เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 18981 สัตว์ประหลาด ๖
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 08 ก.ย. 23, 20:35

ม้าลายจุด เคยมาหรือยังคะ

ม้าลายลายแปลกเคยยกขบวนมาเยือน เรือนไทย เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว ยิงฟันยิ้ม

เจ้า Tira ลูกม้าลายจุดแห่งเขตอนุรักษ์แห่งชาติมาไซมารา เคนยา



ลูกม้าลายดำแห่งบอตสวานา (Botswana)



ม้าลายดำแห่งวนอุทยานแห่งชาติอีโตชา นามิเบีย (Namibia's Etosha National Park)



ภาพวาดม้าลายแควกกาตัวผู้แห่งโรงเลี้ยงสัตว์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระราชวังแวร์ซาย โดย Nicolas Maréchal พ.ศ. ๒๓๓๖



ม้าลายแควกกาตัวเมียแห่งสวนสัตว์ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๑๓

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 09 ก.ย. 23, 09:33

เสียดายม้าลายแควกกา เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 09 ก.ย. 23, 09:36

บางตัวน่าจะเคยมาเยือนเรือนไทยแล้ว  นานๆก็เอากลับมาให้ดูกันอีกทีค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 02 ต.ค. 23, 16:22

ค้นพบงูชนิดใหม่ของโลก ที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล ได้ค้นพบงูชนิดใหม่ของโลก “งูหางไหม้เขาหินปูน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Trimeresurus ciliaris ซึ่งจัดเป็นงูหางไหม้ที่มีขนาดเล็กที่สุด หน้าตาคล้ายกับงูหางแฮ่มใต้ Trimeresurus venustus สำหรับงูหางไหม้เขาหินปูน มีลักษณะเด่นชัดที่สามารถแยกออกมาด้วยสายตาแบบคร่าวๆ ขนาดลำตัวจะเล็กกว่างูหางแฮ่มใต้ คิ้วและจมูกโปนกว่า ลายกระเกล็ดข้างลำตัวชัดกว่างูหางแฮ่มใต้

งูหางไหม้เขาหินปูนตัวนี้ เจอโดยบังเอิญที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน นำโดย นายแสงสุรี ซองทอง หัวหน้าอุทยานทะเลบัน นายนเคนทร์ กวีธนาธรรม ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานฯ และนายบุญฤทธิ์ เดโชไชย เจ้าหน้าที่ฝ่ายศึกษาวิจัย ในการออกสำรวจลานนกหว้า ตอนกลับได้แวะพักที่เพิงถ้ำเขาหินปูน มองไปเห็นงูตัวหนึ่ง จึงได้ถ่ายรูปไว้ พร้อมพูดว่า งูหางแฮ่มใต้ ต่อมาจึงได้ส่งรูปให้นักวิจัยสัตว์เลื้อยคลานคนหนึ่งเพื่อถามถึงชนิดพันธุ์ นักวิจัยได้ขอรูปและสถานที่ เพื่อนำไปเขียนเปเปอร์งูหางไหม้ชนิดใหม่ของโลก

https://www.thaipost.net/district-news/458715/?fbclid=IwAR1Ce-or9Ll-sVIy-XwZZkO4EkdHA9x4QCNn9kl1dYpenwd8n-gjlLr--Xg


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 09 ต.ค. 23, 20:38

    มีคนพบเต่าปริศนา มีรูปร่างลักษณะแปลกประหลาด  ไม่เหมือนกับเต่าที่เคยพบเห็นทั่วไป  กระดองเรียบไม่โค้งมน และมีลวดลายสีดำ ส่วนขอบชายกระดองไม่บานเหมือนเต่าทั่วไป มาเขย่าพุ่มไม้หน้าบ้านของชาวบ้านจนสั่นไหว จนเจ้าของบ้านนึกว่าผีหลอก พอเดินเข้าไปดูใกล้ๆ กลับมีเสียงขู่ฟ่อๆคล้ายเสียงงู แต่กลับไม่ดุร้ายเดินต้วมเตี้ยมเข้าบ้าน   เจ้าของบ้านจึงจับมาเลี้ยงไว้ โดยเชื่อว่าจะนำโชคมาให้

