เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: superboy ที่ 06 ธ.ค. 19, 14:28



กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 06 ธ.ค. 19, 14:28
เด็กๆ ยุคนี้ช่วงปลายปี 195x ถึงต้นปี 196x ต้องเผชิญวิกฤตสงครามนิวเคลียร์ด้วยครับ โดยเฉพาะปี 1962 ที่โซเวียตนำขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์มาติดตั้งที่คิวบา ไปโรงเรียนก็มีสอนการหลบภัยในหลุมอะไรพวกนี้ด้วย


ยุคนี้ทางทหารถือว่าเป็นรุ่นตื่นนิวเคลียร์ครับ ถึงขนาดมีระเบิดน้ำลึกหัวรบนิวเคลียร์ จรวดต่อสู้อากาศยานหัวรบนิวเคลียร์ หรือระเบิดครกหัวรบนิวเคลียร์ใช้ทหารพกพาไป 2 นาย (ตอนนั้นยังไม่สนใจเรื่องรังสีสะสม มีทหารตายไปเยอะเหมือนกัน)  เป็นเงามืดๆ ปกคลุมอเมริกาไว้แบบรางเลือน กระทั่งมาชัดเจนเกือบเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ในปี 1962 ผมขอใส่เข้ามานิดหน่อยนะครับเพราะอยู่ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 06 ธ.ค. 19, 14:55
        ชอบ Far from Heaven มาก, โดยเฉพาะ การแสดงของ Julianne Moore ผู้รับบทแม่บ้านที่มีชีวิต
ในฝัน (white) American Dream จนกระทั่งคืนหนึ่งความฝันกลายเป็น 'American Nightmare',
งานสร้างที่นำพาคนดูย้อนกลับไปในยุคนั้นเหมือนที่เคยเห็นในหนังทีวีและหนังโรงยุคก่อน และงานกำกับภาพ
ที่สวยงามจนภาพสุดท้าย


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 19, 14:56
กรุณาเล่าเรื่องปี 1962 ที่ว่าเกือบเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ไหมคะ


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 19, 15:26
       ชอบ Far from Heaven มาก, โดยเฉพาะ การแสดงของ Julianne Moore ผู้รับบทแม่บ้านที่มีชีวิต
ในฝัน (white) American Dream จนกระทั่งคืนหนึ่งความฝันกลายเป็น 'American Nightmare',
งานสร้างที่นำพาคนดูย้อนกลับไปในยุคนั้นเหมือนที่เคยเห็นในหนังทีวีและหนังโรงยุคก่อน และงานกำกับภาพ
ที่สวยงามจนภาพสุดท้าย


https://www.youtube.com/watch?v=-QHSfSmyAiw&list=PLKHDkiRyhLuRvbPnBV1uKXpCROgfJ2e85&index=6


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 19, 16:00
 ขอส่งไมค์เชิญคุณหมอ SILA บรรยายเรื่องสงครามเย็นค่ะ


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 06 ธ.ค. 19, 19:45
     พอดีผมมาเฝ้าคนป่วยที่โรงพยาบาล ขอพูดถึงสั้นๆ ก่อนนะครับ ยังงงๆ ว่าจะเขียนยังไงดี  ???


      หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังการล้มสลายของฝ่ายอักษะ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือระบบคอมมิวนิสต์กับระเบิดนิวเคลียร์ ถ้าเราพูดถึงระเบิดนิวเคลียร์ทุกคนจะนึกถึงจุดจบสงครามโลกครั้งที่สอง หรือสงครามล้างโลกที่จุดจบคือพังด้วยกันทั้งสองฝ่าย


     หมายความว่าระเบิดนิวเคลียร์คืออาวุธทางยุทธศาสตร์ตัดสินผลแพ้ชนะทันที แต่ทว่า...ทหารไม่ได้คิดแบบนั้นทุกคนครับ นิวเคลียร์เป็นอาวุธทางยุทธวิธีทำให้เราชนะในสงครามพื้นที่จำกัดก็ได้เช่นกัน อาทิเช่น เรือดำน้ำยิงตอร์ปิโดหัวรบนิวเคลียร์ทำลายกองเรือข้าศึก เครื่องบินขับไล่ยิงจรวดหัวรบนิวเคลียร์ทำลายฝูงบินข้าศึก แม้กระทั่งปืนใหญ่ยิงกระสุนหัวรบนิวเคลียร์ทำลายกองทัพข้าศึก แนวคิดนี้ทำกันอย่างจริงจังในช่วงแรกของสงครามเย็น


      เมื่อเข้าสู่ยุค baby boomer ก็เกิดการเผชิญหน้าระหว่างโลกเสรีกับค่ายสังคมนิยมทันที สงครามตัวแทนเกิดขึ้นที่เกาหลี และระเบิดนิวเคลียร์ก็เกือบถูกใช้งานทางยุทธวิธีเช่นกัน เมื่อกองทัพอเมริกาเจอคลื่นมนุษย์กองทัพจีนโจมตี จนต้องหนีหัวซุกหัวซุนกลับมาเขตแดนตัวเอง นายพลแมคอาเธอร์เสนอให้ใช้ระเบิดนิวเคลียร์จัดการกองทัพจีน เพราะอีกฝ่ายมาเยอะเกินลูกน้องตัวเองสู้ไม่ไหว ไม่ได้หวังขนาดชนะศึกเด็ดขาดหรอกครับ แต่โชคดีไม่มีคนเอาด้วย ไม่อย่างนั้นเกาหลียับเยินกว่านี้แน่


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 06 ธ.ค. 19, 19:51
      ยุค baby boomer อเมริกามีขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์มากกว่าโซเวียต เพราะกำลังทางบกในยุโรปของนาโต้มีน้อยกว่าฝั่งวอซอร์เช่นกัน อเมริกานำมาติดในหลายๆ ประเทศล้อมรอบโซเวียตเอาไว้ ส่วนตัวผมคิดว่าติดไว้ก่อนไม่ได้คิดเรื่องยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธีสักเท่าไร เพราะขีปนาวุธที่ติดมีอายุการใช้งานสั้นมาก ใช้ได้บ้างใช้ไม่ได้บ้าง อายุ 10 ปีต้องปลดประจำการแล้วก็มี ช่วงนั้นมันเป็นช่วงลองผิดลองถูก อาศัยว่าติดไว้ก่อนข่มไว้ก่อนทำนองนี้

       โซเวียตในตอนนั้นทำอะไรอเมริกาด้วยนิวเคลียร์ไม่ได้ เพราะพี่แกอยู่คนละทวีปยิงยังไงก็ยิงไม่ถึง แต่โซเวียตมีอาวุธสำคัญอีกอย่างก็คือระบบคอมมิวนิสต์ จึงใช้อาวุธชิ้นนี้เจาะเข้ามาในละตินอเมริกา ทำไปทำมาก็สามารถเข้าถึงฟรีเดล คาสโตรผู้นำประเทศคิวบา ซึ่งอยู่ใกล้อเมริกาแค่ปลายจมูก

      คาสโตรสมัยก่อนก็เป็นเด็กปั้นของอเมริกานี่แหละครับ พอเจ้าตัวเปลี่ยนไปอเมริกาจึงต้องการโค่นล้ม ให้ซีไอเอเข้าไปจัดเตรียมคนในประเทศจำนวนหนึ่ง แล้วส่งกองกำลังตัวเองเข้าบุกที่อ่าวหมูหรือ bay of pigs ปรากฏว่าผิดแผนพ่ายแพ้ยับเยิน สร้างความอับอายให้กับกองทัพอเมริกามาก ต่อมาไม่นานในปีเดียวกัน 1961 คาสโตรขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา เปลี่ยนมาเป็นรัฐสังคมนิยมมหามิตรของโซเวียตและหอกข้างแคร่ของอเมริกา

      ผมเกริ่นไว้เท่านี้ก่อนนะครับ กลับบ้านวันไหนแล้วจะมาต่อ


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 19, 20:36
คุณ  superboy เขียนเล่าเรื่องนิวเคลียร์ฉาดฉานราวกับเป็นคอลัมนิสต์เก่า
ขอให้คนป่วยหายเร็วๆนะคะ 

ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายเสรีนิยมของอเมริกา กับค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสม์ของโซเวียตและจีน    ไทยเราก็ได้รับอิทธิพลมาเต็มๆ   จำได้ว่ารัฐบาลไทยสนับสนุนฝ่ายอเมริกาเต็มตัว   คอมมิวนิสต์จึงกลายเป็นคำที่น่าเกรงกลัวมากสำหรับประชาชน
ใครเป็นผู้นำทางฝายตรงข้าม ไม่ว่าอยู่ประเทศไหน จะมีภาพลักษณ์น่าเกลียดน่ากลัวมาก     ฟิเดล คาสโตรก็ถูกระบายสีเป็นผีร้ายฉกาจฉกรรจ์ตัวหนึ่ง   เชกูวาราก็น่ากลัวพอกัน
ทั้งๆคนไทยไม่ได้รู้จักที่มาที่ไปของสองคนนี้เลย


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 07 ธ.ค. 19, 10:37
โล่งใจ,คุณ superboy รับไม้แทนไปแล้ว
        
ระหว่างรอ,เนื่องจากเวลาไม่อำนวย, ขอแปะตัดดัด บางส่วนจากข้อเขียนของ คุณสุรชาติ บำรุงสุข ในมติชนสุดสัปดาห์
และเพิ่มเติมเล็กน้อย

โลกใหม่หลังสงคราม

             7 พฤษภาคม 1945… เยอรมนีประกาศยอมแพ้,สิ้นสุดสงครามโลก ตามมาด้วยเรื่องใหญ่ที่สุดในเวที
การเมืองโลกคือ การแข่งขันระหว่างรัฐมหาอำนาจใหญ่ และการต่อสู้ภายใต้เงื่อนไขที่คู่แข่งขันมีสถานะเป็น
“รัฐมหาอำนาจนิวเคลียร์”  ทำให้รัฐมหาอำนาจทั้งสองไม่สามารถขยายความขัดแย้งให้กลายเป็นสงครามแบบเดิม,
ไม่ยกระดับความขัดแย้งให้เป็น “สงครามร้อน” (hot war) เพราะต่างฝ่ายก็มีอาวุธนิวเคลียร์

                      สงครามจึงมีสภาพ “เย็น” ไม่ใช่ “ร้อน” ในแบบสงครามทั่วไป  

             “สงครามเย็น” (The Cold War) คือ สงครามที่รัฐมหาอำนาจรบไม่ได้ มิฉะนั้น จะกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์
หรือในทางทฤษฎีคือจะไม่เกิดสิ่งที่เป็น “open armed conflict”

              การต่อสู้กลับมีความเข้มข้นในมิติอื่น โดยเฉพาะการต่อสู้ทางการเมืองผ่านการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อชักจูง
ให้ผู้คนในอีกฝ่ายหนึ่งคล้อยตามและตัดสินใจที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายตน
              การต่อสู้อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการใช้ “สายลับ” เพื่อดำเนินภารกิจลับในการแสวงข้อมูลด้านข่าวกรอง
ของฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตะวันตกหรือฝ่ายตะวันออก
              อีกด้านการแข่งขันปรากฏในรูปของการสร้างความเหนือกว่าทางเศรษฐกิจ
              รวมถึงการแข่งขันในทางสังคมจิตวิทยา (เช่น ค่ายตะวันตกหรือตะวันออกจะได้เหรียญทองมากกว่ากัน
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก)
              และ การแข่งขันด้านอวกาศ


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 07 ธ.ค. 19, 10:41
            ทั้งหมดนี้เกิดจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ที่ความต่างนี้มีความชัดเจนในตัวเอง เช่น ใน
ทางการเมืองคือการต่อสู้ระหว่าง “เสรีนิยม vs สังคมนิยม”
            ในทางเศรษฐกิจคือการแข่งขันระหว่างเศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยม vs วางแผนจากส่วนกลาง”
            ความแตกต่างนี้นำไปสู่ปัญหาความมั่นคงที่สำคัญคือ ต่างฝ่ายต่างมองอีกฝ่ายเป็นภัยคุกคาม แต่ ภัยนี้ก็ไม่
สามารถทำลายลงได้ด้วยเงื่อนไขสงคราม

             การต่อสู้ที่เกิดขึ้นจึงมีพื้นฐานของทัศนะ (perception) ในเรื่องของความกลัว ความหวาดระแวง การแข่งขัน
ความต้องการเอาชนะเพื่อความเหนือกว่า การมองฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูที่ไม่อาจประนีประนอมได้,เป็นภัยคุกคาม และ
ความเชื่อว่าอีกฝ่ายต้องการทำลายวิถีชีวิตและค่านิยมของฝ่ายตน
             ทัศนะเช่นนี้แยกโลกออกเป็น “สองค่าย” อย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายตะวันตกและตะวันออก รัฐมหาอำนาจสร้าง
และขยายเขตอิทธิพลในเวทีโลก ทั้งด้วยการสร้างแรงจูงใจให้เข้าร่วมกับฝ่ายตน ด้วยการให้ความช่วยเหลือทั้งในทาง
เศรษฐกิจและการทหาร และถ้าจำเป็นก็อาจมีการใช้กำลังบังคับรัฐเป้าหมาย

             มีการจัดตั้ง The North Atlantic Treaty Organization ในปี 1949 
             ค.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตก็ได้ตั้งองค์การ Warsaw Pact  เป็นการตอบโต้โดยรวมกลุ่มพันธมิตรทางทหาร
ประเทศสมาชิกอยู่ในยุโรปตะวันออก
             NATO และ WARSAW PACTทำให้ยุโรปกลับสู่การแบ่งแยกเป็นสองกลุ่มเช่นเดียวกับก่อนสงครามโลกอีกครั้ง
     
              การเผชิญหน้าและการแข่งขันอย่างเข้มข้น ก่อตัวเป็น “ระเบียบใหม่ระหว่างประเทศ” ในยุคหลังสงคราม หรือ
เรียกว่า “ระเบียบยุคสงครามเย็น” ที่มีการแข่งขันระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกเป็นพื้นฐาน และมีการต่อสู้ระหว่าง
อุดมการณ์ทุนนิยมและสังคมนิยมเป็นแกนกลางของปัญหา


