เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 21:46



กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 21:46
 ช่วงสัปดาห์นี้ มีวันสำคัญทางศาสนาถึง ๒ วัน
ได้แก่ วันเข้าพรรษา และ วันอาสาฬหบูชา
กอปรกับเป็นช่วงที่มีวันหยุดต่อเนื่อง เลยอยากจะ
ชักชวนเข้าวัดสักหน่อย พาท่านไปทัศนาพุทธสถาน
แห่งเมืองพระราชา นอกจากการไปนมัสการพุทธสถาน
ของพุทธองค์ หรือ ทำบุญเพื่อลดกิเลศแล้ว ยังได้
ชื่นชมงานพุทธศิลป์ชั้นเยี่ยมที่ไม่ค่อยมีใครใคร่สนใจ
จะไปเท่าไหร่ เอารูปมาฝาก แล้วจะทยอยมาเล่าให้ฟังครับ

มหาธาตุเจดีย์ (พุทธปรางค์) เมืองราชบุรีโบราณ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 21:54

ป่าเจดีย์ ที่วัดหลวง พุทธสถานเก่าแก่คู่เมืองราชบุรี
มีเจดีย์หลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่อู่ทองจนถึงอยุธยาปลาย
เสมาวันทาหน้าโบสถ์มีข้อความจารึกปรากฏอยู่ที่ฐาน สันนิษฐาน
ว่าอยู่ในช่วงลพบุรีตอนปลายต่อกับสุพรรณภูมิ (อู่ทอง)


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 22:03

ภาพจิตรกรรมการประสูติอันประเสริฐของเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร
ศิลปะสมัยอยุธยาราชวงศ์ปราสาททอง ปรากฏลายเป็นเส้น
อย่างเลือนลางเต็มทีที่วิหารแกลบวัดเขาเหลือ มีลักษณะ
ใกล้เคียงกับจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดปราสาท และ
หอไตรวัดบางขนุน นนทบุรี ถ้ามีโอกาสอยากให้ท่านได้มี
โอกาสแวะไปชมสักครั้งก่อนที่ภาพจะหายไป


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 22:19

ผ้าทิพย์ที่ทอดอยู่เหนือรัตนบัลลังก์ที่ประทับของพระประธานใน
วิหารแกลบวัดเขาเหลือ (ขรัวเหลือ) เป็นประติมากรรมนูนต่ำ
ศิลปะอยุธยาปราสาททอง มีลักษณะลวดลายสี่เหลี่ยมย่อมุม
สลับกับแปดเหลี่ยม ภายในแต่ละรูปเหลี่ยมประดับด้วยดอกไม้
ทิพย์ ๘ กลีบ โดยลายทั้งหมดอยู่ในแม่ลายราชวัตรแก้วชิงดวง
ล้อมด้วยสังเวียน คั่นด้วยเส้นหน้ากระดาน ชายผ้าประดับลาย
กรุยเชิง ๑ ชั้น รูปแบบลายผ้าลักษณะนี้ปรากฏอยู่ในลายผ้า
บนงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาในหลายๆ ที่ ซึ่งได้รูปแบบจาก
ผ้าพิมพ์ลายอย่างสมัยอยุธยาผืนจริงๆ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 22:38

ลายทองรูปจัตุบาทและพฤกษาประดับอยู่บนสมุดไทย
สมบัติของวัดม่วง สมุดนี้ทำมาจากงาช้างโดยการฝาน
งาท่อนให้กลายมาเป็นงาแผ่น ดัดตามต้องการ เขียน
ด้วยอักษรมอญโบราณและประดับริมด้วยลายทอง
ขนานไปกับอักษร เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนา
สร้างครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 22:55

ไม้ประกับคัมภีร์ลายทองบนพื้นชาด เทคนิคลายรดน้ำ สมบัติวัดม่วง
ศิลปะอยุธยา เริ่มลายก้านคด คั่นด้วยลายช่อแทงท้อง คั่นด้วยลายกรุยเชิงครึ่งชั้น
ขนาบด้วยช่อกนก คั่นด้วยลายหน้ากระดานลูกฟัก (ดารา) ประจำยาม (ตาบ) ก้ามปู


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 22:57

ลายกรุยเชิงชั้นสุดท้าย


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:04

เทพรำ ลายทองข้างหีบไม้สมัยอยุธยา สำหรับเสื้อผ้า สมบัติวัดม่วง


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:10

คูบัว พุทธสถานขนาดใหญ่สมัยทวาราวดี
เมื่อก่อนประดับด้วยปูนปั้นรายรอบ ปัจจุบัน
ย้ายมาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานกรุงเทพฯ แล้วครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:12

ถ้ำที่เขางู ผนังถ้ำสลักรูปพระพุทธ ศิลปะทวาราวดี


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:18

หนังใหญ่วัดขนอน


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:23

ลายปูนปั้นแบบอยุธยาปราสาททองซ่อมประดับบน
องค์ปรางค์สมัยอู่ทอง ที่วัดอรัญญิก (วัดป่า)


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:36

ปรางค์ประธานวัดอรัญญิก


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:37

ปรางค์บริวารวัดอรัญญิก


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:38

ปูนปั้นวัดอรัญญิก


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:42

ศีรษะโขนรูปพระลักษณ์ งานช่างหลวง สมัยรัชกาลที่ ๒
ที่ศาลเจ้าพ่อโรงโขน วัดบางน้อย ถ้าโชคดีอาจจะยังอยู่
ถ้าโชคไม่ดี อาจจะไม่ได้อยู่แล้ว ที่ศาลยังมีพลองเจ้าเงาะ
เป็นพลองไม้ประดับกระจกเกรียบอย่างละเอียดทั้งอัน
ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:45

หย่องหน้าต่างวัดคงคาราม


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:50

หลวงพ่อทวาราวดี วัดช่องลม


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:52

เสมาวัดหลุมดิน


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:54

วัดมหาธาตุ อีกครั้ง รูปนี้ถ่ายยากมาก ปวดหลังเลย


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:56

พระประธานวัดมหาธาตุ ศิลปะอู่ทอง


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:57

กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาตอนต้น รูปเทพยุดา วัดมหาธาตุ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ก.ค. 06, 23:59

เศียรพระพุทธรูปหินทราย วัดมหาธาตุ ศิลปะอู่ทอง-อยุธยาตอนต้น


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 11 ก.ค. 06, 00:03

ทับหลังหลังคา หินทราย ศิลปะบายน วัดมหาธาตุ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 11 ก.ค. 06, 00:05

จิตรกรรมในกรุวัดมหาธาตุ อู่ทอง-อยุธยาต้น

จบข่าว แล้วจะพาไปเที่ยวกันใหม่ครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 11 ก.ค. 06, 00:08

แถม ปูนปั้นวัดมหาธาตุ ศิลปะอยุธยา มีซ่อมเหมือนกัน
สมัยรัตนโกสินทร์ ว่างๆ อย่าลืมแวะไปเที่ยวกัน
ของเค้าดีจริง สวยมากครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 11 ก.ค. 06, 00:10

เอาไว้โอกาสหน้าฟ้าใหม่จะพาไปไหว้พระนอนที่สวยที่สุด
ในประเทศไทย ? แล้วพบกันใหม่ครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 11 ก.ค. 06, 01:56
 น่าสนใจมาก ขอบคุณที่นำของดีมาให้ชม
แล้วอย่าลืมมาขยายความเพิ่มเติมด้วยเน่อ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 12 ก.ค. 06, 00:01
 คุณ Japonica อยากให้เล่าเรื่องอะไรบ้างครับ
ถ้าจัดได้จะจัดให้ครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 12 ก.ค. 06, 09:52
 สวยงามมากครับ คุณโพธิ์ประทับช้าง ถ้าคุณไม่นำมาให้ชมผมคงไม่มีโอกาสได้ดูศิลปะอันวิเศษเพียงนี้ ได้แต่ฝันว่าวันหนึ่งจะได้ไปเที่ยวราชบุรีกับเขาบ้าง
เห็นรายรดน้ำพื้นแดงที่มีกรวยเชิงอสมมาตรแล้วนึกถึงสกุลช่างเมืองเพชรเลยครับ ไม่ทราบว่าจะมีความเกี่ยวข้องกันไหมกับปูนปั้นที่นั่น


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 01:27

คออยุธยาอย่างคุณกุรุกุลา และ นักศิลปะท่านอื่นๆ คงจะชอบกัน
ผมเลยว่าจะขอรับใช้เรื่องไม้ประกับลายทองพื้นชาดสักหน่อย
เคยพบเห็นอยู่ราว ๖ คู่ มีอีก ๒ คู่ ซึ่งเจ้า ๒ ท่าน ยังไม่ได้เอามาให้ดู
เล่าให้ฟังว่าเป็นสกุลวัดเชิงหวาย ผมก็อยากชมอยู่เหมือนกันครับ

เอาเท่าที่เคยเห็นละกันครับ
๑. ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เมืองเพชร เหลืออยู่ข้างเดียว
เอามาฝาก ๓ รูป


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 01:27

ถ่ายไว้นานแล้ว


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 01:28

ปัจจุบันไม่รู้ว่าหายไปหรือยัง


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 01:29
 ๒. ที่วัด เมืองเพชร เห็นจากรูปถ่าย เพื่อเอามาให้ดู
จำชื่อวัดไม่ได้แล้วครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 01:30

๓. ที่บ้านเพื่อนเค้าได้มาข้างนึง


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 01:31

ลายกรุยเชิงอันงาม (กรวยเชิง)


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 01:48
 ๔. ผมได้มาอีกข้าง แต่มีรอยไฟไหม้ คงจะเกิดจากธูป
เหมือนไหม้จากยากันยุง ได้มาในราคา ๕๐๐ บาท รูปถ่ายหาไม่เจอครับ
๕. ที่บ้านเพื่อนอีกคนได้มาอีกคู่นึง สกุลวัดเชิงหวาย
๖. ที่วัดม่วง ราชบุรี ประกับมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่นๆ
ตามรูปที่โพสไปแล้วนั่นแหละครับ

ผมคิดว่าสมัยอยุธยาคงจะทำกันเป็นคุ้งเป็นย่านเป็นสกุลเลย
สมัยโบราณแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ทางใครก็ทางคนนั้นครับ ถ้อยทีถ้อยอาศัย
ไม่เหมือนสมัยนี้ ชอบแย่งคนอื่นทำทั้งที่มือไม่ถึง หมายถึง ช่างประติมากรรม
ก็จะไม่ไปทำงานของช่างเขียน ช่างเขียนก็ไม่ไปทำประติมากรรม อาจจะมีบ้าง
ก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ น้อยๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วช่างจะถือเป็นมารยาทว่า
ไม่ปาดหน้ากัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยมีหัวสกุลช่างคุมอีกที
เหมือนการกินขนมเค้ก ถ้าปาดเอาหน้าไปกินซะหมด มันก็จะไม่อร่อย
ตักแบ่งกันกิน คุยกันไปด้วย จิบน้ำชายามบ่าย คงจะดีไม่น้อย

ที่เมืองเพชรนี้ ผมเข้าใจว่าคงจะทำไม้ประกับลายทองพื้นแดงชาด
กันอย่างขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสำนักใหญ่ น่าจะมีพระครูเป็นนายช่างใหญ่
คุมสกุลอีกที อาจจะเป็นแหล่งใหญ่ที่ทำส่งไปให้กรุงศรีฯ ด้วยซ้ำไปครับ

ผมมีข้อสังเกตุอีกอย่างนึง เพราะพบศิลปะสกุลช่างปราสาททอง
หลงเหลืออยู่ที่ดมืองเพชรจำนวนมาก สมัยนั้นคงจะรุ่งเรืองน่าดู
อย่างพระตำหนัก (ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณ) น่าจะรื้อออกไป
จากรุงศรีฯ ไปประกอบที่เพชรอีกที ผมเข้าใจว่ารอยขวานที่ฟันหน้าประตู
มีความลับซ่อนอยู่ มากกว่าที่เล่ากันว่าพม่าเอาขวานฟันไว้ อยากรู้มั้ยครับ
ว่าเพราะอะไร ? เพราะที่นั่นมีผีดุ (ควรใช้วิจารญาณ)
ส่วนเรื่องปูนปั้น ถ้ามีโอกาสจะมารับใช้กันใหม่ครับ

เสาวัดใหญ่สุวรรณฯ เมืองเพชร เมื่อก่อนเสาโบสถ์วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา
ก็คงงามประมาณนี้ แล้วก็เขียนจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด
เคยได้ยินมาว่าท่านอังคาร มีรูปถ่ายอยู่ก่อนโดนลบทิ้ง


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 15:09

มอญ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 15:11

นี่ก็มอญ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 15:12

และนี่ก็มอญ น่าจะพอเห็นเค้าลางของศิลปะที่ร่วมสมัยกันครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 13 ก.ค. 06, 17:47
 ขอบพระคุณภาพสวยๆของคุณโพธิ์ประทับช้างมากครับ สวยถูกใจสมกับชื่อเจ้าของกระทู้ทีเดียว ติดใจไปหมดซะทุกภาพเลยครับ เห็นแล้วอยากไปเที่ยวราชบุรีขึ้นมาจับใจ แต่ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ไปยลซักครั้ง


เรื่องลายรดน้ำบนพื้นแดง ผมเคยคุยกับสมาชิกในนี้ท่านหนึ่งว่าเหมือนจะผ่านตาผมว่าเสาด้านในของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทจะเขียนด้วยลายลักษณะนี้ด้วยเป็นกรวยเชิง 4 ชั้น ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะจำได้ถูกหรือเปล่า (ฝากสมาชิกที่ได้ไปชมบ่อยๆมาเล่าต่อด้วยครับ แหะๆ)


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 22:39

ด้วยปัญญาอันน้อยนิด ผมขออนุญาตคุณติบอ ขยายความ ๒ เรื่องครับ

๑. เรื่อง "ลายรดน้ำ"
คำว่า "รดน้ำ" เป็นศัพท์ที่ซึ่งหมายถึงกรรมวิธีอย่างหนึ่งในการทำครับ ถ้าจะให้บริบูรณ์นั้น ควรใช้คำว่า "ลายทอง"
สำหรับท่านที่ใช้คำว่า "ลายรดน้ำ" ขอให้ใช้คำว่า "ลายทอง" เช่น ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ ครับ

๒. เรื่อง "ลายกรุยเชิง" (กรวยเชิง)
"ลายกรุยเชิง" มากที่สุดจะมีแค่ ๓ ชั้นครึ่ง ชั้นที่เกินไปจาก ๓ ชั้นนั้น จะเรียกกันว่า "ชั้นพิเศษ" เช่น ๓ ชั้นกับอีก ๑ ชั้นพิเศษ
แต่เรียกยาก ก็เลยเรียกกันว่า "๓ ชั้นครึ่ง" ถ้าทำลายจบแค่ ๓ ชั้น มันจะรู้สึกแข็ง แต่ถ้าเราเพิ่มชั้นน้อยๆ เข้าไปอีกชั้นสุดท้าย
ลายก็จะทยอยจบบริบูรณ์พอดีครับ ถ้าถึง ๔ ชั้นมันจะไม่สวยครับ

สำหรับท่านที่ประสงค์จะศึกษารูปแบบลายไทยที่ยึดถือใช้เป็นประเพณีลายอย่างสมบูรณ์นั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย
ลองศึกษาจากลวดลายจากผ้าลายอย่างโบราณ ที่ห้องผ้าในพิพิธภัณฑ์ก็ได้ เช่น ผ้าลายอย่างกรุยเชิง ๓ ชั้นครึ่ง
เราจะพบบรรทัดฐานของการใช้รูปแบบลายไทย เช่น สังเวียน ช่อแทงท้อง หน้ากระดาน ลูกขนาบ กรุยเชิง เป็นต้น
ซึ่งเป็นแบบแผนอย่างไทยแท้ที่มีมาแต่สมัยอยุธยา แล้วท่านจะเข้าใจและมองลายได้อย่างลึกซึ้งทะลุปรุโปร่ง
ฝากไว้เป็นเกร็ด เล่าสู่กันฟัง ไว้ให้คุณเล่าเรื่องอื่นๆ ให้ฟัง แลกเปลี่ยนความรู้กันครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 23:20

เทพยดาพนม ลายทองพื้นชาด ปิดทองลายฉลุ
ศิลปะอยุธยา ฝากไว้ให้ชมอีกสักรูปก่อนจะสาบสูญไป


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 23:48

ลายทองกำมะลอ ศิลปะอยุธยา


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 23:50

ลายชาดพื้นทอง ๑ ในมงคล ๑๐๘ ประการ ศิลปะอยุธยา
นี่ก็จวนแล้วครับ ไม่รู้จะอยู่ได้นานขนาดไหน


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 23:53

รูปดาวเสด็จ ลายเพดาน ศิลปะอยุธยา


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 13 ก.ค. 06, 23:55

ดาวเสด็จ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 00:00

เพดานปรางค์สามยอด ทองหายไปจะหมดแล้ว เหลือแค่ที่ขอบ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 00:09

ดาวเสด็จแห่ประทักษิณล้อมเดือน เพดานอุโบสถวัดสระบัว
อาจจะใช้สีขาวเขียนบนพื้นชาด ?


