เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 3902 ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 13:35

คนเขียนบทสับสนค่ะ ตอนภาคแรกฝรั่งเศสเรียกว่าคนสยาม หลวงสรศักดิ์ก็งงงวยว่าทำไมเรียกอย่างนี้

คุณรอมแพง ผู้เขียนเรื่องเองก็เคยสับสนเรื่องนี้ ได้เข้ามาถามในพันทิปก่อนที่ "บุพเพสันนิวาส" จะถูกสร้างเป็นละคร (ใช้นามแฝงว่า 'จอมนาง') ในชื่อกระทู้ว่า

สยาม กับ ไทย สงสัยมากค่ะ
https://pantip.com/topic/32001642?

ผู้ที่ให้คำตอบหลักก็คือ คุณศรีสรรเพชญ์

ในที่สุดคุณรอมแพงก็นึกออกว่า "สิ่งที่ถูกต้องที่สุดตามหลักฐานที่ปรากฏทั้งของไทยและฝรั่ง ในละครสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะให้ชาวต่างชาติเรียกเราว่าสยาม แต่เราจะเรียกตัวเองว่าไทยบ้าง สยามบ้างเวลาที่คุยกับฝรั่ง"

ซึ่งถูกต้อง โดยคุณศรีสรรเพชญ์เสริมว่า "ก็ควรจะเป็นแบบนั้นครับ เพราะต่างชาติเรียก 'สยาม' หากเราคุยด้วยภาษาต่างประเทศก็คงเรียกตามนั้น แต่ถ้าคนไทยคุยกันเอง ใช้ควรจะใช้ 'ไทย'  ฟอลคอนซึ่งรู้ธรรมเนียมไทยอยู่เมืองไทยมานาน ถ้าพูดกับคนไทยก็น่าจะใช้ 'ไทย' ครับ เวลาคุยกับฝรั่งก็ให้ใช้ 'สยาม' ไป"
บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 16:47

มาเรื่อง "จิ้มก้อง" กันต่อครับ

บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 16:53

การ "จิ้มก้อง" ถือเป็นประเพณีมาตั้งแต่ก่อนอยุธยา (อาจจะสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นอีก) ซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่ครั้งราชวงศ์ฮั่น

จีนมองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกและอยู่ใต้สวรรค์ ฮ่องเต้ก็ถือเป็นโอรสสวรรค์ ดังนั้นบ้านเมืองที่จะค้าขายกับจีนก็จะต้องมาถวายเครื่องราชบรรณาการแด่จักรพรรดิเสียก่อน ซึ่งอาจจะสามปีหรือปีละครั้งขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล

บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 18:52

ในละคร จะเห็นขุนหลวงรับสั่งให้ขุนนางฝึกภาษาจีน

แต่ในความเป็นจริง ภาษาจีนอาจไม่ใช่ของจำเป็นนักสำหรับขุนนางที่จะเป็นราชทูตไป "จิ้มก้อง" จีน เพราะถึงอย่างไรก็มีล่าม (ท่องสื่อ) เป็นผู้เจรจาภาษาจีนอยู่แล้ว

สันนิษฐานว่าอยุธยาอาจจะใช้ขุนนางชาวจีนที่รู้ภาษาไทยเป็นล่าม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 09:35

ว่าด้วยกฎหมายปลาตะเพียน

เริ่มนาทีที่ ๒.๓๐



เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม ที่รัชกาลที่ ๒ เมื่อยังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้ทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ และถูกคัดลอกไปนำเสนอต่อในพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์ที่ชำระรุ่นหลังต่อมาจำนวนมาก ความว่า

"ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ทรงประพฤติเหตุในอโนตัปปธรรม แลเสด็จเที่ยวประพาสทรงเบ็ดเหมือนสมเด็จพระราชบิดา แล้วพระองค์พอพระทัยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้าม มิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภค ก็ให้มีสินไหมแก่ผู้นั้น เป็นเงินตราห้าตำลึง"

อัตราค่าปรับ ๕ ตำลึงมาจากข้อเสนอของแม่พุดตานนี่เอง ยิงฟันยิ้ม

อย่างไรก็ตาม มีผู้วิจารณ์ว่าพระราชกำหนดเรื่องนี้อาจจะถูกเพิ่มเข้ามาในพงศาวดารทำนองเดียวกับเรื่องพันท้ายนรสิงห์

