เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:33



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:33
ระหว่างที่เข้าไปค้นหาภาพเก่าๆมาประกอบกระทู้ที่กำลังเขียนเรื่องพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผมได้ลองใช้ภาษาต่างๆนอกจากอังกฤษเข้าไปหาในเวปของยุโรปแต่ละประเทศที่เคยมีสัมพันธภาพกับไทย  และโชคดี ไปเจอภาพสมัยรัชกาลที่๕ชุดนี้ในเวปของฝรั่งเศสเข้า ผมก็ลอกเอาเนื้อเรื่องมาด้วย เห็นว่าน่าสนใจและไม่ยาวนักก็คิดถึงท่านผู้อ่าน เลยตัดสินใจลงมือแปลจากภาษาฝรั่งเศสมาเป็นไทย โดยใช้บริการของ Google Translation ทั้งๆที่ไม่มีความรู้ในภาษานี้เลย แต่ด้วยบริการดังกล่าวของกูเกิลที่ว่า ผมก็ได้ฉบับแปลเป็นภาษาไทยออกมา อ่านแล้วอ่านอีกก็มึนยิ่งกว่าอ่านภาษาไทยที่ท่านแปลมาจากหลักศิลาจารึกภาษาขอม ต้องเอาใหม่ให้แปลจากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษก่อน แล้วเอาภาษาอังกฤษนั้นแปลออกมาเป็นภาษาไทยอีกที คราวนี้ค่อยยังชั่ว พอจะอ่านแล้วเข้าใจได้บ้าง แต่พอลงมือจะเกลาออกมาลงในกระทู้ ก็สุดจะทนภาษาฝรั่งมั่วไทยได้ พาลปวดหัวตึ่บ จะจับไข้กับสำบัดสำนวนของกูเกิล เสียเวลาไปสองสามวันกับเรื่องที่ยาวไม่กี่หน้านี่เอง วันนี้ฉลาดขึ้น เอาภาษาอังกฤษที่เขาแปลมานั้น มาแปลเป็นไทยด้วยอัตโนเอง และหันไปพึ่ง Dictionary On Line แทนการพึ่ง Google Translation เป็นหลัก คราวนี้สำเร็จด้วยดีในเวลาอันควร ได้บทความภาษาไทยที่ท่านผู้อ่านทั่วไปไม่น่าจะมีปัญหา แต่ผมให้ตัวเชื่อมกับเวปต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสมาลงไว้ด้วย เพื่อสร้างปัญหาให้ผู้อ่านบางท่าน หากเข้าไปอ่านบทความตัวจริงแล้ว จะแย้งว่าผมแปลมาผิดที่ตรงนั้นตรงนี้ ท่านผู้อ่านอื่นๆก็จะได้รับประโยชน์นี้เป็นของแถม
 
http://www.gutenberg.org/files/33440/33440-h/33440-h.htm

ที่น่าสนุก กระทู้นี้จะแตกประเด็นให้เข้าซอยได้เยอะ มัคคุเทศน์ที่ชำนาญอย่างท่านอาจารย์เทาชมพู คุณเพ็ญ คุณหนุ่มสยาม และท่านอื่นๆทุกท่านขออภัยที่มิได้เอ่ยนาม คงช่วยกันพาท่านผู้อ่านไปแสวงหาความสำราญได้อีกหลายแง่หลายมุม


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:35
ภูมิหลังของเรื่อง

พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒)  ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ ๒ ลำ คือเรือแองคองสตังต์และเรือโคเมตได้แล่นสู่กรุงเทพ ข่มขู่ให้สยามให้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกับเกาะต่างๆในแม่น้ำนั้นให้ฝรั่งเศส และเสียค่าปรับ กับค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส เป็นเงินไทยประมาณ ๓ ล้านบาท และเงินฝรั่งเศส ๒ ล้านฟรังก์

แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจะทรงจำต้องยอมกระทำตามไปแล้ว ฝรั่งเศสก็ยังเข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกันเป็นเวลา ๑๐ ปี แม้แต่เมื่อสยามได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี จนกระทั่งต้องทำสัญญาพ.ศ. ๒๔๔๕ ยอมยกเมืองจำปาศักดิ์ และมโนไพร ในลาวให้แก่ฝรั่งเศสแลกกับเมืองจันทบุรี แต่แล้วฝรั่งเศสกลับไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี แถมเพิ่มข้อเรียกร้องกลับมาอีก จนปีพ.ศ. ๒๔๔๖ สยามต้องทำสัญญาอีกฉบับหนึ่ง กำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับเขมรโดยใช้เทือกเขาบรรทัดเป็นหลัก และยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบางให้แก่ฝรั่งเศส และให้ฝรั่งเศสเช่าที่ทำท่าเรือที่หนองคาย มุกดาหาร และปากน้ำมูลได้

กว่าฝรั่งเศสจะยอมถอนทหารจากเมืองจันทบุรีได้ ก็เข้าในกลางปี พ.ศ. ๒๔๔๘แล้ว แต่ก็ยังไปยึดเอาเมืองตราดอีก เพื่อที่จะให้ฝรั่งเศสออกจากตราด ในคราวนี้สยามต้องยอมยกดินแดนส่วนในของเขมร คือเมืองเสียมราฐ ศรีโสภณ และเมืองพระตะบองให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๔๙ แลกเปลี่ยนกับการที่จะได้ดินแดนแท้ๆของสยามคืนมาทั้งหมด และให้ฝรั่งเศสยอมให้สยามมีอำนาจตุลาการที่จะชำระคดีใด ๆ ที่ชาวฝรั่งเศสหรือคนในบังคับฝรั่งเศสก่อขึ้นในสยาม ไม่ว่าจะเป็นเป็นโจทก์หรือจำเลย แต่ยอมให้กงสุลฝรั่งเศสยังมีอำนาจเรียกคดีจากศาลไทยไปพิจารณาได้

บทความนี้ เขียนขึ้นในพ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่อเหตุการณ์ต่างๆยุติไปแล้ว ทัศนคติที่คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูกำลังถูกปรับเปลี่ยน แต่ฝรั่งเศสก็ยังแสดงความรู้สึกดูถูกอยู่นิดๆว่า คนไทยไม่มีวัฒนธรรมเทียบเท่าพวกเขา ผมตกลงใจที่จะแปลสำนวนตามอารมณ์ของผู้เขียน มากกว่าจะคำนึงถึงราชาศัพท์อันสละสลวยถูกต้องในภาษาไทย ท่านผู้อ่าน อ่านแล้วต้องทำใจนะครับว่าป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว ผมไม่มีเจตนาจะมาปลุกระดมความเกลียดชังระหว่างชนชาติใดๆขึ้นอีก ที่นำเสนอเรื่องนี้ จุดใหญ่ต้องการให้ท่านเห็นภาพประกอบที่หาดูยาก ที่อย่างน้อย ตัวผมเองก็ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:37
สยาม เพื่อนบ้านของเรา

สนธิสัญญาความเข้าใจกันดีระหว่างประเทศของเรากับประเทศอังกฤษนำเป็นผลโดยตรง  ข้อตกลงPianiให้สยามยกหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงกับดินแดนทางใต้ภูเขาพนมดงรักให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมามีการทำสัญญาเพิ่มเติมลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1904 ทำให้สยามเสียดินแดนระหว่างทะเลสาบกับทะเลหลวงแก่ฝรั่งเศส และในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 มีการทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งยอมรับว่าฝรั่งเศสยอมสละเอกสิทธิบางอย่างในสยาม แต่สยามต้องการยกมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณให้ฝรั่งเศส

สัปดาห์ที่ผ่านมา การกำหนดดำเนินนโยบายที่เคยโต้เถียงกันอย่างหน้าดำคร่ำเคร่งก็ได้ผ่านไปโดยแทบจะไม่มีผู้ใดสังเกต  ที่สำคัญ หลายจังหวัดโดยรอบโตนเลสาปของกัมพูชาเหล่านั้น สยามได้ยอมยกให้เป็นส่วนหนึ่งในเขตปกป้องของเราแล้ว   เและพวกเขาก็มีความยินดีด้วยในชัยชนะของการเจรจา ได้จันทบูรณ์ที่เรายึดจากเขามาครอบครองชั่วคราวเป็นประกันนั้นคืนไป  วันต่อมา จึงมีการประกาศว่ากษัตริย์ของสยามได้แสดงความปรารถนาที่จะส่งน้องชายองค์หนึ่งของเขา คือกรมพระยาดำรง เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปเยี่ยมดูราชการทั่วไปของอินโดจีน นาย Beau จึงได้ส่งหนังสือเชิญไปยังเจ้าชาย ผู้ซึ่งเร็วๆนี้ก็จะเสด็จมายังกรุงฮานอยแล้ว จึงเป็นการแสดงให้ประจักษ์ ถึงการสิ้นสุดระยะเวลาอันยาวนานของความโกรธเกลียด และการหวาดระแวงเป็นปรปักษ์ กันอย่างฉันท์มิตร

เพื่อผลประโยขน์แห่งอาณาจักรอินโดจีนของเรา เราควรจะต้อนรับการเปลี่ยนแปลงในนโยบายนี้  อินโดจีนของเรา ในวันนี้ที่ที่ดินของ Kratt ซึ่งอยู่ชายแดนจีน ได้กำหนดเส้นเขตแดนกันแล้วเสร้จ และผู้คนก็สงบสุขดีแล้ว การจัดองค์กรของเขาก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ อะไรที่เขาต้องการตอนนี้และเป็นสิ่งจำเป็นด้วย ก็คือสันติภาพ  เพื่อให้การสร้างคลอง ถนน และทางรถไฟ แล้วเสร็จเปิดการใช้งานได้ในดินแดนภาคเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ และหวังว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมต่อไปด้วยในเร็ววันนี้   
และสุดท้ายที่เป็นความสัตย์จริงก็คือ การเสริมสร้างปราการป้องกันตนเองจากการโจมตีที่ยังคงเกิดขึ้น ชัยชนะสมบูรณ์แล้วและการพัฒนาก็เริ่มต้น การดำเนินงานของโครงการใหม่ที่ท้าทายนี้ เราได้มิตรภาพอันดีของสยาม ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสัมพันธภาพครั้งนี้ เราจะเปิดโอกาสให้เขาได้ศึกษาอารยธรรมที่ดีกว่าของเราอย่างสิ้นความอยาก


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:39
รูปถ่ายประกอบบทความนี้บอกเราเกี่ยวกับสยามได้ถูกต้องขึ้น จากเดิมที่เราเคยได้แต่แค่คาดเดาเท่านั้น.

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

ที่จอดอยู่หน้ากองทหาร  เป็นรถทารก( pram )อันสวยงาม สำหรับพระราชินีเสาวภาผ่องศรีองค์ใหญ่ ผู้เยือกเย็น ขณะปรากฏกายก้าวลงจากรถในชุดหรู ที่ดูดีอย่างคาดไม่ถึง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:40
Défilé des princesses de la famille royale. Parade   
กระบวนเสด็จของเจ้าหญิงในพระราชวงศ์

ที่เห็นเป็นขบวนในลานพระราชวัง คือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ดูมีความกระฉับกระเฉง ในชุดแต่งกาย เสื้อสีขาว กางเกงสีดำ รองเท้ามีสายรัดเช่นเดียวกัน เราชื่นชมเรือนร่างของพวกเธอที่ดูปราดเปรียวและสมส่วนดี นึกถึงคำพูดของนายโมว์หุตนักเดินทางผจญภัยเก๋ากึ๊กที่ว่า ด้วยผิวเป็นสีโอลีฟ กระดูกแก้มที่โดดเด่น นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์และเฉียงขึ้นเล็กน้อย หญิงสาวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ต้องอิจฉา "กับรูปแกะสลักปฏิมากรรมแบบประจำชาติของพวกเรา” แม้น้อย 


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:42
S. M. le roi Chulalongkorn et son état-major
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าและข้าราชสำนักของพระองค์

วันที่ถ่ายภาพเหล่านี้ พระราชินี พระราชวงศ์ทั้งหญิงและชาย ตลอดจนข้าราชสำนัก ได้ไปร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสยาม

สยามนับถือศาสนาพุทธแต่โบราณกาล  และมีศรัทธาสูงส่งมาก  ความเคร่งครัดศาสนาของพวกเขาที่พิสูจน์ได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือ จำนวนของพระสงฆ์ที่มีมากมายมหาศาลซึ่งพวกเขาช่วยกันอุปถัมภ์ค้ำชู  ที่ยิ่งไปกว่า คือจำนวนเจดีย์และวัดวาอารามหลายหลากรูปแบบเหล่านั้น

คนรวย ไม่ได้วัดที่การบริจาคเงิน พวกเขาสร้างวัดเพื่อต้องการให้ตนเองรวยขึ้น และเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่จะบรรจุเถ้าถ่านของพวกเขา คนจน อย่างน้อยก็จะบริจาคสำหรับการสร้างรูปพระพุทธเจ้า สุดท้าย ก้นบึ้งของความรู้สึกต่อศาสนาของประชาชน ก็คือการนับถือที่โอบอุ้มโดยพระเจ้าแผ่นดิน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:44
Les princes, frères du roi, photographiant le cortège.
พระอนุชาองค์หนึ่งของพระเจ้าแผ่นดิน กำลังถ่ายภาพขบวนแห่

แม้คำนำหน้านามดูจะเกินเลยความเป็นจริงไปดังที่ใช้อยู่  คำนี้วิเศษเทียบเท่ากับคำว่า(Phrah)ในภาษาโบราณของเขมร ซึ่งสามารถแปลความหมายว่า «saint, divin, dieu, sacré, auguste» (นักบุญ ศักดิ์สิทธิ์ พระ พระเจ้า) ซึ่งอันที่จริงคำนี้ใช้ได้กับ «au bouddha, aux dieux, au roi, aux princes, aux bonzes» (พระพุทธเจ้า พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน พระโอรส พระสงฆ์) และยังมีคำว่า le Brah Pad Samtac, หรือ“เท้าอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์” le Chao Jivit   หรือ“เจ้าของชีวิต”  le Chao Phen Ti  “เจ้าของแผ่นดิน”  le Brah Maha Krasat  “ ราชาผู้วิเศษและยิ่งใหญ่” เหล่านี้คือคำนำหน้าสำหรับบุรุษผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ  แต่ภาพที่เรานำมาให้ชมนี้ เป็นงานพิธีที่จัดเรียบง่ายไม่ได้ทำเพื่อยกตน ดูเป็นงานธรรมดาๆไม่ได้โอ่อ่า แต่สมถะ อย่างที่พวกเราบางคนพูด เท่ากับงานระดับเจ้าหน้าที่บริหารอาณานิคมของเราเท่านั้น

หลังจากที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ได้รับการสรงน้ำ เสมือนสัญญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในพิธีศีลจุ่ม ทำให้พระองค์ขึ้นดำรงตำแหน่งกษัตริย์  โดยทันทีนั้นพระองค์จะต้องเสด็จไปสักการะพระอัฐิของบรรพบุรุษในวัดซึ่งอยู่ใน Maha Prasat  “หอโถงอันยิ่งใหญ่” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวัง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:45
S. M. le roi Chulalongkorn en palanquin.
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าในเสลี่ยง

ทุกๆปี ประมาณเวลาเดียวกัน ตุลาคม-พฤศจิกายน พระองค์จะเสด็จอย่างเป็นพิธีการไปยังวัดสำคัญๆในกรุงเทพ เพื่ออุทิศพระองค์ต่อพระพุทธเจ้า และถวาย"Phra Kabhin” พระกฐินแด่พระของพระองค์ด้วย ในการนี้พระอัฐิของบรรพบุรุษของพระองค์จะถูกนำมาตั้งไว้เบื้องหน้า ก่อนจะที่เสด็จมาถึงยังวัด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:50
LE DÉFILÉ SUR LE MENAM DES BARQUES ROYALES ET PRINCIÈRES.--La grande barque-pagode est celle qui précède toujours la barque royale; elle porte les cendres des ancêtres de la dynastie.
ขบวนแห่เรือของพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายในแม่น้ำ.
เรือลำใหญ่ที่มีเจดีย์เป็นลำหนึ่งที่มักนำหน้าเรือหลวง และอัญเชิญเถ้าถ่านของบรรพบุรุษของพระราชวงศ์


ที่แสดงในภาพชุดสุดท้ายคือการเสด็จบำเพ็ญพระกุศล พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปวัดใหญ่ๆทั้งหลายโดยรถยนต์ หรือโดยการเดินเท้า หรือที่บ่อยที่สุดคือทางเรือ Gervaise เขียนไว้ว่า กษัตริย์สยามจะเสด็จทางเรือ โดยประทับบนบัลลังก์คลุมด้วยผ้าทอมืออันสวยงาม ประดับด้วยอัญมณีมีค่าต่างๆ มหาดเล็กหกนายหมอบเฝ้าล้อมรอบอยู่ ฝีพายร้อยยี่สิบนายเรียกว่าพวก bras peints (แขนทาสี??) ตามขนบธรรมเนียมของพวกเขา และจะแล่นเรืออย่างเป็นจังหวะด้วยพายที่ชุบทอง โดยร้องเพลงเสียงทุ้มๆไปด้วยตามประเพณีโบราณ ที่ท้ายเรือ มีธงเล็กๆทำด้วยทองใบ แตกต่างจากเรือลำอื่น ของพระราชวงศ์ พวกนายท้ายจะโดนเฆี่ยนถ้าเขาปล่อยให้เรือลอยไปตามกระแสน้ำ และจะถูกตัดศีรษะถ้าหลักแจวหักและตัวเขาตกลงไปในน้ำ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:51
เรือใหญ่สองลำจะประกบพระของกษัตริย์เพื่อถวายพระเกียรติ เรืออื่นๆอีกจำนวนมาก จะนำหรือตามเรือของพระองค์

ท่านผู้อ่านสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบทบรรยายนี้จากรูปของเรา


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 20:53
ท่านผู้อ่านที่เป็นคนฝรั่งเศสสมัยโน้นก็คงต้องเชื่อเนื้อหาของเรื่อง แต่ผมหวังว่าท่านผู้อ่านในยุคนี้จะไม่เป็นเช่นนั้นนะครับ แต่ก็ไม่แน่ คนไทยบางคนในทุกวันนี้ก็พร้อมที่จะเอาที่ฝรั่งมั่วไว้ หรือตั้งใจจะโกหก มาเผยแพร่เพื่อหวังผลทางการเมือง ผมก็ได้แต่ภาวนาว่าข้อเขียนที่ผมแปลมานี้จะไม่ถูกนำไปบิดเบือนต่อนะครับ
 
ต่อไป ผมจะตั้งคำถามทิ้งเอาไว้เป็นเชื้อ


งานเสด็จพระราชดำเนินที่อยู่ในภาพ เป็นงานอะไร

ในภาพต่างๆนั้น ใครเป็นใคร พระองค์ใด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 ม.ค. 11, 20:57
Les princes, frères du roi, photographiant le cortège.
พระอนุชาองค์หนึ่งของพระเจ้าแผ่นดิน กำลังถ่ายภาพขบวนแห่


ผมว่าคลับคล้ายคลับคลากับกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจกระมั้งครับ
ไม่เช่นนั้นก็กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

...แต่ได้ยินมาว่ากรมหลวงสรรพศาสตร์ทรงเล่นกล้อง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ม.ค. 11, 20:59
ท่านเอ่ยถึง ก็ต้องเข้ามาช่วยแจ้งไขให้กระจ่าง

ในความเห็นที่ ๖ เจ้านายทรงใช้กล้องถ่ายภาพ ผมขอยืนยันถึงสถานที่ในภาพ คือ วัดบวรนิเวศ ครับ ซึ่งเจ้านายที่ยืนอยู่กำลังยืนอยู่ตรงกำแพงพระนครหน้าวัดบวร และประตูเมืองพระนคร ซึ่งปัจจุบันยังคงอนุรักษ์ไว้


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: Karine!! ที่ 21 ม.ค. 11, 21:06
ตามอ่านค่ะ น่าสนใจมาก แต่ไม่สามารถจุดไฟใดๆได้ ได้แต่ตามอ่านต่อไป


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ม.ค. 11, 21:25
คุณหนุ่มครับ

พอขยายดู ภาพนี้มันหลอนๆชอบกลเหมือนภาพตัดแปะมาซ้อนกัน โปรดสังเกตุขอบเสื้อคนยืนหลัง  ตำแหน่งต่างๆผิดperspective
อีกอย่างหนึ่ง วัดบวรไม่น่าจะมีฉากหลังทึบเป็นป่าดิบขนาดมีต้นไม้สูงใหญ่อย่างนั้น

เอาเป็นว่า เจ้านายที่ทรงกล้อง คือพระองค์ใดดีกว่า
ที่ถามนี้ไม่ใช่ผมทราบแล้วนะครับ

อยากเดาว่า กรมพระกำแพงเพชรฯ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ม.ค. 11, 22:38
คุณหนุ่มครับ

พอขยายดู ภาพนี้มันหลอนๆชอบกลเหมือนภาพตัดแปะมาซ้อนกัน โปรดสังเกตุขอบเสื้อคนยืนหลัง  ตำแหน่งต่างๆผิดperspective
อีกอย่างหนึ่ง วัดบวรไม่น่าจะมีฉากหลังทึบเป็นป่าดิบขนาดมีต้นไม้สูงใหญ่อย่างนั้น


เป็นวัดบวรนิเวศ ครับ ขอนำภาพถ่ายวัดบวรนิเวศเก่า จะเห็นว่าต้นไม้ที่อยู่อย่างครึ้ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ของคณะรังษี (เดิมคือวัดรังษี) ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ม.ค. 11, 22:43
และภาพนี้เป็นบรรยากาศบริเวณถนน ซึ่งเห็นว่าเจ้านายทรงถ่ายภาพขณะขึ้นไปยืนบนกำแพงเมือง ครับ สำหรับกล้องที่ทั้งสองถือควรจะเป็นกล้องส่องทางไกลมากว่ากล้องถ่ายภาพ เนื่องจากการถ่ายภาพในยุคนั้นยังต้องใช้กระจกและขาตั้งกล้อง จะถือสองมือไม่ได้ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ม.ค. 11, 23:03
๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ การพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งพระราชพิธีสงฆ์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

ไม่แน่ใจว่าเป็นช่วงเดียวกับการถวายผ้าพระกฐินด้วยหรือไม่ แต่ได้แนบภาพถ่ายงานดังกล่าว รบกวนข้อมูล

อีกทั้ง "ทรงอยุ่ในช่วงไว้ทุกข์" ครับ ดังภาพ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 08:08
ที่คุณหนุ่มสยามยืนยันว่าเป็นวัดบวร โดยถ่ายจากมุมสูงบนกำแพงพระนครก็เป็นไปได้ครับ หลังคาซุ้มทรงจีนก็ดูใช่อยู่ แม้เสาโรมันที่เห็นจะดูประหลาด แต่ก็อาจเป็นการตกแต่งรับเสด็จเป็นการชั่วคราว แต่แสงสีขาวบนแขนนายทหารองครักษ์ยังไม่เนียนว่าภาพไม่ได้ตัดแปะมา

ตรงที่เห็นเป็นป่า ถ้าใช่วัดบวร ตรงนั้นเป็นคณะตำหนักครับ ไม่ใช่คณะรังสี หรือวัดรังสีเก่าที่อยู่บริเวณโรงเรียนบวรนิเวศปัจจุบัน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 08:26
เอาภาพทางอากาศของวัดบวรมาฉายซ้ำอีกที

คณะตำหนักอยู่ในแนวเดียวกับพระอุโบสถ

คณะรังสี คือหมู่กุฏิสงฆ์ของวัดบวรนิเวศ(ธรรมยุติ)ที่อยู่หลังรั้วกั้น แยกบริเวณกันระหว่างพระอุโบสถและวิหารร้างของวัดรังสี(มหานิกาย)สมัยรัชกาลที่๓เดิม ไม่เห็นในภาพ วัดรังสีคงสภาพเป็นวัดร้างไม่มีภิกษุจำพรรษา แม้วัดบวรจะดูแลอยู่แต่ก็ไม่ได้ใช้งานจริงจัง สภาพชำรุดทรุดโทรม

ภาพล่างถ่ายเมื่อเร็วๆนี้ พระอุโบสถและวิหารร้างของวัดรังสีปัจจุบันวัดบวรได้ทำการบูรณะใหม่ ดูเหมือนพระวิหาร(สีขาว)จะใช้งานเป็นห้องสมุดทั่วไป ส่วนพระอุโบสถยังมีพระประธาน ประชาชนเข้าไปสักการะได้ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 08:41
คณะตำหนัก คือหมู่กุฏิสงฆ์วัดบวรที่เจ้านายเมื่อทรงผนวชจะพำนักอยู่ ปัจจุบันพระสามัญชนก็อยู่จำพรรษาได้

ส่วนหน้าที่สงวนไว้ จะเป็นพระตำหนักปั้นหยาที่ประทับของพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ประกอบด้วยตำหนักเพชร ที่เสมือนท้องพระโรงของพระองค์ไว้รับรองผู้มาเฝ้า
 
ส่วนหน้าของตำหนักเพชรยังมีไม้ใหญ่อยู่มาก แต่ที่สูงชลูด เป็นลำต้นเดี่ยวขนาดใหญ่ในภาพปริศนานั้น ไม่มีเสียแล้ว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 08:50
อนึ่ง เมื่อได้เห็นภาพกำแพงพระนครที่คุณหนุ่มสยามบรรยายว่าอยู่หน้าวัดบวร ผมก็ยังงงๆอยู่ เพราะโตทันนั่งรถรางก่อนที่ท่านจะสั่งเลิกไป สายที่วิ่งผ่านหน้าวัดนี้จะอยู่ด้านกำแพงครับ

พอดีค้นได้รูปรถรางหน้าวัดบวรมายืนยันด้วย

ดังนั้นคุณหนุ่มสยามต้องทำการบ้านต่อว่า รูปที่คุณนำมาลงนั้นอยู่ที่ไหน จะระดมแกงค์ซ้อนลูกน้ำมาช่วยด้วยก็ได้นะครับ ไม่ผิดกติกา


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ม.ค. 11, 08:58
ใช่ครับ แนวต้นไม้ครึ้มนั้นควรอยู่บริเวณหน้าหมู่ตำหนัก วัดบวรนิเวศ ครับ และผมมีข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งว่า

๑. กระบวนแห่โดยเสด็จทางสถลมารค ไปยังวัดบวรนิเวศ กับ กระบวนแห่ผ้าพระกฐินโดยทางชลมารค น่าจะเสด็จไปต่างวัดกัน ซึ่งการถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค เท่าที่อ่านดูในราชกิจจาฯ จะเน้นไปทางวัดประยุรฯ วัดกัลยาฯ วัดอรุณฯ ตลอดจนเลี้ยวเข้าคลองฝั่งธนบุรีเป็นหลัก  ส่วนวัดในพระนครซึ่งอยู่ในกำแพงพระนคร จะเสด็จรถที่ประทับออกจากพระที่นั่งจักรีฯ หรือ พระราชวังสวนดุสิตฯ เสด็จมายังพระที่นั่งจักรีฯ เพื่อตั้งขบวนแล้วจึงเสด็จทางสถลมารคไปยังวัดนั้นๆต่อไป



ภาพที่สองรถรางวิ่งผ่านหน้าวัดบวรฯ ริมกำแพงถูกแล้วครับ สำหรับภาพแรกที่นำมาลง คงต้องจัดใหม่  :-[


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 09:07
เอาเข้าแล้ว..ผม
อย่างนี้ใช่ไหมที่เขาเรียกว่า ชงเองกินเอง

พอดูใหม่อีกที พลันก็บรรลุว่าเสากระโดงที่เห็น ไม่ใช่พญาไม้ที่ไหน เสาไฟฟ้าที่อยู่ข้างๆกำแพงพระนครนั่นเอง
วัดนี้ เป็นวัดบวรแน่นอนครับคุณหนุ่ม ไม่มีข้อสงสัยใดแล้ว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 09:28
และผมยังคิดว่า รูปในบทความของฝรั่งเศสคราวนี้ เอาภาพเหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระมาลง แบบจับแพะชนแกะ
รูปเจ้านายฝ่ายหญิง ฉลองพระองค์ขาวดำ หรือครึ่งทุกข์อย่างที่คุณหนุ่มสยามว่า เป็นงานเก็บพระอัฐิพระองค์ใดหรือเปล่าครับ

ส่วนรูปเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ทั้งโดยสถลมารคไปวัดบวร และกระบวนเรือพระราชพิธีเสด็จโดยชลมารค ก็คนละวันกันอยู่แล้ว

คนเขียนบทความนี้ คงได้รูปมาจากคนอื่น ฟังอธิบายรูปไม่เข้าใจ ก็เขียนมั่วตามสติปํญญาของตน เอาเรื่องพระบรมอัฐิมาปนกับการถวายผ้าพระกฐินให้คนฝรั่งด้วยกันอ่าน พวกอ่านแล้วก็แล้วไปนั้นก็ช่างเถอะ แต่บางคนก็ชอบลอกคนอื่นไปขยายขี้เท่อต่อโดยไม่วิเคราะห์กลั่นกรองน่ะซี พวกนี้แสบ ทำให้ละครหรือหนังฝรั่งแบบKing and Iบังเกิดขึ้นได้ ยิ่งสร้าง ยิ่งไกลความจริงขึ้นไปทุกที


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ม.ค. 11, 09:43
ก็เข้ามายันอีกครั้งว่า เป็น "วัดบวรนิเวศ"  ;D ส่วนเรื่องเสาโรมันเป็นเสาประดับ ประดับธงก็เป็นเพียงเสาหลอกไว้เท่านั้นครับ

สำหรับภาพแรกแนวกำแพงพระนครและประตูพระนครนั้น อาศัยจับทิศการวางรางรถรางแล้วพบว่า
๑. ตัวราง อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกำแพงพระนคร ซึ่งผมก็รีบลงไปดูในแผนที่รถราง พบว่า เส้นทางเดินของรถราง
    ในพระนครจะอยู่ชิดกับแนวกำแพงเสมอ ยกเว้นมีอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่วางรางตรงข้ามกับกำแพง และมีประตู
    พระนครตั้งอยู่ด้วย ซึ่งก็คือ "ตั้งแต่หัวมุมโรงเรียนราชินี - ประตูศรีสุดาวงศ์" เท่านั้น

๒. เมื่อทราบตำแหน่งแล้วก็เจาะไปยังแผนที่วัดโพธิ์ฯ พบว่าแนวรถรางหน้าภาพ มีการหักมุมเล็กน้อย และมีกำแพงตั้งตรง
     กันกับแนวหักพอดีจึงได้กำหนดซึ่งน่าจะเป็นตรงนี้ ด้วยมีประตูเมือง (ตรงกับเขตสังฆาวาส) เหนือประตูจะเป็นที่ตั้ง
     ของป้อมมหายักษ์ ท้ายวัดโพธิ์

๓. อีกจุดหนึ่งซึ่งยืนยันความถูกต้องของภาพคือ จุดวงกลม ๒ จุดอยู่เยื้องกัน ในแผนที่มีจุดวงกลม อยู่พอสังเกตุได้ว่า
     เป็นตำแหน่งของ "หัวก๊อกประปา" ซึ่งก็มีอยุ่ในภาพ และมีอยู่ในแผนที่

สรุปว่า ภาพที่ผมลงให้เห็นภาพแรก เป็นภาพถนนมหาราช รถรางวิ่งผ่านท้ายวัดโพธิ์ ช่วงเขตสังฆาวาส ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 09:58
เยี่ยมครับ

ฉะนั้น ภาพตึกที่ขวางถนนอยู่ข้างหน้าคือ สถานที่แห่งใด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ม.ค. 11, 10:24
เยี่ยมครับ

ฉะนั้น ภาพตึกที่ขวางถนนอยู่ข้างหน้าคือ สถานที่แห่งใด

ดังนี้แล้ว อาคารมีหลังคาคลุมนี้ ควรจะเป็นป้อมมหาฤกษ์ อยู่ตรงโรงเรียนราชินี ในปัจจุบันครับ แต่ด้วยพื้นขาว เลยทำให้ความขาวกลืนเป็นพื้นหลังไปหมด ไม่เห็นรายละเอียดใบเสมาครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ม.ค. 11, 10:43
Défilé des princesses de la famille royale. Parade   
กระบวนเสด็จของเจ้าหญิงในพระราชวงศ์

ที่เห็นเป็นขบวนในลานพระราชวัง คือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ดูมีความกระฉับกระเฉง ในชุดแต่งกาย เสื้อสีขาว กางเกงสีดำ รองเท้ามีสายรัดเช่นเดียวกัน เราชื่นชมเรือนร่างของพวกเธอที่ดูปราดเปรียวและสมส่วนดี นึกถึงคำพูดของนายโมว์หุตนักเดินทางผจญภัยเก๋ากึ๊กที่ว่า ด้วยผิวเป็นสีโอลีฟ กระดูกแก้มที่โดดเด่น นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์และเฉียงขึ้นเล็กน้อย หญิงสาวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ต้องอิจฉา "กับรูปแกะสลักปฏิมากรรมแบบประจำชาติของพวกเรา” แม้น้อย 



ในภาพนี้ก็น่าสนใจ ติดใจที่ฉากหลังของภาพ เป็นการก่ออิฐเป็นผนังอย่างเรียบร้อย ทำให้ตีความว่า
๑. กำแพงเก่า ปูนร่อนหมดแล้ว
๒. กำลังก่อสร้างอะไร
๓. สถานที่ตรงไหนบ้าง

แต่ในความคิดแรก (อาจจะไม่แน่เสมอไป) นึกถึงการเสด็จไปยังท่าราชวรดิษฐ์ แต่สังเกตุว่า รั้วกำแพงพระบรมมหาราชวัง ไม่มีจุดไหนที่ปล่อยให้โทรมขนาดนี้ และขบวนจากขวาไปซ้าย และเหมือนจากในออกนอก ก็แล้วแต่ไม่ยืนยัน

ความคิดที่สองก็บังเกิดว่า แนวอิฐอันงามนี้เคยผ่านตา "การก่อสร้างวัดเบญจมบพิตรฯ" จึงได้นำภาพมาให้ชมประกอบ ซึ่งอาจจะไม่ถุกหรือถูก ก็ช่วยเสริมด้วย
ซึ่งภาพที่นำมาร่วมประกอบเป็นภาพงานก่อพระเจดีย์ทราย ครับ

๑. ภาพเจ้านายในภาพ อาจจะมางานก่อพระเจดีย์ / งานตรวจความคืบหน้า / งานแห่พระพุทธชินราชจำลอง เข้าโบสถ์ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 11:20
วัดเบญจมบพิตรสร้างปี ๒๔๔๑
ส่วนบทความนี้ เขียนในปี ๒๔๕๐

ห่างกันถึง ๙ ปี ไกลไปหน่อยหรือเปล่าครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ม.ค. 11, 11:21
อีกภาพหนึ่ง จัดสถานที่ได้ดังนี้

๑. ท่าราชวรดิษฐ์อยู่ด้านซ้ายภาพ (ไม่ปรากฎให้เห็น)
๒. ตำแหน่งทหารยืนเรียงแถว ริมตลิ่งหรือชายน้ำ (เคยเห็นภาพลักษณะเดียวกันนี้อย่างคราวรับพระเจ้าซาร์ฯ ขึ้นท่าราชวรดิษฐ์)
๓. เลยไปอีกนิดจะเห็นท่าน้ำสำหรับขุนนาง เพื่อขึ้นเรือสีขาว มีหลังคา
๔. ด้านหลังท่าขุนนางจะเห็นแพเรือนไทย (ควรอยู่ตรงสโมสรนาวิกโยธินในปัจจุบัน) และต่อเนื่องไปถึงท่าช้าง
๕. ฝั่งตรงข้ามเห็นพุ่มไม้หนาใหญ่ แต่เห็นยอดพระปรางค์สีขาว ของวัดระฆังฯ ตั้งเด่นอยู่ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ม.ค. 11, 11:33
วัดเบญจมบพิตรสร้างปี ๒๔๔๑
ส่วนบทความนี้ เขียนในปี ๒๔๕๐

ห่างกันถึง ๙ ปี ไกลไปหน่อยหรือเปล่าครับ

ไม่ไกลหรอกครับ การก่อสร้างวัดเบจมบพิตร ก่อสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖, เริ่มการผูกพันธสีมา ๒๔๔๒, อัญเชิญพระพุทธชินราชจำลอง ๒๔๔๔, ศาลาคู่หน้าพระอุโบสถ ๒๔๔๗

การหยิบยกภาพมาใช้ไม่น่าจะเป็นปัญหานะครับ จะ ๓ ปี จะ ๕ ปี คุณภาพของภาพยังดีและเล่าเรื่องให้ชาวยุโรปได้เห็น ได้เขียนข่าวได้ก็ไม่น่าเป็นปัญหานะครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 11:34
รูปถ่ายประกอบบทความนี้บอกเราเกี่ยวกับสยามได้ถูกต้องขึ้น จากเดิมที่เราเคยได้แต่แค่คาดเดาเท่านั้น.

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

ที่จอดอยู่หน้ากองทหาร  เป็นรถทารก( pram )อันสวยงาม สำหรับพระราชินีเสาวภาผ่องศรีองค์ใหญ่ ผู้เยือกเย็น ขณะปรากฏกายก้าวลงจากรถในชุดหรู ที่ดูดีอย่างคาดไม่ถึง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16599;image)
อยากจะเชิญคุณ V_Mee มาร่วมวงพิจารณาอีกคนว่า
พระรูปนี้  ดูพระพักตร์ซูบผอมมาก  ไม่น่าจะเป็นสมเด็จพระพันปี ซึ่งมีโครงพระพักตร์อิ่มเต็ม    พระองค์ก็เล็กนิดเดียว     จะเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯได้หรือไม่
หรือเป็นเจ้านายสตรีพระองค์อื่น   สายสะพายที่ทรง น่าจะบอกได้ว่าเป็นพระองค์ไหน

คุณ Navarat.C คะ
landau คือรถม้าค่ะ ไม่ใช่ pram
costume inattendu  แปลภาษาอังกฤษว่า unexpected attire  
seyants   แปลว่า occupations
สรุปแล้วได้คำแปลมา แต่ตัวเองก็ยังแปลไม่ถูกอยู่ดี   อยากให้คุณ Hotacunus แวะมาช่วยจริงๆ

สังเกตพระพักตร์สมเด็จพระพันปี? ในรูปนี้ เหมือนคนที่กำลังทุกข์โทมนัสแสนสาหัส    ทรงโจงกระเบนสีดำเหมือนไว้ทุกข์    เป็นช่วงเวลาไว้ทุกข์เช่นเดียวกับพระเจ้าลูกเธอกลุ่มใหญ่ในอีกรูปหรือเปล่า   เป็นไปได้ไหมว่าเป็นรูปที่ถ่ายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคต
รูปที่นำมาลงในหนังสือนี้ น่าจะต่างกรรมต่างวาระ  


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 12:00
อ้าว Google Translation, French to English ทุบหน้าผมเข้าแล้ว

d'un magnifique landau
ให้แปลเป็นไทย ท่านแปลว่า รถขนนมสวย
ให้แปลเป็นอังกฤษ ท่านแปลว่า a beautiful pram


นั่นน่าซี ผมเขียนไปก็งงไป จะมาเสียดสีกันทำมั้ย?


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 12:11
อ้างถึง
พระรูปนี้  ดูพระพักตร์ซูบผอมมาก  ไม่น่าจะเป็นสมเด็จพระพันปี ซึ่งมีโครงพระพักตร์อิ่มเต็ม    พระองค์ก็เล็กนิดเดียว     จะเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯได้หรือไม่

สมเด็จพระพันวสาฯแน่ๆครับ ฝรั่งมั่ว

แล้วในพระรูปนี้ ท่านทรงไว้ทุกข์ใคร
คือในปี๒๔๕๐นี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลกำลังจะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ อาจจะทรงฉายพระรูปร่วมกันไว้ก่อนการเดินทาง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 12:14
ดิฉันก็ได้เรียนรู้จากหาเว็บแปลในเน็ตนี้เอง ว่าต้องหาหลายๆเว็บ   หาเว็บเดียวจะเข้ารกเข้าพง กู่ไม่กลับ ยิ่งกว่าคุณ Navarat
ไปตะลุยเว็บแปลอีกหลายเว็บ จากแปลฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ และอังกฤษเป็นอังกฤษ  คำเดียวกันแปลความหมายต่างกันได้หลายอย่าง
ต้องมากุมขมับคิดว่าเอาคำไหน  ฝรั่งเศสก็คืนอาจารย์ไปหมดแล้วตั้งแต่เรียนจบปี ๓ ที่คณะ

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

ล่าสุด แปลได้ว่า  ทรงก้าวลงมาจากเบื้องหน้ากองทหาร(รักษาพระองค์) จากรถม้าพระที่นั่งที่ตกแต่งอย่างวิจิตร   สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงก้าวลงสู่พื้นดินภายในฉลองพระองค์แปลกไปจากทุกครั้ง แต่ก็ดูว่างามรับกับพระองค์อย่างยิ่ง

ขอเช็คอีกทีนะคะ ยังไม่ยุติ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 22 ม.ค. 11, 13:47
น่าสนใจมากเลยครับ สะดุดนิดเดียวตรงที่บอกว่ามาจากเวปฝรั่งเศส จริงๆน่าจะเป็น ebook เล่มหนึ่งของ Gutenberg project ซึ่งเป็นของอเมริกันแต่ใช้ชื่อเยอรมันน่ะครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 13:58
ขอบคุณที่บอกครับ

คือผมใช้ภาษาฝรั่งเศสหาครับ แล้วก็เข้าไปเจอเวปนี้ แถมเป็นภาษาฝรั่งเศสล้วนๆ เลยบกพร่องไปตรงนี้หน่อย ต้องขออภัย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 15:08
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16599;image)
อาจไม่ใช่งานพระศพหรือพระบรมศพ เพราะนายทหารไม่ได้ติดแขนทุกข์

ฉลองพระองค์ที่ทรงสายสะพาย มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายถึงทรงแบบเต็มยศหรือเปล่าคะ
ถ้าเป็นแบบเต็มยศ งานนี้ก็น่าจะเป็นพระราชพิธี  บริเวณรอบๆเป็นท้องสนามหลวงได้หรือไม่


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 15:38
ถ้าข้างบนเกี่ยวกับงานพระศพ (ก็ฝรั่งบอกว่านุ่งดำ) นุ่งดำครึ่งทุกข์ในงานศพของคนไทยก็มีวันเดียว คือวันที่เก็บอัฐิ ฝรั่งติดหัวอยู่ในเรื่องกระดูกคนตายจึงได้เอามามั่วเขียนเสียยืดยาว นี่เป็นข้อสันนิฐานหนึ่งครับ

เจ้านายระดับสูงที่สิ้นพระชนม์ในปี๒๔๕๐นั้นมีพระองค์เดียวคือ พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี  พระภรรยาเจ้าองค์แรกผู้อาภัพ แต่เป็นพระพี่นางของพระภรรยาเจ้าทุกพระองค์ของรัชกาลที่๕ แต่คงไม่เสด็จเพียงพระองค์เดียว

ที่คุณหนุ่มสยามสันนิฐานว่าเป็นงานฤดูหนาวของวัดเบญจมบพิตรก็ใกล้เคียงความจริง
 
ผมหาภาพนี้มาได้ เป็นภาพที่ถ่ายในปี ๒๔๔๘ สังเกตุสาวชาววังจะนุ่งผ้าสีเข้ม คงจะเป็นแฟชั่นกระมัง
ลางทีฝรั่งจะมั่วข้อมูลอีกว่า ผ้าสีเข้ม คือสีดำก็ได้

ต้องโทษฝรั่งไว้ก่อน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 15:40
นี่อีกรูปหนึ่ง คนละปีกัน แต่ก็ผ้านุ่งสีเข้มเหมือนกันครับ บางองค์ทรงสายสะพายด้วย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 15:47
อันนี้หามาฝากคุณหนุ่มสยาม

อ้างถึง
เห็นว่าเจ้านายทรงถ่ายภาพขณะขึ้นไปยืนบนกำแพงเมือง ครับ สำหรับกล้องที่ทั้งสองถือควรจะเป็นกล้องส่องทางไกลมากว่ากล้องถ่ายภาพ เนื่องจากการถ่ายภาพในยุคนั้นยังต้องใช้กระจกและขาตั้งกล้อง จะถือสองมือไม่ได้ครับ

ในปี ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จประพาศยุโรปเป็นครั้งที่สอง พระองค์ทรงกล้องมือถือ ฉายภาพระหว่างทางเสด็จครับ ช่วงนั้นกล้องมือถือเริ่มวางตลาดแล้ว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 15:53
แต่กล้องในรูปที่แล้ว ยังไม่เหมือนกล้องในภาพปริศนาเท่ารูปนี้ กล้องสองเลนส์ที่คุณหนุ่มว่าเป็นกล้องส่องทางไกล  เป็นกล้องถ่ายรูปแบบเสตอริโอ หรือ ๓ มิติ เจ้าของกล้องนี้ คือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 15:54
นี่อีกรูปหนึ่ง คนละปีกัน แต่ก็ผ้านุ่งสีเข้มเหมือนกันครับ บางองค์ทรงสายสะพายด้วย

เป็นแพรสะพาย สีตัดกับเสื้อ ได้ไหมคะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 16:00
เมื่อเช้าผมเดาไปว่า เจ้านายที่กำลังทรงกล้องนั้นน่าจะเป็นกรมพระกำแพงฯ เพราะพระพักตร์ท่านยาวๆหน่อย แต่ลืมไปพระพักตร์ยาวๆอย่างนี้ยังมีอีกหนึ่งองค์ พระรูปของท่านก็อยู่ต้นๆกระทู้เลยแหละ

บ่ายนี้ กลับมาฟันเฟิร์ม เจ้านายในภาพคือสมเด็จกรมพระยาดำรงครับ ทั้งดวงดารา และสายสะพายเพียบ ใช่ไหมครับคุณวี_หมีของผม

(แต่กล้องไม่ใช่ตัวเดียวกันนะ)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 16:07
อ้างถึง
อ้างถึง
นี่อีกรูปหนึ่ง คนละปีกัน แต่ก็ผ้านุ่งสีเข้มเหมือนกันครับ บางองค์ทรงสายสะพายด้วย

เป็นแพรสะพาย สีตัดกับเสื้อ ได้ไหมคะ
 

ไม่ทราบเหมือนกันครับ ต้องเข้าคิวรอถามคุณวี_หมี


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 16:36
อ้างถึง
อ้างถึง
นี่อีกรูปหนึ่ง คนละปีกัน แต่ก็ผ้านุ่งสีเข้มเหมือนกันครับ บางองค์ทรงสายสะพายด้วย

เป็นแพรสะพาย สีตัดกับเสื้อ ได้ไหมคะ
 

ไม่ทราบเหมือนกันครับ ต้องเข้าคิวรอถามคุณวี_หมี

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16637;image)

ที่ถามเพราะสายสะพาย  เวลาพาดจากไหล่จะเห็นเป็นแถบผ้าเส้นตรง เนื้อทรงตัว ไม่คล้อย    แต่ถ้าเป็นแพรสะพาย เป็นเนื้อนิ่ม ด้านบนเล็กกว่าด้านล่าง   คล้อยตามรูปทรง 
มีอีกอย่างที่นึกได้คือสายสะพายแพรปัก ที่เรียกเป็นทางการว่าแพรห่มเครื่องยศ    เป็นผ้ารูปทรงคล้ายๆในรูป   พระราชทานเจ้าจอมบางท่านที่ได้เครื่องราชจุลจอมเกล้าฯ
สตรีในรูปเป็นพระเจ้าลูกเธอ  หรือเจ้าจอม ก็ไม่แน่ค่ะ

เอาละ  นั่งรอคุณ V_Mee อีกคน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 22:20
Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

ล่าสุด แปลได้ว่า ทรงก้าวลงมาจากเบื้องหน้ากองทหาร(รักษาพระองค์) จากรถม้าพระที่นั่งที่ตกแต่งอย่างวิจิตร   สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงก้าวลงสู่พื้นดินภายในฉลองพระองค์แปลกไป จากทุกครั้ง แต่ก็ดูว่างามรับกับพระองค์อย่างยิ่ง       

ขอเช็คอีกทีนะคะ ยังไม่ยุติ

ได้คำตอบจากสวรรค์ ที่ชื่อคุณ "มนันยา" แล้วค่ะ   

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

ทรงก้าวลงมาระหว่างนายทหารที่เรียงแถวเป็นหน้ากระดาน จากรถม้าพระที่นั่งงามวิจิตรซึ่งมีหน้าต่างขนาดใหญ่   สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงก้าวลงสู่พื้นดินภายในฉลองพระองค์แปลกไปจากทุกครั้ง แต่ก็ดูว่างามรับกับพระองค์อย่างยิ่ง

ต่อไปนี้ ถ้าคุณ Navarat.C แปลฝรั่งเศส แล้วสงสัยตอนไหน  เอามาลงให้ดิฉันดูได้เลยค่ะ     ถ้าดิฉันแปลไม่ได้ จะไปขอคำตอบจากสวรรค์ชั้นเดิมมาให้



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 23:03
^
^
เชิญแปลตามนี้เลยครับ

NOTRE VOISIN LE SIAM

L'entente cordiale avec l'Angleterre a amené, comme conséquence directe, l'entente cordiale avec le Piani. La semaine dernière, un fait s'est passé, presque inaperçu dans le brouhaha politique, et cependant d'importance. Le Siam nous a rendu une partie de ces provinces du Grand Lac, qui appartinrent au Cambodge, notre protégé, et qui lui avaient été ravies par la conquête. Dans le même temps, nous lui rendions Chantaboun, que nous occupions comme gage temporaire. Le lendemain, on annonçait que le roi de Siam avait manifesté le désir d'envoyer un de ses frères, le prince Damrong, ministre de l'intérieur, saluer le gouverneur général de l'Indo Chine. M. Beau a adressé une invitation au prince, qui se rendra prochainement à Hanoï. Ainsi se manifeste par des actes la fin d'une trop longue période de suspicions, d'hostilités plus ou moins ouvertes et de colères. cordiale Dans l'intérêt de notre empire indo-chinois, nous devons nous féliciter de ce changement de politique.
Aujourd'hui, notre Indo-Chine, de la frontière chinoise au pays de Kratt, a ses frontières tracées; ses populations sont pacifiées; son organisation, achevée. Ce qu'il lui faut, désormais, mais nécessairement, c'est la paix qui lui permettra d'achever ses canaux, ses routes, ses chemins de fer, de mettre en exploitation ses richesses agricoles et bientôt, nous l'espérons, industrielles, et enfin, s'il faut tout dire, de se fortifier contre des agressions toujours possibles. La conquête est achevée, la mise en valeur commence. Pour l'exécution de ce nouveau et difficile programme, nous nous trouverons bien de l'amitié du Siam. Et, par surcroît, nous nous donnerons ainsi l'occasion de mieux étudier cette civilisation si curieuse, aujourd'hui en contact avec la nôtre.
Les photographies qui illustrent cet article nous révèlent précisément un Siam que nous ne faisions que soupçonner.
Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants. Et c'est dans ce même costume, blouses blanches, culottes noires, souliers à boucles, que s'avance, dans une cour du palais, l'alerte troupe des princesses, filles du roi. On admirera leur corps souple et bien proportionné. Selon l'expression d'un ancien voyageur, Mouhot, ces jeunes femmes n'ont rien à envier «aux modèles convenus de notre statuaire». Le teint est olivâtre, les pommettes des joues saillantes, les yeux noirs, taillés en amande et légèrement bridés.

La reine de Siam descendant de voiture.
Défilé des princesses de la famille royale. Parade


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 23:04
La reine, les princesses, toute la famille royale et toute la La cour se rendaient, le jour où ces photographies ont été prises, à une des plus significatives cérémonies religieuses du Siam.
Les Siamois sont des bouddhistes orthodoxes, et ils le sont avec ferveur. Leur ardeur religieuse s'atteste de la manière la plus manifeste par le grand nombre de bonzes qu'ils nourrissent et entretiennent. Elle s'affirme encore par la multiplicité des pagodes et des sanctuaires. Les riches, non contents de faire des donations, construisent un temple qu'ils se plaisent à enrichir et où doivent être déposées leurs cendres: les pauvres donnent au moins une idole du bouddha. Enfin, la profondeur du sentiment religieux de ce peuple éclate dans la vénération dont est entouré le roi.
Les titres les plus pompeux lui sont prodigués. Il est par excellence le Phrah, vieille expression cambodgienne qui peut se traduire par «saint, divin, dieu, sacré, auguste», et qui s'applique, en effet, au bouddha, aux dieux, au roi, aux princes, aux bonzes. Il est encore le Brah Pad Samtac, «seigneur aux pieds sacrés», le Chao Jivit, «maître des vies», le Chao Phen Ti, «maître de la surface de la terre», le Brah Maha Krasat, «le saint et grand roi». Tels sont les titres qui appartiennent à ce souverain, qu'un de nos instantanés représente cependant sous une tenue sans faste, avec des allures simples, modestes et qui a bien un peu l'air, s'il est permis de dire, d'un de nos officiers coloniaux. Dès que le nouveau roi a reçu la douche, l'ondoiement symbolique de la grande «purification» qui lui vaut un de ses titres, celui de Pavitra, il est tenu d'aller vénérer les cendres de ses ancêtres et prédécesseurs dans le temple «de la grande tour», Maha Prasat, qui s'élève dans l'enceinte même du palais royal.
Chaque année, à peu près vers la même époque,--octobre ou novembre,--il se rend solennellement dans les grands temples de Bangkok, pour faire ses dévotions au bouddha et offrir aux bonzes ses présents, les «Phra Kabhin». Les cendres de ses ancêtres sont portées devant lui et entrent avant lui dans le temple. C'est ce pèlerinage que représentent les dernières de nos photographies. Le roi se rend aux grands temples soit en voiture, soit parfois à pied, soit, le plus souvent, en barque. Selon Gervaise, le roi de Siam, dans ses sorties en bateau, était assis sur un trône couvert de beaux tapis et enrichi de pierres précieuses; il était entouré de six pages prosternés. Cent vingt rameurs, appelés «bras peints» parce que telle était leur coutume, manoeuvraient en cadence leurs rames dorées, en chantant à voix basse des airs qui devaient être anciens et traditionnels. A l'arrière, un petit étendard, fait d'une feuille d'or, distingue la pirogue, le baron royal, dont le timonier était frappé s'il se laissait emporter par le courant et décapité s'il tombait à l'eau que sont timon fût cassé dans ses mains.. Deux balons d'honneur flanquaient celui que montait le roi: d'autres, en grand nombre, le suivaient ou le précédaient. Le lecteur pourra s'assurer par nos illustrations photographiques de l'exactitude de ces descriptions.

LE DÉFILÉ SUR LE MENAM DES BARQUES ROYALES ET PRINCIÈRES.--La grande barque-pagode est celle qui précède toujours la barque royale; elle porte les cendres des ancêtres de la dynastie.



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 23:15
 :-\

เอ่อ....ดิฉันนึกว่าคุณ Navarat.C สงสัยแค่บรรทัดสองบรรทัด
ถ้าสงสัยยาวขนาดนี้  ดิฉันคงมีสิทธิ์ตกนรก แทนขึ้นสวรรค์


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 23:20
เจอที่มาของบทความนี้แล้วครับ นิตยสารเก่าประกาศขายบนe-buy อ่านออกแต่ราคา 12 EURO ชื่อนิตยสารอะไรอ่านไม่ออก ดูแต่รูปแล้วกัน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 22 ม.ค. 11, 23:21
เห็นรูปสาวชาววังในความคิดที่ ๓๙ แล้วอยากรูว่าใครออกแบบสวยถูกใจ
อยากให้เป็นเอกลักษณ์สาวไทยปัจจุบันจัง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 22 ม.ค. 11, 23:34
สตรีในภาพนั้น
พระองค์ที่หนึ่งนับจากซ้าย คาดว่าน่าจะเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
ส่วนพระองค์ที่สองถัดไปคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
ท่านที่สาม คล้ายกับ เจ้าจอมเอื้อน  บุนนาค

รอยืนยันอีกครั้งครับ....


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 23:46
ไหนๆก็ออกปากไปแล้ว  ขอแปลพอเป็นกระสายยา  จากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษน่าจะง่ายกว่าจากฝรั่งเศสเป็นไทย   ต่อจากนั้น  คุณ N.C. คงถือว่าปอกกล้วยเข้าปาก

Our Vision of siam

The entente cordiale with England led, as a direct consequence, the entente cordiale with Piani. Last week, an act was passed, almost unnoticed in the hubbub policy, yet important. Siam has made us a part of those provinces of the Great Lake, which belonged to Cambodia, our protected, and that he had been delighted by conquest.At the same time, we were (ตรงนี้แปลไม่ออกค่ะ) Chantaboun , as a pledge that we occupied temporarily. The next day it was announced that the King of Siam had expressed a desire to send one of his brothers, Prince Damrong, Minister of the Interior, to greet the Governor General of Indo China. Mr. Beau has extended an invitation to the prince, who will soon visit Hanoi. Thus is manifested by acts by the end of a long period of suspicion, of more or less open hostility and anger. In the cordial interest of our Indo-Chinese empire, we should welcome this change in policy.

ทั้งหมดนี่คุณ N.C. แปลได้แล้วนี่นา  ???


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ม.ค. 11, 07:34
ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสว่าดังนี้  
Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

Google Translation แปลเป็นไทยว่า  
Descending ที่ด้านหน้าของกองกำลัง, รถเด็กสวยงามสำหรับราชินีน้ำแข็งขนาดใหญ่ Sowaya Pongsi alighted ในชุดที่ดูเหมือนว่าไม่คาดคิดและที่สุดกลายเป็น

Google Translation แปลภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษว่า  
Descending on the front of the troops, a beautiful pram for large ice queen Sowaya Pongsi alighted in a costume that seems unexpected and the most becoming.

Google Translation แปลอังกฤษเป็นไทยว่า  
Descending ที่ด้านหน้าของกองกำลัง, รถเด็กสวยงามสำหรับราชินีน้ำแข็งขนาดใหญ่ Sowaya Pongsi alighted ในชุดที่ดูเหมือนว่าไม่คาดคิดและที่สุดกลายเป็น

Navarat.C ถอดความจากภาษาอังกฤษเป็นไทยแบบตรงไปตรงมาว่า  
ที่จอดอยู่หน้ากองทหาร  เป็นรถทารก( pram )อันสวยงาม สำหรับพระราชินีเสาวภาผ่องศรีองค์ใหญ่ ผู้เยือกเย็น ขณะปรากฏกายก้าวลงจากรถในชุดหรู ที่ดูดีอย่างคาดไม่ถึง

เทาชมพูแปลฝรั่งเศสเป็นไทยความว่า  
ทรงก้าวลงมาจากเบื้องหน้ากองทหาร(รักษาพระองค์) จากรถม้าพระที่นั่งที่ตกแต่งอย่างวิจิตร   สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงก้าวลงสู่พื้นดินภายในฉลองพระองค์แปลกไป จากทุกครั้ง แต่ก็ดูว่างามรับกับพระองค์อย่างยิ่ง      

เทาชมพูหลังจากได้คำตอบจากสวรรค์ ที่ชื่อคุณ "มนันยา" แปลฝรั่งเศสเป็นไทยความว่า
ทรงก้าวลงมาระหว่างนายทหารที่เรียงแถวเป็นหน้ากระดาน จากรถม้าพระที่นั่งงามวิจิตรซึ่งมีหน้าต่างขนาดใหญ่   สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงก้าวลงสู่พื้นดินภายในฉลองพระองค์แปลกไปจากทุกครั้ง แต่ก็ดูว่างามรับกับพระองค์อย่างยิ่ง


ผลงานแปลความของผม แม้ความหมายจะพอไปได้ แต่อารมณ์ของภาษาต่างกันขาวเป็นดำ Google Translation จะมีประโยชน์เมื่อเข้าตาจนเท่านั้น แต่จะเอามาใช้งานใช้การอาจอันตรายมาก โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องเอาจริงเอาจัง แม้เป็นบทความอ่านเบาสมองอย่างบทความนี้ก็เถอะ ผมประมาทไปหน่อย ไปว่าฝรั่งมั่ว ที่แท้ตนเองนั้นแหละโคตรมั่ว

ผมเลยส่งบทความทั้งเรื่องมาให้ตรวจสอบใหม่ทั้งหมด เพื่อประโยชน์ของผู้อ่าน ที่หลายคนยังเป็นนักเรียนนักศึกษา จะได้ไม่ติดสมองไปผิดๆ เป็นบาปที่ผมสร้างโดยมิได้เจตนา


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 08:36
^
Oh! I see

Google Translation แปลภาษาอังกฤษภาษาฝรั่งเศสว่า 
Oh  Je vois

Google Translation แปลฝรั่งเศสและอังกฤษเป็นไทยว่า 
โอ้ ฉันเห็น

เทาชมพูตั้งใจจะหมายความว่า
เข้าใจแล้วค่ะ

คำว่า เข้าใจแล้วค่ะ  Google Translation แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษว่า 
Understand
ก็พอเข้าเค้า  แต่ถ้าดิฉันพิมพ์ว่า "นึกออกแล้ว"  Google Translation ก็แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษว่า 
Then imagine
เตลิดเข้าป่าไปไกลเอาการ

ทำให้สรุปว่าน้องกุ๊กไม่ชำนาญแปลประโยค  เธอแปลเป็นคำ แบบระบบสมองทำได้แค่นั้น   เพราะฉะนั้น คำว่า  grandes glaces   ซึ่งแปลได้หลายอย่าง  ถอดเป็นอังกฤษว่า big glass (คือหน้าต่างขนาดใหญ่) ก็ได้ big ice ก็ได้  เธอจึงแปลว่าน้ำแข็งขนาดใหญ่    ไม่ได้สนใจบริบทคำประกอบก่อนหน้านี้     สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีจึงกลายเป็นราชินีน้ำแข็งไป   

อย่างไรก็ตาม  นอกจากประโยคที่คุณ Navarat C. เคราะห์ร้ายไปเจอรถม้าเป็นรถเข็นทารก      ข้อความยาวๆที่ยกมาให้แปลในค.ห.แรก  ดิฉันพบว่าน้องกุ๊กแปลฝรั่งเศสเป็นอังกฤษได้เนื้อถ้อยกระทงความพอใช้   พอแกะรอยได้ว่าอะไรหมายถึงอะไร   ก็เลยเห็นว่าคุณนวรัตนแปลมาถูกทางแล้ว
แต่เพื่อมิให้ท่านต้องกระทำบาปโดยมิได้ตั้งใจ   เดี๋ยวดิฉันจะลองแปลเป็นไทยอีกที   แล้วส่งสวรรค์ช่วยอีกครั้ง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 23 ม.ค. 11, 08:38
รูปถ่ายประกอบบทความนี้บอกเราเกี่ยวกับสยามได้ถูกต้องขึ้น จากเดิมที่เราเคยได้แต่แค่คาดเดาเท่านั้น.

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

ที่จอดอยู่หน้ากองทหาร  เป็นรถทารก( pram )อันสวยงาม สำหรับพระราชินีเสาวภาผ่องศรีองค์ใหญ่ ผู้เยือกเย็น ขณะปรากฏกายก้าวลงจากรถในชุดหรู ที่ดูดีอย่างคาดไม่ถึง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16599;image)
อยากจะเชิญคุณ V_Mee มาร่วมวงพิจารณาอีกคนว่า
พระรูปนี้  ดูพระพักตร์ซูบผอมมาก  ไม่น่าจะเป็นสมเด็จพระพันปี ซึ่งมีโครงพระพักตร์อิ่มเต็ม    พระองค์ก็เล็กนิดเดียว     จะเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯได้หรือไม่
หรือเป็นเจ้านายสตรีพระองค์อื่น   สายสะพายที่ทรง น่าจะบอกได้ว่าเป็นพระองค์ไหน

คุณ Navarat.C คะ
landau คือรถม้าค่ะ ไม่ใช่ pram
costume inattendu  แปลภาษาอังกฤษว่า unexpected attire  
seyants   แปลว่า occupations
สรุปแล้วได้คำแปลมา แต่ตัวเองก็ยังแปลไม่ถูกอยู่ดี   อยากให้คุณ Hotacunus แวะมาช่วยจริงๆ

สังเกตพระพักตร์สมเด็จพระพันปี? ในรูปนี้ เหมือนคนที่กำลังทุกข์โทมนัสแสนสาหัส    ทรงโจงกระเบนสีดำเหมือนไว้ทุกข์    เป็นช่วงเวลาไว้ทุกข์เช่นเดียวกับพระเจ้าลูกเธอกลุ่มใหญ่ในอีกรูปหรือเปล่า   เป็นไปได้ไหมว่าเป็นรูปที่ถ่ายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคต
รูปที่นำมาลงในหนังสือนี้ น่าจะต่างกรรมต่างวาระ  

ภาพนี้เป็นพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง แน่นอนครับ
ภาพนี้ดูจากการแต่งกายของข้าราชการที่ยืนรอรับเสด็จ (คนทางซ้าย) และภูษามาลาอยู่งานพระกลด (คนทางขวา) แล้ว  น่าจะฉายในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ 
และจำได้ว่าเคยเห็นภาพตอนสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จลงจากรถม้าพระที่นั่งแต่ไม่ใช่ภาพนี้  เป็นภาพมุมกว้างที่เห็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (รัชกาลที่ ๖) ทรงยืนรอรับเสด็จ  ดูเหมือนจะเป็นคราวเจ้านายต่างประเทศเสด็จมาเยือนเมืองไทยตอนปลายรัชกาลที่ ๕
ที่ดูแปลกคือสายสะพายที่เฉียงบ่าซ้าย  ซึ่งไม่ใช่แพรสะพักเพราะทรงประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยนั้น  ดูไม่ออกว่าเป็นสายสะพายอะไร  เพราะดูคล้ายสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์  แต่สายสะพายดังกล่าวใช้สะพายเฉียงบ่าขวา  หรือจะเป็นสายวะพายต่างประเทศ?

มี่เรียนยืนยันว่าเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง  ก็เพราะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  มีเจ้านายฝ่ายในเพียงพระองค์เดียวที่เสด็จออกพร้อมกับฝ่ายหน้า  คือ สมเด็จพระพันปีหลวง  ซึ่งเริ่มเสด็จออกภายหลังจากทรงสำเร็จราชการรักษาพระนครในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ แล้ว  ต่อมาในตอนต้นรัชกาลที่ ๖  จึงเสด็จออกรับแขกเมืองพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร จนเป็นที่ร่ำลือกันว่าจะทรงอภิเษกสมรสกับทูลกระหม่อมหญิง  ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑  เมื่อทรงหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี แล้ว  จึงโปรดให้พระคู่หมั้นเสด็จออกประทับรับแขกคู่กับพระองค์  แล้วจึงเป็นธรรมเนียมทอดพระเก้าอี้ฝ่ายในคู่กับฝ่ายหน้ามาแต่บัดนั้น


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 23 ม.ค. 11, 08:49
คุณหนุ่มครับ

พอขยายดู ภาพนี้มันหลอนๆชอบกลเหมือนภาพตัดแปะมาซ้อนกัน โปรดสังเกตุขอบเสื้อคนยืนหลัง  ตำแหน่งต่างๆผิดperspective
อีกอย่างหนึ่ง วัดบวรไม่น่าจะมีฉากหลังทึบเป็นป่าดิบขนาดมีต้นไม้สูงใหญ่อย่างนั้น

เอาเป็นว่า เจ้านายที่ทรงกล้อง คือพระองค์ใดดีกว่า
ที่ถามนี้ไม่ใช่ผมทราบแล้วนะครับ

อยากเดาว่า กรมพระกำแพงเพชรฯ

ดูจากภาพที่ขยายใหญ่แล้ว  เจ้านายที่ทรงถือวัตถุคล้ายกล้องนั้นน่าจะเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  มิใช่กรมพระกำแพงเพชรแน่นอนครับ  เพราะเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรฯ นั้นทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด  และมีแบบธรรมเนียมอยู่ว่า เจ้านายที่ทรงรับราชการทหารจะทรงเครื่องแบบทหารตลอด  จะไม่ทรงเครื่องพลเรือน  แต่เจ้านายในภาพนั้นทรงฉลองพระองค์เยียรบับประดับพระตราและสายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์  ซึ่งเป็นเครื่องทรงพลเรือนสำหรับพลเรือน

ส่วนวัตถุที่ทรงถือในพระหัตถ์นั้นไม่น่าใช่กล้องถ่ายรูป  เพราะกล้องถ่ายรูปในเวลานั้นยังเป็นกล้องใหญ่ดังที่มีตั้งอยู่ ๒ กล้องที่ด้านหลังนายทหารที่ยืนอยู่หลังที่ประทับ  แต่วัตถุในพระหัตถ์นั้นน่าจะเป็น "ถ้ำมอง" ซึ่งเป็นของใหม่ในยุคปลายรัชกาลที่ ๕  ดังที่ได้ทรงซื้อและโปรดพระราชทานไปให้พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เมื่อคราวเสด็จเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๒


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 23 ม.ค. 11, 09:04
อ้างถึง
พระรูปนี้  ดูพระพักตร์ซูบผอมมาก  ไม่น่าจะเป็นสมเด็จพระพันปี ซึ่งมีโครงพระพักตร์อิ่มเต็ม    พระองค์ก็เล็กนิดเดียว     จะเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯได้หรือไม่

สมเด็จพระพันวสาฯแน่ๆครับ ฝรั่งมั่ว

แล้วในพระรูปนี้ ท่านทรงไว้ทุกข์ใคร
คือในปี๒๔๕๐นี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลกำลังจะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ อาจจะทรงฉายพระรูปร่วมกันไว้ก่อนการเดินทาง

พระรูปองค์นี้ทรงฉายราว พ.ศ. ๒๔๖๒  คราวไว้ทุกข์ถวายสมเด็จพระศรีพชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่  ๒๐  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๖๒ ครับ
ที่สามารถยืนยันได้เช่นนั้นเพราะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จออกไปทรงศึกษาที่ยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙  แล้วทรงกลับมาถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ ในตอนปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๓  เสด็จออกไปทรงศึกษาอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔  โดยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ไปส่งเสด็จถึงเมืองสงขลา  เสด็จกลับมาเมืองไทยโดยพระบรมราชโองการเมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่ ๑ เริ่มขึ้นในยุโรปแล้ว  และในภาพทรงเครื่องนายร้อยตรี ทหารมหาดเล็ก  จึงยืนยันได้ว่าทรงฉายเมื่อเสด็จกลับมารับราชการแล้ว  และที่สามารถยืนยันได้ว่า ทรงฉายในระหว่างไว้ทุกข์ถวายสมเด็จพระพันปีหลวงนั้น  ก็เพราะก่อนหน้านั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีฯ ประทับอยู่ที่วังพญาไทพร้อมด้วยสมเด็จพระพีนปีหลวงในฐานพระธิดาบุญธรรมมาโดยตลอด  จนทรงออกพระนามสมเด็จพระพันปีหลวงว่า "เสด็จแม่" และทรงออกพระนาม สมเด็จพระพันวัสสาซึ่งเป็นพระราชชนนี ว่า "สมเด็จป้า" ตามพระราชโอรสในสมเด็จพระพันปีหลวง   เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสวรรคตได้เพียง ๑ สัปดาห์  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รื้อย้ายพระตำหนักพญาไทไปปลูกสร้างใหม่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีจึงทรงย้ายไปประทับที่ตำหนักใหญ่วังสระปทุมพร้อมด้วยสมเด็จพระพันวัสสาฯ อยู่ระยะหนึ่ง  พระรูปนี้คงจะฉายที่วังสระปทุมก่อนที่สมเด็จพระบรมราชชนกจะเสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาแพทย์  และได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็น Education Inspector General  ไปเจรจากับมูลนิธิร้อกกี้เฟลเลอร์จนได้รับความช่วยเหลือจัดตั้งหลักสูตรเวชชศาสตร์บัณฑิต  ซึ่งเป็นหลักสูตรชั้นปริญญาหลักสูตรแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเปิดสอนในปี พ.ศ. ๒๔๖๗


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 11, 10:11
เข้าไปหาข้อมูลกล้องสามมิติ Stero Camera ก็มีอยู่หลากรูปแบบ

ดูจากภาพเก่าที่เจ้านายทรงถือกล้องนั้น คงเป็นการ Show Off เพื่อเล่นกับกล้องเพื่อให้ถ่ายภาพ เนื่องจากไม่เห็นตัวโฟกัสของกล้องที่ยืดหยุ่นคล้ายหีบเพลง อีกทั้งนิ้วชี้ยังบังตัวเลนส์อีกด้วย
ยังคงเห็นวัตถุกลมๆ ที่แก้มซ้ายและขวา เหมือนอย่าง "ตาปู" ยื่นเป็นกิ่ง ยอดแผ่นกลมแบนที่แก้มซ้ายและขวา ไม่รู้ว่าเป็นแว่นตา หรืออุปกรณ์ประกอบตัวกล้อง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 10:43
เจอที่มาของบทความนี้แล้วครับ นิตยสารเก่าประกาศขายบนe-buy อ่านออกแต่ราคา 12 EURO ชื่อนิตยสารอะไรอ่านไม่ออก ดูแต่รูปแล้วกัน

ชื่อนิตยสาร L'Illustration ฉบับที่ ๒๒๓๐ วันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ม.ค. 11, 16:39
^
ผมไม่ได้เห็น "หัว" หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ดังภาพที่คุณเพ็ญเอามาลงเลย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 11, 17:23
^
ผมไม่ได้เห็น "หัว" หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ดังภาพที่คุณเพ็ญเอามาลงเลย


อ. NAVARAT.C ครับ สิ่งที่คุณเพ็ญชมพูนำมา ก้ได้มาจากลิงค์ที่ อ. โปรยไว้ในความเห็นแรกเลยครับ เป็นข้อความระบุไว้ว่า เอามาจาก "Gutenberg's L'Illustration, No. 3230, 21 Janvier 1905" ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ม.ค. 11, 17:28
ครับ แต่"Gutenberg's L'Illustration, No. 3230, 21 Janvier 1905" ไม่ใช่"หัว"หนังสือพิมพ์นี่ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 17:32
NOTRE VOISIN LE SIAM

L'entente cordiale avec l'Angleterre a amené, comme conséquence directe, l'entente cordiale avec le Piani. La semaine dernière, un fait s'est passé, presque inaperçu dans le brouhaha politique, et cependant d'importance. Le Siam nous a rendu une partie de ces provinces du Grand Lac, qui appartinrent au Cambodge, notre protégé, et qui lui avaient été ravies par la conquête. Dans le même temps, nous lui rendions Chantaboun, que nous occupions comme gage temporaire. Le lendemain, on annonçait que le roi de Siam avait manifesté le désir d'envoyer un de ses frères, le prince Damrong, ministre de l'intérieur, saluer le gouverneur général de l'Indo Chine. M. Beau a adressé une invitation au prince, qui se rendra prochainement à Hanoï. Ainsi se manifeste par des actes la fin d'une trop longue période de suspicions, d'hostilités plus ou moins ouvertes et de colères. cordiale Dans l'intérêt de notre empire indo-chinois, nous devons nous féliciter de ce changement de politique.
Aujourd'hui, notre Indo-Chine, de la frontière chinoise au pays de Kratt, a ses frontières tracées; ses populations sont pacifiées; son organisation, achevée. Ce qu'il lui faut, désormais, mais nécessairement, c'est la paix qui lui permettra d'achever ses canaux, ses routes, ses chemins de fer, de mettre en exploitation ses richesses agricoles et bientôt, nous l'espérons, industrielles, et enfin, s'il faut tout dire, de se fortifier contre des agressions toujours possibles. La conquête est achevée, la mise en valeur commence. Pour l'exécution de ce nouveau et difficile programme, nous nous trouverons bien de l'amitié du Siam. Et, par surcroît, nous nous donnerons ainsi l'occasion de mieux étudier cette civilisation si curieuse, aujourd'hui en contact avec la nôtre.

ดิฉันย้อนกลับไปหน้า ๒ เพื่อจะลอกข้อความที่คุณ Navarat เคยแปลไว้แล้ว ส่งให้พี่มนันยาเป็นการทุ่นเวลาที่เธอจะต้องมาแปลให้ ขอให้เธอตรวจแล้วแก้ น่าจะง่ายกว่า
แต่ยังลอกไม่ถูก  เพราะข้อความที่แปลบางประโยคก็ตรง บางประโยคก็มีเพิ่มขึ้นมา  เลยไม่รู้ว่าตรงไหนกันแน่
เลยยกมาให้ดู เพื่อตรวจสอบอีกที  ว่าข้างบน แปลมาเป็นข้างล่างนี้ใช่ไหมคะ
ถ้าจะยกมาเทียบให้ดู ทั้งหมดได้ก็น่าจะดี

สยามเพื่อนบ้านของเรา

สนธิสัญญาความเข้าใจกันดีระหว่างประเทศของเรากับประเทศอังกฤษนำเป็นผลโดยตรง  ข้อตกลงPianiให้สยามยกหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงกับดินแดนทางใต้ภูเขาพนมดงรักให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมามีการทำสัญญาเพิ่มเติมลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1904 ทำให้สยามเสียดินแดนระหว่างทะเลสาบกับทะเลหลวงแก่ฝรั่งเศส และในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 มีการทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งยอมรับว่าฝรั่งเศสยอมสละเอกสิทธิบางอย่างในสยาม แต่สยามต้องการยกมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณให้ฝรั่งเศส
สัปดาห์ที่ผ่านมา การกำหนดดำเนินนโยบายที่เคยโต้เถียงกันอย่างหน้าดำคร่ำเคร่งก็ได้ผ่านไปโดยแทบจะไม่มีผู้ใดสังเกต  ที่สำคัญ หลายจังหวัดโดยรอบโตนเลสาปของกัมพูชาเหล่านั้น สยามได้ยอมยกให้เป็นส่วนหนึ่งในเขตปกป้องของเราแล้ว   เและพวกเขาก็มีความยินดีด้วยในชัยชนะของการเจรจา ได้จันทบูรณ์ที่เรายึดจากเขามาครอบครองชั่วคราวเป็นประกันนั้นคืนไป  วันต่อมา จึงมีการประกาศว่ากษัตริย์ของสยามได้แสดงความปรารถนาที่จะส่งน้องชายองค์หนึ่งของเขา คือกรมพระยาดำรง เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปเยี่ยมดูราชการทั่วไปของอินโดจีน นาย Beau จึงได้ส่งหนังสือเชิญไปยังเจ้าชาย ผู้ซึ่งเร็วๆนี้ก็จะเสด็จมายังกรุงฮานอยแล้ว จึงเป็นการแสดงให้ประจักษ์ ถึงการสิ้นสุดระยะเวลาอันยาวนานของความโกรธเกลียด และการหวาดระแวงเป็นปรปักษ์ กันอย่างฉันท์มิตร
เพื่อผลประโยขน์แห่งอาณาจักรอินโดจีนของเรา เราควรจะต้อนรับการเปลี่ยนแปลงในนโยบายนี้  อินโดจีนของเรา ในวันนี้ที่ที่ดินของ Kratt ซึ่งอยู่ชายแดนจีน ได้กำหนดเส้นเขตแดนกันแล้วเสร้จ และผู้คนก็สงบสุขดีแล้ว การจัดองค์กรของเขาก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ อะไรที่เขาต้องการตอนนี้และเป็นสิ่งจำเป็นด้วย ก็คือสันติภาพ  เพื่อให้การสร้างคลอง ถนน และทางรถไฟ แล้วเสร็จเปิดการใช้งานได้ในดินแดนภาคเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ และหวังว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมต่อไปด้วยในเร็ววันนี้  


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 20:44
ยังติดใจพระรูปสมเด็จพระพันปีที่คุณ Navarat.C นำมาลง  คุณ V_Mee เข้ามายืนยันว่าเป็นสมเด็จพระพันปีแน่ๆ
ดิฉันเจอพระรูปที่ทรงฉายกับพระราชโอรส    มีคำบรรยายว่าประมาณปี 1900 ก็คือพ.ศ. 2443   
ดูราวกับคนละพระองค์กัน  ทรงซูบผอมลงไปได้ขนาดนั้นเทียวหรือ  เป็นพ.ศ. ไหนกันแน่   


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 20:54
พระรูปซ้าย ทรงฉายเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต  ส่วนพระรูปขวา ทรงฉายขณะเสด็จไปทำนา ที่ทุ่งพญาไท (ร.ศ. 128)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ม.ค. 11, 21:52
อ้างถึง
ดิฉันย้อนกลับไปหน้า ๒ เพื่อจะลอกข้อความที่คุณ Navarat เคยแปลไว้แล้ว ส่งให้พี่มนันยาเป็นการทุ่นเวลาที่เธอจะต้องมาแปลให้ ขอให้เธอตรวจแล้วแก้ น่าจะง่ายกว่า
แต่ยังลอกไม่ถูก  เพราะข้อความที่แปลบางประโยคก็ตรง บางประโยคก็มีเพิ่มขึ้นมา  เลยไม่รู้ว่าตรงไหนกันแน่
เลยยกมาให้ดู เพื่อตรวจสอบอีกที  ว่าข้างบน แปลมาเป็นข้างล่างนี้ใช่ไหมคะ
ถ้าจะยกมาเทียบให้ดู ทั้งหมดได้ก็น่าจะดี


สยามเพื่อนบ้านของเรา

สนธิสัญญาความเข้าใจกันดีระหว่างประเทศของเรากับประเทศอังกฤษเป็นผลโดยตรง  ข้อตกลงPianiให้สยามยกหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงกับดินแดนทางใต้ภูเขาพนมดงรักให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมามีการทำสัญญาเพิ่มเติมลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1904 ทำให้สยามเสียดินแดนระหว่างทะเลสาบกับทะเลหลวงแก่ฝรั่งเศส และในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 มีการทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งยอมรับว่าฝรั่งเศสยอมสละเอกสิทธิบางอย่างในสยาม แต่สยามต้องการยกมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณให้ฝรั่งเศสสัปดาห์ที่ผ่านมา การกำหนดดำเนินนโยบายที่เคยโต้เถียงกันอย่างหน้าดำคร่ำเคร่งก็ได้ผ่านไปโดยแทบจะไม่มีผู้ใดสังเกต  ที่สำคัญ หลายจังหวัดโดยรอบโตนเลสาปของกัมพูชาเหล่านั้น สยามได้ยอมยกให้เป็นส่วนหนึ่งในเขตปกป้องของเราแล้ว   เและพวกเขาก็มีความยินดีด้วยในชัยชนะของการเจรจา ได้จันทบูรณ์ที่เรายึดจากเขามาครอบครองชั่วคราวเป็นประกันนั้นคืนไป  วันต่อมา จึงมีการประกาศว่ากษัตริย์ของสยามได้แสดงความปรารถนาที่จะส่งน้องชายองค์หนึ่งของเขา คือกรมพระยาดำรง เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปเยี่ยมดูราชการทั่วไปของอินโดจีน นาย Beau จึงได้ส่งหนังสือเชิญไปยังเจ้าชาย ผู้ซึ่งเร็วๆนี้ก็จะเสด็จมายังกรุงฮานอยแล้ว จึงเป็นการแสดงให้ประจักษ์ ถึงการสิ้นสุดระยะเวลาอันยาวนานของความโกรธเกลียด และการหวาดระแวงเป็นปรปักษ์ กันอย่างฉันท์มิตร

ข้อความสีแดงเป็นข้อความที่ผมเพิ่มเข้ามาเพื่อขยายความให้ท่านผู้อ่านเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมดของข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งไม่ได้มีแค่ที่บทความกล่าวถึงเท่านั้น


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 11, 22:25
สายสะพายมีลักษณะใกล้เคียงกัน

สำหรับพระฉวี ที่ดูซุบลงไป บางครั้งอาจจะเป็นเรื่องเทคนิคการพิมพ์ แสงเงาและการตกแต่งภาพ ด้วยกระมัง เลยทำให้พระฉวีดูหมองไปมาก


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 11, 22:34
ลองลบแสงเงาที่ตกระทบออกดู จะเห็นความแตกต่าง แสดงว่าภาพต้นฉบับมีแสงแดดแรง อยู่กลางแดด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 11, 06:40
ภาพสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๕๓  หลังจากเหตุการณ์ในภาพที่แล้ว ๕ปี สังเกตุได้ว่าพระวรกายค่อนข้างซูบผอม ไม่ทรงท้วมอย่างภาพหลายภาพที่เราเคยชิน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 08:28
เจอที่มาของบทความนี้แล้วครับ นิตยสารเก่าประกาศขายบนe-buy อ่านออกแต่ราคา 12 EURO ชื่อนิตยสารอะไรอ่านไม่ออก ดูแต่รูปแล้วกัน

ชื่อนิตยสาร L'Illustration ฉบับที่ ๒๒๓๐ วันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16648;image)

อ้างจากหัวหนังสือพิมพ์ที่นำมาแสดง คงต้องแก้ไขใหม่ดังนี้

ชื่อนิตยสาร L'Illustration ปีที่ ๖๓ ฉบับที่ ๓๒๒๙ วันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ราคาฉบับละ ๑ ฟรังค์

 ;D



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 24 ม.ค. 11, 08:57
Gutenberg เป็นชื่อโครงการที่นำเอาเอกสารเก่ามาทำเป็นข้อมูลดิจิตัลเผยแพร่บนเว็บไซต์ครับ ตู้หนังสือเรือนไทยก็ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากโครงการนี้แหละครับ  :)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 09:15
โครงการกูเตนเบิร์ก มีหนังสือเก่าเกี่ยวกับสยามของทางยุโรปให้ค้นหาอีกมาก

LIPPINCOTT'S MAGAZINE OF POPULAR LITERATURE AND SCIENCE.

DECEMBER, 1873. Vol. XII, No. 33.

http://www.gutenberg.org/files/13770/13770-h/13770-h.htm

มีเรื่องและภาพเก่า ๆ น่าสนใจ

 ;D


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 11, 09:23
ย้อนกลับไปอ่านบรรยายภาพนี้ของผม ที่ใช้สำนวนแปลแบบหมัดรุ่นๆไม่ได้ใส่นวมนั้น ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำมั้ย เห็นรถม้าพระที่นั่งออกโทนโท่ ผมยังดั้นเขียนว่าเป็นรถทารกมีวงเล็บว่า Pram ซะด้วย

อยากจะอธิบายความคิดหน่อยน่ะครับ คือผมอ่านที่ Google Translation แปลภาษาอังกฤษมาให้ทั้งบทแล้ว เห็นว่าฝรั่งผู้เขียนจะออกแนวประชดประชันอยู่บ้าง เลยนึกว่าในเมืองของเขาคงจะมีฉายาเรียกรถม้า ที่ดูโปร่งโล่งเบา ไม่อลังการแบบรถม้าพระที่นั่งของราชวงศ์ฝรั่งนี้ว่า “รถทารก” เหมือนที่เขาเรียกรถออสตินมินิอันโด่งดังว่า “Baby Car” ฉะนั้น

เพราะนึกว่าเขามาอารมณ์นี้  จึงพยายามจะรักษาอารมณ์ของเขาไว้ แต่กลับกลายเป็นตรงกันข้าม ผมก็เลยประดักประเดิดอยู่พอสมควร ดูงี่เง่าชอบกล เลยต้องเขียนมาระบายไว้หน่อยครับว่าต่อไปนี้ อาตมาเข็ดแล้ว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 24 ม.ค. 11, 10:16
มีพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
ที่ดูแล้วไม่ทรงท้วมนักมาให้ดูเปรียบเทียบค่ะ..


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 10:46
ย้อนกลับไปอ่านบรรยายภาพนี้ของผม ที่ใช้สำนวนแปลแบบหมัดรุ่นๆไม่ได้ใส่นวมนั้น ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำมั้ย เห็นรถม้าพระที่นั่งออกโทนโท่ ผมยังดั้นเขียนว่าเป็นรถทารกมีวงเล็บว่า Pram ซะด้วย

อยากจะอธิบายความคิดหน่อยน่ะครับ คือผมอ่านที่ Google Translation แปลภาษาอังกฤษมาให้ทั้งบทแล้ว เห็นว่าฝรั่งผู้เขียนจะออกแนวประชดประชันอยู่บ้าง เลยนึกว่าในเมืองของเขาคงจะมีฉายาเรียกรถม้า ที่ดูโปร่งโล่งเบา ไม่อลังการแบบรถม้าพระที่นั่งของราชวงศ์ฝรั่งนี้ว่า “รถทารก” เหมือนที่เขาเรียกรถออสตินมินิอันโด่งดังว่า “Baby Car” ฉะนั้น

เพราะนึกว่าเขามาอารมณ์นี้  จึงพยายามจะรักษาอารมณ์ของเขาไว้ แต่กลับกลายเป็นตรงกันข้าม ผมก็เลยประดักประเดิดอยู่พอสมควร ดูงี่เง่าชอบกล เลยต้องเขียนมาระบายไว้หน่อยครับว่าต่อไปนี้ อาตมาเข็ดแล้ว

ระบบแปลของกูเกิ้ล จะเล่นสภาโจ๊กกัน ก็ไม่เตือนคุณ Navarat.C ล่วงหน้าว่าจะเล่นไม้นี้     และคงไม่ได้เตือนใครต่อใครอีกหลายล้านคนที่ใช้บริการ   รวมทั้งดิฉันด้วย
ดิฉันลองลอกประโยคปัญหาไปถามในกูเกิ้ลแปลภาษา บ้าง  

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

กูเกิ้ลก็ตอบมาอย่างเดียวกันที่คุณ N.C. เจอ

Descending on the front of the troops, a beautiful pram for large ice queen Sowaya Pongsi alighted in a costume that seems unexpected and the most becoming.

จากนั้น   ดิฉันไปหาคำแปลจากอังกฤษเป็นไทย ด้วยฝีมือน้องกุ๊กดูบ้าง  ก็ได้ชนิดหงายตกเก้าอี้ลงมาว่า
 
Descending ที่ด้านหน้าของกองกำลัง, เรือท้องแบนสวยงามสำหรับราชินีน้ำแข็งขนาดใหญ่  Sowaya Pongsi alighted ในชุดที่ดูเหมือนว่าไม่คาดคิดและที่สุดกลายเป็น.

เพราะน้องกุ๊กแปล landau จากฝรั่งเศสว่า pram  และจากอังกฤษ แปลคำว่า pram เป็นไทยว่า เรือท้องแบน  ทั้งๆเรือท้องแบนกับ landau มันเป็นพาหนะคนละชนิดกันโดยสิ้นเชิง

ส่วน becoming  ซึ่งแปลว่า งามรับกัน( เช่นเสื้อผ้างามรับกันกับผู้สวม)    น้องกุ๊กแปลแบบเดียวกับ become  ซึ่งแปลว่า กลายเป็นก็ได้ รับกันก็ได้   ในที่นี้เลือกแปลว่า กลายเป็น

แถมท้ายด้วยรูปรถ landau(รถม้าสี่ล้อ)   แบบ five-glass คือมีหน้าต่างประตูกระจกรวม ๕ บาน ค่ะ


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e0/Landau_Carriage.JPG/800px-Landau_Carriage.JPG)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 10:50
มีพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
ที่ดูแล้วไม่ทรงท้วมนักมาให้ดูเปรียบเทียบค่ะ..
เห็นแล้วค่ะ  พระวรกายซูบลงไปมาก ตอนปลายรัชกาลที่ ๕ และต้นรัชกาลที่ ๖  ในพระรูปปริศนานั้นยิ่งผิดกันจนเหมือนคนละพระองค์


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 11:03
ระบบแปลของกูเกิ้ล จะเล่นสภาโจ๊กกัน ก็ไม่เตือนคุณ Navarat.C ล่วงหน้าว่าจะเล่นไม้นี้     และคงไม่ได้เตือนใครต่อใครอีกหลายล้านคนที่ใช้บริการ   รวมทั้งดิฉันด้วย......

จากนั้น   ดิฉันไปหาคำแปลจากอังกฤษเป็นไทย ด้วยฝีมือน้องกุ๊กดูบ้าง  ก็ได้ชนิดหงายตกเก้าอี้ลงมา....

น้องกุ๊กแปลไทยเป็นอังกฤษ ก็ทำให้หงายตกเก้าอี้ลงมาเช่นกัน

 ;D
 


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 11:25
อ้างถึง
น้องกุ๊กแปลไทยเป็นอังกฤษ ก็ทำให้หงายตกเก้าอี้ลงมาเช่นกัน

ลองสุ่มชื่อสมาชิกเรือนไทยไปให้กูเกิ้ลแปลดูแล้ว   ออกมาไม่จืดเลยเชียว

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRv_hs549ok_hhbo2bDbH3cIblvgNBjAH-M_lzDv99lBppFI5IFJw)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 13:42
Défilé des princesses de la famille royale. Parade   
กระบวนเสด็จของเจ้าหญิงในพระราชวงศ์

ที่เห็นเป็นขบวนในลานพระราชวัง คือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ดูมีความกระฉับกระเฉง ในชุดแต่งกาย เสื้อสีขาว กางเกงสีดำ รองเท้ามีสายรัดเช่นเดียวกัน เราชื่นชมเรือนร่างของพวกเธอที่ดูปราดเปรียวและสมส่วนดี นึกถึงคำพูดของนายโมว์หุตนักเดินทางผจญภัยเก๋ากึ๊กที่ว่า ด้วยผิวเป็นสีโอลีฟ กระดูกแก้มที่โดดเด่น นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์และเฉียงขึ้นเล็กน้อย หญิงสาวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ต้องอิจฉา "กับรูปแกะสลักปฏิมากรรมแบบประจำชาติของพวกเรา” แม้น้อย 


คุณ Navarat.C นอกจากเข็ดกูเกิ้ลแล้วคงกำลังเซ็ง    กระทู้เลยไม่เดิน   เอาอย่างนี้ดีกว่า  เราไม่ต้องไปง้อสภาโจ๊กของกูเกิ้ลให้พาเตลิดออกนอกทาง     ช่วยกันเองคนละไม้คนละมือก็ได้   
ผู้อ่านที่รออ่านและรอดูพระรูปหายาก  จะได้ไม่พลอยเซ็งไปด้วย

พี่มนันยายังไม่ตอบเมล์ที่ส่งไปให้   งานเธอคงเยอะในตอนนี้    ดิฉันก็เลยลองแปลเองดูก่อน
นี่คือข้อความภาษาฝรั่งเศสที่คุณ Navarat.C แปลเป็นอังกฤษแล้วค่อยแปลเป็นไทยอีกที   ดิฉันจะไม่ลงภาษาอังกฤษให้คนอ่านสับสนกันหนักเข้าไปอีก  ขอลงแต่ภาษาเดิมของเขา

Et c'est dans ce même costume, blouses blanches, culottes noires, souliers à boucles, que s'avance, dans une cour du palais, l'alerte troupe des princesses, filles du roi. On admirera leur corps souple et bien proportionné. Selon l'expression d'un ancien voyageur, Mouhot, ces jeunes femmes n'ont rien à envier «aux modèles convenus de notre statuaire». Le teint est olivâtre, les pommettes des joues saillantes, les yeux noirs, taillés en amande et légèrement bridés.

ภายในฉลองพระองค์แบบเดียวกันคือเสื้อสตรีสีขาว  โจงกระเบนสีดำ  รองเท้าหุ้มส้นแบบมีหัวเข็มขัดประดับ( เดี๋ยวจะอธิบายว่าคืออะไร)  บรรดาพระเจ้าลูกเธอเสด็จล่วงหน้าอย่างกระฉับกระเฉงเข้าไปก่อนแล้วในลานพระบรมมหาราชวัง   เรานึกชมพระวรกายที่อ่อนช้อยและได้สัดส่วน   ต้องใช้คำของนักเดินเรือเก่า Mouhot  (อ่านว่ามูโฮต์หรืออะไรยังไม่ทราบ) ว่า "สตรีเหล่านี้ไม่มีสิ่งใดน้อยหน้ารูปสลักหญิงงามตามแบบฉบับของฝรั่งเศสเลย" พระฉวีเป็นสีน้ำตาลอมแดง   กระดูกพระปรางสูง พระเนตรดำเรียวยาวและเฉียงปลายขึ้นเล็กน้อย

ถือโอกาสแยกซอย  สอนวิชาการแปลให้คนอ่านที่สนใจ   ถ้าไม่สนใจลากเม้าส์ข้ามไปได้เลยค่ะ

รองเท้าหุ้มส้นแบบมีหัวเข็มขัด  ฝรั่งเศสเรียกว่า  souliers à boucles   อังกฤษเรียกว่า buckled shoes   คือเป็นรองเท้าสวมกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘   มีเครื่องประดับหลังเท้าหน้าตาคล้ายหัวเข็มขัด   เลยไม่รู้จะเรียกอะไรนอกจากหัวเข็มขัด     จะเรียกว่าหัวรองเท้าก็ไปซ้ำกับส่วนหุ้มปลายเท้า
ในพระรูปสมเด็จพระพันปีทรงก้าวลงจากรถม้า  ก็ทรงสวมฉลองพระบาทบัคเคิลชูส์นี่ละค่ะ

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRxf9B4gBT941gSmMoGO6-DbUlv5AZgRdJk62qKR6ydYUdQgtaN5A)

รองเท้าแบบนี้ยังพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSy2GwUM4k3cr8L9IFjmvrvVjA0031vu0H0rgV7Tn2x4v68KhGX)

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTebpnaSn0PlBlGAe3rrsagLnCj8qvsx3NP41yBrE4SoTOHOGunlQ)

มีอีกแยะในกูเกิ้ล    มีสารพัดแบบ แต่ถ้ามีอะไรคล้ายๆหัวเข็มขัดประดับอยู่เขาก็เรียกกันอย่างนี้ละค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 14:00
ต่อไปคือคำว่า Le teint est olivâtre  หรือ olive complexion แปลว่าผิวสีโอลิฟ 
ตอนเรียนหนังสือเจอคำนี้     olive แปลว่ามะกอก   
มะกอกที่รู้จัก ไม่ว่ามะกอกสดหรือมะกอกดอง ผิวมันสีเขียว  อย่างที่เรามีศัพท์เรียกว่าเขียวมะกอก  ก็ได้แต่สงสัยว่าฝรั่งอะไรผิวสีเขียวมะกอก  ราวกับยักษ์ในภาพผนังโบสถ์เรื่องรามเกียรติ์
จนวันหนึ่งไปเห็นรูปมะกอกในแมกกาซีนฝรั่ง ว่ามันไม่ได้มีแต่สีเขียว  มันมีสีน้ำตาลออกแดงๆด้วย ก็เลยสว่างขึ้นมา
ไปเห็นสาวผิวสีมะกอกเมื่อไปอิตาลีครั้งแรก   เธอขับรถสปอร์ตเปิดประทุนโฉบผ่านไปตามถนน   ผิวอาบแดดเป็นสีน้ำตาลแดง  สวย เปล่งปลั่ง   ไม่ขาวซีดอย่างผิวชาวอังกฤษหรืออเมริกัน     เลยจำติดตาว่าผิวสีมะกอกเป็นยังงี้เอง
แต่เวลาแปล  ถ้าแปลตรงตัวว่าผิวสีมะกอก  คนอ่านไทยจำนวนไม่น้อยอาจงงเหมือนดิฉันเคยงง   ก็เลยแปลได้ชัดลงไปเลยว่าผิวสีน้ำตาลแดง

les yeux noirs, taillés en amande  หรือ  almond eyes 
นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์ คืออะไร  มันเป็นรูปแบบดวงตาที่ฝรั่งมักใช้เรียกคนจีนหรือคนเอเชีย    คือเป็นรูปเรียวยาว และมักจะชั้นเดียว   ไม่กลมโตและเปลือกตาลึกอย่างดวงตาฝรั่ง
ที่เรียกอย่างนี้ เขาเทียบกับเมล็ดอัลมอนด์ ซึ่งเป็นเมล็ดผลไม้รูปเรียวปลาย
ถ้าแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ  ก็คือดวงตาเรียวยาวนั่นเอง  ไม่ต้องใส่คำว่าอัลมอนด์ลงไปให้ยุ่งยาก


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 24 ม.ค. 11, 17:37
รองเท้าหุ้มส้นแบบมีหัวเข็มขัดนั้นในรัชกาลที่ ๖ เรียกว่า ค๊อตชู  ทีแรกก็เจ้าใจว่ามีรูปลักษณะแบบรองเท้าที่เราเรียกกันว่า คัตชู  แต่พิจารณาจากรูปแบบฉลองพระบาทที่จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (เดิมคือ กรมการรักษาดินแดน)  เป็นรองเท้าผ้าไหมสีต่างๆ  รูปทรงคล้ายรองเท้าผู้หญิงมีโบว์ติดที่รองเท้า  เหมือนกับที่ใช้ในราชสำนักยุโรป  จึงได้ความว่า รองเท้าค๊อตชูนั้นมาจากศัพท์ Court Shoe  ค๊อตชูนั้นมีชื่อเรียกอีกแบบว่า รองเท้าโบว์เข็ม  ดังฉลองพระบาทที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงในภาพข้างล่าง



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 18:18
รู้แต่ว่ารองเท้าคัตชูคือรองเท้าหุ้มส้น      รองเท้าสีดำของนักเรียนหญิง ก็เรียกว่าคัตชู  แต่ไปดูในรูป มันคือ court shoes
Court shoes เป็น British English   American English เรียกว่า pumps   หมายถึงรองเท้าส้นสูง
มารู้เมื่อคุณ V_Mee เล่าให้ฟังนี่เองค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 19:09
ขอแยกซอยเรื่องรองเท้า อีกที
บางคนบอกว่ารองเท้าคัตชู มาจากคำว่า casual shoes  คือรองเท้าหุ้มส้นของผู้ชายที่ไม่ผูกเชือก  ถือว่าสวมลำลองมากกว่ารองเท้าแบบผูกเชือก
เอารูปรองเท้า casual มาให้ดูกันค่ะ



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 11, 20:17
อ้างถึง
ภาพสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๕๓ หลังจากเหตุการณ์ในภาพที่แล้ว ๕ปี สังเกตุได้ว่าพระวรกายค่อนข้างซูบผอม ไม่ทรงท้วมอย่างภาพหลายภาพที่เราเคยชิน

ข้อความข้างบนนี้ มีคนสนิทกันประท้วงมาหลังไมค์  ข้าพเจ้าพลาดอีกแล้วสมควรตาย ที่ถูกต้องจะต้องเป็นเช่นนี้ครับ

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กระทำเป็นสองคราว คราวแรกเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร  เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ อีกคราวเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช  ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๔๕๔ โดยมีบรรดาผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย  กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของประมุขประเทศต่างๆ

ส่วนในภาพที่เอามาลงนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกครั้งไหน แหล่งข่าวมิได้แจ้ง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 11, 21:04
อ้างถึง
ส่วนในภาพที่เอามาลงนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกครั้งไหน แหล่งข่าวมิได้แจ้ง

ขยายรูปที่คุณ Navarat.C นำมาลง  ให้เห็นกันชัดๆ
ไม่อาจเดาได้ว่าครั้งไหน     เห็นจะต้องพึ่งคำตอบจากคุณ V_Mee อีกครั้ง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 25 ม.ค. 11, 08:24
ภาพข้างบนสมเด็จพระพันปีหลวงทรงขาวทั้งชุด  น่าจะอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ใหญ่ คือ ไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งมีกำหนด ๑ ปี นับแต่เสด็จสวรรคต  ภาพนี้จึงน่าจะทรงฉายในคราวบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๖ ครั้งแรก  ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓  ซึ่งมีประกาศให้ออกทุกข์เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เมื่อครบกำหนดไว้ทุกข์ ๑ ปีแล้ว  สมเด็จพระพันปีหลวงก็ทรงดำมาตลอดตราบจนเสด็จสวรรคต


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 08:35
อ้างถึง
จากคุณปูยำ
เห็นรูปสาวชาววังในความคิดที่ ๓๙ แล้วอยากรู้ว่าใครออกแบบ สวยถูกใจ อยากให้เป็นเอกลักษณ์สาวไทยปัจจุบันจัง

เช้านี้เสี่ยงหน้าแตกอีกแล้ว เพราะจะเอาเรื่องแฟชั่นผู้หญิงที่ผมไม่ประสีประสาเลยสักนิดมานำเสนอ  เอ้า…ไม่เป็นไร ถือว่าดูรูปไปก็แล้วกันครับ ส่วนบรรยายภาพนั้น ถ้าผมปล่อยไก่ไปบ้าง เดี๋ยวก็จะมีท่านผู้รู้มาจับเข้าเล้าเองนั่นแหละ

เป็นที่ทราบกันในสมัยโน้นว่าผู้นำแฟชั่นฝ่านสตรีในสังคมสยามก็คือ เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ สะใภ้หลวงในรัชกาลที่๔ ผู้ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสู่ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ในปี ๒๔๑๐ ในภาพท่านยังชื่อแพ ถ้ามีนามสกุลก็ต้องนามสกุลบุนนาค แต่ตอนนั้นคนไทยยังไม่มีนามสกุล คุณแพอายุ๑๓เอง ก็โพสต์ท่าถ่ายรูปแล้ว และเราก็ได้ทราบว่ากุลสตรีไทยสมัยนั้นยังนุ่งผ้า ใส่เสื้อแขนกระบอก แล้วห่มสะใบทับ

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงแก่กว่าคุณแพ๑ปี เพราะชอบล้ำนำสมัยนี่เอง คุณแพจึงเป็นสตรีคนแรกที่ “เข้าตา” เจ้าฟ้าหนุ่มในตอนนั้น


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 08:36
สมัยนั้นสตรีไทยไว้ผมปีก  รูปนี้ถ่ายประมาณปี๒๔๑๓ ก่อนจะมีการปฏิวัติการแต่งกายของชาวสยาม ผมคุณแพผมป็นทรงดอกกระทุ่ม มีจอนหู ห่มสะพัก นุ่งจีบ ถ่ายรูปเป็นงานเป็นการจะไม่สวมเสื้อ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 08:38
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสิงคโปรครั้งแรก ตอนนั้นแฟชั่นชายไทยก็เริ่มปฏิรูปแล้ว และทรงโปรดที่จะให้ผู้หญิง “นิวลุกค์” ด้วย แต่ไม่กล้าหักด้ามพร้าด้วยเข่า เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ เป็นผู้ที่สนองพระราชประสงค์นั้น เริ่มด้วยการไว้ผมยาวประบ่า มีข่าวว่าโดนผู้เฒ่าผู้แก่ค่อนขอด หรือดุเอาตรงๆก็มี เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ก็เฉยเสีย ไม่นานก็มีสาวๆในวังเริ่มเอาอย่าง จนในที่สุดผู้หญิงบางกอกทั้งหลายก็เลิกไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม เพราะกลัวเชย

รูปนี้เก่าที่สุด ประมาณปี๒๔๑๖ เมื่อเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ เริ่มไว้ผมยาว เครื่องแต่งกายก็ดูจะเปลี่ยนบ้างแล้ว โดยเฉพาะรองเท้าอิมพอร์ตแบบแหม่ม


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 08:40
หลังจากเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ท่านเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ท่านมีความมั่นใจมากขึ้น ระยะนั้นพระราชินีอเลกซานดร้า แห่งเดนมาร์กกำลังดัง เพราะพระสิริโฉมงดงาม เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ท่านก็สวมเสื้อแบบแหม่ม เป็นแฟชั่นเรียกว่า เสื้อแบบควีนอเลกซานดร้า


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 08:45
ระยะนี้ เสือ้แบบแหม่มเลยเป็นที่นิยมขึ้นมา นี่เรียกว่าทรงขาหมูแฮม พระรูปนี้คือพระวิมาดาเธอ กรมพระสุธาสินีนาฏฯ ทรงฉายร่วมกับสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์



ขอจบภาคเช้าก่อนนะครับ
แล้วจะมาต่อภาคค่ำ



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 09:31
เข้ากระทู้มาอีกที  ท่าน Navarat.C ย้ายหน้าที่จากล่ามฝรั่งเศสมาเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์เสียแล้ว
 ;D

แฟชั่นสมัยครึ่งหลังรัชกาลที่ ๕ งดงามมาก    เป็นการผสมผสานลงตัวระหว่างแฟชั่นอังกฤษกับสยาม    ไม่มีอะไรขัดหูขัดตา   เป็นตัวอย่างแฟชั่นที่มีความคิดของตัวเอง พร้อมกับรับวัฒนธรรมยุโรปมาได้อย่างไม่ขัดเขิน
เจ้านายสตรีที่แต่งพระองค์ได้งามยิ่ง คือสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ หรือสมเด็จพระพันปี

พระรูปที่นำมาลงนี้ จะเห็นว่าทรงผสมระหว่างเสื้อลูกไม้แขนหมูแฮมตามแฟชั่นของควีนอเล็กซานดรา เข้ากับผ้ายกโจงกระเบนของไทย  ถุงน่องและรองเท้าแบบฝรั่ง  เครื่องประดับไข่มุกและเพชรแบบฝรั่ง แต่พระเกศายังเป็นแบบไทย  ไม่ได้เกล้ามวยอย่างควีนอังกฤษยุคนั้น
ออกมาเป็นการผสมผสานของสองวัฒนธรรมอย่างกลมกลืนเหมาะเจาะ   ได้ทั้งความหรูหราแบบฝรั่งและความสง่างามแบบไทยเดิมด้วย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 09:40
พระรูปนี้จะยิ่งเห็นการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกและสยามได้ชัดเจนขึ้น
ฉลองพระองค์เป็นเสื้อแขนพองตรงต้นแขน  ปลายข้อมือมีลูกไม้ระบาย แบบอังกฤษ   แต่ท่อนล่างทรงผ้ายก จีบหน้านางแบบไทยเดิม    ท่อนบนมีผ้าทรงสะพักห่มทับ แบบไทย    แต่ทรงสายสะพายและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งเป็นแบบฝรั่ง
สร้อยพระศอเพชร แบบฝรั่ง ฉลองพระบาทแบบฝรั่ง 

(http://www.bloggang.com/data/addsiripun/picture/1206257126.jpg)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 09:47
พระรูปพระราชชายา  เจ้าดารารัศมี    ทรงฉลองพระองค์แพรติดลูกไม้แบบอังกฤษ กับซิ่นเชียงใหม่ มีแพรสะพายแบบไทย เครื่องประดับแบบฝรั่ง

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/425/2425/images/Lanna/Suandok18.jpg)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 13:30
การแต่งกายของเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕  คุณ puyum น่าจะชอบ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 13:40
เจ้าจอมในปลายรัชกาลที่ ๕ ที่แต่งกายได้งามอย่างยิ่ง คือเจ้าจอมม.ร.ว.สดับ ลดาวัลย์

(http://i617.photobucket.com/albums/tt258/auddy228/1240579938.jpg)



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 13:42
ภาพนี้ประกอบด้วยสตรีหลายวัย เป็นเจ้าจอมมารดาและเจ้านายฝ่ายใน  เรียกอย่างสามัญก็คือตั้งแต่ยาย แม่ น้า และลูกสาว    แต่งกายได้งดงามแบบอังกฤษผสมไทยกันทุกวัย

(นั่งกลาง)เจ้าคุณจอมมารดาสำลีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๔)
ถ่ายภาพร่วมกับพระราชธิดา ๒ พระองค์
(ทรงยืน) พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตน กิริฎกุลินี
(ประทับขวาสุด) พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕ )
(ประทับซ้ายสุด)สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสุทธาทิพย์รัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕ )และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระราชเทวี




กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 21:07
สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ ช่วงปลายรัชกาลที่๕ ในฉลองพระองค์ที่ดูเป็นไทยๆ มากกว่าแบบแหม่ม


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 21:12
ภาพขบวนขัตติยะนารีนี้  ปีที่ถ่ายใกล้เคียงกับอีกภาพที่ผมเอามาให้ชมมาก เจ้านายสาวๆในภาพทรงพระเกศาก็เหมือนกัน  แต่พระองค์ใดเป็นพระองค์ใด ท่านผู้มีสายตาอันแหลมคมกรุณาพิจารณาเอาเอง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 21:27
สองพระองค์นี้ก็ด้วย


ในภาพคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานพดล

หลังจากห้างฝรั่งเอาผ้าลูกไม้โปร่งเข้ามาขาย เสื้อของชาววังก็เปลี่ยนเป็นแบบเบาๆขึ้น ไม่ทรงผ้าหนักๆ แบบแขนหมูแฮมแล้ว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 11, 21:34
เจ้าคุณพระประยูรวงศ์นั้น ท่านดำรงความเป็นผู้นำแฟชั่นสตรีแบบว่า ซ่าส์..จนหยดสุดท้ายเหมือนกัน ในปี พ.ศ.  ๒๔๘๔ แม้ท่านจะอยู่ในวัยชราใกล้จะเก้าสิบปีแล้ว ตอนนั้นหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีประกาศชักชวนสตรีไทยทุกระดับชนชั้น ให้เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเป็นแหม่มมากขึ้น ผ้าโจงกระเบนไม่เอาแล้ว ให้นุ่งกระโปรงหรือไม่ก็ผ้าถุงแทน และต้องใส่เกือก สวมหมวกเป็นต้น

เมื่อลงมือโฆษณาป่าวร้อง รัฐบาลได้พรีเซนเตอร์เป็นเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ซึ่งท่านยินดีรับช่วยด้วยความเต็มใจ และเอาตัวของท่านเองออกหน้า เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวตามอย่างที่หลวงพิบูลสงครามต้องการ ไปแสดงตนเป็นไฮไลท์ทุกงานที่รัฐบาลจัดขึ้น  ก็ได้ผล สาวสังคมไทยในยุคนั้นก็ก้าวตามท่านอย่างคึกคัก

ผ้าโจงกระเบน ที่รัชกาลต่อๆมาก็เริ่มล้าสมัยอยู่แล้ว เลยหายจ้อยไปจากเวทีแฟชั่นสตรีตั้งแต่ยุคนั้น และไม่หวลกลับมาอีกเลย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ม.ค. 11, 21:52
ทรง "เปิ๊สก๊าส" มากครับ หรือ First Class ตามที่เรียกกัน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 21:55
ดิฉันขยายพระรูปพระเจ้าลูกเธอที่คุณ Navarat.C นำมาลง   
แถวหน้า พระองค์กลางและพระองค์ขวา ทรงไว้พระเกศายาวทั้งสองพระองค์   
น่าจะเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานพดล  กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 22:01
ภาพนี้  บรรยายว่า
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร เจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 เป็นธิดาในหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมขุนอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล"อิศรางกูร"
มีพระธิดาองค์เดียวกับรัชกาลที่ 5 คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพินทุ์เพ็ญภาคย์
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2398
ท่านมีน้องสาว 1 คนที่ได้ถวายตัว คือ เจ้าจอมมณี ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์หญิงย้อย อิศรางกูร ถึงอสัญกรรม เมื่อ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2439

ดิฉันไม่แน่ใจว่าเป็นภาพผิดพลาดหรือเปล่า  เพราะทรงผมหน้าตา  การแต่งกายเหมือนสตรีทางเหนือมากกว่าคนกรุงเทพ  สาวชาววังสมัยรัชกาลที่ ๕ น่าจะไว้ผมตัดสั้น 
อย่างไรก็ตามก็เห็นเสื้ออีกแบบที่ไม่ใช่แขนหมูแฮม


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 11, 22:17
ท้าววรจันทร ในรัชกาลที่ ๕   อดีตเจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ ๔
ท่านห่มสะพักทับเสื้อติดระบาย  บนนั้นติดอะไรคล้ายโบสีเข้ม และมีอะไรกลมๆอยู่บนนั้นอีกทีเหมือนเหรียญ   ยังดูไม่ออกค่ะ
ขอเชิญผู้รู้มาอธิบาย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 25 ม.ค. 11, 23:43
รูป 106 ของอาจารย์เทาชมพู คือ เจ้าดารารัศมี เมื่อแรกเข้าถวายตัวค่ะ ยังเป็นเด็กสาววัยรุ่นค่ะ
 


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 12:53
เมื่อเช้าผมเข้าห้องเรือนไทยไม่ได้ ไม่ทราบว่าท่านอื่นจะเป็นเหมือนกันหรือไม่ เพิ่งจะเข้าได้ตอนนี้เอง

ภาพและข้อมูลเมื่อวานและวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากอาจารย์ศักดา ศิริพันธุ์และคุณเอนก นาวิกมูล

กล้องถ่ายรูปสมัยรัชกาลที่๕นั้น แม้ว่าบางรุ่นจะมีน้ำหนักเบาพอที่จะถือถ่ายได้ ดังพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯมีมีผู้ถ่ายไว้ในขณะที่ทรงประทับยืนบนรถม้า เพื่อทรงถ่ายภาพข้างทางด้วยพระหัตถ์ไม่ใช้กล้อง แต่ก็ถือว่ายากที่จะได้ภาพที่ดีเท่าการติดตั้งบนสามขา ดังนั้น ในรูปที่เราเห็นการถ่ายภาพกัน โดยเฉพาะที่ถ่ายโดยเจ้าจอมตัวเล็กๆ ก็จะเห็นกล้องชนิดเดียวกันนี้ แต่ตั้งอยู่บนขากล้องทั้งสิ้น


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 12:55
อันที่จริงในยุคนั้น กล้องมือถือเล็กๆนี้ สามารถทำได้ถึงเป็นกล้องที่ถ่ายแบบ๓มิติ ดังภาพนี้


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 12:58
ภาพ๓มิติ จะเป็นติดต่อภาพ๒ภาพในมุมเดียวกัน แต่เยื้องกันเล็กน้อยเหมือนเรามองวิวด้วยการปิดตาทีละข้าง การจะดูภาพ๓มิติให้ได้ความลึก เหมือนกับการเห็นด้วยตาทั้งสองข้างนั้น ต้องมองผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ถ้ำมอง  มีแว่นคู่กัน๒ชิ้น หน้าตาเหมือนตัวกล้องถ่ายรูปดังภาพนี้

ถ้ำมอง เอาไว้ดูภาพเท่านั้น เอามาส่องวิวเหมือนกล้องส่องทางไกลไม่ได้ เพราะถึงจะมองทะลุเลนซ์ออกไปเห็นอะไรได้ก็จริง แต่ไม่ชัด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 13:00
นี่คือชุดถ้ำมองพระราชทานของเจ้าดารารัศมีที่คุณวี_หมีกล่าวถึง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 13:05
อ้างถึง
ส่วนวัตถุที่ทรงถือในพระหัตถ์นั้นไม่น่าใช่กล้องถ่ายรูป  เพราะกล้องถ่ายรูปในเวลานั้นยังเป็นกล้องใหญ่ดังที่มีตั้งอยู่ ๒ กล้องที่ด้านหลังนายทหารที่ยืนอยู่หลังที่ประทับ  แต่วัตถุในพระหัตถ์นั้นน่าจะเป็น "ถ้ำมอง" ซึ่งเป็นของใหม่ในยุคปลายรัชกาลที่ ๕ ดังที่ได้ทรงซื้อและโปรดพระราชทานไปให้พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เมื่อคราวเสด็จเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๒

ฉะนั้นกรมพระยาดำรงฯท่านคงไม่ได้ทรงยืนแอ๊คเอาถ้ำมองไปส่องทำเป็นกล้องถ่ายรูป แต่เป็นกล้องถ่ายรูปจริงๆเป็นแบบแบบสามมิติ แต่ยังไม่พร้อมจะถ่าย เพราะนิ้วข้างหนึ่งไปบังเลนซ์อยู่ดังที่คุณหนุ่มสยามสังเกตุ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 26 ม.ค. 11, 14:27
เมื่อเช้าผมเข้าห้องเรือนไทยไม่ได้ ไม่ทราบว่าท่านอื่นจะเป็นเหมือนกันหรือไม่ เพิ่งจะเข้าได้ตอนนี้เอง

ขออภัยด้วยครับ ขัดข้องที่โฮสต์ครับ หวังว่าจะเป็นเพียงปัญหาชั่วคราวครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 15:57
รูป 106 ของอาจารย์เทาชมพู คือ เจ้าดารารัศมี เมื่อแรกเข้าถวายตัวค่ะ ยังเป็นเด็กสาววัยรุ่นค่ะ
 

ขอบคุณค่ะ ภาพนี้ผิดพลาดจริงๆ
ขอมอบพระรูปนี้ให้คุณร่วมฤดี  ต้อนรับที่กลับมาช้อนลูกน้ำด้วยกัน

สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ ช่วงปลายรัชกาลที่๕ ในฉลองพระองค์ที่ดูเป็นไทยๆ มากกว่าแบบแหม่ม


หลังจากห้างฝรั่งเอาผ้าลูกไม้โปร่งเข้ามาขาย เสื้อของชาววังก็เปลี่ยนเป็นแบบเบาๆขึ้น ไม่ทรงผ้าหนักๆ แบบแขนหมูแฮมแล้ว

ตามคำบรรยายก่อนหน้านี้ของคุณ  NAVARAT.C ค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 16:30
เจ้านายสตรีในปลายรัชกาลที่ ๕ นิยมผ้าลูกไม้   มี ๒ แบบคือเป็นลูกไม้ทั้งผืน กับลูกไม้ติดริมเสื้อ
ลูกไม้ทั้งผืน เป็นแบบที่เรียกว่า Victorian lace  มีสีขาวหรือสีครีม เป็นหลัก
เห็นตัวอย่างได้จากเสื้อลูกไม้ของเจ้าจอมม.ร.ว.สดับในภาพล่าง   เป็น Victorian lace  ที่คงจะส่งเข้ามาขายในสยามแล้วในยุคนั้น

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/638/31638/images/main/kamlaimas/K6545948.jpg)


ส่วนรูปข้างล่างนี้คือ Victorian lace ในเมืองฝรั่ง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 16:34
ส่วนลูกไม้ติดริมเสื้อ  สีขาว ที่นิยมกันมากคือ Valencia lace  วาเลนเชียเป็นชื่อเมืองในสเปน  แต่ลูกไม้ชนิดนี้นิยมในอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ ๑๙ ต่อกับต้นศตวรรษที่ ๒๐

(http://img.thepriceguide.com.au/60385.jpg)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 17:37
ได้ความคิด ลองไปค้นเว็บฝรั่งเศสเกี่ยวกับสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดูบ้าง  เลยมีของมาฝากแก๊งลูกน้ำ ค่ะ



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 17:40
รูปนี้ฝากคุณ siamese ทาย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 ม.ค. 11, 17:40
ทั้ง 3 ภาพใช่ เทียร่า องค์เดียวกันไหมคะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 17:41
รูปนี้ฝากคุณ Navarat.C  


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 17:42
พระสงฆ์ ฉันน้ำชา


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 17:42
ทั้ง 3 ภาพใช่ เทียร่า องค์เดียวกันไหมคะ
องค์เดียวกันค่ะ   ใช้เป็นสร้อยพระศอได้ด้วย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 ม.ค. 11, 17:46
แล้วอีก 2 ภาพนี้ล่ะคะ ใช่องค์เดียวกับ 3 ภาพข้างบนไหมคะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 ม.ค. 11, 17:54
..เทียร่า..
..สร้อยพระศอ..


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 18:03
ใช่ค่ะ คุณหาพระรูปมาเปรียบเทียบได้ชัดเจนมากค่ะ
โปรดสังเกตว่าสร้อยคอของเจ้าจอมสดับใน ๒ ภาพ  มี ๓ เส้น เส้นที่เป็นเพชรรูปแฉก   เส้นไข่มุกเป็น choker (สร้อยสั้นติดคอ)  เส้นที่เป็นลวดลายกระหนกฝรั่ง สามารถกระดกขึ้นเป็นเทียร่าได้เช่นกัน
เส้นนี้น่าจะเป็นหนึ่งในเครื่องเพชรที่คุณจอมสดับทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระพันปี   และทรงจำหน่ายกลับไปยุโรป เพื่อนำเงินรายได้สร้างตึกร.พ.จุฬาฯ

ไปเจอรูปหน้าปกหนังสือ Le Petit Parisien  เป็นรูปเรือรบฝรั่งเศสกำลังปิดปากอ่าวไทย ในวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 18:06
เรือรบฝรั่งเศสชื่อ Comete ที่มาปิดปากอ่าวไทย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 18:20
ส่วนภาพเหตุการณ์นี้ บรรยายเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า

 Suite à une rébellion des Chans dans la région de Tapha (Siam septentrional), le roi envoya l’armée pour mater les pillards. Une fois sur place, les soldats vêtus à l’européenne s’en prirent aux Occidentaux et à leurs protégés (Laotiens) vivants sur place. Des Anglais furent fusillés et deux Laotiens tués. Les légations françaises et britanniques présentèrent alors des réclamations aux autorités siamoises. La France exigea une enquête pour établir les responsabilités du drame et 9000 Francs de dommages, ce qui lui fut accordé.  

ถอดเป็นไทยอย่างจับแพะชนแกะ แต่พอจะได้ความว่า เกิดกบฏขึ้นที่รัฐฉาน  เมือง Tapha (ไม่รู้ว่าอ่านออกเสียงไทยว่าอะไร) ซึ่งอยู่ในปกครองของสยาม    กษัตริย์สยามส่งกองทัพเข้าไปปราบปราม    กองทหารไทยซึ่งแต่งเครื่องแบบอย่างยุโรป บุกเข้าไปในถิ่นที่ชาวตะวันตกอาศัยอยู่   ชาวอังกฤษหลายคนและชาวลาวในบังคับของฝรั่งเศส ๒ คนถูกฆ่าตาย   ประเทศทั้งสองก็เรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงิน ๙๐๐๐ ฟรังค์  ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยอมจ่ายชดเชยให้

หนังสือฉบับประจำวันที่ ๕ เดือนเมษายน ๑๙๐๓  (ตรงกับพ.ศ. ๒๔๔๖)

ป.ล. ทีแรกไม่รู้ว่ากบฏรัฐฉานคืออะไร  ไปค้นข้อมูลเลยพบว่าเป็นหนึ่งเดียวกับกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ที่จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีไปปราบได้นั่นเอง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 19:17
Gravure représentant Paul Doumer reçu par le roi Chulalongkorn. Doumer était alors
Gouverneur général d’Indochine
นายปอล  ดูแมร์  เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว      นายดูแมร์เป็นข้าหลวงผู้มีอำนาจเต็มแห่งอินโดจีน

ผู้ที่ยืนอยู่เบื้องหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  ทางขวาน่าจะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์ใดพระองค์หนึ่งที่เป็นเสนาบดีในตอนนั้น  อาจจะเป็นสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
ที่ตีความไม่ออกคือบุคคลทางซ้าย  ห่มผ้าท่อนบนราวกับพระสงฆ์   แต่ท่อนล่างนุ่งโจงกระเบน  บนศีรษะสวมอะไรคล้ายๆหมวกไม่มีปีก นั่นคือใคร และแต่งกายแบบไหน   ดูหน้าตาเหมือนเด็กหนุ่ม  เป็นพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศได้หรือไม่?


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ม.ค. 11, 21:05
รูปนี้ฝากคุณ siamese ทาย

ภาพนี้ค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีรายละเอียดที่เด่นๆนอกจากสะพานแบบฝรั่ง และสิ่งก่อสร้างหลังสะพาน ด้านหน้ามีทุ่งหญ้าขึ้นอยู่ริมคลอง บรรยากาศคล้ายๆอย่างคลองผดุงกรุงเกษม

สังเกตุด้านขวาหลังสะพาน เป็นอาคารที่น่าจะมีความสำตัญมาก
1.แปลกตรงที่มีการก่อรั้วไม้สูงมาก มีเสาประตูสี่เหลี่ยมและบานประตูสูงขนาดใหญ่
2.ซ้าย - ขวาของกลุ่มอาคารนี้ มีอาคารหออยู่ด้วย
3.ซ้ายภาพเป็นอาคารสองชั้น มีระเบียงลูกกรงสวยงาม
4.ด้านหน้าอาคารเห็นการวางท่อน้ำเพื่อสูบน้ำจากคลองขึ้นมาใช้


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 21:10
ตะลุยค้นภาพไทยจากเว็บฝรั่งเศสในกูเกิ้ล  เจอฝรั่งบ้างไทยบ้าง    จำไม่ได้ว่าเอามาจากเว็บไหน คลองชื่ออะไรก็ไม่รู้
ดิฉันพยายามปรับภาพให้ชัดขึ้นนะคะ คุณ siamese
สังเกตว่าด้านหลังค่อนข้างโปร่งโล่ง  ไม่น่าจะเป็นคลองกลางเมืองซึ่งมีผู้คนอยู่อาศัยคับคั่ง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ม.ค. 11, 21:53
ในไฟล์ที่ผมมีระบุไว้ว่า "สะพานมัฆวานรังสรรค์"

เลยทำการเปิดค้นหาดูพบข้อมูลเดียวกัน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%86%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 22:06
Et c'est dans ce même costume, blouses blanches, culottes noires, souliers à boucles, que s'avance, dans une cour du palais, l'alerte troupe des princesses, filles du roi. On admirera leur corps souple et bien proportionné. Selon l'expression d'un ancien voyageur, Mouhot, ces jeunes femmes n'ont rien à envier «aux modèles convenus de notre statuaire». Le teint est olivâtre, les pommettes des joues saillantes, les yeux noirs, taillés en amande et légèrement brides.

Navarat.C ถอดความไว้ว่า
ที่เห็นเป็นขบวนในลานพระราชวัง คือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ดูมีความกระฉับกระเฉง ในชุดแต่งกาย เสื้อสีขาว กางเกงสีดำ รองเท้ามีสายรัดเช่นเดียวกัน เราชื่นชมเรือนร่างของพวกเธอที่ดูปราดเปรียวและสมส่วนดี นึกถึงคำพูดของนายโมว์หุตนักเดินทางผจญภัยเก๋ากึ๊กที่ว่า ด้วยผิวเป็นสีโอลีฟ กระดูกแก้มที่โดดเด่น นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์และเฉียงขึ้นเล็กน้อย หญิงสาวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ต้องอิจฉา "กับรูปแกะสลักปฏิมากรรมแบบประจำชาติของพวกเรา” แม้น้อย

เทาชมพู ถอดความไว้ว่า
ภายในฉลองพระองค์แบบเดียวกันคือเสื้อสตรีสีขาว  โจงกระเบนสีดำ  รองเท้าหุ้มส้นแบบมีหัวเข็มขัดประดับ( เดี๋ยวจะอธิบายว่าคืออะไร)  บรรดาพระเจ้าลูกเธอเสด็จล่วงหน้าอย่างกระฉับกระเฉงเข้าไปก่อนแล้วในลานพระบรมมหาราชวัง   เรานึกชมพระวรกายที่อ่อนช้อยและได้สัดส่วน   ต้องใช้คำของนักเดินเรือเก่า Mouhot  (อ่านว่ามูโฮต์หรืออะไรยังไม่ทราบ) ว่า "สตรีเหล่านี้ไม่มีสิ่งใดน้อยหน้ารูปสลักหญิงงามตามแบบฉบับของฝรั่งเศสเลย" พระฉวีเป็นสีน้ำตาลอมแดง   กระดูกพระปรางสูง พระเนตรดำเรียวยาวและเฉียงปลายขึ้นเล็กน้อย

ผมไม่มีอะไรจะต้องแก้ตัวเรื่องการถอดความ แต่อยากจะแก้ไขในสิ่งผิดที่ผมไปเรียกนาย Mouhot ว่านายโมว์ฮุต(ฮิ ๆ คิดได้ยังไงก็ไม่รู้) อันที่จริงชื่อของเขาสะกดเป็นภาษาไทยว่ามูโอต์

Henry Mouhot อองรี มูโอต์ เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส และนักเดินทางแบบผจญภัย เพื่อสำรวจในที่ๆคนทั่วไปยังไม่เคยพบเคยเห็น เขาเดินทางมาที่ภูมิภาคแห่งนี้ในปีพ.ศ.๒๔๐๑ คือก่อนหน้าบทความที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้เกือบห้าสิบปี คนเขียนบทความเรียกเขาว่า นักเดินทางเก่า ผมแถมให้เป็นเก๋ากึ้กเพราะนายมูโอด์ไม่ได้เก่าแบบธรรมดาๆ เขาโด่งดังมาก อองรี มูโอต์ ได้ทุนจากราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งลอนดอน เดินทางมารอนแรมสำรวจประเทศแถบนี้ โดยใช้กรุงเทพเป็นทางผ่าน เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก่อนที่จะขอพระบรมราชานุญาตเดินทาง รอนแรมไปบนหลังช้าง ทางเกวียน ป่าดงดิบ เพื่อสำรวจและบันทึกความเป็นไปของธรรมชาติ วิถีชีวิตและอารยธรรม ของสยาม กัมพูชาและลาว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 22:11
สมัยนั้นกล้องถ่ายรูปแม้จะมีแล้ว แต่ใช้การยุ่งยาก มูโอต์ก็ไม่กลัว เพราะมีฝีมือทางวาดภาพระดับเทพ ภาพนี้เขาเขียนภาพตัวเขาเอง ซึ่งเป็นฝรั่งคนเดียวกับลูกหาบชาวพื้นเมือง ขณะพักแรมในป่า ช่างกล้าหาญแท้ ไม่กลัวอันตรายสารพัดทั้งคน ทั้งสัตว์ ทั้งแมลงและเชื้อโรค


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 22:13
มูโอต์ไปเห็นนครวัตเข้าก็แทบเป็นลมเพราะความตื่นเต้น เมื่อรีบกลับบ้านไปรายงานสิ่งที่ตนพบเห็น และมีโอกาสเอาภาพที่ตนเองเขียนขึ้นทั้งหมดไปแสดงที่กรุงปารีส คราวนี้คนฝรั่งเศสเลยจะเป็นลมมั่งเพราะความโลภ อยากจะได้เขมรมาเป็นเมืองขึ้น  แล้วก็หาเรื่องชิงเอาเขมรไปจากไทยจนได้


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 11, 22:15
อองรี มูโอต์มิได้หยุดเท่านั้น เขาเดินทางกลับมาอีก เพื่อทำงานสำรวจที่คั่งค้างต่อ ในที่สุดโรคร้ายก็ได้สังหารชีวิตเขา อองรี มูโอต์ตายเพราะพิษมาเลเรีย ศพของเขาถูกฝังที่ซึ่งเขาสิ้นลม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำในหลวงพระบาง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 22:16
ancien voyageur  น่าจะตรงกับเก๋ากึ๊กมากกว่า เก่าเฉยๆค่ะ
ไม่มีความเห็นอื่น  ให้กิ๊ฟทั้งสองท่าน   คุณ siamese ในเรื่องรูปสะพาน  กับคุณ Navarat.C ในเรื่องแปลและค้นคว้ามาให้อ่าน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ม.ค. 11, 22:38
เคยผ่านตาภาพวาดของมูโอต์ แต่ไม่ทราบว่าฝีมือใคร   นึกทึ่งว่าวาดได้ละเอียดลออมาก
เลยไปหาดูเพิ่มเติม    จึงได้เห็นภาพนครวัดในอดีต อย่างที่ไม่อาจเห็นได้ในปัจจุบัน
เอามาฝากค่ะ

(http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-01%20IMAGE/image063.jpg)

(http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-01%20IMAGE/image065.jpg)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 07:07
ส่งการบ้านครับ

รูปข้างบนมิใช่วัด แต่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง

พระที่นั่งที่อยู่ด้านหน้าของภาพ คือ พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ เป็นพลับพลาเปรื้องเครื่อง ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินโดยพระคชาธาร หรือพระราชยาน ในการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตรา อยู่ในกลุ่มพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน อันเป็นองค์หลัก

ซุ้มประตูที่เห็น ชื่อพระทวารเทวาภิบาล


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 07:24
พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ มุมมองอีกด้านหนึ่ง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 07:25
พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ มุมมองภายใน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 07:27
พระทวารเทวาภิบาล แบบชัดๆ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 08:52
^
^


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 08:56
นี่คือพระบรมฉายาลักษณ์ที่ไปได้มาจากเว็บหนึ่ง ระหว่างลุยกูเกิ้ลหาเรื่องรัชกาลที่ ๕ จากเว็บฝรั่งเศส   เป็นพระรูปที่งามมาก  แต่ไม่คุ้นตาดิฉัน คิดว่าหลายท่านยังไม่เคยเห็นเช่นกัน
จึงนำมาให้ชม
ถ้าท่านผู้ใดจะเพิ่มรายละเอียดในภาพได้ก็จะขอบคุณยิ่ง เช่นเครื่องราชฯ สายสะพาย และสิ่งที่ทรงถือ เป็นพระคธาหรืออะไร


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 08:59
ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒  เมื่อฝรั่งเศสมาปิดปากอ่าวไทย   ภาพนี้คือเรือฝรั่งเศสที่ถูกสยามยิงจนเพลิงไหม้จมลง 


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 09:05
ภาพต่อไปนี้คือภาพพระเมรุพระบรมศพในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ได้มา ๓ ภาพด้วยกัน
ภาพแรกคือภาพวาดลงปกหนังสือ Le Petit Journal   ดิฉันปรับภาพให้ชัดขึ้นเพื่อให้เห็นคำบรรยายว่า La Mort de Chulalongkorn Roi de Siam  แปลว่า การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระมหากษัตริย์แห่งสยาม
ที่ต้องนำคำบรรยายมายืนยัน เพราะภาพนี้ดูไม่เหมือนพระเมรุเลย  ผู้คนก็แต่งตัวประหลาด  บรรยากาศราวกับเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มากกว่ารัชกาลที่ ๕    คนวาดคงอาศัยคำบอกเล่ามากกว่าเห็นภาพถ่ายจริงๆละกระมัง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ม.ค. 11, 09:23
พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ มุมมองภายใน

สภาพภายในสวยมากเลยครับ ส่วนจิตรกรรมฝาผนังเท่าที่เห็น ด้านล่างจะเขียนภาพกอบัว และเหนือเหล่ากอบัว เป็นนางฟ้า เหาะมาร่ายรำอะไรสักอย่าง น่าสนใจมากครับ เหล่ากอบัวแบบนี้ในหมู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ก็เขียนภาพในลักษณะเดียวกัน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 09:28
ภาพที่ ๒ นี้คือพระเมรุพระบรมศพ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 09:30
ภาพสุดท้าย

หมายเหตุ  ไม่มีความรู้เกี่ยวกับทั้ง ๓ ภาพ เชิญท่านผู้รู้อธิบายให้ฟังค่ะ
ภาพที่ ๒ กับ ๓ ดูราวกับเป็นคนละภาพ  แต่เขาลงว่าเป็นภาพพระเมรุ พระบรมศพเช่นกัน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ม.ค. 11, 09:44
มีภาพพระเมรุมาศ และเมรุทิศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพจาก ศิลปากร, กรม,2539)
ดูแล้วก็ไม่ค่อยเหมือนกับภาพของอาจารย์เทาชมพู นะคะ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงดำรงพระชนม์อยู่ได้พระราชทานพระกระแสพระราชดำรัสสั่งถึงการพระบรมศพของพระองค์ไว้ดังนี้.-
“แต่ก่อนมา ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตลง  ก็ต้องปลูกเมรุใหญ่ซึ่งคนไม่เคยเห็นแล้วจะนึกเดาไม่ถูกว่าโตใหญ่เพียงไร  เปลืองทั้งแรงคนและเปลืองทั้งพระราชทรัพย์  ถ้าจะทำในเวลานี้ดูไม่สมกับการที่เปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง    ไม่เป็นเกียรติยศยืดยาวไปได้เท่าใด  ไม่เป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง  กลับเป็นความเดือดร้อน  ถ้าเป็นการศพท่านผู้มีพระคุณ  หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่ อันควรจะได้เกียรติยศ  ฉันก็ไม่อาจจะลดทอน  ด้วยเกรงว่าคนจะไม่เข้าใจว่า  เพราะผู้นั้นประพฤติไม่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด  จึงไม่ทำการศพให้สมเกียรติยศซึ่งควรจะได้  แต่เมื่อตัวฉันเองแล้วเห็นว่าไม่มีข้อขัดข้องอันใด  เป็นถ้อยคำที่จะพูดได้ถนัด  จึงขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาอันพอสมควร ณ ท้องสนามหลวง  แล้วแต่จะเห็นสมควรกันต่อไป”
(เทศาภิบาล เล่ม 10 หน้า 59 และจากเรื่องงานถวายพระเพลิงศพ พระบรมศพ โดย นายยิ้ม  ปัณฑยางกูร ในหนังสือจันทรเกษม ฉบับที่ 11 เมษายน 2499)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 09:49
โครงการกูเตนเบิร์ก มีหนังสือเก่าเกี่ยวกับสยามของทางยุโรปให้ค้นหาอีกมาก

LIPPINCOTT'S MAGAZINE OF POPULAR LITERATURE AND SCIENCE.

DECEMBER, 1873. Vol. XII, No. 33.

http://www.gutenberg.org/files/13770/13770-h/13770-h.htm

มีเรื่องและภาพเก่า ๆ น่าสนใจ

 ;D

จากเว็บข้างบน

The late supreme king, who died in 1868 at the age of sixty-five, was tall and slender in person, of intellectual countenance and noble, commanding presence. His ordinary dress was of heavy, dark silk, richly embroidered, with the occasional addition of a military coat. He wore also the decorations of several orders, and a crown—not the large one, which is worn but once in a lifetime, and that on the coronation-day—but the one for regular use, which is of fine gold, conical in shape and the rim completely surrounded by a circlet of magnificent diamonds. This prince, the most illustrious [pg 647] of all the kings of Siam, spent many of the best years of his life in the priesthood as high priest of the kingdom. He was a profound scholar, not only in Oriental lore, but in many European tongues and in the sciences. In public he was rather reticent, but in the retirement of the social circle and among his European friends the real symmetry of his noble character was fully displayed, winning not only the reverence but the warm affection of all who knew him. He died universally regretted, and the young prince now reigning as supreme king is his eldest surviving son: the second king is his nephew.

(http://www.gutenberg.org/files/13770/13770-h/images/0028_1.jpg)

Funeral Pile for the Second King.

 ;D


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 09:52
ในภาพเป็นเรือแองคองสตังค์ท่ามกลางห่ากระสุน ที่วาดให้ดูน่าตื่นเต้น แต่เหตุการณ์จริงมิได้ดุเดือดเลือดพล่านถึงขนาดนั้น และเรือที่โดนกระสุนฝ่ายไทยจังๆ คือเรือนำร่องไม่ใช่เรือรบ

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือ เรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายัง กรุงเทพ ฯ โดยมี เรือ เจ. เบ. เซย์ (Jean Baptist Say) เรือสินค้าเป็นเรือนำร่อง หมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ได้ยิงด้วยนัดดินเปล่าเพื่อเป็นการเตือนเรือรบฝรั่งเศส ไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามาแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ ในที่สุดต่างฝ่ายก็ระดมยิงโต้ตอบกันเรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือ ป้อมพระจุลจอมเกล้าต่างก็ระดมยิงไปยังเรือรบฝรั่งเศส การรบได้ดำเนินไปเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงเศษก็ยุติลง เพราะความมืด เป็นอุปสรรค เรือแองคองสตังต์ และเรือโคแมต สามารถตีฝ่าแนวป้องกันที่ปากน้ำเจ้าพระยาเข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และเทียบท่าอยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ส่วนเรือเซย์ที่นำร่องเข้ามา ถูกยิง 2 นัด มีรูทะลุน้ำเข้าเรือ จึงต้องแล่นไปเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง ไม่ปรากฏว่ามีคนบาดเจ็บล้มตาย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 09:55
การรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา 13 กรกฎาคม ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)

พอมีข่าวไม่สู้ดีในเรื่องฝรั่งเศส ทางราชการทหารไทยได้มีคำสั่งดังนี้

 1 สั่งให้ป้อมพระจุลจอมเกล้า และป้อมฝีเสื้อสมุทร ตระเตรียมปืนอาร์มสตรอง ขนาด 6 นิ้ว อันทันสมัยเตรียมพร้อม เพื่อจะหยุดยั้งการบุกรุกของเรือรบฝรั่งเศสอันอาจเกิดขึ้นได้
2 สั่งให้เรือรบ 9 ลำ เตรียมพร้อมอยู่ที่ด้านเหนือของป้อมพระจุลจอมเกล้าเล็กน้อย เรือเหล่านี้ ส่วนมากเป็นเรือล้าสมัย มีที่ทันสมัยเพียง 2 ลำ เท่านั้น คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ แต่มีอำนาจยิงไม่มากนัก
3 ได้วางเครื่องกีดขวางที่ปากน้ำเจ้าพระยา เช่น ตาข่ายโซ่เหล็ก สนามทุ่นระเบิด และสนามยิงตอร์ปิโด เป็นต้น
เมื่อเรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ บุกรุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เรือรบไทยที่ทอดสมอรอคอยอยู่ กับป้อมปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าได้พยายามต่อต้าน แต่เนื่องจากขาดความชำนาญของบุคคลากรและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไม่พร้อม เรือรบฝรั่งเศสจึงตีฝ่าผ่านเข้าไปถึงกรุงเทพฯ ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก




กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ม.ค. 11, 09:56
ภาพที่ ๒ นี้คือพระเมรุพระบรมศพ

ภาพที่ ๒ เป็นพระเมรุมาศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ภาพที่ ๓ เป็นพระเมรุมาศ ของสมเด็จพระพันปีหลวง เป็นพระเมรุยอดพรหมพักตร์


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 09:58
ความเสียหายหลังเหตุการณ์ปะทะ

ฝ่ายฝรั่งเศส
 
เรือนำร่องเซย์ที่ถูกยิง 2 นัด เกยตื้นอยู่ริมฝั่ง แต่ไม่ปรากฏว่ามีคนบาดเจ็บล้มตาย

เรือโคแมตในภาพ  ตัวเรือ และส่วนบนของเรือมีรอยกระสุนปืนเล็กมากมาย และมีรอยกระสุนปืนใหญ่ 2 นัด กระจกบนสะพานเดินเรือแตก เรือเล็กเสียหาย 2 ลำ ทหารตาย 2 คน บาดเจ็บ 1 คน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 10:00
ฝ่ายไทย

เรือมกุฎราชกุมารถูกกระสุนปืนใหญ่ 1 นัด ที่หัวเรือ เครื่องกว้านสมอชำรุดใช้การไม่ได้ และถูกกระสุนปืนเล็ก เป็นจำนวนมากทหารตาย 3 คนบาดเจ็บ 15 คน

เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ถูกกระสุนปืนใหญ่ 2 นัด ที่ข้างเรือกราบซ้าย ตรงห้องเครื่องจักร 1 นัด ที่ส่วนบนเรือ 1 นัด ถูกกระสุนปืนเล็กเป็นจำนวนมาก ทหารบาดเจ็บ 6 คน

เรือหาญหักศัตรูถูกยิง ที่ท้ายเรือมีช่องโหว่ เรือนฤเบนทร์บุตรีไม่ปรากฏว่าถูกยิงที่ใดบ้าง

เรือทูลกระหม่อมถูกกระสุนปืนใหญ่ 1 นัด ที่หัวเรือ ทูลกระหม่อม ตาย 2 คน บาดเจ็บ 5 คน
 
เรือนฤเบนทร์บุตรี ตาย 2 คน บาดเจ็บ 6 คน
 
ส่วนป้อมพระจุลจอมเกล้าไม่ได้รับความเสียหาย แต่อย่างใด ไม่มีคนตาย และบาดเจ็บ

ป้อมผีเสื้อสมุทร บริเวณหลุมปืน ถูกยิงแต่ ไม่เสียหายมากบาดเจ็บ 6 คน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ม.ค. 11, 10:07
ภาพที่ ๓ เป็นพระเมรุมาศ ของสมเด็จพระพันปีหลวง เป็นพระเมรุยอดพรหมพักตร์


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ม.ค. 11, 10:09
ภาพที่ ๒ เป็นพระเมรุมาศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 10:13
^
แสดงว่ารูปที่นำมาให้ดู  ผิดหมดเลย  :-\
ขอบคุณที่แก้ไขความผิดพลาดให้ค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ม.ค. 11, 10:18
สำหรับภาพในเวปที่คุณเพ็ญชมพู นำมาให้ชมนั้น ฝรั่งเขาไม่เข้าใจและบรรยายไปผิดๆ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว
เป็นเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเข้าพิธีโสกัณฑ์ ซึ่งในช่วงนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็สวรรคตในเวลา
ใกล้เคียงกัน ฝรั่งเห็นภาพ "เขาไกรลาศ" จึงนึกว่าเป็นภาพพระเมรุมาศ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ม.ค. 11, 10:32
ภาพบน พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพล่าง พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 11:23
ปล่อยไก่ฝรั่งเศสออกไปฝูงใหญ่  ดีที่ท่านผู้รู้ช่วยกันต้อนกลับเข้าเล้าได้หมด

จากเรื่องสงครามร.ศ. ๑๑๒ กับฝรั่งเศส   อ่านพบว่า อังกฤษเข้ามาช่วยเหลือด้วยการส่งเรือรบจากสิงคโปร์ชื่อเรือ pallas กับเรือ Pigmy มาช่วยสยาม  แต่เรือพิกมีติดราชการ ไม่ว่าง ก็เลยเตรียมเรือ Pluver มาแทน
พอฝรั่งเศสรู้ว่าอังกฤษเข้ามาเป็นก้างขวางคอ  ก็เล่นไม้แข็ง ส่งเรือเข้ามา  คือเรือ ๒ ลำชื่อ โคแมต (Comete) และแองดองสตังค์ (Inconstang) ที่มีรูปว่าถูกยิงถล่มนั่นเอง




กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 12:06
ได้รูปบุคคลสำคัญของฝรั่งเศสมาให้ดูกัน นี่คือเมอสิเออร์โอกุสต์ ปาวี ( Auguste Pavie) ทูตฝรั่งเศสประจำสยาม   คนนี้ละเป็นกำลังสำคัญให้ฝรั่งเศสวางแผนยึดสยาม ในที่สุดก็ได้ดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไป


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 12:15
ปาวีเป็นนักสำรวจ  เขาเดินเท้าสำรวจพื้นที่แถวอินโดจีนเสียปรุ   ในหนังสือที่เขาบันทึกแผนที่และผู้คนที่พบ   มีพระรูปของเจ้านายสยามด้วย
ขอปั่นเรตติ้งกระทู้ ด้วยการขอให้จอมยุทธทั้งหลายช่วยกันทายว่า เจ้านายพระองค์ใด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 12:28
ถนนสายหนึ่งในพระนคร สมัยรัชกาลที่ ๕ จากหนังสือของปาวี
เขาบอกสั้นๆว่า Une rue à Bangkok   ไม่ได้บอกว่าถนนอะไร


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ม.ค. 11, 14:02
นายปาวี บุคคลท่านนี้แสบมาก ทำวีรกรรมไม่ดีกับสยามประเทศไว้เป็นอย่างมาก ขออนุญาตเล่าประวัตินายปาวี คร่าวๆ ดังนี้..

"ม.ปาวี ไวซ์ กงสุลฝรั่งเศสประจำเมืองหลวงพระบางคนแรกผู้นี้ เดิมทีเป็นเสมียนโทรเลข เข้ามาในประเทศสยามกับนายช่างฝรั่งเศสที่เข้ามาสร้างสายโทรเลขระหว่างกรุงเทพ-ไซ่ง่อน เมื่อ ค.ศ.1884 ต่อจากนี้ ม.ปาวี ผู้นี้มีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใคร่ต่อการศึกษายิ่งนัก ระหว่างที่ทำแผนที่อยู่ ณ ตำบลใดก็ได้ อุตส่าห์สอบสวนประวัติการ ของชาวภูมิประเทศนั้นๆ จนซึมทราบถึงฐานะความเป็นอยู่ของชนพวกนั้นได้เป็นอย่างดี สามารถแต่งหนังสือขนาดใหญ่เป็นทำนองเกล็ดพงศาวดารไทย ลาว เขมร ไว้หลายเล่ม

ใน ค.ศ.1886  เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสตั้งไวซ์ กงสุสขึ้นที่เมืองหลวงพระบาง ก็เลือกเอา ม.ปาวี เป็นผู้ทำการในตำแหน่งนี้ แต่มียศเป็นกงสุลชั้น 2 และเป็นหัวหน้าคณะข้าหลวงสำรวจดินแดนของฝ่ายฝรั่งเศส

ณ วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1892 ม.ปาวีได้เข้ามาประเทศสยาม มีตำแหน่งเป็นราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุเทพฯ การที่ ม.ปาวี ได้รับตำแหน่งเป็นราชทูตคราวหนี้ ต้องนับว่าเป็นพฤติการณ์ที่สำคัญสัมพันธ์อยู่กับประวัติกาลของชาติไทย เพราะม.ปาวี เป็นผู้ชำนิชำนาญ ได้เรียนรู้ถึงความเป็นไปแห่งท้องที่ บริเวณที่แก่งแย่งกันอย่างหลับตาเห็น

ฉะนั้นจึงเป็นกำลังทำให้รัฐประศาสโนบายของฝรั่งเศสก้าวหน้ายิ่งขึ้น"

คัดจากหนังสือสังเขปเอกสารประวัติศาสตร์ ร.ศ. ๑๑๒



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 14:18
ในหนังสือ ชีวิต ๕ แผ่นดินของข้าพเจ้า โดย พลโทประยูร ภมรมนตรีว่าเขียนถึง ม. ปาวี ว่า

มองซิเออร์ปาวี อัครราชทูตเป็นตัวตั้งตัวตี โดยมองซิเออร์ผู้นี้ทางราชการได้จ้างมาทำแผนที่ในประเทศ เคยถูกพวกจีนฮ่อทำร้ายในเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้ช่วยชีวิตไว้ เลยสนองพระคุณสำรวจดินแดนทำแผนที่ทั้งปวงให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นมูลฐานประกอบการยึดดินแดน

ที่ปารีส ภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ไปแล้ว ๑๔ ปี รัชกาลที่ ๕ ทรงได้พบ ม. ปาวี ตัวต่อตัว  ทรงเล่าไว้ในพระราชหัตถเลขาฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ พิมพ์ในงานพระเมรุกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พ.ศ. ๒๔๙๑ ตอนหนึ่งว่า

...เธอคงอยากรู้เปนอันมาก ว่าฉันได้พูดกับอ้ายปาวีอย่างไร มันเจ้าก้า [นบนอบเป็นอย่างยิ่ง] เหลือสติกำลัง เข้ามารับอาสาเปนล่ามฉัน พูดกับลูกสาวเปรสิเดนต์ ฉันก็ออกจะไม่อยากพูดกับมัน จำใจต้องพูด ครั้นเวลาเลิก มันบอกว่ามันมีความยินดีที่การตกลงกันเรียบร้อย [เรื่องเมืองเสียมราฐและพระตะบอง] ฉันว่าข้าต้องการจะให้เรียบร้อยมานานนักหนาแล้ว มันเรียบไม่ได้ก็เพราะเจ้า ถ้าเจ้าพูดเสียตรง ๆ อย่างเช่นที่ได้ตกลงกันครั้งนี้ ที่ไนมันจะลำบากมาเปนสิบเอ็ดสิบสองปี ข้าไม่โทษคนอื่นโทษเจ้าทั้งนั้น มันหัวร่อเรี่ยมากจนหน้าแดง บอกว่ามีความเสียใจเปนอันมาก ที่จริงความที่วุ่นวายมากไป 'เพราะอังกฤษเข้าแทรก' ฉันเห็นพอแล้วก็เลยพูดเรื่องอื่นต่อไป...

 8)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 14:29
ฝรั่งเศสได้สร้างอนุสาวรีย์ของนายปาวีกำลังได้รับการกราบไหว้จากชาย-หญิงลาว ตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งหลังจากประเทศลาวได้รับเอกราช อนุสาวรีย์ของนายปาวีได้ถูกแยกชิ้นส่วนนำไปทิ้งแม่น้ำโขง ต่อมาสถานทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียงจันทน์ได้กู้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานทูต ส่วนรูปหล่อชาย-หญิงลาว นำไปเก็บรักษาที่สนามหน้าหอพระแก้ว กรุงเวียงจันทน์

(http://pavie.culture.fr/media/32/MEDIAS/19_COLPU_DINAN_M.jpg)

http://pavie.culture.fr/mediatheque.php?rubrique_id=32&lg=en#media171

 ;D


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 14:36
รูปของปาวีที่นำมาลงในหน้าก่อน คงถ่ายสมัยอยู่ปารีส  ถ่ายในร้านถ่ายรูปเลยดูโก้หน่อย  แต่พอแกมาบุกป่าฝ่าดงอยู่แถวนี้  ก็หมดสง่าราศี เป็นคนละคน
ในรูปนี้ ปาวีคือคนที่สามจากขวา  ส่วนชาวเอเชียในภาพนี้เป็นล่ามเขมร ไม่ใช่คนสยาม  ฝรั่งอีกคนชื่อ Pierre Lefèvre-Pontalis


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 14:40
ย้ายพระรูปเจ้านายสยามจากค.ห. 164 ตามมาที่นี่   จำได้ไหมว่าพระองค์ไหนในรัชกาลที่ ๕

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16780;image)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 14:44
อนุสาวรีย์ของปาวี ที่ตั้งอยู่บนสนามหญ้า ในบริเวณสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศลาว ในปัจจุบัน

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bc/Auguste_Pavie_Vientiane.jpg/450px-Auguste_Pavie_Vientiane.jpg)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ม.ค. 11, 15:05
ตอบรูปในความเห็นที่ ๑๗๐

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช 
ตอนนั้นน่าจะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 11, 19:01
ถูกต้องค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 11, 21:51
เมื่อม.ปาวี ราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ดำเนินการโดยพลการ สั่งให้เรือรบทั้ง๒ลำเดินทางเข้ามาทอดสมออยู่ในปากอ่าว เตรียมพร้อมที่จะตลุยเข้ามาในกรุงเทพนั้น  ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม เสนาบดีว่าการต่างประเทศของไทยได้มีโทรเลขไปยังอัครราชฑูตไทยประจำกรุงปารีส แจ้งเรื่องเรีอรบฝรั่งเศส จะเข้ามาขู่เข็ญไทย ขอให้นำความไปร้องเรียนต่อ ม.เดอ แวลล์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศฝรั่งเศสโดยด่วน

เดอ แวลล์ตอบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้เป็นผู้สั่งการให้เรือรบเข้าไปในกรุงเทพ ฯ  และรับรองว่าจะถอนคำสั่งเดิมเสีย
ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ เดอ แวลล์ ได้มีโทรเลขไปยังปาวี ราชฑูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ ฯ มีความว่าสำคัญว่า ให้บอกแก่กองเรือฝรั่งเศสทราบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสตกลงยับยั้งไม่ให้เรือลำใดข้ามสันดอนเข้าไปก่อน โทรเลขฉบับนี้มาถึงสถานทูตฝรั่งเศส ได้รับในกรุงเทพเวลาเช้า ๑๐.๓๐น. ของวันเดียวกันนั้น

ปาวีอยู่ในกรุงเทพมานานพอที่จะรู้ระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ของสยามดี  เขาจึงถ่วงเวลาที่จะนำโทรเลขนั้น  ไปแจ้งยังผู้บังคับการกองเรือ ที่กำลังรอปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ว่า เมื่อน้ำขึ้นในตอนเย็น จะเป็นเวลาที่ลงลงมือปฏิบัติการ

อันที่จริง สำเนาโทรเลขนั้น กรมโทรเลขสยามก็ได้รับพร้อมๆกัน ไม่มีปัญหาอะไรที่เราจะให้เจ้าหน้าที่ไทย ลงเรือด่วนนำโทรเลขนั้น ไปแจ้งให้ผู้บังคับการทหารเรือฝรั่งเศสเสียเอง เพื่อยุติวิกฤต

แต่ทว่า จะหาผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายไทยที่มีอำนาจสั่งการดังกล่าวสักคน ก็หาได้ไม่ เวลาล่วงเลยจน ๑๘.๐๕ น . เรือรบฝรั่งเศสจึงวิ่งเต็มฝีจักรช้ามสันดอนเข้ามากรุงเทพ

เจ้าพระยาอภัยราชาฯ (โรลัง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชาวเบลเยียม กล่าวไว้ในจดหมายที่เขียนถึงลูกชายเกี่ยวกับโทรเลขที่ฝรั่งเศสส่งมาไว้ว่า "ลูกอาจถามพ่อว่า ถ้าเราได้รับโทรเลขฉบับนั้นเวลา ๑๐.๓๐นาฬิกา ในตอนเช้าของวันที่ ๑๓แล้ว เหตุใดเราจึงไม่ติดต่อกับปาวีทันที โชคร้ายจริงที่เหตุผลเป็นเรื่องโง่เขลา ลูกก็ทราบนี่ว่า เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน เรื่องนี้ส่งผลให้เมื่อโทรเลขฉบับนั้นมาถึง จึงได้แต่รอกันเงียบๆ โดยไม่บอกให้พ่อรู้ด้วยซ้ำ จนกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ทรงตื่นจากบรรทม ซึ่งพระองค์ทรงตื่นขึ้นตอนที่มีคนได้ยินเสียงยิงปืนใหญ่ที่ปากน้ำนั่นแล้วด้วยซ้ำ"

ขออภัย ถ้าเริ่มเรื่องม.ปาวี ก็จะต้องท้าวความเรื่องนี้ด้วย พอดีผมจะไม่อยู่บ้านสักสัปดาห์หนึ่ง และคงไม่ได้เปิดเข้าเน็ทจนกว่าจะกลับ เลยยังเล่าไม่หมดว่า การเสียดินแดนครั้งนั้นน่ะ โทษนายปาวีได้ครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งต้องโทษความไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง ของคนไทยเราเอง
ระหว่างนี้ก็เชิญทุกท่านว่ากันต่อไปก่อนครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 27 ม.ค. 11, 23:48
เข้ามาลงชื่อครับ คุณครูทุกๆท่าน
เสียดายมาตอบช้า มัวแต่เพลิดเพลินจากเทศกาลวันหยุดยาวช่วงปีใหม่ ต่อเนื่องจนเกือบปลายเดือน

รูปชุดแรกๆ ที่กระทู้ถาม ผมดันมีสำเนาติดมือเก็บอยู่กับตัว
เป็นหนังสือประมวลภาพฯโดยคุณไกรฤกษ์ นานา ครับ

เห็นภาพปุ๊บ จำได้ปั๊ป  พลิกดูอีกครั้งก็พบว่าเป็นหนังสือ L'Illustration  21 Janvier, 1905  หน้า 44-45 คอลัมภ์ "เพื่อนบ้านของเรา"สยาม"
กะว่าจะเข้ามาตอบ  แต่คุณครูใหญ่ตอบไปแล้ว

บทความ ก็เป็นการบรรยายแนะนำประเทศสยามแบบคร่าวๆ
แต่ภาพประกอบพร้อมคำบรรยาย ไม่ได้สอดคล้องกับบทความแต่อย่างใด
คำบรรยายภาพ ก็เป็นการบรรยายแบบลวกๆ อย่างที่คุณครูหลายท่านว่าไว้แหละครับว่า
เป็นการจับภาพเหตุการณ์ต่างๆ มาตัดแปะแล้วบรรยายแบบหยาบๆ

ส่วนภาพอื่นๆนั้น ในชุดต่อมา
บางภาพ ผมเคยผ่านตาว่ามีปรากฎอยู่ในหนังสือรวมเล่ม,รวมภาพ กระจัดกระจายหลายๆเล่ม
ของคุณเอนก นาวิกมูลที่ไปค้นมาจากหอจดหมายเหตุฯบ้าง แหล่งอื่นบ้าง ฯลฯ

ดังนั้น ผมขออนุญาต นั่งอ่านอยู่เงียบๆ ต่อไปนะครับ
 :-[ ;D ;D ;D ;D


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 11:16
คุณนวรัตนยังไม่กลับขึ้นเวที   ดิฉันมาคั่นโปรแกรมหน้าม่าน ดึงกระทู้ขึ้นมาก่อนตกจอ
คุณ Diwali พอจะสแกนภาพมาให้ชมกันบ้างไหมคะ?
********************
ข้อความต่อไปนี้นำมาจากกระทู้เก่า  เจ้าพระยามหิธร  เป็นเหตุการณ์ร.ศ. ๑๑๒ ตอนฝรั่งเศสปิดปากอ่าวไทยพอดี   ทางกรุงเทพชุลมุนวุนวายมากขนาดไหน ลองอ่านดู

ในวิฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อฝรั่งเศสเอาเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย   นายลออ(หมายถึงเจ้าพระยามหิธร) เป็นเสมียนโท ได้มีโอกาสรู้เห็นบรรยากาศตึงเครียดติดต่อกันหลายวันหลายคืน   ในพระบรมมหาราชวัง

มีเกร็ดเล็กๆน่าขำที่นายลออจำได้ก็คือ ตอนเกิดเรื่องที่เรือรบฝรั่งเศสรุกล้ำอ่าวไทย  เข้ามาจอดลอยลำถึงหน้าสถานทูตฝรั่งเศส   
ผู้บัญชาการทหารเรือไทยในตอนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวเดนมาร์คที่ไทยจ้างมาฝึกทหารเรือ  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชลยุทธโยธี  ได้รับรายงานเรื่องนี้ก็เดือดดาลมาก    ถือว่านอกจากฝรั่งเศสดูถูกคนไทยแล้วยังเป็นการสบประมาทถึงเดนมาร์คด้วย

พระยาชลยุทธฯก็ไม่รอช้า  ถือว่าถึงขั้นรบกันก็ต้องรบ   ออกคำสั่งให้ติดไฟเรือพระที่นั่งมหาจักรีซึ่งเป็นเรือรบที่มีอานุภาพมากที่สุดของไทยในตอนนั้น  เตรียมพร้อมรบเต็มกระบวนศึก
แล้วท่านก็แต่งเครื่องรบเต็มที่ รีบลงเรือกรรเชียงจากฝั่งไปขึ้นเรือกลางแม่น้ำ เพื่อจะบัญชาการรบ

พอถึงเรือมหาจักรี   พระยาชลยุทธฯใจร้อนเผ่นจากเรือกรรเชียงขึ้นบันไดเรือรบ    บังเอิญคืนนั้นมืดมากมองอะไรไม่เห็น   ท่านก็เลยพลาดบันไดเรือ หล่นตูมลงในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งชุดเครื่องรบ  ทำให้ทหารเรือไทยต้องโดดน้ำตามลงไปช่วยผู้บัญชาการกันจ้าละหวั่น  ฉุดเอาตัวขึ้นมาได้ 
การตกน้ำแทนที่จะทำให้พระยาชลยุทธฯใจเย็นลง กลับทำให้โกรธมากขึ้น 

เคราะห์ดีก่อนเรือมหาจักรีจะออกไปยิงกับฝรั่งเศส   เจ้าพระยาอภัยราชา(โรแลง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวเบลเยี่ยม   ได้รับรายงานเข้าเสียก่อน 
เห็นว่าถ้าถึงยิงกันจะเกิดเรื่องลุกลามใหญ่โต  จึงรีบนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอให้มีพระบรมราชโองการห้าม  พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงห้ามเสียทัน  พระยาชลยุทธฯจึงไม่ได้รบกับฝรั่งเศส

อย่าง ไรก็ตาม  เหตุการณ์ในช่วงนั้นไม่มีใครขำออกเลย    เพราะมีแต่ความตึงเครียดไปทั้งเมืองตั้งแต่พระบรมมหาราชวังถึงชาวบ้านร้านถิ่น   
ภายในพระบรมมหาราชวัง มีการลากปืนใหญ่เข้าประจำที่   หัดทหารกันทั้งวันทั้งคืนและเกณฑ์ทหารใหม่เข้าเพิ่มเผื่อรับมือ   พระเจ้าอยู่หัวและเสนาบดีเข้าประชุมกันตลอดทั้งวันทั้งคืน  ไม่มีใครกลับบ้าน  ออฟฟิศหลวงเปิดตลอด ๒๔ ชั่วโมง    ข้าราชการประจำรวมทั้งนายลออต้องมาประจำหน้าที่ไม่ได้กลับบ้านติดต่อกันหลายวัน   กินนอนกันอยู่ในออฟฟิศนั่นเอง

พอ ตกกลางคืน  เจ้านายสำคัญๆและเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ที่มาปรึกษางานกันเคร่งเครียดตลอดวันก็เอาที่นอนหมอนมุ้งไปปูนอนกันตามระเบียงพระที่นั่งจักรี 
ตอนดึก พระเจ้าอยู่หัวบรรทมไม่หลับ  เสด็จออกมา  เจ้านายและเสนาบดีก็ลุกจากมุ้งไปเข้าเฝ้า ประชุมกันต่อไม่เป็นอันหลับนอนจนเช้า

ส่วน เจ้านายฝ่ายในตลอดจนบรรดาข้าหลวงทั้งหลาย  ออกมาประชุมปะปนกับผู้ชายไม่ได้ก็จริง แต่ก็รวบรวมข้าวของและเงินทอง เตรียมพร้อม ทูลเกล้าฯถวายเพื่อเป็นค่าซื้อปืนสู้กับฝรั่งเศส 
ในเหตุการณ์นี้เองที่ได้มีการดำริตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น  ซึ่งต่อมาคือสภากาชาดไทย  สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินี(หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถ)ทรงเป็นนายกสภา  เพื่อจะได้ช่วยรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บจากสงคราม

ทางฝ่ายราษฎรใน เมืองหลวงก็ไม่ประมาท   พวกผู้หญิงพากันคั่วข้าวตากทำเป็นเสบียง  เตรียมตัวพร้อมจะอุ้มลูกจูงหลานหลบหนีเข้าป่าเผื่อข้าศึกบุกเข้ามาถึงเมือง
ส่วนผู้ชายก็คึกคักพร้อมรบ  ไม่กลัวฝรั่งเศส   นัดยกพวกแห่กันไปริมแม่น้ำใกล้เรือรบ ด่าว่าท้าทายต่างๆจนฝรั่งเศสไม่กล้าลงจากเรือรบ  ยันกันอยู่อย่างนั้น

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1190.msg20842;topicseen#msg20842


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 13:21
ไปค้นรูปสงครามไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112  ในเว็บฝรั่งเศส  เจออยู่หลายรูปที่เกี่ยวกับสยาม
รูปนี้  มีคำบรรยายว่า    1866-garde-royale    
ดูอีกที  โขลน น่ะเอง

(http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2201;image)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 13:27
ช้างศึกสมัยรัชกาลที่ ๕

(http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2202;image)

ทหารสยาม

(http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2204;image)       (http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2205;image)

ขอคุณนวรัตนและคุณหนุ่มสยาม  โปรดสังเกตว่าทหารทั้งสองรูป สวมรองเท้าหนังแท้ แต่ไม่ใช่หนังเท้า อย่างรูปก่อนๆในกระทู้นี้  ไม่รู้ว่ายศชั้นไหนหรือกรมกองอะไร


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 13:32
"เคราะห์ดีก่อนเรือมหาจักรีจะออกไปยิงกับฝรั่งเศส   เจ้าพระยาอภัยราชา(โรแลง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวเบลเยี่ยม   ได้รับรายงานเข้าเสียก่อน  
เห็นว่าถ้าถึงยิงกันจะเกิดเรื่องลุกลามใหญ่โต  จึงรีบนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอให้มีพระบรมราชโองการห้าม  พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงห้ามเสียทัน  พระยาชลยุทธฯจึงไม่ได้รบกับฝรั่งเศส"

ผมได้อ่านหนังสือประมวลภาพ ร.ศ. ๑๑๒ ของ อ.ไกรฤกษ์ นานา ระบุไว้ในเนื้อหาเรื่องนี้แต่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย คือ หากเห็นว่าสยามเพลี่ยงพล้ำแก่เรือข้าศึกแล้ว จะใช้วิธีการสุดท้ายคือ การขอพระบรมราชานุญาตนำเรือพระที่นั่งมหาจักรี นำเข้าพุ่งชนให้เรือรบฝรั่งเศสจมในท้องน้ำเจ้าพระยา ซึ่งภายหลังได้มีพระบรมราชานุญาตห้ามไว้ทัน จึงมิได้มีเหตุการณ์ใหญ่โตขึ้นไปมากกว่านี้

ก่อนที่เรือรบจากฝรั่งเศสจะลุยเข้ามายังปากน้ำเจ้าพระยาและนำมาจอดทอดสมอที่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส ก่อนจะยื่นคำขาดมายังราชสำนัก ยื่นข้อเรียกร้องต่างๆ หากไม่กระทำการที่ประสงค์แล้ว เรือรบพร้อมจะนำล่วงเข้าสู่หน้าพระบรมมหาราชวัง และจะยิงถล่มในอีกไม่นาน บรรยากาศบ้านเมืองคงเงียงเหงา ประตูเมืองพระนครปิดสนิท ทุกคนหวาดกลัว ข้าราชการทุกคนล้วนมุ่งตรงมายังพระบรมมหาราชวัง ศูนย์กลางแห่งพระราชอำนาจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำรัสมายังเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เพื่อปลุกใจทหารและข้าราชการของพระองค์ และทรงวางพระหัตถ์ที่บ่าของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พร้อมกับทรงเอ่ยว่า "ไม่เขา ก็เรา"


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 13:34
กองทหารสยาม

(http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2209;image)

ภาพนี้ถ่ายจากมุมสูง   ไม่ทราบว่าคนถ่ายควรจะยืนอยู่บนอะไรสูงๆ ที่ท้องสนามหลวง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕   
ไม่มีสิ่งก่อสร้างสูงเลยสมัยนั้น


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 13:41
(http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2210;image)

 Gustave-Rolin-Jacquemyns   กุสตาฟ โรลัง ยัคมินส์ เจ้าพระยาอภัยราชา


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 31 ม.ค. 11, 13:46
อาจารย์เทาครับ

ความเห็นที่ 180 ถ่ายจากกำแพงวังหน้าได้หรือไม่ครับ ???
ช่วงที่ถ่ายรูปอาจจะยังไม่รื้อกำแพง ???
ดูขนาดท้องสนามหลวงก็ประมาณครึ่งหนึ่งของสมัยนี้พอดี
(ขนาดเท่ากับยุคเริ่มแรก)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 13:56
ขอคุณนวรัตนและคุณหนุ่มสยาม  โปรดสังเกตว่าทหารทั้งสองรูป สวมรองเท้าหนังแท้ แต่ไม่ใช่หนังเท้า อย่างรูปก่อนๆในกระทู้นี้  ไม่รู้ว่ายศชั้นไหนหรือกรมกองอะไร

ภาพถ่ายรูปทหารนุ่งโจงกระเบน พร้อมดาบปลายปืน ซึ่งไม่ใช่มีดพก แต่ใช้ดาบยาวมากๆ ที่นำมาให้ชมนี้ ต้องเป็นภาพถ่ายก่อนปี พ.ศ. ๒๔๓๙ เนื่องจากทรงมีพระราชดำรัสรับสั่งให้ยกเลิกทหารทุกประเภท นุ่งโจงพร้อมเครื่องแบบ ให้นุ่งกางเกงแทน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ม.ค. 11, 14:03
นายทหารคนงซ้ายสวมหมวกเฮลเม็ตทรงสูงแต่สวมเสื้อราชปะแตนกระดุม ๕ เม็ด  ไม่ใช่เสื้อทูนิคที่กระดุม ๗ เม็ด  เลยดูยากหน่อยว่าจะเป็นทหารหน่วยไหน  อาจจะเป็นกรมล้อมพระราชวังซึ่งเดิมเป็นกรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง 

ที่แน่ๆ คือ ที่เห็นสวมทับรองเท้ายาวขึ้นมาถึงใต้หัวเข่านั้นคือ "สนับแข้ง"  ทำด้วยหนังใช้สวมทับรองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อแทนการใช้รองเท้าบู๊ท  เพื่อกันสัตว์ร้ายฉกกัด  บางคราวอาจสวมสนับแข้งแต่ไม่สวมรองเท้าก็มี  ส่วนนายทหารในภาพซ้ายดูจากบั้งที่แขนซ้ายซึ่งมี ๓ บั้ง  มียศเป็นนายสิบเอกครับ  ถ้า ๔ บั้งเป็นจ่านายสิบ  สองบั้งเป็นนายสิบโท  และ ๑ บั้งเป็นนายสิบตรี 


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 14:14
อาจารย์เทาครับ

ความเห็นที่ 180 ถ่ายจากกำแพงวังหน้าได้หรือไม่ครับ ???
ช่วงที่ถ่ายรูปอาจจะยังไม่รื้อกำแพง ???
ดูขนาดท้องสนามหลวงก็ประมาณครึ่งหนึ่งของสมัยนี้พอดี
(ขนาดเท่ากับยุคเริ่มแรก)

กำแพงวังหน้า ทำมุมประมาณ 90 + -  องศากับกำแพงวังหลวงไม่ใช่หรือคะ    แต่จากมุมที่ถ่ายเหมือนถ่ายประจัญหน้ากับกำแพงวัง  เดาว่าประตูวังทางขวาคือประตูวิเศษไชยศรี   ถ้างั้นกำแพงวังหน้าก็ต้องอยู่ทางทิศด้านขวาของผู้ถ่าย

เอาเถอะ เดาต่อไปเดี๋ยวผิด  รอคนชี้ขาดดีกว่า

ขอบคุณคุณV_Mee สำหรับคำอธิบายค่ะ เร็วทันใจดีจริง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 14:19
กองทหารปืนใหญ่
(http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2216;image)



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 15:04
อาจารย์เทาครับ

ความเห็นที่ 180 ถ่ายจากกำแพงวังหน้าได้หรือไม่ครับ ???
ช่วงที่ถ่ายรูปอาจจะยังไม่รื้อกำแพง ???
ดูขนาดท้องสนามหลวงก็ประมาณครึ่งหนึ่งของสมัยนี้พอดี
(ขนาดเท่ากับยุคเริ่มแรก)

กำแพงวังหน้า ทำมุมประมาณ 90 + -  องศากับกำแพงวังหลวงไม่ใช่หรือคะ    แต่จากมุมที่ถ่ายเหมือนถ่ายประจัญหน้ากับกำแพงวัง  เดาว่าประตูวังทางขวาคือประตูวิเศษไชยศรี   ถ้างั้นกำแพงวังหน้าก็ต้องอยู่ทางทิศด้านขวาของผู้ถ่าย

เอาเถอะ เดาต่อไปเดี๋ยวผิด  รอคนชี้ขาดดีกว่า

ขอบคุณคุณV_Mee สำหรับคำอธิบายค่ะ เร็วทันใจดีจริง

ดูจากภาพกองกำลังสยามนี้ เป็นภาพที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ที่ต่างประเทศ ในห้วงระยะเวลา ร.ศ. ๑๑๒ บอกเล่าประวัติประเทศสยาม ราชวงศ์ไทย และด้านต่างๆให้ชาวต่างประเทศรับรู้ข้อมูล จากที่คุณ Art47 และ อ.เทาชมพู สงสัยเรื่องการวางระยะถ่ายภาพนั้น ก็น่าจะเป็นตำแหน่งบนกำแพงวังหน้า ตำแหน่ง "ป้อมไพฑูรย์" ซึ่งมีความสูงกว่าระดับกำแพงวังและยังมีขาตั้งกล้องอีก ส่วนเรื่องมุมเอียงกี่องศานั้น การถ่ายภาพก็สามารถหมุนกล้องไปทิศที่ต้องการได้

มาดูว่าวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สวรรคต พ.ศ. ๒๔๒๘ และมีการเลิกตำแหน่งอุปราช และมีการตั้งตำแหน่งสยามมงกุฎราชกุมารขึ้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งเป็นเวลากว่า ๙ ปี ที่พื้นที่วังหน้า ยังไม่ได้ถูกรื้อปราบลงเป็นสนามหลวง ก็กินเวลามากอยู่


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 15:33
(http://www.forumthailandeinfo.com/index.php?action=dlattach;topic=101.0;attach=2212;image)

ทหารไทยจากเว็บฝรั่งเศสอีกรูปหนึ่งค่ะ  คนหน้าข้างซ้ายน่าจะเป็นทหาร คนขวาคงเป็นขุนนางพลเรือน(ชั้นผู้น้อย?)   ทุกคน เท้าหนังธรรมชาติทั้งหมด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 15:36

... ตำแหน่ง "ป้อมไพฑูรย์" ซึ่งมีความสูงกว่าระดับกำแพงวังและยังมีขาตั้งกล้องอีก ส่วนเรื่องมุมเอียงกี่องศานั้น การถ่ายภาพก็สามารถหมุนกล้องไปทิศที่ต้องการได้

ลืมไปว่ากำแพงวังหน้าล้ำมาถึงเกือบครึ่งท้องสนามหลวงปัจจุบัน   น่าจะถ่ายจากป้อมบนกำแพง
ส่วนเรื่องหมุนกล้องยังไม่เข้าใจ    แต่เอาเถอะ  ปล่อยไว้ก่อน ยังไม่ซัก


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 15:46
ได้มาอีก ๒ รูปให้ท่านผู้รู้ช่วยขยายความกันค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 16:09
อีกรูป


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 16:26
ได้มาอีก ๒ รูปให้ท่านผู้รู้ช่วยขยายความกันค่ะ

ภาพนี้เป็นภาพที่ตีพิมพ์ลงบนรูปยาซิกาแรต เป็นภาพโรงทหารหน้า ซึ่งมีรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างดังนี้

โรงทหารหน้า
ใน พ.ศ.๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า ทหารที่เหลือประจำรักษาพระนครนั้น มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอแก่การป้องกันบ้านเมืองในยามฉุกเฉินประกอบกับในปีนี้มีงานมหกรรมใหญ่หลายงาน เช่น งานฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี และงานพระเมรุเป็นต้น จึงโปรดให้รับสมัครคนเข้ารับราชการทหารในกรมทหารหน้าอีก ๕,๐๐๐ คน ทำให้เพิงพักสำหรับหลับนอนของทหารคับแคบ ต้องกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ ไม่สะดวกต่อการ
ควบคุมและฝึกอบรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ จัดสร้างโรงทหารหน้าเป็นการถาวรขึ้นที่ฉางหลวงเก่า ใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เลียบริมคลองหลอด ถึงสะพานช้างโรงสี โดยตกลงก่อสร้างเป็นแบบตึก ๓ ชั้น เพื่อบรรจุทหารให้ได้ถึง ๑ กองพลน้อย และได้ทำสัญญาจ้างนายกราซี เป็นผู้รับเหมา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๒๗ โดยมีรายละเอียดการก่อสร้าง คือ

ด้านหน้า (ทิศตะวันตก) เฉพาะตอนกลางที่เป็นมุข ๓ ชั้น ชั้นบนเป็นที่เก็บสรรพสาตราวุธ และพิพิธภัณฑ์ทหาร ชั้นกลางเป็นที่ประชุมนายทหาร ชั้นล่างเป็นที่ฝึกหัดการฟันดาบ

ตึกสามชั้นด้านขวา (ทิศเหนือ) ชั้นบนเป็นที่อยู่ของนายทหารและพลทหาร โดยแบ่งออกเป็นตอนๆ ละ ๑ กองร้อย ชั้นกลางเป็นที่ประชุมอบรมนายทหาร ชั้นล่างเป็นคลังเก็บครุภัณฑ์มีหน่วยต่างๆ ทหารปืนใหญ่ โรงพยาบาลทหาร โรงม้า โรงฝึกม้า ต่อจากตึก ๓ ชั้น ไปทางด้านเหนือได้ดัดแปลงโรงม้าเก่าให้เป็น ๒ ชั้น โดยให้ทหารม้าอาศัยอยู่ข้างบน

ตึกสามชั้นด้านซ้าย (ทิศใต้) จัดแบ่งแต่ละชั้นให้ทหารราบและทหารช่างอยู่ ปลายสุดของตึกสร้างเป็นหอนาฬิกา ชั้นล่างเป็นโรงงานของทหารช่าง ชั้นสองเป็นที่เก็บยุทธภัณฑ์ ชั้นสามเป็นถังเหล็กเก็บน้ำ ชั้นสี่เป็นหน้าปัดนาฬิกาเห็นได้สองด้าน ชั้นห้าเป็นทหารรักษาการณ์มีไฟฉายและโทรศัพท์พร้อม

ด้านหลัง (ทิศตะวันออก) มีสระน้ำให้ทหารอาบ ต่อจากสระมีฉางสำหรับเก็บข้าวสารตุนเอาไว้ให้ทหารกิน

เมื่อการก่อสร้างโรงทหารหน้าใกล้จะเสร็จเรียบร้อยนั้น เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายขอพระราชทานนามโรงทหารหน้า เพื่อจากรึกไว้ที่หน้ามุข ได้ทรงพระราชทานนามว่า โรงทหารหน้าและให้ระบุปีศักราชที่สร้างขึ้นไว้ด้วย โรงทหารแห่งนี้จึงมีนามว่า "โรงทหารหน้า" สิ้นค่าก่อสร้างเฉพาะตัวโรงทหาร ๗,๐๐๐ ชั่ง หรือเป็นเงิน ๕๒๐,๐๐๐ บาท เครื่องตกแต่งและเครื่องประกอบอีก ๑๒๕ ชั่ง หรือประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ร.ศ.๑๐๓ ตรงกับวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗  


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 31 ม.ค. 11, 16:33

ภาพนี้เป็นภาพที่ตีพิมพ์ลงบนรูปยาซิกาแรต เป็นภาพโรงทหารหน้า


โรงทหารหน้า ก็คือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบันนี้
แต่เท่าที่รู้ตอนนี้ไม่มีหอนาฬิกา รื้อเมื่อใดไม่ทราบได้

เคยเห็นรูปเต็มๆ อยู่เหมือนกัน ซึ่งคงไม่เหลือกำลังคุณไซมีส


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 16:39
ส่วนภาพต่อมา เป็นภาพลายเส้นจากหนังสือแนะนำสยามประเทศ โดยนาย Fournereau, Lucien 1894 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๗

ภาพลายเส้นนำเสนอ "New Road" หรือถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนตัดใหม่ในรัชกาลที่ ๔ ในภาพนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายอย่าง คือ

๑. รถรางครั้งแรกในสยาม ที่ใช้ม้าลาก ซึ่งเป็นการสัมปทานโดยชาวต่างชาติ
๒. ตึกแถวลักษณะอย่างจีน มีการข้องใส่ไก่ วางเกะกะอยู่
๓. มีรถลาก มีหาบเร่ขายของ เป็นวิถีชีวิตในอดีต
๔. สองข้างถนน มีการวางสายระบบไฟฟ้าเกิดขึ้นแล้ว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 16:44

ภาพนี้เป็นภาพที่ตีพิมพ์ลงบนรูปยาซิกาแรต เป็นภาพโรงทหารหน้า


โรงทหารหน้า ก็คือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบันนี้
แต่เท่าที่รู้ตอนนี้ไม่มีหอนาฬิกา

ในระยะแรกโรงทหารหน้านี้ ใช้เป็นสถานที่สำหรับทหารต่างๆ ในกรมทหารหน้า จนกระทั่งได้มีการตราพระราชบัญญัติการทหาร ให้รวมทหารบก และทหารเรือเข้าด้วยกัน และยกฐานะกรมยุทธนาธิการเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ซึ่งได้ตั้งกองบัญชาการอยู่ในโรงทหารแห่งนี้ด้วย โรงทหารแห่งนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นศาลายุทธนาธิการ

ครั้นถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕ ได้มีการกำหนดหน้าที่กระทรวงกลาโหมเป็นกระทรวงราชการทหารตามตำราโบราณ จึงได้ย้ายที่ว่าการกระทรวงกลาโหมจากศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวังมาอยู่ที่ตึกหลังกลางด้านหน้าของศาลายุทธนาธิการแล้วได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมดังจะเห็นได้จากอักษรที่เขียนอยู่หน้ามุขด้านตะวันตก โดยลบโรงทหารหน้าออกไป

อาคารกระทรวงกลาโหม เป็นอาคารใหม่ ๓ ชั้น ทาสีไข่ไก่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านถนนสนามไชย หน้าจั่วทำเป็นรูปหน้าจั่วทรงโรมัน ตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นรูปช้างอยู่ภายในกงจักรขนาบข้างด้วยคชสีห์ และราชสีห์ ถือจักร ถัดจากรูปช้างขึ้นไปเป็นตราพระเกี้ยวปิดทอง ส่วนใต้รูปช้างลงมาเป็นรูปชายแพรทาสีม่วงคราม สลักเป็นภาษาบาลี ว่า “วิเชตวา พลวาภูป รฎเฐ สาเธตุ วุฑฒิโย” มีความหมายว่า “ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อมด้วยทวยทหาร ทรงมีชัยชนะยังความเจริญให้สำเร็จในแผ่นดินเทอญ”


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 17:03
^
ได้คะแนน 200 จากคะแนนเต็ม 100 ค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 19:22
เอารูปจากเว็บฝรั่งเศสมาฝากให้ดูกัน   คงเป็นขุนนางไทยสมัยรัชกาลที่ ๕  ถ่ายโดยนายปาวี


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: Baitoey ที่ 31 ม.ค. 11, 20:04
มูโอต์ไปเห็นนครวัตเข้าก็แทบเป็นลมเพราะความตื่นเต้น เมื่อรีบกลับบ้านไปรายงานสิ่งที่ตนพบเห็น และมีโอกาสเอาภาพที่ตนเองเขียนขึ้นทั้งหมดไปแสดงที่กรุงปารีส คราวนี้คนฝรั่งเศสเลยจะเป็นลมมั่งเพราะความโลภ อยากจะได้เขมรมาเป็นเมืองขึ้น  แล้วก็หาเรื่องชิงเอาเขมรไปจากไทยจนได้

เรียน อาจารย์ Navarat C.

หนูคิดว่ามูโอต์ไม่มีโอกาสเอาภาพที่ตนเองเขียนขึ้นไปแสดงที่กรุงปารีสหรอกค่ะ
เพราะมูโอต์ตายที่ริมแม่น้ำคาน ห่างจากตัวหลวงพระบางประมาณสิบกิโลเมตรค่ะ

มูโอต์จากฝรั่งเศสมาสำรวจสยามและอินโดจีน และไม่ได้กลับไปฝรั่งเศสอีกเลย

การสำรวจสยามนั้น เขาใช้กรุงเทพฯ เป็นฐาน ไปแล้วกลับมาสู่กรุงเทพฯ
เช่น กรุงเทพฯ-อยุธยา-พระบาท-โคราช
กรุงเทพ-เพชรบุรี
กรุงเทพฯ-จันทบุรี-พระตะบอง-กัมปงโสม
ทริปสุดท้ายทีไปแล้วไปลับ คือกรุงเทพฯ-ลานช้าง



ที่โลกตะลึงคือเมื่อแกสิ้นแล้ว ลูกหาบได้ขนของใช้ส่วนตัวและไดอารี ของมูโอต์มาให้กงศุลฝรั่งที่กรุงเทพฯ
เพื่อส่งต่อให้น้องชายชื่อชาร์ล มูโอต์ ซึ่งชาร์ลได้ตีพิมพ์หนังสือการสำรวจสยามและอินโดจีน

จุดนี้จุดประกายให้ชาวฝรั่งเศสเเละโลกมาทำความรู้จักกับอินโดจีน


อย่างไรก็ตาม มูโอต์มิได้เป็นฝรั่งคนเเรกที่ค้นพบ นครธม/นครวัตร หรอกค่ะ




กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 20:11
เอารูปจากเว็บฝรั่งเศสมาฝากให้ดูกัน   คงเป็นขุนนางไทยสมัยรัชกาลที่ ๕  ถ่ายโดยนายปาวี

สังเกตุว่าชายไทยที่เป็นขุนนาง ข้าราชการชั้นสูงแถวอีสาน ลาว เขมร ที่ผมมีภาพเก่านั้นสังเกตุได้ว่า จะไว้เล็บยาว หรือไม่ก็มีการเจียนเล็บให้แหลม ยาว แบบนี้ก็จะเปิบข้าวด้วยมือกันอย่างไร  ???


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 11, 20:19
เขมร - ลาว


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 22:40
หลักฐานว่าผู้ชายไทยไว้เล็บยาวมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์

นางพิมตัดพ้อต่อว่าพลายแก้ว

เพียงจับมือถือแขนก็แสนเจ็บ           
คมเล็บเลือดเหยาะลงเผาะผอย
แต่หยอกกันสารพันเป็นริ้วรอย
เชิญถอยไปเสียเถิดไม่ไยดี ฯ

พลายแก้วตอบว่า

ทำเล็บหักเหมือนไม่รักพี่จริงจัง
ถึงเงินชั่งหนึ่งหารักเท่าเล็บไม่
เข้าชิดสะกิดพิมยิ้มละไม
อุ้มแอบอกไว้ด้วยปรีดา

รูปสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ  ไว้เล็บยาวเหมือนกัน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 09:09
มีอีก ๒-๓ อย่างที่พออ่านได้จากภาพขุนนาง ๓ คน 

๑  แฟชั่นสมัยนั้นคือนาฬิกาพก   มองเห็นสายนาฬิกาโยงออกมานอกเสื้อ  ของขุนนางหนุ่มทั้งสอง  แต่ท่านผู้ชราตรงกลางคงพ้นวัยจะตามแฟชั่นไปแล้ว  เลยไม่มี
นึกถึงเพลง...คุณหลวง คุณหลวง อยู่กระทรวงยุทธนา ใส่เสื้อราชปะแตน ทำไมไม่แขวนนาฬิกา...แสดงว่าขุนนางเขาต้องมีสายนาฬิกาพก เหมือนข้าราชการชายสมัยนี้มีนาฬิกาข้อมือ
๒  การแต่งกาย เป็นทางการ  ไม่เคร่งครัดว่าจะต้องกลัดกระดุมครบ   คนขวามือเปิดให้เห็นพุงตามสบายทีเดียว 
๓  ทุกคนถือไม้เท้า  เหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ประกอบที่จำเป็น    ไม้เท้านี้คงจะตามฐานะ ไม่ใช่ตามตำแหน่ง  เพราะท่านคนแก่ตรงกลางซึ่งตำแหน่งใหญ่กว่า  (เพราะนั่ง ขณะที่อีกสองคนไม่มีสิทธิ์นั่งเคียงข้าง)  มีไม้เท้าเรียบๆ   ส่วนขุนนางหนุ่มคนขวา ไม้เท้าหรูหราน่าทึ่ง
คงจะรวย หรือเป็นมรดกจากเจ้าคุณพ่อผู้ใหญ่โต


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 09:17
อีกรูปจากผลงานของปาวี   
รูปนี้น่าจะเป็นนายกับบ่าว     แบบคุณชายกับทนายหน้าหอ อะไรแบบนั้น    บ่าวคนนี้น่าจะได้รับเลือกให้ติดตามนายไปไหนมาไหน เพราะแต่งกายเรียบร้อย สวมเสื้อสีขาวดูสะอาดเรียบร้อย  ผ้านุ่งเป็นผ้าพื้น เรียบร้อยเช่นกัน
ส่วนตัวคุณชายผู้นั่งเก้าอี้น่าจะเป็นหนุ่มนำแฟชั่นในยุคนั้น  เสื้อคับ  กลัดกระดุมเรียบมิดชิดทุกเม็ด มีแฟชั่นนาฬิกาพกและผ้าเช็ดหน้าเหน็บกระเป๋าทิ้งชาย  ถุงน่องรองเท้าขาว   
นึกไปถึงคุณชิต ลูกชายเจ้าคุณพ่อของแม่พลอย   
โต๊ะข้างตัวคลุมด้วยผ้าฝรั่งแน่นอน  เป็นริ้วสีบนพื้นขาว ทันสมัยมาก   หมวกที่วางบนโต๊ะ เดาว่าเป็นหมวกหางนกยูง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 09:22
คุณ siamese  ดิฉันซูมเข้าไปที่มือ  พบว่าทั้งนายและบ่าว ไว้เล็บยาวแบบเดียวกัน   แสดงว่าไม่ใช่แฟชั่นเฉพาะชายสูงศักดิ์  ชายชาวบ้านทั่วไปก็ไว้เล็บยาว
แต่จะด้วยเหตุผลอะไร   ก็ต้องเดาทั้งนั้น  เลยขอให้ท่านทั้งหลายเดากันเองดีกว่าค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 09:53
ภาพทนายหน้าหอ กับขุนนาง คลาสิกมากเลยครับ เรื่องการไว้เล็บยาวและเจียนให้แหลมๆ ดูเหมือนลักษณะของพลูจีบ เลยนะครับ คงต้องการให้ดูไกลๆเป็นกลมกลึง ยาวแหลมยังกับพลูจีบ

ยังมีอีกภาพหนึ่ง เป็นภาพขุนนาง ๒ ท่านสวมเสื้อราชประแตนสีขาว สะอาดตา ท่านหนึ่งคงเป็นข้าราชการพลเรือน (ถือหมวกขนนกยูง) อีกท่านหนึ่งคงเป็นข้าราชการทหาร (ถือหมวกเฮลเมท) กระดุม ๕ เม็ด นุ่งโจง สวมถุงน่อง รองเท้าหนัง ถือไม้เท้า ไว้หนวดพองาม ครบสูตรสมบูรณ์ ดูสง่างามยิ่งนัก ดูประหนึ่งว่า นายปาวี ( คนที่ ๒ จากขวาภาพ) จะให้เกียรติอยู่ในที โดยกุมมือ ตัวตรง

ภาพนี้ระบุว่าถ่ายที่ Muong Nam en 1894 ด้านหลังจะเห็นกำแพงเมืองก่ออิฐ พร้อมบังใบ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.พ. 11, 10:04

เห็นแต่หมวกเฮ็ลเมตทำจากไม้ก้อกหุ้มผ้าหรือหนัง  และ หมวกสักหลาดมีขายที่เฮ่งจ๋วนในสมัยต่อมา


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 10:07
ท่านที่ยืนทางขวาสุดของภาพที่สันนิษฐานว่าเป็นายทหาร
เหมือนจะเคยพบพานที่ไหนมา ???

จะลองเข้าไปค้นว่าใช่ท่านเดียวกันหรือไหม


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 10:20
ท่านที่ยืนทางขวาสุดของภาพที่สันนิษฐานว่าเป็นายทหาร
เหมือนจะเคยพบพานที่ไหนมา ???

จะลองเข้าไปค้นว่าใช่ท่านเดียวกันหรือไหม

กระนั้นเชียวหรือคุณอาร์ท47 ลองขยายให้ชมกัน จะได้ระลึกได้  ::)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 10:33
คนเดียวกับในรูป 197  คนขวามือ หรือเปล่าคะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 10:42
คนเดียวกับในรูป 197  คนขวามือ หรือเปล่าคะ

ไม่น่าจะใช่นะครับอาจารย์เทา

คห 197 ผมว่าน่าจะเป็นข้าราชการพื้นเมือง ประเภทกรมการเมืองทำนองนั้น
ส่วนคนที่สงสัย ถ้าท่านนายทหารจริงก็ไม่น่าจะเป็นชาวพื้นเมือง
แต่น่าจะเป็นคนบางกอกที่ถูกส่งไปรักษาการตามชายเขตพระราชอาณาจักรมากกว่า
อีกอย่างดูท่านนายทหารก็รูปร่างสมส่วน ไม่เหมือน คห 197 ที่ลงพุงจนกลัดกระดุมไม่หมด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 10:45
นำมาฝากอีกรูปค่ะ  รูปนี้น่าจะเป็นขุนนางไกลปืนเที่ยง  ที่ยืนเรียงแถวอยู่นั่นเป็นทหารระดับพลทหารหรืออย่างไร


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 11:04
^
ดูภาพแล้วเหมือนแต่งกายกันไม่เรียบร้อยเลยนะครับ แขนยาวกลัดกระดุมกันบ้าง ไม่กลัดกระดุมกันบ้าง คอปกก็พับไม่เรียบร้อย ส่วนชายกางเกงบางคนก็รัด บ้างก็ไม่ร้ด แต่ทั้งหมดนี้ยังคงมีแบบฟอร์มคือ
๑. สวมหมวกทรงหม้อตาล มีแถบหนังคาด
๒. เสื้อมีปก เหมือนจะมีบ่า (เห็นไม่ชัด)
๓. เสื้อผ่าหน้าถึงหน้าอก ติดกระดุมเม็ดโตๆ ๒ เม็ด
๔. รัดเข็มขัด (คงเป็นหนัง) หัวเข็มขัดโลหะวงกลม
๕. กางเกง คงไม่มีซิป คงเป็นกระดุมและผูกเชือก ตัวหลวมไม่เข้ากับร่างกาย
๖. เท้าเปลือย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 11:34
มีหลังไมค์จากสหายรักส่งว่า ภาพบุคคลที่คุณอาร์ท สงสัยคล้ายเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ เลยนำภาพในช่วงอายุใกล้เคียงกันนำมาเทียบกันให้ชม ส่วนเรื่องสถานที่ Muong Nam en ที่คุณอาร์ทสงสัย จะดูในแผนที่ให้ว่าพบหรือไม่นะครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 01 ก.พ. 11, 12:04
ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ วันนี้ เวลา 09:53
 อ้างถึง 

--------------------------------------------------------------------------------
ภาพทนายหน้าหอ กับขุนนาง คลาสิกมากเลยครับ เรื่องการไว้เล็บยาวและเจียนให้แหลมๆ ดูเหมือนลักษณะของพลูจีบ เลยนะครับ คงต้องการให้ดูไกลๆเป็นกลมกลึง ยาวแหลมยังกับพลูจีบ

ยังมีอีกภาพหนึ่ง เป็นภาพขุนนาง ๒ ท่านสวมเสื้อราชประแตนสีขาว สะอาดตา ท่านหนึ่งคงเป็นข้าราชการพลเรือน (ถือหมวกขนนกยูง) อีกท่านหนึ่งคงเป็นข้าราชการทหาร (ถือหมวกเฮลเมท) กระดุม ๕ เม็ด นุ่งโจง สวมถุงน่อง รองเท้าหนัง ถือไม้เท้า ไว้หนวดพองาม ครบสูตรสมบูรณ์ ดูสง่างามยิ่งนัก ดูประหนึ่งว่า นายปาวี ( คนที่ ๒ จากขวาภาพ) จะให้เกียรติอยู่ในที โดยกุมมือ ตัวตรง

ภาพนี้ระบุว่าถ่ายที่ Muong Nam en 1894 ด้านหลังจะเห็นกำแพงเมืองก่ออิฐ พร้อมบังใบ

--------------------------------------------------------------------------------
 
 

ท่านที่สวมเสื้อขาวยืนที่ ๒ จากซ้าย คือ พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง  วิรศิริ) ครับ  ภาพนี้ไม่แน่ใจว่าจะถ่ายเมื่อยังเป็นพระสฤษดิพจนกร ข้าหลวงสำรวจทำแผนที่ในสมัยที่พระวิภาคภูวดล (เจมส์  แมคคาร์ธี) เป็นเจ้ากรมทำแผนที่  แต่ดูจากลักษณะการแต่งตัวแล้วน่าจะถ่ายเมื่อเป็นพระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย  คราวขึ้นไปตรวจจัดราชการในหัวเมืองมณฑลอิสาณ  ภายหลังจัดระเบียบปกครองแบบมณฑลเมศาภิบาลในส่วนกลางแล้วเสร็จ  ส่วนท่านที่สวมเสื้อขาวติดอินทรธนูตามยาวบ่านั้น  เป็นนายทหารแน่นอนครับ  เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๗ นั้น  นายทหารพลรบใช้อินทรธนูตามยาวบ่า  ส่วนนายทหารผู้ช่วยพลรบและข้าราชการพลเรือนติดอินทรธนูขวางบ่าที่ปลายบ่า


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 12:17

ท่านที่สวมเสื้อขาวยืนที่ ๒ จากซ้าย คือ พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง  วิรศิริ) ครับ  ภาพนี้ไม่แน่ใจว่าจะถ่ายเมื่อยังเป็นพระสฤษดิพจนกร ข้าหลวงสำรวจทำแผนที่ในสมัยที่พระวิภาคภูวดล (เจมส์  แมคคาร์ธี) เป็นเจ้ากรมทำแผนที่  แต่ดูจากลักษณะการแต่งตัวแล้วน่าจะถ่ายเมื่อเป็นพระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย  คราวขึ้นไปตรวจจัดราชการในหัวเมืองมณฑลอิสาณ  ภายหลังจัดระเบียบปกครองแบบมณฑลเมศาภิบาลในส่วนกลางแล้วเสร็จ  ส่วนท่านที่สวมเสื้อขาวติดอินทรธนูตามยาวบ่านั้น  เป็นนายทหารแน่นอนครับ  เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๗ นั้น  นายทหารพลรบใช้อินทรธนูตามยาวบ่า  ส่วนนายทหารผู้ช่วยพลรบและข้าราชการพลเรือนติดอินทรธนูขวางบ่าที่ปลายบ่า

ยกมาให้ดูกันอีกครั้ง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16838;image)

เส็ง วิรศิริ   = คุณ V_Mee คงหมายถึง เส็ง วิริยศิริ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 14:59
จากหนังสือการปฏิรูปการทหารสมัยรัชกาลที่ ๕ มีภาพนี้อยู่ด้วย และบรรยายใต้ภาพว่า

"ทหารรักษาราชการหัวเมืองในภาคอีสาน ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๔๓๖ ซึ่งได้จัดตั้งกองทหารเมืองจัมปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒"


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 01 ก.พ. 11, 15:15
ชุดคล้ายทหารเรือ แต่มีปืนใหญ่บนหลังช้าง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 15:28
สำหรับภาพนายทหารที่ คุณเทาชมพูนำมาลงไว้ ก็ขอนำมาลงและบอกรายละเอียดให้ทราบดังนี้

"เป็นภาพนายสิบเอกแต่งครึ่งยศ สมัย พ.ศ. ๒๔๑๔"


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 15:31
"พลทหารแต่งเต็มยศ พ.ศ. ๒๔๑๕"


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 18:49
รูปนี้มาจากภาพที่ปาวีบันทึกไว้     จำไม่ได้ว่าเคยลงมาก่อนหรือยัง   แม่น้ำเจ้าพระยาส่วนไหนคะ  ใครทราบบ้าง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 20:52
(http://rpmedia.ask.com/ts?u=/wikipedia/commons/thumb/a/a1/Siamese_Army_in_Laos_1893.jpg/120px-Siamese_Army_in_Laos_1893.jpg)

รูปนี้ไปเจอคำบรรยายในเว็บภาษาอังกฤษ ว่า Siamese  Army in Laos 1893


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 21:01
รูปนี้มาจากภาพที่ปาวีบันทึกไว้     จำไม่ได้ว่าเคยลงมาก่อนหรือยัง   แม่น้ำเจ้าพระยาส่วนไหนคะ  ใครทราบบ้าง

ถ้าให้ตีความจากภาพจะเห็นภาพท้องน้ำเจ้าพระยาอย่างกว้างๆ ผู้ถ่ายคงเดินอยู่บนโป๊ะ ถ่ายขึ้นไปยังทิศเหนือ
๑. ทั้งนี้ดูจากการโค้งของแม่น้ำ ด้านซ้ายเป็นที่งอกโค้งออก ด้านขวาเว้า
๒. เมื่อขยายภาพเข้าไปยังกลางภาพ ไม่พบพระเจดีย์ หรือ สิ่งก่อสร้างอย่างหลังคาวัด มีแต่หลังคาใหญ่ๆสีขาว
๓. ตรงที่ซุมให้ดู จะเห็นกลุ่มเรือจำนวนมาก ซึ่งมีเสากระโดงจอดริมตลิ่งจำนวนมาก ซึ่งคงเป็นเรือขนถ่ายสินค้าขึ้นท่า ซึ่งกะไว้ควรจะเป็น ช่วงตั้งแต่ตลาดน้อยไปจนถึงท่าราชวงศ์

ลองกำหนดระยะควรจะน่าจะถ่ายในช่วงบริเวณสถานกงสุลฝรั่งเศส น่าจะเหมาะสมที่สุด


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 21:21
ขอบคุณคุณ siamese ด้วยภาพนี้   เรือรบ  เลอ ลูแตง( Le Lutin)  ที่ฝรั่งเศสส่งเข้ามาลอยลำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อเริ่มเหตุการณ์ร.ศ. 112


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 21:41
ไปค้นภาพเก่าที่หนึ่ง ระเบียงไม้ระแนงเหมือนอย่างโรงแรมโอเรียนเต็ล + ต้นไม้ใบใหญ่ ซึ่งมีสภาพใกล้เคียงกัน น่าจะเป็นไปได้สูง แถมยังมีโป๊ะอยู่มุมนี้พอดี ถ่ายรูปออกมาได้ใกล้เคียงกับที่ผมประมาณการไว้  ;) ;) ;)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 21:52
ผมก็คิดว่าเป็นรูปถ่ายที่ท่าเรือโอเรียนเต็ลครับ

เพราะถ้าถ่ายที่กงสุลฝรั่งเศสจริงๆ แล้ว
ก็ย่อมจะติดเรือที่จอดเสียภาษีอยู่หน้า ศุลกสถาน บ้าง อย่างน้อยก็ลำ สองลำ
(ตั้งอยู่ติดกันยังไงก็ต้องเห็น)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 21:58
ขอบคุณคุณ siamese ด้วยภาพนี้   เรือรบ  เลอ ลูแตง( Le Lutin)  ที่ฝรั่งเศสส่งเข้ามาลอยลำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อเริ่มเหตุการณ์ร.ศ. 112

ขอบคุณครับ อ.เทาชมพู  ลองดูภาพนี้สักหน่อย เป็นภาพลายเส้นการ์ตูนล้อวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เป็นภาพทหารฝรั่งเศสในชุดทหาร ถือดาบปลายปืน เข้าแทงตุ๊กตาไม้ แต่งกายแบบโบราณ ๒ ตัว ตัวหนึ่งล้มไปแล้ว อีกตัวถูกแทงที่หน้าอก
ตัวตุ๊กตานุ่งผ้าโจงแบบโบราณ สวมหมวกมีคำว่า "Siam" พกดาบยาว ประหนึ่งว่าเป็นทหารโบราณ สู้เขาไม่ได้


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 11, 22:22
ชุดคล้ายทหารเรือ แต่มีปืนใหญ่บนหลังช้าง

ภาพนี้เป็นภาพช้างบรรทุกปืนใหญ่ของกำลังพลเกณฑ์ มณฑลพิษณุโลก กำลังมุ่งหน้าสู่นครหลวงพระบาง ในการปราบฮ่อ ซึ่งมีเครื่องแบบทหารเรือเข้าร่วมด้วย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 22:36
คุณไซมีส

ช้างตัวฝั่งขวาของภาพนั่น บนกูบบรรทุกอะไรครับ ???
ปืนกล (แกตลิงตัน) หรืออะไร


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 22:45
ขอบคุณคุณ siamese ด้วยภาพนี้   เรือรบ  เลอ ลูแตง( Le Lutin)  ที่ฝรั่งเศสส่งเข้ามาลอยลำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อเริ่มเหตุการณ์ร.ศ. 112

ขอบคุณครับ อ.เทาชมพู  ลองดูภาพนี้สักหน่อย เป็นภาพลายเส้นการ์ตูนล้อวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เป็นภาพทหารฝรั่งเศสในชุดทหาร ถือดาบปลายปืน เข้าแทงตุ๊กตาไม้ แต่งกายแบบโบราณ ๒ ตัว ตัวหนึ่งล้มไปแล้ว อีกตัวถูกแทงที่หน้าอก
ตัวตุ๊กตานุ่งผ้าโจงแบบโบราณ สวมหมวกมีคำว่า "Siam" พกดาบยาว ประหนึ่งว่าเป็นทหารโบราณ สู้เขาไม่ได้

เห็นแล้วสะเทือนใจ มากกว่าขำ :-\

นำรูปแม่น้ำเจ้าพระยามาให้คุณ siamese และท่านอื่นๆช่วยดูอีกภาพ  มีคำบรรยายใต้ภาพว่า
'Missions Salesiennes: SIAM II BANG NOK KHUEK ?
Le procession de la Fete-Dieu sur le fleuve Menam'

ขบวนแห่ไม้กางเขน ไปตามแม่น้ำ

SIAM II BANG NOK KHUEK  = บางนกแขวก?


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 22:52
บางนกแขวก อัมพวา สมุทรสงคราม

มีชุมชนชาวคริสต์อยู่แถวๆ อัมพวาครับ อยู่กันมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 แล้ว
มีโบสถ์ใหญ่สวยเด่นชื่อ "อาสนวิหารแม่พระบังเกิด" ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางนกแขวก
สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2433 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ชื่อ บาทหลวง เปาโล ซัลมอน

และถ้าเป็นบางนกแขวกจริง แม่น้ำที่เห็นก็คงเป็น แม่น้ำแม่กลอง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 11, 23:04
พอเห็นแม่น้ำ ใจก็นึกถึงเจ้าพระยาโดยอัตโนมัติ   ลืมแม่กลองไปสนิท
เอารูปจากเว็บฝรั่งเศสมาให้คุณ Art47    รูปนี้คนวาดคงอาศัยคำบอกเล่า ไม่เคยเห็นสยาม  จึงสร้างภาพว่าคนไทยกราบไหว้บูชาช้างเผือก
แม้แต่พระสงฆ์ก็กราบไหว้ชายชุดขาว  ซึ่งดูไม่ออกว่าหมายถึงใคร  แต่งตัวคล้ายๆบาทหลวงแต่สวมชฎา


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 ก.พ. 11, 23:13
เอารูปจากเว็บฝรั่งเศสมาให้คุณ Art47    รูปนี้คนวาดคงอาศัยคำบอกเล่า ไม่เคยเห็นสยาม  จึงสร้างภาพว่าคนไทยกราบไหว้บูชาช้างเผือก
แม้แต่พระสงฆ์ก็กราบไหว้ชายชุดขาว  ซึ่งดูไม่ออกว่าหมายถึงใคร  แต่งตัวคล้ายๆบาทหลวงแต่สวมชฎา

ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงนะครับอาจารย์เทา
แม้จะไม่ถึงกับยกมือไหว้กราบกรานเช่นในภาพ แต่ชาวสยามเคารพก็ช้างเผือกมากยิ่ง
ดูอย่างเวลาช้างเผือกในสมัยก่อนอาบน้ำสิครับ ยังต้องมีสัปทน บังสูรย์กั้น ดีไม่ดีมีจ่าปี่จ่ากลองประโคมซ้ำ
กินน้ำ กินหญ้า ก็ใส่พานทอง พานเงินกันเชียว

เห็นพระแล้วนึกถึงพระวัดเส้าหลิน เห็นชายชุดขาว แล้วนึกถึงพระฤาษีดาบสไปเลยครับ
ควาญช้างก็โพกผ้าอย่างอินเดีย
ท่าทางคนวาดจะจับรวมทั้งจีนทั้งอินเดียเลย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.พ. 11, 07:43
พอเห็นแม่น้ำ ใจก็นึกถึงเจ้าพระยาโดยอัตโนมัติ   ลืมแม่กลองไปสนิท
เอารูปจากเว็บฝรั่งเศสมาให้คุณ Art47    รูปนี้คนวาดคงอาศัยคำบอกเล่า ไม่เคยเห็นสยาม  จึงสร้างภาพว่าคนไทยกราบไหว้บูชาช้างเผือก
แม้แต่พระสงฆ์ก็กราบไหว้ชายชุดขาว  ซึ่งดูไม่ออกว่าหมายถึงใคร  แต่งตัวคล้ายๆบาทหลวงแต่สวมชฎา

ศิลปินผู้สร้างภาพ นึกมโนภาพว่า "สยาม" เป็นอย่างไร ผู้คนแต่งตัวอย่างไร? ไม่เคยเห็นมาก่อน เลยผสมโรงทั้งจีน ทั้งแขก (ที่เคยเห็นทางอินเดียขี่ช้าง) ผสมกับอาคารยอดแหลม แถมยังประเทศนี้ต้องใส่ชฎายอดแหลมๆด้วย จึงจัดแจงสร้างภาพผสมออกมาอย่างที่เห็น

สำหรับช้างเผือก จะมียศศักดิ์ตำแหน่ง ดังนั้นจึงเป็นที่เคารพตามฐานานุศักดิ์ แต่ธรรมเนียมต่างประเทศไม่เข้าใจ เห็นภาพนี้แล้วนึกถึงภาพที่ราชทูตลาลูแบร์ ได้ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือของท่าน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.พ. 11, 09:16
เรายกย่องช้างเผือก  แต่ไม่ถึงขั้นลงหมอบกราบ เวลาช้างเดินไปไหนมาไหน  ;D
 
ภาพใน # 231 น่าจะวาดขึ้นจากที่มา คือภาพเก่าของลาลูแบร์
ดูฉากหลังในภาพ  ทางซ้ายมีเค้าๆพระปรางค์วัดอรุณ แต่ยอดด้วนผิดรูปผิดร่าง   ส่วนทางขวา มีเค้าพระที่นั่งจักรี
ช่วยกันดูหน่อยนะคะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 02 ก.พ. 11, 09:33
ภาพวาดของลาลูแบร์นั้น

ผมว่าเหล่าข้าราชบริพารไม่ได้หมอบกราบช้างเผือกนะครับ
แต่น่าจะถวายบังคมสมเด็จพระนารายณ์ที่ทรงพระคชาธารอยู่มากกว่า

ส่วนภาพที่สีสันสวยงาม
ผู้วาดคงนึกว่าขนนางหมอบกรานช้างเผือก
จึงสื่อให้เป็นเช่นนั้น อย่างคุณไซมีสบอก

พระปรางค์วัดอรุณที่อาจารย์เทาว่า ผมเห็นว่าคล้ายอยู่หลายส่วน
แต่ก็บิดเบือนแปลงรูปตามจินตการฝรั่ง
จนใกล้ๆ จะเหมือนกับหอคอยแห่งบาบิโลน (คงเอามาเป็นต้นแบบทีเดียว)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.พ. 11, 09:43
ดูฉากหลังในภาพ  ทางซ้ายมีเค้าๆพระปรางค์วัดอรุณ แต่ยอดด้วนผิดรูปผิดร่าง   ส่วนทางขวา มีเค้าพระที่นั่งจักรี
ช่วยกันดูหน่อยนะคะ

ใช่ครับ สิ่งก่อสร้างด้านซ้ายมือ จงใจทำอย่างพระปรางค์วัดอรุณ แต่ยอดหายไป ส่วนทางขวาก็คล้ายๆพระที่นั่งจักรี เนื่องจากมีช่องหน้าต่างยาวๆๆ เรียงชิดกันก็คล้ายครับ

แต่ดูโดยรวมๆแล้ว ช้างที่แขกโพกผ้านำมานี้ คล้ายๆบรรยากาศงานแห่พระบรมธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกาเลยนะครับ เนื่องจากช้างมีการตกแต่งประดับประดา ผ้าคลุม โซ่คล้องงาช้าง วัสดุยอดแหลมบนหลังช้างและหัวช้าง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.พ. 11, 09:49
คุณไซมีส

ช้างตัวฝั่งขวาของภาพนั่น บนกูบบรรทุกอะไรครับ ???
ปืนกล (แกตลิงตัน) หรืออะไร

ใช่ครับ ปืนแก็ตลิ่งรุ่นแรกนำมาใช้ในสมัย ร.๕  เป็นรุ่นวางบน ๓ ขา   ผลิตโดยบริษัท แก็ตลิ่ง (Gatling Gun Company , Connecticut USA) ในอเมริกา  (ดูภาพตั้งบนหลังช้าง)

นายแก็ตลิ่ง ( Gatling)  ชาวอเมริกัน ประดิษฐ์ปืนกลในชื่อของเขาสำเร็จก็เพราะในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน  ได้มีการนำปืนใช้กระสุนปลอกโลหะ ชนวนริม ที่ทันสมัยมาใช้อย่างแพร่หลาย   จึงง่ายต่อระบบการป้อนกระสุนจากแม็กกาซีน  และปืนแก๊ตลิ่งกระบอกแรกใช้ระบบมือหมุนเป็นกลไกให้ปืนหลายลำกล้องนี้หมุนอยู่บนแกนเดียวกัน เพื่อ ขึ้นลำเลื่อนและลั่นไกออกไปอย่างต่อเนื่อง ในอัตราเร็วถึง ๖๐๐ นัดต่อนาที อันเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบอื่นๆ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.พ. 11, 10:37
ขยายภาพปืนทั้ง ๓ กระบอกให้ดู  เผื่อคุณ siamese กับคุณ art จะอธิบายเพิ่มเติม


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.พ. 11, 11:22
ขยายภาพปืนทั้ง ๓ กระบอกให้ดู  เผื่อคุณ siamese กับคุณ art จะอธิบายเพิ่มเติม

สิ่งที่ภาพนี้นำเสนอและทุกๆท่านสังเกตุมาเสมอ เป็นภาพกระบวนช้างบรรทุกปืนใหญ่ อาวุธยุทโธปกรณ์ของกำลังพลเกณฑ์ มณฑลพิษณุโลก กำลังมุ่งหน้าสู่นครหลวงพระบาง ในการปราบฮ่อเมื่อพ.ศ. ๒๔๑๘ สิ่งที่โดดเด่นกว่าเพื่อนคือ "ปืนใหญ่หลังช้าง"

ปืนใหญ่หลังช้าง เริ่มเข้าประจำกองทัพของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ แล้ว โดยอ้างถึงหนังสือที่ระลึกวันสถาปนากระทรวงกลาโหมว่า "รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า บ้านเมืองเจริญขึ้นแล้ว ปืนใหญ่รักษาพระนครก็ยังมีอยู่น้อย จึงโปรดให้ พณฯ หัวเจ้าท่าน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สั่งปืนกระสุน ๘ นิ้ว ๑๒ นิ้ว เข้ามาอีก  รวมถึงปืนหลังช้าง ๔๐ กระบอกๆ ละ ๖ ตำลึง ๑ บาท"

ครั้นถึงคราวปราบฮ่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ปืนใหญ่หลังช้างก็ได้นำเข้าร่วมรบ โดยลักษณะของปืนใหญ่ยาว ๑๐๒.๖ ซม. ปากกระบอกปืนกว้าง ๖.๔ ซม. สร้างจากเหล็กหล่อ ไม่มีเกลียว เป็นประเภทลำกล้องเรียบ ด้านล่างมีเพลายื่นออกมา ๒ ข้างติดกับขาหยั่งปักลงแท่นไม่ให้ปืนเคลื่อนเวลายิง

ปืนสามารถกระดกขึ้น - ลง รวมทั้งส่ายลำกล้อง ซ้าย-ขวาได้ ส่วนการยิงทำได้ด้วยการบรรจุดินดำและดินขับ และลูกกระสุนทางปากลำกล้อง และพลยิงจะจุดไฟที่รังเพลิงด้านท้ายกระบอก ประสิทธิภาพการยิงอยู่บนที่สูง ทำให้ทำลายข้าศึกหลังป้อม หลังกำแพงได้ เคลื่อนที่ด้วยช้าง และสามารถถอดประกอบได้ ซึ่งสังเกตุจากล้อเกวียนทั้ง ๒ ข้าง

ปืนประเภทนี้เน้นการโจมตีหลังป้อม หลังกำแพง มากกว่าที่จะเน้นยิงด้วยความแม่นยำสูง แต่เคลื่อนที่เร็ว มีอำนาจการทำลายได้เรื่อยๆ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.พ. 11, 11:38
"แล้วถึงกองขุนสิทธิ์ติดกระชั้น       มีซายัน (Sergeant) ควงกระบอกคล่องหนักหนา
ทหารแถวสองข้างหนทางมา          ล้วนถืออาวุธสิ้นดูภิญโญ
แล้วถึงคอโปราล (Coporal) ถมดูคมขำ     ขี่ม้านำทหารประมาณโหล
คุมปืนแคทะลิ่งกัน สนั่นโต้    มีเดโชยิ่งกว่าปืนอื่นทั้งปวง"
                                              จาก นิราศหนองคาย
                                                          หลวงพัฒนพงศ์ภักดี

ปืนแก็ตลิ่งรุ่นแรกนำมาใช้ในสมัย ร.๕  เป็นรุ่นวางบน ๓ ขา   ผลิตโดยบริษัท แก็ตลิ่ง (Gatling Gun Company , Connecticut USA) ในอเมริกา อัตราการยิง ๔๐๐ นัดต่อนาที เป็นปืนกลรุ่นแรก



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.พ. 11, 11:52
ปืนแก็ตลิ่งรุ่นแรกนำมาใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕

ดูกันชัด ๆ

 ;D

http://reocities.com/Colosseum/bench/6511/_x1_O_OeED3O1a_P/_x1_A/gatling.html


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.พ. 11, 16:31
ปืนใหญ่หลังช้าง จากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส  เป็นภาพช้างศึกและกองทัพสยามในลาว ปี 1893


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 02 ก.พ. 11, 17:54
เกิดความสงสัยนิดหนึ่ง ???

ภาพทหารและปืนใหญ่บนช้างนั้น คุณไซมีสบอกว่า เกณฑ์จากมณฑลพิษณุโลก เพื่อไปปราบฮ่อครั้งแรก ปี 2418
ผมเลยสงสัยว่ามณฑลพิษณุโลกไม่น่าจะมีทหารเรือนะครับ
แม่ทัพที่คุมกำลังพลไปก็เป็นเจ้าเมือง คือ พระยาพิชัย (ดิศ) ไม่ใช่เจ้ากรมทหารอะไรในบางกอก
อีกอย่างถ้ามีปืนใหญ่ ปืนกล ก็คงจะรบชนะพวกฮ่อที่เมืองเวียงกัดแล้ว
คงไม่ต้องรั้งรอจนทัพกรุงขึ้นมาช่วยถึงชนะหรอกครับ

และผมไปเจอมาว่า การปราบฮ่อครั้งแรก พ.ศ. 2418 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2426 นั้น
เป็นการจัดทัพอย่างโบราณ คือเกณฑ์พลเรือนไปรบ ยังไม่ได้จัดทหารที่ฝึกฝนอย่างยุโรปไปทำการรบเลย
เพิ่งจะจัดไปก็คราวที่ 3 พ.ศ. 2428 โดยใช้กรมทหารรักษาพระองค์ และกรมทหารหน้า
ช่วยกันปราบฮ่อทางเมืองพวน และทางหลวงพระบาง
ซึ่งครั้งนี้อาวุธยุทโธปกรณ์น่าจะดีกว่าทั้งสองครั้งแรกมากๆ รวมถึงอาจจะมีปืนใหญ่ และปืนกลติดกองทัพไปด้วย

ผมว่าครั้งหลังมากว่าที่มีทหารเรือตามไป กับมีปืนใหญ่อย่างที่เราเห็นกันในภาพถ่าย
คิดเห็นกันอย่างไรบอกผมด้วย ;D


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.พ. 11, 21:05
ขอคั่นรายการปืนใหญ่ด้วยภาพของปาวี ชื่อ Une halte de nuit sur les bords du Mékong  พักแรมริมแม่น้ำโขง



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 02 ก.พ. 11, 21:15
อยากให้คุณart47 ลองอ่านสุดสองทวีป ของ จ่าน้อม ทหารหน้าดู น่าที่จะครบทุกคำตอบ และนิราศหนองคายที่เล่าถึงปืนชนิดนี้ครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 11, 13:19
เมื่อม.ปาวี ราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ดำเนินการโดยพลการ สั่งให้เรือรบทั้ง๒ลำเดินทางเข้ามาทอดสมออยู่ในปากอ่าว เตรียมพร้อมที่จะตลุยเข้ามาในกรุงเทพนั้น  ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม เสนาบดีว่าการต่างประเทศของไทยได้มีโทรเลขไปยังอัครราชฑูตไทยประจำกรุงปารีส แจ้งเรื่องเรีอรบฝรั่งเศส จะเข้ามาขู่เข็ญไทย ขอให้นำความไปร้องเรียนต่อ ม.เดอ แวลล์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศฝรั่งเศสโดยด่วน

เดอ แวลล์ตอบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้เป็นผู้สั่งการให้เรือรบเข้าไปในกรุงเทพ ฯ  และรับรองว่าจะถอนคำสั่งเดิมเสีย
ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ เดอ แวลล์ ได้มีโทรเลขไปยังปาวี ราชฑูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ ฯ มีความว่าสำคัญว่า ให้บอกแก่กองเรือฝรั่งเศสทราบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสตกลงยับยั้งไม่ให้เรือลำใดข้ามสันดอนเข้าไปก่อน โทรเลขฉบับนี้มาถึงสถานทูตฝรั่งเศส ได้รับในกรุงเทพเวลาเช้า ๑๐.๓๐น. ของวันเดียวกันนั้น

ปาวีอยู่ในกรุงเทพมานานพอที่จะรู้ระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ของสยามดี  เขาจึงถ่วงเวลาที่จะนำโทรเลขนั้น  ไปแจ้งยังผู้บังคับการกองเรือ ที่กำลังรอปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ว่า เมื่อน้ำขึ้นในตอนเย็น จะเป็นเวลาที่ลงลงมือปฏิบัติการ

อันที่จริง สำเนาโทรเลขนั้น กรมโทรเลขสยามก็ได้รับพร้อมๆกัน ไม่มีปัญหาอะไรที่เราจะให้เจ้าหน้าที่ไทย ลงเรือด่วนนำโทรเลขนั้น ไปแจ้งให้ผู้บังคับการทหารเรือฝรั่งเศสเสียเอง เพื่อยุติวิกฤต

แต่ทว่า จะหาผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายไทยที่มีอำนาจสั่งการดังกล่าวสักคน ก็หาได้ไม่ เวลาล่วงเลยจน ๑๘.๐๕ น . เรือรบฝรั่งเศสจึงวิ่งเต็มฝีจักรช้ามสันดอนเข้ามากรุงเทพ

เจ้าพระยาอภัยราชาฯ (โรลัง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชาวเบลเยียม กล่าวไว้ในจดหมายที่เขียนถึงลูกชายเกี่ยวกับโทรเลขที่ฝรั่งเศสส่งมาไว้ว่า "ลูกอาจถามพ่อว่า ถ้าเราได้รับโทรเลขฉบับนั้นเวลา ๑๐.๓๐นาฬิกา ในตอนเช้าของวันที่ ๑๓แล้ว เหตุใดเราจึงไม่ติดต่อกับปาวีทันที โชคร้ายจริงที่เหตุผลเป็นเรื่องโง่เขลา ลูกก็ทราบนี่ว่า เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน เรื่องนี้ส่งผลให้เมื่อโทรเลขฉบับนั้นมาถึง จึงได้แต่รอกันเงียบๆ โดยไม่บอกให้พ่อรู้ด้วยซ้ำ จนกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ทรงตื่นจากบรรทม ซึ่งพระองค์ทรงตื่นขึ้นตอนที่มีคนได้ยินเสียงยิงปืนใหญ่ที่ปากน้ำนั่นแล้วด้วยซ้ำ"

ขออภัย ถ้าเริ่มเรื่องม.ปาวี ก็จะต้องท้าวความเรื่องนี้ด้วย พอดีผมจะไม่อยู่บ้านสักสัปดาห์หนึ่ง และคงไม่ได้เปิดเข้าเน็ทจนกว่าจะกลับ เลยยังเล่าไม่หมดว่า การเสียดินแดนครั้งนั้นน่ะ โทษนายปาวีได้ครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งต้องโทษความไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง ของคนไทยเราเอง
ระหว่างนี้ก็เชิญทุกท่านว่ากันต่อไปก่อนครับ

คุณ Navarat.C ยังไม่กลับมา  รูปที่ดิฉันค้นจากเว็บฝรั่งเศสมาคั่นเวลาก็หมดสต๊อคแล้ว  เพื่อดันกระทู้ให้เดินหน้า  ขอกลับไปปูพื้นเรื่องสงครามฝรั่งเศส-สยาม ร.ศ. 112  ให้เห็นที่มาที่ไปกันบ้าง   
ถ้าหากว่าผิดพลาดตรงไหนขอให้ท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขให้ด้วย  เพราะต้องแกะข้อความจากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ  แกะจากอังกฤษเป็นไทย   อาจจะพลัดตกช่องแคบฝรั่งเศสและอังกฤษได้ในบางครั้ง

ฝรั่งเศสกับอังกฤษแบ่งกันเป็นเจ้าอาณานิคมมาแล้วทั่วโลก  ในเอเชียอาคเนย์ ก็แบ่งเค้กกันอยู่ในหลายประเทศ    เมื่ออังกฤษได้อินเดียและรุกมาถึงพม่าตั้งแต่รัชกาลที่ ๓   ฝรั่งเศสก็รุกอินโดจีน  ได้เวียตนามไปแล้วยังไม่พอ   ประเทศที่ติดกับเวียตนามคือลาวและเขมรก็เป็นเค้กที่น่าหม่ำไม่ใช่เล่น 
ในตอนนั้นลาวเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม     ถ้าจะเอาลาวไปก็ต้องจัดการกับสยามให้ราบคาบเสียก่อน 
ดูจากแผนที่นี้ จะเห็นว่าฝรั่งเศสกลืนทางตะวันออกของสยามเข้ามาทีละประเทศ  ทีละประเทศจนหมด  ส่วนทางตะวันตก และใต้  อังกฤษก็เคี้ยวกินไปเรียบร้อยแล้ว

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bc/ThailandWithFlags.gif/300px-ThailandWithFlags.gif)



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 ก.พ. 11, 13:47
ชุดคล้ายทหารเรือ แต่มีปืนใหญ่บนหลังช้าง

ภาพนี้เป็นภาพช้างบรรทุกปืนใหญ่ของกำลังพลเกณฑ์ มณฑลพิษณุโลก กำลังมุ่งหน้าสู่นครหลวงพระบาง ในการปราบฮ่อ ซึ่งมีเครื่องแบบทหารเรือเข้าร่วมด้วย

ทหารหน่วยนี้คือทหารมะรีนอันเป็นต้นกำเนิดของทหารเรือนาวิกโยธินในปัจจุบัน สังกัดกรมช่างแสง โดยมีนายนาวาเอก พระชลยุทธโยธินเป็นผู้บังคับการ โดยได้รับคำสั่งให้ไปร่วมกับกองทัพที่ยกไปปราบฮ่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) เป็นแม่ทัพ จำนวน ๑ กอง กำลังพลประกอบด้วยนายร้อยตรี ๑ นาย พลทหาร ๒๔ นาย และปืนกลแกตลิง ๒ กระบอก อันเป็นปืนประจำหน่วย
ปืนกลแกตลิง ได้สั่งซื้อมาจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘

"คอโปราลถมดูคมขำ" อาจจะหมายถึงนายร้อยตรีถม ที่เป็นผู้บังคับบัญชาทหารหน่วยมะรีนกระมัง ??




กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.พ. 11, 15:07
เหตุการณ์ที่เรือรบฝรั่งเศส นำเรือมายังอ่าวสยาม เพื่อบังคับขู่เข็ญจากไทยนั้น ได้รู้ล่วงหน้าระหว่าง ม.ปาวี กับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แล้วกว่า ๓ วัน ดังจดหมายโต้ตอบกันดังนี้

                                    วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๙๓
  มองสิเออร์ เอ. ปาวี ราชทุตและกงสุลเยเนราลฝรั่งเศส ทูล พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  ด้วยรัฐบาลฝรั่งเศส ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าแจ้งความให้รัฐบาลของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทราบว่า รัฐบาลอังกฤษได้ดำริส่งเรือรบหลายลำเข้ามาในกรุงสยาม
โดยอ้างว่าฐานะเหตุการณ์วุ่นวาย และมีความจำเป็นต้องป้องกันรักษาคนในบังคับ
อังกฤษ เหตุฉะนี้รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ตั้งใจกระทำตามบ้าง
  เรือรบ ๒ ลำในกองเรือฝรั่งเศส ได้รับคำสั่งให้เข้ามาอยู่ด้วยเรือลูแตงที่กรุงเทพฯ

  ในการนี้ ม. เดอแวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ได้ขอให้
ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวโดยชัดเจนว่า การที่ให้เรือรบเข้ามาคราวนี้ ก็มีความประสงค์
อย่างเดียวกันกับประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ ฉะนั้น
   เรือรบ ๒ ลำที่กำลังเดินทางจะเข้ามานี้ ลำหนึ่งชื่อ โคเมต อีกลำหนึ่งชื่อ แองกองสตังต์
ผู้บัญชาการกองเรือได้แจ้งแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า เรือรบ ๒ ลำนี้จะมาถึงสันดอนในวันที่
๑๕ กรกฎาคม

   เหตุฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอใต้ฝ่าพระบาท ได้โปรดมีคำสั่งให้คนนำร่องเรือรบทั้ง ๒
ลำนี้ด้วยเมื่อมาถึง

  ข้าพระพุทธเจ้าขอถือโอกาสทั้งนี้ แสดงความนับถืออย่างสุงสุดมายังใต้ฝ่าพระบาทด้วย

                                         (ลงนาม)    เอ. ปาวี


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.พ. 11, 15:20
ในวันเดียวกันนั่นเอง ก็มีจดหมายตามมาด้วยอีก ๑ ฉบับ ข้อความว่า

                                                     วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๙๓
  มองสิเออร์ เอ. ปาวี ราชทุตและกงสุลเยเนราลฝรั่งเศส ทูล พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับข่าวจากนายพลเรือ ฮูมันน์ แจ้งมาว่า เรือรบแองกอง
สตังต์จะเข้ามาถึงสันดอนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม เวลาเย็น

  เหตุฉะนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอใต้ฝ่าพระบาท ได้โปรดมีคำสั่งตามธรรมเนียม ดัง
เช่นที่ข้าพระพุทธเจ้า ขอมาในหนังสือฉบับก่อน ของข้าพระพุทธเจ้าลงวันเดียว
กันนี้

  ผู้บัญชาการกองเรือว่า เรือรบลำนี้ควรเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ได้ ตามหนังสือสัญญา
ทางพระราชไมตรี ด้วยรัฐบาลฝรั่งเศสได้แจ้งแก่ผู้บัญชาการฯ แล้วว่า รัฐบาลฝรั่ง
เศสพิเคราะห์ดูเห็นว่า การทั้งนี้เป็นอันชอบธรรมแท้ (an unquestionable right)

  ข้าพระพุทธเจ้าขอถือโอกาสทั้งนี้ แสดงความนับถืออย่างสูงสุดมายังใต้ฝ่าพระบาทด้วย

                                         (ลงนาม)     เอ. ปาวี


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 11, 15:25
สวัสดีค่ะคุณลุงไก่  หายไปเสียนาน :)

(ต่อ)

คนที่เป็นกำลังสำคัญของฝรั่งเศสในการฮุบลาวจากไทยคือนายออกุสต์ ปาวี อย่างที่เกริ่นกันมาแล้วก่อนหน้านี้ แกเป็นรองกงศุลฝรั่งเศสประจำหลวงพระบาง    ถูกส่งมาเป็นทูตฝรั่งเศสประจำสยาม เพื่อบีบคั้นให้รัฐบาลสยามยอมตกลงเรื่องดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง     ฝรั่งเขียนไว้ว่ารัฐบาลของเราเข้าใจผิดว่าอังกฤษจะหนุนหลัง  ก็เลยเล่นไม้แข็งกับฝรั่งเศส   แต่เอาเข้าจริงอังกฤษก็ไม่ได้ช่วยสยามอย่างที่คิด

หลักฐานทางฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า มีอีก ๒ เรื่องที่เป็นตัวเร่งให้ฝรั่งเศสกับสยามตึงเครียดหนักขึ้น   เรื่องแรกคือเจ้าเมืองหนองคายกับ Khammuan (คำม่วน? ไม่รู้ว่าลาวออกเสียงว่าอะไร) เนรเทศชาวฝรั่งเศส ๓ คนข้อหาลักลอบขนฝิ่น   ข้อสองคือกงสุลฝรั่งเศสคนก่อนปาวี  ฆ่าตัวตาย  ด้วยอาการกดดันอย่างแรง  จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม    แต่สองเรื่องนี้ พอข่าวไปถึงปารีส ทางฝรั่งเศสก็ถือโอกาสปลุกระดมให้เห็นว่าสยามเป็นฝ่ายผิด   เพื่อปลุกความรู้สึกชาตินิยมให้เกลียดชัง และต่อต้านการกระทำของสยาม     ทีนี้จะลงมติในสภา รุกรานสยามก็เป็นของง่าย
ข้ออ้างข้อหนึ่งของฝรั่งเศสก็คือเวียตนามตกอยู่ในปกครองของฝรั่งเศสไปแล้ว   ลาวซึ่งขึ้นกับเวียตนามก็ต้องตกอยู่ในปกครองของฝรั่งเศสด้วย

กงสุลเก่าตาย ตำแหน่งนี้ก็ตกอยู่กับปาวี   แกก็เริ่มดำเนินงานทันที ยื่นคำขาดให้สยามถอนกำลังทหารออกจากลาวให้หมด   อ้างว่าดินแดนนี้เป็นของเวียตนาม     พูดไม่พูดเปล่า  เรือรบจากฝรั่งเศสก็บุกเข้ามาลอยลำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส   ให้รู้ว่า ไม่ได้ขู่แค่คำพูด แต่ลงมือทำจริง


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 11, 15:29
เรือรบลำแรกที่เข้ามาก่อน  มาลอยลำป๋ออยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาชื่อ เลอลูแตง  ส่วนโคแมต กับแองกองสตังต์ เข้ามาทีหลัง   ปิดปากอ่าวไทยเอาไว้

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/thumb/e/e5/Canonniere_Comete_(1884-1909)_bf_1923.jpg/800px-Canonniere_Comete_(1884-1909)_bf_1923.jpg)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.พ. 11, 15:35
นายพลเรือ ฮูมันน์


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.พ. 11, 16:05
อ้างถึงบุคคลฝ่ายฝรั่งเศสอีกสองท่าน " ม. เดอแวลล์ รัฐมนตีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส" และ "ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์"

ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์ จะเดินทางออกจากฝรั่งเศสมายังโคชินไชน่า เพื่อสมัครเป็นผู้แทนราษฎร ในเดือน ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๙๓ และออก
เดินทางลงเรือที่มารเซลส์ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พร้อมกำลังทหารเพื่อเพิ่มกำลังที่ไซ่ง่อน เดินทางไม่กี่วัน ก็เกิดวิกฤตการรบที่ปากน้ำในวันที่
๑๓ กรกฎาคม

ดังนี้รัฐบาลฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนเข็มให้ ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์ เข้ามาทำสัญญาสงบศึกและอนุสัญญาต่างๆ ซึ่งได้ถือหนังสือมาด้วยจาก
ม. เดอแวลล์ รัฐมนตีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือติดมือมาตั้งแต่วันที่ ๘ กรกฎาคม ความว่า

"เนื่องจากเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำโขง และอาการกิริยาที่ประเทศสยามได้แสดงแก่เรานั้น รัฐบาลฝรั่งเศสคิดว่าจะถือ
โอกาสในการที่ท่านจะเดินทางไปไซ่ง่อน มอบให้ท่านเอาธุระรับหน้าที่เจรจาปัญหาที่ยังคาราคาซังกันอยู่ให้สิ้นไป ถ้าสามารถทำได้

เพระได้ปรึกษาหารือกับท่านแล้ว เหตุนี้จึงส่งท่านไปกรุงเทพฯ เพื่อการนี้ เป็นราชการพิเศษ ในจดหมายฉบับนี้ ได้สอดหนังสือสำคัญ
ให้อำนาจแก่ท่านอย่างกว้าง เพื่อแสดงต่อพระเจ้าแผ่นดินสยาม จะได้สั่งให้เรือรบลำหนึ่งมาคอยรับท่านที่สิงคโปร์ และนำท่านส่งยัง
กรุงเทพฯ ทันที

เท่าที่ท่านทราบอยู่แล้ว การเรียกร้องของเราต่อประเทศสยามในครั้งนี้ มีอยู่ ๒ ข้อ

ข้อ ๑ เราได้ทำการให้ประเทศสยามถอนกองทหารที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นการเหนียบย่ำสิทธิของญวนและของเขมร

ข้อ ๒ เราได้เรียกค่าปรับไหมในการที่ไทยสบประมาทธงฝรั่งเศสที่ทุ่งเชียงคำ ในการย่ำยีและขับไล่บุคคลร่วมชาติของเรา ๒ คน คือ
         ม. เอสคีลาต์ และ ม.ชัมเปอนัวส์ ให้ได้รับทุกข์ที่ท่าอุเทนเมื่อปีกลาย ในการข่มขี่ชาวฝรั่งเศสชื่อ บาโรตอง ในการจับกุมนาย
         ร้อยเอกโทเรอร์ โดยไม่รู้ตัว และในการที่ข้าหลวงไทยประจำคำม่วนทำการฆาตกรรมผู้ตรวจการโกรส์กูแรง

ในปัญหาเหล่านี้ ผู้แทนของเราที่กรุงเทพฯ ได้เรียกร้องไปแล้ว แต่ไร้ผล เราได้รับแต่คำตอบชนิดชักความยาวสาวความยืดจากรัฐบาล
สยาม เพราะฉะนั้น ที่จะให้ท่านเรียกร้องต่อรัฐบาลสยาม มีหัวข้อดังนี้

๑. ให้รัฐบาลสยามรับรองข้อเรียกร้องดินแดนของเราบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
๒. ให้ใช้ค่าเสียหายตามพฤฒิการณ์ที่เป็นขึ้น ดังที่กล่าวมาข้างต้น กับให้เสียค่าปรับไหมด้วย

ในกรณีที่รัฐบาลสยามไม่ยอมให้ความยุติธรรมเท่าที่เรียกร้องไปตามหัวข้อต่างๆนี้แล้ว ถึงระยะเวลาที่ท่านจะต้อง
กำหนดให้ ให้ท่านนำธงฝรั่งเศสออกจากกรุงเทพฯ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ในสถานกงสุล และบรรดาเรือรบที่จอดอยู่
ณ ท่านั้น แล้วให้ท่านแจ้งแก่ผู้บัญชาการกองเรือให้ประกาศปิดอ่าวอย่าได้ช้า"


เมื่ออ่านดูจดหมายฉบับนี้แล้วแข็งกร้าวมาก และตั้งใจที่จะใช้ปัญหาเหล่านี้ ยึดดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด และหากเราไม่ยินยอมก็ใช้
กำลังปิดอ่าว  >:(


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 03 ก.พ. 11, 20:18

ทหารหน่วยนี้คือทหารมะรีนอันเป็นต้นกำเนิดของทหารเรือนาวิกโยธินในปัจจุบัน สังกัดกรมช่างแสง โดยมีนายนาวาเอก พระชลยุทธโยธินเป็นผู้บังคับการ โดยได้รับคำสั่งให้ไปร่วมกับกองทัพที่ยกไปปราบฮ่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) เป็นแม่ทัพ จำนวน ๑ กอง กำลังพลประกอบด้วยนายร้อยตรี ๑ นาย พลทหาร ๒๔ นาย และปืนกลแกตลิง ๒ กระบอก อันเป็นปืนประจำหน่วย
ปืนกลแกตลิง ได้สั่งซื้อมาจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘

"คอโปราลถมดูคมขำ" อาจจะหมายถึงนายร้อยตรีถม ที่เป็นผู้บังคับบัญชาทหารหน่วยมะรีนกระมัง ??


จะว่าเป็นทหารมะรีนก็ดูได้เช่นนั้นจริงๆ ยิ่งบอกว่าขึ้นไปพร้อมทัพเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม) ก็ยิ่งเป็นไปได้ เพราะเป็นกองทหารกรุงเทพเหมือนกัน
แต่นิราศหนองคาย แต่งเมื่อปราบฮ่อครั้งแรกไม่ใช่หรือครับ ที่หลวงพัฒนพงศ์ (ทิม) ขึ้นไปพร้อมเจ้าพระยามหินทร์ (เพ็ง)
ดูๆ มันจะขัดแย้งกันนะครับ ???
ผมก็ไม่เคยอ่านนิราศหนองคายสักที ไม่รู้ว่าในนิราศจะมีการกล่าวถึงทหารมะรีนหรือไม่


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 11, 20:46
หลวงพัฒน พงศ์ภักดี แต่งนิราศหนองคาย เมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ ปีกุน สัปตศก พุทธศักราช ๒๔๑๘ ขณะเป็นทนายคนใกล้ชิดของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง(เพ็ง เพ็ญกุล)
เจ้าพระยามหินทรฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย กองทัพออกจากพระนครโดยทางเรือ    เพื่อไปขึ้นบกที่สระบุรี แล้วเดินทางต่อไปถึงหาดพระยาทด แขวงเมืองสระบุรี   ก็ต้องหยุด ไม่สามารถเคลื่อนทัพได้ เนื่องจากเป็นฤดูฝน ฝนตกหนักน้ำท่วมในดงพระยาไฟ เกรงว่าไพร่พลจะเป็นอันตราย   
ทัพที่ยกไปสมทบคือกองทัพเจ้าพระยาภูธรภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)  สมุหนายก ให้ยกพลออกจาพระนคร ไปขึ้นบกที่อุตรดิตถ์ เพื่อเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบางอีก

ส่วนทางเมืองหนองคาย เจ้าพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ผู้เป็นข้าหลวงออกไปตั้งกองสักเลกอยู่ในมณฑลร้อยเอ็ด คุมกองทัพเมืองนครราชสีมา กับพระยานครราชเสนี (กาจ สิงหเสนี) แต่ยังเป็นพระยาปลัด  กับพระยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา ยกไปตีพวกฮ่อที่เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไปอยู่ที่เมืองเชียงขวางในแขวงพวน
ฝ่ายทางพระนครเห็นว่าพวกฮ่อยังไม่หมดกำลัง  อาจกลับมารบใหม่อีก จึงเร่งรัดกองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง จึงเคลื่อนกองทัพไปถึงเมืองนครราชสีมา ไปทางเมืองพิมาย เมืองพุทไธสง ขณะนั้นกองทัพเจ้าพระยาภูธรราภัยได้ยกไปถึงเมืองหนองคายและได้เข้าโจมตีพวกฮ่อจนแตกพ่ายไป
ทางกรุงเทพ มีท้องตราคำสั่งให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง จัดแบ่งทหารออกส่วนหนึ่งให้ไปสมทบกับเจ้าพระยาภูธราภัย อีกส่วนหนึ่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ นำกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน ๕ ปีชวด อัฐศก พุทธศักราช ๒๔๑๙ รวมเวลายกกองทัพไป และกลับทั้งสิ้น ๘ เดือน

บรรยายถึงทหารในกองทัพว่า

แล้วถึงทหารอย่างยุโรปครบทหาร      งามตระการเสื้อสีไม่มีสอง
ทั้งข้างแขนพู่บ่าระย้าทอง              ล้วนแต่ของใหม่ใหม่ได้ประทาน
ทั้งตัวนายขี่ม้าอาชาชาติ              ดูองอาจสมกายนายทหาร
ประดุจดังยังพยัคฆ์จักทะยาน      ศัตรูพานพ้องพบรบระอา

หลวงพิชัยเสนาสง่าเหลือ               สอดสวมเสื้อแดงสีมณีฉาย
เข็มกลัดคาดสายกระบี่มีตะพาย      ขี่คอพลายประจญมารชาญศักดา
กรกุมขอข้อขึงดูผึ่งผาย              แล้วยักย้ายท่วงทีดีหนักหนา
ว่าที่แอดดิกงยงศักดา              เป็นผู้รักษาแม่ทัพรบไพรี
แล้วถึงช้างคุณบุตรแอดดิกง               สวมเสื้อส่งสดแสงดูแดงสี
ขี่ช้างพลายโพยมกระโจมมี                ดูท่วงทีผุดผาดสะอาดตา
แล้วถึงทหารหัดใหม่สไนเด้อร์      ไม่เซอะเซ่อท่วงทีดีหนักหนา
เดินในทางสองข้างมรคา               จ้างมาเป็นนายไม่ร้ายรอง

กรุณาตีความกันเองว่ามีมะรีนหรือไม่   ดิฉันอ่านออกแต่ว่ามีขบวนช้างกับขบวนม้า   เสื้อนายทหารสีต่างๆกัน   ไม่รู้ว่าสีไหนหมายถึงมะรีน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 11, 20:58
(http://i54.photobucket.com/albums/g101/apgts/boosra_mahin/pluethipol/Peng.jpg)

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง   รูปขวาถ่ายกับบุตรชาย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 03 ก.พ. 11, 21:19
จากที่อ่านนิราศหนองคายในตู้หนังสือเรือนไทยมาแล้ว

เห็นได้ว่าในขบวนทัพนี้ มีนายสิบโท ถม กับทหารอีกประมาณ 12 คน พร้อมปืนแกตลิงตันอยู่รวมในกองทัพด้วย
แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นทหารมะรีนหรือไม่
ซึ่งถ้านับทหารเรือในถ่ายภาพของเราแล้ว จะพบว่า มีทหารเรือจำนวนเกินโหลมานิดหน่อย
(14-15 คน) ซึ่งใกล้เคียงกันตามท้องนิราศ

และถ้าภาพนี้เป็นการปราบฮ่อครั้งแรกจริงๆ แล้ว ทหารในรูปคงไม่ใช่พวกมณฑลพิษณุโลกดังคำบรรยายดั้งเดิม
แต่คงจะเป็นทหารจากมณฑลอุดรมากกว่า เพราะกองทัพเจ้าพระยามหินทร์ขึ้นไปทางเวียงจันท์ ไม่ใช่ทางหลวงพระบาง
ซึ่งกองทัพจากพิษณุโลกไปตั้งอยู่ที่เมืองเวียงกัดและสมทบกับทัพเจ้าพระยาภูธราภัยแน่ๆ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 ก.พ. 11, 21:31
ผมเองก็ไม่เคยอ่านนิราศหนองคาย แต่เพราะคุณ siamese ทักท้วงมา เลยต้องรีบแจ้นไปหาอ่าน พบแล้วก็อ่านผ่านตามาอย่างลวกๆ ก็พบว่าทหารมะรีนเข้าร่วมกองทัพไปปราบฮ่อครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ จริง แต่ในนิราศฯ ไม่มีการกล่าวถึงทหารมะรีน คงกล่าวถึงปืนแกตลิงเท่านั้น
ผมคงต้องไปทักท้วงเวปต้นฉบับที่ผมไปคัดลอกมาซักหน่อย ให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.พ. 11, 21:33
จากที่อ่านนิราศหนองคายในตู้หนังสือเรือนไทยมาแล้ว

เห็นได้ว่าในขบวนทัพนี้ มีนายสิบโท ถม กับทหารอีกประมาณ 12 คน พร้อมปืนแกตลิงตันอยู่รวมในกองทัพด้วย
แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นทหารมะรีนหรือไม่
ซึ่งถ้านับทหารเรือในถ่ายภาพของเราแล้ว จะพบว่า มีทหารเรือจำนวนเกินโหลมานิดหน่อย
(14-15 คน) ซึ่งใกล้เคียงกันตามท้องนิราศ

และถ้าภาพนี้เป็นการปราบฮ่อครั้งแรกจริงๆ แล้ว ทหารในรูปคงไม่ใช่พวกมณฑลพิษณุโลกดังคำบรรยายดั้งเดิม
แต่คงจะเป็นทหารจากมณฑลอุดรมากกว่า เพราะกองทัพเจ้าพระยามหินทร์ขึ้นไปทางเวียงจันท์ ไม่ใช่ทางหลวงพระบาง
ซึ่งกองทัพจากพิษณุโลกไปตั้งอยู่ที่เมืองเวียงกัดและสมทบกับทัพเจ้าพระยาภูธราภัยแน่ๆ

การปราบฮ่อครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ กองทัพได้จัดออกเป็น ๕ ทัพ

ทัพที่ ๑ นำโดย พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยานมิตร) คุมไพร่พลออกจากมณฑลอุดร ร้อยเอ็ด และอุบล
ทัพที่ ๒ นำโดย พระยาพิชัย (ดิศ) คุมไพร่พลจากมณฑลพิษณุโลก  (ดังภาพกองหหารมารีน และช้างปืนใหญ่)
ทัพที่ ๓ นำโดย เจ้าพระยาภูธราชัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)
ทัพที่ ๔ นำโดย เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
ทัพที่ ๕ นำโดย เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิราช (เวก บุญยรัตตพันธ์)


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 09:25
ภาพ ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์ ซึ่งได้อธิบายในก่อนหน้านี้ว่า จะเดินทางมาเพื่อเข้าสมัครเลือกตั้งในดินแดนโคชินจีน ที่ไซ่ง่อน แต่เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ที่ปากน้ำเสียก่อน เลยต้องเข้ามาเจรจากับรัฐบาลสยาม


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 04 ก.พ. 11, 09:38
ว่าด้วยปราบฮ่อครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘

เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลที่ ๕ ฮ่อเตรียมทัพที่ทุ่งเชียงคำจะยกลงมาทางเมืองเวียงจันท์ มาตีเมืองหนองคายทัพ ๑ จะยกไปทางเมืองหัวพันห้าทั้งหกไปตีเมืองหลวงพระบางอีกทัพ ๑ ข่าวที่ฮ่อเตรียมจะยกกองทัพเข้ามาครั้งนี้ กรมการเมืองหนองคายได้ทราบความจากพวกท้าวขุนเมืองพวนที่แตกหนีเข้ามาอาศัยอยู่เมืองหนองคาย จึงบอกเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ถึงพร้อมกับใบบอกเจ้านครหลวงพระบาง ขณะนั้นพระยามหาอำมาตย์ ( ชื่น กัลยาณมิตร ) เป็นข้าหลวงขึ้นไป สักเลขอยู่ในมลฑลอุบล จึงโปรด ฯ ให้พระยามหาอำมาตย์เกณฑ์กำลังมลฑลอุดร มณฑลร้อยเอ็จ และมลฑลอุบล เป็นกองทัพ ๑ ให้พระยานครราชสิมา (เมฆ) เกณฑ์กำลังนครราชสิมาเป็นกองทัพ อีกทัพ ๑ ให้พระยามหาอำมาตย์เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปป้องกันเมืองหนองคาย และโปรด ฯ ให้เกณฑ์กำลังมณฑลพิศณุโลกเข้ากองทัพ ให้พระยาพิชัย ( ดิศ ) คุมขึ้นไปช่วยป้องกันเมืองหลวงพระบางอีกทัพ ๑ ฝ่ายทางกรุงเทพ ฯ โปรดให้เกณฑ์กำลังเข้ากองทัพ ให้เจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายกเป็นแม่ทัพ ยกไปปราบฮ่อทางเมืองหลวงพระบาง ทัพ ๑ โปรด ฯ ให้เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อทางเมืองหนองคายทัพ ๑

เมื่อกองทัพพระยามหาอำมาตย์ยกขึ้นไปถึงเมืองหนองคาย ฮ่อก็ลงมาถึงฝั่งน้ำโขงฟากโน้น ตั้งค่ายอยู่ที่วัดจันทน์ในเมืองเวียงจันท์แห่ง ๑ ที่บ้านสีฐานแห่ง ๑ ที่บ้านโพนทานาเลาแห่ง ๑ แล้วข้ามฟากมาตีเมืองปากเหืองแตกเมือง ๑ พระยามหาอำมาตย์กับพระยานคร ราชสิมา ( เมฆ ) พระพรหมภักดี ( กาจ สิงห์เสนี ) ๑ ยกรบัตรเมืองนครราชสิมา ยกขึ้นไปได้รบพุ่งกับพวกฮ่อ ๆ ต่อสู้อยู่วัน ๑ ก็แตกหนีไปหมด จับเป็นได้ก็มาก กองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงยกออกจากกรุงเทพฯ โดยทางเรือ เมื่อวันพุฒ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๘ ตั้งโขลนทวาร ที่เหนือท่าขุนนาง เสด็จลงส่งกองทัพที่ท่าราชวรดิษฐ์ตามประเพณีโบราณ กองทัพขึ้นไปตั้งประชุมพลที่ตำบลหาดพระยาทดแขวงเมืองสระบุรี แล้วยกเป็นกองทัพบกขึ้นไปเมืองนครราชสิมาทางดงพระยาไฟ เมื่อกองทัพเจ้าพระยามหินทร ฯ ยกไปแล้ว ได้ข่าวมาถึงกรุงเทพ ฯ ว่าพวกฮ่อที่ลงมาทางเมืองหนองคายแตกทัพพระยามหาอำมาตย์ไปหมดแล้ว เห็นไม่จำเป็นจะให้กองทัพใหญ่ขึ้นไป จึงมีตราให้หากองทัพเจ้า พระยามหินทร ฯ กลับมาจากเมืองผไทยสงฆ์

กองทัพเจ้าพระยาภูธราภัยนั้นยกออกจากกรุงเทพ ฯ เหมือนอย่างครั้งกองทัพเจ้าพระยามหินทร ฯ เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ไปตั้งประชุมพลที่เมืองพิชัย แล้วยกกองทัพเดินทางบกต่อไป ฝ่ายกองทัพพระยาพิชัย ( ดิศ ) ซึ่งได้ยกล่วงน่าขึ้นไปก่อน ไปถึงเมืองหลวงพระบางได้ทราบว่ากองทัพฮ่อมาตั้งอยู่ที่เมืองเวียงกัดในแขวงหัวพันห้าทั้งหก พระยาพิชัยก็รีบยกขึ้นไปจากเมืองหลวงพระบาง ไปพบกองทัพฮ่อได้รบกันเมื่อเดือน ๑๒ ปีกุญ แต่กำลังกองทัพพระยาพิชัยไม่พอจะตีฮ่อให้แตกไปได้ จึงตั้งมั่นรักษาด่านอยู่ เมื่อเจ้าพระยาภูธราภัยขึ้นไปถึงเมืองพิชัย ได้ทราบว่าพระยาพิชัยรบพุ่งติดพันอยู่กับพวกฮ่อ จึงจัดกองทัพให้พระสุริยภักดี ( เวก บุณยรัตพันธุ์) เจ้ากรมพระตำรวจ รีบยกขึ้นไปเมืองหลวงพระบางตามไปช่วยพระยาพิชัย กองทัพพระสุริยภักดีขึ้นไปถึงเข้าตีทัพฮ่อแตกยับเยินไป เจ้าพระยาภูธราภัยจึงสั่งให้กองทัพพระยาพิชัย และกองทัพพระสุริยภักดีติดตามตีฮ่อไปจนทุ่งเชียงคำพวกฮ่อก็พากันอพยบหลบหนีไปจากเมืองพวน เป็นเสร็จการปราบฮ่อในคราวนั้น กองทัพเจ้าพระยาภูธราภัยได้ยกขึ้นไป ตั้งอยู่ที่ตำบลปากลายริมแม่น้ำโขงข้างใต้เมืองหลวงพระบาง จนมีตราให้หากลับมา

จากข้อความทั้งนี้
จะเห็นได้ว่ากองทัพมณฑลพิษณุโลกภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาพิชัย และพระสุริยภักดี ยกตีตามพวกฮ่อไปถึงทุ่งเชียงคำและเมืองพวน
แต่ไม่ปรากฏว่ากองทัพมณฑลอุดรของพระยามหาอำมาตย์ยกไปไหน ได้ความแค่ว่ารั้งทัพที่เมืองเวียงจันท์หลังตีพวกฮ่อแตกแล้ว
และคงเลิกทัพกลับมาหลังจากนั้นไม่ช้านัก

ดูไม่น่าปืนกลแกตลิงกับทหารมณฑลพิษณุโลกจะมาเจอกันได้ ???


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 09:48
ปืนแก็ทลิ่ง  เป็นปืนกลที่ไทยสั่งซื้อเข้าใช้ในราชการครั้งแรก เมื่อปี ๒๔๑๖
ปืนชนิดนี้ ผลิตขึ้นโดย  นาย  Richard J. Gatling ชาวอเมริกัน  เมื่อราวปี ๒๔๐๕
รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้หมอจันดเล เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทผลิตปืนในสหรัฐอเมริกา
เพื่อสั่งซื้อปืนกลชนิดนี้เข้ามาใช้ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
และใช้ประจำในเรือรบต่างๆ

ครั้นเมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้า
ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพยกพลไปปราบฮ่อที่หลวงพระบาง เมื่อ ปี ๒๔๒๘
ได้นำเอาหน่วยทหารมะรีน และปืนกลแก็ทลิ่ง จำนวน  ๒ กระบอก ไปใช้ในทัพด้วย

ถ้าใครเคยอ่านหนังสือ นิราศหลวงพระบาง  ของนายร้อยเอก หลวงทวยหาญรักษา
(เพิ่ม  อุปลาคม) คงจะทราบรายละเอียดการทัพปราบฮ่อครั้งนั้นเป็นอย่างดี
ในนิราศนั้น ได้เอ่ยถึงพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาธี) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่เมืองน่าน
และนายออกุสต์ ปาวี ด้วย 


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 04 ก.พ. 11, 10:00
ขอคั่นรายการปืนใหญ่ด้วยภาพของปาวี ชื่อ Une halte de nuit sur les bords du Mékong  พักแรมริมแม่น้ำโขง


รูปนี้เหมือนกับรูปของ Louise DELAPOTE กับคณะ ที่เคยมาสำรวจ ลาว เขมรและยูนนาน ช่วงปี 1866-1868 มากเลยครับ คำบรรยายภาษาอังกฤษว่า A nocturnal stopover on the bank of the Mekong  นักสำรวจคณะนี้มาสำรวจอินโดจีนก่อน ปาวี ราวๆสิบปี รูปเห็นไม่ค่อยชัดน่าจะเป็นภาพเดียวกันครับ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 04 ก.พ. 11, 10:05
คุณหลวงเล็กมาทีทำให้ข้อมูลกลับตาลปัตรไปหมด อุตส่าห์จะเชื่อแล้วเชียวว่าภาพนี้ถ่ายในการปราบฮ่อครั้งแรก :'(

เพราะการปราบอ่อทั้งสองครั้งต่างมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีปืนกลแกตลิงอยู่ในกระบวนทัพด้วย

การปราบฮ่อครั้งแรก บอกว่ามีนายสิบโท ถม คุมทหารหนึ่งโหลพร้อมปืนแกตลิง (ไม่ได้บอกว่าทหารอะไรคุมไปและมีปืนกี่กระบอก)
การปราบฮ่อครัง้ที่สาม บอกว่ามีทหารมะรีนคุมปืนแกตลิงไป 2 กระบอก (ในรูปเห็นชัดกระบอกหนึ่ง อีกกระบอกเห็นไม่แจ่มแจ้ง)

แล้วอย่างนี้จะสืบไปทางไหนต่อดี ???
มิต้องเริ่มกันใหม่เจียวฤๅ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 10:20
คุณหลวงเล็กมาทีทำให้ข้อมูลกลับตาลปัตรไปหมด อุตส่าห์จะเชื่อแล้วเชียวว่าภาพนี้ถ่ายในการปราบฮ่อครั้งแรก :'(

เพราะการปราบอ่อทั้งสองครั้งต่างมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีปืนกลแกตลิงอยู่ในกระบวนทัพด้วย

การปราบฮ่อครั้งแรก บอกว่ามีนายสิบโท ถม คุมทหารหนึ่งโหลพร้อมปืนแกตลิง (ไม่ได้บอกว่าทหารอะไรคุมไปและมีปืนกี่กระบอก)
การปราบฮ่อครัง้ที่สาม บอกว่ามีทหารมะรีนคุมปืนแกตลิงไป 2 กระบอก (ในรูปเห็นชัดกระบอกหนึ่ง อีกกระบอกเห็นไม่แจ่มแจ้ง)

แล้วอย่างนี้จะสืบไปทางไหนต่อดี ???
มิต้องเริ่มกันใหม่เจียวฤๅ

เข้ามางงด้วย  ??? เอกสารภาพเก่าที่ระบุไว้ในการปฏิรูปการทหารก็ระบุไว้ว่า จากมณฑลพิษณุโลก มีภาพว่าเป็นศึกฮ่อ ครั้งที่ ๑

อีกแหล่งหนึ่งก็ในนี้ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Army_of_Thailand_in_Haw_wars_(1875).jpg เช่นเดียวกัน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ก.พ. 11, 10:24
คุณหลวงเล็กมาทีทำให้ข้อมูลกลับตาลปัตรไปหมด อุตส่าห์จะเชื่อแล้วเชียวว่าภาพนี้ถ่ายในการปราบฮ่อครั้งแรก :'(

เพราะการปราบอ่อทั้งสองครั้งต่างมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีปืนกลแกตลิงอยู่ในกระบวนทัพด้วย

การปราบฮ่อครั้งแรก บอกว่ามีนายสิบโท ถม คุมทหารหนึ่งโหลพร้อมปืนแกตลิง (ไม่ได้บอกว่าทหารอะไรคุมไปและมีปืนกี่กระบอก)
การปราบฮ่อครัง้ที่สาม บอกว่ามีทหารมะรีนคุมปืนแกตลิงไป 2 กระบอก (ในรูปเห็นชัดกระบอกหนึ่ง อีกกระบอกเห็นไม่แจ่มแจ้ง)

แล้วอย่างนี้จะสืบไปทางไหนต่อดี ???
มิต้องเริ่มกันใหม่เจียวฤๅ

ถ้าภาพก่อนๆ นั้นมาจากหนังสือเล่มเดียวกัน แสดงว่า ทัพที่ปราบฮ่อครั้งนั้น
ต้องมีพระวิภาคภูวดลเกี่ยวข้อง และนายปาวีต้องเข้ามายุ่งในสงครามครั้งนี้
กลับไปดูที่ภาพพระวิภาคภูวดลที่เมืองน่านอีกที

ทัพที่เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ยกไปหลวงพระบางนั้น
ไปทางเรือล่องน้ำขึ้นไปจนถึงอุตรดิตถ์ แล้วจึงได้เดินทางต่อไปหลวงพระบาง
ผมว่า อ่านหนังสือประวัติการของเจ้าคุณสุรศักดิ์ฯ น่าจะได้ข้อมูลดี
ถ้าไม่พอ อ่านบันทึกของพระวิภาคฯ เพิ่มอีก  หรือถ้ายังปวดหัวไม่พอ
ไปเอาจดหมายเหตุปราบฮ่อ ทุกครั้งมาอ่าน  

อ้อ ปืนกระบอกข้างๆ นั้น น่าจะเป็นปืนใหญ่ฮอชกิส ปืนกลออชกิสเป็นปืนกล
ที่ใช้แก๊สทำงาน  ระบายความร้อนด้วยอากาศ ป้อนกระสุนด้วยสายกระสุนแถบโลหะ
บรรจุกระสุน ๒๔ - ๓๐ นัด  ผลิตโดยบริษัทฮอชกิส ประเทศฝรั่งเศส
ไม่แน่ใจว่า เอาเข้ามาใช้ในราชการไทยเมื่อใด



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.พ. 11, 10:40
ขอคั่นรายการปืนใหญ่ด้วยภาพของปาวี ชื่อ Une halte de nuit sur les bords du Mékong  พักแรมริมแม่น้ำโขง


รูปนี้เหมือนกับรูปของ Louise DELAPOTE กับคณะ ที่เคยมาสำรวจ ลาว เขมรและยูนนาน ช่วงปี 1866-1868 มากเลยครับ คำบรรยายภาษาอังกฤษว่า A nocturnal stopover on the bank of the Mekong  นักสำรวจคณะนี้มาสำรวจอินโดจีนก่อน ปาวี ราวๆสิบปี รูปเห็นไม่ค่อยชัดน่าจะเป็นภาพเดียวกันครับ

เอารูปในเว็บที่มาของภาพ มาลงให้ดูค่ะ  เป็นเว็บอธิบายถึงหนังสือของปาวี   ในหน้ามีภาพชุดเดียวกันรวม ๔ ภาพ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.พ. 11, 10:45
ส่วนภาพของ Delapote ที่คุณ Pathuma เอ่ยถึง   คงเป็นภาพนี้ละมังคะ 
ชื่อ  French Camp on Banks of River Mekong  จากหนังสือชื่อ 'Atlas du Voyage d'Exploration de Indo-Chine' ของ Louise DELAPOTE
คล้ายคลึง แต่เป็นคนละภาพ คนละแบบกันค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 04 ก.พ. 11, 15:32
การปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบางใช้ทัพจากเมืองพิษณุโลกเป็นหลักแน่นอนครับ  เพราะการเดินทัพไปหลวงพระบางนั้นปกติใช้เส้นทางบกจากอุตรดิตถ์กับเมืองน่านเป็นหลัก  ส่วนการเดินทัพจากมณฑลอุดรนั้นจะไปเพียงเมืองเวียงจันทร์  เพราะหนทางจากเวียงจันทร์ไปหลวงพระบางยากลำบากและกันดารกว่าเส้นทางเมืองอุตรดิตถ์และเมืองน่านมาก


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 16:15
ปืน Gatling กับอูฐ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.พ. 11, 16:24
เส้นทางบุกตีทัพฮ่อ สีน้ำเงินจากพิษณุโลก เข้าน่าน ไปหลวงพระบาง

เส้นสีเขียว โคราช อุบล รวมกันที่อุดร ขึ้นหนองคาย เข้าเวียงจันทน์

ส่วนสีแดงเป็นทัพฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ แยกบุกหลวงพระบาง และเวียงจันทน์


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 ก.พ. 11, 16:29
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2428 จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อครั้งยังเป็นนายพันเอก จมี่นไวยวรนาถ แม่ทัพปราบฮ่อ ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าราชวงศ์ (คำสุก) แห่งนครหลวงพระบาง (ต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์หลวงพระบาง ทรงพระนามว่า พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์) ที่กองบัญชาการปราบฮ่อฝ่ายไทย ณ เมืองซ่อน ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน
ธงในภาพ คือธงจุฑาธุชธิปไตย ซึ่งเป็นธงชัยเฉลิมพลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหารครั้งแรกของไทย เมื่อ พ.ศ. 2427


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.พ. 11, 21:40
ตอนนี้ ตกลงกันได้หรือยังคะ เรื่องปราบฮ่อ
ไม่เคยเห็นรูปจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ เมื่อเป็นนายพันเอก จมี่นไวยวรนาถ แม่ทัพปราบฮ่อ มาก่อนเลยค่ะ   


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 04 ก.พ. 11, 22:04
ภาพปืนใหญ่หลังช้างของคุณลุงไก่ หนังสือนิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยวฉบับกรมศิลปากร ๒๕๔๘ อธิบายภาพว่า

ช้างบรรทุกปืนใหญ่ ซึ่งแม่ทัพคิดขึ้นใหม่ จะได้เดิรกระบวนเข้ากองทัพไปทางเมืองน่านถึงเมืองหลวงพระบาง (ครั้งที่ ๑)

อธิบายความตามหนังสือ แม่ทัพในที่นี้คือเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ซึ่งเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ครับ ไม่ได้หมายความว่าศึกนี้เป็นศึกฮ่อครั้งที่ ๑

ถูกผิดอย่างไรผมไม่เกี่ยวนะครับ เป็นเพียงพลนำสาร

;D


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 05 ก.พ. 11, 22:31
คั่นรายการหน่อย ผู้สูงอายุตาลายหมดแล้ว
ก็เจ้าคุณแพ สายบุนนาคนี่เองยอดแห่งสาวสยาม
ถ้าอยู่ถึงปัจจุบันนักศึกษาสาวสยาม จะได้รับการยกย่องแบบนี้ไหมหนอ

ถูกใจ ๒๐๓ อีกแล้ว ทรงผมนำสมัยทั้งสองท่าน
ดูแต่รูปคนกับเรือเท่านั้น ไม่อยากเห็นหน้า ปาวีหลอก
ขอบคุณ คุณเทาชมพู


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.พ. 11, 08:23
ภาพปืนใหญ่หลังช้างของคุณลุงไก่ หนังสือนิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยวฉบับกรมศิลปากร ๒๕๔๘ อธิบายภาพว่า

ช้างบรรทุกปืนใหญ่ ซึ่งแม่ทัพคิดขึ้นใหม่ จะได้เดิรกระบวนเข้ากองทัพไปทางเมืองน่านถึงเมืองหลวงพระบาง (ครั้งที่ ๑)

อธิบายความตามหนังสือ แม่ทัพในที่นี้คือเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ซึ่งเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ครับ ไม่ได้หมายความว่าศึกนี้เป็นศึกฮ่อครั้งที่ ๑

ถูกผิดอย่างไรผมไม่เกี่ยวนะครับ เป็นเพียงพลนำสาร

;D

ผมกลับไปค้นตามเวปต่างๆ ที่แสดงภาพนี้ไว้ ก็มีการอธิบายภาพไว้ทั้ง ๒ อย่าง คือ เป็นภาพเหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ และ พ.ศ. ๒๔๒๘ ยังฟันธงไม่ได้
จากข้อมูลที่คุณ Crazy Horse นำเสนอไว้ ก็เป็นความเห็นหนึ่งเพื่อนำไปสู่ความถูกต้องต่อไป ...







กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.พ. 11, 13:21
ฝรั่งเศสได้สร้างอนุสาวรีย์ของนายปาวีกำลังได้รับการกราบไหว้จากชาย-หญิงลาว ตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งหลังจากประเทศลาวได้รับเอกราช อนุสาวรีย์ของนายปาวีได้ถูกแยกชิ้นส่วนนำไปทิ้งแม่น้ำโขง ต่อมาสถานทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียงจันทน์ได้กู้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานทูต ส่วนรูปหล่อชาย-หญิงลาว นำไปเก็บรักษาที่สนามหน้าหอพระแก้ว กรุงเวียงจันทน์

(http://pavie.culture.fr/media/32/MEDIAS/19_COLPU_DINAN_M.jpg)

http://pavie.culture.fr/mediatheque.php?rubrique_id=32&lg=en#media171

 ;D

ภาพอนุสาวรีย์ของนายปาวีในอีกมุมหนึ่ง

เครดิตภาพให้แก่คุณ Keng จาก bwfoto.net .. ขอขอบคุณไว ณ ที่นี้





กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 11, 22:37
ระหว่างที่ท่านทั้งหลายไปปราบฮ่อกันอยู่   ดิฉันขอกลับไปสังเกตการณ์ฝรั่งเศสปิดปากอ่าวก่อน       เพราะศึกยังไม่จบ  ;D

ขอต่อจากที่คุณ Navarat.C โพสค้างเอาไว้ ในเรื่องสงครามปิดปากอ่าวไทยครั้งนั้น   มีบันทึกถึงความไม่พร้อมรบทางฝ่ายสยามกันอยู่  ไม่ใช่แค่ฝรั่งเศสบุกเข้ามาแบบเจ้าพ่อเท่านั้น  

ทางฝ่ายสยาม มีเรือรบ ๒ ลำ คือ เรือมกุฎราชกุมาร และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ที่เอาไว้ต่อกรกับข้าศึก  แต่ก็เป็นเรือล้าสมัย เพราะเป็นเรือโดยสารไม่ใช่เรือรบ  ส่วนกองทัพบกก็ล้าสมัย  มีทหารทำหน้าที่รักษาพระนครรอบนอก กระจายกำลังไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ตั่งแต่เมืองสมุทรปราการยันพระโขนง  ภายในกำแพงพระนครก็ได้กระจายกำลังไปรักษาพื้นที่ย่านสระปทุม บางรักและฝั่งธนบุรี  พร้อมกันนั้นยังมีทหารอาสาสมัคร ของพระยาสุรศักดิ์มนตรี  อีกประมาณ 1,800 คน กระจายกำลังกันรักษาพระนครอยู่ทั่วไป

คืนวันที่  13  กรกฎาคม  เรือรบฝรั่งเศสก็บุกผ่านเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยามา โดยมีเรือ เจ.เบ.เซย์ (Jean Baptist Say) เป็น เรือนำร่อง ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงได้ยิงปืนใหญ่เข้าสกัด ต่างฝ่ายก็ระดมยิงตอบโต้กัน เรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือป้อม ก็เข้าระดมยิงไปยังเรือรบฝรั่งเศส เรือนำร่องของฝรั่งเศสถูกยิงจนไปเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง การรบดำเนินไปได้เพียงครึ่งชั่วโมงเศษ  ก็สิ้นสุดลงเพราะเป็นคืนเดือนมืด เรือรบฝรั่งเศสทั้งสองลำจึงสามารถตีฝ่าแนวป้องกันของสยาม เข้ามาได้เทียบเท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในพระนครได้สำเร็จ และได้หันปืนใหญ่เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง  


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 11, 22:40
       ฝรั่งวิเคราะห์ว่า กองทัพของสยามในยุคนั้น เพิ่งได้พบกับศึกใหญ่ที่มีความทันสมัยเป็นครั้งแรก ศักยภาพของกองทัพในเวลานั้นมีไม่มากนักหรือจะเรียกว่า"ต่ำมาก"  ระบบการศึกษาทางทหารมีไว้เพื่อประดับเกียรติยศและไม่เคร่งครัดตามแบบแผนตะวันตกจริง ๆ  จนมีคำกล่าวว่า "สยามรับวิธีการของฝรั่งมา โดยไม่เอาจิตวิญญาณของฝรั่งติดมาด้วย"
        นอกจากนี้ยังระบุว่า แม้แต่ทหารที่ประจำอยู่บนเรือรบก็เป็นทหารที่เพิ่งเกณฑ์มาจากท้องนา      นอกจากผู้บัญชาการบนเรือรบแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นที่รู้วิธียิงปืนรบ    นายทหารสามนายที่รักษาการณ์อยู่ก็มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่พูดภาษาสยามได้ อีกสองนายเป็นชาวเดนมาร์กจากกรมแผนที่ และเพิ่งเดินทางเข้ามายังสยามได้ไม่นาน รวมทั้งเป็นอาสาสมัครที่พูดภาษาสยามไม่ได้แม้แต่คำเดียว ในระหว่างการต่อสู้กันนั้น นายทหารเหล่านี้วิ่งจนหอบแฮ่กๆ  ไปที่ปืนแต่ละกระบอกสลับกัน พร้อมทั้งออกคำสั่งเป็นภาษาที่ทหารชาวสยามฟังไม่เข้าใจ !!!

       หมายเหตุ : ฝรั่งว่า แต่ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า  โปรดพิจารณา

       อย่างไรก็ตาม  สยามมี "เรือพระที่นั่งมหาจักรี" ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน ความเร็ว 15 น็อต ปืนขนาด 4.7 หอต่อสู้ 2 หอ และหัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้ “สูงกว่า” เรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกันถึง 600 ตัน เรือที่มีสมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบ

      ในหนังสือ  Peoples and Politics of the Far East ของเฮนรี่ นอร์แมน กล่าวไว้ว่า
     ".....คำตอบนั้นง่ายและเจ็บปวด รวมทั้งเป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่ว่า ในสยามนั้น พระเจ้าแผ่นดินมาก่อนประเทศชาติ เรือพระที่นั่งมหาจักรีจอดอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ภายใต้คำสั่งที่เข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องใช้เป็นพาหนะให้พระเจ้าอยู่หัว... แต่ถึงจะมีความตั้งใจใช้เรือลำนี้ก็ตาม คงเป็นไปได้ยาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตั้งแต่เรือลำนี้มาถึงสยาม ยังไม่มีการลองยิงปืนเลย ไม่มีใครในราชอาณาจักรนี้ ยกเว้นนายทหารชาวเดนมาร์ก 2 หรือ 3 นายเท่านั้นที่รู้วิธีใช้ กระสุนปืนถูกขนขึ้นเรือเป็นครั้งแรกเพียง 2 - 3 ชั่วโมง ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ที่ปากน้ำ นอกจากนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยาก ก็ต้องอาศัยวิศวกรชาวอังกฤษควบคุม ไม่มีชาวสยามคนใดรู้วิธีจัดการกับเครื่องยนต์นี้แม้แต่คนเดียว ส่วนคนในอารักขาของอังกฤษก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้..... "
      อีกสาเหตุหนึ่งคือ
      “... แม้แต่การประชุมของเหล่าเสนาบดีมีสภาพคล้ายกับการทะเลาะกันในร้าน เหล้า...เหล่าเสนาบดีไม่มีการทำงานที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือแนวคิดและนโยบาย เมื่อคราวเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112  ข้าราชการในคณะรัฐบาลสยามขณะนั้นมีความคิดเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย... ฝ่ายหนึ่งนำโดยพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ สนับสนุนการใช้กำลังตอบโต้ฝรั่งเศส อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มของกรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การทูตเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่หลังจากทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยดำเนินพระราโชบายตามข้อเสนอแนะของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ การนองเลือดจึงไม่เกิดขึ้น !!!...."

       การ ขาดแคลนทั้งกำลังพลที่ได้รับการฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ขาดผู้ชำนาญการใช้อาวุธที่เป็นชาวสยามเอง ขาดอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมและทันสมัย ขาดแม่ทัพนายกองที่มีกลยุทธ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ทันมัย และที่สำคัญการขาดความสามัคคีของขุนนางและชนชั้นผู้ปกครอง ปรากฏเป็นรอยร้าวแทรกตัวอยู่ในทุกหัวระแหงของราชสำนัก นำมาสู่ความอ่อนแอในทุก ๆ ด้านของประเทศสยาม !!!

       เพียงเรือรบไม้สองลำที่แล่นฝ่าเข้ามาถึงชานพระนคร ก็สามารถสั่นสะเทือน ทำลายความเชื่อมั่นของ "จิตวิญญาณ" แห่งราชสำนักสยามให้พังทลายลงได้อย่างรวดเร็ว !!!


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 11, 22:44
ข้างบนนี้ดูเหมือนฝรั่งว่าสยามฉอดๆ อยู่ข้างเดียว     ดิฉันก็เลยไปหาหลักฐานเพิ่ม 

มีหลักฐานทั้งทางฝรั่งเศสและอังกฤษพูดตรงกันว่า  ในศึกระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ซึ่งทางฝรั่งเศสเรียกว่า la guerre franco-siamoise de 1893  ในตอนแรก สยามเข้าใจว่าอังกฤษจะสนับสนุนถือหางทางฝ่ายสยาม     แต่เอาเข้าจริงอังกฤษกลับไม่ทำ   เหตุผลคืออะไร ดิฉันกำลังหาข้อมูลอยู่   ถ้าใครเจอข้อมูล กรุณาโพสต์ลงไปได้เลยไม่ต้องรอ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 07:51
ข้างบนนี้ดูเหมือนฝรั่งว่าสยามฉอดๆ อยู่ข้างเดียว     ดิฉันก็เลยไปหาหลักฐานเพิ่ม 

มีหลักฐานทั้งทางฝรั่งเศสและอังกฤษพูดตรงกันว่า  ในศึกระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ซึ่งทางฝรั่งเศสเรียกว่า la guerre franco-siamoise de 1893  ในตอนแรก สยามเข้าใจว่าอังกฤษจะสนับสนุนถือหางทางฝ่ายสยาม     แต่เอาเข้าจริงอังกฤษกลับไม่ทำ   เหตุผลคืออะไร ดิฉันกำลังหาข้อมูลอยู่   ถ้าใครเจอข้อมูล กรุณาโพสต์ลงไปได้เลยไม่ต้องรอ


คงจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ ที่ค้ำคอทั้งสองประเทศระหว่างอังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นอันดับแรกใช่ไหมครับ

ทั้งนี้เหตุการณ์ในก่อนที่เรือรบบุกล่วงเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา หลายเดือนก่อนหน้านี้วันที่ ๒๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๙๓ ลอร์ดโรซเบอรี่ ได้ยินเรื่องราวเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ฝรั่งเศสจะทำการปิดอ่าวสยาม เพื่อเรียกร้องดินแดนฝ่ายซ้ายแม่น้ำโขง จึงมีหนังสือดังนี้ออกมาว่า

"ข้าพเจ้าได้รับบัญชาท่านเอิลโรสเบอรี่ ให้ส่งสำเนาข้อความโทรเลขที่ได้รับจากกัปตันโยนซ์ (ราชทูตอังกฤษที่กรุงเทพฯ) ตอบคำถามของเรา ซึ่งสอบถามไปว่า เรือ ๒ ลำซึ่งแน่ใจว่าอยู่ที่กรุงเทพแล้ว จะพอแก่การที่จะคุ้มครองคนในบังคับอังกฤษ หรือปราบปรามจีนเมื่อลุกฮือขึ้น ในคราวที่จำเป็นได้หรือไม่

ท่านลอร์ดโรสเบอรี่จึงมีบัญชาให้นำเรือรบ ปาลลาส (Pallas) และเรือปิกมี (Pigmy) ซึงเข้าใจว่าจอดที่สิงคโปร์ไปยังกรุงเทพฯ โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้"
และท้ายสุดเรือปาลลาส มาถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๑ กรกฎาคม ส่วนเรือปิกมี ไม่มาด้วย แต่ส่งเรือลินเนต (Linnet) มาแทนซึ่งมาถึงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔.๐๐ น.



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.พ. 11, 07:58
ขออนุญาตคัดลอกข้อความจากเวปเจ้าของเรื่องนะครับ

สำเนาเอกสารเสร็จ ยังพอเหลือเวลาอีกครึ่งชั่วโมงก่อนการประชุม ผมได้ดำดิ่งลงไปสู่จินตนาการอันคล้อยตามผู้เขียนบทความภายในเล่ม หน้า 136 เรื่อง “โทรเลขในโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย” ใจความมีว่า...

    ...ปี พ.ศ. 2436 ประวัติศาสตร์ไทยอาจบันทึกเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ไปอีกแบบ หากโทรเลขจากปารีสฉบับหนึ่งส่งถึงมือผู้รับ
         เป็นที่ทราบกันดีว่า สมัยนั้นสยามกำลังเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคม ดินแดนรอบๆ บ้านเราเวลานั้นล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจอย่างอังกฤษ และฝรั่งเศสไปแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพม่า กัมพูชา หรือเวียดนาม
        ในครั้งนั้นฝรั่งเศสมีท่าทีคุกคามอย่างเห็นได้ชัด จากการที่ส่ง ออกุส ปาวี (Auguste Pavie) หรือที่คนไทยรู้จักในนาม “ม. ปาวี” มาเป็นทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (จะกล่าวถึงคุณสมบัติชายผู้นี้ตอนท้าย)
         ชายผู้นี้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญที่พยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนั้นยังมีฐานะเป็นประเทศราชของสยาม ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสให้ได้
         เมื่อการหาเรื่องกระทบกระทั่งด้วยกำลังทหารในเขตอินโดจีน และยั่วยุให้สยามตอบโต้ (เพื่อให้เรื่องบานปลายแล้วฝรั่งเศสจะได้มีข้ออ้างในการใช้กำลังยึดดินแดน) ไม่เป็นผล ปาวี จึงตัดสินใจขออนุญาตรัฐบาลของตนนำเรือรบบุกเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมประกาศปิดอ่าวไทยทันที สถานการณ์สยามจึงวิกฤตถึงขีดสุด...
         ในช่วงเวลาอันคับขันนั้น ณ อีกซีกโลกหนึ่ง ทูตไทยที่ปารีสได้พยายามทำทุกทางเพื่อโน้มน้าวรัฐบาลฝรั่งเศสให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จนในที่สุด ทางการฝรั่งเศสก็ได้มี โทรเลขด่วนถึงมิสเตอร์ ปาวี และกัปตันเรือรบ ให้ระงับปฏิบัติการเสีย ทว่า... โทรเลข ฉบับชี้เป็นชี้ตายนั้นกลับไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เนื่องจาก
           “... ปาวี ใช้อุบายของตนแกล้งให้เข้าใจผิด โดยไม่มอบคำสั่งด่วนจากปารีสให้ผู้บังคับการเรือรบ วิธีการของ ปาวี คือ นำ โทรเลข ฉบับสำคัญนั้นใส่รวมในถุงจดหมายฉบับอื่นๆ ของเมลปรกติที่ส่งถึงนายทหารบนเรือรบ...” (ไกรฤกษ์ นานา ใน “ราชการลับ เมื่อ ร. 5 เสด็จประพาสเยอรมนี ไม่ใช่เรื่องลับในยุโรป”, ประวัติศาสตร์นอกพงศาวดารรัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวงในโลกตะวันตก, มติชน 2546)
           ส่งผลให้เกิดการปะทะกันตามแผนที่ ปาวี วางไว้ เรือรบฝรั่งเศสบุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงหน้าสถานทูตของตน โดยที่ปืนทุกกระบอกอยู่ในสภาพพร้อมรบ เมื่อเหตุการณ์มาถึงขั้นนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสเองก็ต้อง “ตามน้ำ” จนกลายเป็น “นโยบายเรือปืน” ที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

คราวนี้มาดูท่าทีของทางฝ่ายอังกฤษบ้าง

          ห้างวอลเลซ บราเธอร์ (Wallace Brother) เอเย่นต์ของ บริษัทบอมเบย์เบอร์ ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2436 มีความว่า " บัดนี้ความยุ่งยากภายในได้เกิดขึ้นแล้วทั้งที่กองเรือฝรั่งเศสยังไม่ทันเข้าไปถึงกรุงเทพ ฯ หากกองเรือฝรั่งเศสได้เข้าไปจริง ถึงจะไม่มีการรบพุ่งกันก็ตามเหตุการณ์ภายในเมืองคงร้ายแรงกว่านี้ การที่ฝรั่งเศสยึดเกาะเสม็ด ก็ยิ่งเพิ่มให้เกิดผลร้ายขึ้นอีก เป็นธรรมดาของรัฐบาลทางตะวันออก ที่ยังบกพร่องในวิธีดำเนินการปกครอง เมื่อได้ประสบความยุ่งยากที่สลับซับซ้อนโดยเร็วเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมได้รับความลำบากเป็นอย่างยิ่ง และถึงแม้จะเป็นรัฐบาลที่มั่นคงก็ตาม แต่ก่อนที่จะสามารถจัดการอะไรลงไปได้ ชีวิต และทรัพย์สินเป็นอันมากก็ย่อยยับไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ามีเรือรบอังกฤษหลาย ๆ ลำเข้าไปจอดอยู่ในกรุงเทพ ฯ และเตรียมพร้อมที่จะส่งทหารของเราขึ้นบกได้ทุกเมื่อที่จำเป็นแล้ว จะเป็นการช่วยระงับเหตุการณ์จลาจลในบ้านเมืองได้"
        
         กัปตันโยนส์ ราชฑูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้มีโทรเลขไปถึง ลอร์ด โรส เบอรี รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2436 มีความว่า "รัฐบาลไทยได้รับคำเตือนจากรัฐบาลฝรั่งเศสว่า บัดนี้รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งให้กองเรือรบเดินทางมาไซ่ง่อนแล้ว และถ้าเหตุการณ์ถึงคราวจำเป็น รัฐบาลฝรั่งเศสจะส่งกองเรือรบนั้นเข้ามากรุงเทพฯ รัฐบาลไทยมีความตั้งใจจะปิดปากน้ำเจ้าพระยา และต่อสู้ป้องกันปากน้ำตามกำลังที่จะกระทำได้”

          ลอร์ด โรส เบอรี่ ได้มีโทรเลขตอบกัปตันโยนส์ ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2436 มีความว่า "ได้ส่งสำเนาโทรเลขของกัปตันโยนส์ ลงวันที่ 26 มิถุนายน ไปให้กระทรวงทหารเรือทราบแล้ว กระทรวงทหารเรือได้มีคำสั่งไปถึง พลเรือตรี ฟรีแมนเติลแล้ว เพื่อให้จัดส่งเรือรบอีกลำหนึ่งไปยังกรุงเทพ ฯ และให้จัดเตรียมเรือรบลำที่สามไว้ให้พร้อมเผื่อเรียกได้ทันท่วงที"
        
         มิสเตอร์ฟิปปส์ มีโทรเลขถึง ลอร์ด โรส เบอรี ลงวันที่ 29 มิถุนายน มีความว่า ม.เดอ แวลล์ ได้กล่าวถึงเรื่องที่ได้รับรายงานว่า ทหารเรืออังกฤษ ได้สอนให้พวกไทยหัดยิงตอร์ปิโด เขายังได้กล่าวอีกว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะไม่ทำการรุนแรงอย่างใดที่กรุงเทพฯ โดยไม่บอกกล่าวให้รัฐบาลอังกฤษทราบเสียก่อน และยังได้แสดงความพอใจที่ ลอร์ด โรสเบอรี ได้กล่าวในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวานนี้ด้วย"

            ลอร์ด โรสเบอรี มีโทรเลขถึง มิสเตอร์ ฟิปปส์ ลงวันที่ 29 มิถุนายน มีความว่า "ได้สอบสวนเรื่อง ม.เดอแวลล์ กล่าวถึงว่า พวกไทยได้รับคำสั่งสอนจากทหารเรืออังกฤษ ในวิธียิงตอร์ปิโดร์นั้น ยังไม่ได้ข่าวถึงเรื่องเช่นนี้เลย แต่อาจจะมีชาวอังกฤษซึ่งรับราชการอยู่ในราชนาวีไทยบ้างก็เป็นได้"

           ในที่สุดทางการทหารเรืออังกฤษได้กำหนดว่าจะส่งเรือพาลลาส (Pallas) และเรือพิกมี (Pigmy) ซึ่งประจำอยู่ที่สิงคโปร์เข้าไปกรุงเทพ ฯ แต่เนื่องจากเรือพิกมีติดราชการอื่น จึงได้ส่งเรือพาลลาส ซึ่งเป็นเรือธงของผู้บังคับกองเรืออังกฤษ ประจำช่องมะละกามากรุงเทพฯ ก่อน และจะส่งเรือพลัฟเวอร์ (Pluver) ซึ่งมาแทนเรือพิกมีตามมาภายหลัง

          เรือพาลาสเดินทางมาถึงสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ต่อมาจึงส่งเรือลินเนต (Linnet) มาแทนเรือพิกมี มาถึงปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมพ.ศ. 2436
ลอร์ด โรสเบอรี โทรเลขถึงมิสเตอร์ฟิปปส์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ให้ยืนยันแก่ ม.เดอแวลล์ว่า เรือรบอังกฤษจะไม่ข้ามสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาเข้าไป และในวันเดียวกันก็ได้มีโทรเลขไปถึงกัปตันโยนส์มีความว่า "เรือพาลลาส จะข้ามสันดอนปากน้ำเข้าไปไม่ได้ ให้จัดการให้เรือพาลลาส และเรือพลัฟเวอร์ทั้งสองลำ จอดอยู่ทางเข้าแม่น้ำภายนอกสันดอน และให้เจรจากับรัฐบาลไทยให้แจ้งเรื่องนี้ให้ราชฑูตฝรั่งเศส (ที่กรุงเทพ ฯ) ทราบด้วย"

          มิสเตอร์ฟิปปส์ได้โทรเลขถึง ลอร์ด โรสเบอรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม แจ้งเนื้อความการเจรจากับ ม.เดอแวลล์มีความว่า "ม.เดอแวลล์แจ้งว่าเรือฝรั่งเศส ที่ส่งไปจะอยู่นอกสันดอน คงให้เรือลูแตงอยู่ในกรุงเทพ ฯ และแจ้งว่าตามข้อ 15 แห่งหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1856 ให้เรือฝรั่งเศสเข้าไปในลำแม่น้ำเจ้าพระยาได้จนถึงสมุทรปราการ และเมื่อแจ้งให้รัฐบาลไทยทราบแล้วให้ล่วงเข้าไปถึงกรุงเทพ ฯ ได้”

          จากนั้นมิสเตอร์พิปปส์แจ้งว่า ความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษมีหลักอยู่ว่า มีความจำเป็นจะต้องคุ้มครองผลประโยชน์ของเราในกรุงเทพ ฯ ซึ่งอังกฤษมีส่วนในการค้าขายอยู่ถึงสามในสี่ส่วน และถ้าหากว่ามหาประเทศใดซึ่งมีปัญหาระหว่างประเทศต้องพิพาทกับประเทศที่มีกำลังน้อย แล้วยกกำลังกองทัพเรือใหญ่โตมาขู่ขวัญภายในอาณาเขตเช่นนี้ ก็เหมือนกับว่าตัดสิทธิประเทศนั้นเสียในอันจะป้องกันตัวเอง

             ม.เดอแวลล์ตอบว่า ม.โกรสกูแรง ถูกฆ่าตาย และได้มีการฆ่าฟันทหารญวนด้วย กับเรื่องการปล่อยตัวร้อยเอกโทเรอซ์ ดังนั้นโดยเกียรติยศของฝรั่งเศส จะไม่ยอมให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง และจะต้องได้รับข้อเรียกร้องอันชอบธรรมนี้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับแล้วก็จะต้องบังคับเอา "    
    
        เมื่อฝรั่งเศสได้ทราบว่าอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมในน่านน้ำสยามอีก และรู้สึกว่ามีทีท่าในทางส่งเสริมให้กำลังใจฝ่ายสยาม จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น ดังนั้นในวันที่ 8กรกฎาคม พ.ศ. 2436 รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้โทรเลขมายัง ม.ปาวี ราชฑูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ ฯ ให้แจ้งแก่รัฐบาลสยามมีความว่า รัฐบาลอังกฤษมีดำริส่งเรือรบหลายลำเข้ามายังกรุงเทพ ฯ เพื่อป้องกันรักษาชนชาติอังกฤษ ฝ่ายเราเห็นสมควรจะต้องเพิ่มกำลังทางเรือของเราที่กรุงเทพ ฯ ให้แจ้งแก่รัฐบาลไทยเป็นการล่วงหน้าว่า จะมีเรือรบฝรั่งเศสไปรวมกำลังกับเรือลูแตง โดยชี้ให้เห็นชัดว่าการดำเนินการครั้งนี้อย่างเดียวกับประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ได้กระทำก่อนแล้ว ให้เป็นที่เข้าใจว่า จะไม่ทำการรุกรบอย่างใด ๆ โดยไม่แจ้งให้ทราบเสียก่อน เว้นไว้แต่ในกรณีที่เรือของฝรั่งเศสถูกโจมตี และถูกบังคับ จึงจะยิงโต้ตอบกับฝ่ายข้าศึกได้

                 ม.ปาวี ได้มีหนังสือทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม มีความว่า "รัฐบาลฝรั่งเศสขอให้แจ้งว่ารัฐบาลอังกฤษได้ดำริจะให้เรือรบหลายลำเข้ามาในกรุงเทพ ฯ อ้างว่ามีเหตุจำเป็นจะให้มาป้องกันรักษาคนในบังคับอังกฤษ ในสมัยที่เกิดการวุ่นวายกันนี้ เหตุฉะนี้รัฐบาลฝรั่งเศสจึงตั้งใจจะกระทำตามบ้าง เรือรบสองลำในกองทัพเรือฝรั่งเศส ได้รับคำสั่งให้เข้ามาอยู่ร่วมกับเรือลูแตงที่กรุงเทพ ฯ การที่เรือรบเข้ามาคราวนี้ ก็มีความประสงค์อย่างเดียวกันกับประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ที่ได้กระทำมาก่อน เรือรบสองลำที่ออกเดินทางมาแล้วนั้น ชื่อโคแมต (Comete) และแองดองสตังค์ (Inconstang) จะเดินทางมาถึงสันดอนในวันที่ 15 กรกฎาคม จึงขอได้โปรดมีคำสั่งให้มีนำร่องคอยไว้สำหรับเรือรบสองลำนี้"  แต่ในที่สุดเรือฝรั่งเศสก็ล้ำอธิปไตยเข้ามา และถูกฝ่ายสยามระดมยิงใส่เรือปืน

...สุดท้ายผมได้มาเจอหนังสือเล่มหนึ่งยืนยันโทรเลขฉบับประวัติศาสตร์ ที่ทางการฝรั่งเศสระงับคำสั่งรบนั้นมีจริง ใน “สยามกู้อิสรภาพตนเอง” ซึ่งผู้เขียนเป็นสุดยอดนักเขียนประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ห้า นั่นคือคุณ ไกรฤกษ์ นานา ซึ่งเขียนหนังสือเล่มนี้ ได้อย่างน่ายกย่องทั้งวิธีการเรียบเรียง ทั้งรวบรวมข้อมูลที่มากมาย และการลงทุนชีวิตทุ่มเทกับงาน โดยเฉพาะในหน้า 204 ที่ยังได้มีบทวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ของฝรั่งเศสไว้หลายประเด็น แต่ผมขอยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการโทรเลขที่สำคัญฉบับนั้นซึ่งติดอยู่ในใจผม จึงนำมาเล่าดังนี้

            ...ก่อนการปะทะ 1 วัน คือวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ภายหลังพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ อัครทูตสยามประจำกรุงปารีส เจรจาให้นายเดอแวล (M. Devell) รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส ถอนคำสั่งเรือรบ 2 ลำที่แล่นเข้ากรุงเทพฯ โดยได้ส่งโทรเลขด่วนถึงกองเรือรบฝรั่งเศสให้ระงับการเดินทางผ่านสันดอนเข้ามา แต่ทว่า...โทรเลขฉบับนี้มาไม่ถึงกัปตันเรือทั้งสองลำ ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นที่ ม. ปาวี ได้รับโทรเลขระงับคำสั่งถอนเรือรบ แต่ขัดขืนไม่ปฎิบัติตาม ย่อมมีโทษทางวินัยร้ายแรง ...ยกเว้น ได้รับสัญญาณจากผู้ใหญ่

            แน่นอนทางการทหารนั้น เมื่อออกคำสั่งแล้วอ้างว่าไม่ได้รับหรือขัดคำสั่งนั้นย่อมมีโทษร้ายแรง แต่กลับเป็นว่าผู้บัญชาการเรือรบในครั้งนั้นได้รับเลื่อนยศ ติดเหรียญกล้าหาญ และม. ปาวี ก็ได้บำเหน็จรับความดีความชอบ

         ...ตอนจบของวิกฤติ รศ. 112 ม. ปาวี ตัวแสบ ได้อำนาจเป็นตัวแทนฝรั่งเศสยื่นคำขาดต่อรัฐบาลสยาม ทั้งร้องเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และยังต้องจ่ายเงินถึง 3 ล้านฟรังก์ เพื่อชดใช้ความเสียหายแก่ฝรั่งเศส

บทความของคุณปรเมศวร์ กุมารบุญ จากเวปโทรคมดอทคอม






กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 08:26
เมื่อจดหมายฉบับดังกล่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชน ได้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส  โดยฝรั่งเศสต่อว่าอังกฤษและอ้างเหตุผลที่จะต้องเข้าครอบครองดินแดนและเหตุการณ์ต่างๆที่มีกับสยาม แต่การที่อังกฤษในสภาปาเลียเม้นท์ ได้ส่งเรือรบไปน่านน้ำกรุงเทพ เป็นข้อยุยงส่งเสริมให้มีน้ำใจทำการขัดขืนไม่ยินยอมมากขึ้น ซึ่งเรา (ฝรั่งเศส)ยังคงเชื่อมั่นว่าอังกฤษจะไม่คิดเอาธุระในเรื่องที่เรากับสยามเกิดพิพาทกันขึ้น"

กล่าวโดย ม.เดอแวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรางการต่างประเทศฝรั่งเศส


แต่ภายหลังวิกฤตการณ์ร.ศ. ๑๑๒ แล้ว ฝรั่งเศสปิดอ่าวสยาม และท่าทีของอังกฤษกับฝรั่งเศส ก็ยังคงมีปัญหาคือ
๑. ฝรั่งเศสประกาศยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด ทำให้ทางอังกฤษไม่พอใจ เนื่องจากเกรงว่า ทางตอนเหนือแม่น้ำโขงซึ่งติดกับดินแดนจีนและแว่นแคว้นอื่นๆและเป็นดินแดนอินเดียที่อังกฤษปกครอง เกรงว่าฝรั่งเศสจะทำการยึดดินแดนต่อไป

๒. เพื่อป้องกันปัญหาพิพาทระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ได้มีการตกลงเรื่อง "รัฐกันชน หรือ Buffer State"

๓. อังกฤษเริ่มรู้ว่าเหตุการณ์ได้พิพาทกว้างขวาง ซึ่งเดิมเชื่อว่าจะเป็นเรื่องผิดใจกันการปักปักดินแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสทางดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้เท่านั้น บัดนี้กินอาณาเขตกว้างขวางมาก (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด) ซึ่งทำให้ดินแดนฝรั่งเศสประชิดกับดินแดนอิทธิพลอังกฤษมาก และยังให้เกิดการหวั่นไหวในวงการบริหารการแผ่นดินของรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าอยู่หัว

๔. ฝรั่งเศสอ้างเหตุผลการยึดดินแดนหลวงพระบางว่า เป็นเมืองขึ้นของญวน และฝรั่งเศสถือสิทธิ์เหนือฝั่งแม่น้ำโขงมาแต่โบราณ ข้อนี้อังกฤษแย้งกันว่า หยิบยกประวัติการยุ่งยากพอๆกันกับ ฝรั่งเศสส่งคืนแคว้นนอร์มังดี คาสโคนีย์ และเกียนน์ ซึ่งเป็นทำนองเดียวกันกับที่ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์หลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดนของสยามมาแต่เดิม

และอังกฤษเองกับฝรั่งเศสก็ทำสัญญากันเองจัดสรรดินแดนรัฐกันชน ไม่ก้าวล่วงละเมิดอำนาจกัน โดยที่สยามไม่รับรู้เลย


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.พ. 11, 08:37
มิสเตอร์ฟิปปส์ (Phipps)  (อุปฑูตอังกฤษประจำปารีส )ได้โทรเลขถึง ลอร์ดโรสเบอรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ) เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม แจ้งเนื้อความการเจรจากับ ม.เดอแวลล์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส)มีความว่า "ม.เดอแวลล์แจ้งว่าเรือฝรั่งเศส ที่ส่งไปจะอยู่นอกสันดอน คงให้เรือลูแตงอยู่ในกรุงเทพ ฯ และแจ้งว่าตามข้อ ๑๕ แห่งหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ค.ศ.๑๘๕๖ ให้เรือฝรั่งเศสเข้าไปในลำแม่น้ำเจ้าพระยาได้จนถึงสมุทรปราการ และเมื่อแจ้งให้รัฐบาลไทยทราบแล้วให้ล่วงเข้าไปถึงกรุงเทพ ฯ ได้
จากนั้นมิสเตอร์พิปปส์แจ้งว่า ความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษมีหลักอยู่ว่า มีความจำเป็นจะต้องคุ้มครองผลประโยชน์ของเราในกรุงเทพ ฯ ซึ่งอังกฤษมีส่วนในการค้าขายอยู่ถึงสามในสี่ส่วน  และถ้าหากว่ามหาประเทศใดซึ่งมีปัญหา ระหว่างประเทศต้องพิพาทกับประเทศที่มีกำลังน้อย แล้วยกกำลังกองทัพเรือใหญ่โตมาขู่ขวัญภายในอาณาเขตเช่นนี้ ก็เหมือนกับว่าตัดสิทธิประเทศนั้นเสียในอันจะป้องกันตัวเอง
ม.เดอแวลล์ตอบว่า ม.โกรสกูแรงถูกฆ่าตาย และได้มีการฆ่าฟันทหารญวนด้วย กับเรื่องการปล่อยตัวร้อยเอกโทเรอซ์ ดังนั้นโดยเกียรติยศของฝรั่งเศส(กรณีพิพาทพระยอดเมืองขวาง) จะไม่ยอมให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง และจะต้องได้รับข้อเรียกร้องอันชอบธรรมนี้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับแล้วก็จะต้องบังคับเอา "  


สรุปว่า อังกฤษคิดว่าไม่พร้อมที่จะทะเลาะกับฝรั่งเศสเรื่องสยาม เพราะไม่คุ้ม สู้ถ้อยทีถ้อยแบ่งผลประโยชน์กันในภูมิภาคนี้ดีกว่า


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.พ. 11, 08:43
เจ้าพระยาอภัยราชา(โรแลง) ท่านบันทึกไว้ ในขณะที่ท่านนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน

“ เวลาหนึ่งทุ่มครึ่ง กัปตันโจนส์(อัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพ) ได้มาที่บ้านด้วยอาการกระวนกระวาย บอกข้าพเจ้าว่า
ระหว่างที่เดินมาตามถนนสีลม ช่วงเวลาหกโมงครึ่งถึงหนึ่งทุ่ม เขาได้ยินเสียงปืนใหญ่ ประมาณ ๔๐-๕๐ ครั้ง และมีเสียงปืนเล็กอีกมากมาย ซึ่งแน่ชัดว่าเสียงมาจากทางด้านปากน้ำ แต่ในระหว่างที่นั่งทำงานอยู่ แต่ข้าพเจ้ากลับไม่ได้ยินอะไรเลย

สรุปได้ว่าการต่อสู้ต้านทานเรือรบฝรั่งเศสคงไม่เป็นผลสำเร็จนัก เราจึงตกลงใจที่จะเดินไปยังพระบรมมหาราชวังด้วยกัน ระหว่างทางพบเซเวียร์ซึ่งตั้งใจออกมารับข้าพเจ้า เราจึงขึ้นรถม้าไปด้วยกัน เมื่อเราเข้าไปในวังนั้น ปรากฎว่าที่นั่นเต็มไปด้วยทหาร มีปืนใหญ่กระบอกหนึ่งตั้งอยู่ตรงประตูทางเข้า ในพระลานมีพวกข้าหลวง ทหาร และบรรดาข้าราชบริพารอยู่เต็มไปหมด
ในหลวงทรงประทับอยู่ในท้องพระโรง กัปตันโจนส์ลังเลที่จะเข้าไปข้างใน แต่ปริ๊นซ์ดำรงซึ่งเดินออกมาพบเรา ได้เชิญให้กัปตันโจนส์เข้าไปด้วย

ในท้องพระโรง เราได้พบว่าบรรดาเสนาบดี ได้เข้าเฝ้าอยู่ก่อนแล้ว ในหลวงประทับอยู่บนพระโซฟาเช่นเคย องค์มกุฎราชกุมารประทับอยู่เบื้องซ้าย ในหลวงกำลังเสียพระทัย พระองค์ตรัสกับเราว่า เรือปืนฝรั่งเศสสองลำ แองกองสตังค์และโคเมตได้ผ่านแนวป้องกัน รวมทั้งการยิงจากป้อม และบรรดาเรือของเราที่เข้าขัดขวางทั้งหมดเข้ามาหมดแล้ว

ความเสียหายของฝรั่งเศส ลูกเรือตาย ๓ คน(ภายหลังได้ทราบว่าเป็นสี่) และบาดเจ็บสองคน
ส่วนความเสียหายต่อตัวเรือนั้น นับว่าน้อยมาก(Insignificant) ฝ่ายสยามตาย ๓๑ คน บาดเจ็บ ๓๐ คน ส่วนใหญ่เป็นลูกเรือ มีที่ป้อมเป็นส่วนน้อย

ทุกๆคนในท้องพระโรงนั้น ดูสับสนและท้อใจ ในหลวงทรงตรัสถามข้าพเจ้าและริชลิว(พระยาชลยุทธ์ฯ) ว่าข้าพเจ้าคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ริชลิวเสนอรายงานแผนการ ว่าเขาต้องการให้เรือของเราสองลำ แล่นเข้าชนเรือปืนฝรั่งเศส ซึ่งข้าพเจ้าได้ถามว่า แล้วหากปฏิบัติการครั้งนี้สำเร็จ แต่สถานการณ์เลวลงล่ะ ?
เมื่อเขาเสนอขึ้นเช่นนั้น จึงเป็นประเด็นขึ้นมา ข้าพเจ้าย้ำการให้คำปรึกษาว่า ข้าพเจ้าลังเล
ที่จะแนะนำให้กระทำตามแผนนี้ แม้จะเชื่อว่ามีทางประสพความสำเร็จก็ตาม แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสงครามจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน ไม่ว่าปฏิบัติการนี้จะสำเร็จหรือล้มเหลว มันหมายถึงเรือฝรั่งเศสจะยิงถล่มบางกอก และพระบรมมหาราชวัง คำตอบของข้าพเจ้าคือเราต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติหลีกเลี่ยงสถานะศัตรูกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสมีกำลังพอที่จะยิงถล่มบางกอก แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าฝรั่งเศสจะยังไม่ใช้กำลังส่วนนี้ เนื่องจากจะทำให้สภาวะทางการเมือง และการรักษาภาพลักษณ์ทางคุณธรรมของเขามิให้เลวร้ายลงไป

ดังนั้น เราต้องเริ่มต้นจากการประท้วงการฝ่าด่านเข้ามา และการมาประจำสถานีของเรือรบฝรั่งเศสสองลำนี้ อีกทั้งต้องประกาศให้ชาวสยามคลายความตระหนก และอยู่ในความสงบ

ปาวีร้องขอให้มีการประชุมเจรจาในวันพรุ่งนี้(๑๔) และเขาได้ยื่นหนังสือประท้วงของทางฝ่ายเขา และการเจรจาจะมีขึ้นในเวลา ๕ โมงเย็น วันพรุ่งนี้

โชคดีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเลือกเชื่อความเห็นของฝ่ายบุ๋น มิฉะนั้นสงครามระหว่างสยามและฝรั่งเศสคงจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ และสยาม ซึ่งไม่พร้อมที่จะรบด้วยประการทั้งปวงคงจะสูญสิ้น


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.พ. 11, 09:34

และอังกฤษเองกับฝรั่งเศสก็ทำสัญญากันเองจัดสรรดินแดนรัฐกันชน ไม่ก้าวล่วงละเมิดอำนาจกัน โดยที่สยามไม่รับรู้เลย

สรุปว่า อังกฤษคิดว่าไม่พร้อมที่จะทะเลาะกับฝรั่งเศสเรื่องสยาม เพราะไม่คุ้ม สู้ถ้อยทีถ้อยแบ่งผลประโยชน์กันในภูมิภาคนี้ดีกว่า


คำตอบอยู่ตรงนี้  ว่าเจ้าพ่ออาณานิคมทั้งสองก็ตกลงแบ่งเค้กกันลงตัว    โดยปล่อยสยามเป็นรัฐกันกระทบอยู่ตรงกลาง    ไม่มีฝ่ายไหนเข้ามายึด อันจะเกิดให้เสียสมดุลย์ระหว่างกันไป
นับว่าพระสยามเทวาธิราชยังคุ้มครองแผ่นดินสยามอยู่   สองประเทศจึงตกลงกันได้แบบนี้


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 11, 08:02
เหตุการณ์ในพระบรมมหาราชวังที่เจ้าพระยาอภัยราชา(โรแลง)บันทึกไว้นั้น เป็นบทสรุปแล้ว ส่วนทางหลังไมค์นั้นมีผู้บันทึกไว้ว่า


“... แม้แต่การประชุมของเหล่าเสนาบดีมีสภาพคล้ายกับการทะเลาะกันในร้านเหล้า...เหล่าเสนาบดีไม่มีการทำงานที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือแนวคิดและนโยบาย … ข้าราชการในคณะรัฐบาลสยามขณะนั้นมีความคิดเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย... ฝ่ายหนึ่งนำโดยพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ สนับสนุนการใช้กำลังตอบโต้ฝรั่งเศส อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มของกรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การทูตเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่หลังจากทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยดำเนินพระราโชบายตามข้อเสนอแนะของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ การนองเลือดจึงไม่เกิดขึ้น!...."

การที่พระยาชลยุทธฯ(ริชลิว) ผู้บัญชาการทหารเรือสยามชาวเดนมาร์กคิดจะใช้เรือพระที่นั่งมหาจักรี ซึ่งเป็นเรือธงอันทันสมัยของสยามพรางไฟมืด แล้วพุ่งชนเรือฝรั่งเศสให้จมนั้น ความจริงแล้วแทบไม่เห็นทางที่จะชนะสงครามที่จะเกิดขึ้นได้ เรือของฝรั่งเศสก็มีอยู่ถึงสามลำ การพุ่งชนอาจจะทำลายได้เพียงลำเดียว แต่เรือพระที่นั่งจะต้องได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก และเราจะจะไม่มีเรือที่ใช้งานได้เหลืออยู่เลย โชคดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเห็นชอบกับแนวความคิดแบบคามิกาเช่ที่ฝรั่งภูมิใจเสนอ จึงต้องล้มเลิกไป

ลองคิดดูจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้  แค่เพียงนายทหารยศร้อยโทของฝรั่งเศสเสียชีวิต ฝรั่งเศสยังหาเรื่องเอาเรือรบเข้ามาเรียกร้องต่างๆ นานา นี่ถ้าเรือมันจมลงและมีคนตายไปอีก คงได้โอกาสที่ฝรั่งเศสจะอ้างความชอบธรรม รุกฆาตเราเหมือนกับที่ทำกับญวนเพื่อยึดเป็นเมืองขึ้น  เพราะฝรั่งเศสเองก็พร้อมที่จะทำสงครามกับสยามอยู่แล้ว ดังจะเห็นได้ว่า หลังจากเหตุการณ์ที่ปากน้ำผ่านไปไม่กี่วัน ฝรั่งเศสก็ได้ส่งเรือรบเข้ามาปิดอ่าวไทย ถึง ๙ ลำ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 08:44
อย่างที่เรียนไว้ว่า อังกฤษกับฝรั่งเศส เริ่มมีความขัดแย้งกันเมื่อ ฝรั่งเศสต้องการยึดดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด ซึ่งอังกฤษเองก็เล็งเห็นว่า มีพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่บริเวณเมืองเชียงรุ่ง หรือ ดินแดนสิบสองปันนา ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมื่อเป็นดังนี้อังกฤษจึงได้ทักท้วงเพื่อป้องกันดินแดนส่วนนี้


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 09:19
"Buffer State" หรือดินแดนส่วนกลางที่กันไว้ไม่ให้มีปัญหาเรื่องพื้นที่ดินแดนระหว่างกัน เป็นสิ่งที่อังกฤษกับฝรั่งเศสเจรจราความกันเอง โดยมิได้บอกให้สยามรับรู้ เกิดขึ้นและจบลงเมื่อฝรั่งเศสจะร่างสัญญาสงบศึกกับสยาม เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ค.ศ. ๑๘๙๓ ระหว่างลอร์ดดัฟเฟอริน สัมภาษณ์กับ ม. เดอแวลล์ (รมต.กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส) โต้แย้งในร่างสัญญามีข้อความตอนหนึ่งว่า

"...อีกประการหนึ่งคือ ใคร่ที่จะให้การเจรจากันที่กรุงปารีส เรื่องตั้ง "Buffer State" สำเร็จไปโดยเร็วด้วย"

ขอแนบแผนที่การแบ่งเขตอิทธิพล ในดินแดนสยาม โดยเส้นแบ่งในดินแดนอีสานเป็นเขตฝรั่งเศส และดินแดนลุ่มน้ำภาคกลางเป็นของอังกฤษ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 11, 09:38
^
รูปข้างบนของคุณ siamese ทำให้นึกถึงแผนของอังกฤษที่จะแบ่งสยามออกเป็นสยามเหนือ-สยามใต้ ในศึกวังหลวง-วังหน้าในรัชกาลที่ ๕ ก่อนหน้า ร.ศ. ๑๑๒  ขึ้นมาได้   
ความคิดของเจ้าอาณานิคมสมัยนั้น  ไม่ว่าฝรั่งเศสหรืออังกฤษ  เห็นประเทศในเอเชียเป็นเค้กที่จะต้องแบ่งกันอยู่ร่ำไป   ถ้าไม่แบ่งกันในระหว่างฝรั่งเศส-อังกฤษ  ก็ทำแบบแบ่งแยกแล้วปกครอง

เรื่องนี้คงจะต้องแยกไปเป็นกระทู้ใหม่  เรื่อง วังหน้าพระองค์สุดท้าย  รอให้จบกระทู้นี้ก่อน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 11, 10:16
นโยบายในด้านการป้องกันประเทศของสยามแต่ไหนแต่ไรมา มักชอบใช้บ๋อยมาบริการให้ โดยบังคับให้ชนต่างชาติในขอบขัณฑสีมาจัดตั้งกองกำลังขึ้น ใครเป็น“ผู้กว้างขวาง”ในชุมชนก็จะได้รับการอวยยศให้เป็นขุนนาง มีหน้าที่ควักกระเป๋าเกณฑ์คนเข้ามาเป็นกองอาสาสมัครเวลาหลวงต้องการ เช่นยามมีศึกสงคราม  ในประวัติศาสตร์เราจึงได้ยิน  กองอาสามอญ   กองอาสาญวน  กองอาสาลาว  กองอาสาจาม  กองอาสาจีน   กองอาสาญี่ปุ่น   กองอาสาแขกเทศ  กองอาสามลายู  กองอาสาโปรตุเกส  ฯลฯ เป็นต้น อาสาสมัครเหล่านี้  มีทั้งที่เต็มใจและมิได้เต็มใจ เพราะรางวัลในการทำสงคราม(หากไม่ตาย) ก็คือสมบัติเชลยที่ปล้นสดมภ์หยิบฉวยเรี่ยร่ายรายทางมาได้

ใครอย่ามาหาว่าคนไทยเถื่อนนะครับ สมัยนั้นทุกชาติก็ทำอย่างนี้  ไม่มีใครจะมีกองทัพกินเงินเดือนประจำได้ มันก็ต้องเกณฑ์มาอย่างนี้แหละ  ส่วนทหารไทยแท้ๆที่เป็นลูกชาวบ้านไทยๆก็ต้องเกณฑ์เหมือนกัน ถ้าจำเป็น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยง เพราะเอาลูกเขาไปเขาก็โวย แต่ละคนก็มีเส้นมีสาย และใช้เส้นกันทั้งนั้น ทหารอาชีพมีเงินหลวงเลี้ยงจริงๆเห็นจะมีแต่พวกทหารล้อมวัง กับทหารหน้า รวมกันสักพันสองพันคนกระมัง

ในสมัยรัชกาลที่๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงมีกองปืนใหญ่อาสาญวนถือคริสตศาสนา สำหรับปืนประจำป้อม หรือปืนเรือ เมื่อโอนกิจการทหารของวังหน้ามาขึ้นกับวังหลวงในต้นรัชกาลที่๕แล้ว ก็ได้ระบบนี้มาด้วย ทางวังหลวงเองก็มีอาสาจาม ส่งไปเป็นเบ๊อยู่ที่ป้อมผีเสื้อสมุทร ส่วนที่ป้อมพระจุลฯเป็นอาสาญวน ทหารเลวเหล่านี้จริงๆแล้วไม่ใช่ทหาร เกณฑ์กันมาเป็นผลัดๆ การฝึกฝนและการกำกับวินัยก็หย่อนยาน ปืนใหญ่ต่างๆที่เพิ่งนำมาติดตั้งที่ป้อมและบนเรือรบก็เป็นปืนทันสมัยบรรจุกระสุนทางท้าย ไม่ไช่เอาลูกบิลเลียดกรอกปากเช่นปืนวังหน้า นายทหารที่มาบังคับบัญชาทั้งบนเรือรบและที่ป้อมปืนจึงเป็นฝรั่งหัวแดง เว้าไทยบ่ด้ายทั้งสิ้น แถมยังไม่ใช่ทหารอาชีพเพราะมีห้อยท้ายว่าเป็นทหารอาสาเหมือนกัน แต่อาสาฝรั่งพวกนี้คงจะเป็นพวกวิศวกรขายปืนที่บริษัทจ้างมาติดตั้งและทดสอบปืนใหญ่ที่สยามเพิ่งซื้อมา มียศทหารไทยติดบ่าเป็นของแถม วันที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการทดสอบปืนอาร์มสรองที่ป้อมพระจุลฯนั้น ปืนเสือหมอบเจ็ดกระบอก สามารถยิงได้แค่กระบอกเดียว ที่เหลือล้วนสวมวิญญาณชาววังไม่ยอมลุกจากท่าหมอบขึ้นมาแสดงถวาย ฝรั่งอาสาแม้จะเสียหน้าบริษัทของตัวมากแต่ก็รับจะแก้ไข บังเอิญเหตุการณ์เดินหน้ารวดเร็ว ยังไม่ทันจะฝึกลูกแถวให้เข้าที่ เรือรบฝรั่งเศสก็เข้ามาแล้ว ผลจึงเป็นดังปรากฏในประวัติศาสตร์ พอรบปึงปังขึ้นมา ทหารอาสาทั้งหลายย่อมรักษาตัวเองก่อนที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้เจ้าของประเทศ ยิ่งฝรั่งยิ่งแล้ว ถ้าสู้กับฝรั่งด้วยกันขนาดเอาชีวิต หรือเลือดมาหยดแหมะบนแผ่นดินนี้ เพื่อชาวสยามให้นอนสบายๆแล้ว คงโง่เต็มที


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 11, 10:23
ความเจ็บช้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯในครั้งนี้นั้น ทำให้ไม่เป็นอันเสวยจนทรงพระประชวรหนัก พระวรกายซูบผอม ซมพระองค์บนที่พระบรรทมเหมือนจะสิ้นแผ่นดิน แม้ใกล้ที่จะมีพระราชพิธีวันเฉลิมพระชนม์พรรษาก็มิสนพระทัย ทรงท้อและตรัสพ้ออยู่เป็นนิจ หลังจากทรงประจักษ์ความจริงว่า

" ในเมืองเราเวลานี้ไม่ขัดสนอันใดยิ่งกว่าคน การเจริญอันใดจะเป็นไปไม่ได้เร็วก็เพราะเรื่องคนนี้อย่างเดียว เพราะเหตุขัดสนเช่นนี้จึงต้องจำใช้ฝรั่งในที่ซึ่งคนเรายังไม่มีความรู้และความสามารถพอ แต่การใช้ฝรั่งนั้นไม่ใช่เป็นการง่าย แลก็รู้ชัดเจนอยู่ในใจด้วยกันว่า เขาเป็นคนต่างชาติภาษา จะซื่อตรงจงรักภักดีอะไรต่อเราหนักหนา ก็ชั่วแต่มาหาทรัพย์กลับไปบ้าน เมื่อจะว่าเช่นนี้ก็ไม่สู้เปนยุติธรรมแท้ เพราะบางคนซึ่งอัธยาศัยดี มีความรู้ อยากจะได้ชื่อเสียงที่ดี ฤามีความละอาย ฤาอยากจะอยู่ทำการให้ยืดยืนไปเขาก็ทำดีต่อเรามาก ๆ อยู่บ้าง แต่อย่างไร ๆ ก็คงต้องนับว่าเป็นเพื่อนกินไม่ใช่เป็นเพื่อนตาย "


และแล้ว ทรงตื่นขึ้นจากฝันร้าย มีพระหฤทัยแน่วแน่ที่จะรับมิอกับอุบายชาวต่างชาติที่หมายเข้ามายึดครองแผ่นดิน สิ่งแรกที่จะดำรงสยามต่อไปได้ภายภาคหน้าให้ตลอดรอดฝั่งนั้น จะต้องปฏิรูประบบกองทัพขึ้นใหม่ การว่าจ้างชาวต่างประเทศมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เป็นผู้บังคับการเรือ และป้อม รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาทางการทหารนั้น ไม่เป็นหลักประกันพอที่จะรักษาประเทศสยามเอาไว้ได้อีกแล้ว จึงโปรดส่งพระราชโอรสทั้งหลายออกไปศึกษาวิชาการ วิชาทหารและวิทยาการทั้งปวง ณ ทวีปยุโรป

สยามจะต้องปฏิรูปประเทศ มิใช่แต่การทหาร แต่ระบบการศึกษา การปกครองภายในประเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องถูกปรับเปลี่ยนใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมตามแบบแผนของสากล



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 09 ก.พ. 11, 10:28
อ้างถึงความเห็นที่ 289 ของคุณ siamese

อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ตกลงทำสัญญากัน กำหนดให้สยามเป็นดินแดนกันชน (Buffer State) ชาติทั้งสองรับรองจะรักษาเอกราชไว้โดยรับจะไม่ยึดเอาดินแดนลุมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำอิง และพื้นที่ตั้งแต่เมืองกำเนิดนพคุณ (ประจวบคีรีขันธ์) จนถึงเมืองแกลง (ระยอง) เป็นอาณาจักรองตน

สัญญารับรองดินแดนกันชนที่กล่าวนี้ได้ลงนามกันที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๘ หรือ ร.ศ. ๑๑๔  เมื่อชาติทั้งสองได้ลงนามในสัญญา เป็นระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์คดีพระยอดเมืองขวาง จนพระยอดเมืองขวางถูกศาลผสมกัน (ไทย-ฝรั่งเศส) พิพากษาจำคุก ๒๐ ปีแล้ว

หนังสือธรรมศาสตร์วินิจฉัยได้แปลบทความของหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่งเรื่องดินแดนกันชน แล้วนำลงพิมพ์ในหนังสือธรรมศาสตร์วินิจฉัยเล่ม ๒ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ เดือนธันวาคม ร.ศ. ๑๑๒ ฉบับที่ ๖๔ ชื่อเรื่องว่า "ว่าด้วยเมืองกลางซึ่งอังกฤศและฝรั่งเศสจะตั้งขึ้นฝ่ายทิศเหนือพระอาณาเขตสยาม"
อ้างถึง - สุจริต ถาวรสุข, คดีพระยอดเมืองขวาง เจ้าเมืองคำมวน ตอน คดีบางเบียนแห่งทุ่งเชียงคำ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 09 ก.พ. 11, 10:42
เพิ่มเติม -

ก่อนที่จะมีการทำสัญญากันระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสนั้น ทางสยามก็ได้มีการติดตามเรื่องนี้อยู่โดยตลอดว่าจะมีแนวโน้มข้อตกลงไปในทางใด หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเจนาของการทำสัญญาจะเป็นอย่างไรนั่นเอง จนผลที่สุดจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณเป็นอัครราชทูตไปเจรจาสนับสนุนให้เกิดสัญญานี้ นอกจากนี้แล้วยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศคอยติดตามข่าวตลอดเวลา



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.พ. 11, 11:03
เหตุการณ์ที่ปากแม่น้ำ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖

มีอะไรเกิดขึ้นในคืนนั้น ขอให้อ่านจากประกาศของทางราชการ เรื่องเรือรบฝรั่งเศส ๒ ลำ เข้ามาในลำแม่น้ำ

พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าให้ประกาศแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และราษฎรทั้งปวงได้ทราบทั่วกันว่า ในการที่ฝรั่งเศสกับกรุงสยามทุ่มเถียงกันด้วยเรื่องเขตแดนทางฝั่งแม่น้ำโขงคราวนี้ แต่แรกฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบลำหนึ่งเข้ามารักษาคนในบังคับช้านานมาแล้ว บัดนี้อ้างเหตุว่าเรือรบฝ่ายประเทศอังกฤษจะเข้ามารักษาผลประโยชน์บ้าง ราชทูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ ได้นำความบอกขออนุญาตให้เรือทั้งสองนี้ขึ้นมาแล้ว ฝ่ายเราเห็นว่าเวลานี้เป็นสมัยที่ยังไม่ควรมีเรือรบต่างประเทศเข้ามาจอดในลำแม่น้ำอีกกว่าประเทศละลำหนึ่งขึ้นไป จึงได้ปรึกษาด้วยราชทูตฝรั่งเศสและมีโทรเลขไปยังคอเวอนเมนต์ฝรั่งเศสที่กรุงปารีสแล้ว ก็ได้รับตอบทางโทรเลขรับรองด้วยราชทูตฝรั่งเศสและมีโทรเลขไปยังคอเวอนเมนต์ฝรั่งเศสที่กรุงปารีสแล้ว ก็ได้รับตอบทางโทรเลขรับรองตกลงว่าจะเลิกสั่งการเรื่องที่จะส่งเรือเข้ามาในแม่น้ำนั้นอีกแล้ว และข้างฝ่ายราชทูตฝรั่งเศสในนี้ก็ได้ตกลงยอมไม่ให้เรือรบขึ้นมาและขอให้เรือไฟให้นายทหารเรือออกไปห้ามแล้ว แต่เรือทั้งสองก็ยังฝืนเข้ามาในปากน้ำถึงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพนักงานทหารเรือได้ยิงห้ามนัดหมายตามธรรมเนียม เรือรบไม่ฟังกลับยิงตอบบ้าง จึงเกิดยิงโต้ตอบกันขึ้น แล้วเรือรบทั้งสองนั้นก็ขึ้นมาทอดอยู่ในลำน้ำหน้าสถานทูตฝรั่งเศส

การที่เป็นไปแล้วครั้งนี้ ยังเชื่อว่าจะมีเหตุการณ์ที่เข้าใจผิดอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะในคำโทรเลขจากปารีสบอกความชัดเจนว่า เสนาบดีต่างประเทศฝรั่งเศสแสดงถ้อยคำว่าไม่ได้หมายที่จะทำอันตรายอันใดต่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของกรุงสยาม เพราะเหตุฉะนี้อย่าให้ชนทั้งหลายวิตกตื่นไปว่าจะมีการรบพุ่งอันใดในกรุงเทพฯ นี้เลย และเรือรบที่เข้ามาใหม่ ผสมกับลำเก่ารวมเป็น ๓ ลำนี้มีเพียง ๓๐๐ คนอย่างยิ่ง ไหนเลยจะสามารถขึ้นมารุกรานต่อตีในหมู่กลางประชุมทหารนี้ได้ แต่เหตุการณ์สำคัญที่ควรแก้ไขบัดนี้มีอยู่ที่คนทั้งหลายจะพากันวิตกตื่นเต้นไปต่าง ๆ โดยไม่ทราบการหนักเบา จึงได้ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้กรมนครบาลจัดการป้องกันระวังรักษาทรัพย์สมบัติและพลเมืองให้พ้นจากคนเบียดเบียน อนึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินออกทอดพระเนตรตรวจตราพลทหารประจำกองในกรุงเทพฯ ทั่วไปแล้ว เป็นที่ทรงยินดีต้องพระราชหฤทัยยิ่งนักว่าจะระงับเหตุการณ์ในบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยและป้องกันรักษาอาณาประชาชนให้พ้นจากภยันตราย และในการครั้งนี้ก็ยังได้มีการโต้ตอบปรึกษาหารือกันด้วยคอเวอนเมนต์ฝรั่งเศสทั้งที่กรุงเทพฯ และที่กรุงปารีส ดังปรากฎในหนังสือพิมพ์เรื่องนี้ ซึ่งได้ตีพิมพ์ประกาศมาให้ทราบ ขอให้ชนทั้งหลายพิเคราะห์เหตุผลตามกระแสพระราชดำริที่ได้แจ้งมาแล้วนี้ อย่าได้หวาดหวั่นวิตกตื่นไปกว่าเหตุ จงรักษาความสงบเรียบร้อยตามปรกติของตนทั่วถึงกันเถิด

ประกาศมา ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒
 

ประกาศฉบับนี้เป็นผลมาจากการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์และรับมือกับปัญหาของรัฐบาล สภาพกรุงเทพฯ เวลานั้น เต็มไปด้วยความชุลมุนวุ่นวายทหารถูกส่งไปประชุมตามจุดต่าง ๆ เช่น สะพานหัน บริเวณสามยอด ปืนใหญ่ตั้งเรียงรายเพื่อเตรียมรักษาพระบรมมหาราชวังในตอนดึกของคืนนั้น เสนาบดีสภาประชุมเป็นการด่วน โดยมีพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน บันทึกของเจ้าพระยาอภัยราชาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไปชาวเบลเยี่ยม เผยให้เราทราบว่าบรรยากาศที่ประชุมเต็มไปด้วยความวิตกเสียขวัญ สิ่งที่ทุกคนกลัวคือการระดมยิงกรุงเทพฯ มีข้อเสนอของฝ่ายทหารเรือ โดยเฉพาะจากเจ้าพระยาชลยุทธโยธิน (A.du Plesis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก รองผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของป้องพระจุลจอมเกล้า ให้ปฏิบัติการจมเรือรบของฝรั่งเศสทั้ง ๓ ลำ แต่เมื่อที่ประชุมถามถึงความมั่นใจในผลสำเร็จผู้เสนอก็ไม่มั่นใจ ข้อเสนอจึงตกไป ในที่สุดที่ประชุมก็ได้ข้อสรุปว่าไทยกับฝรั่งเศสยังมีช่องทางการเจรจา เนื่องจากยังมิได้ตัดขาดไมตรีฝ่ายไทยควรประท้วงการบุกรุกจู่โจมของฝรั่งเศส รวมทั้งออกประกาศชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ประชาชนและชาวต่างประเทศได้ทราบ   และเพื่อมิให้ทำลายบรรยากาศของการเจรจาระหว่าง ๒ ฝ่าย ทางรัฐบาลได้มีคำสั่งว่า

ให้คิดอ่านซ่อนพลทหารเสีย ให้ทันก่อนเวลารุ่งเช้าแลให้ซ่อนปืนใหญ่เข้าไว้ในที่กำบังอย่าให้มองเห็นได้โดยเปิดเผย....

สืบเนื่องจากคำประกาศนี้ สิ่งที่ควรพิจารณาในที่นี้คือ ความเข้าใจผิดที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ของทั้งสองประเทศ และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายไทยนั้นคืออะไร สถานการณ์ที่นำไปสู่การสู้รบของทั้งสองฝ่ายนั้นมีความเป็นมาอย่างไร

รายการอ้างอิง

๑. หจช. ฝ ๑๘/๑๘ สำเนาร่างประกาศพระบรมราชโองการเรื่องเรือรบฝรั่งเศส ๒ ลำ เข้ามาในลำน้ำ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม รศ.๑๑๒.

๒. Tip,Walter E.J, Siam’s Struggie for Survival, White Lotus, หน้า 1996. sohk 84-88.

๓. หจช.ฝ ๑๘/ ๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงพระยาสุรศักดิ์มนตรี . ลงวันที่ ๑๓ กรกฏาคม ร.ศ. ๑๑๒


รศ. ๑๑๒ : จุดวิกฤติของการคุกคามจากจักรวรรดินิยม : จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ : วารสารคณะมนุษยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร : ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=shalawan&topic=2099&page=1


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 09 ก.พ. 11, 11:13
อาจารย์เทาชมพูครับ กรุณาขยายขนาดอักษรตัวเอนด้วยครับ

สมาชิกสูงวัยต้องใช้แว่นขยายส่องอ่านแล้วครับ ...



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 11, 11:27
อาจารย์เทาชมพูครับ กรุณาขยายขนาดอักษรตัวเอนด้วยครับ

สมาชิกสูงวัยต้องใช้แว่นขยายส่องอ่านแล้วครับ ...

หน้าจอของดิฉัน ตัวอักษรโตชัดเจนทีเดียวค่ะ  คุณลุงไก่ลองกด  ctrl และ กด +  ดีไหมคะ  มันจะขยายตัวอักษรขึ้นมาเรื่อยๆเวลากด + ซ้ำๆ กัน
ถ้าคุณใช้ internet explorer  เข้าไปที่ view แล้ว zoom ภาพเป็น 150% หรือ 200% ก็ได้ค่ะ


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 09 ก.พ. 11, 12:35
อาจารย์เทาชมพูครับ กรุณาขยายขนาดอักษรตัวเอนด้วยครับ

สมาชิกสูงวัยต้องใช้แว่นขยายส่องอ่านแล้วครับ ...

หน้าจอของดิฉัน ตัวอักษรโตชัดเจนทีเดียวค่ะ  คุณลุงไก่ลองกด  ctrl และ กด +  ดีไหมคะ  มันจะขยายตัวอักษรขึ้นมาเรื่อยๆเวลากด + ซ้ำๆ กัน
ถ้าคุณใช้ internet explorer  เข้าไปที่ view แล้ว zoom ภาพเป็น 150% หรือ 200% ก็ได้ค่ะ

เออหนอเรา ... ไม่ได้นึกถึงเลย เพราะไม่เคยใช้

ขอบคุณอาจารย์ครับ ...



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 11, 14:07
La reine, les princesses, toute la famille royale et toute la La cour se rendaient, le jour où ces photographies ont été prises, à une des plus significatives cérémonies religieuses du Siam.
Les Siamois sont des bouddhistes orthodoxes, et ils le sont avec ferveur. Leur ardeur religieuse s'atteste de la manière la plus manifeste par le grand nombre de bonzes qu'ils nourrissent et entretiennent. Elle s'affirme encore par la multiplicité des pagodes et des sanctuaires. Les riches, non contents de faire des donations, construisent un temple qu'ils se plaisent à enrichir et où doivent être déposées leurs cendres: les pauvres donnent au moins une idole du bouddha. Enfin, la profondeur du sentiment religieux de ce peuple éclate dans la vénération dont est entouré le roi.

คุณ Navarat.C  แปลว่า
วันที่ถ่ายภาพเหล่านี้ พระราชินี พระราชวงศ์ทั้งหญิงและชาย ตลอดจนข้าราชสำนัก ได้ไปร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสยาม
สยาม นับถือศาสนาพุทธแต่โบราณกาล  และมีศรัทธาสูงส่งมาก  ความเคร่งครัดศาสนาของพวกเขาที่พิสูจน์ได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือ จำนวนของพระสงฆ์ที่มีมากมายมหาศาลซึ่งพวกเขาช่วยกันอุปถัมภ์ค้ำชู  ที่ยิ่งไปกว่า คือจำนวนเจดีย์และวัดวาอารามหลายหลากรูปแบบเหล่านั้น
คน รวย ไม่ได้วัดที่การบริจาคเงิน พวกเขาสร้างวัดเพื่อต้องการให้ตนเองรวยขึ้น และเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่จะบรรจุเถ้าถ่านของพวกเขา คนจน อย่างน้อยก็จะบริจาคสำหรับการสร้างรูปพระพุทธเจ้า สุดท้าย ก้นบึ้งของความรู้สึกต่อศาสนาของประชาชน ก็คือการนับถือที่โอบอุ้มโดยพระเจ้าแผ่นดิน


ดิฉันอ่านได้ส่วนหนึ่ง    ติดอยู่ตรงประโยคสุดท้ายซึ่งกูเกิ้ลอังกฤษแปล กลับตาลปัตรไปอีกทาง ทำให้งงงวย แปลไม่ออก ต้องไปขอพี่มนันยาช่วย
พี่มนันยาขอให้เพื่อนของเธอชื่ออ.วรากุลซึ่งสมรสกับชาวฝรั่งเศสช่วยตรวจสอบอีกที     ผลการแปลออกมาตามที่คุณ Navarat.C แปลไว้  เว้นแต่ 2 คำคือ Orthodox แปลว่าโบราณดั้งเดิม   กับประโยคท้ายที่ควรเป็น active voice  กูเกิ้ลดันแปลเป็น passive voice  เลยอ่านไม่รู้เรื่อง

ในที่สุดจึงออกมาตามนี้

วันที่ถ่ายภาพเหล่านี้ พระราชินี พระราชวงศ์ทั้งหญิงและชาย ตลอดจนข้าราชสำนัก ได้ไปร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสยาม
สยามนับถือศาสนาพุทธนิกายดั้งเดิม  และมีศรัทธาสูงส่งมาก  ความเคร่งครัดศาสนาของพวกเขาที่พิสูจน์ได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือ จำนวนของพระสงฆ์ที่มีมากมายมหาศาลซึ่งพวกเขาช่วยกันอุปถัมภ์ค้ำชู  ที่ยิ่งไปกว่า คือจำนวนเจดีย์และวัดวาอารามหลายหลากรูปแบบเหล่านั้น
 
คนรวย ไม่ได้วัดที่การบริจาคเงิน พวกเขาสร้างวัดเพื่อต้องการให้ตนเองรวยขึ้น และเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่จะบรรจุเถ้าถ่านของพวกเขา  คนจน อย่างน้อยก็จะบริจาคสำหรับการสร้างรูปพระพุทธเจ้า สุดท้าย ก้นบึ้งของความรู้สึกต่อศาสนาของประชาชน ก็คือการนับถือพระเจ้าแผ่นดิน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 11, 15:13
ขอบพระคุณที่ช่วยให้ผมหายหลอน

เมื่อผมพยายามจะตีความประโยคภาษาอังกฤษที่ว่า  "Finally, the depth of religious feeling of the people broke out in the veneration which surrounded  the king."  เป็นภาษาไทยให้คนไทยพอจะเข้าใจว่าฝรั่งคิดอย่างไรที่เขียนออกมาอย่างนั้น ผมได้ตัดสินใจแปลคำว่าsurrounded ซึ่งตามศัพท์หมายความว่าล้อมรอบเป็นโอบอุ้ม ได้ความว่า"สุดท้าย ก้นบึ้งของความรู้สึกต่อศาสนาของประชาชน ก็คือการนับถือที่โอบอุ้มโดยพระเจ้าแผ่นดิน"

ครับ ถ้าตัดคำว่าโอบอุ้มออก โดยลืมคำว่าsurrounded(ซึ่งเป็นpassive voice)ไปเลย เป็น "สุดท้าย ก้นบึ้งของความรู้สึกต่อศาสนาของประชาชน ก็คือการนับถือพระเจ้าแผ่นดิน" ประโยคนี้ก็จะไม่หลอน นอนหลับสบายทั้งคนแปลและคนอ่าน


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 11, 21:08
ระหว่างค้นภาพและเรื่องเพิ่มเติม  ก็ไปเจอภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ตอนนี้เข้า     แม้จะออกนอกหัวข้อไปหน่อย ก็คงพออนุโลมกันได้
เป็นเหตุการณ์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวีเดน ในการประพาสยุโรปครั้งที่ ๑

http://www.youtube.com/watch?v=3rQwWzsuEy8&feature=related

คลิปนี้ยาวกว่า แต่ไม่ชัดเท่าคลิปแรก   มีเสียงบรรยายช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

http://www.youtube.com/watch?v=oUyNc4z1gyg&feature=related


กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.พ. 11, 17:12
(http://www.thai-blogs.com/wp-content/uploads/2010/11/kingramavvisit.jpg)

เจ้าพระยาอภัยราชา ยืนกลาง



ถ้าใครอ่านกระทู้นี้  เกิดสนใจบทบาทของเจ้าพระยาอภัยราชา (โรลังด์ ยัคมินส์ )ที่ปรึกษาชาวเบลเยี่ยมของสยามในวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒    อยากจะอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ก็หาอ่านได้ที่นี่ค่ะ
เป็นเรื่องที่Walter E. J. Tips เรียบเรียงขึ้นจากจดหมายเหตุของยัคมินส์

http://www.thai-blogs.com/2010/11/16/hm-king-chulalongkorns-1897-journey-to-europe/



กระทู้: ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เริ่มกระทู้โดย: proudtobethai ที่ 20 ก.พ. 11, 17:05
สวัสดีค่ะ ขอเข้ามาลงทะเบียนเรียนย้อนหลังไว้ก่อนนะคะ  ;D
แล้วจะแวบไปไล่อ่านให้ครบทุกหน้า..แต่สงสัยคราวนี้คงใช้เวลามาก
หน่อยนะคะ เพราะยังใช้มือไม่สะดวกเลยค่ะ จะพิมพ์ข้อความก็ยังไม่ถนัด :(