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 00:18

ข้าราชการบางกรม กล่าวว่าเป็นลายสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ผมไม่เห็นด้วย เพราะลายหน้ากระดานมี
ลูกฟักเหลี่ยมย่อมุมประดับด้วยตาบทิพย์ ที่กรุยเชิงก็มีตาบ ลวดลายชั้นสูงและรุนแรงขนาดนี้
เคยเห็นก็แต่เฉพาะศิลปะอยุธยาเท่านั้น ปัจจุบันที่มีลายเหลืออยู่เพียง ๒ ต้นเท่านั้น
ด้วยบุญกุศลจึงไม่ถูกลบ เอามาฝากไว้เป็นหลักฐานก่อนจะหายไปอีก


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 14 ก.ค. 06, 00:22
 ขอบพระคุณคุณโพธิ์ฯ ที่ชี้แจงครับ เท่าที่ผมเคยทราบมาเรื่องกรุยเชิงก็เหมือนที่คุณอธิบาย แต่กรุยเชิงที่พระที่นั่งดุสิต ลองนับดูแล้วค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นอย่างที่ตัวเองจำได้ว่าตัวล่างสุดไม่น่าจะใช่บัวหางยาวตัวเล็กเหมือนในผ้าลายผืนที่คุณโพสต์ครับ (หรือผมจะจำผิดก็ไม่แน่ใจแล้วครับเพราะครั้งที่ไปก็ไปกับกลุ่มเพื่อนที่ลงเรียนรายวิชาเดียวกันที่มหาวิทยาลัย แถมวันที่เข้าชมเป็นวันเสาร์เสียอีกเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้เปิดไฟ ไปถึงก็ต้องรีบๆๆๆ หมดทุกอย่างเพราะเขาจะต้องปิดพระที่นั่ง)

เรียนถามคุณโพธิ์ฯอีกนิดครับ ว่าภาพในความเห็นที่ 42, 43, 44, 45, และ 46 ถ่ายจากที่ไหนครับ (ผมถามเผื่อสมาชิกในเรือนไทยอยากไปชมกันน่ะครับ / ก็ผมอยากไปชมเองแหละครับ แหะๆ)


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 00:23

เพดานนี้ ยกผ้าลายอย่าง มาออกลายเลย ยังมีอิทธิพลศิลปะอยุธยาอยู่มาก โดยเฉพาะลายดาวหรือกุดั่น
สลับเหลี่ยมย่อมุมที่คาน ศิลปะรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ ๑ ครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 00:38
 ที่ผมไม่ได้แจ้งไว้ เพราะกลัวจะมีขโมยไปเยี่ยมครับ
ภาพ 42 ด้านหลังตู้พระธรรม วัดแห่งหนึ่งในอยุธยา
ภาพ 43 ด้านหลังตู้พระธรรม ในกรุงเทพฯ
ภาพ 44 ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยยาสน์ วัดพระพุทธไสยาสน์ เพชรบุรี
ภาพ 45 เพดานพระอุโบสถวัดตองปุ ลพบุรี
ภาพ 46 เพดานพระอุโบสถวัดตองปุ ลพบุรี
ถ้าคุณติบอมีเวลาน่าจะหาโอกาสไปชมสักครั้งครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 00:43
 รูปที่ ๔๘ น่าจะขาวผสมรงค์ เลยออกเหมือนทองขนาด


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 ก.ค. 06, 01:24
 คุณโพธิ์ประทับช้าง ช่วยอธิบายคำว่าดาวเสด็จเป็นความรู้ได้ใหมครับ โดยเฉพาะคำว่า
"ดาวเสด็จแห่ประทักษิณล้อมเดือน"

ผมเพิ่งเคยได้ยิน


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 22:16
 เป็นธรรมดาที่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน
เพราะโลกนี้ ยังมีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่รู้หรือได้ยินมาก่อน
ผมทิ้ง Keyword ไว้ให้ คำว่า "ดาวเสด็จ"
คุณลองค้นและคิดดูว่า ควรมีความหมายถึงอะไร ?


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 ก.ค. 06, 22:57
 ขอบคุณครับที่จะทิ้งอะไรไว้ให้

ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะครับ
ผมไปถามน้องกู๊กก็ได้


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 ก.ค. 06, 23:58

55+ พอดีกำลังทำรูปอยู่กระทู้โน้น
ระดับนักปราชญ์อย่างคุณพิพัฒน์แล้ว
น่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ เฉลยให้ด้วยภาพแล้วครับ

ใบ้ให้อีกนิด คุณลองหลับตา คิดเสียว่ากำลังอยู่ในที่มืดมิด
มีเพียงแสงสว่างจากประทีป ลองแหงนมองไปที่เพดาน
จะพบท้องฟ้าจำลองของชาวอยุธยาครับ

ยามที่ดวงดาวบนเพดานต้องกับแสงสว่างท่ามกลางความมืด
จะสุกสกาวเหมือนดาวจริงๆ หรือเปล่า ดวงดาวเหล่านั้น
มิได้หยุดอยู่นึ่ง หากแต่จะเดินทางโคจร วนประทักษิณ
เป็นรูปจักรราศี สร้างความเป็นสิริมงคลให้กับพุทธสถาน
ลองนับดูว่ามีดาวเสด็จมากี่ดวงครับ ?

ท่ามกลางความมืด ปรากฏแสงสว่างสุกสกาวเหนือยอดไม้
พวยพุ่งลอยเด่นอยู่บนทิศเบื้องบนพระอัฐิธาตุเจดีย์
ที่ปรักหักพังกลางพงรกร้าง หรือ พระปฐมเจดีย์แสดง
ปาฏิหาริย์ มีแสงพวยออกมา นั่นแหละครับ
เรียกว่า "ดาวเสด็จ" ครับ

ลองคิดดูสิครับว่า วัดที่ใช้ชื่อว่า "กุฏีดาว" นั้นจะสุกสกาวเพียงใด ?


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 00:17
 ไม่ว่าบ้านเมืองใดในโลก ดวงดาวนั้นมีความสำคัญมาก
สำหรับชีวิตคนในสมัยโบราณ จนกระทั่งในปัจจุบัน
ความสำคัญก็ยังมีอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย วิถีชีวิตคนอยุธยา
ก็เช่นกัน ผูกพันกับดวงดาว ว่างๆ โทรไปคุยกับเทพธิดาพยากรณ์ดูครับ อิอิ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 00:27
 แหะๆ พอดีผมสนใจแต่เรื่องศิลปะอ่ะครับ
เรื่องสะกดจิตตัวเองนี่ยังไม่มีเหตุจำเป็นต้องใช้กับการเข้าถึงศิลปะ
และถึงใช้ก็คงไม่มาเปิดเผยในที่สาธารณะ

วัดกุฎีดาวนี่คำหลักน่าจะเป็น "กุฎี" นะครับ
ดาวน่าจะเป็นคำขยาย
ไม่เช่นนั้นวัดกุฎีทองก็สู้วัดกุฏีดาวไม่ได้สินะ
ส่วนวัดกุฎีรายนี่ไปไกลๆเลย ไม่มีพวกแสงแล็บแปร๊บๆเลย
และกุฎีจีนก็ยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 03:43
 คุณ Pipat วาจาไม่ค่อยสร้างสรรค์
น่าจะปรับปรุงเรื่องการแสดงความคิดเห็นให้มากกว่านี้สักหน่อย


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 10:12
 ผมไม่แน่ใจว่าคุณโพธิ์ประทับช้างจะมีคุณสมบัติพอกับคำว่าสร้างสรรค์หรือไม่
แต่ในแง่ของความรู้นั้นผมไม่สงสัย

ผมถามตรงๆ ว่าไม่เคยได้ยิน "ดาวเสด็จ" ในศิลปะไทยมาก่อน
คุณย้อนว่า "เป็นธรรมดาที่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน" แล้วก็ไม่ตอบ อย่างนี้คงไม่ต้องปรับปรุงอะไรกระมัง
ผมไปค้นกูเกิ้ล ก็ไม่เห็นว่าจะเกี่ยวอะไรกับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยแม้แต่น้อย
เป็นความเชื่อพื้นบ้าน ซึ่งถ้าจะเอามาใช้เป็นเทคนิกัลเทอร์ม ก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
เหมือนศัพท์แปลกๆ ของอีกสังคมหนึ่ง พวก สะดุ้งมาร ลอยองค์ มวลสาร...ฯลฯ เขาจะไม่ใช้กันในตำรามาตรฐาน
ผมห่วงรุ่นน้องผมมันจะเชื่อว่า ของพวกนี้เอามาผสมข้ามพันธ์กันได้
แล้วทีนี้คำว่า "ดาวเพดาน" ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ก่อนคุณก่อนผมเกิด จะให้เอาไปทำอะไร
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร พระเทวาภินิมิตร และครูช่างอีกเป็นร้อยเป็นพัน ทั้งประวัติศาสตร์ ท่านไม่รู้จักของอย่างนี้เลยหรือ ถึงไม่เคยใช้คำว่า "ดาวเสด็จ"

อีกอย่าง คุณก็ถ่ายรูปเป็น ลองซูมดูก็คงจะเห็น ว่าลายดวงใหญ่ที่เป็นประธานกลางห้องนั้น แยกกลีบออกมาเป็นรูปอะไร ไม่ก็ไปดูดาวเพดานชิ้นเลื่องชื่อ ที่พิพิธภัณฑ์สุโขทัย ว่าแท้จริงแล้วเป็นดาวหรือไม่

คุณยังเสนอความเห็นว่า “สำหรับท่านที่ใช้คำว่า "ลายรดน้ำ" ขอให้ใช้คำว่า "ลายทอง" เช่น ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ ครับ” อันนี้ถ้าเป็นน้องเป็นนุ่ง รับรองว่าไม่จืด เพราะผมจะด่ามันว่าอุตริ รู้น้อยว่ามากรู้เริงใจ
ศัพท์ช่างก็เหมือนมรดก จะเอามาใช้ทิ้งใช้ขว้าง ล้างผลาญอีลุ่ยฉุยแฉก แปลงสินทรัพท์เป็นทุนอะไรเทือกนั้น
คนที่ยกครูมา เขาไม่ทำกัน
ขืนไปใช้ตาม ผมก็ต้องบอกว่า”ครูช่างวัดเซิงหวาย เขียนลายทองเทคนิคลายรดน้ำอย่างอิสระ ไม่ร่างโครงใหญ่เอาไว้ก่อน ถือว่าเป็นตู้ลายทองเทคนิคลายรดน้ำที่เป็นงานชิ้นเอก...ยังมีตู้ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ อีกหลายใบ ที่เชื่อกันว่า.....” มันผิดวายวอดครับ
ถ้าคุณไปเสนอเรื่องพวกนี้ที่เวบของคุณ ผมจะไม่ไปแตะต้องให้หมองศรี

แต่ด้วยความเคารพในเรือนไทย ซึ่งเปิดกว้าง จนผีสางนางไม้อย่างผมได้อาศัยร่มเงาพักพิง เป็นที่อบอุ่นใจ
เห็นอะไรผิดสังเกตก็ต้องทักกันไว้ก่อน หาไม่ก็เข้าข่ายกินบนเรือนแล้วไปทำอุดจาดบนหลังคา เข้าข่ายเนรคุณ

ไม่ทราบว่าที่พรรณามานี้ คุณจะอ่านเข้าใจหรือเปล่า


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 16:45
 1. ผมไม่แน่ใจว่าคุณโพธิ์ประทับช้างจะมีคุณสมบัติพอกับคำว่าสร้างสรรค์หรือไม่
แต่ในแง่ของความรู้นั้นผมไม่สงสัย
* ตอบ ผมเชื่อว่า ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพันคำ ผมจึงพยายามนำเสนอความรู้
ผ่านภาพและคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจและให้เกียรติแวะอ่าน
แบบนี้จะเรียกว่าสร้างสรรค์ได้หรือไม่ คุณเองก็คงไม่ต่างจากผม
แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างคุณกับผมคืออะไร สมาชิกท่านอื่นๆ ในบอร์ด
คงตอบได้


2. ผมถามตรงๆ ว่าไม่เคยได้ยิน "ดาวเสด็จ" ในศิลปะไทยมาก่อน คุณย้อนว่า
"เป็นธรรมดาที่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน" แล้วก็ไม่ตอบ
อย่างนี้คงไม่ต้องปรับปรุงอะไรกระมัง
* ตอบ ผมก็มีงานการต้องทำ อาจจะตอบช้าไปบ้าง แต่ก็ได้ตอบไปแล้วครับ
นั่นคือเจตนาของผม


3. ผมไปค้นกูเกิ้ล ก็ไม่เห็นว่าจะเกี่ยวอะไรกับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยแม้แต่น้อย
เป็นความเชื่อพื้นบ้าน ซึ่งถ้าจะเอามาใช้เป็นเทคนิกัลเทอร์ม ก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
เหมือนศัพท์แปลกๆ ของอีกสังคมหนึ่ง พวก สะดุ้งมาร ลอยองค์ มวลสาร...ฯลฯ
เขาจะไม่ใช้กันในตำรามาตรฐาน ผมห่วงรุ่นน้องผมมันจะเชื่อว่า ของพวกนี้เอามา
ผสมข้ามพันธ์กันได้
* ตอบ ผมไม่เถียงว่า Google เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่ แต่คงไม่ใช่เรื่องแปลก
ที่จะไม่มีเรื่องภูมิปัญญาสมัยอยุธยาอยู่ ถึงมีอยู่ก็เป็นจำนวนน้อย เรื่องภูมิปัญญาใน
ยุครัตนโกสินทร์ศึกษากันเป็นที่แพร่หลาย แต่ภูมิปัญญาอยุธยายังดูเป็นเรื่องห่างไกล
ขนาดพระราชประวัติพระมหากษัตริย์อยุธยา บางองค์ยังแทบจะไม่มี ที่วิชาการ
น่าจะมีข้อมูลเชิงลึกมากกว่า Google นี่คือข้อดีอีกอย่างของวิชาการที่ทำให้ผมมาที่นี่

อีกประการ การที่เอา "วัฒนธรรมตะวันตก" ไปตัดสิน "วัฒนธรรมตะวันออก" หรือ
"วัฒนธรรมเมืองหลวง" ไปตัดสิน "วัฒนธรรมพื้นบ้าน และ วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย"
ว่าเป็นเรื่องต่ำต้อยด้อยค่า ไม่ได้มาตรฐาน ก็เปรียบเสมือน "ไก่ได้พลอย"
การศึกษาวัฒนธรรมแบบนี้ เค้าเรียกว่า "การศึกษาแบบล้าหลังคลั่งชาติ" ดังที่
วัฒนธรรมเมืองหลวงพยายามสร้างบรรทัดฐานให้กับวัฒนธรรมพื้นบ้าน
แล้ว "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน" ที่สั่งสมมาจะเอาไว้ใช้ทำอะไร ?
สภาพของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สถานการณ์การแตกสลายของสังคมหมู่บ้านในชนบทไทย
ก็มีสาเหตุมาจาก "อคติ" และความคิดแบบนี้ ปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเรียน
สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นกันไง

การศึกษาศิลปกรรมไทยที่แท้จริงควรจะศึกษาศาสนาเปรียบเทียบส่วนหนึ่ง
ศึกษาจากหนังสือตำราส่วนหนึ่ง ศึกษาจากคำครูสอนส่วนหนึ่ง
ศึกษาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของช่างและคนไทยโบราณส่วนหนึ่ง
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่ง ทุกส่วนมีสำคัญไม่ย่อหย่อน
ไปกว่ากันเลย ศึกษาแบบ "ของใหม่ก็เอา ของเก่าก็ไม่ทิ้ง" นั่นจะสร้างสรรค์
และยั่งยืนถาวร หรือคุณจะบินไปเรียนระดับปริญญาโทปริญญาเอก
เรื่องไทยพื้นบ้านกับอาจารย์ ฝรั่ง / ญี่ปุ่น


4. ผมห่วงรุ่นน้องผมมันจะเชื่อว่า ของพวกนี้เอามาผสมข้ามพันธ์กันได้ แล้วทีนี้คำว่า
"ดาวเพดาน" ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ก่อนคุณก่อนผมเกิด จะให้เอาไปทำอะไร
* ตอบ แต่ละคนต่างก็มีสติปัญญา ตราบใดยังมีประเทศไทย คงต้องมีคนอย่างคุณกับ
คนอย่างผมเกิดขึ้นมาแทนที่อีก ผมคิดว่าวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คือ การศึกษา
เรื่องเก่าๆ เพื่อค้นพบเรื่องใหม่ๆ จงอย่ากลัว แต่กล้าที่จะพบสิ่งใหม่ๆ ดีกว่า
ศิลปะอะไรที่เรียกว่าไทยแท้ไม่มีครับ ผสมปนเปกันไปหมด ถ้าแท้ๆ ก็พวก Primitive Art
สำหรับคำว่า "ดาวเพดาน" ก็ยังคงใช้ต่อไป ผมไม่ได้มีเจตนาหรือหมายความ
ให้เลิกใช้ไปครับ


5. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร พระเทวาภินิมิตร และ
ครูช่างอีกเป็นร้อยเป็นพัน ทั้งประวัติศาสตร์ ท่านไม่รู้จักของอย่างนี้เลยหรือ
ถึงไม่เคยใช้คำว่า "ดาวเสด็จ"
* ตอบ คำศัพท์โบราณบางคำ ที่คุณ Pipat หรือคนอย่างผมไม่เคยได้ยิน ไม่ใช่เรื่องแปลก
หรอกครับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร พระเทวาภินิมิตร และ
ครูช่างอีกเป็นร้อยเป็นพัน ท่านเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มียศฐาบรรดาศักดิ์และความรู้ความสามารถทั้งสิ้น
แต่คุณจะให้ท่านเหล่านั้นทราบไปหมดทุกเรื่องคงไม่ได้ ปัจจุบันยุคสมัยเปลี่ยนไป
การคมนาคมสะดวก ผมมีโอกาสมากกว่าท่านในเรื่องการไปสำรวจในสถานที่ ที่ท่านยัง
ไม่เคยได้ไปและได้พบความรู้ใหม่ๆ มากกว่าในหนังสือที่ท่านเขียน หรือ เคยได้อ่าน
เรื่องเหล่านั้นมาก่อน


6. อีกอย่าง คุณก็ถ่ายรูปเป็น ลองซูมดูก็คงจะเห็น ว่าลายดวงใหญ่ที่เป็นประธานกลางห้องนั้น
แยกกลีบออกมาเป็นรูปอะไร ไม่ก็ไปดูดาวเพดานชิ้นเลื่องชื่อ ที่พิพิธภัณฑ์สุโขทัย
ว่าแท้จริงแล้วเป็นดาวหรือไม่
* ตอบ คุณรู้มั้ยตรงกลางดาวเพดานวัดสระบัว หมายถึงอะไร ?
ที่คุณกล่าวใช่เพดานธรรมมาสน์ของวัดราชบูรณะ พิษณุโลก ?


7. คุณยังเสนอความเห็นว่า “สำหรับท่านที่ใช้คำว่า "ลายรดน้ำ" ขอให้ใช้คำว่า "ลายทอง" เช่น
ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ ครับ” อันนี้ถ้าเป็นน้องเป็นนุ่ง รับรองว่าไม่จืด เพราะผมจะด่ามันว่าอุตริ
รู้น้อยว่ามากรู้เริงใจ ศัพท์ช่างก็เหมือนมรดก จะเอามาใช้ทิ้งใช้ขว้าง ล้างผลาญอีลุ่ยฉุยแฉก
แปลงสินทรัพท์เป็นทุนอะไรเทือกนั้น คนที่ยกครูมา เขาไม่ทำกัน
* ตอบ คุณ Pipat เคยอ่านหนังสือ "ตู้ลายทอง" มั้ยครับ ถ้าไม่เคยก็ไม่เป็นไรครับ
คำว่า "ทอง" กับ คำว่า "รดน้ำ" แตกต่างกันอย่างไร ลองพิจารณาดูเถิด
ว่าควรใช้คำว่าอะไร แบบนี้ผมใช้คำว่า "อุตริรู้น้อยว่ามากรู้เริงใจ" กับคุณ Pipat ได้หรือเปล่า
การอ่านหนังสือศิลปะไทยต้องดูก่อนว่าใครเป็นคนเขียน
จะเชื่อช่างที่เป็นคนทำงานศิลปะ หรือ จะเชื่อนักวิชาการที่เขียนแต่ไม่เคยได้ทำ

ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเป็นพี่เป็นเชื้อ ก็รับรองว่าไม่จืดเช่นกัน วาจาเหมือนมะนาวไม่มีน้ำ
กระทบกระเทียบ อีกอย่าง ผมมิได้ตั้งใจจะอวดรู้ ดังที่ได้กล่าวขออภัยไว้เสมอๆ
ว่าอ่อนน้อยด้อยสติปัญญา คุณต่างหากที่แสดงพฤติกรรมเช่นนั้นจนเป็นกิจวัตร
ลองย้อนดูที่ตัวเอง หรือ ถามสมาชิกในบอร์ดท่านอื่นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของคุณดู

ผมฝากไว้ว่า "อย่ายึดเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน" เพราะในโลกนี้ยังมีอะไรอีกมากมาย
ที่ คุณ หรือ ผม ยังไม่รู้ ส่วนอะไรที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจ  ลืมๆ ได้ ก็ลืมๆ ไปซะ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 17:04
 คราวนี้เป็นใบแก้คำผิด เฉพาะในกระทู้นี้เท่านั้นนะครับ

2 ภาพจิตรกรรมการประสูติอันประเสริฐของเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร / ผิด เป็นตอนพระเจ้าตัดเกศ

5 และ 30ไม้ประกับคัมภีร์ลายทองบนพื้นชาด เทคนิคลายรดน้ำ / ผิด ไม่ใช่ลายรดน้ำ
อันนี้เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง เวลาทำไม่เปียกเลย เขาเรียกปิดทองร่องชาด
ลายช่อแทงท้อง ลายกรุยเชิงครึ่งชั้น ลายหน้ากระดานลูกฟัก (ดารา) ประจำยาม (ตาบ) ก้ามปู / อันนี้เป็นชื่อลาย
ที่ใครสักคนคิดขึ้นมาเอง เพื่อให้ฟังดูเก๋ดี
ลายกรุยเชิงชั้นสุดท้าย / อันนี้ครูผมสอนให้เรียกลายเฟื่อง  
คำว่าเชิงนี่ หมายถึงปลายสุดแล้ว ไม่มีแบ่งเป็นชั้น เป็นเชิงที่หนึ่ง ที่สอง ย่อยลงไปอีก

7 เทพรำ ลายทองข้างหีบไม้สมัยอยุธยา สำหรับเสื้อผ้า / ครูผมสอนให้เรียกหีบพระคัมภีร์
โบราณไม่เอาของใช้แล้วไปถวายวัด ยกเว้นสังเคต ซึ่งจงใจทำเพื่องานอย่างหนึ่ง แล้วมุ่งหมายจำเพาะ
เพื่อถวายวัดต่อไป วัดไม่ใช่เซียงกง หรือโรงจำนำง่ะ จะได้เอาของไปปล่อย
แล้วพระท่านก็มีผ้าอยู่เพียงสามผืน เอาหีบผ้ามาทำอะไร แถมมีลายเทพรำเสียอีก

21 กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาตอนต้น รูปเทพยุดา วัดมหาธาตุ / รูปนี้ภาษาช่างเรียกเทพพนม
เทพยุดาอะไรนั่น มีแต่ในพจนานุกรม แล้วรูปนี้ก็ไม่ใช่ของสมัยต้น เป็นของสมัยปลายสุดๆ

23 ทับหลังหลังคา หินทราย ศิลปะบายน วัดมหาธาตุ / ทับหลังก็ส่วนทับหลัง
มีตำแหน่งแห่งหนในการใช้งานจำเพาะเจาะจง อยู่ตรงใหน เด็กนักเรียนส่วนมากก็รู้
บนหลังคาไม่มีองค์ประกอบที่เรียกว่าทับหลัง ถ้าจะมี ก็สันกลังคา ครอบกลังคา ตะเข้สัน….

แต่ถ้าบนหลังคาสถาปัตยกรรมเขมร มีองค์ประกอบตกแต่งที่ท่านเรียก บราลี หรือ ประราลี
เป็นหินแท่ง กลึงเป็นรูปทรงเห็นเมื่อไหร่ก็จำได้ อยุธยาก็มี แต่พบเป็นไม้ หรือดินเผา
เป็นหิน ไม่เคยพบ เป็นแผ่นก็ไม่เคยพบ
ที่คุณไปถ่ายรูปมา ท่านสุภัทรดิศทรงเรียกว่าเสมากำแพง เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายน
เป็นคติจักรวาลมหายาน

36 ช่างประติมากรรมก็จะไม่ไปทำงานของช่างเขียน ช่างเขียนก็ไม่ไปทำประติมากรรม / อันนี้เป็นความเห็น
ของคุณคนเดียว คุณไปมีประสบการณ์ส่วนตัวอะไรมา ถ้าจะสอนลูกสอนหลานของคุณผมก็ไม่ขัดข้อง
แต่จะมาตีขลุม อธิบายศิลปะไทยทั้งระบบมิได้
มิเช่นนั้นจักรพันธุ์ก็เป็นช่างที่แย่มากสิ ทำไปได้ ตั้งหลายอย่าง นี่ยกตัวอย่างเพียงท่านที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นนะ

สมัยโบราณ ช่างเชลยศักดิ์ ไม่มีข้อแบ่งแยกว่างานใดทำได้ งานใดทำไม่ได้
ช่างหลวง มีสังกัดแบ่งแยกก็จริง แต่ถ้าช่างใหญ่จริง ก็ไม่มีข้อจำกัด
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ทรงสร้างงานสารพัด รัชกาลที่ 2 ก็ทรงฝากฝีพระหัตถ์ไว้หลายสิ่ง
จะไปกล่าวหาท่านเหล่านั้นปาดหน้าเค๊กได้หรือ

หัวสกุลช่าง / คำนี้ไม่เคยได้ยิน ใครคิดก็ไม่รู้ แต่คงตกภาษาไทย
หรือคิดว่ามี หัวที หัวทะเล หัวเชื้อ หัวหน้า หัวเลี้ยว ....หัวอะไรสาระพัด ก็เลยอวดมาใช้กับศิลปะมั่ง

42 เทพยดาพนม ลายทองพื้นชาด ปิดทองลายฉลุ / ครูผมสอนให้เรียกว่า ลายเทพพนม ปิดทองร่องชาด
เวลามีหมายรับสั่ง ก็ใช้คำแค่นี้ ศัพท์ที่คิดขึ้นมา ช่างโบราณฟังไม่รู้เรื่อง

43 ลายทองกำมะลอ ศิลปะอยุธยา / ใช้กันมาว่าลายกำมะลอก็จบ เพราะเป็นศัพท์ช่าง
ใช้ว่าเครื่องกำมะลอ ลายกำมะลอก็มี แต่ถ้าใช้อย่างของคุณ แปลว่าลายทองเก๊

48 ดาวเสด็จแห่ประทักษิณล้อมเดือน / อันนี้หรูสุด เข้าเขตชีวะจิตขั้นสูง
สถิตย์ยังโสฬสฟากฟ้าได้แล้ว
ทีนี้ถ้าคุณเห็นดาวเพดานเป็นดวงดาราจริงๆ ละก้อ ลายผ้านุ่งที่คุณบอกว่าจำลองขึ้นบนขื่อบนคานนั้น
เป็นอะไรล่ะ เป็นผ้านุ่งดาวงั้นหรือ
ลายท้องคาน ลายเสานี่เขามีระเบียบของเขา ไม่รู้ก็ต้องศึกษา ไม่ใช่ว่าเจ๋งเรื่องหนึ่ง ก็จะพลอยเจ๋งเรื่องสอง
เรื่องสามไปด้วย ลายผ้านุ่งจะเอามาปนกับผนังอาคาร มีแต่คนไม่รู้ เขาจึงจะทำกัน
ลายพื้น ลายกรอบ ลายขอบ ลายขนาบ หรือลายคั่น ในการตกแต่งอาคารนั้น เขามีหลักแน่ชัด

49 ตาบทิพย์ / ตาบ ต้องอยู่ที่หน้าอก อย่างที่เห็นนี่ ครูผมเรียกประจำยามเท่านั้นแหละครับ

ขอเรียนตามตรง ว่ารูปของคุณนั้นดีเยี่ยม แต่ข้อความของคุณเป็นอีกอย่างนะครับ ใครยกครูเรื่องไทยให้คุณกัน


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 18:45
 เวลาจะด่าผมนะ ด่าในสิ่งที่ผมพูด เป็นเจ้าของ หรือเสนอออกไปชัดๆ ไม่ต้องพูดจาคลุมเครือประเภท
เขารู้อยู่แล้วว่าคุณเป็นอย่างไร หรือคุณก็รู้อยู่ว่าคุณเป็นอะไร หรือผมรู้แต่ผมไม่พูด…
ถ้าคุณใช้พฤติกรรมอย่างนี้อีก ก็ขาดกัน
เราไม่ด่านักวิชาการ ว่าปากเสีย นิสัยไม่ดี ไม่มีสัมมาคารวะ...หรืออะไรที่มันเหมือนตามตลาดเขาด่ากัน
แม้เราจะรู้ว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ
เราด่านักวิชาการในสิ่งที่เขาเขียน ในเนื้อความที่เขาเป็นเจ้าของ ที่มันสร้างมิจฉาทิษฐิทางปัญญา

การที่คุณมายัดเยียดแนวคิดคลั่งชาติ ดูหมิ่นพื้นบ้านอะไรเทิอกนั้นน่ะ .ให้คนอื่น ผู้ดีเขาไม่ทำกัน
ผมว่าแม้แต่ไพร่ ก็ไม่ทำ เป็นวิธีที่ต่ำมากๆ จนไม่คิดว่าคนที่ชื่นชมศิลปะจะคิดออกมาได้
ผมสอบได้ว่าดาวเสด็จเป็นแนวคิดพื้นบ้าน ยังไม่มีคำใหนที่ส่ออาการดูถูกดูหมิ่น
คุณก็จัดแจงยัดเยียดไปถึงขั้นสามจังหวัดภาคใต้
ผมว่าวิธีป้ายสีของคุณมันออกจะโสโครกไปหน่อยนะ

การแยกพื้นบ้านออกจากส่วนกลาง เป็นวิธีการทางวัฒนธรรมศึกษาที่จำเป็น
เพราะเราต้องเคารพที่มาของทั้งสองสิ่ง การปนเปื้อนกัน เป็นเรื่องเสียหายร้ายแรง
ตัวอย่างเช่นการลอยกระทงไฟตามหลังกระบวนเรือพระราชพิธี ที่เพิ่งทำตอนเอเปค
เป็นวิธีคิดที่ทำลายล้างความบริสุทธิ์ทางวัฒนธรรมอย่างน่าสังเวชที่สุด
แต่คุณคงไม่เข้าใจ

เมื่อพิจารณาจากการที่คุณใช้คำต่างศักดิ์ หรืออ้างหนังสือที่ขาดความเที่ยงตรงบ่อยๆ
โดยสรุปอย่างน่าเอ็นดูว่า เขาเป็นตั้งดอกเตอร์ คนแปลเป็นครูบาอาจารย์…ก็ต้องให้เกียรติเขา
แล้วคุณดันอ้างคติจักรวาลที่ฝรั่งเขียน แต่แดกดันให้ผมไปเรียนพื้นบ้านกับญี่ปุ่น
ตรรกะแบบนี้มันน่าสังเวชอ่ะ
แล้วหนังสือตู้ลายทองที่คุณอ้างนั้น มันสลักสำคัญอะไรนักหรือ ถึงกับจะใช้เป็นข้ออ้างอิงทางวิชาการ
คุณรู้หรือไม่ ว่าเป็นน้ำพักน้ำแรงของใคร เห็นคุณบอกว่านักวิชาการบางกรม ไม่น่าเชื่อถือ มิใช่หรือ

ผมถามคุณเรื่องดาวเสด็จ คุณบอกว่าไม่มีเวลาตอบ แต่คุณอธิบายต่อออกมาได้อีกสอง-สามคำตอบยาวๆ
ที่ไม่ใช่การตอบ แบบนี้เขาเรียกเสียมารยาท กวน ...ไม่ได้ต่างอะไรจากที่คุณด่าผมเลย
แถมยกตนข่มท่าน ข่มผมไม่เป็นไร แต่คุณกล้าบอกว่า
คุณเห็นมากกว่าคนโบราณ ......555555555

ข้อสุดท้ายนะ คุณอ้างว่าคุณอ่อนน้อม..สารพัด นั่นเป็นบุญของคุณ
แต่ที่ผมไม่อ่อนน้อม นี่ก็เห็นชัด ตั้งแต่วันแรกที่ผมมาเป็นสมาชิกเรือนไทยแล้ว ไม่เคยเปลี่ยน ยิ่งมาเจอประเด็นเห็นมากกว่าคนโบราณนี่ ....555555555 ชอบง่ะ

แต่คุณคงลืมความอ่อนน้อมไปชั่วขณะ ที่มาสอนผมเรื่องปรับปรุงอะไรนั่นหนะ คนอ่อนน้อมจริงเขาไม่ทำ นะจ๊ะ ...
น้องดาวเสด็จ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 18:59
 คราวนี้เป็นใบแก้คำผิด เฉพาะในกระทู้นี้เท่านั้นนะครับ
*ตอบ ขอบคุณที่สละเวลามาตรวจให้ครับ

2 ภาพจิตรกรรมการประสูติอันประเสริฐของเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร / ผิด เป็นตอนพระเจ้าตัดเกศ
*ตอบ มีแต่คำพูดลอยๆ ผมจะเชื่อถือคุณได้มากน้อยขนาดไหน ?
เรื่องลายทองคุณยังไม่รู้จัก ถ้าคุณริจะตรวจว่าอันไหนผิดถูก ขอให้กลับไปทำความเข้าใจเรื่อง "ลายทอง"
มาเสียใหม่ แล้วค่อยกลับมาคุยกัน

5 และ 30ไม้ประกับคัมภีร์ลายทองบนพื้นชาด เทคนิคลายรดน้ำ / ผิด ไม่ใช่ลายรดน้ำ
อันนี้เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง เวลาทำไม่เปียกเลย เขาเรียกปิดทองร่องชาด
ลายช่อแทงท้อง ลายกรุยเชิงครึ่งชั้น ลายหน้ากระดานลูกฟัก (ดารา) ประจำยาม (ตาบ) ก้ามปู / อันนี้เป็นชื่อลาย
ที่ใครสักคนคิดขึ้นมาเอง เพื่อให้ฟังดูเก๋ดี
ลายกรุยเชิงชั้นสุดท้าย / อันนี้ครูผมสอนให้เรียกลายเฟื่อง
คำว่าเชิงนี่ หมายถึงปลายสุดแล้ว ไม่มีแบ่งเป็นชั้น เป็นเชิงที่หนึ่ง ที่สอง ย่อยลงไปอีก
* ตอบ คำว่า "ชั้น" กับ คำว่า "เชิง" ต่างกันอย่างไร จะอธิบายให้คุณ Pipat ฟัง
ถือเสียว่าเขียนลายไทยไม่เป็นก็ไม่ว่ากัน
- ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลาย เรียกว่า "เชิง"
- สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้นๆ เรียกว่า "ชั้น"
เรื่องประกับ คุณคงเคยแต่เห็นในรูป แต่ผมมีของอันจริงๆ เลย แล้วผมก็เคยเห็นมาหลายอัน
แล้วก็รู้จักมันดีพอว่า มันทำด้วยอะไร อย่างไร เพราะลายทองนูนคมมาก รดน้ำเท่านั้น

7 เทพรำ ลายทองข้างหีบไม้สมัยอยุธยา สำหรับเสื้อผ้า / ครูผมสอนให้เรียกหีบพระคัมภีร์
โบราณไม่เอาของใช้แล้วไปถวายวัด ยกเว้นสังเคต ซึ่งจงใจทำเพื่องานอย่างหนึ่ง แล้วมุ่งหมายจำเพาะ
เพื่อถวายวัดต่อไป วัดไม่ใช่เซียงกง หรือโรงจำนำง่ะ จะได้เอาของไปปล่อย
แล้วพระท่านก็มีผ้าอยู่เพียงสามผืน เอาหีบผ้ามาทำอะไร แถมมีลายเทพรำเสียอีก
* ตอบ คุณมั่วหรือเปล่าครับ คนโบราณเวลาตาย เอาเรือนถวายวัดก็ถมไป
กลับไปหาความรู้เรื่องหีบสมัยอยุธยามาเสียใหม่ แล้วค่อยมาคุยกันครับ
เรื่องรูปทรงและลักษณะการใช้งานของหีบนั้น ไม่เหมาะสมสำหรับการเก็บคัมภัร์พระธรรม
เนื่องจากหีบมีขนาดใหญ่มาก ทั้งยังมีความลึก เอาคัมภีร์ไปเก็บคงจะหยิบไม่ถนัด แล้วทับกันปลวกจะกิน
เหมาะสำหรับใส่ผ้าผ่อนของมีค่ามากกว่า ยิ่งเป็นหีบลายทอง ไม่ใช่ของชนชั้นสามัญธรรมดาทั้วๆ ไปไก่กา
อบเครื่องหอม เพราะไม้ที่ทำส่วนใหญ่เป็นไม้ที่เก็บกลิ่นได้ คัมภีร์พระธรรมก็ควรจะเก็บในตู้พระธรรม
หรือ หีบพระธรรมมากว่าครับ หีบใบที่ผมยกมานั้นหีบใส่ผ้าที่เจ้านาย ไม่ใช่หีบพระธรรม
สันนิษฐานว่าเจ้านายเสียชีวิตแล้วลูกหลานเอามาถวายวัด สังเกตุว่าจะพบหีบใบใหญ่ๆ ลักษณะนี้
เฉพาะวัดโบราณที่มีมาแต่สมัยอยุธยา

21 กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาตอนต้น รูปเทพยุดา วัดมหาธาตุ / รูปนี้ภาษาช่างเรียกเทพพนม
เทพยุดาอะไรนั่น มีแต่ในพจนานุกรม แล้วรูปนี้ก็ไม่ใช่ของสมัยต้น เป็นของสมัยปลายสุดๆ
ตอบ ถ้าไม่รู้จักจะอธิบายให้ฟังเป็นวิทยาทานนะครับ
คำว่า "เทพยดา" หมายถึง เทพผู้ชาย , คำว่า "เทพยุดา" หมายถึง เทพผู้หญิง
เห็นหน้าอกเทพยุดามั้ยครับ แล้วเรื่องการจัดอายุกระเบื้องคุณเอาอะไรมาวัด มั่วหรือเปล่า ?
ผมดูกระเบื้องเชิงชายมาเป็นร้อยๆ ชิ้น ไม่ใช่อ่านเอาจากหนังสือ ไม่มั่วครับ

23 ทับหลังหลังคา หินทราย ศิลปะบายน วัดมหาธาตุ / ทับหลังก็ส่วนทับหลัง
มีตำแหน่งแห่งหนในการใช้งานจำเพาะเจาะจง อยู่ตรงใหน เด็กนักเรียนส่วนมากก็รู้
บนหลังคาไม่มีองค์ประกอบที่เรียกว่าทับหลัง ถ้าจะมี ก็สันกลังคา ครอบกลังคา ตะเข้สัน….
แต่ถ้าบนหลังคาสถาปัตยกรรมเขมร มีองค์ประกอบตกแต่งที่ท่านเรียก บราลี หรือ ประราลี
เป็นหินแท่ง กลึงเป็นรูปทรงเห็นเมื่อไหร่ก็จำได้ อยุธยาก็มี แต่พบเป็นไม้ หรือดินเผา
เป็นหิน ไม่เคยพบ เป็นแผ่นก็ไม่เคยพบ
ที่คุณไปถ่ายรูปมา ท่านสุภัทรดิศทรงเรียกว่าเสมากำแพง เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายน
เป็นคติจักรวาลมหายาน
ตอบ บราลี มาจากอะไรรู้หรือไม่ ไม่รู้จัก ผมจะอธิบายให้ฟัง
บราลี เดิมมาจากคือ กลศ (อ่านว่า กะ-ละศะ) คือ แจกันหรือหม้อที่ไม่มีพวยบรรจุน้ำทิพย์ ซึ่งอยู่เหนือชั้น
อมลกะ (อะ-มะ-ละ-กะ) ซึ่งเป็นผลไม้ทิพย์ เดิมอยู่บนยอดเหนือวิมานของศิขรในสถาปัตยกรรมอินเดีย
ลัทธิพรามหณ์ เขมรรับเอาความเชื่อจากอินเดีย พัฒนาการจนเป็น "บราลี" ซึ่งเป็นคนละรูปแบบ
ที่ผมนำมาเสนอ แบบที่ผมนำมาเสนอนั้นเป็นคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ได้รับจากดินเแดน
ในคาบสมุทรและใกล้เคียง ฉะนั้นจึงไม่ใช่ "บราลี" หรือ "กลศ" แต่เป็นทับหลังหลังคาของสถาปัตยกรรม
เขมรที่สร้างในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับนั่งเรียงราย เชื่อกันว่า เข้าไปแล้ว
จะชำระบาปทำให้บริสุทธิ์ได้ ที่เขมรก็ยังปรากฏทับหลังหลังคาแบบนี้อยู่ ฉะนั้นบราลีจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สาปัตยกรรมเขมรไม่ใช่สถาปัตยกรรมไทย เค้าไม่เรียกว่า "สันตะเข่"

36 ช่างประติมากรรมก็จะไม่ไปทำงานของช่างเขียน ช่างเขียนก็ไม่ไปทำประติมากรรม / อันนี้เป็นความเห็น
ของคุณคนเดียว คุณไปมีประสบการณ์ส่วนตัวอะไรมา ถ้าจะสอนลูกสอนหลานของคุณผมก็ไม่ขัดข้อง
แต่จะมาตีขลุม อธิบายศิลปะไทยทั้งระบบมิได้
มิเช่นนั้นจักรพันธุ์ก็เป็นช่างที่แย่มากสิ ทำไปได้ ตั้งหลายอย่าง นี่ยกตัวอย่างเพียงท่านที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นนะ
*ตอบ โบราณไม่เหมือนกับปัจจุบัน สภาพชีวิตและสังคมเปลี่ยนไป รูปแบบศิลปกรรมก็เปลี่ยนตาม
ปัจจุบันศิลปะกลายเป็น "พาณิชยศิลป์" ทำงานเพราะเงิน ไม่ใช่เพราะศรัทธา อีกอย่างไม่มีใครเลี้ยงช่าง
กันอีกต่อไปแล้ว อาจารย์จักรพันธุ์ จึงยกเว้นครับ

สมัยโบราณ ช่างเชลยศักดิ์ ไม่มีข้อแบ่งแยกว่างานใดทำได้ งานใดทำไม่ได้
ช่างหลวง มีสังกัดแบ่งแยกก็จริง แต่ถ้าช่างใหญ่จริง ก็ไม่มีข้อจำกัด
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ทรงสร้างงานสารพัด รัชกาลที่ 2 ก็ทรงฝากฝีพระหัตถ์ไว้หลายสิ่ง
จะไปกล่าวหาท่านเหล่านั้นปาดหน้าเค๊กได้หรือ
*ตอบ สังคมอยุธยาอาจจะคล้ายรัตนโกสินทร์แต่ก็ไม่ทั้งหมด ช่างเก่งๆ ทำงานได้หมด
แต่จะแบ่งงานกันทำ โบสถ์วัดใหญ่สุวรณณารามคุณคิดว่าใช้ช่างกี่คน กี่แขนง เค้าแบ่งงานกันทำ
งานถึงออกมาดี ทำเป็นอาชีพ จะให้นักเทนนิสอาชีพอย่างซาราโปว่า ไปเตะบอลออาชีพอาจจะได้
แต่ก็ไม่ดีนัก ฉันใดก็ฉันนั้น แต่จะเป็นสกุลช่าง ในสกุลประกอบด้วยช่างหลายหมู่
ซึ่งแต่ละคนก็จะทำที่ตัวเองถนัด ไม่สุกเอาเผากินเหมือนเดี๋ยวนี้

หัวสกุลช่าง / คำนี้ไม่เคยได้ยิน ใครคิดก็ไม่รู้ แต่คงตกภาษาไทย
หรือคิดว่ามี หัวที หัวทะเล หัวเชื้อ หัวหน้า หัวเลี้ยว ....หัวอะไรสาระพัด ก็เลยอวดมาใช้กับศิลปะมั่ง
*ตอบ คนเราต้องมีหัว ถ้ามีแค่ตัวคงมีชีวิตไม่ได้ อย่างเช่น พระอาจารย์นาค ท่านก็เป็นหัวหน้าใน
สกุลช่างของท่าน แล้วก็ต้องมีลูกทีมในสกุลช่าง งานใหญ่ๆ ทำคนเดียวไม่ได้หรอกครับ

42 เทพยดาพนม ลายทองพื้นชาด ปิดทองลายฉลุ / ครูผมสอนให้เรียกว่า ลายเทพพนม ปิดทองร่องชาด
เวลามีหมายรับสั่ง ก็ใช้คำแค่นี้ ศัพท์ที่คิดขึ้นมา ช่างโบราณฟังไม่รู้เรื่อง
*ตอบ คุณศึกษาจาดรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ ผมศึกษาอยุธยามากกว่า
ถ้าสนใจเรื่องอยุธยาก็แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน เทพพนมไม่ได้แบ่งหญิงหรือชาย
อยุธยาทำทั้งหญิงทั้งชาย ซึ่งในรัตนโกสินทร์ปรากฏน้อยมาก เพราะสมัยอยุธยาผู้หญิงมีอิทธิพล
ในสังคมมากกว่ารัตนโกสินทร์


43 ลายทองกำมะลอ ศิลปะอยุธยา / ใช้กันมาว่าลายกำมะลอก็จบ เพราะเป็นศัพท์ช่าง
ใช้ว่าเครื่องกำมะลอ ลายกำมะลอก็มี แต่ถ้าใช้อย่างของคุณ แปลว่าลายทองเก๊
*ตอบ คำว่าทองมีความสำคัญมากกว่าที่คุณเข้าใจ สมัยโบราณใช้แบ่งแยกฐานะกันอย่างชัดเจน
เรือนทองของกษัตริย์ เรือนสีของเจ้านาย สามัญชนหมดสิทธิ์ ถึงมีความจำเป็นต้องเรียกว่า
"ลายทอง" เทคนิคลายกำมะลอ / เทนนิคลายรดน้ำ ไงครับ เข้าใจ๋ ?

