เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4338 อวสาน “โทรเลข”
meemee
อสุรผัด
*
ตอบ: 5



 เมื่อ 07 มี.ค. 08, 19:21

 เศร้า
วันที่ 1 พ.ค.นี้ กสท.จะเลิกให้บริการโทรเลขแล้ว
ก็ใช่แหละว่า เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้ไปไกลเกินกว่าจะใช้โทรเลข
หากจะให้มานั่งบำรุงรักษาอุปกรณ์ก็คงไม่คุ้ม เลยต้องลาแล้วลาลับ

แต่นึกๆ ไป อดไม่ได้ที่จะคิดถึงโทรเลข
จำได้ว่า ตอนเรียนชั้นประถม คุณครูวิชาภาษาไทยพยายามสอนให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
และสอนด้วยว่า เวลาพูดภาษาไทย หรือเขียนภาษาไทย อย่าลนลาน
พร้อมยกตัวอย่างความลนลานว่า

สามีภรรยาคู่หนึ่ง ภรรยากำลังท้องแก่ แต่สามีถูกส่งไปทำงานต่างจังหวัด เลยขอให้แม่ยายมาดูแลแทน
ครั้นภรรยาคลอด แม่ยายก็ส่งโทรเลขถึงลูกเขย
ลูกเขยเปิดโทรเลขด้วยใจระทึก พบข้อความว่า

“ลูกเกิดแล้ว ตาย”

 ร้องไห้
พี่แกก็ทรุดลงกับพื้น ร้องไห้ฟูมฟาย แล้วรีบกลับบ้าน ระหว่างทางก็น้ำตารินมาตลอด

พอมาถึงบ้าน เจอะแม่ยายยิ้มแป้น บอกว่า ไปดูลูกได้อยู่ข้างใน
อ้าว แล้วทำไมถึงส่งโทรเลขบอกว่า ลูกตายล่ะ
ที่ไหนได้ แม่ยายตั้งใจจะส่งว่า

“ลูกเกิดแล้ว ชาย”
ส่งสั้นๆ จะได้ประหยัดค่าโทรเลข
แต่ดันเพี้ยน
งานนี้ร้องไห้ฟรี  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า

น้องหมีเอง
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 22:43

อ๊ะ จะเลิกซะแล้ว  ขยิบตา ผมยังไม่เคยใช้บริการเลย อิอิ  ยิงฟันยิ้ม

จำได้อย่างเลือนลางว่า สมัยที่ผมยังเป็นเด็ก ที่บ้านเคยได้รับโทรเลขเหมือนกัน แต่ไม่ได้สนใจเพราะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่

และถ้าจำไม่ผิด โทรเลขจะมีซองสีเขียวอ่อนหรือเปล่าครับ  ฮืม

สมัยนี้ มือถือ e-mail มาแรง โทรเลขก็ต้องหายไปเป็นธรรมดา  รูดซิบปาก

สงสัยต้องเก็บคำนี้เข้าสารานุกรมเทคโนโลยีสมัยโบราณเสียแล้ว อิอิ  ยิงฟันยิ้ม

รู้สึกว่าสมัยก่อนจะมีคำว่า "โทรเลข" เค้าจะเรียกกันว่า "ตะแล็บแก๊บ" (ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่า อิิอิ) โดยเรียกทับศัพท์มาจาก เทเลกราฟ (Telegraph)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 00:43

รายรับหลักแสน
รายจ่ายหลักร้อยล้าน(ได้ยินเขาว่ามานะครับ)

ไม่ปิด จะไหวหรือ เงินภาษีเราทั้งนั้นนะนั่น
เชื่อว่า ต่อไปโทรศัพท์บ้านจะมรณาตาม
นี่โทรสารก็ไกล้ม้วนเสื่อ

ไอเดียคุณโฮฯ เข้าท่า เดี๋ยวจะไปเปิดทู้ใหม่
ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 05:36

ด้วยความยินดีครับ คุณพิพัฒน์  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 09:55

ในข่าวเห็นว่า รายรับ เดือนละ4-5พัน รายจ่าย 25ล้าน

จริงๆความคิดผมไม่ควรเลิก แบบ100 % ถ้าปรับวิธีการทำงานเป็น ส่งด้วย e-mailซะ แล้วให้พนักงานไปรษณีย์พิมพ์ออกมาส่งตามบ้านเหมือนจดหมาย  รวมถึงอาจทำรูปแบบให้ดีขึ้น เช่นอาจทำเป็น กระดาษสวยๆเหมือนกับโปสการ์ด
ก็น่าจะมีลูกค้า + ลดค่าใช้จ่ายมหาศาล
คนก็มีอยู่แล้ว ระบบเน็ตเวอร์ก็น่าจะถึงทุกสาขาอยู่
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 10:05

