เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 31059 เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 03:43

 คุณ Pipat วาจาไม่ค่อยสร้างสรรค์
น่าจะปรับปรุงเรื่องการแสดงความคิดเห็นให้มากกว่านี้สักหน่อย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 10:12

 ผมไม่แน่ใจว่าคุณโพธิ์ประทับช้างจะมีคุณสมบัติพอกับคำว่าสร้างสรรค์หรือไม่
แต่ในแง่ของความรู้นั้นผมไม่สงสัย

ผมถามตรงๆ ว่าไม่เคยได้ยิน "ดาวเสด็จ" ในศิลปะไทยมาก่อน
คุณย้อนว่า "เป็นธรรมดาที่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน" แล้วก็ไม่ตอบ อย่างนี้คงไม่ต้องปรับปรุงอะไรกระมัง
ผมไปค้นกูเกิ้ล ก็ไม่เห็นว่าจะเกี่ยวอะไรกับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยแม้แต่น้อย
เป็นความเชื่อพื้นบ้าน ซึ่งถ้าจะเอามาใช้เป็นเทคนิกัลเทอร์ม ก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
เหมือนศัพท์แปลกๆ ของอีกสังคมหนึ่ง พวก สะดุ้งมาร ลอยองค์ มวลสาร...ฯลฯ เขาจะไม่ใช้กันในตำรามาตรฐาน
ผมห่วงรุ่นน้องผมมันจะเชื่อว่า ของพวกนี้เอามาผสมข้ามพันธ์กันได้
แล้วทีนี้คำว่า "ดาวเพดาน" ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ก่อนคุณก่อนผมเกิด จะให้เอาไปทำอะไร
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร พระเทวาภินิมิตร และครูช่างอีกเป็นร้อยเป็นพัน ทั้งประวัติศาสตร์ ท่านไม่รู้จักของอย่างนี้เลยหรือ ถึงไม่เคยใช้คำว่า "ดาวเสด็จ"

อีกอย่าง คุณก็ถ่ายรูปเป็น ลองซูมดูก็คงจะเห็น ว่าลายดวงใหญ่ที่เป็นประธานกลางห้องนั้น แยกกลีบออกมาเป็นรูปอะไร ไม่ก็ไปดูดาวเพดานชิ้นเลื่องชื่อ ที่พิพิธภัณฑ์สุโขทัย ว่าแท้จริงแล้วเป็นดาวหรือไม่

คุณยังเสนอความเห็นว่า “สำหรับท่านที่ใช้คำว่า "ลายรดน้ำ" ขอให้ใช้คำว่า "ลายทอง" เช่น ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ ครับ” อันนี้ถ้าเป็นน้องเป็นนุ่ง รับรองว่าไม่จืด เพราะผมจะด่ามันว่าอุตริ รู้น้อยว่ามากรู้เริงใจ
ศัพท์ช่างก็เหมือนมรดก จะเอามาใช้ทิ้งใช้ขว้าง ล้างผลาญอีลุ่ยฉุยแฉก แปลงสินทรัพท์เป็นทุนอะไรเทือกนั้น
คนที่ยกครูมา เขาไม่ทำกัน
ขืนไปใช้ตาม ผมก็ต้องบอกว่า”ครูช่างวัดเซิงหวาย เขียนลายทองเทคนิคลายรดน้ำอย่างอิสระ ไม่ร่างโครงใหญ่เอาไว้ก่อน ถือว่าเป็นตู้ลายทองเทคนิคลายรดน้ำที่เป็นงานชิ้นเอก...ยังมีตู้ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ อีกหลายใบ ที่เชื่อกันว่า.....” มันผิดวายวอดครับ
ถ้าคุณไปเสนอเรื่องพวกนี้ที่เวบของคุณ ผมจะไม่ไปแตะต้องให้หมองศรี

แต่ด้วยความเคารพในเรือนไทย ซึ่งเปิดกว้าง จนผีสางนางไม้อย่างผมได้อาศัยร่มเงาพักพิง เป็นที่อบอุ่นใจ
เห็นอะไรผิดสังเกตก็ต้องทักกันไว้ก่อน หาไม่ก็เข้าข่ายกินบนเรือนแล้วไปทำอุดจาดบนหลังคา เข้าข่ายเนรคุณ

ไม่ทราบว่าที่พรรณามานี้ คุณจะอ่านเข้าใจหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 16:45

 1. ผมไม่แน่ใจว่าคุณโพธิ์ประทับช้างจะมีคุณสมบัติพอกับคำว่าสร้างสรรค์หรือไม่
แต่ในแง่ของความรู้นั้นผมไม่สงสัย
* ตอบ ผมเชื่อว่า ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพันคำ ผมจึงพยายามนำเสนอความรู้
ผ่านภาพและคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจและให้เกียรติแวะอ่าน
แบบนี้จะเรียกว่าสร้างสรรค์ได้หรือไม่ คุณเองก็คงไม่ต่างจากผม
แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างคุณกับผมคืออะไร สมาชิกท่านอื่นๆ ในบอร์ด
คงตอบได้


2. ผมถามตรงๆ ว่าไม่เคยได้ยิน "ดาวเสด็จ" ในศิลปะไทยมาก่อน คุณย้อนว่า
"เป็นธรรมดาที่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน" แล้วก็ไม่ตอบ
อย่างนี้คงไม่ต้องปรับปรุงอะไรกระมัง
* ตอบ ผมก็มีงานการต้องทำ อาจจะตอบช้าไปบ้าง แต่ก็ได้ตอบไปแล้วครับ
นั่นคือเจตนาของผม


3. ผมไปค้นกูเกิ้ล ก็ไม่เห็นว่าจะเกี่ยวอะไรกับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยแม้แต่น้อย
เป็นความเชื่อพื้นบ้าน ซึ่งถ้าจะเอามาใช้เป็นเทคนิกัลเทอร์ม ก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
เหมือนศัพท์แปลกๆ ของอีกสังคมหนึ่ง พวก สะดุ้งมาร ลอยองค์ มวลสาร...ฯลฯ
เขาจะไม่ใช้กันในตำรามาตรฐาน ผมห่วงรุ่นน้องผมมันจะเชื่อว่า ของพวกนี้เอามา
ผสมข้ามพันธ์กันได้
* ตอบ ผมไม่เถียงว่า Google เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่ แต่คงไม่ใช่เรื่องแปลก
ที่จะไม่มีเรื่องภูมิปัญญาสมัยอยุธยาอยู่ ถึงมีอยู่ก็เป็นจำนวนน้อย เรื่องภูมิปัญญาใน
ยุครัตนโกสินทร์ศึกษากันเป็นที่แพร่หลาย แต่ภูมิปัญญาอยุธยายังดูเป็นเรื่องห่างไกล
ขนาดพระราชประวัติพระมหากษัตริย์อยุธยา บางองค์ยังแทบจะไม่มี ที่วิชาการ
น่าจะมีข้อมูลเชิงลึกมากกว่า Google นี่คือข้อดีอีกอย่างของวิชาการที่ทำให้ผมมาที่นี่

อีกประการ การที่เอา "วัฒนธรรมตะวันตก" ไปตัดสิน "วัฒนธรรมตะวันออก" หรือ
"วัฒนธรรมเมืองหลวง" ไปตัดสิน "วัฒนธรรมพื้นบ้าน และ วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย"
ว่าเป็นเรื่องต่ำต้อยด้อยค่า ไม่ได้มาตรฐาน ก็เปรียบเสมือน "ไก่ได้พลอย"
การศึกษาวัฒนธรรมแบบนี้ เค้าเรียกว่า "การศึกษาแบบล้าหลังคลั่งชาติ" ดังที่
วัฒนธรรมเมืองหลวงพยายามสร้างบรรทัดฐานให้กับวัฒนธรรมพื้นบ้าน
แล้ว "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน" ที่สั่งสมมาจะเอาไว้ใช้ทำอะไร ?
สภาพของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สถานการณ์การแตกสลายของสังคมหมู่บ้านในชนบทไทย
ก็มีสาเหตุมาจาก "อคติ" และความคิดแบบนี้ ปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเรียน
สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นกันไง

การศึกษาศิลปกรรมไทยที่แท้จริงควรจะศึกษาศาสนาเปรียบเทียบส่วนหนึ่ง
ศึกษาจากหนังสือตำราส่วนหนึ่ง ศึกษาจากคำครูสอนส่วนหนึ่ง
ศึกษาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของช่างและคนไทยโบราณส่วนหนึ่ง
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่ง ทุกส่วนมีสำคัญไม่ย่อหย่อน
ไปกว่ากันเลย ศึกษาแบบ "ของใหม่ก็เอา ของเก่าก็ไม่ทิ้ง" นั่นจะสร้างสรรค์
และยั่งยืนถาวร หรือคุณจะบินไปเรียนระดับปริญญาโทปริญญาเอก
เรื่องไทยพื้นบ้านกับอาจารย์ ฝรั่ง / ญี่ปุ่น


4. ผมห่วงรุ่นน้องผมมันจะเชื่อว่า ของพวกนี้เอามาผสมข้ามพันธ์กันได้ แล้วทีนี้คำว่า
"ดาวเพดาน" ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ก่อนคุณก่อนผมเกิด จะให้เอาไปทำอะไร
* ตอบ แต่ละคนต่างก็มีสติปัญญา ตราบใดยังมีประเทศไทย คงต้องมีคนอย่างคุณกับ
คนอย่างผมเกิดขึ้นมาแทนที่อีก ผมคิดว่าวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คือ การศึกษา
เรื่องเก่าๆ เพื่อค้นพบเรื่องใหม่ๆ จงอย่ากลัว แต่กล้าที่จะพบสิ่งใหม่ๆ ดีกว่า
ศิลปะอะไรที่เรียกว่าไทยแท้ไม่มีครับ ผสมปนเปกันไปหมด ถ้าแท้ๆ ก็พวก Primitive Art
สำหรับคำว่า "ดาวเพดาน" ก็ยังคงใช้ต่อไป ผมไม่ได้มีเจตนาหรือหมายความ
ให้เลิกใช้ไปครับ


5. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร พระเทวาภินิมิตร และ
ครูช่างอีกเป็นร้อยเป็นพัน ทั้งประวัติศาสตร์ ท่านไม่รู้จักของอย่างนี้เลยหรือ
ถึงไม่เคยใช้คำว่า "ดาวเสด็จ"
* ตอบ คำศัพท์โบราณบางคำ ที่คุณ Pipat หรือคนอย่างผมไม่เคยได้ยิน ไม่ใช่เรื่องแปลก
หรอกครับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร พระเทวาภินิมิตร และ
ครูช่างอีกเป็นร้อยเป็นพัน ท่านเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มียศฐาบรรดาศักดิ์และความรู้ความสามารถทั้งสิ้น
แต่คุณจะให้ท่านเหล่านั้นทราบไปหมดทุกเรื่องคงไม่ได้ ปัจจุบันยุคสมัยเปลี่ยนไป
การคมนาคมสะดวก ผมมีโอกาสมากกว่าท่านในเรื่องการไปสำรวจในสถานที่ ที่ท่านยัง
ไม่เคยได้ไปและได้พบความรู้ใหม่ๆ มากกว่าในหนังสือที่ท่านเขียน หรือ เคยได้อ่าน
เรื่องเหล่านั้นมาก่อน


6. อีกอย่าง คุณก็ถ่ายรูปเป็น ลองซูมดูก็คงจะเห็น ว่าลายดวงใหญ่ที่เป็นประธานกลางห้องนั้น
แยกกลีบออกมาเป็นรูปอะไร ไม่ก็ไปดูดาวเพดานชิ้นเลื่องชื่อ ที่พิพิธภัณฑ์สุโขทัย
ว่าแท้จริงแล้วเป็นดาวหรือไม่
* ตอบ คุณรู้มั้ยตรงกลางดาวเพดานวัดสระบัว หมายถึงอะไร ?
ที่คุณกล่าวใช่เพดานธรรมมาสน์ของวัดราชบูรณะ พิษณุโลก ?


7. คุณยังเสนอความเห็นว่า “สำหรับท่านที่ใช้คำว่า "ลายรดน้ำ" ขอให้ใช้คำว่า "ลายทอง" เช่น
ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ ครับ” อันนี้ถ้าเป็นน้องเป็นนุ่ง รับรองว่าไม่จืด เพราะผมจะด่ามันว่าอุตริ
รู้น้อยว่ามากรู้เริงใจ ศัพท์ช่างก็เหมือนมรดก จะเอามาใช้ทิ้งใช้ขว้าง ล้างผลาญอีลุ่ยฉุยแฉก
แปลงสินทรัพท์เป็นทุนอะไรเทือกนั้น คนที่ยกครูมา เขาไม่ทำกัน
* ตอบ คุณ Pipat เคยอ่านหนังสือ "ตู้ลายทอง" มั้ยครับ ถ้าไม่เคยก็ไม่เป็นไรครับ
คำว่า "ทอง" กับ คำว่า "รดน้ำ" แตกต่างกันอย่างไร ลองพิจารณาดูเถิด
ว่าควรใช้คำว่าอะไร แบบนี้ผมใช้คำว่า "อุตริรู้น้อยว่ามากรู้เริงใจ" กับคุณ Pipat ได้หรือเปล่า
การอ่านหนังสือศิลปะไทยต้องดูก่อนว่าใครเป็นคนเขียน
จะเชื่อช่างที่เป็นคนทำงานศิลปะ หรือ จะเชื่อนักวิชาการที่เขียนแต่ไม่เคยได้ทำ

ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเป็นพี่เป็นเชื้อ ก็รับรองว่าไม่จืดเช่นกัน วาจาเหมือนมะนาวไม่มีน้ำ
กระทบกระเทียบ อีกอย่าง ผมมิได้ตั้งใจจะอวดรู้ ดังที่ได้กล่าวขออภัยไว้เสมอๆ
ว่าอ่อนน้อยด้อยสติปัญญา คุณต่างหากที่แสดงพฤติกรรมเช่นนั้นจนเป็นกิจวัตร
ลองย้อนดูที่ตัวเอง หรือ ถามสมาชิกในบอร์ดท่านอื่นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของคุณดู

ผมฝากไว้ว่า "อย่ายึดเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน" เพราะในโลกนี้ยังมีอะไรอีกมากมาย
ที่ คุณ หรือ ผม ยังไม่รู้ ส่วนอะไรที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจ  ลืมๆ ได้ ก็ลืมๆ ไปซะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 17:04

 คราวนี้เป็นใบแก้คำผิด เฉพาะในกระทู้นี้เท่านั้นนะครับ

2 ภาพจิตรกรรมการประสูติอันประเสริฐของเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร / ผิด เป็นตอนพระเจ้าตัดเกศ

5 และ 30ไม้ประกับคัมภีร์ลายทองบนพื้นชาด เทคนิคลายรดน้ำ / ผิด ไม่ใช่ลายรดน้ำ
อันนี้เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง เวลาทำไม่เปียกเลย เขาเรียกปิดทองร่องชาด
ลายช่อแทงท้อง ลายกรุยเชิงครึ่งชั้น ลายหน้ากระดานลูกฟัก (ดารา) ประจำยาม (ตาบ) ก้ามปู / อันนี้เป็นชื่อลาย
ที่ใครสักคนคิดขึ้นมาเอง เพื่อให้ฟังดูเก๋ดี
ลายกรุยเชิงชั้นสุดท้าย / อันนี้ครูผมสอนให้เรียกลายเฟื่อง  
คำว่าเชิงนี่ หมายถึงปลายสุดแล้ว ไม่มีแบ่งเป็นชั้น เป็นเชิงที่หนึ่ง ที่สอง ย่อยลงไปอีก

7 เทพรำ ลายทองข้างหีบไม้สมัยอยุธยา สำหรับเสื้อผ้า / ครูผมสอนให้เรียกหีบพระคัมภีร์
โบราณไม่เอาของใช้แล้วไปถวายวัด ยกเว้นสังเคต ซึ่งจงใจทำเพื่องานอย่างหนึ่ง แล้วมุ่งหมายจำเพาะ
เพื่อถวายวัดต่อไป วัดไม่ใช่เซียงกง หรือโรงจำนำง่ะ จะได้เอาของไปปล่อย
แล้วพระท่านก็มีผ้าอยู่เพียงสามผืน เอาหีบผ้ามาทำอะไร แถมมีลายเทพรำเสียอีก

21 กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาตอนต้น รูปเทพยุดา วัดมหาธาตุ / รูปนี้ภาษาช่างเรียกเทพพนม
เทพยุดาอะไรนั่น มีแต่ในพจนานุกรม แล้วรูปนี้ก็ไม่ใช่ของสมัยต้น เป็นของสมัยปลายสุดๆ

23 ทับหลังหลังคา หินทราย ศิลปะบายน วัดมหาธาตุ / ทับหลังก็ส่วนทับหลัง
มีตำแหน่งแห่งหนในการใช้งานจำเพาะเจาะจง อยู่ตรงใหน เด็กนักเรียนส่วนมากก็รู้
บนหลังคาไม่มีองค์ประกอบที่เรียกว่าทับหลัง ถ้าจะมี ก็สันกลังคา ครอบกลังคา ตะเข้สัน….

แต่ถ้าบนหลังคาสถาปัตยกรรมเขมร มีองค์ประกอบตกแต่งที่ท่านเรียก บราลี หรือ ประราลี
เป็นหินแท่ง กลึงเป็นรูปทรงเห็นเมื่อไหร่ก็จำได้ อยุธยาก็มี แต่พบเป็นไม้ หรือดินเผา
เป็นหิน ไม่เคยพบ เป็นแผ่นก็ไม่เคยพบ
ที่คุณไปถ่ายรูปมา ท่านสุภัทรดิศทรงเรียกว่าเสมากำแพง เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายน
เป็นคติจักรวาลมหายาน

36 ช่างประติมากรรมก็จะไม่ไปทำงานของช่างเขียน ช่างเขียนก็ไม่ไปทำประติมากรรม / อันนี้เป็นความเห็น
ของคุณคนเดียว คุณไปมีประสบการณ์ส่วนตัวอะไรมา ถ้าจะสอนลูกสอนหลานของคุณผมก็ไม่ขัดข้อง
แต่จะมาตีขลุม อธิบายศิลปะไทยทั้งระบบมิได้
มิเช่นนั้นจักรพันธุ์ก็เป็นช่างที่แย่มากสิ ทำไปได้ ตั้งหลายอย่าง นี่ยกตัวอย่างเพียงท่านที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นนะ

สมัยโบราณ ช่างเชลยศักดิ์ ไม่มีข้อแบ่งแยกว่างานใดทำได้ งานใดทำไม่ได้
ช่างหลวง มีสังกัดแบ่งแยกก็จริง แต่ถ้าช่างใหญ่จริง ก็ไม่มีข้อจำกัด
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ทรงสร้างงานสารพัด รัชกาลที่ 2 ก็ทรงฝากฝีพระหัตถ์ไว้หลายสิ่ง
จะไปกล่าวหาท่านเหล่านั้นปาดหน้าเค๊กได้หรือ

หัวสกุลช่าง / คำนี้ไม่เคยได้ยิน ใครคิดก็ไม่รู้ แต่คงตกภาษาไทย
หรือคิดว่ามี หัวที หัวทะเล หัวเชื้อ หัวหน้า หัวเลี้ยว ....หัวอะไรสาระพัด ก็เลยอวดมาใช้กับศิลปะมั่ง

42 เทพยดาพนม ลายทองพื้นชาด ปิดทองลายฉลุ / ครูผมสอนให้เรียกว่า ลายเทพพนม ปิดทองร่องชาด
เวลามีหมายรับสั่ง ก็ใช้คำแค่นี้ ศัพท์ที่คิดขึ้นมา ช่างโบราณฟังไม่รู้เรื่อง

43 ลายทองกำมะลอ ศิลปะอยุธยา / ใช้กันมาว่าลายกำมะลอก็จบ เพราะเป็นศัพท์ช่าง
ใช้ว่าเครื่องกำมะลอ ลายกำมะลอก็มี แต่ถ้าใช้อย่างของคุณ แปลว่าลายทองเก๊

48 ดาวเสด็จแห่ประทักษิณล้อมเดือน / อันนี้หรูสุด เข้าเขตชีวะจิตขั้นสูง
สถิตย์ยังโสฬสฟากฟ้าได้แล้ว
ทีนี้ถ้าคุณเห็นดาวเพดานเป็นดวงดาราจริงๆ ละก้อ ลายผ้านุ่งที่คุณบอกว่าจำลองขึ้นบนขื่อบนคานนั้น
เป็นอะไรล่ะ เป็นผ้านุ่งดาวงั้นหรือ
ลายท้องคาน ลายเสานี่เขามีระเบียบของเขา ไม่รู้ก็ต้องศึกษา ไม่ใช่ว่าเจ๋งเรื่องหนึ่ง ก็จะพลอยเจ๋งเรื่องสอง
เรื่องสามไปด้วย ลายผ้านุ่งจะเอามาปนกับผนังอาคาร มีแต่คนไม่รู้ เขาจึงจะทำกัน
ลายพื้น ลายกรอบ ลายขอบ ลายขนาบ หรือลายคั่น ในการตกแต่งอาคารนั้น เขามีหลักแน่ชัด

49 ตาบทิพย์ / ตาบ ต้องอยู่ที่หน้าอก อย่างที่เห็นนี่ ครูผมเรียกประจำยามเท่านั้นแหละครับ

ขอเรียนตามตรง ว่ารูปของคุณนั้นดีเยี่ยม แต่ข้อความของคุณเป็นอีกอย่างนะครับ ใครยกครูเรื่องไทยให้คุณกัน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 18:45

 เวลาจะด่าผมนะ ด่าในสิ่งที่ผมพูด เป็นเจ้าของ หรือเสนอออกไปชัดๆ ไม่ต้องพูดจาคลุมเครือประเภท
เขารู้อยู่แล้วว่าคุณเป็นอย่างไร หรือคุณก็รู้อยู่ว่าคุณเป็นอะไร หรือผมรู้แต่ผมไม่พูด…
ถ้าคุณใช้พฤติกรรมอย่างนี้อีก ก็ขาดกัน
เราไม่ด่านักวิชาการ ว่าปากเสีย นิสัยไม่ดี ไม่มีสัมมาคารวะ...หรืออะไรที่มันเหมือนตามตลาดเขาด่ากัน
แม้เราจะรู้ว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ
เราด่านักวิชาการในสิ่งที่เขาเขียน ในเนื้อความที่เขาเป็นเจ้าของ ที่มันสร้างมิจฉาทิษฐิทางปัญญา

การที่คุณมายัดเยียดแนวคิดคลั่งชาติ ดูหมิ่นพื้นบ้านอะไรเทิอกนั้นน่ะ .ให้คนอื่น ผู้ดีเขาไม่ทำกัน
ผมว่าแม้แต่ไพร่ ก็ไม่ทำ เป็นวิธีที่ต่ำมากๆ จนไม่คิดว่าคนที่ชื่นชมศิลปะจะคิดออกมาได้
ผมสอบได้ว่าดาวเสด็จเป็นแนวคิดพื้นบ้าน ยังไม่มีคำใหนที่ส่ออาการดูถูกดูหมิ่น
คุณก็จัดแจงยัดเยียดไปถึงขั้นสามจังหวัดภาคใต้
ผมว่าวิธีป้ายสีของคุณมันออกจะโสโครกไปหน่อยนะ

การแยกพื้นบ้านออกจากส่วนกลาง เป็นวิธีการทางวัฒนธรรมศึกษาที่จำเป็น
เพราะเราต้องเคารพที่มาของทั้งสองสิ่ง การปนเปื้อนกัน เป็นเรื่องเสียหายร้ายแรง
ตัวอย่างเช่นการลอยกระทงไฟตามหลังกระบวนเรือพระราชพิธี ที่เพิ่งทำตอนเอเปค
เป็นวิธีคิดที่ทำลายล้างความบริสุทธิ์ทางวัฒนธรรมอย่างน่าสังเวชที่สุด
แต่คุณคงไม่เข้าใจ

เมื่อพิจารณาจากการที่คุณใช้คำต่างศักดิ์ หรืออ้างหนังสือที่ขาดความเที่ยงตรงบ่อยๆ
โดยสรุปอย่างน่าเอ็นดูว่า เขาเป็นตั้งดอกเตอร์ คนแปลเป็นครูบาอาจารย์…ก็ต้องให้เกียรติเขา
แล้วคุณดันอ้างคติจักรวาลที่ฝรั่งเขียน แต่แดกดันให้ผมไปเรียนพื้นบ้านกับญี่ปุ่น
ตรรกะแบบนี้มันน่าสังเวชอ่ะ
แล้วหนังสือตู้ลายทองที่คุณอ้างนั้น มันสลักสำคัญอะไรนักหรือ ถึงกับจะใช้เป็นข้ออ้างอิงทางวิชาการ
คุณรู้หรือไม่ ว่าเป็นน้ำพักน้ำแรงของใคร เห็นคุณบอกว่านักวิชาการบางกรม ไม่น่าเชื่อถือ มิใช่หรือ

ผมถามคุณเรื่องดาวเสด็จ คุณบอกว่าไม่มีเวลาตอบ แต่คุณอธิบายต่อออกมาได้อีกสอง-สามคำตอบยาวๆ
ที่ไม่ใช่การตอบ แบบนี้เขาเรียกเสียมารยาท กวน ...ไม่ได้ต่างอะไรจากที่คุณด่าผมเลย
แถมยกตนข่มท่าน ข่มผมไม่เป็นไร แต่คุณกล้าบอกว่า
คุณเห็นมากกว่าคนโบราณ ......555555555

ข้อสุดท้ายนะ คุณอ้างว่าคุณอ่อนน้อม..สารพัด นั่นเป็นบุญของคุณ
แต่ที่ผมไม่อ่อนน้อม นี่ก็เห็นชัด ตั้งแต่วันแรกที่ผมมาเป็นสมาชิกเรือนไทยแล้ว ไม่เคยเปลี่ยน ยิ่งมาเจอประเด็นเห็นมากกว่าคนโบราณนี่ ....555555555 ชอบง่ะ

แต่คุณคงลืมความอ่อนน้อมไปชั่วขณะ ที่มาสอนผมเรื่องปรับปรุงอะไรนั่นหนะ คนอ่อนน้อมจริงเขาไม่ทำ นะจ๊ะ ...
น้องดาวเสด็จ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 18:59

 คราวนี้เป็นใบแก้คำผิด เฉพาะในกระทู้นี้เท่านั้นนะครับ
*ตอบ ขอบคุณที่สละเวลามาตรวจให้ครับ

2 ภาพจิตรกรรมการประสูติอันประเสริฐของเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร / ผิด เป็นตอนพระเจ้าตัดเกศ
*ตอบ มีแต่คำพูดลอยๆ ผมจะเชื่อถือคุณได้มากน้อยขนาดไหน ?
เรื่องลายทองคุณยังไม่รู้จัก ถ้าคุณริจะตรวจว่าอันไหนผิดถูก ขอให้กลับไปทำความเข้าใจเรื่อง "ลายทอง"
มาเสียใหม่ แล้วค่อยกลับมาคุยกัน

5 และ 30ไม้ประกับคัมภีร์ลายทองบนพื้นชาด เทคนิคลายรดน้ำ / ผิด ไม่ใช่ลายรดน้ำ
อันนี้เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง เวลาทำไม่เปียกเลย เขาเรียกปิดทองร่องชาด
ลายช่อแทงท้อง ลายกรุยเชิงครึ่งชั้น ลายหน้ากระดานลูกฟัก (ดารา) ประจำยาม (ตาบ) ก้ามปู / อันนี้เป็นชื่อลาย
ที่ใครสักคนคิดขึ้นมาเอง เพื่อให้ฟังดูเก๋ดี
ลายกรุยเชิงชั้นสุดท้าย / อันนี้ครูผมสอนให้เรียกลายเฟื่อง
คำว่าเชิงนี่ หมายถึงปลายสุดแล้ว ไม่มีแบ่งเป็นชั้น เป็นเชิงที่หนึ่ง ที่สอง ย่อยลงไปอีก
* ตอบ คำว่า "ชั้น" กับ คำว่า "เชิง" ต่างกันอย่างไร จะอธิบายให้คุณ Pipat ฟัง
ถือเสียว่าเขียนลายไทยไม่เป็นก็ไม่ว่ากัน
- ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลาย เรียกว่า "เชิง"
- สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้นๆ เรียกว่า "ชั้น"
เรื่องประกับ คุณคงเคยแต่เห็นในรูป แต่ผมมีของอันจริงๆ เลย แล้วผมก็เคยเห็นมาหลายอัน
แล้วก็รู้จักมันดีพอว่า มันทำด้วยอะไร อย่างไร เพราะลายทองนูนคมมาก รดน้ำเท่านั้น

7 เทพรำ ลายทองข้างหีบไม้สมัยอยุธยา สำหรับเสื้อผ้า / ครูผมสอนให้เรียกหีบพระคัมภีร์
โบราณไม่เอาของใช้แล้วไปถวายวัด ยกเว้นสังเคต ซึ่งจงใจทำเพื่องานอย่างหนึ่ง แล้วมุ่งหมายจำเพาะ
เพื่อถวายวัดต่อไป วัดไม่ใช่เซียงกง หรือโรงจำนำง่ะ จะได้เอาของไปปล่อย
แล้วพระท่านก็มีผ้าอยู่เพียงสามผืน เอาหีบผ้ามาทำอะไร แถมมีลายเทพรำเสียอีก
* ตอบ คุณมั่วหรือเปล่าครับ คนโบราณเวลาตาย เอาเรือนถวายวัดก็ถมไป
กลับไปหาความรู้เรื่องหีบสมัยอยุธยามาเสียใหม่ แล้วค่อยมาคุยกันครับ
เรื่องรูปทรงและลักษณะการใช้งานของหีบนั้น ไม่เหมาะสมสำหรับการเก็บคัมภัร์พระธรรม
เนื่องจากหีบมีขนาดใหญ่มาก ทั้งยังมีความลึก เอาคัมภีร์ไปเก็บคงจะหยิบไม่ถนัด แล้วทับกันปลวกจะกิน
เหมาะสำหรับใส่ผ้าผ่อนของมีค่ามากกว่า ยิ่งเป็นหีบลายทอง ไม่ใช่ของชนชั้นสามัญธรรมดาทั้วๆ ไปไก่กา
อบเครื่องหอม เพราะไม้ที่ทำส่วนใหญ่เป็นไม้ที่เก็บกลิ่นได้ คัมภีร์พระธรรมก็ควรจะเก็บในตู้พระธรรม
หรือ หีบพระธรรมมากว่าครับ หีบใบที่ผมยกมานั้นหีบใส่ผ้าที่เจ้านาย ไม่ใช่หีบพระธรรม
สันนิษฐานว่าเจ้านายเสียชีวิตแล้วลูกหลานเอามาถวายวัด สังเกตุว่าจะพบหีบใบใหญ่ๆ ลักษณะนี้
เฉพาะวัดโบราณที่มีมาแต่สมัยอยุธยา

21 กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาตอนต้น รูปเทพยุดา วัดมหาธาตุ / รูปนี้ภาษาช่างเรียกเทพพนม
เทพยุดาอะไรนั่น มีแต่ในพจนานุกรม แล้วรูปนี้ก็ไม่ใช่ของสมัยต้น เป็นของสมัยปลายสุดๆ
ตอบ ถ้าไม่รู้จักจะอธิบายให้ฟังเป็นวิทยาทานนะครับ
คำว่า "เทพยดา" หมายถึง เทพผู้ชาย , คำว่า "เทพยุดา" หมายถึง เทพผู้หญิง
เห็นหน้าอกเทพยุดามั้ยครับ แล้วเรื่องการจัดอายุกระเบื้องคุณเอาอะไรมาวัด มั่วหรือเปล่า ?
ผมดูกระเบื้องเชิงชายมาเป็นร้อยๆ ชิ้น ไม่ใช่อ่านเอาจากหนังสือ ไม่มั่วครับ

23 ทับหลังหลังคา หินทราย ศิลปะบายน วัดมหาธาตุ / ทับหลังก็ส่วนทับหลัง
มีตำแหน่งแห่งหนในการใช้งานจำเพาะเจาะจง อยู่ตรงใหน เด็กนักเรียนส่วนมากก็รู้
บนหลังคาไม่มีองค์ประกอบที่เรียกว่าทับหลัง ถ้าจะมี ก็สันกลังคา ครอบกลังคา ตะเข้สัน….
แต่ถ้าบนหลังคาสถาปัตยกรรมเขมร มีองค์ประกอบตกแต่งที่ท่านเรียก บราลี หรือ ประราลี
เป็นหินแท่ง กลึงเป็นรูปทรงเห็นเมื่อไหร่ก็จำได้ อยุธยาก็มี แต่พบเป็นไม้ หรือดินเผา
เป็นหิน ไม่เคยพบ เป็นแผ่นก็ไม่เคยพบ
ที่คุณไปถ่ายรูปมา ท่านสุภัทรดิศทรงเรียกว่าเสมากำแพง เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายน
เป็นคติจักรวาลมหายาน
ตอบ บราลี มาจากอะไรรู้หรือไม่ ไม่รู้จัก ผมจะอธิบายให้ฟัง
บราลี เดิมมาจากคือ กลศ (อ่านว่า กะ-ละศะ) คือ แจกันหรือหม้อที่ไม่มีพวยบรรจุน้ำทิพย์ ซึ่งอยู่เหนือชั้น
อมลกะ (อะ-มะ-ละ-กะ) ซึ่งเป็นผลไม้ทิพย์ เดิมอยู่บนยอดเหนือวิมานของศิขรในสถาปัตยกรรมอินเดีย
ลัทธิพรามหณ์ เขมรรับเอาความเชื่อจากอินเดีย พัฒนาการจนเป็น "บราลี" ซึ่งเป็นคนละรูปแบบ
ที่ผมนำมาเสนอ แบบที่ผมนำมาเสนอนั้นเป็นคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ได้รับจากดินเแดน
ในคาบสมุทรและใกล้เคียง ฉะนั้นจึงไม่ใช่ "บราลี" หรือ "กลศ" แต่เป็นทับหลังหลังคาของสถาปัตยกรรม
เขมรที่สร้างในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับนั่งเรียงราย เชื่อกันว่า เข้าไปแล้ว
จะชำระบาปทำให้บริสุทธิ์ได้ ที่เขมรก็ยังปรากฏทับหลังหลังคาแบบนี้อยู่ ฉะนั้นบราลีจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สาปัตยกรรมเขมรไม่ใช่สถาปัตยกรรมไทย เค้าไม่เรียกว่า "สันตะเข่"

36 ช่างประติมากรรมก็จะไม่ไปทำงานของช่างเขียน ช่างเขียนก็ไม่ไปทำประติมากรรม / อันนี้เป็นความเห็น
ของคุณคนเดียว คุณไปมีประสบการณ์ส่วนตัวอะไรมา ถ้าจะสอนลูกสอนหลานของคุณผมก็ไม่ขัดข้อง
แต่จะมาตีขลุม อธิบายศิลปะไทยทั้งระบบมิได้
มิเช่นนั้นจักรพันธุ์ก็เป็นช่างที่แย่มากสิ ทำไปได้ ตั้งหลายอย่าง นี่ยกตัวอย่างเพียงท่านที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นนะ
*ตอบ โบราณไม่เหมือนกับปัจจุบัน สภาพชีวิตและสังคมเปลี่ยนไป รูปแบบศิลปกรรมก็เปลี่ยนตาม
ปัจจุบันศิลปะกลายเป็น "พาณิชยศิลป์" ทำงานเพราะเงิน ไม่ใช่เพราะศรัทธา อีกอย่างไม่มีใครเลี้ยงช่าง
กันอีกต่อไปแล้ว อาจารย์จักรพันธุ์ จึงยกเว้นครับ

สมัยโบราณ ช่างเชลยศักดิ์ ไม่มีข้อแบ่งแยกว่างานใดทำได้ งานใดทำไม่ได้
ช่างหลวง มีสังกัดแบ่งแยกก็จริง แต่ถ้าช่างใหญ่จริง ก็ไม่มีข้อจำกัด
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ทรงสร้างงานสารพัด รัชกาลที่ 2 ก็ทรงฝากฝีพระหัตถ์ไว้หลายสิ่ง
จะไปกล่าวหาท่านเหล่านั้นปาดหน้าเค๊กได้หรือ
*ตอบ สังคมอยุธยาอาจจะคล้ายรัตนโกสินทร์แต่ก็ไม่ทั้งหมด ช่างเก่งๆ ทำงานได้หมด
แต่จะแบ่งงานกันทำ โบสถ์วัดใหญ่สุวรณณารามคุณคิดว่าใช้ช่างกี่คน กี่แขนง เค้าแบ่งงานกันทำ
งานถึงออกมาดี ทำเป็นอาชีพ จะให้นักเทนนิสอาชีพอย่างซาราโปว่า ไปเตะบอลออาชีพอาจจะได้
แต่ก็ไม่ดีนัก ฉันใดก็ฉันนั้น แต่จะเป็นสกุลช่าง ในสกุลประกอบด้วยช่างหลายหมู่
ซึ่งแต่ละคนก็จะทำที่ตัวเองถนัด ไม่สุกเอาเผากินเหมือนเดี๋ยวนี้

หัวสกุลช่าง / คำนี้ไม่เคยได้ยิน ใครคิดก็ไม่รู้ แต่คงตกภาษาไทย
หรือคิดว่ามี หัวที หัวทะเล หัวเชื้อ หัวหน้า หัวเลี้ยว ....หัวอะไรสาระพัด ก็เลยอวดมาใช้กับศิลปะมั่ง
*ตอบ คนเราต้องมีหัว ถ้ามีแค่ตัวคงมีชีวิตไม่ได้ อย่างเช่น พระอาจารย์นาค ท่านก็เป็นหัวหน้าใน
สกุลช่างของท่าน แล้วก็ต้องมีลูกทีมในสกุลช่าง งานใหญ่ๆ ทำคนเดียวไม่ได้หรอกครับ

42 เทพยดาพนม ลายทองพื้นชาด ปิดทองลายฉลุ / ครูผมสอนให้เรียกว่า ลายเทพพนม ปิดทองร่องชาด
เวลามีหมายรับสั่ง ก็ใช้คำแค่นี้ ศัพท์ที่คิดขึ้นมา ช่างโบราณฟังไม่รู้เรื่อง
*ตอบ คุณศึกษาจาดรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ ผมศึกษาอยุธยามากกว่า
ถ้าสนใจเรื่องอยุธยาก็แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน เทพพนมไม่ได้แบ่งหญิงหรือชาย
อยุธยาทำทั้งหญิงทั้งชาย ซึ่งในรัตนโกสินทร์ปรากฏน้อยมาก เพราะสมัยอยุธยาผู้หญิงมีอิทธิพล
ในสังคมมากกว่ารัตนโกสินทร์


43 ลายทองกำมะลอ ศิลปะอยุธยา / ใช้กันมาว่าลายกำมะลอก็จบ เพราะเป็นศัพท์ช่าง
ใช้ว่าเครื่องกำมะลอ ลายกำมะลอก็มี แต่ถ้าใช้อย่างของคุณ แปลว่าลายทองเก๊
*ตอบ คำว่าทองมีความสำคัญมากกว่าที่คุณเข้าใจ สมัยโบราณใช้แบ่งแยกฐานะกันอย่างชัดเจน
เรือนทองของกษัตริย์ เรือนสีของเจ้านาย สามัญชนหมดสิทธิ์ ถึงมีความจำเป็นต้องเรียกว่า
"ลายทอง" เทคนิคลายกำมะลอ / เทนนิคลายรดน้ำ ไงครับ เข้าใจ๋ ?

48 ดาวเสด็จแห่ประทักษิณล้อมเดือน / อันนี้หรูสุด เข้าเขตชีวะจิตขั้นสูง
สถิตย์ยังโสฬสฟากฟ้าได้แล้ว
ทีนี้ถ้าคุณเห็นดาวเพดานเป็นดวงดาราจริงๆ ละก้อ ลายผ้านุ่งที่คุณบอกว่าจำลองขึ้นบนขื่อบนคานนั้น
เป็นอะไรล่ะ เป็นผ้านุ่งดาวงั้นหรือ
ลายท้องคาน ลายเสานี่เขามีระเบียบของเขา ไม่รู้ก็ต้องศึกษา ไม่ใช่ว่าเจ๋งเรื่องหนึ่ง ก็จะพลอยเจ๋งเรื่องสอง
เรื่องสามไปด้วย ลายผ้านุ่งจะเอามาปนกับผนังอาคาร มีแต่คนไม่รู้ เขาจึงจะทำกัน
ลายพื้น ลายกรอบ ลายขอบ ลายขนาบ หรือลายคั่น ในการตกแต่งอาคารนั้น เขามีหลักแน่ชัด
*ตอบ ผมไม่ถือสา เพราะคุณไม่รู้ ไม่เป็นไรครับ จะเล่าให้ฟัง เคยได้ยินชื่อผ้าลายอย่าง "ลายกุดั่น" มั้ย
"กุดั่น" แปลว่าอะไร นั่นแหละลายดาว ผมถึงบอกให้ไปศึกษาผ้าลายอย่างไง เอาไปยึดใช้ได้หมด
เป็นแพทเทิร์นลายไทยทั้งหมดเลย

49 ตาบทิพย์ / ตาบ ต้องอยู่ที่หน้าอก อย่างที่เห็นนี่ ครูผมเรียกประจำยามเท่านั้นแหละครับ
ตอบ กรรมแท้ๆ คุณไม่รู้จักไปหมดเลย จะเล่าให้ฟัง ตาบเป็นเครื่องชิ้นใหญ่ใส่กับขอสร้อย
อยู่ที่หน้าอก รูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นของสวยงามมีค่ามีราคา ช่างอยุธยาจึงนำมา
เป็นลายประดับในที่ต่างๆ เคยได้ยินคำว่า "ตาบทิศ" มั้ยนั่นแหละ มันไม่ได้อยู่หน้าออกอย่างเดียว
คำว่า "ตาบ" กับ "ลูกฟัก" มูลค่าต่างกัน ไม่ปรากฏลายกรุยเชิงที่มีตาบในศิลปะรัตนโกสินทร์เลย

ขอเรียนตามตรง ว่ารูปของคุณนั้นดีเยี่ยม แต่ข้อความของคุณเป็นอีกอย่างนะครับ
ใครยกครูเรื่องไทยให้คุณกัน
ตอบ ผมนับถือพุทธศานา พระพุทธเจ้าเป็นครูใหญ่สุดครับ แล้วครูของคุณหล่ะครับ
ถ้าได้ชมผลงานอาจารย์ของคุณสักหน่อย คงดีไม่น้อย จะคุยกันเรื่องศิลปะ
ว่ากันตามเนื่อผ้าไปเลยครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 19:18

 อ้าว ถึงขนาดยก ... ขึ้นมาเลยหรือ ?
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 20:20

 เรื่องครูนี่ผมแพ้คุณหลุดลุ่ยเลย ได้พระพุทธองค์เป็นครู นี่เอง มิน่า..............
เอ แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามภิกษุ มิให้ข้องเกี่ยวกับการสร้างรูปทำงานศิลปะนา
อนุมัติเพียงลวดลายพรรณพฤกษาพอเป็นเครื่องเชิดชูศรัทธา
มีตอนใหนหรือ ที่ทรงสอนเรื่องดาวเด็จทักษิณา มาเวียนวนบนเพดานลายผ้านุ่งสูงค่า
ก๊ากกก ก๊ากกกก ...ขำกลิ้งเลยเพ่
ตรัสห้ามเรื่องจักรวาลศึกษาเสียด้วยซ้ำ เคยอ่านบ้างใหม หือ
ผมก็เพิ่งทราบว่าคนเราตัวเป็นๆ นี่ ยกครูกับพระพุทธเจ้าได้ด้วย
หรือจะเป็นคนละพระองค์กัน เพราะของคุณใช้ไปได้ถึงมหายาน ฮินดู ...เลิศภพจบพสุธา

รูปพระเจ้าตัดเกศ คุณแปะไว้ก็เห็นอยู่ชัดๆ  ใช่หรือไม่ใช่ ใช้ลูกตาที่มีอยู่กับตัว เบิ่งดูก็เห็นนี่
ไม่ได้เกี่ยวกับที่ผมจะรู้จักลายทองหรือไม่เลยนี่นา

ที่คุณบรรยายมาทั้งหมดนี่ ไม่เห็นจะได้สาระที่พึงเชื่อถืออะไรเลยนะ
เป็นตำราครูพักลักจำ ตำราผมว่าเอง และตำราผีบอก
อ้างอิงแต่กับตัวเองว่ามีมาก เก็บมาก เห็นมาก พอถามว่าอ่านอะไรมาบ้าง ตอบว่าไม่ค่อยได้อ่าน
คุณถึงได้อธิบายปราลีออกมา  จนผมขำจนตกเก้าอี้ โอย...กลศ ตั้งบนอามัลกะ คิดได้ไงเนี่ย
แถมกลศต้องไม่มีพวยด้วย อันนี้สุดยอดของการแต่งเรื่องเลยครับ
ไปถามตุ๊ดตู่ออนไลน์ของผมดูก็ได้ ว่ากลศเป็นยังไง
โชคดีนะ พี่แดงไปเกิดใหม่เสียแล้ว เล่าให้แกฟัง แกอาจจะตลกจนอายุยืนขึ้นอีกหน่อย นะเจ๊นะ

น้องดาวเด็จ น้องต้องศึกษามากกว่านี้อีกมากกว่านี้แยะ ก่อนจะมาตั้งตนเป็นศาสดาสารพัดรู้เช่นนี้

คุณพูดถึงพระอาจารย์นาค ยังกะท่านเป็นผู้รับเหมาเลย มีหัวหน้าช่าง มีลูกทีม
นั่นมันพวกหลอกทำของเก่า ขายคนโง่
ความรู้แบบที่คุณสาธยายมานี่ ถ้าขายสินค้าละก้อ ผู้ซื้อคงงวยงงหลงไหล
สิบบาทให้สิบเอ็ดบาทแง๋ๆ แต่ผมให้ถึงสิบสองเลย แต่ละมุข ถีบสุดๆ
55555....ลายผ้าเป็นมารดาแห่งลายทั้งปวง...55555
ที่บ้านตุนผ้าลายไว้มากเลยหรือ ถึงต้องยกสถานะกันขนาดนี้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 20:46

 แถมอีกนี๊ดดด..นะคุณดาวเด็จ

ตาบ มีรูปทรงที่โดดเด่น คุณรู้ว่าประดับหน้าอกก็ดีแล้ว ดูให้ถ้วนถี่ ก็น่าจะรู้ว่ามันไม่ใช่ประจำยาม
รูปทรงผิดกันไกล
ทีนี้ก็ใช้ตาของคุณ ดูรูปที่ผมทัก ว่ารูปทรงอย่างนี้ ใช่ตาบหรือไม่
หรือเอาไปถามครูสอนนาฎศิลป์ ว่าเรียกตาบได้หรือเปล่า
เกิดมาผมไม่เคยเห็น ตาบห้อยร้อยเรียงเป็นแถวแนวยังกับของโหล

ส่วนลายกุดั่นนี่ ใครสอนคุณกัน ว่าแปลว่าลายดาว
คุณต้องแบ่งเวลาอ่านหนังสือให้หนักขึ้นอีกนะครับ
มีคลังรูปดีๆอยู่กับตัว
มีหัวสมองอันแสนครีเอถีป
เสริมเขี้ยวเล็บด้วยตำหรับตำราอีกสักเจ็ดแปดร้อยเล่ม
ก็เป็นผู้รู้ได้ทีเดียว

อ้อ แต่หนังสือที่คุณอ้างมาหลายเล่มนั่นน่ะ
อย่าอ่านต่อเลยนะมันแสลงปัญญา
ไปที่ศึกษาภัณฑ์ ซื้อสาส์นสมเด็จ กับบันทึกความรู้ฯ
สองรายการนี้ก็ร่วมสี่ห้าสิบเล่มแล้ว อ่านให้ขึ้นใจ
แล้วค่อยไปเถียง ว่าผมเห็นมามากกว่าท่าน
ระหว่างนี้ ก็ก้มหน้าก้มตาแปะรูปให้ดูเป็นบุญตาต่อไป
อย่าหยุดเสียเล่า คนอยากดูมีอีกแยะ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 20:49


- รูปพระเจ้าตัดเกศ คุณแปะไว้ก็เห็นอยู่ชัดๆ ใช่หรือไม่ใช่ ใช้ลูกตาที่มีอยู่กับตัว เบิ่งดูก็เห็นนี่
ไม่ได้เกี่ยวกับที่ผม จะรู้จักลายทองหรือไม่เลยนี่นา

ตอบ บางทีความเขลาของผู้อื่นมันอาจจะดูง่ายกว่าของตัวเอง ลองพิจารณาดูเอาเถิด ว่า ตัดเกศตรงไหน ?
- บุคคลที่เป็นประธานในภาพ หน้าอก (นม) ก็มี
- ด้านบนก็มีกิ่งไม้
- จะออกบวช แล้วจะกางม่านรอบทำไม
- นางประคองนมโตซะขนาดนั้น
- มวยพระเกศาอยู่ที่ไหน

สายตามันก็เสื่อมตามอายุไข หาอะไรบำรุงมั่งเน้อ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 20:53

 "ผมมีโอกาสมากกว่าท่านในเรื่องการไปสำรวจในสถานที่ ที่ท่านยัง
ไม่เคยได้ไปและได้พบความรู้ใหม่ๆ มากกว่าในหนังสือที่ท่านเขียน หรือ เคยได้อ่าน
เรื่องเหล่านั้นมาก่อน"

ตั้งใจอ่านและแปลความหมายดีๆ ครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 20:59

 แล้วเรื่อง "ลายทอง" ว่ายังไงหรือคุณ Pipat มาคุยกันทีซิ
ว่าใครมั่วกันแน่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 21:08

 ขอโทษพันครั้ง
เป็นปางประสูติจริง
ขอถอนข้อนี้ครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 21:56

 คุณอาจจะติดใจคำนี้ ที่ข้าราชการคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว
ตั้งใจทำหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง "ตู้ลายทอง"
แล้วคุณก็คิดเองต่อว่า "ทอง" เป็นสิ่งสูงค่า ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของคุณ
แต่ถ้ามาแสดงในที่สาธารณะ ต้องถูกตรวจสอบ

ประเด็นของผมคือ มีมรดกช่างอย่างหนึ่ง เรียกกันมาแต่โบราณว่าลายรดน้ำ
เป็นกรรมวิธีตกแต่งผิวที่วิเศษสุดอย่างหนึ่งของไทย
คุณมาสอนคนอื่นให้เลิกใช้คำนี้ คุณอ้างสิทธิ์อันใดหรือ คุณเป็นราชบัณฑิตกระนั้นหรือ
หรือแค่อ้างว่า
"ผมมีโอกาสมากกว่าท่านในเรื่องการไปสำรวจในสถานที่ ที่ท่านยังไม่เคยได้ไป
และได้พบความรู้ใหม่ๆ มากกว่าในหนังสือที่ท่านเขียน หรือ เคยได้อ่านเรื่องเหล่านั้นมาก่อน"
แค่นี้คุณก็แก้ได้ตามอำเภอใจละ หรืออ้างอิงรสนิยมเห่อทองของคุณ
นี่เป็นมิจฉาทิษฐิ ที่น่าเวทนาแต่ละไว้ไม่ได้

อีกอย่างคุณเองความรู้ก็น้อยนัก โลกนิติที่ผมอ้าง คุณยังไมรู้จักเลย  กล้าอ้างไปถึงพระพุทธองค์เสียแล้ว
กล้าเปลี่ยนสิ่งที่เขาเรียกกันมาเป็นร้อยปีว่าดาวเพดาน เป็น ดาวเสด็จบ้าง
เปลี่ยนคำว่าลายรดน้ำ เป็นลายทอง....เพี้ยนๆอะไรบ้าง
พอท้วงเข้า ก็บอกว่าไม่ต้องการเปลี่ยนของเก่า
พอถามว่านี่อะไร ก็ทำเล่นตัวสอนหนังสือสังฆราช...พิโยกพิเกน
กล้าเปลี่ยนตำราลายไทยไม่รู้กี่เล่มต่อกี่เล่ม ให้มาใช้ตำราลายผ้า
ยกศัพท์อวดตุ๊กแกไปวันๆ ไม่เคยยอมรับเลย ว่าอะไรผิดอะไรถูก
อย่างที่ตอบเรื่องจักรพันธุ์นี่คนละเรื่องกับที่ถาม ผมไม่ได้ถามเรื่องพานิชศิลป์
ผมถามถึงข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ว่า ที่คุณวินิจฉัยมันผิด ว่าช่างเขาแบ่งกันปั้นแบ่งกันเขียน

ความจริงแล้ว ถ้าคุณจะนึกออกนะ ผมไม่เคยหาเรื่องชวนทะเลาะกับคุณมาแต่ต้น
แม้คุณจะเอาราคะศิลปะของคลิ้มเข้ามาในกระทู้ขรัวอินโข่ง เมื่อนานมาแล้ว
และเมื่อคุณอ้างจักรวาลเขมรเป็นที่มาจักรวาลไทยในสาระที่ผมกำลังถกกับท่านอื่นอยู่
พอถามย้ำ ก็พบว่าไม่เคยอ่านอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน  โบ้ยไปโน่น ว่าทำมาก ดีกว่าพวกอ่านมาก
นี่มันข้อแก้ตัว เราไม่ได้มาถกกันนี่ ว่าชาดอยุธยาอมเสนมากหรือน้อยกว่าลานนา
ไม่ได้ถกกันว่าตัดเส้นตาอยุธยาต้นใช้สีต่างกับบรมโกศอย่างไร
ถ้าจะถกกันเรื่องงานช่างอย่างลึก คุณก็ไปไม่รอดดอก
เพราะคุณยังอ้างความหนาของทองเป็นตัวบอกเทคนิคอยู่เลย

รูปศาลภัญชิกานี้ ถ้าคุณทำให้ชัด ผมก็คงไม่โง่แก้คำผิดดอก
แต่นั่นเป็นเพราะผมตาถั่ว ไม่ใช่เพราะผมไม่เชื่อคุณ ถ้าเชื่อคุณเห็นจะอาการหนักกว่านี้
ชี้ข้อผิดไป แทบจะทำป๊อกเก็ตบุคได้สองเล่ม
ตอบกลับมา .ไปใหนมา....สามวาสองศอก

โธ่ นึกว่าแน่
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 22:26

 อ่านดีๆ ครับ เรื่อง ดาวเพดาน กับ ดาวเสด็จ
ดาวเสด็จ คือ ดาวเพดาน แต่ ดาวเพดาน ไม่ใช่ ดาวเสด็จ 555+
เรื่อง "ลายทอง" ก็อีก อายุก็มากแล้ว เดี๋ยวเด็กๆ จะหัวเราะเยาะเอา เที่ยวแนะนำให้คนโน้นคนนี้ไปอ่านอะไร
ตัวคุณเอง ลองไปหา "ตู้ลายทอง" มาอ่านบ้าง จะได้สว่างขึ้น ประโยชน์ไม่ได้เกิดแก่ผม แต่มันเกิดกับคุณ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง