เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 2207 เรื่องของสกุลรัตนกุล
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ต.ค. 23, 11:26

           พระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัส) ได้รวบรวมและเรียบเรียง "ลำดับสกุลเก่าบางสกุล" ภาค ๑ (ซึ่งรวมสกุล รัตนกุล ไว้) และ
ภาค ๒ ที่รวบรวมได้ ๔ สกุลเท่านี้ ท่านก็ล้มป่วยแล้วถึงแก่อนิจกรรม
           ลำดับสกุลภาค ๒ นี้ ได้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพท่าน โดยมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพนิพนธ์คำนำ

https://www.finearts.go.th/storage/contents/2020/11/file/yx0qvOJj8JWvwFAWUrktRzOcPii8it7qUC4PcPYl.pdf


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ต.ค. 23, 09:51

     มีเกร็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับอุปนิสัยส่วนตัวพระยารัตนกุล ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงบันทึกไว้อีก2-3 เรื่อง นอกเหนือจากเปิดโอกาสให้ราษฎรในท้องถิ่นได้ร้องทุกข์ได้ไม่จำกัดเวลา สมัยท่านเป็นกำนัน
     เมื่อเริ่มรับราชการ ท่านเป็นชั้นผู้น้อยอย่างคนอื่น  แต่ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเร็ว เพราะนิสัยท่านคือทำสิ่งใดก็ทำอย่างประณีต  ผลงานที่ได้รับมอบหมายออกมาเรียบร้อย  และเป็นคนขยันพากเพียร  จึงได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบสูงขึ้นในหน้าที่  จนกระทั่งได้เป็นพระยา
     เมื่อกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ  พระยารัตนกุลไม่อยากอยู่ว่างๆในบ้าน  ก็ไปอ่านหนังสือที่หอพระสมุดเป็นประจำ   ท่านไม่ได้อ่านอยู่่เฉยๆ แต่หาโอกาสช่วยงานเท่าที่จะทำได้   เมื่อมีการย้ายหอพระสมุดออกจากพระบรมมหาราชวัง ท่านก็ช่วยจัดตั้งตู้หนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย   แล้วกราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงฯว่าอยู่เฉยๆก็รำคาญใจเพราะมีเวลาว่างมาก อยากจะช่วยงานในหอพระสมุดแล้วแต่จะทรงมอบหมาย  จึงทรงมอบให้จัดระเบียบรูปถ่ายต่างๆในหอพระสมุด  ก็ทำจนเสร็จเรียบร้อย
    พระยารัตนกุลได้รวบรวมสาแหรกของสกุลรัตนกุล เสร็จแล้วถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงฯให้ทรงตรวจ  เป็นที่พอพระทัย  จึงให้รวบรวมสกุลเก่าอื่นๆมาพิมพ์เป็นเล่มไว้อีก เป็นหลักฐาน   ท่านก็อุตสาหะรวบรวมได้ถึง 11 สกุลด้วยกัน   น่าเสียดายว่าท่านล้มป่วยหลังจากนั้น แล้วถึงแก่อนิจกรรม  ไม่อย่างนั้นคงจะได้รวบรวมอีกหลายนามสกุล
       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 ต.ค. 23, 11:11

  เกร็ดเล็กๆอีกเรื่องก็คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงบันทึกไว้ว่า    พระยารัตนกุลอุตสาหะเดินทางจากบ้านมาทำงานที่หอพระสมุดไม่ได้ขาด  ไม่มีค่าตอบแทน ทั้งยังต้องเสียค่ายานพาหนะมาเอง  จึงทรงเห็นว่ามาออกแรงทำบุญให้หอพระสมุดก็ดีอยู่แล้ว  ไม่ควรจะเสียเงินค่าเดินทางมาเอง  จึงทรงรับจะจ่ายค่าเดินทางให้     (ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงจะเป็นเบี้ยประชุม)
   ขอสแกนข้อความมาให้อ่านข้างล่างนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ต.ค. 23, 09:54

บุคคลสำคัญในสกุลรัตนกุล ในรุ่นต่อมาคือบุตรชายของนายร้อยเอกจิตร รัตนกุล ชื่อพลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
ท่านผู้นี้เป็นผู้กำหนดคำว่า "เสรีเริงฤทธิ์" อันเป็นราชทินนามเดิมของท่านมาต่อท้ายนามสกุลรัตนกุล สำหรับลูกหลานสายของท่านโดยเฉพาะ   ถ้าเป็นลูกหลานในสายอื่น ใช้นามสกุล รัตนกุล เฉยๆ ไม่มีคำต่อท้าย

เนื่องจากนายร้อยเอกจิตรผู้บิดาถึงแก่กรรมเมื่อพลเอกจรูญยังเป็นทารก   ท่านจึงอยู่ความอุปการะของพระยารัตนกุลผู้เป็นอา    ตอนเล็กๆเข้าเรียนที่โรงเรียนคณิกาผลซึ่งอยู่ไม่ห่างบ้าน  มาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนปทุมคงคา  ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในปี 2454 จนจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้เข้ารับราชการทหาร เป็นว่าที่นายร้อยตรี ในปี 2460 ประจำกรมทหารบกช่าง ที่ 3
ชีวิตราชการทหารเจริญก้าวหน้ามาด้วยดี ได้เลื่อนยศทางทหาร ได้เป็นนายร้อยโทในปี 2465 และขึ้นเป็นนายร้อยเอกในปี 2470 ส่วนบรรดาศักดิ์ของท่านนั้นท่านได้เป็นขุนเสรีเริงฤทธิ์ ในปี 2468 ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน ปี 2472 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงในชื่อเดิม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ต.ค. 23, 10:06

หลวงเสรีเริงฤทธิ์(คนกลาง) ถ่ายกับเพื่อนในทหาร เมื่อพ.ศ. 2475


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ต.ค. 23, 10:03

    เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นายร้อยเอกหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ขณะนั้นเป็นนายทหารสื่อสาร ได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร์  เป็นหนึ่งในคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง   หลังจากนั้นเมื่อ  1 เมษายน ปี 2476  เลื่อนขึ้นเป็นนายพันตรี  ผู้บังคับกองพันทหารสื่อสาร ที่ 1 รักษาพระองค์  

    มีเกร็ดเล็กๆ 2-3 เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้กันนัก  จึงขอนำมาเล่าไว้ในกระทู้นี้

    เรื่องแรกคือหลวงเสรีเริงฤทธิ์กับคอมมิวนิสต์ในสยาม เมื่อปี 2475

    คนไทยมักจะเข้าใจว่าคอมมิวนิสต์เริ่มมีบทบาทในไทยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่ความจริงไม่ใช่  คอมมิวนิสต์เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว    เริ่มจากเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พรรคคอมมิวนิสต์ญวน(หมายถึงเวียดนาม) ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของพรรคเข้ามาตั้งอยู่ในภาคอีสานอย่างลับๆ  แล้วเริ่มเผยแพร่ขอความร่วมมือจากคนญวน และคนจีนในภาคนั้น  รวมทั้งลูกครึ่งญวน-จีน ด้วย  แทรกเข้าไปในหมู่นักศึกษาด้วยการแจกใบปลิว
   เมื่อคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ  คอมมิวนิสต์ญวนก็เผยแพร่ใบปลิว  อ้างความดีความชอบว่าคอมมิวนิสต์มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย
    การเผยแพร่นี้ขยายกำลังมาถึงสื่อในยุค นั้น  มีหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับคือ สัจจัง, 24 มิถุนา และ มวลชน  ลงเรื่องราวสนับสนุนความดีงามของลัทธิคอมมิวนิสต์ และประเทศคอมมิวนิสต์    ในขณะที่คณะราษฎร์เองก็มัวยุ่งยากกับการจัดระเบียบแบบใหม่ต่างๆในสังคมไทย  คอมมิวนิสต์ก็ได้โอกาสวางรูปแบบลัทธิของตนลงในสังคมไทยด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ต.ค. 23, 10:04

นายพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์  เมื่อเป็นผู้บังคับกองพัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 ต.ค. 23, 09:39

   หลวงเสรีฯได้สืบทราบมาว่า พรรคคอมมิวนิสต์ในไทยจะประชุมกันที่บริเวณถนนตะนาว ถนนข้าวสาร ศาลเจ้าพ่อเสือ แต่ไม่แน่ว่าตรงจุดไหน   จึงจำเป็นต้องสังเกตการณ์คนผ่านไปมาทั้ง 3 ถนน  ท่านก็เลยพาทหารใต้บังคับบัญชาออกไป กระจายกำลังทั้ง 3 แห่ง
   คืนนั้นเอง กองตำรวจพิเศษ(สันติบาล)ก็ได้สืบทราบมาตรงกัน   จึงพาเจ้าหน้าที่ตำรวจออกมายังบริเวณดังกล่าวเหมือนกัน   แต่ต่างฝ่ายต่างไม่ได้ประสานงานกัน   จึงมองเห็นผู้คนแต่ละฝ่ายดูมีพิรุธน่าสงสัย    จนเกือบจะเกิดปะทะกันขึ้น
  แต่หลวงเสรีเริงฤทธิ์ได้พบกับนายตำรวจกองพิเศษเสียก่อน   เจรจากัน รู้ว่าใครเป็นใคร ก็เลยเข้าใจกันได้  ถอนกำลังกลับกันไปโดยไม่เสียเลือดเนื้อกัน
  
   เรื่องที่สองคือหลวงเสรีฯ ปะทะกับกองกำลังอาจารย์ซิ่ว
   อาจารย์ซิ่วเป็นใคร    คนนี้ไม่ใช่ตำรวจทหารหรือนักการเมือง แต่เป็นมือสักประเภทคงกระพันชาตรี   มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย     อาจารย์ซิ่วเป็นผู้หนึ่งที่ต่อต้านคณะราษฎร์จนถึงกับนัดชุมนุมลูกศิษย์ที่สนามเป้า   เพื่อถือโอกาสจู่โจมแย่งปืนและกระสุนจากทหารที่กำลังยิงเป้า  ได้แล้วจะเอาไปต่อสู้กับรัฐบาล
   แต่ข่าวรั่วไหลไปถึงทหารเสียก่อน   หลวงเสรีฯจึงนัดประชุมนายทหารใต้บังคับบัญชา ปราบปรามกองกำลังของอาจารย์ซิ่ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 20 ต.ค. 23, 08:57

    ข่าวกรองที่ส่งมาคือบรรดาศิษย์อาจารย์ซิ่วนัดชุมนุมกันที่สวนฝรั่งใกล้สนามเป้า   คุณหลวงแบ่งกำลังทหารเป็น 4 กลุ่ม  บุกเข้าไปในสวนฝรั่ง    พอพวกลูกน้องอาจารย์ซิ่วเห็นทหารในเครื่องแบบบุกเข้าไปก็แตกฮิอวิ่งหนีกันไปคนละทิศละทาง 
   ทหารกลุ่มที่ 1  ไปประจันหน้ากับอาจารย์ซิ่วและลูกน้องเข้าพอดี    หลวงเสรีผู้นำกลุ่มร้องตะโกนให้หยุด   อาจารย์ซิ่วชี้มือไปที่ศาลเพียงตาซึ่งปลูกไว้นอกสวนฝรั่ง ว่าให้ไปพูดกันที่นั่น   พอไปถึง อาจารย์ซิ่วก็เริ่มด่าทหารอย่างหยาบคาย ทหารจึงเข้าจับกุม   ฝ่ายลูกน้องอาจารย์ซิ่วดึงมีดปังตอออกมาจากเสื้อจะฟัน  ทางฝ่ายทหารควักปืนออกมายิง แต่กระสุนคงจะขัดลำกล้องหรืออะไรสักอย่าง ก็เลยยิงไม่ออก
   พอเห็นทหารยิงไม่ออก ฝ่ายอาจารย์ซิ่วก็ฮีกเหิมได้ใจขึ้นมา รุกเข้าประชิด  ทหารเริ่มถอย   หลวงเสรีดึงปืนพกขึ้นมาจากเอว  แต่ปรากฏว่าปืนดันไปติดพวงกุญแจที่เหน็บเอวไว้  เลยดึงขึ้นมาไม่ได้
  ร.ต.อร่าม เทพานนท์ลูกน้องของหลวงเสรีเห็นท่าไม่ดี  ร้องบอกให้หลวงเสรีหลบ  แล้วตัวเองก็ยิงออกไป 1 นัดถูกลูกน้องของอาจารย์ซิ่ว   ฝ่ายอาจารย์ซิ่วเห็นคาถาตนเองหมดขลังก็หันหลังวิ่งหนีออกไปพร้อมลูกน้อง 
  ร.ต.อร่ามยิงไล่หลังไป  ถูกอาจารย์ซิ่ว เลือดออกมาทะลุเสื้อทางด้านหลัง  แต่ไม่ตาย ยังวิ่งหนีต่อไปอีกได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 09:28

     เหตุการณ์เริ่มชุลมุน  รอ.ขุนศุภโยธิน ซึ่งควบคุมอาวุธและกระสุนยิงเป้าอยู่ ถูกลูกน้องคนหนึ่งของอาจารย์ซิ่วบุกเข้าถึงตัว  เอาอีโต้ฟันหัวทะลุหมวกกะโล่ลงมาถึงศีรษะ แต่ไม่ตาย  ขุนศุภฯหนีไปหากลุ่มทหาร พอดีรอ.อร่ามมาถึง ยิงมีออีโต้ที่ไล่ฟัน  ถูกเข้าที่ขา มืออีโต้ก็เลยหันหลังวิ่งกระโผลกกระเผลกหนีไป
     การปะทะกันครั้งนี้ทำให้ฝ่ายลูกน้องอาจารย์ซิ่วหนีกระจัดกระจายออกจากบริเวณนั้น มุ่งหน้าไปขึ้นถนนซึ่งต่อมาคือถนนพหลโยธิน    อาจารย์ซิ่วเองก็ได้รับบาดเจ็บ  ศาลเพียงตาล้มระเนนระนาด   แต่ยังรวบรวมกำลังยกกันขึ้นไปตามถนน    เจอกองทหารของหลวงเสรี ยืนเรียงแถวดักอยู่ พร้อมปืนบรรจุกระสุนจริง ประทับยิง 
     อาจารย์ซิ่วคงตั้งใจจะฮึดสู้แสดงพลัง จึงเดินองอาจเข้าไปหาทหารที่กำลังประทับปืน  เอื้อมมือไปกระชากปืนออกมาโดยแรง  นิ้วทหารที่สอดอยู่ในโกร่งไกปินก็เลยลั่นกระสุนเข้าใส่  อาจารย์ซ่ิวล้มลง คางหายไปทั้งคาง   บรรดาลูกน้องเห็นหัวหน้าไม่ได้คงกระพันชาตรีจริง ก็แตกฮือวิ่งหนีกันไปหมด เป็นอันถึงวาระสุดท้ายของขบวนการอาจารย์ซิ่วเพียงแค่นั้น
    หลวงเสรีฯประสบชัยชนะในการปราบอาจารย์ซิ่วได้สำเร็จ     ด้วยความเมตตาและเป็นห่วงลูกน้องคือรอ.อร่าม ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์มาที่บ้าน รดน้ำมนต์ให้รอ.อร่าม  ล้างเคราะห์จากฝ่ายตรงข้ามให้หมดไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 ต.ค. 23, 13:24

      ฉากชีวิตฉากใหญ่อีกครั้งหนึ่งของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ คือบทบาทที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกบฎบวรเดช

     1 ปีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง   เกิดกรณี "กบฎบวรเดช" ขึ้น จากความไม่พอใจการทำงานของรัฐบาล     ผู้นำคือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช ยกทัพจากทางเหนือกรุงเทพเข้าล้อมเมืองหลวง เพื่อบีบให้รัฐบาลยอมจำนน
     กองทหารช่างอยุธยาที่เพิ่งแยกจากกองทหารสื่อสารที่บางซื่อไปประจำอยู่ที่อยุธยา เป็นกองกำลังส่วนหน้าบุกเข้ามาประชิดพระนครที่ทุ่งบางเขนในวันที่ 11 ตุลาคม ปี 2476    ผู้บังคับกองพันชื่อนายพันตรีหลวงลบบาดาล เป็นคนควบคุมมา   หลวงลบบาดาลรู้จักคุ้นเคยกับหลวงเสรีเริงฤทธิ์ดี   นายกรัฐมนตรี  พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงสั่งการให้หลวงเสรีฯเดินทางไปเจรจา และเกลี้ยกล่อมให้กลับใจมาเข้าข้างรัฐบาล 
     ในตอนแรก   ทางหลวงลบบาดาลก็ทำท่าเหมือนจะถูกกล่อมได้สำเร็จ แต่เกี่ยงว่าขอยื่นข้อเสนอให้นายกฯออกจดหมายรับรองไม่เอาผิดฝ่ายตนเสียก่อน    หลวงเสรีฯและคณะที่มาเจรจาก็ยินยอม  เดินทางกลับไปพบนายกฯ ได้จดหมายรับรองมาเรียบร้อย ก็กลับออกไปพบอีกครั้ง
     เหตุการณ์กลับตาลปัตร  ถูกหลวงลบบาดาลสั่งจับทั้งคณะทันที   หลวงเสรีฯถูกนำตัวไปพบพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าฝ่ายกบฎ ก่อนที่จะส่งหลวงเสรีฯและคณะไปคุมตัวรอการตัดสินโทษอยู่ที่อยุธยา
     พ.อ.แสง จุละจาริตต์ หนึ่งในคณะของหลวงเสรีฯ  ได้บันทึกไว้ว่า

        “…คณะของเราถูกคุมตัวไปขึ้นรถไฟและลงสถานีดอนเมือง...พ.ต.หลวงเสรีเริงฤทธ์ ถูกนำไปเฝ้าพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช...จากนั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง พวกเราก็ถูกคุมตัวขึ้นรถไฟไปลงสถานีอยุธยา มีเรือยนต์มารับแล่นจากหลังสถานีรถไฟ ตามลำน้ำรอบเกาะไปขึ้นที่ท่าของกรมทหารช่าง พ.ท.พระวิเศษโยธาภิบาล (ปาน สุนทรจันทร์) ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอยุธยา ผู้อำนวยการเขตหลังของทหารช่าง ได้สั่งกักเราทั้งสี่คนไว้ที่กองรักษาการณ์...”       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 ต.ค. 23, 13:36

      ต่อมา วันที่ 16 ตุลาคม ปี 2476  เรือรบหลวงสุริยะมณฑลของฝ่ายรัฐบาลนำกำลังขึ้นมาที่อยุธยา  ยึดพื้นที่จากฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชได้    หลวงเสรีและคณะอีก 3 คนจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ
      อีก 2 เดือนต่อมา  ถึงเดือนธันวาคม หลวงเสรีฯก็ได้ความดีความชอบ  เข้ารับตำแหน่งทางการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท ที่ 2 ( เทียบเท่าวุฒิสมาชิกในยุคนี้)
      ดวงของหลวงเสรีฯรุ่งโรจน์ขึ้นเป็นลำดับ  ในสมัยนายกฯ พระยาพหลฯ ท่านก้าวออกจากกองทัพไปรับตำแหน่งสำคัญภายนอกกองทัพ  คือไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2479
      ดวงและผลงานของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ยังคงพุ่งแรงขึ้นตลอดมา   แม้การเมืองผันผวน เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ท่านก็ไม่ได้กระทบกระเทือนอย่างใด  แต่กลับประสบความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ    เมื่อจอมพลป.พิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกฯ    หลวงเสรีฯ ได้เข้าร่วมรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในปี 2481 เพียงปีเดียวถัดมา  ท่านก็ได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเดียวกัน
     เมื่อมีการยกเลิกบรรดาศักดิ์ หลวงเสรีเริงฤทธิ์จึงใช้ชื่อเดิม คือจรูญ รัตนกุล แต่เติมราชทินนาม "เสรีเริงฤทธิ์" ไว้ท้ายนามสกุล สำหรับใช้กับท่านและผู้สืบสายเลือดโดยตรงจากท่าน     แยกจากสมาชิกอื่นๆของสกุลรัตนกุล  ท่านได้รับยศทางทหารสูงสุด เป็นพลเอก
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 ต.ค. 23, 13:42

   พลเอกจรูญ รัตนกุลเป็นที่ไว้วางใจของจอมพล ป.พิบูลสงครามอย่างมาก   ต่อมา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น  ไทยต้องเตรียมตัวเผชิญภาวะสงครามจากการแผ่ขยายอำนาจของญี่ปุ่นไปทั่วเอเชีย   ในวันที่ 4 ธันวาคม ปี 2483 พลเอกจรูญได้รับแต่งตั้งเป็นรองแม่ทัพบูรพา มีหลวงพรหมโยธีเป็นแม่ทัพ
   ยังไม่ถึง 1 ปีต่อมา   ท่านได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม  ควบตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกไปพร้อมกัน
   หลังกองทัพญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทยในวันที่ 8 ธันวาคม ปี 2484 ได้เพียง 15 วัน รัฐบาลก็ตั้งพลเอกจรูญไปเป็นแม่ทัพภาคพายัพ
     ในวันที่ 10 มีนาคม ปี 2485 ท่านพ้นตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐการ และต่อมาย้ายไปอยู่กระทรวงคมนาคม
   พลเอกจรูญได้อยู่ร่วมรัฐบาลของจอมพลป. มาอีก 2 ปี จนจอมพลป. ลาออกจากนายกฯในปี 2487   ท่านก็พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีไป
    ดวงของพลเอกจรูญได้ชื่อว่าเป็นดวงแข็งอีกครั้ง เมื่อแคล้วคลาดจากข้อหาที่จอมพลป. เจอ คือข้อหาอาชญากรสงคราม เรื่องนี้มีสาเหตุมาจากหลังสงครามโลกจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น   รัฐบาลไทยซึ่งเป็นพันธมิตรญี่ปุ่นจึงโดนไปด้วย  ท่านเป็นรัฐมนตรีร่วมคณะจึงโดนเข้าเต็ม ๆ  
    แต่พลเอกจรูญรอดคดี เพราะกฎหมายเป็นโมฆะใช้ย้อนหลังไม่ได้ จึงพ้นคดีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ปี 2489


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 26 ต.ค. 23, 11:42

     วันที่ 8 พฤศจิกายน ปี 2490 เมืองไทยพบรัฐประหารอีกครั้ง   เปิดทางให้อำนาจเก่า คือจอมพล ป. พิบูลสงครามฟื้นคืนชีพทางการเมือง  กลับมาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง   
     พลเอกจรูญได้กลับมาสู่ตำแหน่งสำคัญ   แม้จะมิใช่ตำแหน่งทางการเมือง  คือตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 2492   ต่อมากรมรถไฟเปลี่ยนเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงคมนาคม   ท่านก็ได้เป็นผู้ว่าการรถไฟตามชื่อใหม่   เท่ากับเป็นอธิบดีกรมรถไฟคนสุดท้าย และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก  ดำรงตำแหน่งจนถึงพ.ศ. 2502 จึงเกษียณราชการ
     ท่านเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ  บริจาคเงินสร้างอาคารเสรีเริงฤทธิ์ และวางโครงการรองรับการขยายตัวของกิจการรถไฟไว้ล่วงหน้าที่บางซื่อและพหลโยธิน
     พลเอกจรูญมีอายุยืนยาวถึง 87 ย่าง 88 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรม เมื่อพ.ศ. 2526
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 ต.ค. 23, 12:02

พลเอกจรูญ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม โกมลวรรธนะ) มีบุตรธิดา 5 คน คือ
    1   พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    2   นายจำลอง รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    3   นางสาวจิรดา  รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์  สมรสกับพล.ต.สนาน รณฤทธิวิชัย
    4   พล.ต.ต. อุดม  รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์  สมรสกับน.ส.สุภัทรา  ทวีติยานนท์  
    5   นายวิจิตร  รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    หลังจากคุณหญิงเอิบถึงแก่อนิจกรรมเมื่อพ.ศ. 2492  ท่านได้สมรสใหม่กับน.ส.ประไพ เศรษฐวัฒน์ มีบุตรธิดาอีก 4 คน คือ
      พลเอกจรูญ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม โกมลวรรธนะ) มีบุตรธิดา 5 คน คือ
    1   พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    2   นายจำลอง รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    3   นางสาวจิรดา  รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์  สมรสกับพล.ต.สนาน รณฤทธิวิชัย
    4   พล.ต.ต. อุดม  รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์  สมรสกับน.ส.สุภัทรา  ทวีติยานนท์  
    5   นายวิจิตร  รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    หลังจากคุณหญิงเอิบถึงแก่อนิจกรรมเมื่อพ.ศ. 2492 ท่านได้สมรสใหม่กับน.ส.ประไพ เศรษฐวัฒน์ มีบุตรธิดา 4 คน คือ
    1 นางสาวจริยวัฒน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ สมรสกับนายสมศักดิ์ ชัชราวรรณ
    2 นางสาวพัฒนาพงษ์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    3 นายพฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
    4 นายพีรสันต์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ สมรสกับมิส แมรี่ โจ ฟิลสตรอม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง