมากขึ้นถึงความเกี่ยวพันโยงใยกันภายในระหว่างองค์ต่างๆ  ซึ่งก็เป็นอีกองค์ความรู้พื้นฐานหนึ่งที่สำคัญเพื่อการปฏิบัติภารกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ  (บางตัวอย่างก็เช่นในเรื่องของโอกาสของประเทศหรือของบุคลกรในการเข้าไปเป็นผู้นำในองค์กรต่างๆในระบบ UN)  ภารกิจเล็กๆส่วนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ต่างๆได้ปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างเหมาะสมและอย่างควรนั้นล้วนสะสมเป็น Big Data ของประเทศทั้งในเชิงของรูปธรรมและนามธรรม


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 เม.ย. 22, 19:30
ที่ให้ข้อมูลเรื่องการจำแนกเป็นกลุ่มภูมิภาคนั้น เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งเพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ในระบบ UN นั้นมีการหมุนเวียนเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำกลุ่มอยู่ตลอดตามระยะเวลาที่ได้มีการตกลงกัน  เช่นในกรณีของการประชุมใหญ่ประจำปีของของ UN นั้น การประชุมจะมีการหมุนเวียนผู้แทนของกลุ่มให้ไปทำหน้าที่เป็นประธานของที่ประชุม GA

  - African Group จะสามารถส่งผู้เข้ามาทำหน้าที่ประธานได้ทุกๆ 5 ปี ในปี ค.ศ.ที่ลงท้ายด้วยเลข 4 และ 9
  - Asia - Pacific Group ส่งได้ทุกๆ 5 ปี ในปีที่ ค.ศ. ลงท้ายด้วยเลข 1 และ 6
    .....ฯลฯ  (ข้อมูลจาก worldatlas.com)

ในขณะที่กลุ่ม G77+China นั้น มีการหมุนเวียนเปลี่ยนประธานกลุ่มทุกปี เป็นการเลือกกันเองภายในกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะเลือกผู้แทนภายในกลุ่มของตนส่งเข้าไป  ทั้งนี้ เพื่อลดความขัดแย้งกันทั้งภายในกลุ่มใหญ่ ก็จะมีระบบหมุนเวียนไปตามกลุ่มภูมิภาค สำหรับภายในกลุ่มภูมิภาคเองก็มีการหมุนเวียนไปในระบบตามตัวอักษรนำหน้าชื่อประเทศ     แต่ทั้งหลายทั้งมวลก็จะมีผลไปเกี่ยวพันกับการเสนอผู้ที่ตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ (ประทศ) หรือผู้บริหารระดับสูงในบางองค์กรในระบบ UN  ก็เลยมีระบบแต่ละประเทศมีการเก็บสะสมคะแนนเสียงและมีระบบการแลกคะแนนเสียงในองค์กรต่างๆในระบบ UN


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 เม.ย. 22, 18:32
เห็นว่า เรื่อง Institutional aspects ที่ได้เล่าความมา น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานพอเพียงที่จะไปกล่าวถึงในเรื่องอื่นๆ

เรื่องแรกน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลที่ไปเข้าร่วมประชุม ที่ไปนั่งอยู่บนเก้าอี้เดี่ยวๆหลังป้ายประเทศบนโต๊ะในห้องประชุม    ผู้ที่จะเข้าไปนั่งตรงนี้ได้จะต้องมี Credential (หนังสือรับรองสถานะของบุคคลที่เข้าไปร่วมประชุม) หรือจะต้องเป็นผู้ที่มี Accredit (ได้รับการรับรองหรืออนุมัติให้สามารถเข้าไปร่วมประชุมนั้นๆได้) 

ตามปกติแล้ว เอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆจะเป็นผู้แทนถาวร (Permanent Representative) ประจำองค์กรของ UN ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตอาณาของสถานทูตนั้นๆ แต่ด้วยที่ทูตเองก็มีภารกิจอื่นๆมากมาย ดังนั้นจึงมีการตั้งผู้แทนสำรอง (Alternate Representative) ซึ่งอาจจะมีหลายคนก็ได้ ให้เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจแทนในการงานที่ดำเนินการตามปกติขององค์กร    แต่..ก็มีบางประเทศ ตั้งผู้แทนในระดับทูตเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อรับผิดชอบดูแลและสั่งการภารกิจต่างๆของประเทศของตนที่ผูกพันอยู่กับองค์กรต่างๆที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสำนักงานสาขาของระบบ UN ใหญ่

ก็เลยมีทูตอยู่สองระบบที่ใช้คำนำหน้าว่า Ambassador  ทูตคนหนึ่งเป็นผู้แทนรัฐที่มีอำนาจเต็ม (Ambassador of Plenipotentiary)  และอีกทูตคนหนึ่งคือผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรประจำ...  ซึ่งบ้างก็นิยมเรียกว่า Ambassador และบ้างก็เรียกว่า Permanent Representative


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 เม.ย. 22, 19:23
ในการประชุมที่สำคัญหรือที่มีสาระน่าสนใจ ก็อาจจะมีองค์กรหนึ่งสนใจจะเข้าไปนั่งฟังเรื่องที่เกี่ยวพันกับองค์กรของตนด้วย หากที่ประชุมนั้นๆเห็นชอบร่วมกัน องค์กรนั้นๆหรือหน่วยงานนั้นๆก็จะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประชุมในฐานะ Observer ซึ่งจะไม่มีสิทธิในการถกแถลง ให้ความเห็น และออกเสียงโหวด    จะว่าเป็นสายสืบก็ได้ หรือจะว่าเพื่อนำข้อมูลไปเพื่อปรับภารกิจขององค์กรของตนให้เหมาะสมสอดคล้องกันก็ได้     จะเป็นเช่นใดก็ตาม โดยจิตใจของผู้ที่ปฎิบัติงานในระบบ UN แล้ว ทุกคนทำงานไปในทางร่วมด้วยช่วยกัน (Constructive Engagement)  แต่ก็ดูจะมีข้อยกเว้นที่ใช้ไม่ได้เสมอไป  :-X ;D   (ปรัชญา Nothing is for grant ดูจะยังคงใช้ได้อยู่เสมอ  ;D)


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 เม.ย. 22, 19:40
การประชุมเป็นกิจกรรมที่มีอยู่ตลอดทั้งปีของผู้แทนของประเทศต่างๆ  มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่ในลักษณะคุยกันเป็นกลุ่มเล็กๆระหว่างผู้แทนของประเทศที่มีความตกลงกัน เป็นสมาชิกร่วมกัน หรือมีความสัมพันธ์กันในเรื่องต่างๆทั้งในด้านการเมือง ด้าน เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน หรือในด้านอื่นๆ     ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก็จะเป็นระหว่างประเทศในกลุ่มภูมิภาค  ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก็จะเป็นในระหว่างกลุ่มภูมิภาคต่างๆ    ต่อไปเป็นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (G77+China)   ไปสู่การประชุมระหว่างประเทสฝ่ายผู้ให้กับประเทศฝ่ายผู้รับ(ระดับเอกอัครราชทูต)    และสุดท้ายก็จะเป็นระหว่างรัฐสมาชิก(ระดับรัฐมนตรี)

ก็คงน่าจะคาดได้แล้วว่า สารัตถะในแต่ละการประชุมหรือในการหาแสวงหาความเห็นร่วมต่างๆนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องของการพยายามที่จะไม่สร้างสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นการฟังความเห็นและการแสวงหาจุดที่จะทำให้เกิดความพอใจของผู้ที่มีส่วนได้/ส่วนเสียของทุกฝ่าย 

ก็คงจะทำให้นึกถึงคำว่า Lobby  ซึ่งหากจะมองในอีกมุมหนึ่ง ผู้แทนทั้งหลายก็ล้วนทำหน้าที่เสมือนเป็น Lobbyist  และก็คงจะไม่แปลกที่จะเห็นแต่ภาษาดอกไม้เบ่งบานอยู่ในเรื่องของการระหว่างประเทศ  การปฏิเสธที่ใช้คำแบบแรงๆก็จะไม่ค่อยได้เห็นกัน จะมีก็แต่เพียงวลีที่เป็นภาคเสธ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 เม.ย. 22, 18:58
การประชุมทุกระดับจะมีป้ายชื่อประเทศตั้งอยู่บนโต๊ะหน้าที่นั่งของผู้ทึ่เข้าประชุม ซึ่งหากเป็นการประชุมในเรื่องที่เป็นวาระงานตามปกติ (routine agenda) มีการแสดงความเห็น มีการถกกันในเรื่องงาน  การประชุมนั้นๆก็จะเป็นไปอย่างค่อนข้างจะเรียบง่ายและไม่เป็นพิธีรีตรองมากนัก เช่น ในกรณีประสงค์จะแสดงความเห็น หรือในกรณีการออกเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็มักจะใช้วิธีการยกเอาป้ายประเทศซึ่งจะวางในแนวนอน ยกขึ้นมาตั้งใว้ในแนวตั้ง เป็นต้น  ก็คือไม่มีการยกมือ/ยกแขนหรือตะโกนบอกประธาน อาจจะมีก็เพียงส่งสัญญานทางเล็กๆทางมือบ้าง

การประชุมเกือบทั้งหมดที่ไม่เป็นทางการมากนัก จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน แต่หากเป็นการประชุมที่เรื่องราวในถ้อยแถลงอาจจะอยู่ในข่ายเป็นข้อผูกมัด หรือที่จะมีผลเป็นข้อผูกพันในทางกฏหมาย (legal binding) ก็จะมีการใช้ภาษากลางของระบบ UN ในการกล่าว(เป็นช่วงๆ) ซึ่งการประชุมในลักษณะนี้จะเป็นการประชุมในระดับนโยบาย โดยเฉพาะในเรื่องของ Commitment ของรัฐต่างๆ  ก็จะมีล่ามในระหว่างการประชุม  ก็มีที่ผู้แทนของบางประเทศที่ประเทศของตนไม่ได้ใช้ภาษากลางของ UN  ได้กล่าวถ้อยแถลงในภาษากลางของ UN   (ที่เคยประสบมาก็ดูจะมีแต่การกล่าวแต่เพียงในภาษาฝรั่งเศส)   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 เม.ย. 22, 19:37
จะไม่มีการเลือกประธานในที่ประชุม ประธานของการประชุมต่างๆก็คือผู้แทนของประเทศที่สลับสับเปลี่ยนกันไปตามวาระที่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติตามที่มีกรอบความตกลงกันไว้อย่างหลวมๆเพื่อความเสมอภาคกัน   ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงก็โยงใยย้อนไปถึงปรัชญาในการจัดสรรปันส่วนความเสมอภาคของประเทศต่างๆในโลกของ UN


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 เม.ย. 22, 19:19
การประชุมต่างๆในระดับที่มีป้ายชื่อของประเทศวางอยู่ข้างหน้าผู้เข้าร่วมประชุม จะต้องมี Rapporteur ของที่ประชุมนั้นๆอยู่เสมอ เราจึงมักจะเห็นว่ามีบุคคลอยู่ 3 คน นั่งร่วมกันอยู่ในโต๊ะประธานของที่ประชุม นอกจากประธานและ Rapporteur แล้วก็มีบุคคลอีกผู้หนึ่งซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเรื่องงานที่เป็นวาระหลัก (Agenda) ของการประชุมนั้นๆ     

คำว่า Rapporteur นี้ ผมไม่ทราบว่าควรจะใช้คำภาษาไทยเช่นใดจึงจะตรงความหมายที่หมายถึงจริงๆ  ในภาษาไทยคงจะใช้คำว่า 'ผู้บันทึกการประชุม'    หน้าที่ของ Rapporteur จริงๆจะออกไปทางเป็นผู้รู้พัฒนาการของเรื่องราวต่างๆ ตามประเด็นที่ได้มีการพูดกันในการประชุมนั้นๆ รวมทั้งความเห็นร่วมและข้อตกลงต่างๆที่เกิดขึ้นในการประชุมนั้นๆ   มีบ่อยครั้งมากที่ในระหว่างการประชุมจะมีคำถามไปถึง Rapporteur ให้ช่วยขยายความกับสาระหรือเรื่องราวเกิดขึ้นจริงๆในระหว่างการประชุมนั้นๆ     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 เม.ย. 22, 19:23
ลม ฝน แล้วก็ไฟดับบ้าง  วันนี้ก็เลยต้องขอจบแบบห้วนๆเพียงนี้ครับ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 เม.ย. 22, 07:36
เมื่อคืนพายุแรงมาก  ดีที่ไฟไม่ดับค่ะ
เท่าที่เล่ามา น่าจะเป็นคนทำงานระดับบริหาร   แล้วบรรดาพนักงานตัวเล็กตัวน้อยที่นี่ล่ะคะ  ทำงานอะไร
ไม่มีโอกาสจะเลื่อนขึ้นไปอย่างที่บรรยายมาใช่ไหม  เพราะอยู่คนละส่วนเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐสภา อยู่คนละส่วนกับบรรดารัฐมนตรี วุฒิสมาชิก และสส.


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 เม.ย. 22, 18:11
ถูกต้องครับ เป็นรูปแบบตามที่อาจารย์ยกตัวอย่างขึ้นมาเปรียบเทียบ    ผู้แทนของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรก็เป็นเสมือนคณะกรรมการ  บุคลากรต่างๆขององค์กรก็คือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขององค์กร

ขออนุญาตย้อนกลับลงลึกลงไปในเรื่องของงานที่ได้เล่ามา ซึ่งก็จะต้องขอออกตัวไว้อีกครั้งว่า ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นข้อมูลและความรู้เท่าที่พอจะทราบจากสาระใน agenda ของการประชุม ผสมผสมผสานกับข้อมูลที่ได้รับรู้จากเจ้าหน้าที่คนไทยที่ทำงานอยู่ในองค์กรของ UN ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ร่วมอาคารกันที่กรุงเวียนนา   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 เม.ย. 22, 19:19
ขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษปะปนมากหน่อยนะครับ

สายงานในระบบ UN ที่สำคัญที่ยังพอจำได้ก็จะมี งานด้านบริหารและจัดการองค์กร  งานทางด้านกฎหมาย  งานทางด้านการเมืองและความมั่นคง  งานทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  และงานทางด้านนิเทศ    ก็เป็น career path ที่สามารถเลือกจะสมัครเข้าทำงานได้

ตำแหน่งงานต่างๆในระบบจะจำแนกออกเป็นกลุ่มและระดับ ก็จะมีกลุ่ม G (General service) ซึ่งจะแยกย่อยลงไปอีกตามลักษณะงานที่เป็นอาชีพ เช่น กลุ่ม technician, กลุ่ม security (ยาม..) ฯลฯ  ซึ่งในกลุ่มนี้ก็จะมีแยกออกไปเป็นงานที่เปิดสำหรับบุคคลทั่วไปและงานสำหรับคนในพื้นที่ (Local     

กลุ่มระดับ D (Director) เป็นตำแหน่งที่จะต้องมีรัฐหนุนหลัง   

มีระดับ P (Professional) เป็นตำแหน่งของผู้ชำนาญการหรือนักวิชาการเฉพาะทาง มีตั้งแต่ระดับ P2 ขึ้นไปถึง P7    ซึ่งสำหรับระดับ P6 และ P7 นี้ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มระดับ D   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 เม.ย. 22, 19:39
ตำแหน่งในระดับกลุ่ม D นี้ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ระดับ คือ D1 และ D2   

สำหรับระดับ D1 นั้น ก็คือระดับผู้อำนวยการใหญ่ขององค์กร (Directr General)  เป็นการหมุนเวียนกันทำหน้าที่ในระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันไปทั้งระบบ UN คือ พยายามจะไม่ซ้ำประเทศกันในการดำรงตำแหน่งขององค์ต่างๆ 

ในระดับ D2 ก็คือ ระดับผู้อำนวยการ เช่น เรื่องทางด้านการบริหาร (องค์กร)  เรื่องทางด้านการเงิน (ติดตาม ตรวจสอบ)


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 เม.ย. 22, 20:02
โดยสรุปในเบื้องแรก ก็คือความก้าวหน้าในหน้าที่การงานนั้น จะเลือกบนเส้นทางใดระหว่างกลุ่ม P หรือ กลุ่ม G


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 เม.ย. 22, 17:47
ระบบการทำงานของ UN นั้น มีทั้งที่เป็นลักษณะของ Task orient และ People orient  แต่เกือบทั้งหมดจะเป็นในลักษณะของ Task orient   อีกทั้งเกือบจะไม่มีการบรรจุบุคลากรเป็น Permanent staff  จะมีก็น่าจะเป็นในลักษณะกึ่งประจำในรูปแบบที่ที่ได้กล่าวถึงมาแต่ต้นกระทู้    ลักษณะทั้งมวลนี้ก็เลยทำให้ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานออกไปในทางที่ค่อนข้างจะจำกัด  อย่างไรก็ตาม ก็มีระบบที่ตัวบุคลากรเองสามารถจะดำเนินการให้ตนเองสามารถมีความก้าวหน้าได้   
เช่นใด ?   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 เม.ย. 22, 18:14
บุคลกรของ UN มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะมีความต่างออกไปก็ตรงที่ดูจะเป็นการไหลหมุนเวียนของบุคลกรภายในองค์กรนั้นๆหรือระหว่างองค์กรต่างๆของ UN มากกว่าที่จะเห็นบุคลากรหน้าใหม่ๆ    ที่ว่าไม่ค่อยจะเห็นบุคลากรหน้าใหม่ๆนั้น ....(ต้องไปเล่าความในอีกเรื่องหนึ่ง)


