เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:01



กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:01
ข่าวสังคมธุรกิจที่ตีพิมพ์ในบางกอกรีดเดอร์ ฉบับวันที่ ๕ กันยายน ๒๔๐๘ เรียกการถ่ายรูปว่าชักเงารูป อันมีความหมายว่า ชักเอาเงาหรือรูปของคนหรือสรรพสิ่งที่ถูกชักเข้าไปไว้ในกล้อง ส่วนช่างภาพก็เรียงช่างชักรูป

ผมก็เลยชักคำศัพท์โบราณนี้มาตั้งชื่อกระทู้เพื่อเรียกเรตติ้ง เพราะกลัวคนจะไม่อ่าน


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:03
ผมจะเรียบเรียงประวัติศาสตร์การถ่ายรูปของเมืองไทยอย่างย่อขึ้นสำหรับห้องเรือนไทย เพื่อให้เข้าใจง่าย ไม่สลับสับสนเหมือนผมหลังจากอ่าน“หนังสือครู”ทั้งสามเล่มนี้เนื่องจากท่านผู้เขียนลงข้อมูลไว้เหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ซึ่งผมมิได้คิดบังอาจแม่แต่น้อยที่จะตำหนิท่าน ด้วยเห็นใจในความยากลำบากในการแสวงหา และตีความในข้อมูลดิบที่ได้มาในสภาวการณ์ที่จำกัด


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:04
หนังสือเล่มแรกที่จะกล่าวถึงในฐานะที่ตีพิมพ์ก่อนตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ คือ“กษัตริย์กับกล้อง”ของศาสตราจารย์ ศักดา ศิริพันธ์ ซึ่งท่านได้ใช้เวลาค้นคว้ารวบรวมถึง๑๐ปี กว่าจะตีพิมพ์เป็นหนังสือคุณภาพยอดเยี่ยมที่รวบรวมประวัติการถ่ายภาพในเมืองไทยตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงรัชกาลที่๙ในช่วงพ.ศ.นั้น


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:05
เล่มที่๒ คือ “สมุดภาพรัชกาลที่๔” ของคุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ตีพิมพ์ในปี ๒๕๔๗หนังสือได้รวบรวมภาพถ่ายในยุครัชกาลที่๔ไว้มากที่สุด ตัวคุณพิพัฒน์เองมีผลงานทางการวิเคราะห์ภาพในสมัยนั้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยเฉพาะเรื่องใครกันแน่ที่เป็นผู้ชักเงารูปนั้นไว้เป็นมรดกตกทอดมาถึงคนสมัยนี้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:06
เล่มที่๓ คือ “ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย” โดยคุณเอนก นาวิกมูล ตีพิมพ์ในปี ๒๕๔๘ ถึงแม้ว่าจะหลังจากเล่มที่กล่าวไปแล้วพอสมควร แต่ตัวคุณเอนกนั้น ถือว่าเริ่มต้นศึกษาและสะสมภาพเก่าของเมืองไทยมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ สมัยยังเป็นนิสิตจุฬา แต่กว่าจะได้ร่วมมือร่วมใจกับสำนักพิมพ์เมืองโบราณ นำผลงานที่เคยตีพิมพ์สมุดภาพเก่าเล่มเล็กๆหลายเล่ม มารวบรวมจัดทำต้นฉบับใหม่จนกระทั่งเริ่มตีพิมพ์ได้ ก็ใช้เวลายาวนานถึง๑๓ปี


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ก.ย. 14, 12:24
ผมก็เลยชักคำศัพท์โบราณนี้มาตั้งชื่อกระทู้เพื่อเรียกเรตติ้ง เพราะกลัวคนจะไม่อ่าน

เห็นชื่อเจ้าของกระทู้ ก็เรียกคนอ่านเข้ามาแน่นกระทู้แล้ว  ;)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:44
ขอบคุณคร้าบ^

ผู้ที่ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปที่ใช้ได้เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆนั้น เป็นคนฝรั่งเศสในรูป ชื่อ หลุยส์ ดาแกร์(Louis Daguerre) ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๓๘๐ ซึ่งตรงกับกลางรัชสมัยของรัชกาลที่๓โน่น

ภาพนี้แกชักเงาตัวเองเข้าไปอยู่ในแผ่นเงิน


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 12:49
แต่ภาพตัวแกเองข้างบนไม่ใช่ภาพแรกของโลก
ภาพข้างล่างนี้ต่างหากที่ถือเป็นภาพถ่ายภาพแรกของโลก เกิดจากการที่คนสามารถชักเงารูปตึกรามบ้านช่องในปารีสมาลงไว้ในแผ่นเงินได้ โดยนายดาแกร์เป็นช่างชัก


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 13:09
นายดาแกร์แกฉลาด ของบางอย่างนั้นมันเหมือนเส้นผมบังภูเขา เซียนๆที่เล่นของทางนี้อยู่เห็นปั๊บก็อาจจับทางได้ทันทีว่าทำอย่างไร ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าเหนื่อยสมอง การชักรูปได้อย่างเหมือนจริงจึงถูกเก็บเป็นความลับอยู่จนกระทั่งอีก๒ปีต่อมา รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ตกลงซื้อสิทธิบัตรจากดาแกร์เป็นจำนวนเงินถึง๑๐๐๐๐ฟรังส์  แล้วจึงเปิดเผยต่อสาธารณะชน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลเพื่อจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด ซึ่งก็ได้ผล มีกล้องและกรรมวิธีต่างๆที่ดีขึ้นเกิดติดตามมามากมาย แต่ยังเป็นวิธีการที่เรียกกันทั่วโลกว่า ดาแกโรไทป์ อยู่นั่นเอง

รูปแบบดาแกโรไทป์ เป็นภาพบนแผ่นโลหะ(เงิน) ถ้าแสงตกกระทบตรงๆจะเห็นเป็นภาพกลับขาวเป็นดำๆเป็นขาว ที่เรียกว่าnegative ถ้าเป็นแสงที่นุ่มนวลจึงจะเป็นตามจริง ที่เรียกว่าpossitive ซึ่งมีความชัดเจนมาก

ภาพสมัยนั้นเป็นของมีค่าราคาแพง แผ่นภาพที่เป็นเงินต้องมีกรอบที่เหมาะสมบรรจุไว้ ไม่ว่าจะเป็นแบบสำหรับติดตั้งถาวร หรือวางไว้ประดับห้อง


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 13:42
เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ก.ย. 14, 13:47
แต่ภาพตัวแกเองข้างบนไม่ใช่ภาพแรกของโลก
ภาพข้างล่างนี้ต่างหากที่ถือเป็นภาพถ่ายภาพแรกของโลก เกิดจากการที่คนสามารถชักเงารูปตึกรามบ้านช่องในปารีสมาลงไว้ในแผ่นเงินได้ โดยนายดาแกร์เป็นช่างชัก


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6071.0;attach=50791;image)

ภาพถนน Boulevare du Temple กรุงปารีส เช้าวันหนึ่งใน พ.ศ. ๒๓๘๑  ถ่ายโดย Louis Daguerre

เช้าวันนั้นการจราจรบนท้องถนนจอแจทีเดียว แต่ในภาพไม่เห็นรถราหรือผู้คนเดินพลุกพล่นเลย เนื่องจากการถ่ายภาพสมัยนั้นกว่าจะได้แต่ละภาพ วัตถุที่จะถ่ายจะต้องหยุดนิ่ง นานประมาณ ๑๕-๒๐ นาที  ในภาพเห็นเพียงชาย ๒ คนในวงกลมแดงเท่านั้น เนื่องจากคนหนึ่งนั่งขัดรองเท้า อีกคนหนึ่งกำลังยืนรับบริการ ต้องยืนและนั่งนานพอที่จะปรากฏตัวบนภาพถ่ายของดาแกร์ได้

ภาพนี้จึงถือเป็นภาพถ่ายบุคคล (โดยบังเอิญ) ภาพแรกของโลก   ;D



กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 14:03
ทั่วโลกยกย่องให้ภาพถ่ายใบแรกของโลก เป็นภาพถ่ายติดหลังคา ฝีมือ Joseph Nicéphore Niépce ชาวฝรั่งเศสครับ ใช้เวลาเปิดหน้ากล้องยาน ๘ ชั่วโมงในการให้แสงทำปฏิกิริยากับสารความไวแสงที่ได้สร้างขึ้นมาใน ค.ศ. ๑๘๒๖

ปัจจุบันต้นฉบับภาพนี้เก็บอยู่ในห้องควบคุมความชื้นอย่างดี เพราะมีสภาพหมองคล้ำมากๆ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:20
เอาเงาของเค้ามาลงไว้เป็นการแก้ตัวก็แล้วกัน


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:35
วิธีการชักรูปแบบดาแกโรไทป์นี้ยุ่งยากพอสมควร นับจากการเตรียมแผ่นเงินให้ได้ตามขนาด


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 14:36

รูปแบบดาแกโรไทป์ เป็นภาพบนแผ่นโลหะ(เงิน) ถ้าแสงตกกระทบตรงๆจะเห็นเป็นภาพกลับขาวเป็นดำๆเป็นขาว ที่เรียกว่าnegative ถ้าเป็นแสงที่นุ่มนวลจึงจะเป็นตามจริง ที่เรียกว่าpossitive ซึ่งมีความชัดเจนมาก


ความมหัศจรรย์ของภาพที่ถ่ายด้วยระบบดาแกโรไทป์ เกิดจากสารเคมีที่อาบอยู่บนแผ่นเงินที่ขัดจนขึ้นเงา สะท้อนดั่งกระจกเงาครับ คุณภาพมีความคมชัดก็อยู่ที่เลนส์รับภาพที่มาตกกระทบ

นอกจากนี้แล้วภาพถ่ายระบบดาแกโรไทป์ จะมีขนาดเล็กไม่ใหญ่มาก ถ่ายภาพแล้วได้ภาพออกมาเลย ทำสำเนาอัดเป็นกระดาษค่อนข้างยาก ดังนั้นภาพจึงมีเพียง ๑ แผ่น / การถ่าย ๑ ครั้ง และต้องนั่งนิ่งๆ หลายนาที

เพื่อให้เกิดการสร้างภาพได้อย่างคมชัด



กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:40
ขออีกสองสามคคห.นะ เดี๋ยวอามีธุระจะต้องไปงีบแล้ว หลานสามารถวาดลวดลายต่อได้ตามสบาย

นำแผ่นเงินไปขัดผิวหน้าให้เรียบ โดยใช้อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยแผ่นรองรับบุด้านบนด้วยหนังหรือผ้าใบ เอาผงขัดที่บดจากหินภูเขาไฟผสมน้ำมันมะกอก ชโลมลงบนผ้า แล้วนำแผ่นเงินที่ติดไว้กับด้ามจับ ลงขัดถูๆจนแจ่มได้ที่จึงนำออกมาเช็ดด้วยผ้าฝ้ายชุบกรดดินประสิวเจือจางอีกทีหนึ่ง


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:42
ต่อไปเป็นขบวนการในห้องมืด โดยนำแผ่นเงินที่เงาวับนี้ ไปใส่กล่องเพื่ออังกับไอระเหยของเกลือไอโอดีน เกิดปฏิกิริยากันเป็นซิลเวอร์ไอโอไดซึ่งเป็นสารไวแสง เห็นเป็นเคลือบสีเหลืองๆบนแผ่นเงิน สามารถนำไปใส่กล้องถ่ายรูป เปิดรูรับแสงให้ภาพผ่านเลนส์ไปตกที่แผ่นเงินนี้ แล้วเกิดเป็นภาพแฝง


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:43
นำแผ่นเงินจากกล้องถ่ายไปเข้าหีบสร้างภาพ โดยติดตั้งทำมุม๔๕องศา รับไอของปรอทที่ระเหิดจากถ้วยเผา เกิดเป็นภาพที่ต้องการขึ้น


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:46
หลังการเปิดสิทธิบัตร ได้เกิดแบบต่างๆของอุปกรณ์ถ่ายและสร้างภาพแตกต่างกันไป แต่ขบวนการยังเป็นแบบเดิมๆ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:47
อุปกรณ์เตรียมแผ่นเงิน


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:49
อุปกรณ์สร้างภาพ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 14:51
ข้อความโดย: siamese
อ้างถึง
เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ

ข้อความโดย: NAVARAT.C
เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 15:14
ข้อความโดย: siamese
อ้างถึง
เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ

ข้อความโดย: NAVARAT.C
เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ

จากกระบวนการถ่ายภาพด้วยระบบดาแกร์โรไทป์ ผมขอช่วยสรุปให้ดูคร่าวๆ ถึงขั้นตอนต่างๆ ในการถ่ายภาพในยุคแรกๆ ดังนั้นการจะเป็นช่างถ่ายรูปได้ต้องเรียนรู้ที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็น เรียนรู้สารเคมีต่างๆ ให้คล่อง

เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีราคาแพง และมีคุณค่าในสมัยนั้น


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 15:26
อุปกรณ์ ๑ หีบสำหรับการถ่ายภาพ จะบรรจุทุกอย่างมาให้พร้อม (ตอ่ไป อ.NAVARAT.C ก็คงพูดถึงการสั่งซื่อกล้องเข้ามายังสยาม) ทำให้เห็นว่าอุปกรณ์เหล่านี้ก็คงเข้ามาเมืองไทยในสภาพที่ไม่แตกต่างจากภาพนี้เท่าไรนัก


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 17:51
ใครผู้ที่ชักรูปในเมืองสยามเป็นคนแรก หากค้นข้อมูลในอินเทอเน็ตก็มักจะพบว่า เกือบร้อยละร้อย ลอกต่อๆกันมาว่าคือสังฆราชปาเลอกัวส์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ก่อนย้ายไปครองวัดคอนเซ็บชัญ ในสมัยรัชกาลที่๓


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 17:57
ทั้งนี้เพราะหนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam) ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสอันทำให้ท่านโด่งดังยิ่งนั้น มีภาพของจริงที่ชักมาจากเมืองบางกอก ไปตีพิมพ์แบบลายเส้น ซึ่งเป็นกรรมวิธีเดียวในยุคแรกที่จะแพร่ภาพดาแกโรไทป์ออกไปในจำนวนมาก มาประกอบเรื่องราวอยู่ด้วย

เชิญคุณหนุ่มและคุณเพ็ญออกมาวาดลวดลายต่อ ช่วยหาภาพลายเส้นที่ว่ามาประกอบหน่อย ส่วนคุณประกอบ เข้าใจว่าหายไปเพราะขมักเขม้นทำธีซีสส่งอาจารย์ฝรั่งอยู่ ไม่นานคงได้เป็นด๊อกเตอร์ ไม่ต้องวาดลวดลายเที่ยวหลอกชาวบ้านว่าเป็นคุณชงคุณชายแล้ว


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 18:01
ความจริงแล้วท่านสังฆราชปาเลอกัวส์เป็นเพียงแต่ผู้สั่งกล้องแบบดาแกร์เข้ามาสยามเป็นคนแรกในปี ๒๓๘๘ เท่านั้น ศ.ศักดา ศิริพันธ์เป็นผู้ค้นพบความจริงนี้เมื่อท่านเดินทางไปค้นหาข้อมูลในห้องเก็บจดหมายเหตุของสถาบัน Missions Entrangeres de Paris (MEP)เมื่อปี ๑๙๘๘ และเขียนเล่าไว้ในหนังสือของท่าน สงสัยมันหนาไปมั๊ง คนจึงไม่อ่าน เพราะดูแต่ภาพก็เพลิดเพลินเจริญใจเหลือจะกล่าวแล้ว


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 18:06
สรุปได้ความว่า บาทหลวงลาร์โนดี(Pere Larnaudie)เป็นผู้นำกล้องที่สังฆราชปาเลอกัวส์ฝากซื้อจากปารีสกลับไปกรุงเทพ และเพราะคงได้ฝึกการใช้มาจากทางโน้นด้วย จึงใช้เป็น เพราะขบวนการชักรูปอันสลับซับซ้อนนี้ ท่านสังฆราชปาเลอกัวส์ไม่มีทางจะเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น และงานหลักของท่านคือการเผยแพร่คริสตศาสนา
 
อย่างไรก็ดี ในจดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านเขียนไปถึงมิสซัง มีความบางตอนว่า "...ข้าพเจ้าได้ทดลองถ่ายรูปด้วยกล้องดาแกรืแล้วพรอมกับคุณพ่อลาร์โนดี เมื่อทดลองอยู่สามสี่วัน ข้าพเจ้าก็ถ่ายรูปได้..."


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 18:33
หลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่น่าเชื่อว่า บาทหลวงลาร์โนดีไม่ได้เป็นแค่ลูกมือให้ท่านสังฆราชปาเลอกัวส์แสดงนำเท่านั้น คือ หนังสือเรื่อง “Voyage autour du Monde” โดยMarquis de Ludovic Beauvoir ซึ่งมาเยือนสยามในปี๑๘๖๗ มีข้อความสำคัญที่แปลเป็นภาษาอังกฤษในA week in Siam ตอนหนึ่งอยู่ว่า “….he(Pere Larnaudie) was the first to take photographs in the town(Bangkok), and you can fancy what a magical effect be produced”


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 18:49
ทั้งนี้เพราะหนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam) ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสอันทำให้ท่านโด่งดังยิ่งนั้น มีภาพของจริงที่ชักมาจากเมืองบางกอก ไปตีพิมพ์แบบลายเส้น ซึ่งเป็นกรรมวิธีเดียวในยุคแรกที่จะแพร่ภาพดาแกโรไทป์ออกไปในจำนวนมาก มาประกอบเรื่องราวอยู่ด้วย

เชิญคุณหนุ่มและคุณเพ็ญออกมาวาดลวดลายต่อ ช่วยหาภาพลายเส้นที่ว่ามาประกอบหน่อย ส่วนคุณประกอบ เข้าใจว่าหายไปเพราะขมักเขม้นทำธีซีสส่งอาจารย์ฝรั่งอยู่ ไม่นานคงได้เป็นด๊อกเตอร์ ไม่ต้องวาดลวดลายเที่ยวหลอกชาวบ้านว่าเป็นคุณชงคุณชายแล้ว

ภาพลายเส้นในหนังสือดังกล่าว http://pantip.com/topic/31995509 (http://pantip.com/topic/31995509)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 18:53
สรุปได้ความว่า บาทหลวงลาร์โนดี(Pere Larnaudie)เป็นผู้นำกล้องที่สังฆราชปาเลอกัวส์ฝากซื้อจากปารีสกลับไปกรุงเทพ และเพราะคงได้ฝึกการใช้มาจากทางโน้นด้วย จึงใช้เป็น เพราะขบวนการชักรูปอันสลับซับซ้อนนี้ ท่านสังฆราชปาเลอกัวส์ไม่มีทางจะเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น และงานหลักของท่านคือการเผยแพร่คริสตศาสนา
 
อย่างไรก็ดี ในจดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านเขียนไปถึงมิสซัง มีความบางตอนว่า "...ข้าพเจ้าได้ทดลองถ่ายรูปด้วยกล้องดาแกรืแล้วพรอมกับคุณพ่อลาร์โนดี เมื่อทดลองอยู่สามสี่วัน ข้าพเจ้าก็ถ่ายรูปได้..."

เรื่องบาทหลวงลาร์โนดี ชักภาพนั้นผมทราบมานานแล้ว ท่านยังเป็นล่าม ในคณะราชทูตสยามเดินทางไปยังฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๔ อีกด้วยนะครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 14, 21:16
อ้างถึง
เรื่องบาทหลวงลาร์โนดี ชักภาพนั้นผมทราบมานานแล้ว ท่านยังเป็นล่าม ในคณะราชทูตสยามเดินทางไปยังฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๔ อีกด้วยนะครับ

เอาเหอะ ทนหน่อยก็แล้วกันกับเรื่องที่คุณทราบมานานแล้วนั่นน่ะ ก็ผมเขียนให้คนที่เค้ายังไม่ทราบอ่านนี่นา แล้วที่จะเขียนต่อไปก็คงเป็นเรื่องที่คุณก็คงทราบมานานแล้วอีกนั่นแหละ

แต่พูดก็พูดเถอะนะ รูปบาทหลวงลาร์โนดีของอาจารย์ศักดาได้ทำความสับสนให้ผม เพราะดูว่ารูปหล่ออย่างกับดาราหนัง ผิดกับรูปของบาทหลวงลาร์โนดีที่ผมเคยเห็นซึ่งผมคิดว่าท่านมีรูปลักษณ์ที่ตรงข้ามกับความหล่อมาก ดูเหมือนจะเป็นญาติกับมิสเตอร์บีน นี่เป็นเหตุให้ผมไม่ได้เฉลียวใจเรื่องท่านเคยเป็นล่ามที่ว่า

สังเกตุที่รูปทรงของคางสิ เป็นรูปของบุคคลคนเดียวกันแน่หรือ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 07:33
ก่อนที่อาจารย์ศักดาจะโยงเอกสารทั้ง๒ฉบับที่ทำให้เชื่อว่าบาทหลวงลาร์โนดีเป็นผู้ลงมือถ่ายภาพเป็นคนแรกในสยามนั้น ที่แต่เดิมเชื่อว่าเป็นสังฆราชปาเลอกัวส์ก็เพราะท่านเขียนจดหมายไปหามิชชัง ฉบับลงวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๓๘๘ ไว้ว่า

“……ข้าพเจ้าได้ชักภาพเจ้านายหลายพระองค์ รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มาหาข้าพเจ้า…แม้แต่เจ้าพระยาพระคลังก็แจ้งให้ทราบว่า ท่านจะมาให้ชักเงาภาพให้สักวันหนึ่ง ท่านยังได้กราบทูลสมเด็จฯถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าถ่ายรูปคน สมเด็จฯทรงตื่นเต้นมาก ข้าพเจ้าเชื่อว่าในไม่ช้าสมเด็จฯคงรับสั่งให้ข้าพเจ้าไปเฝ้า….”

คำว่าข้าพเจ้า ถ้าใช้ je ก็แปลว่าท่านคนเดียว ถ้าใช้ nous ก็แปลว่าท่านให้เกียรติบาทหลวงลาร์โนดีด้วย และอาจารย์ศักดาก็ไม่ได้กล่าวถึงข้อความที่ท่านแปลในประเด็นอื่นที่ผมสนใจ เจ้าพระยาพระคลังในสมัยปลายๆรัชกาลที่ ๓ น่าจะพอหาได้ว่าเป็นใคร แต่สมเด็จฯนี่ผมเดาไม่ออก เพราะอาจารย์ใช้ราชาศัพท์แสดงว่าเป็นเจ้า ไม่ใช่สมเด็จเจ้าพระยาทั้งองค์น้อยหรือองค์ใหญ่ แต่ทราบว่ามีภาพสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณีและสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย(ตั้งแต่เป็นพระยาศรีพิพัฒน์)ปรากฏเป็นภาพถ่ายฝีมือท่านอยู่ด้วย ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่นั้น ท่านไม่ยอมให้ใครชักเงาท่านเล่นในตอนนั้นเป็นอันขาด


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 07:36
อาจารย์ศักดานำจดหมายฉบับนั้นมาลงเป็นหลักฐาน แต่ผมก็ไม่มีปัญญาจะเข้าใจภาษาฝรั่งเศสได้เพราะคุณกู๋ไม่รับแปลจากjpeg อยากทราบจริงๆว่าต้นฉบับท่านเขียนเรียกท่านเหล่านั้นว่ากระไร ตกลงเป็นเจ้านายหรือขุนนาง หากจะรบกวนท่านอาจารย์เทาชมพูให้ช่วยตรวจดูหน่อยได้ไหมครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 09:12
ภาษาฝรั่งเศสข้าพเจ้าคืนครูบาอาจารย์ไปแล้ว 99%   นอกจากนี้ลายมือยังจางอ่านยากด้วย แต่พอแกะได้ในฉบับแรกว่า ท่านใช้ Je  ซึ่งตรงกับ I  ซ้ำๆกันหลายประโยค    แปลว่า ข้าพเจ้าได้ทำโน่นทำนี่ อยู่หลายประการด้วยกัน
ได้คำตอบแค่นี้ละค่ะ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 09:19
ขอบคุณครับ
อย่างน้อยท่านปาเลอกัวส์ก็ได้แสดงความมั่นใจว่า(ในที่สุด)ตัวท่านก็เป็นช่างภาพได้และสามารถฝากผลงานถ่ายภาพบุคคลสำคัญในบ้านเมืองไว้หลายคน

ผมจะไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติอีกครั้งหนึ่งตามนัด ซึ่งอาจจะใช้เวลานานจนถึงช่วงเย็น ระหว่างนี้หากท่านๆจะช่วยหาอะไรมาเสริมกระทู้บ้างก็ยินดีนะครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 09:20
ทั้งนี้เพราะหนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam) ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสอันทำให้ท่านโด่งดังยิ่งนั้น มีภาพของจริงที่ชักมาจากเมืองบางกอก ไปตีพิมพ์แบบลายเส้น ซึ่งเป็นกรรมวิธีเดียวในยุคแรกที่จะแพร่ภาพดาแกโรไทป์ออกไปในจำนวนมาก มาประกอบเรื่องราวอยู่ด้วย

เชิญคุณหนุ่มและคุณเพ็ญออกมาวาดลวดลายต่อ ช่วยหาภาพลายเส้นที่ว่ามาประกอบหน่อย  

ภาพลายเส้นในหนังสือดังกล่าว http://pantip.com/topic/31995509 (http://pantip.com/topic/31995509)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6071.0;attach=50819;image[/quote])

คำอธิบาย

การแต่งกายของชาวสยาม ชาย (ซ้าย) และเด็กสาว อายุ ๑๔ ปี (ขวา)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 09:23
เด็ก ๒ คนที่ไปฝรั่งเศสกับสังฆราชปาเลอกัวส์  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕

ซ้าย - เด็กไทยชื่อ แก้ว  ขวา - เด็กญวนชื่อ ชม


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 10:03
ภาพลายเส้นในหนังสือข้างบน ลอกมาจากภาพถ่ายโดยกระบวนการดาแกโรไทป์ ที่ปารีส พ.ศ. ๒๓๙๗ กระมัง  ;D

เข้าไปใช้บริการของคุณวิกี้มา เลยไปเจอภาพนี้ครับ มีคำบรรยายภาพว่า ฌัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397   (ค.ศ.1854)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3272.0;attach=9620;image)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 14:54
พระปรางค์วัดอรุณในสายตาท่านสังฆราช - มหาปิรามิดเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเจ้าที่กรุงเทพ สูง ๓๐๐ ฟุต  ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 14:57
ภาพพระปรางค์วัดอรุณข้างบนต้องวาดหรือถ่ายก่อนที่หนังสือ Description du Royaume Thai ou Siam พิมพ์ใน พ.ศ. ๒๓๙๗  ยังไม่เห็นต้นอินทผาลัมที่เกาะน้อยหน้าวัด และทางขวามือต้นไม้ยังไม่ขึ้นครึ้มเหมือนภาพข้างล่าง

ภาพข้างล่าง คุณ Wilhelm Burger ถ่ายเมื่อพ.ศ. ๒๔๑๒  เห็นต้นอินทผาลัมต้นใหญ่แล้ว ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 12 ก.ย. 14, 15:18
ฮิฮิ  มาแสดงตัวว่ายังวนเวียนอยู่แถวๆ นี้แหละครับ เข้ามาทุกวัน แต่หลังๆ แต่ละกระทู้เนื้อหามันเกินความรู้ความสามารถผม  ไม่รู้จะถกยังไง  แผ่นดินไหวเงี้ย หลุมยุบ งี้ หรือเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ต้องหาข้อมูลเชิงลึก  เลยได้แต่เมียงมองแอบซ่อน


ถ้ามีเนื้อหาแบบให้วิพากษ์วิจารณ์ก่นด่าหละก็ แบบนั้นถึงจะถนัดคนปากเสียแบบผมหน่อย :)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 15:27
ว่าง ๆ คุณประกอบเข้าไปช่วยเสริมเรื่อง DIY ฉีดน้ำแรงดับสูงสร้างรอยพญานาค  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5920.msg136433#msg136433) บ้างก็ได้  ;)

กลับเข้าเรื่อง สองภาพนี้น่าจะมีบางอย่างเชื่อมโยงกัน  ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 14, 19:33
พระปรางค์วัดอรุณในสายตาท่านสังฆราช - มหาปิรามิดเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเจ้าที่กรุงเทพ สูง ๓๐๐ ฟุต  ;D

ภาพกลับซ้าย - ขวาครับคุณเพ็ญ  ;D

เมื่อกลับภาพแล้วจะเห็นศาลาน้อย หน้าวัดอรุณได้ง่ายขึ้น


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 06:32
จากตุลาคม พ.ศ.๒๓๘๘ ซึ่งบาทหลวงลาร์โนดีนำกล้องถ่ายรูปกล้องแรกเข้ามากรุงเทพ และทั้งสองได้ชักภาพบุคคลและทิวทัศน์ต่างๆไม่ทราบว่ากี่ภาพไปแล้วเป็นเวลาประมาณสองปี กล้องนั้นก็ถูกเปลี่ยนมือเพราะท่านเจ้าของมีความจำเป็น ต้องการเอาเงินไปซื้อบ้าน เจ้านายที่ทรงซื้อไปเชื่อว่าคือพระองค์เจ้านพวงศ์ พระราชโอรสพระองค์แรกของเจ้าฟ้ามงกุฏที่ประสูติก่อนขึ้นครองราชย์ ซึ่งขณะนั้นทรงมีอายุ๒๕พรรษาแล้ว และสนพระทัยเรื่องการถ่ายรูป แต่น่าประหลาดใจที่ตำแหน่งคนไทยคนแรกที่สามารถถ่ายรูปได้(ดังที่จะกล่าวต่อไป)วงวิชาการกลับไปยกให้กับผู้อื่นที่ไม่ใช่ท่าน นี่แปลว่าท่านไม่เคยชักเงารูปอะไรได้สักภาพเดียวเชียวหรือนั่น


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 06:47
เป็นเวลากว่า๗ปีที่สังฆราชปาเลอกัวส์จะกลับไปเยี่ยมฝรั่งเศสในปี๒๓๙๕ และนำเด็กหนุ่มหน้ามลสองคนไปโปรโมตให้สยามเป็นที่รู้จักในกรุงปารีส  ภาพต่างๆที่ตีพิมพ์ใน Description du Royaume Thai ou Siam เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ เท่าที่คุณเพ็ญชมพูเอามาลงไว้ น่าจะเป็นเพียงส่วนน้อยของจำนวนภาพทั้งหมดที่บาดหลวงทั้งสองใช้เวลาสองปีถ่ายเก็บไว้ ส่วนภาพอื่นๆจะมีอะไรบ้างอย่างเช่นภาพนี้ใช่หรือไม่ คงไม่ต้องหามาลงตอนนี้ก็ได้ ขอเพียงให้ช่วยกันคอยดูและวิเคราะห์ภาพที่ผมจะนำมาลงในช่วงต่อๆไปว่าใครเป็นผู้ถ่ายก็แล้วกัน เพราะผมสลับสับสนอย่างยิ่งจากหนังสือฉบับครูทั้งสาม


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 06:56
หลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นเวลาอีก๕ปีกว่าที่ฝรั่งชาติอื่นจะเข้ามามีบทบาทในเรื่องการถ่ายรูปของสยาม กล่าวคือ เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าวิกทอเรียแห่งอังกฤษได้ส่งราชทูตพิเศษ นำมงคลราชบรรณาการมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรวมทั้งหมด๔๕รายการในเดือนเมษายน ๒๓๙๙ ซึ่งระหว่างลำเลียงขึ้นเรือใหญ่เกิดอุบัติเหตุเรือเล็กล่มของตกน้ำหมด งมขึ้นมาได้เพียง๓๖รายการ หนึ่งในนั้นคือกล้องถ่ายรูปพร้อมอุปกรณ์พร้อมถ่ายที่คนอังกฤษได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นการค้าด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงรออยู่นานกว่าจะหาฝรั่งที่มีความรู้มาช่วยสอนให้คนของพระองค์ใช้กล้องนั้นได้ ผมยังไม่หายสงสัยว่าทั้งๆที่ท่านสนิทกับสังฆราชปาเลอกัวส์ ทำไมท่านไม่ทรงขอให้บาทหลวงฝรั่งเศสท่านใดท่านหนึ่งเป็นผู้แนะนำการใช้กล้องนี้ แต่กลับไปได้ชาวสวีเดนที่เวะมาเที่ยวสยาม และเซอร์ชอมเบอร์ก กงสุลอังกฤษเป็นผู้ติดต่อขอร้องมาได้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 07:17
คนไทยที่วงวิชาการถือว่าเป็นคนแรกที่สามารถชักเงาภาพได้คือนายโหมด(อมาตยกุล) ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นวิสูตรโยธามาตย์ เจ้ากรมทหารในขวา ซึ่งมีความรู้ความสนใจในวิทยาการสมัยใหม่ด้านจักรๆกลๆ จึงทรงมอบหมายให้รับผิดชอบเรียนรู้การใช้กล้องดังกล่าวจนใช้งานได้

เมื่อทรงส่งคณะราชทูตไทยไปอังกฤษเมื่อพฤศจิกายน ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงมีพระราชหัตถเลขาให้อัญเชิญไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกทอเรีย มีความตอนหนึ่งว่า “ …ช่างถ่ายรูปชาวสวีเดนที่เข้ามาเที่ยวกรุงสยาม….ได้ช่วยเหลือให้คนไทยจนกระทั่งรู้วิธีถ่ายรูปได้สะดวก บัดนี้ข้าพเจ้าจึงมีโอกาสให้ช่างของเราถ่ายรูปเหมือนของข้าพเจ้าได้….”


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 08:04
“…ข้าพเจ้าได้นำนาฬิกาเพชรมาประดับ ทั้งได้นำดาบสองคมที่ท่านได้พระราชทานมาให้เมื่อสองสามปีก่อนมาถือประดับไว้ข้างโต๊ะ ซึ่งวางแท่นสำหรับบรรจุกระปุกหมึก และปืนลูกโม่กับปืนยาวไว้ ซึ่งของเหล่านี้ล้วนเป็นมงคลราชบรรณาการจากท่านทั้งสิ้น แล้วยังได้ถ่ายภาพพระราชินีผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าอีกภาพหนึ่ง กับให้ช่างระบายสีภาพทั้งสองนี้อย่างดี ฝากท่านราชทูตมาทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าด้วย”

ก่อนที่ผมจะนำภาพที่อาจารย์ศักดานำมาลงในกษัตริย์กับกล้องต่อจากภาพนี้ ขอนำภาพจากสมุดภาพรัชกาลที่๔ ของอาจารย์พิพัฒน์มาลงก่อนเพื่อให้เห็นภาพตามที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาข้างต้น แต่อ่านที่อาจารย์พิพัฒน์บรรยายใต้ภาพจะเห็นว่าเป็นคนละทาง ทว่ามีเครื่องหมาย ? กำกับไว้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 08:06
"พระราชินีผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า"


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 14, 08:11
นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส (เจ้าโมรา) " ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน

ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ;)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 08:14
นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส" ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน

ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ;)

แล้วท่านเป็นองค์ที่เท่าไหร่กันบ้างล่ะ มีผลงานของท่านมาอวดบ้างได้ไหม


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 14, 08:42
นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส" ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน

ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ;)

แล้วท่านเป็นองค์ที่เท่าไหร่กันบ้างล่ะ มีผลงานของท่านมาอวดบ้างได้ไหม

ผลงานคงมีปรากฎ แต่เสียดายที่ช่างกล้องเหล่านี้ไม่ได้เครื่องหมายอะไรไว้เลย แต่เท่าที่ทราบคือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชาได้ร่วมกับนายโหมด ทำการถ่ายภาพพระเมรุไว้หลายรูป และนอกจากนี้เจ้าโมรา ยังถ่ายรูปตัวเองที่โต๊ะยังเอากล้องถ่ายรูปมาวางไว้ข้างๆตนเอง อันเป็นลักษณะว่า เป็นเครื่องมือที่ติดข้างกายตลอดเวลา


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 08:46
อาจารย์ศักดาเขียนในหนังสือของท่านว่าได้พยายามค้นคว้าหาภาพพระบรมฉายาลักษณ์ทั้งสองอยู่หลายปี จนได้เบาะแสจากเพื่อนอเมริกันในวงการว่าได้เคยเห็นภาพทั้งสองที่พระราชวังวินเซอร์ ชานกรุงลอนดอน ท่านจึงติดต่อภัณฑารักษ์ของสำนักพระราชวังที่นั่น เขาอนุญาตแล้วจึงเดินทางไปดู จึงโชคดีที่ได้เห็นและได้จับต้องภาพดาแกโรไทป์ระบายสีสมัยรัชกาลที่๔ดังกล่าว พระบรมฉายาลักษณ์ที่พระราชทานไปทั้งสองภาพดูจืดจางมากแล้วเพราะความเก่าแก่ ขนาดของภาพทั้งสองเท่ากันคือ ๓.๒๕x๔.๒๕ นิ้ว บรรจุในกรอบทองคำสวยงาม ท่านได้ขอร้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาถ่ายทำสำเนาภาพทั้งสไลด์สีและภาพขาวดำส่งมาให้ พร้อมอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ซึ่งท่านได้นำลงไทยรัฐฉบับ ๒ สิงหาคม ๒๕๓๒ ด้วย


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 08:48
ภาพสีซีเปียทั้งสองภาพครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 08:49
ภาพจากสไลด์สี


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 08:51
เป็นยังไงขอรับ เห็นภาพแล้วมึนตึ๊บไหมล่ะพระเดชพระคุณท่านทั้งหลาย

หายมึนเมื่อไหร่โปรดร่วมอภิปราย


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 14, 09:01
ผมมองว่ากระแสการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพรูปที่ยุโรปนั้น เกิดกระแสการตื่นตัวและตลอดจนมีการคิดค้นพัฒนาต่อยอดกันอย่างมากๆ อาจจะเป็นด้วยความร่ำรวยในการประดิษฐ์ ความมีชื่อเสียง เหล่านี้ย่อมทำให้มีการค้นหาวิธีการต่างๆ

เพื่อให้การถ่ายรูปหลากหลายมากขึ้น การถ่ายภาพด้วยระบบดาร์แกโรไทป์ มีความยุ่งยากตั้งแต่หาแผ่นเงิน อาบน้ำยาไอโอดีน อาบไอปรอท และอื่นๆอีกมากมายแล้ว ปัญหาที่สำคัญของการถ่ายภาพระบบดาร์แก จะทำสำเนาค่อนข้างยาก

คือไม่สามารถอัดลงบนกระดาษได้หลายๆ ใบ (เทคโนโลยียังคิดค้นไม่ได้) และไม่นานหลังจากนี้มีนักประดิษฐ์วิธีการสร้างอะไรที่ง่ายขึ้นเพื่อการถ่ายภาพแทนแผ่นเงินนั่นคือ "กระจก"

นำกระจกขนาดบางมาเคลือบด้วยน้ำยาไวแสง ปล่อยให้แห้งพอหมาดๆ แล้วนำเข้ากล้องถ่ายภาพ แล้วเข้าห้องมืดสร้างภาพ เป็นกระบวนการที่ง่ายมากๆ กว่าการถ่ายระบบแผ่นเงินหลายเท่า


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 14, 09:10
อ.ศักดา ยังค้นหาต่อไปว่า ในพ.ศ. ๒๔๐๔ นั้น สยามประเทศได้รับเอาการถ่ายภาพด้วยระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมิน (กระดาษไข่ขาวเคลือบสารไวแสง) เข้ามายังสยามแล้ว โดยช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" 

ปีแอร์ โรซิเยท์เป็นครูสอนช่างถ่ายภาพแบบกระจกเปียกที่ญี่ปุ่นก่อนเดินทางเข้ามายังสยาม เพื่อถ่ายภาพบุคคล วิวทิวทัศน์เมืองไทยไว้หลายภาพเช่นกัน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การถ่ายภาพของไทยในอีกรูปแบบหนึ่งทีทันสมัย

ภาพผลงานของปีแอร์ โรซิเยท์ คือ ภาพพระเมรุสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ในรัชกาลที่ ๔ (เห็นแล้วตะลึงกว่าไหมครับ  ;D ;D)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 14, 09:26
กระดาษอัลบูมิน (กระดาษไขขาว) คืออะไร

กระดาษอัลบุมิน เป็นกระดาษธรรมดา เอามาเคลือบด้วย ไข่ขาวผสมน้ำยาความไวแสง ก็จะได้กระดาษไว้เพื่อการอัดภาพและเป็นประโยชน์ในด้านการพิมพ์ภาพประกอบลงหนังสือในสมัยโบราณด้วย (ในคัมภรี์ใบเบิ้ลก็มี)

(ดังนั้นเมื่อกระดาษอัลบุมิน ถูกประดิษฐ์ออกมาอุตสาหกรรมฟาร์มไข่ไก่ ก็น่าจะกระตุ้นการเลี้ยงไก่ได้เยอะทีเดียว)

เมื่อการถ่ายภาพ Wet Plate + กระดาษอัลบูมิน ปรากฎตัวในด้านการถ่ายภาพแล้ว ก็ยังมีผลทำให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น การเผยแพร่ผลงานได้มากขึ้นคือ อัดลงใส่กระดาษกี่ร้อยใบก็ได้

นี่คือภาพของวิวกรุงเทพมหานคร ที่ถ่ายโดย ปิแอร์ โรซิเยท์ ราว พ.ศ. ๒๔๐๔


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 14, 09:38
สร้างภาพด้วยกระดาษอัลบูมิน ทำอย่างไร

เมื่อเราถ่ายภาพด้วยระบบกระจกเปียกแล้ว นำกระจกเปียกใส่น้ำยาสร้างภาพเรียบร้อยแล้ว นำไปทาบกับกระดาษอัลบุมิน แล้วนำไปตากแดด เพื่อให้แสงส่องภาพจากกระจกลงไปยังกระดาษอัลบุมิน ตากแดดไว้ครึ้่งชั่วโมง ก็สร้างภาพทำ copy ได้แล้วครับ

เป็นวิธีการที่ง่าย กระชับ นำภาพเหล่านี้ไปโชว์ในงานแกเลอรี่ ได้สบายๆ เหล่านี้จึงก่อให้เกิดกระแสว่า สถาบันมีชื่อต่างๆ จากทางยุโรปจะส่งช่างภาพไปถ่ายภาพสถานที่ บุคคลต่างๆ ทั่วโลกแล้วนำภาพมาโชว์เก็บเงินสร้างความร่ำรวยไปได้มากครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 09:49
อ.ศักดา ยังค้นหาต่อไปว่า ในพ.ศ. ๒๔๐๔ นั้น สยามประเทศได้รับเอาการถ่ายภาพด้วยระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมิน (กระดาษไข่ขาวเคลือบสารไวแสง) เข้ามายังสยามแล้ว โดยช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" 

ปีแอร์ โรซิเยท์เป็นครูสอนช่างถ่ายภาพแบบกระจกเปียกที่ญี่ปุ่นก่อนเดินทางเข้ามายังสยาม เพื่อถ่ายภาพบุคคล วิวทิวทัศน์เมืองไทยไว้หลายภาพเช่นกัน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การถ่ายภาพของไทยในอีกรูปแบบหนึ่งทีทันสมัย

ภาพผลงานของปีแอร์ โรซิเยท์ คือ ภาพพระเมรุสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ในรัชกาลที่ ๔ (เห็นแล้วตะลึงกว่าไหมครับ  ;D ;D)

ผมคิดว่าเรามึนกันคนละเรื่องแล้ว ผมไม่ได้ชวนมึนในคุณภาพของภาพใดภาพหนึ่ง ผมมึนในเนื้อหาว่าตกลงแล้ว พระบรมฉายาลักษณ์ภาพใดแบบใดแน่ ระหว่างภาพของของอาจารย์พิพัฒน์และอาจารย์ศักดา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าส่งไปถวายควีนวิกทอเรีย และยังจะมีความเห็นของอาจารย์เอนกกำลังรอคิวอยู่อีก


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 09:54
แต่เนื้อหาที่คุณหนุ่มนำมาลงตอนนี้ก็เหมาะเหม็ง เพราะจะได้ปูพื้นให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ภาพของอาจารย์ศักดาเป็นถาพที่ถ่ายลงแผ่นเงิน ส่วนของอาจารย์พิพัฒน์เป็นภาพที่ถ่ายจากกระจกแล้วอัดภาพลงกระดาษอัลบูมิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่อังกฤษต่อยอดดาแกโรไทป์ของฝรั่งเศส


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 14, 09:58
อ.ศักดา ยังค้นหาต่อไปว่า ในพ.ศ. ๒๔๐๔ นั้น สยามประเทศได้รับเอาการถ่ายภาพด้วยระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมิน (กระดาษไข่ขาวเคลือบสารไวแสง) เข้ามายังสยามแล้ว โดยช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" 

ปีแอร์ โรซิเยท์เป็นครูสอนช่างถ่ายภาพแบบกระจกเปียกที่ญี่ปุ่นก่อนเดินทางเข้ามายังสยาม เพื่อถ่ายภาพบุคคล วิวทิวทัศน์เมืองไทยไว้หลายภาพเช่นกัน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การถ่ายภาพของไทยในอีกรูปแบบหนึ่งทีทันสมัย

ภาพผลงานของปีแอร์ โรซิเยท์ คือ ภาพพระเมรุสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ในรัชกาลที่ ๔ (เห็นแล้วตะลึงกว่าไหมครับ  ;D ;D)

ผมคิดว่าเรามึนกันคนละเรื่องแล้ว ผมไม่ได้ชวนมึนในคุณภาพของภาพใดภาพหนึ่ง ผมมึนในเนื้อหาว่าตกลงแล้ว พระบรมฉายาลักษณ์ภาพใดแบบใดแน่ ระหว่างภาพของของอาจารย์พิพัฒน์และอาจารย์ศักดา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าส่งไปถวายควีนวิกทอเรีย และยังจะมีความเห็นของอาจารย์เอนกกำลังรอคิวอยู่อีก

คือต้องลงอธิบายไว้ครับ เพราะว่าเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพด้วยระบบต่างๆ เติบโต อย่างมากในยุโปร และไทยเองก็เป็นหนึ่งในซึกโลกตะวันออกที่มีการถ่ายภาพ ไม่น้อยหน้ากว่าญี่ปุ่นและจีน


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 10:08
^
สงสัยว่าไม่ได้อ่านคคห.ถัดลงมาข้างบน ???
^


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 10:34
เหตุผลหนึ่งที่บาทหลวงฝรั่งเศสทั้งสองท่านช่วยอะไรไม่ได้มากอาจเป็นเพราะกล้องที่ได้มาใหม่นี้เป็นแบบทัลบอลโรไทป์ ที่นายทัลบอลคนอังกฤษคิดค้นวิธีการถ่ายภาพแบบใช้กระจกและกระดาษอัดที่ท่านไม่คุ้นเคย

อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับปัญหาที่ผมมึนตึ๊บ อาจารย์อเนก นาวิกมูลก็แสดงความเห็นไว้ในหนังสือประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของเมืองไทยว่าดังนี้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 10:43
สงเคราะห์ผู้มีปัญหาทางสายตา


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 14, 11:48
ขอทวนอีกครั้งหนึ่งว่า การถ่ายภาพไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกทอเรียตามพระความในพระราชหัตถเลขานั้น ต้องกระทำในระหว่างช่วงปี ๒๓๙๙ ซึ่งได้รับกล้องมา ถึงปี ๒๔๐๐ ที่ส่งคณะราชทูตสยามไปอังกฤษ

แสดงว่าเทคโนโลยี่ในสยามไปถึงระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมินแล้ว  ก่อนหน้าที่ช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" จะเข้ามาวาดลวดลายยังสยามในพ.ศ.๒๔๐๔ ตามที่คุณหนุ่มว่าหลายปี เพียงแต่อุปกรณ์ของเขาอาจจะทันสมัยขึ้นไปอีกเท่านั้น

แต่พระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงพระมหามงกุฏ และอีกองค์หนึ่งที่ทรงฉายพร้อมสมเด็จพระราชินีและสมเด็จเจ้าฟ้าบนพระเพลา น่าจะถ่ายทำก่อนหน้านั้นไปอีก ถ้าไม่ใช่บาทหลวงเข้ามาเป็นผู้ถ่ายในวัง เจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งที่คุณหนุ่มว่านั่นแหละ อาจจะทรงเป็นช่างภาพก็ได้ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีใครกล่าวถึง

และประเด็นที่สำคัญ พระบรมฉายาลักษณ์ที่อาจารย์ศักดาไปพบนี้ เข้าไปอยู่ในพระราชวังวินเซอร์ได้อย่างไร และเมื่อไหร่


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 14, 11:19
“…ข้าพเจ้าได้นำนาฬิกาเพชรมาประดับ ทั้งได้นำดาบสองคมที่ท่านได้พระราชทานมาให้เมื่อสองสามปีก่อนมาถือประดับไว้ข้างโต๊ะ ซึ่งวางแท่นสำหรับบรรจุกระปุกหมึก และปืนลูกโม่กับปืนยาวไว้ ซึ่งของเหล่านี้ล้วนเป็นมงคลราชบรรณาการจากท่านทั้งสิ้น แล้วยังได้ถ่ายภาพพระราชินีผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าอีกภาพหนึ่ง กับให้ช่างระบายสีภาพทั้งสองนี้อย่างดี ฝากท่านราชทูตมาทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าด้วย”

กว่าจะทราบว่าอะไรเป็นอะไร ก็ต้องเปิดค้นในเล่มที่สาม ของอาจารย์เอนก นาวิกมูล จึงจะทราบที่มาที่ไปอย่างถูกต้อง คือเป็นพระบรมฉายาลักษณ์คนละรายการกันที่ส่่งไปกับคณะราชทูตสองคณะ ให้นำขึ้นทูลเกล้าถวายควีนวิกทอเรีย

และทำให้เราทราบอีกว่า ในแต่ละพ.ศ. การถ่ายภาพของเราเป็นแบบใด น่าจะถ่ายโดยใคร


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 14, 20:06
นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส" ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน

ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ;)

แล้วท่านเป็นองค์ที่เท่าไหร่กันบ้างล่ะ มีผลงานของท่านมาอวดบ้างได้ไหม

หยิบ ๒ ภาพนี้มาให้ชมกันครับ

ภาพซ้ายมือ ถ่ายโดยจอห์น ทอมสัน ถ่ายที่วังพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา คงเป็นภาพพระโอรสของท่าน (สังเกตุแจกกันแก้วใสข้างตัวเด็กนะครับ)

ภาพขวามือ เป็นภาพพระโอรสของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา  ใต้ภาพเขียนว่า "เจ้าโมรา" ถ่ายภาพกับเครื่องมือคู่ใจคือ กล้องถ่ายภาพ ๒ เลนส์ (แจกันใบเดียวกันกับภาพซ้ายมือ)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 14, 20:20
คุณพี่อรรถดา เข้ามาอ่านกระทู้นี้ตลอดครับ เห็นมีการกล่าวถึงพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา ผู้สามารถเป็นช่างกล้องได้ จึงได้ส่งภาพที่สะสมนำมาให้ดูผลงานของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

โดยการ์ดด้านหลังปรากฎยี่ห้อของท่านอยู่ แต่ไม่ทราบว่าท่านเปิดสตูดิโอที่ใด และบุคคลในภาพเป็นใคร  ???


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 14, 20:24
รายละเอียดด้านหลังยี่ห้อ กรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

แสดงว่าในยุคนั้น ใครที่เปิดสตูดิโอถ่ายภาพ ต้องมีชื่อตัวเองกำกับเสมือนเป็นผลงานของบุคคลนั้นๆ ไม่ว่า ฟรานซิส จิตร, แชตเล่อร์ ก็ตาม

แต่การพิมพ์กระดาษนี้ เขาสั่งพิมพ์กันหรืออย่างไร  ??? น่าสงสัย


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 14, 20:30
หม่อมเจ้าชายโมรา เป็นพระโอรสองค์แรกในพระองค์เจ้านิลรัตน  กรมหมื่นอลงกฏกิจปรีชา
ประสูติเมื่อพ.ศ. 2385   สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 28 เมษายน  2430  พระชันษา 46 ปี   ไม่ได้ทรงกรม
เมื่อทราบปีประสูติ คะเนจากพระชันษาในภาพนี้  ก็พอจะทำให้คาดคะเนต่อไปได้ว่ารูปนี้ถ่ายราวๆพ.ศ.ใด


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 06:43
รายละเอียดด้านหลังยี่ห้อ กรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

แสดงว่าในยุคนั้น ใครที่เปิดสตูดิโอถ่ายภาพ ต้องมีชื่อตัวเองกำกับเสมือนเป็นผลงานของบุคคลนั้นๆ ไม่ว่า ฟรานซิส จิตร, แชตเล่อร์ ก็ตาม

แต่การพิมพ์กระดาษนี้ เขาสั่งพิมพ์กันหรืออย่างไร  ??? น่าสงสัย

พิมพ์อะไรขนาดเล็กๆทีละใบอย่างนี้ คงไปจ้างเขาทำบล๊อก แล้วมาอัดเอาเอง


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 06:58
คุณพี่อรรถดา เข้ามาอ่านกระทู้นี้ตลอดครับ เห็นมีการกล่าวถึงพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา ผู้สามารถเป็นช่างกล้องได้ จึงได้ส่งภาพที่สะสมนำมาให้ดูผลงานของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

โดยการ์ดด้านหลังปรากฎยี่ห้อของท่านอยู่ แต่ไม่ทราบว่าท่านเปิดสตูดิโอที่ใด และบุคคลในภาพเป็นใคร  ???

ต้องขอขอบคุณคุณอรรถดาที่มีน้ำใจนะครับ ทำให้น่าคิดว่าช่างภาพคนแรกของสยามจะเป็นกรมหมื่นอลงกตหรือนายโหมดกันแน่

อย่างไรก็ดี ภาพนี้ไม่ได้เป็นตัวจริงจากแผ่นเงินซึ่งถ่ายจากกล้องของบาดหลวงที่ขายให้ หรืออาจจะใช่แต่ใช้กล้องแบบกระจกก็อปปี้ภาพจากแผ่นเงินมาอีกทีในภายหลังไม่รู้ได้ แต่คุณภาพของภาพถ่ายด้อยกว่าของทอมสันอยู่เห็นๆ ทั้งคอนทราสต์ของรูปและความคมชัด อันเกิดจากเลนช์


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 14, 07:06
คุณพี่อรรถดา เข้ามาอ่านกระทู้นี้ตลอดครับ เห็นมีการกล่าวถึงพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา ผู้สามารถเป็นช่างกล้องได้ จึงได้ส่งภาพที่สะสมนำมาให้ดูผลงานของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

โดยการ์ดด้านหลังปรากฎยี่ห้อของท่านอยู่ แต่ไม่ทราบว่าท่านเปิดสตูดิโอที่ใด และบุคคลในภาพเป็นใคร  ???

ต้องขอขอบคุณคุณอรรถดาที่มีน้ำใจนะครับ ทำให้น่าคิดว่าช่างภาพคนแรกของสยามจะเป็นกรมหมื่นอลงกตหรือนายโหมดกันแน่

อย่างไรก็ดี ภาพนี้ไม่ได้เป็นตัวจริงจากแผ่นเงินซึ่งถ่ายจากกล้องของบาดหลวงที่ขายให้ หรืออาจจะใช่แต่ใช้กล้องแบบกระจกก็อปปี้ภาพจากแผ่นเงินมาอีกทีในภายหลังไม่รู้ได้ แต่คุณภาพของภาพถ่ายด้อยกว่าของทอมสันอยู่เห็นๆ ทั้งคอนทราสต์ของรูปและความคมชัด อันเกิดจากเลนช์

ทอมสันสำเนาจากต้นฉบับที่เป็นกระจก จึงมีความคมชัด ส่วนภาพอื่นที่นำมาลงนั้นเป็นภาพอัดลงกระดาษอัลบุมิน ทำให้คุณภาพ + ความเก่าแก่ ทำให้ด้อยลงไปนิดครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 14, 07:09
บัญชีเครื่องราชบรรณาการที่ไปพร้อมกับหม่อมราโชทัย นั้นประกอบด้วย พระบรมฉายาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ภาพครับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 14, 07:15
ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์คุ่ ถ่ายด้วยระบบแผ่นเงินผีมือบาทหลวงปาเลอกัวซ์ ส่งไปเป็นเครื่องบรรณาการจากสยามสู่สหรัฐอเมริกา


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 08:47
ครับผม^

ผมจะเปิดตัวช่างชักภาพสยามตามพ.ศ.นะครับ เพื่อป้องกันความสับสนเหมือนกับที่ผมเป็นมาแล้วระหว่างการศึกษาหาอ่านมาเขียนเรื่องลงเน็ตคราวนี้

ช่างภาพคนต่อไป คือช่างภาพนามอุโฆษระดับมาสเตอร์หนึงเดียวของสยามในยุคเริ่มต้น คือฟรันซิส จิต สมัยที่ยังไม่มีบรรดาศักดิ์อะไรทั้งสิ้น รูปที่หนุ่มที่สุดของท่านก็ถ่ายคู่กับกล้อง ๔ เลนซ์อันเป็นผลิตภัณฑ์ในยุคหลัง จึงดูเป็นผู้ใหญ่มากแล้ว สมัยที่บาดหลวงลาร์โนดีหอบกล้องเข้ามาสยามครั้งแรกนั้น ท่านยังมีอายุแค่ ๑๕ ปี

ฟรันซิส จิต อาจารย์ทั้งหลายเขียนว่าเป็นบุตรของทหารแม่นปืนวังหน้า เชื้อสายโปร์ตุเกต คงจะสันนิฐานจากชื่อที่เป็นคาธอลิก มีคริสเตียนเนม และอาศัยอยู่บนแพแถวโบสถ์ซานตาครูส ย่านของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกตุจากอยุธยา มีผมคนเดียวผ่าแนวที่เขียนไปว่า บิดาของท่านเป็นทหารแม่นปืน กองอาสาญวนในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เพราะพระองค์ท่านไม่มีทหารอาสาโปร์ตุเกตุเหมือนกษัตริย์สมัยกรุงเก่า อีกประการหนึ่ง เมือคราวที่กษัตริย์ญวนข่มเหงชาวพื้นเมืองเข้ารีตและสังหารบาทหลวงชาวฝรั่งเศสอย่างทารุณเสียหลายคน ก่อนที่ฝรั่งเศสจะอ้างเหตุประกาศสงครามและยึดญวนเป็นเมืองขึ้นเลยนั้น พวกญวนคาธอลิกได้หนีตายตามฝรั่งเศสเข้าพึ่งพระบรมโพธิสัมภารเป็นจำนวนมากตั้งแต่รัชกาลที่แล้ว ซึ่งน่าจะรวมถึงบรรพบุรุษของฟรันซิส จิตด้วย ตัวท่านจึงยังไม่มีบ้านเพราะไม่ใช่เชื้อสายดั้งเดิมของคาธอลิกย่านนั้น ต้องอาศัยอยู่บนแพ และสนิทสนมกับบาทหลวงฝรั่งเศสมากจนถึงขนาดได้ถ่ายทอดวิชาชักเงาภาพเข้ากล้องให้ด้วย

ไม่ปรากฏว่าอาวุธคู่กายของฟรันซิส จิตในยุคแรกจะเป็นกล้องตัวใด แต่ใช้กระจกเปียกแน่ หลวงพ่อลาร์โนดีเองก็ไม่ใช่ว่าจะเลิกถ่ายรูปหลังจากที่สังฆราชปาเลอกัวส์ขายกล้องของท่านไปแล้ว บันทึกของฝรั่งในหลายปีต่อมายังบอกว่าท่านยังเดินท่อมๆเที่ยวถ่ายรูปอยู่ในเมืองกรุง ก่อนจะกลับไปบ้านเก่าในฝรั่งเศสโดยถาวร ทั้งสองอาจเป็นคู่มิตรกันในเรื่องของการถ่ายภาพ และนายจิตร(หนุ่ม)น่าจะได้กล้องจากท่าน


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 09:06
นายจิตร เปิดห้องภาพครั้งแรกในปี ๒๔๐๖ ก่อนการเข้ามาของทอมสันถึง๒ปี และได้โฆษณาว่าเป็นตนช่างภาพหลวงแล้ว แปลว่าท่านต้องได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นก่อนหน้านั้น

นายจิตรถ่ายภาพไว้มากมาย แต่ผลงานเฉพาะภาพถ่ายบุคคลที่อาจารย์ทั้งสามท่านให้ข้อมูลไว้ในหนังสือตรงกันก็คือพระบรมฉายาลักษณ์ชุดนี้
ภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯองค์นี้ ผมเห็นด้วยว่าเป็นภาพถ่ายบุคคลระดับมาตรฐานสากลไม่ว่จะยคไหนทั้งนั้น เมื่อพิจารณาแสง เงา องค์ประกอบและฉากหลัง และคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด คือความคมชัด

ภาพนี้จากหนังสือของอาจารย์พิพัฒน์


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 09:07
ของอาจรย์ศักดา


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 09:10
ของอาจารย์เอนก


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 09:21
ความจริงแล้วท่านสังฆราชปาเลอกัวส์เป็นเพียงแต่ผู้สั่งกล้องแบบดาแกร์เข้ามาสยามเป็นคนแรกในปี ๒๓๘๘ เท่านั้น ศ.ศักดา ศิริพันธ์เป็นผู้ค้นพบความจริงนี้เมื่อท่านเดินทางไปค้นหาข้อมูลในห้องเก็บจดหมายเหตุของสถาบัน Missions Entrangeres de Paris (MEP)เมื่อปี ๑๙๘๘ และเขียนเล่าไว้ในหนังสือของท่าน สงสัยมันหนาไปมั๊ง คนจึงไม่อ่าน เพราะดูแต่ภาพก็เพลิดเพลินเจริญใจเหลือจะกล่าวแล้ว

แต่ปรากฏว่าอาจารย์ศักดาเอง ได้เขียนและลงภาพในบทที่กล่าวถึงครั้งที่ท่านได้เข้าถึงห้องเก็บหลักฐานเก่าของสยามในสภาบันMEPว่า ภาพชุดนี้ฝรั่งเศสบันทึกว่าเป็นฝีมือการถ่ายภาพของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาดหลวงลาร์โนดี ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ในภาพ และรูปถ่ายทิวทัศน์อื่นๆที่ผมยังไม่อยากกล่าวถึง

ทั้งสองภาพมีความละเอียดชัดเจนสมเป็นภาพต้นฉบับ แม้จะสำเนาภาพมาก็ยังมีคุณภาพสูง สามารถนำมาขยายเป็นภาพขนาดใหญ่ได้เลย ปรากฏให้เห็นในนิทรรศการต่างๆที่จัดขึ้นในเมืองไทยสมัยหลังๆ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 10:38
มาถึงตรงนี้ก็เพื่อจะสารภาพว่า สิ่งที่ผมเขียนในกระทู้เรื่องพระบวรฉายาลักษณ์องค์ไหนองค์แท้ไม่แท้นั้น ข้อมูลอาจพลิกไปพลิกมา เพราะผมใช้หนังสือครูทั้งสามเล่มจริง แต่ไม่สามารถอ่านได้หมดทุกหน้าเพื่อตรวจสอบกันว่าควรจะเชื่ออะไรไม่เชื่ออะไร เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็ไม่ใช่การเขียนกระทู้แล้ว อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆเฉียดๆวิทยานิพนธ์เลยทีเดียว ต้องขออภัยที่หากท่านอ่านแล้วจะสับสนไปบ้าง ครั้นผมจะไปอธิบายในกระทู้นั้นก็จะมากเรื่องมากความเข้าไปอีก จึงเลี่ยงมาเปิดกระทู้นี้เพื่อหาโอกาสแก้ความสับสนต่างๆในตำนานการถ่ายภาพยุคแรกๆของสยาม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0)

เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ต่างๆ ผมเชื่อว่า ทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ทั้งคู่ที่ผมกำลังกล่าวถึง เป็นผลงานอันเฉียบขาดร่วมกันของหลวงพ่อลาร์โนลีและฟรันซิส จิต ศิษย์เอก ทั้งสองคงเข้าวังไปด้วยกันเพราะงานใหญ่ระดับนี้ครั้งแรก อาจารย์จะปล่อยให้ศิษย์บินเดี่ยวได้อย่างไร และถึงอาจารย์จะไปด้วย ฟรันซิสจิตก็คงไม่ได้มีบทบาทแค่เด็กแบกกล้อง เพราะมิฉะนั้นแล้วคงไม่ได้งานต่อมาจนถึงโปรดเกล้าฯให้เป็นช่างภาพหลวง
 
ซึ่งการมีส่วนร่วมของบาทหลวงลาร์โนลีนี้เองที่ทำให้ภาพต้นฉบับทั้งสองไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ภายใต้ใบกำกับว่าเป็นฝีมือการถ่ายของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาทหลวงลาร์โนลี กับที่ในเมืองไทย เราก็ค้นพบกระจกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหีบผลงานของฟรันซิส จิตร แต่พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าองค์นี้ ไม่มีใครเคยเห็นเลยจนกระทั่งอาจารย์ศักดา ขอให้สถาบันMEPสำเนาต้นฉบับส่งกลับมาให้

ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่ปรากฏมีพระบวรฉายาลักษณ์ที่ประดับดวงดาราแบบไทยองค์นี้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 14, 11:22

ซึ่งการมีส่วนร่วมของบาทหลวงลาร์โนลีนี้เองที่ทำให้ภาพต้นฉบับทั้งสองไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ภายใต้ใบกำกับว่าเป็นฝีมือการถ่ายของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาทหลวงลาร์โนลี กับที่ในเมืองไทย เราก็ค้นพบกระจกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหีบผลงานของฟรันซิส จิตร แต่พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าองค์นี้ ไม่มีใครเคยเห็นเลยจนกระทั่งอาจารย์ศักดา ขอให้สถาบันMEPสำเนาต้นฉบับส่งกลับมาให้



ให้ดูบรรยากาศแห่งการถ่ายภาพสิครับ จะเห็นว่าการถ่ายภาพในสมัยก่อน รวมทั้งสมัยผมยังละอ่อนน้อย การถ่ายรูปต้องไปถ่ายที่ร้านถ่ายรูป ไม่ง่ายดายเหมือนสมัยนี้

ทีนี้มาดูว่าพระบรมฉายาลักษณ์ เสื้อสีขาวนั้น ประทับนั่ง (อาจจะเป็นบริเวณหมู่พระที่นั่งอภิเนาว์นิเวศน์) ฉากหลังไม่สร้างม่าน ไม่มีโต๊ะพร้อมผ้าคลุม ไม่มีพรม คือไม่มีอุปกรณ์อะไรเลย มีเพียงพระเก้าอี้นั่ง (ซึ่งต้องนั่งนิ่งๆ อย่างน้อย นาทีกว่าๆ) อาจจะเป็นการทดลองประทับเพื่อถ่ายภาพก็เป็นไปได้นะครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 14, 11:32
ครับ แต่ก็ออกมาดีมากเลย ไม่มีไหว


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 14, 19:17
ไม่รู้ว่ารูปนี้ผิดคิวรึเปล่านะคะ   ถ้าผิดคิว ลบค.ห.นี้ไปก่อนก็ได้ จนกว่าจะถึงคิว


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 14, 19:19
 ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 14, 07:20
ความชาญฉลาดของ ทอมสัน ที่เข้ามาถ่ายภาพในเมืองไทย แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ในภาพเลย ผ่านร้อยปีกว่าก็ยังมีผลงานให้ปรากฎ .... แต่ว่าไม่ได้ลงชื่อผลงานทุกชิ้นนะครับ บางชิิ้นก็ไม่ลงไว้ก็มีมากอยู่ครับ



กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 14, 07:25
พระบรมฉายาลักษณ์ภาพนี้ น่าจะถ่ายโดยใคร ? มีอักษรกำกับไว้ว่า Aolh และ J  (หรือ Photh) แล้ว ทอปสัน ล่ะครับ  :o


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 08:41
นายตอมซัน ชื่อตามคำสะกดสมัยโน้นของหมอบรัดเล เข้ามาสยามหลังจากที่นายจิตเปิดกิจการร้านถ่ายรูปเป็นอาชีพแล้ว ๒ ปี โดยระหว่างอยู่ในกรุงเทพจะพำนักที่บ้านหลวงของกับปิตันเอม นายกองเตวน บรรพบุรุษของแม่ยายพ้ม ท่านไม่ได้ชื่อเอม นามสกุลนายกองเตวน นะครับ แต่เป็นนายกองตระเวน หรือโปลิสแบบยุโรปคนแรกของสยาม

ฝากระโยงเรื่องของกัปตันเอมซ์ที่ผมเขียนไว้ให้อ่านหน่อย เดี๋ยวจะกลับมาเรืองนายทอมสันต่อ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 14, 10:21
นายตอมซัน ชื่อตามคำสะกดสมัยโน้นของหมอบรัดเล เข้ามาสยามหลังจากที่นายจิตเปิดกิจการร้านถ่ายรูปเป็นอาชีพแล้ว ๒ ปี โดยระหว่างอยู่ในกรุงเทพจะพำนักที่บ้านหลวงของกับปิตันเอม นายกองเตวน บรรพบุรุษของแม่ยายพ้ม ท่านไม่ได้ชื่อเอม นามสกุลนายกองเตวน นะครับ แต่เป็นนายกองตระเวน หรือโปลิสแบบยุโรปคนแรกของสยาม

ฝากระโยงเรื่องของกัปตันเอมซ์ที่ผมเขียนไว้ให้อ่านหน่อย เดี๋ยวจะกลับมาเรืองนายทอมสันต่อ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0)


ที่เดินทางเข้ามาเนี่ย ไม่ได้ต้องการเข้ามาอยากถ่ายภาพกรงเทพหรอกครับ จุดประสงค์หลักต้องการเดินทางไปเก็บภาพปราสาทหินนครวัด และได้ศึกษาไว้ว่าเสียมเรียบ เป็นเขตอิทธิพลของสยาม จึงต้องเดินทางเข้ามาเพื่อขอใบวีซ่า (ใบผ่านแดน) เพื่อเดินทางไปยังปราสาทหินนครวัด


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 14, 12:08
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพศิรินทรฯ ถ่ายด้วยระบบแผ่นเงิน ดาแกโรไทป์ ลงสีอย่างสวยงาม เก็บที่พระราชวังฟองแตงโบ ประเทศฝรั่งเศส

จะเห็นว่าการตั้งโต๊ะ สร้างแท่นยกสูงจากพื้น เพื่ออะไร ?  หรือว่าขาตั้งกล้องมีความสูงมากเกินไป

เผยแพร่โดยเวปไซด์ฝรั่งเศส


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 14, 09:14
ธันวาคม ๒๔๐๘ หนังสือบางกอกรีคอร์ดเดอร์ ของหมอบรัดเล ลงข้อความเกี่ยวกับช่างชักรูป ผู้มีชื่อ ๓ ท่าน (ขณะลงโฆษณานี้ มิศเตอร์ทอมสัน ได้เข้ามายังกรุงเทพเรียบร้อยแล้ว)

แต่สำหรับ มิสเตอร์แชตเลอร์ ทำไมต้องตั้งหัวข้อข่าว "คาดใบหนึ่ง" แต่สำหรับทอมสัน และฟรานซิสจิตตั้งหัวข้อข่าวว่า "ผู้ที่จะมาชักรูป"


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 14, 09:23
ข่าวของมิศเตอร์ทอมสัน ชักรูปภาพนครวัดมาได้ ๔๐ แผ่น และทูลเกล้าให้รัชกาลที่ ๔ ทรงทอดพระเนตรด้วย และข่าวเรื่องการรื้อย้ายปราสาทหิน ก็อยู่ในคอลัมภ์เดียวกันนี้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.ย. 14, 18:56
โฆษณานายทองดี บุตรชายฟรานซิสจิต


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ต.ค. 14, 19:30
ภาพถ่ายจากต้นฉบับ Negative


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ต.ค. 14, 09:48
ภาพ Positive  ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ต.ค. 14, 10:19
ภาพ Positive  ;D

กลับซ้าย - ขวา ด้วยสิคุณเพ็ญ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ต.ค. 14, 10:38
 ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 07:23
มาถึงตรงนี้ก็เพื่อจะสารภาพว่า สิ่งที่ผมเขียนในกระทู้เรื่องพระบวรฉายาลักษณ์องค์ไหนองค์แท้ไม่แท้นั้น ข้อมูลอาจพลิกไปพลิกมา เพราะผมใช้หนังสือครูทั้งสามเล่มจริง แต่ไม่สามารถอ่านได้หมดทุกหน้าเพื่อตรวจสอบกันว่าควรจะเชื่ออะไรไม่เชื่ออะไร เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็ไม่ใช่การเขียนกระทู้แล้ว อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆเฉียดๆวิทยานิพนธ์เลยทีเดียว ต้องขออภัยที่หากท่านอ่านแล้วจะสับสนไปบ้าง ครั้นผมจะไปอธิบายในกระทู้นั้นก็จะมากเรื่องมากความเข้าไปอีก จึงเลี่ยงมาเปิดกระทู้นี้เพื่อหาโอกาสแก้ความสับสนต่างๆในตำนานการถ่ายภาพยุคแรกๆของสยาม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0)

เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ต่างๆ ผมเชื่อว่า ทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ทั้งคู่ที่ผมกำลังกล่าวถึง เป็นผลงานอันเฉียบขาดร่วมกันของหลวงพ่อลาร์โนลีและฟรันซิส จิต ศิษย์เอก ทั้งสองคงเข้าวังไปด้วยกันเพราะงานใหญ่ระดับนี้ครั้งแรก อาจารย์จะปล่อยให้ศิษย์บินเดี่ยวได้อย่างไร และถึงอาจารย์จะไปด้วย ฟรันซิสจิตก็คงไม่ได้มีบทบาทแค่เด็กแบกกล้อง เพราะมิฉะนั้นแล้วคงไม่ได้งานต่อมาจนถึงโปรดเกล้าฯให้เป็นช่างภาพหลวง
 
ซึ่งการมีส่วนร่วมของบาทหลวงลาร์โนลีนี้เองที่ทำให้ภาพต้นฉบับทั้งสองไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ภายใต้ใบกำกับว่าเป็นฝีมือการถ่ายของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาทหลวงลาร์โนลี กับที่ในเมืองไทย เราก็ค้นพบกระจกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหีบผลงานของฟรันซิส จิตร แต่พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าองค์นี้ ไม่มีใครเคยเห็นเลยจนกระทั่งอาจารย์ศักดา ขอให้สถาบันMEPสำเนาต้นฉบับส่งกลับมาให้

ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่ปรากฏมีพระบวรฉายาลักษณ์ที่ประดับดวงดาราแบบไทยองค์นี้
สำหรับท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ถึงตอนนี้ กรุณาเปิดกระทู้ตามระโยงที่ผมทำไว้อีกครั้ง จากหลักฐานครั้งสุดท้าย ผมเชื่อว่าภาพที่กล่าว ถ่ายโดยนายโรสิเยร์(Pierre Rossier) ตามเหตุผลที่อธิบายไว้ในกระทู้โน้นแล้ว

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.195 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.195)


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: cameraman ที่ 31 ต.ค. 14, 15:44
หนังสือของ อ. ศักดา ใน คคห 2 ได้ปูพื้นฐานการถ่ายรูปขณะที่วิทยาการเริ่มแพร่เข้าสู่สยามได้เป็นอย่างดี

แต่ว่าผู้แต่งบวกลบวันเดือนปี ตรงเหตุการณ์ที่สำคัญอันหนึ่ง ผิดไป


พอคุณพิพัฒน์ มาต่อยอดประวัติการถ่ายภาพต่อจาก อ. ศักดา ทำให้เรียบเรียงเหตุการณ์สำคัญผิดตามไปด้วยอย่างน่าเสียดาย


เผอิญผมอยู่ไกลบ้าน ไม่มีเอกสารในมือที่จะอ้างอิงครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 15:58
ด้วยความเคารพต่อครูบาอาจารย์ทุกๆท่าน ผมมิได้เคยนึกตำหนิในเรื่องความผิดพลาดของข้อมูลใดๆเลย ในยุคที่เราไม่มีอินทรเนตรเป็นตาวิเศษช่วยค้นหาให้ ทั้งหมดต้องแสวงจากชั้นหนังสือ มันก็ยากพอๆกับงมเข็มในมหาสมุทรเช่นกัน เท่าที่ท่านทำกันมาได้ก็ประเสริฐยิ่งแล้ว

แต่เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว ผมจะขอสรุปเรื่องเสียใหม่ โดยเรียบเรียงไปตามลำดับเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนกว่า ดังนี้

พ.ศ. ๒๓๘๘ ยังอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ สังฆราชปาเลอกัวส์(Jean-Baptiste Pallegoix)ได้สั่งกล้องแบบดาแกร์เข้ามาสยามเป็นคนแรก โดยบาทหลวงลาร์โนดี(Pere Larnaudie)เป็นผู้นำกล้องดังกล่าวจากปารีสกลับไปกรุงเทพ และได้เป็นผู้สอนให้สังฆราชปาเลอกัวส์ถ่ายภาพจนเป็นอีกทีหนึ่ง ดังนั้นบาทหลวงลาร์โนดีจึงถือว่าเป็นช่างภาพคนแรกในประวัติศาสตร์สยาม ส่วนผลงานของสังฆราชปาเลอกัวส์ชิ้นหนึ่งคือ พระรูปของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิสเรศรังสรรค์ ภาพนี้ ที่ท่านอาศัยความคุ้นเคยต่อกันทำการถ่ายไว้ได้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 16:01
พ.ศ. ๒๓๙๙ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษได้ส่งอัครราชทูตพิเศษ นำมงคลราชบรรณาการมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรวมทั้งหมด๔๕รายการ หนึ่งในนั้นเป็นกล้องถ่ายรูปที่คนอังกฤษประดิษฐ์ขึ้น บังเอิญโชคไม่ดี ระหว่าขนถ่ายจากเรือใหญ่ลงเรือเล็กที่สิงคโปร เรือคว่ำลง กล่องใส่เครื่องราชบรรณาการตกน้ำส่วนที่จมลงไปงมขึ้นมาได้ก็จริง แต่ก็เสียหาย รวมทั้งกล้องถ่ายรูปดังกล่าวด้วย

กล้องนั้นไม่มีผู้ใดในสยามสามารถใช้ได้ จวบจนนายฌอมเบิร์ก กงสุลอังกฤษได้นำช่างถ่ายรูปชาวสวีเดนที่เข้ามาเที่ยวกรุงสยาม ให้ช่วยเหลือจนกระทั่งคนไทยรู้วิธีถ่ายรูป ท่านผู้นั้นคือพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล).และได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ส่งไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๐๐

๒๔๐๑ นายอองรี มูโอต์ นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสยาม เพื่อผ่านไปสำรวจดินแดนลาวและเขมร จึงมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

๒๔๐๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯส่งคณะทูตไทยไปฝรั่งเศส และนำเครื่องมงคลราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ ๓

๒๔๐๔ ฝรั่งเศสส่งนายโบกัวต์(Firmin Bocourt)นักชีววิทยาจากพิพิธภัฑณสถานแห่งชาติว่าด้วยชีววิทยาในกรุงปารีสมาสยาม ตามที่ประสานกับท่านอัครราชทูตไว้ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ติดต่อให้นายโรสิเยอ์(Pierre Rossier)ช่างภาพซึ่งกำลังรับงานถ่ายรูปอยู่ในเมืองจีน ให้เดินทางมาถ่ายภาพในสยามภายใต้การกำกับการของนายโบกัวต์

เห็นว่าภาพของนายโรสิเยอ์ จะมีทั้งความคมชัดและลึก โดดเด่นกว่าภาพทั้งหลายที่เคยถ่ายกันในสยาม ผลงานเช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็จากกล้องที่ใช้เลนซ์ระดับสุดยอดของโลก เพราะราคาแสนแพงของมัน จึงมีแต่มืออาชีพที่คู่ควรเท่านั้นที่จะใช้มันได้ ซึ่งหากจะดูปูมประวัติของนายโรสสิเยร์ เขาถูกว่าจ้างโดยบริษัท Negretti and Zambra ซึ่งเป็นผู้ผลิตเลนซ์ให้มาถ่ายทำภาพในเมืองจีนและญี่ปุ่น เพื่อนำไปส่งเสริมการขายธุรกิจของบริษัท รัฐบาลฝรั่งเศสไปตัดตอนให้เขาเข้ามาสยามเพื่อถ่ายภาพให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเฉพาะกิจเท่านั้น ระหว่างที่อยู่ในกรุงเทพ จึงมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่า เขาได้มีโอกาสถ่ายภาพพระเจ้าอยู่หัวของสยามทั้งสองพระองค์

๒๔๐๕ นายโบกัวต์นำภาพที่ถ่ายไว้โดยนายโรสิเยอ์กลับไปมอบให้พิพิธภัณฑ์ตามที่ได้รับคำสั่ง


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 16:30
๒๔๐๖ พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ทรงส่งอัครราชทูตพิเศษ นำมงคลราชบรรณาการ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์ (Légion d'honneur) มาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นชั้นปฐมาภรณ์ Grand'-Croix มีดวงดาราพร้อมสายสะพาย ส่วนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นชั้นทุติยาภรณ์ (Grand'-Officier) เป็นดวงดาราและเหรียญประดับอก ไม่มีสายสะพาย

ในระยะเวลาไล่เรี่ยกัน หนังสือ Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indochine (ท่องภาคกลางของสยาม กัมพูชาและลาว ระหว่างปีค.ศ.1858, 1859,และ1860) นายอองรี มูโอต์ได้รับการตีพิมพ์และวางตลาด ภายในเล่มมีภาพประกอบที่ทำเป็นภาพลายเส้นเหมือนจริงบุคคลและสถานที่ต่างๆในสยาม ลอกจากภาพถ่าย รวมถึงพระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้ เพราะขณะนั้นยังพิมพ์ภาพถ่ายลงตรงๆในหนังสือไม่ได้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 16:36
โปรดสังเกตดวงตราที่ประดับบนฉลองพระองค์ชุดทหารเรือ ในสมัยต้นรัชกาลที่๔ สยามยังไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามคติฝรั่ง จวบจนพ.ศ.๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดวงตราไอยราพตขึ้น องค์ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ได้รับพระราชทานรูปพรรณสันฐานเป็นรูปไข่ ไม่น่าจะใช่ดังที่ปรากฏในพระบวรฉายาลักษณ์ และเมื่อพิจารณาพระบวรสาทิสลักษณ์ในช่วงสมัยของพระองค์แล้ว หลายท่านมีความเห็นตรงกันว่า น่าจะเป็นตราจุฑามณีประจำพระองค์นั่นเอง

แปลว่าต้นฉบับภาพถ่ายตัวจริง คงจะต้องอยู่ในปารีสแล้ว ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถวายเครื่องราช อิสริยาภรณ์ เลฌียง ดอเนอร์ แด่พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ หลักฐานก็คือพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์สองภาพนี้ ถูกพบโดยศาสตราจารย์ ศักดา ศิริพันธ์ ในคลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris โดยอธิบายในหนังสือกษัตริย์ & กล้องว่า เป็นผลงานของสังฆราชปาเลอกัวส์(เพราะเจอในสำนักงานใหญ่ต้นสังกัดของท่าน)

มาในยุคอินเทอเน็ตที่วิเศษประดุจอินทรเนตร ทำให้การค้นหาข้อมูลจากทุกแหล่งในโลกเป็นเรื่องง่ายขึ้นจากเดิมมาก ทำให้เราพบเอกสารฝรั่งเศสที่ระบุว่า พระรูปต้นฉบับนี้เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ว่าด้วยประวัติธรรมชาติวิทยาของประเทศฝรั่งเศส(Museum National D’Histoire naturelle (MNHN) Babliotheque Centrale. Paris) ที่พิพิธภัณฑ์อื่นๆที่อาจจะมีภาพนี้ เช่นที่ MEP (Missions Entrangeres de Paris) หรือในประเทศต่างๆรวมทั้งเมืองไทย จะเป็นแค่สำเนา


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 16:40
พระบวรฉายาลักษณ์เป็นภาพลายเส้นอีกภาพหนึ่งที่หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสนำไปตีพิมพ์ในปี ๒๔๐๘ เป็นภาพหลังจากที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์แล้ว ซึ่งทั้งสองพระองค์โปรดเกล้าให้นายฟรันซิส จิต(ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์) เป็นผู้ถ่ายภาพ โปรดสังเกตุผลงานอันเกิดจากราคากล้องที่คุณภาพของเลนซ์ต่างระดับกัน กล้องในระยะแรกของท่านขุนน่าจะซื้อต่อมาจากบาดหลวงลาร์โนลินเมื่อท่านจะกลับฝรั่งเศส ถึงแม้จะเล่าเรียนมาดีจากช่างภาพคนแรกของสยาม แต่อุปกรณ์ขนาดสมัครเล่นก็ได้ผลงานที่ต่างไปจากมืออาชีพระดับอินเตอร์อย่างเห็นได้ชัด


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: cameraman ที่ 01 พ.ย. 14, 07:57
ขอบคุณครับ
การวิเคราะห์และนำเสนอของท่านอาจารย์ NAVARAT น่าสนใจมาก

ผมสงสัยอยู่ประเด็นหนึ่ง ที่ว่ากันว่านายโหมดถ่ายรูปได้
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันไหมครับ หลักฐานที่นอกเหนือจากคำบอกกล่าวของสมเด็จกรมพระยา

เพราะสมัยที่นายโหมดโลดแล่นในพระนคร พระองค์ยังไม่เจริญชันษาเท่าใดนัก
อัตชีวประวัติของนายโหมดก็มิเคยกล่าวถึงกล้องเลย

ในสาสน์สมเด็จที่สมเด็จกรมพระยาทรงตรัสสนทนากับเจ้าฟ้าอีกพระองค์หนึ่งว่ารูปไหนใครถ่าย
เมื่อพิสูจน์จากหลักฐานทางประว้ติศาสตร์ ก็หาได้เป็นไปดังบทสนทนาไม่
ดังนั้น ผมอยากให้น้ำหนักกับหลักฐานที่พิสูจน์ได้มากกว่าหลักฐานจากความทรงจำใดๆ

ขอบคุณครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 09:49
ผมเคยอ่านพบว่านายโหมด มีพื้นฐานวิชาช่างโดยได้ศึกษาวิชาการเครื่องจักรและการผสมธาตุผสมโลหะกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน จากตำราภาษาอังกฤษ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสั่งเครื่องปั้มเหรียญมาผลิตเหรียญกษาปณ์แทนเงินพดด้วงนั้น  ตอนแรกมีช่างชาวอังกฤษมาทำการติดตั้งให้ด้วย แต่อยู่ได้ไม่นานก็ป่วยตายด้วยโรคท้องร่วงอย่างแรง ซึ่งเป็นโรคแฝงอยู่ในน้ำดื่มเพื่อปราบเซียนฝรั่งอั้งม้อโดยเฉพาะ กงสุลอังกฤษคนแรกก็ยังไม่รอดเพราะโรคนี้  พอนายช่างฝรั่งตายไปกลางคัน นายโหมดผู้ช่วยก็เข้าทำงานต่อจนสามารถเดินเครื่องได้  จึงได้รับการโปรโมตเป็นพระวิสูตรโยธามาตย์ ทำหน้าที่กำกับการทำเงินของโรงกระสาปน์สิทธิการ

ว่ากันว่า นับจากนั้นนายโหมดก็เหมือนยาสามัญประจำบ้านในเรื่องช่าง ปัญหาไอ้โน่นไอ้นี่ไอ้นั่นในวังเสีย ท่านก็จะเรียกหาให้นายโหมดไปซ่อม นายโหมดก็สนองพระราชประสงค์ได้หมด ยกเว้นกล้องถ่ายรูปที่ควีนวิกตอเรียถวายมา นายโหมดจนปัญญาเพราะไม่มีในตำรา บาทหลวงลาร์โนลินที่ว่าแน่ๆก็ยังช่วยไม่ได้เพราะเป็นระบบใหม่ของอังกฤษ จนมีช่างภาพจากยุโรปบังเอิญเดินทางผ่านมา แล้วแวะไปที่สถานกงสุลอังกฤษเจอตัวท่านกงสุลเข้า ท่านก็เลยขอร้องให้มาช่วยแนะนำวิธีถ่ายภาพจากกล้องนั้นให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็โปรดฯให้เรียกนายโหมดมาเรียนรู้ไว้ ในที่สุดนายโหมดก็ถ่ายภาพได้ ส่วนเทคนิกว่าทำอย่างไรจะถ่ายภาพให้ดี มีองค์ประกอบสวยงาม บาดหลวงลาร์โนลินคงเป็นผู้แนะนำอีกที

ส่วนที่คุณ Cameraman  อยากให้หาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มายืนยัน ว่านายโหมดถ่ายรูปได้นั้น ผมก็ขออ้างต่อประโยคของคุณอเนก นาวิกมูล ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาพโบราณในฐานะที่คุณอเนกเป็นผู้รู้ทุกอย่างบรรดามีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  ความข้างล่าง



กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 09:51
จากรูปชุดนั้น รูปที่ชัดเจนที่สุดและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยให้เครดิตผู้ถ่ายบ้างไม่ให้บ้าง ก็คือรูปนี้ครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 09:57
มีหนังสือเล่มเดียวที่ลงรูปพระเมรุมาศฝีมือนายโหมดไว้มากที่สุดคือ หนังสือเรื่อง "สถาปัตยกรรมพระเมรุในสยาม" โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว. แน่งน้อย (เกษมศรี) ศักดิ์ศรี อาจารย์ของผมเอง

ผมจะเอาให้ดูทั้งหมดนะครับ เสร็จแล้วท่านจะรู้ด้วยตนเองว่าทำไมเขาจึงไม่ค่อยนิยมเอารูปของนายโหมดมาตีพิมพ์ในหนังสือที่มีหน้ากระดาษจำกัด


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 10:01
รูปส่วนใหญ่จากกระจกคงจะเป็นอย่างนี้ ต้องครอบเอาเฉพาะส่วนกลางของภาพมาใช้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 10:02
อย่างนี้เป็นต้น


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 10:05
ท่านพอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า เลนซ์..อันเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของกล้องถ่ายรูปนั้น มีความสำคัญอย่างไร


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 14, 10:49
ไม่แน่ใจว่ารูปข้างบนเป็นฝีมือนายโหมดหรือไม่  ???

น่าจะเป็นภาพนี้ซึ่งมีบันทึกว่า พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เป็นผู้ถ่าย  ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 11:26
น่าจะใช่ด้วยนะครับ กล้องตัวเดียวกัน แต่ไม่ทราบว่าตัวนายโหมดเองถึงพ.ศ.นั้น จะปีนที่สูงๆขึ้นไปถ่ายไหวหรือเปล่า

ในประวัติการถ่ายภาพเมืองไทยระบุว่า ยุคนั้นมีพระปรีชากลการอีกคนหนึ่งที่เป็นช่างภาพ แต่ไม่ปรากฏว่าผลงานเป็นอย่างไร
ก็คงเป็นเพราะพระปรีชาเมื่อครั้งยังเป็นนายสำอางค์ (อมาตยกุล) คงช่วยบิดาในการถ่ายภาพอยู่ด้วย ผลงานมันจึงปนๆกันไป ภาพที่คุณเพ็ญนำมาให้ชมนี้ถ่ายจากหอนาฬิกากระทรวงยุติธรรม นายสำอางค์น่าจะรับบทปีนขึ้นไปถ่ายกับลูกมือแบกกล้องก็ได้ ไม่มีใครในสมัยนี้ทราบแล้ว


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 13:08
ไม่แน่ใจว่ารูปข้างบนเป็นฝีมือนายโหมดหรือไม่  ???

น่าจะเป็นภาพนี้ซึ่งมีบันทึกว่า พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เป็นผู้ถ่าย  ;D

แต่ภาพรูปนี้ ไม่ใช่พระเมรุมาศองค์เดียวกับชุดที่ผมนำมาแสดงนะครับ ของผมนั้นเป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ส่วนที่คุณเพ็ญนำมาถามนี้ เป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 14, 13:22
พระเมรุมาศสององค์นี้ บวกกับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯอีกหนึ่ง คนจะบรรยายภาพมั่วกันไปหมดแม้กระทั่งระดับครูบาอาจารย์ เพราะความที่คล้ายกันมาก และเวลาดูภาพเยอะๆมักจะลายตา

วิธีสังเกตุให้ดูความแตกต่างของยักษ์หน้าพระเมรุครับ
ซ้ายมือของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ขวา สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ย. 14, 09:09
ส่วนที่คุณเพ็ญนำมาถามนี้ เป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6071.0;attach=52216;image)

เท่าที่อ่านข้อมูลในเว็บต่าง ๆ รายงานว่าเป็นพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทั้งสิ้น อยากทราบเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลของคุณนวรัตนที่ว่าเป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี  ???


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 พ.ย. 14, 10:26

อ้างถึง
เท่าที่อ่านข้อมูลในเว็บต่าง ๆ รายงานว่าเป็นพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทั้งสิ้น อยากทราบเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลของคุณนวรัตนที่ว่าเป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี  ฮืม

ตอบคุณเพ็ญชมพู
มีหนังสือเล่มเดียวที่ลงรูปพระเมรุมาศฝีมือนายโหมดไว้มากที่สุดคือ หนังสือเรื่อง "สถาปัตยกรรมพระเมรุในสยาม" โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว. แน่งน้อย (เกษมศรี) ศักดิ์ศรี อาจารย์ของผมเอง



กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 พ.ย. 14, 10:30
หนังสือของท่านอาจารย์ ม.ร.ว. แน่งน้อย (เกษมศรี) ศักดิ์ศรี ในเรื่องสถาปัตยกรรมไทยนั้น น่าเชื่อถือที่สุดแล้ว เพราะท่านเข้าถึงแหล่งข้อมูลชั้นต้นได้ทุกระดับเท่าที่ต้องการ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 พ.ย. 14, 10:32
ภาพยังมีอีกมาก รวมทั้งมีแบบก่อสร้างด้วย แต่เอาแค่นี้ก็คงพอนะครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ย. 14, 11:22
ขอบพระคุณคุณนวรัตนมาก สำหรับเอกสารอ้างอิง

เท่าที่อ่านข้อมูลในเว็บต่าง ๆ รายงานว่าเป็นพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทั้งสิ้น

เรื่องนี้สมควรได้รับการแก้ไขข้อมูลในโลกอินทรเนตร  ;D


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: cameraman ที่ 03 พ.ย. 14, 11:36
รูปใน คห 121 น่าสงสัยอยู่มาก
หากเป็นรูปพระเมรุของพระมเหษีองค์หนึ่งของกษัตริย์ (ที่มิใช่ควีน) มิน่าอลังการขนาดนี้


รอผมกลับถึงบ้าน จะขอนำข้อมูลในบางแง่มุม มาเห็นต่างขอรับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ย. 14, 11:45
รูปใน คห 121 น่าสงสัยอยู่มาก
หากเป็นรูปพระเมรุของพระมเหษีองค์หนึ่งของกษัตริย์ (ที่มิใช่ควีน) มิน่าอลังการขนาดนี้

องค์นี้เป็นควีน ค่ะ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 พ.ย. 14, 15:40
รูปใน คห 121 น่าสงสัยอยู่มาก
หากเป็นรูปพระเมรุของพระมเหษีองค์หนึ่งของกษัตริย์ (ที่มิใช่ควีน) มิน่าอลังการขนาดนี้

องค์นี้เป็นควีน ค่ะ

La reine ตรงกับคำว่า Queen นะครับ

อ้างถึง
รอผมกลับถึงบ้าน จะขอนำข้อมูลในบางแง่มุม มาเห็นต่างขอรับ
จะรออ่านครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ย. 14, 16:35
ภาพยังมีอีกมาก รวมทั้งมีแบบก่อสร้างด้วย แต่เอาแค่นี้ก็คงพอนะครับ

นั่นสิถึงว่าในตอนแรกกล่าวว่าเป็นภาพพระเมรุของพระจอมเกล้าฯ แล้วไฉนจึงถ่ายรูปมุมสูงได้ชัดเจนเห็นแนวระทาเล็กไป ที่แท้ก็ถ่ายจากหอนาฬิกาศาลสถิตย์ยุติธรรมในการพระเมรุพระนางเรือล่มนั่นเอง


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: cameraman ที่ 04 พ.ย. 14, 10:35
ใครสายตาดีช่วยมองหน่อยครับว่าท่านโหมดภาพ 1 หรือ 2 ถ่ายก่อนกันสักประมาณกี่ปี


ภาพ 1 เป็นสมบัติของเศรษฐีต่างชาติ มิกล้าให้ดูรูปใหญ่ กลัวเรื่องลิขสิทธิ์ที่ยังไม่กระจ่างครับ
ภาพ 2 ต้นแบบที่ไปทำลายเส้นในหนังสือมูโอต์ ถ่ายราว 2404
ภาพ 3 ลายเส้นในหนังสือมูโอต์


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: cameraman ที่ 04 พ.ย. 14, 19:33
ที่ผมถามว่ามีหลักฐานไหมว่านายโหมดถ่ายภาพได้
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีรูปถ่ายนายโหมดค้างอยู่ต่างประเทศพอสมควร
น่าสงสัยไหมครับว่าใครเป็นคนถ่ายภาพนายโหมด?


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 พ.ย. 14, 19:56
เชิญต่อเลยครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 พ.ย. 14, 20:36

รอผมกลับถึงบ้าน จะขอนำข้อมูลในบางแง่มุม มาเห็นต่างขอรับ

คุณ cameraman กลับถึงบ้านหรือยังครับ


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ธ.ค. 14, 11:52
กระทู้นี้จอดรอคุณ cameraman มาร่วมสองเดือนแล้ว สงสัยกลับถึงบ้านเรียบร้อยแต่คงไม่สนใจจะเข้ามาต่อประเด็น  ผมก็จะขอว่าของผมไปเรื่อยๆก็แล้วกัน

ภาพในสมัยรัชกาลที่ ๔ เช่นกัน พระเมรุสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณวดี เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๖
น่าจะเป็นฝีมือนายโหมดด้วยกล้องและเลนซ์ตัวเดิมที่หาจุดคมชัดไม่ได้


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 15, 06:25
ข้อความโดย: cameraman ยกมาจากกระทู้ภาพของทอมสัน
อ้างถึง
สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ Navarat.C ครับ

กระผมเดินทางตลอด ไม่ได้ว่างเว้น
ขอให้ผมว่างอีกนิดแล้วผมจะมาคุยเรื่องพระเมรุมาศที่ค้างไว้ตั้งแต่ทริปก่อนครับ
กราบขออภัยท่านอาจารย์มา ณ ที่นี้ด้วยขอรับ

ช่วยทำการบ้านเรื่องพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า กับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าไว้ด้วยนะครับ ผมจะเปิดประเด็นข้อขัดแย้งใหญ่ในเรื่องนี้ในอีกไม่นาน


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 15, 09:17
ู^


กระทู้: ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 17:48
เชิญติดตามได้เลยครับ

ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6204.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6204.0)