เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141351 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 03 ม.ค. 15, 18:16

จากเรื่องของการยึดตู้ให้ติดกับผนัง และการงดหรือเลี่ยงที่จะวางสิ่งของที่ตกแล้วแตกง่ายใว้บนหลังตู้และหิ้ง   ก็มาถึงเรื่องที่อาจจะทำได้ยากสักหน่อย คือ ฝ้าเพดาน 

ฝ้าเพดานทำได้หลายรูปแบบ   สำหรับบ้านของชาวบ้านนั้นมักจะไม่มีการทำกัน  ส่วนบ้านในเมืองนั้นมักจะต้องมีฝ้าเพดานเสมอ ซึ่งมีทั้งแบบตอกยึดแน่นอยู่กับคานหรือขื่อและแบบห้อยแขวนลงมา   ที่จะเป็นอันตรายจริงๆนั้น ได้แก่ฝ้าเพดานที่ใช้แผ่น gypsum board กับโครง T bar ที่แขวนห้อยลงมาด้วยลวด    เมื่อเกิดแผ่นดินไหว โครงสร้างลักษณะดังกล่าวนี้โยกไหวไปมาได้ ซึ่งจะทำให้ตัวแผ่น gypsum หลุดจากกรอบหล่นลงมาได้

ที่ว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็ให้แหงนมองก็ด้วยเหตุดังเช่นนี้   จะอยู่ในบ้านเรือนใหน อาคารใหนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีโอกาสรับรู้การสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ก็แหงนดูกันให้พอรับรู้กันว่าอะไรเป็นอะไรเสียก่อนก็ดีนะครับ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 05 ม.ค. 15, 18:32

คงน่าจะพอสำหรับเรื่องการลดความเสี่ยงที่จะทำอันตรายต่อชีวิต ซึ่งหลักการสำคัญคือ หลุดรอดออกไปให้ได้   

ต่อไปก็เป็นเรื่องของแผนการเอาตัวให้รอดชีวิต  เป็นเรื่องของการคิดล่วงหน้าในเรื่องต่างๆทั้งมวล  ซึ่งเรื่องที่สำคัญที่สุดนั้นไปเกี่ยวกับเรื่องของทางหนีทีไล่และการสื่อสาร 

เป็นเรื่องไม่ยากครับ เพียงแต่ต้องเพิ่มความเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับสภาพและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราให้มากขึ้น   อาทิ คำถามเช่น เรารู้จักพื้นที่ในละแวกบ้านเราดีพอแล้วหรือยัง    เช่น ตรอก ซอก ซอยเล็กซอยน้อย ที่จะลัดเลาะไปสู่แหล่งกู้ชีพและยังชีพ (ถนนใหญ่ ตลาด ร้านสดวกซื้อ ฯลฯ)     และคำถามเช่น ในมือถือของเรามีเบอร์โทรฯเลข 4 ตัวกรณีฉุกเฉินครบหรือยัง หรือมีเบอร์เพื่อนหรือญาติในละแวกใกล้ที่พักหรือไม่    อะไรทำนองนี้แหละครับ 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 07 ม.ค. 15, 18:46

จะอยู่ให้รอดต่อไปอีกสักสองสามวันก็เป็นเรื่องของการเตรียมการยังชีพ ซึ่งก็คือการรวมสิ่งของจำเป็นไว้เป็นถุงเดียวกัน แล้ววางไว้ในที่ๆหยิบฉวยได้ง่าย  โดยเฉพาะการวางแถวๆใกล้ประตูทางออกบ้าน     ผมได้เห็นการเตรียมนี้ในญี่ปุ่นซึ่งทำเป็นลักษณะชุดสำหรับ 2 คน
   
สำหรับผม (ในกรณีในไทย) ก็จะเตรียมขนมเคลือบช๊อคโกแลตที่มีใส้กลาง(chocolate bar) สัก 5 อัน ที่มีขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป น้ำเปล่าขวดขนาด ครึ่งลิตร สัก 2 ขวด น้ำอัดลมหวานซาบซ่าสัก 1 กระป๋อง ปลากระป๋องที่เปิดฝาได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องเปิดกระป๋องสัก 2 กระป๋อง ไฟฉายกระบอกนึง หมวกผ้าสำหรับกันแดด ครีมฆ่าเชื้อสำหรับทาแผลและพลาสเตอร์ยา  เกลือแร่ชนิดผงสัก 2 ซองสำหรับเมื่อร่างกายเกิดการขาดน้ำ ผ้าปิดปากปิดจมูก แปรงและยาสีฟันเผื่อมีโอกาสได้ใช้ เสื้อยืดคอกลมและผ้าขนหนูผืนเล็ก มีดพับ และผ้าขาวม้า คุณผู้หญิงก็เป็นโสร่ง  (เลยทำให้ผมนึกถึงโสร่งผ้าฝ้ายเนื้อหนาของผู้ชาย ของดีของ จ.ตรัง)   
   
ของหวานๆและน้ำอัดลมนั้น ช่วยให้หายหิวและให้พลังงานแก่ร่างกายได้อย่างเหลือเชื่อเลยครับ   น้ำอัดลมกระป๋องเดียวช่วยให้เกิดความรู้สึกอิ่มรอดไปได้หนึ่งมื้อสบายๆ   

เตรียมเท่านี้ก็น่าจะพอสำหรับเอาตัวให้รอดไปได้อย่างน้อย 48 ชั่วโมงได้อย่างไม่ยากนัก       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 07 ม.ค. 15, 19:42

จากนี้ไปก็จะเข้าเรื่องว่า พื้นที่ใดควรจะเตรียมตัวในระดับใด

จะขอกล่าวเสียแต่แรกว่า เรื่องจากนี้ไปจะเป็นความเห็นของผมที่ตั้งอยู่บนฐานทางวิชาการ และบนความรู้และข้อมูลที่ผมได้ทำงานสั่งสมมาบนฐานของกลุ่มศาสตร์ที่เป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก (Tectonics)

เกริ่นไว้เล็กน้อยก่อนว่า  ประเทศไทยมิได้ตั้งอยู่ในพื้นที่หน้าด่าน บริเวณที่เป็นแนวที่แผ่นทวีปเคลื่อนที่สัมผัสกัน (subduction zone, obduction zone, collision zone, transform fault zone, divergent zone, convergent zone, spreading zone ฯลฯ)
   
ประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ๆเล็กๆที่ล้อมรอบไปด้วยบริเวณที่ได้กล่าวถึงชื่อเหล่านั้น   ซึ่งแรงจากการเคลื่อนที่และลักษณะการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามลักษณะดังที่กล่าวมานั้น ได้ส่งแรงเข้ามาถึงในพื้นที่ประเทศไทย ทำให้เกิดการปรับตัวของพื้นที่ เกิดเป็นชุดโครงสร้าง (geologic structures) ในรูปแบบต่างๆกันของแต่ละช่วงกาลเวลา    ซึ่งจะมีชุดโครงสร้างที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวลักษณะต่างๆกันในพื้นที่ต่างๆ ที่จะได้กล่าวถึงต่อไป

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 19:13

ย้อนกลับไปดูข้อเท็จริงอีกสักนิดนึง

แผ่นดินไหวที่เกิดในพื้นที่รอยต่อของแผ่นเปลือกโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ระหว่างแผ่นดินกับพื้นท้องมหาสมุทรนั้น จัดได้เป็นกลุ่มของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีอัตราการทำลายล้างสูงมาก คลื่นแผ่นดินไหวกระจายไปได้ไกลมาก (หลายร้อยกิโลเมตร)  ซึ่งในด้านความเสียหายนั้น แม้จะส่อว่าจะเป็นการทำลายล้างที่น่าสะพึงกลัวและกระจายเป็นพื้นที่กว้างมาก แต่จริงๆแล้วมันก็มีพื้นที่ของการทำลายที่จำกัด   

แผ่นดินไหวจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกแบบมุดกันที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นจนเกิด tsunami ขนาดใหญ่ หรือแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิด tsunami ถล่มชายฝั่งของไทยเรา ซึ่งต่างก็จัดว่าเป็นประเภทแหล่งเกิดแผ่นดินไหวที่อันตรายมากๆนั้น ก็มีวงพื้นที่ของการทำลายที่จำกัด  ดังภาพที่เราเห็นทั้งในญี่ปุ่นและในอินโดนีเซียก่อนที่จะเกิดน้ำทะเลทะลักเข้ามาท่วมจนเสียหายหมดนั้น จะเห็นว่าบ้านเรือนต่างๆยังอยู่ในสภาพที่ไม่พังจากการไหวแบบหนักๆ

ดังนั้น เรื่องแรกที่พึงสบายใจก็คือ รายงานแบบทันใจเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่เกิดในที่ต่างๆในโลกเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจใดๆกับมัน ยกเว้นว่าคุณจะมีความต้องการและความรู้ที่จะใช้ข้อมูลนั้นๆเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ  จะยกเว้นก็ในเขตพม่าและลาวเท่านั้นที่อาจส่งผลการไหวเข้ามาในเขตประเทศเราและสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 19:27

แผ่นดินไหวในพม่าและพื้นที่ลาวตอนบนถูกจัดเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดแผ่นดินไหวประเภท super earthquake zone (คือระดับมากกว่า 7 ริกเตอร์)  แท้จริงแล้วมีเกิดในระดับนี้อยู่หลายครั้งที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์  แต่ที่กระทบไทยจริงๆก็ดูจะมีบันทึกอยู่เพียงครั้งเดียวที่เกิดในพม่า คือ ในครั้งที่ทำให้เจดีย์หลวงในเมืองเชียงใหม่พังลงมา ซึ่งก็พังในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดในพุกาม  (และดูเหมือนจะหักลงไปในทิศทางเดียวกันกับบรรดาเจดีย์ในพุกามอีกด้วย)   

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 18:54

สำหรับพื้นที่ๆต้นกำเนิดแผ่นดินไหวในเขตประเทศไทยเรานั้น  ในภาพกว้างๆแล้ว เกือบจะกล่าวได้ว่า จำกัดอยู่พื้นที่ๆเป็นป่าเขาทางเหนือและทางตะวันตกของประเทศ  สำหรับพื้นที่ภาคกลางและภาคอิสานเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มี ยกเว้นตามแนวชายน้ำโขงที่ไหลเป็นทางตรงในพื้นที่ของ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

....และจากนี้ไป ก็ขอความกรุณาอย่ามโนต่อไปในทางที่เลวร้ายและในทางลบต่างๆ ซึ่งจะทำให้ไปสร้างความกังวลและความกลัวให้มันเกิดขึ้นมารบกวนหลอกหลอนอยู่ในจิตใจของเรานะครับ....

ใจเย็นๆนะครับ ค่อยๆอ่านไปนะครับ มันไม่ได้มีอะไรเลวร้ายปานนั้นเลย   ผมหยุดชะงักไปก็เพราะเหตุนี้แหละครับ และก็ด้วยเหตุที่ว่ามันเป็นเรื่องที่สร้างสภาวะจิตใจในทาง pessimistic นี้แหละ เลยต้องหยุดคิดเป็นระยะๆว่าจะต้องระวังในการเขียนและเดินเรื่องอย่างไร
   
ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา  พยายามเล่าเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ก็เพื่อจะทำให้ได้พอมีความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ลดความหวาดกลัวกับเหตุการณ์ธรรมชาตินี้ อยู่อย่างมีความพร้อม และอยู่อย่างมีความสุขอันพึงมีกับมัน ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 19:16

เมื่อวันที่่ 11 มค. ได้เกิดแผ่นดินไหวที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ขนาด 3.1 ริกเตอร์   ผมไม่ทราบพิกัด แต่คิดว่าน่าจะอยู่ในพื้นที่ตามร่องแม่น้ำแควน้อย  ที่น่าสนใจสำหรับผมไปอยู่ที่ว่า พิกัดนั้นอยู่เหนือเขื่อนหรือใต้เขื่อน ซึ่งจะมีข้อวิเคราะห์และคำอธิบายต่างกัน   แต่ประการสำคัญ อย่าคิดเลยเถิดไปไกลขนาดว่าเขื่อนจะพังหรือไม่

ครับ ก็เกิดเหตุพอดี ก่อนที่ผมจะก้าวเข้าไปในเรื่องของพื้นที่แหล่งต้นกำเนิดแผ่นดินไหวในไทย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 19:37

เริ่มเรื่องให้พอเป็นเชื้อเล็กน้อยครับ 

   พื้นที่ๆมีพุน้ำร้อนในไทย เป็นพื้นที่ๆมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้       ส่วนเรื่องของขนาด (magnitude) และความรุนแรง (intensity) นั้น ค่อยๆมาพิจารณากันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 19:58

ได้ข้อความข้างล่างนี้ส่งมาทางไลน์   ลงวันที่ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว  น่าจะเป็นตัวอย่างของข่าวลวงที่ทำให้เกิดความวุ่นวายโดยหาตัวผู้รับผิดชอบไม่ได้     
คัดลอกมาลงกระทู้ให้คุณตั้งอ่านอีกคนค่ะ   เผื่อจะมีความคิดเห็นบ้าง

***************************

ช่วยกันติดตามข่าว เรื่องปากปล่องภูเขาไฟ แถวหาด วนกร ด่วน ๆ
สังเกตุเหตุแปลก ๆ ในท้องทะเลอ่าวไทยอย่างเดียวแล้ว
พิกัดที่ด้ามขวานหัก
*******************
บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 340-344 บนถนนเพชรเกษม
เป็นพิกัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
ตรงกับบริเวณชายหาดที่ติดทะเลด้านอ่าวไทย
ชื่อว่า "หาดวนกร"

บริเวณนี้อยู่ไม่ไกลจากจุดที่ดาวเทียมค้นพบ
สิ่งที่ตั้งสมมติฐานว่าจะเป็นปากปล่องภูเขาไฟในอนาคตอันใกล้
โดยสังเกตจากเถ้าถ่านลาวาซึ่งถูกพ่นผ่านขึ้นมาตรงจุดนั้น
มันจะเป็นภูเขาไฟขนาดไม่เล็กเลย
ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกกำลังจับตามองอยู่อย่างไม่กระพริบ

สิ่งที่จะเป็นเครื่องบอกเหตุว่า.....
ภูเขาไฟลูกนี้ปะทุแน่นอน มีหลายสัญญาณ

1.จะมีปลาและสัตว์ทะเลน้ำลึก พากันตายหมู่ และหนีตายเข้าหาฝั่งเป็นจำนวนมากอย่างผิดสังเกต

2.จะมีแผ่นดินไหวโดยมีจุดศูนย์กลางการสั่นสะเทือนบริเวณท้องทะเลอ่าวไทย ซึ่งจะมีผลด้านการเกิดพิบัติภัยนี้ต่อประเทศไทยในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดภาคใต้ที่อยู่รายรอบอ่าวไทย สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์.....

3.จะมีสตอร์มเสิร์จ คลื่นสูงในอ่าวไทย แล้วซัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเลโดยรอบอ่าวอย่างรุนแรงผิดปกติบ่อยครั้ง นับต่อแต่นี้ไป

4.ถ้าจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ก่อนการปะทุของภูเขาไฟ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นกลางดึกหลังสองยามไปแล้ว.... และก่อนหน้าวันเวลาที่จะเกิดเหตุร้าย ให้คอยสังเกตปะการังสีน้ำเงิน ที่ช่างเท็คนิกจะส่งมาจากท้องทะเลลึกสู่บริเวณชายหาด ตรงพิกัดที่ระบุไว้ในแผนที่ เพื่อเตือนภัยและยืนยันการเกิดภัยพิบัติดังกล่าว

ขอทุกท่านจงอย่าประมาท
ผู้คนในท้องที่จงหมั่นตรวจตราเฝ้าสังเกตสัญญาณทั้งสี่
ที่เรากล่าวมาข้างต้นนั้นกันให้รอบคอบไว้
จงอย่าได้กังวลใจ
ก่อนเกิดเหตุร้าย...รุนแรง....จะมีการสื่อสัญญาณเตือนก่อนเสมอ
เอเมน...

ป.วิสุทธิปัญญา
20-08-2014
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 18:22

เห็นคำปิดท้ายของข้อความ ก็ถึงบางอ้อ ทำให้เข้าใจได้ในข้อมูลและเรื่องราวที่กล่าวว่าได้ตั้ง "สมมุติฐานว่าจะเป็นปากปล่องภูเขาไฟในอนาคต..."

ในอ่าวไทยมีมวลน้ำอยู่ 2 วง (ไม่นับวงใน ก.ไก่ ของอ่าวไทยตอนบน)  มวลหนึ่งที่อยู่ติดกับ ก.ไก่ หมุนทวนเข็มนาฬิกา อีกวงหนึ่งอยู่ต่ำลงไปหมุนตามเข็มนาฬิกา  พื้นที่บรรจบของสองมวลน้ำนี้อยู่ในพื้นที่แถวๆ จ.ประจวบฯ   ก็คงเป็นแหล่งที่สมบูรณ์ด้วยแพลงตอน จึงได้มีฉลามวาฬเข้ามาหาอาหาร เป็นที่สนใจของนักนิยมอนุรักษ์ที่จะไปเฝ้าดูกัน  ฉลามวาฬกินแพลงตอนเป็นอาหาร ตัวขนาดนั้นและปากขนาดนั้นของมัน ก็คงพอจะเดาออกได้ว่า กว่าจะอิ่มได้จะต้องการแพลงตอนในปริมาณเพียงใด   

แพลงตอนเป็นพวกสิ่งมีชีวิตประเภทใช้ชีวิตลอยไปตามมวลน้ำและอยู่ใกล้ผิวน้ำ (pelagic organism)    ไว (ขยายพันธุ์และตาย) ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของน้ำ   ปริมาณ หรือจำนวน หรือความหนาแน่นสมบูรณ์ของมัน ณ พื้นที่ใดๆ เกี่ยวพันกับการหมุนเวียนของมวลน้ำในแนวตั้งอีกด้วย (มวลน้ำหมุนระหว่างส่วนลึกกับส่วนตื้น) การหมุนเวียนของมวลน้ำในแนวตั้งนี้ เป็นการนำสิ่งที่จำเป็น (โดยเฉพาะพวกฟอสเฟต) ต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของสัตว์ทะเลประเภท pelagic     

ปลาหลากหลายชนิด ต่างก็อยู่ในห่วงโซ่อาหารข้อใดข้อหนึ่ง (ง่ายๆก็คือ ในหลักปลาใหญ่กินปลาเล็ก) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 18:50

ถ้าอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม แพลงตอนหายไป ปลาต่างๆก็หายไปด้วย   เนื่องจากปลาส่วนมากเป็นพวกสัตว์ที่ไม่หากินใกล้ผืนท้องทะเล (Benthic animals) มันก็จะตามหาแหล่งที่กินที่อาศัยในผืนทะเลอื่นๆต่อไป  มันคงไม่คิดเข้ามาในเขตน้ำตื้นชายฝั่งเพื่อเกยตื้นตายเพราะไม่มีอะไรจะกิน
ในกรณีพื้นทะเลร้อนเพราะมีลาวาไหลออกมา หรือเพราะมี hot spot ที่จะทำให้เกิดภูเขาไฟ   ปลามันคงว่ายออกไปในพื้นที่ทะเลกว้าง คงไม่ยอมร้อนตายเป็นแน่   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 19:24

ภูเขาไฟกับแผ่นดินไหวเป็นของคู่กันแน่ๆ   

ภูเขาไฟ เป็นเรื่องของการระเบิดพ่นหินหลอมละลายสูงออกไปในอากาศ  ได้ของที่ตกลงมาเป็นก้อน (Blocks, Bombs, Debris) เป็นเถ้าถ่าน (Ashes, Pyroclastic materials) เป็นหินที่ลอยน้ำได้ (Pumice) เป็นหินที่เป็นแก้วสีดำ (Obsidian) ฯลฯ   ส่วนที่ไม่ถูกพ่นออกไปก็เป็นหินหลอมเหลวที่ไหลเป็นทาง (Lava flow) ลงสู่พื้นที่ต่ำ
 
แล้วก็มีวิธิการคายเอาหินหลอมละลายหรือลาวาออกมาสู่ผิวโลกในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมิใช่เป็นการพ่นออกมาแบบภูเขาไฟหรือต้องมีรูปทรงเป็นภูเขาไฟ  เรียกว่า Fissure eruption คือไหลออกมาตามรอยแตกรอยแยกบนผิวโลก คล้ายกับที่เกิดอยู่ใต้ผืนท้องทะเลบริเวณ mid oceanic ridge

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 20:07

หินหลอมละลายเกิดในพื้นที่ๆมีอุณหภูมิมากว่า 1300+ องศา C  เรียกหินหลอมละลายนี้ว่า magma   ด้วยความร้อนของมัน มันก็จะค่อยๆละลายเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ หาทางขึ้นไปโผล่ที่ผิวโลก การเคลื่อนตัวของมันนี้ ตรวจจับได้ด้วยเครืองมือตรวจจับแผ่นดินไหว (seismograph) ซึ่งเป็นลักษณะของการสะเทือนแบบสั่นเป็นช่วงๆ เป็นระยะๆ (tremor) และมีตำแหน่งต่อเนื่องกันเป็นเส้นทาง (ก็คือที่แผ่นดินไหวขนาดเล็กที่มีตำแหน่งเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันเป็นเส้นทาง)  มิใช่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ประเภทกระทบเป็นพื้นที่กว้าง

วิธีการหนึ่งของการตรวจว่าภูเขาไฟใกล้ถึงจุดจะระเบิดหรือยัง (ใกล้ผิวดินมากน้อยเพียงใด) ก็ใช้เรื่องของแผ่นดินไหวนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 18:12

สำหรับเรื่อง storm surge นั้น   เป็นปรากฎการณ์ในบริบทของเรื่องของดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นผลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความกดอากาศ

ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของเรื่องภูเขาไฟและ storm surge นี้ มีความต่างกันของกระบวนการทางธรรมชาติที่ทำให้มันเกิดขึ้น  อาจจะมาเกี่ยวพันกันได้ ก็คงจะต้องเป็นช่วงเวลาหลังจากเกิดการปะทุของภูเขาไฟแล้ว

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง