เรือนไทย

General Category => ชั้นเรียนวรรณกรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: Wu Zetian ที่ 11 มี.ค. 17, 11:52



กระทู้: มาลัยสามชาย สี่แผ่นดิน วนิดา ข้างหลังภาพ ทวิภพ คู่กรรม คืองานประพันธ์แนวไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 11 มี.ค. 17, 11:52
ผมสงสัยว่า
1. ละครเรื่อง มาลัยสามชาย จัดเป็นละครโทรทัศน์ประเภท
"ละครโรแมนติกแนวย้อนยุค" (Thai Romantic Period Drama) ได้ไหมครับ
2. ละครเรื่อง สี่แผ่นดิน จัดเป็นละครโทรทัศน์ประเภท
"ละครอิงประวัติศาสตร์" (Thai Period Drama) ไม่มีคำว่า โรแมนติก เนื่องจากว่า
ผมคิดว่า ละครเรื่อง สี่แผ่นดิน เนื้อหาหลักนำเสนอเกี่ยวกับ ประวัศาสตร์ไทยในช่วง
รัชกาลที่ 5-8 เป็นหลักครับ
3.ละครเรื่อง วนิดา ภาพยนตร์เรื่อง ข้างหลังภาพ ละครเรื่อง ทวิภพ ละครเรื่อง คู่กรรม
จัดเป็น "ละคร / ภาพยนตร์ โรแมนติกแนวย้อนยุค" เช่นเดียวกับ ละครเรื่อง มาลัยสามชาย
ได้ไหมครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ


กระทู้: มาลัยสามชาย สี่แผ่นดิน วนิดา ข้างหลังภาพ ทวิภพ คู่กรรม คืองานประพันธ์แนวไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 17, 13:22
     คำว่า ย้อนยุค นอกจาก  period แล้วยังมีอีกคำคือ retro ใช้กับศิลปะหลายแขนงไม่เฉพาะแต่ละครเท่านั้น

      period drama เป็นคำกว้างๆ หมายถึงละครที่จับเอายุคหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตเป็นฉากหลังของละครเรื่องนั้น   บางเรื่องผู้แต่งก็จงใจกำหนดมาให้เลยว่าเป็นยุคไหนช่วงเวลาไหน  เช่น"สี่แผ่นดิน" เป็นเหตุการณ์สมัยปลายรัชกาลที่ 5 จนจบรัชกาลที่ 8      แต่บางเรื่องอย่าง "วนิดา" เดิมไม่ได้แต่งเป็นละครพีเรียด แต่เป็นละครร่วมสมัย  คือแต่งในช่วงทศวรรษพ.ศ. 2480s ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2   เหตุการณ์ในเรื่องก็เป็นยุคนั้น    แต่หลายสิบปีต่อมาเมื่อนำมาเป็นละครโทรทัศน์  ผู้จัดใช้ฉากพื้นหลังตรงตามยุคสมัยของนิยาย   ก็เลยกลายเป็นละครย้อนยุคไป
      ข้างหลังภาพ เป็นละครย้อนยุค ช่วงหลังพ.ศ. 2475    ทวิภพ มี 2 ยุค คือปัจจุบันกับสมัยฝรั่งเศสพิพาทกับไทยในรัชกาลที่ 5    คู่กรรมย้อนยุคไปถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง  ทั้งสามเรื่องเรียกว่าเป็นโรแมนติคย้อนยุคก็ได้  เพราะเน้นความรักเป็นหลักใหญ่
      แต่ "มาลัยสามชาย" ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเรื่องรัก  แต่เป็นแนวสมจริง    ค่ะ


กระทู้: มาลัยสามชาย สี่แผ่นดิน วนิดา ข้างหลังภาพ ทวิภพ คู่กรรม คืองานประพันธ์แนวไหนครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 11 มี.ค. 17, 14:40
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพู เป็นอย่างสูงครับ