เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 11, 14:45



กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 11, 14:45
ไปเจอภาพอาคารเก่าหลังหนึ่งมีแผ่นป้ายว่า "หอพระสมุดในพระองค์" พระองค์ใด ? ใคร่อยากทราบประวัติครับ

ภาพจาก "เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน" โดยเครก เจ. เรย์โนลด์ส ในส่วนของ "คดีไต่สวน ก.ศ.ร. กุหลาบ"


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 11, 14:49
เห็นกองตำราเอกสารหุ้มปกอย่างดี น่าเข้าไปหยิบไปต้อง ไปอ่านทุกตัวอักษร


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 ก.ย. 11, 10:46
คำว่า  "หอพระสมุดในพระองค์"  คงจะหมายถึง  พระบรมวงศานุวงศ์อื่นไปไม่ได้
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพราะคำว่า  พระสมุด  บ่งบอกว่า
เป็นเอกสารหนังสือหลวง   เจ้านายพระองค์อื่นไม่น่าจะมีหอพระสมุดเป็นส่วนพระองค์ได้
มีได้อย่างมากก็น่าจะเป็นห้องสมุดส่วนพระองค์มากกว่า 
คำว่า หอพระสมุด  แสดงว่า  น่าจะเป็นอาคารที่ตั้งแยกออกมาเป็นเอกเทศ
แต่ว่าหอพระสมุดในพระองค์นี้  ตั้งอยู่ที่ไหน (ตามภาพที่ปรากฏ) นี่น่าขบคิด :-\


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ย. 11, 11:01
ดูเหมือนวังเจ้านอกกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีศิลปะฉลุไม้ หลังคากระเบื้องว่าว มีบันไดทางขึ้นหน้าบ้าน หน้าต่างไม้บานเกล็ด สวยนะครับ


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 11, 11:35
หอหลวง เป็นที่เก็บรักษาหนังสือซึ่งเป็นแบบฉบับตำรับตำราและจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง (ที่เรียกว่า "หอหลวง" เห็นจะเป็นคำย่อมาแต่ "หอหนังสือหลวง") มีในพระราชวังมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มีหอหลวงอยู่ในพระราชวังเช่นเดียวกัน ฉันเคยเห็นเป็นตึกชั้นเดียวหลังหนึ่ง อยู่ริมถนนตรงหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ยังมีรูปภาพตึกนั้นเขียนไว้ในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ (ห้องที่เขียนการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ) อาลักษณ์เป็นพนักงานรักษาหนังสือหอหลวงจึงทำการของกรมอาลักษณ์ที่ตึกนั้นด้วย เป็นเหตุให้คนทั้งหลายเรียกตึกนั้นว่า "ห้องอาลักษณ์" ด้วยอีกอย่างหนึ่ง

ในรัชกาลที่ ๕ (ดูเหมือนในปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙) เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โปรดฯให้รื้อตึกหอหลวงกับตึกสำหรับข้าราชการกรมอื่น ๆ ที่รายเรียงอยู่แถวเดียวกันลง เพื่อจะสร้างใหม่ให้งามสมกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ก็ในเวลารื้อตึกสร้างใหม่นั้น จำต้องย้ายของต่าง ๆ อันเคยอยู่ในตึกแถวนั้นไปไว้ที่อื่น สมัยนั้นกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นอักษรสารโสภณ ทรงบัญชาการกรมอาลักษณ์ หาที่เก็บหนังสือหอหลวงไม่ได้ จึงให้ขนเอาไปรักษาไว้ที่วังของท่าน อันอยู่ต่อเขตวัดพระเชตุพนฯไปข้างใต้ หนังสือหอหลวงก็ไปอยู่ที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ แต่นั้นมาหลายปี  

จาก นิทานโบราณคดี นิทานที่ ๙ เรื่องหนังสือหอหลวง พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=15-03-2007&group=2&gblog=2)

ในภาพจะเป็นหอพระสมุดที่ตั้งอยู่ ณ วังของกรมหลวงบดินทร์ไพศาล (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B2_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%93)ได้หรือไม่

 ???


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ย. 11, 13:40
หอหลวง เป็นที่เก็บรักษาหนังสือซึ่งเป็นแบบฉบับตำรับตำราและจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง (ที่เรียกว่า "หอหลวง" เห็นจะเป็นคำย่อมาแต่ "หอหนังสือหลวง") มีในพระราชวังมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มีหอหลวงอยู่ในพระราชวังเช่นเดียวกัน ฉันเคยเห็นเป็นตึกชั้นเดียวหลังหนึ่ง อยู่ริมถนนตรงหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ยังมีรูปภาพตึกนั้นเขียนไว้ในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ (ห้องที่เขียนการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ) อาลักษณ์เป็นพนักงานรักษาหนังสือหอหลวงจึงทำการของกรมอาลักษณ์ที่ตึกนั้นด้วย เป็นเหตุให้คนทั้งหลายเรียกตึกนั้นว่า "ห้องอาลักษณ์" ด้วยอีกอย่างหนึ่ง


ภาพจิตรกรรมฝาผนังห้องที่เขียนการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ เห็นอาคารชั้นเดียวที่เป็น "หอหลวง" และ "ห้องอาลักษณ" ถูกรื้อถอนเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ก.ย. 11, 14:01


คุณเพ็ญช่างคิดเหลือเกิน   


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ย. 11, 14:33
จิตกรรมฝาผนังพระที่นั่งทรงผนวช บานหนึ่งเขียนฉาพลานต้นตะโก และหมู่พระที่นั่งมณเฑียรสถาน และหออาลักษณ์ริมกำแพง


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ก.ย. 11, 08:45
ผมติดใจข้อความที่คุณเพ็ญชมพูว่า


ในภาพจะเป็นหอพระสมุดที่ตั้งอยู่ ณ วังของกรมหลวงบดินทร์ไพศาลได้หรือไม่

 ???

๑.ผมยังไม่เคยเห็นภาพถ่ายวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณมาก่อน
จึงไม่กล้าฟันธงว่า  อาคารที่อยู่ในภาพที่คุณหนุ่มสยามเอาแสดงนั้น
คือวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารในภาพ  ก็ยังสงสัยว่า  วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ จะสร้างเป็นศิลปะตะวันตกอย่างนี้หรือ  ถ้าใครหาหลักฐานได้ว่า
วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ เป็นตึกอย่างตะวันตก  ก็คงจะเชื่อได้ว่า
นี่เป็นน่าจะเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณจริงๆ

๒.ถ้าเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
การขนย้ายหนังสือเอกสารจากหอพระสมุดในพระองค์จากพระบรมมหาราชวัง
ไปไว้ที่วังของพระองค์ชั่วคราว   พระองค์จะทรงทำป้ายติดไว้ว่า
"หอพระสมุดในพระองค์" ติดไว้ที่หน้าตึกที่ประทับของพระองค์หรือ 
ดูจะเป็นการชี้โพรงให้กระรอกมากไปหน่อยกระมัง  การทำป้ายติดบอกว่า
"หอพระสมุดในพระองค์"  น่าจะติดกับอาคารที่เป็นที่ตั้งของหอพระสมุดที่ถาวร
ไม่ใช่หอพระสมุดชั่วคราว  สภาพของป้ายนั้นก็น่าพิจารณาว่าใหม่หรือเก่า

๓.ถ้าเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
การขนย้ายหนังสือเอกสารจากหอพระสมุดในพระองค์ที่เห็นในภาพ
ควรจะเป็นการขนย้ายหนังสือเข้าหรือขนย้ายหนังสือออกจากวัง
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

 ??? :-\


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 11, 09:15
คุณปิยรัตน์  อินทร์อ่อนเขียนเรื่อง หอหลวง (http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3603) ไว้ในคลังความรู้ของรอยอิน ดังนี้

หอหลวง

กฎหมายตราสามดวง : พระทำนูน ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้จัดทำคำอธิบายโบราณศัพท์ต่าง ๆ ที่ปรากฏใน "พระทำนูน" อันเป็นพระอัยการแรกของกฎหมายตราสามดวง ศัพท์คำหนึ่งที่น่าสนใจ คือ คำว่า หอหลวง

หอหลวง หมายถึง หอหนังสือหลวง เป็นที่เก็บรักษาเอกสารราชการในสมัยโบราณ ได้แก่ ต้นฉบับตัวเขียนที่เป็นตำรา กฎหมาย จดหมายเหตุ พงศาวดาร และวรรณคดีต่าง ๆ โดยมีอาลักษณ์ซึ่งปฏิบัติงานด้านเอกสาร ภาษา และหนังสือ เป็นเจ้าพนักงานดูแลรักษา หอหลวงตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง  เอกสารที่เก็บอยู่ที่หอหลวงจึงเรียกว่า หนังสือหอหลวง

ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุที่ตั้งของหอหลวงในสมัยอยุธยาว่า อยู่ในสระ มุมกำแพงสวนกระต่าย และมีหออาลักษณ์ตั้งอยู่ใกล้กัน ที่ริมกำแพงสวนกระต่าย  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ หอหลวงและหออาลักษณ์ตั้งอยู่ที่เดียวกันในพระบรมมหาราชวัง คือที่ทำการของกรมอาลักษณ์อยู่ในตึกเดียวกับหอหลวง จึงเรียกชื่อเป็น ๒ อย่างว่า หอหลวง หรือ ห้องอาลักษณ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า หอหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นตึกชั้นเดียว ตั้งอยู่ริมถนนหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ดังมีภาพตึกเขียนไว้ในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ในห้องส่วนที่เขียนภาพการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ

ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จึงโปรดให้รื้อตึกหอหลวงและตึกอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน เพื่อสร้างตึกใหม่ให้งดงามรับกับพระที่นั่ง แต่การสร้างตึกหอหลวงหลังใหม่ยังคงค้างอยู่ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการสร้างหอหลวงขึ้นใหม่ในพระบรมมหาราชวังอีกเลย.


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 09:22

อย่างน้อยภายในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณมีท้องพระโรงไม้สักอันงามสง่าตั้งอยู่

"เรื่องท้องพระโรงวัดราชาธิวาส เสด็จป้าพระองค์เจ้าวงเดือนรับสั่งเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชดำริห์จะทรงทำตำหนักตึกในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักฝากระดานไปปลูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอที่ออกวัง "เจ้าน้องงอนรถ" อยากทำท้องพระโรงเอง จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ จึงพระราชทานเงินค่าทำท้องพระโรง และท้องพระโรงหลังนี้ "เจ้าน้องงอนรถลงแรงมาก เขียนเองสลักเอง" โดยรับสั่งเล่าอย่างนี้ ภายหลังพระราชทานวังเสด็จพ่อแก่พระองค์เจ้าเปียก ครั้นสิ้น พระชนม์แล้ว พระราชทานกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ต่อมา ก็ไม่มีผู้รักษาเกือบจะเปนอันตรธานไป เดชะบุญในรัตนโกสินทรศก ๑๒๗ ( พ.ศ.๒๔๕๑ ) นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดราชา ธิวาส ทรงระลึกได้โดยได้เคยเสด็จพระราชดำเนินประทับในท้องพระโรงนี้หลายคราว ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าเปนท้องพระโรงที่ทำงดงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อไปปลูกไว้เปนหอสวดมนต์ที่วัดราชาธิวาส ได้ดำรงอยู่ในพระสาสนาต่อไป พ่อดีใจเปนล้นเหลือ๑ ๑ ที่หม่อมเจ้าแดงเอาเรื่องท้องพระโรงมาเล่าไว้ในเรื่องประวัติด้วยนั้น เพราะความพึ่งปรากฎว่าท้องพระโรงหลังนั้นเปนของพระองค์เจ้างอนรถทรงสร้าง และสลักด้วยฝีพระหัตถ์ เมื่อย้ายไปปลูกที่วัดราชาธิวาส หม่อมเจ้าแดงเขียนเรื่องประวัติ จึงเล่าเรื่องท้องพระโรงไว้ด้วย"

ที่มา ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๖ (http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%92%E0%B9%96)


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 11, 09:28
ถ้าไม่มีหอหลวงแห่งใหม่ แล้วหนังสือทั้งหลายจะไปอยู่ที่ไหน

แต่เดิมนั้นในบริเวณพระบรมมหาราชวังเคยมีหอหลวงเป็นที่เก็บรักษาหนังสือซึ่งเป็นแบบฉบับ ตำรับ ตำรา และจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โปรดให้รื้อหอหลวงซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณนั้น หนังสือหลวงจึงตกไปอยู่ที่วังเจ้านาย ที่มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลควบคุมงานฝ่ายจดหมายเหตุ และบันทึกทั้งปวง ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทรงสร้างอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหนังสือของหลวง บรรดามีตามที่ต่าง ๆ จัดสร้างหอสมุดนี้ขึ้น และพระราชทานตามพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงเป็นพระภิกษุว่า "หอพระสมุดวชิรญาณ สำหรับพระนคร" ซึ่งภายหลังขยายกิจการเปลี่ยนสถานที่ และนามเป็น "หอสมุดแห่งชาติ" อันเป็นส่วนราชการหนึ่งในกรมศิลปากร  

จาก  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๒ (http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=2&chap=9&page=t2-9-infodetail11.html)

 ;D


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 09:46
เราต้องมาดูว่า หนังสือย้ายไป ย้ายมา ระหว่างแห่งใดกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการบีบคำตอบให้งวดเข้า

อ้างถึง "หอสมุดวชิรญาณ" พิมพ์เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙

๑. หนังสือในพระองค์ถูกเก็บไว้ที่ "หอหลวง" พระบรมมหาราชวังและย้ายออกไปเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙ จากภาพจิตรกรรมเห็นว่า "หอหลวง" เป็นอาคารชั้นเดียว

๒. พ.ศ. ๒๔๒๖ หอสมุดอาศัยห้องชั้นต่ำมุขกระสันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางตะวันตก แล้วมาตั้งที่ตึกทิมดาบตรงหน้าพระที่นั่งจักรีเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐

๓. ย้ายออกไปที่ศาลาสหทัยสมาคม

๔. เปิดตึกหอสมุดวชิรญาณ ริมถนนหน้าวัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 10:16
ชายในชุดเครื่องแบบ น่าลองถามคุณ V_mee ถึงการแต่งกาย


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 10:25
เข้าไปหาชุดเครื่องแบบทหาร ซึ่งมีกระเป๋าหน้าพับได้ ตรงกลางแหลมเป็นปีกกา ระบุว่า พลทหาร ๒๔๕๑ - ๒๔๕๕



กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ก.ย. 11, 11:02

๑. หนังสือในพระองค์ถูกเก็บไว้ที่ "หอหลวง" พระบรมมหาราชวัง
และย้ายออกไปเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙
จากภาพจิตรกรรมเห็นว่า "หอหลวง" เป็นอาคารชั้นเดียว



ภาพจิตรกรรมพระที่นั่งทรงผนวช  วาดขึ้นเมื่อใด  ใครวาด
มีหลักฐานอะไรที่ยืนยันได้ว่า  คนวาดได้ทันเห็นอาคารดังกล่าวที่วาด
และวาดออกมาตามของเดิมเป๊ะ   ไม่ใช่การวาดโดยอนุมานคร่าวๆ
 :-\


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ก.ย. 11, 11:28


นั่งไกลจากเวทีมากที่สุด     หวาดลูกหลง


       สังเกตว่าหนังสือมัดติดกันเป็นตั้ง ๆ     คงมีคำสั่งว่าตั้งละสาม - สี่เล่ม 

เพราะไม่ว่าเล่มเล็กเล่มใหญ่  มัดเรียบร้อย จำนวนเล่มใกล้เคียงกัน

ที่จริงหนังสือปกแข็งเล่มใหญ่นั้น มีน้ำหนักมากเพราะหุ้มหนังนอก

พระราชนิยมในเรื่องการแสวงหาความรู้ติดต่อมาหลายรัชกาล  ทำให้วงการพิมพ์เจริญมาได้





กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ก.ย. 11, 13:17


       นึก ๆ ก็ขำมหาดเล็กในวังกรมหมื่นบดินทรไพศาลที่ยักยอกลักซ่อนหนังสือไว้หลายเล่ม

เพราะคงเห็นว่ามีเหลือเฟือ   ปราศจากการตรวจสอบและสนใจหลายปี  แล้วนำไปขาย ก.ศ.ร. กุหลาบ

เสียหลายเล่ม           จะว่าไปแล้วก็ไม่มีที่ใดบันทึกว่า ก.ศ.ร. กุหลาบขายหนังสือไทยโบราณออกนอกประเทศ

มีก็แต่ส่งนายชายไปคัดลอกตำราของพราหมณ์ขายเยรินี   การคัดลอกนั้นคงคัดลอกมากกว่าหนึ่งเล่ม  และ

นายชายเมื่อคัดเล่มที่สองนั้น  คงทำตกและขาดหรือข้ามไปเป็นแน่           นายชายต่อมาเป็นทนายความ

ท่านคงอ่านและจดบันทึกได้อย่างแคล่วคล่องว่องไวเพราะหัดมาตลอด

   
       มาถึงตอนนี้ก็อยากเห็นห้องสมุดของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เป็นที่สุด   


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 13:50

๑. หนังสือในพระองค์ถูกเก็บไว้ที่ "หอหลวง" พระบรมมหาราชวัง
และย้ายออกไปเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙
จากภาพจิตรกรรมเห็นว่า "หอหลวง" เป็นอาคารชั้นเดียว



ภาพจิตรกรรมพระที่นั่งทรงผนวช  วาดขึ้นเมื่อใด  ใครวาด
มีหลักฐานอะไรที่ยืนยันได้ว่า  คนวาดได้ทันเห็นอาคารดังกล่าวที่วาด
และวาดออกมาตามของเดิมเป๊ะ   ไม่ใช่การวาดโดยอนุมานคร่าวๆ
 :-\


พระที่นั่งทรงผนวช เดิมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และทรงให้ย้ายพระที่นั่งดังกล่าวมาปลูกสร้างไว้ที่วัดเบญจมพิตร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๐ และโปรดเกล้าฯให้วาดภาพจิตรกรรมเรื่องราวตั้งแต่ต้นรัชกาลจนถึงการย้ายพระที่นั่งมาที่วัดเบญจมพิตร


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 14:30
อยากจะให้คุณหลวงเล็กช่วยวิเคราะห์สิ่งก่อสร้าง ๒ แห่งดังนี้ว่า ควรจะเป็นในทิศทางใด

๑. แผนที่วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

๒. ภาพอาคารคลังเก็บของมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง


++++++++++++++++++++++++++++++

เริ่มจากอันดับ ๑. แผนที่วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

ตัววังตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า "ซากั๊กวัง" เป็นสำเนียงเจ๊กลากรถสมัยนั้น เพราะเป็นวังของพระองค์เจ้า ๓ พระองค์ตั้งติดกัน ส่วนไทยเรียกว่าย่านวังท้ายวัดพระเชตุพนฯ ปัจจุบันนี้พื้นที่ดังกล่าวทั้ง ๓ วังถูกยุบเป็น "มิวเซียมสยาม" ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกระทรวงพาณิชย์ (ที่ก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖)

จากลักษณะแผนที่ประกอบจะเห็นกลุ่มอาคารตั้งอยู่ ซึ่งมีอยู่หลังหนึ่ง (ทำสีแดงไว้ตามภาพที่แนบประกอบ) เป็นอาคารมีมุขยื่นด้านหน้า ปีกซ้ายขวา


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 14:37
๒. ภาพอาคารคลังเก็บของมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง

จากภาพที่แนบประกอบเป็นอาคารตั้งติดกับรั้วกำแพงพระบรมมหาราชวังฝ่ายหน้า ตั้งอยู่หลังหอคองคอเดียซึ่งใช้เป็นหอพระสมุด อาคารนี้ปัจจุบันก่ออิฐถือปูนเป็นศาลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์และที่จำหน่ายตั๋วเข้าชมพระบรมมหาราชวังและศูนย์ศิลปาชีพ

จากภาพในวงกลมจะเห็นว่าอาคารนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่า "คลังเก็บของมหาดเล็ก" มีลักษระอาคารทรงจั่วที่คล้ายกัน บานหน้าต่างบานไม้เกล็ดมีราวกันตกชั้น ๒ คล้ายกัน แต่แตกต่างกันที่บริเวณชั้นล่างจะไม่มีเฉลียงทางเดินรอบอาคาร

จึงส่งให้คุณหลวงช่วยรับพิจารณาด้วยครับ


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ก.ย. 11, 16:13
^  น่าพิจารณามาก  ภาพที่ออกขุนส่งมานั้น  ก็เข้าเค้าอยู่
ไม่ทราบว่า  พอจะมีภาพในมุมอื่นที่ชัดเจนกว่านี้หรือไม่
อยากจะดูสถาปัตยกรรมให้ชัดเจนกว่านี้ 

อาคารคลังเก็บของมหาดเล็ก  น่าจะสร้างขึ้นปีใด
และพอมีประวัติสิ่งก่อสร้างในบริเวณหอคองคอเดียหรือไม่
จะได้ตรวจสอบเทียบทานกัน


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 11, 16:22
แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตุได้เด่นชัดนอกเหนือจากระเบียงชั้นล่าง คือ "หลังคา" ภาพหนึ่งการปูหลังเป็นแบบกระเบื้องเกล็ดเต่าทรงสี่เหลี่ยมวางทับซ้อนกัน แต่อาคารคลังของมหาดเล็กนั้นหลังคาลูกฟูก เป็นลอนกาบกล้วย ดังภาพที่ได้แนบมาประกอบ เป็นกระบวนแห่เข้าพระบรมมหาราชวังจากประตูวิเศษไชยศรี และช่างภาพได้ถ่ายภาพนี้ไว้ยังเห็นโครงสร้างหลังคา ซึ่งหากเทียบกันแล้วนั้นแตกต่างกัน


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ก.ย. 11, 21:35

       นั่งอยู่แถวสอง  ไม่กล้านั่งแถวหน้า เกรงท่านผู้ซ้อมดาบจะแผลงฤทธิ์หรือปามีดสั้นกัน

เนื่องจากเห็นเกียงจูแหยแว่บ ๆเมื่อวันวาน  รูปนี้เคยเห็นแล้วค่ะ  แต่ไม่มีความรู้พอจะ ดิสกัต กะใคร   รู้จักแต่หนังสือไม่รู้จักอิฐปูน


       ดูเองด้วยความปลาบปลื้ม    คุณพระเฉียบเรียงเรียบสหายนักอ่านผ่านมาสนทนาด้วย

เห็นต้องกันว่า  หนังสือที่กองอยู่นั้นเป็นหนังสือฝรั่งใหม่ ๆ ทั้งสิ้นมัดติดกันอย่างเรียบร้อย  เพราะหนังสือเก่า
แต่ใหม่ในสมัยนั้นหาขนาดใหญ่โตปานนั้นยาก  มีอยู่ไม่กี่เล่มเอง

ถ้าทำปกในนี้โดยใช้ช่างหรือครูญี่ปุ่นที่สั่งเข้ามาฝึกอาชีพคนคุก(สัญญาทีละ ๒ ปี)  ปกจะมีลวดลายและสันสวยงามกว่านี้  แต่ขนาดเล็กกว่ามาก
แต่หนังนั้น    ช่างเย็บปกคนสำคัญอธิบายว่า  การหมักหนังของเราไม่ดีเท่าไรในครั้งนั้น

คุณพระยังแสดงความชำนาญต่อไปว่า  ถ้าไม่ใช่การย้ายเข้าหรือย้ายออกล่ะ   แต่เป็นหนังสือต่างประเทศที่เพิ่งนำเข้ามาถวาย

สังเกตว่ามีการเปิดหนังสือโชว์ด้วยเป็นบางเล่ม

การมีสหายช่างพูดนั้นก็มีคุณประโยชน์ดั่งนี้แล


      


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ก.ย. 11, 13:47
ขอขอบคุณคุณวันดี แม้นอยู่แถวสองก็ยังมองจ้องเห็นชัดเสมอ...  :D

ยังเสนอความคิดได้ประการหนึ่งว่าป้ายแผ่นไม้ "หอพระสมุดในพระองค์" จำเป็นต้องตั้งอยู่ในรั้วพระบรมมหาราชวังได้หรือไม่ หากนำไปฝากไว้ที่วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ แล้วติดป้ายนี้ไซร้ จักได้หรือไม่

อีกประการทหารเวรยืนยามอยู่ด้วย มั่นคงมากคงต้องยิ้มให้ กศร. สักหลายหน


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ย. 11, 14:33
อีกประการทหารเวรยืนยามอยู่ด้วย มั่นคงมากคงต้องยิ้มให้ กศร. สักหลายหน

ก็การแสดงพิพิธภัณฑ์เปิดให้คนดูอยู่นาน นายกุหลาบมีโอกาสเข้าไปดูหนังสือหอหลวงได้ทุกวันเพราะห้องอยู่ติดกัน ต่อเมื่อได้เห็นหนังสือหอหลวง มีเรื่องโบราณคดีต่างๆ ที่ตัวไม่เคยรู้อยู่เป็นอันมากก็ติดใจอยากได้สำเนาไปไว้เป็นตำราเรียน จึงตั้งหน้าตั้งตาประจบประแจงกรมหลวงบดินทร์ฯ ตั้งแต่ที่ท้องสนามหลวงจนเลิกงานแล้ว ก็ยังตามไปเฝ้าแหนที่วังต่อมา จนกรมหลวงบดินทร์ฯทรงพระเมตตา นายกุหลาบทูลขอคัดสำเนาหนังสือหอหลวงบางเรื่อง แต่กรมหลวงบดินทร์ฯ ไม่ประทานอนุญาต ตรัสว่าหนังสือหอหลวงเป็นของต้องห้ามมิให้ใครคัดลอก นายกุหลาบจนใจจึงคิดทำกลอุบายทูลขออนุญาตเพียงขอยืมไปอ่านแต่ครั้งละเล่มสมุดไทย และสัญญาว่าพออ่านแล้วจะรีบส่งคืนในวันรุ่งขึ้น กรมหลวงบดินทร์ฯ ไม่ทรงระแวงก็ประทานอนุญาต นายกุหลาบจึงไปว่าจ้างนายทหารมหาดเล็กที่รู้หนังสือเตรียมไว้สองสามคน สมัยนั้นฉันเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก รู้จักตัวผู้ที่ไปรับจ้างนายกุหลาบคนหนึ่ง ชื่อนายเมธ

จากนิทานโบราณคดี นิทานที่ ๙ เรื่องหนังสือหอหลวง พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=15-03-2007&group=2&gblog=2)

ก.ศ.ร. กุหลาบ เข้าไปยืมหนังสือนา มิใช่ไปโจรกรรม   

 ;D


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ก.ย. 11, 14:44
^
ยิ้มให้กันหมายถึงรู้จักคุ้นเคยกันดีขอรับ เพราะไปสถานที่แห่งนี้หลายหน มิได้หมายความว่าเป็นอย่างอื่นที่ไม่ดี แต่ว่าอ่านข้อความแล้ว "ที่ติดกัน" คงหมายถึงการจัดแสดงหนังสือที่จัดเป็นบูธไว้แสดงหนังสือ น่าจะมีภาพประกอบจังเลย


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ก.ย. 11, 14:53
ยังมีเรื่องประวัติหนังสือหอหลวง เมื่ออยู่ที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯต่อไปอีก ด้วยการที่จะสร้างหอหลวงใหม่เริดร้างมาอยู่ช้านาน จนถึงสมัยเมื่อจัดกระทรวงต่างๆ ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ โปรดฯให้รวมกรมอาลักษณ์เข้าในกระทรวงมุรธาธร กรมพระสมมตอมรพันธ์เมื่อยังเป็นกรมหมื่น ได้ทรงบัญชาการกรมอาลักษณ์ จึงให้ไปรับหนังสือหอหลวงจากกรมบดินทร์ฯ เพื่อจะเอามาเก็บเข้ารักษาไว้ในพระบรมมหาราชวังอย่างเดิม...........เพราะในเวลานั้นไม่มีบัญชีหนังสือหอหลวงอยู่ที่อื่น นอกจากที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ

จากนิทานโบราณคดี นิทานที่ ๙ เรื่องหนังสือหอหลวง พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=15-03-2007&group=2&gblog=2)

หนังสือกองโตก็ไปพำนักที่วังนานพอสมควรนะครับ


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ย. 11, 15:07
ยังมีต่อ

เวลาเมื่อจะส่งหนังสือหอหลวงคืนมานั้น มีคนในสำนักกรมหลวงบดินทร์ฯ จะเป็นผู้ใดไม่ปรากฎชื่อ แต่ต้องเป็นมูลนายมีพรรคพวก ลอบแบ่งเอาหนังสือหอหลวงยักยอกไว้ไม่ส่งคืนมาทั้งหมด มาปรากฏเมื่อภายหลังว่ายักยอกเอาหนังสือซึ่งฝีมือเขียนดีและเป็นเรื่องสำคัญ ๆไว้มาก เพราะในเวลานั้นไม่มีบัญชีหนังสือหอหลวงอยู่ที่อื่น นอกจากที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ อันผู้ยักยอกอาจเก็บซ่อนหรือทำลายเสียได้โดยง่าย แต่การที่ยักยอกหนังสือหอหลวงนั้กรมหลวงบดินทร์ฯ คงไม่ทราบ พวกอาลักษณ์ที่ไปรับหนังสือก็คงไม่รู้ ได้หนังสือเท่าใดก็ขนมาแต่เท่านั้น หนังสือหลวงจึงแตกเป็น ๒ ภาค กลับคืนเข้ามาในพระบรมมหาราชวังภาคหนึ่ง พวกที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ ยักยอกเอาไปซ่อนไว้ที่อื่นภาคหนึ่ง ต่อมาเมื่อกรมหลวงบดินทร์สิ้นพระชนม์แล้ว ชะรอยคนที่ได้หนังสือหอหลวงไว้จะยากจนลง จึงเริ่มเอาหนังสือที่มีรูปภาพและฝีมือเขียนงามๆออกขาย โดยอุบายแต่งให้คนชั้นบ่าวไพรไปเที่ยวบอกขายทีละเล่มสองเล่ม มีฝรั่งซื้อส่งเข้าหอสมุดในยุโรปบ้าง ไทยที่ชอบสะสมของเก่ารับซื้อไว้บ้าง

และก็หายไปเสียมากครานั้น

 :(


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ก.ย. 11, 17:30

       ในงานเอ๊กฮิบิชั่นที่สนามหลวงคราวนั้น   ก.ศ.ร. กุหลาบบันทึกไว้ละเอียดละออว่าเอาหนังสือตัวเขียนไปกี่เล่ม

หนังสือพิมพ์ไปกี่เล่ม   น่าดูชมเลย  ถ้าไม่มีบันทึกฉบับนี้เราผู้มาภายหลังก็จะไม่ทราบอะไรเลย

(คุณอ้วน ธงชัย  แห่ง สำนักพิมพ์ต้นฉบับ  พิมพ์ซ้ำด้วยรสนิยมอันดี  เล่มสีเขียว)


       ครูสมิทเขียนในสยามสมัยถึงหนังสือของก.ศ.ร. หลายครั้งว่าอยู่ห้อง ๑๗    อ่านจากการอธิบายการจัดงาน

ซึ่งวกวนซับซ้อนละเอียดละออแต่ไม่เป็นที่เข้าใจ  เข้าใจผิดว่า ห้องของกรมหมื่นบดินทรไพศาลอยู้ห้อง ๒๕

เพราะหลายตำราบอกว่าอยู่เฉียงกัน   ครูสมิทได้ยืมหนังสือหายากของ ก.ศ.ร. มาพิมพ์ใน สยามสมัยหลายเรื่อง


       ก.ศ.ร. กุหลาบเป็นผู้ที่คบหากับบุคคลมีชื่อเสียงทั้งปวง   ท่านพอมีสตางค์มากอยู่  เรียกว่า "อู๋"  ทีเดียวล่ะ

เงินเดือนในฐานะเสมียนฝ่ายไทยของโรงสีต่างๆและต่อมาเป็นกัมปะโดร์ด้วย  สูงมาก     เรื่องท่านจะไม่เคยเฝ้า

กรมหมื่นบดินทรไพศาลมาก่อนงานหนังสือนั้น  เป็นที่สงสัยอยู่

 
        หนังสือ  Bangkok Centennial  ซึ่ง อาลาบาสเตอร์ รับคำสั่งจาก เจ้านายให้ช่วยแปลหมายกำหนดงานและรายละเอียด

บางประการให้กับ  Siam Weekly Advertiser (มีคนพิมพ์เรื่องนี้มาแล้ว  แต่อ่านไม่ละเอียดว่า  อาลาบาสเตอร์มาช่วยแปล

เข้าใจว่าเอกสารของทางการ เท่านั้น)  ของหมอบรัดเล  แจงรายละเอียดของห้องไว้ตามสมควร  


       ห้องหมายเลข  ๑๗   อยู่ภายใต้การดูแลของกรมหมื่นบดินทรไพศาล

มีหนังสือเก่า หนังสือพิมพ์ กระดาษโบราณของสยาม  หมึก  ดินสอ  ฯลฯ


       ก.ศ.ร. กุหลาบ    เล่าไว้ว่าเป็นบ่าวของเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต  และได้รับใช้จัดห้องแสดงเงินตราต่าง ๆ   ท่านเจ้าคุณทิปแรงมาก

ฺBangkok Centennial  ชมในหน้า ๔๓ เกือบเต็มคอลัมน์ทั้งแถบขวามือว่า ห้อง ๒๐   จัดได้แบบมีความรู้ทางประวัติศาสตร์  

มีตัวอย่างเยอะ  รูปทรงแปลก ๆ  ใครชมแล้วก็เพลิดเพลินเจริญใจเข้าใจความเป็นมาของสยาม


(เรื่องนี้  ดิฉันเขียนขึ้นเอง  มิได้คัดลอกท่านผู้ใดมา   ท่านที่จะนำไปได้ใช้โปรดอ้างอิงด้วย)



กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ย. 11, 22:14

              ห้องหมายเลข  ๑๗   อยู่ภายใต้การดูแลของกรมหมื่นบดินทรไพศาล

มีหนังสือเก่า หนังสือพิมพ์ กระดาษโบราณของสยาม  หมึก  ดินสอ  ฯลฯ

จาก Bangkok Centennial, Bangkok, Siam, 1882. (1882) (http://www.archive.org/stream/bangkokcentennia00cent#page/n3/mode/2up)


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ย. 11, 22:41

             ก.ศ.ร. กุหลาบ    เล่าไว้ว่าเป็นบ่าวของเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต  และได้รับใช้จัดห้องแสดงเงินตราต่าง ๆ   ท่านเจ้าคุณทิปแรงมาก

ฺBangkok Centennial  ชมในหน้า ๔๓ เกือบเต็มคอลัมน์ทั้งแถบขวามือว่า ห้อง ๒๐   จัดได้แบบมีความรู้ทางประวัติศาสตร์  

มีตัวอย่างเยอะ  รูปทรงแปลก ๆ  ใครชมแล้วก็เพลิดเพลินเจริญใจเข้าใจความเป็นมาของสยาม

 ;D


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 11, 20:24
การเฉลิมฉลองการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดกิจกรรมขึ้นหลายอย่าง หนึ่งในกิจกรรมที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดขึ้นก็คือ “งานพิพิธภัณฑ์” ซึ่งเป็นการนำเอาสินค้าพื้นเมืองของประเทศในขณะนั้นมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการซึ่งเรียกว่างาน “เอกษฮีบิชัน” ให้ประชาชนได้เข้าชม ณ ท้องสนามหลวง โดยเรียกนิทรรศการครั้งนั้นว่า “นิทรรศการแนชันนาลเอกษฮีบิชัน” (National Exhibition)

ทรงมีพระราชดำริว่า

“...บ้านเมืองเจริญด้วยการค้าขาย ราษฎรทำเรือกสวนไร่นาต่างๆ ได้รับผลประโยชน์มาก ควรจะนำพืชพันทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในประเทศ และราษฎรมีไว้ซื้อขายกัน เครื่องมือที่ใช้ทำมาหากินทุกอย่าง รวมถึงสิ่งของที่ทำขึ้นด้วยฝีมือตนเอง ทั้งที่ใช้ภายในประเทศและที่ส่งขายไปยังต่างประเทศ มารวบรวมไว้ในที่แห่งหนึ่งเพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราษฎรชาวสยาม และชาวต่างประเทศได้มาชม เพื่อเป็นการแสดงให้ทราบว่า สิ่งใดผลิตขึ้นที่ไหน ผู้ที่จะซื้อขายสินค้าจะได้ทราบแหล่งผลิตดังกล่าว...”

การจัดกิจกรรมในรูปแบบนิทรรศการครั้งนั้น ได้จัดสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น ณ บริเวณท้องสนามหลวง ซึ่งได้เตรียมการล่วงหน้ากันนานนับปี โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ และกรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช (ต้นราชสกุลภาณุพันธ์) เป็นแม่งาน พร้อมทั้งประกาศเชิญชวนให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ประชาชน และเจ้าของห้างร้นนำสิ่งของมาร่วมกันจัดแสดงงาน ภายในงานมีสิ่งของที่นำมาแสดง เช่น ผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม งานช่างฝีมือ โบราณวัตถุ ของหายาก สิ่งประดิษฐ์ทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเทียบได้กับแนวทางการบริหารราชการในปัจจุบันที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มช่องทางการค้าขายมากยิ่งขึ้น

งานการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนั้นได้มีบันทึกถึงบรรยากาศการจัดงานไว้ว่า

“ในงานมีการสร้างปะรำด้วยไม้ไผ่หลายหลัง มีรั้วไม้ไผ่กั้นโดยรอบและแบ่งเป็นห้อง ๆ ของที่นำมาจัดแสดงมีประมาณ ๔๐ ชนิด มีของน่าชมอยู่หลายห้อง เช่น เครื่องเพชรพลอย เครื่องเงิน การแสดงหุ่นในเครื่องแต่งกายแบบต่างๆ ภาพเขียน เครื่องมุก เครื่องจักสาน งาช้าง เครื่องมือประมง แร่ธาตุต่าง ๆ อาวุธ เหรียญและเงินโบราณ ตลอดจนพืชพันธุ์ของป่า ส่วนที่สำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่ ส่วนของการส่งเสริมการศึกษา ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีกิจกรรมทางการศึกษา คือ ให้มีเทศนาพระราชประวัติพงศาวดารกรุงเทพฯ และพระบวรประวัติ รวมทั้งจัดแสดงหนังสือไทยฉบับตัวเขียนจากหอสมุดหลวง โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ผู้บัญชาการกรมอารักษ์ทรงรับผิดชอบในการจัด”

งานนิทรรศการครั้งนั้น เริ่มจัดตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน ถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นเวลา ๕๒ วัน โดยในวันเปิดงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดงานและเสด็จทอดพระเนตรสิ่งของต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงด้วย

จากการจัดนิทรรศการในครั้งนั้น พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึก เรียกว่า “เหรียญที่ระลึกสำหรับพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮีบิชั่น” โดยมีจุดประสงค์เพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่มาช่วยเหลืองาน ซึ่งปรากฏหลักฐานถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานท่านหนึ่ง ได้แก่ นายกุหลาบ ตฤษณนนท์ นักเขียนนามปากาว่า ก.ส.ร. ผู้เป็นบรรณาธิการหนังสือสยามประเภทในขณะนั้น นายกุหลาบได้นำหนังสือจำนวน ๑๕๐ เล่ม มาร่วมจัดแสดง แต่ยอมให้ประชาชนดูเพียง ๑๔๙ เล่ม ส่วนอีกหนึ่งเล่ม คือ อภินิหารบรรพบุรุษ ไม่ยอมให้ใครดู เพราะตั้งใจจะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว และในงานนี้นายกุหลาบก็ได้รับพระราชทานเหรียญที่ระลึกในงานนิทรรศการแห่งชาติในฐานะผู้ช่วยงานอีกด้วย
 
ข้อมูลจาก เว็บพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/bangkokmuseum/bkk100years_collection.html)


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 11, 20:57
นายกุหลาบได้นำหนังสือจำนวน ๑๕๐ เล่ม มาร่วมจัดแสดง แต่ยอมให้ประชาชนดูเพียง ๑๔๙ เล่ม ส่วนอีกหนึ่งเล่ม คือ อภินิหารบรรพบุรุษ ไม่ยอมให้ใครดู เพราะตั้งใจจะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว



กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 11, 21:41
คุณมนันยาเขียนไว้ว่า ก.ศ.ร. กุหลาบไปตั้งแสดงหนังสือไทยสมัยเมื่อแรกพิมพ์ห้องหนึ่ง เป็นหมายประกาศที่พิมพ์เป็นใบปลิวและหนังสือเรื่องต่าง ๆ ที่พิมพ์เป็นเล่มสมุดในรัชกาลที่ ๔ รวมทั้งสิ้น ๑๕๐ เรื่อง เป็นหนังสือ ๑,๐๐๐ เล่มเศษ

หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบแสดงที่ห้องหมายเลขใดหนอ

"นาย ก.ส.ร. กุหลาบ รับอาสาแสดงหนังสือไทยสมัยเมื่อแรกพิมพ์ห้องหนึ่ง อยู่ต่อกับห้องกรมหลวงบดินทร์ฯ ด้วยเป็นของประเภทเดียวกัน ฉันเคยไปดูทั้ง ๒ ห้อง และเริ่มรู้จักตัวนายกุหลาบเมื่อครั้งนั้น"

จากนิทานโบราณคดี นิทานที่ ๙ เรื่องหนังสือหอหลวง พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=15-03-2007&group=2&gblog=2)


เป็นไปได้ไหมว่าแสดงที่ห้องหมายเลข ๑๘ ซึ่งแสดงหนังสือตัวเขียนของพระยาศรีสุนทรโวหาร ห้องอยู่ติดกับห้องของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณพอดี  ???


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ก.ย. 11, 11:50
โรงเอกซฮิบิเช่อน ณ ท้องสนามหลวง


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 19, 08:09
ห้องหมายเลข ๑๗ หรือ หมายเลข ๑๘ ?

ความเห็นจาก หนังสือแกะปมจินตภาพ นาย ก.ศ.ร. กุหลาบแห่งสยาม โดย บุญพิสิฐ ศรีหงส์ (https://books.google.co.th/books?id=o9ODDwAAQBAJ&pg=PA46&lpg=PA46&dq=หลักฐานที่แสดงว่า+ก.ศ.ร.+กุหลาบ+เป็นพนักงานในห้องจัดแสดงหนังสือของกรมหลวง&source=bl&ots=iFR9RDtKKg&sig=ACfU3U0JOWlg1JlzLwye9GO1Cd-xoQ-EaA&hl=th&sa=X&ved=2ahUKEwiUwMTft-DjAhUSmuYKHVhBCDkQ6AEwAHoECAoQAQ#v=onepage&q&f=false) หน้า ๔๕-๔๖


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: ราชประชา ที่ 19 ส.ค. 19, 14:27
ไปเจอภาพอาคารเก่าหลังหนึ่งมีแผ่นป้ายว่า "หอพระสมุดในพระองค์" พระองค์ใด ? ใคร่อยากทราบประวัติครับ


เจอภาพชัดๆ ละ


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ส.ค. 19, 15:14
ในภาพจะเป็นหอพระสมุดที่ตั้งอยู่ ณ วังของกรมหลวงบดินทร์ไพศาล (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B2_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%93)ได้หรือไม่

คำเฉลย

อาคารหอพระสมุดในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน


เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหนังสือจากหอพระสมุดในพระองค์ไปที่หอสมุดสำหรับพระนคร และตั้งเป็นหอสมุดวชิราวุธ
 
https://www.facebook.com/TheNationalGalleryThailand/photos/a.1241578469306840/1253239361474084?type=3&sfns=mo
https://www.facebook.com/613991711999127/posts/1858477357550550?s=100006582436536&sfns=mo


กระทู้: อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ส.ค. 19, 21:41
ภาพลงสีฝีมือคุณหนุ่มสยาม  ;D

https://www.facebook.com/780950968608377/posts/2019810254722436?s=100006582436536&sfns=mo