           นิตยสาร สารคดี ทำฉบับเรื่องโทรเลข  - นับถอยหลังโทรเลขไทย
เมื่อ มีนาคม ๒๕๔๙ = นับถอยหลัง ๒ ปีจากวันนั้น
             ยังอ่านได้ที่นี่ครับ 
 
        http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=listarticles&secid=29
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 10:20

ขอบคุณ คุณภูมิที่ให้ตัวเลข
ผมจำมาจากบทความของคุณวิจิตร บุญชูเมื่อหลายปีก่อน
แกเล่าไว้และให้ตัวเลขรายปีของช่วงนั้น

แสดงว่า ก่อนเลิกนี่ รายได้ตกต่ำอย่างน่าใจหาย คือตกปีละ 6 หมื่น ลดไปสามเท่ากว่า
รายจ่ายคงเดิม ปีละ 300 ล้าน เอ๊ะ เพิ่มนี่นา คุณวิจิตรให้ไว้สองร้อยกว่าล้าน

น่ากลัวปรับยังไงก็ไม่รอดละครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 07:07

เมื่อ ๘ ปีที่แล้ว โทรศัพท์มือถือก็แพร่หลายพอสมควรแล้ว แต่นึกสนุก ส่งโทรเลขไปอวยพรวันเกิดเพื่อนที่มุกดาหาร เพื่อโทรมาบอกว่า นี่โทรเลขเหรอ? ไปรษณีย์เขาเอาแฟกซ์พิมพ์ข้อความด้วยตัวอักษรฟ้อนต์หางตวัดๆ เป็นคำอวยพรส่งมาให้น่ะ

สรุปว่าไม่ใช่โทรเลขเคาะๆ เป็นตัวอักษรผิดๆ ถูกๆ อย่างที่ผมหมายใจ ไปรษณีย์สมัยนี้ใช้ส่งแฟกซ์ไปแทน โธ่..

ผิดหวังไปตั้งแต่ ๘ ปีก่อน ...นี่แสดงให้เห็นว่าการส่งโทรเลขด้วยเครื่องส่งโทรเลขแบบสมัยก่อน มีอาการร่อแร่มาร่วมทศวรรษแล้ว
บันทึกการเข้า
Sukjai
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 10:10

เสียดายครับ แต่ก็เข้าใจว่าภาระค่าใช้จ่ายสูงมาก ยังไม่เคยส่งเลย จำได้ว่าสมัยเด็กๆ มีการสอนการใช้-ส่งในวิชาภาษาไทยด้วย ต้องส่งแบบกระชับ ได้ใจความ ประหยัดคำด้วย  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 10:22

ช่วงที่ดิฉันเรียนปริญญาตรี บ้านยังไม่มีโทรศัพท์ ใครอยู่ไกลส่งความคิดถึงมาที ต้องส่งโทรเลขมาแทน บ้านอยู่บางกอบัว โทรเลขไปหลงอยู่บางบัวทอง กว่าจะได้ความคิดถึงที ไปรษณีย์ต้องพยายามมาก
ซองสีเขียว ใช่ค่ะ ยังเก็บไว้อยู่ กระดาษพรูฟพับใส่มาเป็นใบเล็กๆ น่ารัก เปิดอ่านทีสั้นมาก เพราะแพง เป็นการส่งโค้ดที่ไม่ขาดตกบกพร่อง ถ้าผิดก็พอเดาไหว

บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 14:05

ครั้งหนึ่ง พี่ชายผมไปเที่ยวสัตหีบกับเพื่อนๆ เห็นจะราว ๒๐ ปีมาแล้ว พอดีช่วงนั้นเป็นวันเกิดคุณพ่อ พี่ชายก็นึกสนุกอีกนั่นแหละ ส่งโทรเลขมา

ครั้นถึงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ก็มีบุรุษไปรษณีย์ นำโทรเลขมาส่งที่บ้าน หน้าซองเห็นแต่เพียงคำว่า "สัตหีบ" ทุกคนตกอกตกใจกันมาก นึกว่าพี่ชายเป็นอะไรไป เพราะสมัยนั้นยังไม่มีมือถือ แพคลิ้งโฟนลิ้งก็ไม่มี

พ่อรีบแกะซองเปิดออกดูพบข้อความประมาณว่า

"สุ ข สัน ตวั นเกิ ด ครั พ่อ"

เฮ่อ ทุกคนโล่งอก

นั่นคือประสบการณ์โทรเลขระทึกขวัญของที่บ้านผมครับ

บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 19:30

สวัสดีครับทุกๆท่านที่เคารพ
สมัยตอนผมเด็กๆ ราวๆ ป.4-5
ผมเคยได้เรียนเขียนโทรเลขด้วยครับ

หลักการง่ายๆคือ
เขียนให้กระชับ ได้ใจความที่สุด

แต่จากวันนั้นจนถึงวันนี้
ผมก็ได้ฝึกเขียนโทรเลขแค่ครั้งเดียว ยังไม่ได้เอาไปใช้จริง

มาทราบข่าวว่า จะเลิกบริการซะละ ก็...คงต้องยอมรับมัน

ส่วนโทรศัพท์บ้านนี้น่าจะมีอยู่ เนื่องจากพวกตระกูลไร้สายนั้นยังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าไหร่ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 มี.ค. 08, 08:01

กิจการโทรเลขของประเทศไทย

    เดิมกิจการสื่อสารโทรเลข มีเอกชนเสนอยื่นขออนุญาตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๒ แต่ก็ยังไม่มีพระบรมราชานุญาติในช่วงแรก เนื่องด้วยทรงไม่ไว้วางพระทัยที่ผู้ขออนุญาตนั้นเป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังพยายามขยายอิทธิพลสู่เอเซียในทางการเมืองเป็นอย่างมาก อาจทำให้ข่าวสารสำคัญๆหลุดรอดสู่กองทัพอังกฤษได้
             
             จนเวลาผ่านไปใน ปี ๒๕๑๘ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริด้านประโยชน์ในการแจ้งข่าวสารทางการทหาร จึงทรงให้กรมกลาโหม (ชื่อหน่วยงานในสมัยนั้น) รับหน้าที่การสื่อสารทางโทรเลขเฉพาะกิจของหลวง และเป็นหน่วยงานควบคุมกิจการโทรเลขเสียก่อน โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการก่อสร้าง เดินสายโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น คือ การเดินสายลวดไฟฟ้าระหว่างกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ เพื่อให้มีการแจ้งข่าวอย่างทันท่วงทีเมื่อมีข้าศึกยกกำลังเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา (ระบบโทรเลข ได้ใช้ประโยชน์อย่างมากในเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒)
   
             โทรเลข ๓ เครื่องแรกของไทย เครื่องแรกตั้งอยู่ ณ ตึกบริเวณมุมพระราชอุทยานสราญรมย์ด้านใต้ ในขณะที่ปลายทางนั้น มีการเดินสายตามแนวริมน้ำเจ้าพระยา เพื่อตรงไป ที่ศาลาว่าการเมืองสมุทรปราการ (เป็นเครื่องที่สอง) จากนั้นก็เดินสายไฟเรียบฝั่งแนวแม่น้ำ ต่อสายใต้น้ำไปที่ “กระโจมไฟ (ไลท์เฮ้าส์)”  สถานีนำร่องกลางทะเล ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่นำร่องเรือเข้าออกแล้ว ยังต้องคอยตรวจสอบ แจ้งข่าวข้าศึกที่จะเข้ามาทางทะเล

   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงมีการได้มีการโอนกิจการโทรเลขจากกรมกลาโหมไปสู่ความรับผิดชอบของกรมโทรเลขสยาม (เดิมยังสังกัดกระทรวงโยธาธิการ) มีการเปิดบริการให้ประชนชนทั่วไปได้ใช้เป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นเป็น ๒ สาย คือ
-   กรุงเทพ-สมุทรปราการ – กระโจมไฟกลางทะเล
-   กรุงเทพ-อยุธยา (พระราชวังบางปะอิน)

             ก่อนที่จะมีการรวมสองกรม คือ กรมไปรษณีย์สยาม และกรมโทรเลขสยามมาเป็นกรมเดียวกัน ใช้ชื่อ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตามประกาศของทางราชการ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ส่วนพนักงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นเลขานุการช่างกล สารวัตรผู้ตรวจการ และแม้แต่เสมียนพนักงาน ในสมัยแรกนั้นจะต้องว่าจ้างจากผู้มีความรู้ชาวยุโรปทั้งสิ้น

อ่านกระทู้แล้ว ก็ให้คิดถึงฟีลมถ่ายรูป  เวลาไปหาซื้อตามร้านเก่าๆ แต่ละร้านก็จะบอกว่า "ม้วนสุดท้ายแล้วนะ ไม่มีอีกแล้ว" เค้าคงนึกขอบคุณเราเพราะว่าตุนมานาน ไม่มีคนซื้อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง