เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: นัทชา ที่ 27 ม.ค. 16, 14:07



กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 27 ม.ค. 16, 14:07
ท่าทีของปรีดีกับกบฏพระยาทรงสุรเดชมีว่าอย่างไรบ้างครับ
ขณะนั้นปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ.2481-พ.ศ.2484)
และทราบแต่เพียงว่าพระยาทรงสุรเดชขัดแย้งกับปรีดีเรื่องสมุดปกเหลือง


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 27 ม.ค. 16, 15:29
ขอยก คห.มาพิจารณาครับ

คห.108 รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามเข้าบริหารราชการได้เพียงเดือนเดียว  ก็เริ่มปฏิบัติการกวาดล้างเสี้ยนหนามทางการเมืองทันที โดยพันเอกหลวงอดุลยเดชจรัส เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนนายร้อยของหลวงพิบูล ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีมหาดไทย ออกคำสั่งให้ลงมือปฏิบัติการพร้อมกันทุกสายในเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม 2482 ให้ทำการจับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวน 51 คน และจับตายผู้ที่คิดว่าเป็นสายเจ้า หรือสายพระยาทรง 3 คน

คห.111 พอรับทราบคำสั่งแล้ว พระยาทรงก็ยินยอมให้นายทหารที่มาควบคุมตัวเข้ากรุงเทพทันที รัฐบาลหลวงพิบูลแถลงว่า เพื่อตอบแทนคุณงามความดีจึงได้สั่งให้เนรเทศไปอยู่ในอินโดจีน
ผมเห็นในบันทึกของพันเอกพระอินทรสรศัลย์ ที่พี่สรศัลย์ แพ่งสภานำรูปมาพิมพ์ไว้ในหนังสือของท่านระบุว่า วันที่ 30 มกราคม 2481 ท่านมีกิจกรรมในวันนั้นคือไป “ส่งพระยาทรงไปญวน” แต่พี่สรศัลย์บอกว่า คนไปส่งถูกทหารกันไว้ไม่ให้เข้าไปในสถานีรถไฟ แต่นักข่าวที่ได้สัมภาษณ์พระยาทรงเขียนไว้ว่า “ไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่าถูกปลดด้วยเรื่องอะไร และไม่สนใจด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป รู้สึกขอบคุณรัฐบาลที่ให้ไปพักผ่อน ดีเหมือนกัน จะได้ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขเสียที”

คห.117 ก่อนหน้าที่หลวงพิบูลจะลงมือปฏิบัติการกวาดล้างบุคคลน้อยใหญ่ที่ตนระแวง วันหนึ่งพระยาฤทธิ์อัคเณย์กำลังปฏิบัติราชการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการอยู่ที่กระทรวงเกษตรธิการ พ.ต.ท.ขุนศรีศรากร (ชลอ  ศรีธนากร) ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลและลูกน้องอีกคนหนึ่งได้เข้าพบเพื่อแจ้งว่า “เจ้าคุณพหลให้เชิญใต้เท้าไปประชุมที่วังปารุสกวันเดี๋ยวนี้”
พระยาฤทธิ์ฯรู้สึกงงเล็กน้อย เมื่อพบกันแล้วพระยาพหลบอกว่าหลวงพิบูลจะเอาเรื่อง พระยาฤทธิ์เองก็ดูเหมือนจะรู้ตัวดีอยู่ เพราะหลวงพิบูลเคยเรียกไปกล่าวหาตรง ๆ ว่า มีใจร่วมกับพวกกบฏบวรเดช

คห.118 พระประศาสน์เป็นผู้ที่ถูกหลวงพิบูลหมายหัวอยู่ด้วยอีกคนหนึ่งเพราะเห็นว่าสนิทสนมกับพระยาทรงมาก หลวงประดิษฐ์รู้ข่าวก็รีบไปขอกับหลวงพิบูลในฐานะที่ตนเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศให้ไปเป็นเอกอัครราชทูตที่เยอรมัน เลยรอดตัวไปได้อย่างฉิวเฉียด

คห.119 ส่วนพระยาพหลสี่เสือคนหัวปี หลวงพิบูลเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีสมใจนึกแล้ว ก็ขจัดท่านออกจากทุกตำแหน่งโดยเอาไปขึ้นหิ้งไว้ในตำแหน่ง “เชษฐบุรุษ”

คห.143 ปีต่อมา มีการเปลี่ยนรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง นายปรีดี พนมยงค์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการตราพระราชบัญญัติคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัดบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ.2489 และฉบับที่ 2 ในปีพ.ศ.2491 ให้รัฐบาลนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัด บำเหน็จและบำนาญ แก่บุคคลที่ต้องโทษทางการเมืองหรือเสียสิทธิเพราะการกระทำทางการเมืองในคดีดังกล่าวทุกคน
นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วเท่าที่ผู้ก่อการคณะราษฎร์ส่วนหนึ่ง จะชดเชยต่อการกระทำของผู้ก่อการคณะราษฎร์อีกส่วนหนึ่งได้ ทุกอย่างต่อจากนั้นให้เลิกแล้วกันไป...อโหสิ

คห.154 (จำกัด พลางกูร) เดินรี่เข้ามาถามผมว่า ผมเป็นบุตรพระยาทรงสุรเดชใช่ไหม พอผมตอบรับเขาก็คุยจ้อ พูดกันแต่เรื่องประชาธิปไตยในไทยและในอังกฤษ ไม่มีเรื่องอื่นเลย เขาบอกว่าน่าเสียดายที่พระยาทรงไม่ร่วมรัฐบาล และที่หลวงประดิษฐ์ไม่อยู่ในฐานะที่จะเร่งรัดให้ประชาธิปไตยในไทยก้าวหน้าไปเร็ว ๆ เขาเกรงว่าหลวงพิบูลจะหันเหจากอุดมการณ์ของคณะราษฎร เขาชื่นชมประชาธิปไตยในอังกฤษ

คห.161 ระหว่างการรอคอยคำตอบจากปารีสที่ผ่านไปอย่างเชื่องช้านั้น พระยาทรงได้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทน ขอลาออกจากการเป็น ส.ส.ประเภท 2 ต่อมาได้อ่านข่าวเจอว่า จากจดหมายฉบับนั้นของท่าน เป็นโอกาสให้ ส.ส.ประเภท 1 ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลว่าเกิดอะไรขึ้นกับพันเอกพระยาทรงสุรเดช ทำไมรัฐบาลจึงได้ขับไล่ไสส่งท่านไปโดยไม่มีเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญ แต่รัฐบาลไม่ตอบกระทู้นี้ และหลังจากนั้น ก็ไม่มีใครเอ่ยถึงท่านอีก




กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ม.ค. 16, 16:53
ท่าทีของปรีดีกับกบฏพระยาทรงสุรเดชมีว่าอย่างไรบ้างครับ
ขณะนั้นปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ.2481-พ.ศ.2484)
และทราบแต่เพียงว่าพระยาทรงสุรเดชขัดแย้งกับปรีดีเรื่องสมุดปกเหลือง
ความขัดแย้งเรื่องสมุดปกเหลืองนั้นจบไปนานหลายปีแล้ว หลวงพิบูลจึงได้ยึดอำนาจขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยกำจัดผู้ก่อการคณะราษฎรสายทหารที่มีฉายาว่าสี่ทหารเสือออกไปจากวงโคจรทางการเมือง นายปรีดีเป็นผู้ก่อการฝ่ายพลเรือนจึงไม่เกี่ยวกับเขา และท่านก็น่าจะฉลาดพอที่จะไม่เข้าไปขวางทางปืน

แต่เมือสาบานไว้ว่าจะไม่ฆ่ากัน พระยาทรงสุรเดชและพระยาฤทธ์อัคเนย์จึงถูกเนรเทศ มีข่าวว่าพระประศาสน์พิทยายุทธก็จะโดนเช่นนั้นด้วย แต่นายปรีดีได้เข้าไปขอร้องหลวงพิบูล ให้แต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำจักรวรรดิไรช์ที่สามแทน พระประศาสน์พิทยายุทธจึงพ้นจากภัยการเมือง แม้จะต้องอพยพอย่างฉุกละหุกไปอยู่กรุงเบอร์ลินพร้อมกับครอบครัวในขณะที่สงครามโลกใกล้ระเบิดเต็มที แต่ก็เป็นถิ่นเดิมที่คุ้นเคย มีเงินเดือนตำแหน่งหน้าที่มีเกียรติ ถือว่าชะตากรรมดีกว่าเพื่อนผู้ก่อการทั้งสองมาก

การที่หลวงพิบูลยอมนายปรีดีตรงนี้ ก็แสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพอันราบเรียบของทั้งคู่ อย่างน้อยก็ยังไม่ขัดใจกันเรื่องของอำนาจและวิถีทางการเมืองคราวนั้น


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 27 ม.ค. 16, 23:22
ถ้าเช่นนั้น ผมพอจะเข้าใจท่าทีของปรีดีในตอนนั้นแล้วล่ะครับ
ด้วยหลักนำทางการเมืองที่ถูกต้อง ปรีดีคงยืนหยัดต่อสู้คัดค้านรัฐบาลเผด็จการนี้
แต่เวลานั้นการต่อต้านเผด็จการเป็นรูปแบบของสงครามที่มิใช่เพียงการต่อต้านโดยตรง
โดยในช่วงที่เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2483
ปรีดีกลับมีนโยบายที่เรียกร้องให้มีการใช้สันติวิธีโดยการเจรจาทางการทูตแทนการทำสงคราม


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 07:16
บางทีอาจมีสิ่งที่ยังไม่รู้

รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

เหตุสืบเนื่องจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ฉบับที่เรียกว่า "สมุดปกเหลือง" ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ บ้างถึงกับกล่าวว่าถ้านายปรีดีไม่ลอกมาจากสตาลิน สตาลินก็ต้องลอกมาจากนายปรีดี ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ ซึ่งพระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้นำพระยาฤทธิอัคเนย์ และ พระประศาสน์พิทยายุทธ ทหารเสืออีก 2 คน สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ ซึ่งคัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ แต่ในส่วนของบรรดานายทหารคณะราษฎรส่วนใหญ่ยังคงให้การสนับสนุนนายปรีดีอยู่

โดยความตอนหนึ่งในคำแถลงการณ์ปิดสภาฯของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ความว่า

   
...ในคณะรัฐมนตรี ณ บัดนี้ เกิดการแตกแยกเป็น ๒ พวก มีความเห็นแตกต่างกัน ความเห็นข้างน้อยนั้นปรารถนาที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจไปในทางอันมีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ความเห็นข้างมากนั้นเห็นว่านโยบายเช่นนั้นเป็นการตรงกันข้ามแก่ขนบประเพณีชาวสยาม และ เป็นที่เห็นได้โดยแน่นอนทีเดียวว่านโยบายเช่นนั้น จักนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร และเป็นมหันตภัยแก่ความมั่นคงของประเทศ...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลานี้เล่า ก็ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ สภานี้มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ จนกว่าจะมีสภาใหม่โดยราษฎรเลือกตั้งสมาชิกขึ้นมา สภาประกอบด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาชั่วคราวเช่นนี้ หาควรที่ไม่จะเพียรวางนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของเก่าอันมีใช้อยู่ประดุจการพลิกแผ่นดิน ส่วนสภาในเวลานี้จะอ้างว่าไม่ได้ทำ หรือยังไม่ได้ทำกฎหมายอันมีลักษณะไปในทางนั้นก็จริงอยู่ แต่เป็นที่เห็นได้โดยชัดเจนแจ่มแจ้งว่าสมาชิกเป็นจำนวนมากคน มีความปรารถนาที่จะทำเช่นนั้น และมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อรัฐมนตรีอันมีจำนวนข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี...


สำหรับตัวพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้น ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ คณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ โดย พระยาทรงสุรเดชจึงขู่ฝ่ายที่สนับสนุนนายปรีดีโดยการใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธปืนและลูกระเบิดตรวจค้นสมาชิกสภาฯ ก่อนจะเข้าที่ประชุม ดังที่วิเทศกรณีย์บันทึกไว้ว่า

   
ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเวลา 09.35 น. นั้น พระยาทรงสุรเดชได้นำเอาทหาร 1 กองร้อยพร้อมสรรพด้วยอาวุธและนัยว่าได้เอาลูกระเบิดมือติดตัวมาด้วย ทหาร 1 กองร้อยดังกล่าวนี้ได้ยืนอยู่ที่เชิงบันไดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำการตรวจค้นอาวุธที่บรรดาสมาชิกพกติดตัวมา ถ้าใครพกปืนติดตัวมาก็เก็บเอาไว้เสียทันที การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นที่พอใจของสมาชิกเป็นส่วนมาก


[1]

และยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ รัฐประหารเงียบ พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาวเวียดนามที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์สยามก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลสงคราม เป็นต้น

เหตุความขัดแย้งขึ้นยังคงดำเนินต่อมา นำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร จนทำให้เกิดเหตุรัฐประหารอีกครั้งด้วยกำลังทหารในอีก 69 วันต่อมา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกัน[2] ซึ่งคณะนายทหารคณะราษฎรได้รัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เรียกตัวนายปรีดีกลับมา และเนรเทศพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไปปีนังแทนด้วยรถไฟ และถึงแก่กรรมที่นั่นในที่สุด สำหรับพระยาทรงสุรเดช นี่เป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งที่นำไปสู่การกล่าวหาในเหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดชต่อไป[3]



กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 07:19
และ

รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร และมีการบีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน เวลา 18.00 น. ที่ท่าเรือบีไอ[1] และถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า

   
ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ


เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้[2][3]


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 07:45
ขออภัยครับ

อ[1] และถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า

   
ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ


เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้[2][3]


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 07:47
อ[1] และถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า

   
ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ


เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้[2][3]


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 07:54
ระบบขัดข้อง เดี๋ยวผมจะพยายามโพสใหม่นะครับ เบื้องต้นให้ดูต่อที่วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเด็นคำถามใหม่ของผม จากข้อความในวิกิพีเดียนี้ อธิบายได้ว่าอย่างไร

ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้[2][3]


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 11:12
ต่อ คห.ที่ 667 ครับ ขออภัยอีกครั้ง

อ[1] และถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า

   
ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ


เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้[2][3]


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 11:24
จากท่าทีของปรีดีผมไม่อยากจะเชื่อแต่คิดว่า 4 ทหารเสือของคณะราษฎรมีแนวคิดเสรีนิยมที่มีท่าทีประนีประนอม
ขณะที่ปรีดีและจอมพล ป.มีแนวคิดสังคมนิยม และแตกต่างกันอีกที่ปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนจอมพล ป.
กลายเป็นเผด็จการทหาร


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ม.ค. 16, 11:31
ระบบขัดข้อง

ปัญหาอยู่ที่ "[ตัวเลข]"  คุณนัทชาลองลบออกทั้งวงเล็บและตัวเลข ข้อความที่หายไปจะปรากฏ  ;D


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 11:40
รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร และมีการบีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน เวลา 18.00 น. ที่ท่าเรือบีไอและถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า

   
ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ


เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 11:43
 :-[


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 11:44
ระบบขัดข้อง

ปัญหาอยู่ที่ "[ตัวเลข]"  คุณนัทชาลองลบออกทั้งวงเล็บและตัวเลข ข้อความที่หายไปจะปรากฏ  ;D
:-[


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ม.ค. 16, 13:43
ถ้าเช่นนั้น ผมพอจะเข้าใจท่าทีของปรีดีในตอนนั้นแล้วล่ะครับ
ด้วยหลักนำทางการเมืองที่ถูกต้อง ปรีดีคงยืนหยัดต่อสู้คัดค้านรัฐบาลเผด็จการนี้
แต่เวลานั้นการต่อต้านเผด็จการเป็นรูปแบบของสงครามที่มิใช่เพียงการต่อต้านโดยตรง
โดยในช่วงที่เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2483
ปรีดีกลับมีนโยบายที่เรียกร้องให้มีการใช้สันติวิธีโดยการเจรจาทางการทูตแทนการทำสงคราม

ความเห็นต่างในเรื่องนโยบายต่างประเทศกับฝรั่งเศสในครั้งนั้น ไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองภายในของท่านผู้ใดครับ
เพียงแต่ฝ่ายหลวงพิบูลและกุนซือเชื่อว่าเยอรมันและญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายชนะ จึงต้องการชิงความได้เปรียบกับอินโดจีนฝรั่งเศสในขณะที่ประเทศแม่ในยุโรปถูกเยอรมันยึดครองไปแล้ว ส่วนนายปรีดีเห็นว่าชัยชนะของฝ่ายอักษะจะเป็นการชั่วคราว มีตัวแปรคืออเมริกา ซึ่งยังมิได้ประกาศสงครามกับฝ่ายใด ผลสุดท้ายของสงครามอาจจะไม่เป็นอย่างที่ฝ่ายทหารคิดก็ได้

อีกประการหนึ่ง ฝ่ายหลวงพิบูลอาจเห็นว่า การก่อสงคราม(แม้โดยไม่ประกาศ)กับประเทศเพื่อนบ้าน จะสามารถสลายขั้วทางการเมืองภายใน ซึ่งเกิดจากการกวาดล้างฝ่ายอนุรักษ์นิยมเดิมกับฝ่ายสี่ทหารเสืออดีตพวกเดียวกันได้ ซึ่งตรงนี้ได้ผล แม้ผลการรบสยามจะบอบช้ำสูญเสียมากแต่ก็พอจะกล้อมแกล้มได้ว่าเป็นฝ่ายชนะ เพราะได้ดินแดนเขมรและลาวบางส่วนคืนมา เมื่อกระตุ้นด้วยแรงโฆษณาชวนเชื่อก็ส่งให้หลวงพิบูลได้รับความนิยมจากประชาชนโดยไม่มีใครทาบรัศมีได้ จึงได้เป็น"ท่านผู้นำ"เผด็จการเสียเกือบสิบปี


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ม.ค. 16, 14:05
ประเด็นคำถามใหม่ของผม จากข้อความในวิกิพีเดียนี้ อธิบายได้ว่าอย่างไร

ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้

ผมเชื่อตามความเห็นของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน ผู้ต้องโทษการเมืองในข้อหาว่าเป็นกบฏ (๒๔๗๖) ว่า
"ข้าพเจ้าเชื่อว่าในบรรดาผู้คิดปฏิวัตินั้น ไม่มีใครเลยที่คิดจะรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาใช้ใหม่  ทุกๆคนเข้าใจว่าระบอบนั้นล้าสมัยเป็นเครื่องลายครามที่สมควรส่งเข้าพิพิธภัณฑ์เท่านั้น"

เมื่อเชื่อดังนี้ก็มีความเห็นว่า ผู้ที่ถูกให้สีว่ากลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าความจริงก็คือ ผู้ที่เล่นเกมประชาธิปไตยในฝั่งตรงข้ามกับคณะผู้ก่อการเท่านั้นเอง แต่การต่อสู้กันในสภาผู้ที่ถืออาวุธมักจะมีความอดทนน้อย และยอมไม่ได้ที่จะเป็นฝ่ายแพ้

ดังนั้นการกระทำรัฐประหารจึงเกิดขึ้น แล้วแก้ตัวด้วยคำอธิบายข้างต้น
(ขอให้คุณย้อนกลับไปอ่านใหม่ ว่าสาเหตุของการปฏิวัติซึ่งจบลงด้วยการเป็นกบฏ ๒๔๗๖ หรือกบฏบวรเดชนั้น แท้จริงเป็นอย่างไร)

แล้วอ่านเรื่องนี้ต่อด้วยนะครับ กบฎบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน?

