เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:37



กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:37
หลังจากจบทริปที่อัมพวารู้สึกว่าจะทำให้เราชื่นชมศิลปะไม่จุใจเพราะเวลาที่มีจำกัด ผม พี่แพร และพี่เซีย
ก็อดไม่ได้ที่จะออกไปตระเวนหาดูชมที่นั่นที่นี่กันในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ไปกันหลายที่แต่นับดูเห็นว่าไม่น่าจะเกินห้าวัน
ข้อมูลมีบ้างไม่มีบ้างก็ไปกันซึ่งก็ทำให้พบอะไรๆที่น่าสนใจไม่น้อย แม้จะได้ยินว่ามีงานศิลปะเก่าแก่ชิ้นเดียวก็พยายาม
ดั้นด้นอุตสาห์ไปให้ถึงจนได้ บางครั้งไปแล้วก็คว้าน้ำเหลวไม่เจออะไรหรือไม่ได้รับอนุญาตให้ดูเลยก็มี บางครั้งมีโอกาส
จะจับต้องหรือจะลักเอาก็ได้แต่ก็ไม่เคยทำกัน แถมระหว่างทางยังได้เรียนรู้ความเป็นท้องถิ่นที่ยังหลงเหลืออยู่
อย่างอาคารบ้านเรือน สภาพแวดล้อม กายภาพชุมชน วิถีชิตเก่าๆที่แทรกตัวตามชุมชนเมืองหรือชาวบ้านตามต่างจังหวัด
ซึ่งก็ทำให้เพลิดเพลินกันอยู่ไม่ใช่น้อย 


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:38
เนื่องจากข้อมูลของศิลปะบางอย่างไม่อาจบอกแหล่งที่มาได้ ผมจึงเห็นขอลงข้อมูลตั้งต้นไว้ที่พระนครศรีอยุธยาก่อน
อย่างน้อยๆก็ได้บรรยากาศอยุธยาแท้ๆมาก่อน ที่จะดูภาพศิลปวัตถุต่างๆที่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดรอบๆกรุงเทพฯหรือในกรุงเทพเองก็มี
แต่เนื่องจากเป็นกระทู้เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาโดยตรงมีแหล่งข้อมูลอยู่มาก ผมเองก็ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นมากพอจึงขอลงภาพ
กับข้อมูลประกอบเล็กน้อยๆเท่านั้น ถ้ามีข้อแนะนำเพิ่มเติมขอช่วยชี้แนะด้วยครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:46
อยุธยาธานีบุรีรัตน์   
แห่งกษัตริย์เรืองรุ่งเป็นกรุงศรี
ปวงประชาวานิชสมณะชี   
มั่นคงดีในที่บุรีรมย์
มีป้อมปืนปราการแกร่งกำแพงล้อม   
รายเรียงพร้อมตั้งแต่งตำแหน่งสม
ทั้งเวียงวังวัดวาน่ารื่นรมย์   
ซึ่งอุดมสมบูรณ์ทรัพย์สดับเอา
[/color]


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:50
อยุธยาธานีบุรีสูญ      
เห็นซากปูนอิฐทับดูอับเฉา
ดั่งเมืองสิ้นชะตาต่อมิรอเรา   
ป็นซากเผาพินาศหมดรันทดใจ
ถึงข้าศึกทำแค้นแสนสาหัส   
แต่วิบัติเพราะเราอ่อนก่อนไฉน
ทัพพม่าทำลายล้างทั้งเวียงชัย   
แต่คนไทยทำลายบ้างเอาอย่างโจร


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:52
ทั้งขุดกรุรื้อซากไม่อยากเชื่อ   
ดูจะเหลือแต่อิฐเก่าและปูนโกร๋น
พระมหาธาตุยังทรุดที่สุดโค่น   
มันขุดโคนรื้อข้างลงอย่างเลว
มรดกศิลปะกระเซ็นซ่าน    
ดังมองผ่านขุมทรัพย์ในหุบเหว
อุตสาห์เหลือหลงรอดจากเพลิงเปลว   
ยังต้องเหลวถูกซุกซ่อนกระจัดกระจาย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:55
ศิลปะอยุธยามีความยาวนานสืบเนื่องกันมากว่าสี่ร้อยปี ทำให้รูปแบบของงานศิลปะค่อนข้างต่างกันไปตามยุค
ที่นิยมแบ่งกันเป็นอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลางและอยุธยาตอนปลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันในวงกว้างๆ
แต่อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่เริ่มศึกษาอย่างผมย่อมเป็นธรรมดาที่ยังแยกให้เด็ดขาดไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงรอยต่อ
อย่างเช่นช่วงอยุธยาตอนต้นต่อกับอยุธยาตอนกลาง หรืออยุธยาตอนปลายกับธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 13:59
ศิลปะอยุธยามีแบบแผนที่สวยงามประณีตเป็นอิสระ แฝงไปด้วยความอลังการอารมณ์ต่างๆแล้วแต่จิตนาการของช่างไทยโบราณ
ทำให้ผมค่อนข้างจะชอบใจศิลปะอยุธยาเป็นพิเศษ ทั้งยังทำให้ได้ศึกษาและจินตนาการรูปแบบวิถีชีวิต วัฒนธรรมและ
งานสถาปัตยกรรมต่างๆตามภาพเขียน ลายรดน้ำ หรืองานศิลปะอื่นๆไปพร้อมๆกันด้วย แต่ศิลปะในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นหรือธนบุรี
ก็ใช่ว่าจะไม่สนใจกันเพราะก็มีหลายอย่างที่เป็นที่น่าชื่นชมด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่ในช่วงที่บางกอกกลายเป็นบ้านเมืองที่แต่งแต้มด้วย
ศิลปะตะวันตก ก็เป็นนครแห่งศิลปะที่ผสมผสานกันได้อย่างน่าชมเช่นกัน


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:02
อย่างไรก็ดีการตามหาร่องรอยงานศิลปะต่างๆเพื่อศึกษาศิลปะอยุธยานั้น ยากที่จะหนีพ้นการพบปะศิลปะในยุคต่างๆปะปนไป
โดยเฉพาะศิลปะในยุคปัจจุบันที่เข้าไปมีบทบาทแทรกแซงโบราณสถานสำคัญๆให้ผิดเพี้ยนไป เป็นอันสูญเสียรูปแบบศิลปะโบราณ
ของโบราณสถานเหล่านั้นไปอย่างน่าเสียดาย ทำให้ตอนนี้เป็นเรื่องยากในการที่จะสอดส่องตามหารูปแบบโบราณสถาน
อย่างอาคารสมัยอยุธยาที่สมบูรณ์แบบตามท้องถิ่นมาเป็นข้อมูลในการศึกษา เพราล้วนแล้วแต่บูรณะปรับเปลี่ยนรูปทรงกันทั้งสิ้น
หรือรื้อทิ้งไปก็มีมาก เป็นตามยุคสมัยของความต้องการในการใช้ประโยชน์จากอาคารหรือพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ไม่ชอบใจนัก
แต่ก็ต้องพยายามเข้าใจและทำใจไป ดังนั้นสิ่งที่จะพบเห็นได้ตามมาก็คือโบราณวัตถุต่างๆอย่างเช่น ตู้พระธรรม หีบลายรดน้ำ
ธรรมาสน์ เสมา หรือเครื่องไม้ประณีตอื่นๆ ที่พอจะพบได้ตามวัดวาอารามต่างๆทั่วไป


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:04
แต่ปัญหาก็ยังไม่จบเพียงแต่เท่านั้น เพราะศิลปวัตถุมีมีค่าเหล่านี้ถูกโจรกรรมกันมาอย่างต่อเนื่องหลายยุคสมัย
เรียกว่าก่อนผมจะเกิดเสียอีก ในสมัยที่เราไม่ค่อยสนใจเห็นค่ากับโบราณวัตถุที่เป็นศิลปะอันทรงคุณค่า
ศิลปะเหล่านี้ถูกโจรกรรม แลกเปลี่ยน สูญหายไปจากแผ่นดินมากมายด้วยฝีมือคนที่รู้คุณค่าแต่หยาบช้า
กว่าจะมารู้ค่าทันคนอื่นเขาก็ไม่มีสมบัติเหล่านั้นเหลือแล้ว จึงทำให้เกิดความหวาดระแวงกันตามมา ทำให้นักศึกษา
หรือผู้ที่มีจิตใจใฝ่ทางศิลปะในทางสร้างสรรค์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้เห็นรูปแบบศิลปะโบราณต่อไป
เพราะกลายเป็นสมบัติที่ถูกซ่อนถูกเก็บนานวันเข้าก็บุบสลายไปไม่มีประโยชน์ นับเป็นผลพวงอันร้ายกาจ
ที่ทุกวันนี้ก็ยังหาทางแก้ไขกันไม่ได้  อย่างไรก็ดีผมก็ยังได้รับความเมตตาจากพระสงฆ์จากบางวัด ที่เข้าใจถึงเจตนา
ที่ไม่คิดในทางอกุศล ท่านจึงให้ความช่วยเหลือแนะนำทำให้ได้ข้อมูลมาศึกษา จึงนับว่าเป็นพระคุณมากและขอขอบคุณไว้ในที่นี้ด้วยครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:08
ภาพจะใหญ่เกินไปไหมครับนี้ รู้สึกแน่นๆกระทู้แปลกๆ แบบว่ามีแต่ภาพนะครับ 555
เอาเป็นว่าชมข้อมูลเล็กๆน้อยจากผมแล้วกัน อาจจะซ้ำหรือเจนตาบ้างคงไม่ว่าผมนะครับ

วัดมหาธาตุเป็นพระอารามที่มีพระปรางค์อันเป็นหนึ่งในพระปรางค์สำคัญของพระนคร และคงเป็นพระปรางค์ที่สำคัญที่สุดด้วย
เพราะใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญกันมาแต่เดิมก่อนที่จะสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ สิ่งก่อสร้างในวัดมหาธาตุมักถูกซ่อมแซม
กันมาหลายยุคสมัย ทำให้พบร่องรอยปูนปั้นชั้นในที่ถูกฉาบปิดไว้จากการซ่อมในสมัยหลังๆ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:16
...วัดนี้สร้างในที่ราบรื่น มีกำแพงล้อมทั้ง ๔ ด้าน นอกกำแพงมีคลองเป็นคูตั้งแต่ท่าหน้าวัดด้านตะวันออก มีฉนวนหลังคา ๒ ชั้น
ยื่นยาวเข้าไปจนถึงประตูวัด เมื่อเข้าประตูวัด แลดูทั้ง ๔ ด้าน มีพระเจดีย์ปิดทอง ๘ องค์ ระหว่างพระเจดีย์ตั้งพระพุทธรูป
แลมีวิหารหลังคา ๒ ชั้น ทั้ง ๔ ทิศ ในวิหารมีพระพุทธรูปใหญ่นั่งจรดถึงเพดาน ภายในที่ซึ่งพระเจดีย์และวิหารทั้ง ๔ ล้อมอยู่นั้น
ตรงศูนย์กลางเป็นองค์พระมหาธาตุ (เป็นพระปรางค์) ๕ ยอด มีบันไดขึ้นไปถึงซุ้มที่องค์พระมหาธาตุตรงชั้นบัลลังก์ทั้ง ๔ มุม
ปั้นรูปภาพต่างๆ ตั้งไว้ คือ รูปครุฑ รูปจตุโลกบาล รูปโทวาริกถือดาบ รูปรากษสถือตระบองสั้น และรูปพิราวะยักษ์ถือตระบองยาว เป็นต้น
ยอดพระมหาธาตุนั้นเป็นทองทั้งแท่งบันได (ที่ขึ้นไปถึงซุ้มนั้น) หลังพนักทั้งสองข้างปั้นเป็นนาคราชตัวโตเท่าลำตาลเลื้อยลงมา
ศีรษะแผ่พังพาน ประดับกระจกอยู่ที่เชิงบันได อ้าปากมีเขี้ยว ใครเห็นก็เป็นที่พึงกลัว รอบฐานพระมหาธาตุ ยังมีรูปสัตว์ตั้งรายเรียงรอบไป
คือ รูปราชสีห์ รูปหมี รูปหงส์ รูปนกยูง รูปกินนร รูปโค รูปสุนัขป่า รูปกระบือ รูปมังกร และยังมีรูปโทวาริกถือดาบบ้าง ถือวิชนีบ้าง
ถือจามรบ้าง ถือฉัตรบ้าง นอกจากนี้ยังมีรูปภาพถือเครื่องพุทธบูชาต่างๆ อีกเป็นอันมาก (ที่หน้าบันซุ้มพระมหาธาตุ) ปั้นเป็นลายรูปพระพรหม
พระสักระ พระสุยามเทพ ล้วนปิดทองทั้งสิ้น ในพระวิหารด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปนั่งหันพระพักตร์เข้าไปทางพระมหาธาตุ
แลมีรูปพระอัครสาวกอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ในวิหารนี้มีพระพุทธรูปทรงบาตรด้วยอีกพระองค์หนึ่ง อีกวิหารหนึ่งต้องขึ้นบันไดหลายชั้น
ในวิหารนั้นมีพระพุทธรูปหลายพระองค์ แลมีรอยพระพุทธบาทจำลองด้วย ๒ รอย พระวิหารด้านตะวันตกมีพระพุทธรูป ๓ องค์
(อีกวิหารหนึ่ง) มีพระพุทธรูปปางเสด็จทรงสีหไสยาสน์อยู่ในพระคันธกุฎี มีรูปพระอานนท์นั่งถือเชิงเทียนทองด้วยพระหัตถ์ขวา
ฝาผนังเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก แลเรื่องปฐมสมโพธิ รูปภาพที่เขียนนั้นล้วนปิดทองทั้งนั้น
นอกกำแพงบริเวณวิหารที่กล่าวมาแล้ว มีธรรมศาลาหลายหลังข้างด้านตะวันตกเป็นตำหนักสมเด็จพระสังฆราช (ตัวตำหนักก็ดี)
หอเสวยก็ดี ตำหนักที่ทรงแสดงธรรมก็ดีล้วนสลักลวดลายปิดทอง ที่ในตำหนักหลังหนึ่ง ผูกเพดานแลม่านปักทอง พื้นปูพรม
มีขวดปักดอกไม้ตั้งเรียงรายเป็นแถว เพดานตำหนักแขวนอัจกลับ ในตำแหน่งมีบัลลังก์ตั้ง ๒ ข้าง บนบัลลังก์นั้นตั้งพัดยศสำหรับตำแหน่ง
(สมเด็จพระสังฆราช) ข้างละเล่ม พัดทั้ง ๒ เล่มนี้ด้ามทำด้วยงา (ส่วนตัวพัดเล่มหนึ่ง) เป็นพัดสานด้วยงาที่เลื่อยจักเป็นเส้นละเอียด
(อีกเล่มหนึ่ง) พื้นกำมะหยี่แดง ปักลวดลายด้วยทองแลเงิน ภายในม่าน ๒ ไข อันปักด้วยทอง ตั้งพระแท่นสมเด็จพระสังฆราช…

ขออณุญาติคัดลอกมาเข้าใจว่าแปลจากบันทึกของราชฑูตลังกา ปัจจุบันสิ่งที่ผมเห็นว่ามีอยู่ก็จะเป็นนาคราชตัวเท่าลำตาลที่ว่าครับ
เศียรนาคหักวางไว้เป็นรูปแบบของศิลปะอยุธยาตอนต้น


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:18
ลายปูนปั้นเหล่านี้มีเข้าใจว่าเป็นลายที่มีมาในสมัยอยุธยาตอนต้นราวรัชกาลพระราเมศวร ต่อมาคงชำรุด
จึงทำการโบกปูนทับแล้วไม่ได้ปั้นลวดลายต่อ รูปแบบของลายหงส์เดินต่อกันปั้นดูคล้ายๆกับลายที่วัดจุฬามณีที่พิษณุโลก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:20
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:20
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:23
ปูนปั้นรูปเทวดาเดาเองว่าน่าจะเป็นงานช่วงอยุธยาตอนต้น-กลาง ...?
ภาพปูนปั้นเหล่านี้ทำให้เห็นลักษณะการนุ่งผ้าด้วย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:24
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:26
วัดราชบูรณะอยู่ติดกับวัดมหาธาตุซึ่งวัดนี้ก็มีการบูรณะซ่อมแซมกันมาเรื่อยๆเช่นกัน
จึงทำให้ปรากฏร่องรอยของปูนปั้นหลายยุคสมัย โดยที่ปรางค์ประธานปรากฏร่องรอย
ของลายปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนต้นเหลืออยู่บ้าง สำหรับลายปูนปั้นที่ซุ้มประตูพระวิหารหลวง
เป็นลายปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนปลาย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:27
มารแบกอยู่ที่ฐานไพทีด้านทิศใต้ ลักษณะน่าจะคล้ายกับฐานกลองที่วัดใหญ่ พิษณุโลกอยู่บ้าง


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:28
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:30
ลายส่วนนี้เป็นลวดลายสมัยอยุธยาตอนต้นที่สวยงามเป็นพิเศษ แม้จะหลุดไปมากแล้วก็ยังพอเหลือร่องรอยให้จินตนาการได้


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 14:38
ลืมสวัสดีท่านสมาชิกทั้งหลายเลย อย่างแรกต้องสวัสดีหัวหน้าชมรมก่อนครับ ตามด้วยพี่ยุทธและสมาชิกท่านอื่นๆด้วย ที่ได้รู้จักกันแล้ว
และยินดีที่ได้รู้จักสมาชิกใหม่ๆ ที่เข้าไปทักทายในกระทู้พี่แพร สวัสดีคุณpansa คุณkui045 และคุณsomchaisuriya
เนื่องจากช่วงนี้เหนื่อยมากๆ เพราะต้องไปงานรับปริญญาของเพื่อนๆ เลยเข้ามาลงภาพช้าไปหน่อยครับ
ทั้งนี้ต้องขอบคุณพี่เมด้วยสำหรับข้อมูลที่ได้ให้ความช่วยเหลือเรื่องหนังสือ ที่ยังอ่านไม่จบสักเล่ม 555


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: somchaisuriya ที่ 12 พ.ย. 09, 15:57
แวะมาชมภาพสวยๆครับ  :)

สวัสดีคุณ virain เช่นกัน  ;D



กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 12 พ.ย. 09, 16:36
อยุธยานี่ไปได้ทุกวันไม่มีเบื่อ ดูของสวยของงามที่หลงเหลืออยู่ของบรรพชน ว่าแต่นอกจากที่นี่ก็มีอีกหลายจังหวัดที่ยังเหลือร่องรอยของอยุธยาอยู่มาก อย่างสุพรรณบุรี ราชบุรี น่าไปเที่ยวชมทั้งสิ้น แต่ตอนนี้หัวหน้าชมรมกำลังจนขออยู่บ้านเฉยๆก่อน5555555555555


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:22
ที่พี่ยีนส์ว่ามาก็น่าไปจริงๆนะครับ หากแต่ว่าก็งบประมาณผมก็ร่อยหรอเหมือนกัน 555
ยังไง วันหน้าก็ฝากตัวพี่สมชายช่วยสอนเรื่องการถ่ายภาพบ้างนะครับ 555

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา ที่นี่พี่ยุทธแนะนำศิลปะวัตถุชิ้นเยี่ยมๆไปหลายชิ้นแล้ว
หากแต่ผมเองก็ยังเดินชมไม่หมด ว่างๆจะหาเวลาไปอีกสักรอบ ไม่อยากให้มีอะไรรอดหูรอดตาไป
ดูอะไรมากๆหวังว่าจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมาบ้าง

ชิ้นแรกเป็นงานไม้แกะสลักที่ผมเองก็หยุดมองอยู่นาน ถึงจะผุพังไปมากแต่ก็ยังมีเค้าร่องรอยความงามปรากฏ
ให้จินตนาการ ซึ่งหากยังสมบูรณ์ดีอยู่คาดว่าบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์ฯก็จะมีคู่แข่งเพิ่มอีก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:30
บานประตูที่ว่านี้คือบานประตูวัดวิหารทอง อายุคงราวๆรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองหรือหลังจากนั้นลงมาไม่มาก??
แกะเป็นลายก้านขดซับซ้อน มีระเบียบและจังหวะงดงามมาก ไล่ลำดับชั้นด้านบนสุดเป็นรูปพระพรหมรองลงมา
น่าจะเป็นเทพตามชั้นกันอยู่ในแนวเส้นตรงกึ่งกลางบานประตู ซ้ายขวาแกะเป็นลายก้านขดขนาบกันออกลายเป็นเทพ
มีรูปครุฑด้วย ทั้งหมดแกะโดยไม่มีการต่อชิ้นไม้ซึ่งนับเป็นงานที่น่าสนใจไม่น้อย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:32
นอกจากนี้ยังสอดแทรกด้วยลายพรรณพฤกษาและนกน้อยนานาชนิด ทำนองว่า
จะขัดความเลี่ยนของตัวลาย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:34
ลายตรงบริเวณอกเลายังใช้ลายคล้ายกับลายสมัยอยุธยาตอนต้นอยู่มาก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:38
บานประตูเซี่ยวกาง เป็นงานจำหลักไม้อีกชิ้นหนึ่งที่มีความงามเป็นเลิศ ทั้งในด้านลีลา
และลวดลายประดับที่เน้นความคึกคักและอลังการตามรูปแบบภาพเซี่ยวกาง


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:39
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:40
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:41
ภาพสลักบนบานประตูนี้แกะได้ราวกับมีชีวิตและดูล่องลอย ด้านล่างเป็นรูปสิงโตปีนป่ายกันสวยงาม
นับเป็นงานชิ้นเอกอีกชิ้นสำคัญเลยทีเดียว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:46
หน้าบันไม้จำหลักสมัยอยุธยาตอนกลาง?ได้จากวัดแม่นางปลื้ม หน้าบันชิ้นนี้แกะเป็นรูปพระนารายณ์
หลายแห่งอธิบายว่าเป็นทรงครุฑ แต่ผมมองว่าเป็นรูปนรสิงห์ท่านอื่นคิดอย่างไรครับ??


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:50
องค์พระนารายณ์ทรงศรประทับอยู่ในเรือนแก้ว ด้านบนเป็นฉัตรสามชั้น
พระหัตถ์ขวาคาดว่าจะถือคันศรแต่หักหายไป


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:53
การจัดวางภาพรูปแบบของหน้าบันชิ้นนี้ ดูคล้ายหน้าบันที่วัดหน้าพระเมรุทซึ่งเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น
หากแต่แกะภาพอสูรเบียดเสียดกันมากกว่า และการใส่ภาพอสูรเข้ามาเช่นนี้ก็เริ่มทำให้มองว่า
ไม่ใช่พระนารายณ์ไปด้วย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 17:54
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:04
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม เป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าจะลงตัวและสมบูรณ์แบบสำหรับสถานที่ตั้งและโบราณวัตถุ
แต่น่าเสียดายที่มีคนเข้าไปชมน้อยมาก อาจเพราะยังขาดความน่าสนใจในการดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ในพิพิธภัณฑ์
ก็มีโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้นด้วยกัน


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:08
ชิ้นแรกคือพรยานมาศ ข้อมูลจากแผ่นป้ายอธิบายว่าเป็นงานในสมัยรัตนโกสินทร์
แต่ผมกับพี่เซียมีความเห็นว่าน่าจะเป็นรูปของแบบอยุธยาตอนปลายมากกว่า??
แต่เดิมเข้าใจว่าน่าจะมีพนักและเครื่องประดับอย่างพวกกระจังอยู่ด้วย คงหลุดหายไป
และไม่ทราบที่มาของพระยานมาศนี้ด้วยเช่นกัน??


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:09
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 12 พ.ย. 09, 19:18
อ่านกระทู้มาตั้งแต่บ่ายแก่ๆแล้วครับ
แต่ไม่ได้ตอบซะที กลัวจะชนกันกลางอากาศกับเจ้าของกระทู้
ขออนุญาตเข้ามาแทรกตรงนี้ ว่าผมเห็นด้วยครับ
ว่าพระยานมาศองค์นี้น่าจะเป็นอยุธยาตอนปลายมากกว่า

หน้าตาคล้ายกับองค์ที่เก่าที่สุดในห้องจัดแสดงพระยานมาศ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
แต่รายละเอียดต่างกันอยู่หลายเรื่องเหมือนกันครับ

และสงสัยว่าน่าจะอยู่ในจดหมายเหตุระยะทางเสด็จพิษณุโลก ? (หรือเปล่า ?)
รบกวนนักนิยมศิลปะท่านอื่นๆในเรือนช่วยพิจารณาดูอีกรอบ คงจะได้มากกว่าผมครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:19
ลักษณะของพระยานมาศนี้ต่างจากพระยานมาศที่ผมเคยเห็นที่วัดท่าเสาหลายส่วน
คิดว่าเป็นลักษณะของฐานในสมัยอยุธยาตอนปลายๆแล้ว แต่ลักษณะการทำฐานโปร่งนั้นยังคงใช้อยู่
เพียงแต่ไม่มีการใช้เส้นแอ่นแบบท้องช้าง ลักษณะเป็นเหมือนฐานซ้อนกันสองชุดคือมีฐานสิงห์ไม่สูง
ดูเตี้ยๆแบ่งเป็นสามช่วง ท้องไม้แบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามช่องเช่นกัน แล้วแกะไม้เป็นรูป
สี่เหลี่ยมแบบข้าวหลามตัดลงไปในช่องเหล้านั้น ทำเป็นรูปแบบนี้สองชั้นลดหลั่นไป

ที่ผมอธิบายนั้นผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วย อีกอบ่างผมขอคำอธิบายเกี่ยวกับชั้นเบญจาด้วยครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:23
สวัสดีคุณติบอด้วยครับ ผมเองก็สงสัยอยู่เหมือนกันเพราะไม่มีข้อมูลว่าไปเอามาจากไหน
จากบันทึกของสมเด็จท่านที่ผมอ่านคร่าวๆมาก็พบว่า ทรงพบหลายอันเหมือนกัน
ยังไงเรื่องแท่นเบญจาคุณติบอพอจะทราบไหมครับ วานอธิบายให้ผมเข้าใจหน่อย
ผมอ่านจากที่อื่นมาแล้วงงๆครับ



กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:32
ชิ้นต่อมาเป็นแผงพระพิมพ์ไม้แกะสลัก น่าจะเป็นงานในสมัยอยุธยาตอนกลาง?
ยังเห็นปลายซุ้มเรือนแก้วยังนิยมตัวเหงาอยู่ แผงพระพิมพ์ชิ้นนี้มีรูปทรงค่อนข้างสวยงาม
ทำให้นึกถึงทรงของกรอบหน้าต่างประตูของตำหนักไม้ในสมัยอยุธยาครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:33
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:38
ด้วยเพราะรีบเร่งในการถ่ายภาพ ทำให้ไม่ได้อ่านข็อมูลต่างๆในห้องจัดแสดงเลย
เพราะมีเวลาน้อยจำเป็นต้องไปที่อื่นต่อ สำหรับชิ้นนี้เลยไม่รู้ว่าเขาอธิบายไว้อย่างไรบ้าง
ได้ยินพี่เซีย?หรือใพี่ยุทธ?พูดไว้ว่าเป็นที่นั่งในกัญญาเรือสมัยรัชกาลที่1 ??



กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:40
สำหรับฝีมือแกะสลักนั้นถือได้ว่างดงามมาก ที่พนักทั้งสองข้างแกะสลักเป็นตัวเหราสองตัว
ถูกปลากัดซึ่งแกะได้ดูเท่ห์ดีครับ 555


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:41
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:42
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 19:43
หากเป็นงานในสมัยรัชกาลที่1 ก็ทำให้นึกไปว่าเป็นของในสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ
ไม่รู้ว่าติดภาพหย่องไม้แกะสลักมาจากกระทู้ของพี่ยุทธหรือเปล่า


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 12 พ.ย. 09, 20:39
แท่นอันนี้ (ถ้าเป็นกัญญาเรือ...)
หลายคนเขาเทียบกับหย่องหน้าต่างวังหน้า
บอกว่าหน้าตาถ้วงทีคล้ายกันมาก คงจะสร้างรุ่นเดียวกัน
และตีซะให้เป็นรัชกาลที่ 1 เพราะวังสร้างสมัยนั้น

ผมยังไม่แน่ใจนัก เพราะ
1.) จนเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ หย่องหน้าต่างวังหน้าก็ยังอยู่ในสภาพดีมากเกือบทุกชิ้น
เชื่อว่าน่าจะมีการซ่อมอยู่หลายครั้ง เพราะเป็นที่พักสำหรับอยู่จริง

2.) ลายกนกที่พบในชิ้นงาน "แข็ง" และออกจะ "แข็งมาก" ถ้าเทียบกับหย่องวังหน้า
3.) ยังไม่เห็นลายก้านขดแบบอยุธยาตอนปลาย - ต้นรัตนโกสินทร์ในชิ้นงาน
(ลายแบบประตูหอไตรวัดระฆัง ที่ อ. น. ณ ปากน้ำท่านว่าอยุธยาน่ะล่ะครับ
ในขณะที่ลายชุดนี้พบในหย่องหน้าต่างวังหน้าอยู่หลายชิ้น)

ส่วนตัวยังสงสัยอยู่ว่าอาจจะเป็นงานแกะเลียนแบบ
โดยช่างที่เคยซ่อมหย่องหน้าต่างวังหน้ามาแล้ว ? หรือเปล่า ?
ยังไงรบกวนสมาชิกท่านอื่นที่แม่นกว่าผมช่วยวิเคราะห์ด้วยนะครับ





ปล. เห็นคุณ virain ใช้วิธีกำหนดอายุแบบ อ. น. อยู่หลายครั้ง
ท่านเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ที่ทำงานมาก และพลาดมากที่สุดท่านหนึ่งนะครับ

ถ้าเป็นไปได้ผมอยากเสนอให้ลองสอบเทียบกับกรมพระยานริศดูก็ดีครับ
(เอาเฉพาะส่วนที่เป็นการกำหนดสมัยของชิ้นงานก็พอ
ส่วนที่เป็นวิวัฒนการทางรูปแบบ หรือโครงสร้างฟังหูไว้หูก่อน)
จะได้พระวินิจฉัยที่ละเอียดลออมาเปรียบเทียบกันด้วยน่ะครับ

ปล.2 ทั้งนั้นและทั้งนี้... ทั้งหมดอยู่ที่การตัดสินใจของเราอีกทอดนึงนะครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:02
ขอบคุณคุณติบอมากครับ ตัวผมเองความรู้ก็ยังนับว่าน้อยอยู่แต่เป็นคนชอบออกไปดูโน่นดูนี่เอง
บางครั้งก็มีต้องมีแนวทางเลยพึ่งพาหนังสืออาจารย์ น อยู่มาก ข้อความบางส่วนก็คัดของอาจารย์
ท่านมาลง แต่หลายอย่างก็คิดเห็นต่างออกไปหลายครั้ง เพียงแต่ต้องกำกับไว้ว่าเดา หรือผมเข้าใจเอง
เผื่อคนอื่นเข้ามาอ่านจะได้ไม่หลงทางตามผมไป 5555

ส่วนเรื่องแท่น(กัญญา)คุณติบออธิบายได้น่าสนใจดีครับ

ทวย คันทวยนี้รูปทรงสวยงามมากแกะได้อ่อนหวาน ไม่แน่ใจว่าเอามาจากวัดม่วงหวานหรือไม่??


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:06
แผ่นไม้แกะสลัก??อันนี้เป็นลายออกจะแนวๆบานประตูหอไตรวัดระฆัง อย่างที่คุณติบบอพูดถึงเมื่อครู่ แต่แกะไม่ลึกซับซ้อนเท่าไร
เป็นลายไทยผสมฟรั่งตรงกลางเป็นรูปคชสีห์ สงสัยอยู่ว่าเป็นงานในยุคอยุธยาตอนปลายหรือต้นรัตนโกสินทร์??


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:07
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:11
พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็กแต่มีพุทธลักษณะงดงามมาก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:11
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:13
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:14
พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์นี้เห็นลักษณะเครื่องทรง เข้าใจว่าจะเก่าไปกว่าพระพุทธรูปประทับยืนองค์ด้านบนครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:22
ขอคัดคำอธิบายของอาจารย์ น มาลงไว้พอสังเขปครับ "ปืนสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้มาจากคูเมืองหน้าวัดพนมยงค์
...ลักษณะหน้าเทวดาคล้ายได้รับอิทธิพลจีน ลายเฟื่องที่ประดับรอบปืนใหญ่มีรูปทรงยาวเรียว เข้าใจว่าจะเป็นศิลปะ
สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือปลายรัชกาลสมัยพระเจ้าทรงธรรม ตัวกระจังของลายเฟื่องมีกระหนกตัวเหงา
เป็นลายที่เก่ากว่าสมัยอยุธยาตอนปลาย"


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:24
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:25
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:26
นภศูลจากยอดพระเมรุทิศวัดไชยวัฒนารามครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:28
รูปสลักศิลาสมัยอยุธยาตอนต้น เข้าใจว่าเป็นรูปพระศรีมหาอุมาเทวี?


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:30
ลายสลักที่ใบเสมาจากวัดไหนไม่รู้ครับ เป็นลายสมัยอยุธยาตอนต้น-กลาง หรือเก่ากว่านั้น??
ซึ่งแกะได้ประณีตสวยงามมากชิ้นหนึ่ง ลายคล้ายๆกับกระทงธรรมาสน์


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:33
ชิ้นส่วนปูนปั้นคล้ายจะเป็นลายปูนปั้นประดับซุ้มพระปรางค์ เป็นลายสมัยอยุธยาตอนต้น


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:35
ครุฑ อาจเป็นชิ้นส่วนประดับพระปรางค์องค์เดียวกัน หรือเปล่า??? :o


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:36
พรหมพักตร์ ใบหน้าคล้ายๆรูปจำหลักเทวดาที่บานประตูพระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ อาจใช้ประดับยอดซุ้มหรือเจดีย์??  :o


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:40
ครุฑ ดินเผาทำท่าทางแปลกไม่เคยเห็น เดาว่าเป็นอยุธยาตอนกลาง-ปลาย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 พ.ย. 09, 21:43
เชิงชายดินเผารูปเทพพนม คุ้นๆว่าคุณโพธิ์ประทับช้างเคยเอารูปเชิงชายแบบเดียวกันนี้เต็มๆ(ไม่หัก)มาให้ดูในกระทู้เก่าๆ
ให้ชื่อว่าราชาของเชิงชายเลยทีเดียว?? เสียดายที่อยู่ในพิพิธภัณ์หักไปบ้างบางส่วนดังภาพ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 12 พ.ย. 09, 23:00
เข้ามาดูรูปจ๊ะ รอเสียนาน

ไปงานรับปริญญาเหมือนไหม



กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 15:35
สวัสดีครับ พี่แพร (ดูรูปตลอด 555)


วัดไชยวัฒนารามเป็นพระอารามอยู่ชิดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  ตรงข้ามกับกำแพงพระนครทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
เป็นอารามใหญ่โตโอ่อ่ามากๆสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ด้วยอาจเพราะว่าตั้งใจสร้างให้มั่นคงแข็งแรงมาก
หรือถูกเผาทำลายไม่มากนักทำให้ยังมีภาพรวมดีงดงามอยู่ อย่างไรก็ดีวัดนี้ก็ได้ถูกทำร้ายโดยฝีมือคนไทยเองกันมา
อย่างต่อเนื่องยังมีร่องรอยปรากฏอยู่ทั่วไป ตัวพระเมรุทิศรอบพระปรางค์ประธานนั้นทำเป็นเสาสอบมีทางเข้าเชื่อมต่อ
กับพระระเบียงเป็นช่องโค้งทำให้สามารถรับน้ำหนักส่วนยอดพระมรุที่เป็นทรงสูงได้ดี


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 15:39
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 15:42
แต่ที่ซุ้มจระนำ?ด้านนอกพระเมรุทิศที่มีภาพปูนปั้นพุทธประวัติตอนต่างๆนั้นมักพังทลายทรุดตัวแทบทุกด้าน
ภาพปูนปั้นเสียหายเป็นส่วนมากอาจเกิดจากฝีมือคนหรือไม่ก็ผุพังไปตามธรรมชาติก็ยังไม่แน่ใจ ด้านในพระเมรุทิศ
มีภาพเขียนสีเป็นลายก้านขดประดับตามผนัง ซึ่งยังเหลือเห็นได้ถนัดอยู่ที่พระเมรุทิศกึ่งกลางพระระเบียงด้านหลัง
ปรางค์ประธาน กับที่พระเมรุทิศกึ่งกลางพระระเบียงด้านขวาของปรางค์ประธานเท่านั้น


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:04
ลวดลายเหล่านี้มีประโยชน์ในการเทียบเคียงยุคสมัยของศิลปะอยุธยาอย่างมาก
เพราะถือได้ว่าเป็นงานในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นช่วงต่อระหว่าง
ศิลปะอยุธยาตอนกลางและศิลปะอยุธยาตอนปลาย ถือได้ว่างานในยุคสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
เป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นมากของอยุธยายุคหนึ่ง
  :) ... :o


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:28
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:29
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:30
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:36
ภาพปูนปั้นพุทธประวัติในซุ้มจระนำพระเมรุทิศด้านนอกนั้น ผมเริ่มถ่ายเวียนขวาจากพระเมรุทิศ
ที่มุมพระระเบียงด้านขวาปรางค์ประธาน เลือกเฉพาะภาพที่ยังพอเห็นโครงให้จินตนาการได้ครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:39
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:42
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:44
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:46
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:47
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:48
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:52
ลวดลายปูนปั้นพุทธประวัตินั้นคิดว่าเคยเห็นภาพถ่ายที่สมบูรณ์กว่านี้อยู่ เป็นภาพถ่ายเก่าๆท่านใดมีก็ขอนำมาให้ชมบ้างนะครับ
ลายปูนปั้นซุ้มประตูทางเข้าพระเมรุทิศด้านในเป็นลักษณะเรือนแก้ว ถ่ายจากพระเมรุทิศกึ่งกลางพระระเบียงด้านขวาปรางค์ประธาน


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:54
เป็นปูนปั้นเรือนแก้ว(มีตัวเหงา)ที่ประตูทางเข้าพระมเรุทิศที่มุมพระระเบียงด้านซ้ายหลังปรางค์ประธาน


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 16:56
 :o...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 17:33
พระพุทธรูปในพระเมรุทิศเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแกนองค์พระเป็นไม้ประทับในเรือนแก้ว
ซึ่งทำด้วยไม้พอกปูนปั้นลวดลาย ที่พระเมรุทิศมุมพระระเบียงนั้นประดิษฐานพระพุทธรูป
ลักษณะนี้อยู่สององค์ และพระเมรุองค์กึ่งกลางพระระเบียงประดิษฐานอยู่หนึ่งองค์ พระพุทธรูป
เหล่านี้มีพระพักตร์และพุทธลักษณะงดงาม หากแต่ว่าพังไม่สมประกอบสักองค์เดียว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 17:34
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 17:35
... :'(


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 17:36
ฝ้าเพดานภายในพระเมรุทิศครับ เป็นเครื่องไม้ดาวหายไปหมดแล้ว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 13 พ.ย. 09, 17:45
พลาดอยุธยาอีกแล้วเราาาา ถ้าไปอีกบอกด้วยนะคับบ เน...ถ้าไปได้อยากไปด้วยจิงๆๆ ไปมากี่ที่ละนั้นคับ ลงภาพเร็วน่าา ติดตามอยู่


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 17:49
ขอโทษด้วยครับที่จริง(พี่แพร)พยายามติดต่อแล้ว ทีแรกติดต่อพี่ยีนส์ไม่ได้ และไม่มีเบอร์ของคุณsittisakด้วยครับ (คุณทอมมี่หรือเปล่าครับ)

ต่อมาเป็นธรรมาสน์ครับ ธรรมาสน์หลังนี้อาจารย์ น ณ ปากน้ำ อธิบายว่า “เข้าใจว่าอย่างต่ำต้องอยู่ในสมัยพระชัยราชา
หรืออายุสูงไปกว่านี้ เพราะธรรมาสน์สมัยพระมหาจักรพรรดิเริ่มใช้กระจังแล้ว แต่นี่ยังเป็นกระทงแบบเดียวกับวัดศาลาปูน
ส่วนกาบพรหมศรก็ยังเป็นกาบไผ่ที่แข็งทื่ออยู่ มีรูปจำหลักชาวอยุธยาสมัยพระชัยราชาอยู่ที่แผงไม้เหนือกระทงธรรมาสน์ด้วย
สังเกตว่าธรรมาสน์สมัยนี้ทำเป็นกระทงซ้อนเป็นชั้นไป ทีท่าว่าจะเลียนแบบกระทงดอกบัวที่ซ้อนเป็นชั้น”


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 13 พ.ย. 09, 18:28
คุณน้องคะ พี่ก็อ่านอยู่เหมือนกัน (แต่นานๆครั้ง)


ถึงคุณทอมมี่

รบกวนส่งอีเมลล์ พร้อมเบอร์ติดต่อมาที่ฉันรักบางกอกหน่อยได้ไหมคะ ตอนนี้กำลังรวบรวมสมาชิกชมรมฯอยู่ ไว้คราวหน้ามีข่าวคราว รวมตัวกัน จะได้ส่งเป็นจดหมายข่าวคะ


.....ประทับใจทริบนี้มาก ได้ความรู้เพิ่มเติม เห็นอะไรที่ไม่เคยเห็น อยากกลับไปอีก บ่อยๆ..แต่เงินไม่มี ฮาๆๆๆๆ
ขอบคุณพี่เซีย กับน้องเนมาก ที่อดทนอธิบายข้อมูล ถือว่าทำบุญให้กับคนแก่ละกันนะน้องเน

ทนรอดูรูปต่อไปไม่ไหวแล้ว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ย. 09, 18:56
ที่ติดต่อพี่ยีนส์ไม่ได้นี่สงสัยหลบเจ้าหนี้อยู่ 5555555555555 มาดูรูปวัดไชยฯที่ถ่ายไว้เมื่อปี2528ไปกับอาจารย์สุดสาครตั้งแต่ยังไม่บูรณะเลยครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ย. 09, 19:00
นี่ภาพพุทธประวัติ ไอ้ที่หน้าตาหายไปนี้ก็โดนกระเทาะโดยหัวขโมยเป็นส่วนมากครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ย. 09, 19:07
ชื่อชมรม ตกลงยังไม่มีใครสนใจจะตั้งให้ เราก็ยังใช้ชื่อเดิมไปก่อน เพราะยังไม่มีอารมณ์คิดเหมือนกัน"ยาวดีไม่เหมือนใคร" ไว้เรารวมชมรมกันมิตติ้งสักครั้ง"กินข่าวเล่าเรื่อง"ค่อยใช้ภูมิปัญญาเราตั้งเร็วสุดก็ปีใหม่ช้าสุดก็ตรุษจีนปีหน้าตรงกับวาเลนไทม์ด้วย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 19:14
ภาพพี่ยีนส์โพสตรงใจมากเลยครับ เคยคิดว่าอยากเห็นลายในตัวเหงานี้อยู่เลย ขอบคุณมากๆเลยครับ
มีอีกไหมครับชอบมากๆ บรรยากาศสมัยนั้นคงน่าไปผจญภัยไม่น้อนเลย ตอนนั้นไปลำบากไหมครับพี่
เล่าบรรยากาศให้ฟังหน่อยสิครับ

ชื่อชมรมคงต้องรอตั้งไว้หลายๆชื่อ เอาไว้ให้หัวหน้าชมรมเลือก รอดูตราประทับออยู่เหมือนกัน

พี่แพรครับวันนี้ยอมรับว่าแก่แล้วหรือครับ อย่างนี้ที่ไปเรียกพี่ยีนส์ พียุทธ พี่เซีย เขาก็เข้าใจผิดสิครับว่าอายุเยอะกันทั้งนั้น 555
(ออกหน้ากระทู้ด้วย)


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ย. 09, 20:29
อย่าพูดอะไรที่เกี่ยวกับแก่ๆนะ ไม่มีใครยอมรับว่าแก่หรอก 555555555555 โดยเฉพาะหัวหน้าชมรมฯอิอิ โดยเฉพาะเวลาอยู่กับหนูๆ อิอิ รูปที่เหลืออยู่ตามนี้เลย สมัยก่อนถ่ายกล้องฟิล์มมันถ่ายเยอะไม่ได้ตามงบ เพราะไปหลายวัดต้องแชร์ๆกันไป ว่าแต่ไปถ่ายวัดกษัตราธิราชวรวิหารมารึเปล่า เออแล้วไอ้รูปธรรมมาสน์นั่นที่ไหนคุ้นๆตา แล้วที่ไปถ่ายในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา เค้าให้ถ่ายรึ หรือแอบถ่ายเค้ามาบอกมาดีๆ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:44

 ;D 5555
ธรรมาสน์นี้พี่ต้องรู้จักแน่นอนครับ แต่เหมือนจะรับปากพระไว้จะไม่บอกชื่อวัดลงในกระทู้อ่ะครับ
พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาผมให้มหาวิทยาลัยออกใบอณุญาติ ขออณุญาติทางพิพิธภัณฑ์ไปครับ
จากที่ตั้งเป้าไว้ก็ได้ประมาณ 60 เปอร์เซนต์เองครับ เวลามีน้อยเลยไม่ได้ไปวัดกษัตราธิราชฯเลย
น่าเสียดาย



กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:48
ธรรมาสน์นี้เป็นงานไม้แกะสลักที่สวยงามชิ้นหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้พี่แพรออกจะตื่นตาตื่นใจไม่น้อย
ออกปากว่างามแปลกตาอยู่ ที่แผงไม้อ้อยแกะสลักเป็นรูปเทวดายืนเรียงแถวกันข้างหนึ่ง
เป็นรูปนักสิตฤษีเหาะมาชุมนุมกันข้างหนึ่ง เป็นรูปผู้คนนั่งฟังธรรมกันอีกข้างหนึ่ง และที่แผงไม้
แกะเหล่านี้เองที่ทำให้ผมเขวไปเขวมาเพราะรูปแบบบุคลเสื้อผ้า ชายไหว มงกุฎ ดูเหมือนจะหลัง
กว่ายุคพระชัยราชายังไงชอบกล ดูขัดๆกับลายที่กระทงซึ่งแกะเป็นลายเข้าใกล้ธรรมชาติมากอยู่


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:50
ที่ชั้นฐานของธรรมาสน์ทำเป็นแท่นมีกระทงสองชั้น (กระทงที่ชั้นบนสุดไม่มี)  
พระเล่าว่ายังมีฐานที่ชั้นล่างสุดแต่ถูกโจรกรรมหายไปนานแล้ว ลักษณะฐาน
ภาพรวมคล้ายๆพระยานมาศในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม
แต่รายละเอียดต่างไป


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:51
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:53
ที่ฐานเขียง?ล่างสุดที่เหลืออยู่แกะเป็นรูปสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งได้สวยงามเช่นกัน
ฝั่งหนึ่งแกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆก้มหัวให้กับราชสีห์ซึ่งเป็นเจ้าป่า


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:54
ยอดทำเป็นหลังคาแบบยอดมณฑปมุงกระเบื้องซ้อนเป็นชั้นๆชั้นล่างติดกระจังเรียงเป็นแถว 
ที่มุมมีนาคปักแต่ไม่แกะเป็นรูปนาคซะทีเดียว ทว่าดูรวมๆแล้วคล้ายนาคแบบอยุธยาตอนต้น
เรือนยอดลักษณะนี้ทำให้นึกถึงลักษณะยอดปราสาทในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งยังไม่ได้
เป็นแบบการคุมทรงจอมแหให้เป็นแบบสูงๆเพรียวๆขึ้นไป อาจใช้เป็นรูปแบบในการวิเคราะห์
รูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอื่นๆด้วย


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:55
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:56
ลายเพดาน สวยมากครับ สังเกตลายตรงขอบแปลกมาก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:58
ธรรมาสน์หลังนี้เป็นธรรมาสน์ฝาแฝดของธรรมาสน์หลังก่อน อยู่คนละวัดแต่เหมือนกันมาก
ราวกับช่างชุดเดียวกันทำ เหมือนกันถึงขนาดในจุดที่ขัดๆกันก็ทำให้รู้สึกคล้ายกันอยู่
เหมือนกันอย่างไรก็ต้องลองชมกันครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 20:59
แต่จากลวดลายการประดับตกเต่งดูเหมือนว่าธรรมาสน์หลังนี้ ฝีมือจะอ่อนกว่าเล็กน้อย
และรูปแบบจะต่างกันมากๆตรงลายที่เพดาน ซึ่งพลาดไม่ได้ถ่ายรูปชัดๆมา  เหอะๆ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 21:00
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 21:01
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 21:01
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ย. 09, 21:24
งงมากว่า เดิมเข้าใจว่าของวัดนี้(ตามรูป) เพราะช่วงล่างเหมือนกันหมดแล้วที่อาจารย์ น ณ.ปากน้ำว่าไว้คือวัดนี้นี่ครับส่วนที่น้องเนว่าธรรมมาสน์ฝาแฝด ช่วงล่างนะเหมือนกันแบบก๊อปปี้เลยแต่ตอนบนวัดน้องเนนี้ด้านบนไม่มีกระทงลวดลายข้างธรรมมาสน์ก็ไม่เหมือนกันแล้วลวดลายตอนบนดูยังไงก็ไม่ใช่อยุธยาเป็นรัตนโกสินทร์ชัดๆ?ลือข้างบนจะทำใหม่ทีหลัง!


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ย. 09, 21:40
อ้อ เข้าใจแล้วอันแรกนี่ของที่อาจารย์ น ณ.ปากน้ำ บอก แต่มันก็ไม่เหมือนกันอยู่ดีอย่างที่พี่บอก เพราะช่วงบนลายมันผิดไปจากเดิมจากที่อาจารย์ น ถ่ายไว้เลยนิ และลวดลายที่พี่บอกว่า ตัวพระตัวนักสิทธ วิทยาธรนี่มันรัตนโกสินทร์ชัดๆแล้วกระทงรอบก็ไม่มี ส่วนวัดหลังนี่คงใช้ช่างไปลอกแล้วทำขึ้นใหม่แต่ฝีมือช่างไม่ดีเท่าแต่ลายคนที่แกะจะคล้ายกับที่อาจารย์ น ถ่ายไว้(ดังรูป) แต่ของน้องเนทำไมกลายเป็นเทวดาหรือตัวพระแบบนั้น งง?


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 21:45
เป็นวัดนั้นแหละครับพี่เพียงแต่กระทงชั้นบนไม่มีอยู่ ส่วนแผงที่ข้ออ้อย?ฝั่งในรูปของพี่ยีนส์
ผมถ่ายตกหล่นไปครับ ...  :(


ส่วนไอ้อันที่เป็นแฝดก็ดูเหมือนแปลกๆ เหมือนมาซ่อมใหม่อีกที??


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ย. 09, 21:47
ตรงเทวดานั่นแหละครับดูแล้วมันเหมือนคนละยุค แปลกใจอยู่มากเหมือนกันครับ
เข้าใจว่าคงเอามาซ่อมกันอีกทีหนึ่ง


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 13 พ.ย. 09, 22:57
ถ้าเท่าที่จำได้ไม่ผิดนะครับ วัดแรกของคุณvirain ตรงกับอาจารย์ น.
แต่ดูเหมือนว่าคุณจะถ่ายแผงกั้นมาไม่ครบ อย่างที่คุณบอกไว้
เพราะธรรมาสน์องค์นี้แต่ละฝั่ง เขาแกะลายที่แผงไม่เหมือนกัน
(เข้าใจว่าคุณ virain เรียกส่วนนี้ว่า "แผงข้ออ้อย" ?)

องค์ที่ 2 ซ่อมไปหลายส่วนครับ ส่วนที่น่าจะโดนซ่อมน้อยที่สุด.. คือดาวเพดาน
(แอบเสียใจด้วยคน เพราะว่าจะทำธีสิสเรื่องนี้อยู่)


ธรรมาสน์อีก 3 องค์ ที่อายุไล่เลี่ยกับชุดนี้และพอหาชมได้
2 องค์อยู่ในอยุธยา คือวัดครุฑาราม และวัดศาลาปูนวรวิหาร
วัดครุฑ ถ้าจะไปแนะนำให้เปิดหนังสือ "มหาธาตุ" ดูก่อน
เพราะรูปถ่ายเก่าที่นั่นเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดเท่าที่ผมค้นเจอ

ส่วนวัดศาลาปูน ขอให้ไปนัดกับหลวงพ่อเสียก่อน
เพราะถ้าหลวงพ่อไม่อยู่ส่วนที่เก็บธรรมาสน์จะเปิดไม่ได้
แต่กระทงที่วัดศาลาปูนก็หายไปแล้วเหมือนวัดแรกของคุณ
และมีรอยโดนแงะให้เห็นชัดเจนเสียด้วย


อีกองค์ที่น่าสนใจ มาจากวัดเสาธงทอง
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ วังนารายณ์ ครับ





ส่วนองค์อื่นๆ หาได้ในจดหมายเหตุระยะทางเสด็จพิษณุโลก
ผมก็ยังไม่ได้ตามไปค้นดูให้ละเอียดซะที ว่ายังอยู่ดีมีร้ายประการใด
แต่สงสัยว่าจะเปลี่ยนจากไม้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ไปเยอะแล้ว







ปล. แอบถอนใจโล่งอกแทนคุณ virain ที่ขอหนังสือถ่ายภาพไปก่อน
ไม่งั้นโดนนักมวยปล้ำหญิงจับทุ่มไม่รู้ด้วยนา หิ.. :P


ปล. 2 กำลังสงสัยอยู่ ว่าคุณvirain แอบตื่นเต้นเวลาถ่ายรูปอยู่หรือเปล่า ?
เพราะผมก็เคยเป็นแบบนี้เหมือนกันครับ (ที่จริงทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่มากครับ.. เหอๆ)


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ย. 09, 23:24
ประกี้ก็จะพูดถึงธรรมมาสน์ที่วัดครุฑเหมือนกัน แต่ที่วัด พ...ผ...นั้นแปลกใจเหมือนกันว่าทำไมอาจารย์ น.ก็ไม่เห็นถ่ายด้านเดียวกับน้องเนเลยแล้วคุณติบอเห็นด้วยกับผมมั๊ยครับไอ้ด้านที่น้องเนถ่ายนี่มันรัตนโกสินทร์ชัดๆ แหม๋แต่ชอบจริงกับคำว่าเปลี่ยนจากไม้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้ว แต่ธรรมมาสน์ที่ผมตามหาอีกองค์นี่ซิไม่รู้อยู่ไหน นั่นคือธรรมมาสน์วัดปรางค์หลวง กำลังค้นหาฟิล์มเก่าๆอยู่ว่าถ่ายรูปมารึเปล่า ยังไม่เจอเลย ใครเคยเห็นธรรมมาสน์ที่นี่เหมือนผมบ้าง เพราะถามที่วัดดันบอกไม่เคยมี องค์เบ้อเร่อหายไร้ร่องรอย!


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 13 พ.ย. 09, 23:55
ขอบพระคุณ คุณจีนส์ครับ ที่ชวนผมคุย
พอคุณจีนส์พูดขึ้นถึงนึกขึ้นได้ เรื่องธรรมาสน์วัดปรางค์หลวง
ว่ามีคนเคยเล่าให้ฟัง แต่โดยส่วนตัวยังจำได้ไม่ติดตา
ขออนุญาตตอบว่าไม่เคยเห็นก่อนดีกว่าครับ...
ผมติบอความจำเสื่อมครับผม!!


พนักธรรมาสน์วัด พผ. ของคุณจีนส์ มีรูปถ่ายเก่า
เป็นฟิล์มขาวดำ (เข้าใจว่าถ่ายราวๆ 2518 - 2525 - ผมจำปีที่แน่นอนไม่ได้)
อยู่ในหนังสือมหาธาตุอีกเช่นกันครับ แต่มาแค่ 2 พนัก
คือฝั่งที่เป็นรูปภิกษุณี กับนางกษัตริย์

ส่วนฝั่งที่เป็นวิทยาธรใครพิมพ์แล้วบ้างผมก็ยังไม่คุ้นตาเหมือนกันครับ
แต่เข้าใจว่าถ้าเปิดหาดูในหนังสือ "ลวดลายสมัยอยุธยา"
น่าจะได้รูปส่วนประกอบอื่นๆของธรรมาสน์องค์นี้อีกหลายส่วนอยู่
บางส่วนก็อาจจะเป็นของซ่อมใหม่สมัยรัตนโกสินทร์แล้วก็มีครับ





จะว่าไป ศิลปะแถวๆนนทบุรี ก็มีอะไรน่าสนใจอีกหลายชิ้นนะครับ
ถ้าพูดถึงธรรมาสน์ ผมเข้าใจว่า องค์สวยที่สุด และติดตาคนดูมากที่สุด อยู่ที่ พช. พระนคร
มาจากวัดค้างคาว(เฉพาะองค์ธรรมาสน์ยกเว้นช้างที่เชิงกระได)
ถ้าจะคุยกัน น่าจะมีเรื่องให้คุยกันได้อีกแยะเชียว...
แต่ชมรมของคุณจีนส์อาจจะเหนื่อยอีกมากโขเลยครับ  :)


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 14 พ.ย. 09, 02:34
นอนไม่หลับครับ เลยลุกขึ้นมาค้นตำรา ตอบกระทู้ดีกว่า
เพราะโดยส่วนตัวก็ยังสงสัยเรื่องธรรมาสน์วัด พผ. อยู่เหมือนกันครับ
จากหนังสือ "วิวัฒนาการลายไทย" ของอาจารย์ น.
ภาพที่ 137 หน้า 125 (โชว์ภาพกษัตริย์ที่สงสัยกันอยู่)
ผมขออนุญาตแก้ครับ ว่าเป็นเหล่ากษัตริย์ เพราะมีทั้งผ้านุ่ง ญ. และ ช.

ธรรมาสน์วัด พผ. อยุธยา เข้าใจว่าอย่างต่ำอยู่ในสมัยพระไชยราชาธิราช
หรืออายุสูงไปกว่านี้ เพราะธรรมาสน์สมัยพระมหาจักรพรรดิ์เริ่มใช้ตัวกระจังแล้ว
แต่ที่นี่ยังเป็นกระทงอยู่แบบเดียวกับธรรมาสน์วัดศาลาปูน
ส่วนกาบพรหมศรยังเป็นกาบไผ่แข็งที่แข็งทื่ออยู่
มีรูปจำหลักชาวอยุธยาสมัยพระไชยราชาธิราช
อยู่ที่แผงไม้เหนือกระทงธรรมาสน์ด้วย
สังเกตว่าธรรมาสน์สมัยนี้ทำเป็นกระทงซ้อนเป็นชั้นไป
ทีท่าจะเลียนแบบมาจากกระทงดอกบัวที่ซ้อนเป็นชั้น


ส่วนหน้า 126 ภาพที่ 137 ก. เป็นด้านที่คุณจีนส์นำมาให้ชม

กลายเป็นว่า อ. น. แกตีซะว่าเป็นอยุธยา
โดยส่วนตัวยังไม่เชื่อครับ ออกจะเห็นด้วยกับคุณจีนส์มากกว่า
ว่ากระเดียดมาทางรัตนโกสินทร์แล้ว...
แต่ไม่แน่ใจครับ ว่าช่างจะเคยผ่านกรุงเทพมั้ย ?
เพราะสายช่างอยุธยาแนวเขาก็แข็งของเขาเองอยู่หลายที่ครับ




ถ้าธรรมาสน์องค์นี้ลายเหมือนชุดวัดศาลาปูนผมจะไม่แปลกใจเท่าไหร่
เพราะอะไรๆจะให้เป็นอยุธยาตอนกลางล่ะพอยอมรับได้
แต่องค์นี้ดูแล้วบอกไม่ถูกครับ...
เท่าที่เห็นของจริงมา มิติลายทั้งองค์ก็ต่างจากชุดวัดศาลาปูน - เสาธงทองไปมากแล้ว
แต่ดันไปเท่าๆกับพระยานมาศองค์ที่ พช. พระพุทธชินราช พิษณุโลก

ที่สำคัญมงกุฏยอดสูงเป็นไม้เรียวหวดฟ้าแบบนี้
ให้ผมกำหนดอายุเองน่ะราชวงศ์บ้านพลูหลวงลงมาด้วยซ้ำ...





ปล. 1 ผมออกชื่อหนังสือมา ถ้ายังไม่มีอย่าเพิ่งไปหาซื้อมาอ่านนะครับ
(ถ้ามีแล้วก็เก็บๆเข้าตู้ไว้ก่อนก็ได้ อย่าเพิ่งไปอ่านมากเดี๋ยวติด)
เล่มนี้พอใช้ดูได้แค่รูป กับแหล่ง เพราะเรียงวิวัฒนาการได้สับสนมาก
แต่ที่สำคัญ ขนาด "พอใช้ได้" ก็ติดคำบรรยายผิดฝาผิดตัวไปหลายฝาแล้วครับ

ปัญหาการคิดตามแนวคิดของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ที่เห็นอยู่หลายครั้ง
คือ อาจารย์มักไม่ค่อย grouping ชิ้นงานแล้วทำความเข้าใจก่อน
แล้วค่อยมากำหนดอายุ หรือเทียบกับประวัติศาสตร์เอาทีหลัง
ในขณะที่ไม้มันผุมันพัง หรือถูกแกะถูกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา...
ปิดทองให้ดูใหม่ซะหน่อยก็พรางตาไปได้แล้ว

แต่ท่านมักจะกำหนดอายุจากประวัติศาสตร์เลยเบ็ดเสร็จ
พอไปพลาดชิ้น key stone เข้า..... arch ก็ถล่มไปหลายโค้งครับ




ปล. 2 ยังไม่ลืมเรื่องชั้นเบญจาของคุณ virain นะครับ
แต่ขออนุญาตออกตัวก่อน ว่าไม่กล้าอธิบายเรื่องศัพท์ช่างเอง
เพราะยังอ่อนด้อยกับเรื่องนี้อยู่มาก... ขออนุญาตค้นหนังสือเพิ่มซักพัก(เล็กๆ)
พักใหญ่เดี๋ยว "คืนนี้" จะยาวเท่า 1 เดือนมนุษย์อีก

หรือระหว่างนี้ถ้าคุณจีนส์ หรือคุณยุทธพอมีเวลาว่างบ้าง
จะอนุเคราะห์ความรู้ลงกระทู้(ให้ผมด้วย)ไปก่อน ก็จะขอบพระคุณมากครับผม


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 14 พ.ย. 09, 11:30
คุณติบอนี่คุยสนุกแฮะ เหมือนคุญกะอินเดียน่า โจนส์ 55555555555  ผมชื่อยีนส์ครับ อย่าเรียกตามสำเนียงฝรั่งว่าจีนส์ก็ไม่เป็นไรอนเตอร์ดี อิอิ เรื่องอาจารย์ น.นั้นผมว่าท่านก็เหมือนหลายๆท่านละครับ นักประวัติศาสตร์ศิลป์นักโบราณคดีมักไม่มีใครเกิดทันทั้งนั้น จึงเกิดการคาดเดา ตั้งสมมุติฐานขึ้นมากมาย ถูกหรือผิดไม่มีใครฟันธง มักจะอาศัยพวกมากลากไป บางครั้งหลักฐานชัดเจนยังไม่ค่อยจะเชื่อเลย อย่างพ.ศ2277ที่เขียนไว้ที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้วสุทธารามนักวิชาการหลายท่านยังเคยวิเคราะห์ไว้ว่าเขียนเติมทีหลัง ส่วนเรื่องรูปเหล่ากษัตริย์ที่ข้างธรรมมาสน์ที่ผมไปเรียกเป็นเทวดานั้น ไอ้กระผมไม่ทันได้ดูรายละเอียดเท่านั้นดูแต่เครื่องทรงก็เลยเรียกเป็นเทวดา เพราะมันก็ใส่เครื่องทรงเหมือนๆกันนั่นแหละ ธรรมมาสน์วัดปรางค์หลวงผมยืนยันว่ามี พยายามหารูปมาให้ได้ จำได้ว่าดาวเพดานส์ธรรมมาสน์นั้นประดับกระจกเล็กละเอียดมากและบางหยั่งกับกระดาษ สมัยนั้นมีผู้บอกผมว่าเป็นสมัยอยุธยาตอนกลางแต่ถ้าพิจารณาแล้วตัวธรรมมาสน์มีกระจังโดยรอบแล้วน่าจะเป็นตอนปลายแล้ว ซึ้งคงต้องสืบค้นต่อไปครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 14 พ.ย. 09, 20:48
แฮ่.... ผมเป็นลูกเจ๊ก สัญชาติไทยครับคุณยีนส์
จะให้เป็น "อินเดีย" แถม "หน้าโจร" คงรับไม่ไหว
เพิ่งจะได้บรรพบุรุษอยู่เมืองเขมรมามะตะกี้นี้
ว่างๆคงต้องหาธูปแพเทียนแพไปกราบถึงนครวัดซะหน่อย....

เห็นด้วยกับคุณยีนส์อีกเช่นเคยครับ ว่าทุกอย่างเป็นการสันนิษฐาน
ก็ต้องว่ากันไปด้วยทิดสะดี๋ครับผม


ปล. ถ้าผมชวนคุณยีนส์คุยกันมากไป...
แล้วคุณvirain หงุดหงิด ก็บอกได้นะครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 พ.ย. 09, 13:06
ไม่หงุดหงิดครับ กำลังสนุกเลย  ;D

เวลาถ่ายภาพถ้าเจอชิ้นงานเจ๋งๆ ก็ค่อนข้างจะรวนๆถ่ายซ้ำบ้างถ่ายขาดบ้างครับ
ยิ่งถ้าเวลาน้อยๆก็จะยิ่งรน 555

เท่าที่ผมหาข้อมูลเกี่ยวกับธรรมาสน์อยุธยาตอนต้น-กลางระยะแรกๆ ก็พบเท่าที่คุณติบอแนะนำมา
ถ้าใครพบว่ามีที่ไหนอีกช่วยแนะนำบ้างครับ จะเป็นพระคุณมากๆ
กำลังอยากไปดูธรรมาสน์ที่มีศิลปะต่อเนื่องกันลงมาอีก ที่วัดโชติ(รอพี่ยีนส์พาไป) และก็ที่วัดโบราณ
แห่งหนึ่ง ที่บางใหญ่ (อาจารย์ น เขียนไว้) นอกจากนี้ยังไม่รู้ครับ

ตามที่ได้อ่านข้อมูล ที่พี่ยีนส์และคุณติบอวิเคาระห์มาคร่าวๆ แสดงว่าธรรมาสน์หลังที่สองนี้เป็นไปได้ถึงขั้นว่า
ทำเลียนแบบใหม่ในสมัยตั้งแต่อยุธยาตอนปลาย-รัตนโกสินทร์ใช่ไหมครับ

อาจารย์ น.ท่านได้ข้อมูลมาว่าที่วัด พผ พบธรรมาสน์ 2 หลัง หลังแรกที่ผมลงภาพเอามาจากวัดภูเขาทองอีกทีหนึ่ง แต่อีกหลังที่ไม่ปรากฏ
เป็นของวัดนี้แต่เดิม ท่าอธิบายว่า "ส่วนธรรมาสน์อีกหลังหนึ่งเป็นของเก่าติดกับวัดมาแต่เดิมแล้ว ฝีมือสลักไม้มีลายเก่า
เหนือกว่าหลังหลังที่กล่าวนี้ขึ้นไปอีก ยังไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าทำขึ้นในสมัยใด อีกประการหนึ่งก็ชำรุดผุพัง
จวนจะเป็นเศษไม้อยู้แล้ว" อันนี้ผมไปก็ไม่เห็นพระท่านพูดถึง หรืออาจเป็นเพราะว่าผมไม่ได้ถาม??


ที่แผงไม้กั้นที่ผมเรียกว่าแผงข้ออ้อยเพราะเห็นราวมันเป็นแบบลำเป็นข้อๆแบบต้นอ้อย พี่ยุทธเคยชี้ให้ดูที่ธรรมาสน์
สมัยอยุธยาตอนปลายหลังหนึ่ง เข้าใจว่าสมัยโบราณๆเวลาประกอบธรรมาสน์โดยใช้วัสดุสดๆส่วนนี้คงใช้ต้นอ้อยทำ???
ภาพนี้เป็นภาพของธรรมาสน์หลังที่สองครับ ที่แผงไม้กันตรงข้ออ้อยที่ว่าเป็นรูปพระพุทธเจ้าตรงนี้ทำขัดตามากเพราะไม่เคยเห็น
ธรรมาสน์สมัยอยุธยาที่ไหนเอารูปพระพุทธเจ้ามาไว้ที่ที่ดูต่ำเกินไปแบบนี้ จะเห็นก็มีแต่ธรรมสาน์สมัยนี้


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 พ.ย. 09, 13:17
ยังไงขอคุนเรื่องธรรมาสน์ให้จบก่อนดีกว่าค่อยลงภาพชิ้นอื่นๆต่อ เพราะกำลังน่าสนในเลยครับ
อันนี้เป็นลายตรงกระทงชั้นล่าง


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 พ.ย. 09, 13:18
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 13:13
กลัวว่าเดี๋ยวกระทู้จะไม่จบซะที ยังเหลือที่น่าสนใจอีกหลายชิ้น เลยขอลงต่อดีกว่าครับ
แต่ยังไงก็อยากรู้ธรรมาสน์พวกนี้อีก ส่วนตัวก็ชอบดูธรรมาสน์สมัยอยุธยาอยู่แล้วครับ
เพราะได้ศึกษาเรื่องสถาปัตยกรรม งานแกะ การออกแบบลาย ไปด้วยพร้อมๆกัน

ธรรมาสน์ของวัดแห่งหนึ่งครับ ที่วัดแห่งนี้พบด้วยกันถึงสามหลัง พระท่านเล่าให้ฟังว่า
ธรรมาสน์ถูกโจรกรรมชิ้นส่วนหายไปหลายชิ้น ธรรมาสน์ทั้งสามหลังก็เลยดูทรุดโทรม
ชาวบ้านจึงเสนอให้เลือกธรรมาสน์มาซ่อมหลังหนึ่งเพื่อที่จะใช้งาน เอาหลังที่สวยที่สุดเลย
ท่านว่าอย่างนั้น ส่วนสองหลังที่เหลือแนะให้พระท่านขายซะเพื่อนำเงินมาใช้พัฒนาส่วนอื่น!!
ต่อมาพวกผมจึงเดินไปดูธรรมาสน์สองหลังที่พระท่านว่าชำรุดมากองทิ้งไว้ หน้าห้องน้ำของ
ศาลาการเปรียญ ปรากฏว่าเป็นธรรมาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตัวกระจังหายไปเสียหมดแล้ว
พระท่านว่าแต่เดิมหัวหน้ารับเหมาสร้างโบสถ์มาขอซื้อตัวกระจัง ท่านไม่ขายเลยมาขโมยไปซะเลย
 


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 13:20
ที่ฐานธรรมาสน์ทั้งสองหลังทำเป็นฐานโปร่งตีไม้ไขว้กัน ถ้าชิ้นส่วนยังอยู่ครบบริบูรณ์ก็อาจ
มีลักษณะคล้ายๆธรรมาสน์วัดบางอ้อยช้างอยู่บ้าง แต่สำหรับธรรมาสน์ที่ชาวบ้านว่ากันว่าสวยงามนั้น
เป็นธรรมสน์สมัยรัตนโกสินทร์ ฝีมือไม่จัดนัก??(พี่เซียได้ดู) แต่ตอนหลังอธิบายให้พระท่าน
ฟังพระท่านเองก็ค่อนข้างเข้าใจ และไม่ได้อยากจะขายเพียงแต่ค่าซ่อมให้เป็นรูปแบบเดิมนั้น
ค่อนข้างมีราคาสูง และดูเหมือนมติชาวบ้านก็เป็นใหญ่


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 13:20
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 13:21
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 13:22
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 13:25
เสาหัวเม็ดทรงมัณฑ์เก่าๆต้นหนึ่งพบที่วัดแห่งหนึ่ง เสานี้ไม่ทราบว่าใช้ประโยชน์อะไรครับ
เพียงสังเกตว่ามีรอยบากตามแนวยาวทั้งสี่ด้านทะลุถึงกันบริวณโคนเสา


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:37
บานหน้าต่างจำหลักไม้ศิลปะอยุธยาตอนปลาย พบที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งทางวัดได้ทาสีทับบานหน้าต่างนี้ไว้
เพราะลวดลายผิวหน้าผุกร่อนไปแล้วบ้าง บานหน้าต่างคู่นี้แกะเป็นผุ่มข้าวบิณฑ์สามพุ่มล้อมรอบด้วยลาย
กระหนกผูกกันดูสวยงามมาก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:39
... :o


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:40
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:41
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:42
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:44
ภาพบานหน้าต่างหอไตรที่ฝาหอไตรที่วัดแห่งหนึ่ง ออกแบบสวยดีครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:45
เสมาหินทรายแดงมีลวดลายสมัยอโยธยาตามคำสันนิฐานของอาจารย์ น ณ ปากน้ำ
เสามาหินทรายชุดนี้แกะลวดลายได้สวยงามมาก แต่ปัจจุบันมีหลายชิ้นลายผุกร่อน
ุเลือนไปบ้างแล้ว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:49
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:51
พระปรางค์วัดส้มเป็นพระปรางค์ขนาดย่อมสมัยอยุธยาตอนต้น มีลวดลายประดับที่องค์พระปรางค์อย่างสวยงาม
จากบันทึกของอาจารย์ น เล่าว่า “ภายหลังได้หาทางเข้าไปตรวจถึงห้องคูหาปรางค์ภายใน ได้เห็นระบบการเรียง
อิฐอย่างละเอียดแนบสนิทไม่สอปูน” จากการสำรวจเรื่องการเรียงอิฐสมัยโบราณของอาจารย์ น นั้นทำให้เข้าใจ
ได้ว่าตั้งแต่สมัยอโยธยาเดิมเรื่อยมาจนถึงอยุธยาตอนต้น นิยมก่ออิฐแบบไม่สอปูนแต่ใช้เทคนิคการเรียงอิฐโดย
ผสานด้วยยางไม้??? แบบเดียวกับเทวะสถานที่ทำด้วยอิฐของขอม แต่เป็นที่น่าสนใจว่าลักษณะการก่ออิฐเช่นนี้
ทำให้สิ่งก่อสร้างนั้นๆแข็งแรงทนทานอย่างมาก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:52
ลวดลายปูนปั้นต่างๆบนองค์พระปรางค์นั้นหากปั้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น แล้วเหลือรอด
มาจนถึงปัจจุบันก็นับว่าเป็นงานปูนปั้นที่แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ ทำให้พระปรางค์วัดส้มนี้
เป็นปรางค์รุ่นเก่าที่สมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง แต่คาดว่าอาจมีการซ่อมแซมต่อมาบ้าง
ในภายหลังก็ได้ อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ??


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:56
ร่องรอยปูนปั้นที่เหลืออยู่ส่วนนี้ คล้ายๆว่าจะเป็นสัปทน?  :o


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 18:57
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 19:02
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 19:10
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 19:12
รูปเทวดานั่งเรียงแถวนี้สังเกตเห็นการนุ่งผ้า เครื่องแต่งกายดูคล้ายๆกับเทวรูปขอม


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 19:13
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 19:24
พระแท่นสมัยอยุธยาตอนปลาย? พบที่วัดแห่งหนึ่งปัจจุบันถูกซ่อมแซมทาสีใหม่ พระแท่นนี้ถูกเก็บไว้ในตู้กระจก
ซึ่งมีของอื่นวางบดบังทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพมุมอื่นมาให้ชมได้ แถมกระจกยังมัวเลอะเทอะด้วย
พระแท่นนี้เข้าใจว่าอาจเป็นพระแท่นบรรทม??ของเจ้านายในสมัยอยุธยา แล้วถูกนำมามอบให้กับพระสงฆ์ในวัดนี้
หรืออาจเป็นของพระราชาคณะหรือพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระแท่นนี้มีความยาวประมาณ
สองเมตรเศษๆกว้างประมาณเมตรเศษๆจากการกะประมาณด้วยสายตาครับ ชุดฐานทำรูปแบบเดียวกับพระยานมาศ
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 19:37
เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินว่าผมไม่สามารถบอกที่มาของโบราณวัตถุบางชิ้นได้จริงๆ เพราะกลัวจะเกิดปัญหา
ตามมาในภายหลัง ทั้งที่ใจจริงอยากจะบอกข้อมูลให้ท่านที่สนใจสามารถตามไปดูไปศึกษาได้ด้วย
และก็เสียดายที่เราต้องมาเดิมตามฝีมือโจรอีกต่อหนึ่ง กลายเป็นเราเดินตามฝีมือโจรแล้วโจรก็เดินตามฝีมือเรา
น่าปวดหัว เซ็งจิต จริงๆไหมครับ 555


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 16 พ.ย. 09, 20:07
การวิเคราะห์ว่างานชิ้นใดเป็นสมัยไหน คงต้องใช้การเปรียบเทียบสิ่งทีมีในยุคเดียวกันและหลักฐานทีมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ พงศาวดารและจากนักวิชาการที่ศึกษาอย่างจริงจังและเขียนเป็นตำรับตำราไว้ ไม่ด่วนสรุปยุ๕สมัยลงไปโดยขาดน้ำหนักสนับสนุน อย่างธรรมบ้าน3องค์ที่น้องเนถ่ายรูปมา ก็ยังไม่ชัดว่าจะถึงสมัยอยุธยา เพราะรายละเอียดที่เหลืออยู่มันน้อย ส่วนที่วัดส้มนั้น พี่มีหนังสือที่เป็นผลงานของอาจาย์ สมิทธิ ศิริภัทธิ์ซึ่งท่านได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องปรางค์วัดส้มไว้ตั้งแต่ยังไม่บูรณะน่าสนใจทีเดียว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:41
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับพี่  ;D

ภาพเขียนภายในคูหาพระปรางค์วัดมหาธาตุครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:43
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:50
ขอเร่งส่งภาพเข้ากระทู้หน่อยครับ เพราะต้องไปลพบุรีและหลังจากนั้นอาจต้องไปทำธุระหลายวัน
ทิ้งไว้นานๆจะขาดตอนต่อไม่ติด ต่้องขออภัยด้วยครับที่อาจต้องลงแต่ภาพอย่างเดียวเลย

ภาพเขียนจากวัดช้างใหญ่ อยุธยาครับ พวกเราไปถึงวัดช้างใหญ่ก็เย็นมากแล้ว ผมเองก็ยังไม่ได้หาข้อมูลศึกษาเกี่ยวภาพเขียน
ที่วัดนี้เลยต้องขอรบกวนพี่ยีนส์ หรือท่านอื่นๆด้วยอีกที ภาพเขียนที่วัดนี้ดูท่าทีเหมือนจะเป็นของอยุธยามาก่อนแต่จะมีมาซ่อม
แต่งเติมกันยังไงไม่แน่ใจครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:51
... จากภูริทัตชาดก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:53
... ????


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:54
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:55
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:57
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ย. 09, 23:59
... ภาพนี้พระนารทพรหมครับ ไม่เอาหาบมา?


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:00
...  ปราสาทพระเจ้าอังคติ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:01
... พระเจ้าอังคติ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:04
ภายในพระวิหารปรากฏภาพมารผจญอยู่เบื้องหลังพระประธาน เมื่อถ่ายภาพเวียนขวามาก็จะถึงผนังด้านนี้
ซึ่งเจาะช่องประตูเดียวเยื้องไปทางซ้ายของพระประธาน


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:05
... พระแม่ธรณี


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:05
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:07
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:09
หากเข้าทางประตูด้านหลังพระประธานนี้มา ก็จะพบภาพเขียนเรื่องเตมีย์ชาดกที่ผนังด้านซ้ายมือก่อน
นับเป็นคติที่แปลกอย่างหนึ่งเท่าที่พบเห็นครับ เข้าใจว่าคงมีการซ่อมแซมใหม่ในสมัยหนึ่งทั้งภาพเขียนและตัวอาคาร


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:11
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:12
... มหาชนกชาดกครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:13
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:14
... สุวรรณสามชาดกครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:15
... เนมิราชชาดก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:16
... มโหสถชาดก?


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:19
ภาพไตรภูิือยู่ที่ผนังด้านตรงข้ามพระประธาน


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:20
... เทพชุมนุม


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:20
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:21
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:22
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:24
ลายรดน้ำจากตู้พระธรรมพบที่วัดแห่งหนึ่ง เขียนเรื่องทศชาติด้านหน้าเขียนมโหสถชาดก
ตอนกษัตริย์ร้อยเอ็ดนครบุกมิถิลา ฝาข้างด้านขวา(ของตู้)เขียนเตมียราชชาดกถึงเนมิราชชาดก
ส่วนฝาข้างด้ายซ้ายเขียนเรื่องภูริทัตชาดกจนถึงเวสสันดรชาดกเดาว่าตู้นี้เป็นงานในสมัยอยุธยา
จากสามตู้ที่พบตู้หนึ่งปิดทองทึบอีกตู้เขียนลายผูกกันยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นของสมัยไหนแต่ฝีมือไม่ดีนัก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:26
ภาพตอนมโหสถชาดกนี้เขียนเป็นสี่ฉากใหญ่ๆสลับด้วยเส้นสินเทาซึ่งช่างเขียนลายได้งดงามมากกว่าด้านอื่นๆ โดยเฉพาะภาพพระเจ้าวิเทหราชประทับนั่งเหนือบัลลังก์เสียพระราชหฤทัยอยู่ในปราสาท มีสี่มหาบัณฑิต
นั่งอยู่ด้านล่างด้วยความกังวล ล่างลงมาเป็นการรบพุ่งกันที่กำแพงเมือง เขียนเป็นจังหวะๆมีรายละเอียดพอดิบพอดี
อย่างผ้าม่าน ลายกระหนก ราชบัลลังก์ 


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:29
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:36
บานประตูตู้ด้านหน้าข้างซ้ายของตู้ชำรุดจึงมีการซ่อมแซม ทำให้ลวดลายหายไปส่วนหนึ่ง
ภาพนี้เป็นตอนที่เห็นบ่อยมากในการเขียนภาพมโหสถชาดกครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:38
สงสัยว่าจะถูกจำกัดขนาดไฟล์ซะแล้ว ครับ ... ??? ภาพต้องลดขนาดลงแล้ว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:41
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:42
ภาพสลับฉากด้วยเส้นสินเทาสับกันไปมา ภาพล่างสุดด้านซ้ายเป็นรูปเรือพระที่นั่ง
ซึ่งเขียนได้สวยงามงามมาก โดยเขียนคล้ายจะเป็นเรือไชยแบบเรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชยประมาณนั้น


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:43
ขยายอีกสักภาพเนื่องจากไฟล์ภาพเล็กลงครับ  :D


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:46
ลายบริเวณขาตู้ด้านล่างครับแกะเป็นลายไทยผสมลายฝรั่ง


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:47
ต่อมาเป็นฝาตู้ด้านขวา ผมจะลงภาพไล่เรียงตามลำดับทศชาติชาดกเลยนะครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:48
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:48
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:49
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:50
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:51
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:52
ฝาตู้ด้านซ้ายเริ่มต้นจากภูริทัตชาดกครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:52
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:53
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:53
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:54
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:55
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:55
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:56
ตู้อีกใบหนึ่งครับนำมาฝากกันแบบเก็บตก


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:58
จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทร์เกษม


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 00:59
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:00
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:03
หีบพระอภิธรรมเขียนลายทองครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:03
... จี้เอว ขำ ขำ  ;D


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:04
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:05
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:07
หีบเขียนลายทองสมัยอยุธยาขนาดใหญ่ แรกเดิมทีประหลาดใจกับรูปทรงของหีบอยู่เหมือนกัน
ภายหลังพี่เซียหาข้อมูลได้ว่า เป็นหีบฝาบัวถลาสี่ชั้น


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:08
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:08
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:09
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:09
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:15
นอกจากนี้พวกเรายังมีโอกาสได้เดินทางไปที่วัดซองพลู เพื่อไปชมพระอุโบสถหลังเก่าที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ภายในวัดมีโบราณสถานเป็นพระอุโบสถซึ่งพระอุโบสถหลังนี้ถูกบูรณะใหม่โดยช่างรับเหมา ถึงแม้ทางวัดจะทำไปเพราะมีเจตนาที่ดี
แต่ก็ส่งผลเสียต่อโบราณสถานไม่น้อย เพราะมุมมองของทางวัดก็เป็นคือศาสนสถานที่ใช้ประกอบศาสนกิจ เป็นอาคารที่
ใช้ประโยชน์ได้จึงต้องการความมั่นคงแข็งแรง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ใช้ประโยชน์ก็คงจะผุพังไป แต่เมื่อกรมศิลปากรเข้าไป
พบเห็นอีกครั้งก็ปรากฏว่าซ่อมใหม่เรียบร้อยเกือบหมดแล้ว(จากตอนนี้ก็ประมาณ2ปี) กรมศิลปากรจึงเข้าไปตักเตือนกับทางวัด
และเก็บชิ้นส่วนบางอย่างไป  บรรดาช่างที่มาซ่อมกลัวถูกจับก็พากันหนีไปหมด เพราะการซ่อมเข้าข่ายการทำลายโบราณสถานของชาติ ผลจากการซ่อมมีการกะเทาะผิวปูนที่ผุออกจนหมดแล้วฉาบผนังปั้นซ่อมซุ้มหน้าต่างประตุใหม่เปลี่ยนหลังคาเครื่องบน ถึงแม้ทางวัด
จะพยายามคุมให้อยู่ในรูปแบบเดิม แต่ความไม่มีความรู้ความชำนาญในการอนุรักษ์ของช่าง จึงทำให้รูปแบบผิดเพี้ยนไป
ข้อมูลจากการเล่าของพี่เซียบอกว่าวัดนี้แต่เดิมซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นแบบฝรั่ง ที่ปัจจุบันมีการปั้นใหม่เลียนรูปแบบเดิม
แต่ไม่เหมือน และออกมาพิมพ์เดียวกันทุกช่องหน้าต่างและประตู บานประตูหน้ามีสองช่องเหลือลายรดน้ำรูปเทวดาสมัยอยุธยา
ที่บานคู่ซ้ายแต่เลือนรางจนแทบหมดแล้ว


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:19
ช่องหน้าต่างทั้งแปดช่องเจาะเป็นช่องแหลม(มองเห็นได้จากด้านใน)แล้วใช้แผ่นไม้คั่นแบบคานให้อยู่ในทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
บานหน้าต่างปรากฏร่องรอยเดาว่าเป็นลายรดน้ำแต่รางจนมองไม่ถนัด ปัจจุบันบานหน้าต่างถูกทาสีทับหมด ท่านใดมีรูปภาพ
ของซุ้มหน้าต่างชุดนี้หรือสภาพวัดก่อนการซ่อมแซม ขอความกรุณาลงรายละเอียดให้เห็นด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณมาก

สอบถามข้อมูลกับพระในวัดพบว่ายังมีเศษปูนปั้นบางส่วนเหลืออยู่(ได้ยินว่าส่วนใหญ่ พช.ที่สุพรรณบุรีเก็บไป) เศษปูนปั้นดังกล่าว
ถูกทิ้งจมดินอยู่ในน้ำที่ท่วมขังข้างทางเดิน พี่เซียบอกกับพระท่านว่าเป็นงานสมัยอยุธยาและขอให้ท่านเก็บไว้ พระท่านก็ปฏิเสธที่จะนำไปเก็บไว้ เห็นอย่างนั้นเลยคิดว่าน่าจะนำมาเก็บไว้ก่อนดีกว่าทิ้งให้จมดินถมที่อยู่อย่างนั้น เลยเข้าไปขอกับท่านเจ้าอาวาสซึ่งท่านก็อนุญาตให้ เช้าวันรุ่งขึ้นผมจึงเดินทางไปกับเพื่อนอีก1คนและออกเดินหาเศษชิ้นส่วนอื่นๆบริเวณวัดแต่ไม่พบ พระท่านเล่าว่าเศษอิฐที่เหลือ
จากการรื้อกำแพงแก้วบางส่วนและอิฐจากเจดีย์เก่ารอบๆ ถูกนำไปถมที่และใช้ประโยชน์อื่นหมดแล้ว ผมกับเพื่อนจึงช่วยกันคุ้ยเขี่ย
ในโคลนแถวนั้นดูแล้วขนเศษปูนปั้นมาทำความสะอาด เลือกเฉพาะชิ้นส่วนสำคัญๆได้ประมาณ  20 ชิ้นมาขัดๆเอาเศษดินที่ติดออก
แล้วเลือกเอากลับมา 14 ชิ้นเพราะต้องนั่งรถแทคซี่ไม่สามารถนำมาทั้งหมดได้ ผมคุยกับพี่เซียเห็นควรว่าน่าจะเอาไปมอบให้กับ
พิพิธภัณฑ์ที่ไดสักที่หนึ่งครับ (ติดต่อไปแล้วแต่ยังไม่มีความคืบหน้า)


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:20
ชิ้นนี้เป็นสำคัญคือส่วนยอดของซุ้มหน้าต่างหรือประตู เป็นยอดพุ่มดอกไม้คล้ายๆพุ่มข้าวบิณฑ
์แต่ใช้ลายแบบฟรั่ง เป็นรูปแบบศิลปะอยุธยาตอนปลายที่นิยมกันในหลังยุคสมเด็จพระนารายณ์ฯลงมา


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:21
รูปศีรษระฟรั่งผมหยิกมีฟันกระต่าย  :o


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:21
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:22
...


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:29
ก็เป็นข้อมูลที่เกิดการตามรอยค้นพบศิลปะสมัยอยุธยาของผม พี่เซีย และพี่แพรในคราวนี้ ซึ่งก็ได้รู้ได้เห็นอะไร
ที่น่าสนใจประดับความรู้กันขึ้นมาบ้าง และที่นำภาพมาลงแบ่งปันนั้นนอกจากจะเป็นการเผยแพร่รูปแบบศิลปะไทย
ในลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏตามโบราณวัตถุที่มีความงดงามแล้ว ยังหวังว่าจะได้รับความรู้เพิ่มเติมอีกจากพี่ๆในชมรมหรือ
ท่านอื่นๆที่แวะเวียนเข้ามาครับ

 ช่วงนี้ผมเองก็เพลียๆเหนื่อยๆ ต้องทำอะไรหลายๆอย่างหยุดพักได้แปบๆก็มีอันต้องทำโน่นทำนี่
จะว่าไปการทำอะไรแบบที่ชมรมเรากำลังพยายามทำนี่มันก็เหนื่อยเหมือนกันจริงๆ สิ้นเปลือง
ทั้งกำลังทรัพย์ และกำลังกาย ว่าเอาแต่กำลังกายยังพอไหว ลำบากอยู่ก็ที่กำลังทรัพย์
เหนื่อยๆเข้าก็พาลหมดกำลังใจไปด้วย ผมเองก็ไม่ได้เรียนมาทางนี้โดยตรง ก็จำเป็นต้องไปทำ
ตามเรื่องที่เรียนอยู่ด้วยอีกต่อหนึ่ง ช่วงนี้ก็หันไปดูเรื่องโปรเจคทำๆไปก็หันมาโพสรูปลงกระทู้ครับ

เรื่องศิลปะเป็นเรื่องจรรโลงใจ แต่ช่วงนี้รู้สึกจะจริงจังมากเกินไปจนทำให้เริ่มสับสนวุ่นวาย
เพราะหลังจากจบแล้วไม่รู้จะมีโอกาสได้ ไปตระเวณดูโน่นดูนี่อีกหรือเปล่า ช่วงนี้เลยพยายามหาโอกาส
อยู่กับมันให้มากที่สุด ก่อนที่จะต้องไปทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง

หลังจากเคลียทริป ลพบุรี อ่างทอง เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ก็คิดว่าคงต้องหยุดทริปศิลปะแบบจริงจัง
สักพักมาเป็นทริปธรรมชาติ chill chill บ้าง หรือไม่ก็มานั่งอ่านหนังสือให้มากๆหาความรู้กันหน่อยครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:38
     ...
     ...
     ...
     ...
     ...
     ...

          พระคงคาวารีที่รินไหล      
     พาดผ่านไปหล่อเลี้ยงฝั่งทั้งสอง
     ดั่งเส้นเลือดโอบอุ้มและคุ้มครอง   
     เป็นสายของลำเจ้าแต่เก่ามา
     สายน้ำไหลรินเลื่อนย่ำเยือนถิ่น   
     ย่อมผ่านสิ้นดีชั่วมั่วปัญหา
     ทั้งประโยชน์โทษซัดพัดผ่านมา   
     เปรียบดังว่าคือมนุษย์สุดทัดทาน



กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 01:41
          มวลมนุษย์มีมากอยู่หลากหลาย   
     ต่างจุดหมายที่มาภาษาขาน
     ทั้งความคิดฤทธิ์เล่ห์เสน่ห์พาล   
     สุนทรทานเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
     ทั้งดีชั่วปะปนระคนเข้า      
     มีความเศร้าความทุกข์และสุขสันต์
     จากรื่นเริงจนพลัดพรากต้องจากกัน   
     วงจรนั้นยังหมุนเวียนไม่เปลี่ยนแปลง

     ...
     ...
     ...
     ...
     ...                                                virain


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 17 พ.ย. 09, 08:47
วัดช้างใหญ่เป็นวัดมีมาแต่สมัยอยุธยา ภาพเขียนก็น่าจะมีมาแต่สมัยนั้น แต่มีการมาซ่อมแซมเขียนทับ ในสมัยร.4 ส่วนสภาพปัจจุบันนั้นเป็นการซ่อมโดยช่างปัจจุบันเสียแล้ว สำหรับตู้ลายรดน้ำนั้น น่าจะเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่ถึงอยุธยา แต่ยังสงสัยอยู่ตรงตู้ที่มีขบวนเรือนั้นคล้ายที่วัดอนงคารามที่ฝั่งธนที่เป็นสมัยอยุธยา(พระนารายณ์)มากๆ(ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว) ส่วนหีบพระธรรม ลวดลายคล้ายอยุธยา แต่ฝีมือไม่ดีนัก คล้ายจะเลียนแบบแต่ฝีมือไม่ถึง แต่ลักษณะตัวภาพตัวลายต้องบอกว่าเป็นอยุธยาครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ย. 09, 11:09
ขอบคุณครับ ว่าแต่ตู้วัดอนงคารามที่หายไปแล้ว เขียนเรื่องอะไรพี่พอมีรูปถ่ายไหมครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 18 พ.ย. 09, 19:03
จริงๆแล้วเรื่องตู้พระธรรมวัดอนงคารามนั้น ผมไม่แน่ใจนะครับ ว่าอยู่ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสาน หรือ พิพิธภัณฑ์ของวัดนั้นแหละมั้งครับ คาดว่ายังไม่หายไปไหน เพราะเคยเห็นไหนหนังสือท่องเที่ยวฝังธนบุรี ไม่กี่ปีมานี่เอง


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 18 พ.ย. 09, 19:12
พบแล้วครับ ตู้พระธรรมที่ว่าอยู่ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสานจริงๆๆครับ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ก็ตั้งอยู่ที่วัดอนงนั้นแหละครับ  www.dhammajak.net/board/files/paragraph_5_362.jpg


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 18 พ.ย. 09, 19:26
เอาใหม่นะครับ www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=01-020


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 18 พ.ย. 09, 19:39
 ผมต้องขออภัยด้วยเนื่องด้วยไม่เก่งเรื่องคอมพิวเตอร์ ก็เลยไม่สามารถนำภาพลงได้ครับ เอาเป็นว่าอยู่ใน web ทั้งสองที่ให้ไว้แล้วกันน่ะคับ ลองคลิกหาตู้พระธรรมวัดอนงคารามดูครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 18 พ.ย. 09, 21:13
ดีใจจริงๆที่ตู้พระธรรมชิ้นงามนี้ยังอยู่ น่าเสียดายที่เมื่อ2เดือนก่อนไปถ่ายวัดทองธรรมชาติแล้วไม่ได้ลองแวะไปดู นี่ครับถ่ายด้วยฟิลม์ขาวดำ27ปีมาแล้ว สวยทั้งตู้ทั้งด้านหน้าด้านข้าง โดนเฉพาะกรอบลายข้างตู้สวยมากๆ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: sak ที่ 25 ส.ค. 11, 16:11
ดีใจที่ได้เห็นงานโบราณที่ยังมีอยู่
หลังจะนึกว่างานเหล่านั้นคงสูญสิ้นไปหมดแล้ว
คอยติดตามครับ


กระทู้: สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: หัวโบราณ ที่ 30 ก.ย. 11, 12:07
ขอบคุณอย่างที่สุดเลยครับ

ไม่ทราบว่าพี่ virain  ได้เสก็ตลวดลายปูนปั้นที่พี่เก็บมาไว้หรือไม่ครับ 

เพราะว่าลวดลายน่าสนใจมาก  และผมขออณุญาติ copy  ไฟล์รูปบางส่วนที่ผมสนใจเพื่อนำไปศึกษาต่อนะครับ

เพราะเป็นข้อมูลได้ดีมากเลยครับ  แล้วจะติดตามอีกนะครับ

    อืม  พอดีมีงานปูนปั้นที่วัดไลย์  ลพบุรีอยู่บ้างส่วน  กำลังหาข้อมูลเพื่อเสริมรูปภาพอยู่  คิดว่าจะเอามาลงเพื่อให้กูรูช่วยแนะนำได้บ้าง

ขอบคุณในข้อมูลครับ