เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ปลาทอง ที่ 01 พ.ค. 01, 03:51



กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: ปลาทอง ที่ 01 พ.ค. 01, 03:51
ช่วงหยุดสงกรานต์นี้
ปลาทองได้ไปเที่ยวป่า...
เพื่อนๆ ในคณะที่เป็นผู้ชาย ก็พกผ้าขาวม้ากันไปคนละผืน... ซึ่งผ้าขาวม้านี้ใช้ได้ประโยชน์อย่างยิ่งยวด
อาทิ..เช่น
ปัดยุง, กันแดด, กันลม, กันฝน, ห่มนอน,
ผลัดผ้าอาบน้ำ, เช็ดตัว ฯลฯ

เกริ่นยาวแบบนี้ แค่อยากจะถามว่า
เหตุใดผ้าลายสก็อต ผืนผ้ายาวแบบนี้
จึงเรียกว่า ผ้าขาวม้า... หรือผ้าคะม้าคะ???
คิดว่าอาจจะมีการทอนของคำหรือที่มาเป็นอย่างไร
แล้วมีผ้าขาวม้าแบบอื่น (ที่ไม่ใช่ลายสก็อต) หรือไม่

จริงๆ เคยอ่านหนังสือเล่มไหนสักเล่มมีเขียนถึง
แต่ลืมไปแล้ว ตอนนี้หนังสือก็กระจัดกระจายจะค้นหาก็ยาก

หากท่านใดมีที่มาของคำ หรือข้าวของต่างๆ ของไทย
ช่วยนำมาโพสต์ก็จักได้ความรู้แพร่หลายออกไปอีก

ขอบคุณมา ณ ตรงนี้ด้วยค่ะ


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: ซิ่ง ซ่าส์ ที่ 17 เม.ย. 01, 23:47
ในจดหมายถึงบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม จำได้ว่ามีคนเคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไงลองไปค้นดูนะครับ


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: พี่ใหญ่ ที่ 01 พ.ค. 01, 15:51
ข้อมูลเรื่องนี้หาได้จาก เรื่องผ้าขาวม้าออนแคตวอล์ก เลิกเชยแล้วค่ะ!
ใน ศิลปวัฒนธรรม  ปีที่ 21, ฉบับที่ 10, สิงหาคม 2543


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 12 พ.ย. 05, 06:56
 ตอนเด็กๆ ผมก็สงสัยเหมือนกันครับว่า ทำไมต้อง "ขาวม้า" ไม่เห็นเกี่ยวกับ "ม้า" ผ้าก็ไม่ "ขาว" อิอิ

ผ้าขาวม้า เป็นคำไทยที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า "กรอมา" ซึ่งในภาษามาเลย์ และ เปอร์เซีย เรียกผ้าชนิดนี้ด้วยสำเนียงที่ใกล้ๆ กัน ซึ่งผมจำไม่ได้แล้วว่าออกเสียงอย่างไร อิอิ (ใครรู้ช่วยเสริมหน่อยนะครับ) หรือ อีกนัยหนึ่ง คำไทยอาจรับมาจากคำมาเลย์ หรือ โดยตรงมาจากคำเปอร์เซียมาเลยก็ได้เช่นกัน

ผมคิดว่า เดิมผ้าชนิดนี้คงเป็นสินค้ามาจากเปอร์เซียก่อน ก็เลยเรียกกันตามคำเปอร์เซีย แต่ก็เพี้ยนไปตามสำเนียงท้องถิ่นครับ

ส่วนใหญ่ ชื่อของกินของใช้แปลกๆ เรามักจะรับมาจากต่างชาติครับ แล้วก็ปรับเรียกให้ลงกับสำเนียงไทยๆ ที่เราคุ้นเคย เช่น ปาท่องโก๋ เย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยว หอยจ้อ เป็นต้น (เคยรู้สำเนียงจีน แต่จำไม่ได้แล้ว ตำราก็ไม่อยู่ใกล้มือ ตอนนี้ ใครทราบต่อหน่อยนะครับ )

สบู่ ก็น่าสนใจครับ เคยได้ยินว่าเมื่อก่อนตอนยังไม่มีสบู่ เค้าใช้ขี้เถ้าผสมน้ำครับ เพราะมีคุณสมบัติทางเคมีเป็นด่างเหมือนกัน

สบู่ เป็นสินค้ามาจากยุโรป ซึ่งน่าจะมาจากโปรตุเกส พวกโปรตุเกสเรียกว่า sabao (ซาเบา) มาเป็นคำไทย คือ สบู่

คำนี้จริงๆ แล้วประเทศต่างๆ ในยุโรปรับมาจากภาษาละตินอีกต่อครับ

ละติน : sapo (ซะโป) นัยว่าพวกโรมันรับมาจากภาษาตระกูลเยอรมันโบราณอีกต่อหนึ่ง

อิตาลี : sapone (ซะโปเน่)
ฝรั่งเศส : savon (ซะวง)
อังกฤษ : soap (โซป)
เยอรมัน : Seife (ไซเฟอะ)
ดัทช์ : zeep (เซ็ป)
สเปน :  jabon (ฮะบน)


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: Doraikufuki ที่ 21 พ.ย. 05, 20:29
 ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: boonrod ที่ 01 มิ.ย. 09, 17:40
อยากคุยกับ Hotacunus ความเห็นที่ 3 กรุณาติดต่อกลับที่ boonrod8@yahoo.com จะขอบคุณมาก
...ตอนเด็กๆ ผมก็สงสัยเหมือนกันครับว่า ทำไมต้อง "ขาวม้า" ไม่เห็นเกี่ยวกับ "ม้า" ผ้าก็ไม่ "ขาว" อิอิ

ผ้าขาวม้า เป็นคำไทยที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า "กรอมา" ซึ่งในภาษามาเลย์ และ เปอร์เซีย เรียกผ้าชนิดนี้ด้วยสำเนียงที่ใกล้ๆ กัน ซึ่งผมจำไม่ได้แล้วว่าออกเสียงอย่างไร อิอิ (ใครรู้ช่วยเสริมหน่อยนะครับ) หรือ อีกนัยหนึ่ง คำไทยอาจรับมาจากคำมาเลย์ หรือ โดยตรงมาจากคำเปอร์เซียมาเลยก็ได้เช่นกัน

ผมคิดว่า เดิมผ้าชนิดนี้คงเป็นสินค้ามาจากเปอร์เซียก่อน ก็เลยเรียกกันตามคำเปอร์เซีย แต่ก็เพี้ยนไปตามสำเนียงท้องถิ่นครับ

ผม-บุญรอด กำลังศึกษาเรื่องผ้าขาวม้า และอยากคุยถึงรากศัพท์คำว่า ผ้าขาวม้า กรุณาติดต่อผมที่ boonrod8@yahoo.com จะขอบคุณและเป็นประโยชน์ทางวิชาการ


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 มิ.ย. 09, 20:35
แนะนำให้หา   อยุธยาอาภรณ์  ของ สมภพ  จันทรประภา   หนังสืออนุสรณ์  ของ พันตรี หลวงจบกระบวนยุทธ  ๒๕๒๐
หน้า ๒๑ - ๒๒ อ่าน

มีคำอธิบายที่น่าสนใจ  เรื่อง  "หักขะม้า"   ผ้านุ่งชั้นในของญี่ปุ่น


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 01 มิ.ย. 09, 22:20
ไม่เคยอ่าน และไม่มีอยุธยาอาภรณ์อยู่ใกล้มือครับ

แต่ประเด็นว่า ผ้าขาวม้า หรือ ผ้าขะม้า มาจาก hakama นี่น่าสนใจครับคุณ Wandee

ความจริง hakama ไม่ใช้ผ้านุ่งชั้นในนะครับ แต่เป็นผ้านุ่งตามประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่น ขอให้นึกหน้าตาผ้านุ่งที่ซามูไรสวมใส่ นั่นแหละครับ hakama

ข้อมูลจาก wiki http://en.wikipedia.org/wiki/Hakama (http://en.wikipedia.org/wiki/Hakama) บอกว่ามีสองแบบ

แบบที่แยกขา (เป็นกางเกง) เรียกว่า umanori hakama (umanori แปลว่าขี่ม้า) ในขณะที่แบบที่เป็นผ้านุ่งแบบกระโปรงหรือโสร่งของเราเรียกว่า andon bakama โดยเสียง ha เปลี่ยนเป็น ba เพราะต่อท้ายเสียง n ซึ่งน่าสนใจมากเพราะทั้งชื่อเรียกและรูปแบบการนุ่ง คล้ายกับผ้าขะม้าของไทยครับ

ส่วนจะเป็นที่มาของชื่อผ้าขาวม้าของไทยหรือไม่นั้น คิดว่าต้องมีหลักฐานประกอบที่รัดกุมกว่านี้ครับ


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 มิ.ย. 09, 23:37

สนใจเรื่องชื่อผ้า และเมืองที่สั่งผ้ามา ตามที่ปรากฎในวรรณคดีบางเรื่อง
อ่านแล้วยิ้มน้อยยิ้มใหญ่แล้วผ่านไปไม่ได้จดจำหรือจะสรุปอะไร

คิดว่าจะเสนอชื่อหนังสือไว้ให้ท่านที่สนใจใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง

ไม่เคยเชื่อวิกิเท่าไร    ง่ายเกินไปค่ะ


ชอบ
ผ้าย่ำมะหวาด   พื้นขาวดอกม่วง   มาจาก ยา - มะหวด    สีม่วงแต่โบราณเรียกว่าสีมะหวด

ผ้าปัตหล่า   สมเด็จกรมพระยานริศ  ทรงพระนินธ์ไว้ว่า  "ฉลองพระองค์ครุยปัตหล่าองค์เดิมเป็นฉลองพระองค์เก่าที่สุดที่มีเหลืออยู่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดมาก   มีงานสำคัญแล้วก็ทรง..."
กาญจนาคพันธ์ได้อธิบายไว้ยืดยาวเลยค่ะ



นอกนั้นก็เป็นชื่อสามัญ  เช่นอัตลัด  เข้มขาบ   เยียรบับ   ตาด   โหมด   ปัสตู   อัศวรี(ในเปอร์เซียมี "อีซารี)   มัสหรู่   ย่ำตะหนี่   กุศราตหรือผ้าสุหรัด
ผ้าส่านหรือกำมะหลิด ( ฝรั่งเรียก Camlet)   กาษาหรือกาสา   สลับตุ่น(ดิฉันเคยเห็นสลับปะตุ่น)    มะไลก๊าต มาจากเมือง ปุลิกัต



กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 01 มิ.ย. 09, 23:53
wiki ไม่ใช่จะเชื่อถือได้เสมอไป โดยเฉพาะภาษาไทยนี่ผิดเยอะมาก แต่เป็นปัญหาเรื่องคุณภาพของผู้เขียน ซึ่งก็ไม่ต่างจากหนังสือนะครับ เนื้อหาในหนังสือก็อาจผิดได้เช่นกันหากผู้เขียนไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนั้นๆจริง และ/หรืออ้างอิงจากแหล่งที่มาที่มีข้อมูลไม่ถูกต้องครับ
การจะประเมินว่าถูกหรือผิดคงไม่ได้ประเมินว่ามาจากวัสดุ หรือแหล่งที่มาใด แต่อยู่ที่ว่าเราจะสืบไปถึงข้อเท็จจริงได้ขนาดไหนต่างหาก

เรื่อง hakama เป็นเรื่องที่สามารถตรวจสอบอ้างอิงได้จากหลายแหล่ง แต่ผมอ้าง wiki ไว้เพราะเห็นว่าเรียบเรียงไว้ถูกต้องครบถ้วนดีครับ

เรื่องผ้านี่ผมก็สนใจอยู่บางคำเหมือนกัน พวกชื่อแพรจีนชนิดต่างๆ น่าตรวจสอบที่มาจริงจังสักครั้งเหมือนกันครับ


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 มิ.ย. 09, 00:25
ตอนนางแก้วกิริยาเจอขุนแผนวันทองที่จับมา  ทำให้สนใจเรื่องการแต่งตัว


อาบน้ำทาแป้งแต่งกายา          น้ำมันทาลูบผมพอสมตัว
นุ่งตาเล็ดงาห่มผ้าผวย            ไม่ชุ่มชวยด้วยระคายเป็นม่ายผัว
ไกลญาติขาดมิตรคิดถึงตัว        ลูกผัวกลับมาจะกินใจ


ช่างเป็นหญิงที่เจียมตัวนัก


กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 มิ.ย. 09, 00:33
เรื่องแพรจีนมาเมืองไทย  มีอยู่บ้างค่ะ   จำได้ว่า สยามประเภทเล่าเรื่องหม่อมไกรสรไว้สนุกดี
มีเรื่องแพรที่สั่งมาให้ตัวละครนุ่ง   ผืนหนึ่งเจ็ดตำลึงกึ่ง     แพงจัง





กระทู้: **ที่มาของคำต่างๆ**
เริ่มกระทู้โดย: Ngao_Mak ที่ 12 ธ.ค. 11, 15:54
หวย มาจากการพนันจีนชื่อว่า ฮวยหวย花會