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 เม.ย. 22, 19:11
ในระบบ UN มีระบบ Internship   ก็คือระบบการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาฝึกงาน(โดยไม่ได้รับเงินเดือน แต่อาจจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางอย่าง) ระยะเวลาก็ดูจะอยู่ที่ 3 หรือ 6 เดือน  วุฒิการศึกษาจะอยู่ในระดับ ป.ตรี หรือ ป.โท  ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าก็มีเช่นกัน   ผมไม่มีความรู้เรื่องของระบบการการรับเข้ามาฝึกงาน ว่าผู้สนใจจะรู้ได้อย่างไรว่า หน่วยใหน ที่ใด เมื่อใด คุณสมบัติ...ฯลฯ   แต่ได้เห็นบรรดาผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กรนั้นๆ สามารถนำบุตรหลานเข้าไปฝึกงานได้  ซึ่งผู้ที่เข้าไปฝึกงานนี้ ในภายหลังก็ดูจะได้รับการคัดเลือกเข้าไปทำงานเป็น staff ขององค์กร โดยเฉพาะในกลุ่ม G    สำหรับในกลุ่ม P นั้น ก็คิดว่ามี แต่คงจะมีน้อยมาก เพราะเป็นระดับของผู้ชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง   

ช่องทาง Internship นี้ เป็นช่องทางที่นิยมใช้กัน  อย่างไรก็ตาม ความรู้และความสันทัดทางด้านภาษากลางของ UN (ภาษาหนึ่งภาษาใด) ผนวกกับระดับของการศึกษาก็ยังเป็นเรื่องทางคุณสมบัติที่สำคัญ 

ในบ้านเรามี ESCAP ที่เป็นสำนักงานสาขาของ UN ใหญ่ ซึ่งแม้จะทำงานหลักๆในด้านทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็มีส่วนเป็น Hup ของงานการปฏิบัติการต่างๆอยู่ของหลายองค์กร (?)   น่าจะลองไปเปิดเว็บไซต์ของเขาดูประกาศต่างๆก็น่าจะดี
อาจจะมีงาน Internship หรืองานอื่นๆที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะงานในกลุ่ม P   ก็เหยียบบันใดขั้นแรกให้ได้แล้วค่อยขยับขึ้นบันใดขั้นต่อไป ครับ   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 เม.ย. 22, 18:41
ก็มีข้อมูลที่พึงทราบ  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างการสมัครเข้าทำงาน โอกาสที่จะได้รับการเข้าไปทำงาน และความก้าวหน้าในที่การงาน 

ที่ได้เปรยมาว่า '..บุคลกรของ UN มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะมีความต่างออกไปก็ตรงที่ดูจะเป็นการไหลหมุนเวียนของบุคลกรภายในองค์กรนั้นๆหรือระหว่างองค์กรต่างๆของ UN มากกว่าที่จะเห็นบุคลากรหน้าใหม่ๆ..'  ผนวกกับระบบการจ้างงานที่เป็นลักษณะ Fixed-term employment     ก็พอจะบ่งชี้ได้ว่า องค์กร(HR)จะต้องมีข้อมูลอย่างพร้อมมูลตลอดเวลา เพื่อให้สามารถบริหารจัดการให้มีบุคลากรอยู่ครบในทุกตำแหน่งงานในทุกขณะเวลา  หมายถึงว่าจะต้องมีประกาศเกี่ยวกับความต้องการต่างๆตลอดเวลา   ก็ไปอยู่ที่ว่า กว่าที่บุคคลภายนอกทั่วไปจะได้เห็นประกาศรับสมัครงานนั้นๆ มันก็เป็นระยะเวลาที่สั้นและกระชั้นชิดเกินไปสำหรับการเตรียมตัวและการเตรียมความพร้อมต่างๆ ต่างกับคนที่ทำงานอยู่ภายใน ที่พอจะทราบอะไรๆล่วงหน้า (ระหว่าง 3 ถึง 6 เดือน) 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 เม.ย. 22, 19:47
ในเรื่องของความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน     ในลักษณะของการไต่เต้าขึ้นไปตามงานที่ทำภายในองค์กรนั้นๆ ผมไม่มีความรู้ว่าจะมีหรือไม่ หากจะมีก็น่าจะมีแต่เพียงในงานกลุ่ม G      เท่าที่พอจะมีความรู้อยู่นั้น ความก้าวหน้าใดๆจะเกิดจากการเปลี่ยนงานเมื่อหมดสัญญา Fixed-term หนึ่งใดแล้ว ก็คือการสมัครเข้าทำงานในอีกงานใหม่ หรือที่มี Job description ใหม่ หรืออื่นใดที่มีการประกาศรับสมัคร

ก็คงพอจะเห็นความต่างระหว่างคนที่ทำงานอยู่แล้วภายในองค์กรกับคนภายนอกที่มีการเข้าถึงข้อมูลและรายละเอียดต่างกัน ในเชิงของช่วงระยะเวลา Timing ลักษณะงาน ค่าตอบแทน สถานที่ปฏิบัติงาน...   

ขออภัยที่การเล่าความอาจจะช้าอืดอาด  หากเป็นการบอกเล่าด้วยปากเปล่าก็คงจะไปเร็วกว่านี้มากๆ  เพระสามารถจะกระโดดไป-กระโดดมาในประเด็นที่เกี่ยวพันกันได้ง่ายกว่ามากๆ    ก็เกรงว่าจะสื่อความได้ไม่ตรงกับเรื่องราวที่รู้มา   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 เม.ย. 22, 18:48
ด้วยภาพและลักษณะบางอย่างที่เล่ามา ก็คงพอจะทำให้เห็นภาพในเรื่องของความมั่นคงทางอาชีพการงานว่าเป็นเช่นใด     ระบบ Fixed-term contract นั้น ทำให้บุคลากรทุกคนต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน เพื่อจะได้ใบผ่านงานที่ดีๆ   มีความกระตือรือร้นในการติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะในเรื่องของตำแหน่งงานที่จะหมดสัญญาจ้าง/ที่จะเปิดรับสมัคร สถานที่ปฏิบัติงาน ค่าจ้าง/ค่าตอบแทน ช่วงเวลาที่สัมพันธ์กันกับความต้องการ และในเรื่องอื่นๆ

ก็มีคนไทยอยู่เป็นจำนวนหนึ่งที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทำงานในระบบ UN  มีทั้งคนที่ทำงานอยู่ในกลุ่ม G และ P    ที่ผมรู้จักนั้นก็มีทั้งผู้ที่เกษียณแล้วและที่ยังไม่เกษียณ  อีกทั้งผู้ที่เกษียณแล้วแต่ยังสมัครงานและได้รับการว่าจ้างทำงานในระบบ UN  (ในลักษณะงานเฉพาะ)  บางคนก็ทำงานอยู่ในองค์กรเดิมๆนานนับสิบๆปี บางคนก็เปลี่ยนงานไปอยู่ในองค์กรอื่นๆ ที่ย้ายไปเป็นมือทำงานให้กับ DG ของอีกองค์กรหนึ่งก็มี   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 22, 08:50
ตอนเด็กๆ รู้สึกว่าการได้ทำงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเรื่องโก้มาก   ส่วนหนึ่งของความโก้คือแสดงว่าเก่งภาษาต่างประเทศ
อีกส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่าได้เงินเดือนสูงกว่าทำงานในราชการหรือเอกชนของไทย
แต่ไม่เคยไปถามใครสักทีค่ะ
ถามคุณตั้งเสียเลย ทราบไหมว่าเงินเดือนจ่ายเป็นเงินตราอะไร เดาว่าดอลล่าร์   และเขาคิดตามอัตราค่าจ้างของอเมริกาใช่หรือไม่คะ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 เม.ย. 22, 19:11
เรื่องของความโก้นั้น ยังคงเป็นเรื่องที่รู้สึกพอจะสัมผัสได้ในบุคลากรทุกระดับและจากทุกชนชาติครับ โดยเฉพาะในด้าน life style     สำหรับในเรื่องของภาษานั้น ดูเหมือนทุกคนจะบอกว่าภาษาอังกฤษของตนนั้นป่วยมากขึ้น แล้วค่อยขยายความครับ

ในเรื่องสกุลเงินตราที่ใช้ในการจ่ายเงินเดือนนั้น เท่าที่รู้ จะจ่ายในสกุลเงินดอลลาร์ แต่ไม่แน่ใจสำหรับพวกที่ได้รับการว่าจ้างบนฐานของบุคลากรท้องถิ่นนั้น จะได้รับเป็นสกุลเงินท้องถิ่นหรือเช่นใด     

ในเรื่องของอัตราเงินเดือนนั้น ที่พอทราบ นอกจากจะต่างกันบนฐานของระดับงานแล้ว ก็ยังต่างกันบนฐานของสถานะของตำแหน่ง ว่าเป็นตำแหน่งที่ผูกพันและอยู่ในระบบการจัดสรรผู้ดำรงตำแหน่งระหว่างชาติต่างๆหรือไม่ ...ฯลฯ   ก็คือมีหลากหลาย scale เอามากๆ       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 เม.ย. 22, 19:56
เท่าที่ได้เคยพูดคุยและรับรู้ข้อมูลจากการประชุมหารือต่างๆ พอจะทราบว่าค่าจ้างของบุคลกรในระดับต่างๆจะอยู่ระหว่าง
$50,000+/- ถึงประมาณ $150,000+/- ต่อปี ไม่รวม Fringe benefits ต่างๆ   ซึ่งสำหรับบุคลากรในกลุ่ม P นั้น ดูจะเริ่มแถวๆ $70,000 +/- ต่อปี     

ที่กล่าวถึงเหล่านี้จะถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ไม่ทราบนะครับ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 เม.ย. 22, 18:09
รายได้ต่อปีที่กล่าวถึงนั้นดูจะไม่สูงมากนัก แต่ก็เห็นคนที่ทำงานเขามีความสุขกันดี  เรื่องรายได้เป็นเรื่องที่เขาไม่เอามาสนทนากัน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ งานประเภทเดียวกันอาจจะมีความต่างกันในเรื่องของคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของบุคคลที่สามารถจะเข้ามาดำรงตำแหน่งนั้นๆ อาทิ เรื่องเกี่ยวกับความเป็นนานาชาติ เรื่องเกี่ยวกับลักษณะของงาน (เฉพาะกิจ ปฏิบัติภารกิจในภาคสนาม ความรู้/เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ...) เรื่องเกี่ยวกับภาษี    และในเรื่องของเงินเพิ่มที่ปรับให้สอดคล้องกับดัชนีค่าครองชีพสำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานที่ตั้งอยู่ในประเทศที่ต่างกัน   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 เม.ย. 22, 19:38
ที่ว่า 'ก็เห็นคนที่ทำงานเขามีความสุขกันดี' นั้น นอกจากรายได้ที่ค่อนข้างจะดีกว่าปกติชนโดยทั่วๆไปแล้ว ก็มีเรื่องของสิทธิพิเศษในบางเรื่อง (Privilage) โดยเฉพาะในเรื่องของภาษี   

Commissary อาจจะเป็นคำที่ไม่คุ้นเคยกันนัก คนรุ่นเก่าจะคุ้นกับคำว่า PX     โดยพื้นฐานแล้ว ทั้งสองคำนี้ความหมายต่างกัน    Commissary มีความหมายออกไปทางสถานที่เก็บของ     PX เป็นคำเรียกสั้นๆจากคำว่า Post Exchange หรือสถานที่รับ-ส่งพัสดุของของหน่วยทหาร     แต่ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่บุคลากรขององค์นานาชาติและของทางทหารหมายถึงสถานที่จำหน่ายเครื่องบริโภคและอุปโภคบางอย่างเล็กๆน้อยๆที่ปราศจากภาษี    แต่จะยกเว้นด้วยภาษีอะไรบ้างนั้น ผมไม่มีความรู้จริงๆ 

เท่าที่เห็นจากราคาของสินค้าแล้วเดาเอานั้น บางสินค้าก็ดูจะยกเว้นแต่เรื่องภาษีนำเข้า บ้างก็ทั้งภาษีนำเข้าและส่งออก บ้างก็ภาษีสรรพสามิต บ้างก็ Taiff  บ้างก็ Levied tax  ฯลฯ   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 เม.ย. 22, 17:56
ขอขยายความอีกนิดเพื่อความกระจ่าง
   
ที่ว่าเรื่องภาษีนั้น ที่พอจะมีความรู้ ก็จะมีภาษีรายได้บุคคลและภาษี VAT  ซึ่งแต่ละบุคคลก็จะอยู่ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดและข้อยกเว้นต่างๆที่ปฏิบัติแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานะของตำแหน่งที่ครอง ลักษณะงาน และสัญชาติที่ถือ... ฯลฯ

สำหรับของกินของใช้ไปลดภาษีที่มีจำหน่ายใน Commissary

 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 เม.ย. 22, 18:41
สำหรับของกินของใช้ปลอดภาษีที่มีจำหน่ายใน Commissary นั้น  โดยหลักแล้วก็จะเป็นพวกที่มีลักษณะจำเพาะที่มีการใช้ในวิถีชีวิตประจำวันของคนชาติต่างๆ  สิ่งของหลายๆอย่าง ในมุมมองของแต่ละบุคคล แต่ละสถานะ แต่ละสัญชาติ ก็จะมีความเห็นที่ต่างกัน บ้างก็ในเรื่องของคุณภาพ(ต่ำ/สูง) บ้างก็ในเรื่องของระดับ(ปกติ/ไฮโซ) บ้างก็ในเรื่องของหายาก ฯลฯ  สุดแท้แต่จะเล่าขานวิจารณ์กันไป 

ของที่วางขายใน Commissary ของแต่ละองค์กรจะมีความแตกต่างกันไป มากบ้าง-น้อยบ้าง  ถึงจะมีของชนิดเดียวกันก็อาจจะเป็นของผู้ผลิตหรือแบรนด์เนมต่างกัน


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 เม.ย. 22, 19:17
พื้นที่ของ Commissary นั้นมีเนื้อที่ใหญ่กว่าขนาดของห้องแถว 2 ห้อง(ของบ้านเรา)เล็กน้อย   ก็คงพอจะนึกออกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ผู้ผลิตและแบรนด์ต่างกันจากทั่วโลกที่จะนำมาวางจำหน่ายนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้   การเลือกสินค้ามาวางขายจึงต้องมีวิธีการ     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 เม.ย. 22, 20:18
ก่อนจะไปต่อ  

ที่ผ่านมาผมใช้คำว่า สินค้าบ้าง ผลิตภัณฑ์บ้าง แล้วก็ใช้คำว่าวางจำหน่ายหรือจำหน่าย  ซึ่งเป็นศัพท์ที่ให้ความหมายไม่ค่อยจะตรงกับความหมายที่แท้จริงของเรื่องราว  คำที่ได้กล่าวถึงมานี้ดูจะให้ความหมายที่ผูกพันธ์ไปในเรื่องของการค้าขายสินค้าบนฐานของต้นทุน-กำไร        ที่ต้องการจะสื่อจริงๆก็คือ หมายถึงสิ่งของบางอย่างเพื่อเติมเต็มความสุนทรีในชีวิตประจำวัน    


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 เม.ย. 22, 18:43
ขอต่อเรื่องของภาพภายในระบบขององค์ต่อไปอีกเล็กน้อย ก่อนที่จะเข้าไปดูในเรื่องที่เกี่ยวกับวาระงานและกระบวนวิธีปฏิบัติที่ดำเนินการกัน

ิวิธีการอย่างหนึ่งในการเลือกสิ่งของที่จะเอามาวางจำหน่ายใน Commissary นั้น คือการใช้แบบสอบถามกับคนที่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้ facility นี้      สิ่งของต่างๆ คุณภาพ และแบรนด์ที่จัดวางจำหน่ายอยู่ก็จึงพอจะบอกอะไรต่อมิอะไรในองค์รวมของบุคากรในสังกัดได้พอสมควรทีเดียว ทั้งในด้านของกลุ่มเชื้อชาติ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นนานาชาติขององค์กร ระดับของความเป็นอยู่ของคนทำงาน ฯลฯ    คนที่เข้าไปซื้อของเขาก็สังเกตการจับจ่ายและมองกันว่าใครคนใหนเป็นอย่างไร


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 เม.ย. 22, 19:25
เอาเป็นว่าในสังคมนี้ดูจะมีเรื่องของ prejudicial mindset อยู่ในหัวของผู้คนอยู่ไม่น้อย 

ก็มีอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อจับสังเกตกัน ก็คือเรื่องของ etiquette  โดยเฉพาะในเรื่องของการกินทั้งในร้านอาหารและในงานรับรอง   บอกเล่ามาก็เพียงให้เป็นเรื่องน่ารู้บางอย่างในเรื่องของ mindset ของคนที่ทำงานอยู่ในวงงานที่มีลักษณะเป็นนานาชาติ เพราะการปฏิบัติที่ตามมาภายหลังกับตัวบุคคลนั้นๆ อาจจะมีความไม่เหมือนกันไปกับบุคคลอื่นๆ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 เม.ย. 22, 19:40
ก็จะขอเน้นว่า ภาษาและสำเนียง(ภาษาอังกฤษ)มิใช่เรื่องที่เป็นสาระสำคัญที่เขาเอามาดูแคลนกัน จะมีก็เพียงแต่คำว่าฟังยาก และอย่างมากก็เพียงจำแนกว่าเป็นแบบอเมริกัน อังกฤษ หรืออื่นใด  พูดออกไปให้สื่อสารกันได้รู้เรื่องและได้เนื้อความถูกต้องก็เพียงพอแล้ว  ทุกคนก็ดูต่างที่ก็จะต้องเรียนรู้เหมือนๆกันในการใช้ภาษา(อังกฤษ)สื่อสารฉบับ UN   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 เม.ย. 22, 19:05
ในเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารนี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านเกือบทั้งหมดจะต้องมีความกังวลทั้งด้านการพูด การอ่าน และการเขียน ว่าจะมีความถูกต้องหรือจะรู้เรื่องหรือไม่     ในประสบการณ์ที่สะสมมาของผม เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องไปสนใจและกังวลกับมันมากนัก คือเลิกกังวลได้เลย ตราบใดที่มันไม่เป็นภาษาแบบงูๆปลาๆ ไปใหนมาสามวาสองศอก 

อีกเรื่องหนึ่งก็คือคำศัพท์ คำแปล และความหมายโดยนัยของมัน   ก็เป็นเรื่องเกือบจะปกติที่เราจะฟังออก รู้ความหมายของทุกคำในประโยคนั้นๆ  แต่บรรดาภาษาที่ใช้กันในการปฏิบัติภารกิจอยู่ในระบบความสัมพันธ์นานาชาตินั้น บางทีก็ไม่ค่อยจะเข้าใจอย่างแท้จริงกับสาระของประโยคนั้นๆหรือคำพูดนั้นๆ   จะมีอยู่หลายคำศัพท์ที่เป็นคำเดียวกันที่ใช้ในกันปกติประจำวัน แต่ไปมีอีกความหมายหนึ่งเมื่อเอาไปใช้ในอีกเรื่องราวหนึ่ง   ก็จึงเป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆเรียนรู้กันไป

ด้วยความที่องค์กรในระบบ UN เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเวทีเพื่อการพูดคุยกันในเรื่องการแสวงหาความร่วมมือและการลดความขัดแย้งกัน เพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรสรรพสิ่งดีๆให้กับมนุษย์โลก   การใช้ภาษาดอกไม้ก็จึงมีอยู่มากมายเพื่อให้เกิดสภาพของการสร้างสรรพร้อมๆไปกับลดความตึงเครียดในเรื่องต่างๆ  แต้ก็มีที่ใช้ในลักษณะของการด่าทอ ประจาน เหน็บแนม เช่นกัน


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 เม.ย. 22, 19:27
ตัวอย่างของคำศัพท์ก็เช่น  Appropriation, Outstanding, Quorum, Enscribe, Committee เป็นต้น  นึกไม่ออกแล้วครับ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 เม.ย. 22, 19:48
ภาระงาน   

ด้วยที่ระบบ UN ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นเวทีสำหรับการพูดคุยกันของมนุษยชาติเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลดและกำจัดสาเหตุที่เป็นอุปสรรคทั้งหลาย     เวทีของการประชุมใหญ่ประจำปีที่สำนักงานใหญ่ใน New York ซึ่งเป็นเวทีที่ผู้นำประเทศต่างๆจะมากล่าวถ้อยแถลงเพื่อการแสดงความเห็นว่า เราควรจะร่วมมือกันต่อไปในเรื่องใดที่เป็นประโยชน์กับมวลมนุษย์ชาติ  ร่วมกันจัดทำเป็นวาระงานที่จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนต่อไปเช่นใด... จึงเป็นเวทีที่มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทาง แผนงาน จุดประสงค์/จุดมุ่งหมาย ในการดำเนินการขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ในระบบทั้งทางตรงและทางอ้อม  แต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องหรือโยงใยอยู่ในระบบก็จะเอาไปหารือกันภายในระบบองค์กรของตน ส่งความเห็นกลับไปตามสายงาน กลุ่ม หรืออื่นใด   ซึ่งเมื่อประมวลแล้วก็จะประชาสัมพันธ์ ประกาศออกมาเป็นวาระของความร่วมมือระหว่างนานาชาติที่มีเป้าหมาย เช่น ความประสงค์ที่จะให้บรรลุผลใน 8 เรื่องในวาระ UN Millennium goals


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 เม.ย. 22, 19:27
เมื่อประชุมกันแล้วก็ต้องมีผลการประชุม แล้วจะมีวิธีเช่นใดในการสรุปเรื่องที่ประเทศสมาชิกต่างๆได้กล่าวถ้อยแถลงกันนั้นๆ ให้ออกมาเป็นผลของการประชุมในครั้งนั้นๆ โดยให้เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศที่เป็นสมาชิก  เรื่องนี้จึงต้องมีระบบและกลไกในการดำเนินการ

เคยสังเกตใหมครับ ว่าภาพการประชุุมขององค์กรต่างๆในระบบ UN ที่ปรากฏทางสื่อนั้น จะเห็นภาพของการประชุมอยู่ 2 ลักษณะ คือภาพที่มีการยืนกล่าวอยูที่ Podium และภาพที่มีการนั่งกล่าวอยู่หลังป้ายชื่อบนโต๊ะนั่งประชุม   ซึ่งจะเห็นในภาพแรกว่า ห้องประชุมจะค่อนข้างโล่งๆ มีคนนั่งประชุมเล็กน้อย เห็นแต่ที่นั่งว่างๆเต็มไปหมด  ต่างกับภาพที่สองที่จะเห็นว่ามีคนนั่งอยู่เกือบครบตามป้ายชื่อประเทศ   ทั้งสองภาพเป็นสภาพตามปกติที่เห็นได้ในทุกองค์กร   ภาพแรกจะเป็นภาพในการประชุมที่เรียกว่า Plenary Session   สำหรับภาพที่สองนั้นมักจะเป็นลักษณะของการประชุมที่เรียกว่า Committee ซึ่งก็มีหลายรูปและลักษณะงาน (Committee on / of / for )

ในการประชุมในเรื่องที่สำคัญๆที่จะยังให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ไมว่าจะเป็นในทางบวกหรือทางลบก็ตาม  ก็จะมีการประชุมพร้อมๆกันไปทั้ง Plenary และ Committee เสมอ   ทั้งนี้ ในหลายๆกรณีที่มีผลไปถึงเรื่องทางกฏหมาย ก็ดูจะต้องจัดให้มี Committee of the Whole ขึ้นมา
 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 เม.ย. 22, 19:48
ที่เห็นที่นั่งใน Plenary session ว่างๆอยู่นั้น  ที่จริงแล้วก็มีการทำงานกันอยู่ มีการประชุมกันอย่างขมักขเม้นในห้องประชุมของ Committee   ส่วนผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน(Head of Delegates) ที่น่าจะต้องเห็นนั่งอู่ในห้องประชุม Plenary นั้น ที่หายไปก็เพื่อไปทำภารกิจอื่นๆที่สำคัญมากกว่าการมาร่วมประชุมเพียงเพื่อการนั่งฟังถ้อยแถลงของประเทศต่างๆ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 เม.ย. 22, 18:40
การประชุมใหญ่สามัญประจำปีขององค์กรต่างๆก็จึงมีการประชุมคู่ขนานกันไป 2 การประชุมเสมอ คือ Plenary meeting และ Committee meeting (ซึ่งอาจจะมีหลาย meeting ที่แยกประชุมกันไปเป็นเฉพาะเรื่อง (หนึ่งในนั้นจะมีการประชุมหนึ่งที่ชื่อว่า Committee of the Whole)   

ในภาพง่ายๆก็คือ Plenry meeting เป็นการแสดงความเห็นและจุดยืน  ส่วน Committee meeting เป็นการถกเถียงกันว่าจะเอาอย่างไรกันดี   

ผู้ที่ปรากฏตัวอยู่ใน Plenary จะเป็นผู้แทนของรัฐบาล  ส่วนเจ้าหน้าที่หรือคนที่ทำงานจะไปนั่งประชุมร่วมกันอยู่ใน Committee

การประชุม Committe ที่มีลักษณะค่อนข้างจะเป็นกันเอง ไม่เป็นพิธีรีตรอง ไม่มีป้ายชื่อประเทศกำกับ แต่จะมีการนั่งจับกันเป็นกลุ่มตามความเห็นที่เห็นพ้องกัน หรือเป็นกลุ่มทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือ.... ฯลฯ ก็เป็นการประชุมที่ไม่มีความเครียดแฝงอยู่ บางครั้งก็มีเฮฮาเสียอีกด้วยซ้ำไป


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 เม.ย. 22, 19:42
การประชุม Committee จัดเป็นการประชุมที่ทำให้ได้รู้ถึงความสามารถของบุคคลที่มาทำหน้าที่ในองค์กรนั้นๆ รวมทั้งทำให้ได้รู้ถึงลักษณะจำเพาะทางตรรกะ ปรัชญา แนวคิด...(behavior และ attitude) ในองค์รวมของแต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศ แต่ละประชาชาติ   ซึ่งจัดเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีประโยชน์มากในการทำงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นการประสานประโยชน์ร่วมกัน หรือการหาทางเดินสายกลาง


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ค. 22, 18:35
จะขอฉายภาพและไล่เรียงกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในการประชุมใหญ่แต่ละครั้งนะครับ

เมื่อคณะผู้แทนประเทศต่างๆมาถึงโถงหน้าห้องประชุม    เกือบทุกคณะผู้แทนก็จะยืนหรือนั่งจับกลุ่มกัน เพื่อรับฟังการสรุปวาระงานจากเจ้าหน้าที่ของฝ่ายตน ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่ทำงานในหน้าที่ตัวแทนของประเทศอยู่ในองค์กรนั้นๆ    เรื่องที่จะต้องสรุปให้ทราบโดยหลักๆก็จะมี เรื่องของการขึ้นพูดบนเวทีว่าจะเป็นในวันใด เวลาใด เป็นเรื่องแรก   เรื่องการพบกับผู้แทนของประเทศอื่นๆ หรือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กร  ซึ่งก็จะมีทั้งเขาขอพบเรา/เราขอพบเขาในระหว่างวันประชุม (ในระหว่างการประชุม/นอกเวลาการประชุม)   เรื่องเกี่ยวกับความสำคัญและประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนั้นๆ  เรื่องเกี่ยวกับท่าทีของแต่ะประเทศสมาชิก และท่าที่ในเชิงของกลุ่มที่จับกับกลุ่มกับบนพื้นฐานของความร่วมมือต่างๆ ... ฯลฯ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ค. 22, 19:48
ในเรื่องของการกล่าวถ้อยแถลงนั้นก็มีกระบวนวิธีการ 

ก็คือต้องมีการไปลงชื่อ(inscribe)กับฝ่าย Secretariat ในวันแรกที่เปิดประชุม เพื่อจะได้รู้ลำดับที่จะได้ขึ้นพูดว่าจะเป็นเมื่อใดของการประชุม (วันใหนและประมาณเวลาใด)  พร้อมๆกันไปก็จะมีการขอสำเนาเอกสารหรือ note ที่เตรียมมาจะใช้ในการกล่าวถ้อยแถลงบนเวที   ทั้งนี้ เราจะให้เลยก็ได้ หรือจะให้ตอนเช้าก่อนเวลาประชุมในวันที่จะขึ้นพูดก็ได้ หรือจะไม่ให้เลยก็ได้  จะเลือกเช่นใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆที่คณะผู้แทนจะเห็นเป็นความเหมาะสม   เอกสารนี้ โดยแท้จริงแล้วจะถูกส่งไปให้กับล่ามเพื่อให้ล่ามได้มีโอกาสอ่านทำความเข้าใจก่อนที่จะต้องผันเนื้อหาไปเป็นภาษาอื่นพร้อมๆไปกับการกล่าวถ้อยแถลง  ก็คือจะได้เลือกใช้ศัพท์ที่ให้ความหมายที่เหมาะสมและกินความเช่นเดียวกันกับที่ผู้พูดได้พูดออกไป

เมื่อเป็นการประชุมใหญ่ ผู้มาเข้าร่วมประชุมล้วนมาในฐานะผู้แทนของรัฐ ดังนั้น ถ้อยแถลงต่างๆที่กล่าวออกไปจึงมีความผูกพันกับรัฐ  มิใช่ตัวบุคคลหรือคณะบุคคลที่มาร่วมประชุมและกล่าวถ้อยแถลงนั้นๆ       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 พ.ค. 22, 18:54
จึงเป็นเรื่องปกติที่การแถลงของประเทศต่างๆจะเป็นการอ่านเท่านั้น  ซึ่งก็เป็นการอ่านตามข้อความที่ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลนั้นๆ หรือที่ของรัฐบาลนั้นๆส่งมาให้อ่าน   ก็มีเหมือนกันที่ผู้แทนของบางประเทศที่เข้าร่วมประชุมเกิดมีความสงสัยขึ้นมาว่า ประเทศหนึ่งใดและผู้ที่กล่าวนั้นเป็นผู้แทนของจริงจากประเทศนั้นๆหรือไม่  ก็จะมีการขอให้มีการตรวจสอบ Credential

Credential ก็คือหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคล/คณะบุคคลที่รัฐบาลนั้นๆได้ส่งมาให้เป็นผู้แทนเพื่อเข้าร่วมการประชุมนั้นๆในนามของรัฐบาล  ตามปกติแล้วคณะผู้แทนจะต้องยื่นหนังสือสำคัญฉบับนี้ให้กับเจ้าหน้าที่ในวันที่ลงทะเบียนก่อนเข้าห้องประชุม จะเข้าห้องประชุมได้ก็จะต้องมีชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนที่ลงไว้   ก็มีการตรวจสอบกันพอสมควร ส่วนมากก็จะปล่อยให้เข้าได้ไม่ยาก แต่ก็เคยเห็นที่มีการขอสอบถามก่อนเข้าห้อง     

ในกรณีที่การประชุมนั้นๆมีวาระที่จะต้องตัดสินใจสำคัญๆ เช่น กรณีมีวาระจะต้องออกเสียง (Vote)  หรือกรณีที่การตัดสินใจนั้นๆจะไปมีผลกระทบในวงกว้างกับประเทศสมาชิกต่างๆ...  วาระแรกๆของการประชุมในครั้งนั้นๆก็จะมีเรื่องของการตั้งคณะผู้ตรวจสอบ Credential อย่างเป็นทางการ   

แสดงว่าจะต้องเคยมีการลักไก่กันพอสมควร 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 พ.ค. 22, 19:40
ใช้คำว่าลักไก่บนฐานของเรื่องราวที่มิใช่ในทางลบ ครับ   ที่เคยเห็นมา เป็นเรื่องของเอกสาร Credential ไม่พร้อม ในวัน ว. เวลา น. ที่ขึ้นกล่าวถ้อยแถลง  ซึ่งเกิดจากความไม่สัมพันธ์กันในเรื่องของเงื่อนเวลาที่ได้รับการจัดให้ขึ้นพูดกับความพร้อมทาง Ligitimacy   สาเหตุพื้นฐานก็มาจากเรื่องของลำดับการขึ้นพูดที่จัดลำดับไปตามการมาลงทะเบียน   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ค. 22, 18:44
แม้จะมีการลงชื่อก่อนแล้วพูดไล่เลียงกันไป แต่การลงชื่อก็สามารถจะจองได้ว่าจะพร้อมพูดได้ในช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายของวันใด  เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้แทนประเทศที่จะมาประชุม เพราะว่าในการเดินทางมาของเขาเหล่านั้นมักจะต้องมีภาระกิจนัดหมายล่วงหน้าที่เป็นทางการในคราวเดียวกันกับการมาในแต่ละครั้ง

การปฏิบัติที่รับรู้กันในหมู่ประเทศสมาชิก และก็เป็นธรรมเนียมที่จะให้เวลากับประเทศที่ให้การสนับสนุนองค์กรรายใหญ่ๆได้พูดก่อนในช่วงเช้าของวันประชุมในวันแรก ตามมาด้วยผู้แทนของกลุ่มประเทศฝ่ายผู้ให้ ผู้แทนของกลุ่มประเทศฝ่ายผู้รับ ซึ่งเวลาที่จะใช้ในการพูดโดยทั่วไปก็เป็นที่รับรู้กันว่าไม่ควรเกิน 20 นาที  แต่ส่วนมากจะอยู่เกณฑ์ต่ำกว่า 10 นาที

เรื่องลำดับการพูดที่กล่าวถึงนี้ นอกจากจะเป็นเรื่องของการให้เกียรติกันแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องของการฟังน้ำเสียงหรือแนวโน้มที่องค์กรจะถูกผลักดันให้ไปในทางใด ควรจะดำเนินการอย่างใด ....  น้ำเสียงของถอยคำต่างๆที่กล่าวออกมานี้จะบ่งบอกถึงบรรยากาศในการประชุมที่จะดำเนินต่อไป  เรียกกันว่าการ tone ของการประชุม   ผู้ปฏิบัติงานของทั้งของฝ่ายสมาชิกและฝ่ายองค์กรจะสนใจฟังกัน เพราะถ้อยแถลงแรกๆเหล่านั้นคือการ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ค. 22, 18:58
ข้อความส่งออกไปไม่หมดครับ แปลกดี  ???

ข้อความที่ขาดไปคือ " เพราะถ้อยแถลงแรกๆเหล่านั้นคือการ set tone ของการประชุมในครั้งนั้นๆว่าจะเข้มข้น ผ่อนคลาย ขัดแย้ง ฯลฯ "


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ค. 22, 20:03
เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นผู้แทน/คณะผู้แทนต่างๆเข้าไปนั่งอยู่ในห้องประชุมในช่วงเช้าวันแรกของการเปิดประชุม  แต่ในช่วงบ่ายของวันแรกและวันต่อๆไปกลับเกือบจะไม่มีผู้แทนนั่งอยู่เลย ยกเว้นเฉพาะผู้แทน/คณะผู้แทนของประเทศที่จะกล่าวถ้อยแถลงที่ถูกจัดลำดับไว้ในช่วงเวลานั้น   

ภาพในห้องประชุมช่วงเวลาบ่ายที่ฉายมานี้ ดูจะเป็นภาพที่ไม่น่าดูนักสำหรับผู้คนทั่วไป เหมือนกับการร่วมกันโดดประชุม    ใน Plenary นั้น เนื้องานมีแต่เพียงการนั่งฟังผู้แทนของประเทศต่างๆอ่านคำแถลงของภาครัฐของตน  แต่สิ่งที่แต่ละประเทศกำลังต้องการให้เกิดขึ้นตามที่ได้แถลงนั้น แท้จริงแล้วได้กำลังดำเนินการถกกันอยู่ในการประชุม Committee และส่วนมากก็ได้นำไปดำเนินการอยู่ใน Committee ก่อนที่จะได้แถลงในห้องประชุม Plenary ออกไปเสียอีก  โดยปกติแล้วการประชุม Committee จะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาบ่ายของวันแรกที่เปิดประชุมใหญ่


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ค. 22, 18:06
ก็มีที่ความในถ้อยแถลงใน Plenary ไม่สัมพันธ์กับเรื่องราวหรือประเด็นที่สมาชิกส่วนใหญ่เขากล่าวถึง  เรื่องเช่นนี้ดูจะมีสาเหตุจากการขาดข้อมูลและการสื่อสารที่ช้า ไม่ทันการณ์ (ซึ่งจะได้ขยายความต่อไป)   ซึ่งที่จริงแล้วก็สามารถที่จะเลือกไม่กล่าวความใดๆเลยก็ได้ เพราะไม่มีความจำเป็นหรือมีข้อบังคับใดๆที่ประเทศสมาชิกจะต้องกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม

การกล่าวถ้อยแถลงแบบไม่มีการส่งสำเนาข้อความที่จะพูดเพื่อให้ล่ามได้อ่านก่อนเพื่อเตรียมตัวก็มี เรียกกันว่า Play by ears (Play it by ears)


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ค. 22, 19:24
เมื่อมีการประชุม ก็ย่อมต้องมีผลของการประชุม  ก็คงจะเคยเห็นคำศัพท์ที่ใช้กับผลของการประชุมต่างๆ ที่ค่อนข้างจะคุ้นเคยกันก็เช่น Declaration, Resolution, Decision  คำเหล่านี้ใช้กับผลการประชุมใหญ่ที่มีผลกระทบ (+ / -) ในวงกว้าง   (คำอื่นๆที่ไม่ค่อยจะได้ยินกันก็เช่น Recognized, Adopt, Take Note) 

เรื่องราวและสาระสำคัญของการประชุมต่างๆส่วนมากจะปรากฏอยู่ในเวลาช่วงเช้าของการประชุมในวันแรก ก็มีบ้างที่ไปปรากฏอยู่ในช่วงเวลาบ่ายของวันแรก   ในระหว่างที่ผู้แทนต่างๆที่นั่งกันอยู่เต็มห้องประชุม Plenary นั้น ความวุ่นวายหลังฉากก็ได้เริ่มปรากฏขึ้นพร้อมกันไปด้วย  คือจะมีการดำเนินการนำร่างผลของการประชุมในเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญๆไปหาผู้สนับสนุน เพื่อร่วมกันเป็นผู้เสนอผลสรุปของที่ประชุมตามที่เห็นพ้องกันในด้านสาระสำคัญ แล้วนำเสนอร่างนั้นๆในการประชุม Committee  เพื่อถกกัน ปรับแก้.... ฯลฯ บนฐานของความอะลุ่มอล่วย แม้ว่าในการถกกันนั้นจะเป็นการถกเถียงกันที่ดูจะดุเดือดก็ตาม   

ตามปกติ ร่างผลการประชุมนี้จะมีการนำเสนอทั้งจากฝ่ายผู้ให้และจากฝ่ายผู้รับ ซึ่งผลสุดท้ายที่เห็นพ้องกันก็อาจแปรไปมาระหว่างคำศัพท์ที่ได้กล่าวถึงแต่แรก   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 พ.ค. 22, 18:23
เอกสารสรุปผลการประชุมของแต่ละวาระที่มีการตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปเช่นใด จะมีอยู่สองส่วน คือส่วนที่เป็นเหตุผลโดยสรุป เรียกว่า Preambulatory Clause   กับส่วนที่เป็นการตัดสินใจ/ข้อสรุปว่าจะดำเนินต่อไปเช่นใด เรียกว่า Operative Clause  ซึ่งจะรวมอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกัน ก็อาจมีเกินเป็นกระดาษแผ่นที่สองเล็กน้อย  แต่ส่วนมากจะมีข้อความไม่เต็มหน้ากระดาษแผ่นเดียวนั้น 

ในห้องประชุม Committee   คำว่า Preambulatory Clause จะถูกเรียกกันสั้นๆว่า Preambula หรือ Preamp  ส่วน Operative Clause จะเรียกกันสั้นๆว่า Operative

ข้อความในส่วนที่เป็นเหตุ จะเป็นจะเป็นข้อความสั้นๆที่ส่วนมากจะไม่เกิน 2-3 บรรทัด  ด้วยที่จะมีหลายข้อสรุปของเหตุ จึงมีการแยกออกเป็นแต่ละเรื่อง/ประเด็น แยกออกเป็นแต่ละย่อหน้าสำหรับแต่ละเรื่อง/ประเด็น  ซึ่งแต่ละเรื่อง/ประเด็นก็มักจะบรรยายเป็นข้อความอยู่ในอยู่ใน 2-3 บรรทัดนั้น

สำหรับข้อความในส่วนที่เป็นด้านของการดำเนินการนั้น จะมีข้อความที่ยาวกว่าไม่มากนัก แต่ก็มีการแยกเรื่อง/ประเด็นออกเป็นแต่ละย่อหน้าเช่นกัน


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 พ.ค. 22, 19:05
ด้วยที่เรื่องของผลลัพท์จากการประชุมสามารถจะนำไปสู่การปฏิบัติได้เป็นเรื่องสำคัญ     เพื่อเป็นประโยชน์ ผมก็เลยไปค้นหาศัพท์ต่างๆที่ใช้ในด้านของเหตุ (Preambulatoty) และในด้านของผล (Operative)  ซึ่งความหมายของคำศัพท์เหล่านี้อาจจะพอทำให้เรานึกได้ถึงเรื่องราวหรือเนื้อความที่พึงสรุปสำหรับการตัดสินใจต่างๆที่จะส่งให้เกิดผลสำเร็จต่างๆได้   

https://www.wisemee.com/preambulatory-and-operative-clauses/ (https://www.wisemee.com/preambulatory-and-operative-clauses/)


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 พ.ค. 22, 20:09
ภาพที่ได้เล่ามาก็เป็นภาพรวมๆในมิติหนึ่ง 

ในภาพใหญ่ตามปกติ   ในเช้าวันเปิดประชุม จะมีผู้แทนของประเทศต่างๆนั่งประจำที่ๆมีป้ายชื่อประเทศกำกับอยู่  บนเวทีก็จะมีประธาน มี Rapporteur และเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรนั่งกันอยู่บนเวที  หลังที่นั่งของผู้แทนประเทศก็จะมีเก้าอี้อีก 2-4 ตัวสำหรับเจ้าหน้าที่/ผู้ติดตาม ที่เกินไปกว่านั้นก็อาจจะต้องเสียมารยาทไปเบียนนั่งเก้าอี้ของประเทศอื่น หรือยืนอยู่หลังห้อง หรืออยู่นอกห้อง   หลังจากฟังประเทศผู้ให้การสนับสนุนที่สำคัญแล้ว ก็จะเริ่มมีการทะยอยเดินออกไปเพื่อปฏิบีติภารกิจอื่น เช่นการพบปะการหรือทวิภาคี ฯลฯ   

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวของของประเทศสมาชิก จะเริ่มงานด้วยการนำพาคณะเจ้าหน้าที่ของประเทศตนและรายงานในเรื่องต่างๆ  เมื่อเมื่อถึงเวลาจะเริ่มประชุม ก็จะไปจัดการเรื่อง Credential และลงทะเบียนการกล่าวถ้อยแถลงตามเวลาที่คณะฯต้องการ จากนั้นก็ไปติดตามเรื่องที่จะเข้าสู่การประชุม Committee รวมทั้งท่าทีต่างๆของสมาชิก

ช่วงบ่ายของการประชุม ห้อง Plenary จะค่อนข้างโหลงเหลง  คณะผู้แทนที่เดินทางมาประชุมต่างก็จะมีธุระอื่นๆ จะคงเหลือแต่คณะผู้แทนที่นั่งรอเวลาที่จะพูด   ในขณะที่ในห้องประชุม Committee จะมีความคึกคัก แน่นไปด้วยเจ้าหน้าที่ของประเทศต่างๆ เพราะมีเรื่องได้เสียอยู่ไม่น้อยในเรื่องของประโยชน์อันพึงมี 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 พ.ค. 22, 21:47
หลังที่นั่งของผู้แทนประเทศก็จะมีเก้าอี้อีก 2-4 ตัวสำหรับเจ้าหน้าที่/ผู้ติดตาม ที่เกินไปกว่านั้นก็อาจจะต้องเสียมารยาทไปเบียนนั่งเก้าอี้ของประเทศอื่น หรือยืนอยู่หลังห้อง หรืออยู่นอกห้อง   
ผู้ติดตามที่มีจำนวนมากๆ เขามาทำหน้าที่อะไรกันบ้างคะ  เช่นมี 4 คนหรือมากกว่านั้น


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 พ.ค. 22, 18:48
การที่มีผู้แทนเดินทางมาจากประเทศของตนเพื่อเข้าร่วมประชุม  เป็นข้อบ่งชี้ว่าจะต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยราชการ หรือของรัฐบาล  ที่สังเกตเห็นมา ในระดับหน่วยราชการก็มักจะมีเพียง 2-3 คน   แต่หากเป็นระดับรัฐมนตรีก็จะมีหลายคน ซึ่งเท่าที่เห็นส่วนมากก็จะอยู่ระหว่าง 5-10 คน   ผู้ที่จำเป็นต้องนั่งอยู่ในที่ประชุมในช่วงเช้าวันแรกของการประชุม ก็มีเพียงตัว รมต.ในฐานะผู้แทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการประชุมครั้งนั้นๆเท่านั้น ที่เหลือก็สุดแท้แต่ รมต.ประสงค์จะเลือกผู้ใดให้นั่งช่วย back up อยู่ข้างหลังใกล้ๆตัว นอกเหนือไปจากนั้นก็ต้องดูแลตัวเอง จะยกเว้นก็คงจะเป็นเพียงท่านทูต

ภาพที่เห็นอยู่เป็นประจำตามปกติ ก็คือในวันที่ต้องกล่าวถ้อยแถลง ซึ่งเป็นวันที่ห้องประชุมค่อนข้างจะโหลงเหลงนั้น จะมีคณะผู้แทนเข้ามานั่งอยู่เต็มเก้าอี้หลังป้ายชื่อประเทศ แล้วก็มีการถ่ายรูปกัน ภาพส่วนหนึ่งก็คงใช้เป็นหลักฐานการเดินทางมาเข้าร่วมประชุม ส่วนหนึ่งก็เพื่อการประชาสัมพันธ์  และอีกส่วนหนึ่งก็น่าจะเพื่อเพิ่ม CV (Curriculum Vitae) ของแต่ละคน 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 พ.ค. 22, 19:27
ก็มีข้อสังเกตอยู่ในกรณีที่บางประเทศมีความพยายามจะลงทะเบียนเพื่อกล่าวถ้อยแถลงในช่วงบ่ายของวันแรกของการประชุม ต่อจากช่วงเช้าที่มีลักษณะเป็นการแสดงแนวโน้มของแนวคิดต่างๆของฝ่ายผู้ให้  กรณีเช่นนี้จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับฝ่ายเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิก ว่าจะมีข้อเสนอที่อาจจะมีพลังที่จะเบี่ยงเบนผลลัพท์ของบางวาระในการประชุมนั้นๆ   ในกรณีเช่นนี้ก็มักจะเห็นคณะผู้แทนของประเทศนั้นๆประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวาระงานขององค์กรอยู่หลายคน  ซึ่งข้อเสนอเหล่านั้นมักจะไปโผล่อยู่ในแนวทางของกลุ่มประเทศทางภูมิภาคที่นำไปถกกันใน Committee


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 พ.ค. 22, 18:43
คณะผู้แทนจากประเทศใดๆที่เดินทางมาเข้าร่วมประชุมนั้น มักจะมีวาระอื่นใดแอบแฝงอยู่ด้วย  เรื่องหนึ่งก็คือ เสมือนเป็นการแสดงการให้ความสำคัญกับองค์กรและการเป็นสมาชิกที่ active  แต่ในเนื้อแท้ มักจะมีเป้าหมายไปที่เรื่องของสถานะความพร้อมของประเทศตนในเรื่องของ action ในบางเรื่อง เช่น เพื่อแสดงว่าพร้อมจะทำงานอย่างเต็มที่หากได้รับการเลือกให้เป็นผู้นำกลุ่ม (....) หรือพร้อมจะเป็นประเทศที่ตั้งของโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาเรื่องหนึ่งใด เหล่านี้เป็นต้น


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 พ.ค. 22, 19:05
ย้อนกลับไปนิดนึงครับ ในเรื่องของศัพท์ที่ใช้ใน Preambulatory clause ที่ได้แนะนำให้ดูในเว็บนั้น คำเหล่านั้นล้วนใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยคของแต่ละย่อหน้าสั้นๆในผลสรุปและการตัดสินใจต่างๆของการประชุม  ก็จะมีหลายย่อหน้าไล่เลียงกันมาอย่างเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ซึ่งแต่ละย่อหน้าที่ไล่เลียงกันมานั้น(ตามปกติจะมีสี่ห้าย่อหน้า) จะขึ้นต้นด้วยศัพท์ที่ไม่ซ้ำกัน เช่นเดียวกันกับในส่วนที่เป็น Operative clause



กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 พ.ค. 22, 20:04
การประชุม Committee เป็นการประชุมที่มีความน่าสนใจมากๆ เป็นเหมือนห้องเรียนรู้สำหรับทุกคนที่เข้าประชุม เป็นเหมือนห้องที่มีแต่เรื่องของ facts and figures   เป็นเหมือนห้องถกกันแบบการทำ group dissertation   เป็นเหมือนห้องที่แสดงความหลากหลายในความเข้าใจที่ต่างกันอย่างลึกๆของคำศัพท์ที่ใช้ในประจำวัน  เป็นห้องที่ทุกคนเป็นทั้งอาจารย์และเป็นลูกศิษย์ในเวลาเดียวกัน 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 พ.ค. 22, 18:36
ภาพโดยสรุปอีกครั้งหนึ่ง   

สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องประชุมนี้ โดยเนื้อแล้วก็เสมือนการพิจารณาเรื่องงานต่างๆที่เป็นเนื้อเป็นหนังจริงๆขององค์กร  ส่วนสำหรับหัวหน้าคณะผู้แทนที่อยู่ในห้อง Plenary นั้น จะว่าไปแล้วอาจจะเกือบจะไม่รู้เรื่องใดๆในการประชุมครั้งนั้นๆเลย หน้าที่สำคัญที่จำเป็นจะต้องปรากฏตัวในห้องประชุมก็คือ ในวันเปิดประชุม วันกล่าวถ้อยแถลง และวันให้ความเห็นชอบ(adopt)ผลการประชุม(วันปิดประชุม)

อาจจะงงๆ  ???  อ้าว !  แล้วคณะผู้แทนไม่ไปต้องนั่งถก ไม่ต้องไปนั่งพิจารณาเรื่องอะไรๆเลยหรือ   ครับ..ก็เป็นเช่นนั้น  แต่หากมีความรับผิดชอบและใส่ใจในการทำงานจริง ก็มีเนื้องานที่ทำได้มากมาย   เท่าที่มีประสบการณ์และที่รับรู้โดยทั่วไป ก็จะมีการนัดพบหารือกับผู้อำนวยการใหญ่ขององค์กรเพื่อการขยายความร่วมมือต่างให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น  หรือการพยายามหาช่องเวลาเพื่อพบพูดคุยกับผู้แทนของประเทศอื่นใดในเรื่องของความร่วมมือด้านทวิภาคี (ฺBilateral Coopoation)  ฯลฯ    ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในพื้นที่หน้าประชุม หรือในห้องที่จัด/จองไว้  เรื่องการพบปะแบบทวิภาคีนี้มีการดำเนินการทั้งฝ่ายเราและฝ่ายเขา    เรื่องเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ทั้งจากฝ่ายคณะผู้แทนที่เดินทางมาและจากฝ่ายผู้รับผิดชอบดูแล/ปฏิบัติงานความร่วมมือกับองค์กรนั้นๆ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 พ.ค. 22, 19:14
คงจะพอเริ่มเห็นภาพการทำงานของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของรัฐในฐานะประเทศสมาชิกในการประสานงานและร่วมขับเคลื่อนองค์กร   การทำงานของบุคคลเหล่านี้โดยทั่วไปจะมีวาระ 4 ปี ทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูตของแต่ละประเทศสมาชิก  บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ร่วมกันปฏิบัติภารกิจในเชิงของการบริหารด้านเนื้องานให้เป็นไปตามพันธกิจขององค์กร  เรื่องที่นำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่เพื่อการตัดสินใจต่างๆเกือบทั้งหมดก็มาจากการทำงานของคณะบุคคลเหล่านี้ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 พ.ค. 22, 18:30
ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์จะกล่าวสรุปเรื่องราวและประเด็นสำคัญต่างๆขององค์กรในปีที่ผ่านมาอย่างสั้นๆ  ส่วนรายละเอียดนั้นจะอยู่เอกสารประกอบการประชุมที่จัดให้แก่ประเทศสมาชิกก่อนหน้าหลายสัปดาห์มาแล้ว ซึ่งก็จะมีเรื่องของงาน เงิน คน ตามปกติทั่วไป  เอกสารประกอบการประชุมจะจัดใส่ไว้ในตู้รับเอกสาร (pigeonhole) ของแต่ะประเทศที่ทยอยใส่มาเป็นเรื่องๆหรือเป็นชุด ก็จะต้องขยันไปเก็บเอาออกมารวบรวม ซึ่งเมื่อเอาวางตั้งรวมกันแล้วก็จะหนาประมาณหนึ่งคืบ+  ก็ต้องอ่านทั้งหมดให้รู้และเข้าใจอย่างชัดแจ้งเพื่อเตรียมการเข้าร่วมประชุม (รวบรวมจัดทำเป็นท่าที ความเห็น และถ้อยแถลง หรือ... ฯลฯ)

ก็ดูเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่มันก็มี   ที่ได้เห็น ได้รับรู้ และเห็นผลที่ทำให้ประเทศนั้นๆได้หรือไม่ได้รับประโยชน์ในด้านรูปธรรมและนามธรรมตามสมควร ทั้งในเชิงของปริมาณและคุณภาพ  ซึ่งดูล้วนจะมีสาเหตุมาจากเรื่องของความพร้อมในด้านบุคลากรและการทำงานของเขาเหล่านั้น(ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร)  ซึ่งผมเห็นว่ามีอยู่สองสามประเด็นที่สำคัญ       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 พ.ค. 22, 20:02
ในด้านบุคลากร    ประเทศในกลุ่ม G77 ส่วนมากจะไม่สามารถจัดให้มีบุคลากรไปประจำทำภารกิจเป็นการเฉพาะกับองค์กร ก็จึงใช้วิธีการมอบให้เป็นภาระของสถานทูต ซึ่งโดยส่วนมาก สถานทูตเองก็มีข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากร ซึ่งเขาเห่ลานั้นก็มีความรู้และความชำนาญเฉพาะเรื่องทางการทูต มิใช่ในเรื่องอื่นที่มีความลึกซึ้งเฉพาะทางของมัน  การไปเข้าร่วมประชุมต่างๆที่มีอยู่ในงานตามปกติขององค์กรก็จึงมักจะเป็นไปในลักษณะของการทำหน้าที่ตามภาระของสมาชิกประเทศ แต่ก็ยังสามารถให้ความเห็นได้ในบางเรื่องหรือหลายๆเรื่อง  การไปร่วมประชุมโดยส่วนมากก็จึงเป็นลักษณะของการเข้าไปนั่งฟังและเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆ แล้วส่งไปให้ Capital เพื่อพิจารณา(รับทราบ ดำเนินการ สั่งการ)  ซึ่งที่รู้จากการพูดคุยกันก็จะมีทั้งแบบได้มาแล้วส่งไปเลย หรือได้มาแล้วเก็บรวมใว้ก่อนส่ง หรือรอส่งในวันที่มีการส่งถุงเมล์ของสถานทูต   

Capital เป็นคำพูดที่ใช้กันที่หมายถึง หน่วยงานของรัฐในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน  มีลักษณะเป็นองค์รวมที่หมายถึงการดำเนินการตามระบบราชการ (รัฐบาล กระทรวงที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฯลฯ)

ที่จริงแล้วสภาพที่กล่าวมาเช่นนี้ก็เกิดในหมู่ประเทศฝ่ายผู้ให้เช่นกัน ต่างกันก็แต่เพียงเรื่องของการพิจารณาและการตัดสินที่จะเร็วกว่ามาก


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ค. 22, 18:39
กรณีการทำหน้าที่เพียงการทำหน้าที่เข้าไปนั่งในห้องประชุมในฐานะผู้แทนประเทศ และเพียงเพื่อการเก็บรวบรวมเอกสารแล้วส่งกลับประเทศของตน เหล่านี้เป็นรู้กันและเรียกภาระกิจนี้กันว่า ทำงานเป็นนายไปรษณีย์  ซึ่งที่เห็นก็มีทั้งนายไปรษณีย์ระดับเล็กและระดับใหญ่     ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกันที่หลายประเทศที่พอจะมีกำลังทางเศรษฐกิจก็ดูจะมีการฝึกเพื่อลดปริมาณนายไปรษณีย์ คือจะจัดให้มีบุคลากรทางการทูตรุ่นเยาว์ไปประจำการอยู่หลายคน แล้วให้กำหนดให้บางคนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เช่น การประชุมกลุ่มภูมิภาค การร่วมหารือในกลุ่มย่อย การสังสรรค์...     สภาพดังกล่าวนี้ ผมได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจที่ยังให้เกิดเป็นผลดีกับประเทศไทยหลายๆเรื่อง  ท่านผู้อ่านแต่ะท่านคงจะเห็นช่องทางที่ควรจะดำเนินการแล้ว

ก็สัมผัสได้ว่า งานไปรษณีย์นี้ดูจะเป็นที่นิยมของผู้ที่ประจำการอยู่นอกประเทศของตนอยู่ไม่น้อย  ยิ่งนายใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องของ ธุระไม่ใช่  ก็ยังให้เกิดแต่ผลในด้านการเสียผลประโยชน์อันพึงมีของเรื่องอื่นใดที่นอกนอกเหนือไปจากภารกิจตามหน้าที่หลักของตน


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ค. 22, 20:08
ด้วยที่ผมมีความเชื่อว่า การทำงานเพื่อมุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์(Result)ในเวทีที่มีความหลากหลายในเชิงของปรัชญา ความเชื่อ และโคตรเง่า(Roots) นั้น จำเป็นที่เราจะต้องรู้และเข้าใจให้มากที่สุดในเชิงของการ 'รู้เขา รู้เรา'

ในช่วงเวลาแรกๆของการปฏิบัติภารกิจ ก็เกิดแว็บขึ้นมาว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ของหลายๆประเทศดูจะมี attitude ในด้านต่างๆแปลกๆ อ่านไม่ออกและไม่เข้าใจ  ซึ่งเดาว่าน่าจะหาสาเหตุได้จากข้อมูลในทางประวัติศาสตร์ ดังเช่นกรณีความรู้สึกลึกๆต่อกันระหว่าง attude ของคนเชื้อสายต่างๆรอบบ้านเรา (พม่า กะเหรี่ยง ลาว เขมร เวียดนาม ฯลฯ)  เลยค้นคว้า ซึ่งได้พบว่าข้อมูลที่ให้ภาพต่างๆได้ดีมากก็คือเรื่องราวในกลุ่มเรื่องที่เรียกว่า The Congress of Vienna  ก็ลองหาอ่านดูนะครับ ได้ความรู้มากมาย

ผมขอหายไปจากกระทู้ประมาณสัปดาห์ครับ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 พ.ค. 22, 17:54
ย้อนกลับไปอ่านแล้วก็พบว่าสะกดผิดหลายคำเลยทีเดียว ต้องขอโทษและขออภัยด้วยครับ เร่งรีบไปหน่อยครับ   

ที่เป็นภาษาอังกฤษก็คือคำว่า attitude (ไม่ใช่ attude)    ที่เป็นภาษาไทยก็จะมีตัว 'ล' ที่มักจะหายไป ซึ่งเกิดมาจากแป้นพิมพ์ตัว ล ที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย    และที่เป็นเรื่องของความกระโดกกระเดกในเรื่องราวและภาษานั้น มาจากเรื่องของ สส (สมองเสื่อม) และ สว (สูงวัย)


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 พ.ค. 22, 19:26
หนังสือที่ให้ความรู้และความเข้าใจในอีกมุมหนึ่งที่อ่านแล้วเป็นประโยชน์ ก็จะเป็นกลุ่มเรื่องราวที่เรียกว่า Cultural shock และกลุ่มเรื่องราวที่เรียกว่า Phobia

ในภาพรวมๆแล้ว ความรู้ที่ได้จากสามกลุ่มข้อมูลนี้ ก็คือ ความเป็นไปต่างๆในประวัติศาสตร์ของยุโรป  ความต่างในทางประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์  และความรู้สึกในทางลบต่างๆในมุมมองของคนนอกกลุ่ม

ก็อาจจะเห็นว่าแปลกที่ต้องไปรู้เรื่องราวของุโรป  เรื่องก็ไม่มีอะไรมากกว่าไปเหตุผลว่า   โครงการและการดำเนินการต่างๆภายใต้ UN  และรวมทั้งความช่วยเหลือต่างๆที่อยู่ในด้านทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นใด ที่ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะ Bilateral, Plurilateral, หรือ Multilaterl ทั้งหลายเหล่านั้น น่าจะเกือบทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายประเทศผู้ให้ที่อยู่ในโรป ทั้งในด้านการเงิน ด้านผู้เชี่ยวชาญ และภาคการปฏิบัติในสนาม ซึ่งโครงการและความช่วยเหลือเหล่านั้นล้วนดูจะมีเป้าประสงค์ในลักษณะที่เป็นการให้บนพื้นฐานของ sustainable development คือให้ความช่วยเหลือเพื่อให้สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง  ไม่เด่นชัดในลักษณะของการให้แบบ give & take หรือบนฐานของ nothing is for granted เพื่อการเบ่งกล้ามหรือเอาไว้ทวงบุญคุณแบบที่พอจะเห็นๆกัน   

ก็คงจะนึกเลยไปถึงคำว่า colonial กับ imperial   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 พ.ค. 22, 18:17
เข้ามาถึงเรื่องของเงิน  ซึ่งผมไม่สามรถเล่าเรื่องของเงินได้มากนัก เพราะว่าไม่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง มีแต่เรื่องในทางรับทราบเป็นหลักใหญ่

เรื่องราวแบบคร่าวๆตั้งแต่ต้นทางมามีลักษณะเป็นดังนี้   เงินเพื่อการทำงานของระบบ UN ได้มาจาก 2 ทางคือ จากการลงขันของประเทศสมาชิก (Assessed contribution) และจากการบริจาคสมทบ (Voluntary Contribution)  มีคณะกรรมการที่เรียกว่า Fifth Committee (Administrative and Budgetary Committee) เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ 

เงินจากการลงขันนี้ก็มีวิธีคิดว่าแต่ละประเทศสมาชิกจะต้องจ่ายในปริมาณมากน้อยเพียงใดตามแผนงานต่างๆในแต่ละปีที่ UN จะดำเนินการ  โดยประเมินจากตัวบ่งชี้ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่างๆของแต่ละประเทศสมาชิก  เรียกเงินส่วนที่ต้องจ่ายกันนี้ว่า Appropriation  ซึ่งก็จะจัดแยกเป็นจำนวนเงินสำหรับแต่ละประเทศที่ต้องชำระให้กับแต่ละองค์กรที่เป็นสมาชิกอยู่       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 พ.ค. 22, 19:16
สำหรับเงินบริจาคสมทบนั้น คงจะเข้าใจกันได้ดีอยู่แล้วว่ามันต้องมีวาระเฉพาะจึงมีการให้ (ดังที่ได้เล่ามาแล้ว)  เงินส่วนนี้ทำให้มีการจำแนกออกเป็นกลุ่มประเทศผู้ให้ (Donor countries) กับกลุ่มประเทศผู้รับ (Recipien countries)   ในช่วงที่ทำงานอยู่ก็ได้เห็นบางประเทศประสงค์จะก้าวข้ามไปอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ให้ ซึ่งดูจะไม่ค่อยเป็นเรื่องที่ยินดีกันทั้งสองฝ่าย เลยทำให้เกิดสภาพขาดเพื่อนของประเทศนั้นๆอยู่พอสมควร

ก็คงจะนึกเลยไปถึงคำว่า prejudice และ discrimination       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 พ.ค. 22, 19:22
ในปัจจุบันนี้องค์กร UNIDO ที่ผมเคยเป็นหนึ่งในผู้แทนไทยประจำองค์กร ได้เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก สมาชิกหลายประเทศได้ถอนตัวออกไป (สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม ปอร์ตุเกต กรีซ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก)  ก็เป็นข้อชวนให้สังเกตว่า ดูล้วนจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมและอยู่ในกลุ่มประเทศ G7  ซึ่งโดยการปฏิบัติก็คือเสมือนไม่ประสงค์ที่จะสนับสนุนการพัฒนา SME (รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อย_Micro SME)  และการเกิดใหม่ของผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ซึ่งเป็นแนวทางที่สมาชิกประเทศขององค์กรเกือบทั้งหมดประสงค์จะได้เห็นการร่วมมือกันทำงานเพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เพื่อการสร้างห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน

ก็น่าสนใจต่อไปอีกว่า ในขณะที่ประเทศสมาชิกซึ่งส่วนมากจะเป็นประเทศในกลุ่ม G77+China ล้วนแต่ต้องช่วยกันลงขันเพื่อให้องค์กรได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นตามฐานานุรูปของประเทศสมาชิก แต่บรรดาผู้ปฎิบัติงานในส่วนที่เรียกว่าฝ่าย seretariat และผู้เชี่ยวชาญ นั้น ดูล้วนจะเป็นบุคลากรที่มีสัญชาติที่สรุปเรียกอย่างง่ายๆว่า ฝรั่ง 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 พ.ค. 22, 20:12
เรื่องสัพเพเหระทั้งหลายที่เล่ามาตั้งแต่ต้นเหล่านั้นก็คือสภาพหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ล้วนเป็นประเด็นที่พึงต้องนึกถึงเพื่อความเข้าใจในบางเรื่อง จะมีมากบ้างน้อยบ้าง อาจจะมีหรือไม่มีสาระที่เกี่ยวข้องใดๆเลยก็ได้   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 พ.ค. 22, 17:43
เงินเป็นเรื่องที่ทุกๆคนน่าจะคิดเหมือนๆกันว่า จ่ายไปแล้วได้อะไรกลับมา จะหามาเอามาใช้ได้อย่างไร  หรือจะให้เงินมันทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองหรือต่อส่วนรวมได้อย่างไร  ด้วยความคิดพื้นฐานเช่นนี้ ประเทศสมาชิกซึ่งต้องช่วยกันทำให้องค์กรทำงานที่เกิดประโยชน์ได้ ด้วยการจ่ายเงินให้องค์กรในระบบ UN ทั้งในรูปของ Assessed contribution และ Voluntary contribution ต่างก็คงจะคิดไม่ต่างกันไปจากความคิดพื้นฐานนั้นนัก  จ่ายเงินเป็นจำนวนมากก็ย่อมต้องติดตามดูว่าเงินนั้นได้นำไปใช้อย่างไร อย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่  องค์กรเหล่านั้นจึงมีหน่วยงานสำคัญเพื่อกำกับดูแลที่สำคัญอยู่สองหน่วย ก็คือ หน่วยด้านแผนงานและการปฏิบัติการ กับหน่วยงานด้านการเงินและการตรวจสอบ/ตรวจทาน (comptroller)

สำหรับหน่วยงานด้านแผน  ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยดูจะไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นของฝ่ายผู้ให้หรือของฝ่ายผู้รับ  แต่สำหรับหน่วยงานด้านการเงินและการตรวจสอบ/ตรวจทานนั้น ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยจะถูกขีดวงไว้สำหรับสมาชิกประเทศที่จ่ายเงินในระดับสูงต้นๆ         


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 พ.ค. 22, 19:06
เมื่อองค์กรมีงานที่ต้องปฏิบัติตามวาระงาน (Agenda) ตามแผนงาน (Programme) และตามโครงการ (Project) เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (achievement) ก็จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบของงานต่างๆทั้งใหญ่และเล็ก  ซึ่งงานต่างๆเหล่านี้ก็คืองานที่ออกแบบให้มีรูปเฉพาะสำหรับกลุ่มประเทศ มีทั้งที่เป็นในรูประดับภูมิภาคหรือระดับย่อยอื่นใด  งานในลักษณะเฉพาะที่เป็นงานแบบ Tailor made เหล่านี้ คืองานที่ผู้เชี่ยวชาญขององค์กรและประเทศสมาชิกมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างมาก  ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานแสวงประโยชน์หลักที่สำคัญของผู้แทนต่างๆที่ไปประจำอยู่/ประสานงานกับองค์กร


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 พ.ค. 22, 19:10
งานสนับสนุน/ช่วยเหลือในลักษณะจำเพาะนี้ เกิดขึ้นได้จากสามเส้นทาง คือ จากฝ่ายผู้ให้ จากฝ่ายผู้เชี่ยวชาญประจำองค์กร และจากฝ่ายผู้รับ (กลุ่ม G77+China)   

สำหรับฝ่ายผู้ให้นั้น เขาก็มีการประชุมหารือกันเพื่อหาความเห็นร่วมกันว่าจะเน้นการสนับสนุนในเรื่องใดในองค์รวม ซึ่งเท่าที่ได้สัมผัสมาก็ดูจะมีกรณีผู้ให้ใดสนใจจะสนับสนุนในเรื่องใดให้กับกลุ่มผู้รับใด   ซึ่งเนื้องานที่ให้การสนับสนุนก็พอจะจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ กลุ่มเนื้องานประเภทการสร้างเสริมโครงสร้าง (Institutional building) และประเภทเสริมสร้างความสามารถ (Capacity building) 

ขอต่อพรุ่งนี้ ครับ  ;D


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 พ.ค. 22, 18:25
ก็คงจะเห็นภาพแล้วว่า เมื่อเข้าสู่ภาคปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลประสงค์ของเนื้องานของทั้งสองรูปแบบนี้ ซึ่งอยู่ในรูปนามธรรม  ก็จะต้องมีเรื่องในรายละเอียดที่ต้องดำเนินการอยู่มากมายหลายประเด็น (ทั้งด้านประเทศผู้ได้รับโครงการและด้านองค์กร) ก่อนที่จะทำให้เกิดเป็นภาคปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมได้ ก็จะมีเช่นในเรื่องของเงื่อนไข ซึ่งจะมีรายละเอียดลึกลงไปถึงระดับฝ่ายใดจะให้อะไร ฝ่ายใดจะสนับสนุนในเรื่องใด ฯลฯ  ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็จะไปเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการให้ความเห็นชอบในระดับกระทรวงหรือในระดับรัฐบาล เพราะอาจจะเกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณ/ค่าใช่จ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านของบุคลากรและหน่วยงานรับผิดชอบเฉพาะกิจหรือโดยตรง....

เพื่อให้เกิดภาคปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมจริงๆ ก็ต้องมีการนำเสนอโครงการดำเนินการที่มีลักษณะจำเพาะ ซึ่งเกิดได้โดยการนำเสนอจากแต่ละประเทศ กลุ่มประเทศ กลุ่มภูมิภาค กลุ่ม G77+China และจากตัวผู้เชี่ยวชาญขององค์กร หรือกระทั่งจากประเทศผู้สนับสนุนโครงการหนึ่งใด     ทั้งนี้ โครงการที่นำเสนอเหล่านี้จะอยู่ในระดับองค์กรกับประเทศสมาชิก  ก็อาจจะมีที่องค์กรเองนำเสนอแทนฝ่ายประเทศสมาชิก หรือนำเสนอประเทศผู้ให้บางประเทศเป็นการเฉพาะในบางโครงการ       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 พ.ค. 22, 19:06
ที่เล่ามา ก็คงพอจะทำให้เห็นภาพว่า งานของผู้แทนที่ประจำองค์กรระหว่างประเทศของแต่ละประเทศดูจะจัดอยู่ในกลุ่มงานประเภท Lobby ที่ทำทั้งแบบทำกับเขาและแบบเขาทำกับเรา  งานการช่วงชิงผลประโยชน์อันพึงมี/พึงได้รับ  งานการประสานงานต่างๆระหว่างรัฐของตนกับองค์กรและระหว่างหมู่ประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน ฯลฯ

ก็คงพอจะเห็นได้ว่า งานในลักษณะนี้ ผู้ปฏิบัติจำเป็นจะต้องมีภูมิความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนของประเทศของตนในทุกเรื่อง  รู้มากน้อยต่างกันก็ดูจะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ต่างกัน     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 พ.ค. 22, 17:33
คงจะเห็นในอีกภาพหนึ่งว่า งานต่างๆขององค์กรนานาชาติที่เราเห็นเป็นรูปธรรมนั้น เกิดมาจากการทำงานในกรอบหรือในลักษณะที่เป็น Plurilateral   แรกเกิดของเรื่องอาจจะมาจากความคิดเห็นหนึ่งใด แล้วค่อยๆก่อตัวเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ขึ้น บางเรื่องก็ไปจบอยู่ในระดับอนุภูมิภาค บางเรื่องก็จบในระดับภูมิภาค บางเรื่องในสุดท้ายก็อาจจะมีผลกลายเป็น Agenda ขององค์กร หรือที่สุดๆก็จะเป็น Global Agenda ที่แถลงออกมาในชื่อ Declaration


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 พ.ค. 22, 19:21
ที่ได้กล่าวมาว่า มีหลายช่องทางในการนำเสนอเนื้องานหรือโครงการที่องค์กรพึงจะดำเนินการในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งนั้น  ถ้าจะว่าไปจริงๆแล้ว ส่วนมากจะมาจากทางด้านผู้เชี่ยวชาญขององค์กรและจากทางด้านประเทศผู้ให้  ซึ่งเท่าที่ได้สัมผัสมาก็จะมีการพิจารณาจำกัดการพึงได้รับประโยชน์ของบางประเทศฝ่ายผู้รับด้วย (ด้วยเหตุผลต่างๆ)  ไทยเราก็เป็นประเทศหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุผลว่า เราเป็นประเทศ Advanced developing country  เด่นออกมาจากกลุ่มมิตรประเทศ ASEAN (คิดว่ามาเลเซียก็ด้วย)   

ก็จะเห็นว่าการปฏิบัติภารกิจในฐานะประเทศสมาชิกที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้านั้น ก็ย่อมจะต้องมีวิถีที่ไม่เหมือนกับเพื่อนๆประเทศในกลุ่มภูมิภาคหรือในอนุภูมิภาค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เรามีประเทศที่เขาจัดกันให้เป็นประเทศ LDCs (Least Developed Countries) อยู่รอบหรือใกล้ตัวเรา       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 พ.ค. 22, 18:28
ก็น่าคิดว่า เมื่อเราถูกจัดอยู่ในประเทศที่มีข้อจำกัดที่จะได้รับความช่วยเหลือแล้ว จะมีประโชน์หรือจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างที่คุ้มค่ากับการเป็นสมาชิกและการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายรายปีขององค์กร อีกทั้งก็มีประเทศผู้ให้หลายประเทศได้ถอนตัวออกไปจากองค์กรแล้ว   ก็คิดกันได้หลายอย่างบนเหตุผลที่ต่างกัน       สำหรับตัวผมยังมีความเห็นว่า การเป็นสมาชิกองค์กรยังมีประโยชน์กับเรา เพียงแต่ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องทั้งในระดับกระทรวง หน่วยราชการ ผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของรัฐจะต้องมีตรรกะ มีความสนใจในการอ่านและแสวงหาข้อมูล และมีระบบความคิดที่เปิดกว้าง (Open System Thinking)   เห็นภาพในเรื่องทาง Geopolitics ต่างๆ   และอื่นๆ อาทิ ทิศทางแนวโน้มทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม แนวนโยบายแห่งรัฐ ...ฯลฯ     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 พ.ค. 22, 19:25
ต้องขออภัยอีกรอบนะครับ  ที่การเขียนเล่าความต่างๆดูจะเดินไปอย่างเชื่องช้าเป็นอย่างมาก  ผมต้องระวังการเดินเรื่องและการใช้ข้อความในการเขียนเล่าเรื่อง เพื่อมิให้สื่อไปในลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไปในทางลบในเรื่องใดๆที่ได้กล่าวถึง รวมทั้งที่สื่อไปในเรื่องทางการเมือง และก็ต้องไม่สื่อไปในทางยกยอ  อีกทั้งต้องระวังในด้านความเป็นสาธารณะของเรือนไทยอีกด้วย

ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาบนพื้นฐานของความคิดว่า เป็นเรื่องของความรู้ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและผู้ที่เข้ามาอ่านทุกท่าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ตรง     เขียนเรื่องราวในลักษณะการพิจารณ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้นี้ยากมากกว่าการเล่าด้วยปากเปล่าจริงๆครับ มันทำให้คิดได้ไกล้เคียงกับกับคำว่า 'วิจารณ์' ที่อาจส่งผลในทางลบได้


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 พ.ค. 22, 18:42
พอสรุปเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆของงานในหน้าที่ๆความรับผิดชอบได้ว่า  ทำงานในสภาพที่เกือบจะเดี่ยวอยู่บนเวทีของงานที่มีพลวัตตลอดเวลา (คล้ายสภาพหนังหน้าไฟ)  อยู่ในเวทีของงานที่สมาชิกประเทศมีส่วนได้-เสียต่างก็ช่วงชิงผลประโยชน์ให้เกิดกับตนให้ได้มากที่สุด  ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบต่างก็เป็นเพื่อนใหม่ของกันและกัน (หมุนกันมารับผิดชอบ 3 ปีบ้าง 4 ปีบ้าง) โดยที่ต่างก็ไม่รู้ความตื้นลึกหนาบางของกันและกัน แต่ต่างก็ต้องการมีเพื่อนและกลุ่มเพื่อนร่วมแนวคิดเพื่อให้มีพลังช่วยกันผลักดันในเรื่องต่างๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน  ต้องมีกึ๋นและไหวพริบ เพราะมีเรื่องที่ต้องพิจาณาให้ความเห็นและตัดสินใจในที่ประชุมตลอดเวลา    และที่สำคัญคือการรักษาสถานะและศักดิ์ศรีของประเทศชาติของตน ...... 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 พ.ค. 22, 20:00
เมื่อเริ่มแสดงตนเป็นผู้รับผิดชอบงาน ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการต้อนรับแนะนำตัวกันเป็นธรรมดา รู้สึกได้ในทันใดว่า ดูจะมีการสังเกตกันในเรื่องของ ettiquette  ตั้งแต่เรื่องของเครื่องแต่งตัวและการแต่งกายไปจนถึงมารยาทต่างๆ ทั้งจากผู้แทนของประเทศต่างๆและเจ้าหน้าที่ขององค์กร     การชวนไปกินข้าวมื้อกลางวันซึ่งเป็นวิธีการปกติที่จะเสริมสร้างไมตรีและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้มากขึ้น ในเรื่องนี้ก็มีเรื่องของการสังเกตต่างๆอีกหลายๆอย่างแฝงอยู่ จะเรียกว่ารับน้องใหม่ก็พอได้    ก็เป็นธรรมดาที่จะทำให้รู้ถึง Personality และภาพที่ปรากฏออกมา (Charisma) ของผู้นั้นว่ามาจากเนื้อในหรือปรุงแต่ง รวมทั้งความหลากหลายในประสบการณ์และชีวิตความเป็นอยู่ทางสังคม ฯลฯ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 พ.ค. 22, 19:16
วันแรกที่เริ่มงานก็ต้องควานหาเอาเองในเรื่องต่างๆตั้งแต่เรื่องการจอดรถ หาห้องประชุม วิธีการและประเพณีปฏิบัติต่างๆ เมื่อเข้าห้องประชุมก็ต้องนั่งเดี่ยวอยู่หลังป้ายชื่อประเทศ เว้นระยะกับที่นั่งของประเทศอื่นทั้งด้านซ้ายและขวา ไม่มีเอกสารใดวางอยู่บนโต๊ะหรือแจกเพิ่มเติม เพราะเอกสารทั้งหมดได้แจกจ่ายล่วงหน้าไปให้ทุกคนแล้วในกล่อง Pigeonhole ของแต่ละประเทศ  ภาษาที่ใช้ในการจะเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีล่ามแปลภาษา หูฟังที่เปิดเสียงไว้นั้นก็เพียงเพื่อให้สามารถได้ยินการพูดแบบชัดๆ    การประชุมต่างๆในระดับการหารือจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางทั้งการพูดและเอกสาร  (การใช้ภาษาอื่นๆของ UN จะใช้กันเฉพาะในการประชุมประจำปี)  ภาษาอังกฤษที่ว่าของตัวเราพอได้นั้น ไปเจอกับสำเนียงที่หลากหลายของสมาชิกประเทศของภูมิภาค แถมมีวลีนิยมของที่ใช้กันในระบบของ UN ผนวกเข้าไปด้วย ก็เล่นเอามึนได้อยู่เหมือนกัน 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 พ.ค. 22, 20:20
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษอยู่หลายเรื่อง  จากที่ได้สัมผัสมาทั้งในและนอกการประชุม ก็พอจะประมวลเป็นตัวอย่างได้ว่า  สำเนียงและรูปแบบของการใช้ภาษาจะออกไปทางแบบอเมริกัน แต่การออกเสียงส่วนมากจะออกไปทางอังกฤษ (เช่น อักษร i ในคำศัพท์จะออกเสียง อิ ไม่ออกเสียง ไอ)     การเน้นเสียงสำหรับคำศัพท์ที่มากกว่าสองพยางค์ (accent) จะไม่ต่างกันนัก ทำให้ฟังออกและนึกถึงคำที่ใช้ได้ไม่ยาก      การออกเสียงตัว r, ตัว l, และพวกตัว s, ch มีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้นึกถึงคำที่ใช้ได้ไม่ยากเช่นกัน     และ มีการใช้คำศัพท์จากภาษาละตินแทรกอยู่ทั้งในการพูดและการเขียน (เช่น status quo, inter alia, quasi, ad hoc, de facto ) ภาษาฝร้่งเศสก็มีใช้อยู่เช่นกัน (เช่น coup d'état)

                 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 พ.ค. 22, 18:23
ในการประชุมครั้งแรกๆก็จะมีเรื่องที่งงๆและตามไม่ทันอยู่หลายเรื่อง เพราะไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่รู้ความตื้นลึกหนาบางของเรื่องต่างๆที่เขายกมาถก ยกมาขอความเห็นของสมาชิกประเทศ  ประกอบกับที่การย้ายของไทยเราไปผูกพันอยู่กับปีงบประมาณ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเตรียมการสำหรับประชุมใหญ่ประจำปีขององค์กร ซึ่งมีเรื่องที่กลุ่มจะตัดสินใจและมีความเห็นในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ผ่านมาและที่พึงจะทำต่อไป(งาน เงิน ทรัพยากรบุคคล) ด้านแผนงานโครงการต่างๆ ฯลฯ   การประชุมหารือจึงมีบ่อยครั้งมากทั้งในระดับกลุ่มภูมิภาคและกลุ่ม G77+China  การตัดสินใจและความเห็นความเห็นทั้งหลายจะส่งไปให้ประธานกลุ่มซึ่งอยู่ที่ UN ใหญ่ เพื่อนำไปจัดทำเป็นถ้อยแถลงในองค์รวมในนามของกลุ่ม G77+China 

เป็นเรื่องปกติที่ก่อนจะมีการพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องใดๆก็จะต้องมีข้อมูลที่มากพอ ก็จึงมีเรื่องที่ต้องอ่านและทำความเข้าใจเป็นอันมาก อยู่ในกระดาษที่พิมพ์หน้า-หลัง วางทับกันได้หนาเกือบศอกหนึ่งทีเดียว  ก็อ่านออกทั้งหมดแต่ไม่มีความเข้าใจที่ถ่องแท้หรือไม่เข้าใจเลยอยู่มากพอควร  เป็นมือใหม่เอี่ยมจริงๆ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 พ.ค. 22, 19:22
ด้วยที่เป็นการประชุมเตรียมการ และมีเรื่องที่ไทยเราถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาคสนาม  ก็เลยมีเรื่องที่ต้องประสานกันหลายๆเรื่อง  การกระชับความความสัมพันธ์ ทำความรู้จักกันด้วยมื้ออาหารแบบ business lunch ระหว่างผู้รับผิดชอบขององค์กรกับตัวเราที่เป็นผู้แทนของเรื่องก็จึงมีเป็นธรรมดา ซึ่งมิใช่เป็นแบบพิเศษหรูหราอะไร ก็กินกันภายใน Cafeteria ซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งจัดแบ่งไว้สำหรับการนั่งคุยกันและสั่งอาหารแบบ ala carte   ก็รู้เลยว่าถูกสังเกตในเรื่องของ etiquette   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 พ.ค. 22, 18:50
ด้วยที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวโยงกับองค์กรต่างก็มุ่งผลสำเร็จในภารกิจของตน จึงทำให้ทุกกิจกรรมที่ทำกระทำกันล้วนจะมีการแสวงประโยชน์แฝงอยู่เสมอ  การกินข้าวด้วยกันก็เช่นกัน       ก่อนที่จะขยายความต่อไป ก็ต้องขอในนึกถึงปรัชญาของการหาข่าวและวิธีการเข้าถึงความถูกต้องแม่นยำและชั้นข้อมูลลึกๆของเรื่องต่างๆ  วิธีการหนึ่งที่ทำกันเป็นปกติในทุกวงการก็คือการสร้างความเป็นมิตรและเพื่อนที่ดี การมีความจริงใจต่อกันกับบุคคลที่ทำงานหรืออยู่ใกล้กับผู้มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินใจ    มื้ออาหารก็เป็นเวทีหนึ่งที่ใช้กัน ซึ่งอย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ถึงความเป็นตัวตนของบุคคลที่มาร่วม  และก็ยังสามารถจัดหรือดำเนินให้มีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการหาข้อมูลต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการล่วงหน้าหรือในระหว่างการกินก็ตาม 

มื้ออาหารตามประพณีของผู้คนในซีกตะวันออกของโลก จะจัดในลักษณะมีจานกับข้าวหลายอย่าง วางรวมกันอยู่ตรงกลางโต๊ะ กินร่วมกัน (Smorgasboard)  ต่างกับในซีกโลกตะวันตกที่จะกินในลักษณะอาหารของใครของมัน จานใครจานมัน (Plate meal) หากจะกินอาหารหลายอย่างก็จะจัดการเสิร์ฟแบบเรียงลำดับมา (Course meal)    การสร้างมิตรแบบตะวันออกดูจะเน้นไปบนพื้นฐานของความเฮฮา และด้วยเหล้า  ต่างจากแบบตะวันตกที่เน้นไปบนพื้นฐานของความสวยงาม มีระเบียบ และด้วยเครื่องดื่มที่ต้นทางทำมาจากองุ่น (Wine, Schnapps, Brandy หรือ Cognac...)   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 พ.ค. 22, 20:01
เป็นที่ทราบกับอยู่แล้วว่า การคุยกันให้ได้เนื้อได้หนังในแต่ละครั้งหรือในแต่ละเรื่องนั้นจะต้องใช้เวลา ดังนั้น หากมีเรื่องที่ยังคงหาความเห็นพ้องร่วมกันไม่ได้ วิธีการทำให้เกิดมีเวลาที่นิยมกันก็ดูจะใช้เรื่องของการกินที่นิยมกัน ทั้งการสร้างมิตร หาข้อมูล การลอบบี้ และเพื่อการอื่นๆพร้อมๆกันไป 

ในสังคม Multilateral นั้น  มันมีเรื่องของการแย่งชิงผลประโยชน์ที่ตั้งอยู่บนฐานของความคิดว่า Nothing is for Grant ซึ่งดูจะเน้นไปในทางที่เป็นรูปธรรมอีกด้วย  ก็จึงไม่แปลกนักที่จะเห็นบุคคลในระดับเอกอัครราชทูต(และหลังบ้าน)ของบางประเทศลงมาคลุกคลีด้วยตนเอง การจัดงานของสถานทูตที่มีการเชิญเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของสมาชิกประเทศจึงเป็นเรื่องปกติ   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 พ.ค. 22, 18:30
ที่สำนักงาน UN กรุงเวียนนา มีเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ค่อนข้างมากในการทำงานของประเทศสมาชิก  เป็นการรวมกลุ่มของฝ่ายหลังบ้าน มีชื่อว่า The United Nation Women's Guild (UNWG) เท่าที่รู้ ดูจะมีอยู่แห่งเดียวที่มีการรวมกลุ่มและจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ก็มีลักษณะคล้ายกับสมาคมแม่บ้านของหน่วยงานต่างๆ  สมาชิกประกอบไปด้วยฝ่ายหลังบ้านของเจ้าหน้าที่ขององค์กรต่างๆที่มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในตึก UN นั้น และฝ่ายหลังบ้านของเจ้าหน้าที่ทางการทูต เป็นสมาคมที่ทำงานสาธารณะกุศล ไม่มีค่าตอบแทนสำหรับทุกคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรม ช่วยกันทำงานเพื่อสะสมเงินเอาไปทำสาธารณะประโชน์กับผู้คนหรือชุมชนที่โชคร้าย หรือด้อยโอกาสในสมาชิกประเทศต่างๆ  ที่เขาทำกันในสมัยที่ผมอยู่มีอยู่ 3 เรื่องคือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์และขายของที่ระลึก กิจกรรมขายหนังสือเก่า และกิจกรรมจัดงาน International BAZAAR   ภรรยาของผมไปช่วยทำในเรื่องการขายหนังสือเก่าที่ได้รับบริจาคมา และได้พัฒนาการจัดการจากการมีรายได้เล็กน้อยจนในที่สุดก็กลายเป็นกิจกรรมหลักที่มีรายได้สูงของสมาคม 

อาคาร(ศาลา)หลังหนึ่งที่บ้านบางพัฒน์ ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา ก็สร้างขึ้นมาจากเงินของ UNWG ที่กลุ่มเพื่อนหลังบ้านของภรรยาผมได้ช่วยกันสนับสนุนโครงการ     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 พ.ค. 22, 19:22
กิจกรรมทางสังคมของหลังบ้านนั้น ทำให้เราได้ประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจค่อนข้างจะมาก เพราะในกิจกรรมร่วมกันมีทั้งสังคมรอสามีเลิกงาน การเล่นกีฬา การแลกเหย้าแลกเยือน นัดกินอาหารอร่อยที่ร้านใหม่ๆ..ฯลฯ   ในวงสนทนาเหล่านั้นก็ย่อมมีเรื่องบ่น เรื่องเล่า...ฯลฯ   อีกทั้งยังทำให้ฝ่ายหน้าบ้านก็ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันโดยตรงตัวต่อตัวโดยไม่มีระดับชั้นวรรณะ ซึ่งก็มีทั้งตัวทูต เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานทูตหรือขององค์กรในบางสายงาน ฯลฯ  คงไม่ต้องขยายความต่อนะครับ   

ก็น่าเสียดายสำหรับตัวผู้แทนของหลายๆประเทศสมาชิกที่ไม่ลงมาคลุกด้วย เท่าที่รู้เหตุผลก็จะมีเช่น เป็นเรื่องของเจ้ายศเจ้าอย่าง เรื่องของความเป็นโสด เรื่องของการเข้าสังคม เรื่องของความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ เรื่องของความขี้เหนียว ....     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 พ.ค. 22, 20:06
ในเรื่องของการแสวงประโยชน์ หรือทำให้เกิดประโยชน์พอกพูนมากขึ้น หรือการสร้างโอกาสนั้น  ความสามารถในการเข้าถึงถือเป็นวาระแรกๆที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับกิจกรรมประเภทมือใครดีสาวได้สาวเอา 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 มิ.ย. 22, 19:17
โชคดีหน่อยที่ผมพอมีพื้นฐานในการทำงานทางด้านแผน มีโอกาสทำงานที่มีเรื่องเกี่ยวพันทั้งด้านทวิภาคีและพหุภาคื เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆทั้งด้านตัวองค์กร งาน เงิน คน และการทำความตกลงสำคัญๆบางเรื่อง  ได้สัมผัส ได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์และกุศโลบายที่น่าสนใจต่างๆที่สามารถเก็บไปใช้ประโยชน์ได้   ก็ใช้ความรู้และประสบการณ์เหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ในการทำงานกับระบบงานขององค์กรที่ไปนั่งเป็นผู้แทนผู้มีส่วนใด้ส่วนเสีย   หลักที่ใช้ทำงานแรกเริ่มก็จึงเป็นเรื่องของ รู้เข้า-รู้เรา ให้มากที่สุด และในเรื่องของการสร้างสภาพให้สามารถเข้าถึงงาน เงิน คน และบุคลากรขององค์กร (accessibility)

ในเรื่องของ รู้เขา-รู้เรา นั้น ก็เช่น ได้พบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเขาเราที่เขาเห็น ที่ได้เผยแพร่ในสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่มีการจำกัดเขตอาณา   สำหรับในเรื่องการสร้างสภาพให้สามารถเข้าถึงนั้น  จะได้จากการกระทำของเราบนพื้นฐานของความเข้าใจทางด้านสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ รวมทั้งกฏ กติกา มารยาท ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่เขายึดถือ (etiquette) และที่ยอมรับปฏิบัติกันในสังคมทั่วไป (social norm)               


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 มิ.ย. 22, 18:45
ผู้แทนที่เกาะกันเป็นกลุ่มก้อนมากที่สุด คือกลุ่ม GRULAC (The Group of Latin America and Caribbean Countries) เป็นกลุ่มที่มีพลังในการต่อรองเรื่องใดๆค่อนข้างสูง สาเหตุหนึ่งก็น่าจะมาจากการเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน (ยกเว้น Brazil ที่ใช้ภาษาโปรตุเกส) ซึ่งก็เป็นหนึ่งในภาษาราชการของ UN อีกด้วย เขาสามารถพูดคุยหรือถกเรื่องราวต่างๆระหว่างกันได้อย่างมีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สามารถพูดในที่ประชุมสำคัญๆได้ด้วยภาษาแม่ของตนเอง กระทั่งการยกร่างผลของการประชุมที่เป็นภาษาสเปน (ความเห็น การตัดสินใจ...)   กลุ่มประเทศยุโรปทางตะวันออก ซึ่งใช้หรือเข้าใจภาษารัสเซียดีก็เช่นกัน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างด้วยที่ working language ในระบบ UN ใช้ภาษาอังกฤษกับภาษาฝรั่งเศส     ต่างกับกลุ่มประเทศอื่นๆที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร พูดคุยและถกความเห็นกัน   อีกทั้งภาษาอังกฤษที่ใช้กันทั่วโลกก็มีความต่างกันในเชิงของวิธีการใช้ในการสื่อความหมาย สำนวนและคำศัพท์  เรื่องของการถามความหมายที่ชัดเจนหรือการขอคำอธิบายในระหว่างประชุมกลุ่มจึงเป็นเรื่องที้เกิดขึ้นเป็นปกติ  ก็เป็นจุดด้อยของกลุ่มประเทศอื่นๆกันพอควร     

ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้รู้และตัดกังวลไปเลยว่าภาษาอังกฤษของเรายังไม่ดีพอ  ที่สัมผัสมา เจ้าหน้าที่ๆทำงานในองค์กร รวมทั้งเพื่อนร่วมงานต่างก็ให้ความเห็นพ้องกันว่า ภาษาอังกฤษของตนที่ว่าดี มีมาตรฐานพอได้นั้น เละเทะไปหมดแล้ว


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 มิ.ย. 22, 19:23
ในการประชุม Committe of the Whole ครั้งหนึ่ง  ได้นั่งฟังการถกเถียงกันเกี่ยวกับการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษคำหนึ่งที่ใช้อยู่ในข้อสรุปของที่ประชุม ระหว่างผู้แทนจีนผู้หนึ่งกับฝ่ายฝรั่ง จำไม่ได้ว่าเป็นร่างแถลงการณ์หรือร่างผลการตัดสินใจ   เป็นกรณีของการใช้คำศัพท์ที่ฝ่ายจีนเห็นว่าสื่อความหมายไม่ตรงกับที่มีความเห็นพ้องกันในที่ประชุม แย้งกันอยู่ในลักษณะรุมอยู่นานเป็นชั่วโมง  อธิบายกันลึกลงไปถึงรากศัพท์เลยทีเดียว ในที่สุดฝ่ายฝรั่งก็ยอมรับและมีการเปลี่ยนใช้คำใหม่

ที่ได้สัมผัสมากับตัวโดยตรง ประเทศจีนมีระบบการคัดและส่งเสริมช้างเผือก ให้การศึกษาอย่างดี มีการฝึกสะสมทางด้านประสบการณ์ ฯลฯ ก็เป็นอะไรๆที่น่าทึ่งมากๆ การต่างประเทศของจีนจึงไม่เบาเลยทีเดียว   บางประเทศใกล้บ้านเราและของเราเองก็มีเช่นกัน แต่มีวิธีการต่างกัน   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 มิ.ย. 22, 18:33
ท่านที่เคยเดินทางไปเข้าร่วมประชุมในเวทีระหว่างประเทศ จะคุ้นเคยกับกำหนดการประชุม ในลักษณะครึ่งเช้าของวันแรกจะเป็นพิธีเปิด มีการปาฐกาพิเศษ ..... ช่วงบ่ายวันสุดท้ายจะว่าง ปล่อยให้ฝ่ายเลขาทำรายงานการประชุม กลับเข้ามาประชุมในตอนบ่ายแก่ๆ ทำการรับรองผล/รายงานการประชุม ทำพิธีปิด แล้วก็เลี้ยงอำลา   ช่วงเวลาบ่ายของวันสุดท้ายนี้ จัดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการประชุม โดยเฉพาะการประชุมในลักษณะที่เป็นการต่อรองผลประโยชน์ หรือที่จะยังผลให้เกิดขึ้นกับฝ่ายใด   

สภาพที่เป็นจริงก็คือ ตลอดการประชุมนั้น Rapporteur เกือบจะไม่ได้ทำอะไร ผู้ที่จดและทำบันทึกการประชุมจริงๆก็คือฝ่ายเลขาของการประชุม ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ของประเทศที่เป็นเจ้าภาพของการประชุมนั้นๆ   ข้อความที่บรรยายในรายงานและผลของการประชุมที่จะนำเข้าสู่การรับรองก็จัดทำโดยฝ่ายเลขาฯ   Rapporteur ทำหน้าที่เพียงยืนยันว่าเรื่องราวในบันทึกนั้นๆถูกต้องหรือไม่ตามที่ได้เกิดมาในระหว่างการประชุม  เมื่อเข้าสู่วาระการรับรองรายงานการประชุม ประธานก็มักจะเสนอวิธีการอยู่ 2 รูปแบบ คือ ให้เวลาสั้นๆเพื่อพลิกอ่านรายงานแล้วก็ถามแต่แรกเลยว่ามีผู้ใดคัดค้านหรือมีอะไรจะแก้ไขหรือไม่  หรืออีกรูปแบบหนึ่ง ใช้วิธีให้พลิกอ่านแบบรวดเร็วเป็นแต่ละหน้ากระดาษไป ถามไปแต่ละหน้าว่าเห็นด้วย คัดค้าน หรือจะแก้ไขหรือไม่

ก็ดูเป็นเรื่องปกติ ตรงไปตรงมา แต่เมื่อนำไปสู่ภาคการปฏิบัติก็อาจมีปัญหาเกิดความขัดแย้งขึ้นได้   พูดกันอย่างหนึ่ง เข้าใจกันอย่างหนึ่ง บันทึกที่ทำให้ตีความได้อีกอย่างหนึ่ง   ทั้งหมดก็มาจากโครงสร้างวิธีการเขียน การใช้ประโยค และการเลือกใช้คำศัพท์ที่ปรากฎอยู่ในรายงานการประชุมนั้นๆเอง   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 มิ.ย. 22, 19:18
การใช้ภาษาที่เรียบง่าย สั้น และสื่อความหมายตรงไปตรงมาอย่างที่ใช้เขียน Thesis หรือ Dssertarion นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะใช้ภาษาแบบสำนวนหรือโวหารในการบันทึกการประชุม

ผมได้ใช้คำว่า โครงสร้างวิธีการเขียน  ก็ต้องขออภัยหากจะเป็นการใช้วลีที่อธิบายความไม่ถูกต้อง ที่หมายถึงนั้น ตัวอย่างก็เช่นความต่างของการใช้ภาษาอังกฤษที่ใช้ใน Text Book หรือ Journal เช่นที่เขียนโดยคนอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา... ซึ่งบางครั้งต้องอ่านหลายตลบจึงจะเข้าถึงได้
 
ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดก็เพราะเคยประสบมา ต้องแก้เพื่อให้มีความชัดเจน  ก็เคยเจอแบบถูกเบี่ยงเบนไปจนทำให้ไทยเสียประโยขน์ ต้องแก้กันในระหว่างการรับรองรายงานการประชุม

ที่เล่ามาก็คงพอจะทำให้นึกถึงกลยุทธ์ในการจัดการประชุมต่างๆได้ะครับ


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 มิ.ย. 22, 19:32
ตัวอย่างข้อความที่อาจสื่อความหมายที่สับสนก็เช่น ระหว่างวลี 'ค่าเช่า include tax' กับ 'ค่าเช่า plus tax' เป็นต้น

การแก้ปัญหาในกรณีไม่มีเวลาในการอ่านหรือเสนอข้อแก้ไขรายงานการประชุมในระหว่างการประชุมเพื่อรับรองรายงานนั้น  อาจทำได้ด้วยการเสนอตัวเข้าไปช่วย Rapporteur ตรวจทานรายงานก่อนที่จะพิมพ์แจก (ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ไม่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง)   ในความเป็นจริงแล้ว หากเราได้สร้างสภาพการเข้าถึงฝ่ายเลขาของการประชุมได้ เราก็สามารถเข้าไปในถึงระดับรากของงานต่างๆได้ เช่น ช่วยปรับแต่งรายงานในกรณีที่ฝ่ายเลขาเป็นผู้ยกร่าง หรือได้อ่านรายงานก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุม ก็จะทำให้รู้ก่อนว่ารายงานนั้นจะต้องแก้หรือว่า OK 

ก็เป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการทำงาน  จะทำได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความ nice และ charisma ของแต่ละบุคคล       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 มิ.ย. 22, 18:02
ในการประชุมใหญ่ครั้งหนึ่งใน Plenary Session  ผู้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมเป็นทูตของประเทศหนึ่งในกลุ่ม GRULAC  ก็มีเรื่องที่มีความเห็นไม่ตรงกันแยกออกเป็นสองกลุ่ม  หมายถึงว่าจะต้องมีการโหวต ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันว่ามันเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมนัก ต่างก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  อีกทั้งยังเป็นการแสดงความไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประเทศสมาชิก ต่างไปจากที่เคยเป็นมาหลายสิบปี   มีการถกเถียงกันในบรรยากาศที่เป็นมิตร ยิ้มแย้มและหัวเราะกัน  ว่ากันอยู่นานก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ 

แล้วท่านทูตคนนี้ก็งัดกลยุทธเด็ดออกมาเพื่อให้มีข้อยุติ   ด้วยบรรยากาศในห้องประชุมไม่อยู่ในสภาพที่มีความเครียดและมีสภาพความเป็นมิตรกันสูง ท่านทูตก็เลยใช้ลูกเล่นด้วยการลองหยั่งเสียงอย่างไม่เป็นทางการดูก่อนว่า จำนวนผู้สนับสนุนความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายจะมีมาก-น้อยไปทางใดด้วยการยกมือ  เมื่อลอง ทุกคนในห้องประุมต่างก็เห็นเลาๆว่าจำนวนผู้สนับสนุนของฝ่ายใดมีมาก-น้อยเช่นใด    ท่านทูตก็เลยขอสรุปเอาว่า หากจะต้องมีการโหวต ก็จะต้องมีการบันทึก ซึ่งก็จะกลายเป็นจุดด่างในประวัติของความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถือว่าทุกคนเห็นแล้วว่าฝ่ายใดจะชนะในการโหวต ดังนั้น แทนที่จะต้องโหวตและมีการบันทึก  ก็ถือเอาว่าเป็นความเห็นร่วมกัน/หนึ่งเดียวกันกับความเห็นที่มีผู้สนับสนุนมากกว่าก็แล้วกัน  ก็เล่นเอาฮากันไปทั้งห้องประชุม   ไม้เด็ดจริงๆ 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 มิ.ย. 22, 18:55
ประสบการณ์เรื่องหนึ่งที่อาจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดห้องประชุมและที่นั่งของผู้เข้าประชุม ซึ่งในหลายๆกรณีเป็นการจัดโต๊ะและที่นั่งอย่างมีแผน

รูปแบบการจัดประชุมนั้น ก็เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า มีทั้งแบบนั่งรอบโต๊ะกลม นั่งรอบโต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้า จัดโต๊ะแยกออกเป็นสองฝั่ง มีโต๊ะประธานอยู่กลางที่ปลายด้านใดด้านหนึ่ง หรือเป็นรูปตัว V  หรืออื่นใด    แล้วก็ทราบอยู่เช่นกันว่าในการประชุมจะมีการจัดที่นั่งและมีป้ายชื่อวางไว้ข้างหน้า

เอาทั้งสองภาพนี้ประสมกัน ก็จะเห็นว่าเมื่อใช้วิธีการเรียงลำดับด้ายการเอาอักษรตัวแรกของชื่อ เอาตำแหน่ง เอาระดับตำแหน่ง หรือเอาระดับความอาวุโส   ก็เกือบจะสามารถเลือกจัดให้ประเทศใด/ผู้ใด ไปนั่งอยู่ใกล้-ไกลกับใคร หรือกับประธาน ก็ได้   อาจจะเห็นว่ามิใช่เป็นเรื่องที่สำคัญอะไร แต่หากต้องไปเป็นผู้ที่นั่งอยู่ในโต๊ะประชุมนั้น ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดได้  เจ้าภาพหรือประธานที่ประชุมดูล้วนจะใช้ประโยชน์จากวิธีการจัดที่นั่งในลักษณะต่างๆเหล่านี้


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 มิ.ย. 22, 17:47
การจัดประชุมให้มีความราบรื่น มีความเป็นฉันมิตร หรือแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น  มีอยู่วิธีการหนึ่งที่นิยมทำกัน คือ การเลี้ยงรับรองหรือเลี้ยงอาหารเย็นต้อนรับอย่างเป็นกันเองในระดับหัวหน้าคณะผู้แทนที่มาประชุม  ในงานนี้นอกจากจะทำให้ได้รู้จักกัน เห็นหน้าตากันและได้เรียนรู้ตัวตนของแต่ละคนกันแล้ว  ก็อาจมีเรื่องในวาระประชุมนำมาคุยกัน ถามความเห็นกัน ฯลฯ  ในขณะเดียวกันฝ่ายเลขาก็สามารถเอาประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมาบอกกล่าวเพื่อให้ผู้แทนได้รู้และมีเวลาในการเตรียมตัวสำหรับการเสนอความเห็นหรือการให้คำตอบใดๆ  จะเป็นงานที่จัดขึ้นในช่วงเย็นของวันก่อนการประชุมวันแรก     ส่วนงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดนั้น ก็อาจจะเป็นในเย็นวันแรกของการประชุม หรือในวันอื่นๆ หรือในวันปิดการประชุม 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 มิ.ย. 22, 17:32
อีกวิธีหนึ่งที่ทำกัน กระทำกันในระดับฝ่ายเลขาของผู้จัดการประชุมกับฝ่ายเลขาของคณะผู้แทน  ลักษณะนี้ เกิดจากความต้องการของทั้งสองฝ่ายในการหาขัอมูล เริ่มต้นด้วยความอยากรู้ของทั้งสองฝ่ายในบริบทเรื่องการอำนวยความสดวก แต่แฝงไปด้วยเรื่องการประเมินท่าทีของแต่ละฝ่ายในการประชุม หรือเพื่อหาข้อมูลเชิงวิชาการบางจุดที่เป็นกุญแจไขไปสู่ความเข้าใจหรือการประเมินศักยภาพในบางเรื่อง    ที่ทำกันก็คือแว๊บออกไปหลังสิ้นภารกิจของการประชุมของวันใดวันหนึ่ง ไปนั่งสังสรรค์กันแบบมีเมรัย  ก็ดูจะเป็นวิธีการที่ทำกันเฉพาะในแถบเอเซีย  ยังไม่เคยสัมผัสด้วยตนเองในยุโรป    ความสำเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ หลายๆเรื่องได้เริ่มต้นจากการรู้เขา-รู้เราและรู้ลึกด้วยการกระทำดังที่กล่าวมา     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 มิ.ย. 22, 18:49
กลับไปเรื่องหนึ่งที่ค้างไว้ว่า ไทยเราได้ถูกจัดให้เป็นประเทศ Advanced developed country  เป็นสมาชิกองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมของ UN ต้องเสียเงินสนับสนุน/บำรุงรายปี แต่มีข้อจำกัดในการได้รับความช่วยเหลือ  ดูคล้ายกับว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่จะคงความเป็นสมาชิก   ในเรื่องนี้ คงจะคิดในรูปแบบเมื่อจ่ายเงินไปแล้วก็พึงได้ของมาไม่ได้  ของที่จะได้มาก็มีทั้งในลักษณะที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  อีกทั้งก็ไม่สามารถที่จะจำกัดให้เป็นผลเฉพาะแต่ตนเพียงคนเดียว

การสร้างให้การอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งนั้น มีหลักการหรือแนวคิดอยู่ค่อนข้างจะหลากหลายมาก ส่วนมากก็จะกล่าวแบบกว้างๆว่าต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งมักจะหมายถึงเรื่องในทางกฏหมายที่เกี่วข้องต่างๆ    บ้างก็เน้นไปในเรื่องของ SME   บ้างก็เน้นไปในเรื่องของระบบการขนส่ง   บ้างก็เน้นไปในเรื่องของความสามรถในการเข้าถึงแหล่งทุน   บ้างก็เน้นไปในเรื่องของทักษะฝีมือแรงงาน    บ้างก็เน้นไปในเรื่องของสายพานการผลิต เช่น ของ UNIDO ก็มี Programme เรื่อง Subcontracting and Partnership Exchange       


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 มิ.ย. 22, 20:00
ที่ได้เล่ามาดูจะเป็นแต่เรื่องของการ 'รู้เขา'  ก็ลองมาดูในด้านของการ 'รู้เรา' บ้าง    ที่เขามีความเห็นว่าเราอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาที่มีความก้าวหน้ามากแล้วนั้น  หากมองในอีกมุมมองหนึ่งก็คือ เขาเห็นว่าระดับหรือสภาพ/สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมในองค์รวมของไทยเรามีความพร้อมมากพอในการที่เขาจะยกระดับการเข้ามาลงทุนหรือร่วมลงทุนในภาคอุตสากรรม (ที่เรียกกันว่า Foreign Direct Investment _FDI)  การให้ความช่วยเหลือต่างๆก็จึงอาจเป็นเพียงเฉพาะในบางเรื่องและอย่างเล็กๆน้อยๆ    อีกประการหนึ่งก็คือ การให้ความช่วยเหลือขององค์กรจะไม่นิยมเจาะจงลงไปเป็นรายประเทศ จะมีก็แต่เพียงเน้นเป็นบางเรื่องในประเทศ   ในองค์รวมจะเป็นการเน้นในลักษณะเป็นกลุ่มประเทศหรือภูมิภาคย่อย แล้วสภาพและสถานะของประเทศกลุ่มประเทศเหล่านั้นในองค์รวม   

แล้วไทยเราเป็นเช่นใดในกลุ่มประเทศที่เขาเรียกกันว่า Indochina   คงไม่ต้องขยายความกันนะครับ     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 มิ.ย. 22, 20:12
แน่นอนว่า ในแนวคิดหนึ่งเขาก็ต้องคิดกันว่า ไทยน่าจะต้องเริ่มเป็นฝ่ายผู้ให้ เป็นผู้ที่ควรจะต้องเป็นหลักในการช่วยยกระดับเพื่อนบ้านทั้งหลาย 

 


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 มิ.ย. 22, 17:50
การให้ตามปกติของฝ่ายผู้ให้ก็จะมีใน 2 รูปแบบ คือ in cash (เงิน) หรือ in kind (สิ่งของ หรือการกระทำ หรืออื่นใดในรูปที่ไม่ใช่เงินเป็นก้อน)   และก็อาจจะเป็นการให้ในลักษณะของการร่วมสมทบ (contribution) หรือให้ในลักษณะที่ฝ่ายผู้รับต้องการ (donation)

ทราบกันอยู่แล้วว่า การให้ในลักษณะเป็นเงินนั้น ไทยเรามีข้อจำกัดแน่ๆ คงมิใช่ทำได้ง่ายๆเพียงของบประมาณ เพราะเป็นเรื่องในระดับนโยบายของรัฐ (รัฐบาล)   แต่การให้ในรูปแบบ in kind นั้น มีความเป็นไปได้มากกว่า ก็จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่จะใช้ในการแสวงประโยชน์     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 มิ.ย. 22, 18:43
ความพร้อมของเรามีอื่นใดอีกบ้าง ก็จะมี เช่น เป็นที่ตั้งของสำนักงานหรือที่ทำการตัวแทนในระดับภูมิภาคในสังกัดของ UN หลายอค์กรเลยทีเดียว ที่เราคุ้นหูกันก็จะมีเช่น  ESCAP, FAO, UNESCO, UNDP, UNICEF  ที่ไม่ค่อยจะคุ้นหูก็มีเช่น UNEP, UN WOMEN และ UNIDO   ที่ตั้งของสำนักงานหรือที่ทำการเหล่านี้ บ้างก็อยู่ในตึก UN ที่ถนนราชดำเนิน บ้างก็มีสำนักงานแยกเป็นอิสระ บ้างก็อยู่ตามกระทรวงต่างๆ

เมื่อพิจารณาดู ก็คงพอจะบ่งชี้ถึงความพร้อมของไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านวิชาการ/วิทยาการ และอื่นๆ     

ที่สำคัญก็คือ เสียงจากตัวบุคลากรที่ชื่นชอบกับการใช้ชีวิตในประเทศไทย อยู่ในสภาพที่มีความคล่องตัวและอย่างมีความสุขสบายด้วยรายได้ประจำเดือนที่ได้รับ           


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 มิ.ย. 22, 19:14
เมื่อเอามาผนวกกับข้อมูลและข้อน่าคิดอื่นๆด้าน Geopolitics ก็อาจจะเห็นในอีกภาพหนึ่งในเรื่องของการ outreach    เอาเป็นว่า จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เขาทั้งหลาย (องค์กร / บุคลากร) ก็ต่างก็เห็นว่าไทยเป็นจุดเหมาะสมที่จะเป็นฐานสำหรับการปฏิบัติงานในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้   


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มิ.ย. 22, 18:45
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ตัวเรามีสถานะเป็นนักการทูต จึงได้รับ Privilege และ Immunity จากประเทศที่เราไปประจำการ  จึงทำให้เราได้รับการปฎิบัตืที่ต่างไปจากคนธรรมดาทั่วไป  เราได้ในเรื่องของการเข้าถึง(access) เรื่องของ respect  เรื่องของการตอบสนอง(respond) และอื่นๆ   

ด้วยสภาพของสิ่งแวดล้อมและข้อมูลที่ได้กล่าวถึงทั้งหมดตั้งแต่ต้นเหล่านี้ หากพิเคราะห์แล้ว ก็เชื่อว่าท่านทั้งหลายคงพอจะเห็นช่องทางในการดำเนินการเรื่องหนึ่งใดให้เกิดประโยชน์กับประเทศได้เราเช่นใด ซึ่งก็คงจะมีอยู่หลากหลายแนวทาง  แต่..ทั้งนี้ ก็จะต้องตั้งอยู่บนฐานของความเข้าใจด้วยว่า จะทำให้ได้ประโยชน์ในลักษณะของการกินรวบนั้น เป็นไปไม่ได้     


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มิ.ย. 22, 20:20
ลืมอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ผนวกเข้า่ไป คือเรื่องของความอาวุโส ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัย การศึกษา ประสบการณ์และความรู้ที่หลากหลาย ก็สังเกตเห็นว่าคนที่เข้าประชุมหรือติดตามเรื่องของการประชุมในระดับการประชุมกลุ่มประเทศนั้น ดูจะเป็นเจ้าหน้าที่ๆมีระดับอาวุโสน้อยทางการทูต เสมือนกับการส่งมาเรียนรู้การทำงานเพื่อสั่งสมประสพการณ์ทำงานในระบบที่เป็นนานาชาติ   โดยสภาพก็เลยดูคล้อยไปทางบุรุษไปรษณีย์

แล้วก็ คิดว่าหลายท่านคงอาจจะเคยสังเกตว่า ในการสนทนาระหว่างผู้คนต่างถิ่น ต่างอาชีพ ฯลฯ มักจะมีเรื่องนำไปสู่ความอยากรู้เกี่ยวกับการศึกษาของแต่ละคน จะเพื่อโดยนัยเช่นใดก็ไม่ทราบ   แต่สื่งหนึ่งในมุมมองของตัวเองที่ประสบมา ก็คือมันบ่งถึงตรรกะในความคิดส่วนลึกของบุคคลที่สนทนาด้วย ซึ่งก็แปลก เพราะดูจะถูกฝังมาจากสถาบันให้เป็นพื้นฐานของแนวความคิดต่อไปทั้งหลาย ไม่ว่าจะจบการศึกษาจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ  ที่จบจากต่างประเทศก็ยังมีภาพให้เห็นระหว่างพวกที่จบจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ

ผมประมวลข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้เพื่อนำพาในการทำงานให้เกิดผล


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 มิ.ย. 22, 20:01
เมื่อจะทำงานให้เกิดผล ที่พึงทำก็คือการส่องดูตัวเองเพื่อประเมินศักยภาพทางด้านความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน อีกทั้งในด้านของความอาวุโสทางวัยและตำแหน่ง   องค์ประกอบเพิ่มเติมอื่นๆก็จะเป็นเพียงความสามารถของตัวเราเองในการทำตนให้เป็นที่ยอมรับในเชิงของ capacity และ capability ในเรื่องของการนำพาความคิดและการกระทำ ก็คืออยู่ในพื้นที่ของหัวแถว


กระทู้: การทำงานในระบบ UN
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 มิ.ย. 22, 20:36
การทำงานในลักษณะที่เป็น International, Multilateral, Plurilateral หรือ Bilateral นี้  เรื่องที่ทำกันมักจะเป็นเรื่องที่ใช้เวลานานกว่าจะบรรลุผล คนที่เริ่มต้นทำหรือร่วมทำในระยะแรกๆจะอยู่ในลักษณะของผู้ปิดทองหลังพระ   ในระหว่างการดำเนินเรื่องเหล่านี้ บางคนก็ถูกส่งให้มาทำหน้าที่เผชิญหน้าแก้ปัญหา เมื่อปัญหาหมดไป  ก็จะเปลี่ยนคนส่งมาเพื่อคุยภาษาดอกไม้และปลูกดอกไม้ร่วมกัน  ที่จะแย่หน่อยก็คือคนที่โผล่มาตอนสุดท้ายแล้วบอกว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเกิดมาจากตน    เรื่องตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดบรรลุความสำเร็จนั้นมีมากมาย แต่เอามาเล่ากันแบบสาธารณะจริงๆไม่ได้ 

ผมคิดว่าเรื่องราวที่เล่ามาน่าจะมีประโยชน์พอสมควรแล้ว ก็จะขอยุติกระทู้แต่เพียงนี้นะครับ  ;D