เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: ดาวกระจ่าง ที่ 01 เม.ย. 20, 21:28



กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 01 เม.ย. 20, 21:28
ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้งานค่ะ คือดิฉันเองก็เรียนจบมานานแล้วเลยจำไม่ค่อยได้ค่ะว่าคำต่อท้ายคำศัพท์ต่างๆในภาษาไทยมีชื่อเรียกว่าอะไร เลยอยากขอคำแนะนำท่านผู้รู้หน่อยค่ะ

1.ดิฉันอยากทราบว่าคำที่อยู่ใน (...) เขาจะเรียกว่าอะไรคะ ที่หามาบางคนก็ว่าคำสร้อย บางคนก็ว่าคำขยาย บางคนก็ว่าคำกิริยาย ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่าควรใช้แบบไหนแน่

ขาว(โพลน)
หวาน(เจี๊ยบ)
เหลือง(อ๋อย)
เละ(ตุ้มเป๊ะ)
ท้องร้อง(จ๊อกๆ)
น้ำไหล(เอื่อยๆ)
ฝนตก(ปรอยๆ)
ไกล(ลิบลิ่ว)

2 ปัจจุบันคนทั่วไปสมัยนี้ยังมีการพูดคำใน (...) กันอยู่ไหมคะโดยเฉพาะในหมู่เด็ก วัยรุ่น คือดิฉันจะเจอคนใช้คำเหล่านี้กับงานเขียนไม่ก็คนที่อายุมากแล้วจะพูด เลยสงสัยว่าสมัยนี้คนที่อายุน้อยๆเขายังรู้จัก พูดคำต่อท้ายแบบนี้กันไหม



กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 เม.ย. 20, 10:02
ขอให้คุณเข้าไปในเว็บไซต์ของราชบันฑิตยสถาน  ตามลิ้งค์นี้ค่ะ

http://www.royin.go.th/dictionary/

พิมพ์คำที่คุณต้องการลงไป  คำและความหมายจะขึ้นมาให้เห็น
ท้ายคำมีอักษรย่อ เช่น น.  / ว. / ก.  คือบอกให้รู้ว่าเป็นคำชนิดไหน   แล้วคุณจะหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง
 
ตัวอย่างข้างล่างนี้ โพลน เป็นคำวิเศษณ์  หรือ adjective


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 เม.ย. 20, 10:07

2 ปัจจุบันคนทั่วไปสมัยนี้ยังมีการพูดคำใน (...) กันอยู่ไหมคะโดยเฉพาะในหมู่เด็ก วัยรุ่น คือดิฉันจะเจอคนใช้คำเหล่านี้กับงานเขียนไม่ก็คนที่อายุมากแล้วจะพูด เลยสงสัยว่าสมัยนี้คนที่อายุน้อยๆเขายังรู้จัก พูดคำต่อท้ายแบบนี้กันไหม
ภาษาเปลี่ยนไปตามยุคสมัย   แต่จะให้มานับว่าคำไหนคนรุ่นเก่าใช้ คนรุ่นใหม่ไม่ใช้ คงนับไม่ไหว  เพราะภาษาของพวกเขาก็มีปนๆกันไปทั้งเก่าและใหม่   ไม่ได้เลิกใช้คำนั้นคำนี้กันอย่างเด็ดขาด
อย่างคำว่า โพลน   เดี๋ยวนี้ในสื่อและโฆษณา ใช้ว่า ออร่า  ค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 เม.ย. 20, 10:40
คำวิเศษณ์ คือ  คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม, คำสรรพนาม, คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เอง เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนขึ้น โดยจะอยู่หลังคำที่นำมาขยาย  หากเทียบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแล้วก็คือ adjative + adverb คำที่คุณดาวยกมาทั้งหมดนี้อยู่ในชนิดย่อยของคำวิเศษณ์เรียกว่า ลักษณวิเศษณ์ เป็นคำขยายเพื่อบอกลักษณะต่าง ๆ เช่นชนิด,  ขนาด,  สี, กลิ่น, รส, สัมผัส, อาการ  และความรู้สึก  

คำว่าโพลน, เจี๊ยบ, อ๋อย, ตุ้มเป๊ะ และลิบลิ่ว เป็นลักษณวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ เพิ่มความหมายว่า "มาก" ทั้งสิ้น ส่วนอีก ๓ คำคือ จ๊อก ๆ, เอื่อย ๆ และปรอย ๆ เป็นลักษณวิเศษณ์ขยายคำนาม  ;D


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 03 เม.ย. 20, 11:14
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ

เรื่องการใช้ในยุคดิฉันมักจะเห็นคนสมัยนี้ใช้ตรงๆไปเลยอย่างเช่น ขาว หวาน เหลือง เละ ไม่ค่อยเห็นมีต่อท้ายคำในวงเล็บซึ่งเมื่อเทียบกับคนภาคเหนือ อีสานจะรู้สึกว่าเขาจะยังอนุรักษณ์คำได้ดีกว่าภาคกลางน่ะค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 เม.ย. 20, 11:25
คุณดาวเคยได้ยินฉายา "โจ๊ก หวานเจี๊ยบ" หรือเปล่า  ;D


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 03 เม.ย. 20, 12:51
คุณโจ๊ก หวานเจี๊ยบคือใครหรือคะ ไม่เคยได้ยินเลยเดาว่าเป็นตลกถูกไหมคะ 555


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 เม.ย. 20, 13:33
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฉายา "โจ๊ก หวานเจี๊ยบ" ได้มาจากคนในสมัยนี้นั่นแหละ

คุณดาวสามารถหาคำตอบว่าเขาคนนั้นเป็นใคร ได้จากคุณกุ๊ก กูเกิ้ล
 ;D


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 03 เม.ย. 20, 14:07
ที่แท้ก็เป็นนายทหานนี่เอง เป็นฉายาที่ดูเหมือนจะเป็นคนใจดีแต่ดิฉันก็แอบกลัวอย่างไงไม่รู้ 555


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 เม.ย. 20, 17:23
"หวานเจี๊ยบ" ในฉายาของคุณโจ๊กน่าจะมาจากสำนวน ปากหวาน ซึ่งหมายถึงพูดจาไพเราะน่าฟัง แต่ความหมายโดยทั่วไปหมายถึงรสชาติอย่างหนึ่ง

ลักษณวิเศษณ์ซึ่งขยายรสชาตินอกจาก หวานเจี๊ยบ ยังมีอีกหลายคำเช่น หวานจ๋อย, หวานฉ่ำ, เปรี้ยวจี๊ด, เผ็ดจี๋, เค็มปี๋, จืดชืด

หรือที่ขยายสีนอกจาก ขาวโพลน เหลืองอ๋อย แล้ว ก็ยังมี ขาวจั๊วะ, เหลืองจ๋อย, แดงแจ๊ด, แดงแจ๋, ดำปี๋, ดำปื๋อ, ดำปื๊ด, เขียวปื๋อ

ลักษณนามที่มาขยายรสชาติและสีสันข้างบน ให้ความหมายว่า "มาก, จัด, ยิ่ง" ทั้งสิ้น

ป.ล. "หวานจี๊ยบ" ที่เป็นทหาร เห็นจะไม่ใช่ "โจ๊ก" ดอก แต่เป็น "จิ๋ว หวานเจี๊ยบ"
 ;D


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องชนิดของคำในภาษาไทยและการใช้ในยุคปัจจุบันค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 07 เม.ย. 20, 20:48
ขอบคุณสำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมค่ะ