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5194.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5194.0)


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 28 ม.ค. 16, 19:11
จากท่าทีของปรีดีผมไม่อยากจะเชื่อแต่คิดว่า 4 ทหารเสือของคณะราษฎรมีแนวคิดเสรีนิยมที่มีท่าทีประนีประนอม
ขณะที่ปรีดีและจอมพล ป.มีแนวคิดสังคมนิยม และแตกต่างกันอีกที่ปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนจอมพล ป.
กลายเป็นเผด็จการทหาร
ช่วยวิพากษ์ คห.นี้ด้วยครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ม.ค. 16, 21:02
จากท่าทีของปรีดีผมไม่อยากจะเชื่อแต่คิดว่า 4 ทหารเสือของคณะราษฎรมีแนวคิดเสรีนิยมที่มีท่าทีประนีประนอม
ขณะที่ปรีดีและจอมพล ป.มีแนวคิดสังคมนิยม และแตกต่างกันอีกที่ปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนจอมพล ป.กลายเป็นเผด็จการทหาร

ผมไม่เชื่อว่าทหารสมัยนั้นจะมีอุดมการณ์ในแนวทางประชาธิปไตยมากไปกว่าต้องการความเสมอภาคที่ถูกเจ้านายผูกขาดตำแหน่งผู้บังคับบัญชาระดับสูงไว้หมด จนสามัญชนมีโอกาสน้อยมาก นอกจากจะเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจริงๆจึงจะมีสิทธิ์ติดยศระดับนายพลและมีตำแหน่งหน้าที่สูง

๔ ทหารเสือของคณะราษฎรต้องการเพียงจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้เท่านั้น แต่มิได้ล่วงลึกไปขนาดจะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนการเมืองการปกครองก็ต้องการมอบให้ฝ่ายพลเรือนว่ากันไปโดยทหารจะเป็นผู้กำกับดูแลอีกที

จอมพล ป. แต่แรกก็คงมีแนวคิดคล้ายกับ ๔ ทหารเสือ แต่เรื่องสถาบันสูงสุดนั้นจะเป็นอย่างไรก็ได้
ครั้นโลกพลิกความนิยมจากระบอบประชาธิปไตยมาทึ่งในตัวท่านผู้นำอย่างฮิตเลอร์และมุสโสลินี ผู้กอบกู้เยอรมันและอิตาลีจากชาติที่มีฐานะล้มละลายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ กลับมาเป็นชาติมหาอำนาจในเวลาเพียงไม่กี่ปี จอมพล ป.ก็มีใจอยากจะเป็นอย่างนั้น แต่ก็มิได้ปรารถนาที่จะขึ้นเป็นประมุขของชาติตราบเท่าที่ยังสั่งให้ผู้สำเร็จราชการซ้ายหันขวาหันได้ เผด็จการที่อ้างอิงประชาธิปไตยนี้ เป็นพวกกษัตริย์ที่ไร้มงกุฎ แต่มีอำนาจราชศักดิ์ไม่แพ้กษัตริย์

ส่วนที่ว่านายปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตยนั้น ผมว่าระบอบสังคมนิยมกับระบอบประชาธิปไตยมันขัดแย้งกันในตัว โดยเฉพาะสำหรับชาติเพิ่งจะผลัดเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ใช้ปกครองประเทศและประชาชนมาเฉียดๆพันปี
ระบอบสังคมนิยมต้องการอำนาจรัฐที่เข้มเข็งเด็ดขาด และโหดร้ายในบางเรื่องเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อยก็ห้าปีสิบปี จึงจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ หากเคารพหลักการประชาธิปไตยไปด้วยแล้ว ถ้าประชาชนโหวตพรรคอื่นที่มีแนวคิดตรงกันข้าม พวกตนพ้นจากอำนาจรัฐไป ทุกสิ่งก็คงถอยหลังกลับที่เดิม

ดังนั้นสังคมนิยมที่ปฏิวัติสังคมสำเร็จจำต้องเป็นเผด็จการ อย่างเช่นโซเวียต จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เวียตนามและลาว เป็นต้น ส่วนชื่อประเทศเขาจะเขียนว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ว่าไป ในความเป็นจริงชาติอยู่ใต้นโยบายของพรรคเดียว ประชาชนคนไหนไม่พอใจ ออกมาวิพากษ์รัฐบาลก็มีหวังถูกเอาตัวไปทำปุ๋ยเท่านั้น

อาจจะเป็นเพราะนายปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตยดังที่สานุศิษย์นิยามให้ก็ได้ นายปรีดีจึงพ่ายแพ้ในเกมการเมืองให้แก่คู่ต่อสู้ คำพูดที่ว่า "เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจ ข้าพเจ้าไม่มีประสบการณ์ เมื่อข้าพเจ้ามีประสบการณ์ ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจ" จริงๆแล้วท่านหมายถึงใครอย่าไปฟันธงนะครับ อาจจะผิดก็ได้



กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 29 ม.ค. 16, 08:17
สรุปว่าปี 2476 มีรัฐประหารเดือน เม.ย. มิ.ย. และ ต.ค.มีกบฏ ซึ่งนับเป็นสงคราม
ถ้าวัตถุประสงค์ของสงครามคือวัตถุประสงค์ทางการเมือง แล้ววัตถุประสงค์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายคืออะไร ?
เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ?
ถ้าเศรษฐกิจเป็นรากฐานสังคมเบื้องล่างการเมืองเป็นโครงสร้างชั้นบน และถ้าปรีดีใช้ระบบเศรษฐกิจแนวสังคมนิยม
อีกฝ่ายใช้ระบบเศรษฐกิจใด ?
ผมพอจะเห็นเค้าลางของเผด็จการประชาธิปไตยในปี 2476 จนกลายเป็นชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดชฯ ที่ผมงุงงง
ในทีแรก
ถ้าปี 2489 ถือว่าปรีดีบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง และมีพรรคประชาธิปัตย์ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
พรรคสหชีพ หรือพรรคอื่น ๆ แล้วถือว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ?
น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน



กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 29 ม.ค. 16, 08:45

ตรงนี้ เราต้องมองในข้อเท็จจริงว่า
ในบั้นปลายชีวิต คุณปรีดียอมรับกลายๆว่า มีความนิยมตามแนวทาง
สังคมนิยม Marxism
เรื่องประชาธิปไตยหลัง 2475 ยังเป็นแค่ภาพฝัน ในทุกกรณี


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ม.ค. 16, 21:50
สรุปว่าปี 2476 มีรัฐประหารเดือน เม.ย. มิ.ย. และ ต.ค.มีกบฏ ซึ่งนับเป็นสงคราม
ถ้าวัตถุประสงค์ของสงครามคือวัตถุประสงค์ทางการเมือง แล้ววัตถุประสงค์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายคืออะไร ?
เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ?


ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าตนเป็นประชาธิปไตย อีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ กล่าวคือฝ่ายที่ต้องการปฏิวัติอ้างว่ารัฐบาลคณะราษฎรเป็นคณาธิปไตย เล่นพวกเล่นพ้อง ถือพวกตนเองเป็นใหญ่ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลกล่าวหาพวกที่ทำการปฏิวัติว่าเป็นฝ่ายเจ้าที่ต้องการยึดอำนาจคืน เพื่อนำชาติกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ม.ค. 16, 21:51
ถ้าเศรษฐกิจเป็นรากฐานสังคมเบื้องล่างการเมืองเป็นโครงสร้างชั้นบน และถ้าปรีดีใช้ระบบเศรษฐกิจแนวสังคมนิยม
อีกฝ่ายใช้ระบบเศรษฐกิจใด ?


คำว่าอีกฝ่ายคือฝ่ายไหนครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ม.ค. 16, 21:52
ถ้าปี 2489 ถือว่าปรีดีบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง และมีพรรคประชาธิปัตย์ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
พรรคสหชีพ หรือพรรคอื่น ๆ แล้วถือว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ?


เป็นครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ม.ค. 16, 21:54
น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน


ผมขอประท้วงนะครับ คำว่าพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยม หมายถึงพรรคใด แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าผมนิยมพรรคนั้น

อันที่จริงแล้ว พ.ศ.ที่ว่า ผมยังไม่เกิดเลย จะไปนิยมพรรคอะไรได้
ถ้าจะว่าผมมองย้อนประวัติศาสตร์แล้วนิยมพรรคโน้นพรรคนี้ ในข้อเขียนของผมมีตรงไหนหรือครับที่ผมแสดงออกเช่นนั้น


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 30 ม.ค. 16, 19:20
สรุปว่าปี 2476 มีรัฐประหารเดือน เม.ย. มิ.ย. และ ต.ค.มีกบฏ ซึ่งนับเป็นสงคราม
ถ้าวัตถุประสงค์ของสงครามคือวัตถุประสงค์ทางการเมือง แล้ววัตถุประสงค์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายคืออะไร ?
เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ?


ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าตนเป็นประชาธิปไตย อีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ กล่าวคือฝ่ายที่ต้องการปฏิวัติอ้างว่ารัฐบาลคณะราษฎรเป็นคณาธิปไตย เล่นพวกเล่นพ้อง ถือพวกตนเองเป็นใหญ่ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลกล่าวหาพวกที่ทำการปฏิวัติว่าเป็นฝ่ายเจ้าที่ต้องการยึดอำนาจคืน เพื่อนำชาติกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ผมแค่กำลังแสวงหาความจริง อ่านหนังสือแล้วทดลองหาความจริง ซึ่งแท้จริงแล้วมีผู้พบความจริงก่อนผมมากมาย และคงตอบได้ดีกว่านี้
ตรงนี้ดูเหมือนจะเข้าใจตรงกันว่าฝ่ายเจ้าเป็นประชาธิปไตยทางนิตินัย
ส่วนคณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย
ซึ่งผมเข้าใจว่า ระยะแรกจำต้องเป็นเผด็จการประชาธิปไตยของราษฎร ที่ใช้อำนาจเผด็จการบังคับเฉพาะกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยที่เป็นปฏิกิริยา


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 30 ม.ค. 16, 19:21
ถ้าเศรษฐกิจเป็นรากฐานสังคมเบื้องล่างการเมืองเป็นโครงสร้างชั้นบน และถ้าปรีดีใช้ระบบเศรษฐกิจแนวสังคมนิยม
อีกฝ่ายใช้ระบบเศรษฐกิจใด ?


คำว่าอีกฝ่ายคือฝ่ายไหนครับ

ฝ่ายเจ้าขอรับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 30 ม.ค. 16, 19:26
น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน


ผมขอประท้วงนะครับ คำว่าพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยม หมายถึงพรรคใด แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าผมนิยมพรรคนั้น

อันที่จริงแล้ว พ.ศ.ที่ว่า ผมยังไม่เกิดเลย จะไปนิยมพรรคอะไรได้
ถ้าจะว่าผมมองย้อนประวัติศาสตร์แล้วนิยมพรรคโน้นพรรคนี้ ในข้อเขียนของผมมีตรงไหนหรือครับที่ผมแสดงออกเช่นนั้น

ขออภัยทุกกรณี ด้วยมิตรครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ม.ค. 16, 19:50
ขอชัดๆอีกที ฝ่ายเจ้านั้น คุณหมายถึงฝ่ายพระองค์บวรเดชที่พยายามปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลคณะราษฎร หรือคณะรัฐมนตรีของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาที่ถูกคณะราษฎร์ปฏิวัติออกจากอำนาจ หรือทั้งคู่ครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ม.ค. 16, 19:52
น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน


ผมขอประท้วงนะครับ คำว่าพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยม หมายถึงพรรคใด แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าผมนิยมพรรคนั้น

อันที่จริงแล้ว พ.ศ.ที่ว่า ผมยังไม่เกิดเลย จะไปนิยมพรรคอะไรได้
ถ้าจะว่าผมมองย้อนประวัติศาสตร์แล้วนิยมพรรคโน้นพรรคนี้ ในข้อเขียนของผมมีตรงไหนหรือครับที่ผมแสดงออกเช่นนั้น

ขออภัยทุกกรณี ด้วยมิตรครับ

ให้อภัยครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 30 ม.ค. 16, 21:22
ขอชัดๆอีกที ฝ่ายเจ้านั้น คุณหมายถึงฝ่ายพระองค์บวรเดชที่พยายามปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลคณะราษฎร หรือคณะรัฐมนตรีของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาที่ถูกคณะราษฎร์ปฏิวัติออกจากอำนาจ หรือทั้งคู่ครับ
ทั้งคู่ครับ รวมถึงกบฏพระยาทรงสุรเดช


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ม.ค. 16, 22:33
ก่อนอื่นผมคิดว่าการที่คุณเหมาว่าฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎรคือฝ่ายเจ้านั้น ไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงครับ

การที่คณะราษฎรประกาศยอมรับว่าประเทศชาติยังจะคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่เปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่เห็นแตกต่างกับกลุ่มอื่นๆที่คุณถามมา เพราะก็มีจุดยืนเช่นเดียวกัน

ถ้าคณะราษฎรประกาศตัวเป็นสาธารณะรัฐ ไม่ว่าจะสังคมนิยมหรือเสรีนิยมสิ จึงอาจเรียกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยตรงนี้ว่าเป็นฝ่ายเจ้าได้
ผมเห็นว่า พวกที่ชอบสร้างวาทะกรรม เรียกผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่เหมือนตนว่าเป็นฝ่ายเจ้านั้น ไม่ว่าจะสังกัดพรรคไหน อดีตหรือปัจจุบัน คือพวกที่นิยมสาธารณรัฐทั้งสิ้น แต่ไม่กล้าพูดตรงๆ  
และไม่ใช่ทั้งหมดของผู้ก่อการคณะราษฎรจะเป็นพวกที่ผมว่านี้ด้วย เพราะไม่ทันไร พอแอะออกมา คณะราษฎรจึงได้แตกไงครับ

ผมจะบอกให้อีกประการหนึ่งว่า การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์หรือไม่มี ในที่สุดก็จะจบลงที่การจัดสรรผลประโยชน์ในทุกระดับขั้น ถ้าลงตัวรัฐบาลก็อยู่ได้ ถ้าไม่ลงตัวรัฐบาลก็อยู่ยาก
ผมจึงเชื่อเหมือนคุณKoratianที่ว่า สำหรับเมืองไทยนั้น เรื่องประชาธิปไตยหลัง 2475 ยังเป็นแค่ภาพฝัน ในทุกกรณี

จึงขอบอกว่าคุณเข้าใจผิดในคำที่กล่าวเอาเองว่า
ตรงนี้ดูเหมือนจะเข้าใจตรงกันว่าฝ่ายเจ้าเป็นประชาธิปไตยทางนิตินัย ส่วนคณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย

คือผมไม่คิดว่า คณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ม.ค. 16, 06:22
ติดตามอ่านความเห็นของคุณนัทชามาหลายความเห็น  อย่างน้อยพอมองออกว่า คุณนัทชามีแนวโน้มนิยมบุคคลใด
แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงขมุกขมัวช่น ยุค ๒๔๗๕ นี้  ควรจะต้องวางความนิยมในตัวบุคคลลงทั้งหมด  แลัวศึกษาบุคลิกลักษณะของตัวละครที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นพื้นฐานเสียก่อน  แล้วพยายามอ่านให้มากๆ  ยกเว้นวิกิพีเดียที่เชื่อถือได้ยาก

ประเด็นหนึ่งที่ถกกันมา คือ เรื่องพระองค์เจ้าบวรเดชซึ่งเป็นทั้งนายทหารและเป็นเจ้านายเพียงพระองค์เดียวที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕  และเมื่อก่อความไม่สงบใน พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลในเวลานั้นก็เปิดช่องให้หนีไปช้ชีวิตที่ไซ่ง่อน  จนเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๙๒  พระองค์เจ้าบวรเดชจึงกลับมาใช้ชีวิตอย่างสงบในประเทศไทย 

ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผมกังขามาตลอด  จนได้อ่านเอกสารจดหมายเหตุและงานนิพนธ์ของหลายๆ ท่าน  จึงพอจะปะติดปะต่อเรื่องราวได้ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งดุสิตธานีนั้น  เนื่องจากไม่มีผู้ใดรู้เรื่องเลือกตั้งจึงทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  คราวต่อๆ มาจึงทรงขอให้พระยาราชเสนา ซึ่งเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยมาจัดการเลือกตั้งแทน  จนราว พ.ศ. ๒๔๖๕ จึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยายมราชซึ่งโปรดให้ไปศึกษาเรื่อง Municipality แล้วไปจัดการร่างกฎหมายประชาภิบาลเตรียมไว้  เมื่อประชาชนเรียกร้องการปกครองตนเองเมื่อไรจะได้ประกาศใช้ได้ทันที  แต่ในปีนั้นมีการยุบรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย  เรื่องนี้จึงไปค้างอยู่ที่มหาดไทยจนถึงต้นรัชกาลที่ ๗  มหาดไทยจึงเสนอเรื่องให้อภิรัฐมนตรีสภาพิจารณา  และผ่านความเห็นชอบจากอภิรัฐมนตรีตั้งแต่ปี ๒๔๗๓  แล้วเรื่องไปค้างอยู่ที่กรมร่างกฎหมายซึ่งใครก็ไม่ทราบเป็นรองเจ้ากรม  จนเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงหยิบกฎหมายนั้นมาปัดฝุ่นเสนอเข้าสภาในนาม พรบ.เทศบาล  แล้วกลายเป็นผลงานของรัฐบาลคณะราษฎรและรองเจ้ากรมร่างกฎหมายคนนั้นไป

ย้อนมากล่าวถึงเรื่องพระองค์เจ้าบวรเดช  หม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงเล่าไว้ในงานนิพนธ์ส่วนพระองค์ว่า  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พระองค์เจ้าบวรเดชไปยื่นคำขาดกับรัชกาลที่ ๗ ขอให้พระราชทานรัฐธรรมนูญ  ในหลวงก็รับสั่งว่ากำลังทรงศึกษาอยู่  และจะพระราชทานอยู่แล้ว  แต่เมื่อมาเร่งรัดเช่นนี้ทรงขอเวลาไปร่างที่หัวหิน  กลับมาจะพระราชทานให้  พระองค์เจ้าบวรเดชจึงยื่นคำขาดว่า จะรอจนถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๕  แต่แล้วเพียง ๗ วันก่อนวันกำหนดก็เกิดการยึดอำนาจแบบฉุกละหุกเกิดขึ้น 

หรือกรณีการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  ที่ในความเป็นจริงไทยเราได้เจรจาและได้รับเอกราชทางการศาลจากประเทศคู่สัญญามาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖  มาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในตอนต้นรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๔๖๙  ซึ่งในวันนั้นโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๔ ๕ ๖ ออกประดิษฐานในงานพระราชทานเลี้ยงฉลองความเสมอภาคของกรุงสยามที่พระที่นั่งอัมพรสถาน  ในวันดังกล่าวรัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ชัดว่า ความสำเร็จนั้นเป็นพระบรมราชวิเทโศบายของในหลวงทั้ง ๓ รัชกาล และการทำงานหนักของข้าราชการผู้ใหญ่หลายคน  หากแต่การแก้ไขสนธิสัญญาคราวนั้นยังมีผลผูกพันให้สยามต้องประกาศใช้ประมวลกฎหมายให้ครบทั้ง ๔ ฉบับ  เมื่อประกาศใช้ครบแล้วจึงให้ถือว่าสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั้นสิ้นสภาพโดยสมบูรณ์  ฉะนั้นเมื่อสยามประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบทั้ง ๔ ฉบับและเลิกศาลต่างประเทศไปในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๘ แล้ว  จึงมีการทำสัญญากันใหม่เพื่อรับรองการสิ้นสุดของสัญญาเดิม  ซึ่งเมื่อทำสัญญาใหม่ครบทุกประเทศแล้วนอกจากจะมีการฉลองความสำเร็จของรัฐบาลประชาธิปไตยกันยกใหญ่  ยังมีการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีสรรเสริญเกียรติคุณหนึ่งในคณะราษฎรที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  ว่าการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหมดนั้นเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ของรัฐมนตรีคนนั้นโดยไม่กล่าวถึงพระราชดำรัสในรัชกาลที่ ๗ เลย

จากตัวอย่างทั้งหมดนี้หากติดวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ช่วง ๒๔๗๕ ที่ไม่มีการบันทึกไว้  แล้วชั่งน้ำหนักดู  จะเห็นพฤติกรรมและแนวคิดของแต่ละบุคคลได้ชัดเจน 


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 31 ม.ค. 16, 17:54
ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ผมขอถามคุณนวรัตอีกครั้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ เห็นคุณตอบว่า
เป็นเรื่องผลประโยชน์ ช่วยถกเถียงกันในประเด็นนี้ด้วยครับ และถ้าแรงกริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยาสงสัยไหมครับว่าทำไมกบฏพระยาทรงฯ
ถึงมีโทษรุนแรง และเกี่ยวเนื่องกับรัฐประหาร 20 มิ.ย.2476 ไหมครับ ใครอ่านเจอบ้างครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 16, 18:04
ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์

ดิฉันอ่านสำนวนภาษาของคุณไม่รู้เรื่องเลย  ช่วยอธิบายเป็นไทยให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้ไหมคะ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 31 ม.ค. 16, 18:43
ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์

ดิฉันอ่านสำนวนภาษาของคุณไม่รู้เรื่องเลย  ช่วยอธิบายเป็นไทยให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้ไหมคะ
ขอบคุณที่ติดตามครับ ผมยอมรับว่าบางทีก็ลอกสำนวนในหนังสือมาเลยเพราะรีบอยากทราบคำตอบ
โดยหวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจบ้าง และไม่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ อีกอย่างเดี๋ยวจะยาวครับ ส่วนที่ไม่รู้เรื่อง
คือเรื่องการวิวัฒนาการของสังคม ไม่ทราบว่าคุณเทาชมพูเคยสนใจอ่านหนังสือของฝ่ายซ้ายบ้างหรือไม่ครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 16, 18:51
ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีละค่ะ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ม.ค. 16, 19:39
"ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ "

ความเห็นข้างบนไม่ทราบจะสื่อความหมายอย่างไร?  แต่การศึกษาประวัติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในความเห็นผม คือ การทำความจริงให้กระจ่างตามหลักฐานที่สามารถราบรวมได้  เพราะในแต่ละช่วงเวลาบริบทของสังคมและความคิดของบุคคลย่อมแตกต่างกัน  ตัวอย่างคำกล่าวที่ว่า "ตรงนี้ดูเหมือนจะเข้าใจตรงกันว่าฝ่ายเจ้าเป็นประชาธิปไตยทางนิตินัย ส่วนคณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย"

ฝ่ายเจ้าภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองคือใครครับ?  ถ้าหมายถึงพระองค์เข้าบวรเดชก็ดังที่ผมกล่าวไว้ในความเห็นก่อนหน้า  แต่ถ้าหมายถึง "เจ้า" อื่นๆ  ก็ขอให้กลับไปทบทวนใหม่ว่า เมื่อเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  เจ้าที่มีบทบาททางทหารและมีอำนาจในมือล้วนต้องลี้ภัยออกไปต่างประเทศทั้งสิ้น  ยิ่งในหลวงรัชกาลที่ ๗ ยังไม่มีแม้ทหารมหาดเล็กที่ทำหน้าที่รักษาพระองค์เลย  ต้องทรงใช้ทหารรักษาวังซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงวังมีกำลังอยู่เพียง ๒ กองร้อยทำหน้าที่แทนทหารมหาดเล็ก  ดังนี้จะว่าเจ้ามีกำลังจะไปต่อกรกับฝ่ายรัฐบาลได้หรือ?

ถ้าจะกล่าวเฉพาะกรณีกบฏบวรเดช  ถ้าได้อ่านบันทึกของพระยาสุพันธ์เสนี (อิ้น  บุนนาค) อดีตสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี  ก็จะเห็นได้ว่า ข้าราชการและราษฎรในต่างจังหวัดยังคงนิยมเจ้าแต่ก็มิได้ขัดขวางหรือสนับสนุนฝ่ายกบฏหรือรัฐบาล  ทุกคนวางตัวเป็นกลาง  แต่พอเหตุการณ์สงบกลับกลายเป็นพวดที่วางตัวเป็นกลางนั้นถูกตามไล่ล่าเสียยิ่งกว่าเป็นกบฏเสียเอง

ผลพวงจากกรณีกบฏบวรเดชอีกประการ คือ การยุบเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล  เพราะในระบบเทศาภิบาลนั้น  สมุหนเทศาภิบาลมีอำนาจตัดสินใจแก้ปัญหาในมณฑลได้ในระดับหนึ่ง  รัฐบาลกลางจึงหวาดระแวงว่า ถ้าสมุหเทศาภิบาลจะแข็งข้อกับรัฐบาลกลางขึ้นมาวันใด  รัฐบาลจะไม่สามารถใช้กำลังเข้าจัดการได้  เมื่อตระหนักดังนั้นหลังจากปราบกบฏบวรเดชเสร็จไม่ถึง ๒ เดือนรัฐบาลก็จัดการยุบเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล  ให้จังหวัดขึ้นตรงกับส่วนกลางที่กรุงเทพฯ  ผลก็คิงานยิบย่อยที่เคยตัดสินใจสั้งการเสี็จที่มณฑลก็ทะลักเข้าสู่กรุงเทพฯ  จนต้องเกิดระบบราชการบริหารส่วนภูมิภาคขึ้นมากรองงานยิบย่อยนั้นเสียชั้นหนึ่ง  แล้วมาวันนี้ก็มีเสียงนักวิชาการออกมาร้องว่า ราชการบริหารส่วนภูมิภาคไม่เป็นประชาธิปไตย  ควรจะให้ตังหวัดและท้องถิ่นจัดการตนเอง 

ปัญหาเรื่องราชการบริหารส่วนภูมิภาคนี้มิใช่ผลพวงของการจัดสิบใจของรัฐบาลประชาธิปไตยที่ทำอะไรก็ถูกไปหมดทุกเรื่องหรือ?  และที่อ้างว่า "คณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย" นั้น  คุณนัทชาอาจจะไม่เคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านเล่ากันว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ประชาชนชาวไทยสมัยนั้นเข้าใจกันว่า "รัฐธรรมนูญ คือ โอรสของพระยาพหลฯ"


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 31 ม.ค. 16, 20:40
เข้าไปห้องกบฏบวรเดชเมื่อกี้ ก็นึกถึงวลีที่เคยได้ยิน ที่คนสมัยก่อนเค้าเคยพูดกัน "รัฐธรรมนูญคือลูกพระยาพหล"
ก็พอดีอาจารย์V_Meeเข้ามาอ้างวลีนั้นในคห.นี้ตรงใจผมพอดี แต่ของอาจารย์เป็นลูกชายของพระราชาเลยทีเดียว
รัฐธรรมนูญ ที่เป็นสัญลักษณ์อันศักสิทธิ์ของระบอบประชาธิปไตย ที่คณะราษฎรปกป้องสุดชีวิตผู้ใดจะกล้ำกรายมิได้
แต่ก็ด้วยความเหมาะสม บางช่วงเวลา ลูกพระยาพหลต้องกลายเป็นเด็กดองที่ถูกดองอยู่นานถึงสิบกว่าปีเลยทีเดียว
ขณะนี้รัฐธรรมนูญมาถึงเวอร์ชั่นที่๑๙แล้ว กำลังเห็นเวอร์ชั่นที่๒๐เป็นเงาๆอยู่


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 31 ม.ค. 16, 21:36

แหะๆ ตอนนี้รัฐธรรมนูญน่าจะเป็นลูกคุณมีชัยครับ
วางแผนคุมกำเนิดกันยาวหน่อย
(มีชัยเดียวกันหรือเปล่า?)


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ม.ค. 16, 21:50
กระทู้ดีๆกำลังจะออกนอกเรื่องไปไกล
ผมขอความกรุณาให้ช่วยแยกกระทู้นี้ออกไปตั้งเป็นอีกกระทู้หนึ่งตั้งแต่ คคห.ที่ 662 ครับ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: นัทชา ที่ 31 ม.ค. 16, 22:35
ผมขอความกรุณาอย่าทำเช่นนั้นเลยครับ คุยกันด้วยเหตุผลและมีเสรีภาพทางวิชาการ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 16, 22:55
แยกกระทู้ก็คุยได้เหมือนเดิมค่ะ  เพียงแต่ตั้งชื่อใหม่ เท่านั้น


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.พ. 16, 06:17
ให้ลิงก์กระทู้ต้นเรื่องไว้เพื่อความต่อเนื่อง  ;D

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3363.660 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3363.660)



กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.พ. 16, 08:50
ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ผมขอถามคุณนวรัตอีกครั้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ เห็นคุณตอบว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ ช่วยถกเถียงกันในประเด็นนี้ด้วยครับ


เอาครับเอา แค่หอมปากหอมคอนะครับ

ถ้าว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์สังคม ในเรื่องการเมืองนั้นสามารถมองย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์  เมื่อมนุษย์มาอยู่ด้วยกันมากขึ้นและเริ่มฉลาดเกินที่จะหากินร่วมกันไปวันหนึ่งๆเช่นฝูงสัตว์ จึงเริ่มทำการเพาะปลูก หาอาหารสำหรับปากท้องของตนเอง ครอบครัว ขยายไปถึงพรรคพวก และเผ่าพันธุ์ จากน้อยคนเป็นมากคน เมื่อใดอาหารไม่เพียงพอก็จะเริ่มเกิดปัญหาจะแบ่งสรรกันอย่างไร หรือจะรวมกันไปปล้มสดมภ์คนเผ่าพันธุ์อื่นมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องพวกของตนอย่างไร และในทางกลับกัน จะเก็บออม และป้องกันรักษาทรัพยากรอาหารอย่างไรจึงจะพอเพียงที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตของตนเอง ครอบครัว ขยายไปถึงพรรคพวก และเผ่าพันธุ์ พฤติกรรมมนุษย์ในเรื่องนี้เป็นจุดกำเนิดของการเมืองการปกครอง

เมื่อทรัพยากรของมนุษย์มีมากหมวดขึ้นมิได้จำกัดแค่อาหาร การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นในทุกลำดับ จนโลกพัฒนามาจนถึงจุดที่ระบบสังคมเศรษฐกิจใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยนและสะสมทรัพยากร  มนุษย์ก็แข่งขันแสวงหาเงินตรา ปัจเจกมนุษย์จนถึงชาติพันธุ์มนุษย์จึงต่อสู้กันหาผลประโยชน์ ทั้งในระดับสังคมเล็กไปถึงสังคมระดับชาติ และโลก ซึ่งทั้งหมดถูกกำหนดกฏเกณฑ์โดยการเมืองและนักการเมือง ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น พรรคที่บริหารประเทศ และรัฐบาลของชาติมหาอำนาจ


กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.พ. 16, 08:54
ผู้ที่ตั้งตนเป็นหัวหน้าครอบครัว หัวหน้าเผ่า เจ้าเมือง กษัตริย์ ไปจนถึงจักรพรรด์ หรือ นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีชาติต่างๆ และประธานาธิบดีของชาติมหาอำนาข ก็คือผู้นำทางการเมืองตามนัยนี้ของมนุษย์ในทุกระดับสังคม

ผู้นำทางการเมืองมีหน้าที่จัดสรรทรัพยากรของครอบครัวไปถึงประเทศชาติให้แก่บุคคลและกลุ่มบุคคลที่ค้ำบังลังก์ของตน ต่อๆกันลงมาจากยอดปิรามิดจนถึงฐาน เมื่อใดสามารถทำให้ฐานที่อยู่ใต้ตนสงบนิ่ง สถานะของยอดปิรามิดก็มั่นคง

การต่อสู้แย่งชิงของมนุษย์เพื่อที่จะขึ้นไปสู่ยอดปิรามิดเป็นธรรมชาติที่ควบคู่ไปกับความเป็นมนุษย์ อาจจะแย่งชิงกันเองภายในครอบครัว หรือจากบุคคลต่างชนชั้นวรรณะก็ได้หมดแล้วแต่โอกาส ในสมัยที่สังคมเรียกคนบนยอดปิรามิดว่าพระราชา ก็มิใช่ว่าพระราชาจะต้องเปลี่ยนตามกฏของการสืบสันตติวงศ์ ไม่ต้องดูไกล ในประวัติศาสตร์ชาติไทยนี้แหละ กี่ครั้งกี่หนที่สามัญชนปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

ครั้นอีกซีกโลกหนึ่งเปลี่ยนวิธีการขึ้นสู่สถานะผู้นำของชาติ และเปลี่ยนการเรียกขานมาเป็น ประธานาธิบดี หรือท่านประธาน ท่านฟูลเลอร์อะไรก็ตาม คนพวกนี้ก็ยังใช้อำนาจเช่นเดียวกับพระราชา หรือในบางกรณีย์อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป

กล่าวโดยสรุป ที่นั่งบนยอดปิรามิดแห่งอำนาจทางการเมืองการปกครองมีอยู่ตำแหน่งเดียว เพียงแต่เรียกต่างๆกันเท่านั้น และตำแหน่งนั้นไม่ว่าจะได้มาจากการสืบทอดหรือผ่านการเลือกตั้งมา คนที่อยู่บนยอดๆของปิรามิดที่รองรับบัลลังก์นั้นโดยตรงเท่านั้นที่จะสัมผัสท่านได้  พวกที่อยู่ฐานๆมีสิทธิ์แค่ไปโบกธงต้อนรับท่าน และกลับบ้านไปรอรับผลประโยชน์ที่จะถูกจัดสรรปันส่วนมาจากบุคคลส่วนบนๆของตนต่อไป

เอาเท่านี้ก่อน ยังไม่ต้องคุยไปถึงเรื่องกบฏพระยาทรง



กระทู้: สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.พ. 16, 08:56
กระทู้นี้เป็นเวทีเปิดนะครับ ขอเชิญทุกท่าน(ที่เคารพกติกามารยาท)ด้วย




เด็กแว้นอ่านเฉยๆก็แล้วกัน