เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 07 ก.ค. 13, 11:05



กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 07 ก.ค. 13, 11:05
ผมอยากรู้ว่าสมัยสมเด็จพระนารายน์แต่งตัวกันอย่างไร ผมชอบที่พระองค์เปิดประเทศยกระดับสยามให้เท่าสากล มีชาวตะวันตกเข้ามาประเทศแล้วติดต่อทางการค้ามากมาย แถมพระองค์ยังส่งทูตไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึงพระราชวังแวร์ซายส์ ผมจึงค้นหาเครื่องแต่กายในทศวรรษที่ 17 ในกูเกิลก็ได้มาซึ่งตรงกับภาพที่สมเด็จพระนารายน์ส่งทูตไปเฝ้าประเจ้าหลุยน์ที่ 14

(http://4.bp.blogspot.com/-puBq7kHBLBY/Tq4kHlAFNEI/AAAAAAAAIb0/2e2DjakkdfE/s1600/p4thurl%2B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2591%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2595.jpg)
ราชทูตฝรั่งเศสเข้าเผ้าทูลเหล้าถวายพระราชสาส์น

(http://2.bp.blogspot.com/-YEgDsSJ8QD0/Tq5M1zHC9nI/AAAAAAAAIck/v1MY0elWdAo/s320/DSC00304%2B%25E0%25B8%2591%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2595.JPG)
เจ้าพระยาโกษาปานถวายสาส์นให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส

(http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2012/04/terid8.jpg)

(http://www.bloggang.com/data/s/samuian/picture/1325432162.jpg)

(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201205/01/59999cf10.jpg)

(http://kokoyadi.files.wordpress.com/2011/09/090454_0834_7.jpg)

(http://www.bloggang.com/data/v/vinitsiri/picture/1276227695.jpg)
สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2010&date=19&group=18&gblog=59


ชุดสากล

(http://24.media.tumblr.com/b51b0d395b62928fd97ab779caedf48b/tumblr_mjbfy3k11t1s1okg5o2_500.jpg)

(http://www.osfcostumerentals.org/stock/17th%20&%2018th%20Century%20Restoration/Men%27s%20Wear/17th%2018th%20C%20Coats%20&%20Suits/slides/09024890%2009004775%2009024872%20Suit%20Men%27s%20Late%2017th%20C%203%20pc,%20blue%20velvet%20beige%20silk,%20C38%20W34.JPG)

(http://www.osfcostumerentals.org/stock/17th%20&%2018th%20Century%20Restoration/Men%27s%20Wear/17th%2018th%20C%20Coats%20&%20Suits/slides/09018746%2009027976%20Suit%20Men%27s%2018th%20C,%20%20forest%20green%20faille,%20C38%20W32.JPG)

(http://media-cache-ec4.pinimg.com/192x/f3/c3/30/f3c33097db88e788a34ff88c03c207e0.jpg)

(http://media-cache-ec3.pinimg.com/192x/85/c9/e3/85c9e34d6052a8594d8e0211aeb85bd1.jpg)

(http://blog.catherinedelors.com/wp-content/uploads/18th-century-male-court-costume1.jpg)

(http://raoulpop.files.wordpress.com/2013/01/17th-century-clothes.jpg)

(http://behance.vo.llnwd.net/profiles24/278121/projects/4698555/f8cd5180bbce28312f0e2d77366fca24.jpg)

(http://www.my-poser.com/images/source/Neftis_FP_Suit/Im1.jpg)





กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ค. 13, 11:19
ตู้ลายรดน้ำหอเขียน พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ชาวสยามมองฝรั่ง


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 11:39
คุณจขกท. เคยอ่านกระทู้นี้หรือยังคะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5582.0
แซมมวล ไวท์ : การเมืองเรื่องฝรั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์

การแต่งกายของคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์
โปรดสังเกตว่าผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  ผู้หญิงนุ่งผ้านุ่งยาว ไม่นุ่งโจงกระเบน   ส่วนเด็กๆเปลือยกายเป็นของธรรมดา


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 07 ก.ค. 13, 11:57
คุณจขกท. เคยอ่านกระทู้นี้หรือยังคะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5582.0
แซมมวล ไวท์ : การเมืองเรื่องฝรั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์

การแต่งกายของคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์
โปรดสังเกตว่าผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  ผู้หญิงนุ่งผ้านุ่งยาว ไม่นุ่งโจงกระเบน   ส่วนเด็กๆเปลือยกายเป็นของธรรมดา

เป็นกระทู้ที่ดีเยียมยอดเลยครับ มีประวัติ แซมมวล ไวท์ เขียนได้ละเอียดดีอ่านแล้วสนุกครับ เป็นข้อมูลที่คนรุ่นใหม่หาอ่านได้ยากมาก


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:03
จาก ลาลูแบร์ เปนจดหมายเหตุ พงศาวดารสยาม ครั้งกรุงศรีอยุทธยา แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า (ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาจำทูลพระราชสาส์นครั้งโน้นแต่งไว้แปลเปนไทย)  (http://www.scribd.com/doc/90038312/จดหมายเหตุลาร์-ลูแบร์-1#download) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปลจากฉบับภาษาอังกฤษ   ;D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:09
 :)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:16
 :D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:18
 ;D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:20
 :)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:23
 :D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:25
 ;D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 13, 13:28
ยังมีต่ออีกหลายหน้า  คุณคริสต์กรุณาเข้าไปอ่านเองเทอญ

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 09 ก.ค. 13, 00:02
ยังมีต่ออีกหลายหน้า  คุณคริสต์กรุณาเข้าไปอ่านเองเทอญ

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)

ขอบคุณครับ เป็นข้อมูลที่หาอ่านยากครับ เขียนได้ทุกมุมเลย


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 09 ก.ค. 13, 00:08
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากการเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยคณะราชทูตของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ที่คนไทยน่าจะรู้จักกันดีแล้ว คณะทูตสยามยังเคยได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปามาแล้วอีกด้วย โดยคณะทูตสยาม นำโดยออกขุนชำนาญใจจง และหลวงพ่อกีย์ ตาชารด์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ในวันที่ 23 ธันวาคม 1688 เหตุการณ์ดังกล่าวยังได้ถูกบันทึกไว้เป็นรูปภาพโดย คาร์โล มารัตตา จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/941222_389714147801827_1400037732_n.jpg)

ข้อมูลจากที่นี่ครับ https://www.facebook.com/HistoryOnTimeline

เขาส่งมาที่หน้าแรกในเฟสบุ๊คผมวันนี้พอดี ทูตไทยลอมพอกที่ศีรษะมีสีสรรค์แล้วใหญ่กว่าที่เคยเห็นซึ่งปกติจะเรียวแหลม เครื่องแต่งกายทูตก็มีสีสรรค์ดีครับ


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: MANANYA ที่ 09 ก.ค. 13, 01:09
ขอบพระคุณท่านผู้รู้มากครับ ผมเข้ามาอ่านและได้รับสิ่งเป็นข้อมูลดี ๆ ไว้เป็นความรู้เพิ่มขึ้น


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 09 ก.ค. 13, 06:47


ขอบคุณครับ เป็นข้อมูลที่หาอ่านยากครับ เขียนได้ทุกมุมเลย

สมัยนี้ไม่ยากแล้วครับ มีสำนักพิมพ์ซื้อลิขสิทธิ์มาพิมพ์ขายใหม่แล้ว ลองเดินหาดูตามงานหนังสือได้เลยครับ ทั้งของ ลาลูแบร์ และ เยเรเมียส ฟาน ฟลีท


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 13, 06:56
จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับแปลล่าสุด   ;D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 13, 08:34
คณะทูตสยามยังเคยได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปามาแล้วอีกด้วย โดยคณะทูตสยาม นำโดยออกขุนชำนาญใจจง และหลวงพ่อกีย์ ตาชารด์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ในวันที่ 23 ธันวาคม 1688 เหตุการณ์ดังกล่าวยังได้ถูกบันทึกไว้เป็นรูปภาพโดย คาร์โล มารัตตา จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/941222_389714147801827_1400037732_n.jpg)

ใครเอ่ย ?

ขุนนางสมัยอยุธยา แต่หน้าตาและทรงผมทันสมัยเชียว


 ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4374.0;attach=19057;image)


ยังมีขุนนางอยุธยาอีก ๒ ท่านร่วมคณะในภารกิจเดียวกัน

ทรงผมเดียวกัน

ใครเอ่ย ?


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4374.0;attach=19069;image)

ออกขุนชำนาญใจจงในปี ค.ศ. 1689 วาดโดย คาร์โล มารัตตา ครับ  ;) เคยอ่านประวัติท่านเป็นทูตไปยังฝรั่งเศส แต่เรือเกิดอับปางแถวแหลมกู๊ดโฮป ท่านหมดตัวไม่มีอะไรจะกิน ต้องเอารองเท้าหนังมาปิ้งไฟกิน และได้เห็นคนป่าเปลือยกาย ซึ่งก็คือ ชาวอัฟริกา ครับ

ดังนั้นภาพทูตอีก ๒ ท่านที่คุณเพ็ญชมพูยกมา คงหมายถึง "ออกขุนชำนาญใจจงยังได้เป็นสมาชิกคณะผู้แทนอันประกอบด้วยข้าราชการสามคนที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ ในโรม ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี ค.ศ. 1688 ทูตอีกสองคนในคณะประกอบด้วยออกขุนวิเศษภูบาลและออกหมื่นพิพิธราชา"

มีเหรียญที่ระลึกในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 13, 08:39
ขุนนางอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นุ่งผ้าลาย คาดผ้า พกดาบ เสื้อแขนกระบอกคอจีน สวมลอมพอก ผมสั้น ดูทะมัดทะแมงดี

ทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณเพ็ญชมพู สงสัยเรื่องทูตไปฝรั่งเศส ๓ ท่าน "ออกขุนชำนาญใจจง" คงเดินทางนานกว่า ๖ เดือนผมจึงยาวมากเช่นนี้


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4374.0;attach=19140;image)

มาต่อกันที่จิตรกรรมลายรดน้ำ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรกาศบ้านไทย คนหนุ่มไว้ผมหลักแจว ส่วนฝ่ายหญิงก็โกนผมรอบหัวสั้นเหมือนกัน บนคงไว้ทรงดอกกระทุ่ม ส่วนเด็กเล็กๆ เห็นไว้แกละสองข้าง จัดถักเป็นเปีย ส่วนเด็กโตตามหน้าต่างไว้จุกกลางศีรษะเรียบร้อย ปักด้วยปิ่นปักผม และอีกคนเป็นดอกไม้รัดจุกไว้

ส่วนชายชราด้านล่างมุมภาพ ก็ไม่ตัดสั้น แต่หวีผมเสยไปรวมไว้หลังศีรษะ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4374.0;attach=19139;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ค. 13, 09:51
เขาเดินเรือรอนแรมกว่าปี ผมย่อมยาว เป็นลอนได้สบาย ๆ


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.ค. 13, 14:41
ชุดราชทูตแต่งเต็มยศเข้าเฝ้า อีกรูปหนึ่ง


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 13, 15:33
^
คณะราชทูตนำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เข้าเฝ้าเพื่อถวายพระราชสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ห้องกระจก พระราชวังแวร์ซายส์ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๙

ชุดที่โกษาปานแต่งเป็นเครื่องแบบเต็มยศของข้าราชการสมัยอยุธยาค่ะ  ส่วนที่สวมบนศีรษะเรียกว่าลอมพอก
ข้าราชการรัตนโกสินทร์ยังคงรับสืบทอดมา ตรงเสื้อผ้าโปร่งสวมทับ ที่เราเรียกว่าเสื้อครุย  แต่ไม่สวมลอมพอกแล้ว

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ค. 13, 15:58
ครั้งนี้ก็มีเหรียญที่ระลึกเช่นกัน   ;D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ค. 13, 13:44
ขบวนแห่พระราชสาส์นของคณะราชทูตสยาม ฉากหลังคือพระราชวังแวร์ซายส์  ;D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ค. 13, 13:54
คณะราชทูตที่โรงละครในปารีส  วาดโดย Jacques Vigouroux Duplessis   (http://en.wikipedia.org/wiki/Jacques_Vigouroux_Duplessis) :D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ค. 13, 19:22
ในภาพข้างบน ดูหน้าไม่ค่อยเหมือนตัวจริง

ซ้าย - ออกพระวิสูตรสุนทร ราชทูต  กลาง - ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต  ขวา - ออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูต

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ค. 13, 19:45
เสื้อครุยของออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) อาจได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย   ;)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ค. 13, 21:00
อีกชุดหนึ่งของโกษาปาน  :D


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 13 ก.ค. 13, 14:17
คุณเพ็ญชมพูโพสได้ยอดเยียมเลยครับ ได้ข้อมูลเยอะมาก  :)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ค. 13, 16:16
ขอน้อมรับคำชมด้วยความยินดี   ;)

สิ่งที่เห็นเด่นชัดในเครื่องแต่งกายของขุนนางสยามสมัยสมเด็จพระนารยณ์คือ "ลอมพอก" ได้แบบมาจาจากเปอร์เซียเช่นดียวกับเสื้อครุย

ลาลูแบร์บันทึกไว้ว่า

เครื่องสวมศีรษะสีขาวทรงสูงแลปลายแหลมดังที่เราเคยเห็นเอกอัครราชทูตแห่งพระเจ้ากรุงสยามสวมนั้น เป็นศิราภรณ์สำหรับใช้ในงานพระราชพิธี ซึ่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและขุนนางของพระองค์ก็ทรงแต่งและแต่งเหมือน ๆ กัน ต่างแต่ว่าพระลอมพอกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นประดับขอบหรือเสวียนเกล้าด้วยพระมหามงกุฎเพชรรัตน์ ส่วนของพวกขุนนางนั้นประดับเสวียนทองคำ, เงิน หรือกาไหล่ทองมากน้อยตามยศ ลางคนก็ไม่มีเสวียนเลย. พวกขุนนางจะใช้ลอมพอกนี้ชั่วเวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์หรือเพลาประชุมคณะขุนศาลตุลาการหรือในพิธีลางอย่างเท่าน้้น. เขาใช้แถบผูกโยงยึดเข้าไว้ใต้คาง และเมื่อแสดงการเคารพก็มิได้ถอดออก.

จาก จดหมายเหตุลาลูแบร์ แปลโดย คุณสันต์ ท. โกมลบุตร

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ค. 13, 16:24
ขอให้สังเกต ลอมพอกของออกขุนศรีวิสารวาจา (ขวาสุด) ประดับเสวียนแตกต่างจากลอมพอกของออกพระวิสูตรสุนทรและออกหลวงกัลยาณราชไมตรี (สองท่านทางซ้ายมือ) ;D



กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ค. 13, 17:18
ลายผ้าของโกษาปาน และกระดุมดุนนูนลายจักร


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ค. 13, 19:23
เดอ วีเซ เล่าถึงการแต่งตัวของคณะราชทูตเมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า

ราชทูตชมตึกพลาง คุยพลางดังนี้เป็นครู่ใหญ่ ๆ ก็พอดีรถ มาถึงพระที่นั่งแวร์ซายส์ ราชทูตลงจากรถหลวงแล้วเจ้าพนักงาน ก็พาให้ไปพักคอยอยู่ที่ห้องแห่งหนึ่ง ท่านราชทูตจึงได้จัดแจงแต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศ ตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทย คือสวมเสื้อเยียระบับมีกลีบทอง และดอกไม้ทองและสวมเสื้อครุย ซึ่งดูเป็นของแปลกสำหรับนัยน์ตาเราชาวฝรั่งเศส เพราะผิดแบบของราชทูตเมืองอื่นเป็นอันมาก. สิ่งสำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทย ผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้น ก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า กะลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทองเพ็ชรพลอยและนิลจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าทีมาก. พอราชทูตสวมกะลอมพอกและเครื่องยศเต็มตามตำแหน่งแล้ว ก็พอดีถึงเวลากำหนดที่จะเข้าเฝ้า มีเจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี มาอัญเชิญราชทูตว่า :- " ขอเรียนเจ้าคุณได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรงใหญ่เวลานี้ ถึงเวลาที่เจ้าคุณจะเจ้าเฝ้าได้แล้ว ขอเชิญเจ้าคุณตามข้าพเจ้ามาเถิด ข้าพเจ้าจะพาไป." ทันใดนั้น ก็ได้ตั้งกระบวนแห่สำหรับจะนำพระราชสาสน์เข้าไปถวาย มีทหารสวิสอาสากองรักษาพระองค์ ๑๒ คนเดิรกำกับพระราชสาสน์อย่างกวดขัน พระราชสาสน์นั้นมีพระกลด คือร่มขาวซึ่งไทยเรียกเศวตฉัตรเป็นเครื่องกั้นอีก ๔ คัน สำหรับแสดงพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินสยาม นอกนั้นที่เชิงบันไดใหญ่ยังได้มีทหารกรมมหรศพอีกเป็นหลายกอง คือทหารตีกลอง ๓๖ คน ทหารแตรเดี่ยว ๒๔ คน เมื่อริ้วกระบวนแห่เดิรเข้ามาถึง ต่างก็เป่าแตรและตีกลองรับ พอขบวนเดิรขึ้นสุดคั่นบันไดแล้ว ก็ถึงพื้นท้องพระโรงที่จะเฝ้าทีเดียว กระบวนแห่ก็หยุด ท่านอัครราชทูตจึงเดิรไปรับเอาพระราชสาสน์จากแท่นที่แห่มานั้น แล้วท่านก็ให้ตรีทูตอัญเชิญด้วยมือของตนเอง จนถึงหน้าพระที่นั่งต่อไป.

