เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: สมชาย ที่ 27 พ.ค. 01, 10:03



กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: สมชาย ที่ 27 พ.ค. 01, 10:03
ได้ข่าวลือว่าหวงเฟยหงมีตัวตนจริงใครพอรู้รายละเอียดบ้างครับ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: ทิด ที่ 23 พ.ค. 01, 20:14
เท่าที่ทราบ หวงเฟยหง เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีนแน่นอนครับ
เป็นลูกของหวงฉีอิงผู้ได้รับขนานนามให้เป็น ๑ ใน ๑๐ พยัคฆ์แห่งกวางตุ้ง ร่วมกับ
ยาจกซูเจ้าของหมัดเมาที่รู้จักกันดี ส่วนอีก ๘ คนที่เหลือไม่ทราบเหมือนกันครับ
หาอ่านมาหลายปีแล้วไม่เจอเสียที
.....
วิชาหมัดมวยที่หวงเฟยหงร่ำเรียนมามีหลายแนวทางครับ แต่ที่เป็นหลักของตระกูล
เป็นวิชามวยที่ดัดแปลงแก้ไขมาจาก "มวยตระกูลหง (หงซีกวาน)" โดยต้นสายแท้ๆ
ของมวยสายนี้คือมวยของวัดเส้าหลินฝ่ายใต้
.....
นอกเรื่อง...สำหรับ "มวยตระกูลหง" นั้นมีการสืบทอดออกเป็นสองสาย
สายแรกคือสายหงซีกวานผู้ดัดแปลงเพลงมวยชุดนี้ขึ้นมา ซึ่งภายหลังได้มีการพัฒนา
ครั้งใหญ่สำหรับมวยสายนี้โดยการนำเอาเคล็ดความของมวยหย่งชุน (มวยหมัดสั้น)
มาประยุกต์รวมกัน หนึ่งในผู้ฝึกมวยสายนี้ที่รู้จักกันดีก็คือบรู๊ซลี นั่นแหละครับ

สายที่สองเป็นสายของลู่อาไค ศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันกับหงซีกวาน และเป็นผู้ร่วม
คิดค้นดัดแปลง "มวยตระกูลหง" ขึ้นมา...หนึ่งในบรรดาศิษย์ของลู่อาไคคือหวงไถ้
ผู้เป็นพ่อของหวงฉีอิง และเป็นปู่ของหวงเฟยหงนั่นเอง ซึ่งในยุคของหวงเฟยหงนั้น
ได้มีการดัดแปลง และพัฒนามวยตระกูลหงครั้งใหญ่ จนกลายเป็นเอกเทศเฉพาะตัว
.....
หวงเฟยหงแต่งงานสี่ครั้ง มีลูกชายสี่คน โดยเกิดจากภรรยาคนที่สองสองคน คนที่สาม
อีกสองคน ส่วนภรรยาคนที่หนึ่งและคนที่สี่ไม่มีลูกด้วยกัน
.....
ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในวีรบุรุษ (ตามตำนาน) แต่หวงเฟยหงเองก็มีชีวิตที่น่าเศร้า
คือภรรยาคนแรก (น้าสิบสาม? ^_^) ป่วยเสียชีวิตหลังจากแต่งงานกันได้ไม่กี่เดือน
ภรรยาคนที่สอง และสามก็อายุสั้นเช่นกัน (เอ..หรือจะไม่น่าเศร้าแฮะ หึหึ)
ลูกชายคนโตหวงหวนซุน ที่เกิดจากภรรยาคนที่สองก็อายุสั้นตายในการต่อสู้ ซึ่งเรื่องนี้
เป็นสาเหตุให้หวงเฟยหงตัดสินใจไม่ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ให้ลูกชายคนที่เหลือ
.....
ในหนังลูกศิษย์คนที่มีบทบาทมากที่สุดของหวงเฟยหงคือ เหลียงควน แต่ในความจริง
ลูกศิษย์ที่มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดมวยของหวงเฟยหงออกไปมีอยู่สามคน
คนแรกคือ หลินซื่อหยง หรืออาหยงขายหมู  คนที่สองคือ เต็งฟาง หรือ ถังฟง อีกคน
ชื่อว่า ซว่ายเหลาย่าน....วิชาหมัดมวยของหวงเฟยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ไม่ว่าจะเป็นในฮ่องกง ที่หลินซื่อหยงไปตั้งสำนักอยู่ หรือจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์
และฟิลิปปินส์
.....
หวงเฟยหงเสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๗๗ ปี


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: สมชาย ที่ 24 พ.ค. 01, 00:55
นับถือ นับถือ
โปรดรับการคารวะจากข้าพเจ้า
หง ซี กวาน เป็นบุคคลเดียวกับปึง ซี เง็กหรือเปล่า
ซือเฮียไปศึกษาจากตำราของสำนักใด จึงได้เป็นทีแอ๋เต่ยอิดเกี่ยม โปรดชี้แนะ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: Kamen ที่ 24 พ.ค. 01, 05:53
หงซีกวาน = อั้งฮีกัว
ฟางซื่ออี้ = ปึงซีเง็ก
เป็นบุคคลร่วมสมัย
หนังจีนชอบสร้างให้มาเป็นสหายกัน
อย่าง " 18 มนุษย์ทองคำ", "5 พยัคฆ์เส้าหลิน"

แต่ในประวัติศาสตร์จริง ไม่แน่ใจครับ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: สมชาย ที่ 24 พ.ค. 01, 11:38
ขอบคุณครับ ผมจำสลับกันอยู่เรื่อย ไม่ค่อยถนัดจีนกลางเท่าไหร่
ผมว่าที่ฝรั่งเรียกจีนกลางว่าแมนดารินน่ะ ไม่ถูกนะ แมนดารินน่าจะแปลว่าแมนจูยิ่งใหญ่อะไรทำนองนั้น


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: ทิด ที่ 24 พ.ค. 01, 12:49
หงซีกวานกับฟางซื่ออี้เป็นคนรุ่นเดียวกันครับ...
สำหรับหงซีกวานนั้นมีตัวตนในประวัติศาสตร์แน่นอนเช่นเดียวกัน
แต่กรณีของฟางซื่ออี้ หรือ ปึงซีเง็กนั่น ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนครับ
เพราะจากเรื่องที่เล่ากันมาฟางซื่ออี้อายุสั้นตายในการต่อสู้กับแม่ชีอู่เหมย
เมื่อคราวที่ราชสำนักชิงส่งนักบู๊จากง่อไบ๊ บู๊ตึงขึ้นไปท้าต่อสู้กับเส้าหลินใต้
....
ผมเคยอ่านมาจากหลายแห่งครับ จำไม่ได้เหมือนกันว่ามาจากเล่มไหน
ที่หาอ่านเพราะชอบหวงเฟยหงตั้งแต่เด็กๆ แล้วครับ สมัยก่อนโน้น
เคยทำเป็นละคอนชุดทางทีวีชื่อเรื่อง "ไอ้มังกรหมัดสิงโต" หวงเหยียนเซินเล่น
เป็นหวงเฟยหง....ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นบทส่งท้าย หรือบทเสริมในหนังสือแปล
เรื่องไอ้มังกรหมัดสิงโต กระมังครับ ฉบับพิมพ์ด้วยกระดาษปรู๊ฟ ปกแข็ง
ส่วนเรื่องหงซีกวาน มวยตระกูลหง ฟางซื่ออี้ ทั้งหลายนี้ ในหนังสือ "สกัดจุด
ยุทธจักรมังกรหยก" ของ อ.ถาวร สิขโกศล ก็มีเขียนไว้เหมือนกันครับ
....
ขอเพิ่มเติมอีกนิด...หวงเฟยหงเป็นวีรบุรุษชาวจีน ที่ถูกนำเอาชื่อ และเรื่องราว
มาสร้างเป็นภาพยนต์ ละคอนชุดทางโทรทัศน์ งิ้ว มากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 24 พ.ค. 01, 22:14
แมนดาริน มาจากคำสันสกฤตว่ามนตรีครับ เชื่อไหมครับ

คนจีนเองเขาไม่เคยเรียกภาษาจีนกลางว่าแมนดาริน คำนี้เป็นคำที่ฝรั่งเรียกภาษาจีนกลาง คนจีนเองเขาอาจจะเรียกภาษานี้ว่า ผู่ทงฮว่า  "ภาษากลาง"  หรือ "ภาษาสากล" (ที่ใช้ร่วมกันในหมู่คนจีนสำเนียงต่างๆ) หรือ กว๋ออวี่ - ก๊กงื่อ - "ภาษาของชาติ" (จีน)

ฝรั่งพวกที่เรียกภาษาจีนกลางว่าแมนดารินก่อน (อย่างน้อยก่อนที่อังกฤษจะรับมาเรียกตาม) ผมเข้าใจว่าเป็นโปรตุเกส เรียกแมนดาริน หมายความถึงคน คือพวกขุนนางจีน และเลยพลอยเรียกภาษาจีนแบบที่คนพวกนี้พูดกันว่าภาษาแมนดารินไปด้วย

โปรตุเกสถือเป็นฝรั่งชาติแรกๆ ที่เดินเรือบุกเบิกมาทางเอเชียทางตะวันออกนี่ ไล่ๆ กับพวกฮอลันดา (ทั้งนี้ผมไม่นับการค้าขายระหว่างจีนกับฝรั่งทางบก ผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งมีมาก่อนหน้านั้นนานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยมาร์โค โปโล ซึ่งเป็นอิตาเลียนและก่อนหน้านั้นขึ้นไป) ก่อนที่จะไปทางจีนนั้นก็ไปค้าสำเภากับทางมะละกา ชวา มลายู ก่อน ที่นั่นภาษามาเลย์เขาเรียกพวกขุนนางข้าราชการ (ที่มักจะมาเบ่งใส่คนค้าคนขาย) ว่า menteri รากศัพท์มาจาก มนตรี ภาษาบาลีสันสกฤตนี่แหละ โปรตุเกสก็จำไว้ ไปขึ้นท่าเมืองจีนแถวกวางตุ้งมาเก๊าอะไรแถวนั้นไปเจอขุนนางพวกเดียวกันก็เลยพลอยเรียกขุนนางจีนว่า แมนดาริน ไปด้วย ตามประสาฝรั่งลิ้นแข็งพูดไม่ชัด

จนเดี๋ยวนี้อังกฤษก็รับมา เรียกภาษาจีนกลางว่า ภาษาแมนดาริน และเรียกขุนางใหญ่ๆ โตๆ เป็นศัพท์ที่ไม่ค่อยเห็นใช้บ่อย ว่าแมนดารินเหมือนกัน ภาษานี้ นมส. เคยทรงเรียกในภาษาไทยว่า ภาษาจีนหลวง ซึ่งผมชอบครับ แต่ในสมัยนี้ที่จีนเป็นคอมมิวนิสต์ไปนานแล้วก็คงใช้ไม่ได้แล้ว


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 24 พ.ค. 01, 22:17
ผมเคยนึกว่า คำว่าแมนดารินเกี่ยวกับแมนจูเหมือนกัน ปรากฏว่า เขาว่า ไม่เกี่ยวครับ

สวัสดีครับคุณทิด หายไปเสียนานนะครับ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: สมชาย ที่ 25 พ.ค. 01, 00:27
นกข. ไต้เฮียบโปรดรับคารวะน้ำชาลิ้นมังกรจากข้าพเจ้า 1000 จอก
ผมก็ชอบหวงไต้เฮียบจากเรื่องไอ้มังกรหมัดสิงโตเหมือนกัน แต่ตอนต้นๆรู้สึกจะชอบดาราที่เล่นเป็นแฟนหวงไต้เฮียบมากกว่า แล้วได้ข่าวว่า commit suicide แหมวันนั้นเลยไม่ได้เรียนหนังสือ มัวแต่นั่งอาลัย
ผมจำได้ว่าแผนที่โลกสมัยก่อนยังใช้คำแมนดารินแทน china เลยล่ะ
ที่มาของ china นี่มาจาก จิ๋นซี หรือเปล่า หลายกระแสบอกว่าเป็นเช่นนั้น ผมยังกังขาอยู่ เส้นทางสายไหมที่ติดต่อการค้ากับตะวันตกก็เกิดขึ้นในราชวงศ์ถัง ( ? ) จะว่าไปแล้ว ราชวงศ์โจวก็อยู่มาก่อนหน้าราชวงศ์จิ๋นหลายร้อยปี ถ้าอินเดียมีการค้ากับจีนก็น่าจะในสมัยราชวงศ์โจว
เพลงไตเติ้ลหวงเฟยหงใครแต่ง มันเร้าอารมณ์จริงๆ ปลุกใจให้ฮึกเหิม ลมปรานพลุ่งพล่านจากจุดตังชั้งไปจุดย่งจั้วจนถึงขม่อม
แล้วละคอนโทรทัศน์ไทยเราทำไมไม่สร้างหนังวีรบุรุษเพื่อปลุกเร้าคนไทยบ้างเนอะ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 25 พ.ค. 01, 01:41
นับถือ นับถือ ค่ะ  ขอขอบคุณคุณทิด และคุณ นกข มากค่ะ  กระทู้นี้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย  ขอคำนับเล่าฮิวท่านละสามจอกด้วยค่ะ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: ทิด ที่ 25 พ.ค. 01, 03:36
สวัสดีครับคุณหลวงนิล คุณพวงร้อย...
หายหน้าไปตามภารกิจเหมือนเดิมครับ หวังว่าทุกท่านคงสบายดี
....
คุณพวงร้อยครับ สำหรับผมคงรับได้แค่คำว่า "เล่าตี๋" ก็พอกระมังครับ ^_^


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: สมชาย ที่ 25 พ.ค. 01, 09:30
คำว่าเล่าฮิวนี่ใช้เรียกตัวเองแบบถ่อมตัวน่ะครับ เป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่งครับ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 25 พ.ค. 01, 11:46
อ้าวเหรอคะ  ชักเลอะแล้วซีเรา

งั้นเปลี่ยนเป็นเล่าแป๋ ใช้ได้รึเปล่าคะ อิอิ

ดีใจมากที่ได้เห็นคุณทิดกลับมาอีกค่ะ


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: สมชาย ที่ 25 พ.ค. 01, 13:37
พูดถึงวิทยายุทธ์ของเสี่ยวลิ้ม ทำไมดูในหนังสารคดี เหมือนกับเป็นกายกรรม ปาหี่ไปเลย มีไว้ให้นักท่องเที่ยวดูยังงั้นแหละ ไม่ทราบว่าคนจีนปัจจุบัน เขามีความเห็นอย่างไรกับวัดเสียวลิ้มยี่


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: กระบี่อิงฟ้า ที่ 27 พ.ค. 01, 16:34
รบกวนคุณหลวงนิลฯหน่อยนะครับ คือผมเคยอ่านเจอว่าที่เขาเรียกฝู่ทงฮว่า ว่าแมนดาริน เพราะว่าฝร่งอั่งม้อ เข้าไปติดต่อในเมืองจีนมาก ในสมัยแมนจูเป็นใหญ่ ก็เลยคิดว่าภาษานี้เป็นของแมนจู คนแมนจูเรียกตัวเองว่าหม่านต้าเหริน แต่อั่งม้อลิ้นแข็ง ก็เลยกลายเป็นแมนดาริน พอมาฟังคุณหลวงว่า ผมก็ชักงงว่าใครถูกละครับนี่ ช่วยวิเคราะห์ให้หน่อยได้ไหมครับ ว่าทำไมคุณหลวงจึงเชือว่าแมนจูมาจากมนตรี ไม่เชื่อว่ามาจากหม่านต้าเหริน


กระทู้: หวงเฟยหง
เริ่มกระทู้โดย: N.K.Kh. ที่ 27 พ.ค. 01, 22:03
I have heard abt the Manchu hypothesis as well. Actually first I did believe the word Mandarin had something to do with the word Manchu. But a learned friend of mine in China said that, even though ManDaRen may mean "great person of Manchu tribe" as you said, it was actually not the way (Han) people in the streets addressed the Manchu mandarins. Probaby they would call the Manchu official "DaRen" (Great Person, or Your Excellency), without referring to the ethnic origin(s) of the officials. (Under the Qing government, there were Han Chinese officials as well as the Manchu officials).

My second reference is the Webster English Dictionary, which gives the root of the word Mandarin as Mantri, Menteri, from PaliSanskrit and Malay.

If there were a word ManDaRen in use in Chinese in late Qing period, I believe we can easily check it. Come to think of it, I never heard the honorific DaRen being used with other nationalities. (No "HanDaren"/ "HuDaRen"/ "ManguDaRen", etc. at least not that I know of.)

I will be glad to hear others commenting on this issue. PekingMan? LinXiaojie? Please?