เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 03:08



กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 03:08
เรียน อาจารย์เทาชมพู
ผมทำงานที่ The National Archives of United Kingdon กระผมมีเรื่องที่จะรบกวนอาจารย์และผู้รู้ทุกท่านในเรือนไทยช่วยเหลือในการแปลเอกสารสมัยรัชกาลที่๕. กล่าวคือกระผมได้อาสาแปลเอกสารชุดนี้ซึ่งมีอยู่สองเล่มเป็นภาษาไทยอยู๋ในช่วง ๑๘๗๖-๑๘๗๘ (2419-2421) เป็นสำเนาที่เขียนโดยคนไทยที่ทำงาน ให้กงสุลของอังกฤษในกรุงเทพและกงสุลใหญ่ในขณะนั้นคือ George Thomas Knox.
ปันหาของการแปลที่กระผมประสบคือตำแหน่งและราชธินนามของบุคลที่มีชื่ออยู่ในเอกสารนี้ และ คำศัพท์ บางคำที่กระผมไม่คุ้น. กระผมไม่ทราบว่าจะเป็นการรบกวนอาจรย์เทาชมพูและผู้รู้ในที่นี้ที่พอจะแน่ะนำกระผมได้หรือไม่.

ขอบพระคุณอาจารย์และผู้รูุ้ทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

Pad Kumlertsakul
Reader Adviser
Advice and Records Knowledge
The National Archives, Kew, Richmond, Surrey TW9 4DU
www.nationalarchives.gov.uk


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 03:39
(http://)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 03:49
(http://)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ม.ค. 14, 07:35
จะพยายามช่วยคุณ padค่ะ   คิดว่าท่านผู้รู้อื่นๆในเรือนไทยก็คงเต็มใจช่วยเหมือนกัน เท่าที่จะทำได้
แต่ดิฉันยังไม่ทราบว่าศัพท์ไหนและราชทินนามไหนที่คุณ pad ติดขัด
หน้ากระดาษที่สแกนมาให้ดูข้างบนนี้  ไม่ชัด  อ่านแล้วตาลาย


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ม.ค. 14, 07:36
คำไหนติด ก็ขยายข้อความนั้น ชัด ๆ มาดูกันครับ  ;)

อ่านได้เช่น   ในหลวง  |  ตอบว่าธุระของพระองค์ รับช่วย


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 09 ม.ค. 14, 07:59
ไม่ทราบว่าคำที่คุณ pad บอกไม่คุ้นตำแหน่ง/ราชทินนามหมายถึง ตัวอย่างเช่น

ในหลวง - King
กรมท่า สมัยก่อนใช้ Harbour Department แต่เห็นตอนนี้ใช้เป็น Marine Department
กลาโหม Defense Ministry
เสมียร (เสมียน) กรมท่า Harbour Department officer
ขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายไทย Thai senior officer (สมัยนั้น คงไม่เรียก Thai government คำว่าThai ก็คือราชการ)

หรือเปล่าครับ เพราะถ้าไม่อยู่ในประเทศไทย จะไม่ทราบความหมาย
ส่วนอีกหลายคำ เดาไม่ออกครับ

ในสมัยร.5 คำว่า Ministry คงใช้กันอยู่ แต่ Department จะเป็นองค์กรเหมือนที่ในปัจจุบันหรือเปล่าไม่ทราบ คำรวมๆที่หมายถึงหน่วยงาน organization แบบยุคนั้น (โครงสร้างองค์กรง่ายๆ) น่าจะเรียก office


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 09 ม.ค. 14, 08:12
ดูที่ขยาย สมัยนั้นมีคำว่า government ใช้แล้ว อิอิ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ม.ค. 14, 08:15
เห็นไหมคะ   ท่านผู้รู้เข้ามากันแล้ว  คุณ pad คงจะใจชื้นขึ้น

ราชทินนามนี้หรือเปล่า


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ม.ค. 14, 11:23
แรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ ถึง เสมียรกราโหม ใจความ ยาณะรังศีรแทนมองอิเปริยงฟอ้งนายพะไดมอญ

เสมียรกราโหม     =   เสมียนกลาโหม
ยาณะรังศีรแทน    =   ณาณรังษี (แทน) คิดว่าน่าจะเป็นราชทินนามของพระสงฆ์
อิเปริยง            =    อีเปรียง
นายพะไดมอญ     =   คนมอญชื่อนายพะได

แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ ถึง เจ้าพฎภ ใจความ ปนัออง ฟอ้งนายน้อยกับเมียแลบุท เมืองพิจิต

เจ้าพฎภ            =     ?
ปนัออง             =   ปันออง
ฟอ้ง                =   ฟ้อง
บุท                 =   บุตร

ป.ล. ที่ทำงานของคุณเผด็จบรรยากาศดีจัง

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ม.ค. 14, 11:51
คำนี้เป็นการเขียนแบบเก่า คือ คำว่า เจ้าพระยา ส่วน ภู คงเป็นชื่อ - เจ้าพระยาภู  ???  - ภูธราภัย (นุช บุญยรัตพันธ์)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 16:39
ขอบพระคุณทุกๆท่านที่ช่วยแนะนำครับ

กรมท่า (Harbour Department) เท่าที่กระผมเข้าใจคือกรมที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง(ไม่ทราบว่าในสมัยนั้นจะเรียกว่า Department of Treasury ในภาษาอังกฤษได้มั้ยครับ) และรับผิดชอบเกี่ยวกับชาวต่างประเทศใช่หรือไม่ครับ?

พระนายไวย นี่คือคนๆ เดียวกับ จมื่นไวยวรนาถ ใช่หรือไม่?

หลวงทิพอักษร = ตำแหน่งเสมีรยใน กระลาโหม (Department of Defence)

ขุนอักษรสมบัติ = ตำแหน่งเสมีรยใน กรมท่า (Harbour Department)

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

Pad


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 09 ม.ค. 14, 19:47
ขอบพระคุณทุกๆท่านที่ช่วยแนะนำครับ

กรมท่า (Harbour Department) เท่าที่กระผมเข้าใจคือกรมที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง(ไม่ทราบว่าในสมัยนั้นจะเรียกว่า Department of Treasury ในภาษาอังกฤษได้มั้ยครับ) และรับผิดชอบเกี่ยวกับชาวต่างประเทศใช่หรือไม่ครับ?


 การคมนาคมในอดีตที่ยังไม่มี land & air transport ใช้ทางน้ำเท่านั้นสำหรับค้าขาย ติดต่อรวมทั้งงานระหว่างประเทศ ต้องใช้ท่าเรือ จึงมีกรมท่าเกิดขึ้นกระมังครับ ต่อมา การเดินทางที่ไม่มีการขนสินค้าปริมาณมากๆใช้ทางอากาศเป็นหลัก หน้าที่ของ Harbour Department ในด้านการทูตจึงลดลง ไปอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าในสมัยร.5 กรมท่ามีบทบาทที่ทูตทุกประเทศจะต้องรู้จัก ใช้คำว่า  Harbour Department คงตรงต่อสภาพความเป็นจริง ผู้อ่านน่าจะเข้าใจ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 23:17
(http://)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 23:32
ขุนอักษรสมบัติ ในที่นี้ผมใช้คำว่า clerk in Harbour Department


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 09 ม.ค. 14, 23:43
(http://) แต่พระนรินราชเสนี กระผมไม่ทราบว่าจะอยู่กระทรวงใด Google search เจอ พระยานรินทรราชเสนี (พร้อม มิตรภักดี) แต่กระผมไม่คิดว่าจะใช่เพราะ ท่านนี้เกิดเมี่อปี 2415 เอกสารที่กระผมทำอยู่นี้คือปี 2419


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 10 ม.ค. 14, 00:22
(http://)อัปดุลเซนอิชาไบ = Abdul [Hus]sain Aichabhai ไม่ทราบว่ามีใครเห็นด้วยกับกระผมเหรอไม่ครับ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ม.ค. 14, 07:10
(http://) แต่พระนรินราชเสนี กระผมไม่ทราบว่าจะอยู่กระทรวงใด Google search เจอ พระยานรินทรราชเสนี (พร้อม มิตรภักดี) แต่กระผมไม่คิดว่าจะใช่เพราะ ท่านนี้เกิดเมี่อปี 2415 เอกสารที่กระผมทำอยู่นี้คือปี 2419

พระนรินทรราชเสนี (ปั้น) สังกัดกรมพระกลาโหม


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ม.ค. 14, 07:18
ขุนอักษรสมบัติ ในที่นี้ผมใช้คำว่า clerk in Harbour Department

ขุนอักษรสมบัติ สังกัดกรมวัง เป็นเสมียนตรา


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ม.ค. 14, 08:42
อัปดุลเซนอิชาไบ = Abdul [Hus]sain Aichabhai ไม่ทราบว่ามีใครเห็นด้วยกับกระผมเหรอไม่ครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5867.0;attach=46018;image)

คนเดียวกับอับดุลเจ้าของตึกหน้าวัดเกาะหรือเปล่าหนอ  ???



กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 14, 09:29
อยากเห็นประโยคเต็มของอับดุลเซน....  เพราะไม่แน่ใจว่า ไบ หรือ ไป ค่ะ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 10 ม.ค. 14, 18:58
เรียน อาจารย์เทาชมพู ครับกระผมจะลองส่งรูปประโยคเต็มๆไปใหม่ครับ แต่เท่าที่เห็น ตัว 'ป' ที่อยู่บรรทัดบน เปรียบเทียบกับ 'บ' ค่อนข้างที่จะไม่เหมือนกันครับ

ขอบคุณๆ Scarlet ที่ช่วย confirm the wording ของ 'Harbour department' ครับ.

คุณเพ็ญชมพู ใช่ครับเป็นคนเดียวกันกับอับดุลเจ้าของตึกหน้าวัดเกาะ  :D

คุณ Siamese ในเอกสารที่กระผมทำอยู่นี้ ขุนอักษรสมบัติ ทำอยู่ในกรมท่า เพราะ Consul General Mr Knox ส่งเรื่องไปที่กรมท่าถึง ขุนอักษรสมบัติ

ผมเจอบทความในเรือนไทยเขียน โดยคุณ luanglek ใน 'ขุนนางวังหลวงวังหน้าสมัยร.๕ ที่มีราชทินนามพ้องกัน' ใน link นี้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4287.35;wap2
 
พูดถึง ขุนอักษรสมบัติ ว่าเป็น เสมียนตรากระทรวงการต่างประเทศ.

หรืออาจจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าตำแหน่ง ขุนอักษรสมบัติ ใช้กับกระทรวงอื่นก็ได้?  ???


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ม.ค. 14, 09:31
ตึกหน้าวัดเกาะ ของอับดุลฮุเซน มีเรื่องอันไดหรือ ช่วยบอกเล่าให้ฟังหน่อย

ทั้งนี้ห้องแถวหน้าวัดเกาะ ปรากฎชื่อเรียกแบบไทย ๆ ว่า "แขกมะรุเซน" เป็นเจ้าของตึกแถวให้เช่า นับห้องแล้วได้ ๘ ห้องเป็นตึก


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 14 ม.ค. 14, 05:22
คุณ Siamese ครับ ดูเหมือนว่าอัปดุลเซน หรืออัปดุลหุเซน บุคคลผู้นี้เป็นแขกถือสัณชาติอังกฤษ ทำธุระกิจโรงสีข้าว ในกรุงเทพ แกได้ซื้อเรือกลไฟของกรมท่ามา 240,000 บาท เรือ มาตะบัน 100,000 บาท และมีหนี้อีกประมาณ 600,000 บาท. ซึ่งการคัาขายในเรือ สองลำนี้มีแต่ขาดทุน




กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 14 ม.ค. 14, 05:30
ในขณะเดียวกันอัปดุลฮุเซนได้ให้ของกำนัลให้กับคนไทย(ไม่ทราบว่า จะหมายถึงเงินใต้โต๊ะหรือไม่) อีกเป็นเงินถึง 150,000 บาท. ในบรรดาเจ้าหนี้ มีหลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5, เจ้าพระยาศรีพิพัฒ, คุณท้าวศรีทรงบันดาน, พระสาคร, เจ้าคุณหญิงพัน, สเยดอาลี และ นายหนูเป็นต้น.


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 14 ม.ค. 14, 05:34
แม้กระทัง คุณพระนายไว (ไม่ทราบว่าจะเป็น จมื่นไวยวรนาถหรือไม่) ในส่วนของคุณพระนายไว พยายามจะฟ้องเอาเรือคืน แต่ กงสุล Knox ไม่ยอม และให้เหตุผลว่าเนื่องจากห้างของอัปดุลเซนถูกล้มละลาย สมบัติทั้งหมดจึงตกเป็นของอังกฤษ.


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 14 ม.ค. 14, 05:38
เรื่องอัปดุลเซนถูกล้มละลาย นี้ทำให้ Mr Knox ไม่พอใจอย่างมากถึงกับพูดว่า "คนเมืองนี้เมื่อรู้แน่ว่าเงินของตัวจะสูนก็ร้องพร้อมกันแต่เงินของคนในบังคับอังกฤษสูนไปก็มากก่วาเงินของพวกไทเสียไปเพระคนในบังคับอังกฤษ".


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 14 ม.ค. 14, 05:50
ส่วนที่หน้าวัดเกาะ (อาจจะเป็นแห่งเดียวกับที่คุณ Siamese พูดถึงในความเห็นข้างบน) นั้นได้ถูกเลหลังไปเพื่อที่จะได้เอาเงินที่เลหลังได้ไปคืนให้กับพระเจ้าแผ่นดิน เพราะอัปดุลฮุเซนได้จำนำไว้ต่อในหลวง. แต่เงินที่เลหลังนั้นไม่พอเงินที่จะถวายคืนให้กับในหลวง. ดูเหมือนว่าตึกอัปดุลฮุเซนหน้าวัดเกาะนั้นภายหลังได้ถวายให้ในหลวงในปี 1877.


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 14 ม.ค. 14, 06:42
ส่วนจดหมายฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการว่าจ้างนายทหารเรืออังกฤษเข้ามารับราชการในเรือรบของสยาม

หลอดกำมิศเนอแอศมิราลติ = Lord Commissioner of Admiralty (ผู้บันชาการกระทรวงทหารเรือ)

ลอดเดอบี = คนนี้น่าจะเป็น Edward Henry Stanley, 15th Earl of Derby Secretary of State for Foreign Affairs http://en.wikipedia.org/wiki/Edward_Stanley,_15th_Earl_of_Derby

เนวาระกาเนอ = Navigator ?

ตรินสะตักเตอ = Inspector ?

ไม่ทราบว่ามีใครเห็นด้วยกับกระผมมั้ยครับสำหรับสองคำหลังที่มีเครื่องหมายถาม  ???


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 14 ม.ค. 14, 07:07
กระผมขอขอบพระคุณ อาจารย์ เทาชมพู และผู้รู้ทุกท่านที่ให้คำแนะนำและต้องขออภัยถ้ากระผมเข้ามาตอบกระทู้ช้าไปเพราะนอกจากงานแปลเอกสารชุดนี้แล้วกระผมกำลังทำ research paper  เกี่ยวกับ สยามในสงครามใลกครั้งที่หนึ่ง สำหรับ Conference ฉลองวันที่ระลึกครบรอบ 100 ปี ของการเกิด สงครามใลกครั้งที่หนึ่ง


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 14 ม.ค. 14, 08:45
เนวาระกาเนอ = Navigator ?

ตรินสะตักเตอ = Inspector ?

เป็นไปได้ไหมว่าคือ Instructor?
ตำแหน่งทั้งสองนี้ หน้าที่ทับซ้อนกันในบางกรณี
ผู้ตรวจอาจเพียงระบุว่าถูกหรือผิด แต่ปกติจะไม่บอกวิธีแก้ไข แต่ instructor จะให้คำแนะนำด้วย
ความจริง instruct ก็คือสั่งให้ทำนั่นเอง แต่พูดอย่างสุภาพคือแนะนำ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 09:22
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5867.0;attach=46077;image)
ทีแรกคิดอย่างคุณ scarlet เหมือนกันว่าอาจเป็น instructor   แต่พอไปอ่านในรูปที่สแกนมา
ไม่ใช่ ต ค่ะ เป็น ป
เขาสะกดว่า ตรินสะปักเตอ
ตรินสะปักเตอ   สะกดตามได้ยินเสียงพูด   The inspector ?

p ที่ตามเสียงตัว s  ฝรั่งออกเสียงเป็น ไม่ใช่   ค่ะ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 14:52
เนวาระกาเนอ = Navigator ?

เสนอ เนวาระกาเนอ = naval gunner   ;D


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 19:33
^
พลปืนประจำเรือ?


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 14 ม.ค. 14, 19:51
เนวาระกาเนอ = Navigator ?

เสนอ เนวาระกาเนอ = naval gunner   ;D

อาจเป็นไปได้ ถ้าหาก correspond with context :D

อ่านบรรทัดล่างๆก็น่าจะใช่ เพราะกล่าวถึงเรือรบ
Navigator เป็นศัพท์ออกวิชาการ สมัยนั้นจะใช้กันหรือเปล่าก็ไม่ทราบ เปรียบเทียบกับ gunner เป็นคำนามพื้นๆ เข้าใจง่ายๆ น้ำหนักน่าจะเป็นคำนี้มากกว่า


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 15 ม.ค. 14, 07:33
ต้องขอโทษคุณ Scarlet ด้วยครับกระผมสกดผิด กระผมตั้งใจจะสะกดว่า ตรินสะปักเตอ อย่างที่อาจารย์เทาชมพูสะกด ล่ะครับ.

ขอบพระคุณอาจารย์ เทาชมพู ด้วยครับที่เติม the เข้วไปข้างหน้า Inspector เสียงที่ออกเป็น ตรินสะปักเตอ จริงๆ

ใช่เลยครับ ขอบคุณครับ คุณเพ็ญชมพู และ คุณ Scarlet - Naval Gunner น่าจะใช่มากก่วา Navigator

คุณ Scarlet จริงๆแล้วคำว่า Navigator มีใช้แล้วใน Royal Navy ซึ่งความจริงแล้ว the Master of the ship คือผู้ทำหน้าที่ Navigator ครับ 


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 08:52
ยังสงสัยนิดหน่อย
ตามความอนุญาตของท่านลอร์ดเดอบี ได้ยอมให้นาวะระกาเนอ ๒ คน กับตรินสะปักเตอ รับจ้างทำการในเรือรบฝ่ายสยามแล้ว
ถ้าแปลเป็นอังกฤษคือ
With Lord  Derby's consent , two naval gunners and the inspector have been hired in Siam's battleship.
article หน้าคำไม่น่าจะเป็น the ที่แสดงความเฉพาะเจาะจงลงไป   เพราะคำก่อนหน้าคือ naval gunner  ยังไม่เจาะจง ว่าเป็น the naval gunners    ดังนั้น น่าจะเป็นจำนวนเหมือนกัน
ถ้าเป็นอย่างนี้ล่ะคะ คุณ pad

With Lord  Derby's consent , two naval gunners and three inspectors have been hired in Siam's battleship.


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 16 ม.ค. 14, 06:40
ขอบพระคุณ อาจารย์ เทาชมพู ด้วยครับที่ให้ข้อคิดถึงความน่าจะเป็นไปได้ของคำ ตรินสะปักเตอ = three inspectors


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 14, 07:30
ถ้าเป็นอย่างนี้ล่ะคะ คุณ pad

With Lord  Derby's consent , two naval gunners and three inspectors have been hired in Siam's battleship.

ไม่เห็นด้วยกับการจะแปลว่า Three Inspectors ครับ เนื่องจากการบอกจำนวนคนก็ควรต้องบอกว่ากี่คน กี่ท่าน และไม่มีการทับศัพท์บอกจำนวนตัวเลข

เช่น จำนวนโรงพักมีพลตระเวน ๕๐ คนพร้อมด้วย ไฟว์ซายัน ก็ควรจะบอกว่า มีพลตระเวน ๕๐ คนและซายัน ๕ เป็นต้น

และอีกกรณีหนึ่งคือ จะจ้าง  Inspector มาถึง ๓ ท่านดูจะมากเกินไปนะขอรับ

ดังนั้นเรือนี้ก็ควรมี Inspector เพียง ๑ เดียวเท่านั้น และการออกเสียง ตรินสะ - อินสะ ตามสำเนียงลิ้นแข็ง ๆ ครับ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ม.ค. 14, 09:16
ข้อเสนอของคุณเทาชมพูก็อาจเป็นไปได้

ขอให้สังเกตว่าผู้เขียนไม่มีมาตรฐานในการเขียนหน่วยนับ ดังจะเห็นได้จาก

ข้อความข้างบน ราคาของเรือเขียนคนละวิธี  เรือไฟของกรมท่าเขียนเป็น "บาท" ส่วนเรือมะตะบันเขียนโดยใช้เครื่องหมาย "ตีนกา" หรือ "ตีนครุ" (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8) ซึ่งหมายถึงราคาเป็นบาทเช่นกัน

ข้อความข้างล่าง จำนวน naval gunner เขียนเป็น "คน" ส่วนจำนวน inspector ก็อาจเขียนในอีกวิธีหนึ่งโดยได้ความหมายเป็นจำนวนคนเช่นกัน

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 14, 09:25
ถ้าเป็นอย่างคุณหนุ่มสยามว่า
ก็จะแปลได้ว่า
With Lord  Derby's consent , two naval gunners and the inspector have been hired in Siam's battleship.

ทำไมต้องเจาะจงลงไปว่าเป็น inspector คนนี้ล่ะคะ คุณ pad

ป.ล. inspector ทำหน้าที่อะไรคะ  ถึงมีคนเดียวพอ?


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 16 ม.ค. 14, 17:36
ตำแหน่ง Inspector  ถ้ากระผมเข้าใจไม่ผิดน่าจะเป็น Inspector of  Machinery,  ในเรือที่ใช้พลังไอน้ำหรือ Steam Ship  เป็นตำแหน่งค่อนข้างใหม่ถือกำเนิดขึ้มมาจากการที่ Royal Navy เริ่มมี Steam Ship ใช้ตั้งแต่ประมาณ 1830s เป็นต้นมา  ครับ.

จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า Mr Knox  รู้จักชื่อหรือพอจะรู้จัก Inspector คนนี้แล้ว ถึงพูดว่า the Inspector = ดิรินสปักเตอ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 14, 17:43
ถ้าหากว่ากงสุลน็อกซ์รู้จัก the inspector คนนี้  น่าจะระบุชื่อลงไปในเอกสารเสียเลย  ไม่ดีกว่าหรือคะ
ดิฉันฝากให้คุณ pad สังเกตตัวสะกดในคำ   "ตรินสะปักเตอ" อีกครั้ง
ถ้าเป็น the inspector   ตัว ร มาจากไหน    

คำว่า the +inspector  อ่านเร็วๆ  มันจะเป็น thinspector      ถ้าคำนึงว่า เสียง th ไม่มีในไทย   เราออกเสียงเป็น ด  เหมือน the ออกเสียงว่า เดอะ     แล้วต่อมาเมื่อเขียน เพี้ยนจาก ด เป็น  ต    ก็น่าจะเป็น  ตินสะปักเตอ  ไม่ใช่  ตรินสะปักเตอ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 16 ม.ค. 14, 18:28
ถ้าหากว่ากงสุลน็อกซ์รู้จัก the inspector คนนี้  น่าจะระบุชื่อลงไปในเอกสารเสียเลย  ไม่ดีกว่าหรือคะ
ดิฉันฝากให้คุณ pad สังเกตตัวสะกดในคำ   "ตรินสะปักเตอ" อีกครั้ง
ถ้าเป็น the inspector   ตัว ร มาจากไหน    

คำว่า the +inspector  อ่านเร็วๆ  มันจะเป็น thinspector      ถ้าคำนึงว่า เสียง th ไม่มีในไทย   เราออกเสียงเป็น ด  เหมือน the ออกเสียงว่า เดอะ     แล้วต่อมาเมื่อเขียน เพี้ยนจาก ด เป็น  ต    ก็น่าจะเป็น  ตินสะปักเตอ  ไม่ใช่  ตรินสะปักเตอ


คงไม่จำเป็นถึงขนาดนั้นกระมังครับ ท่านเจ้าเรือน Mr. Knox อาจแค่ (บอกให้เสมียร)บันทึกเฉยๆเพื่อเป็นข้อมูลบางระดับ ไม่คิดขนาดว่าจะต้องมีรายละเอียดเพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และอาจไม่ทราบชื่อของ inspector ท่านนี้ (ไม่จำเป็นต้องทราบชื่อ) ถึงแม้ว่าทราบ ก็อาจสมัครใจรียก  the inspector เฉยๆ เพราะถ้าเป็นข้อมูลในการทำงาน มักเรียกตำแหน่ง

คิดว่า inspector ในเรืออาจเป็นตำแหน่ง chief ซี่งมีหลายคน แต่ละระบบของเรือ ต้นกล chief engineer ต้นหน (สงสัยเรียก  navigator?) ต้นเครื่อง (chef- อันนี้ผมคิดขึ้นเอง พ่อครัวในเรื่อคงไม่ได้เป็นขนาด chief) ต้นห้อง ฯลฯ ดังนั้น ที่สงสัยว่า three inspectors อาจเป็นความจริงก็ได้ the กับ three ฐานเสียง ด-ต แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน ๅ the ถึงแม้ลิ้นแข็ง ก็ออกเสียงเป็น ต ยากครับ ผู้บันทึกถึงแม้อาจไม่จัดเจนภาษาอังกฤษเหมือนคนไทยสมัยนี้ แต่การได้รับคัดเลือกมาทำหน้าที่ ความสามารถก็คงน่าเชื่อถือ สังเกตคำอื่นๆ ถือว่าสะกดได้ถูกต้อง
สังเกตดูเจ้าของภาษาเวลาออกเสียงคำว่า three มีเสียง ต แกมนิดๆนะครับ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 14, 18:41
ความคลุมเครือของคำนี้ทำให้ตีความได้หลายอย่าง   อย่างที่คุณ scarlet ตอบมาก็เป็นมุมมองอีกทางหนึ่ง
ไม่รู้จะอธิบายยังไงมากกว่านี้ค่ะ 
คงต้องยกให้คุณ pad ก็แล้วกันว่าจะแปลคำนี้ว่าอะไร  และมี inspector กี่คนกันแน่


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 16 ม.ค. 14, 18:42
ถ้าหากว่ากงสุลน็อกซ์รู้จัก the inspector คนนี้  น่าจะระบุชื่อลงไปในเอกสารเสียเลย  ไม่ดีกว่าหรือคะ
ดิฉันฝากให้คุณ pad สังเกตตัวสะกดในคำ   "ตรินสะปักเตอ" อีกครั้ง
ถ้าเป็น the inspector   ตัว ร มาจากไหน    

คำว่า the +inspector  อ่านเร็วๆ  มันจะเป็น thinspector      ถ้าคำนึงว่า เสียง th ไม่มีในไทย   เราออกเสียงเป็น ด  เหมือน the ออกเสียงว่า เดอะ     แล้วต่อมาเมื่อเขียน เพี้ยนจาก ด เป็น  ต    ก็น่าจะเป็น  ตินสะปักเตอ  ไม่ใช่  ตรินสะปักเตอ


คงไม่จำเป็นถึงขนาดนั้นกระมังครับ ท่านเจ้าเรือน Mr. Knox อาจแค่ (บอกให้เสมียร)บันทึกเฉยๆเพื่อเป็นข้อมูลบางระดับ ไม่คิดขนาดว่าจะต้องมีรายละเอียดเพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และอาจไม่ทราบชื่อของ inspector ท่านนี้ (ไม่จำเป็นต้องทราบชื่อ) ถึงแม้ว่าทราบ ก็อาจสมัครใจรียก  the inspector เฉยๆ เพราะถ้าเป็นข้อมูลในการทำงาน มักเรียกตำแหน่ง

คิดว่า inspector ในเรืออาจเป็นตำแหน่ง chief ซี่งมีหลายคน แต่ละระบบของเรือ ต้นกล chief engineer ต้นหน (สงสัยเรียก  navigator?) ต้นเครื่อง (chef- อันนี้ผมคิดขึ้นเอง พ่อครัวในเรื่อคงไม่ได้เป็นขนาด chief) ต้นห้อง ฯลฯ ดังนั้น ที่สงสัยว่า three inspectors อาจเป็นความจริงก็ได้ Mr. Knox  อาจต้องการกล่าวถึง 3 ท่านนี้ จะเนื่องด้วยเหตุใดก็ตาม
the กับ three ฐานเสียง ด-ต แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน  the ถึงแม้ลิ้นแข็ง ก็ออกเสียงเป็น ต ยากครับ ผู้บันทึกถึงแม้อาจไม่จัดเจนภาษาอังกฤษเหมือนคนไทยสมัยนี้ แต่การได้รับคัดเลือกมาทำหน้าที่ ความสามารถก็คงน่าเชื่อถือ สังเกตคำอื่นๆ ถือว่าสะกดได้ถูกต้อง ใกล้เคียง
สังเกตดูเจ้าของภาษาเวลาออกเสียงคำว่า three มีเสียง ต แกมนิดๆนะครับ


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 17 ม.ค. 14, 08:02
ขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยแน่ะนำ เอาไว้ถ้ากระผมมีเวลาจะลองค้นหาเอกสารเรื่องการว่าจ้างนายทหารเรืออังกฤษในเรือรบสยามครับ สำหรับขณะนี้กระผมคงจะใช้คำว่า the Inspector ไปก่อน.   :)



กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 17 ม.ค. 14, 08:37
จดหมายข้างล่างทำให้กระผมปวดหัวมากเพราะไม่ทราบว่าชื่อบุคคลนี้คือใคร

เป็นจดหมายขอใบเิกทาง (passport) สำหรับ มิศเตอ ยอนชิ์ยรลักซิ์ ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ จะขอเข้ามาเก็บตัวอย่างพืช สำหรับ Botanical Garden Calcutta (ซึ่งอาจจะเป็นที่นี่ Acharya Jagadish Chandra Bose Indian Botanic Garden)

กำซิลรอแอนโบแทนไอแคลกาเดน - Councillor and Botanical Garden

กาละกะตะ - Calcutta

มิศเตอ ยอนชิ์ยรลักซิ์ -  ???


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 14, 09:23
มิศเตอ ยอนชิ์ยรลักซิ์    เจอนามสกุลเข้าแทบตกเก้าอี้  ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่รู้จักมาก่อนเลย
ฤๅจะเป็น  John Shiraz 


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 18 ม.ค. 14, 16:25
ขอบพระคุณอาจารย์ เทาชมพูครับ

เท่าที่ผมค้นหาได้ Botanist ที่เข้ามาในสยามช่วงรัชกาลที 5 มีอยู่หนึ่งคนชื่ิอ Johannes Elias Teijsmann เป็นชาว Dutch เข้ามาในสยาม 'was also part of a Dutch fact-finding mission to Siam' (http://en.cyclopaedia.net/wiki/Teijsm) แต่ก็ไม่ทราบว่ามาในช่วงปีไหน.

ไม่ทราบว่าอาจารย์ คิดว่า ยอนชิ์ยรลักซิ์ = Johannes Elias พอจะได้มั้ยครับ ?

ผมอาจจะ speculated มากไปหน่อย  :)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 14, 17:08
ดิฉันก็นึกถึงนักพฤกษศาสตร์คนหนึ่งที่เคยมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯและกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญอยู่เหมือนกัน  มีอยู่ในกระทู้เก่าเรื่องกรมพระราชวังบวรฯ   แต่ยังลังเล เพราะนายคนนั้นไม่ใช่คนอังกฤษ   
ถึงแม้ชื่อ Johannes ตรงกับ John   เว้นแต่วิชาประวัติศาสตร์ ชื่อบุคคลเขาก็ไม่เห็นจะต้องแปลข้ามชาติกันนี่คะ
ข้อนี้ก็เลยยังไม่ฟันธงลงไปว่าเป็นคนเดียวกัน

ถ้าคุณ pad เช็คค.ศ. ได้อาจจะช่วยให้กระจ่างขึ้นว่าคนเดียวกันหรือเปล่านะคะ   


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ม.ค. 14, 19:28
ส่วนที่หน้าวัดเกาะ (อาจจะเป็นแห่งเดียวกับที่คุณ Siamese พูดถึงในความเห็นข้างบน) นั้นได้ถูกเลหลังไปเพื่อที่จะได้เอาเงินที่เลหลังได้ไปคืนให้กับพระเจ้าแผ่นดิน เพราะอัปดุลฮุเซนได้จำนำไว้ต่อในหลวง. แต่เงินที่เลหลังนั้นไม่พอเงินที่จะถวายคืนให้กับในหลวง. ดูเหมือนว่าตึกอัปดุลฮุเซนหน้าวัดเกาะนั้นภายหลังได้ถวายให้ในหลวงในปี 1877.

ขยายความเรื่องตึกแถวหน้าวัดเกาะ

อับดุลฮุสเซน เป็นคนบังคับร่มธงอังกฤษ ดังนั้น มิศเตอร์น๊อกซ์จำเป็นต้องช่วยเหลือ และต้องการเอาใจราชสำนักด้วยในทางเดียวกัน จึงได้ช่วยเหลือให้มีการเจรจาซื้อขายตึกแถวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยตึกนี้มีจำนวน ๓ หลัง จำนวน ๔๑ ห้อง ปลูกติดริมกำแพงวัดเกาะ  เมื่อการเจรจาสำเร็นลุล่วงแล้วทรงโปรดเกล้าให้อับดุลฮุสเซนพร้อมบุตร พำนักและเช่าตึกได้ต่อไป


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 23 ม.ค. 14, 16:25
ขออภัยครับที่เข้ามาช้าไปสอง สามวัน

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูด้วยครับ ผมจะลองติดต่อไปที่ Royal Botanical Gardens, Kew เพือที่ว่าจะมี รายชื่อของ Botanists ในช่วงเวลานี้รึเปล่า.

ขอบคุณๆ Siamese ครับสำหรับจำนวนของตึกที่อัปดุลฮุเซ่นเป็นเจ้าของ, ในเอกสารนี้บอกว่า หลังจากที่ตึกได้เลหลังไปแล้วอัปดุลฮุเซ่นได้ขออาศัยอยู่ต่ออีกเป็นเวลา 6 เดือน แล้วหลังจากนั้นจะถวายคืนให้ในหลวง, Mr Knox เห็นว่าหลังจากที่อัปดุลฮุเซ่นถวายคืนแล้ว ในหลวงคงจะทรงโปรดพระราชทานค่าตึกให้กับลูกของอัปดุลบ้าง.


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 14, 16:40
ไปสวน Kew ได้อะไรบ้างไหม  ;)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 23 ม.ค. 14, 17:09
ยังไม่มีเวลาแวะไปเลยครับ คุณ Siamese  :(

จดหมายฉบับนี้อาจเป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจประวัติการสื่อสารโทรคมนาคมของสยามในช่วงต้นๆของรัชกาลที่ 5


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 23 ม.ค. 14, 17:11
(http://)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 23 ม.ค. 14, 17:13
(http://)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 23 ม.ค. 14, 17:14
(http://)


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 23 ม.ค. 14, 17:30
สายตลิกราบ = Telegraph line
เกาวแมน = Government
มาดะรัศ = Madras
กำปะนี = Company
มิศเตอ สิเมอกลาก = Simon Clarke ?
เมือง ยุรบ = Europe


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 14, 19:07
ยังไม่มีเวลาแวะไปเลยครับ คุณ Siamese  :(

จดหมายฉบับนี้อาจเป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจประวัติการสื่อสารโทรคมนาคมของสยามในช่วงต้นๆของรัชกาลที่ 5

ใช่ครับ เป็นการเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที ๕ เท่านั้น แต่ก่อนหน้าที่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเจรจาขอทำสายโทรเลขในดินแดนสยามแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

จากจดหมายเหตุที่คุณ Pad เอามาให้อ่านนี้เป็นความพยายามของทางฝ่ายอังกฤษที่จะเอาใจรัฐบาลสยามให้เดินสายโทรเลขทางทวาย ปีนัง ซึ่งก่อน

หน้านี้ไม่นานทางรัฐบาลสยาม ได้รับการติดต่อจากฝรั่งเศสแล้ว โดยขอให้สยามปักเสาโทรเลขไปเชื่อมกับกัมพูชาได้เลย โดยฝรั่งเศสจะเดินสายโทรเลข

จากไซ่ง่อนให้ฟรีๆ เช่นนี้แล้วทางอังกฤษ โดยมิศเตอร์น๊อกซ์ จำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาแบ่งอิทธิพลดังกล่าวด้วย


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 14, 09:46
หนังสือจากมิสเตอร์น็อกซ์ถึงพระเจ้ากรุงสยามเรื่องการวางสายโทรเลข ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ ที่คุณเผด็จกรุณานำมาแสดงนั้น ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง จึงได้ถอดความเป็นอักษรไทยตามวิธีปัจจุบันไว้ดังนี้

มิสเตอร์น็อกซ์ ถึงพระเจ้ากรุงสยาม  

        ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับหนังสือจากเกาวแมนอินเดียใจความว่า ให้ข้าพระพุทธเจ้าถามเกาวแมนสยาม เรื่องตลิกราบที่คิดจะทำกันโดยทางเมืองทวาย ให้ติดต่อเนื่องกับสายตลิกราบของประเทศอื่น ๆ นั้น บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ว่าด้วยสายทางเมืองทวายนี้ก่อน จะว่าด้วย ๒ สายที่ได้พูดไว้แต่ก่อนนั้นแล้ว สาย ๑ ไปทางเมืองสงขลาตลอดไปถึงเมืองปีนัง ผู้ที่คิดจะทำสายนี้จะต้องไปติดต่อสายที่เมืองออสเตรเลีย ที่เมืองออสเตรเลียนั้นมีพวกอังกฤษถึง ๔ ล้านคนแล้ว ในอีกสัก ๕๐ ปีคงจะมีทวีมากขึ้นถึง ๓๐ ล้านคน ก็จะเป็นเมืองโตใหญ่ขึ้นอีกสายนี้หมายจะมาเมืองยะวาเมืองปีนัง ตั้งแต่เมืองปีนังมาทางบกจนถึงกรุงเทพฯ ออกจากเมืองกรุงเทพฯจะไปเมืองทวายจนถึงเมืองรางกูน

        อย่างนี้จะมี ๒ สายจากเมืองอังกฤษไปถึงเมืองออสเตรเลีย เพราะมีสาย ๑ แล้วที่ไปทางปีนังมาดะรัศ ตลิกราบสายนี้กำปะนีอังกฤษคิดจะทำ แต่จะให้เกาวแมนสยามทำการังติรับใช้เงินทุกปีให้มีกำหนดว่าปีละเท่าไร ฝ่ายเกาวแมนสยามไม่ยอมเพราะเกาวแมนสยามว่า เห็นสิ้นเงินมากเหลือเกินไป เกาวแมนสยามจึงว่าจะทำสายตลิกราบเอง

        ในคำซึ่งแก่งแย้งกันดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้คิดลำเอียงช่วยบำรุงข้างกำปะนีอังกฤษจริง เพราะเห็นว่าสายตลิกราบที่จะไปทางเมืองออสเตรเลียจะมีเมดเซซคือใช้คำพูดไปมามากนัก ซึ่งคำสำคัญใหญ่ควรจะต้องรักษาโดยดี ๆ แลสายตลิกราบตอนของไทยนี้อยู่กลาง กลัวจะเหลือกำลังของไทยที่จะรักษาให้สมควรกับการ คงจะเกิดเหตุฟ้องร้องเพราะชาวต่างประเทศทั้งปวงจะกล่าวโทษเกาวแมนไทย ว่าไม่รักษาตอนส่วนของไทยตามสมควร การซึ่งกล่าวโทษเกาวแมนไทยนั้น ก็มีอยู่เนือง ๆ เสมอแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าไม่อยากจะให้กล่าวโทษซ้ำอีกบ่อย ๆ

        การซึ่งผู้ที่ชื่อร้องว่ามิสเตอร์สิเมอกลากขอเงินมากเกินไปนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ถ้าเกาวแมนสยามรับทำตลิกราบเอง ค่าทำตลิกราบแลค่ารักษาจะขึ้นเงินมากกว่าที่มิสเตอร์สิเมอกลากขออีก

        แต่บัดนี้สายตลิกราบที่จากปีนังไปรังกูนนั้น มีผู้ได้ทำไปในทางทะเลสำเร็จแล้ว เป็นใช้ได้แทนสายที่มิสเตอร์สิเมอกลากคิดจะทำนั้น เพราะฉะนี้สายที่มิสเตอร์สิเมอกลากจะทำก็จะว่างปล่าอยู่ช้านาน

        บัดนี้จะว่าด้วยสายตลิกราบที่จะไปทางเมืองไซ่ง่อน ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าสายนี้จะเป็นถูกกว่าสายที่จะไปทางปีนัง แต่ถ้าว่าสายที่จากไซ่ง่อนไปสิงคโปร์นั้นเป็นแต่สายเดียวในทะเลลึก แลจากสิงคโปร์ไปฮ่องกงก็เหมือนกัน อย่างหนึ่งสายที่ไปไซ่ง่อนนั้นเป็นการผ่านไปตามหัวเมืองเล็กน้อย ไม่สำคัญเหมือนสายที่ไปทางปีนังทางเมืองทวาย