จาก หนังสือพระยาโกศาปานไปฝรั่งเศส แปลจาก Voyage des ambassadeurs de Siam en France 1686 ของ Jean Donneau de Visé  โดย เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์



กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 13, 20:44
ขออนุญาตลดขนาดรูปประกอบลงนะคะ     มันใหญ่เกินไป  กินเนื้อที่ของเว็บบอร์ดมากค่ะ


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 14 ก.ค. 13, 23:29
เดอ วีเซ เล่าถึงการแต่งตัวของคณะราชทูตเมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า

ราชทูตชมตึกพลาง คุยพลางดังนี้เป็นครู่ใหญ่ ๆ ก็พอดีรถ มาถึงพระที่นั่งแวร์ซายส์ ราชทูตลงจากรถหลวงแล้วเจ้าพนักงาน ก็พาให้ไปพักคอยอยู่ที่ห้องแห่งหนึ่ง ท่านราชทูตจึงได้จัดแจงแต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศ ตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทย คือสวมเสื้อเยียระบับมีกลีบทอง และดอกไม้ทองและสวมเสื้อครุย ซึ่งดูเป็นของแปลกสำหรับนัยน์ตาเราชาวฝรั่งเศส เพราะผิดแบบของราชทูตเมืองอื่นเป็นอันมาก. สิ่งสำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทย ผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้น ก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า กะลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทองเพ็ชรพลอยและนิลจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าทีมาก. พอราชทูตสวมกะลอมพอกและเครื่องยศเต็มตามตำแหน่งแล้ว ก็พอดีถึงเวลากำหนดที่จะเข้าเฝ้า มีเจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี มาอัญเชิญราชทูตว่า :- " ขอเรียนเจ้าคุณได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรงใหญ่เวลานี้ ถึงเวลาที่เจ้าคุณจะเจ้าเฝ้าได้แล้ว ขอเชิญเจ้าคุณตามข้าพเจ้ามาเถิด ข้าพเจ้าจะพาไป." ทันใดนั้น ก็ได้ตั้งกระบวนแห่สำหรับจะนำพระราชสาสน์เข้าไปถวาย มีทหารสวิสอาสากองรักษาพระองค์ ๑๒ คนเดิรกำกับพระราชสาสน์อย่างกวดขัน พระราชสาสน์นั้นมีพระกลด คือร่มขาวซึ่งไทยเรียกเศวตฉัตรเป็นเครื่องกั้นอีก ๔ คัน สำหรับแสดงพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินสยาม นอกนั้นที่เชิงบันไดใหญ่ยังได้มีทหารกรมมหรศพอีกเป็นหลายกอง คือทหารตีกลอง ๓๖ คน ทหารแตรเดี่ยว ๒๔ คน เมื่อริ้วกระบวนแห่เดิรเข้ามาถึง ต่างก็เป่าแตรและตีกลองรับ พอขบวนเดิรขึ้นสุดคั่นบันไดแล้ว ก็ถึงพื้นท้องพระโรงที่จะเฝ้าทีเดียว กระบวนแห่ก็หยุด ท่านอัครราชทูตจึงเดิรไปรับเอาพระราชสาสน์จากแท่นที่แห่มานั้น แล้วท่านก็ให้ตรีทูตอัญเชิญด้วยมือของตนเอง จนถึงหน้าพระที่นั่งต่อไป.

จาก หนังสือพระยาโกศาปานไปฝรั่งเศส แปลจาก Voyage des ambassadeurs de Siam en France 1686 ของ Jean Donneau de Visé  โดย เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์



เยี่ยมมากเลยครับ งานหนังสือปีนี้จะลองหาดูสักเล่มเผื่อมี


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 15 ก.ค. 13, 17:17
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e6/Forbin_in_Siamese_uniform.jpg/220px-Forbin_in_Siamese_uniform.jpg)
สยามในภาพนี้ใส่ถุงเท้ายาวคล้ายฝรั่ง


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSdYSe4g-psUeHZhKY8AK2oab6AXk2SK7JthxKgFeV3n8DLEWjy)
ภาพฝรั่งเข้าเฝ้าสมเด็ดพระนารายณ์ฉบับขยายครับ


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 15 ก.ค. 13, 17:23
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c1/Almanach_1687_Kosa_Pan_with_Louis_XIV.jpg)

ภาพเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อีกภาพครับ


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 15 ก.ค. 13, 17:27
ส่งลิงค์มาแล้วรูปใหญ่เกินไปครับ


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 13, 17:49
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e6/Forbin_in_Siamese_uniform.jpg/220px-Forbin_in_Siamese_uniform.jpg)
สยามในภาพนี้ใส่ถุงเท้ายาวคล้ายฝรั่ง

เป็นภาพของ เชอวาเลีย เดอ ฟอร์บัง  (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2_%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD_%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87) ในเครื่องแต่งกายแบบขุนนางสยาม ที่ตำแหน่ง "ออกพระศักดิ์สงคราม"

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 13, 21:43
เดอ ฟอร์บัง ได้บรรยายเหตุการณ์เมื่อ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อถวายพระราชสาส์น ไว้ในบันทึก ดังนี้

เมื่อได้ผ่านพระลานไปอีกหลายพระลานแล้ว เราได้มาถึงพระที่นั่งที่เสด็จออกขุนนาง เป็นรูปยาวรีสี่เหลี่ยม มีอัฒจันทร์ขึ้นไปเจ็ดหรือแปดขั้น ท่านราชทูตนั่งบนเก้าอี้ ถือพานพระราชสาส์น ท่านเจ้าวัดเดอะชัวสีนั่งอยู่ข้างขวาบนตั่งต่ำกว่าเก้าอี้ เจ้าคณะเดอะเมเตลโลโปลิสนั่งอยู่ข้างซ้ายบนพรมผืนเล็กที่ปูทัพรมที่ลาดพื้นพระที่นั่ง พรมผืนเล็กนั้น จัดไว้เฉพาะเจ้าคณะเดอะเมเตลโลโปลิส และสะอาดกว่าพรมผืนใหญ่ ขุนนางฝรั่งเศสที่มาในคณะทูตนั่งขัดสมาธิบนพื้น เจ้าพนักงานได้แนะนำเราว่าให้ระวังอย่าให้เท้ายื่นออกมา ถ้าเหยียดเท้าออกมาแล้วนับว่า เป็นการหยาบช้ามาก ท่านราชทูต ท่านเจ้าวัดเดอะชัวสีและเจ้าคณะเดอะเมเตลโลโปลิสนั่งแถวเดียวกัน หันหน้าไปทางพระราชบัลลังก์ พวกเราชาวฝรั่งเศสนั่งอยู่ข้างหลังเรียงกันเป็นแถวเหมือนกัน ทางซ้ายขุนนางผู้ใหญ่นั่งเรียงตามลำดับยศฐานันดรศักดิ์ ตลอดไปจนจดพระทวารพระที่นั่ง เมื่อทุกคนเข้านั่งดังนี้แล้ว เราได้ยินเสียงกลองใหญ่ดังขึ้นหนึ่งที บรรดาขุนนางไทยซึ่งมีเครื่องแต่งกาย คือ นุ่งผ้าพื้นคลุมตั้งแต่สะเอวลงไปครึ่งน่อง ใส่เสื้อมัสลินแขนสั้น และสวมลอมพอกขาว  ได้ยินอาณัติสัญญาณนั้นแล้ว หมอบลงราบหัวเข่าและข้อศอกยันกับพื้น ที่ขุนนางไทยหมอบลงเป็นแถว เสียงกลองที่ดังขึ้นทีหนึ่งนั้นได้ดังขึ้นอีกหลายที เว้นเป็นระยะ ๆ ไป

พอถึงทีที่หก พระนารายณ์มหาราชทรงเผยพระบัญชรเสด็จออกให้เราเฝ้า พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงพระมาลายอดแหลม คล้ายกันกับหมวกยอดที่เราเคยใช้กันมาในประเทศฝรั่งเศสในกาลก่อน แต่ริมไม่กว้างกว่าหนึ่งนิ้ว พระมาลานั้นมีสายรัดทำด้วยไหมทาบใต้พระหนุ ทรงฉลองพระองค์เยียรบับสีเพลิงสลับทอง สอดพระแสงกริชไว้ที่รัด พิตรอันวิจิตรงดงาม และทรงพระธำมรงค์อันมีค่าทุกนิ้วพระหัตถ์  พระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์นี้ทรงมีพระชนมายุราวห้าสิบพรรษา ซูบพระองค์มาก พระสรีระรูปแบบบาง ไม่ทรงไว้พระทาฐิกะ ที่เบื้องซ้ายพระหนุมีพระคินถิเม็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมาสองเส้นห้อยลงมายาว เมื่อท่านราชทูตก้มศีรษะลงถวายอภิวาทแล้ว ก็กล่าวคำกราบบังคมทูลพระกรุณา เจ้าพระยาวิชเยนทร์มีหน้าที่เป็นล่าม เสร็จแล้วท่านราชทูตเดินเข้าไปจนใกล้สีหบัญชรและยื่นพระราชสาส์นขึ้นไปเพื่อทรงรับพระราชสาส์น พระนารายณ์มหาราชต้องทรงเอื้อมพระหัตถ์ ก้มพระองค์ออกมานอกสีหบัญชรเกือบครึ่งพระองค์ ที่ท่านราชทูตถวายพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์เช่นนั้น คงแกล้งทำด้วยความตั้งไจ หรือเห็นว่าคันทองที่จะทูนพานพระราชสาส์นขึ้นไปนั้นยาวไม่พอ  พระนารายณ์มหาราชได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับท่านราชทูตพอเป็นสังเขป ตรัสถามว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงพระราชสำราญดีอยู่หรือ พระราชวงศ์ทรงมีความสุขสบายดีหรือ และประเทศฝรั่งเศสมีความวัฒนาถาวรเพียงไร ในที่สุดเสียงกลองใหญ่ดังขึ้นอีกทีหนึ่ง พระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นข้างไน และขุนนางไทยลุกขึ้นนั่ง

จาก จดหมายเหตุฟอร์บัง แปลโดย หม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล (โดยแก้ไขการสะกดคำให้เป็นปัจจุบัน)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 13, 12:56
เสร็จแล้วท่านราชทูตเดินเข้าไปจนใกล้สีหบัญชรและยื่นพระราชสาส์นขึ้นไปเพื่อทรงรับพระราชสาส์น พระนารายณ์มหาราชต้องทรงเอื้อมพระหัตถ์ ก้มพระองค์ออกมานอกสีหบัญชรเกือบครึ่งพระองค์ ที่ท่านราชทูตถวายพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์เช่นนั้น คงแกล้งทำด้วยความตั้งไจ หรือเห็นว่าคันทองที่จะทูนพานพระราชสาส์นขึ้นไปนั้นยาวไม่พอ  

เรื่องความไม่ตรงไปตรงมาของเดอ โชมองต์ที่เหมือนตั้งใจให้สมเด็จพระนารายณ์ต้องทรงก้มพระองค์มารับพระราชสาส์นนี้ นอกจากเดอ ฟอร์บังจะสังเกตและวิจารณ์แล้ว บาทหลวงตาชารด์  (http://en.wikipedia.org/wiki/Guy_Tachard) ก็สังเกตเห็นและวิจารณ์ว่า

พระเจ้าแผ่นดินสยามประทับ ณ สีหบัญชรที่สูงมาก การจะยื่นพระราชสาสน์ถวายให้ถึงพระองค์ท่านนั้น จำเป็นต้องจับคันพานที่ปลายด้าม และชูแขนขึ้นสูงมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเห็นว่าการถวายพระราชสาสน์ในระยะห่างมากนั้น เป็นการไม่สมเกียรติ โดยควรที่จะถวายให้ใกล้พระองค์มากที่สุด  ราชทูตจึงจับพานที่ตอนบน และยื่นขึ้นไปเพียงครึ่งแขนแค่นั้น พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงทราบความประสงค์ ว่าเหตุใดราชทูตจึงกระทำเช่นนั้น จึงทรงลุกขึ้นยืนพร้อมกับแย้มพระสรวล และทรงก้มพระองค์ออกมานอกสีหบัญชร เพื่อรับพระราชสาสน์ตรงกึ่งกลางทาง แล้วทรงนำพระราชสาสน์นั้นจบเหนือเศียรเกล้า อันเป็นการถวายพระเกียรติให้เป็นพิเศษ

จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด แปลโดย คุณสันต์ ท. โกมลบุตร

โปรดสังเกตเพิ่มเติมว่า เจ้าพระยาวิชเยนทร์ที่หมอบอยู่ทางซ้ายของภาพ ทำมือเหมือนบอกเดอ โชมองต์ว่า "ยกสูง ๆ หน่อย"

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)



กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ 16 ก.ค. 13, 17:07
ยอดเยี่ยมเลยครับ  :) ได้ความรู้เยอะเลย


กระทู้: การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 13, 21:19
เดอ โชมองต์เองได้เขียนบันทึกถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า

บรรดาขุนนางได้เข้าไปในท้องพระโรงอยู่ตามตำแหน่งก่อน พระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จออกบนพระที่นั่งโธรน แลเมื่อข้าพเจ้าได้เข้าไปนั้น เจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีพระคลังเสนาบดีได้เข้าไปกับข้าพเจ้า แลบาดหลวงเแอปเบเดอชวยซีนั้นเชิญพระราชสาส์น ข้าพเจ้ามีความแปลกใจที่ได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินสยามประทับอยู่บนพระที่นั่งยกชั้นสูง ด้วยเจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีได้สัญญายอมไว้กับข้าพเจ้า ว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามจะเสด็จออกบนพระที่นั่งที่ยกชั้นมิให้สูงกว่าชั่วสูงของคน แลพระราชสาส์นนั้นควรจะได้ถวายต่อพระหัตถ์ เหตุดังนี้ข้าพเจ้าจึงได้ว่ากับบาดหลวงแอปเบเดอชวยซีว่าคำที่สัญญาให้ข้าพเจ้า นั้นได้ลืมเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าคงจะตั้งใจโดยแท้ที่จะถวายพระราชสาส์นกับด้วยมือของข้าพเจ้าเอง พานทองซึ่งใส่พระราชสาส์นนั้น มีที่จับใหญ่ยาวกว่า ๓ ฟิต ด้วยเขาคิดว่าข้าพเจ้าจะจับปลายที่มือจับยกพานชูขึ้นไปให้สูงถึงพระที่นั่ง แต่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจในทันทีนั้นจะถวายพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์เอง  จึงได้ถือพานทองนั้นในมือข้าพเจ้า ครั้นได้มาถึงพระทวาร ข้าพเจ้าก้มศีศะถวายคำนับที ๑ แล้วเดินไปได้ครึ่งทางที่ในท้องพระโรง จึงได้ถวายคำนับอิกครั้งหนึ่ง แล้วเดินไปที่ใกล้ ที่ข้าพเจ้าจะนั่งนั้น ข้าพเจ้าได้พูดแอดเดรศถวายสองสามคำแล้ว ข้าพเจ้า ใส่หมวกแล้วจึงนั่งลงเฝ้าแลคอยฟังทรงปราไส แลทูลตอบในคำสปิชนั้น.....

คำสปิชนี้ เจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีแปลถวายแล้ว ข้าพเจ้าได้ทูลพระเจ้าแผ่นดินสยามว่า พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเปนเจ้าของข้าพเจ้าได้โปรดให้บาดหลวง แอปเบเดอ ชวยซี. มาด้วยกับข้าพเจ้ากับผู้ดีด้วย ๑๒ นาย แล้วข้าพเจ้าทูลถวายตัวเขาทั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เชิญพระราชสาส์นจากมือบาดหลวงแอปเบเดอ ชวยซี คิดจะถวายดังเช่นข้าพเจ้าได้พูดตกลงไว้ เจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีซึ่งไปเฝ้าด้วยข้าพเจ้าคลานเข้าไปด้วยมือกับเข่า เรียกข้าพเจ้าแล้วบุ้ยชี้ให้ข้าพเจ้ายกแขนเชิญพระราชสาส์นขึ้นให้ถึงพระเจ้าแผ่นดิน แต่ข้าพเจ้าทำเปนไม่ได้ยินนิ่งเสีย อยู่ทีหลังพระเจ้าแผ่นดินทรงพระสรวล แลทรงลุกขึ้นก้มพระองค์ลงมารับพระราชสาส์นที่อยู่บนพานทอง  แล้วก็ทรงประทับอิงให้เห็นทั่วทั้งพระองค์ เมื่อทรงหยิบพระราชสาส์นแล้ว ข้าพเจ้าก้มศีศะลงถวายคำนับอย่างต่ำ แล้วกลับมายังที่นั่ง


จาก จดหมายเหตุทูตฝรั่งเศสและโปรตุเกตเข้ามาเมืองไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  แปลโดยเจ้าพระยาภาสกรวงษ์ (พร บุนนาค) จากฉบับภาษาอังกฤษซึ่งพระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ (เซอร์จอห์น เบาว์ริง) แปลจากฉบับภาษาฝรั่งเศส  Relation de l'ambassade de Mr. le Chevalier de Chaumont a la cour du roy de Siam ของเชอวาเลีย เดอ โชมองต์

เหตุการณ์นี้มีบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของภาพเมื่อท่านโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของคุณคริสต์ด้วย

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)