ภาพประกอบ จาก วิพากษ์ประวัติศาสตร์ เป็นพงศาวดารฉบับคัดลอกมาจากต้นฉบับสมุดไทย เขียนลงในสมุดฝรั่ง เจ้าของสมุดดั้งเดิมคือ James Hayes หรือ "เสมียนยิ้ม" เจ้าของห้างพริฏิษ แฟกฏอรี ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ท้ายเล่มลงวันที่ ๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๔๙ (พ.ศ. ๒๓๙๒)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 18 ธ.ค. 23, 10:35

หากพระมหากษัตริย์มีพระราชโองการให้หญิงเข้ามาถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา จะสามารถขัดขืนหลีกเลี่ยงได้หรือไม่



มีกรณีตัวอย่างคือ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระอรรคชายาเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑

พระราชนิพนธ์ “ปฐมวงศ์” ของรัชกาลที่ ๔ ระบุว่า พระเจ้าเอกทัศได้ส่งคนไปสอดแนมเสาะหาหญิงที่มีรูปโฉมงดงามและเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์สมบัติมาถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา เวลานั้นสมเด็จพระอมรินทรฯ เป็นบุตรีมหาเศรษฐี เกิดในตระกูลใหญ่มีเครือญาติและทรัพย์สมบัติยิ่งกว่าตระกูลอื่นในสวนนอกตำบลบางช้าง แขวงเมืองสมุทรสงครามกับเมืองราชบุรีต่อกัน  และมีรูปโฉมงดงามเป็นที่เล่าลือ คนสอดแนมจึงกลับข่าวไปกราบทูลพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าเอกทัศจึงมีพระราชโองการสั่งกรมมหาดไทยให้มีท้องตราออกไปหัวเมืองราชบุรี (เป็นเมืองขึ้นของกรมมหาดไทย) เพื่อสู่ขอสมเด็จพระอมรินทรฯ จากครอบครัวให้ส่งมาถวายเป็นบาทบริจาริกา

บิดามารดาและญาติไม่เต็มใจถวายสมเด็จพระอมรินทรฯ ให้ไปอยู่ในพระราชวัง จึงส่งคนไปขอร้องพระอักษรสุนทร (ทองดี) เสมียนตรากรมมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบแต่งท้องตราบังคับบัญชาหัวเมืองขึ้นมหาดไทยให้ช่วยเหลือ พระอักษรสุนทรจึงคิดอ่านให้มีคนไปกราบทูลพระเจ้าเอกทัศว่า พระอักษรสุนทรได้ไปสู่ขอสมเด็จพระอมรินทรฯ ให้เป็นภรรยาของบุตรคนที่สี่ (คือนายทองด้วง หรือ รัชกาลที่ ๑) และได้นัดทำการแต่งงานไว้แล้ว ขอพระราชทานให้พ้นจากพระราชประสงค์    

พระเจ้าเอกทัศก็ทรงพระกรุณาอนุญาตพระราชทานให้  ด้วยเหตุนี้รัชกาลที่ ๑ จึงทรงได้สมเด็จพระอมรินทรฯ เป็นอรรคชายานับแต่นั้น

จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชโองการเป็นท้องตราสั่งลงไปแล้ว ก็ยังอาจสามารถแก้ไขภายหลังได้เมื่อมีคนทูลทัดทาน

จาก วิพากษ์ประวัติศาสตร์ โดย คุณศรีสรรเพชญ์

ถ้าพ่อริดพยายามจริง ๆ ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะทัดทานพระราชโองการของขุนหลวง แทนที่จะให้แม่พุดตานออกโรงตามลำพัง

พ่อริดของแม่แดง (ผู้เขียนบท) ช่างอ่อนแอเสียเหลือเกิน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 18 ธ.ค. 23, 12:30

                คนเขียนบทลำเอียงอวยอำนาจพลังหญิงให้มีเหนือกว่าชายมากมายชัดเกิน

                กรณีเมืยพระราชทานมาแล้วฝ่ายชายไม่รับและถวายคืน นึกได้จากในเรื่อง ราชาธิราช

                สมิงนครอินทร์(ทำเป็น) ไม่มีแรงออกรบเพราะหลงรักพระสนมอุตะละ ความทราบถึงพระเจ้าราชาธิราชทรงประทานนางให้
สมิงนครอินทร์ก็กราบทูลพระเจ้าราชาธิราชว่า แท้จริงต้องการลองพระทัยพระองค์ว่าจะรักใครมากกว่า ระหว่างนางสนมกับขุนทหาร
แล้วก็ขอถวายนางอุตะละคืน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 18 ธ.ค. 23, 17:04

    ขอแสดงความเห็นแบบไม่เข้าข้างทั้งแม่พุดตาน และขุนหลวง ว่าในสังคมโบราณที่ผู้ชายเป็นใหญ่  พระเจ้าแผ่นดินจะทำอะไรก็ย่อมได้ทั้งนั้น   ถ้ามีขอบเขตก็แปลว่าพระองค์จำกัดขอบเขตนั้นด้วยพระองค์เอง   ถ้าไม่อยากจำกัด  ก็สำแดงความอยุติธรรมออกมาได้ ตามแต่ใจอยากจะทำ โดยไม่มีความผิด 
   ดูจากราชาธิราช เมื่อพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องออกไปทำศึก  พระนางมังคละเทวีพระมเหสีได้ตามเสด็จด้วย  เมื่อถอยทัพกลับเมือง  ช้างทรงของพระนางตื่นพานางเตลิดไปในป่า  นายทหารชื่อฉางกายช่วยนางไว้ได้  พากลับเมือง ดูแลระมัดระวังความปลอดภัยอย่างดีตลอดเวลา 20 วัน
  วันหนึ่งพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเสด็จไปยังตำหนักพระนางมังคละเทวี พระนางได้ยกพานพระศรีมาถวาย ทำกรรไกรหนีบนิ้วพระหัตถ์ ด้วยความเคยปากที่มีฉางกายคอยช่วยเหลือ   จึงทรงอุทานว่า “ฉางกายเอ๋ย ช่วยด้วย”  พอได้ยิน พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพิโรธ   ถอดพระนางมังคละเทวีออกจากตำแหน่งมเหสี  และทรงสั่งประหารชีวิตฉางกาย
  พ่อริดน่าจะไม่อยากเสี่ยงอย่างฉางกาย   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 ธ.ค. 23, 13:46

  การเขียนภาค 2 ของนวนิยายหรือละครไม่ว่าเรื่องอะไร เป็นการยากที่จะให้ถูกใจแฟนคลับ     เหมือนต้องต่อเติมบ้านที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องทำใหม่ให้ไม่เหมือนของเก่า  แต่ก็ต้องสวยเท่าเก่า  โดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของของเดิม 
  ดังนั้น บางทีบ้านส่วนที่สร้างใหม่ก็ออกสีคนละโทนกับบ้านของเดิม   หน้าต่างประตูของใหม่เป็นคนละแบบกับของเก่า  ขนาดก็ไม่เท่ากัน ฯลฯ
  เกิดการเปรียบเทียบกันขึ้นง่ายมาก   ส่วนใหญ่บ้านใหม่จะแพ้บ้านเก่าที่แฟนคลับนิยมชมชอบมาแต่เดิมแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 ธ.ค. 23, 17:35

พรหมลิขิต (ภาค ๒ ของบุพเพสันนิวาส) ในเวอร์ชั่นของนวนิยาย ผู้อ่านน่ายังคงชื่นชอบอยู่ แต่ในเวอร์ชั่นของบทละคร น่าจะมีปัญหาเรื่องคะแนนนิยมของผู้ดู

คุณรอมแพงเล่าว่า บทละครเรื่องนี้ต่างจากนวนิยายหลายเรื่อง บางเหตุการณ์ก็มีการเพิ่มเสรืม บางเหตุการณ์ก็ไม่เหมือนในบทประพันธ์  ทั้งบุคลิกของตัวละครยังมีการเปลี่ยนอยู่ ๓ คนคือ

พ่อริด       นาทีที่ ๒๓.๒๕ - ๒๓.๕๐
แม่กลิ่น     นาทีที่ ๒๔.๓๐ - ๒๗.๒๐
แม่แพรจีน  นาทีที่ ๒๙.๐๐ - ๓๐.๐๐

เกร็ดประวัติศาสตร์ที่พูดถึง

หอกลอง                  นาทีที่ ๑๙.๒๕ - ๒๐.๔๕
พันท้ายนรสิงห์           นาทีที่ ๒๐.๕๕ - ๒๒.๒๐
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง    นาทีที่ ๒๒.๒๕ - ๒๓.๒๕
กฎหมายลักษณะผัวเมีย นาทีที่ ๓๐.๔๐ - ๓๒.๐๐

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 20 ธ.ค. 23, 19:35

ยังมีเรื่อง ศนรปราชญ์ที่ถูกตัดไป และ ภาพพันปี ทวารวดีที่ถูกดัดแปลง ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 ธ.ค. 23, 19:54

เดาว่าเกิดจากการตัดต่อ ให้ลงตัวกับเวลาได้พอดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 ธ.ค. 23, 11:25

คุณ รอมแพง  ออกมาแถลงแล้ว ใน Facebook
 
ขอน้อมรับความผิดพลาดของนิยายพรหมลิขิต ที่ทำได้ดีที่สุดเท่านี้ และน่าจะไม่ดีพอที่จะทำเป็นละคร  จึงทำให้ทีมละครโดนวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เป็นความผิดของดิฉันเองค่ะ
หลายท่านอาจจะไม่พอใจที่ทีมทำละครโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยที่ดิฉันเหมือนลอยตัวจากการวิพากษ์นั้น จากการที่ดิฉันพิมพ์และพูดอยู่เสมอว่า หลังขายเป็นละครแล้วแทบจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการทำงานของทีมละครเลย นอกจากจะมีการขอคำปรึกษาจากทีมงาน และต้องให้เกียรติคนทำงาน เพราะศิลปะการนำเสนอของละครกับนิยายแตกต่างกัน 
ซึ่งประโยคเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดิฉันพูดมาเป็น10ปีในการไปเป็นวิทยากรทุกแห่ง จากการที่นิยายได้ทำเป็นละครมาหลายเรื่อง
แน่นอนว่าดิฉันไม่มีปัญหากับการดัดแปลงเพราะเข้าใจเป็นอย่างดีในศาสตร์ที่ต่างกัน แต่อาจจะมีความเสียดายในเนื้อหาหรือคาแร็คเตอร์ที่เปลี่ยนไปบ้างแต่ก็ไม่ใช่ความเสียใจที่ขายเป็นละครอย่างแน่นอน
ดังนั้นแบ่งความคิดเห็นที่ตำหนิจากความผิดหวังในสิ่งที่คาดหวังจากละครมาทางดิฉันได้เลยค่ะ เพราะถ้าไม่โดนตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เสียบ้าง ก็จะไม่ทำให้เกิดการพัฒนา
ขอบคุณมากนะคะ
รอมแพง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 22 ธ.ค. 23, 11:28

ผู้เขียนบทโทรทัศน์  อาจารย์ Salaya Sukanivatt ก็ออกมาแถลงใน Facebook เหมือนกัน
 
พรหมลิขิต  2566
ยกที่หนึ่ง
พรหมลิขิตตอนจบรวบรัดเกินไป
นิยายเขียนคำว่า “จบบริบูรณ์ “ หลังจากฉากแต่งงานของพ่อริดเและพุดตาน
ต่อจากนั้นนิยายเขียนว่า  “ ตอนพิเศษ”ความยาว 4 หน้าหนังสือ
ในเมื่อเป็นตอนพิเศษ
จึงไม่เพิ่มไม่ลดไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ
บทละครจึงเหมือนนิยายทุกประการ
คำว่ารวบรัดเกินไปจึงขอมอบให้ตอนพิเศษของนิยายเรื่องนี้
ยังมียกต่อๆไป
1)คาแรคเตอร์ของพ่อริด เรื่องนี้ต้องพูดกันยาว
2) คาแรคเตอร์คนอื่นๆ : ไม่เหมือนนิยายแน่หรือ
3) ตัวละครหาย : คนเขียนบทหรือนิยายกันแน่ที่ทิ้งตัวละคร
4) เหตุการณ์พุดตานถวายตัวที่ไม่มีในนิยาย : ทำไม
5) บทอาฆาตแค้นของจันทราวดีต่ออทิตยาที่หายไป : เพราะอะไร
6 ศรีปราชญ์ : ตัวละครเจ้ากรรมตั้งแต่บุพเพสันนิวาส : มีและไม่มีเพราะอะไร
7) การเคารพบทประพันธ์และการเคารพวิถีการเขียนบทละคร: ศาสตร์ที่แตกต่างกัน
8)บทละครเหมือนนิยาย หรือต่อยอดจากนิยาย เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ : ต้องคำนวณ
9) การวิพากษ์วิจารณ์รวบยอดที่รุนแรงและไม่เป็นวัตถุวิสัย
ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 22 ธ.ค. 23, 16:35

ผู้เขียนบทโทรทัศน์  อาจารย์ Salaya Sukanivatt ก็ออกมาแถลงใน Facebook เหมือนกัน
 
พรหมลิขิต  2566  ยกที่หนึ่ง …….…

รออ่าน ยกที่ ๒ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 19 คำสั่ง