เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 18922 หิมะแรก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 09 ธ.ค. 05, 00:23

 ขอเล่าให้ฟังสำหรับคนที่ยังไม่เคยมาเมืองหนาวแบบนี้  คืออาจจะเคยไปเมืองหนาวแบบอื่น
คืออุณหภูมิอากาศ กับที่เรารู้สึกว่ามันหนาวแค่ไหน  มันเป็นคนละเรื่องกัน

อุณหภูมิอากาศที่วัดได้  สมมุติว่า คือ 1 องศา ซ.  แต่เขาจะมีอุณหภูมิแบบ feel like เตือนชาวบ้านไว้ให้รู้กันด้วย  ว่ามันอาจจะเป็น - 10 องศา ซ. ก็ได้
เพราะอาจมีตัวแปรอื่นมาทำให้หนาวกว่าที่วัดได้ เช่นมีลมแรง   มีหิมะในช่วงละลาย
ตัวแปรนี้เองทำให้ผู้คนที่เดินยิ้มออกจากบ้านว่าหนาวแค่ 1  อาจจะหยุดยิ้ม  
เพราะเจอความรู้สึกว่ามันหนาวมาก ระดับ -10
อย่างหลังนี่แหละหนาวจริง

อย่างวันนี้ อุณหภูมิอากาศ เขาบอกว่าต่ำสุดแค่ -7 แต่ตอนนี้มัน feel like -19 เข้าไปแล้วละค่ะ
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 09 ธ.ค. 05, 09:15

 เมืองมหาวิทยาลัย เช่น Greeley นี้ ช่วงซัมเมอร์ มันจะเหงาจับจิตเลยไหมค่ะ
นึกถึง Campus center และ groceries ร้านรวงในเมืองบางแห่ง คงโหรงเหรงถนัดตา ยามนักเรียนกลับบ้าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 09 ธ.ค. 05, 10:21

 เมืองเล็กๆของที่นี่มักจะมีคนน้อยอยู่แล้วค่ะ   ไม่คึกคักไม่ว่าฤดูไหน
ชาวบ้านเขาอยู่กันเงียบๆ    ความสนุกของเขาอยู่ในบ้าน ไม่ออกนอกบ้านอย่างคนไทย
คนไทยที่ไม่เหงาก็คือจับกลุ่มรวมกันในหมู่นักเรียนไทย   ถ้าใครอยู่คนเดียวก็เหงาหน่อย
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 09 ธ.ค. 05, 23:40


.
I wanna say hello and give you a fun cartoon to brighten your BIG day.
(Just away from home and no Thai fonts ka.)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 05:44

 เมืองที่ดิฉันอยู่  ถ้าในสายตาดิฉันเรียกว่าเมืองเล็ก  เพราะเนื้อที่แค่ ๓๐ ตารางไมล์  ประมาณอำเภอเมืองนครปฐมเห็นจะได้  ไม่ใหญ่ขนาดเท่าจังหวัดทั้งจังหวัด  
ขับรถผ่ากลางเข้าไปในเมืองจากเหนือลงใต้ หรือต.อ.ไปต.ต.  ไม่ถึง ๑๐ นาทีก็ผ่านหมดเมือง
ประชากรมีประมาณแปดหมื่นคน   เป็นฝรั่งผิวขาวเกือบ๗๐% อีก ๒๙% เป็นพวกฮิสปานิค  หรือพวกเชื้อสายเมกซิกัน ที่คนไทยเรียกว่าพวกแม็ค
ที่เหลืออีกนิดหน่อยก็พวกเชื้อสายอินเดียนแดง เอเชีย ส่วนพวกผิวดำมีน้อยมาก ไม่ถึง ๑%
ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน ตั้งครอบครัวแล้ว  หนุ่มสาวในเมืองคือพวกเรียนในมหาวิทยาลัยเสียส่วนใหญ่

เป็นเมืองตั้งอยู่ในแอ่ง  คือต่ำกว่าภูมิประเทศโดยรอบ  แต่ความที่มันกว้างก็เลยไม่รู้สึกว่าเราอยู่ในก้นกระทะ   ส่วนที่ดีคือหิมะน้อยกว่าเมืองหลวงที่อยู่บนขอบกระทะ  
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 11:45


.
บันทึกการเข้า
เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 00:33

 สวยงามมากๆ เลยครับ
บันทึกการเข้า

เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 00:42

 ปีนี้ค่อนค่างแปลกครับ เชียงใหม่ยังไม่ค่อยหนาวเลย (+น้ำท่วม 4 รอบ)
รักษาสุขภาพดีๆ นะครับ อ.เทาชมพู
เห็นแล้วหนาวครับ
บันทึกการเข้า

Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 03:40


.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 08:38

 รูปงานรับปริญญาคงจะต้องคอยอีกหลายวัน เพราะว่าดิฉันไม่มีสายต่อจากกล้องเข้ากับคอมพ์  มันหายไปไหนไม่ทราบ
ต้องไปซื้อเครื่องสำหรับเอาภาพในกล้องลงซีดี แล้วเปิดดูในคอมพ์
แล้วก็เซฟลงอีกทีก่อนจะมาย่อลงในกระทู้   ขั้นตอนยุ่งยากหน่อย  

วาดภาพตามไปด้วยพลางๆก่อนนะคะ

งานรับปริญญาจัดในตอนค่ำ ทุ่มหนึ่งของวันศุกร์ที่ ๙   ปีก่อนๆ ในฤดูหนาว เขาจัดกันในซิตี้ฮอลล์ของเมือง   แต่ปรากฏว่าญาติมิตรของบัณฑิตแห่กันมาเต็มล้นเนื้อที่ห้อง  ปีนี้เลยย้ายมารับในยิมเนเซียมของมหาวิทยาลัยแทน

บรรยากาศงานรับปริญญาของคนอเมริกันไม่เหมือนไทย   ของเรามีพิธีรีตองดูขรึมขลังเอางานเอาการมากกว่า   ของเขาค่อนข้างตามสบาย ไม่มีพิธีมากเท่าเรา
แต่จะว่าไม่มีเสียเลยก็ไม่ใช่   เขาก็มีพิธีของเขาเหมือนกัน

ค่ำวันศุกร์เป็นวันที่หนาวจัดวันหนึ่ง   หิมะยังขาวโพลนกองอยู่ข้างทาง ไม่ละลาย  
สี่โมงครึ่งก็พลบค่ำแล้ว พอห้าโมงก็มืดสนิทเหมือนสามทุ่ม

ต้องฝ่าความหนาวเฉียบเย็นจมูกเย็นหู ไปที่ University Center  ไปกินดินเนอร์กับ Board of Trustees และผู้บริหารมหาวิทยาลัย   เขาเลี้ยงให้เป็นเกียรติในฐานะเป็นคนเดียวที่ได้ปริญญา(สาขา)นี้ในปีนี้
ที่ได้มา เรียกว่า Doctor of Humane Letters  
Humane อ่านว่า ฮิวเมน  คนละคำกับ Human  นะคะ

ดินเนอร์เสร็จ  ก็ออกจาก U.C. ตรงไปที่ยิมเนเซียม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 08:46

ใครที่จบปริญญาตรี โท หรือเอกจากอเมริกาอาจจะเคยผ่านวันรับปริญญาในยิมเนเซียมมาแล้ว   ขอฉายซ้ำอีกที  เผื่อสำหรับคนที่ยังไม่เคยเห็นน่ะค่ะ

เขาจัดเก้าอี้นั่งเอาไว้เป็นแถวหลายแถว เท่ากับจำนวนบัณฑิต    วันที่รับมีแต่บัณฑิตปริญญาโทและเอก  มีน้อยหน่อยไม่เกินร้อย  ปริญญาเอกมีสิบกว่าคนได้ นั่งอยู่แถวหน้าสุด
ส่วนปริญญาตรีที่มีเป็นพัน  รับอีกวันหนึ่ง

ญาติมิตรครอบครัวเข้าเป็นสักขีพยานด้วยการนั่งอยู่บนอัฒจันทร์ทั้งสองฟาก    นั่งกันตามสบายตรงไหนก็ได้  ถ่ายรูปก็ได้   เวลาบัณฑิตที่เป็นคนในครอบครัวเดินขึ้นเวทีรับใบปริญญาบัตร  ก็จะมีเสียงเชียร์โห่ร้องมาจากหน้าม้า  
บัณฑิตบางคนก็หันไปโบกมือหัวร่อร่าให้เสียอีก  ไม่มีใครถือเป็นเรื่องผิด  เป็นเรื่องธรรมดาของพวกเขา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 08:53

 เมื่อถึงเวลาหนึ่งทุ่ม  เขาก็มีพิธีการ คณาจารย์เดินเรียงแถวเข้ามาในห้องประชุม พร้อมด้วยเสียงเพลงกระหึ่มเป็นสัญญาณ
มีอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ ถือคธาเดินนำหน้า  ทุกคนสวมเสื้อครุยและหมวก   และมีตัวแทนของแต่ละคณะ (college) ถือธงคณะเดินมาเป็นคู่ๆ
ธงของเขาไม่ใช่ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าโบกสะบัดพลิ้วไสวอย่างธงชาติ  แต่เป็นผืนผ้าสี่เหลี่ยมยาวห้อยลงมาจากเสาสูงที่เขาถือมา  หน้าตาเหมือนธงในหนังอัศวินยุคกลาง
แล้วเดินขึ้นเวทีอย่างเป็นระเบียบ  นั่งลงตามที่ที่เขาเขียนชื่อไว้
ต่อจากนั้นก็มีอาจารย์ที่สอนใน Music Department มาร้องเพลงเป็นต้นเสียงเพลงชาติอเมริกัน  ทุกคนก็ลุกขึ้นยืนให้ความเคารพ วางมือทาบบนหน้าอก   บางคนก็ยืนเฉยๆ  แต่ไม่มีใครไม่ยืน
กรรมการสภามหาวิทยาลัย (Board of Trustees) ก็เริ่มกล่าวต้อนรับบัณฑิต  และอธิการบดีกล่าวปราศรัย
แนะนำ Guest Speaker ที่เชิญมาในการนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 09:15

 Guest Speaker ที่รับเชิญมาแต่ละปี มีไม่ซ้ำคนกัน   มหาวิทยาลัยเลือกจากบุคคลที่มีชื่อเสียง มีผลงานเป็นที่ยอมรับ  หรือได้รางวัลดีเด่นอะไรสักอย่าง
เพื่อมากล่าวสุนทรพจน์ แสดงความยินดี ให้กำลังใจและให้โอวาทกับบัณฑิต
ปีนี้ G.S. เป็นบ.ก.หนังสือพิมพ์ใหญ่ของรัฐ  เคยได้รางวัลด้านสื่อมวลชนมาแล้ว   เป็นหนุ่มใหญ่ผิวสี บุคลิกดี ดูคล่องแคล่ว ช่างพูดช่างจา สังคมเก่งสมกับทำงานกับมวลชน
ขอเรียกชื่อเขาสั้นๆว่าคุณเกร๊ก
คุณเกร๊กสูงกว่าดิฉัน มากกว่าหนึ่งไม้บรรทัด   เวลานั่งพูดกันยังต้องแหงนหน้ามอง     ไม่ต้องพูดถึงเลยเวลายืน รู้สึกว่าอยู่แค่สะเอวแกเท่านั้น

คุณเกร๊กพูดไม่ยาวนัก ประมาณ ๕ นาทีกว่าๆ หรืออย่างมากก็ไม่เกิน ๑๐ นาที
เล่าถึงประวัติตัวเขาเองนิดหน่อยเพื่อโยงเข้าสู่ประเด็น  คือการให้ข้อคิดบัณฑิตใหม่

ดิฉันสังเกตอยู่อย่างว่า คนอเมริกันเวลากล่าวสุนทรพจน์ มักจะขาดคำคม หรือ quotation เสียมิได้    เขาจะต้องอ้างอิงคำพูดคมๆของบุคคลสำคัญอยู่อย่างน้อย ๑ คน  เพื่อเป็นการสนับสนุนประเด็นที่เขาพูด
และอย่างที่สองคือคนอเมริกันเวลากล่าวอะไร มักจะออกมาในรูปของการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ฟัง   ทำให้คนฟังรู้สึกว่าตัวเองมีศักยภาพ  มีความสามารถที่จะทำชีวิตให้ดีขึ้น  
และที่สำคัญคือทำสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยจากศักยภาพนั้นๆ  

คนฟังจะรู้สึกว่า มนุษย์นั้นมีคุณค่า  มีประสิทธิภาพกันทุกคน   ขึ้นอยู่กับว่าใครจะดึงเอาส่วนที่ดีของตนเองออกมาพัฒนาให้คุ้มค่ากับที่เกิดมาและได้เติบโตมาจนถึงวันนี้   เมื่อเกิดความภูมิใจในตัวเอง  ก็เป็นแรงผลักดันให้ทำประโยชน์เพื่อสังคมต่อไป   เขาจะไม่ให้คิดเพียงแค่ทำตัวเองให้ดี   แต่ทำตัวเองให้ดี...เพื่อทำสังคมให้ดี

คุณเกร๊กยกคำคมของนโปเลียนขึ้นมากล่าวว่า I was born to change the world.  
เขากล่าวต่อไปว่า บัณฑิตทุกท่านในที่นี้ก็สามารถพูดเช่นนี้ได้   ทุกคนสามารถตั้งปณิธานเช่นนี้ได้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองไปสู่จุดนี้ได้
(คือจริงๆจะทำได้หรือไม่ได้มันเป็นอีกเรื่อง   แต่การสร้างสำนึกว่าทำได้ ก็เป็นกำลังใจที่ดีว่า คนเรามิได้เกิดมา เพื่อไม่ก่อความเปลี่ยนแปลงใดๆแม้แต่จุดเดียวในโลกใบนี้  ถ้าเป็นยังงั้นก็ไปเกิดเป็นใบไม้ใบหญ้าเสียคงจะดีกว่า-ข้อเปรียบเทียบนี้ดิฉันเสริมเข้ามาเอง)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 09:31

 พอคุณเกร๊กกล่าวจบ  ก็ถึงคิวของดิฉันเป็นคนแรกก่อนบัณฑิตอื่นๆ  
อธิการบดีให้เกียรติด้วยการประกาศประวัติ สั้นๆ เขาย่อเก่งมาก   ฟังแล้วก็ยังอัศจรรย์ใจว่าวิชาย่อความของคนที่ย่อประวัตินี้ คงได้คะแนนเต็มมาก่อน   เก็บความได้ครบถ้วนกระชับดีภายในไม่กี่นาที
ต่อจากนั้นก็คือลุกจากเก้าอี้บนเวที  ไปยืนหน้าเวที   เพื่อรับการสวมฮู้ดจากอธิการบดี โดยมี Provost หรือรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ช่วยสวมให้   พร้อมรับใบปริญญาจากอธิการบดีมาเลยรวดเดียว

สำหรับคนที่ไม่ทราบว่าเครื่องแต่งกายบัณฑิตของอเมริกาเป็นยังไง ขออธิบายว่ามันมี ๓ ชิ้นด้วยกันค่ะ
คือ
๑)เสื้อครุย เรียกว่า gown ส่วนใหญ่เป็นสีดำ มหาวิทยาลัยบางแห่งก็มีสีอื่นเช่นแดงหรือน้ำเงินแก่   แต่ฟ้าชมพูเหลืองพวกนี้ยังไม่เคยเห็น
หน้าตาคล้ายๆ ครุยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒) แถบที่สวมคล้องหัวลงมาคล้องที่คอทิ้งชายยาวไว้ข้างหลัง  เรียกว่า hood
๓) หมวก มีพู่ห้อยลงมา  เรียกว่า cap

เขาแต่งกันครบ ๓ ชิ้น   แต่ถ้าปริญญาเอกแล้วจะอาจารย์ที่ปรึกษาจะสวมฮู้ดให้บนเวที  เป็นส่วนหนึ่งของพิธีการ

เสื้อครุยปริญญาเอกของอเมริกา  ไม่เหมือนเสื้อครุยปริญญาโท    เสื้อปริญญาเอกแขนยาวพองกว้าง มีแถบกำมะหยี่สามแถบบนแขนเสื้อแต่ละข้าง  พวกโทไม่มี

ครุยของดิฉันคล้ายกับของผู้ชายคนที่สองทางซ้าย หมวกก็เหมือนกัน
เพียงแต่ครุยของดิฉันเป็นสีน้ำเงินแก่ ไม่ใช่ดำ  แถบกำมะหยี่ก็น้ำเงินแก่
ฮู้ดเป็นแพรสีดำ ขลิบกำมะหยี่ขาว  ด้านในมีแถบแพรซาตินสองสีคือสีม่วงเข้มและสีทอง  สีของมหาวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 09:33

 Doctor of Humane Letters แล้วตัวย่อจะเป็น DHL เหรอคะ แฮ่ๆๆ สาขานี้ไม่เคยได้ยินชื่อเลยค่ะ
คำว่า humane พบตอนจะไปขอสุนัขมาเลี้ยง จาก Humane Society ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง