เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 31240 เปิดกรุดาราคลาสสิกของฮอลลีวู้ด(๘)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ก.ย. 07, 10:35

ล่วงมาจนขึ้นศตวรรษใหม่  ดาราส่วนใหญ่ในเรื่องอำลาโลกไปหมดแล้ว ไม่ว่าเจด แกรนนี่ นายธนาคารและภรรยา ตลอดจนเลขาฯสาวแก่
ส่วนดาราหนุ่มสาวในเรื่องก็กลายเป็นคุณตาคุณยายกันในปัจจุบัน
ในรูปคือดอนน่า ดักลาส หรือเอลลี่ เมย์  รูปซ้ายเมื่อเธอเล่นหนังเรื่องนี้    รูปขวาคือปัจจุบัน 
ส่วนภาพเล็กตรงกลาง  เมื่อครั้ง เธอเล่นหนังกับ the King ของฮอลลีวู้ด  เอลวิส เพรสลีย์   เรื่อง Frankie and Johnny (1966)
เอารูปนี้มาฝากคุณ Elvisbhu ค่ะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 11:03


         อาจารย์เล่าเรื่องราว แคแรคเตอร์ ตัวละครจากซีรี่ส์ทีวีนี้แล้ว ได้เห็นความรู้สึกแตกต่างที่มีต่อ
ดาราจอแก้วและจอเงินอย่างชัดเจนมาก ครับ

           ดาราจอเงิน เราต้องออกจากบ้านไปชื่นชมที่โรง บนจอใหญ่ห่างไกลหลายเมตร จบแล้วก็ไม่ได้พบกันอีกนาน
ถึงกลับมาก็มาในเรื่องใหม่ เป็นตัวละครคนใหม่  ในขณะที่ดาราจอแก้วเหล่านี้มาเยือนเราถึงในบ้าน บนจอทีวีที่อยู่ใกล้ตัว
เราพบกันเป็นกิจวัตรทุกสัปดาห์ จนรู้จักมักคุ้นกลายเป็นเหมือนเพื่อนหรือญาติกัน  เวลาซีรีส์จบ บางครั้งก็ถึงกับใจหาย
ด้วยความคิดถึงอาลัย

           ถ้าเป็นไปได้ ขอให้อาจารย์รีรันเรื่อง หนูน้อยบีเวอร์ ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 18:58

จริงของคุณ Sila ค่ะ   ตีความได้แตก ยิ้มกว้างๆ
ดาราจอแก้วมาเยี่ยมเราถึงในห้องนั่งเล่น หรือห้องนอน   สัปดาห์ละ ๑ ช.ม. (หรือมากกว่า) อย่างสม่ำเสมอ   อาจจะบ่อยกว่าเพื่อนในชีวิตจริงเสียอีก    เรามองเห็นบทบาท และชีวิตที่ดำเนินไปใหม่ๆทุกสัปดาห์  เหมือนเป็นชีวิตจริงที่เราชะโงกมองออกไปเห็นจากทางหน้าต่างบ้าน
พอจบไป  ไม่ได้เห็นกันอีกก็ใจหาย  เพื่อนในจอแก้วบางคนเห็นมาปีละ ๕๒ ครั้ง  บางคนเห็นหลายปีติดกัน   
อย่าง"กลอยใจจอมเปิ่น" คนดูหลายพันล้านทั่วโลก เฮฮากันเขาต่อเนื่องกันสม่ำเสมอถึง ๙ ปี  พอหายไปแฟนประจำคนไหนจะไม่ใจหาย

หนูน้อยบีเวอร์ เคยเล่าไว้ในกระทู้ดารานี่แหละค่ะ แต่หาไม่เจอเพราะลิ้งค์ไม่เหมือนเดิม
ไม่เป็นไร  เล่าใหม่ก็ได้ค่ะ   กระทู้เก่าๆเอารูปจากเว็บวิชาการมาใส่ไม่ได้ค่ะ  น่าเสียดาย   ขาดรสชาติไปเป็นกอง

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 20:45

จำผิดค่ะ  ดิฉันเคยเอ่ยถึงนิดหน่อยในกระทู้"ทายภาพคนดัง"
เวบมาสเตอร์บอกวิธีค้นหาให้ 

เลยได้รูปมาฝากคุณ Sila และแฟนท่านอื่นๆ ที่อาจจะแวะเข้ามาอ่านในกระทู้นี้ 
เป็นออเดิฟเรียกน้ำย่อย   ส่วนเรื่องจะตามมาทีหลัง 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 ก.ย. 07, 10:06


      ขอบคุณครับ อาจารย์,  จะรอดู หนูน้อยบีเวอร์ รีรันทางหน้าจอเรือนไทย ครับ
 
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 ก.ย. 07, 11:28

หนูน้อยบีเวอร์เป็นหนังประทับใจจำได้ไม่ลืมค่ะ  อาจารย์ อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 ก.ย. 07, 20:39

หนูน้อยบีเวอร์ ไปค้นในเน็ตแล้วมีอะไรให้เล่ายาวเหยียดกว่าที่คิด   เชิญหอบเสื่อหอบหมอนมานอนฟังตามสบาย 
เราคงจำได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ ๒ จบลงในค.ศ. ๑๙๔๕   ทหารอเมริกันที่ไปรบในยุโรปทยอยกันกลับบ้าน  มาสรัางครอบครัวกัน   ผลที่ตามมาคือ Baby Boom  อัตราการเกิดพุ่งสูง   เทวดาน้อยๆจุติกันลงมาเกิดเป็นทิวแถว
 ทศวรรษ๑๙๕๐s อยู่ในช่วงที่เรียกว่า  Post-World War II baby boom
เมื่อเด็กมีแยะ    เด็กก็เป็นความสำคัญของสังคม  พ่อแม่หวังว่าหนูๆจะทำให้สังคมเติบโตไปในทางดี อย่างน้อยก็ดีกว่ายุค 40s ที่สุดแสนลำเค็ญด้วยเงาสงครามโลก
ความอบอุ่นในครอบครัว และการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้อง จึงเป็นความวาดหวังของอเมริกันชน
ยุคนั้นทีวียังเตาะแตะเป็นสีขาวดำ   ส่วนหนังโรงเป็นสีกันแล้ว   แต่ทีวีเข้าถึงครอบครัวมากกว่าหนัง  เพราะมาถึงห้องนั่งเล่นฟรีๆ  ไม่ต้องออกไปซื้อตั๋วดูถึงในเมือง
หนังทีวีหลายชุดก็เลยตอบสนองความต้องการของครอบครัว  ผลิตหนังชุดครอบครัว  หนังชุดคาวบอยฮีโร่ของเด็กๆ หนังตลกเบาสมอง   มาให้เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี

ในจำนวนนี้ก็มีหนังครอบครัวชื่อ Leave it to Beaver  ที่สร้างยาวเหยียดเกือบเท่า Beverly Hillbillies คือ 235 ตอน     จนข้ามทศวรรษมาถึงยุคหกสิบกว่า   หนูน้อยในเรื่องกลายเป็นหนุ่มกันแล้ว  จำต้องเลิกสร้าง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 ก.ย. 07, 20:57

เรื่องนี้ เล่าถึงครอบครัวคนชั้นกลาง ที่แสนจะอบอุ่นของวอร์ดและจูน เคลเวอร์
พร้อมกับลูกชายสองคน  วอลลี่ และธีโอดอร์ หรือ "บีเวอร์"

ครอบครัวเคลเวอร์เป็นครอบครัวที่คนอเมริกันชนยุคนั้น อยากจะมีและเป็น   ไม่ต้องหรูหรา ไม่ร่ำรวย แค่พอมีพอกิน
พ่อเป็นหนุ่มใหญ่ หน้าตาธรรมดาแต่มาดสุขุม ทำงานมีเงินพอเลี้ยงลูกเมียได้  เลิกงานก็กลับบ้าน  มีเวลาเอาใจใส่ดูแลลูก  เป็นที่ปรึกษา ให้ความเห็น ให้คำตอบ  ด้วยความฉลาดสุขุม และมักจะยกคำว่า "สมัยพ่อยังเด็ก  ปู่สอนว่า..."  เพื่อให้ลูกชายทั้งสองก้าวลุล่วงปัญหาน้อยๆในโรงเรียนและในชีวิตประจำวันไปได้อย่างปลอดโปร่ง
ส่วนแม่ ก็แม่บ้านหน้าตาดี   สะอาดสะอ้าน แต่งกายงามอยู่กับบ้าน  ดูแลบ้านช่อง สามีและลูก ด้วยอารมณ์ดี
วอลลี่ลูกชายคนโต เป็นเด็กดีที่ไม่เว่อ  ฉลาด มีปัญหาบ้างแต่ก็ผ่านไปได้ ไม่เกเร ไม่ทำให้พ่อแม่หนักใจ   รับมือกับอุปสรรคในชีวิตวัยรุ่นตอนต้นได้ดี
ส่วนบีเวอร์ เป็นขวัญใจของทุกคนในบ้าน 

ครอบครัวเคลเวอร์ เป็นครอบครัวน่ารักแบบไม่เว่อ     มีปัญหาประจำวันเล็กๆน้อยๆมาให้ขบคิด แต่ก็ลุล่วงไปได้ด้วยดี   พ่อแม่ลูกกลมเกลียวกัน เป็นมิตรที่ดีต่อกัน
ดูแล้ว ใครๆก็อาจอยากเกิดมาในครอบครัวแบบนี้บ้าง   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 08:58

ที่จริง ในยุค 1950s หนังชุดทีวีที่แสดงครอบครัวอบอุ่นพ่อแม่แสนดี มีอยู่หลายชุดด้วยกันค่ะ
นอกจาก Leave it to Beaver ก็มี The Donna Read Show (ชื่อภาษาไทยคือ คุณแม่รู้ดี) Father Knows Best (คุณพ่อรู้ดี)  Ozzie and Harriet , My Three Sons  แต่ที่คนไทยรู้จักมากที่สุดคือหนูน้อยบีเวอร์  ความน่ารักของเด็กชายบีเวอร์ชนะใจคนดูข้ามซีกโลกมาถึงที่นี่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 10:02

ทศวรรษ 1950 เรื่อยมาจนต้นๆ 1960 เป็นยุคที่สังคมชนชั้นกลางอเมริกันยังอนุรักษ์นิยมอยู่มาก   ยึดถือในชีวิตอย่างที่เคยเป็นมาก่อนสงครามโลก     ซึ่งจะว่าไปก็คล้ายค่านิยมแบบคนไทย ในแง่ของคุณธรรม ทำความดี เคารพผู้ใหญ่ แก้ปัญหาด้วยสติ ฯลฯ
สังคมในตอนนั้นก็ยึดถือความเรียบๆง่าย ๆ   เหมือนหนังสือแบบเรียนรุ่นเก่าของไทย  พ่อไปทำงาน แม่อยู่บ้าน ฉันไปโรงเรียน
เด็กไปโรงเรียน เจออย่างมากก็เพื่อนรังแก   ไม่มีวันเจอปัญหาเรื่องตุ๊ดเกย์ข่มขืน  เพื่อนพกปืนจากบ้านมายิงกราดครูและนักเรียน  อัพยากันในห้องน้ำและที่บ้านเพื่อน  อย่างในปัจจุบัน    ผู้หญิงคาดหวังว่าพอโตเป็นสาวก็จะแต่งงานและอุทิศชีวิตเพื่อเป็นแม่บ้าน  เฟมินิสต์เป็นเรื่องของสาวที่หาสามีดีๆไม่ได้ตะหาก
หนูน้อยบีเวอร์ สะท้อนภาพสังคมอุดมคติ(ที่ไม่เกินจริง) ของคนอเมริกันเมื่อสี่สิบปีก่อน     ตัวเด็กก็น่าเอ็นดู  วอลลี่ทำท่าว่าจะเติบโตเป็นสุภาพบุรุษสมกับการอบรมบ่มนิสัยจากพ่อ     บีเวอร์ก็ไร้เดียงสาและบริสุทธิ์ใสตามวัย ไม่เสแสร้ง
เจรี่ แมเธอส์ได้รับคัดเลือกจากเด็กหลายร้อยคนมาเล่นบทนี้   เพราะตอนไปทดสอบหน้ากล้อง พ่อหนูคนเดียวที่ขยุกขยิกไม่เป็นสุข   พอผู้กำกับถามว่า อยากทำอะไร   เขาตอบว่าอยากไปออกค่ายกับเพื่อนๆ คือไม่ได้อยากมาเป็นดาราเอาเลย   
ส้มเลยหล่นทับ  เพราะผู้กำกับพอใจเด็กที่เป็นธรรมชาติจริงๆ     ผลก็ออกมาตามคาดหมาย  บุคลิกซื่อใสดูเป็นเด็กของแท้  ไม่ใช่ดารารุ่นเด็กที่มักจะแก่แดดผิดวัย  ทำให้เจรี่กลายเป็นดาราเด็กอมตะมาจนทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 10:24

