เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 30 มิ.ย. 06, 15:12



กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 มิ.ย. 06, 15:12
 ต่อเนื่องจากกระทู้นี้
ภาพเมืองไทยในอดีต (๕)
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=18&Pid=38773

คุณpipat เพิ่งแนะนำเว็บนี้ให้เข้าไปอ่าน
 http://www.geh.org/ne/str105/htmlsrc3/iagor_sum00001.html

อัศจรรย์ใจมาก เมื่อพบพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อน
คือภาพนี้ค่ะ
.
.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 มิ.ย. 06, 15:25

ขยายรูปให้ใหญ่  แต่ก็ยังไม่ชัด  
ภาพนี้ประกอบอยู่ในหนังสือ Voyage de Monsieur Logor
เป็นชาวฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางมาสยามและอินเดียในรัชกาลที่ 4  

ดิฉันสงสัยว่าสตรีในภาพคือสมเด็จพระเทพศิรินทร์  พร้อมด้วยพระราชโอรสธิดา ๓ พระองค์  คือเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (กรมพระจักรพรรดิพงศ์) และเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล
ส่วนที่นั่งข้างล่างคือพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้า

แต่ก็ยังไม่แน่ใจอยู่ดี  
อยากถามผู้รู้ พอจะทราบบ้างไหม


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 มิ.ย. 06, 15:53

.
.
ดิฉันเข้าใจว่าเป็นพระองค์เดียวกัน กับในพระบรมฉายาลักษณ์นี้


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 30 มิ.ย. 06, 19:47

.
มาช่วยยุ่งครับ
รูปนี้น่าตื่นเต้ลล์จนขนหัวลุกทีเดียว แล้วก็เอาหัวหมูน้อยฯ เป็นประกัน ว่าเป็นการพบใหม่ซึงๆ ขนิดที่ว่ากรุแตก
กลิ่นรายังหอมติดตะหมูก...อ่า  ..ฮัดเฉ้ยยย์ ง่ะ มันฉุนครับเพ่

ผมขอตั้งข้อสังเกตก่อน ว่า พระรูปนี่ดูเก่ามาก มากเกือบจะย้อนไปถึงต้นรัชกาลที่เดียว
แต่....
มันดูเก่าเพราะกล้องมันห่วยมากฝ่า คือมันเป็นกล้องสองตาครับ กล้องชนิดนี้เอาถูกเข้าว่า เพราะทำมาเพื่อความบันเทิง
คือเอารูปวางห่างตาสัก 20 ซม. ให้กลางรูปตรงกับกลางจมูกของเรา
ตาเพ่งไป มันจะเหล่ เพราะระยะห่างทำให้ตาสองข้างแย่งกันทำงาน เอ...ใครเป็นพวกแนวสุขภาพมาอธิบายหน่อยนะครับ
สรุปว่า เมื่อมองด้วยเครื่องมือที่ทำมากับกล้อง จะเห็นเป็นรูปสามมิติครับ

จะเดาว่าปีใหนก็ต้องเดาว่า พระราชกุมารที่นั่งติดพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นพระธิดา ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะได้แนวทางการเดาไปอย่างหนึ่ง

ทีนี้มาถึงข้อสังเกตที่สอง
พระรูปนี้ ฉายเมื่อมีเจ้านายเล็กๆอยู่เต็มวังแล้ว องค์โตน่าจะราวแปดเก้าขวบ ที่ยังเล็กๆ ดุกดิกจนกล้องจับไม่ได้ ก็ราวสามถึงสีขวบ ใครแม่นเรื่องราชสกุล ก็ลองนับดูว่า ราวปีใหนที่น่าจะมีเจ้านายเล็กๆ มากถึงเพียงนี้

ข้อสุดท้าย สถานที่ อันนี้เห็นขัดว่าทรงประทับกลางแจ้งเพื่ออาศัยแดดช่วย อยู่ตรงหน้าลานอาคาร ซึ่งจะมีรูปอื่นให้เทียบได้ เพราะเป็นฉากเดียวกัน

เอาสามข้อก่อน แล้วเราค่อยมาดูกันว่าจะสางปมปริศนาในพระบรมฉายาสาทิศลักษณ์ที่พบใหม่ได้มากน้อยแค่ใหน

อ้อ แก้คำผิดนิดหน่อยครับ Monsieur Logorไม่ได้เอารุปไปพิมพ์หนังสือครับ แต่เอารูปไปทำขายเป็นชุดๆ
เหมือนสมัยเด็กเราดูกล้องงานวัด ที่เขาทำเป็นวงล้อ เราไปเสียเงินสองบาทก็เลือกได้ชุดหนึ่ง
นี่เป็นบรรพบุรุษของกล้องงานวัดครับ คือทำเป็นชุด เช่นชุดจับช้าง ชุดสงครามมีคนตาย แล้วขายมหาชน เหมือนเดี๋ยวนี้ขายดีวีดี สมัยโน้นก็ขายรูปสะเตริโอกราฟ ขายดีจนผู้ผลิต จ้างช่างภาพตระเวณทั่วโลก เอากลับมาผลิตขาย

กระทู้นี้อาจจะต้องตั้งรางวัลนำจับ ว่าใครไขปริศนาได้เจ๋งกว่ากัน


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 30 มิ.ย. 06, 19:54

.
ขยายเพิ่มขึ้นครับ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 30 มิ.ย. 06, 20:02

.
พระเจ้าอยู่หัว กับพระนางนาฏราชเทวีในปี 2399 รูปนี้ผมกลับซ้ายเป็นขวา โดยถือพระธำมรงค์เป็นหลัก  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 30 มิ.ย. 06, 20:08

.
ฉายก่อนพระนางเธอสิ้นพระชนม์ไม่นาน ราว 2403


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 30 มิ.ย. 06, 20:14

.
คราวนี้ลองเทียบกัน ผมทำให้เบลอพอกัน จะได้ไม่เสียเปรียบกับ
พระนางเธอทรงพระศิริโฉมเหนือกว่าใหมครับ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 30 มิ.ย. 06, 21:33
 อ้า....
คุณพิพัฒน์กำลังจะอธิบายว่า พระนางทั้งคู่เป็นคนละพระองค์กัน ???

ขออนุญาตมานั่งฟังด้วยคนนะครับ    


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 30 มิ.ย. 06, 22:20
 ผมอธิบาย ไม่สำคัญเท่าตาคุณหมูน้อย
เห็นว่าเหมือนกันหรือเป่า
ไม่ได้จะมาอธิบายจ้ะ
จะมาถามคนที่ตาดีฝ่าเราตะหาก ว่าเหมือนหรือไม่เหมือน

หรือใครช่วยบิดรูปทางขวาให้เป็นมุมเดียวกับทางซ้ายก็ได้
ช่วยหน่อยคร๊าบบบ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: B ที่ 30 มิ.ย. 06, 23:44
 ตาดิฉัน มองว่าเป็นพระองค์เดียวกันค่ะ คุณพิพัฒน์


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 01 ก.ค. 06, 00:52

.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (ประทับนั่ง) พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์
กรมขุนพินิจประชานาถ ทรงเชิญผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำสิงคโปร์ (มีสเตอร์แฮรี ออร์ด)
มาชมสุริยุปราคา ณ พลับพลาที่ประทับ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้พระองค์ทรง
สามารถคำนวนเวลาที่คราสเสวยเต็มดวงได้อย่างแม่นจำ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2411 ผู้สำเร็จราชการ
ก็ได้กราบบังคมทูลเชิญพระองค์เสด็จสิงคโปร์ด้วย แต่พระองค์ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตเสียก่อน


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 01 ก.ค. 06, 01:10

.
ปี 2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ฯ (ประทับยืนหน้าสุดถือพระมาลา) ขณะทรงมีพระชนมายุ
18 พรรษา เสด็จสิงคโปร์และปัตตะเวีย  (อินโดนีเซีย) ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษและดัทช์ ที่
มีความเจริญสูงสุดในย่านนี้ เพื่อทอดพระเนตรบ้านเมืองและกิจการสาธารณูปโภคต่างๆ ภาพนี้ถ่ายที่
สวนพฤกษศาสตร์ สิงคโปร์

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ในปี 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
กรมหมื่นวิษณุนารถฯ เสด็จเยือนสิงคโปร พร้อมด้วยเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 ก.ค. 06, 01:16

.
ขอค้านนะครับ

ผมไม่เคยเห็นพระเจ้าแผ่นดินไทยประทับนั่งโดยมีใครผู้ใดค้ำพระเศียร และไมม่นึกว่าเมื่อร้อยห้าสิบปีก่อน ทำอย่างนั้นได้

เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ปีนั้นท่านมีหม่อมห้ามแล้วครับ มีพระธิดาแล้วด้วย เด็กที่นั่งถือดาบน่ะใครก็ไม่รู้ อายุสักสิบขวบกระมัง

รูปนี้คุณเอนกว่าเป็นพระบรมรูป กรมศิลปากรก็ว่าเป็นพระบรมรูป
คุณก็ว่าอีกคนว่าเป็นพระบรมรูป

คุณมีรูปที่ชัดกว่านี้ใหมครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 ก.ค. 06, 01:21

.
ศักดิศรีพระเจ้าแผ่นดินไทย ควรต้องเป็นแบบนี้มังครับ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 01 ก.ค. 06, 01:29

.
เรือหลวงพระที่นั่ง พระราชพาหนะที่ทรงใช้ในการเดินทางไปสิงคโปร์และปัตตะเวีย การเดินทางลงใต้สมัยนั้น
ทางเรือสะดวกที่สุด จนกระทั่งทางรถไฟสายใต้ของไทยสร้างเสร็จ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 01 ก.ค. 06, 02:13

คำบรรยายภาษาไทยทุกคำ แปลมาจากภาษาอังกฤษ (sitting on a chair) ครับ
รูปเรือก็มีชื่อภาษาอังกฤษ แต่ถอดเป็นภาษาไทยได้แค่ช่วงท้ายว่า "รณยุทธ"
ส่วนหน้าสะกดแล้วไม่เป็นภาษาไทยที่แน่ใจ จึงหลีกเลี่ยงไม่ใส่มาครับ
ooooooooooooooo
รูปนี้บอกรายชื่อเฉพาะเจ้านะครับ
แถวหน้าจากซ้ายคนที่ 2 กรมพระสมมติฯ
คนที่ 3 กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ
คนที่ 4 เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาฯ
คนที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
คนที่ประทับล่าง กรมหลวงราชบุรีฯ
คนที่ 6 เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกฯ
นั่งริมสุด กรมพระยาดำรงฯ
แถวหลังที่ 4 จากซ้าย กรมหลวงมหิศวรฯ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 01 ก.ค. 06, 03:01

ประทับนั่งซ้ายมือ
กรมหลวงพิษณุโลกฯ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
กรมขุนนครราชสีมาฯ
พระศรีพัชรินทราฯ
เจ้าจอมมารดา Jum (ไกรฤกษ์)


แถวหลังยืน
กรมขุนศรีธรรมาราชธำรงฤทธิ์  (สิ้นพระชนม์ 18 พรรษา)
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
กรมหลวงลพบุรีฯ (หลังพ่อ)
Sir Charles Mitchell, the Governor of the Straits Settlements
กรมพระยาดำรงฯ
Lady Mitchell, wife of the Governor of the Straits
ประทับยืนหลังเจ้าจอม กรมหลวงราชบุรีฯ
ประทับยืนขวาสุด กรมหลวงเพชรบุรีฯ (Bejraburi Rajasirindhorn กันพลาด)


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 01 ก.ค. 06, 03:11
 ถึงคุณJaponica ครับ ผมขออนุญาตออกมาสนับสนุนคุณpipat หน่อยล่ะครับ เพราะเท่าที่ผมจำได้ พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ประทับนั่งในขณะฉายพระรูปโดยมีพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ยืนด้านหลัง คือรัชกาลที่ 5 นะครับ



(และถ้าจำไม่ผิด น่าจะหลังจากเสด็จชวา ?? - ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ผมยังไม่เคยค้นประวัติศาสตร์รัชกาลที่ 5 เองสักที)







ส่วนภาพเปิดกระทู้ของ อาจารย์เทาชมพู ผมขอยกเอาภาพในความเห็นที่ 4 ซึ่งเห็นรายละเอียดได้ชัดกว่ามาคุยหน่อยครับ (ที่จริงต้องมีไม้โทแหละ อิอิ เพราะน่าจะเป็น 'คุ้ย' มากกว่า)



ขอตอบด้วยเรื่องผ้าละกันนะครับ (เพราะเป็นเรื่องที่ผมถนัดเพียงเรื่องเดียวนี่นา แหะๆ)



อย่างแรก ผ้าทรงสะพักผืนในความเห็นที่ 4 ถ้าสังเกตดูดีๆจะเห็นได้ว่าด้านที่ชิดแนวกลางตัว เป็นรอยพับ ส่วนริมนอกเป็นริมผ้าชัดเจนนะครับ แสดงว่าผ้าผืนนี้ "ห่มไม่มิด" แน่ๆ เพราะฉะนั้นผืนนี้น่าจะเป็นทรงสะพักชั้นนอกครับ ไม่ใช่สไบ



อย่างที่ 2 ผ้าผืนนี้เนื้อค่อนข้างหนัก แต่อาจจะแข็งเล็กน้อยถึงจะไม่แข็งเท่าผืนในความเห็นที่ 2 ก็น่าจะแข็งและหนักเกินกว่าที่จะเป็นผ้าแพรได้



อย่างที่ 3 พระภูษาที่ทรง เป็นพระภูษาจีบแน่ๆ เพราะชายพระภูษาปิดลงมาเกินครึ่งแข้งนะครับ



การทรงพระภูษาจีบ และใช้ผ้าทรงสะพักห่มทับสไบในรัชสมัยพระจอมเกล้าฯ เท่าที่อาจารย์ (ในเวบนี้แหละ) ท่านหนึ่งเคยสอนมา และผมลองไปค้นเพิ่มเติมจากภาพถ่ายเก่าดู พบว่ามีพระมเหสีเทวีเพียง 2 ตำแหน่งนะครับที่สามารถทรงได้ คือ 1) พระราชินี -พระนางเธอ- จะทรงสะพักเป็นซึ่งมีไหมโลหะทอหรือปักแทรกในเนื้อผ้า 2) สนมเอก -เจ้าจอมมารดาเที่ยง (?)- ภาพที่พบทรงสะพักแพรพิมพ์ลาย (อย่าเชื่ออะไรผมมากนะครับ เพราะผมใช้ตำราแค่ 3 เล่มเอง แหะๆ)



อย่างที่ 4 แถมอีกนิดนึงสำหรับคนที่ต้องสอบเรื่องผู้ป่วยระบบประสาทเอาวันพฤหัสหน้า มุมพระโอษฐ์ของพระจอมเกล้าฯในภาพที่ 4 ตกมากแล้วนะครับ (น่าจะพอๆกับในภาพที่ 6 ได้) ไม่เหมือนตอนยังหนุ่มยังแน่นในภาพที่ 5 นะครับ เพราะฉะนั้นภาพนี้น่าจะฉายไว้หลังปี 2400 มาแล้วหลายปีอยู่นะครับ







จากข้อมูลทั้ง 4 ข้อที่ผมยก(เมฆ)มา ผมก็เลยขออนุญาตใช้วิชามั่ววิทยาเดาว่าสตรีสูงศักดิ์ปริศนาในภาพนี้น่าจะเป็นพระนางเธอฯ เหมือนที่คุณB ตอบเอาไว้แล้วล่ะครับ แหะๆ





ปล. เรียนถามสมาชิกท่านอื่นอีกนิดนึงครับ เพราะผมไม่ทราบว่านอกจากพระนางเธอฯแล้ว พระจอมเกล้าเคยฉายพระรูปคู่กับพระพระสนมคนอื่นมั้ยครับ ??


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 01 ก.ค. 06, 12:09
 ขออนุญาตออกความเห็นบุคคลในความเห็นที่ 7 ของอ.พิพัฒน์ จากสายตาผมว่าน่าจะเป็นพระองค์เดียวกันนะครับ ถ้าไม่ใช่พระองค์เดียวกันก็ต้องเป็นพี่น้องกันเพราะเหมือนกันมาก พระนางเจ้ารำเพยฯ มีน้องสาวที่เป็นเจ้าจอมอีกพระองค์คือ ม.จ.หญิงพรรณราย พระมารดาของกรมพระยานริศราฯ หรือว่าจะเป็น ม.จ.หญิงพรรณรายครับ
ขอนอกเรื่องนิด ไม่ทราบว่าผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายมีภาพเก่าที่เกี่ยวกับเมืองตานีบ้างหรือไม่ครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 01 ก.ค. 06, 12:24

ผมเห็นภาพนี้มีคำบรรยายว่าเป็นรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จศาลาการเปรียญเมืองตานี แต่ผมว่าตัวอาคารมันใหญ่เกินกว่าจะเป็นศาลาการเปรียญ และที่สำคัญโครงสร้างดูแข็งแรงมากน่าจะอยู่ได้เป็นร้อยปี แต่ปัจจุบันไม่เห็นร่องรอยของอาคารนี้เลย ผมจึงคิดเอาเองว่าคำบรรยายน่าจะผิด ไม่ทราบท่านใดมีข้อมูลชัดเจนบ้างครับ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 01 ก.ค. 06, 12:26
 ที่จริง จะว่าไปถ้าให้พูดถึงคนที่หน้าเหมือน พระนางเธอ ผมกลับนึกถึงเจ้าจอมมารดาเที่ยงมากกว่า
พระพักตร์ทั้งสองพระองค์ มีหลายส่วนที่ละม้ายกันอยู่นะครับ ยิ่งเครื่องทรงที่ใช้หน้าตาคล้ายๆกันแล้ว
ครั้งหนึ่งที่เพื่อนส่งภาพถ่ายเก่ามาให้ดู ผมก็เผลอหลุดปากถามเขาไปว่า "สมเด็จรำเพยถ่ายกับใครเหรอ"

ผมถึงได้โดนล้อมาจนทุกวันนี้ ว่าเห็นสนมเป็นพระราชินิไปได้ แต่จะพูดก็พูดเถอะ
ขนาดแหม่มแอนนาเห็นทั้งหน้าทั้งตัว ได้ยินเสียงอีกตะหากยังเข้าใจว่าเจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นพระราชินีเลย
แล้วมีหรือ คนที่เห็นรูปถ่ายกระจิ๋วหลิวหน้าไม่ถึง 1 นิ้วอย่างผมจะเข้าใจผิดไมได้ล่ะครับ อิอิ


ปล. ลองอ่านเรื่องเจ้าจอมมารดาเที่ยงดูได้ครับ
 http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=4560&stissueid=2682&stcolcatid=2&stauthorid=13  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 ก.ค. 06, 19:03

.
ไม่รู้ช่วยได้ใหม ลองเปรียบเทียบดูอีกที เสียดายเจอมสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ค่อยถ่ายรูปไว้ เดี๋ยวจะค้นมาให้เทียบอีกชุด
ต้องหานักวิเคราะห์โครงสร้างใบหน้า เขามีวิธีวัดระยะปาก จมูก ตา เทียบเป็นสัดส่วน อาจจะช่วยได้  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 06, 20:50

.
มือใหม่หัดตัดต่อภาพ  เพิ่งสำเร็จ  คลำอยู่เกือบชั่วโมง
ช่วยเปรียบเทียบดูทีว่า สตรีในภาพกลาง
น่าจะเป็นคนเดียวกันกับคนซ้ายหรือว่าคนขวา


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 06, 21:03

พยายามขยายภาพสตรีปริศนา ด้วยฝีมือสมัครเล่นระดับติดลบ
เน้นเส้นโครงสร้างของดวงหน้า  เพื่อดูรูปหน้า และรูปร่างตั้งแต่บ่าลงถึงแขน

ดิฉันสังเกตที่คางเป็นหลัก   คางในรูปนี้เป็นคางมน เส้นคางตัดตรง ไม่ใช่คางแหลม
คางแบบนี้เหมือนสตรีทางซ้ายในภาพ ที่ 23 มากกว่าคนขวาซึ่งคางแหลมกว่า
โปรดดูโหนกแก้มประกอบอีกอย่างหนึ่งด้วย  เหมือนภาพทางซ้ายอีกเช่นกัน


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 06, 21:17

.
นี่คือภาพของสตรีคนขวา  ขยายเฉพาะดวงหน้าให้เห็นรูปหน้า
จะเห็นว่าคางแหลมกว่าสตรีทางซ้าย


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 ก.ค. 06, 21:30
 .




















อาศัยตาถั่วของช่างเขียน
ผมเห็นว่า เป็น สามนางเลยทีเดียว

พระนางนาฏราชเทวีนั้นพระศิริโฉมแลสง่าราศรีโดดเด่นโดยไม่ต้องวางท่า ในพระรูปนี้ทรงป่วยมาสักปีเศษแล้ว
รูปกลางดูเสงี่ยมเจียมตัว และไม่มีพระธำมรงค์เลยสักน้อยหนึ่ง
รูปขวาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ผอมกว่ามาก สังเกตกระดูกตรงข้อมือโปนเห็นชัดเจน


ส่วนรูป 24 นั้น ฝีมือหมักดองเป็นเลิศ
ต้องพึ่งคุณหญิงหมออย่างเดียวจึงพิสูจน์ทราบได้

......... 55555  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 06, 21:34

.
ขยายภาพนี้มาเทียบกันเรื่องรูปหน้า  สังเกตเส้นคางที่ตัดตรงกว่า


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 06, 21:49
ลองเล่นกับรูปเสียจนโปรแกรม ACDSee ประท้วง error ไม่ยอมร่วมมือด้วยอีก
ดิฉันจึงหันมาทางบริบทของภาพแทน

สตรีปริศนาผู้นี้เป็นใครก็ตาม  มีข้อสังเกตคือ
๑) สามารถนั่งอยู่ระดับเดียวกับสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้  ไม่ต้องนั่งอยู่บนพื้นต่ำกว่า  
๒) ถ่ายรูปคู่กับพระเจ้าแผ่นดินได้ ในลักษณะของครอบครัว ไม่ใช่เจ้าชีวิตกับบาทบริจาริกา
๓) ถ่ายรูปร่วมกับพระราชโอรสธิดาได้ ในระดับใกล้ชิดและบนที่นั่งเสมอกัน
๔) นั่งอยู่เหนือพระเจ้าลูกยาเธอองค์เล็กๆที่นั่งเรียงเป็นตับกันอยู่บนพื้น
๕) คำอธิบายภาษาฝรั่งเศส ระบุว่าเป็น la Reine  คือพระราชินี    และเด็กๆในภาพ ระบุว่าเป็นพระราชโอรสธิดาในพระมหากษัตริย์
๖)ฝรั่งเข้ามาในวัง  ทรงจัดให้ถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์  มีหรือท่านจะไม่แนะนำกับฝรั่งว่าทรงฉายกับใคร  
ใครจะปล่อยให้ฝรั่งเดาเอาเอง จนกระทั่งมั่วซั่วเอาเองว่าเป็นควีน?
๗)พระองค์ท่านทรงทราบดีว่าภาพนี้จะแพร่ไปในยุโรป  ต้องทรงเลือกบุคคลสำคัญในราชสำนักมาถ่ายรูป  ให้เห็นกันจะๆ ไม่ใช่เลือกเจ้าจอมหม่อมห้ามท่านใดท่านหนึ่งมาจากบรรดาที่มีอยู่มากมายหลายสิบ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ค. 06, 22:04
๘)พระราชโอรสธิดาเล็กๆนั้นมีอยู่ถึง ๙ พระองค์ ดูตัวไล่เลี่ยกันหมด  เพราะฉะนั้นก็ย่อมไม่ได้มาจากแม่เดียวกัน
อาจจะทรงมีแม่เดียวกันสักสองหรือสามพระองค์
แต่มีการจัดระเบียบเป็น ๒ กลุ่มในภาพ  คือผู้ที่นั่งระดับเสมอสมเด็จพระจอมเกล้าฯและผู้ที่นั่งระดับต่ำกว่า

๙) การจัดที่นั่งสูงต่ำในภาพ ไม่ได้ดูที่อาวุโสมากน้อยของเจ้านายน้อยๆเหล่านี้  
เพราะเจ้านายที่นั่งบนพื้น องค์ที่สองและสามจากขวา เป็นเด็กโตกว่าองค์ที่นั่งบนที่นั่งข้างบนนั่น แสดงว่าเป็นพี่

๑๐)ทำไมพี่นั่งต่ำกว่าน้อง  และยังเป็นพี่ชายด้วย  

๑๑)ถ้าเจ้านายที่นั่งข้างบนติดกับสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระราชธิดา ก็หมายความว่าน้องสาวนั่งสูงกว่าพี่
มันอาจเป็นได้ในกรณีหนึ่ง คือน้องสาวนั้นมีศักดิ์สูงกว่า  คือเป็นเจ้าฟ้า  ส่วนพี่เป็นพระองค์เจ้า

๑๒) เจ้านายน้อยๆมี ๒ พระองค์เท่านั้นที่สวมฉลองพระองค์ ดูแสดงยศศักดิ์สง่าผ่าเผย  องค์อื่นๆไม่มีเสื้อ

มีความแตกต่างอะไรกันระหว่างเจ้านายที่สวมฉลององค์กับเจ้านายที่ไม่ได้สวม   มันบ่งถึงอะไรที่แตกต่างหรือเปล่า
ไหนๆจะฉายรูปไปยุโรป   แม้ว่าอยู่ในโอกาสลำลองอย่างไรก็ตาม   ก็น่าจะแต่งพระองค์เหมือนกันได้ไม่ใช่หรือคะ

เอาไว้แค่นี้ก่อนค่ะ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 ก.ค. 06, 23:06

.

คดีโบราณเรื่องใครเป็นใครในพระบรมรูปพบใหม่ ท่าจะสนุกเป็นเดือน
เอารูปพระโอรสไม่ใส่เสื้อมาแซมก่อน
เดาว่าเป็นสมเด็จวังบูรพา สัก 5-6 ขวบ ก็จะตรงกับ 2402+5หรือ 6 = 2407-8
หรืออาจจะถึง 2409


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 ก.ค. 06, 23:11

.
อันนี้เดาว่าออกงาน อาจจะเป็นงานพระเมรุรัชกาลที่ 4 ทรงเครื่องเต็มพระราชอิสริยยศ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 06, 21:53
 รูปในค.ห. 31 พระราชโอรสและพระราชธิดาแต่งพระองค์ไม่เหมือนกัน
ดูออกว่าองค์ไหนเป็นผู้ชาย องค์ไหนเป็นผู้หญิง
องค์นี้เป็นผู้หญิง ดูจากผ้าที่ห่มทับเสื้อ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 06, 21:54

.
องค์นี้เป็นชาย


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 06, 21:56
 ย้อนกลับไปดูภาพปริศนา
เจ้านายน้อยๆที่นั่งอยู่ติดกับสมเด็จพระจอมเกล้า องค์ขวาสุดกับองค์กลาง แต่งองค์แบบเดียวกัน
ดิฉันว่าเป็นชาย  พระราชโอรส ไม่ใช่พระราชธิดา


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 ก.ค. 06, 00:01

.
ถ้าเป็นชาย ก็น่าจะเป็นเจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ จาตุรนต์รัศมี และภาณุรังษีสว่างวงศ์ (ซ้ายสุด เหมือนมาก)
ขาดเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล (สิ้นพระชนม์ 2406 หลังพระมารดา 3 ปี)

แต่องค์ขวาสุดไม่เหมือนเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เลย องค์กลางเหมือนกว่าครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 ก.ค. 06, 00:06

.
ฉายเมื่อ 2406-7 มหาดเล็กไล่กา (ซ้ายไปขวา)
สุขสวัสดิ กฤษฎาภินิหาร จุฬาลงกรณ์ จาตุรนต์รัศมี ภาณุรังษีสว่างวงศ์  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 03 ก.ค. 06, 00:58

.
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงฉายในฉลองพระองค์เต็มยศ ก่อนเสด็จทิวงคต 1 ปี  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 03 ก.ค. 06, 03:17

.
มิชชันนารีที่เดินทางมาสยามในสมัย ร. 3 บรรยายว่าช้างเผือก
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้คนเคารพบูชา  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 ก.ค. 06, 11:20
 ได้แจ้งเวบที่เป็นต้นทางของรูป 37 แล้ว
ว่าเป็นพระรูปสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เห็นเขารับปากขมีขมัน ไม่ทราบว่าแก้หรือยัง

พระรูปนี้พิมพ์ในพระราชประวัติ กับที่อื่นๆหลายครั้ง
คนที่ได้ไปคงไม่ได้รับข้อมูลไปด้วย


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 03 ก.ค. 06, 12:28
 เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเหมือนกรมพระยาดำรงฯ มากกว่าเจ้าฟ้าชายฯ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 ก.ค. 06, 13:13

.
เมืองนอกเก็บรูปดีกว่าเรามาก พระรูปขวามาจากวังวรดิศ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 03 ก.ค. 06, 16:09

.
ภาพสเก๊ตทช์ด้วยเครยองจากจดหมายเหตุของ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง
View of the Court of the Palace  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 03 ก.ค. 06, 16:27

.
จากจดหมายเหตุของเซอร์ จอห์น เบาริ่ง เช่นเดียวกัน
Palace at the Foot of the Maha Prasat  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 03 ก.ค. 06, 17:08

.
ภาพเครยองวัดแจ้ง จากจดหมายเหตุฯ

............................................ ถวิลวันจันทร์ทิวาขึ้นห้าค่ำ
ลงนาวาคลาเคลื่อนออกเลื่อนลำ... พอเสียงย่ำยามสองกลองประโคม
น้ำค้างย้อยพรอยพรมเป็นลมว่าว.... อนาถหนาวนึกเคยได้เชยโฉม
มาลับเหมือนเดือนดับพยับโพยม...... ยิ่งทุกข์โทมนัสในใจรัญจวน
โอ้หน้าหนาวคราวนี้เป็นที่สุด.......... ไม่มีนุชแนบชมเมื่อลมหวน
พี่เห็นนางห่างเหยังเรรวน............... มิได้ชวนเจ้าไปชมประธมประโทนฯ
   
๏ ที่ปลูกรักจักได้ชื่นทุกคืนค่ำ.......... ก็เตี้ยต่ำตายฝอยกรองกร๋อยโกร๋น
ที่ชื่นเชยเคยรักเหมือนหลักประโคน.. ก็หักโค่นขาดสูญประยูรวงศ์
ยังเหลือแต่แม่ศรีสาครอยู่...............ไปสิงสู่เสน่หานางสาหงส์
จะเชิญเจ้าเท่าไรก็ไม่ลง................. ให้คนทรงเสียใจมิได้เชยฯ
   
๏ วัดระฆังตั้งแต่เสร็จสำเร็จศพ......... ไม่พานพบภคินีเจ้าพี่เอ๋ย
โอ้แลเหลียวเปลี่ยวใจกระไรเลย........ มาชวดเชยโฉมหอมถนอมนวล
จนนาวาคลาคล่องเข้าคลองกว้าง....... ตำบลบางกอกน้อยละห้อยหวน
ตลาดแพแลตลอดเขาทอดพวน......... แลแต่ล้วนเรือตลาดไม่ขาดคราว
ทุกเรือนแพแลลับระงับเงียบ............. .ยิ่งเย็นเยียบยามดึกให้นึกหนาว
ในอากาศกลาดเกลื่อนด้วยเดือนดาว....เป็นลมว่าวเฉื่อยฉิวหวิวหวัวใจ
โอ้บางกอกกอกเลือดให้เหือดโรค....... แต่ความโศกนี้จะกอกออกที่ไหน
แม้นได้แก้วแววตามายาใจ................ แล้วก็ไม่พักกอกดอกจริงจริงฯ

(นิราศพระประธม สุนทรภู่)

วัดแจ้งสันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอกเพราะตั้งตรงป่ามะกอก
ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่เปลี่ยนเป็นเรียกว่า    "วัดแจ้ง" นั้น เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาสำเร็จเรียบร้อยในปี    พ.ศ. ๒๓๑๐  แล้ว
มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาพลล่องมาทางชลมารค
พอถึงหน้าวัดนี้ก็ได้รุ่งแจ้งพอดี ต่อมาได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด แล้วเปลี่ยนชื่อ
เสียใหม่เป็น"วัดแจ้ง" เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์


สมัยรัชกาลที่  ๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองแล้วพระราชทานชื่อวัดใหม่ ่
ว่า "วัดอรุณราชธาราม"  ถึงรัชกาลที่ ๔  โปรดเกล้าให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก
 แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันจนถึงปัจจุบัน

ยกนิราศพระประธมขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นเส้นทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ของสุนทรภู่
จากวังหลัง ท่านคงแจวเรือลัดเลาะคลองบางกอกน้อย ไปออกคลองมหาสวัสดิ์ แถวนครชัยศรี
ต่อจากนั้นไม่ทราบว่ามีคลองเชื่อมไปจนถึงองค์พระเลย หรือต้องเดินเท้าต่อ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 03 ก.ค. 06, 17:49
 สวัสดีทุก ๆ ท่านครับ
ความเห็นที่ 30 ผมว่าไม่น่าใช่สมเด็จพระราชปิตุลาฯ ครับ
เทียบกับความเห็นที่ 36 แล้วไม่น่าใช่
น่าจะเป็นกรมหมื่นมหิศรฯ แต่ก็ไม่น่าใช่เช่นกันครับ
กรมหลวงพิชิตฯ ก็ไม่น่าใช่ครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 ก.ค. 06, 21:18
 .









ภาพประกอบจากคุณ Japonica
ที่ 42, 43, 44
เป็นลายเส้นจากแม่พิมพ์ร่องลึก
นะครับ สมัยนั้นรูปจากเครยอง
ถ้าพิมพ์ใส่หนังสือ จะแพงมาก
ถ้ามีก็มักจะเป็นรูปนำ เปิดเร่องเท่านั้น



หนังสือของเบาริง ใช้สองเทคนิค
1 steel engraving ปกติสมัยนั้นใช้กัน
แค่ wood engraving ก็หรูมากแล้ว
2 color lithographs แม่พิมพ์หินสอดสี
แพงที่สุดในกระบวนการพิมพ์เชิงพานิชย์

หนังสือนี้พิมพ์ในปี 2399 ใช้รูปถ่ายเป็นต้นแบบ
ในการสร้างรูปประกอบแล้ว แต่ยังต้องพิมพ์เป็นลายเส้น

มุมล่างของรูป จะบอกชื่อคนสลักแม่พิมพ์เป็นเกียรติ
เพราะเป็นช่างฝีมือพิเศษ ถ่ายแบบจากรูปโฟโต้ได้  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 ก.ค. 06, 21:22

.
รูปเต็ม
ผมเชื่อว่า เบาริงนำภาพถ่ายของฟะรันซิศจิตไปใช้ รูปนี้ก็คงอยู่แถวกระดีจีน สังเกตว่าเห็นเสากระโดงเรืออยู่ด้วย (เอนมาด้านหลัง เลยเชื่อเช่นนั้น) จะเป็นเรือของเขาได้กระมัง  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 03 ก.ค. 06, 23:45

.
คำบรรยายกล่าวว่าวัดนี้เป็นที่เก็บพระบรมอัฐิของพระมหาบุพกษัตริย์ (ร.1-ร.3)
แต่ไม่คุ้นตาว่าวัดอะไร จึงคร้านจะเดา ทราบเพียงว่าพระบรมอัฐิ (บางส่วน)
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เก็บที่ใต้ฐานชุกชีที่วัดพระเชตุพนฯ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 04 ก.ค. 06, 01:13

.
วิวบก
บ้านเรือนคนไทยสมัยก่อน ใต้ถุนยกสูง หนีน้ำหลาก
หน้าตาไม่ต่างจากปัจจุบันเลย เว้นแต่ว่าหลังคาสมัยนี้จะไม่สูงชันเท่า ทุ่นวัสดุไปได้อีก 30%  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 02:48

.
กรุงเทพฯ เวนิซตะวันออก  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 02:53

.
ทรงพักผ่อนที่เกาะสีชัง  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 02:57

.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 03:00

.
ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรีมหาประสาท  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 03:04

.
พระราชพิธีโสกันต์ ปี พ.ศ. 2433  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 03:10

.
พระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ปี 2433
(ภาพชุดจากหนังสือฝรั่ง ต้นฉบับใหญ่มาก ตัดส่วนลงมา)  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 03:13

.
เขาไกรลาส หน้าพระที่นั่งจักรีมหาประสาท
(ตัดมาเฉพาะส่วน)  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 05 ก.ค. 06, 03:18

.
(ตัดมาเฉพาะส่วน ต้นฉบับขบวนใหญ่ยาวเหยียด)  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 05 ก.ค. 06, 10:38
 ความเห็นที่ 48 ของคุณ Japonica ไม่ใช่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทหรือครับ

รูปพระราชพิธีโสกันต์อลังการจริงๆครับ เสียดายเกิดมาเกินน่าน้อยใจ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 05 ก.ค. 06, 17:42
 เข้ามาสังเกตว่ารายละเอียดของภาพที่ 48 ของคุณ Japonica ต่างจากปัจจุบันพอดูนะครับ
อย่างน้อยศาลา 2 หลังที่อยู่ขนาบพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ก็หายไปแล้วล่ะครับ


ผมเดาเอาเองว่าภาพนี้คงถ่ายก่อนจะสร้างพระที่นั่งราชกรัณย์ฯ นะครับ

ปล. อยากรู้จังเลย ว่า "ข้างหลังภาพ" จะเป็นภาพอะไร (ข้างหลังภาพของผม หมายถึง "ข้างหลังคนถ่ายภาพ" นะครับ ไม่ใช่คุณหญิงกีรติ)


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 02:04

ตอบ 58 เป็นภาพพระที่นั่งดุสิตจริงๆด้วยครับ เผอิญเป็นภาพดินสอแรเงา มุมนี้จึงหลอกตา
(ประกอบกับหลงทางกับคำบรรยายฝรั่ง ทำให้นึกถึงแต่วัด)

มีภาพพระที่นั่งดุสิตอีกภาพหนึ่ง เป็นช้างทรงพระที่นั่งในเขตพระราชสถาน  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 02:15

.
ภาพนี้กลายเป็นภาพคุ้นตา เผื่อแผ่คนที่ยังไม่เคยชม
เป็นพระราชพิธีลงสงเจ้าฟ้ามงกุฎใน พ.ศ. 2455  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 02:35

.
ขออนุญาตสลับฉากด้วยโฆษณาของห้างฝรั่ง ดิ โอเรียลเต็ล ซึ่งจดทะเบียนการค้าในปี พ.ศ. 2430
และได้รับพระราชทานตราครุฑด้วย



ป.ล. ในความเห็น 61 ขออภัยที่พิมพ์ตัวเลขผิด ทีถูกคือ พ.ศ. 2355  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 02:55

.
ห้างนี้ขายของตั้งแต่สากเบือยันเรือรบ คงประเภทเดียวกับบริษัทต่างชาติพวกดีทแฮล์ม อีสต์เอเซียติ๊ก
หรือ หลุยส์ ตี เลียวโนเวน ของบุตรชายของมาดามแอนนา บริษัทนี้ตั้งอยู่ปากตรอกโรงเเรมโอเรียลเต็ล
และโฆษณาว่ามีรถรางไฟฟ้าผ่าน เป็นจุดขายในด้านความสะดวกสบายในการเดินทางมาชมสินค้า  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 03:28



กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 03:44
1) ความเห็น 64 ประเทศไทยมีโทรศัพท์ใช้ตั้งแต่ในสมัย ร. 5 โปรดสังเกต เบอร์โทรยังเป็นเลขเพียง  2 หลักเท่านั้น

2) รูปล่าง สถานีหัวลำโพงแรกสร้าง เมื่อยังใหม่กิ๊ก สีสะอาดตา
.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ค. 06, 10:26
 ไม่อยากขัดคอเลย
แต่รูป 61 เป็นแพในพระราชพิธีลงสรง เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
พิธีเดียวกับรูป 54-57 นั่นแหละครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 06 ก.ค. 06, 10:36
   


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 06 ก.ค. 06, 11:27
       


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 06 ก.ค. 06, 19:22
 ครับ มารอชมต่อครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 20:17
ตอบ ความเห็น 66

เมื่อคืนปากหนักไปหน่อย ว่าจะบอกตั้งแต่แรกแล้วว่าเมื่อหลายปีก่อน ได้ไฟล์รูปนี้ชัดแจ๋วจากพี่ท่านหนึ่ง
ที่อยู่ในวงการ ชัดเจนกว่าอันที่ปรากฏใน soravij.com เสียอีก พอมาถึงช่วงโหมกระแสพระราชพิธี 60 ปี
มีคำอธิบายว่าภาพนี้เป็นภาพพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ทำให้ต้องกลับไปมองหนังสือเล่มหนึ่ง
ที่สแกนมาให้ดูด้านล่าง


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 20:30
 เมื่อข้อมูลจากแหล่ง 2 แหล่งไม่ตรงกัน
จึงเกิดคำถามเบื้องต้นในหัวว่าทีมงาน
ของอาจารย์ทั้ง 2 ท่านที่เอ่ยนามข้างต้น
บวกกับทีมงานในสำนักพระราชวังคุณภาพคับแก้ว
เหตุไฉนจึงปล่อยข้อมูลอย่างนี้ออกมา?

จึงต้องค้นคว้าต่อที่พระราชพงศาวดาร ร. 2  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 20:33

.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 20:35

.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 20:44

.
ตามพระราชพงศาวดารบอกว่าในพิธีลงสรงนี้มีเรือรายล้อม 39 ลำ
นับในรูป นับไปนับมาก็ได้จำนวนเรือใกล้เคียงเสียด้วยสิครับ

ดังนั้น เรื่องนี้ยังไม่จบง่ายๆครับ ขอบคุณที่จุดประเด็นขึ้นมา
การนำเสนอข้อมูลของผม อยู่บนพื้นฐานของการอ้างอิง
มิได้อยู่บนพื้นฐานของโคมลอย ดั้นเมฆ นั่งเทียน
หรือสุดแต่จะเรียกขานประการใดก็ตาม

การแลกเปลี่ยนข้อมูลบนบอร์ดเป็นสิ่งที่ดี และผมไม่อายถ้าจะบอกว่า
มีอีกหลายเรื่องในจักรวาลนี้ที่ผมไม่สันทัด แต่อยากรู้ครับ  


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 06 ก.ค. 06, 20:50
 เกรงใจเหลือเกิน ที่อาจเผยแพร่รูปในอดีตตามใจตัวเอง โดยไม่ทราบว่าเจ้าของกระทู้เปิดกระทู้นี้ขึ้น
เพื่อต้องการเน้นด้านใดเป็นพิเศษหรือเปล่า

จึงขออนุญาตไปเปิดกระทู้ วิถีชีวิตแบบไทย เพื่อถ่ายทอดคลังภาพเก่าที่มีให้เพื่อนๆได้ชมกัน ตามมานะครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 ก.ค. 06, 20:59
 ลงสรงเจ้าฟ้ามงกุฏ กล้องถ่ายรูปยังไม่เกิดมาในโลกนี้ครับ
ส่วนรูปสุดสวย 61 นั้น เป็นหนึ่งในรูปถ่ายชุดใหญ่ ที่เก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ อยู่ในกล่องเรื่องลงสรง-โสกันต์

รูปชุดนี้ เผยแพร่ไปแล้วทั่วโลกไม่ต่ำกว่าสิบครั้ง อธิบายตรงกันหมดว่าเป็นพิธีสำหรับมกุฎราชกุมารแห่งสยาม

ผมอาจจะผิดก็ได้ เพราะค้นข้อมูลไม่เก่งเหมือนคุณ ขอแสดงฟามนับถือ
ถามอีกนิดเถอะครับ ว่าเรือนยกสูงในรูป 49 อยู่ที่ใหนบอกได้ใหม


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 06 ก.ค. 06, 21:17
 เป็นเรือนที่น่าอยู่ไม่น้อยเลยมีตัวเรือนและชานเรือนแยกต่างหากอย่างชัดเจน ผมไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องเรือนโบราณมากนักจึงขออนุญาตมานั่งฟังเฉยๆครับ


(เอ.....ไอ้เรามันคนพันธุ์มั่วเสียด้วยสิ อยากจะอยู่เฉยๆอยู่หรอกครับ แต่ดันอดใจไม่ไหวอยากจะทายใจจะขาด เพราะรู้สึกว่ามันไม่ได้อยู่ไกลตัวผมเลยไอ้เรือน คล้ายๆ อย่างเนี๊ยะ คิดว่าเคยเห็นมาตั้งแต่เด็ก  แล้วแอบเดาว่าที่ยกสูงน่ะอาจไม่ใช่เพื่อหนีน้ำก็ได้นะ    )


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 06, 21:39
ภาพในค.ห. 61 ไม่ใช่ภาพพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้ามงกุฎ ในรัชกาลที่ 2 แน่นอนค่ะ
เป็นภาพสมัยรัชกาลที่ 5  มีหลักฐานยืนยัน  ขอไปสแกนก่อน

ภาพเรือนไทยในค.ห. 49   ถิ่นเหนือสุดนี่มีน้ำหลากเป็นประจำด้วยหรือ  ไม่รู้จริงๆข้อนี้


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 06, 06:52

.
.
ภาพมาแล้ว

นี่คือภาพถ่ายจากภาพที่ 61  
คือไม่ว่าเป็นภาพพระราชพิธีอะไรก็ตาม แต่ไม่ใช่พระราชพิธีที่เกิดขึ้นในพ.ศ. 2355 อย่างเด็ดขาด
เพราะว่าภาพถ่ายจากกล้องถ่ายรูปที่ฝรั่งประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้นั้น   เพิ่งทำออกสู่สายตาประชาชนยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2389

 http://www.rleggat.com/photohistory/

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงความจริงที่ว่า กว่าสยามจะรับเรื่องถ่ายรูปผ่านทางนักบวชหรือมิชชันนารีที่เดินทางมาเผยแพร่วิทยาการตะวันตก
ก็ต้องเป็นปีหลังจากนั้น
เท่าที่จำได้คือในสมัยรัชกาลที่ 3  เจ้าฟ้ามงกุฎท่านทรงพ้นจากโสกันต์มาผนวชอยู่นานปีแล้วค่ะ

ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพถ่ายที่นำมาแสดงที่โรงแรมคอนราด  ตอนนี้ย้ายไปแสดงที่เชียงใหม่  
ใครอยู่เชียงใหม่น่าจะหาโอกาสไปชม


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 06, 07:08
 ขอแก้พ.ศ. ที่ลงในค.ห. 61 นะคะ  2355 ค่ะไม่ใช่ 2455
แต่จะเป็นพ.ศ. ไหนก็ตาม ไม่ตรงกับพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศทั้งสองปี

ภาพนี้ดิฉันเคยนำลงในกระทู้ ภาพเมืองไทยในอดีต  1-5 จำไม่ได้แล้วว่ากระทู้ไหน   มันเยอะ
มาเห็นอีกครั้งในงานนิทรรศการภาพถ่ายโบราณ แล้วได้ภาพนี้มาจากอีกเว็บหนึ่ง

หลายวันก่อน  ลองมาหัดแกะรอยภาพด้วยตัวเอง เผื่อจะเจออะไรดีๆเข้าบ้าง
ก็เลยเจอมุมภาพด้านล่างอย่างที่ขยายให้ดูนี้    ซึ่งถูกเฉือนออกไปพอดีจากภาพ ค.ห. 61

คงจะเห็นเสื้อผ้าของผู้คนในที่แออัดกันอยู่  ว่าเป็นเสื้อราชปะแตนสีขาวของผู้ชาย
เป็นแฟชั่นสมัยรัชกาลที่ ๕  ที่มีขึ้นหลังเสด็จประพาสอินเดียในตอนต้นรัชกาล

และถ้ามองทางขวาจะเห็นร่มกันแดดกางเป็นทิวแถว
ร่มปีกโค้งแบบนี้มีโครงเหล็กยึดอยู่ข้างใน   ผ้าหุ้มอีกที   เป็นร่มแบบฝรั่ง   เหมือนปัจจุบันนี้ละค่ะ
สมัยรัชกาลที่ ๒  ยังไม่มีร่มแบบนี้หรอก

เดาว่าคุณหญิงคุณนายที่ตามสามีเจ้าคุณคุณพระมาในงาน  อยู่
ใกล้ที่ประทับได้แค่นั้น   เป็นที่กลางแจ้งแดดร้อน  ก็เลยกางร่มฝรั่งกันสลอน  
ดูเหมือนจะมีร่มแบบเชียงใหม่อยู่ด้วยคันหนึ่งทางขวาสุด  ไม่แน่ใจนัก


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 06, 07:08

.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 ก.ค. 06, 07:27
 จากภาพพลับพลาลงสรงในความเห็นที่ ๗๙

โปรดสังเกตทางมุมล่างขวาของภาพจะเห็นเรื่อพระที่นั่ง ๒ องค์ จอดเทียบท่าอยู่  องค์แรกนั้นมีพระวิสูตรปิดไว้โดยรอบ  เทียบไว้สำหรับเป็นฉนวนปลื้องเครื่อง  เวลาเสด็จพระราชดำเนินมาถึงท่าเรือ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระมาลา  แล้วมาเปลื้องพระมาลาในเรือพระที่นั่งฉนวนที่จัดเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่องนี้  แล้วทรงพระมหากฐินประทับในเรือพระที่นั่งเมื่อเสด็จขชึ้นจากเรือพระที่นั่งก็จะทรงเปลื้องพระมหากฐินมาทรงพระมาลา

การที่ต้องทรงเปลื้องพระมหากฐินนั้น  เป็นเพราะพระมหามงกุฎนั้นไม่เหมาะสำหรับจะทรงเวลาเสด็จพระราชดำเนิน  เนื่องจากขนาดที่ไม่เหมาะ  และน้ำหนักที่มากถึง ๓.๕ กก. (โดยประมาณ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 07 ก.ค. 06, 11:14
 ขอบคุณ คุณเทาและท่านอื่นๆ ที่หามาฝาก
เอามาฝากกันอีกเรื่อยๆ นะครับ


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 09 ก.ค. 06, 06:08
 ตอบความเห็น 80
ขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยค้นหาความจริงในอดีตให้ปรากฏ
ค้นข้อมูลพบแล้วว่าเป็นพิธีลงสรงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ แต่ไม่ใช่พิธีโสกันต์!!

1. อาจารย์เคยนำภาพมาลงแล้วในกระทู้ภาพเมืองไทยในอดีต ใน ค.ห. 44
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=36349&page=1

2. ใน ค.ห.  62 ได้ขอแก้พ.ศ. เป็น พ.ศ. 2355 แล้วเนื่องจากพิมพ์ผิด

3. เมื่อข้อมูลที่มาถึงตัวเกิดไม่ตรงกัน  จึงโพสต์อันที่สามารถอ้างอิงได้ ความจริง
หนังสือที่จัดทำเนื่องในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี คณะผู้จัดทำ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ไม่น่าพลาดง่ายๆ

เคยทราบมาว่าพิธีนี้เป็นพิธีลงสรงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ พอมาเจอคำบรรยายว่าเป็นพิธีลงสรงเจ้าฟ้ามงกุฎ พ.ศ 2355
ก็เกิดคำถามขึ้นทันทีเหมือนกันว่าปลาย ร. 3 กล้องถ่ายรูปพึ่งจะมี!!


ครั้นไปเปิดพระราชพงศาวดาร ร. 2 รายละเอียดของภาพก็ตรงกับคำบรรยายในพงศาวดารขึ้นมาอีก  


เจ้าฟ้ามงกุฎ ประสูติ .....พ.ศ. 2347
ร. 2 ทรงผ่านพิภพ .......พ.ศ. 2352
พิธีลงสรงเจ้าฟ้ามงกุฏ...พ.ศ. 2355 เมื่อ 8-9 พรรษา
(โคลงในเล่มผิดอีกที่ระบุ 13 พรรษา)



4. พ.ศ. 2429 มีเหตุการณ์ต่อไปนี้

พิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ในสมเด็จ
พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระราชกุมาร
พระองค์ใหญ่ วันที่ 14 ม.ค. 2429


พ.ศ. 2433 มีเหตุการณ์ต่อไปนี้

พระราชพิธีโสกันต์ ณ เขาไกรลาส ในสวนขวา พระบรมมหาราชวังมีน้ำตกบ่อน้ำ และสัตว์ส่วนหนึ่ง
ที่มีคติความเชื่อว่าอยู่บนเขาไกรลาส ในป่าหิมพานต์ คือ ม้า ราชสีห์ ช้าง และ โค สัตว์เหล่านี้
หล่อด้วยโลหะและมีน้ำพุ่งออกจากปาก เพื่อสรงน้ำพระราชโอรส และพระราชธิดาที่
ทรงรับพระราชทานโสกันต์ เมื่อปี พ.ศ. 2433


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 09 ก.ค. 06, 06:19
 ไม่น่าเชื่อว่าแทบไม่มีเอกสารประวัติศาสตร์ไทยบรรยายถึงเหตุการณ์ยิ่งใหญ่เช่นนี้เท่าไรนัก
(แต่มีในบันทึกของนักท่องเที่ยวที่เป็นภาษาฝรั่งเศส)

ขนาดในพระราชพงศาวดาร ร. 5 แท้ๆ กลับพูดถึงพิธีลงสรง
เจ้าฟ้ามงกุฏ (อาจเป็นเพราะผู้เขียนคือ
กรมพระยาดำรงฯ เหมือนกัน) ที่กล่าวถึงพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้า ก็กล่าวเพียงว่ามีงานสมโภชน์และเขาไกรลาส

เอกสารประวัติศาสตร์ที่พอจะมีหวังบ้าง ก็คือพระราชาธิบาย หน้า 406 พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5
แต่ว่าห้องสมุดปิดวันหยุดยาว

ในที่สุดจดหมายเหตุรายวันของพระราชกุมารชันษา 8 ขวบ ก็กลายเป็นกุญแจไขปริศนา ดังนี้

(หมายเหตุ: มีงาน 3 วันก่อน วันที่ 4 จึงเป็นการลงสรง)
.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 09 ก.ค. 06, 06:23

.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 ก.ค. 06, 06:51
 กรมศิลปากรพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับพระราชพิธีนี้ไว้ 2 เล่ม
เล่มแรกเป็นจดหมายเหตุอย่างละเอียดหนาสักสองร้อยกว่าหน้ากระมัง สมเด็จวังบูรพาเป็นผู้อำนวยการพระราชพิธีทั้งหมด เล่มนี้ไม่มีรูปประกอบ

อีกเล่มหนึ่งเป็นจดหมายเหตุพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ที่ 3 ในรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2515
รวมพระราชพิธีของทั้ง 3 พระองค์ไว้ในเล่มเดียว หนาพอกัน แต่เล่มนี้มีรูปประกอบเป็นร้อยหน้า

รูปที่เราเคยเห็นกันแทบทั้งหมด อยู่ในเล่มนี้
แต่ก่อน หอจดหมายเหตุ เคยให้บริการรูปชุดนี้ด้วย
แต่ปัจจุบันเขาเปลี่ยนระบบ ไม่รู้ว่าจะขอดูได้หรือไม่


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 09 ก.ค. 06, 06:52

.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 09 ก.ค. 06, 06:58

.


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 09 ก.ค. 06, 07:01

.
ขอบคุณสำหรับข้อมูล


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 10 ก.ค. 06, 05:17

.
และถ้ามองทางขวาจะเห็นร่มกันแดดกางเป็นทิวแถว
ร่มปีกโค้งแบบนี้มีโครงเหล็กยึดอยู่ข้างใน ผ้าหุ้มอีกที เป็นร่มแบบฝรั่ง เหมือนปัจจุบันนี้ละค่ะ
สมัยรัชกาลที่ ๒ ยังไม่มีร่มแบบนี้หรอก

จากความเห็น 81
เป็นที่แน่แล้วว่าภาพนี้คือสมัยรัชกาลที่ 5 ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับรายละเอียดที่เป็นประโยชน์มาก

แต่สงสัยว่าสำเภาจากอิหร่าน โปรตุเกส ฮอลันดา อินตาละเดียและจีน ก็มาค้าขายกับกรุงสยามตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว
จะไม่มีใครนำร่มมาขายที่กรุงสยามบ้างเลยหรือ ในเมื่อเเพรพัตรา ผ้าตาด ผ้ามัสลิน ก็ยังมีขายทั่วไป
ที่ถามเพราะไม่ทราบจริงๆอ่ะ สุดเง็ง เพราะสยามสมัยก่อนก็มีกำลังซื้อใช้ได้ทีเดียว?????


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 ก.ค. 06, 09:41
 เรื่องร่มนั้นผมสงสัยเหมือนคุณ Japonica เช่นกันครับ ส่งสัยยาวไปถึงเรื่องร่มที่ บ่อสร้าง โน่นเหมือนกัน นอกจากร่มที่เป็นกระดาษเคลือบแล้วที่นั่นยังมี ร่มผ้าหรือวัสดุอย่างอื่นด้วยไหมหนา ??

ต้องรอผู้ที่มีข้อมูลมาเฉลยเสียแล้ว ( ไม่พบคุณ ศศิศ ในเรือนเสียตั้งนานถ้าคุณ ศศิศ อยู่อาจช่วยไขข้อข้องใจได้เรื่องร่ม (จ้อง) ที่บ่อสร้าง)

ปล.คุณ Japonica พิมพ์คำลงท้ายหางเสียงคำว่า ครับ เป็น ค่ะ เสียแล้วท่าทางจะพิมพ์เพลินจนพิมพ์ผิด (เย้าเล่นเฉยๆครับ)


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 10 ก.ค. 06, 11:19
 แฮะๆ คุณหมู ล้อเล่นน่ะ เล่นได้ดอก
แต่ล้อเล่นบ้าง จริงบ้าง แกล้งติว่าคนอื่นบรรยายไม่ดีบ้าง มีคนอื่นบรรยายดีกว่าบ้าง ระวังหน่อยเน้อ
สมัยนี้คนเก่งน่ะไม่จีรังหรอก คนดีน่ะแน่แท้เสมอ

ป.ล. วิธี "chasing spirit" ให้ถอนรากอย่างถาวร "คุณ" เขาทราบดีว่าต้องทำอย่างไร
แค่นี้ถือว่าเป็นบุพเพก็แล้วกัน หาใช่อนันตริยกรรมไม่


กระทู้: ภาพเมืองไทยในอดีต (๖)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.ค. 06, 23:04
 ขอความกรุณาย้อนกลับไปดูภาพในความเห็นที่ ๗๙ อีกทีครับ

ทางมุมบยชวาของภาพ  จะเห็นเรือยนต์ขนาดเล็กจอดอยู่ที่หน้าพระราชที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ๒ ลำ  

ดูเผินๆ จะเห็นมีคล้ายปล่องขึ้นมา ๒ ปล่องทางท้ายเรือ  แต่ถ้าพิจารณาอีกทีถ้าเป็นปล่องก็ไม่สัมพันธ์กับขนาดของเรือเลย  จึงน่าเชื่อว่าที่ดูคล้ายปล่องนั้นน่าจะเป็นเสาที่ปักไว้สำหรับผูกเรือมากกว่า  

ส่วนเรือทั้งสองลำนั้นน่าจะเป็นเรือยนต์ซึ่งเริ่มมีการนำมาใช้กันแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