เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 06:00



กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 06:00
ทำไมจึงสนใจ  สารบัญชี

มีความสนใจตามเก็บประวัติ บุคคลสำคัญ คนหนึ่งในวงการหนังสือ ทราบแต่ชื่อตัวเดียว
ท่านมีผลงานอันยิ่งใหญ่  คือเป็นคน ทำ หนังสืออักราภิธานศรับท์

บรัลเลย์ ประกาศว่า
Dictionary
of The Siamese Language
By
D.B. Bradley
Bangkok
1873


ในใบรองปกที่ ๒   เขียนไว้ว่า
แจ้งความ
หนังสืออักราภิธานศรับท์  เปนคำไทย  อธิบายความโดยพิสดารตามภาษาไทย
ข้าพเจ้า หมอ ปรัดเลได้ให้อาจารริย์ทัด คัดแปล  แลอธิบายความตามวิธีอักษรสยามพากย์
ได้ตีพิมพ์ริมป้อมปากคลองบางกอกใหญ่  หลังวังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอจ้าวฟ้าจาตุรณรัศมี
จบลงเมื่อณวันอังคารเดือนสิบสองขึ้นค่ำหนึ่ง  จุลศักราช ๑๒๓๕  ปีรกา  เบญจศก


เมื่อพูดถึง อักขราภิธานศรับท์  ดิฉันก็พูดว่า  ของอาจารย์ทัด  เพราะอ่านว่า หมอปรัดเล เป็นผู้พิมพ์ หรือ อำนวยการสร้าง

เราไม่รู้เรื่องอาจารย์ทัดกันเลย   น่าน้อยใจนัก

ดิฉันจึงเริ่มเก็บข้อมูลเรื่อง  นายทัด   ว่าจะสืบไปเรื่อย ๆ


อยู่มาวันหนึ่ง  ได้เอ่ย คำว่า พจนานุกรมของอาจารย์ทัด  ต่อหน้าท่านผู้อาวุโสท่านหนึ่ง  ท่านพอใจมาก
สั่งว่าให้ค้นต่อไป   ไปดู สารบัญชีของกรมไปรษณีย์ ซิ


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 06:18
เหมือนสายฟ้าผ่า   วาบ
ชื่อนี้เรารู้จักนี่นา  ว่าเป็นชื่อและที่อยู่ของประชาชนเมื่อแรกตั้งกรมไปรษณีย์
แต่ไม่มีหนังสือ  คงไปอ่านมาจากหนังสือเก่าเล่มใดเล่มหนึ่ง


อีกวันสองวันต่อมา  คุณหลวงเล็ก ผู้เป็นที่นับถือคนหนึ่ง ได้เอ่ยชื่อ สารบัญชี ออกมา
จึงได้สอบถาม
คุณหลวงได้กรุณาอธิบายว่า ต้นฉบับของคุณอ้วน(ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)นำมาพิมพ์ใหม่แล้วไง สองเล่ม

อนิจจังหนังสือหมดไปแล้ว พิมพ์ ๒๕๔๑       ๑,๐๐๐ เล่ม




กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 06:35
ได้ยื่นมืออันยาวเหยียดของนางนาคพระโขนงออกไป     ได้เล่ม ๑ มาเป็นสมบัติ
เล่มสองได้อ่านแล้ว   และกำลังจะได้มาเป็นเพื่อนเล่ม ๑  ในห้องสมุดอันคับแคบยากไร้อัดแน่นแห่งนี้

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะได้สนทนากับคุณหลวงเล็ก ผู้ต้องสงสัยว่า น่าจะเป็นคนเก่าคนแก่กลับชาติมาเกิด

คุณหลวงทำท่าสงสารดิฉันอยู่พักหนึ่งว่าไปไหนมา  ทำไมไม่มี สารบัญชี


อ้าว!  ดิฉันอุทานดัง ๆ     จำได้นี่นาว่าชุดนี้มี ๔ เล่ม   มีราคาด้วย เล่มแรก ๖ บาทเอง  ราคา ๒๔๒๖ นะคะ


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 07:29
ประธานบริษัทสำนักพิมพ์ ต้นฉบับ พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒน์ เกษมศรี ได้เขียนไว้ในคำนำว่า

หนังสือชุดนี้มี ๔ เล่ม  บริษัทสำนักพิมพ์ต้นฉบับได้มาเพียงเล่ม ๑ และ เล่ม ๒ เท่านั้น

เล่ม ๑  ว่าด้วยตำแหน่งราชการ

เล่ม ๒  ว่าด้วยราษฎรในจังหวัด ถนน และตรอก


คุณชายศุภวัฒน์ เขียนไว้ว่า  "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์  กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ซึ่งขณะนั้นรับราชการเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลข จัดพิมพ์ขึ้นจากบัญชีบ้านเลขที่ในเขตกรุงเทพมหานคร 
ที่เจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์และโทรเลขได้ดำเนินการติดป้ายเลขที่บ้านและทำบัญชีไว้"


หนังสือนี้พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระเทพพลู
ประวัติหายากอีกเหมือนกันแต่พอมี
ถ้า คุณ เงินปุ่นศรี ว่างจากการงานคงจะกรุณาเขียนมาลงให้อ่านกันพอชื่นใจ


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 07:48
ตามที่อ่านมา และ จดไว้     


หนังสือชุดนี้


เล่ม ๓   ชื่อราษฎรในจังหวัด  บ้าน  หมู่  แล ลำน้ำ          ราคาเล่มละ ๕ บาท

เล่ม ๔   ชื่อราษฎร ใน จังหวัด คลอง คู แลลำประโดง   ราคาเล่มละ ๖ บาท


เล่ม ๑ นั้น  ราคา ๖ บาท
เล่ม ๒   นาคา ๕ บาท


มีขายที่ตึก ว่า กรมไปรสนีย  แล  โทรเลข   ปากคลองโอ่งอ่างแห่ง ๑   
ออฟฟิซ โทรเลข โรงภาษี แห่ง ๑    แลมีขายบ้างเล็กน้อยทุกแห่งที่ร้านไปรสนีย

ออกจำหน่ายตั้งแต่ ณ วันพฤหัสบดี  เดือนห้า  ขึ้นค่ำหนึ่ง  ปีวอก  ยังเปน เบญจศก



อ่านมาจาก จดหมายเหตุ สยามไสมย  เล่มที่ ๒ จ.ศ. ๑๒๔๕
แผ่น ๑๗  วันพุฒ  เดือนห้า  ขึ้น ๗ ค่ำ  ปีวอก
หน้า  ๑๓๙

คุณธงชัย  ลิขิตพรสวรรค์  นายกสมาคม กิจวัฒนธรรม  พิมพ์ต่ออายุ เมื่อ ๒๕๔๘
เป็นหนังสือที่ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา
สนุกด้วย


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 08:05
ขอคัดลอก  บาญชีข้าราชการ  ในหน้า ๑๙๒  มาอ่านกันพอเพลิน


กรมพระพราหมณโหราจารย์

พระมหาราชครูพิธีจางวาง(อาด)                                  บ้านตรอกหลังเทวสถาน  ที่ ๑๐๒
พระครูอัศฎาจารย์เจ้ากรม(แจ้ง)                                    "         ข้าง     "             ๔
หลวงราชมุนี(เหมือน)                                               "         หลัง                   ๒
หลวงศรีวาจาจารย์ปลัดกรม(รุ่ง)                                   "           "       "             "
หลวงสุริยาเวศ(ริ้ว)                                                  "           "       "         ๑๐๒
ขุนธรรมนรายณ์สมุบาญชี(อิน)                                     "           "       "            ๔


แล้วยังมี  พราหมณพฤฒิบาศ  ๔  ราย

กรมโหร  ๔  ราย


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 มี.ค. 10, 09:30
พราหมณพฤฒิบาศ

พระสิทธิไชยบดีเจ้ากรม(ดิด)
หลวงเทพาจารย์ปลัดกรม(แสง)
หลวงอินทฤไชยปลัดกรม(ภู่)
หลวงสิทธิเทพปลัดรองตำหรับ(สุด)




กรมโหร
พระโหราธิบดีเจ้ากรม(ชุ่ม)
หลวงโลกทีปเจ้ากรม(เถื่อน)
ขุนโชตพรหมาปลัดกรม(เสิม)
ขุนเทพยากรปลัดกรม(คำ)


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 มี.ค. 10, 08:35
         นายเวรของกรมท่ากลาง  (หน้า ๗๑)

หมื่นวิเสษอักษร(ครุด)                                       บ้านบางไส้ไก่

หมื่นวิสูทอักษร(เล็ก)                                         บ้านขุนอักษรสมบัติ

หมื่นพินิจอักษร(แดง)                                        บ้านถนนญวน

หมื่นอินท์อักษร(โพ)                                          บ้านริมคลองโอ่งอ่าง ริมวัดบพิธพิมุข(เชิงเลน)

หมื่นพิพิธอักษร(อิน)                                          บ้านวัดหงษารามในคลองบางหลวง




กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 มี.ค. 10, 08:45
        ชื่อที่เข้าแถวกัน  มีบ้านในคลอง ริมถนน ใกล้วัด     ดูมีเสน่ห์   เป็นตัวตนขึ้นมาพอหยิบจับได้

จะขอคัดลอกตามที่เข้าใจ  หรือเห็นว่าเป็นข้อมูลที่แปลก


             ล่ามฝรั่งและเสมียนในออฟฟิซ

มิศเตอร์ ดีบิ  ปรัดเล                                         บ้านปากคลองบางหลวง

ฮ้า!


มิศเตอร์ดีซา                                                  บ้านคลองบางรักษ์
มิศเตอร์ยีซู                                                    บ้านหลังบ้านกงซุลโปรตุเกศ

นายอิน
นายสน
นายฟัก
นายเทียน
นายนุ่ม
นายแยะ
นายขาว


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 มี.ค. 10, 09:11
       
                 ผู้ตรวจเงินโรงกระสาปน์สิทธิการ     (หน้า ๙๙)


หลวงกสาปน์พิภาคย์(จัน)                                    บ้านอยู่คลองวัดหงษ์ธางหลวง

ขุนนานาคมาสก(อยู่)                                         บ้านตะภานหัน



       ไม่เคยเห็นราชทินนาม  ขุนนานาคมาสก มาก่อนเลย
       ชอบจัง

       คนโบราณท่านคิดลึกซึ้ง



กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 มี.ค. 10, 11:39
ในกรมพระคลังสินค้า  (หน้า ๑๐๓)

มี  อุดมสมบัติ  สอง คนค่ะ

หลวงอุดมสมบัติ(ดัด)  บ้านในคลองบางลำภูบน  ริมวัดสังเวชวิศยาราม


และยังมี


ขุนอุดมสมบัติ(สี)   บ้านอยู่ริมวัดสุทัศ


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 มี.ค. 10, 12:00
            กรมทนายเลือกหอกขวา


ชอบราชทินนามเป็นที่สุด  จึงขอยกมาให้ดูกัน

หลวงไชยโชกชกชนะ(อั้น)                              เจ้ากรม
                                                            บ้านตรอกศาลเจ้าครุธ

(เคยเรียนถามท่านเจ้าสำนักต่อสู้ป้องกันตัวคนหนึ่ง เรื่องความยาวของหอก  ว่าดูจะสูงกว่าตัวบุคคลที่ถืออยู่
ท่านเห็นใจความอยากรู้อยากเห็นมาก  ตอบสั้น ๆ แต่ตรงกับที่คิดเอาไว้เองว่า  คนไทยตัวเตี้ยลง)

ราชทินนามนี้มีอำนาจมาก  ใครหนอช่างคิด


ขุนภักดีอาษา(นก)                                       ปลัดกรม
                                                             บ้านอยู่คลองโอ่งอ่าง

หมื่นภูมินทรโยธา(ขำ)                                   นายเปรียบมวย
                                                             บ้านตรอกหลงวังกรมพระบำราบปรปักษ์                      




อีกราชทินนามข้าราชการ ใน กรมพระตำรวจพลพันซ้าย (หน้า ๑๒๘)

จ่าโผนวิ่งชิงไชย(อิ่ม)                                     บ้านอยู่ถนนเฟื่องนคร



จ่าเผ่นผยองยิ่ง  ของกรมพระตำรวจพลพันขวา   ในเวลานั้น ว่าง


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 05 มี.ค. 10, 10:16
ผู้สนใจอ่านติดต่อหลังไมค์


ผู้อ่าน                     เจออาจารย์ทัดแล้วหรือยัง
วันดี                       อ่า...รับประทานเจอไป ๑๗ ชื่อ   ยังไม่มีแววเลยค่ะ
ผู้อ่าน                     ชักอยากรู้เหมือนกัน
วันดี                       นั่นซิคะ
ผู้อ่าน                     รู้แล้วบอกมั่งนา


วันดี                       ที่หาไว้จากที่อื่นก็อีกหลายชื่อค่ะ  เห็นแววอยู่แว่บ ๆ
ผู้อ่าน                     มีเบาะแสบ้างไหม
วันดี                      ครือว่า....อ่า....เอ่อ....เมื่อพจนานุกรมฉบับนี้พิมพ์  อาจารย์ทัดต้องอายุ ๓๐​+++
ผู้อ่าน                     อ้าว!    ไม่เด็กไปหน่อยหรือ


วันดี                      ต้องบวชเรียนมาแล้ว  (ทายแบบกวาดทั้งสนามหลวง)  แต่ไม่ได้เปรียญ
ผู้อ่าน                    อือ...นะ
วันดี                      ถ้าได้เปรียญสูงๆ  สึกออกมาก็ฟาดอย่างน้อยคุณหลวง
ผู้อ่าน                    อ๊ะ!   จริงด้วย
วันดี                      ท่านคงสึกออกมาเบียด  
ผู้อ่าน                    บวชนานก็สึกได้
วันดี                      ไม่เป็นที่นิยมค่ะ


วันดี                      ทำงานกันขนาดนี้  ต้องมีคนรู้จัก  แต่ไม่มีการบันทึก
ผู้อ่าน                    คนไทยไม่ชอบบันทึก
วันดี                      พวกโรงพิมพ์ก็ต้องรู้จัก   ก.ศ.ร. ผู้กว้างขวางก็คงรู้จัก
ผู้อ่าน                    เล่าให้ฟังด้วยก็แล้วกัน
วันดี                      ท.ป.ษ. แนะนำเชิงยุยงไว้ว่า  หาตัวได้เมื่อไร  พิมพ์ อักขราภิธานศรับท์ใหม่เลย  ฮ่ะ ๆ ๆ


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 มี.ค. 10, 09:53
ตำแหน่งทหารรักษาพระบรมมหาราชวัง

ขณะนั้นใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ขอคัดลอกรายการที่น่าสนใจ

อธิบดี  คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช    ที่ประทับ คือ  วังถนนหอกลอง

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม     ที่ประทับเดียวกัน


ตำแหน่งต่อมา คือ แอดชุแตน  หรือฝ่ายสารบรรณ
ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือ หม่อมเจ้าวัฒนา ในกรมหมื่นสิทธิสุขุมการ   ถนนหอกลองในตรอกบุหรี่  หลังวังกรมหทื่นประจักษ


ตำแหน่วต่อมา ทำให้คนอ่านยิ้มเล็กน้อย
ดิบุคติ  แอชชุแตน   Deputy Adjutant
ผู้อยู่ในตำแหน่งคือ  พัน   บ้านอยู่ปากคลองวัดพิเรนทร์  ริมวังบ้านเขมร

ตำแหน่งต่อไปเป็นที่รู้จักกันประปราย  คือ เปมาศเตอร์

ตำแหน่งต่อไป  กวอศเตอร์มาศเตอร์



กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 มี.ค. 10, 10:06
ชักจะยากขึ้นทุกทีแล้วค่ะ

ออเดอรี่ ออฟฟิเซอ
ผู้ดำรงตำแหน่งคือ ม.ร.ว. ผิว  ใน หม่อมเจ้าปรีดา  อยู่ในวังกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์  ริมหอกลอง
(ตามที่เคยผ่านตามาบ้าง  เข้าใจว่าเป็น หน่วยผู้ช่วยพยาบาล หรือ พลเตียง    ในสมัยโน้นอาจจะแปลว่าฝ่ายวินัยกระมัง   ตำแหน่งนี้ยอมแพ้ค่ะ)


แปรกมาศเตอร์         มิกล้าแปล

อินสตรัคเตอร์         
มิศเตอร์บีกริม    บ้านอยู่ห้างบีกริมกอมปนีแห่งหนึ่ง         อยู่บ้านหลวงทรงสุรเดช  ตรงหลังบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์อีกแห่งหนึ่ง


ตำแหน่งต่อไปคือ  กัปตัน  ลุดเตอร์แนน  สับลุดเตอร์แนน


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 มี.ค. 10, 10:16
นักอ่านหนังสือเก่า กวาดสายตาหยิบหยีอันคมกริบ ไปเจอ ท่านที่เคารพนับถือยิ่งท่านหนึ่ง ในหน้า ๑๓๙

ในกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์
สตาฟออฟฟิเซอร์
พระสารสาศน์พลขันธ์(สมบุญ)    บ้านตรอกพระยาเพชรพิไชย


ท่านผู้ที่อ่านสามก๊ก  อาจจะผ่านตามาบ้าง   คุณพระแต่ง สามก๊กขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง  เสร็จแล้วด้วย
ส่งไปพิมพ์   แล้วต้นฉบับสูญสลายหายตัวไป  ไม่มีใครเคยเห็นอีกเลย   


ต่อมาเห็นนามคุณพระว่าได้เป็น อนุศาสนาจารย์


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 มี.ค. 10, 06:54
บรรดาศักดิ์เดิมของ คุณพระ  คือ ขุนสุวรรณอักษร


บันทึกไว้เผื่อสหายแถวนี้ที่ชอบเก็บสาแหรกสกุล
อ้างอิง  สยามประเภท เล่ม ๑   หน้า  ๒๐๔



ข้อมูลล่าสุดในวงการหนังสือเก่า  เวลานี้มีการค้นพบ สยามประเภทเล่ม ๕ และ เล่ม ๖ แล้ว
ผู้ถือหนังสือขอปกปิดนาม



กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 10, 08:56
อ้างถึง
พระสารสาศน์พลขันธ์(สมบุญ)    บ้านตรอกพระยาเพชรพิไชย


ท่านผู้ที่อ่านสามก๊ก  อาจจะผ่านตามาบ้าง   คุณพระแต่ง สามก๊กขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง  เสร็จแล้วด้วย
ส่งไปพิมพ์   แล้วต้นฉบับสูญสลายหายตัวไป  ไม่มีใครเคยเห็นอีกเลย   


พระสารสาศน์พลขันธ์ เป็นผู้ถวายความเห็นต่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่า  ขงเบ้งใช้กวนอูไปตามจับโจโฉ หลังโจฌฉแตกทัพเรือ
ก็เพื่อให้ปล่อยโจโฉไป   นอกจากเป็นการใช้หนี้บุญคุณที่ตกค้างระหว่างกวนอูและโจโฉให้หมดไปแล้ว
ก็ยังไม่อยากจะให้โจโฉต้องถูกจับได้  ถูกซุนกวนปราบสิ้นซาก   
เพราะจะต้องรักษาโจโฉไว้เพื่อคานอำนาจกับซุนกวนต่อไป    เพราะถ้าเหลือแต่ซุนกวนก๊กเดียว  เล่าปี่คงไม่รอดจากมือซุนกวนเป็นลำดับต่อไป

เสียดายสามก๊กฉบับที่สูญหายไปมากๆ   อยากรู้ว่าคุณพระตีความสามก๊กอย่างใดอีก


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 มี.ค. 10, 10:59
ขอบคุณ คุณเทาชมพูที่กรุณามาเติมความ      สามก๊กนั้นดิฉันอ่านไม่ตลอดค่ะ  หาอ่านเป็นตอน ๆ  เพื่อนยังคบอยู่อื้ออึง

ฉบับที่หายากที่สุด  ขนาดนักเล่นหนังสือเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕  ยังบ่นกันว่าไม่มีใครมีครบ  คือสามก๊กครูสมิท
สมเด็จกรมพระยาดำรง นิพนธ์ไว้ว่า  ท่านเคยเห็นเพียงเล่มเดียว

มีความลับซ่อนไว้ในปีพิมพ์อย่างพิสดาร  เพราะพิมพ์เล่มสองก่อนเล่มแรก เนื่องจาก สามก๊กเล่มแรกของบรัดเลยังมีขายอยู่
บางเล่มก็พิมพ์ก่อนที่ประวัติศาสตร์หนังสือเก่าจะจารึกไว้  และบางเล่มก็พิมพ์ห่างกันมาก
ครูคงไม่ค่อยมีสตางค์


คงมีโอกาสนำมาเล่าในเรือนไทยในโอกาสต่อไป

นายวรรณหรือเทียนวรรณนั้น หายใจเข้าออกเป็นสามก๊ก  มักจะเปรียบเทียบตัวบุคคลเป็นตัวละครรองๆในสามก๊ก
เป็นการบังคับให้ต้อง อ่านแบบกระโดด


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มี.ค. 10, 11:51
หนังสือนี้พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระเทพพลู
ประวัติหายากอีกเหมือนกันแต่พอมี
ถ้า คุณ เงินปุ่นศรี ว่างจากการงานคงจะกรุณาเขียนมาลงให้อ่านกันพอชื่นใจ

พระเทพผลู (สิน) บ้านอยู่บางลำภูล่าง  ในสารบาญชีระบุว่าเป็นเจ้าพนักงานเก็บภาษี
ท่านผู้นี้คงรับราชการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔
ในหนังสือการแต่งตั้งขุนนางไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ระบุว่า

"ให้หลวงอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร (สิน) สมุหสรรพากรนอก  เปนพระเทพผลู เจ้ากรมกองตระเวนซ้าย  คงถือศักดินา ๒๔๐๐ ทำราชการ ตั้งแต่ ณ วันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมแมเบญจศก ศักราช ๑๒๔๕ เปนวันที่ ๕๕๐๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้"

เมื่อลองเทียบวันเดือนปีดู ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๒๖  ปีเดียวกันกับที่พิมพ์สารบาญชีกรมไปรสนีย์พอดี 

ตำแหน่ง พระเทพผลู ก่อนหน้าที่ หลวงอินทรมนตรีฯ (สิน) จะเลื่อนมาเป็นนั้น เป็นของพระเทพผลู (บัว) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งไปเป็นพระยาพิษณุโลกาธิบดีศรีสุรสุนทรอุดรนครกระเษตรานุรักษ์  อรรคมหาสยามาธิราชภักดี  อภัยพิริยปรากรมพาหุ  ผู้สำเร็จราชการเมืองพระพิศณุโลกย  ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ เมื่อ วันศุกร์ แรมค่ำหนึ่ง เดือนสาม ปีมเมียจัตวาศก ๑๒๔๔

 ;D


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 10, 12:49
พระเทพผลู คนนี้ละมัง  ที่มีการเอ่ยอ้างชื่อในกระทู้ รัชทายาทราชวงศ์ชิง 
เรียกผิดเป็นพระยาเทพหรู


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Kris ที่ 08 มี.ค. 10, 15:25
        ชื่อที่เข้าแถวกัน  มีบ้านในคลอง ริมถนน ใกล้วัด     ดูมีเสน่ห์   เป็นตัวตนขึ้นมาพอหยิบจับได้
จะขอคัดลอกตามที่เข้าใจ  หรือเห็นว่าเป็นข้อมูลที่แปลก
             ล่ามฝรั่งและเสมียนในออฟฟิซ
มิศเตอร์ ดีบิ  ปรัดเล     บ้านปากคลองบางหลวง

ฮ้า!

มิศเตอร์ดีซา            บ้านคลองบางรักษ์
มิศเตอร์ยีซู             บ้านหลังบ้านกงซุลโปรตุเกศ

นายอิน
นายสน
นายฟัก
นายเทียน
นายนุ่ม
นายแยะ
นายขาว



รบกวนสอบถามคุณวันดีซักนิดว่า
      - บ้านคลองบางรักษ์
      - บ้านหลังบ้านกงซุลโปรตุเกศ และ
      - บ้านกงศุลอังกฤษ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จริงๆ แล้วตั้งอยู่แห่งหนตำบลไหนกันแน่



กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 10, 15:32
หมื่นวิเสษอักษร(ครุด)                                       บ้านบางไส้ไก่

หมื่นวิสูทอักษร(เล็ก)                                         บ้านขุนอักษรสมบัติ

หมื่นพินิจอักษร(แดง)                                        บ้านถนนญวน

หมื่นอินท์อักษร(โพ)                                          บ้านริมคลองโอ่งอ่าง ริมวัดบพิธพิมุข(เชิงเลน)

หมื่นพิพิธอักษร(อิน)                                          บ้านวัดหงษารามในคลองบางหลวง

ขอตั้งข้อสังเกตว่า
๑   ไม่มีเลขที่บ้าน
๒   บอกชื่อถนนเท่านั้นก็รู้ว่าอยู่ริมถนนตรงไหน  เช่นหมื่นพินิจฯ บ้านถนนญวน    คือไม่ต้องบอกว่าปากทาง หรือปลายทาง
๓   บ้านที่อยู่ริมคลองก็เช่นกัน  ไม่ต้องบอกว่าเข้าไปในคลอง ลึกสักกี่เส้นกี่วา
ทั้งๆริมถนนและริมคลองก็ย่อมมีบ้านเรือนหนาแน่น
แสดงว่าบุรุษไปรษณีย์ ความจำแม่นยำจริงๆ


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มี.ค. 10, 15:55
อ้างถึง
ขอตั้งข้อสังเกตว่า
๑   ไม่มีเลขที่บ้าน
๒   บอกชื่อถนนเท่านั้นก็รู้ว่าอยู่ริมถนนตรงไหน  เช่นหมื่นพินิจฯ บ้านถนนญวน    คือไม่ต้องบอกว่าปากทาง หรือปลายทาง
๓   บ้านที่อยู่ริมคลองก็เช่นกัน  ไม่ต้องบอกว่าเข้าไปในคลอง ลึกสักกี่เส้นกี่วา
ทั้งๆริมถนนและริมคลองก็ย่อมมีบ้านเรือนหนาแน่น
แสดงว่าบุรุษไปรษณีย์ ความจำแม่นยำจริงๆ

ตามต้นฉบับสารบาญชีมีเลขที่บ้าน (ที่กรมไปรษณีย์กำหนดขึ้นเฉพาะ  ยังไม่ใช่เลขที่บ้านอย่างสมัยนี้) ที่กำหนดตามแต่ละตรอกถนนหรือลำคลอง  เลขบ้านนั้นจะต้องดูสารบาญเล่มที่ ๒ ประกอบด้วยจึงจะทราบว่าอยู่ตรงไหนของถนน ตรอก ซอย คลอง ลำปะโดง  ในสารบาญชีส่วนที่ ๒ ท่านทำละเอียดถึงขนาดว่า  เป็นลูกใคร  ที่อาศัยนั้นมีลักษณะอะไร เช่น โรงแตะ ตึก เป็นต้น (ถ้าเช่าบ้านของคนอื่นอยู่ก็บอกด้วยว่าใครเป็นเจ้าของให้เช่า)   ประกอบอาชีพอะไร  และเป็นไพร่ขึ้นสังกัดอยู่กับขุนนางคนใด  พร้อมหมายเลขบ้านตามลำดับตั้งแต่ต้นถนนถึงท้ายถนน  

คุณวันดีคงประสงค์จะนำเสนอเฉพาะข้อมูลชื่อบุคคลและตำแหน่งบ้านที่พักอาศัย   จึงไม่ได้ใส่รายละเอียดอื่นๆ ลงมาด้วยครับ ;D


กระทู้: หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 มี.ค. 10, 16:23
โธ่...หนังสือชุดนี้มี ๔ เล่มค่ะ   พิมพ์มา ๒ เล่ม  ดิฉันรับอภินันทนาการมาคือ เล่ม ๑


เพื่อประโยขน์ในการยืนยันตัวบุคคล  ดิฉันใช้หนังสืออีกเล่มที่ออกมาในปี ๒๔๗๔  แต่นั่นคือรัชกาลที่ ๗

เรื่องที่นำมาเสนอคือเหตุการณ์ต้นรัชกาลที่ ๕
ถนนหนทางและคูคลองก็เปลี่ยนไป

เรื่องที่ตั้งของสถานทูตอังกฤษนั้นมีผู้เขียนอยู่หลายท่านแล้ว  พอจะตรวจสอบได้


ขอคัดที่อยู่ของราชทูตและกงซุลต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำตั้งอยู่ ณ กรุงเทพในเวลานั้น


กงซุลอเมริกัน
มิศเตอร์ ยอน เอ ฮาลเดอร์แมน  มินิศเตอร์ เรสิเดน                         บ้านลำนำ้ฝั่งตะวันออกใต้ห้างกงซุลอังกฤษ             ๑๐(น่าจะเป็นรหัส)
มิศเตอร์ แอน เอ แมกดัน  ไวซกงซุล                                          บ้านใต้สำเหร่  ลำน้ำฝั่งตะวันตก                          ๔
มิศเตอร์ โตรี                                                                     ที่อยู่เดียวกับ ฮาลเดอร์แมน


กงซุลอังกฤษ
มิศเตอร์ปาลเครฟ เอเยน  กงซุลเยเนราลอังกฤษ                             บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออกใต้วัดแก้วฟ้า                     ๑๐
มิศเตอนิวแมน  เฮอแมเยศคี ไวซกงซุล                                        บ้านถนนเจริญกรุงนอก ที่  ๘๕๖                         ๑๐
มิศเตอร์ เฟรนช์                                                                  ที่อยู่เดียวกับปาลเกรฟ                                    ๑๐   


กงซุลโปรตุเกศ
ซินยอ เอนริเก  กงซุล                                                            บ้านใต้ปากคลองผดุงลำน้ำฝั่งตะวันออก               ๑๐
ซินยอ ฝรั่ง สิศดก  บาดแวล ซาเวีย  เสเครตารี                               ที่อยู่เดียวกัน




ดิฉันเองหาที่อยู่ของ นายน้อกซ์ บิดาของ แฟนนี  ยังไม่พบค่ะ 
และนายกูล  นักเรียนล่ามที่ทะลึ่งเข้าไปนั่งฟังการประชุมของไปรวีเคาซิลด้วยในคดี ลูกเขยฝรั่ง  ยังไม่เจอเลยค่ะ