          เฝ้าหน้าจอ ติดตามหนูน้อยบีเวอร์ ครับ
          ระหว่างเบรค ขออนุญาตย้อนยุคโฆษณาคั่น ก่อนรับชมต่อครับ

           กระจกวิเศษบอกข้าเถิด            ใครงามเลิศในปฐพี

           อ๋อใช่สโนว์ไวท์น่ะซี                 ทั่วพิ้นปฐพีไม่มีใครงามเกิน       (โฆษณาแป้งน้ำ)
 
           
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 10:38

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชอบหนูน้อยบีเวอร์ นอกจากเสียงพากย์อันแสนน่ารักแล้ว ก็คือดิฉันรู้สึกidentifyตัวเองกับเด็กชายคนนี้ได้ เวลาทำอะไรที่คาดไม่ถึงแล้วพี่ชายหรือพ่อต้องไปช่วยแก้สถานะการณ์ให้ ..แม้ในชีวิตจริง เราจะไม่เจอheroแบบนั้น

บีเวอร์เป็นเด็กที่คนดูคอยเอาใจช่วยนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 10:59

นั่นคือ"สาร" ของคนสร้างไงคะ คุณกุ้งแห้ง
เขาตั้งใจจะบอกว่า ทำหนังชุดเรื่องนี้ขึ้นมาให้หนูๆดู    ว่ามีอะไรก็ปรึกษาพ่อแม่นะจ๊ะ  พ่อแม่(และพี่น้อง) เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของหนู    จะมีคำแนะนำดีๆให้หนูนำไปหาทางออกได้  เพราะพวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวที่หวังต่อต่อหนูด้วยความจริงใจ   เขาจะทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดแก่หนู
"สาร" นี่ละค่ะเป็นเสน่ห์ของเรื่อง   ผูกใจคนดูได้ทุกเพศทุกวัย

เรื่องนี้ก็ยาวเหยียดข้ามปี มาหลายปี   
จนกระทั่งเด็กวัยรุ่นตอนนี้อย่างโทนี่ ดาว (ซึ่งแสดงเป็นวอลลี่พี่ชาย) กลายเป็นหนุ่มเต็มตัว จะเข้ามหาวิทยาลัย   หนูน้อยบีเวอร์ก็ไม่ใช่หนูอีกแล้ว ทำท่าจะวัยรุ่น
เพราะฉะนั้นชีวิตครอบครัวอบอุ่นและปัญหาเล็กๆน้อยๆของลูกชายวัยเด็ก   ก็ไม่สามารถยืนยงคงสภาพเดิมอยู่ได้  ทำท่าจะกลายเป็นครอบครัววัยรุ่น ซึ่งไม่ใช่"สาร"เดิมของเรื่อง
จะปรับดาราเด็กทั้งสองให้กลายเป็นวัยรุ่น  บทก็ไม่น่ารักเหมือนเดิมเสียแล้ว  จะทำท่าคิกขุอาโนเนะอย่างเดิมก็ขัดกับร่างกายที่เติบโตขึ้นทุกปี
เรื่องนี้จึงต้องยุติลงในปี ค.ศ. ๑๙๖๓

โทนี่ ดาวและเจรี่ก็แยกย้ายกันไปตามเส้นทางของตัว
เป็นชะตากรรมอย่างหนึ่งของดาราเด็ก   ไม่รู้เป็นไงคะ คือดาราเด็กที่น่ารักน่าเอ็นดู น้อยรายนักจะโตขึ้นเป็นหนุ่มหล่อสาวสวย   โดยมากมักขี้ริ้ว  และยิ่งกว่านั้นคือหาบทลงได้ยาก
ส่วนที่รอดไปได้ก็ถือว่าเก่งบวกเฮง  อย่างดรู แบรี่มัวร์ 
โทนี่กับเจรี่ก็เหมือนกัน   โทนี่ไปรับบทเล็กๆน้อยๆในหนังทีวีเรื่องต่างๆบ้าง ทำงานหลังฉากบ้าง   เจรี่ไปเรียนต่อจนจบมหาวิทยาลัยแล้วหางานอื่นทำ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 12:36


         อาจารย์เล่าตอน casting ตัวหนูน้อยบีเวอร์แล้ว ทำให้คิดว่า เจรี่มีแคแรคเตอร์ตรงตามบทที่วาดไว้ และ/หรือ
เขาเขียน/ปรับบทบีเวอร์ให้ตรงตามแคแรคเตอร์ของเจรี่

           ตอนหนึ่งที่จำได้ เป็นตอนที่ผลการสอบออกมา ปรากฏว่าบีเวอร์ทำคะแนนท็อป แล้วไปสัมภาษณ์เพื่อรับทุนเรียนต่อ
           เมื่อถูกถามว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร บีเวอร์ตอบว่า อยากเป็นคนทำสวน       
           เพราะว่า คนทำสวนมือเปรอะเปื้อนได้ ไม่ถูก(แม่)สั่งหรือเตือนให้ต้องล้างมือ

           เสียงพากย์ของหนูน้อยบีเวอร์ เป็นเสียงของคุณป้าศรีนวล แก้วบัวสาย ครับ ( คุณป้าเป็นอดีตนักแสดงละครร้อง รับบทเป็นตัวพระ )
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 16:03

ผู้สร้าง ผู้กำกับและคนเขียนบทมีตัวตนของหนูน้อยบีเวอร์ คร่าวๆไว้ในใจก่อน อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่าเป็นเด็กหน้าตาท่าทางควรเป็นแบบไหน 
เด็กเฮี้ยว เด็กเก่ง เด็กเด๋อด๋า  เด็กเงียบช่างคิด หรือเด็กพื้นๆ ซื่อใสน่าเอ็นดู    คนดูรู้สึกว่าเห็นได้ทั่วไปแม้แต่ข้างบ้าน แบบที่เรียกว่า The boy next door
เมื่อคัดเลือกเด็กนักแสดงได้แล้ว ต่อไปก็คิดบทในแต่ละตอนออกมาให้รับกับคาแรกเตอร์ของหนูน้อยที่แสดง     มันจะไม่ยากนักเพราะมีกรอบวางอยู่แล้ว
จะเห็นได้ว่าเจรี่เล่นเป็นบีเวอร์ ที่ไม่ใช่เด็กปราดเปรื่องหรือหล่อเหลาเป็นเจ้าชายองค์น้อย  แต่เป็นบีเวอร์ที่ซื่อๆ ไอคิวปานกลาง  เห็นได้ทั่วไป  แต่ความธรรมดาของเจรี่คือเสน่ห์ประจำตัวค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง