เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: hoshimaru ที่ 03 ก.ค. 06, 13:12



กระทู้: ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
เริ่มกระทู้โดย: hoshimaru ที่ 03 ก.ค. 06, 13:12
 ดูจากอะไร และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ถือเป็นหลักฐานแบบไหนคะ


กระทู้: ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 21:21
 เกรงว่าจะผิดห้องครับ

บนเรือนไทย เราคุยกันเรื่องไทยๆ ที่คุณถามมา ผมว่าออกจะเป็นคำถามทางระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์มากกว่าเรื่องประวัติศาสตร์ วรรณคดีไทย ภาษาไทย อารยธรรมไทย และอะไรแนวที่เราคุยกัน  

ผมยอมรับว่า คืนวิชาระเบียบวิธีวิจัยฯ ให้ครูไปหมดแล้ว วิชาสถิติเบื้องต้นก็คืนอาจารย์ไปแล้ว แต่ผมเข้าใจว่าเขามีมาตรฐานของเขาที่ทำให้การสัมภาษณ์น่าเชื่อถือพอสมควรครับ แต่จำรายละเอียดไม่ได้ เช่น การออกแบบให้มีคำถามคุม ตรวจสอบกันเองในชุดคำถามหรือแบบสอบถา การสุ่มตัวอย่างผู้ถูกสัมภาษณ์จากจำนวนประชากรให้กระจายตัวพอสมควร ซึ่งเป็นเรื่องทางสถิติ และ ฯลฯ

แต่ถ้าเป็นการสัมภาษณ์คนๆ เดียว ข้อมูลเชื่อถือได้แค่ไหน ตอบกำปั้นทุบดินก็ต้องว่า สุดแต่ว่าคนๆ นั้นที่ให้เราสัมภาษณ์น่ะ เป็นคนเชื่อถืทอได้แค่ไหนน่ะสิครับ


กระทู้: ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 ก.ค. 06, 22:00
 วันนี้ได้โอกาสขัดคอคุณนิลฯ มีหรือจะปล่อยให้ผ่านพ้น
ระเบียบวิธีวิจัยว่าด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนามของแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่.......
เอ่อ.......มันเลี่ยนน่ะครับ
เป็นนักวิชาการ

ผมเป็นนักวิชาเกิน ขออนุญาตตอบว่า อาจารย์ฉัตรทิพย์แกเปลี่ยนสายงานจากนักเศรษฐศาสตร์ มาเป็นนักประวัติเศรษฐศาสตร์ แล้วมาเป็นนักประวัติเศรษฐศาสตร์ชุมชน แล้วมาเป็นนักประวัติศาสตร์ชุมชน.......
โอ้ย....ทำไมมันยุ่งนักฟะ

เอาใหม่
วันหนึ่ง แกนึกไงไม่รู้ (คือแกรู้แต่ผมไม่รู้ง่ะ)
แกก็ตั้งคำถามว่า ชาวบ้านที่อิสาน เข้าใจเรื่องกบฏผีบุญอย่างไร
แกก็เข้าหมู่บ้านเลย ไล่ถามผู้เถ้าผู้แก่ อายุร่วมร้อยหลายคน สำเร็จเป็นงานวิจัยล้ำเลิศวิชาการบานตะเกียง ชื่ออะไรก็จำไม่ได้แล้ว

สรุปว่า เดี๋ยวนี้แกเลยเดินแนวถามลูกเดียว เขาเรียกประวัติศาสตร์มุขปาฐะกระมัง
ในทางวิจัยเขาเปิดช่องไว้ให้อ้างอิงการสัมภาษณ์ได้
แฮ่ม...ผมก็เคยถูกสัมภาษณ์เหมือนกันนา...คุณนิล
ตอนสมัครงานครั้งที่สองในชีวิตน่ะครับ
แต่ไม่รู้บริษัทนั้นเอาไปอ้างอิงยังไง

ไว้จะกลับไปถามดู
ที่ตอบมานี่ ไม่ได้จะตอบคุณโอชิมารุนะครับ จะแซวคุณนิลฯเป็นหลัก

ทีนี้จะตอบคุณมารุว่า
การสัมภาษณ์เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งของการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์
มีหน่วยงานแจกเงินทำงานแห่งหนึ่ง ยอมให้มีการทำวิจัยใหญ่หลวงเรื่องแนวความคิด.x.x.x.x ของคนที่เขาคิดว่าน่าจะมีความคิดดีๆ เลือกมาหลายท่าน สมมติว่าชื่อศาสตราจารย์บื้อละกัน
หนึ่งในการเก็บข้อมูลก็คือการสัมภาษณ์อาจารย์บื้อ ว่าคิดยังไงกับเรื่องอะไรที่ท่านบื้อเขียนบทความออกมาเป็นกระตั้กนั่นน่ะ

ท่านบื้อก็ตอบไป ใส่เทปไว้เป็นม้วนๆ
คนรับจ้างก็เอาเทปไปถอดเสียงออกมาเป็นตัวอักษร
กลายเป็นข้อมูลประกอบการวิจัย
หวังว่า สักวันหนึ่งจะกลายเป็นของศักดิสิทธิ์

เหมือนเทปสัมภาษณ์อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ กับอาจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ และอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ ที่มีคนทำไว้
แต่ยังไม่มีหน่วยงานใหนเห็นว่ามันจะมีค่าอะไร