เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: puyum ที่ 28 ม.ค. 13, 20:27



กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 28 ม.ค. 13, 20:27
ด้วยความเคารพ ขอความกรุณาคุณ naitang แสดงความเห็น เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ

๑.ย้ายเมืองหลวง เพื่อแก้ปัญหาความหนาแน่นของประชากร ปัญหาการจราจร ปัญหาน้ำท่วมขัง ฯ (ทราบว่ามีแนวคิดนี้เมื่อห้าสิบปีมาแล้ว)
๒.ลดอัตราค่าบริการรถจ้างเหมาสาธารณะ(taxi)เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุง


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ม.ค. 13, 19:16
เรียกว่าเจาะถามเลยนะครับ  แล้วก็ขอขอบคุณที่อยากจะฟังความเห็นของผม

ในเรือนไทยนี้มีสถาปนิก มีวิศวกร ฯลฯ และก็คิดว่ามีผู้ที่รู้เรื่องและเรียนเรื่องการผังเมืองอยู่หลายคน    วิชาการผังเมืองนี้ ผมเข้าใจว่าถูกจัดเป็นประเภทสหวิทยาการ เพราะประกอบไปด้วยมุมมองในแง่มุมต่างๆบนพื้นฐานของความรู้และความรอบรู้ของบุคคลในสายวิชาการสาขาต่างๆ (วิทยาศาสตร์ สังคม สาธารณสุข ความมั่นคง ฯลฯ)  ซึ่งเมื่อนำเอามุมมองต่างๆมารวมกันแล้ว ก็ยังจะเกิดข้อโต้แย้งถกเถียงกันต่อไปอีก    หาข้อยุติ จบเรื่องได้ลำบาก และใช้เวลานาน

ซึ่งเมื่อทุกสาขาวิชาการมีการแยกสาขาเข้าไปในเขตของเรื่องทางสิ่งแวดล้อม เรื่องก็ยิ่งสนุกมากเข้าไปอีก เพราะมันมีเรื่องทางด้าน sentimental value และเรื่องที่เป็น intangible เข้ามาผนวกอยู่ในความคิด การวิเคราะห์และการตัดสินใจต่างๆ ในมุมมองของนักวิชาการสาขานั้นๆก็แทบจะไปกันคนละทิศเลยทีเดียว  (ประสบการณ์ที่ได้มาจากการสอนหนังสือระดับ ป.โท มานานกว่า 10 ปี)

สงสัยอยู่หน่อยนึงครับว่า มีเหตุผลอะไรเป็นการเฉพาะหรือไม่ จึงเจาะจงขอให้ผมแสดงความเห็นในกระทู้นี้


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 30 ม.ค. 13, 19:50
นั่งๆนอนๆก็แล้ว คิดว่าจะบอกท่านอย่างไรดี ให้ตรงกับที่ผมคิด  ออกไปกวาดลานบ้านลดน้ำต้นไม้อยู่พักหนึ่ง ก็คิดได้
อย่างนี้ครับ คนส่วนใหญ่มีมุมมองแบบปกติ (normal view)
แต่ท่าน ผมคิดว่ามี bird eye view  และ  ant view ด้วย ผมคิดอย่างนี้จริงๆครับ


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ม.ค. 13, 21:31
สร้างเมืองบริวาร .. ระบบขนส่งมวลชน ระหว่างเมืองหลวงกับเมืองบริวาร .. กำหนดพื้นที่ธุรกิจในเมืองบริวาร ... แต่ต้องกำหนดผังเมืองให้ได้ก่อน

แค่คิดนะครับ .. อาจจะลำบากสำหรับประเทศไทย .. ที่มีนิสัยประจำชาติมาแต่นมนานกาเล .. "ทำอะไรตามใจได้ คือไทยแท้"



กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 13, 21:46
ด้วยความเคารพ ขอความกรุณาคุณ naitang แสดงความเห็น เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ

๑.ย้ายเมืองหลวง เพื่อแก้ปัญหาความหนาแน่นของประชากร ปัญหาการจราจร ปัญหาน้ำท่วมขัง ฯ (ทราบว่ามีแนวคิดนี้เมื่อห้าสิบปีมาแล้ว)
๒.ลดอัตราค่าบริการรถจ้างเหมาสาธารณะ(taxi)เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุง


เห็นคุณลุงไก่เข้ามาตอบ เลยเปิดประตูเข้ามาบ้างค่ะ
๑ แยกเมืองราชการออกไป ให้กรุงเทพเป็นเมืองธุรกิจอย่างเดียว    กำหนดผังเมืองให้มีทิศทางชัดเจน   
๒ เพิ่มขนส่งมวลชน  รถไฟยังมีรางอยู่อีกเยอะแยะ เท่ากับมีเนื้อที่อยู่แล้ว ผ่านกลางใจเมือง   น่าจะพัฒนาส่วนนี้ให้ขนคนได้สะดวกขึ้น จากในเมืองไปสู่ชานเมือง


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 31 ม.ค. 13, 23:08
ขออนุญาตออกความเห็นนะครับ

๑.. ฝึกให้คนไทย ทำอะไรให้เป็นระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย

ข้อนี้ ข้อเดียว ถ้าทำได้ ไม่จำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงครับ


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.พ. 13, 10:19
สร้างเมืองบริวาร .. ระบบขนส่งมวลชน ระหว่างเมืองหลวงกับเมืองบริวาร .. กำหนดพื้นที่ธุรกิจในเมืองบริวาร ... แต่ต้องกำหนดผังเมืองให้ได้ก่อน

เห็นด้วยกับความคิดนี้  แต่เมืองบริวารน่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยมากกว่า เพราะที่ดินราคาถูกกว่าในเมือง หากมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีเช่นรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินผ่าน คนที่อยู่นอกเมืองก็ไม่มีปัญหาที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง

ในระยะยาว การย้ายเมืองหลวงก็น่าคิด เพราะน้ำทะเลเริ่มขยับมาไล่พื้นที่ของเมืองทุกที ภายในร้อยปีข้างหน้า พื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำทะเลยึดไปหลายส่วนทีเดียว

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5510.0;attach=38733;image)



กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.พ. 13, 16:35
จริงๆ แล้วกรุงเทพมหานครของเราจมน้ำมาตั้งนานแล้ว ปัจจุบันพื้นที่ของกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครกว่าครึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ที่เห็นว่าน้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ เป็นเพราะระบบป้องกันน้ำท่วมที่เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ การก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดปากคลองทุกคลอง เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามิให้ไหลเข้ามาในช่วงน้ำทะเลหนุนและในช่วงน้ำเหนือหลากลงมา

ระดับน้ำทะเลสูงสุดในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพฯ จะอยู่ที่ระดับประมาณ ๑.๕ - ๒.๕ เมตร รทก ระดับน้ำต่ำสุดจะประมาณ ๐.๕๐ - ๑.๐ เมตร รทก ในขณะที่ระดับดินเฉลียของกรุงเทพจะอยู่ที่ประมาณ -๐.๒ - ๑.๘ เมตร รทก และในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกบางแห่ง จะมีระดับพื้นดินเฉลี่ยต่ำกว่าระดับ รทก

 :'(    :-X

ถ้าขับรถขึ้นทางด่วนบางนา-ดินแดง ลองสังเกตความแตกต่างของระดับน้ำที่ประตูน้ำคลองพระโขนงก็ได้ครับ ..




กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.พ. 13, 18:49
ขออภัยที่หายไป   คราวนี้เจ็บคอขนาดกลืนน้ำลายยังขยาดเลยและก็เป็นไข้อีกตามปรกติของมัน เพิ่งฟื้นและดูพอจะกระฉับกระเฉงก็วันนี้เองครับ

ผมขอเริ่มความเห็นอย่างนี้ครับ

การย้ายเมืองหลวง (และแนวคิดเรื่องการย้ายเมืองหลวง) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น ผมเห็นว่าเกิดมาสาเหตุสองสามประการ คือ

ประการแรก  เป็นการย้ายเมื่อได้มีการรวมบรรดานครรัฐ หรือเมื่อได้ไปมีอำนาจและอิทธิพลเหนือพื้นที่อื่นใดเป็นบริเวณกว้าง (เป็นผืนแผ่นดินในลักษณะของอาณาจักร) แล้ว     ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองก็จะเป็นผู้เลือกว่า ณ ที่ใด เมืองใด บริเวณใดเหมาะที่จะตั้งเป็นศูนย์การบริหารการปกครองของตน ซึ่งข้อพิจารณามีไม่มากนัก  หนีไม่พ้นเรื่องของความมั่นคง (ยากแก่การรุกราน)  เรื่องของความอุดมสมบูรณ์ในลักษณะของความสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ (ดินดี น้ำดี เดินทางสดวก) และเรื่องของเส้นทางคมนาคม (การเดินทางติดต่อค้าขายกับโลกอื่นๆรอบๆตัว)     

ประการที่สอง  เป็นการย้ายเมื่อชาติพันธุ์ของตนเองได้เป็นใหญ่และมีอำนาจปกครองแผ่นดิน จึงใช้แผ่นดินเดิมของตนเองเป็นที่ตั้งเมืองหลวง 

ประการที่สาม  เป็นการย้ายเพื่อสลัดคราบที่หลงเหลืออยู่จากการถูกปกครองโดยชาติอื่นๆ

สองเรื่องแรก เป็นเรื่องโบราณ ส่วนเรื่องสุดท้ายเกิดขึ้นในยุคการได้รับอิสรภาพ (สดๆร้อนๆก็ประเทศข้างบ้านเรา) 

เมืองหลวงมีความหมายในเชิงของความเป็นศูนย์รวมของอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เมืองหลวงมีการย้ายไปย้ายมาได้ เป็นเป็นการย้ายโดยอำนาจสั่งการ แต่เมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าขายและเศรษฐกิจจะไม่มีการย้าย การย้ายจะเกิดขึ้นเอง ค่อยๆเป็นค่อยๆไป และเป็นไปโดยสภาพแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
   


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ก.พ. 13, 18:52
เกริ่นนำมาก็พอจะทำให้เห็นภาพได้ว่า การย้ายเมืองหลวงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก    ยิ่งในปัจจุบันผมว่ายิ่งยากเข้าไปใหญ่ มีทั้งผลประโยชน์ส่วนตน พรรค และพวก ที่ทั้งคอรัปชั่น มีทั้งข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่รังสรรปั้นแต่งขึ้นมา   ทั้งนี้ สำหรับกรณีของไทยเรานั้น คงพอเดาได้นะครับว่าภาพมันจะเป็นอย่างไร    สรุปในชั้นนี้ว่า คงเกิดขึ้นได้ยาก  แต่ก็จะลองมองภาพในทาง pro & con ดู

เรื่องแรก ในประเด็นเรื่องของมูลเหตุที่นำพาไปสู่แนวคิดการย้ายเมืองหลวง ซึ่งเมื่อเกิดความคิดว่าน่าจะต้องย้ายเมืองหลวง ก็จะต้องมีภาพวาดฝันในใจต่อเนื่องไปถึงเมืองหลวงใหม่ว่าหน้าตาควรจะเป็นอย่างไร สวยงามอย่างไร

ลองเลือกภาพของเมืองหลวงที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ (ที่เราอยากจะเห็นเมืองหลวงใหม่ของเราในภาพคล้ายๆกัน)  ผมว่าคนที่เคยไปเมืองแคนเบอร่า เมืองหลวงของออสเตรเลีย คอยากจะเห็นภาพนั้น  พื้นที่ใหญ่มากจนแทบจะคล้ายเมืองร้าง ผู้สูงอายุที่ชอบความเรียบง่าย ความเงียบ ความสวยงามของเมือในองค์รวม วิวทิวทัศน์เยี่ยม อากาศสบาย ยังแทบจะอยู่ไม่ได้ คนในวัยหนุ่มสาวไม่ต้องกล่าวถึงเลย อยู่ไม่ได้แน่นอน    เมืองนี้มีการวางผังเมืองที่ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงใดๆ (มีกฎหมายบังคับ) และมีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมหลักเพียงบางอย่างเท่านั้น (เช่น อาคารและที่ทำการรัฐสภา)    ผมยกเือาแคนเบอร่าขึ้นมาก็เพียงเพื่อจะเป็นตัวอย่างว่า แทบจะทุกคนคงจะวาดฝันอยากเห็นภาพนี้   เอาละครับ ตอนนี้กำลังกลับกลายเป็นว่า เรากำลังจะมุ่งหาเหตุผลไปสนับสนุนว่าควรจะย้ายเมืองหลวงเพราะมูลฐานอะไร  ซึ่งคงมีแทบจะทุกเรื่องที่เราคิดว่าไม่ดี     โดยสรุปก็คือ มีเป้าแล้ว เพียงพยายามชักแม่น้ำทั้งห้าให้ทุกคนเห็นด้วยกับความคิดของตน 


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 13, 20:42
ไม่ค่อยคุ้นกับออสเตรเลียเท่าไหร่  เคยไป 2-3 ครั้งแบบผ่านๆ เลยไม่รู้ว่าทำไมคนหนุ่มสาวถึงอยู่แคนเบอร่าไม่ไหว   มันขาดสีสันหรืออย่างไร   ขอความกรุณาขยายความหน่อยนะคะ

เมืองหลวงของรัฐในอเมริกา ไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองใหญ่ๆดังๆของรัฐนั้น     อย่างซาคราเมนโต เมืองหลวงของรัฐคาลิฟอร์เนียก็แทบจะไม่มีอะไรให้เอ่ยถึงเลย     ผิดกับซานฟรานซิสโกและลอสแอนเจลิส ที่ดึงดูดผู้คนได้สารพัด      เมืองหลวงของอิลลินอยส์ก็เหมือนกัน คือเมืองสปริงฟิลด์ ไม่ยักใช่ชิคาโก แม้แต่คนอเมริกันต่างรัฐก็มีอยู่เยอะที่ไม่รู้จักสปริงฟิลด์

ส่วนในบ้านเรา นอกจากจอมพลป.ที่ดำริย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์แล้วเมื่อหกสิบกว่าปีก่อนแล้ว   ก็ไม่เห็นมียุคไหนมีโครงการจะย้ายเมืองหลวงไปที่อื่นอีก     กรุงเทพก็คงจะขยายใหญ่แบบไร้ทิศทางออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งมาบังคับให้ต้องย้ายเมืองหลวงละมังคะ     เพียงแต่ยังนึกไม่ออกว่าความจำเป็นนั้นมาจากเรื่องอะไร




กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.พ. 13, 21:26
เรื่องย้ายเมืองหลวง พม่าเพื่อนบ้านของเราทำไปเรียบร้อยแล้ว

http://www.youtube.com/watch?v=AQA8fVNBDEo

งานวันเด็กที่ผ่านมา ฟังพิธีกรถามปัญหาความรู้เรื่องอาเซียนกับเด็กว่าเมืองหลวงของพม่าชื่ออะไร เด็กตอบว่า ย่างกุ้ง พิธีกรบอก ถูกต้อง 

เนปิดอ เมืองหลวงใหม่ของพม่า ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่มีใครรู้จัก

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)



กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ก.พ. 13, 20:27
อีกไม่นาน คนก็จะรู้จักพม่าในอีกภาพหนึ่ง ลืมภาพของประเทศที่ชื่อพม่าที่เคยมีเมืองหลวงอยู่ที่มัณฑะเลย์ ที่มีประวัติว่าเคยตกอยู่ในความปกครองของอังกฤษ ที่เคยมีเมืองหลวงชื่อย่างกุ้ง ได้ละเลือนหายไปแล้ว  เกิดเป็นประเทศใหม่ที่มีชื่อว่าเมียนม่า มีเมืองหลวงชื่อเนปิดอ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมือง Pyinmana อดีตเมืองศูนย์กลางการทำไม้สักของโลกในยุคหนึ่ง 

ผมเห็นภาพแบบเลือนลาง คล้ายๆกับว่า เมืองหลวงใหม่นี้ตั้งขึ้นบนแนวคิดแบบอเมริกันตั้ง Washington DC.   แบบแคนาดาตั้ง Ottawa  แบบออสเตรเลียตั้ง Canberra   คือเป็นเมืองที่มีเขตทางอำนาจของตนเอง เป็นเมืองหรือพื้นที่กลางที่ตัวแทนของรัฐที่มีความต่างในแง่มุมต่างๆ จะมาอยู่ร่วมกัน เพื่อช่วยกันคิดช่วยกันสร้างความเจริญให้กับผืนแผ่นดินที่เขาทั้งหลายนั้นจะต้องอยู่ร่วมกัน   มากกว่าที่จะเป็นเมืองหลวงของกลุ่มชาติพันธุ์พม่าแต่เพียงอย่างเดียว


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 ก.พ. 13, 20:55
ใจกลางเนปีดอเมืองหลวงใหม่นี้คืออนุสาวรีย์ของสามบูรพกษัตริย์พม่า ได้แก่ พระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม พระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดี และพระเจ้าอลองพญาแห่งอังวะ ผู้ปราบชนชาติอื่นๆในลุ่มแม่น้ำอิระวดีตั้งเด่นเป็นสง่าข่มเพื่อนร่วมประเทศอยู่

พม่าเป็นชาติที่เชื่อถือไสยศาสตร์ ทุกเมืองชายแดนสำคัญที่ติดกับไทยจะต้องมีอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนองยืนหันหน้าถมึงทึงมาทางเมืองไทย อนุสาวรีย์สามกษัตริย์นี้ก็สร้างขึ้นเป็นจุดเด่นของเมือง ความใหญ่โตมโหฬารนั้นมีความหมายในเชิงตัดไม้ข่มนามด้วย

ก็ต้องดูกันไป เขาจะรวมใจของทุกชนชาติหล่อหลอมกันเป็นเมียนม่าร์ได้หรือเปล่า


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.พ. 13, 19:40
ก่อนที่เรื่องจะเดินต่อไป   ผมจะขออนุญาตทำความเข้าใจให้ตรงกันดังนี้นะครับ 

ในความหมายแรก   การย้ายเมืองหลวง หมายถึง การย้ายเืมืองศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดิน จากตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์หนึ่งไปอยู่ที่อีกตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์หนึ่ง    เช่น ย้ายจาก กทม. ไปเชียงใหม่ หรือไปสระบุรี ฯลฯ  หรือ เช่น ย้ายไปตั้งในพื้นที่ๆกำหนดให้เป็น territory ของเมืองหลวงโดยเฉพาะ   

ในความหมายที่สอง  หมายถึง การดำเนินการในลักษณะของการสร้างเมืองใหม่  ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเมืองบริวารแบบเมืองเดียวของ กทม. หรือจะเป็นลักษณะเมืองบริวารของ กทม. ในลักษณะที่เป็นกลุ่มเมืองใหม่ที่มีเมืองบริวารของตนเอง

ผมคงจะไม่ไปกล่าวถึงการย้ายเมืองในความหมายแรก เพราะจะมีข้อพิจารณาและข้อถกแถลงที่หลากหลาย มากมาย และกว้างขวางมาก   จึงจะขอจำกัดอยู่ในวงของความหมายที่สองเท่านั้น     

 


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.พ. 13, 19:26
จะย้ายเมืองหรือจะสร้างเมืองใหม่ใดไก็ตาม มันมีเรื่องให้พิจารณาอยู่มากมายหลากหลายประเด็น คงจะกล่าวถึงกันได้ไม่ครบถ้วน     ในกลุ่มเรื่องทางด้านสาเหตุที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจหรือสนับสนุนการย้ายหรือสร้างเมืองใหม่นั้น  ผมเห็นว่าการวิเคราะห์ทั้งหลายคงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องต่างๆในบริบทด้าน Carrying capacity    ส่วนการวิเคราะห์เรื่องต่างๆในด้านเมืองใหม่ว่าควรจะอยู่ที่ใหนนั้น  ผมเห็นว่าก็คงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องในบริบทด้าน Quality of life

ข้อมูลที่รับรู้กันในภาพรวมทั่วๆไป   กทม. มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ตร.กม. มีชาว กทม. แท้ๆประมาณ 5 ล้านคน แต่มีคนมาใช้ชีวิตทำงานในเขต กทม. ประมาณ 8 ล้านคน รวมเป็นมีประชาชนอาศัยอยู่ในเขต กทม.ประมาณ 13 ล้านคน   

กทม. จัดได้ว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่  หากเอาเฉพาะตัวเลขประชากรที่มาทำงานมาอาศัยอยู่ประมาณ 13 ล้านคน ก็พอๆกับลอนดอน (พื้นที่ 1,500 ตร.กม.)  ปักกิ่ง (พื้นที่ 16,000 ตร.กม.)  ปารีส (พื้นที่ 17,000 ตร.กม.)  และ L.A. (พื้นที่ 12,000 ตร.กม.)       ต่ำกว่านิวยอร์ค (20 ล้านคน พื้นที่ 1,200 ตร.กม.)  ต่ำกว่าโตเกียว (30 ล้านคน พื้นที่ 13,000 ตร.กม.)

จากตัวเลขที่ยกมานี้  หากเราเห็นว่า เมืองลอนดอนและเมืองนิวยอร์คก็น่าอยู่ ดูสวยดี ดูสะอาดตาดี  ก็แสดงว่าเราก็สามารถที่จะปรับ กทม.ให้มีสภาพเหมือนกับลอนดอนและนิวยอร์คได้  ซึ่งหมายความว่า หากเราเห็นว่า กทม.ในขณะนี้ ดูมีสภาพหนาแน่นอึดอัดไปหมด เกิดเหตุอะไรขึ้นที่ใดก็กระทบไปทั่วกรุง  (แต่ไม่บ่นเรื่องน้ำไม่ไหล ไฟไม่พอ) ก็แสดงว่าน่าจะไปมีปัญหาที่ด้านการผังเมืองเป็นหลัก  การผังเมืองของเราค่อนข้างจะอ่อน มองใกล้ และเป็นการตามแก้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มากกว่าที่จะมองไกล และเป็นการวางแผนเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  พื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือน้ำท่วมถึง เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยบ้าง เปลี่ยนไปเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจบ้าง (พอรับได้) เป็นสนามกอล์ฟบ้าง เป็นนิคมอุตสาหกรรมบ้าง ฯลฯ    พื้นที่ๆเปิดใหม่โดยถนนวงแหวนทั้งหลาย แทนทีพื้นที่เหล่านั้นจะถูกพัฒนาไปอย่างมีแบบแผนใน mode หรือ conceptual ของเมืองใหม่ ที่พึ่งพาตนเองได้พอควร ก็กลับกลายเป็นการดึงทรัพยากรจากเมืองเดิมไปใช้  ฯลฯ
   


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 07 ก.พ. 13, 20:36
จากประสบการณ์ที่ได้เห็นลอนดอนมา  ผมไม่รู้ว่าถ้านับพื้นที่ถนนทั้งหมดใครจะมีมากกว่ากันแต่ถนนหนทางในลอนดอนแคบกว่าบ้านเรามาก ถนนสายหลักๆ ส่วนใหญ่ก็มีแค่ 2 เลนสวนกัน ที่ 4 เลนนี่ไม่มาก 6 เลนนี่แทบไม่มีเลย รถราเช้าๆ ติดบ้างแต่ไม่สาหัสเท่ากรุงเทพ ระบบขนส่งมวลชนเค้าดีมาก รถไฟใต้ดิน รถเมล์สะดวกมาก ผู้คนไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวเลย  ผมไม่คิดว่าลอนดอนเป็นเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างดีด้วยเพราะผังเมืองก็ยังดูมั่วๆ เหมือนกรุงเทพ แต่เค้าสามารถบริหารจัดการได้ดีกว่าของเรามาก


อีกอย่างก็คือ สนง ใหญ่ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐหรือเอกชนไม่จำเป็นต้องอยู่ในเมืองหลวง เช่นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการจดทะเบียนรถยนต์  ออกใบขับขี่ สนง ใหญ่อยู่ในแคว้นเวลล์โน่น  บริษัทค้าขายธนาคาร  บริษัทประกันหลายแห่งสำนักงานใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ในลอนดอน  หน่วยงานราชการที่ สนง ใหญ่ไม่อยู่ในลอนดอนก็มี ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารปัจจุบันคำว่าเมืองหลวงมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อยๆ แล้ว  ขอแค่ให้ความเจริญและสาธารณูปโภคพื้นฐานมันกระจายไปได้เท่าเทียมกันก็พอ


ผมอยู่เมืองไกลปืนเที่ยงห่างไกลลอนดอน นอกจากช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ใหญ่ๆ กับรถไฟใต้ดินที่ไม่มี อย่างอื่นเรียกได้ว่าไม่มีอะไรขาดหรือแตกต่างจากเมืองหลวงเลย  โรงเรียนประถมมัธยมที่นี่มาตรฐานไม่แพ้โรงเรียนในลอนดอน  จริงๆ แล้วคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่เมืองผมจากโรงเรียนท้องถิ่นสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศหรือในลอนดอนเสียอีก   รถเมล์ที่เมืองผมหน้าตาเหมือนรถเมล์ในลอนดอน มีสองชั้นเหมือนกัน มาค่อนข้างตรงเวลาเหมือนกัน ราคาใกล้เคียงกัน(ค่ารถแพงกว่าลอนดอนเล็กน้อย)


การย้ายเมืองหลวงไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลยถ้าเราสามารถกระจายความเจริญหรือกระจายอำนาจบริหารออกไปยังท้องถิ่นมากๆ  ทุกอย่างไม่ต้องรวมศูนย์  ศูนย์กลางราชการต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมาอยู่รวมกันหรืออยู่ใน กทม เลย เพราแม้ปัจจุบันตึกของกระทรวงต่างๆ ก็ตั้งอยู่ห่างกัน จนท ก็ไม่ได้มีกิจต้องไปมาหาสู่ ไม่มีความจำเป็นเลยที่ต้องมารวมตัวกันที่เมืองเดียว ถ้าจะย้ายไปปทุมธนี เมืองนน หรืออยุธยาก็ไม่มีปัญหา ขอแค่ให้มันเดินทางไปได้สะดวก      ดังนั้นจึงต้องลงทุนเรื่องการขนส่งผู้คนจากชานเมืองเข้ามาในเมืองให้ดี บ้านเราดูจะไม่ให้ความสำคัญตรงนี้ นักการเมืองแค่หาเสียงไปวันๆ นโยบายเน้นขายผ้าเอาหน้ารอดขอแค่คะแนนเสียงในระยะสั้น ไม่มองไปที่การแก้ปัญหาระยะยาวมันก็เลยอีรุงตุงนัง  นี่ขนาดจะเลือกผู้ว่า กทม แล้ว ยังมีนโยบายประเภทรถเมล์ฟรีออกมาอีก เน้นลดแหลกแจกแถมแต่เงินหนะมาจากภาษีชาวบ้านทั้งนั้น เห็นแล้วระอา


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 13, 22:02
จะย้ายเมืองหรือจะสร้างเมืองใหม่ใดไก็ตาม มันมีเรื่องให้พิจารณาอยู่มากมายหลากหลายประเด็น คงจะกล่าวถึงกันได้ไม่ครบถ้วน     ในกลุ่มเรื่องทางด้านสาเหตุที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจหรือสนับสนุนการย้ายหรือสร้างเมืองใหม่นั้น  ผมเห็นว่าการวิเคราะห์ทั้งหลายคงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องต่างๆในบริบทด้าน Carrying capacity    ส่วนการวิเคราะห์เรื่องต่างๆในด้านเมืองใหม่ว่าควรจะอยู่ที่ใหนนั้น  ผมเห็นว่าก็คงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องในบริบทด้าน Quality of life

Carrying capacity  เรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไรคะ
Quality of life  พอจะแปลได้ว่า คุณภาพชีวิต
 


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.พ. 13, 19:31
^
carrying capacity   อืม์ ผมก็ไม่ทราบศัพท์บัญญัติครับ   สำหรับตัวผมนิยมที่จะใช้คำภาษาไทยในเชิงของคำแปลว่า ขีดความสามารถในการยืนยงคงอยู่ของระบบใดๆที่กำลังถูกกระทำด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆอยู่ตลอดเวลา   หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ

carrying capacity  โดยเนื้อแท้แล้วเป็นศัพท์ที่ใช้ในด้านนิเวศน์วิทยา เป็นการมองๆไปในด้านขีดจำกัดใดๆของฝ่ายถูกกระทำก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆข้ามพ้นเส้น sustainability    ส่วนการจะประเมินว่าฝ่ายกระทำ (มนุษย์) กำลังก้าวล่วงเข้าไปมากน้อยเพียงใดในการลดขีดความสามารถในด้าน sustainability นั้น เขาจะใช้วิธีการที่เรียกว่า ecological footprint

ผมจะใช้คำว่า 


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.พ. 13, 19:38
ผมใช้คำว่า carrying capacity ในความหมายรวมๆว่า ระบบและขีดจำกัดของระบบเป็นอย่างไร จะสามารถรองพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เพียงใด


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.พ. 13, 19:43
มีภาษาที่ง่ายกว่านี้ไหมคะ  :) ชนิดคุยกันในสภากาแฟน่ะค่ะ

ดิฉันพยายามแปลไทยเป็นไทย  ถ้าผิด กรุณาแก้ให้ด้วย
สมมุติว่าเราจะย้ายเมืองหลวงใหม่ไปที่ปากช่อง   โดยแยกหน่วยราชการทั้งหมดจากกรุงเทพไปไว้ที่นั่น       carrying capacity ก็คือดูว่าปากช่องมีพื้นที่  เส้นทางคมนาคมจากกรุงเทพ  สามารถเดินทางไปกลับกรุงเทพได้สะดวกแบบเช้าไปเย็นกลับ   สาธารณูปโภค ฯลฯ มากพอจะรองรับหน่วยราชการทั้งหมดให้ไปตั้งอยู่ได้หรือไม่   
อย่างนี้ใช่ไหมคะ


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.พ. 13, 20:22
carrying capacity ศัพท์นี้สถาปนิกใช้ว่า ความสามารถในการรองรับ


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.พ. 13, 21:02
ขอบคุณ คุณนวรัตน์ครับ

การพิจาณาความสามารถ (หรือขีดความสามารถ) ในการรองรับนี้  ก็มีเกณฑ์อยู่เหมือนกัน คือ มันจะสามารถรองรับได้มากทีุ่สุดเท่าไรที่จะไม่ทำให้ตัวระบบของมันเองพัง  ตัวอย่างเช่น

กรณีน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคในกรุงเทพฯ   ในปัจจุบันนี้ การประปานครหลวงสามารถผลิตน้ำประปาได้วันละประมาณ 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอแบบเฉียดฉิวสำหรับการใช้ของคนที่อาศัยอยู่ในเขต กทม.ในปัจจุบัน (ประมาณ 13 ล้านคน)   ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคนหนึ่งจะใช้ประมาณ 200 ลิตรต่อวัน  คราวนี้หากคนเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯมากกว่าเิดิมในอนาคตอีกประมาณ 1 ล้านคน อะไรจะเกิดขึ้น   แน่นอนว่า้ำจะเกิดการเริ่มขาดแคลนน้ำประปา ซึ่งการประปาอาจจะพอหาทางแก้ไขได้ แต่หากประชากรเพิ่มเป็น 5 ล้านคน  คราวนี้ระบบเดิมทั้งหมดก็จะรับไม่ได้แล้ว ทั้งระบบท่อส่งเดิมที่อาจจะเล็กเกินไป รวมทั้งแหล่งน้ำจืดที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาด้วย  ก็จะต้องเริ่มไปเบียดเบียนเอาน้ำบาดาลมาใช้ ก็จะทำให้พื้นดินกรุงเทพฯทรุดลงอีก  จะแก้ไขก็ต้องเป็นการลงทุนใหม่ ขนาดขององค์กรก็จะใหญ่ขึ้น ใหญ่จนอาจจะกลายเป็นการสร้างปัญหาในเชิงการบริหารได้  ซึ่งจะคุ้มค่าหรือไม่ก็ไม่ทราบ  ทางเลือกอื่นมีใหม ก็อาจจะมี เช่น จำกัดความเติบโตของเมือง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำของประชากร  ทำระบบ recycle ย้ายอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมากออกไป บริหารการใช้น้ำร่วมระหว่างน้ำบาดาลกับน้ำท่าให้มีความเหมาะสม ฯลฯ    และรวมไปถึงการย้ายเมือง การตั้งเมืองบริวาร เหลานี้เป็นต้น 

ครับ แก้อย่างหนึ่งก็จะไปกระทบอีกหลายอย่าง   เรื่องของความสามารถในการรองรับจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก คิดเองคนเดียวคงไม่ได้ครบเรื่องทั้งหมด   ซึ่งผมเห็นว่า จะต้องคิดแบบ negative approach อีกด้วย   จะคิดแบบ positive approach เหมือนนโยบายขายฝันคงไม่ไหว           



กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.พ. 13, 19:26
เขียนไปแล้ว กดอะไรไม่รู้ หายไปหมดเลย  ตามหาไม่เจอ  พรุ่งนี้เขียนใหม่ครับ


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.พ. 13, 20:06
อ้าว เสียดายจริง  ถ้าเจอแบบนี้คุณตั้งกดลูกศรย้อนกลับไปหน้าเดิมนะคะ  ข้อความอาจจะกลับมา

นึกถึงมาเลย์เซียค่ะ  ไปเมื่อ 2 ปีก่อน  รัฐบาลเขาไปสร้างเมืองใหม่ขึ้นเมืองหนึ่ง  เป็นเมืองราชการโดยเฉพาะ ป่านนี้คงเสร็จแล้ว   ตอนที่ไปมีแต่ตึกรามบ้านช่องแต่ไม่มีคน  ว่างเปล่าเหมือนเดินเข้าไปในแดนสนธยา จำได้ว่าแต่ละตึกโอ่อ่ามาก
ไปค้นชื่อในกูเกิ้ลมาแล้ว ชื่อ Putrajaya


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.พ. 13, 20:36
^
^

http://www.youtube.com/watch?v=sf4Ga8cJ8NI

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.พ. 13, 19:29
ก่อนที่จะคิดจะกระทำการใดๆเพื่อให้เกิดความพอดีและการมีสุขในอนาคต  เราลองมาดูสภาพโดยทั่วๆไปของเรา (ไทย) ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไป  ที่เราพอจะเห็นกัน

เรากำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ  หน่วยครอบครัวของเรากำลังเล็กลง  เยาวชนและคนในวัยทำงานของเรากำลังจะกลายเป็นคนที่ขาดญาติสนิทเมื่อเข้าสู่วัยูงอายุ (เนื่องจากการมีลูกคนเดียว)      คนไทยที่มีทักษะฝีมือ (แรงงานชั้นดี) กำลังเดินทางกลับไปทำอาชีพอิสระในถิ่นกำเนิดของตน     ที่ดินที่ใช้ในทางการเกษตรกำลังลดลงอย่างมาก เนื่องจากถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน    ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยถูกขายกรรมสิทธิถือครองไปอยู่ในมือนายทุน ถูกกว้านซื้อไปเก็บรวบรวมไว้โดยไม่ได้ทำให้เกิดผลิตทางเศรษฐกิจและสังคมใดๆ    กำลังกลายเป็นสังคมแบบวัตถุนิยม    กำลังหันเข้าไปสู่ความเป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้น   ทรัพยากรทั้งหลายในองค์รวมกำลังถูกดูดเอาไปใช้อย่างกระจุก ไม่กระจาย และไม่เป็นธรรม  ทำให้ประชากรและพื้นที่อื่นๆเริ่มขาดสภาพการอยู่ได้แบบพอที่จะสามารถพึ่งพาตนเองๆได้  ฯลฯ

ด้วยสภาพดังตัวอย่างที่ยกมา ผมเห็นว่า มันก็คงมีหลากหลายแนวคิดที่สามารถจะกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดผลดีกับประเทศและประชาชนในองค์รวมได้   อาทิ ตัวอย่่างหนึ่งที่เป็นแนวคิดจากการศึกษาของ JICA นานมาแล้ว ก็คือ เช่น พัฒนาในแนวทางให้อยุธยาอยู่ได้กับการท่องเที่ยว  ให้สุพรรณบุรีอยู่ในแนวทางของแหล่งการศึกษา  ให้อ่างทองอยู่ในแนวของอุตสาหกรรมการเกษตร  ให้สระบุรีอยู่ในแนวของแหล่งผลิตวัตถุดิบต้นทาง  เป็นต้น    หรือการกำหนดให้มีเมืองหลักเมืองรอง     หรืออาจจะกำหนดให้ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งภาคอิสานตอนบน เป็น recreation region ให้มีสภาพทางกายภาพและสังคมเป็นแบบ self sustain และ living in harmony with nature เหล่านี้เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คงยังไปไม่ถึงเรื่องของการย้ายเมืองใดๆ  เป็นเพียงการแก้เรื่องต่างๆที่เราเห็นว่าแย่และไม่ดีเหล่านั้นให้ดีขึ้นด้วยวิธีการคิดแบบ holistic approach  ด้วยการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐที่อยู่บนฐานของ area & function approach  มิใช่บนฐานของ GDP & economic approach แล้วค่อยกระจายความมั่งคั่งสู่ชนบททีหลัง ดังที่เป็นปรัชญาพื้นฐานอยู่ในแผนพัฒนาฯที่ทำกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โน่น     
 


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.พ. 13, 20:17
แล้วเราจะจับประเด็นเรื่องอะไรดี ที่จะคิดต่อไปว่าควรจะทำอย่างไรกับเรื่ิองที่เราไม่ชอบ เรื่องที่ได้เห็นเป็นประจำในวงจรการดำเนินชีวิตประจำวันในเมืองหลวง หรือที่ได้ประสบในเมืองอื่นๆของเรา    จะจับเรื่องความสวยงามทางกายภาพ ?   เรื่องการจราจร ?   เรื่องความสกปรก ?   เรื่องความไร้ระเบียบต่างๆ ?   เรื่องคุณภาพชีวิต ? ฯลฯ  จะเอาเรื่องอะไรดี   

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในองค์รวมแล้ว  เรื่องทั้งหมดยังอยู่ในวิสัยที่จะแก้ได้โดยการไม่ต้องไปสร้างเมืองใหม่ หรือต้องย้ายเมืองใดๆเลย  จะแก้ด้วยการปลูกฝังนิสัยความประพฤติให้กับคนรุ่นใหม่ ตั้งแต่เด็กจนเริ่มทำงานก็ใช้เวลาประมาณ 15+ ปี  ระยะเวลาก็คงไม่ต่างไปจากการย้ายเืมืองหรือสร้างเมืองใหม่ที่ต้องเริ่มต้นจากการศึกษา การตัดสินใจ การออกแบบ 

ผมเห็นว่า ปรัชญาความนึกคิดของเรา ได้ถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เริ่มคิดเป็น และต่อเนื่องเข้าไปในระบบของการศึกษา ให้เป็นระบบคิดของอเมริกันและจีน  โดยหลักใหญ่หนึ่งก็คือ คิดในมิติของพื้นที่ (กว้าง คูณ ยาว)  ซึ่งจะพอสังเกตเห็นได้ตามข่าวสารและการโฆษณาต่างๆที่ใช้คำว่า ที่สุดในโลก และในมิติว่าจะให้มีหรือเกิดประสิทธิภาพได้สูงสุดก็ต้องมาด้วยความพร้อมสรรพ (เป็น module) เป็นต้น       

ระบบการศึกษาแบบออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมัน และแถบสแกนดิเนเวียน ปลูกฝังให้คิดในปรัชญาที่แตกต่างกันไป  อาทิ ออสเตรเลีย สร้างให้คิดแบบค้นคว้าดัดแปลง (adaptation)   ญี่ปุ่น ไปในเชิงของความแม่นยำ (precision)    อังกฤษ ไปในเชิงของความถูกต้องและยืนยงคงทน (tough & accurate)    เยอรมัน ในเชิงของความถูกต้อง แม่นยำ และความภูมิใจ (accurate, precision, dignity)  และสแกนดิเนเวียนในเชิงของสากลโลก (global context)       

อย่างไรก็ตาม เราได้กำลังเข้าสู่สภาวะของการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อยู่ในขณะนี้  เรากำลังเริ่มเอามิติอื่นๆเข้ามาร่วมคิดด้วยแล้ว เช่น ในมิติของความสูง ในเชิงของปริมาตร  ในมิติของการมีและใช้ทรัพยากรร่วมกัน  ฯลฯ  และก็รู้สึกว่ากำลังลดถดถอยในมิติด้าน rule of laws   ด้าน dignity  ฯลฯ พร้อมๆกันไปกับเรา (จำนวนมาก) กำลังถูกครอบงำด้วยปรัชญา เงินมีหน้าที่ของมันที่จะต้องไปหาเงินเพิ่มขึ้นมา

เหมือนกับการบ่น  แต่มิใช่การบ่นหรอกครับ    เพียงจะสะท้อนความว่า เรามีนักวิชาการจากหลายสำนัก  ถูกปลูกฝังมาจากหลายแหล่งปรัชญาความเชื่อ (school of thought)  เรามีประชากรที่คิดต่างบนฐานของความอยู่รอดของอาชีพและครอบครัวของตน  เรายังมีวังวนอยู่ในความคิดแบบ แกโง่กว่าฉัน ฉันเก่งกว่าแก สถาบันฉันสุดยอด สถาบันแกห่วยแตก ฯลฯ     

เรื่องการย้ายเมืองจึงเป็นเรื่องยาก  ยากกว่าการปรับสภาพเมืองเดิมให้ดูดีขึ้น หรือสร้างพื้นที่ใหม่ให้ดูดีเป็นที่ยอมรับกันทั่วๆไป     ขนาดเรื่องการผังเมืองของเรายังใช้เวลา 5 ปี ในการประชุมเพื่อการตัดสินใจใดๆไม่ได้ ต้องปล่อยใ้ห้หมดวาระการควบคุมโดยอำนาจตามกฏหมาย  ผลก็ทำให้ (เช่นในขณะนี้) ไม่มีการผังเมืองบังคับใช้ ปล่อยให้ใครจะสร้างอะไรก็สร้างๆไป จะทำอะไรก็ทำไป     
             


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 ก.พ. 13, 22:04
ขอบคุณที่ให้ความคิดเห็น อยากให้หลายๆท่านรับทราบบ้าง สนามบินหนองงูเห่า กว่าจะเป็นจริงก็ห้าสิบปี
ขุดคอคอดกระ คงจะร้อยปี  ย้ายเมืองหลวงเราๆท่านๆคงจากไปแล้ว คิดแล้วก็คงไม่ได้เห็นแน่นอน
แต่ผังเมืองนี่น่าจะพอเห็น กรุงเก่าเพื่อนพ้องเดือดร้อนแล้ว   ถ้าไม่ลาไปเสียก่อนทำท่าว่าจะ เหมือนกัน   


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 มี.ค. 13, 20:48
ไม่ได้ตั้งใจจะหายไปใหนครับ  เพียงแต่อยากจะฟังวิสัยทัศน์และกึ๋นของบรรดาผู้สมัครมาเป็นผู้นำเของเมืองหลวงไทย (และของผู้นำประเทศ)   ที่ทั่วโลกเขายอมรับว่า กทม.เป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่สำคัญของโลก rich in culture, rich in heritage, ศูนย์กลางการบินของเอเซีย (อาคเนย์และตะวันออกไกล), ศูนย์กลางที่ตั้งหน่วยงานและสาขาขององค์กรระหว่างประเทศ (ไม่ในเชิงของสำนักงาน ก็ในเชิงของฐานปฎิบัติการ) ฯลฯ

ฟังแล้วก็ต้องทำใจไม่อยากจะกล่าวไปถึงเลย   

จับความได้ว่า ที่ได้เรียกว่านโยบาย วิสัยทัศน์ ต่างๆนั้น แสดงถึงการขาดการศึกษา การทำการบ้าน (ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า research) มาอย่างจริงจัง  จนดูจะกลายเป็นเรื่องสนุกสนานเสียมากกว่าที่จะการให้ความสนใจอย่างจริงจังกับความเป็นเมืองที่เรียกว่าเมืองหลวง  คิดอะไรก็ได้ให้แปลกออกไป 

ผมว่า เมือง โดยเฉพาะเมืองหลวงมันประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง มิใช่เฉพาะแต่ความพอใจของคนที่ดำรงชิวิตอยู่ในเมืองเท่านั้น  เมืองหลวงมันต้องมี เช่น (ขอใช้คำภาษาอังกฤษแซมนะครับ) Infrastructure, Facilities, Facilitation, Recreation ที่ดีและสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันของคน  มันต้องมี History, Heritage, Culture ที่ทุกคนมีความภูมิใจและยินดีร่วมกัน  มันต้องมี Revolving ของความเป็นเมืองในองค์รวม คือ มันจะต้องมีชิวิตที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป มีพักบ้าง มีเร่งเร็วกระชั้นบ้าง มีฤดูกาลของมันเอง มีปฏิทินของมันที่มิใช่เป็น routine ซ้ำซากอยู่ทุกวัน  ฯลฯ

ย้อนคิดและทำในมุมที่ผมยกตัวอย่างกล่าวถึงนี้ให้เกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ ปรับทำด้วยความร่วมมือด้วยความเห็นชอบของชุมชน ค่อยๆทำไป ผมว่ากรุงเทพฯก็ไปได้นะครับ คงไม่ถึงกับต้องย้ายเมือง 

ตัวอย่างที่นึกออก ณ บัดดลนี้ เช่น กำหนดให้อาคารบ้านเรือนทั้งหลายจะต้องทาสีใหม่ทุกกี่ปีก็ว่าไป รวมทั้งของส่วนราชการด้วย  พยายามลดปรากฏการณ์ Heat Island ที่กำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพฯในบางบริเวณที่รุนแรง  หาทางประสานและบังคับให้เกิดการรวมสายโทรศัพท์ที่เรียกว่าสายกระจายนั้นให้เป็นเคเบิลเส้นเดียว  TOT เขาทำ แต่บริษัทที่ได้รับสัมปทานดูจะละเลยอย่างมาก เอาง่ายเข้าว่า ลากสายกระจายอย่างเดียว มันถึงได้เห็นกรุงเทพมีแต่สายอะไรก็ไม่รู้ ระโยงระยางไปหมด   


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 มี.ค. 13, 22:26
ผมเห็นว่า คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯทั้งหลาย (ทั้งที่มีทะเบียนบ้านและไม่มีทะเบียนบ้าน)  ขาดการให้สิ่งที่ดีกับเมืองแทบจะสิ้นเชิง  ดูจะมีแต่การแสวงโอกาสเข้าไปครอบงำหรือฉกฉวยทรัพยากรทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นของส่วนรวม (สาธารณะ)และที่เป็นส่วนบุคคล   เรียกว่ามีแต่การดูดเอาออกไป ไม่มีการเติมคืนให้เป็นการตอบแทนใดๆเลย   มีเพียงชุมชนส่วนน้อยมากที่ช่วยกันเติมคืน ซึ่งก็ยังพอจะดีใจได้บ้างว่า ได้มีการลอกเลียนไปทำกัน   
จะย้ายเมืองใหม่ก็คงทำได้ไม่ยาก ก็ขนาดรัฐเองยังกู้กันได้รวมกันแล้วหลายล้านๆบาท แต่ที่มันจะตามไปอยู่ด้วยก็คือคนในแนวคิดที่ได้กล่าวถึงในตอนต้น ไม่นานก็คงมีสภาพเหมือนดังที่เคยเห็นแต่เดิม แล้วก็จะเห็นได้เร็วมากๆด้วย ด้วยอำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่มากมายที่พอจะรู้ๆกันอยู่

ปัญหาต่างๆหลากหลายที่ผู้ใดๆก็ตามเห็นว่าเป็นปัญหาของกรุงเทพฯนั้น ผมเห็นว่าจะต้องแก้ด้วยการสร้างวินัย มหาจำลองยังนำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเป็นจริงได้เลยในเรื่องการทิ้งขยะ ทำให้กรุงเทพฯสอาดขึ้นอย่างผิดหูปิดตา โรงเรียนได้สอนลงไปถึงเด็กเล็กๆ เด็กกลับมาบ้าน ในกระเป๋ามีแต่เศษกระดาษห่อขนม    นอกจากวินัยแล้ว พ่อเมืองก็ควรจะต้องแสดงความเป็นผู้นำการฝังรากในเรื่องของสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ  ซึ่งเดี๋ยวนี้คงจะต้องฝังเรื่องจริยะธรรมพร้อมๆไปกับเรื่องของสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ

เรื่องใหญ่ของการย้ายเมือง คือ เรื่องของทรัพยากรที่จะใช้ในการทำให้ประชากรของเมืองสามารถประกอบสัมมาชีพและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความปรกติสุขตามสมควร ซึ่งผมเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องของการออกแบบ เรื่องของงานทางวิศกรรม เรื่องของสิ่งอำนวยความสดวก รวมๆแล้วก็คือเรื่องทั้งหลายที่เราสร้างขึ้น (man made หรือ artificial) เพียงเท่านั้น  สิ่งที่สำคัญยิ่งยวดมากกว่านั้น คือ แหล่งน้ำกินน้ำใช้ที่ต้องพอเพียง  แหล่งพลังงานเพิ่มเติม เนื่องจากเืมืองใหม่จะเป็นแหล่งใช้ขนาดมหึมาที่เป็นเป็นกลุ่มก้อนเกิดผุดขึ้นมาใหม่  กรุงเทพฯเดิมอาจะใช้ลดลงไปบ้างเล็กน้อย แต่ที่เกิดมาใหม่นี้ซิ อย่างน้อยก็คงจะเขมือบในปริมาณไม่ต่างไปจากกรุงเทพฯเดิมเท่าใร  คราวนี้คงไม่ใช่เป็นโครงการสร้างเมืองกรุงเทพฯใหม่เสียแล้ว  คงจะต้องมีโครงการสร้างเขื่อน สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม ฯลฯ ก็คงจะต้องกลายเป็นโครงการปรับประเทศไปทุกระบบ



กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 28 มี.ค. 13, 21:47
ถ้ารัฐกู้ ๒ ล้าน ล้านบาทได้ เรื่องย้ายเมืองหลวงก็คงไม่ต้องคิด
เรื่อง  man made ต้องเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องผังเมืองต้องเป็นเรื่องด่วน ก่อนที่จะมีการแสวงโอกาสแย่งชิงฉกฉวยทรัพยากร ไช่ไหมครับ
 
 


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 มี.ค. 13, 23:49
ก็คงต้องเป็นเช่นนั้นกระมังครับ

ผมเห็นว่า ภาพหลักที่เราได้รับทราบและเป็นเหตุผลของการที่รัฐต้องกู้ด้วยลักษณะวิธีการนี้นั้น คือ เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางด้วยรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะใช้สำหรับการเคลื่อนย้าย (หรือขน) คนและสินค้า สายเหนือจาก กทม.ถึงเชียงใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือจาก กทม.ถึงโคราช สายตะวันออกจาก กทม.ถึงพัทยา (หรือระยอง) และสายใต้จาก กทม.ถึงหัวหิน    ผมยังไม่เห็นภาพในเชิงบูรณาการที่เป็นวิสัยทัศน์หรือแนวนโยบายที่รับรู้จับต้องได้ในเรื่องอื่นๆ

รางรถไฟขนาด 1 เมตรของบ้านเรานี้ หากปรับปรุงบำรุงทางให้ดี ก็จะสามารถรองรับความเร็วของรถไฟได้ถึง 120 กม./ชม. ตัวอย่างมีในญี่ปุ่น  หากจะต้องขนคน หรือขนสินค้าระหว่างสถานีระดับจังหวัดของเรา ด้วยระยะทางระหว่างสถานีก็ดูจะเหมาะสมกับความเร็วในระดับนี้

พอไปถึงระดับความเร็วประมาณหรือมากกว่า 200 กม./ชม. ขึ้นไป ญี่ปุ่นเคยบอกว่าระยะห่างระหว่างแต่ละสถานีควรจะมากกว่า 150 กม.ขึ้นไป รางจะต้องขนาดมาตรฐาน เส้นทางจะต้องค่อนข้างตรง และต้องมีการยกระดับให้พอเสมอกัน  ประเด็นก็ไปอยู่ที่ว่า ความเร็วระดับนี้ ตัวรถไฟจะต้องออกแบบพิเศษเพื่อลดแรงเสียดทางจากลม สภาพของตัวรถจึงเหมาะกับการขนส่งคน ไม่เหมาะสำหรับการขนสินค้า  ด้วยสภาพจำกัดดังกล่าวนี้ จึงหมายถึงการเปิดแนวเส้นทางใหม่ หมายถึงเป็นรถไฟขนคนหมู่มากที่มีธุระเดินทางตลอดเวลา  หมายถึงสถานีแรกกับสถานีต่อๆไปจะอยู่ห่างกันอย่างน้อยทุกๆระยะทางประมาณ 200 กม.  ซึ่งก็คงต้องมีการเวณคืนมากมาย และเกิดการขยายเมืองที่เป็นสถานี    ญี่ปุ่นเองยังขยาดและไม่คิดจะขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงต่อ เช่น จาก Joetsu เลาะไปตามชายฝั่งทะเลญีุ่ปุ่นลงไปทางใต้       ส่วนการขนสินค้านั้น แม้ในญี่ปุ่นเองที่พัฒนาระบบรางมานานมากแล้ว ก็ยังเป็นรถไฟปรกติตามที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน แยกระบบออกไปต่างหากจากรถไฟความเร็วสูงโดยสิ้นเชิง จะมีความต่างก็คือ มีการผสมผสานระบบหัวรถจักรลากจูง บ้างก็เป็นไฟฟ้า บ้างก็เป็นดีเซลอีเล็กทริค บ้างก็ดีเซลราง

ผมว่านะครับ หากจะคิดสร้างเมืองใหม่ จะย้ายเมือง หรือจะปรับเปลี่ยนเมืองศูนย์กลางใดๆ ก็น่าจะสามารถคิดบูรณาการเป็นวิสัยทัศน์ได้เสียแต่ในขณะนี้    จำแนกที่ดินให้ดี วางผังเมืองให้ดี กำหนดงานด้านวิศวกรรมให้ดี มีความเข้มงวดทางกฏหมาย เมืองใหม่มันก็จะค่อยๆเกิดและขยายตัวของมันไป ด้วยมือของเอกชนและของรัฐ 

   

 
   


กระทู้: คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
เริ่มกระทู้โดย: ศานติ ที่ 29 มี.ค. 13, 01:07
ต้องใช้ผู้เผด็จการครับ  ม่ายงั้นสภาเถียงกันไม่จบ    เขาว่ามุสโสลินีทำประโยชน์ให้แก่ชาติอย่างเดียวคือสามารถทำให้รถไฟอิตาเลี่ยนวิ่งได้ตรงต่อเวลา