เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: จิตแผ้ว ที่ 04 ต.ค. 06, 07:30



กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 04 ต.ค. 06, 07:30
 เจ้าผูม้มีความฮู้       เต็มพุงเพียงปาก ก็ดีถ้อน
สอนโตเองบ่ได้          ไผสิย้องหว่าดี
  คนผู้มีความฮู้         ซูซีเฮ็ดบ่แหม่น
ความฮู้ถ่อแผ่นฟ้า         เป็นข่าถ่อแผ่นดิน
  คำค่าล้น            ขดขอดเป็นแหวน
สีแดงสุก               ก็เพราะมีหัวแก้ว
คือคนฮู้                 วิชาดีหลายอย่าง
กิริยาส่อยยู้             ซูขึ้นจึ่งข่อยเฮือง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 05 ต.ค. 06, 06:14
 เป็นคนให้ ธรรมเนียมคือนกเจ่า บาดว่าบินเผนผ่าย ขาวแจ้งดังนกยาง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: thawankesmala ที่ 06 ต.ค. 06, 18:31
 คันได้กินปลาแล้วอย่าลืมปูปะปล่อย ลางเทือปลาขาดข้อง ยังสิได้ป่นปู เด้

ติดใจอ่านต่อที่นี่นะครับ
 http://board.dserver.org/i/isanboard/00000034.html  


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 09 ต.ค. 06, 17:29
 ขอขอบคูณครับที่นำสิ่งดีๆมาไว้ให้ติดตามอ่านกัน
 


เป็นคนให้ ลักขณานามปลวก หากส่างหยู้ หากส่างอ้น คูนขึ้นให้ใหญ่สูง


สื่อหว่าเป็นคนให่ ธรรมเนียมนามเต่า มันหากเมี้ยนไข่ไว้ ดีแล้วจึ่งข่อยหนี


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 09 ต.ค. 06, 22:04
 ขอรบกวนนอกเรื่องนิดนะครับ

ช่วงนี้ต้องอ่านกฎหมายของ สปป.ลาว เจอคำว่า ตาหน่าง งงครับ ไม่ทราบว่าหมายถึงอะไรครับ รบกวนท่านผู้รู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: คำฝอย ที่ 09 ต.ค. 06, 23:21
 คันได้ขี่เฮือแล้ว อย่าลีทแพไม่ไผ่ คันยามเฮือหล่ม ยังซิได้ขี่แพ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 10 ต.ค. 06, 11:01
 คุณ อาชาผยอง ลองคัดลอก มาสักมาตรา โดยมีคำดังกล่าวติดมาด้วย หลายท่านอาจพอช่วยได้ ลองดูนะครับ



ให้ข่อยเอาโสมเพี้ยง ทุงไซว้องพะเนด  ลมบ่มาหล่วงต้อง  บ่มีเบื้องปิ่นหางดอกนา


ยามเหมื่อลีลาย้าย    แปงโสมให่มันข่อง   อย่าได้เป็นดังเชื้อ   ชะนีเต้นข่วงไป


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 10 ต.ค. 06, 11:31
 อย่างนี้ครับ (หวังว่าจะอ่านไม่ผิดนะครับ เอกสารอักษรลาว)

ละบบโคงส้างตาหน่างเส้นทางปะกอบด้วย:
1./ละบบเส้นทางในตัวเมือง
 เส้นทางในตัวเมือง ได้แบ่งออกเป็นแต่ละปะเพด คื:
 - เส้นทาง สายเอก นับแต่ ....

แสดงว่าคำนี้ไม่มีใช้ในภาษาอีสานใช่ไหมครับ?

ผมอยากจะเดาว่าคือคำว่า ตำแหน่ง แต่ความหมายมันก็ไม่ได้ซะทีเดียวนะครับ

โดยรวมก็อ่านเข้าใจความได้ครับ แต่ก็ยังอยากรู้อยู่ดีว่าคำนี้แปลว่าอะไรกันแน่


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 10 ต.ค. 06, 12:06
 น่าจะเป็นตำแหน่งอย่างที่เข้าใจนั่นหละครับ แต่ถ้าเป็นดังว่า จะต้องมี สระ แอ ซึ่งในภาษาลาวก็มีใช้เหมือนของเรา เมื่อไม่มีสระแอ เป็นไปได้ไหมว่า พิมพ์ผิด เพราะ
เท่าที่เกิดมา คำว่า ตาหน่าง ไม่น่าจะมีใช้ ในภาษาอีสาน และ ลาว จะมีก็แต่ คำว่า
ตาหน่าย ซึ่ง มักจะพูดว่า จั่งหว่าเป็นตาหน่ายเนาะ มีความหมาย ละม้ายคล้ายคลึงกับคำ
ว่า น่าเบื่อหน่าย วอนท่านผู้รู้กรุณาด้วยครับ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 10 ต.ค. 06, 12:55
 คงไม่ใช่พิมพ์ผิดครับ เพราะปรากฏหลายที่ เขียนเหมือนกันทั้งหมด และเป็นกฎหมายของเขาด้วยครับ น่าจะมีการตรวจทานมาดีแล้ว

อีกที่หนึ่งเขียนว่า

..ละบบโคงล่าง ตาหน่างเต็กนิก

เข้าใจว่า เต็กนิก คือ เทคนิก

ส่วน ตาหน่าง ยังคงเป็นปริศนาต่อไป


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 10 ต.ค. 06, 16:52
 ได้ความจากคุณ np ครับ หลงไปอยู่อีกกระทู้หนึ่ง

>>ขอทะลุนอกเรื่อง

>>พบข้อสงสัยของ คุณ crazyHorse ที่ไหนก็ไม่ทราบ ลืมแล้ว (เพราะความแก่)

>>เกี่ยวกับคำว่า "ตาหน่าง"

>>หน่าง คือ ตาข่ายสำหรับดักสัตว์ป่า เช่น เก้งกวาง กระต่าย เห็น
>>เป็นผืนยาวๆคล้ายๆกับอวน แต่ไม่ใช้ลาก
>>คล้ายตาข่ายดักปลา แต่ตาห่างและเส้นใหญ่กว่า
>>กางไว้ในป่า แทนที่จะกางไว้ในน้ำ
>>เมื่อกางไว้แล้ว จะไม่มีสัตว์มาติดตาข่าย(ไม่เหมือนตาข่ายดักปลา)
>>ต้องส่งเสียงไล่ต้อน ตีเกราะเคาะไม้ให้สัตว์วิ่งมาชนอย่างแรงและติดหน่าง แล้วคนก็ใช้ค้อนทุบตี(เพราะไม่มีปืน)

>>ตาหน่าง ก็คือตาของหน่าง ก็เหมือนกับตาตองตาข่าย ตาของแห หรือตาของอวน >>ทำนองนั้นแหละครับ


สรุปว่าตาหน่างคือ ตาข่าย หรือพอจะแปลว่า โครงข่าย ได้

ขอบคุณคุณ np ครับ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: thawankesmala ที่ 11 ต.ค. 06, 12:52
 เข้าเค้าครับ มันคงเกี่ยวกับโครงสร้างร่างแหของถนนหนทาง เห้นว่ามีเส้นโน้นเส้นนี้ด้วย คงเกี่ยวกับแผนที่ล่ะครับ น้อง ๆ นักศึกษาลาวที่นี่เขาก็จบกันหมดแล้วเลยถามใครไม่ได้


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 11 ต.ค. 06, 22:40
 ถ้าเป็นดั่งว่าก็พอจะ ให้ความหมายได้ว่าเครือข่ายหรือโครงสร้าง ซึ่งก็สามารถเข้าใจได้
ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีก เป็นมนต์เสน่ห์ของ วิชาการ.คอม ที่แบ่งปันความรู้กัน ด้วยมิตรไมตรี ครับ

ชาติที่ภาษาเชื้อ     แนวเสืออย่าได้แอบเอาเน้อ   ให้เจ้าแอบเอาแต่เชื้อลูกช้าง

มาสร้่างสืบเฮือน


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 13 ต.ค. 06, 13:25
 ความคิดให้ถึงถองพื้น  เสมอบัวฮากหยั่ง   ใจให้อ่อนสิ่งฝ้าย  หลายล้อยืดยาว


อย่าได้ทำตนเพี้ยง    หัวเพียงเสมออึ่ง    มันหากเหลือแต่ฮ้อง    ตายย้อนปากโต


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: กงกง ที่ 16 ต.ค. 06, 00:14
 เข้ามาอ่านอีกคนครับ ดีครับ ที่มีแบบนี้มาให้อ่าน แถวๆบ้านผมเลยครับ เดี๋ยวจะลองหาหนังสือที่บ้านดู มาแบ่งปันกันครับ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 19 ต.ค. 06, 08:31
 หลายคนคงรอคอยด้วยความระทึกในดวงหทัย


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 20 ต.ค. 06, 07:31
 อย่าได้ขัวๆฮ้อง     เสมอกากินไข่     อย่าได้เป็นดังนกใส่ฮ้อง    ลางเข้มข่มแข็ง    เป็นหญิงนี้   ให้ธรรมเนียมนามไก่    ไก่มันช่างฟักช่างป้อง
ปองลูกให้ใหญ่สูง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: thawankesmala ที่ 20 ต.ค. 06, 22:00
 เข้าไม่ถึงแก่นครับ แปลให้หน่อยครับขอบคุณมาก


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 21 ต.ค. 06, 19:29
 เตือนว่า จะกระทำการสิ่งใดให้กระทำด้วยความสุขุมรอบคอบ นุ่มนวล อย่ากระโตกกระตาก โหวกเหวก โวเว โวยวาย อย่าให้เหมือนอีกา ที่ลักไข่เขากิน กินไป ร้องไป มันก็อันตรายต่อตัวเอง  เป็นผู้หญิงให้ยึดแบบการเลี้ยงลูกของไก่ที่คอย
ดูแลเอาใจใส่ประคบประหงมลูกจนเติบใหญ่ อะไรประมาณนี้ หากมีท่านผู้รู้ท่านใดจะร่วม
แบ่งปันความรู้ก็ขอควากรุณาด้วยนะครับ

ให้ส่างบ้อน                  เสมอดั่งปลาหลด
อย่าได้แปนคุยลอย             ดั่งปลากระโทงใบ้
ให้ข่อยทำเพียรสร้าง             เสมอแตนแปงส่อ
ให้ส่างก่อสืบไว้                เสมอผึ้งสืบฮัง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 30 ต.ค. 06, 20:44
 ไหมบ่มีครั่งย้อม      คือป่านชาวกะเลิง     ดำบ่แดงพอกะเทิน

ส่วนสิเสียเชิงผ้า


คันเจ้ามีเข็มแล้ว      ให้ถามไหมดูก่อน     ไหมบ่มีฮ้อยก้น   สนได้กะบ่งาม


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: thawankesmala ที่ 01 ธ.ค. 06, 13:46
ได้กินย้อนผี ได้สี่ย้อนฝัน

หมายถึงผู้ชายโหลยโท่ย ครับ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: Aidin ที่ 06 ก.ย. 07, 03:50
ทุกยากฮ้าย ปากกำกินมันหมก คันบ่กินมันหมก ปากบ่ดำปานนี่ ;D


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 07 ก.ย. 07, 17:06
ปากก่ำกินมันหมก  คั่น บ่ กินหมกมัน ปาก บ่ ดำ ปานนี้


"ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด,ความรู้  เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนอิสาน  เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นแบบหนึ่ง  เป็นคำสอนที่บอกต่อๆกันมา

เกิดสัพพะสิ่งฮ้อน  สัพพะฮ้นสันได๋
เข้ามาเฮือนไท  แปรเป็นเฮือนลาวได้
คำบุฮานว่าไว้  เข่า (ข้าว) เต็มเล้านั่งเว้ากะคือ เงินเต็มถังเว้าหยังกะได้

หากว่าอ้ายจิตแผ้ว       มีแนวกลอนม่วนๆ
พวกกระบวนคำเว้า      เล่นสาวมี บ่ น้อ
น้องอยากขอไปต้าน    ตามสันดานของคนหนุ่ม
ใจฮักมาเป็นปุ้ม          บาดสิเว้าคั่น บ่เป็น


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: กงกง ที่ 07 ก.ย. 07, 19:55
เข้ามาอ่านอีกคนครับ ดีครับ ที่มีแบบนี้มาให้อ่าน แถวๆบ้านผมเลยครับ เดี๋ยวจะลองหาหนังสือที่บ้านดู มาแบ่งปันกันครับ

ผ่านมาจะครบขวบปีแล้ว จนกระทั่งคุณตาเจ้าของหนังสือ จากไปแล้ว...
แต่สัญญา ต้องเปนสัญญา...สัญญา ว่ามาต้องมา...มาแบ่งปัน แน่นอนครับ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 08 ก.ย. 07, 22:49
สิบปีกะสิถ้าซาวพรรษากะสิอยู่ คันบ่ได้เป็นคู่เห็นแต่อุแอ่งน้ำกะปานได้นั่งเทียม


นกเขาตู้พรากคู่กะยังขัน กาเวาวอนพรากฮังกะยังฮ้อง
น้องพรากอ้ายคำเดียวบ่เอิ้นสั่ง คันบ่เอิ้นสั่งใกล้ขอให้เอิ้นสั่งไกล



อย่าให้เสียแฮงอ้ายเดินทางหิวหอด คือดั่งม้าอยากน้ำเดือนห้าหอดหิว
คันบ่กูร์ณาอ้าย เห็นสิตายม้อยระแหม่ง เห็นสิตายหอดแห้งหิวน้ำหอดแฮง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 08 ก.ย. 07, 22:52
คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา  อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า  คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน อย่าได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 08 ก.ย. 07, 22:57
ตีเจ็บแล้วแสนสิออยกะปานด่า  แม่นว่าเว้าจ้อยจ้อยกะปานไม้แดกตา
 
ใจประสงค์สร้าง  กลางดงกะว่าท่ง ใจขี้คร้าน กลางบ้านกะว่าดง


ใจบ่โสดาด้วยเว้าแม่นกะเป็นผิด  ใจบ่โสดาดอมเว้าดีกะเป็นฮ้าย


 ขันตีตั้งสัจจังหมั้นเที่ยง  บ่ได้คึดเบี่ยงเลี้ยวลวงล้อหลอกใผ ปานใดเดสิได้จูงแขนเข้าพาขวัญป้อนไข่หน่วย มือขวาป้อนไข่อ้าย


มือซ้ายป้อนไข่นาง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 08 ก.ย. 07, 22:57
อ่านแล้วรู้สึกทุกครั้งว่าโคลงสี่นี้มีรากฐานจากทางอีสานบ้านเฮานี่เอง

ผมเคยเซฟบทความเรื่องวรรณกรรมอีสานไว้นานแล้ว ยังไม่ได้เอามาอ่านจริงจังสักที

ว่างๆจะขออนุญาตงัดมาคุย ขอความรู้จากเจ้าถิ่นตัวจริงครับ


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 08 ก.ย. 07, 23:16
บาปบุญ
บุญบาปนี้เป็นคู่คือเงา                                  เงานั้นไปตามเฮาสู่วันบ่มีเว้น
คันเฮาพาเล่นพามันเต้นแล่น                         พามันแอะแอ่นฟ้อนเงานั้นแอ่นนำ
เฮานั่งยองย่อเงาก็นั่งลงนำ                           ยามเฮาเอาหลังนอนก็อ่อนลงนอนด้วย
คันเฮาโตนลงห้วยภูเขาหลายหลั่น                  ขึ้นต้นไม้ผาล้านด่านเขา
เงาก็ตามเลี้ยวเก๊าะเกี่ยวพันธนัง                     บ่ได้มียามเหินห่างไกลกันได้
อันนี้สันใดแท้ทั้งสองบุญบาป                        มันก็ติดต่อก้นนำส้นผู้ทำ นั้นแหล่ว

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
คือดังปลาอาศัยน้ำ                น้ำกะเผิ่งวังปลา
ปลาอาศัยวังเวิน                   จึ่งล่องลอยนาน้ำ
ทามอาศัยห้วย                     งัวควยอาศัยแอก
ตาแฮกอาศัยไก่ต้ม               จึงโดนตุ้มจากคอน
คือดังคอนอาศัยไม้               นกใส่อาศัยโกน
คนกะอาศัยคน                     เผิ่งกันโดยด้าม
คามอาศัยหม้อ                     หมอมออาศัยส่อง
ฆ้องอาศัยไม้ฆ้อน                 ตีต้องจึงค่อยดัง



กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 09 ก.ย. 07, 00:28
ผญาเกี้ยวห่อโคลง
ผญา
*** ใจประสงค์ต่อไม้........จังได้แบกขวานมา
ใจประสงค์ต่อปลา........จังแบกแหมาพร้อม
โคลง
....ใจจงจำนงค์ไม้........จึงมา น้องเอย
บนบ่ขวานเตรียมดา.......ดีพร้อม
ประสงค์ต่อปูปลา..........จึ่งด่วน
แหพี่มาเตรียมต้อม........ต่อเนื้อปลามัน

โคลงมีน้อยครับท่าน CH ส่วนมากจะเป็นกาพย์  ถ้าโคลงก็จะเป็นโคลงดั้นโบราณ  ที่ไม่ค่อยยึดเอกโทมากนัก  โดยมากจะยึดเสียงมากกว่ารูป  มีทั้งโคลงสอง  โคลงสาม  โคลงสี่  และมากที่สุดคือโคลงห้า  ในวรรณคดีท้าวฮุ่งจะเป็นโคลงโบราณชัดเจนครับ  เห็นที่วิเคราะห์ชัดเจนในเรื่องโคลงโบราณเป็นแบบวิชาการ  ก็มีแต่ท่านจิตร ภูมิศักดิ์  ที่ริเริ่มดึงโคลงห้าแบบโคลงลาวโบราณ  ออกมาจากโคลงสลับร่าย  หรือที่เรียกว่า ลิลิต  หามาวิเคราห์สิครับท่าน CH  ผมว่าน่าศึกษาครับ... ???


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 09 ก.ย. 07, 10:09
ดีใจหลายเด ที่เห็นคนเข่ามาส่อย พากันมาส่งยู้ ผญา เจ้า ให้ใหญ่สูง
เป็นของดีแท้ แท้ มาตั้งแต่โบราณ ภูมิปัญญาคนอีสาน จาึรึกจารเอาไว้


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 09 ก.ย. 07, 10:33
ภาษิตโบราณอีสานรวบรวมไว้ให้ลูกหลานโดย คุณพ่อปรีชา พิณทอง

สิถ่มน้ำลายให้เหลียวเบิ่งป่อง
สิกวมให้เหลียวเบิ่งหน้า
ของเพิ่นแพงอย่าเข้าใกล้    สิเต้นข้ามฮ่องให้เหลียวเบิ่งหนาม
พร้าเข้าอย่าฟันแฮง
ได้โชคแล้วอย่ามัวเมา

คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)

ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น ผ เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่ง
ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้

    * ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไร
    * ผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย
    * ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กิน ใจความมาก

การพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไป
 ภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเอง
การจ่ายผญา หรือการแก้ผญา

การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือพูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมึผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา ด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่า ลำผญา หรือลำผญาญ่อย เช่น
      (ชาย) ..... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า (ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี
      (หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายสิมาเกี้ยว พัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม พัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มี

หมอผญาที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ คือ แม่ดา ซามงค์ แม่สำอางค์ อุณวงศ์ แม่เป๋อ พลเพ็ง แม่บุญเหลื่อม พลเพ็ง แห่งบ้านดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

การลำและจ่ายผญา ในสมัยโบราณนั้นจะนั่งกับพื้น คือ หมอลำ หมอผญาและหมอแคน จะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่น ๆ ก็นั่งเป็นวงล้อมรอบ หมอลำบางครั้งจะมีการฟ้อนด้วย ส่วนผู้จ่ายผญา จะไม่มีการฟ้อน ในบางครั้งจะทำงานไปด้วยแก้ผญาไปด้วย เช่น เวลาลงข่วง หมอลำชายจะลำ เกี้ยว ฝ่ายหญิงจะเข็นฝ้ายไปแก้ผญาไป นอกจากหมอลำ หมอแคนแล้ว บางครั้งจะมีหมอสอยทำ การสอยสอดแทรกเป็นจังหวะไป ทำให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนาน การจ่ายผญาในครั้งแรก ๆ นั้น เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว และนั่งพูดจ่ายตามธรรมดา ต่อมาได้มีการดัดแปลง ให้มีการเอื้อนเสียงยาว มีจังหวะและสัมผัสนอกสัมผัสในด้วย ทำให้เกิดความไพเราะ และมีการเป่า แคนประกอบจนกลายมาเป็น "หมอลำผญา" ซึ่งพึ่งมีขึ้นประมาณ 30-40 ปีมานี้

เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปการพัฒนาของการจ่ายผญาจึงมีมากขึ้น จากการนั่งจ่ายผญา ซึ่งมองกันว่าไม่ค่อยถนัดและไม่ถึงอกถึงใจผู้ฟัง (ด้วยขาดการแสดงออกด้านท่าทางประกอบ) จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นยืนลำ ทำให้มีการฟ้อนประกอบไปด้วย จากดนตรีประกอบที่มีเพียง แคน ก็ได้นำเอากลอง ฉิ่ง ฉาบ และดนตรีอื่น ๆ เข้ามาประกอบ จากผู้แสดงเพียง 2 คนก็ค่อย ๆ เพิ่มเป็น 3, 4 และ 5 คน จนมารวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะหมอลำผญา บางคณะได้มีหางเครื่องเข้ามา ประกอบด้วย

 
ความทวย (ปริศนาคำทาย)

ความทวย ในภาษาอีสาน จะมีความหมายตรงกับ ปริศนาคำทาย ในภาษากลาง เป็นวิธีการสอนลูกหลานให้มีความคิด เชาว์ปัญญา ไหวพริบปฏิภาณเฉียบแหลม ประกอบกับการเล่านิทานที่มีคติสอนใจ ในสมัยก่อนนั้น คนบ้านนอกในภาคอีสานยังไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งบันเทิงที่พอมีคือการเล่านิทานชาดกของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ในขณะที่คนแก่ก็จะได้ความสุขใจมาจากการฟังเทศน์ฟังธรรมจากวัด

ช่วงเย็นหลังอาหารค่ำก็จะเป็นช่วงเวลาของเด็กๆ หนุ่มสาว จะได้ฟังนิทานชาดก นิทานพื้นบ้านกัน หลังการเล่านิทานก็จะมีการถามปัญหา หรือ ความทวย ผู้ใดสามารถตอบได้ก็จะได้รับรางวัลเป็นผลไม้ กล้วย อ้อย ตามฤดูกาล ตัวอย่างความทวย เช่น

    * ความทวย สุกอยู่ดิน กากินบ่ได้ สุกอยู่ฟ้า กายื้อบ่เถิง ไผว่าแม่นหยัง?
    * ความแก้ ลูกหลานก็จะคิดหาความแก้ ถ้าใครแก้ได้ท่านก็ให้รางวัลดังกล่าว แล้วความแก้หรือคำตอบนี้ก็คือ "ดวงตะวัน" และ "กองไฟ"

ข้อสังเกต ความทวยหรือปริศนาปัญหานี้ ท่านจะผูกขึ้นจากลักษณะของสิ่งที่จะเอามาตั้งเป็นปัญหา เพื่อให้ลูกหลานใช้สมองเทียบเคียงดู เช่น สุกอยู่ดินคือ "กองไฟ" เพราะกองไฟมันจะมีสีแดง ปกติของสีแดงๆ มันจะเป็นสัญลักษณ์แห่งของสุก "สุกอยู่ฟ้า" คือดวงตะวันสีแดงๆ บนฟ้า ของสุกมันจะมีสีแดง ของดิบมันจะเป็นสีอื่นๆ และกากินไม่ได้ด้วย เด็กฉลาดก็จะเทียบเคียงได้เอง


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 09 ก.ย. 07, 10:37
ประเภทของผญา - สุภาษิต - ความทวย

ผญาเมื่อแบ่งแยกหมวดหมู่ออกไปตามลักษณะอย่างคร่าวๆ ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทดังนี้
  1. ผญาคำสอน      2. ผญาปริศนา
  3. ผญาภาษิตสะกิดใจ      4. ผญาเกี้ยวพาราสีทั่วไป
  5. ผญาเกี้ยวพาราสีโต้ตอบหนุ่มสาว      6. หมวดภาษิตคำเปรียบเปรยต่างๆ
  7. ผญาปัญหาภาษิต      8. ความทวย
  9. ภาษิตโบราณอีสาน    10. คำกลอนโบราณอีสาน
11. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 1)    12. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 2)

ขอขอบพระคุณ    : ผศ.สุระ อุณวงศ์ เสริมข้อมูลการจ่ายผญา
: อาจารย์สวิง บุญเจิม ปธ.๙ M.A. เสริมข้อมูลความทวย


กระทู้: ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 09 ก.ย. 07, 23:56
คือดั่งบักเค้าเม้า หมาเฒ่าเห่าแต่เขา 
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง   คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง   เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
เกี้ยงแต่นอกทางในเป็นหมากเดื่อ หวานนอก เนื้อในส้มดั่งหมากนาว

บุ๋ย...มาเป็นแนววิชาการคือดีแท้คูบา  แปลว่าผญามีหลายแนว  เบิ่งซงอ้ายจิตแผ้วคือสิแต่งกลอนลำได้  ลองแต่งเบิ่งอ้าย  กลอนเกี่ยวกับเฮือนไทกะได้

ข้าขออะธิษฐานตั้งขอฝากพระไมตีมิตร พันธนังติดหมื่นปีบ่ไลน้อง
พี่นี้จงจิตข้องหมายตายเกิดฮ่วม ขออย่าคละคลาดแคล้วคำหมั้นขอดสาร น้องเอย........ ::)