เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 20:35



กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 20:35
สมุทรโฆษ เป็นวรรณคดีที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคยเท่าไหร่นัก และเป็นเรื่องที่แต่งยาวนานมาก ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงพุทธศักราช 2392 โดยปรากฏพระนามและนามผู้แต่งถึง 3 ท่าน คือพระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ฟังจากรายนามผู้แต่งแล้ว ย่อมเชื่อได้ว่าเป็นเพชรเม็ดเอกในวรรณคดีไทยทีเดียว

วรรณคดีเรื่องนี้ใช้เวลาแต่งถึง 250 ปี เนื่องจากไม่มีผู้ใดกล้าแต่งต่อพระราชนิพนธ์

สำหรับจิตรกรรมที่เขียนเรื่องสมุทรโฆษนี้ ในประเทศไทยปรากฏค่อนข้างน้อย ก็มีที่่วัดพระสิงห์ ซึ่งคงมาจากปัญญาสชาดกของทางล้านนา ในภาคกลางเท่าที่เห็นมีเพียงวัดดุสิดาราม บางกอกน้อยเท่านั้นครับ (อาจมีอีกแต่ผมไม่ทราบ)

การที่วรรณคดีเรื่องนี้มาจบเอาที่ พ.ศ.2392 โดยกรมพระปรมานุชิตทรงไว้ชัดเจนว่า

จวบ จุลศักราชได้       พรรษ สหัสแฮ
สองสตพรรษเอกา       ทศอ้าง
กุกกุฏสังวัจฉรา       กติกมาส หมายเฮย
อาทิตย์ดลฤถีข้าง       ปักษ์ขึ้นปัญจมีฯ
รังสรรค์ฉันท์เสร็จสิ้น    สุดสาร
สมุทรโฆษต่อตำนาน    เนิ่นค้าง
รจิตเรื่องบิพิสดาร       อดีตเหตุ แสดงเฮย
โดยพุทธพจนรสอ้าง    อรรถแจ้งแถลงธรรมฯ

(จุลศักราช 1211 ปีระกา เดือนสิบสอง วันอาทิตย์ ขึ้น 5 ค่ำ หรือพ.ศ.2392)

การแต่งสมุทรโฆษจบ คงเป็นเรื่องใหญ่มาก ฉลองสมโภชกันวุ่นวาย ถึงแก่นำมาเขียนประดับไว้ในวัด

โชคดีที่ทราบอายุของวรรณคดี ทำให้กำหนดอายุจิตรกรรมของวัดนี้ได้ว่าจะต้องอยู่หลัง พ.ศ.2392

ซึ่งมีหลักฐานว่า รัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะวัดนี้ ดังนั้น จิตรกรรมสมุทรโฆษในวัดดุสิดารามแห่งนี้จะต้องมีอายุในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ก่อนสิ้นรัชกาลเพียง 2 ปี (สวรรคต 2394)

คงเป็นจิตรกรรมช่วงรุ่งเรืองที่สุดของรัชกาลที่ 3 ทีเดียว เขียนไว้งามมาก



กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 20:49
วัด ดุสิตารามเป็นวัดที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย มีชื่อว่าวัดเสาประโคน มีนิราศของท่านสุนทรภู่กล่าวถึงว่า

                                        ถึงอารามนามวัดประโคนปัก             ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน
                                            เป้นสำคัญปักแดนในแผ่นดิน          มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ฤาชา

ใน สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ(แจ่ม) พระราชธิดาพระองค์ที่ 5 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่

ต่อ มาในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ทรงสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีและทรงเปลี่ยนนามวัดเป็น "วัดดุสิตาราม"

ใน สมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้มีการปฏิสังขรณืพระอารามอีกครั้งหนึ่ง และ ปฏิสังขรณ์ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6

โดย เฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จไปตรวจดูวัดที่อยู่ใกล้กันคือ วัดภุมรินราชปักษีและวัดน้อยทองอยู่ แล้วรับสั่งให้รวมวัดภุมรินราชปักษี ซึ่งขณะนั้นมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียวเข้ากับวัดดุสิตาราม ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2488 วัดดุสิตารามและวัดน้อยทองอยู่ประสบภัยทางอากาศจากสงครามมหาเอเชียบูรพา วัดดุสิตารามได้รับความเสียหายบางส่วน ส่วนวัดน้อยทองอยู่เสียหายหมดทั้งวัด เหลือแต่เพียงกำแพงวัดอุโบสถเท่านั้น เมื่อสงครามสงบ และ พระเทพประสิทธิคุณผู้ครองวัดในขณะนั้นจึงได้ขออนุมัติรวมวัดน้อยทองอยู่เข้า กับวัดดุสิตารามตั้งแต่นั้นมา

เล่นง่ายเลย ลอกจากเวป
http://203.155.220.217/bangkoknoi/travel/watdusittaram.htm


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 21:06
เนื้อเรื่องก็เป็นจักรๆวงศ์ๆโดยทั่วไป ตอนต้นเรื่องๆคล้ายอุณรุทธ

พระสมุทรโฆษเป็นโอรสของพระเจ้าพินทุทัตและนางเทพธิดาแห่งเมืองพรหมบุรี  มีชายาชื่อนางสุรสุดา 

ทางทิศใต้ของเมืองพรหมบุรีมีเมืองรมยนคร  เจ้าเมืองชื่อพระเจ้าสีหนรคุปต์  มีมเหสีชื่อนางกนกพดี  พระธิดาชื่อนางพินทุมดี

จำแค่เจ้าชายสมุทรโฆษ กับนางพินทุมวดีพอ อิอิ

เนื้อเรื่องแบ่งย่อยๆ ได้ 3 องก์ ความไม่ค่อยต่อเนื่องกันเท่าใดนัก

1.สมุทรโฆษลาชายากับพ่อแม่ไปประพาสป่าคล้องช้าง ตอนกลางคืน พระไทรได้มา "อุ้มสม" เอาพระสมุทรโฆษไปไว้ในปราสาทนางพินทุมวดี ทั้งสองก็ตกเป็นของกันและกัน (หุหุ) ตอนเช้าพระไทรก็เอาเจ้าชายกลับไปไว้ที่เดิม

     สมุทรโฆษตื่นขึ้นมาตามหานางพินทุมวดี พอไม่พบก็กลับเมือง ส่วนนางพินทุมวดีตื่นมาเศร้าโศกถวิลหาผู้ชายที่มาหาเมื่อคืน นางรัตนธารีพี่เลี้ยงจึงวาดรูปเทวดา คนธรรพ์ นาค มนุษย์ให้ดู นางก็บอกไม่ใช่ๆๆๆ จนถึงพระสมุทรโฆษ จึงรับว่าคนนี้แหละ

       นางรัตนธารีจึงรับอาสาจะพา พระสมุทรโฆษมาให้  พระเจ้าสีหนรคุปต์จัดให้มีพิธียกโลหธนูเพื่อเสี่ยงหาคู่ให้นางพินทุมดี  ด้วยความช่วยเหลือของพระอินทร์พระสมุทรโฆษยกโลหธนูได้จึงได้อภิเษกกับนาง พินทุมดี  เมื่อปราบกษัตริย์ทั้งหลายที่มายกธนูและจะมาแย่งนางพินทุมดีแล้ว  พระสมุทรโฆษและนางพินทุมดีไปใช้บนแก่พระเทพคณบุตร

ตอนต้นนี้คล้ายๆอุณรุทธเลยครับ

สมุทรโฆษนี้มาจากปัญญาสชาดก แต่งในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยใช้เล่นหนัง

"พระให้กล่าวกาพยนิพนธ์
จำนองโดยกล
ตะการเพลงยศพระ
ให้ฉลักแสบกอันชระ
เปนบรรพบุรณะ
นเรนทรราชบรรหาร
ให้ทวยนักคนผู้ชาญ
กลเล่นโดยการ-
ยเปนบำเทิงธรณี"


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 21:42
เริ่มเรื่องเลยนะครับ แอ๊น.......

จับตอนสมุทรโฆษ ได้ข่าวว่าในป่ามีสัตว์ต่างๆรวมทั้งช้างมากมายออกหากิน จึงลาชายาชื่อสุรสุดา จะไปประพาสป่าคล้องช้าง แล้วออกไปลาพระราชบิดา พระราชมารดาด้วย

"ทูลสารท้าวท่าวทูลลา
พระราชบิดา
บันโดยนเรทรหฤไทย
ปางพระภูธรเสด็จไคล
คล้องคชในไพร
แลชมสนุกพนสณฑ์"

บทลาพระมเหสี

"พี่ครวญแก่เจ้าดั้งฤาจะจง
นิราสแก้วกึ่งเกาษา
สนิทสเน่หจริงจิตรบคลา
ใช่ว่าพี่จะพรางอำ
เพราะราชการพระคชการ
มรีดท้าวทั้งหลายทำ
ใช่เห็นแก่เล่นและพี่จะนำ
พลไปในไพรสณฑ์"


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 21:49
จิตรกรรมชุดนี้งามมาก แต่อยู่ในที่สูง กล้องปัญญาอ่อนมิอาจนำพา จึงต้องอาศัยโฟโต้ชอปเข้าช่วย สีแสงอาจจะฟั่นเฝือสำหรับจิตรกรเล็กน้อย แต่ถ้าถือเป็นนิทานสนุกๆ ก็น่าชมอยู่ เพราะหาดูได้ยาก...

ลาำพระราชบิดาพระราชมารดาไปมีกิ๊ก...

"ก้มเกล้าเข้าแนบบทมาลย์
ไหว้ไททูลสาร
จะลาสมเด็จนฤบดี
นบนอบพระมารดาศรี
จักจากพระบุรี
ประพาสโดยจินดา
สองท้าวครั้นฟังท้าวลา
ลานใจโศกา
บคาจจะทัดภูธร"


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 21:57
อยากให้รูปใหญ่ๆชัดๆ แต่มันมีขนาดจำกัด ก็พยายามเท่าที่ได้ครับ


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 22:03
แล้วก็เสด็จประพาสไพร

"พระเสด็จเหนือรถรจนา
โฉมเฉกอินทรา
ธิราชเจ้าไตรตรึงส์
เสียงดุริยสไดนัยงอึกถคึง
ฆ้องไชยอื้ออึง
แลสังขกาหลไชย"


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 22:08
นายช้างขึ้นช้างไดสดำ
เฉวียงกุมขอคำ
กระลึงกระลอกฉายแสง


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 22:15
จิตรกรรมชุดนี้กรมศิลป์เคยตีพิมพ์เผยแพร่ไปเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว แต่ผมยังไม่ได้อ่านเลยครับ

คชสารเหลือคิดคณนา
พังทลายโสภา
แลทั้งอุทามทอกทรรม์
ล้ำเลือกเผือกสารใสสรรค์
ช้างดำดูพรร
ณรายคือนิลมณี


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 22 พ.ค. 10, 22:22
หมอเฒ่าทำพิธีเบิกไพรวังช้าง ตอนนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับพิธีคล้องช้างในอดีตได้เป็นอย่างดีครับ

หมอเฒ่าเอารี้พล
ศิษยคนทั้งหลายไป
เข้าในพนาไลย
และเลียบหาดูพฤกษา
พบไม้หนึ่งงามสม
สุขรมยสมญา
สามารถหนักหนา
ศุภลักษณสาผล
หมอจึงเอาพัสตรา
มานุ่งไม้อันนฤมล
สวดมนต์ละลายคน
ธวิเลปนสรรพสม
ธงฉัตรภูษา
ประดับสรรพโดยอาคม
พนักโดรอันพาดสดมภ์
สำหรับรอบรเวียนกรรม์
บูชายถาศัก
ดิและการยทุกอัน
ล้วนแล้วลบองบรร
พประสงคเบิกไพร


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 23 พ.ค. 10, 08:49
พระสมุทรโฆษคล้องช้าง

ราชาเสด็จคชผายผัน
ควาญแทงบังคัล
แลแล่นคคล้ายคือภมร
ท้่าวไทไล่ทันกุญชร
หนึ่งงามงางอน
พันฤกนิแรงราวี
ท้าวทายบาศพรัดซัดที
เดียวต้องหัตถี
แลตรูตระเนตรบมิคลา


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 23 พ.ค. 10, 09:03
จากนั้นพระสมุทรโฆษก็พักแรมในไำพร คืนนั้นเอง พระโำพธิ์เทพารักษ์ ได้มาอุ้มพระสมุทรโฆษไปยังปราสาทนางพินทุมวดี ตอนเช้าก็อุ้มมาคืน

นางพินทุมวดีตื่นขึ้นไม่พบพระสวามีใหม่ ก็โศกเศร้าเสียใจ แต่ก็ไม่ทราบว่าชายที่เข้ามาในปราสาทเมื่อคืนเป็นใคร เดือดร้อนนางพี่เลี้ยงรัตนธารีต้องมานั่งวาดรูปผู้ชายทั่วหล้าสากลให้นางดูว่าใครมาเป็นพระสวามี

นางวาดทั้งพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระอินทร์ ท้าวโลกบาล พระเพลิง กินร ครุฑ คนธรรพ์ จนมาถึงภาพสุดท้ายคือ

"แล้ววาดโฉมราชา
สมุทรโฆษา
ธิราชเรืองภุชพล
พักตราเตรียบจันทรพิมล
คิ้วค่อมก่งกล
กุทัณฑตาต่างศร
เอวองค์อรรแถ้งทรวงสมร
นางท้าวยื่นกร
แลพิศพบูบมิแปร"

"นางทายรูปท้าวทูนหัว
กามาเมามัว
และแลบพรับพิศวง
ถามพระพี่เลี้ยงเสมอองค์
ท้าวผู้โฉมยง
นี้เทพยท้าวด้าวใด"

      นับว่านางรัตนธารีนี้ เป็นจิตรกรเอกหญิงคนแรกๆของโลกก็ว่าได้  เธอสามารถเขียนภาพ portrait ได้ทั้งๆที่ไม่ได้เห็นแบบ เขียนจากความนึีกคิด แถมเหมือนอีกต่างหาก น่าแปลกใจว่่า ภาพเหมือน หรือแม้แต่การแสดงแทน (representation) แทนตัวจริงนี้ แทบไม่เคยปรากฏในศิลปกรรมไืทยประเพณีเลย แต่กลับมีในวรรณกรรม


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 23 พ.ค. 10, 09:08
ยังไม่หมด น้องกุคนขยันมาต่อเสียดีๆ ภาพเขียนชุดสมุทรโฆษชุดนี้ ถ้าจำไม่ผิดจะมี27ภาพ มีบ้างภาพชำรุดซะเกือบดูไม่ได้ เพราะเขียนสีฝุ่นโบราณบนกระดาษข่อยแล้วใส่กรอบกระจกแกะสลักปิดทองไว้อีกที กาลเวลาอันเนินนานร่วม200ปีเหลือเท่าที่เห็นนี่ก็นับว่าบุญแล้ว ขนาดพี่ไปถ่ายด้วยกล้องเลนส์ซูม400ม.ม.ภาพยังออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เพราะเจอแสงเงาตกกระทบบนกรอบกระจก จะให้ดีต้องมีนั่งร้านไปถ่ายมุมตรงแล้วใช้เลนศ์ตัดแสงเท่านั้นถึงจะเนี๊ยบ


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 23 พ.ค. 10, 21:13
เริ่มไม่ขยันแล้วครับพี่ยีนส์ กำลังเ้ห่อของเล่นใหม่ อิอิ ส่วนใหญ่ภาพจะสูญหายไปบ้าง ทำให้เรื่องไม่ปะติดปะต่อเท่าที่ควร


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 23 พ.ค. 10, 22:00
อ้าว ซะงั้น วัยรุ่นเซ็ง...............


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 พ.ค. 10, 22:04
อ้าว กำลังรออ่านนะเนี่ยพี่กุ ดูดิพี่ยีนส์ใช้คำว่าวันรุ่นเซ็งซะแล้ว ....55


กระทู้: สมุทรโฆษในจิตรกรรมสมัยปลายรัชกาลที่ 3
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 23 พ.ค. 10, 22:16
ถ่ายมาแล้วไม่ค่อยชัดอะ เสียดายเพราะที่นี่เป็นจิตรกรรมเรื่้องสมุทรโฆษไม่กี่แห่งในไทย แล้วน่าจะรู้อายุชัดเจนว่าหลังพ.ศ.2392 ซึ่งควรจะเป็น2ปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 3