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 07 ธ.ค. 19, 10:44
             ในเอเชีย จากเหตุสงครามเกาหลี(1950 –  1953) ที่สหภาพโซเวียตสนับสนุนเกาหลีเหนือโจมตีเกาหลีใต้
สหรัฐกังวลต่อภัยคุกคาม จึงเพิ่มความร่วมมือทางทหารกับประเทศพันธมิตรในภูมิภาคต่าง ๆ เกิดเป็น SEATO ซึ่งไทยก็
เป็นสมาชิกด้วย

             ต่อมาที่ยุโรป กำแพงเบอร์ลินอุบัติขี้นในปี 1955  
             และ ข้ามสมุทรมาเกิด วิกฤตคิวบา ที่เริ่มจากปี 1959 เมื่อ Fidel Castro ผู้นำฝ่ายซ้ายโค่นล้มรัฐบาลซึ่งอเมริกา
หนุนหลัง ประธานาธิบดีเคเนดี ได้อนุมัติแผนลับยกพลขึ้นบุกคิวบาแต่ไม่ประสบความสำเร็จ  สหภาพโซเวียตผู้สนับสนุนคิวบา
จึงตอบโต้โดยวางแผนจะติดตั้งขีปนาวุธในคิวบา
            ในปี 1962 อเมริกาพบเรือขีปนาวุธของสหภาพโซเวียตเข้าไปใกล้คิวบา จึงประกาศจะใช้กำลังทหารหากโซเวียต
ไม่ถอนกำลัง  แต่ในที่สุดทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้โดยโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธกลับไป แลกกับการที่สหรัฐ ฯ สัญญา
จะไม่บุกคิวบา

วิกฤตคิวบานี้ ฮอลลีวู้ดได้นำมาเป็นพล็อตเหตุให้เกิดเรื่อง Blast from the Past(1999)


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 19, 17:12
คุณ SILA

ขอพูดถึงอีกประเด็น(เย็น) นั่นคือ
           
           สงครามเย็น ที่อุณหภูมิลดลงเย็นจัดในช่วงนั้น มีการรณรงค์ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ เกิดการล่าแม่มด,กล่าวหา
ว่าคนนั้น คนนี้ฝักใฝ่หรือเป็นคอมมิวนิสต์
           ที่โดดเด่นที่สุดเป็นตำนาน คือ นักแสดงในตำนาน Charlie Chaplin ซึ่งติดแบล็คลิสต์เป็นคอมมิวนิสต์โดย
senator Joseph McCarthy

(McCarthyism is the practice of making accusations of subversion or treason without proper regard
for evidence. The term refers to U.S. senator Joseph McCarthy (R-Wisconsin) and has its origins in
the period in the United States known as the Second Red Scare, lasting from the late 1940s through the 1950s.)

           ในปี 1952 ขณะที่ Chaplin ล่องเรือข้ามสมุทรไปลอนดอนเพื่อร่วมงานเปิดหนังเรื่อง Limelight เขาก็ได้
รับทราบว่า จะโดนจับหากกลับไปอเมริกา
           คุณทวดจึงตัดสินใจอาศัยอยู่ในยุโรป, ลงรากที่สวิตเซอร์แลนด์และอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิต

20 ปีต่อมา,คุณทวดจึงกลับมาเมกา เพื่อร่วมงานออสการ์และขึ้นรับรางวัลพิเศษ


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ธ.ค. 19, 17:49
ด้วยความผิดพลาดในการแยกกระทู้  ค.ห.ข้างบนนี้ของคุณ SILA จึงพลัดมาอยู่ข้างล่าง
ความจริงเป็นค.ห.แรกค่ะ
ขออภัยอย่างสูง


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 08 ธ.ค. 19, 13:01
ทีแรกผมยังเอ๋อๆ ว่าจะเขียนในนี้อย่างไรดีนะครับ แต่ตอนหลังนึกได้ว่าจะเขียนอะไรก็เขียนไปเถอะ อะไรไม่เหมาะสมเดี๋ยวอาจารย์ใหญ่กับอาจารย์ใหญ่กว่าเอาไม้เรียวมาตีก้นเอง แฮ่!


        ผมขอเริ่มจากระเบิดนิวเคลียร์แล้วกันนะครับ ทุกคนคงรู้จักกันดีฉะนั้นขอข้ามรายละเอียดเพื่อให้เนื้อหากระชับ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองหลายประเทศเริ่มพัฒนาอาวุธร้ายแรงชนิดนี้ และอเมริกาทำสำเร็จรายแรกในปี 1945 ก่อนนำไปทดสอบของจริงที่ฮิโรชิม่ากับนางาซากิ เป็นการบังคับตรงๆ ให้ทางญี่ปุ่นยอมจำนนแต่โดยดี ผลก็คือประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ระเบิดทั้ง 2 ลูกทำงานได้ดีตามคาดหมายไม่มีเสียฟอร์ม รวมทั้งเกิดผลร้ายแรงที่ผู้ผลิตเองคาดคิดไม่ถึงมาก่อน สิ่งนั้นก็คือภัยร้ายจากสารกัมมันตรังสีที่ใหญ่โตและบานปลายมาก

   แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นมีคนรู้ข้อเท็จจริงแค่เพียงจำกัด แน่นอนที่สุดว่าคนอเมริกาในยุค American Dream ไม่รู้อะไรเลยสักอย่าง รู้แค่ว่าเราชนะสงครามโลกและมีระเบิดนิวเคลียร์เป็นไม้ตาย จนกระทั่งปี 1949 โซเวียตทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกสำเร็จ อาจไม่น่ากลัวอะไรมากมายแต่ถือว่าสำเร็จ เป็นประเทศที่มีการครอบครองระเบิดนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ เท่านั้นเองรัฐบาลอเมริกาก็อยู่เฉยไม่ไหว

   ปรกติในทุกรัฐบาลทุกประเทศทุกระบอบการปกครอง จะมีเจ้าหน้าที่ทั้งสายเหยี่ยวรักความรุนแรงเฉียดขาดและสายนกพิราบรักความสงบสุขรวมอยู่ด้วยกัน รัฐบาลอเมริกาเองก็เช่นกัน...มีข้อเสนอในการรับภัยแตกเป็นแม่น้ำสองสาย เจ้าหน้าที่ทั้งสายเหยี่ยวบอกว่าเราต้องเพิ่มงบประมาณกลาโหมเข้าไป 4 เท่าเพื่อตั้งรับและจัดการโซเวียตให้เด็ดขาด เรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากประธาธิบดีและคณะรัฐมนตรีพอสมควร กระทั่งกลายเป็นสงครามเย็นที่มีการสะสมอาวุธร้ายใช้ประหัตประหารกัน

   ส่วนเจ้าหน้าที่สายนกพิราบบอกให้หาวิธีป้องกันคนของเรา ต้องทำไอ้โน่นไอ้นั่นไอ้นี่เตรียมความพร้อมไว้ก่อน แต่คณะรัฐมนตรีไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ น่าจะเป็นเพราะได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนจากคนในกองทัพอีกที มองว่าโซเวียตผลิตระเบิดนิวเคลียร์ได้ไม่มากและได้ไม่ดี การป้องกันคนในชาติจึงเป็นไปอย่างจำกัดจำเขี่ย แค่ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองเมื่อโดนโจมตี อยู่นอกอาคารให้ก้มตัวลงมุดหัวแนบพื้น ถ้าอยู่ในห้องให้คลานไปอยู่ใต้เก้าอี้อะไรทำนองนี้ ซึ่งว่ากันตรงๆ อาจช่วยให้รอดตายจากผลการระเบิดได้ก็จริง (บาดเจ็บหนักแทน) แต่ต้องทุกข์ทรมานเพราะสารกัมตรังสีตกค้างซึ่งเป็นเรื่องร้ายแรงยิ่งกว่า

     (https://s.hdnux.com/photos/64/10/51/13666920/7/gallery_xlarge.jpg)

      มีการสร้างที่หลบภัยขึ้นมากลางเมืองสำหรับยามฉุกเฉิน ภาพจากปี 1951 ครับ

    (https://media.npr.org/assets/img/2011/03/16/duckcover_custom-6c13472d5c018c960a668a6c0fa6c64792d3da5c-s800-c85.jpg)
     
      เด็กๆ ในปี 1955 กับการซ้อมเมื่อโดนโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ หมายความว่าเด็กในยุคนี้ทุกคนไม่ได้มีชีวิตสวยงามดั่งนิยายแต่อย่างใด พวกเขาต้องเรียนรู้ความจริงว่าเผชิญภัยร้ายขนาดใหญ่เช่นกัน เพียงแต่ตอนนั้นภัยร้ายอยูู่ไกลคนละทวีป ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่จึงไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก

    ปี 1951 หรือช่วงต้นของยุค American Dream และ Baby Boomer ในอเมริกามีการเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นวิธีการป้องกันตนเองจากระเบิดนิวเคลียร์ ทุกคนรู้จักในชื่อ 'Duck and Cover' มาในสไตล์อเมริกันทีแท้จริงคือมีความน่ารักสดใส โลกสวย เพลงเพราะ และมาในรูปแบบการ์ตูนเพื่อดึงดูดความสนใจเยาวชน นี่คือการเตือนภัยอย่างเป็นทางการว่า โลกที่แสนสุขสันต์ของอเมริกาไม่เป็นจริงอีกต่อไปแล้วนะ เพียงแต่มันยังเลือนรางมองอะไรไม่ชัดเจน

   ชมคลิปวีดีโอก่อนเลยครับ ไม่ทราบว่าจะโพสสำเร็จไหม ผมยังงงๆ ว่าต้องครอบด้วยอะไรคลิปถึงจะขึ้น ถ้าทำไม่ถูกวานสอนเด็กน้อยคนนี้ทีครับ  :-\


https://www.youtube.com/watch?v=IKqXu-5jw60 (https://www.youtube.com/watch?v=IKqXu-5jw60)





กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 08 ธ.ค. 19, 13:28
รู้สึกว่าคลิปจะขึ้น รู้สึกว่าผมจะรอดจากไม้เรียวแล้ว ฉะนั้นแล้วไปต่อกันเลยดีกว่า  :D


     จากคลิปจะเห็นการแต่งกายและขนบธรรมเนียมต่างๆ จากยุค  American Dream ของจริง ในยุคนั้นนอกจากความสุขในครอบครัวผ่านหน้าจอโทรทัศน์แล้ว คนอเมริกาบางส่วนยังชอบไปเที่ยวทะเลทรายในรัฐเนวาด้ากันด้วย ไปทำไมเหรอครับ...ไปชมการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ด้วยตาตัวเอง

การทดลองระเบิดนิวเคลียร์โดยทั่วไปจะมีอยู่ทั้งสิ้น 4 แบบ
   1 ทดลองใต้ดิน
   2 ทดลองใต้น้ำ
   3 ทดลองบนชั้นบรรยากาศเหนือโลก
   4 ทดลองบนพื้นดินธรรมดาๆ นี่แหละ



   อเมริกามีการทดสอบนิวเคลียร์มากสุดคือ 1,054 ครั้งด้วยระเบิด 1,149 ลูก (รองลงไปคือโซเวียต 715 ครั้ง) ที่ระเบิดมีมากกว่าการทดสอบเพราะบางครั้งใช้วิธียิงแบบซัลโว โดยเป็นการทดสอบที่ Nevada Test Site มากถึง 904 ครั้งตั้งแต่ปี 1951 ถึง 1992 ช่วงแรกๆ ยังมีแค่เพียงทหารในพื้นที่เท่านั้น แต่ช่วงหลังประชาชนทั่วไปขับรถมาดูกันได้ แต่ต้องอยู่ในระยะปลอดภัยและสวมแว่นป้องกันสายตา ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าป้องกันได้จริงมากน้อยแค่ไหน ผมเป็นคนไม่ชอบเสี่ยงจะด้วยนิสัยและหรืออาชีพก็ตาม อะไรที่ส่งผลร้ายกับตัวเองนิดเดียวก็ถอยแล้ว แต่ถึงไม่มาดูผมก็ยังสามารถมองเห็นอยู่ดี เพราะการทดสอบเห็นได้ด้วยตาเปล่าไกลถึง 65 ไมล์ คนแถวนั้นคงเห็นกันชนชาชินเสียแล้ว

     (https://i.dailymail.co.uk/i/pix/2016/09/10/19/3825C7C800000578-3783336-image-a-4_1473532678220.jpg)
   
      อเมริกันจ๋ากันเลยภาพถ่ายใบนี้ แต่ดูเหมือนส่วนใหญ่จะเป็นตากล้องกับช่างภาพ Live from Nevada คุณนริสถ่ายภาพ รายงานโดยsuperboy

     (https://i.dailymail.co.uk/i/pix/2016/09/10/19/3825C5FD00000578-3783336-image-a-7_1473532699132.jpg)

    ว่ายน้ำอยู่ที่ลาส เวกัสห่างออกไป 65 ไมล์ก็ยังมองเห็นเห็ดชิตาเกะ แต่ไม่ชัดเจนสวยงามเท่าระยะ 10 ไมล์

     (https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/59/Small_Boy_nuclear_test_1962.jpg/745px-Small_Boy_nuclear_test_1962.jpg)

   
     ในภาพคือการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กทางยุทธวิธี เอาไว้ทำลายข้าศึกในพื้นที่จำกัดไม่ใช่ทำลายทั้งเมือง Operation Sunbeam ทดสอบในปี 1962 พื้นที่ Area 18 ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มนำนิวเคลียร์มาใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่แค่เพียงขีปนาวุธข้ามทวีประยะไกลราคาแพงระยับแต่อย่างใด ช่างไม่กลัวกันเลยหนอ


   การทดสอบมีการถ่ายทำภาพยนตร์เช่นกัน โดยในบางครั้งจะมีการสร้างเมืองจำลองขึ้นมา มีหุ่นมนุษย์ตั้งอยู่ในบ้านเพื่อจำลองความเสียหาย รวมทั้งมีการทิ้งอาหารกระป๋องเอาไว้จำนวนหนึ่ง ผลการทดสอบอาหารที่มีแนวโน้มว่าจะมีสารปนเปื้อนน้อยที่สุด ก็คือเนื้อกระป๋องแต่เพราะเหตุอันใดลืมไปนานแล้ว นี้คนกินเนื้อไม่ได้อย่างผมต้องคิดหนัก ว่าจะกินอาหารเพื่อความอยู่รอดแต่ท้องเสีย หรืออดตายตั้งแต่ตอนนี้ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย


https://www.youtube.com/watch?v=J8pIiyrPZsQ (https://www.youtube.com/watch?v=J8pIiyrPZsQ)


   เมืองจำลอง Nevada Test Site โผล่ในฮอลีวูดเช่นกัน ในภาพยนตร์ดังของแฮริสัน ฟอร์ด เรื่อง Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull พระเอกของเราต่อสู้กับคนร้ายในเมืองจำลองแล้วหลบหนีไม่ทัน จึงเข้าไปซ่อนตัวในตู้เย็นจากนั้นก็บินข้ามเมืองออกมาตกกลางทะเลทราย อยู่เมืองไทยคงมีคนเข้าไปถามว่าห้อยหลวงพ่อเค็มรุ่นไหนจะได้ไปบูชาบ้าง

https://youtu.be/ULYWjIGD8jI (https://youtu.be/ULYWjIGD8jI)






กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 08 ธ.ค. 19, 13:52
   อย่างที่บอกไปว่าแม้โซเวียตพัฒนานิวเคลียร์ได้แล้วก็จริง แต่คนในกองทัพอเมริกายังไม่ให้ราคาสักเท่าไร ทว่าในปี 1953 โซเวียตพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์รุ่นใหม่สำเร็จ มีความรุนแรงมากกว่าที่ฮิโรชิม่ากับนางาซากิถึง 100 เท่า ทำให้เจ้าหน้าที่เริ่มก้นร้อนมากขึ้นกว่าเดิม มีการเสนอให้เปลี่ยนแผนจากหลบภัยอยู่ในบ้านเป็นการอพยพคนไปที่อื่น แต่ก็เป็นไปแบบลุ่มๆ ดอนๆ ไม่เป็นโล้เป็นพาย มีการทำคู่มือออกมาแจกจ่ายพลเรือนอีกหลายครั้งหลายรอบ แนวทางในการเขียนหนังสือคือ Happy Family แค่คุณทำตามคำแนะนำในคู่มือคุณและครอบครัวก็จะปลอดภัยแล้ว

   จนกระทั่งถึงปี 1961 ได้ประธานาธิบดีคนใหม่จากตระกูลเคเนดี้ การทำคู่มือเริ่มมีความจริงจังมากกว่าเดิม จำนวนหน้าลดลงมาเหลือ 46 หน้าเน้นแค่เรื่องความจำเป็น มีการแนะนำให้ประชาชนสร้างที่หลบภัยของตัวเอง เพิ่มงบประมาณสร้างที่หลบภัยสาธารณะมากขึ้น รวมทั้งแผนการอพยพคนออกจากพื้นที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แม้คนในกองทัพยังมองว่าโซเวียตทำอะไรทวีปเมริกาไม่ได้ก็ตาม

     (https://k1project.columbia.edu/sites/default/files/content/shelter-photo.gif)

     ที่หลบภัยส่วนบุคคลชั้นใต้ดิน ภาพจากปี 1957 ตามคู่มือจะต้องเตรียมอุปกรณ์ยังชีพจำนวนมากไว้ในนี้ รวมทั้งอุปกรณ์ตรวจระดับปนเปื้อนรังสีด้วย

     (https://envisioningtheamericandream.files.wordpress.com/2013/04/nuclear-attack-survival-guide.jpg?w=710&h=505)

     คู่มือการเอาตัวรอดจากสงครามนิวเคลียร์ในปี 1955 ต้องมีภาพครอบครัวสุขสันต์ประกอบด้วยไม่อย่างนั้นไม่ใช่ American Dream ของจริง


     (https://envisioningtheamericandream.files.wordpress.com/2013/04/duck-n-cover-bert-2-swscan09679-copy-2.jpg)

     ส่วนภาพนี้คือ Duck and Cover การเตือนภัยครั้งแรกสุดตั้งแต่ปี 1951 ในภาพเน้นไปยังเรื่องเรื่องการหา Shelter หรือสถานที่หลบภัย


   ผมขอตัดบทฝั่งอเมริกาไว้เท่านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยววันหลังจะมาต่ออีกฝั่งหนึ่งบ้าง




กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 19, 14:06
  พูดถึงภัยจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ทำให้นึกได้ถึงเรื่องที่อ่านมาหลายปีแล้ว   ว่าดาราฮอลลีวู้ดและคนทำงานหลังกล้องจำนวนมากสังเวยชีวิตให้ภัยจากรังสีนิวเคลียร์ที่ทดลองกันนี่ละค่ะ
   ครั้งหนึ่งกองถ่ายทำยกกันไปถ่ายหนังเรื่อง The Conqueror  ในเมือง  St. George, รัฐ Utah  ซึ่งไม่ไกลจากที่นั่นนักกำลังทดลองอาวุธนิวเคลียร์อยู่   รังสีแผ่มาถึงบริเวณที่ถ่ายทำโดยคนในนั้นไม่ตระหนักถึงพิษภัย    เพราะมันไม่ได้แสดงผลปุบปับเหมือนเชื้อหวัดหรือท้องเสีย 
   แต่หลังจากนั้นอีกหลายปี   ดารานำอย่างจอห์น เวย์น  ซูซาน เฮย์เวิร์ด  แอกเนส มัวร์เฮด ผู้กำกับหนัง และคนทำงานอีก 91 คนจากทั้งหมด 220 คน ป่วยเป็นมะเร็งกันหมด   มีอยู่ 46 คนเสียชีวิตจากมะเร็ง


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 09 ธ.ค. 19, 14:04
        วันนี้เรามาต่อที่ตัวละครอีกฝั่งหนึ่งบ้างนะครับ อย่างที่คุณหมอ SILA ได้บอกไปว่ายุโรปตะวันตกมีการจัดตั้งองค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือขึ้นมา ส่วนยุโรปตะวันออกมีการจัดตั้งกติกาสัญญาวอซอร์ขึ้นมาเช่นกัน ทั้งสองฝ่ายต่างสั่งสมกำลังทางทหารเพื่อเตรียมรับมือฝ่ายตรงข้าม เพียงแต่มีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันสักเล็กน้อย ซึ่งผมขออกตัวล้อฟรีตั้งแต่บรรทัดนี้เลยนะครับว่า ที่เขียนทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ

   นาโต้มีสมาชิกสำคัญๆ ด้วยกัน 3 ชาติ คืออเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ในยามปรกติหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือผลประโยชน์เรื่องโน้นเรื่องนี้ 3 ประเทศนี้มักตบตีกันเองออกสื่อบ่อยครั้งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ครั้นพอถึงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานเข้าจริงๆ เมื่อต้องทำการรบ 3 ประเทศนี้จะเกาะกลุ่มกันเองอย่างเหนียวแน่น อาจจะรบไปด้วยตีกันเองไปด้วยหรือเล่นการเมืองไปด้วย แต่ไม่มีชาติไหนขอถอนตัวหรือย้ายฝั่งอย่างแน่นอน มีผู้พยายามทำให้ 3 ชาตินี้แตกแยกกันบ่อยครั้งมาก วอซอร์พยายามทำจนตัวเองพังไปก่อนก็แล้ว โซเวียตพยายามทำจนตัวเองพังบ้างก็แล้ว กระทั่งปัจจุบันรัสเซียพยายามทำจนตัวเองย่ำแย่กว่าเดิมก็แล้ว แต่เรื่องการทหารอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ยังคงเกาะกันแน่นมาก เพราะทุกชาติรู้ดีว่าตนเองต้องพึ่งพาอีก 2 ชาติในการทำสงคราม

   ยกตัวอย่างในสงครามฟอคแลนด์ปี 1982 อังกฤษซึ่งไม่มีความพร้อมเรื่องการทหารต้องรบเดี่ยวกับอาเจนติน่าซึ่งไม่มีความพร้อมเรื่องการทหารมากยิ่งกว่า อเมริกาให้ความช่วยเหลือแบบทุ่มสุดตัว โดยการจัดหาจรวดอากาศ-สู่-อากาศใหม่เอี่ยมมาให้ถึงกราบเรือ ใหม่ชนิดนักบินตัวเองยังไม่เคยเห็นของจริงด้วยซ้ำ จากปรกติเวลายิงจรวดต้องบินไปจ่อท้ายเครื่องบินข้าศึกก่อน รอให้หัวจรวดตรวจจับความร้อนได้ถึงกดปุ่มยิงออกไป แต่จรวดรุ่นใหม่ตรวจจับความร้อนจากด้านหน้าได้เลย เครื่องบินอังกฤษจึงยิงเครื่องบินอาเจนติน่าตกเป็นว่าเล่น อเมริกายังให้ข้อมูลทั้งหมดที่ตัวเองมีเกี่ยวกับกำลังทางทหารของอาเจนตินา ทั้งจากดาวเทียมและการรวบรวมข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ลับมาส่งมอบให้ ระหว่างรบก็ยังแอบส่งให้เงียบๆ จนกระทั่งสงครามสงบ ยังไม่ทันปะทะกันสักกระบวนท่าอังกฤษมีแต้มต่อแล้ว

   ขณะที่ฝรั่งเศสไม่ได้ช่วยเหลือออกนอกหน้าก็จริง แต่คุณพี่ยกเลิกการส่งอาวุธทั้งหมดให้อาเจนติน่าทันที รวมทั้งไม่ส่งเจ้าหน้าเข้าไปช่วยเหลือเรื่องการใช้งานอาวุธใหม่ อาเจนติน่าต้องหาทางติดจรวดเอ็กโซเซ่ต์บนเครื่องบินตัวเองด้วยตัวเอง เขาก็ทำได้ดีแหละครับแม้จะไม่ดีที่สุดก็ตาม จรวดที่ได้มาก่อนจำนวน 5 นัดยิงเข้าเป้า 2 นัด ทำให้เรือรบกับเรือช่วยรบอังกฤษจมไป 2 ลำ เพียงแต่เป้าหมายสำคัญคือเรือบรรทุกเครื่องบินยังรอดตัว

   ครั้นพอฝรั่งเศสใช้กำลังทหารเข้ามาทำอะไรก็ตามในทวีปแอฟริกา อเมริกากับอังกฤษแกล้งทำเป็นหูหนวกตาบอด สงครามอ่าวทั้ง 2 ครั้งอังกฤษตามหลังอเมริกาแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ แม้กระทั่งสงครามถล่ม ISIS ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่นำเครื่องบินไปถล่ม ก่อนอเมริกากับสมาชิกนาโต้บางส่วนตามมาในภายหลัง ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่มีมติอะไรออกมาจากใครทั้งสิ้น 3 ประเทศนี้จะสามัคคีกันภายในและตบตีกันออกสื่อเพื่อลวงโลกเสมอ

   แต่การที่นาโต้มีประเทศใหญ่ 3 ประเทศก็มีปัญหา เพราะทุกประเทศพัฒนาอาวุธของตัวเองขึ้นมาใช้งาน ทำให้มีถึง 3 มาตรฐานไม่รู้จะเอาอย่างไรดี นอกจากนี้ในภายหลังทั้งอิตาลี เนเธอร์แลนด์ รวมทั้งเยอรมัน สามารถพัฒนาอาวุธของตัวเองขึ้นมาได้เช่นกัน คราวนี้แหละวุ่นวายขายปลาช่อนไปหมด รถถังจากประเทศนี้ใช้กระสุนจากประเทศนี้ไม่ได้ เครื่องบินประเทศนี้ใช้น้ำมันเครื่องประเทศนี้ไม่ได้ เรือรบจากประเทศนี้ใช้ตอร์ปิโดประเทศนี้ไม่ได้ เวลารบจริงการส่งกำลังบำรุงจะเป็นปัญหาสำคัญ เหมือนที่เคยเจอมาก่อนในสงครามโลกทั้งสองครั้ง

   มันวุ่นวายมากจนต้องกำหนดมาตรฐานนาโต้ขึ้นมา มีการพัฒนาอาวุธร่วมกันแล้วให้สมาชิกใช้งานร่วมกัน ช่วงแรกอาจลำบากหน่อยแต่ถึงตอนนี้เป็นรูปเป็นร่างมากแล้ว อาวุธส่วนใหญ่จะมีให้เลือก 2 แบบบ้าง 3 แบบบ้างไม่มากกว่านี้ อเมริกาไม่มีปัญหาเลยเพราะตัวเองเป็นคนกำหนดมาตรฐาน อังกฤษมีปัญหาบ้างเพราะแนวทางการใช้งานอาวุธแตกต่างกัน ส่วนฝรั่งเศสชาตินี้อินดี้มาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ยังคงผลิตอาวุธของตัวเองออกมาใช้งานเหมือนเดิม เพียงแต่ยอมรับอาวุธมาตรฐานนาโต้มากกว่าเดิม ชาตินี้เป็นอะไรที่...มีเรื่องเล็กน้อยก็โวยวาย มีเรื่องนิดหน่อยก็ประท้วง เอะอะชอบขู่ว่าจะไปแล้วนะไม่อยู่แล้วนะ แต่ก็อยู่ด้วยกันแบบนี้แหละไม่ไปไหนหรอก ฝรั่งเศสไม่มีทางย้ายค่ายแน่นอน และเป็นชาติแรกที่พร้อมเข้าปะทะรัสเซียแบบเต็มตัว


     (https://qph.fs.quoracdn.net/main-qimg-bcac2e15a99ce3f2e44919ca393684f2-c)

     เครื่องบินซีแฮริเออร์กองทัพเรืออังกฤษกับจรวดต่อสู้อากาศยาน  AIM-9L Sidewinders ที่อเมริกามอบให้ใช้งาน เครื่องบินรุ่นนี้คือพระเอกในสงครามฟอคแลนด์ที่แท้จริง สามารถยิงเครื่องบินอาเจนติน่าตกมากถึง 20 ลำด้วยกัน โดยเป็นผลงานจรวดรุ่นใหม่อเมริกาถึง 16 ลำ นี่คือความสัมพันธ์ที่ไม่มีทางตัดกันขาดระหว่าง 3 ชาติฝั่งนาโต้




กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 09 ธ.ค. 19, 14:19
        น้ำท่วมทุ่งเรื่องนาโต้ไปแล้วย้ายมาฝั่งวอซอร์บ้าง (ให้เวลาดื่มน้ำกินอาหารว่าง 10 นาทีเพราะมันยาว) ทางนี้ไม่มีปัญหาเรื่องมาตรฐานเพราะ 'โซเวียตทำทุกชาติใช้' อาวุธหลายชนิดอาจมีผลิตในโปแลนด์ ยูโกสลาเวีย ฮังการี หรือเยอรมันตะวันออก แต่เป็นการนำพิมพ์เขียวโซเวียตไปทำโดยอาจปรับปรุงเล็กน้อย และเนื่องมาจากระบอบการปกครองที่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ทำให้นโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการทหารเดินหน้าไปอย่างสะดวกโยธิน นำมาบวกกับแรงงานซึ่งแทบไม่มีต้นทุนเหมือนตะวันตก ทำให้การพัฒนาและสร้างอาวุธเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว

   ภาพของวอซอร์ระหว่างสงครามเย็นที่ทุกคนเห็นก็คือ กองทัพรถถังมองเห็นสุดลูกหูลูกตาจะไหลออกมาเป็นด่านแรก ตามติดมาด้วยกองทัพทหารจำนวนมากมายละลานตา มีจรวดต่อสู้อากาศยานนับไม่ถ้วนคอยป้องกันภัยจากฟากฟ้า มีปืนใหญ่ยิงใส่ฝ่ายตรงข้ามชนิดวินาทีต่อวินาที มียานหุ้มเกาะลำเลียงทหารต่อแถวยาวเป็นกิโลเมตร อาวุธที่กล่าวมานาโต้มีน้อยกว่าหลายเท่าตัว ถ้าต้องรบกันจริงๆ ผมต่อวอซอร์ลูกควบลูกครึ่งรับไม่อั้น

   การรบในสงความเย็นรถถังหลักคืออาวุธสำคัญที่สุด ปี 1982 นาโต้มีรถถัง 13,000 คัน (ขนาดอเมริกาขนทหารและอาวุธตัวเองไปกองแหมะในเยอรมันตะวันตกเต็มที่แล้ว) ส่วนวอซอร์มีมากถึง 42,500 คัน ปืนใหญ่และปืนครกก็มีมากกว่าคือ 10,750 กระบอกกับ 31,500 กระบอก อาวุธ 2 ชนิดนี้คือตัวตัดสินแพ้ชนะการรบทางบก แต่การรบทางอากาศมีก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ปี 1982 นาโต้มีเครื่องบินรบ 2,975 ลำในยุโรป ส่วนวอซอร์มี 7,240 ลำ เครื่องบินอเมริกาอาจทันสมัยกว่าก็จริง แต่ยิงจนเหนื่อยก็ยังจัดการอีกฝ่ายไม่หมดอยู่ดี ครั้นจะใช้จรวดต่อสู้อากาศยานเข้าจัดการ ปรากฎว่านาโต้มีไม่ถึง 5,000 นัด แต่วอซอร์มี 12,000-14,000 นัด คุณพระคุณเจ้า!

   การรบทางบกกับทางอากาศนาโต้เป็นรอง แต่พอย้ายลงทะเลคราวนี้เป็นฝ่ายได้เปรียบทั้งปริมาณและคุณภาพ เพราะตัวเองมีเรือบรรทุกเครื่องบินถึง 7-9 ลำส่วนอีกฝ่ายมีแค่เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ความน่ากลัวของวอซอร์ (จริงๆ โซเวียต) คือมีเรือดำน้ำมากกว่าอีกฝ่าย นาโต้ต้องเสียเงินก้อนโตพัฒนาระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ ในการรบจริงนาโต้จะครองน่านฟ้ากับพื้นที่ทะเลส่วนใหญ่ ส่งเครื่องบินเข้าไปถล่มบนแผ่นดินแม่ได้สบายๆ ก็จริง แต่ต้องคอยเสียวสันหลังจากเรือดำน้ำเหมือนกับที่เยอรมันทำในสงครามโลกทั้งสองครั้ง

   เห็นความน่ากลัวของวอซอร์และโซเวียตกันไปแล้ว มาเห็นความล่มสลายของพวกเขากันต่อเลย ผมให้ประเด็นสำคัญๆ ไว้ทั้งหมด 3 เรื่องประกอบไปด้วย

1.ระบอบการปกครอง
2.การปรับตัว
3.เทคโนโลยี


   เนื่องมาจากระบอบการปกครองที่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ทำให้นโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการทหารเดินหน้าไปอย่างสะดวกโยธิน และเนื่องมาจากระบอบการปกครองที่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ทำให้นโยบายต่างๆ ไม่มีใครเข้ามาตรวจสอบว่าผิดพลาดตรงไหน เมื่อผู้นำบอกให้ส่ายหางสิลูกทุกคนทำตามทันที ขณะที่ฝั่งนาโต้กว่าจะทำอะไรสักอย่างต้องตบตีกันข้ามปีบางเรื่องก็ข้าม 10 ปี เพราะฉะนั้นเมื่อผู้นำเกิดเดินหลงทางเกมจบตรงนั้นแหละ คอมมิวนิสต์ไม่มีแผนสอง ไม่มีแผนสำรอง รวมทั้งทุกคนต้องไม่มีข้อสงสัย ใครไม่ทำตามถือว่าผิดกฎพรรค

   ใครสนใจเรื่องนี้ต้องศึกษาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังสงครามเวียดนามยุติคนทั่วโลกคิดว่าไทยจะเป็นคอมมิวนิสต์ชาติถัดไป ตามทฤษฎีโดมิโนที่มีผู้เชี่ยวชาญออกมาให้ความเห็นผ่านสื่อ แต่คดีพลิกกลายเป็นว่า 8 ปีต่อมาคอมมิวนิสต์ในไทยล่มสลาย หนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นก็คือความต้องการประชาธิปไตยในระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งพอสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นจริงสมาชิกจำนวนมากหันหลังให้กับพรรค และเนื่องมาจากไม่มีประชาธิปไตยในระบอบคอมมิวนิสต์ ทำให้ทฤษฎีโดมิโนเกิดขึ้นจริงอีกครั้งในปี 1991 ทว่ากลายเป็นการล่มสลายระบอบคอมมิวนิสต์ เรื่องนี้โทษใครไม่ได้เลยนอกจากต้องโทษตัวเอง

   และเนื่องมาจากไม่แผนสองจึงส่งผลมายังเรื่องที่สอง ระบอบคอมมิวนิสต์ต้องพ่ายแพ้ให้กับสงครามการค้า เพราะโลกหมุนเร็วมากทุกสิ่งทุกอย่างเดินไปข้างหน้าไม่มีหยุด ทุกประเทศต้องแข่งขันกันเอง ทุกประเทศต้องแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ต้องดิ้นรนตะเกียกตะกายไขว่คว้าให้สุดกำลัง แต่ประเทศในกลุ่มวอซอร์คุ้นเคยกับการได้รับความช่วยเหลือจากพี่ใหญ่ คุ้นเคยกับการได้รับอาวุธทันสมัยจากโซเวียต ได้รับงบประมาณทางทหารจากโซเวียต ได้รับเจ้าหน้าที่มาช่วยฝึกกำลังพลจากโซเวียต ช่วงแรกๆ มันก็ยังดีอยู่เพราะโซเวียตกุมความได้เปรียบประเทศต่างๆ  ครั้นพอเวลาผ่านไปประเทศอื่นฟื้นตัวจากสงครามโลกได้แล้ว แต่โซเวียตยังติดอยู่ในกับดักตัวเองหนีไปทางไหนไม่พ้น เมื่อปรับตัวไม่ได้เงินในกระเป๋าย่อมร่อยหลอลงจากนโยบายแจกฟรี เกิดปัญหาขึ้นมาก็ไม่มีกุนซือผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแก้ไข ฉะนั้นแล้วถึงนาโต้ไม่ต้องทำอะไรเลยวอซอร์ก็ล่มสลายอยู่ดี

     (https://flashbak.com/wp-content/uploads/2014/11/PA-7608487-804x1024.jpg)

     การเผชิญหน้ากันระหว่างรถถัง 2 ฝ่ายที่จุดตรวจชาลีในกรุงเบอร์ลินในปี 1961 ไม่ว่าจะมีการปะทะกันที่ซีกใดซีกหนึ่งของโลกนี้ก็ตาม กรุงเบอร์ลินจะเกิดสงครามรถถังกลางเมืองตามติดมาในระยะเวลาอันสั้น ภาพยนตร์เรื่อง bridge of spies จำลองสถานที่จากช่วงเวลานี้เช่นกัน คืนพรุ่งนี้ขอกลับไปดูอีกรอบก่อนครับเพื่อความมั่นใจ



กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 09 ธ.ค. 19, 14:36
      มาถึงเรื่องสุดท้ายคือเทคโนโลยี โดยทั่วไปการผลิตอาวุธค่ายนาโต้จะต้องทำตามมาตรฐาน มีการค้นคว้าวิจัยพัฒนาต้นแบบ มีการผลิตต้นแบบขึ้นมาเพื่อทดสอบใช้งานจริง รวมทั้งมีการแข่งขันเพื่อคัดเลือกอาวุธที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด ทำให้อาวุธเทพจำนวนมากไม่ได้เกิดขึ้นเพราะปัจจัยหลายอย่าง ขณะที่ฝั่งวอซอร์นำทีมโดยโซเวียตประเทศเดียว มีการค้นคว้าวิจัยพัฒนาต้นแบบขึ้นมา มีการผลิตต้นแบบเพื่อทดสอบใช้งานจริง รวมทั้งมีการแข่งขันเพื่อคัดเลือกอาวุธที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดเช่นกัน แต่...ทุกอย่างเป็นแค่เพียงภาพลวงตา

   อาวุธจำนวนมากใช้เวลาค้นคว้าวิจัยพัฒนาต้นแบบน้อยกว่ากำหนด อาวุธจำนวนมากมีการผลิตต้นแบบขึ้นมาเพื่อทดสอบจริงน้อยกว่ากำหนด รวมทั้งอาวุธจำนวนมากไม่มีการแข่งขันกับใครทั้งสิ้น พัฒนาสำเร็จเริ่มใช้งานจริงตั้งแต่เดือนถัดไปเลย ถ้าไม่ดีจริงก็ปลดประจำการง่ายๆ แค่นี้เอง เพราะนโยบายของท่านผู้นำและพรรคการเมืองกำหนดไว้ว่า ต้องการให้มีอาวุธจำนวนมากกว่าและร้ายแรงกว่าฝ่ายตรงข้าม อาวุธโซเวียตทั้งหมดจึงเน้นเรื่องประสิทธิภาพเป็นหลัก มีจุดอ่อนจุดด้อยจำนวนมากซึ่งพวกเขาไม่คิดสนใจ สะสมมาเรื่อยๆ ก่อนเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ในภายหลัง


     (http://i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/01853/20110319-man-rpg_1853250i.jpg)

   ดูภาพประกอบกันบ้างนะครับ นี่คืออาวุธสำคัญที่สุดของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย ปืนเล็กยาวจู่โจมขนาด 7.62 มม.หรือทุกคนจักกันดีว่า 'อาก้า' กับเครื่องยิงจรวดขนาด 40 มม. รุ่น เบ41 หรือทุกคนจักกันดีว่า 'จรวดอาร์พีจี' ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนยุทธวิธีการรบของทหารป่าตั้งแต่ปลาย 2512 อาวุธทั้ง 2 ชนิดประกอบด้วยอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น สามารถถอดและประกอบได้อย่างง่ายดาย วิธีใช้งานไม่ยุ่งยาก ประสิทธิภาพสูง ดูแลซ่อมบำรุงไม่มีความซับซ้อน ได้รับความนิยมสูงจนถึงปัจจุบันก็ยังใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่พอนำแนวคิดนี้ไปใช้กับอาวุธอื่นกลับตรงกันข้าม

   อย่างที่รู้ว่าโซเวียตผลิตรถถังออกมาจำนวนมหาศาล รถถังรุ่นใหม่ดิดปืนใหญ่กระบอกโตกว่าฝั่งนาโต้ อำนาจการทำลายล้างจึงสูงกว่าไปด้วย แต่โซเวียตแทบไม่ได้ให้ความสำคัญด้านอื่น ระบบควบคุมการยิงค่อนข้างล้าสมัย ยิงได้ไม่แม่นเท่ารถถังจากฝั่งนาโต้ ระบบป้องกันตนเองก็มีอย่างจำกัดจำเขี่ย ระบบความปลอดภัยของตัวรถไม่ต้องพูดถึง ยิงโดนตรงไหนมีความพร้อมที่จะเกิดไฟไหม้ได้ทุกจุด เครื่องยนต์และระบบไฟฟ้ามีอายุการใช้งานต่ำ รวมทั้งเรื่องการซ่อมบำรุงทำได้ยากมาก สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หาได้ยากเต็มที

   เครื่องบินรบจากโซเวียตก็เช่นกัน ถูกออกแบบให้ใช้เครื่องยนต์สมรรถนะสูง บินไต่ระดับได้เร็วมาก บินสูงจากพื้นดินมากกว่าเครื่องบินฝ่ายตรงข้าม ทำความเร็วสูงสุดมากกว่าอย่างเหนือชั้น สามารถผลิตออกมาได้ปริมาณมากในระยะเวลาค่อนข้างสั้น ทำให้ค่ายนาโต้ตกใจตาลีตาเหลือกทุกประเทศ พยายามพัฒนาเครื่องบินขึ้นมาสู้แต่ก็เป็นไปอย่างล่าช้า เวลาต่อมาเมื่อระบบคอมมินิสต์ล่มสลาย จึงได้ปรากฏความจริงว่าเครื่องบินไม่ได้มีเทคโนโลยีซับซ้อน นำโครงสร้างเดิมจากยุคเก่ามาปรับปรุงใหม่ เน้นเรื่องประสิทธิภาพไม่สนใจเรื่องความปลอดภัย ตัวถึงเครื่องบินส่วนใหญ่ยังทำจากเหล็ก อายุการใช้งานค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับอีกฝั่ง เครื่องยนต์เสื่อมสภาพเร็วและไม่สามารถซ่อมใหญ่ได้ ถ้าไม่เปลี่ยนเครื่องใหม่ก็ต้องจำหน่ายสถานเดียว ซึ่งเป็นแนวทางปรกติของค่ายนี้อยู่แล้ว

   ที่เป็นเช่นนี้เพราะอยู่ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน ต้องการอาวุธจำนวนมากออกมายันข้าศึกจากโลกเสรี แต่ถ้าคิดอีกมุมน่าจะเป็นแนวคิดคณะกรรมการพรรค ต้องการเขียนเสือให้วัวกลัวข่มขู่คนทั้งโลกไว้ก่อน โดยไม่ทันสนใจว่านอกจากคุณจะสร้างอาวุธขึ้นมาแล้ว คุณยังต้องเสียเงินก้อนโตในการซ่อมบำรุงดูแลรักษา เครื่องบิน 1 ลำอาจมีราคา 300 ล้านบาทก็จริง แต่ค่าดูแลให้มีความพร้อมรบ 10 ปีสูงมากกว่าราคาเครื่องบินไปแล้ว ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการขึ้นบินแต่ละครั้ง โซเวียตเน้นเครื่องยนต์กำลังสูงย่อมกินน้ำมันมากไปด้วยตามปรกติ ค่าใช้จ่ายพวกนี้เป็นเงินก้อนโตมากในแต่ละปี ซึ่งถ้าไม่มีจะทำให้ความพร้อมรบต่ำลงอย่างชัดเจน

   แผนการรบของวอซอร์หลังปี 1980 เป็นต้นไป คือการบุกเข้าโจมตีแบบฟ้าผ่าและยึดพื้นที่ภายใน 48-72 ชั่วโมง เพราะอาวุธของตัวเองมีความพร้อมรบค่อนข้างต่ำ ทำการรบยืดเยื้อเกินไปตัวเองจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ การส่งกำลังบำรุงต่างๆ ยิ่งลำบากไปกันใหญ่ อาวุธทันสมัยมีมากเกินไปแต่ไม่มีเงินดูแลรักษา เมื่อโซเวียตล่มสลายลงจึงเกิดกรณีลักลอบขโมยอาวุธร้ายแรงไปขาย ไม่มีใครรู้หรอกครับว่ามากน้อยสักแค่ไหน เพราะก่อนหน้านี้มีอาวุธถูกแทงจำหน่ายในแต่ละปีเยอะอยู่แล้ว

   เรื่องความปลอดภัยของอาวุธโซเวียตขอพูดถึงสักเล็กน้อย เรือดำน้ำทุกลำต้องดำอยู่ใต้น้ำใช่ไหมครับ และเรือดำน้ำทุกลำมีโอกาสเจอปัญหาใหญ่ระหว่างดำ ทำให้บางครั้งต้องสละเรือหนีเอาตัวรอดขึ้นมาด้านบน เรือดำน้ำส่วนใหญ่มีช่องหนีภัยฉุกเฉิน สามารถเปิดปิดประตูความดันสูงจากด้านนอกเรือได้ วิธีการหลบหนีคือจะมียานกุู้ภัยมาช่วย ทุกคนขึ้นมาจากช่องฉุกเฉินต่อตรงกันยานกู้ภัย ปิดประตูจากด้านนอกแล้วกลับขึ้นผิวน้ำแบบสบายๆ
   
      วิธีการที่สองในกรณีไม่มีความช่วยเหลือ ลูกเรือสวมชุดป้องกันแล้วทยอยออกมาจากช่องฉุกเฉิน จากนั้นค่อยๆ ลอยตัวขึ้นผิวน้ำพร้อมปล่อยแพยางชูชีพ สมาชิกมากันครบค่อยหาวิธีติดต่อในภายหลัง แต่เรือดำน้ำรัสเซียส่วนใหญ่จนถึงปัจจุบัน ใช้วิธีสวมชุดหนีออกมาจากท่อตอร์ปิโด โดยต้องมีหนึ่งคนปิดช่องตอร์ปิโดจากภายในเรือ

   หมายความว่าอย่างไร? มีผู้เสียสละ 1 คนอย่างนั้นใช่ไหม? คำตอบคือไม่ใช่ครับ คนที่ออกไปจากช่องตอร์ปิโดมีหน้าที่แก้ปัญหาให้ได้ ถ้าแก้ไม่ได้จะทำอย่างไรต่อเป็นผมก็ตัดสินใจไม่ได้เหมือนกัน หลังสงครามโลกเรือดำน้ำของโซเวียตประสบอุบัติเหตุจมทะเล 5 ครั้ง มีเพียงครั้งเดียวที่ลูกเรือครึ่งหนึ่งถูกช่วยเหลือออกมาได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากคำสั่งรองกัปตันให้สละเรือ ในจำนวน 5 ลำเป็นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ 3 ลำ และเมื่อไม่นานมานี้เรือดำน้ำขนาดเล็ก 1 ลำเพิ่งไฟไหม้ลูกเรือตายหมด ยังไม่มีการเผยแพร่ผลการสอบสวนแต่อย่างใด



กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 09 ธ.ค. 19, 14:47
   จะเห็นได้ว่าอาวุธทันสมัยของโซเวียตทุกชนิด ถูกผลิตด้วยมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์และระเบิดนิวเคลียร์ ความน่ากลัวอยู่ตรงที่มาตรฐานโซเวียตนี่แหละครับ มาเจาะลึกกันต่อสักนิดดีกว่า

   จรวดต่อสู้อากาศยานส่วนใหญ่นำวิถีด้วยเรดาร์ หมายความมีเรดาร์อยู่บนพื้นดินทำหน้าที่ส่องเป้าหมายบนอากาศ ลูกจรวดจะวิ่งไปตามคลื่นเรดาร์กระทั่งกระทบเป้าหมายหรือเชื้อเพลิงหมด เพราะฉะนั้นเรดาร์ควบคุมการยิงค่อนข้างสำคัญไม่แพ้จรวด ค่ายนาโต้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้จรวดมีความแม่นยำตามมาตรฐาน และมีราคาแพงตามมาตรฐานตามไปด้วย แต่จรวดต่อสู้อากาศยานโซเวียตมีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เรดาร์ควบคุมการยิงไม่ได้ทันสมัยสักเท่าไหร่ จรวดเองก็ไม่คล่องตัวการเลี้ยวระยะประชิดทำได้ไม่ดี

   วิธีการแก้ไขคือขยายขนาดจรวดใหญ่กว่าเดิม ใส่หัวรบลงไปมากกว่าเดิม ใส่เครื่องยนต์แรงกว่าเดิม ความเร็วสูงกว่าเดิม ระยะยิงสูงกว่าเดิม ใช้วิธียิงใส่ตรงๆ ด้วยปริมาณมากกว่าโดยหวังว่าจะโดนเข้าสักนัด สมัยสงครามเวียตนามมีปัญหาว่าตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ไม่ได้ เพราะอเมริกาใช้สงครามอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เรดาร์ใช้งานไม่ได้ จึงแก้เกมด้วยการยิงจรวดไปดักหน้าตามทิศทางที่คาดว่าเครื่องบินน่าจะบินผ่าน นักบินไม่คิดว่าจะเจอไม้นี้ร่วงไปหลายสิบลำถึงจะแก้เกมได้ สรุปความได้ง่ายๆ ว่าจรวดโซเวียตแม่นยำสู้อีกฝั่งไม่ได้

   ทีนี้เมื่อโซเวียตพัฒนาขีปนาวุธระยะกลางหรือระยะไกลติดหัวรบนิวเคลียร์ ความแม่นยำก็ไม่ได้ต่างไปจากจรวดต่อสู้อากาศยาน สมมุติว่าขีปนาวุธอเมริกาเล็งเป้าหมายเดอะมอลล์บางกะปิจากระยะ 2,000 ไมล์ อาจบินไปตกเดอะมอลล์รามคำแหงได้อันนี้ถือว่าผิดพลาดไม่มาก แต่ขีปนาวุธโซเวียตเล็งเป้าหมายเดอะมอลล์บางกะปิ อาจบินไปตกเดอะมอลงามวงษ์วานได้อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือประสิทธิภาพหัวรบนิวเคลียร์ บางครั้งอาจไม่ทำงาน บางครั้งอาจมีประสิทธิภาพครึ่งเดียว และบางครั้งอาจมีประสิทธิภาพสองเท่าตัว บางครั้งที่ว่ามาทั้งหมดถือเป็นเรื่องปรกติมาตรฐานโซเวียต รวมทั้งเรื่องการดูแลรักษาที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง

   สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าหัวรบนิวเคลียร์ก็คือ...การแพร่กระจายของรังสี จะเห็นได้ว่าช่วงแรกอเมริกายังไร้เดียงสาโดยไม่ตั้งใจ มีผู้คนล้มตายจำนวนมากเพราะไม่มีการป้องกัน แต่โซเวียตนั้นไร้เดียงโดยความตั้งใจ แกไม่สนใจว่ารังสีจะแพร่กระจายมากน้อยแค่ไหน เรื่องการป้องกันยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงใหญ่ อาทิเช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลซึ่งเกิดระเบิดในปี1986 จนถึงปัจจุบันเมืองนี้ยังไม่ปลอดภัยจากรังสีตกค้าง ว่ากันว่าต้องใช้เวลาถึง 300 ปีถึงจะจัดการหมด

   เพราะฉะนั้นพอจะกล่าวได้ว่า ระเบิดนิวเคลียร์โซเวียตน่ากลัวที่สุดในสามโลก ที่มันน่ากลัวเพราะผู้ผลิตนี่แหละครับ ผมปูเรื่องค่อนข้างยาวรวมทั้งกล่าวถึงจุดจบโซเวียตและวอซอร์ไปบางส่วน ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลังอันตรายนิวเคลียร์มากกว่าเดิม ไม่ได้ต้องการสปอยเนื้อเรื่องแต่อย่างใด เรื่องการล่มสลายนี่แยกออกมาเขียนต่างหากได้อีกเยอะเลย  มีเรื่องราวตามมาหลังจากนั้นอีกค่อนข้างมาก

   

     (https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bb/US_and_USSR_nuclear_stockpiles.svg/640px-US_and_USSR_nuclear_stockpiles.svg.png)

    ภาพนี้แสดงจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ระหว่างอเมริกากับโซเวียตหรือรัสเซียหลังปี 1991 นับรวมทั้งหมดไม่ว่าลูกเล็กลูกใหญ่ (ขีปนาวุธ 1 ลูกอาจมีหลายหัวรบ) สังเกตที่ปี 1962 อเมริกามีมากกว่าแบบทิ้งห่างอย่างเหนือชั้น แต่พอถึงปี 1980 โซเวียตเริ่มแซงหน้าและหนีไปไกลลิบ จนกระทั่งมีการทำข้อตกลงลดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ลงทั้งสองฝ่าย ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงล่มสลายของโซเวียตในเวลาต่อมา สถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก



วันนี้มีแต่ตัวอักษรละลานตาไปหมด ครั้งถัดไปผมขอเปลี่ยนมาเป็นสายบันเทิงบ้างดีกว่า  ;)


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ธ.ค. 19, 14:56
ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องนิวเคลียร์ นอกจากว่ามันเป็นชื่อระเบิดที่ว่ากันว่าแรงพอจะถล่มโลกได้ ทดลองกันแล้วทดลองกันอีกในบรรดาประเทศมหาอำนาจ  ส่วนคนไทยนั้นก็เฉยๆ  รู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว
ตอนเด็กๆได้ยินคำว่า อะตอมมิคบอมบ์ ที่แปลว่าระเบิดปรมาณู   ต่อมาสองคำนี้หายไปมีแต่คำว่านิวเคลียร์  ส่วนคำว่าปรมาณูยังใช้กันอยู่ แต่น้อยมาก   ไม่เคยชินหูคน generation X Y Z
ที่เหลือเป็นหน้าเป็นตาอยู่ก็คือหน่วยงานแห่งนี้      เดาว่าชาวเรือนไทยจำนวนมากอาจไม่รู้ว่ามีหน่วยงานนี้อยู่ในกรุงเทพ     และยากกว่านั้นคือไม่รู้ว่าหน่วยงานนี้ทำหน้าที่อะไร


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 11 ธ.ค. 19, 10:55
ตอนเรียนจบใหม่ๆ ผมไปสัมภาษณ์งานที่นั่นด้วยนะครับ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเนี่ย แต่ไม่ได้

ภายหลังรับราชการแล้ว ก็ไม่มีโอกาสไปประชุมร่วมกับเขาอีก 2-3 ครั้ง ทำให้ทราบว่า เตาปฏิกรณ์ของเขาขนาดเล็กมากครับ อย่าเรียกว่าเตาเลยจะดีกว่า มันพอๆกับแบทเตอรี่รถยนต์เท่านั้นเอง แต่ก็แน่นอนแหละครับว่า ภายในคือสารกัมมันตรังสี ซึ่งคำๆนี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้คน จะเล็กจะใหญ่แค่ไหนก็กลัวกันไว้ก่อนแล้ว เมื่อไวๆนี้ จึงมีปัญหาว่า ชาวจังหวัดนครนายก ไม่ค่อยสบายใจเมื่อทราบว่า จะมีการสร้างสถานที่วิจัยเกี่ยวกับกัมมันตรังสีที่นั่น

เมื่อปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมงานของผู้ปฏิบัติงานด้านชีวะเคมีรังสีนิวเคลียร์ (ชครน.) ของกองทัพไทย ทำให้ทราบว่า สิ่งที่เป็นสารกัมมันตรังสีนั้น ปัจจุบันมีอยู่ในอุปกรณ์หลายหลายชนิด เอาง่ายๆคือ ที่ใดมีเครื่องเอ็กซ์เรย์ ที่นั่นก็ย่อมมีสารกัมมันตรังสี ดังนั้น ทุกโรงพยาบาล สนามบิน ด่านศุลกากร ไปยังรัฐสภา ล้วนมีเสี้ยวหนึ่งของ "นิวเคลียร์" ตั้งอยูู่ทั้งสิ้นแหละครับ


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ธ.ค. 19, 11:02
แปลว่าเครื่องนี้ก็มี "นิวเคลียร์ "อยู่ด้วยงั้นหรือคะ? :o :o :o


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 11 ธ.ค. 19, 16:24
จริงๆ ต้องพูดว่า มีสารกัมมันตรังสี อยู่ครับ
การมีเครื่องมืออย่างนี้ การนำเข้า การจัดเก็บ การบำรุงรักษา การทำลาย ตลอดจนคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ที่สามารถปฏิบัติงาน หรือซ่อมบำรุงกับเครื่องมือเหล่านี้ต้องมีมาตรฐานควบคุมทั้งสิ้นครับ

นอกจากนี้ การปฏิบัติงานกับเครื่องมือเหล่านี้ ยังต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย เพราะแม้ว่าสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่จะเป็นปริมาณเล็กน้อย แต่ถ้าทำงานกับเครื่องมือเหล่านี้ยาวนาน ผู้ปฏิบัติงานก็อาจได้รับผลกระทบสะสมได้ ผมเคยไปเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สนามบิน ในส่วนของห้องตรวจสัมภาระ พวกเขาจะมีเครื่องมือตรวจวัดปริมาณรังสีติดตัวเป็นรายบุคคลเลยครับ เครื่องมือนี้จะถูกส่งไปตรวจวัดเป็นวงรอบ ผมไม่แน่ใจว่าทุกๆ เดือน หรือทุกๆ ไตรมาส ถ้าผลออกมาว่า ปริมาณรังสีที่ได้รับเกินกว่าค่าที่กำหนด เจ้าหน้าที่ท่านนั้น ต้องย้ายออกไปทำงานที่อื่นครับ     


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ธ.ค. 19, 20:43
ก่อนหน้าชัย ราชวัตร  เรามีนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองฝีมือเลิศ ชื่อ ประยูร จรรยาวงษ์   ผู้ซึ่งได้รางวัลแมกไซไซสาขาวารสารศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ ในปี พ.ศ. 2514
ท่านได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเขียนภาพการ์ตูนของโลก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2503 จากผลงานชื่อ "การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย" (The Last Nuclear Test)


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 09:26
        วันนี้เรามาต่อเรื่องใหญ่โตในยุคสงครามเย็น นั่นคือวิกฤตขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่คิวบา มีภาพยนตร์พูดถึงเรื่องนี้หลายเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่ที่พูดถึงโดยตรงก็คือ 'Thirteen Days' เริ่มฉายในวันคริสมาตปี 2000 ดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อเดียวกันของโรเบิร์ต เคเนดี้ ซึ่งออกวางขายหลังตัวเองโดนลอบสังหาร 1 ปี (คือในปี 1969) ชื่อเรื่องมาจากระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ตั้งแต่ตรวจพบขีปนาวุธจนกระทั่งเจรจาความสำเร็จ แต่ในมุมมองของคนเขียนซึ่งร่วมเหตุการณ์ ผมไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน ไม่แน่ใจว่าแตกต่างจากภาพยนตร์มากน้อยแค่ไหน

   ภาพยนตร์ที่มาจากเรื่องจริงส่วนใหญ่รายได้ไม่ค่อยดี เพราะชีวิตจริงไม่มีเรื่องตบจูบๆ ทั้งวันแบบอาพิศาล หรือระเบิดภูเขาเผากระท่อมแบบอาฉลอง Thirteen Days ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มขายไม่ออก เนื้อเรื่องไม่สามารถครองใจผู้ที่ต้องการเสพความสุข เนื้อหาส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นต์วนเวียนอยู่ที่ทำเนียบขาวกับเพนตากอน สายพิราบคือประธานาธิบดี น้องชาย เลขาธิการ และรัฐมนตรีไม่กี่คน ส่วนสายเหยี่ยวคือนายทหารสามดาวสี่ดาว ผู้เชี่ยวชาญการทหาร รัฐมนตรีที่พลิกลิ้นไปมา รวมทั้งนักข่าวโผล่มาสร้างสีสันเล็กน้อย

   แทบไม่มีบทบาทของโซเวียตเลย เพราะหนังสือเผยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังเหตุการณ์ฝ่ายอเมริกา แต่ฝ่ายพระเอกไม่ได้เก่งเป็นซูเปอร์ฮีโร่ ฝ่ายตัวโกงก็ไม่ได้โคตรโกงอะไรมากมาย ผู้กำกับสร้างตัวละครสำหรับเดินเรื่องขึ้นมาชื่อ Kenneth O'Donnell ตำแหน่งเลขาธิการประธานาธิบดี ซึ่งในความจริงแทบไม่มีบทบาทในการแก้ปัญหา แต่ในเรื่องทั้งเก๋าทั้งเจ๋งและเป็นตัวป่วนตัวใหญ่ ขนาดกล้าจ้องตากับท่านนายพลสี่ดาวกันเลยทีเดียว

        (https://i.imgur.com/yHDQbk1.jpg)

   เรื่องราวเริ่มต้นกลางเดือนตุลาคม 1962 เปิดหัวด้วยเครื่องบินจารกรรมอเมริกาบินไปถ่ายบนเกาะคิวบา ก่อนตัดมายังตัวเดินเรื่องของเรารับบทโดยเควิน คอสเนอร์  กำลังกินอาหารเช้าร่วมกับครอบครัวตัวเอง ช่วงนี้เข้าสู่ปลายยุค Baby Boomer แล้ว การแต่งกายของคนอเมริกาเปลี่ยนจากปี1952 อยู่บ้าง คือมีความสบายๆ เรียบง่ายมากกว่าเดิม พ่อกับพี่ชายคนโตแต่งตัวเต็มยศหน่อย ส่วนเด็กคนอื่นซึ่งเรียนประถมดูไม่มีพิธีรีตอง ส่วนฝ่ายแม่ก็อย่างที่เห็นในภาพ ต้องเลี้ยงลูกอ่อนด้วยให้ยิ่งใหญ่อลังการคงไม่ไหว ภายในห้องครัวเหมือนกับบ้านคนอเมริกาทั่วไป ยกเว้นแแค่เพียงมีโทรศัพท์ 2 เครื่องสีแดงกับสีดำ อุปกรณ์สื่อสารที่สำคัญที่สุดในยุคนั้น

   พระเอกของเราทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ประธานาธิบดี เพราะเป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย น้องชายประธานาธิบดีแนะนำให้รู้จักเพราะอยากให้มาช่วยทำงาน เพราะฉะนั้นในภาพยนตร์อาจสับสนว่าใครใหญ่กว่ากันได้ มันต้องมีแบบนี้บ้างแหละครับไม่อย่างนั้นคนดูเบื่อแย่ ให้ผมนั่งดูอัตชีวประวัติบุคคลสำคัญนี่ไม่เอาเลยนะ ช่างเป็นอะไรที่ง่วงนอนมากเกิดหลับไปอายเขาแย่ ยิ่งถ้าเป็นภาพยนตร์โคตรอวยข้าพเจ้าทนไม่ไหวจริงๆ

       ข้อสังเกตุเล็กน้อยพระเอกมีลูก 5 คน ผิดจากสูตรชายหนึ่งหญิงหนึ่งพอสมควร คนเล็กกับคนโตห่างกันเกิน 10 ปีแน่นอน ต้องถามระดับอาจารย์ละครับว่าแนวความคิดเปลี่ยนไปตอนไหน หรือไม่ได้เปลี่ยนบังเอิญครอบครัวนี้ลูกเยอะเท่านั้นเอง


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 09:29
         
       (https://i.imgur.com/zxKSh7T.jpg)

     ปี 1950 อาจหาผู้หญิงทำงานนอกบ้านได้น้อยมาก แต่ปี 1962 ย่อมมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้หญิงเข้าฉากน้อยสุดๆ เพราะเนื้อเรื่องวนเวียนอยู่กับการประชุมระดับสุดยอด หลักๆ มีผู้ช่วยเลขาแค่ 2 คนนี้แหละครับ แต่งหน้าทำผมสวมเครื่องแบบตามยุคสมัย อุปกรณ์ประกอบฉากค่อนข้างเหมือนจริงอันนี้ผมเดาเอานะ รวมทั้งมีอุปกรณ์ซึ่งสมัยนี้หาได้ยากเต็มทน สิ่งนั้นก็คือที่เขี่ยบุหรี่กระเบื้องสีเขียวมรกต

   หมายความว่าสาวเสื้อฟ้าก็สูบบุหรี่ไม่ก็ไว้ให้คนอื่นใช้ ในเรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยฉากสูบบุหรี่ค่อนข้างเยอะมาก แม้กระทั่งห้องประชุม UN ยังควันโขมงราวกับเผาป่าอ้อย ส่วนคนที่ไม่สูบก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไรสักนิด ไม่ทราบว่าเมืองไทยยุคนั้นเป็นแบบนี้ไหม สมัยก่อนบ้านผมมีที่เขี่ยบุหรี่นะครับ ทั้งที่ปู่ผมและพ่อผมไม่เคยสูบสักมวน น้าชาย 2 คนสูบค่อนข้างหนักแต่ไม่สูบในบ้าน หลบไปหลังบ้านบ้างใต้ต้นไม้บ้าง ถ้าดื่มเหล้าด้วยนี่มวนต่อมวนไม่พักกันเลย

   จะมีอีกฉากที่มีผู้หญิงก็คือในห้องโอเปอร์เรเตอร์ ทำหน้าที่สลับสายเพราะสมัยก่อนโทรศัพท์ยังมีไม่มาก ตำแหน่งนี้ค่อนข้างสำคัญโดยเฉพาะกับองค์กรขนาดใหญ่ แน่นอนว่ามีความกดดันสูง และแน่นอนว่าสูบบุหรี่กันหมดทุกคน  ไม่ได้ออกมาตำหนิหรือโจมตีภาพยนตร์นะครับ มันเป็นวัฒนธรรมตามยุคสมัยซึ่งตอนนี้แทบไม่มีแล้วก็ดีแล้ว ส่วนอื่่นจะมีผู้หญิงเป็นนักข่าวบ้างนิดหน่อย ขนาดแจ๊กกี้ เคเนดี้ ยังโผล่มาแค่ 2 ฉากเพราะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ฉะนั้นใครอยากดูเพราะความสนุกผมแนะนำให้ผ่าน หนังค่อนข้างยาวด้วยเดี๋ยวจะมาบ่นเอาได้ในภายหลัง แต่ถ้าสนใจเรื่องวิกฤตคิวบามาเถอะครับ หรืออยากดูอเมริกาในปี 1962 ว่าเป็นอย่างไรก็พอไหว

   เดี๋ยวสายๆ บ่ายๆ มาต่ออีกทีนะครับ ขอตัวไปทำงานสักครู่ใหญ่ก่อน


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 12:50
   (https://i.imgur.com/hfESyik.jpg)

   กลับมาสู้เนื้อเรื่องกันต่อครับ ระหว่างทำงานมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงขอพบประธานธิบดีแบบเร่งด่วน จากนั้นไม่นานเลขาธิการโดนตามตัวเข้าไปในห้อง เนื่องมาจากเครื่องบินสอดแนมที่บินไปถ่ายภาพคิวบา ตรวจพบว่ากำลังมีการติดตั้งอาวุธบางอย่างบนเกาะ นำมาเปรียบเทียบพบว่าเป็นขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์ระยะกลางรุ่น SS-4 Sandal สมัยนั้นการหาข้อมูลทำได้ค่อนข้างยาก ต้องส่งคนไปถ่ายภาพในพิธีสวนสนามประจำปี แล้วนำมาประมวผลกับข้อมูลเดิมที่เก็บสะสมไว้ ถึงจะสรุปออกมาได้ว่าเป็นอาวุธอะไรร้ายแรงมากแค่ไหน

   แน่นอนว่ามีการคำนวนผิดพลาดจากจริงไปบ้าง ยุคสงครามเย็นจึงเต็มไปด้วยความหวาดกลัวจากสองฝ่าย สายเหยี่ยวมักประเมินให้ดูน่ากลัวมากๆ ไว้ก่อน ตัวเองจะได้งบประมาณเยอะๆ มาจัดหาอาวุธราคาแพง เป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและอำนาจทางทหาร ส่วนสายพิราบซึ่งไม่ค่อยมีข้อมูลในมือมักจะทักท้วง เพราะการซื้ออาวุธต้องใช้งบประมาณประจำปี จะไปเบียดเบียนงบประมาณส่วนอื่นอย่างเลี่ยงไม่ได้

   ในยุคนั้นเสียงจากฝั่งนี้ไม่ค่อยมีความสำคัญ โน่นแหละครับเมื่อสงครามอินโดจีนทวีความรุนแรงและบานปลาย อเมริกาขนระเบิดไม่รู้กี่สิบล้านตันไปถล่มเวียดนาม กัมพูชา รวมทั้งลาว (สงครามที่ไม่เคยมีตัวตน แต่ทุกวันนี้ยังเก็บกู้ระเบิดไม่หมดเสียที) รายจ่ายบานปลายกว่าเดิมส่งผลกระทบมายังรัฐบาล เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่อเมริกาต้องถอนตัวจากสมรภูมิรวมทั้งไทย ทำให้ 2 ปีต่อมาคอมมิวนิสต์เอาชนะเด็ดขาดทุกประเทศ เส้นทางขนส่งอาวุธและเส้นทางติดต่อสะดวกกว่าเดิม สงครามคอมมิวนิสต์ในไทยจึงร้อนระอุตามกันไปด้วย


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 12:54
   (https://i.imgur.com/wVjMERC.jpg)

   ขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์ระยะกลางรุ่น SS-4 Sandal มีระยะยิงประมาณ 1 พันไมล์ทะเลหรือ 1,852 กิโลเมตร ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์หรือเคมีขนาด 4 เมตริกตัน สามารถเดินทางถึงกรุงวอชิงตันภายในเวลาเพียง 5 นาที (ตามเนื้อเรื่องนะครับ) แต่ที่อยู่ใกล้สุดคือฟลอริด้าห่างจากกันแค่ 140 กิโลเมตร เท่านั้นเองทั้งรัฐบาลและกองทัพพากันนั่งไม่ติด มีการจัดประชุมใหญ่ดึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเข้าร่วม ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมก็คือขีปนาวุธมีประมาณ 32 นัด (เพิ่มเป็น 40 นัดในเวลาต่อมา) คาดว่าจะมีความพร้อมใช้งานในอีกไม่เกิน 2 อาทิตย์

   ถ้าดูจากแผนที่นี่โดนกันถ้วนหน้า เม็กซิโกปาเข้าไปครึ่งค่อนประเทศ อเมริกาโดนภาคตะวันออกโดนทั้งหมด ประเทศในอเมริกากลางอีกตั้งหลายราย ห้องประชุมทั้งเล็กและใหญ่อยู่ในทำเนียบขาวทั้งหมด เพื่อความสะดวกของประธานาธิบดีในการทำงาน ซึ่งผมว่าดีเหมือนกันไม่เสียเวลาเดินทาง คนไม่สำคัญมาสายหรือไม่มาคงไม่เป็นอะไร ให้ความสำคัญคนนั่งหัวโต๊ะซึ่งพักอาศัยอยู่ในนั้นเลย

   มีฉากดราม่าเล็กน้อยเรื่องการตัดสินใจ ฝ่ายทหารสงสัยว่าทำไมไม่มีคำสั่งวันนั้นเลย รัฐมนตรีช่วยแก้ตัวว่าประธานาธิบดีต้องการทางเลือกที่ดีที่สุด ปมขัดแย้งที่สร้างขึ้นมาให้เรื่องสนุกกว่าเดิม เรื่องจริงเป็นอย่างในภาพยนตร์ไหม? กองทัพอเมริกาเสียหน้าจากการบุกอ่าวหมูแล้วล้มเหลวเมื่อปีที่แล้ว ทหารอยากล้างแค้นอันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก ทหารอยากใช้กำลังเข้าจัดการไม่ใช่เรื่องแปลก ทหารอยากใช้อาวุธนิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มีความขัดแย้งแบบภาพยนตร์หรือมากกว่าหรือน้อยกว่า เรื่องนี้ต้องหาข้อมูลลึกกว่าเดิมถึงจะรู้แน่ชัด


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 12:59
   (https://i.imgur.com/yXIrPqQ.jpg)

    ดูโฉมหน้าสายเหยี่ยวกันบ้างครับ ที่นั่งอยู่คือผู้บัญชาการทหารอากาศ ออกตัวว่าพร้อมโจมตีภายใน 3 วันขอให้สั่งมาเถอะ ส่วนที่ยืนคือผู้บัญชาการทหารบก (ยศจริงๆ ไม่ได้ตรงตามนี้แต่เข้าใจง่ายๆ แบบไทยก็ประมาณนี้) ซึ่งมีตำแหน่งเสนาธิการของรัฐบาลด้วย ออกตัวว่าทหารบกต้องเตรียมความพร้อม 1 อาทิตย์ ฉะนั้นประธานาธิบดียังมีเวลาคิดแต่ต้องรีบตัดสินใจ ระหว่างนี้เองทหารเริ่มมีการซ้อมรบและเตรียมกำลังพล แต่ต้องทำแบบเงียบๆ ซึ่งก็ยังเข้าหูนักข่าวตัวแสบ จึงเข้ามาป่วนภายในงานเลี้ยงเพื่อหาข่าวจากวงใน

   อเมริกามีคำสั่งพร้อมรบระดับต่างๆ ตามความรุนแรง เรียกว่าเดฟคอนไล่ลงไปจนถึงเดฟคอน 1 คือการทำสงคราม ประธานาธิบดีสั่งให้เตรียมพร้อมระดับเดฟคอน 3  แต่ทหารยังแอบเปลี่ยนเป็นเดฟคอน 2 ภายหลัง โดยอ้างเรื่องกฎอัยการศึกอะไรประมาณนี้ นี่คือเรื่องการเมืองและการงัดข้อประลองกำลัง เพราะประธานาธิบดีคนนี้ไม่เป็นที่โปรดปรานจากสายเหยี่ยว รวมทั้งยุคนั้นโซเวียตและวอซอร์ถูกสร้างภาพให้เป็นปีศาจร้าย หลายคนจึงมีแนวคิดใช้ความรุนแรงเข้าจัดการปัญหา แต่ปัญหาก็คือประธานาธิบดีดันไม่เล่นตามเกม

   เนื้อเรื่องช่วงนี้เป็นการหาทางแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ง่ายที่สุดคือส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในคิวบา แต่ไม่รับประกันว่าโซเวียตจะนำขีปนาวุธมาติดตั้งใหม่ เพราะฉะนั้นนอกจากทิ้งระเบิดแล้วยังต้องรุกรานด้วย โดยการส่งทหารเข้าคิวบาจัดการฟริเดล คาสโตรหอกข้างแคร่ไปในตัว ปัญหาก็คือทหารโซเวียตจำนวนมากโดนลูกหลงแน่นอน หลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้นนี่ต่างหากคือเรื่องใหญ่ที่สุด

   ลองคิดกันดูเล่นๆ ก่อนไหมครับ ส่งเครื่องบินไปถล่มเป็นอะไรที่ง่ายและสะใจสุดๆ การส่งทหารเข้าไปยึดครองก็ไม่ได้ยากเย็น เพราะอเมริกาเปิดหน้าเต็มตัวไม่ต้องเป็นอีแอบแบบคราวก่อน

   ความเห็นส่วนตัวสิ่งที่ตามมาทันทีก็คือ เสียกรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตกอย่างแน่นอน จากนั้นเกิดสงครามเต็มรูปแบบในยุโรป กระทั่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสู้ไม่ไหวงัดนิวเคลียร์ออกมาใช้ อีกฝ่ายเห็นเข้ารีบทำตามจากนั้นก็ตูม...เกิดเป็นโกโก้ครันซ์  อเมริกาปลอดภัยเหมือนเดิมแต่ทวีปยุโรปเละเป็นโจ๊ก โดยประเทศที่เป็นสนามรบไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วย นายพลกองทัพอากาศตามท้องเรื่องบอกว่าโซเวียตจะไม่ทำอะไรเลย ประเด็นนี้แหละที่ประธานาธิบดีไม่เชื่อ เป็นผมก็ไม่เชื่อใครเชื่อก็บ้าแล้ว

   ฉากส่วนใหญ่ในภาพยนตร์ตามภาพนี้เลยครับ ออกแนวสงครามก็ไม่ใช่ ออกแนวดราม่าก็ไม่ใช่ ออกแนววีระบุรุษก็ไม่ชัดเจน ไม่น่าแปลกใจที่จะทำรายได้ไม่ดีดั่งที่ตั้งใจ



กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 14:17
    (https://i.imgur.com/ZNL8rGG.jpg)
   
   คราวนี้หันมาดูสายพิราบกันบ้าง ประธานาธิบดีหันหลังให้ อีกสองคนเป็นน้องชายกับเลขาส่วนตัว พวกเขาทั้งสามหลงเข้ามาในดินแดนมหัศจรรย์ ไม่มีใครคาดหวังพวกเขามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว บังเอิญคนที่หันหลังมีอำนาจสูงสุดในประเทศ การตัดสินใจจะชี้เป็นชี้ตายคนหลายพันล้านคนทั่วโลก เรื่องราวจึงวนเวียนอยู่กับ 3 คนนี้เป็นหลัก บางครั้งทะเลาะกันเองจนเกือบวางมวย บางครั้งผลึกกำลังกันแก้ไขปัญหา บางครั้งเป็นกำลังใจให้กันเมื่อต้องทำงานใหญ่ รวมทั้งฉากผิวปากที่ต้องบอกว่า...สาวสหภาพโซเวียตนี่สวยเด็ดขาดจริงๆ เลย

   แต่ในเนื้อเรื่องจะเน้นไปที่คนอเมริกาเป็นหลัก ตอนนี้มีภัยร้ายแรงมาจ่อถึงหน้าประตูบ้าน ประชาชน 300 ล้านคนต้องตายถ้าพวกเขามัวแต่ลังเล รวมทั้งลูกเมียของตัวเองซึ่งพักอาศัยอยู่ในวอชิงตัน เพราะเป็นครั้งแรกที่ทวีปอเมริกาต้องเจองานช้าง ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดตื่นตระหนกและหวาดกลัวกว่ายิ่งสงครามอื่น แต่ดูจนจบถือว่าน้อยไม่เยอะเลย ภาพยนตร์ยุคสงครามเย็นอีกเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ ยังมีฉากความตื่นตระหนกมากกว่านี้ด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะเนื้องเรื่องค่อนข้างยาวไม่มีช่องให้ใส่

   ในห้องพักผ่อนภาพประกอบเป็นเรือทั้งนั้น แม้กระทั่งตอนจบยังมีอะไรที่เกี่ยวกับเรือโผล่เข้ามา ไม่ทราบเหมือนกันว่าจำลองตามของจริงหรือตั้งใจทำเพิ่ม แต่ในยุคก่อนไล่เรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือมีความสำคัญที่สุดและได้งบประมาณมากที่สุด (รวมทั้งประเทศไทยด้วย) อเมริกาอยู่ห่างคนละซีกโลกกับยุโรปและเอเชีย จะทำอะไรสักอย่างต้องใช้เรือและกองทัพเรือมากที่สุด ถ้าภาพนี้จำลองจากของจริงก็ไม่น่าแปลกอะไร

   มีอยู่เรื่องผมสงสัยมานานแล้วว่า ภาพยนตร์ส่วนใหญ่มีฉากดื่มวิสกี้หรือบรั่นดีเพรียวๆ กันเป็นว่าเล่น บางเรื่องพระเอกไปเที่ยวผับสั่งมาทั้งขวด แต่ทำไมไม่มีกับแกล้มล้นโต๊ะแบบบ้านเรา อย่างดีก็ถั่วทอดจานเดียวแล้วจะไม่เมาได้อย่างไร จะว่าเป็นเพราะอากาศหนาวก็ไม่ได้หนาวตลอด ประธานาธิบดีกำลังจะออกโทรทัศน์เรื่องสำคัญอยู่แล้ว เลขายังพามานั่งพักให้ดื่มเหล้าย้อมใจสักหนึ่งเป๊ก ทำแบบนี้ก็ได้เหรอ?



กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 14:19
   (https://i.imgur.com/ha85kyL.jpg)

   อีกฉากหนึ่งซึ่งภาพยนตร์จากฮอลลีวูดเพชรบุรีไม่เคยพลาด ระหว่างยังคงลังเลตัดสินใจเด็ดขาดลงไปไม่ได้ ประธานาธิบดีพาครอบครัวไปโบสถ์วันอาทิตย์ เป็นชาวคริสต์ที่ดีและเคร่งครัดตามยุคสมัย ลูกชายลูกสาวยังเล็กกันอยู่เลย เป็นบ้านเราพาไปวัดน่าจะวิ่งเล่นทำเสียงดังวุ่นวายไปหมด ส่วนเลขาก็พาครอบครัวมาด้วยเช่นกัน ลูกคนสุดท้องแม่ยังต้องอุ้มก็พามาด้วยแปลกดี เหตุผลอาจเป็นเพราะไม่มีคนเลี้ยงอยู่ที่บ้าน

   บ้านผมอยู่ห่างวัดไม่ถึง 100 เมตร แต่ไม่ค่อยได้ไปสักเท่าไรนอกจากมีงานสำคัญ ดูภาพยนตร์แล้วพาลนึกสงสัยขึ้นมาว่า คนอเมริกาไปแบบนี้จริงๆ หรือผู้กำกับพยายามวาดภาพออกสื่อ ดูเหมือนยุคนั้นประธานาธิบดีอยู่ใกล้ชิดประชาชนมาก ไม่มีการป้องกันยิ่งใหญ่อลังการแบบปัจจุบัน ก็ไม่น่าแปลกใจที่จะโดนลอบสังหารเข้าสักวัน เพราะตัวแกเองเข้าไปขวางใครหลายคนมีตั้งหลายโจทย์ ผมว่าคนใกล้ตัวนี่แหละอันตรายกว่าโซเวียต


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 12 ธ.ค. 19, 14:23
   (https://i.imgur.com/DrYMWCi.jpg)


   ในที่สุดก็ถึงวันตัดสินใจ ประธานาธิบดีออกอากาศสดเพื่อบอกประชาชนทุกคนว่า เราตรวจพบขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ที่คิวบา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำก็คือ...ทำการปิดล้อมคิวบาด้วยกำลังทางเรือ ตรวจค้นเรือทุกลำจากโซเวียต ลำไหนบรรทุกอาวุธมาให้เดินทางกลับ ลำไหนไม่มีอาวุธถึงยอมปล่อยผ่าน ปฏิบัติการนี้เรียกสั้นๆ ว่า 'Blockade' จนกว่าโซเวียตจะถอนขีปนาวุธทั้งหมดออกไปจากคิวบา พร้อมสัญญาว่าจะไม่นำมาติดตั้งใหม่ แต่ถ้าคิวบาหรือโซเวียตใช้ขีปนาวุธโจมตีอเมริกาหรือชาติพันธมิตร อเมริกาก็พร้อมที่จะทำสงครามอย่างเต็มตัว

   เบื้องหลังผู้ที่นำเสนอแนวคิดนี้ คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ต แมคนามารา (คนเล่นหน้าเหมือนใช้ได้เลย) ก่อนการประกาศมีการชิงไหวชิงพริบทั้งสองฝ่าย ประธานาธิบดีเสนอแผนโจมตีทางอากาศและปิดล้อมคิวบาให้กับสมาชิก EXCOMM หรือ Executive Committee of the National Security Council เรียกแบบไทยๆ ว่าสภาความมั่นคงแห่งชาติก็ได้มั้งครับ มีการล็อคผลโหวตให้เลือกปิดล้อมคิวบาด้วยคะแนนเอกฉันท์ จนนำมาสู่การปฏิบัติการจริงในวันนี้ 22 ตุลาคม 1962

   เท่ากับว่าประธานาธิบดีเลือกกองทัพเรือเป็นพระเอก ฝากความหวังและทุกอย่างไว้กับกองเรือเฉพาะกิจ ผู้บัญชาการกองทัพเรือเพิ่งมีบทโผล่ตอนนี้ ดูเป็นคนมั่นคงเอาจริงเอาจังไม่บ้าสงคราม แต่ก็อย่างที่รู้ว่าทหารก็คือทหาร ทำงานร่วมกับรัฐมนตรีซึ่งเป็นพลเรือนย่อมมีปัญหาตามมาอยู่แล้ว

   มีประเด็นเล็กน้อยเรื่องเครื่องแต่งกาย ประธานาธิบดีมีผ้าเช็ดหน้าโผล่รูปสามเหลี่ยมทุกครั้ง เข้าใจว่าสมัยก่อนนิยมกันเพราะปู่กับพ่อผมก็เคยทำ แต่ทำไปทำไมไม่ทราบจริงๆ ต้องถามท่านอาจารย์ทั้งหลาย ภาพยนตร์บางเรื่องมีสามเหลี่ยม 2 อันนะครับ แต่ไม่ใช่ทุกคนเพราะน้องชายกับเลขาไม่ได้ทำ  เรื่องนี้อยากรู้จริงๆ ครับไม่ได้แกล้ง

   เรื่องราวดำเนินมาได้ครึ่งเรื่องแล้ว แม้คนเล่าเรื่องจะกระโดดข้ามไปข้ามมาดูน่าเวียนหัว ผมขอตัวไปทำภารกิจสัก 3 วันก่อนนะครับ แล้วจะกลับมาต่อเรื่องความลับในทวีปเอเชีย จากนั้นค่อยย้อนกลับมาเจาะลึกบางประเด็นของวิกฤตขีปนาวุธนิวเคลียร์ แล้วค่อยโผล่มาที่ภาพยนตร์ส่วนที่เหลืออีกที


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 19, 15:29
  [
   มีประเด็นเล็กน้อยเรื่องเครื่องแต่งกาย ประธานาธิบดีมีผ้าเช็ดหน้าโผล่รูปสามเหลี่ยมทุกครั้ง เข้าใจว่าสมัยก่อนนิยมกันเพราะปู่กับพ่อผมก็เคยทำ แต่ทำไปทำไมไม่ทราบจริงๆ ต้องถามท่านอาจารย์ทั้งหลาย ภาพยนตร์บางเรื่องมีสามเหลี่ยม 2 อันนะครับ แต่ไม่ใช่ทุกคนเพราะน้องชายกับเลขาไม่ได้ทำ  เรื่องนี้อยากรู้จริงๆ ครับไม่ได้แกล้ง
   อ่านแล้วงงนิดหน่อย   ตีความได้ 2 ทาง
    1  ทำไมต้องมีผ้าเช็ดหน้าเหน็บกระเป๋า
    2  ทำไมผ้าเช็ดหน้าต้องโผล่มุมขึ้นมาเป็นรูปสามเหลี่ยม

    เดาว่าเป็นข้อที่ 2    มันคือวิธีพับผ้าเช็ดหน้าเวลาเหน็บกระเป๋าเสื้อนอกค่ะ    วิธีพับมีหลายแบบ   อย่างน้อยก็ 10 แบบ
   แบบที่พับปลายแหลมโผล่ขึ้นมา เรียกว่า One Corner Up Fold  ส่วนที่มีปลายสามเหลี่ยมสองอันเรียกว่า Two Corner Up Fold  
  ที่จริงวิธีพับแบบเป็นทางการที่สุดคือพับสี่เหลี่ยมเฉยๆ เห็นขอบโผล่เป็นเส้นขึ้นมานิดหน่อย เรียกว่า president fold     แต่ย้อนหลังไปในยุค 1960s  เขานิยมพับให้เห็นมุมแหลมค่ะ   จะแหลมเดียวหรือสองแหลมก็ตามแต่
   อ้อ  ผ้าเช็ดหน้าที่พับใส่กระเป๋าเสื้อนอก นิยมใช้สีขาวเท่านั้น  ไม่ใช่ผ้าเช็ดหน้าสีอื่นๆหรือมีลาย      
   ตอนดิฉันเด็กๆ  ไม่เคยเห็นผู้ชายสวมสูทเหน็บผ้าเช็ดหน้าแบบอื่นเลยนอกจากโชว์มุมแหลม   ไม่มีใครพับแบบ president fold   และถ้าสวมสูท(ท่อนบนเรียกว่าเสื้อนอก) แล้วไม่มีผ้าเช็ดหน้าเหน็บกระเป๋า  ถือว่าแต่งตัวไม่ครบเครื่อง
   ภาพนี้คือม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช สวมเสื้อนอกมีผ้าเช็ดหน้าพับมุมแหลม


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 19, 15:33
แบบปัจจุบัน คือพับสี่เหลี่ยมธรรมดา  ใส่ลงไปในกระเป๋าให้ขอบโผล่มานิดหน่อย   เรียกว่า president fold  ถือว่าเป็นการเหน็บแบบเป็นพิธีรีตอง


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 25 ธ.ค. 19, 08:53
   สวัสดีครับหลังจากหายไปนานมาก วันนี้ผมจะพาไปพบสิ่งที่เกิดขึ้นจากระเบิดนิวเคลียร์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงประมาณ 1 เดือน อเมริกาส่งทีมช่างภาพทหารเข้าไปในพื้นที่ เพื่อเก็บภาพถ่ายประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น หลังอยู่ในกรุงโตเกียวซึ่งมีแต่ซากปรักหักพังได้ไม่นาน จึงเดินทางต่อด้วยรถไฟไปจากเมืองนางาซากิ

   ระเบิดนิวเคลียร์ตกเหนือโซนโรงพยาบาลพอดี ทำให้หมอ 200 กว่าชีวิตยังปรกติสุขแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ โรงพยาบาลเหลือแค่เพียง 2-3 แห่ง หมอ 8 คนกับพยาบาล 8 คนต้องดูแลคนป่วยร่วม 1 หมื่นชีวิต การผ่าตัดโดยไม่มียาชาหรือยาสลบถือเป็นเรื่องปรกติ คนป่วยนอนอนอยู่ดีๆ ก็จากไปถือเป็นเรื่องประจำวัน นอกจากรับมือกับเรื่องความตายอยู่ทุกวี่วันแล้ว ยังต้องเผชิญผลกระทบจากอาวุธร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

   เมื่อหัวรบระเบิดนิวเคลียร์ถูกจุดชนวน สิ่งแรกที่เกิดขึ้นคือการแผ่คลื่นความร้อน เป็นความร้อนในระดับกะทะทองแดงยังเรียกลูกพี่ 2 วินาทีหลังจากนั้นระเบิดทำงานอย่างเต็มรูปแบบ เก็บกวาดทั้งอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย และมนุษย์ที่อยู่ในระยะทำการ ฉะนั้นคนนางาซากิจะเจอผลกระทบ 3 อย่างไล่หลังกันมา

   1.โดนความร้อนลวกร่างกายระดับต่างๆ ตามแต่ความใกล้ไกล อยู่ตรงไหน และหันหน้าไปทางทิศไหน

   2.โดนแรงระเบิดขนาดมหึมากวาดทุกอย่างราบเป็นนาบกลอง ถ้าตายไปเลยตอนนี้ถือว่าชีวิตโชคดีมาก แต่ถ้าไม่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากข้อ 1 และข้อ 3

   3.ร่างกายได้รับสารกัมมันตรังสี ก่อนส่งผลกระทบในเวลาต่อมา

   ระเบิดชื่อ Fat  Man ทำให้ผู้พักอาศัยในเมืองนางาซากิเสียชีวิตประมาณ 39,000 ถึง 80,000 คน น้อยกว่าฮิโรชิม่าเพราะที่นี่มีกำลังทหารจำนวนน้อยนิด ทีมภาพถ่ายภาพเดินทางมาถึงก็พลันแปลกใจ ผู้คนที่ยังรอดชีวิตมีสภาพร่างกายแตกต่างจากเดิม พวกเขาผิวแดงตัวใสโปร่งกระทั่งมองเห็นเส้นเลือดภายใน มีผู้ป่วยจากแผลไฟลวกระดับร้ายแรงจำนวนมาก และดูเหมือนว่าเด็กๆ จะมีพลังต่อสู้ชีวิตมากกว่าผู้ใหญ่ หลายคนฟื้นตัวจากแผลไฟลวกกลับมาเป็นปรกติอย่างปาฏิหารย์ ขณะที่ผู้ใหญ่ค่อยๆ หายไปทีละคนสองคนแบบเงียบๆ แต่ทว่าพวกเขายังต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่โตกว่านี้

    (https://i.imgur.com/69nwPd1.jpg)


กระทู้: สงครามเย็น ในยุค 1950s และหลังจากนั้น
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 25 ธ.ค. 19, 08:58
   (https://i.imgur.com/AGFDwln.jpg)   

  (https://i.imgur.com/5x4HIQb.jpg)

    ประมาณ 3 เดือนหลังโดนโจมตีด้วยระเบิด เหยื่อไฟไหม้เริ่มมีแผลเป็นเหมือนยางแดงใสๆ ตามร่างกาย มีอาการเจ็บปวดและคันตามติดมา ทางการแพทย์ยังสรุปไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร เป็นเหมือนกันทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หลังจากนั้นอีกไม่นานหลายคนตาบอดจากต้อกระจกระเบิดปรมาณู สาเหตุเกิดจากได้รับสารกัมมันตรังสีนั่นเอง หลายคนมีผลกระทบทำให้เซื่องซืม เลื่อนลอย มีชีวิตไปวันๆ จนกว่าถึงวาระสุดท้าย นอกจากนี้ยังมีคนเป็นมะเร็งอีกเป็นจำนวนมาก ส่งผลในภายหลังทีมงานถ่ายภาพเดินทางกลับแล้ว

   80,000 คนไม่ได้เสียชีวิตใน 1 อาทิตย์นะครับ มากันเรื่อยๆ ครึ่งปีผ่านไปแล้วก็ยังมีไม่ขาด ผู้เสียชีวิตจะถูกนำร่างไปเผา เถ้ากระดูกที่เหลือใส่กล่องเล็กๆ นำมามอบให้กับญาติ มีพิธีเก็บเถ้ากระดูกแบบเรียบง่าย ญาติผู้เสียชีวิตมอบกล่องบรรจุเถ้ากระดูกให้กับสาวพรหมจรรย์ เธอจะนำมาวางในอาคารหลังหนึ่งใช้เก็บสิ่งนี้โดยเฉพาะ มีการเขียนสัญลักษณ์บนกล่องเพื่อความสะดวกในการแยกแยะ

  (https://i.imgur.com/yjaSxpM.jpg)

   จากนั้นจะเป็นพิธีฝังแยกไปจัดตามภูเขาห่างไกลจากตัวเมือง มีพิธีแห่ง่ายๆ แบบญี่ปุ่นนั่นแหละครับ ผมเข้าใจว่าคนญี่ปุ่นนิยมเก็บเถ้ากระดูกคนตายไว้ในบ้านส่วนหนึ่ง จัดเป็นซุ้มเล็กๆ มีของเซ่นไหว้ตามพิธี เคยเห็นบางบ้านมีเถ้ากระดูกสุนัขที่เลี้ยงไว้ด้วยเช่นกัน ส่วนบ้านเราเดี๋ยวนี้ไม่นิยมแล้วน่าจะเป็นเช่นนั้น

   ข้อมูลเรื่องนี้มีเพียงอเมริกาชาติเดียวที่ได้รับ การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ของจริงมีเพียง 2 ครั้งในญี่่ปุ่น เพราะฉะนั้นประเทศที่พัฒนานิวเคลียร์ตามหลังอย่างโซเวียตไม่รู้เรื่องเลย ของจำลองจะสู้ของจริงได้อย่างไร การพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์จึงมุ่งไปทางประสิทธิภาพอย่างเดียว (จริงๆ ทุกชาตินั่นแหละ) ภาพถ่ายทั้งหมดถูกเก็บเป็นความลับสุดยอดของสุดยอด ทีมงานถ่ายทำทุกคนถูกสั่งห้ามพูดอย่างเด็ดขาด กระทั่ง 30 ปีต่อมาจึงได้มีการเปิดเผยเป็นครั้งแรก เมื่อสภาคองเกรสบังคับให้ทางกองทัพแงะข้อเท็จจริงออกมาแสดง

   ฉะนั้นแล้วตั้งแต่ปี 1945-1975 ระเบิดนิวเคลียร์คือของขวัญจากพระเจ้ามอบให้กับชาวอเมริกา ไม่น่าแปลกใจที่คนในชาติจะเจอลูกหลงจำนวนนับไม่ถ้วน ผมลงแต่ภาพถ่ายที่ค่อนข้างดีเท่านั้นนะครับ ไม่อยากให้เป็นเรื่องสยองขวัญมากเกินไป ตามไปชมเรื่องราวเต็มๆ ในสารคดีด้านล่างแล้วกันนะครับ

  https://www.youtube.com/watch?v=ien5zZiOx3A (https://www.youtube.com/watch?v=ien5zZiOx3A)