48 ดาวเสด็จแห่ประทักษิณล้อมเดือน / อันนี้หรูสุด เข้าเขตชีวะจิตขั้นสูง
สถิตย์ยังโสฬสฟากฟ้าได้แล้ว
ทีนี้ถ้าคุณเห็นดาวเพดานเป็นดวงดาราจริงๆ ละก้อ ลายผ้านุ่งที่คุณบอกว่าจำลองขึ้นบนขื่อบนคานนั้น
เป็นอะไรล่ะ เป็นผ้านุ่งดาวงั้นหรือ
ลายท้องคาน ลายเสานี่เขามีระเบียบของเขา ไม่รู้ก็ต้องศึกษา ไม่ใช่ว่าเจ๋งเรื่องหนึ่ง ก็จะพลอยเจ๋งเรื่องสอง
เรื่องสามไปด้วย ลายผ้านุ่งจะเอามาปนกับผนังอาคาร มีแต่คนไม่รู้ เขาจึงจะทำกัน
ลายพื้น ลายกรอบ ลายขอบ ลายขนาบ หรือลายคั่น ในการตกแต่งอาคารนั้น เขามีหลักแน่ชัด
*ตอบ ผมไม่ถือสา เพราะคุณไม่รู้ ไม่เป็นไรครับ จะเล่าให้ฟัง เคยได้ยินชื่อผ้าลายอย่าง "ลายกุดั่น" มั้ย
"กุดั่น" แปลว่าอะไร นั่นแหละลายดาว ผมถึงบอกให้ไปศึกษาผ้าลายอย่างไง เอาไปยึดใช้ได้หมด
เป็นแพทเทิร์นลายไทยทั้งหมดเลย

49 ตาบทิพย์ / ตาบ ต้องอยู่ที่หน้าอก อย่างที่เห็นนี่ ครูผมเรียกประจำยามเท่านั้นแหละครับ
ตอบ กรรมแท้ๆ คุณไม่รู้จักไปหมดเลย จะเล่าให้ฟัง ตาบเป็นเครื่องชิ้นใหญ่ใส่กับขอสร้อย
อยู่ที่หน้าอก รูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นของสวยงามมีค่ามีราคา ช่างอยุธยาจึงนำมา
เป็นลายประดับในที่ต่างๆ เคยได้ยินคำว่า "ตาบทิศ" มั้ยนั่นแหละ มันไม่ได้อยู่หน้าออกอย่างเดียว
คำว่า "ตาบ" กับ "ลูกฟัก" มูลค่าต่างกัน ไม่ปรากฏลายกรุยเชิงที่มีตาบในศิลปะรัตนโกสินทร์เลย

ขอเรียนตามตรง ว่ารูปของคุณนั้นดีเยี่ยม แต่ข้อความของคุณเป็นอีกอย่างนะครับ
ใครยกครูเรื่องไทยให้คุณกัน
ตอบ ผมนับถือพุทธศานา พระพุทธเจ้าเป็นครูใหญ่สุดครับ แล้วครูของคุณหล่ะครับ
ถ้าได้ชมผลงานอาจารย์ของคุณสักหน่อย คงดีไม่น้อย จะคุยกันเรื่องศิลปะ
ว่ากันตามเนื่อผ้าไปเลยครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 19:18
 อ้าว ถึงขนาดยก ... ขึ้นมาเลยหรือ ?


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 20:20
 เรื่องครูนี่ผมแพ้คุณหลุดลุ่ยเลย ได้พระพุทธองค์เป็นครู นี่เอง มิน่า..............
เอ แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามภิกษุ มิให้ข้องเกี่ยวกับการสร้างรูปทำงานศิลปะนา
อนุมัติเพียงลวดลายพรรณพฤกษาพอเป็นเครื่องเชิดชูศรัทธา
มีตอนใหนหรือ ที่ทรงสอนเรื่องดาวเด็จทักษิณา มาเวียนวนบนเพดานลายผ้านุ่งสูงค่า
ก๊ากกก ก๊ากกกก ...ขำกลิ้งเลยเพ่
ตรัสห้ามเรื่องจักรวาลศึกษาเสียด้วยซ้ำ เคยอ่านบ้างใหม หือ
ผมก็เพิ่งทราบว่าคนเราตัวเป็นๆ นี่ ยกครูกับพระพุทธเจ้าได้ด้วย
หรือจะเป็นคนละพระองค์กัน เพราะของคุณใช้ไปได้ถึงมหายาน ฮินดู ...เลิศภพจบพสุธา

รูปพระเจ้าตัดเกศ คุณแปะไว้ก็เห็นอยู่ชัดๆ  ใช่หรือไม่ใช่ ใช้ลูกตาที่มีอยู่กับตัว เบิ่งดูก็เห็นนี่
ไม่ได้เกี่ยวกับที่ผมจะรู้จักลายทองหรือไม่เลยนี่นา

ที่คุณบรรยายมาทั้งหมดนี่ ไม่เห็นจะได้สาระที่พึงเชื่อถืออะไรเลยนะ
เป็นตำราครูพักลักจำ ตำราผมว่าเอง และตำราผีบอก
อ้างอิงแต่กับตัวเองว่ามีมาก เก็บมาก เห็นมาก พอถามว่าอ่านอะไรมาบ้าง ตอบว่าไม่ค่อยได้อ่าน
คุณถึงได้อธิบายปราลีออกมา  จนผมขำจนตกเก้าอี้ โอย...กลศ ตั้งบนอามัลกะ คิดได้ไงเนี่ย
แถมกลศต้องไม่มีพวยด้วย อันนี้สุดยอดของการแต่งเรื่องเลยครับ
ไปถามตุ๊ดตู่ออนไลน์ของผมดูก็ได้ ว่ากลศเป็นยังไง
โชคดีนะ พี่แดงไปเกิดใหม่เสียแล้ว เล่าให้แกฟัง แกอาจจะตลกจนอายุยืนขึ้นอีกหน่อย นะเจ๊นะ

น้องดาวเด็จ น้องต้องศึกษามากกว่านี้อีกมากกว่านี้แยะ ก่อนจะมาตั้งตนเป็นศาสดาสารพัดรู้เช่นนี้

คุณพูดถึงพระอาจารย์นาค ยังกะท่านเป็นผู้รับเหมาเลย มีหัวหน้าช่าง มีลูกทีม
นั่นมันพวกหลอกทำของเก่า ขายคนโง่
ความรู้แบบที่คุณสาธยายมานี่ ถ้าขายสินค้าละก้อ ผู้ซื้อคงงวยงงหลงไหล
สิบบาทให้สิบเอ็ดบาทแง๋ๆ แต่ผมให้ถึงสิบสองเลย แต่ละมุข ถีบสุดๆ
55555....ลายผ้าเป็นมารดาแห่งลายทั้งปวง...55555
ที่บ้านตุนผ้าลายไว้มากเลยหรือ ถึงต้องยกสถานะกันขนาดนี้


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 20:46
 แถมอีกนี๊ดดด..นะคุณดาวเด็จ

ตาบ มีรูปทรงที่โดดเด่น คุณรู้ว่าประดับหน้าอกก็ดีแล้ว ดูให้ถ้วนถี่ ก็น่าจะรู้ว่ามันไม่ใช่ประจำยาม
รูปทรงผิดกันไกล
ทีนี้ก็ใช้ตาของคุณ ดูรูปที่ผมทัก ว่ารูปทรงอย่างนี้ ใช่ตาบหรือไม่
หรือเอาไปถามครูสอนนาฎศิลป์ ว่าเรียกตาบได้หรือเปล่า
เกิดมาผมไม่เคยเห็น ตาบห้อยร้อยเรียงเป็นแถวแนวยังกับของโหล

ส่วนลายกุดั่นนี่ ใครสอนคุณกัน ว่าแปลว่าลายดาว
คุณต้องแบ่งเวลาอ่านหนังสือให้หนักขึ้นอีกนะครับ
มีคลังรูปดีๆอยู่กับตัว
มีหัวสมองอันแสนครีเอถีป
เสริมเขี้ยวเล็บด้วยตำหรับตำราอีกสักเจ็ดแปดร้อยเล่ม
ก็เป็นผู้รู้ได้ทีเดียว

อ้อ แต่หนังสือที่คุณอ้างมาหลายเล่มนั่นน่ะ
อย่าอ่านต่อเลยนะมันแสลงปัญญา
ไปที่ศึกษาภัณฑ์ ซื้อสาส์นสมเด็จ กับบันทึกความรู้ฯ
สองรายการนี้ก็ร่วมสี่ห้าสิบเล่มแล้ว อ่านให้ขึ้นใจ
แล้วค่อยไปเถียง ว่าผมเห็นมามากกว่าท่าน
ระหว่างนี้ ก็ก้มหน้าก้มตาแปะรูปให้ดูเป็นบุญตาต่อไป
อย่าหยุดเสียเล่า คนอยากดูมีอีกแยะ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 20:49

- รูปพระเจ้าตัดเกศ คุณแปะไว้ก็เห็นอยู่ชัดๆ ใช่หรือไม่ใช่ ใช้ลูกตาที่มีอยู่กับตัว เบิ่งดูก็เห็นนี่
ไม่ได้เกี่ยวกับที่ผม จะรู้จักลายทองหรือไม่เลยนี่นา

ตอบ บางทีความเขลาของผู้อื่นมันอาจจะดูง่ายกว่าของตัวเอง ลองพิจารณาดูเอาเถิด ว่า ตัดเกศตรงไหน ?
- บุคคลที่เป็นประธานในภาพ หน้าอก (นม) ก็มี
- ด้านบนก็มีกิ่งไม้
- จะออกบวช แล้วจะกางม่านรอบทำไม
- นางประคองนมโตซะขนาดนั้น
- มวยพระเกศาอยู่ที่ไหน

สายตามันก็เสื่อมตามอายุไข หาอะไรบำรุงมั่งเน้อ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 20:53
 "ผมมีโอกาสมากกว่าท่านในเรื่องการไปสำรวจในสถานที่ ที่ท่านยัง
ไม่เคยได้ไปและได้พบความรู้ใหม่ๆ มากกว่าในหนังสือที่ท่านเขียน หรือ เคยได้อ่าน
เรื่องเหล่านั้นมาก่อน"

ตั้งใจอ่านและแปลความหมายดีๆ ครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 20:59
 แล้วเรื่อง "ลายทอง" ว่ายังไงหรือคุณ Pipat มาคุยกันทีซิ
ว่าใครมั่วกันแน่


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 21:08
 ขอโทษพันครั้ง
เป็นปางประสูติจริง
ขอถอนข้อนี้ครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 21:56
 คุณอาจจะติดใจคำนี้ ที่ข้าราชการคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว
ตั้งใจทำหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง "ตู้ลายทอง"
แล้วคุณก็คิดเองต่อว่า "ทอง" เป็นสิ่งสูงค่า ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของคุณ
แต่ถ้ามาแสดงในที่สาธารณะ ต้องถูกตรวจสอบ

ประเด็นของผมคือ มีมรดกช่างอย่างหนึ่ง เรียกกันมาแต่โบราณว่าลายรดน้ำ
เป็นกรรมวิธีตกแต่งผิวที่วิเศษสุดอย่างหนึ่งของไทย
คุณมาสอนคนอื่นให้เลิกใช้คำนี้ คุณอ้างสิทธิ์อันใดหรือ คุณเป็นราชบัณฑิตกระนั้นหรือ
หรือแค่อ้างว่า
"ผมมีโอกาสมากกว่าท่านในเรื่องการไปสำรวจในสถานที่ ที่ท่านยังไม่เคยได้ไป
และได้พบความรู้ใหม่ๆ มากกว่าในหนังสือที่ท่านเขียน หรือ เคยได้อ่านเรื่องเหล่านั้นมาก่อน"
แค่นี้คุณก็แก้ได้ตามอำเภอใจละ หรืออ้างอิงรสนิยมเห่อทองของคุณ
นี่เป็นมิจฉาทิษฐิ ที่น่าเวทนาแต่ละไว้ไม่ได้

อีกอย่างคุณเองความรู้ก็น้อยนัก โลกนิติที่ผมอ้าง คุณยังไมรู้จักเลย  กล้าอ้างไปถึงพระพุทธองค์เสียแล้ว
กล้าเปลี่ยนสิ่งที่เขาเรียกกันมาเป็นร้อยปีว่าดาวเพดาน เป็น ดาวเสด็จบ้าง
เปลี่ยนคำว่าลายรดน้ำ เป็นลายทอง....เพี้ยนๆอะไรบ้าง
พอท้วงเข้า ก็บอกว่าไม่ต้องการเปลี่ยนของเก่า
พอถามว่านี่อะไร ก็ทำเล่นตัวสอนหนังสือสังฆราช...พิโยกพิเกน
กล้าเปลี่ยนตำราลายไทยไม่รู้กี่เล่มต่อกี่เล่ม ให้มาใช้ตำราลายผ้า
ยกศัพท์อวดตุ๊กแกไปวันๆ ไม่เคยยอมรับเลย ว่าอะไรผิดอะไรถูก
อย่างที่ตอบเรื่องจักรพันธุ์นี่คนละเรื่องกับที่ถาม ผมไม่ได้ถามเรื่องพานิชศิลป์
ผมถามถึงข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ว่า ที่คุณวินิจฉัยมันผิด ว่าช่างเขาแบ่งกันปั้นแบ่งกันเขียน

ความจริงแล้ว ถ้าคุณจะนึกออกนะ ผมไม่เคยหาเรื่องชวนทะเลาะกับคุณมาแต่ต้น
แม้คุณจะเอาราคะศิลปะของคลิ้มเข้ามาในกระทู้ขรัวอินโข่ง เมื่อนานมาแล้ว
และเมื่อคุณอ้างจักรวาลเขมรเป็นที่มาจักรวาลไทยในสาระที่ผมกำลังถกกับท่านอื่นอยู่
พอถามย้ำ ก็พบว่าไม่เคยอ่านอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน  โบ้ยไปโน่น ว่าทำมาก ดีกว่าพวกอ่านมาก
นี่มันข้อแก้ตัว เราไม่ได้มาถกกันนี่ ว่าชาดอยุธยาอมเสนมากหรือน้อยกว่าลานนา
ไม่ได้ถกกันว่าตัดเส้นตาอยุธยาต้นใช้สีต่างกับบรมโกศอย่างไร
ถ้าจะถกกันเรื่องงานช่างอย่างลึก คุณก็ไปไม่รอดดอก
เพราะคุณยังอ้างความหนาของทองเป็นตัวบอกเทคนิคอยู่เลย

รูปศาลภัญชิกานี้ ถ้าคุณทำให้ชัด ผมก็คงไม่โง่แก้คำผิดดอก
แต่นั่นเป็นเพราะผมตาถั่ว ไม่ใช่เพราะผมไม่เชื่อคุณ ถ้าเชื่อคุณเห็นจะอาการหนักกว่านี้
ชี้ข้อผิดไป แทบจะทำป๊อกเก็ตบุคได้สองเล่ม
ตอบกลับมา .ไปใหนมา....สามวาสองศอก

โธ่ นึกว่าแน่


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 22:26
 อ่านดีๆ ครับ เรื่อง ดาวเพดาน กับ ดาวเสด็จ
ดาวเสด็จ คือ ดาวเพดาน แต่ ดาวเพดาน ไม่ใช่ ดาวเสด็จ 555+
เรื่อง "ลายทอง" ก็อีก อายุก็มากแล้ว เดี๋ยวเด็กๆ จะหัวเราะเยาะเอา เที่ยวแนะนำให้คนโน้นคนนี้ไปอ่านอะไร
ตัวคุณเอง ลองไปหา "ตู้ลายทอง" มาอ่านบ้าง จะได้สว่างขึ้น ประโยชน์ไม่ได้เกิดแก่ผม แต่มันเกิดกับคุณ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 06, 22:53
 ขอยกมือถามคุณโพธิ์ฯ หน่อยค่ะ   พยายามจะเก็บความรู้เท่าที่จะทำได้  

๑)รูปในค.ห. 45  คุณอธิบายวา "ดาวเสด็จ ลายเพดาน"
และในค.ห.ข้างบนนี้  "ดาวเสด็จ คือ ดาวเพดาน แต่ ดาวเพดาน ไม่ใช่ ดาวเสด็จ"

หมายความว่า ดาวเสด็จมีหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือดาวเพดาน(ที่เรียกในรูป 45 ว่าลายเพดาน)  ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ
ถ้าใช่  ดาวเสด็จมีทั้งหมดกี่อย่าง อะไรบ้างคะ

๒)คำว่า" ดาวเสด็จ"มาจากตำราของอาจารย์ศิลปะท่านใด  หรือว่าเป็นคำเรียกมาแต่โบราณ หาต้นตอไม่เจอ    
คือดิฉันไม่คิดว่าคุณจะบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาเองน่ะค่ะ
ถ้าทราบ ดิฉันจะได้ไปหาอ่านประดับความรู้ดูบ้าง  

ดิฉันสนใจศัพท์นี้ในด้านภาษา   ดาวเสด็จ  เป็นคำประสม ครึ่งไทยครึ่งเขมร   แปลตามตัวก็คือ ดาวมา(หรือไป)
จึงอยากทราบว่าลายบนเพดานที่คุณยกมาให้ดู ที่ว่าทักษิณาวรรต สังเกตจากอะไร  
ดิฉันมองภาพไม่ชัด เลยเห็นว่าดวงกลมๆนั้นล้อมอยู่้้  แต่มองไม่ออกว่าเวียนขวาหรือเวียนซ้าย  สังเกตจากอะไรถึงทราบว่าเป็นทักษิณาวรรตคะ

๓)ท่ามกลางความมืด ปรากฏแสงสว่างสุกสกาวเหนือยอดไม้
พวยพุ่งลอยเด่นอยู่บนทิศเบื้องบนพระอัฐิธาตุเจดีย์
ที่ปรักหักพังกลางพงรกร้าง หรือ พระปฐมเจดีย์แสดง
ปาฏิหาริย์ มีแสงพวยออกมา นั่นแหละครับ
เรียกว่า "ดาวเสด็จ" ครับ

ปาฏิหาริย์ของพระปฐมเจดีย์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงเห็น
เป็นลำแสงเกิดจากภายในเจดีย์   ไม่ใช่แสงจากภายนอก  
และไม่ใช่ดวงกลม
เรียกว่า "ดาวเสด็จ" เหมือนกันใช่ไหมคะ

ปาฏิหาริย์ที่ว่านี้ เกี่ยวกับลายดาวเสด็จยังไงคะ  ในเมื่อลักษณะเป็นลำแสงพวยพุ่ง


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 23:18
 สิ่งที่ผมคิด และค้าน
ผมเขียนไว้ชัดเจน แต่เห็นชัดว่าคุณไม่มีศักยภาพจะแยกแยะเพื่อชี้แจงได้
นั่นไม่เป็นไร เพราะอัตตาของคุณมีมากท่วมท้นปัญญา

คุณยกศัพท์มาเท่าไรแล้ว โดยไม่มีนิรุกต์ประวัติรองรับ
อ้างเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านไปได้ง่ายๆ ดูถูกชาวบ้านจริงๆ อะไรที่ไม่ได้เรื่องเป็นยกให้ชาวบ้านหมด
น่าขำที่คุณกล้ายกปรากฏการณ์ปาฏิหารย์ที่พระปฐมเจดีย์มาอ้าง
แล้วยังกล้าอ้างอีกว่าดาวเสด็จของคุณเป็นวัฒนธรรมอยุธยา
คุณรู้ใหมว่าพระเจ้าแผ่นดินกี่พระองค์พระราชนิพนธ์เรื่องพระธาตุนี้ไว้ ไม่มีสักประโยคที่ระบุ ดาวอะไรนั่น
ทรงทราบดีว่าพระธาตุของพระพุทธองค์ ไม่ใช่ดาว
แต่.....ท่านก็คงเห็นมาน้อยกว่าคุณอีกกระมัง
อยุธยาที่คุณว่าคุณเชี่ยวชาญนัก มีกล่าวไว้ตรงใหน คำนี้น่ะ
หรือว่าคุณไปเข้าเฝ้ามาเป็นส่วนพระองค์ ที่หาในกูเกิลแล้วไม่เจอประวัติ แต่จะมาเจอในเวบนี้ พิลึก

เก็บความเห่อลายทองของคุณไว้กับตัวนะ
มันไม่มีสาระทางวิชาการพอจะถกเลย เอาไปหลอกลูกค้าเถอะ
ผมไม่ซื้อครับ

แล้วคุณไม่รู้หรือ ว่า"ตู้ลายทอง" นี่ ไม่มีอะไรให้อ่าน
เป็นการรวมรูป และถอดจารึกที่มีประกอบ
หรือว่าเป็นคนละเล่มกับที่ผมรู้จัก


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 23:40
 คุณอาจจะติดใจคำนี้ ที่ข้าราชการคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว
ตั้งใจทำหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง "ตู้ลายทอง"
แล้วคุณก็คิดเองต่อว่า "ทอง" เป็นสิ่งสูงค่า ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของคุณ
แต่ถ้ามาแสดงในที่สาธารณะ ต้องถูกตรวจสอบ
*ตอบ เรื่อง "ทอง" ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเลย ใครๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นของมีค่ามาตั้งแต่โบราณแล้ว
ปัจจุบันก็ยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ บาทละหมี่นกว่าแล้ว
คุณน่าจะเคยได้ยินสุภาษิตมาบ้าง เห็นว่าเก่งเรื่องไทยๆ "มีเงินนับเป็นน้องมีทองนับเป็นพี่"
นอกจากเรื่องของศิลปะแล้ว ทองยังสะท้อนสภาพเศรษฐกิจอยุธยา คุณก็น่าจะทราบ
อีกประการ คุณแย้งมา ผมก็ต้องชี้แจงให้เข้าใจ สังคมประชาธิปไตยนะคุณ ไม่ใช่เผด็จการ
ว่างๆ ขอเชิญมาตรวจอีก

ประเด็นของผมคือ มีมรดกช่างอย่างหนึ่ง เรียกกันมาแต่โบราณว่าลายรดน้ำ
เป็นกรรมวิธีตกแต่งผิวที่วิเศษสุดอย่างหนึ่งของไทย
คุณมาสอนคนอื่นให้เลิกใช้คำนี้ คุณอ้างสิทธิ์อันใดหรือ คุณเป็นราชบัณฑิตกระนั้นหรือ
หรือแค่อ้างว่า "ผมมีโอกาสมากกว่าท่านในเรื่องการไปสำรวจในสถานที่ ที่ท่านยังไม่เคยได้ไป
และได้พบความรู้ใหม่ๆ มากกว่าในหนังสือที่ท่านเขียน หรือ เคยได้อ่านเรื่องเหล่านั้นมาก่อน"
แค่นี้คุณก็แก้ได้ตามอำเภอใจละ หรืออ้างอิงรสนิยมเห่อทองของคุณ
นี่เป็นมิจฉาทิษฐิ ที่น่าเวทนาแต่ละไว้ไม่ได้
* ตอบ ผมไม่ได้หมายให้เลิกใช้แต่บอกว่าเป็นเพียงกรรมวิธี ต้องเรียกว่า
"ลายทอง กรรมวิธี (เทคนิค) ลายรดน้ำ" ลองค่อยๆ อ่านนะ จะได้ไม่งง
สำหรับสมาชิกท่านอื่นๆ ในบอร์ด คุณแสดงความคิดเห็นได้ แต่อย่าไปดูถูกสติปัญญาเค้าสิครับ
ส่วนคุณติบอจะเชื่อหรือไม่เชื่อผม มันก็เรื่องของเค้า ไม่ใช่เรื่องของคุณ ไม่ใช่หน้าที่ของคุณที่จะมาพิพากษา


อีกอย่างคุณเองความรู้ก็น้อยนัก โลกนิติที่ผมอ้าง คุณยังไมรู้จักเลย
กล้าอ้างไปถึงพระพุทธองค์เสียแล้ว กล้าเปลี่ยนสิ่งที่เขาเรียกกันมาเป็นร้อยปี
ว่าดาวเพดาน เป็น ดาวเสด็จบ้าง เปลี่ยนคำว่าลายรดน้ำ เป็นลายทอง....เพี้ยนๆอะไรบ้าง
พอท้วงเข้า ก็บอกว่าไม่ต้องการเปลี่ยนของเก่า
*ตอบ คำว่า "ความรู้" ในความเข้าใจของคุณคืออะไร ? การดูถูกคนอื่นว่าความรู้น้อย
โดยยกตนข่มท่าน นี่ผมไม่ค่อยทำ เพราะพุทธเจ้าทรงสอนไว้ อีกประการผมนับถือพุทธศาสนา
ไม่อ้างพุทธองค์เป็นครูผม ผมจะไปอ้างพญามารที่ไหน คุณอย่าเชื่ออะไรหัวปักหัวปำ
จงใช้สติปัญญา พุทธศาสนาก็สอนไว้

พอถามว่านี่อะไร ก็ทำเล่นตัวสอนหนังสือสังฆราช...พิโยกพิเกน กล้าเปลี่ยนตำราลายไทย
ไม่รู้กี่เล่มต่อกี่เล่ม ให้มาใช้ตำราลายผ้า
*ตอบ สอนหนังสือสังฆราช ผมมิกล้าครับท่าน อยากทราบว่าลายไทยในผ้าลายอย่าง
มันโง่เง่านักหรือไง ถึงจะใช้เป็นเกณฑ์ไม่ได้ ถ้าผมไม่รู้ไม่เห็นจริงๆ ผมมิกล้ามาเถียงคุณ
หรอกครับ ถ้าพูดกันเรื่องลาย ผ้าไทยมีลายที่เป็นแบบแผนเจริญมากที่สุดในโลกแล้ว จะบอกให้เอาบุญ

ยกศัพท์อวดตุ๊กแกไปวันๆ ไม่เคยยอมรับเลย ว่าอะไรผิดอะไรถูก อย่างที่ตอบเรื่อง
จักรพันธุ์นี่คนละเรื่องกับที่ถาม ผมไม่ได้ถามเรื่องพานิชศิลป์ ผมถามถึงข้อเท็จจริง
ในประวัติศาสตร์ว่า ที่คุณวินิจฉัยมันผิด ว่าช่างเขาแบ่งกันปั้นแบ่งกันเขียน
*ตอบ ผมไม่ได้อวดตุ๊กแกอะไร สำรวจตัวคุณดูเองบ้างเถอะนะ เป็นผู้ใหญ่แล้ว พูดอะไรดูตัวเองบ้าง
อย่าให้แก่กะโหลกกะลา อีกอย่างผมได้ชี้แจงไปแล้ว คุณจะเอา อ.จักรพันธุ์ ไปเทียบกับ
สมัยอยุธยาได้ยังไง เรื่อง "ลายทอง" คุณก็ยังเก้ๆ กังๆ มาเถียงผมอยู่ได้
น่าจะเอาเวลาไปศึกษามาใหม่ แล้วค่อยมาคุยกัน

ความจริงแล้ว ถ้าคุณจะนึกออกนะ ผมไม่เคยหาเรื่องชวนทะเลาะกับคุณมาแต่ต้น
แม้คุณจะเอาราคะศิลปะของคลิ้มเข้ามาในกระทู้ขรัวอินโข่ง เมื่อนานมาแล้ว
และเมื่อคุณอ้างจักรวาลเขมรเป็นที่มาจักรวาลไทยในสาระที่ผมกำลังถกกับท่านอื่นอยู่
พอถามย้ำ ก็พบว่าไม่เคยอ่านอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน โบ้ยไปโน่น ว่าทำมาก ดีกว่าพวกอ่านมาก
นี่มันข้อแก้ตัว เราไม่ได้มาถกกันนี่ ว่าชาดอยุธยาอมเสนมากหรือน้อยกว่าลานนา
ไม่ได้ถกกันว่าตัดเส้นตาอยุธยาต้นใช้สีต่างกับบรมโกศอย่างไร
ถ้าจะถกกันเรื่องงานช่างอย่างลึก คุณก็ไปไม่รอดดอก
เพราะคุณยังอ้างความหนาของทองเป็นตัวบอกเทคนิคอยู่เลย
* ตอบ อย่านอกประเด็นครับ เอาทีละเรื่อง ผมไม่ได้อยากชวนทะเลาะอะไรเลยครับ

รูปศาลภัญชิกานี้ ถ้าคุณทำให้ชัด ผมก็คงไม่โง่แก้คำผิดดอก
แต่นั่นเป็นเพราะผมตาถั่ว ไม่ใช่เพราะผมไม่เชื่อคุณ ถ้าเชื่อคุณเห็นจะอาการหนักกว่านี้
ตอบกลับมา .ไปใหนมา....สามวาสองศอก โธ่ นึกว่าแน่
* ตอบ คุณตาถั่วเอง จะมาโทษผมไม่ได้ ผมก็บอกไปแล้วว่ารูปประสูติ
ด้วยจิตที่มีมิจฉาทิฐิ คุณก็เลยเก็บมาเถียงผมอยู่ได้ แล้วผลเป็นยังไง ?
แต่เอาเถิดคนธรรมดาสามัญยังพลาดได้ นับประสาอะไรกับนักปราชญ์
ปล. รูปจริงๆ ก็ไม่ชัด ถึงบอกว่าให้รีบไปดูกัน จะหายไปหมดแล้ว

ชี้ข้อผิดไป แทบจะทำป๊อกเก็ตบุคได้สองเล่ม
ตอบกลับมา .ไปใหนมา....สามวาสองศอก
โธ่ นึกว่าแน่
* ตอบ แล้วที่คุณอ้างมามันผิดเยอะเลยละ จะว่ายังไง อีกอย่างผมไม่ใช่
ราชบัณฑิตที่อะไรที่ไหน คนธรรมดาๆ ไม่ต่างจากคุณหรอกครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 23:48
 สวัสดีครับ คุณเทาชมพู ขอติดไว้ก่อนนะครับ
แล้วผมจะขออนุญาติมาขยายความเพิ่มเติมที่คุณถามครับ
เดี๋ยวงานไม่เสร็จครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 ก.ค. 06, 23:56
 ผ้าไทยมีลายที่เป็นแบบแผนเจริญมากที่สุดในโลกแล้ว จะบอกให้เอาบุญ
---------------
คุณรู้ใหม ว่าใครทำผ้าไทย
แล้วคุณเคยเจอผ้าพม่าหรือยัง
นี่เรายังไม่แวะไปอินเดียกับชวานะ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 ก.ค. 06, 23:58
 หารูปมาดูสิครับ เอามาเลย มาดูกัน


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 00:04
 อย่ามาหลอกคนแก่เลยน้อง ไม่รู้ก็เงียบไว้ เดี๋ยวคนรู้ดีคงมาชี้แนะ ถ้าเขาเห็นว่ามันควรแบ่งปันความรู้กัน
แต่น้องไม่รู้ใช่ใหม ว่าผ้าไทยนี่ใครทำ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 16 ก.ค. 06, 00:07
 เพ้อเจ้อหน่ะครับคุณ Pipat


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 16 ก.ค. 06, 00:09
 ผ้าไทย คนอินเดียทำมั้งครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 00:21
 เพ้อเจ้อตรงใหน เรื่องไร น้องดาว .....เอ้ยคุณโพธิ์
เดี๋ยวนี้ตอบได้แบบ ถามคำตอบคำ แล้วหรือ
ปกตินี่ ตอบเป็นไปพะเนียงนี่นา

เอางี้ เรื่องผ้า ไปถามกุนซือมาให้รู้แน่ก่อนค่อยมาเล่นสนุก
ตอนนี้กลับไปทบทวนเรื่องที่อาจารย์เทาท่านถามให้ปรุโปร่ง
ผู้ใหญ่อุตส่าห์สนใจ

แต่เตือนด้วยความหวังดีแต่ประสงค์ร้ายว่า
ตอบให้ตรงคำถามนะ จะมาโยเยโอ้เอ้อย่างเล่นกะผมน่ะ คงไม่รอดสันดอนเหมือนที่ตอบผม
ไอ้ผมก็ถามอย่างนั้นไม่เป็นเสียด้วย

แล้วก็ปิดท้ายเรื่องผ้าอีกหน่อยนะ
ว่าถ้าใช้ตำราลายผ้าอันสูงส่งไปแทนตำราลายไทยได้แล้วน่ะนะ
เอาไปศึกษาศิลปะของสุโขทัย เชียงใหม่ เขมร มอญ พม่า ชวา และจามปาด้วยได้ใหม
เห็นเขาก็มีลายแถบ ลายกรุยเชิง ลายกุดั่น ลายตาบ ...ฯลฯ
เหมือนๆกัน

ตอบไม่ได้ก็อย่าฝืนตอบล่ะ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 16 ก.ค. 06, 00:31
 จะบอกอะไรให้เอาบุญ เรื่องผ้าลายอย่าง
กรุเพื่อนผมมีมากที่สุดในประเทศไทย
เยอะกว่าในพิพิธภัณฑ์ที่คุณเห็นอีก
ชีวิตนี้เคยเห็นผ้าสมัยอยุธยาตอนต้น
หรือ ทวาราวดี มั้ย ?

คุณรู้จักผ้ามากน้อยขนาดไหนถึงจะมาคุยกับผม
ผ้าที่ผมหมายถึงนี่ ไม่ใช่ขายผ้าเอาหน้ารอด
แบบที่คุณเข้าใจเรื่อง "ลายทอง" หรอกเน้อ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 00:48
 ถามว่าทำที่ใหน
ผลิต ที่ ใหน ใครผลิต
ไม่ได้ถามเรื่องเพื่อนคุณ เขามีมากก็เรื่องของเขา ต่อให้มีผ้าป่านจากบ้านเชียง ก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องตำราลายผ้า
เกี่ยวอะไรกับคำถามผมเล่า

เอาใหม่นะ
ทวนคำถาม

น้องไม่รู้ใช่ใหม ว่าผ้าไทยนี่ใครทำ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 16 ก.ค. 06, 00:53
 ผ้าลาย ??? ผ้าลายอย่าง ???? ผ้าลายนอกอย่าง ????
อะไรเนี่ยะ ชื่อมันน่าปวดหัวดีแฮะ
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนี้อ่ะครับ ถ้าพูดเรื่องผ้าไหมยังพอไปได้ คุณโพธิ์ฯกรุณาอธิบายให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ


คุณโพธิ์ฯครับ อธิบายให้ผมฟังหน่อยนะครับ นะ นะ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 16 ก.ค. 06, 01:21
 ลุง Pipat จะเล่าก็เล่า อย่าอู้ อมพะนำ ลุงเป็นคนเปิดประเด็น ก็ว่ามา ถึงตาลุงแล้ว

สวัสดีครับติบอ ถ้าอยากรู้ ให้ลุงแกเล่าบ้าง เห็นว่าเชี่ยวชาญเก่งนักหนา วันนี้ผมโพสมามาก เหนื่อยแล้วครับ อิอิ
ขี้เกียจฟังลุงบ่น ลุงแก่แล้วให้แกเล่าก่อนเถอะครับ เปิดประเด็นไปเลยลุง กระทู้ใหม่

ผมขอตอบคุณเทาชมพูก่อนสักหน่อย จะได้ปิด "กระทู้พระราชา" สักทีครับ ^^


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 01:33
 น้องไม่รู้ใช่ใหม ว่าผ้าไทยนี่ใครทำ

คำถามนี้คงปักอกน้องไปนานทีเดียว
ก็บอกว่าไม่รู้เสียก็สิ้นเรื่อง ใครมันจะไปรู้อะไรไปเสียทุกอย่าง
นี่ถึงกับจะปิดร้านหนีเลยหรือ

ไม่เอาน่า ข้ามเรื่องผ้าไปก่อนก็ได้

มาเรื่องทองที่คุณว่าผมไม่มีความรู้ก็ได้ ตกลงคุณอ่านจบหรือยัง
ตู้ลายทองน่ะ
มีกี่ภาค
ใครเป็นคนรวบรวม
รวบรวมเมื่อไร
ตู้เก่าสุดนี่ของปีใหน
มีกี่ใบที่มีศักราช
มีการใช้ศักราชกี่ชนิด
มีจารึกอยู่กี่ประเภท
ประดับตรงใหนบ้าง
ขาหมูมีเท่าไร
ขาสิงห์มีเท่าไร
เรื่องอะไรเขียนมากที่สุด

ในนั้นมีอะไรเจ๋งนัก บอกคนตาถั่วเอาบุญที


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 01:37
 แล้วคุณรู้ใหม
ว่าทำไมหอสมุดมีตู้พวกนี้มากมายนัก
แล้วรู้ใหม ทำไมพิพิธภัณฑ์ต้องจัดนิทรรศการทุกวันเข้าพรรษา
รู้ใหม ว่าทำไมมีประเพณีถวายน้ำ และหนังสือแก่ภิกษุสามเณร
รู้ใหม ตู้ใบแรกเข้ามาได้อย่างไร

พวกนี้เกี่ยวกับตู้ลายทองเน้นๆเลยนะ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 01:40
 แล้วถ้าไม่ใช่ตู้ล่ะ
เมื่อเป็นตู้ คุณไม่เรียกตู้ลายรดน้ำ ไพล่ไปเรียกตู้ลายทอง

ทีนี้ ถ้าเป็นฉากล่ะ
เป็นฉากเขียนลายรดน้ำ ใหญ่ขนาดสี่ห้าเมตร
ไม่มีลายเลย เป็นเรื่องทั้งหมด
คุณเรียกอะไร


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 01:50
 แล้วถ้าคุณยึดมั่นทฤษฎีเห่อทอง
บานประตูหน้าต่าง
ก็ต้องเป็นลายทองเทคนิคกรรมวิธีรดน้ำดิ
ใช่ม้า...

แล้วพระเจ้าบรมโกศทรงเพี้ยนอะไร ไม่ทำประตูทอง
ดันสั่งทำบานประตูประดับมุกเบ้อเริ่มเทิ่ม
สั่งไม่สั่งเปล่า
ท่านให้ฝังมุกเป็นจารึกบอกที่มาที่ไปยาวเหยียด
เป็นสิ่งมห้ศจรรย์ทางการช่างนะ
เลื่อยตัวอักษร ลายอาลักษณ์งดงามทีละตัว
เรียงเป็นจารึกง่ะ
หนูเคยไปอ่านใหม

มีบานประตูลายทองเทคนิคกรรมวิธีรดน้ำบานใหนบ้าง
ที่หนูว่าสูงส่งเพราะเป็นทอง
ต้องเรียกเป็นลายทองแล้วห้ามเรียกว่าลายรดน้ำ

ที่มีการประกาศศักดาขนาดนี้


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 06, 01:55
เอ้า
ย้อนไปพช.เจ้าสามพระยาก็ได้

เครื่องทองที่นั่นคุณต้องว่ายอดสุดของสุดยอด อันนี้ผมไม่เถียง
แต่ถ้าทองมี่สูงส่ง
พระธาตุบรมสารีริกธาตุ เหตุไฉนไม่อยู่กับทอง
คุณรู้ระเบียบวิธีบรรจุพระธาตุใหม
ทองอยู่ตรงใหน
อยู่ตรงหัวใจของคติหรือเปล่า


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 17 ก.ค. 06, 03:37
 ผมจะตอบคำถามกับคนที่ควรตอบ เก็บคำถามของคุณไปถามเพื่อนคุณเถิด
คุยกับคุณไม่เป็นมงคลแก่ชีวิต เพราะมีลักษณะ ๓ ประการของคนพาล ทำให้เซ็ง
ต้องขออภัยคุณเทาชมพูและเพื่อนสมาชิกท่านอื่นด้วยครับ ที่ผมทำให้เว็บเสียบรรยากาศ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: Japonica ที่ 17 ก.ค. 06, 09:13
 คุณโพธิ์ครับ

ผมโพสต์เป็นความเห็นที่ 95
ขอบคุณ คุณโพธิ์ที่อุตส่าห์นำของดีๆมาให้ชม ผมรู้สึกเสียบรรยากาศกับการกระแหนะกระแหน
ตีรวนในเว็บเหลือเกิน กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ดีมาก หาชมของดีๆเช่นที่คุณนำมาลงให้ในเว็บนี้ ในที่อื่นๆไม่ได้อีกแล้ว

แต่อย่างหนึ่งที่อยากตำหนิคุณอย่างตรงไปตรงมา คุณเองเป็นคนให้กำลังใจผมว่าอย่าเสียสมาธิไปกับ
อาจมที่ใครโยนเข้ามาทำให้ตัวเราแปดเปื้อน แล้วคุณเองล่ะ ไหนแนะนำผมไม่ให้ใช้อารมณ์อย่างไร???????
คุณก็ควรมีวุฒิภาวะ คำไหนไม่ถูกหูคุณ ขอให้นิ่งซะ ถ้าเขาแรงมา แล้วคุณแรงไป เขาก็จะแรงกลับมาอีก
และมันจะแรงโต้ตอบกันไม่มีที่สิ้นสุด


ขอทีเถิดครับ....ทุกท่าน จะโต้แย้งควรคำนึงถึง "มารยาท" ให้มากๆหน่อยครับ
ตอนนี้เว็บวิชาการก็ได้ผู้สนับสนุนคือ ปตท. ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่กระทรวงการคลังถือหุ้น
มากกว่าครึ่งหนึ่ง มาเป็นผู้ให้การสนับสนุน ดังนั้นเว็บวิชาการจะต้องเป็นเสมือนเว็บ "สาธารณะ"

สิ่งใดที่เป็นของสาธารณะ ตามกฎหมาย ไม่มีใครสามารถห้ามใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ให้ใช้สิ่งนั้นๆ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเขียนไว้ชัดเจนว่า รัฐและองค์กรของรัฐจะต้องไม่เลือกปฏิบัติ หรือ
สนับสนุนให้เกิดการเลือกปฏิบัติ นั่นคือทุกท่านที่เป็นสมาชิกมีสิทธิ์ใช้เว็บบอร์ดอย่างเท่าเทียมกัน
ตราบใดที่ใช้อย่างมีมารยาท ไม่พูดส่อเสียด เพื่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในเว็บ

ไงๆขอฝาก  vTEAM ทั้งหลาย ให้ช่วยดูแลและตักเตือนสมาชิกที่ละเมิดกฎเกณฑ์อันดีงาม
เพื่อความสงบสุขของสังคมวิชาการโดยรวมด้วยครับ

เรียนมาด้วยความเคารพ เพราะผิดหวัง หดหู่และรำคาญในความไร้มารยาทของสมาชิกบางท่านครับ

***ผมเซฟไว้แล้ว เผื่อโพสต์จะโดนลบโดยไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้ลบอีก


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 17 ก.ค. 06, 11:52
 แปลกมากที่โต้ตอบกันมาถึงความเห็นที่ เก้าสิบกว่า
แล้วค่อยมาบอกว่าไม่พูดกับเอ็งแล้วล่ะ
ผมแจ้งแล้วว่าไม่อยากยุ่งกับคุณ เลี่ยงมาตั้งหลายกระทู้แล้ว

แต่ระยะหลังนี้คุณทำตนเป็นศาสดาแก่กล้าขึ้นเป็นลำดับ
สอนเรื่องผิดๆเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม เอาความรู้เพี้ยนๆมาแจกจ่าย คิดไปเองเป็นตุเป็นตะ นี่ตรงกับพระราชวินิจฉัยว่า "ซึมซาบ"
ซึ่งคุณคงไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร เพราะถ้ารู้ก็คงไม่ซึมซาบมาเป็นเวลายาวนานอย่างนี้

คุณไม่ต้องการสนทนาต่อความกับผม นั่นเป็นเรื่องประเสริฐยิ่ง
ขอให้เป็นอย่างนั้นตลอดไป
แต่ที่ผมจะแจกแจงต่อไปนั้น เป็นการแก้ไขความพิเรนทร์ทางวิชาที่คุณเสนอต่อสาธารณะ ไม่แก้ไม่ได้
และไม่ต้องการแก้ให้คุณรู้ แต่เพื่อคนอื่นๆ อีกนับพันนับหมื่น
ที่เข้ามาเก็บเกี่ยวของดีในเรือนไทย
ไม่ต้องห่วง หากผมทำอะไรไม่ดี ผิดพลาด ไม่เข้าท่า
มีคนรู้ดีกว่าผมอยู่อีกเป็นร้อยเป็นพัน ที่เมตตาจะมาแก้โง่ของผม

อย่างไรก็ดี คุณยังค้างคำอธิบายเรื่อง "ดาวเสด็จ" กับเจ้าของเรือน
ผมคิดว่าท่านคงมีมารยาทที่จะไม่ทวงถาม (แต่ถ้าทวงถามจริง ก็มิใช่ท่านไม่มีมารยาทนะครับ) จนกว่าจะเห็นผิดสังเกตจริงๆ
ผมใจร้อน จึงถือโอกาสเตือนให้ทราบ
ความรู้ที่คุณรู้ลึกซึ้งถึงปานนี้ สองวันแล้วยังไม่ตอบ จะต้องเสด็จไปดูดาวอีกกี่แห่งสถาน จึงจะกล้ามาเฉลย

ถ้าคุณไม่กล้ารับผิดชอบข้อเสนอของคุณ
คุณควรถอนตัวไปเป็นคนอ่านอย่างเดียวนะครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 17 ก.ค. 06, 19:24
 ขออนุญาติตอบข้อสงสัยคุณเทาชมพูครับ

ขอยกมือถามคุณโพธิ์ฯ หน่อยค่ะ พยายามจะเก็บความรู้เท่าที่จะทำได้

๑)รูปในค.ห. 45 คุณอธิบายวา "ดาวเสด็จ ลายเพดาน"
และในค.ห.ข้างบนนี้ "ดาวเสด็จ คือ ดาวเพดาน แต่ ดาวเพดาน ไม่ใช่ ดาวเสด็จ"
หมายความว่า ดาวเสด็จมีหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือดาวเพดาน (ที่เรียกในรูป 45 ว่าลายเพดาน)
ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ ถ้าใช่ ดาวเสด็จมีทั้งหมดกี่อย่าง อะไรบ้างคะ
*ตอบ ดาวเสด็จ หมายถึง การเคลื่อนที่ของดาวมีแสง จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง จำได้ว่ามีมากกว่า ๑ อย่างครับ

๒)คำว่า" ดาวเสด็จ"มาจากตำราของอาจารย์ศิลปะท่านใด หรือว่าเป็นคำเรียกมาแต่โบราณ หาต้นตอไม่เจอ
คือดิฉันไม่คิดว่าคุณจะบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาเองน่ะค่ะ
ถ้าทราบ ดิฉันจะได้ไปหาอ่านประดับความรู้ดูบ้าง
*ตอบ คำว่า "ดาวเสด็จ" อยู่ในตำราดูดาวสมัยอยุธยา ผมไม่ได้บัญญัติขึ้นมาใช้เอง
ต้นฉบับสมุดไทยอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีครับ

ดิฉันสนใจศัพท์นี้ในด้านภาษา ดาวเสด็จ เป็นคำประสม ครึ่งไทยครึ่งเขมร แปลตามตัวก็คือ ดาวมา(หรือไป)
จึงอยากทราบว่าลายบนเพดานที่คุณยกมาให้ดู ที่ว่าทักษิณาวรรต สังเกตจากอะไร
ดิฉันมองภาพไม่ชัด เลยเห็นว่าดวงกลมๆนั้นล้อมอยู่้้ แต่มองไม่ออกว่าเวียนขวาหรือเวียนซ้าย สังเกตจากอะไรถึงทราบว่าเป็นทักษิณาวรรตคะ
*ตอบ ผมขออนุญาติชี้แจง คุณเทาฯ ดังนี้
การโคจรของดวงดาว ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ บนฝากฟ้า กำเนิด วัน-เดือน-ปี
ข้างขึ้น-ข้างแรม น้ำขึ้น-น้ำลง ฤดูกาล ดวงดาวจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอยุธยา  
ช่างอยุธยาได้เก็บภาพความประทับใจของ "ดาว" บน "ฟ้า" มาสู่ "ดาว" บน "เพดาน"
ถ่ายทอดอย่างพุทธศิลป์ คือ สวยงามทั้งทางโลกและทางธรรม (แฝงคติธรรม)
ชมแล้วจะเกิดปัญญา อิ่มตา และ อิ่มใจ ทั้งยังสร้างสิริมงคลให้กับสถานที่และผู้ที่เข้ามา
ในพุทธสถานด้วยการประทักษิณของดวงดาวเพื่อบูชาพระรัตนไตร
( การเวียนขวา การมงคล / การเวียนซ้าย การอวมงคล )

๓)ท่ามกลางความมืด ปรากฏแสงสว่างสุกสกาวเหนือยอดไม้
พวยพุ่งลอยเด่นอยู่บนทิศเบื้องบนพระอัฐิธาตุเจดีย์
ที่ปรักหักพังกลางพงรกร้าง หรือ พระปฐมเจดีย์แสดง
ปาฏิหาริย์ มีแสงพวยออกมา นั่นแหละครับ
เรียกว่า "ดาวเสด็จ" ครับ

ปาฏิหาริย์ของพระปฐมเจดีย์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงเห็น
เป็นลำแสงเกิดจากภายในเจดีย์ ไม่ใช่แสงจากภายนอก
และไม่ใช่ดวงกลม
เรียกว่า "ดาวเสด็จ" เหมือนกันใช่ไหมคะ
ปาฏิหาริย์ที่ว่านี้ เกี่ยวกับลายดาวเสด็จยังไงคะ ในเมื่อลักษณะเป็นลำแสงพวยพุ่ง
*ตอบ เท่าที่จำได้ มีกล่าวไว้ทั้ง แสง และ ทรง ครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ค. 06, 20:03
 น่าสนใจมาก     ขอสรุปจากคำตอบของคุณ ว่าดิฉันเข้าใจถูกไหม

๑)ดาวเสด็จ ก็คือการโคจรของดวงดาว
๒)ในตำราดูดาว สมัยอยุธยา เรียกว่า "ดาวเสด็จ" ไม่เรียกว่าโคจรอย่างเราเรียกกันเดี๋ยวนี้
๓)ช่างอยุธยามองเห็น "ดาว" บนท้องฟ้า โคจร ก็เลยจำลองมาเป็นลายดาวเพดาน
๔)ดาวเพดาน มีความหมายเชิงพุทธศาสนาด้วย คือช่างวาดเป็นดวงดาวกระทำการเวียนขวา เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
๕) ปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ ที่เป็นลำแสงพวยพุ่งขึ้นจากภายในองค์เจดีย์นั้น  คือดาวเหมือนกัน  เพราะมีทั้ง "แสง" และ"ทรง"

อยากทราบรายชื่อหนังสืออ้างอิงที่คุณใช้ค่ะ
คิดว่าคงมีหลายเล่ม ทั้งด้านศิลปะไทยและตำราของพุทธศาสนา
ดิฉันสนใจว่า เรื่องดวงดาวบูชาพระรัตนตรัย มาจากตอนไหน
ในภาพข้างบนนี้ มีภาพหนึ่ง ที่บรรยายว่าเป็นดาวล้อมเดือน
ถ้าอย่างนั้นเดือนก็คือพระรัตนตรัย ใช่ไหมคะ
คติตอนนี้ได้มาจากอะไร  เป็นหินยานหรือมหายาน

ขอถามรายละเอียดต่อว่า
๑) ลายดาวเสด็จกระทำการเวียนขวาบูชาพระรัตนตรัยนั้น สังเกตจากตรงไหนของลาย
ข้อนี้ถามครั้งแรกแล้วค่ะ  แต่ดิฉันยังไม่เข้าใจคำตอบเลยขอให้ขยายความอีกที
หรือว่า เมื่อมีดาวหลายดวง  ก็ต้องถือว่าเวียนขวาโดยอัตโนมัติ  จะเวียนซ้ายไม่ได้
หรือไม่เวียน แค่ประดับรายรอบเฉยๆ ก็ไม่ได้เช่นกัน

๒) อยากทราบความสัมพันธ์ระหว่างตำราดูดาวกับลายศิลปะไทย ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนไหน   มี"หลักฐาน"แสดงความสัมพันธ์นั้นว่าช่างเขียนลายไทยได้แบบอย่างมาจาก "ดาวเสด็จ" ในตำราดูดาวยังไงบ้างน่ะค่ะ
ยังไม่ค่อยเข้าใจข้อนี้

๓)ทำไมถึงเรียกลำแสงที่เกิดจากในองค์พระปฐมเจดีย์ว่า "ดาว" ในเมื่อไม่ใช่ดาวบนฟ้า
"ทรง" ในที่นี้หมายถึงอะไรคะ? ถ้าหมายถึงรูปทรง  เป็นรูปทรงอะไรที่โยงได้ถึงดาวเสด็จ

ขอโทษที่ซักถามยาวไปหน่อย  ดิฉันไม่ค่อยรู้เรื่องศิลปะไทยมากนัก   มีโอกาสถามก็เลยถามเสียใหญ่


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 ก.ค. 06, 01:24
 อาจารย์เทาฯ ถามคำถามทิ้งไว้ ตั้งแต่ 17 กค. วันนี้ 23 เข้าไปแล้ว
เจ้าของกระทู้ยังไม่เข้ามาตอบ จะทราบหรือไม่ว่าเสียมารยาทมาก
ผมจำต้องขุดกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่ออธิบายเรื่องดาวเพดานอีกหน่อย ในฐานะที่ยกครูมาทางนี้
เมื่อมีคนอธิบายคติโบราณไปในทางที่น่าสงสัย รู้เห็นแล้วไม่โต้แย้ง น่าจะไม่ถูกต้อง
แต่สิ่งที่ผมจะพูดต่อไป ก็ใช่ว่าจะเป็นคำตัดสินเด็ดขาดนะครับ ย่อมโต้แย้งกันได้เสมอ ขอแต่ให้ใช้ข้อมูลที่เปิดเผยเข้าถึงได้ด้วยช่องทางปกติ

จะได้ถกกันสนุกหน่อย


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 ก.ค. 06, 01:32
ดาวเพดานนี่ไม่ใช่ของคิดได้สมัยอยุธยานะครับ
จะได้อ้างแต่เอกสารอยุธยาเพื่อบอกความหมายของสิ่งนี้

จริงอยู่ อยุธยา อาจจะเพิ่มเติมสาระใหม่ๆเข้าในองค์ประกอบนี้ แต่เท่าที่เราเห็นตัวอย่างมา รูปแบบที่พบ ก็ไม่ถึงกับแหกพวก
จนต้องสร้างทฤษฎีใหม่มารองรับ

อันที่จริงอยุธยานี่ มาใช้องค์ประกอบตกแต่งเพดานค่อนข้างหลังวัฒนธรรมอื่นๆ
เพราะอาคารโบสถ์วิหารรุ่นเก่า ตีเสียว่าอยุธยาต้น นี่ หลังใหญ่โตมหึมา และไม่มีที่ให้ใส่ดาวเพดานด้วย เพราะโชว์โครงสร้างหลังคาสูงลิบลิ่ว ถ้ามีเครื่องตกแต่ง ก็มองไม่เห็น

สถาปัตยกรรมที่มีเพดานพอเหมาะให้ตกแต่ง จึงเป็นพระปราง และพระมณฑป ซึ่งมีเพดานเป็นรูปจัตุรัส
เอื้อให้กับการใช้ลวดลายที่เป็นวงกลมใหญ่

วงกลมใหญ่ที่พบก็มักจะทำเป็นรูปกลีบบัว


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 ก.ค. 06, 01:38
 ในทางประติมาณวิทยา ท่านจัดบัวออกเป็นพวกใหญ่เพียงสอง
ในที่นี้ ผมจะเดินตามแนวอธิบายใน The Golden Germ: An Introduction to Indian Symbolism ของ F.D.K. Bosch
ประกอบกับความรู้ที่อาจารย์เพ็ญพรรษ์ ดำรงศิริ ผู้ล่วงลับ เคยสอนผมไว้


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 10 ส.ค. 06, 00:32
 ขอถามรายละเอียดต่อว่า
๑) ลายดาวเสด็จกระทำการเวียนขวาบูชาพระรัตนตรัยนั้น สังเกตจากตรงไหนของลาย
ตอบ ไม่มีข้อสังเกตุ เป็นอุดมคติครับ

๒) อยากทราบความสัมพันธ์ระหว่างตำราดูดาวกับลายศิลปะไทย ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนไหน
ตอบ คำตอบข้อนี้ ผมคงจะต้องค้นสมุดสมัยอยุธยาเรื่องตำราดูดาวทั้งหมด
ถึงจะทราบครับ สำหรับส่วนตัว ผมสันนิษฐานว่าจะมีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาครับ

มี"หลักฐาน" แสดงความสัมพันธ์นั้นว่าช่างเขียนลายไทยได้แบบอย่างมาจาก "ดาวเสด็จ" ในตำราดูดาว
ยังไงบ้างน่ะค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจข้อนี้
ตอบ ไม่มีหลักฐานการยืนยันที่เป็นลายลักษณ์อักษรครับ แต่มีปรากฏในงานจิตรกรรม
ซึ่งมีการใช้สีสันวรรณะขาวระบายให้ลอยเด่นอยู่ใต้พื้นเพดานวรรณะแดง
พบในเพดานอาคารและตู้สมัยอยุธยา สำหรับในสมัยรัตนโกสินทร์
ก็ยังปรากฏอยู่ แต่เปลี่ยนไปตามรสนิยมของช่าง เช่น พระวิหารวัดบางไกรใน นนทบุรี

๓) ทำไมถึงเรียกลำแสงที่เกิดจากในองค์พระปฐมเจดีย์ว่า "ดาว" ในเมื่อไม่ใช่ดาวบนฟ้า
ตอบ ข้อนี้ผมคงจะต้องขออภัยที่ยกตัวอย่างคร่าวๆ มาเปรียบเทียบครับ สำหรับ "ดาว"
อยู่ที่ไหน ก็ยังเป็น "ดาว" ครับ

"ทรง" ในที่นี้หมายถึงอะไรคะ? ถ้าหมายถึงรูปทรง เป็นรูปทรงอะไรที่โยงได้ถึงดาวเสด็จ
ตอบ สำหรับเรื่องทรง ผมหมายถึง "รูปทรง" ครับ ถ้ามีโอกาสพบกับเจ้าของสมุดเล่มที่ผมกล่าวถึง
จะถ่ายรูปนำมาฝาก เผยแพร่ให้ได้อ่านกันครับ

ขอโทษที่ซักถามยาวไปหน่อย ดิฉันไม่ค่อยรู้เรื่องศิลปะไทยมากนัก มีโอกาสถามก็เลยถามเสียใหญ่
ตอบ ด้วยความยินดีครับ แต่ต้องต้องขออภัยคุณเทาชมพูที่ตอบช้าครับ เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาว่างเหมือนแต่ก่อนครับ

ปล. ขอบคุณคุณ pipat ที่เป็นห่วงและแวะมาทวงครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: NickyNick ที่ 10 ส.ค. 06, 12:28
 อ่านเงียบๆ มานาน
แล้วก็รอฟังคำตอบ "ดาวเสด็จ" มากว่าเดือน
เห็นท่านไม่ค่อยว่าง  ก็เกรงใจ  ไม่กล้าเข้ามากวน
หากโชคดี ผมคงได้เห็นภาพในสมุดเล่มนั้นด้วยอีกคนด้วยครับ
ขออธิษฐานให้ท่านว่างๆ ไวๆ

ขอแสดงความชื่นชมท่านด้วยใจจริงครับ


กระทู้: เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 11 ส.ค. 06, 21:30
 สวัสดีครับคุณ NickyNick อย่าเรียกผมว่าท่านเลยเน้อ
อาจจะถูกตำหนิเอา ผมไม่ได้ใหญ่โตมาจากไหน
ถือเสียว่าผมเป็นเพื่อน ว่างก็แวะมาสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้
และ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทาน ผมไม่ได้มีความรู้มากมาย
อะไรเลยครับ ตอบได้เฉพาะเรื่องที่รู้ ที่ผมไม่รู้ก็ยังมีอีกมาก
ก็ได้อาศัยอ่าน พึ่งพิงจากเว็บนี้นี่หล่ะครับ ขอบคุณที่สนใจ
เรื่องที่โพสไป ผมไม่อยากให้สูญไป สำหรับท่านที่สนใจ
หากได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาฝาก จะขอบคุณมากครับ