        บัดนี้จะว่าด้วยสายที่ไปทางเมืองทวาย สายนี้จะติดต่อกันกับสายที่เมืองรางกูน แลจากรางกูนไปปีนังนั้นมีถึง ๒ สาย สาย ๑ ไปตามเมืองอินเดียเมืองมาดะรัศ ตั้งแต่มาดะรัศถึงปีนังในทะเลลึก อีกทาง ๑ ตรงไปปีนังในทะเลลึก สายที่ไปเมืองอินเดียนั้นติดต่อกันกับ ๒ สายที่ไปเมืองยุโรป การที่จะทำนี้ส่วนของไทยก็น้อยแลทางนี้ไปตามระยะบ้านเมืองเสียมาก จะรักษาดูแลก็ง่าย เงินที่จะออกทุนควรจะน้อยกว่าสายที่ไปไซ่ง่อนแลปีนัง ถ้าจะเสียไปด้วยประการใด มีคนมากจะทำให้ดีขึ้นก็ได้โดยง่ายโดยเร็ว แล้วก็ถูกด้วย

       ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ควรจะทำสายที่ไปทางเขตแดนให้ติดต่อกันกับสายที่เมืองทวาย แลสายนี้เป็นสายที่จากเมืองทวายมาเมืองไทยเท่านั้น พวกชาวต่างประเทศก็จะไม่เกี่ยวข้องฟ้องกล่าวโทษได้

        การซึ่งข้าพระพุทธเจ้าชี้แจงมาดังนี้ ท่านทั้งปวงก็ย่อมจะทราบอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าตลิกราบสายที่เมืองทวายนี้สมควรกับความปรารถนาของเมืองไทย สมควรกว่าสายที่ไปปีนังแลไปเมืองอื่น ๆ แลถูกกว่าด้วย

        ข้าพระพุทธเจ้ามีหนังสือไปรเวศถวายมาต่อพระองค์ครั้งนี้  เพราะถ้าจะเขียนมาตามราชการก็มีคนหลายคนในกรุงเทพฯ จะอุปมัยเปรียบก็เหมือนแร้งได้กลิ่นอาสพมาแต่ไกล แต่ถ้าว่าผิดกับแร้งที่แบ่งปันกินโดยปรกติดี พวกนี้ก็แย่งชิงอาสพจนเกิดวิวาทกัน แลผลประโยชน์นั้นก็เลยสูญเสียเปล่า ๆ

        บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าพักรออยู่ที่ปากน้ำ เพื่อจะเชยลมอากาศทะเลด้วย แต่กำหนดว่าจะกลับมาวันเสาร์นี้ เมื่อมาถึงแล้วข้าพระพุทธเจ้าจะขอเฝ้าพระองค์ในวันอาทิตย์ฤๅวันจันทร์นี้ด้วย ข้าพระพุทธเจ้าคงจะได้ทราบน้ำพระทัยพระองค์ในการเรื่องนี้ก่อนหน้าที่จะมีหนังสือตามไปถึงเกาวแมนอินเดีย

         คำนับทูลมา ณ วันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู นพศก


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 28 ม.ค. 14, 05:30
ขอบคุณๆเพ็ญชมพูด้วยครับที่ถอดข้อความให้อ่านสะดวกขึ้น
ด้วยความที่ผมสงสัยในชื่อ มิสเตอร์สิเมอกลาก ผมเลยไปค้นหาเอกสารของ Foreign Office ในที่ๆผมทำงาน ก็เลยเจอชื่อ Mr Seymour Clarke


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: pad ที่ 29 ม.ค. 14, 19:48
ดูเหมือนว่าในช่วงปี 1872 Mr Seymour Clarke ได้ทำเรื่องขอสัมปทานวางสายโทรเลข กับถ้าผมเข้าใจไม่ผิด กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งในจดหมายที่ Mr Knox  เขียนถึง Lord Derby  อธิบายว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หรือ วังหน้าแสดงถึงความไม่เห็นด้วยที่จะทำสายโทรเลขตามที่ Mr Seymour Clarke เสนอโดยให้เหตุผลว่าค่าใช้จ่ายสูง แต่ตามที่ในจดหมายนี้ Mr Knox บอกว่าสาเหตุที่แท้จริงคือ วังหน้ากลัวที่จะเสียอำนาจที่มี อยู่ทางภาคใต้ให้กับรัชกาลที่ 5 ผมข้าใจว่านี้คือหลักฐาน อีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าวังหน้าและรัชกาลที่ 5 เริ่มจะระหองระแหงกันหลังจากที่ รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชได้ประมาณ 4ปี


กระทู้: Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ม.ค. 14, 08:04
วังหน้า วังหลวง อังกฤษ และฝรั่งเศส

อย่าลืมว่าทั้งหมดนี้ต่างเล็งเห็นซึ่งกันและกัน แต่ที่ผมว่าร้ายที่สุดคือ อังกฤษและฝรั่งเศส ที่จ้องจะหาอะไรก็ตามให้ทางกาวเมนต์สยามกับวังหน้ามีอันต้องระแหงใจกัน ด้านหนึ่งแสร้งดีเจรจาความ ด้านหนึ่งแสร้งตีสยาม

เรื่องติว่าการวางสายโทรเลขจากพม่าผ่านไทยไปยังมาเลย์ นั้นแพงจริงครับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาในเรื่องนี้ด้วยว่าแพงเช่นกัน

พอฝ่ายฝรั่งเศสรู้ความว่าจะมีรัฐบาลสยามจะวางสายโทรเลข ก็เข้ามาเจรจาวางสายให้ฟรี ๆ จากพระตะบองเลยครับ แต่สยามต้องลงทุนปักเสาให้ก็แล้วกัน

เห็นไหมว่าทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างก็แย่งผลประโยชน์กันและกัน