เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ภ.รัตนากร ที่ 06 ก.ย. 13, 23:35



กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ภ.รัตนากร ที่ 06 ก.ย. 13, 23:35
ในอดีตก่อนการเปลี่ยนเเปลงการปกครองนั้นยังมียศประจำตัวเช่น อำมาตย์เอก มหาอำมาตย์ เป็นต้น ส่วนบรรดาศักดิ์ ก็มีตั้งเเต่ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยาเป็นต้น หากเทียบในปัจจุบัน ข้าราชการระดับ 11 เทียบเท่าได้กับเจ้าพระยา ผมอยากทราบว่า ตำเเหน่งประธานศาลฎีกา นั้นหากเทียบกับสมัยก่อนนั้น ทั้งยศ และบรรดาศักดิ์ จะเทียบเท่ากับ มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยา หรือไม่ ขอบคุณครับ ;D


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 07 ก.ย. 13, 05:36
ผมกลับเห็นว่าตำแหน่งเสนาบดีในอดีตไม่แน่นอน แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า บางครั้งเสนาบดีเป็นพระยาพานทองก็มีครับ เข้าใจว่าเจ้าของกระทู้เอาตำแหน่ง + ยศบรรดาศักดิ์มารวมกันครับ รอผู้รู้มาเฉลยครับ


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 07 ก.ย. 13, 06:48
แม้ว่าบางตำแหน่งจะมีราชทินนามเฉพาะเช่น เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาบดี เจ้าพระยายมราช


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ก.ย. 13, 08:03
เสนาบดี อย่างไรเสียก็จะต้องมียศเป็น "มหาอำมาตย์เอก" "มหาเสวกเอก" "นายพลเอก" ขึ้นไป และมีบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยา" ไม่มีข้อยกเว้น

แม้ว่าบางท่านจะเป็นเสนาบดีเมื่อครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" แต่สุดท้ายจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยา" เช่นกัน
(แล้วแต่จะเป็นชั้นไหน สัญญาบัตร หิรัญบัตร หรือ สุพรรณบัตร)

แต่ก็มีบางท่านที่เป็นแค่ "พระยา" ไม่ได้เป็น "เจ้าพระยา" ก็ต้องออกจากตำแหน่งเสนาบดี เช่น พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) หรือ พระยาโกมารกุลมนตรี ()

ประธานศาลฎีกา ในอดีตมีชื่อว่า "อธิบดีศาลฎีกา" ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา มักจะมียศเป็น "มหาอำมาตย์โท" ขึ้นไป
เช่น

มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยามหิธร(ลออ ไกรฤกษ์)
มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)
มหาอำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ (จิตร ณ สงขลา) (มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เมื่อเป็นเสนาบดี)
มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทูร (บุญช่วย วณิกกุล)

และกรรมการศาลฎีกา จะมียศ "มหาอำมาตย์ตรี" (มีประมาณ ๑๐ ท่าน)

ส่วนบรรดาศักดิ์ของอธิบดีศาลฎีกา มีทั้ง "พระยา" และ "เจ้าพระยา" ไม่แน่นอน แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เนื่องจากตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่าเสนาบดี จึงไม่จำเป็นต้องเป็น "เจ้าพระยา"


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 13, 19:18
ในอดีตก่อนการเปลี่ยนเเปลงการปกครองนั้นยังมียศประจำตัวเช่น อำมาตย์เอก มหาอำมาตย์ เป็นต้น ส่วนบรรดาศักดิ์ ก็มีตั้งเเต่ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยาเป็นต้น หากเทียบในปัจจุบัน ข้าราชการระดับ 11 เทียบเท่าได้กับเจ้าพระยา ผมอยากทราบว่า ตำเเหน่งประธานศาลฎีกา นั้นหากเทียบกับสมัยก่อนนั้น ทั้งยศ และบรรดาศักดิ์ จะเทียบเท่ากับ มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยา หรือไม่ ขอบคุณครับ ;D 

มหาอำมาตย์โท เป็นพระยา ค่ะ  เชิญอ่านประวัติพระยาโบราณราชธานินทร์ได้ที่กระทู้นี้

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3233.0


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 13, 19:22
รายนามเสนาบดีว่าการกรมพระคลังมหาสมบัติ, เสนาบดีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย จากวิกิพีเดีย ค่ะ

รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ภ.รัตนากร ที่ 08 ก.ย. 13, 00:07
คือจากที่ผมได้ค้นคว้าหาข้อมูลมานั้น ข้าราชการระดับ 11 ในอดีตน่าจะเทียบเท่า เจ้าพระยา ซึ่งในขณะนั้นเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยเฉกเช่นปัจจุบันครับ ผมขอวิเคราะห์ด้วยความรู้เท่าที่ผมมี อาจถูกผิดประการใดมีท่านผู้ใดทราบ รบกวนช่วยอธิบายด้วยครับ คือขณะนั้นบรรดาศักดิ์สูงสุด คือสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งอันนี้ขอยกไว้ครับ หากมาเทียบนั้นข้าราชการระดับสูงสุดในปัจจุบันที่มีมาเเต่ครั้งอดีต เมื่อมาพิจารณาเทียบกับข้าราชการพลเรือนมิใช่ข้าราชการการเมืองเเต่ประการใด เพราะในอดีตไม่มีนายกรัฐมนตรี มีเเต่พระมหากษัตริย์ ขุนนางข้าราชการ และไพร่ เมื่อเป็นเช่นนี้ข้าราชการที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณนั้น ย่อมสูงสุดคือข้าราชการระดับ 11 ซึ่งก็เทียบได้กับ เจ้าพระยา ตรงนี้คือประเด็นที่ผมเลยนำมาถามถึงตำเเหน่ง ประธานศาลฏีกา ซึ่งในอดีตคือ อธิบดีศาลฎีกาซึ่งจะกล่าวได้ว่าศาลเทียบเท่ากรม แต่ในขณะนั้นผู้ที่มาเป็นอธิบดี นั้นคือเทียบกับปัจจุบัน คือระดับ 10 ซึ่งตามที่คุณเทาชมพูได้กรุณาอธิบาย จะมีบรรดาศักดิ์คือมหาอำมาตย์โท พระยา เพราะในขณะนั้นเสนาบดี จะเป็นมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยา จึงทำให้คนที่จะมาเป็นอธิบดีศาลฎีกาได้ คือ ต้องเป็นพระยาหรือข้าราชการระดับ 10 ในปัจจุบันและเมื่อมาเป็นเสนาบดี เป็นเจ้าพระยาหรือข้าราชการ ระดับ 11 แต่เมื่อหลังเปลี่ยนเเปลงการปกครอง 2475 ตำเเหน่งเสนาบดีได้ยกเลิกไปมีแต่ตำเเหน่งรัฐมนตรี ซึ่งคนที่ดำรงตำเเหน่งคืออข้าราชการการเมือง ซึ่งมาจากสส.หรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอาจมาจากภาครัฐ หรือเอกชน จึงทำให้บุคคลที่เป็นพระยา ซึ่งคือระดับ 10จะขึ้นเป็นเสนาบดีทำให้ไม่สามารถไต่เต้าขึ้นได้ผมจึงพินิจดู ว่าเสนาบดี เท่ากับ รัฐมนตรีก็เป็นการพิจารณาจากตัวตำเเหน่งมิใช่ผู้ที่มาดำรงตำเเหน่งเเต่อย่างใด แต่ในปัจจุบันข้าราชการระดับ 11 นั้นยังมีเเละถือเป็นตำเเหน่งสูงสุดของข้าราชการพลเรือนซึ่งที่มามีความเหมือนที่สุดหากเทียบกับในสมัยก่อนการเปลี่ยนเเปลงการปกครอง ผมจึงคิดว่าที่กล่าวว่าข้าราชการระดับ 11 เทียบท่าเจ้าพระยาคงเป็นการเปรียบเทียบที่ถูกต้อง อีกทั้งข้าราชการบางท่านที่มาดำรงตำเเหน่งประธานศาลฎีกาในปัจจุบันนั้น ได้เคยดำรงตำเเหน่งปลัดกระทรวง ซึ่งคือข้าราชการระดับ 11 นั้นเอง ทำให้ผมคิดว่าหากเทียบกับในอดีตกับคนที่มาดำรงตำเเหน่งประธานศาลฎีกาในปัจจุบัน มี มหาอำมาตย์โท พระยา และเป็นมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยา  :o


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 13, 10:51
อ่านแล้วก็ยังงงๆอยู่   เพราะการปกครองเมื่อเปลี่ยนจากสมบูรณาฯมาเป็นประชาธิปไตย   การจัดระเบียบงานราชการก็เปลี่ยนไปด้วย  ไม่ใช่แค่เปลี่ยนชื่อระบอบการปกครองเฉยๆ      คุณ ภ.จัดให้มาตรงกันเป๊ะๆ ไม่ดูเงื่อนไขแวดล้อม  ก็เลยไม่รู้จะเทียบยังไงค่ะ

ในการปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งอำนาจเป็น 3 อย่างคืออำนาจบริหาร นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า     อำนาจนิติบัญญัติ  ประธานสภาเป็นหัวหน้า    อำนาจตุลาการ ประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้า  (ไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งสังกัดคณะรัฐบาล)
ส่วนในรัชกาลที่ 5   การปกครองขึ้นกับพระมหากษัตริย์  ส่วนหน่วยราชการแบ่งเป็นกระทรวง   ทุกกระทรวงก็ขึ้นตรงกับประมุขของประเทศ  เจ้ากระทรวงคือเสนาบดี  ถ้าไม่ใช่เจ้านายก็เป็นขุนนางระดับเจ้าพระยา เช่นเสนาบดีมหาดไทย เจ้าพระยาทั้งนั้น
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ปี 2475  ไม่มีใครได้เลื่อนบรรดาศักดิ์อีก     เสนาบดีเปลี่ยนเป็นรัฐมนตรี  พระยาจึงได้เป็นรัฐมนตรี
อ่านรายชื่อได้ที่นี่ค่ะ

รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 13, 11:06
ส่วนประธานศาลฎีกาก็คือตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาในอดีตนั่นแหละ    สมัยรัชกาลที่ 5   แบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา (ศาลสูงสุด) มีอธิบดีศาลฎีการับผิดชอบในงานของศาลฎีกา ซึ่งมีตำแหน่งเท่ากับกรม    ต่อมาในพ.ศ. 2482  จึงมีการเปลี่ยนชื่ออธิบดีศาลฎีกา เป็น ประธานศาลฎีกา  
แต่ว่าประธานศาลฎีกาในระบอบประชาธิปไตย "บิ๊ก" กว่าศาลฎีกา  เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญขยายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ตำแหน่งประธานศาลฎีกา  เพิ่มมากขึ้น    ไม่ใช่เป็นแค่หัวหน้าส่วนราชการในศาลฎีกาเท่านั้น ยังเป็นประธานในราชการฝ่ายตุลาการและเป็นอิสระจากเสนาบดีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลทั้งหลาย

เดิมอธิบดีศาลฎีกาก็เทียบเท่ากับอธิบดีกรมหนึ่ง     อธิบดีกรมเป็นระดับพระยา     เช่นมหาอำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา)    และ    มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุร พหุลศรุตาบดี  ท่านเหล่านี้เป็นอธิบดีศาลฎีกาทั้งสิ้น ในระบอบสมบูรณาฯ  ไม่ใช่ในสมัยประชาธิปไตย
คนเป็นพระยาในสมัยนั้น  แค่พันตำรวจเอกหรือพันเอก ก็ได้เป็นพระยาแล้ว  ไม่ต้องถึงนายพลด้วยซ้ำ    แต่พลโทก็ยังเป็นพระยาอยู่  ยังไม่ถึงเจ้าพระยา

คุณภ.รัตนากรควรถามสั้นๆว่า ระดับ 11 ของข้าราชการเท่ากับเจ้าพระยาใช่ไหม   จะได้ตอบว่าใช่   และถ้าย้อนหลังไปสมัยรัชกาลที่ 4  และต้นรัชกาลที่ 5   ข้าราชการสูงสุดในสมัยนั้นคือสมเด็จเจ้าพระยา  ในเมื่อเราไม่มีข้าราชการระดับ 12   ก็ถือว่าระดับ 11 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของข้าราชการก็ก้าวถึงสมเด็จเจ้าพระยาได้เช่นกัน  

ส่วนเรื่องประธานศาลฎีกาหรืออธิบดีศาลฎีกา  ยิ่งเอามาเทียบยิ่งเวียนเฮดค่ะ  


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: ภ.รัตนากร ที่ 08 ก.ย. 13, 11:36
ขอบคุณครับคุณเทาชมพู ผมได้ข้อสรุปเเล้วครับ คือข้าราชดารระดับ 11 ในปัจจุบันเทียบเท่าเจ้าพระยา เเล้วที่คุณเทาชมพูได้บอกว่าสมเด็จเจ้าพระยา อาจเทียบได้กับข้าราชการ ระดับสูงสุด แต่ในเมื่อไม่มีืc12 หากเป็นเช่นนั้นถ้าจะพิจารณา ควรพิจารณาจากตำเเหน่งใดหรือ เครื่องเครื้องราชชั้นใดที่ได้รับหรอครับ ขอบคุณครับ


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 13, 12:04
เทียบอะไรไม่ได้ทั้งนั้นแหละค่ะ  เหมือนตำแหน่งจอมพลที่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว
แต่ถ้าจะถามเรื่องเครื่องราชฯ  คนที่จะอธิบายรายละเอียดได้ดีที่สุดคือคุณ V_Mee    รอท่านนะคะ


กระทู้: บรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.ย. 13, 08:59
ยศและบรรดาศักดิ์ข้าราชการยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเทียบกับปัจจุบันไม่ได้เลย  เพราะในยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือหัวหน้าคณะรัฐบาล  ซึ่งในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วเปลี่ยนมาเป็นนายกรัฐมนตรี  ส่วนเสนาบดีในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เป็นข้าราชการประจำมียศเป็นมหาอำมาตย์เอก  มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา  แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองรัฐนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งที่เทียบเท่าเสนาบดีเปลี่ยนมาเป็นนักการเมืองที่ไม่มียศบรรดาศักดิ์

ตำแหน่งที่พอจะเทียบกับปัจจุบันได้คือ ปลัดทูลฉลองที่เปลี่ยนมาเป็นปลัดกระทรวง  สมัยก่อนมียศเป็นมหาอำมาตย์โท พระยา  และอธิบดีซึ่งสมัยกอนมียศเป็นมหาอำมาตย์ดท หรือตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพานทอง คือได้รับพระราชทานตรา ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ หรือทุติยจุลจอมเกล้า ซึ่งได้รับพระราชทานทองเป็นเครื่องยศตั้งแต่ได้รับพระาชทานทุติยจุลจอมเกล้า

ตำแหน่งเสนาบดีนั้น  ผู้ดำรงตำแหน่งจะได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอกเสมอ  แต่บรรดาศักดิ์ในชั้นต้นจะเป็นพระยา  แล้วจึงเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยา  พร้อมได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้าเป็นเครื่องยศ  แต่สายสะพายช้างเผือกและมงกุฎไทย จะคงได้รับเพียงประถมาภรณ์ช้างเผือก และประถมาภรณ์มงกุฎไทย  ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองหรือ อธิบดี  ส่วนสายสะพายมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และมหาวชิรมงกุฎต้องมีความชอบใหญ่ยิ่งเป็นพิเศษจึงจะได้รับพระราชทาน  จึงเป็นเรื่องปกติที่เจ้าพระยาเสนาบดีในสมัยก่อนจะได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า  ปรถมาภรณ์ช้างเผิอก และประถมาภรณ์มงกุฎกันเป็นพื้น

สำหรับตำแหน่งอธิบดีศาลำ๊กเทียบเท่าข้าราชการชั้นไหน  ในข้อนี้ตอบได้ว่า อธิบดีศาลฎีกาเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พร้อมกับการจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕  เดิมศาลำ๊กาคือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีกรรมการศาลศาลฎัการเป็นผู้พิจารณาและวินิจฉัย  ก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชวินิจฉับเป็นที่สุด  ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ยกศาลฎีกามาจัดเป็นศาลสูงสุดเช่นนานาอารยประดทศ  และโปรดให้มีอธิบดีศาลฎีกาเป็นประมุขของตุลาการทั้งมวล  แต่ขึ้นการบังคับบัญชาต่อเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมอีกทีหนึ่ง  แนวคิดนี้ได้มาจากระเบียบปกครองทหารบกในยุคนั้น  ที่เสนาบดีกระลาโหมรับผิดชอบแต่งานธุรการในกระทรวง  ส่วนงานด้านยุทธการและการปกครองบังคับบัญชากำลังพลอยู่ในอำนาจเสนาธิการทหารบก  ที่รับผิดชอบตรงต่อเสนาบดีกระลาโหม  ที่ขึ้นตรงต่อำระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกทอด  แต่ในกรณีที่เสนาธิการทหารบกซึ่งมียศป็นนายพลเอก มีเกียรติยศเสมอด้วยเสนาบดีกระลาโหมมีความเห็นขัดกับเสนาบดี  ก็สามารถกราบบังคมทูลความเห็นของตนต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โดยตรง

แต่ตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกานั้น  ผู้ดำรงตำแหน่งมียศเพียง มหาอำมาตย์โท (ยกเว้นสมเด็จกมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฎ์ ปฐมอธิบดีศาลฎีกาที่ทรงดำรงพระยศเป็นมหาอำมาตย์เอก เพราะเคยยทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดียุติธรรมมาก่อน)  และมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทั้งหมด เช่น พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ  ไกรฤกษ์)  พระยากฤติกานุกรณ์กิจ (ดั่น  บุนนาค)  พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร  ณ สงขบา)  พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย  วณิกกุล) จึงอาจกล่าวได้ว่า ตำแหน่งอธบดีศาลฎีกานั้นดูจะสูงกว่าตำแหน่งปลัดทูลฉลองแต่ต่ำกว่าเสนาบดี  เพราะมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายและวินิจฉัยออรถคดีทั้งปวงได้โดยสิทธิ์ขาด  แต่ถ้าอธิบดีศาลฎีกาและเสนาบดียุติธรรมมีความเห็นไม่ตรงกัน  อธิบดีศาลฎีกาก็อาจจะกราบบังคมทูลพระกรุณาได้โดยตรงเหมือนเสนาธิการทหารบก 

ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  อธิบดีศาลฎีกาหรือเรียกชื่อใหม่ว่า ประธานศาลฎีกา ก็ยังคงอยู่ใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  เพิ่งจะมาแยกออกไปเป็น ๑ ใน ๓ อำนาจหลักดมื่อราวสิบปีที่ผ่านมา