เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 35228 เรืองเล่าคนเก่าแก่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 12:50

เสื้อกุยเฮง เป็นเสื้อที่ผู้ชายเชื้อสายจีนในไทย  นุ่งกับกางเกงแพรปังลิ้นสีดำ  ค่ะ
ส่วนผู้ชายไทยมีเสื้อคล้ายๆกัน  เรียกว่า เสื้อมิสกรี เป็นเสื้อผ้าป่านบางสีขาว คอกลม ผ่าหน้าลงมาแค่อกสำหรับสวมทางหัว  แขนแค่ศอก  ตัวหลวมๆยาวเลยเอวลงมา   ไว้นุ่งกับกางเกงแพรสีต่างๆเวลาอยู่บ้าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 16:40

จาก "โหมโรง" เสื้อที่คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ ผู้รับบทนายศร หรือหลวงประดิษฐ์ไพเราะสวมในฉากนี้ คือเสื้อมิสกรี

บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 224


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 17:49

อาจารย์ครับ...ในฉากนี้คุณอดุลย์สวมเสื้อติดกระดุมทั้งตัวนี่ครับ (แต่คอกลม) พับแขนแล้วเหน็บเข้ากางเกงด้วยจิ๊กโก๋มากๆ ถ้าฉากตีระนาดให้พงษ์พัฒน์ได้ยินอันนั้นเป็นเสื้อมิสกรีแขนแค่ศอก สมัยยังมีชีวิตอากงผมก็ชอบใส่แต่ผมไม่รู้จักชื่อเสื้อ เวรของกรรม  เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 21:18

กลับไปดูคลิปอีกครั้ง   เสื้อคุณอดุลย์คล้าย แต่ไม่ตรงกับมิสกรีจริงๆด้วยค่ะ   เพราะมิสกรีเป็นเสื้อผ่าอกลงมาครึ่งเดียวและไม่พับแขน    แขนยาวแค่ศอกหรือเหนือศอกนิดหน่อย
ส่วนท่อนล่าง เป็นกางเกงผ้าหลวมๆ นุ่งแบบกางเกงแพร คือเหน็บเอวไว้ค่ะ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 30 เม.ย. 21, 10:22

ยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในประวัติการแต่งกายไทย คือยุค "วัธนธัม" ของจอมพลป.พิบูลสงคราม
ประชาชนเจอคำสั่งให้เลิกแต่งกายตามสบายแบบเดิม มาแต่งกายแบบตะวันตก ที่เรียกว่า "สากล"
เวลาไปงาน ถ้าให้ครบเครื่อง ผู้หญิงต้องสวมหมวกสวมถุงมือ     ผู้ชายก็ต้องสวมหมวก  สวมเสื้อนอกเวลาไปงานใหญ่ๆ   ทั้งๆประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน   แอร์ก็ยังไม่มี
ผู้หญิงทั้งสาวและแก่ต้องสวมหมวกเวลาออกนอกบ้าน   แฟชั่นสาวๆสมัยนั้นทันสมัยมากค่ะ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 01 พ.ค. 21, 18:50

เอารูปคนสวยในอดีต ที่ไม่ใช่นางงามหรือดารามาให้ดูกันบ้าง
นี่คือรูปของ" เจ้าป้า" เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่  สมัยยังเป็นสาว  ท่านเป็นหลานตาของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย 
เจ้ากอแก้วเป็นสาวยุคหลังสงครามโลกครั้งที่่ 2   จบการศึกษาจากอังกฤษและฝรั่งเศส กลับมาประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2499   นำแฟชั่นมาตั้งแต่นั้น
ชุดทางซ้ายน่าจะเป็นชุดกีฬา   ส่วนทางขวาก็คือตามแฟชั่นยุค 2500S
แว่นกันแดดของเจ้า เปรี้ยวล้ำสมัยมากค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 02 พ.ค. 21, 19:48

ไม่รู้ว่าคุณภศุสรรเคยนั่งรถสามล้อแบบดั้งเดิมของไทยหรือเปล่าคะ     ไม่ใช่ตุ๊กๆหรือสามล้อเครื่อง เป็นสามล้อแรงงานคนถีบ
ตามประวัติ ก่อนหน้ามีรถสามล้อ  คนไทยมีรถลาก หรือที่เรียกว่า รถเจ๊ก  เพราะคนจีนเป็นคนลาก   ต่อมาในปี 2476  น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ประดิษฐ์รถสามล้อสำเร็จ  จดทะเบียนที่กรุงเทพฯ โดย น.อ.เลื่อน เป็นผู้ขับขี่ด้วยตนเอง มีีนายพันตำรวจตรี หลวงพิชิตธุระการ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้นั่งทดลองรถสามล้อเป็นคนแรก ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 02 พ.ค. 21, 19:57

สามล้อเป็นพาหนะโดยสารคู่คนไทยมานานหลายสิบปี     ฮิทขนาดมีเพลงเกี่ยวกับสามล้อออกมา  ลองฟังเพลงนี้นะคะ
ชื่อเพลง สามล้อแค้น   เป็นเพลงเพื่อชีวิตยุคแรกๆ สะท้อนภาพสังคมไทย  แต่งโดยเสน่ห์ โกมารชุน เมื่อต้นทศวรรษ 2490  เสน่ห์แต่งเพลงเสียดสีนักการเมือง ชื่อ “ผู้แทนควาย” และเป็นปากเป็นเสียงให้คนถีบสามซึ่งกำลังจะถูกรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งห้ามวิ่งในเขต พระนคร-ธนบุรี  ด้วยการแต่งเพลง “สามล้อแค้น” ในเชิงประท้วงรัฐบาล จนเสน่ห์กลายเป็นขวัญใจของชาวสามล้อในปี 2492

ผลก็คือเพลง “สามล้อ”, “ผู้แทนควาย” กลายเป็นเพลงต้องห้าม ไม่ให้เผยแพร่ทางสถานีวิทยุ และเมื่อวันหนึ่งเมื่อเสน่ห์ขับร้องเพลงนี้ที่เวทีเฉลิมนคร เขาก็ถูกเชิญตัวไปพบอธิบดีกรมตำรวจ พลต.อ.เผ่า ศรียานนท์
ทำให้ต้องเลิกแต่งและร้องเพลงแนวชีวิตยั่วล้อเสียดสีสังคม หันไปสร้างภาพยนตร์แทน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 02 พ.ค. 21, 20:52

รถจักรยานสามล้อถูกยกเลิกในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี โดยพระราชบัญญัติล้อเลื่อน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๐๒

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/A/084/361.PDF





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 02 พ.ค. 21, 21:01



ใครเอ่ย ?
เมื่อยามยากเราเคยได้ใช้สอย
ไม่เคยขาดค่ำเช้าก็เฝ้าคอย
แม้ฝนปรอยเลนเปรอะเลอะมรรคา
ถึงวันนี้ได้ดีมีรถนั่ง
ลืมเพื่อนยากครั้งหลังกระมังหนา
ทุกถนนด้นดั้นด้วยกันมา
แม้นราคาติดเอาไว้ยังได้เลย

ใครเล่า ?
ที่พาเจ้านั่งแนบแอบสนิท
สองต่อสองประลองลมชื่นชมชิด
แขนโอบติดกระชับหลังนั่งชมวิว
ยามยากจนไร้รถยนต์จะพาชื่น
ขึ้นสามล้อระรื่นรับลมลิ่ว
ด้วยฤทธิ์รักรถน้อยเหมือนลอยปลิว
ไม่บิดพริ้วถีบถึงไหนก็ได้เอย

ใครกัน ?
เคยรับส่งลูกทุกวันจะหาไหน
ฝากชีวิตลูกยากล้าไว้ใจ
เช้ารีบไปเย็นรับเจ้ากลับมา
เด็กจะเล่นซุกซนก็ทนได้
เด็กร้องไห้ปลอบพลันให้หรรษา
ถึงรับจ้างก็ไม่ห่างทางเมตตา
คิดแล้วน่าเห็นใจไม่ลืมเอย

ใครนี่ ?
ถีบรถเลี้ยงชีวีน่าสงสาร
เหตุเพราะความยากจนพ้นประมาณ
วางสังขารเดิมพันพนันชีวิต
ใครจะว่าอาชีพนั้นต่ำช้า
ไม่ถือสายึดถือความสุจริต
เป็นพาหนะคนยากอยู่เป็นนิจ
โปรดช่วยคิดเห็นสำคัญกันบ้างเอย

         ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ๗ มิถุนายน ๒๕๐๒
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 03 พ.ค. 21, 10:25

เป็นเพลงที่เพราะมากเลยครับ แถมอยังสะท้อนภาพแห่งความเลื่อมล้ำทางสังคมในยุคนั้นได้ดีอีกด้วย ล้อเลียนรัฐบาลได้แบบแยบยนสอดเสียดที่สุด กระผมเชื่อว่า
กลุ่มหนักการเมืองในสมัยนั้นถ้าหากได้ยินคงจะเจ็บลึกถึงสรวงในเป็นแน่แท้ จึงไม่แปลกที่จะมีการสั่งห้ามออกมา โดยเฉพาะจากจอมผลแปลกด้วยแล้ว กระผมเองนั้นโชคร้าย เกิดมาก็ไม่ทันได้เห็น’’รถเจ็กลาก’’ แบบนี้แล้วล่ะครับ เคยได้ยินแต่ชื่อในคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เท่านั้นเอง แต่เท่าที่ผมรู้ รถคนลากแบบนี้ ในภาษาอังกฤษน่าจะเรียกว่า ‘`rickshaw’’ ครับ ตามประวัติที่ว่าคนจีนเป็นคนลากก็เห็นจะไม่ผิด

เพราะว่าเท่าที่กระผมรู้(หากข้อมูลผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ) รถสามล้อคนลากแบบนี้ได้รับความนิยมและแพร่หลายเป็นอย่างมากในประเทศจีนในช่วงเวลาจากเวลาประมาณ ปลายราชวงศ์ชิง (晚清 ราวคศ 1840-1912) ไปจนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง(国民党时期 ค.ศ.1912-1949)ครับ เป็นยานพาหนะในเมืองใหญ่ของประเทศจีนในสมัยที่อยังไม่มีรถยนต์หรือรถไฟครับ

ภาพด่านล่างนี่ก็คือภาพของรถสามล้อคนลากในประเทศจีนครับ ในภาษาจีนเรียกว่า(黄包车 หวางเปาชือ) แปลตรงตัวว่า’’รถถุงเหลือง’’ ครับ ว่ากันว่าที่มาของชื่อเรียกนี้มาจากการที่ว่า ที่ประเทศจีนในสมัยโบราณนั้นคนลากรถดั่งกล่าวนี้ จะนิยมทาส่วนบนของรถเป็นสีเหลือง ทำรถให้สะดุดตาเพื่อเรียกลูกค้า แต่เนื่องจากรูปถ่ายสมัยก่อยส่วนมากเป็นภาพขาวดำจึงจะไม่เห็นสีเหลืองนี้เป็นส่วนใหญ่

ต่อมาชาวจีนอพยบก็คงจะนำเอารถนี้เขามาในไทยจากประเทศจีนล่ะกระหมังครับ  ส่วนประวัติของรถนี้นั้น ถึงแม้จะไดีรับความนิยมสูงสุดในประเทศจีน แต่ก็ไม่ได้ถูกประดิษฐ์ที่นั้นแต่อย่างได รถนี้แท้จริงแล้วถูกประดิษฐ์ขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก

และก็ได้รับขวามนิยมเป็นอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่นด้วยเหมือนกัน ต่อมาในปี1873พ่อค้าชาวฟรังเศษก็ได้นำเอารถลากนี้จากญี่ปุ่นมาเพยแพร่ทีเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนเป็นที่แรก รถลากจึงได้รับความนิยมในประเทศจีนตั้งแต่นั้นมา และชาวจีนก็ได้นำเอารถลากไปเพยแพร่ต่อในประเทศที่ตนเองได้อพยพไป เช่นประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์เป็นต้นครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 03 พ.ค. 21, 10:39

ทบทวนความหลังครั้งนั่งสามล้อ ว่าจำอะไรได้บ้าง
1   จำได้ว่าคนถีบสามล้อแต่งกายเรียบร้อย  ไม่ใช่ว่าใส่อะไรก็ได้ตามสบาย   เสื้อแขนสั้นสีกากี  และกางเกงสั้นแค่เข่าสีเดียวกัน    ไม่นุ่งกางเกงขายาว คงเป็นเพราะร้อนหรือไม่สะดวก  มองเห็นน่องโป่งเต็มไปด้วยเส้นเอ็น
เขาสวมหมวกด้วย เป็นหมวกทรงกะโล่สานด้วยใบลาน   บังแดดได้แต่ไม่ร้อนอบอ้าวอย่างหมวกผ้าหนาๆ
2  คนถีบสามล้อที่ดี จะพิถีพิถันกับเบาะนั่ง   คือซักสะอาดขาวรีดเรียบ  ไม่ปล่อยให้ดำมอมแมมสกปรก  ชายขาดลุ่ย   มิฉะนั้นคนโดยสารอาจรังเกียจไม่อยากนั่ง  ไปเลือกคนอื่น
3  ถ้าฝนตก  เขามีผ้ายางคลุมรอบรถไม่ให้ผู้โดยสารเปียก
4  สามล้อจ้างเหมารายเดือนได้    แม่ของเพื่อนนั่งสามล้อไปรับลูกที่โรงเรียน ก็จ้างเหมาสามล้อว่าบ่ายสามโมงมารับที่บ้าน    หรือบางบ้านก็จ้างสามล้อไปรับลูกๆที่โรงเรียนเลยทีเดียว   สามล้อพวกนี้จะดูแลเด็กๆเหมือนเป็นลูกหลาน 
5  สามล้อมีกระดิ่งดีดเสียงดังมาก   เวลาเลี้ยวมุมถนนเขาจะยื่นมือขวาออกไป  เป็นสัญญาณให้รถอื่นๆและคนเดินถนน รู้ว่าจะเลี้ยว
6  พื้นที่วางเท้า กว้างพอที่เด็กเล็กๆจะนั่งได้   วางตะกร้าจ่ายของจากตลาดได้
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 03 พ.ค. 21, 10:42

ต้องขอรบกวนเรียนถามท่านอาจารย์หน่อยนึงน่ะครับ ว่าเท่าที่ท่านอาจารย์ทราบนั้น รถสามล้อคนลากได้เรี่มจางหายและหมดไปในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงเวลาใดครับผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 03 พ.ค. 21, 11:09

รถลาก กับรถสามล้อไม่เหมือนกันนะคะ  ไม่ทราบว่าคุณหมายถึงประเภทไหน

รถลากมีสองล้อเท่านั้นค่ะ  ไม่ใช่สาม  น่าจะหมดไปเมื่อรถสามล้อเข้ามาได้รับความนิยม    ดิฉันเกิดมาก็ไม่เคยเห็นรถลากแล้วค่ะ
ส่วนสามล้อ ถูกผลักดันออกไปจากกรุงเทพหลังปี 2502  แต่ยังมีในต่างจังหวัด   ปัจจุบันน่าจะหมดไปแล้วเมื่อมีตุ๊กตุ๊กเข้ามาแทนที่

ฝากถามคุณหมอเพ็ญดีกว่า  แถวปากช่องยังมีไหม
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 03 พ.ค. 21, 11:23

ต้องขอโทษด้วยจริงๆครับสำหรับความสับสน รถสามล้อที่กระผมได้กล่าวถึงก็คือรถลากนั่นแหละครับ กระผมก็น่าจะรีบพิมพ์จนพิมพ์ผิดไปเองนั่นแหละครับ ต้องขออภัยด้วยจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง