เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: อำแดงริน ที่ 17 พ.ค. 02, 07:37



กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: อำแดงริน ที่ 17 พ.ค. 02, 07:37
 เห็นกระทู้คุณbookฯ นำเที่ยวละแวกนี้ค่ะ จู่ๆก็เลยนึกถึงขึ้นมา
ถามชาวจุฬาแถวนี้ มีคำตอบสั้นมากค่ะ

....ไม่รู้... แฮ่...

ch ออกเสียงเป็นช.ช้างไม่ใช่หรือคะ
เขาใช้หลักอะไรถึงเลือกใช้chคะ

   


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: caeruleus ที่ 05 พ.ค. 02, 20:57
 I think it's something to do with the 'Roman' phonetics ka (might be because 'Chula' comes from Sanskrit or Pali - so it then needs the spelling following the native??)

Just a suggestion


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: เมรี ที่ 06 พ.ค. 02, 11:30
 ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ แต่อยากรู้ เข้ามานั่งฟังด้วยคนค่ะ


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: กระแช่ ที่ 06 พ.ค. 02, 12:46
 ได้ยินเค้าว่ากันว่าเพราะเปนคำบาลี หรือ สันสฤต หรือป่าวครับ
เหมื่อชื่อโรงเรียนเทพศิรินทร์
ก็สะกดว่า DEBSIRIN ไม่ใช่ THEP


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 07 พ.ค. 02, 05:55
 I also believe that's because we use the Pali-sanskrit romanization for the word "Chula" krab -going back to its Pali root. I believe jor.jarn in Pali is transliterated as Ch or C. I also think, but I am not sure, that the Indians pronounce jor.jarn as Ch. (although we Thai pronounce it - in Thai - as J.)



How to transliterate or romanize Thai words is a problem that is not easily solved krab. In King Mongkut (Rama 4)'s time, he chose to strictly keep the Pali root, thus his son's name was romanized as "CHulalongkorn".  Since then there have been many schools or systems  of romanization of Thai words krab - from the King Vajiravudh's system (more or less the same as those of his grandfather) right down to what has been called "Karaoke system" today. I am not sure if the Royal Institute (Ratchapundit - or should I write Rajapundit???) has succeeded in creating one standardized system - or not yet?



I should point out,  though, that this "Pali/Sanskrit -based" should be used only for Thai names or words which have roots in Pali-Sanskrit krab (if you choose to use it) and not for Thai - Thai words. While you can debate whether to spell it "Chula" or "Jula", for "pain" you can only spell "jeb" and never "cheb".


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 02, 09:38
 อย่างที่คุณนคค.ว่าค่ะ
คำว่า Chula สะกดด้วยตัวอักษรโรมัน (หรือละติน)  ไม่ใช่อังกฤษ     อย่างที่เข้าใจกัน
ตัวอักษรพวกนี้   อังกฤษและประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศนำตัวอักษรโรมันไปใช้ในภาษาของตน  ละตินเป็นภาษาตายแล้ว ผิดกับภาษาที่นำอักษรพวกนี้ไปใช้  หลายคนก็เลยเข้าใจว่า เป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอักษรโรมันใช้สะกดคำในภาษาบาลีและสันสกฤตได้เช่นกัน    เช่น   k แทน ก kh แทน ข   b แทน พ

เมื่อนำตัวอักษรโรมันมาสะกดคำไทยที่มาจากบาลี-สันสกฤต เพื่อให้การถอดคำได้ถูกต้องตามหลักของบาลีสันสกฤตแต่เดิม   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงถอดตามหลักการเทียบตัวอักษร    ไม่ใช่เทียบการออกเสียงของอังกฤษ
คำที่มีจากภาษาบาลีสันสกฤต อย่างชื่อมหาวิทยาลัย จึงสะกดตามหลักนี้ คือ
ch  แทนตัว จ  อ่านว่าจุฬา ไม่ใช่ ชูฬา
ถ้าถามว่าแล้ว ช   จะเขียนว่าอะไร
คือ j แทนตัว ช
อย่าง    ราช = raj  ค่ะ


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 07 พ.ค. 02, 11:07
 อยากให้ลองอ่านหลักการถ่ายเสียงที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสถานด้วยครับ

 http://www.royin.go.th/roman-translate.html


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 02, 12:19
 อ่านหลักของราชบัณฑิตฯ  แล้วพบในตัวอย่างว่า คำว่า Chin  ออกเสียงได้ทั้ง จีน และ ชิน เลยนะคะ  
แต่ไม่มี j แทน จ
Chinnawat คงจะได้ทั้ง จีนวัตร และชินวัตร
chan กำหนดให้ถอดเป็นเสียง จันทร์  
ถ้างั้น ชาญ  จาน  ชัน  จั่น  คงจะ chan เหมือนกัน


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 07 พ.ค. 02, 13:09
 แม่นแล้วครับคุณเทาฯ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมข้องใจเหมือนกัน

บังเอิญผมเคยมีอันต้องมาเขียนชื่อสถานที่ภาษาไทยจำนวนมากด้วยอักษรโรมันเมื่อราวปีเศษๆมาแล้ว ดวยความที่คนหมู่มาก เขียนไปคนละทิศละทาง ผมก็เลยจะพยายามใช้ตามที่ราชการใช้ ไล่ไปไล่มาก็เลยทราบว่ามาตรฐานที่ใช้อยู่ปัจจุบันคือมาตรฐานของราชบัณฑิตฯ(ที่ๆยังไม่ใช้ก็จะทยอยเปลี่ยนจนทั่วประเทศ) พอมาอ่านดูหมายเหตุก็รู้สึกขัดข้องใจอยู่บ้าง เพราะข้อแรกในหมายเหตุว่าไว้ว่า

ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้

k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) kh จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต

p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ

t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต

อ่านดูแล้วพอจะยอมรับได้ว่า ทำไมมีการใช้ th, ph อย่างพิลึกพิลั่นขัดกับความรู้สึกอย่างนี้ ที่แท้ก็ยึดหลัก สัทศาสตร์ (ที่ผมก็ไม่รู้จักมาก่อนว่าใครเป็นคนบัญญัติ ผู้ใดทราบช่วยชี้แนะจะเป็นพระคุณมาก)

แต่พอมาเจอหมายเหตุข้อที่สองที่ว่า

ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch ใช้แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี–สันสกฤต เขมร ฮินดี อินโดนีเซียและภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา แต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไขว้เขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ซ ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงให้ใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้นเคย เช่น จุฬา = chula จิตรา = chittra

ผมก็รู้สึกกร่อยไปไม่น้อย ในเมื่อ th ยังออกเสียงเป็น ท, ph ยังออกเสียงเป็น พ ได้ ทำไมเสียง จ กลับไม่แทนด้วย c ตามหลัก สัทศาสตร์ ตั้งเป็นตุ๊กตาไว้แต่แรก ให้มันลักลั่นกันอย่างนี้ด้วยเล่า

แต่เอาเถิด มีมาตรฐานก็ยังดีกว่าไม่มี ค่อยๆปรับแก้กันไปได้

ทุกวันนี้ผมก็ยังยึดระบบนี้ในการเขียนไทยด้วยอักษรโรมันอยู่ แต่ก็หวังว่าจะมีการปรับปรุงที่ดีกว่านี้ครับ

ก็ด้วยระบบนี้มีข้อจำกัดหลายประการ
1.แยกเสียงสระสั้น-ยาวไม่ได้
2.แสดงเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้

ข้อเสนอ
1.จะใช้สัญลักษณ์ - มากำหนดเสียงยาว ผมว่าน่าจะดี
2.เคยเห็นระบบของภาษาจีนใช้ตัวเลขมาแทนเสียง ถ้าใช้ในภาษาไทยก็
สามัญ ไม่ต้องระบุ
เอกใช้ 1
โทใช้ 2
ตรีใช้ 3
จัตวาใช้ 4
ถ้าลองสังเกตดูผมว่าก็ดูคล้ายรูปวรรณยุกต์ที่เราใช้กันอยู่อีกต่างหาก

ซึ่งเสียงกำกับ(ไม่ว่าจะสั้น-ยาวหรือวรรณยุกต์)นี้จะใส่หรือละไว้ก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น(แบบจีน)

หรือว่าไงครับ?


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 07 พ.ค. 02, 13:13
 ขอล้อเลียนสักหน่อย :)
ราชบัณฑิตยสถาน เขียนว่า
Rachabandit[/]tayasathan

ฮี่ฮี่ฮี่...


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 07 พ.ค. 02, 13:14
 แก้ครับ...
 
Rachabandittayasathan


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 02, 13:42
 ราชบัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางสาขาของท่าน  ดิฉันเคารพนับถืออยู่เป็นตัวบุคคล   แต่มาถึงสัทศาสตร์อะไรที่ว่านี่เห็นทีจะต้องย้ายไปยืนอยู่กับพรรคฝ่ายค้าน
เรื่องธนิตสิถิลลมปากพวยพุ่งไม่พุ่งเหล่านี้ดิฉันว่าคงเป็นการเคร่งครัดหลักการ มากกว่าเชิงปฏิบัติ     เคยเรียนมาเหมือนกันตอนอยู่ปี ๑  เรียกว่า sound กับ soundless  ใช้ในเวลาออกเสียงPhonetics ของภาษาฝรั่ง เพราะจะว่าไปแล้ว d กับ ด ก็ออกเสียงไม่เหมือนกัน  เกี่ยวกับลมพุ่งไม่พุ่งนี่ละค่ะ
แต่พอมาอ่านหลักการของราชบัณฑิตแล้ว ดิฉันเกิดอาการหัวชนฝาว่า จันทร์ ไม่ได้ออกเสียง chan อยู่ดี  น่าจะ jun   มากกว่า
จิน หรือ จีน  น่าจะ jin กับ jeen  
ส่วนจะมีลมพุ่งไม่พุ่ง  เป็นส่วนผิดเพี้ยนจากกันส่วนน้อยของการออกเสียงพยัญชนะ   ที่มันผิดมากคือการออกเสียงพยัญชนะทั้งตัวต่างหาก  ch  ยังไงก็ไม่ใช่ จ
ยิ่งไปกำหนด ph  ว่าภูเก็ตสะกดว่า Phuket ดิฉันได้ยินฝรั่งอ่านว่า ฟูเก้ กันมาเยอะแล้ว
ถ้าใครจะรวบรวมรายชื่อไปประท้วง  จะลงชื่อเซ็นให้ค่ะ


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 08 พ.ค. 02, 02:34
คุณเทาชมพูยังโชคดีที่ได้ยินแค่ ฟูเก้ นะคะ  ที่ดิฉันได้ยินมาสาหัสกว่านั้นมาก  คิดว่าในปัจจุบัน  คนส่วนใหญ่ในโลกนับเอาภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางไปแล้ว  ต่างกับเมื่อร้อยปีก่อน  จึงน่าจะอนุโลมสะกดให้คนอ่านตามหลักภาษาอังกฤษไป  จะได้ไม่ลักลั่นกันอย่างนี้  และในการสะกดภาษาไทยของชื่อภาษาอื่น  ก็ควรยึดถือตามการออกเสียงเสียงแท้ของต้นภาษานั้น  ไม่ใช่ชื่อจริงๆไปทางนึง คนไทยเราหลงอ่านไปอีกทางนึงน่ะค่ะ

ขอลงชื่อร่วมเซ็นด้วยคนค่ะ


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: สร้อยสน ที่ 08 พ.ค. 02, 06:37
 ขออนุญาตแสดงความเห็นนะคะ

คุณพ่อของดิฉันท่านเป็นศิษย์เก่าคณะอักษรฯ แต่ท่านมักจะค้านการใช้หลักบาลี สันสกฤตมาเขียนคำไทยๆ อย่างเช่นนามสกุลที่ดิฉันใช้นี่ตามหลักที่ถูกกำหนด ต้องใช้ bh แทน ภ ซึ่งถ้าฝรั่งอ่านที่เขียนนั้น ก็ออกมาแปลก แบบที่คุณพ่อว่า เขาเรียกเราตั้งหลายครั้งยังไม่รู้ว่าเรียกเราเลย ท่านก็เลยกำหนดเองเลยให้ใช้ตัว pชื่อของพวกเราเหมือนกันค่ะ ถ้าคุณพ่อเป้นคนเขียนภาษาอักฤาให้ ท่านจะพยายามปั้นให้ใกล้กับ การออกเสียงแบบไทยๆที่สุด

พวกเราลูกหลานก็เลยถือตามท่านกันมา อาจจะไม่ถูกต้องแต่ถือหลักว่าให้ชาวต่างชาติเขาออกชื่อเราได้ใกล้เคียงที่สุดค่ะ


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: สร้อยสน ที่ 08 พ.ค. 02, 06:47
 ขอเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ เวลาพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศไปออกภาคสนามด้วยกันจะเจอเรื่องขำๆบ่อยที่สุดเพราะเขาจะออกชื่อสถานที่นั้นๆตามที่เขียนภาษาอักฤษในแผนที่ ซึ่งบางแห่งหาเท่าไรก็ไม่เจอ ถามใครเขาก็ไม่รู้จัก ดีที่เรามักจะต้องพาคนในพื้นที่ไปด้วยค่ะ  คนไทยเองอย่างพวกเรายังเดาไม่ออกเลยค่ะ

สุดท้ายขอลงชื่อด้วยค่ะ(ยังมีคนนอกเว้บ ขานรับเรื่องนี้อีกเกือบสิบค่ะโดยเฉพาะพวกที่เจอปัญหาแบบที่ดิฉันเอ่ยถึง)

แต่กรณีของจุฬาฯ คงไม่ต้องเปลี่ยนเป็นJ นะคะ
ไม่งั้นเพลงเชียร์ต้องเปลี่ยนกันหมด

อย่าง ซี้ยู วิ้ว วิน ทูเด่ ก็ต้องเป็น เจ๊ยู วิ้ว  วิน(อันนี้คนแถวนี้ฝากมาค่ะ)


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ค. 02, 10:02
 มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ชื่อวิภา
ท่านสะกดตามหลักการว่า Vibha
เพื่อนฝรั่งอ่านยังไงก็ไม่ออกเป็นวิภา  แต่เรียกฟิบ-ฮา ค่ะ
อธิบายยังไงเขาไม่เข้าใจจริงๆว่าวิภาสะกดว่า ฟิบ-ฮา


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 08 พ.ค. 02, 18:59
 ยกมือเป็นฝ่ายค้านราชบัณฑิตฯด้วยคน
เวลาผมเขียนชื่อทับศัพย์ ไม่ว่าจะจากไทยเป็นต่างประเทศหรือจากต่างประเทศเป็นไทย ผมใช้หลักว่าทำให้คนอ่านออกเสียงได้ใกล้ความเป็นจริงที่สุด

ซึ่งจริงๆแล้วก็มีปัญหาอยู่เหมือนกันคือบางทีจะเขียนไม่เหมือนคนอื่นเขา ทำให้ สื่อสานกันไม่เข้าใจก็มี เพราะบางคำก็ถูกรับไปอย่างผิดๆมานานแล้ว


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 09 พ.ค. 02, 01:00
 ผมเป็นผู้พยายามจะเคารพระเบียบที่ท่านตั้งไว้ครับ ดังนั้นผมก็ใช้ตามหลักของท่าน ตราบใดที่มันยังเป็นระเบียบอยู่ แต่ว่าถ้าถามใจผมจริงๆ แล้ว ผมก็ขอยืนข้างฝ่ายค้านด้วยคน เพราะระเบียบนั้นที่จริงถ้ามีเหตุผลก็เปลี่ยนได้

ชื่อจริงผมเอง (ว่าอะไรอย่ารู้เลย...) เวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษนั้น หัวมังกุท้ายมังกรทีเดียว เพราะนามสกุลผม ผมต้องใช้ตามที่ต้นตระกูลได้รับมา ซึ่งเป็นวิธีถอดเสียงแบบ "สำนัก ร.6"  (มี "- ฮา"  มี "-ฮี"  เหมือนชื่ออาจารย์วิภาเลย) แต่มาถึงชื่อตัว ผมไม่ยอมใช่ครับ ผมเขียนของผมง่ายๆ ให้ออกเสียงตรงกับที่ออกในภาษาไทย ดังนั้นชื่อคนๆ เดียวกันจึงมีสองสำนักคิดผสมกัน แต่อันนี้ผมก็เอาตัวรอดไปได้โดยอ้างช่องโหว่ของระเบียบที่ราชบัณฑิตฯ ยอมให้ คือ เป็นชื่อเฉพาะครับ จะสะกดยังไงก็ไม่ผิดเพราะเจ้าของชื่อ (คือผม) สะกดอย่างนั้นนี่

ด้วยความเคารพท่านราชบัณฑิตทั้งหลาย ผมยังเห็นอยู่ว่าคำต่างๆ จะมาจากภาษาไหนก็ตาม เมื่อไทยรับมาใช้เป็นภาษาไทยแล้วก็น่าจะถอดเป็นตัวโรมันตามที่ไทยอ่าน ซึ่งจะไม่ตรงกับสำเนียงแขกดั้งเดิมบริสุทธิ์ก็ไม่เห็นเป็นไร ถือว่าเป็นคำไทยแล้วนี่ ไม่ใช่คำแขก เป็นแต่มีรากมาจากแขก ถ้าเทียบทางฝรั่ง ชื่อบางชื่อในภาษาฝรั่งต่างๆ นั้นที่จริงคือชื่อ (เดิม) เดียวกันในภาษาคลาสสิกของฝรั่ง จะเป็นลาตินหรือกรีกอะไรก็ตามแต่เถอะ แต่ฝรั่งต่างชาติต่างภาษากันก็สะกดไปตามใจเขา เช่น Charles/ Carl/ Karl/ Carlo เป็นชื่อเดียวกันทั้งนั้นแหละ แต่ก้ไม่เห็นมีราชบัณฑิตฝรั่งท่านไหนบอกว่า สะกดว่า Karl ผิด เพราะภาษาคลาสสิกเขาไม่ได้สะกดยังงี้...  ก็ขื่อเหล่านั้นมันกลายเป็นชื่ออังกฤษ ชื่อเยอรมัน ชื่ออิตาเลียน ไปหมดแล้วนี่ครับก็ต้องยอมให้ใช้ตามภาษานั้นๆ

การรู้ไปถึงต้นรากเดิมก็เป็นเรื่องดี แสดงความเป็นปราชญ์ของท่านผู้ยึดถือหลักการนั้น ปัญหามันอยู่ตรงที่ฝรั่งทั่วไปสมัยนี้แกไม่ใช่ปราชญ์บาลีสันสกฤตกันแล้วน่ะสิครับ จึงอ่านเพี้ยนอยู่อย่างนี้ให้เจ้าของชื่อไม่รู้ว่าถูกเรียกอยู่บ่อยๆ

ผมมีเรื่องที่ผมเห็นขันอยู่เรื่องนึง แต่ต้องกราบขออภัยสมาชิกทุกท่านในราชสกุล จักรพงษ์ ไว้ล่วงหน้าด้วย  ราชสกุลนี้ ได้รับพระราชทานให้ถอดเป็นตัวโรมันว่า Chakrabongse ถูกต้องตรงเป๊ะตามหลักบาลีสันสกฤต แต่ผมเห็นแล้วไม่ยักอ่านว่า จัก -กระ -พง ไพล่ไปอ่านเสียว่า ชักกระบอง (ส์) แล้วก็ - กราบขออภัยอีกครั้งครับ - อดขันไม่ได้ เพราะเผอิ๊ญเผอิญตราประจำราชสกุลก็เป็นรูปจักรไขว้กับคทา หรือกระบอง พอดี ....

ถ้าท่านที่อยู่ในราชสกุลนั้นไม่ขันด้วย ผมกราบขออภัยครับ


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: อ้อยขวั้น ที่ 09 พ.ค. 02, 14:08
 ชื่อดิฉันขึ้นต้นด้วย ช ช้าง ค่ะ  ใช้ ch สะกดเวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ  ถ้าเกิดต้องอ่าน ch แบบในคำว่าจุฬา  แย่เลยค่ะ  คนอะไรก็ไม่รู้ชื่อว่า "จน"

สมัยเด็กๆ มีอาจารย์สอนภาษาอังกฤษชื่อว่าวิภาค่ะ  ให้การบ้านเขียนจดหมายภาษาอังกฤษถึงอาจารย์  แต่ไม่ได้บอกว่าสะกดชื่อยังไง  ก็เอาเลยค่ะ "Vipa"  มั่ง "Wipa" มั่งกันเป็นแถวตามประสาเด็กประถม  อาจารย์เพ้ยเข้าให้  บอกว่าชื่อชั้นสะกด "Vipha"  ที่พวกเธอสะกดมาน่ะมัน "วิป้า" นะยะ แป่ว!


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 09 พ.ค. 02, 16:35
 เอ้อ... พี่นิลฯถ้าจะตก เซ่[/] ไปพยางค์นึงนะครับ (se)
ชักกระบองเซ่

ถ้าว่ากันตามเสียงแล้ว vcharkarn.com น่าจะเป็น wichakan.com นะครับ    


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 09 พ.ค. 02, 16:36
 ว้า... ใช้ทีไรผิดทุกที
เอาใหม่...

ชักกระบองเซ่


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: อำแดงริน ที่ 09 พ.ค. 02, 20:20
 ตั้งกระทู้แล้วหนีไปเที่ยวมาหลายวัน
กลับมาเจอสรรพความรู้แน่นกระทู้เลยค่ะ

สงสัยต้องสรุปว่าจะถือหลักไหนก็แล้วแต่
กรณีจุฬานี้คงต้องchula กันต่อไป
เพราะแม้แต่จะใช้หลักสัทศาสตร์ตามที่ว่า
ยังต้องเว้นให้เลย...
(ไม่งั้นต้องเปลี่ยนเพลงเชียร์...5555555)


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: caeruleus ที่ 15 พ.ค. 02, 21:13
 Khun Oykwan's teacher would be called Vi-fa if she goes abroad na ka (ph=f) :)


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: จ้อ ที่ 18 พ.ค. 02, 04:25
เรื่องให้สะกดคำภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษนี่ผมมีเรื่องฮาครับ
ไม่ใช่อะไรก็นามสกุลผมเองครับ เนื่องจากคำลงท้ายนามสกุลผมคือ ภูติ (อ่านว่า ภู-ติ)
ทุกคนในตะกูลผมเขาสะกด ภูติ เป็นภาษาอังกฤษว่า bhuti แต่บังเอิญผมเกิดแหกคอกครับ
ไม่ได้สะกดว่า bhuti แต่สะกด puti มาตั้งแต่เด็กเพราะคิดว่าน่าจะออกเสียงเหมือนที่สุด
ซึ่งก็ได้ผลเพราะฝรั่งออกเสียงว่า ภู-ติ เหมือนอย่างที่ผมตั้งใจ
แต่มันมาขัดใจเอาก็เมื่อหลายปีมาแล้วเพราะดันมีเพื่อนชาวเนปาลบอกว่า
อีนี่นายรู้หรือป่าวในภาษาเนปาลของฉานนี่นะ คำว่า "puti" ในนามสกุลของนายน่ะ
แปลว่า เออ... แปลว่า "ของพึงสงวนของท่านสุภาพสตรี" นะจ๊ะหนู ....  

ว๊ากกกกกกกกกกก  ว๊ากกกกกกกกกกก  ว๊ากกกกกกกกกก

ผมคงไม่กล้าไปเที่ยวอินเดียหรือเนปาลล่ะครับงานนี้ เหอๆๆๆๆๆๆ  


กระทู้: ทำไมจุฬาฯ สะกดเป็นchula ทำไมไม่ jula เพราะอะไร
เริ่มกระทู้โดย: ทองรัก ที่ 18 พ.ค. 02, 07:37
 แอบเข้ามาขำคุณจ้อค่ะ หายไปซุ่มเขียนวิทยานิพนธ์ซะนาน
กลับมาอีกทีก็มาปล่อยมุขเด็ดเลยนะคะ