https://www.tiktok.com/@thaich8news/video/7287799048193527058


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 10 ต.ค. 23, 09:35

เต่าไม่ว่าจะเป็น เต่าบก เต่าทะเล หรือเต่าน้ำจืด ต่างก็ส่งเสียงร้องได้ เพียงแต่เราอาจไม่คุ้นเคยเท่านั้น

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 10 ต.ค. 23, 10:35

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 06 พ.ย. 23, 18:08

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 20 พ.ย. 23, 10:15

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 20 พ.ย. 23, 10:16

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 01 ธ.ค. 23, 09:35

บางทีสัตว์ที่เราเห็นบ่อย ๆ จนชินตาในบ้านเรา อาจจะเป็นสัตว์ประหลาดในสายตาของชาวต่างชาติ อย่างเจ้า ตัวเงินตัวทอง (เหี้ย, เหี้ยลายดอก Varanus salvator) ที่สวนลุมพินี

เป็น soft power ที่เราท่านอาจคาดไม่ถึง ยิงฟันยิ้ม



รายการ Reptile Adventures ของ Dāv Kaufman


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 04 ม.ค. 24, 09:35

คิดว่า พญานาคในตำนานที่มีหงอนบนหัว ตัวสีเขียว ขนาดใหญ่ยาว นั้น  มีที่มาจากน้องอ๋อ (oarfish) ของคุณเพ็ญชมพูนั่นเอง

ต่ำลงมาจากชมพูทวีป คือมหาสมุทรอินเดีย  นักเดินเรือโบราณน่าจะเคยเห็นน้องอ๋อ   แล้วเข้าใจว่าเป็นสัตว์ของเทพเจ้า

เป็นที่ฮือฮาอีกครั้งเมื่อมีผู้โพสต์ถามใน นี่ตัวอะไร ว่า "ปลาอะไรคะ ติดเรือขึ้นมา" มีผู้ให้คำตอบหลายท่านว่าคือ "ออร์ฟิช หรือ ปลาพญานาค" ต่อมาในโพสต์ต้นทางจึงขยายความว่า "เรือที่จับปลาตัวนี้ได้คือ เรือ ก.เทพเจริญพร ๑๕ ละงู สตูล และตอนนี้มีพี่นักวิจัยประมงมารับน้องไปวิจัยแล้วนะคะ" นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่พบปลาออร์และออกเผยแพร่ในสื่อ ยิงฟันยิ้ม

อาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่าน เฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า

"ในเมืองไทยเท่าที่จำได้ ไม่เคยมีข่าว (ต้องเช็คอีกทีนะครับ) แต่หากถามว่าในโลกหายากขนาดนั้นไหม ? คำตอบคือเจอเรื่อย ๆ ครับ สมัยไปลงเรือสำรวจญี่ปุ่น ลงอวนน้ำลึกก็จับลูกปลา oarfish ได้เช่นกัน oarfish แพร่กระจายทั่วโลก ที่น่าสงสัยคือเจอที่สตูลได้อย่างไร ?

อันดับแรก จับได้ที่ไหน ? ตอนนี้ผมยังไม่ทราบ เอาเป็นว่าแถวอันดามัน (ล่าสุดทราบว่าอยู่ระหว่างเกาะลิบงกับเกาะอาดัง ใกล้ฝั่งมากกว่าเกาะรอก) ทะเลอันดามันน้ำลึกครับ เฉพาะในไทยลึกสุดก็ ๒,๐๐๐ เมตร อาจมี oarfish อยู่แถวนั้น แต่ปรกติเราไม่จับปลาน้ำลึก ก็เลยไม่ค่อยรู้จักกัน

อีกอย่างคือช่วงนี้น้ำเย็นเข้าอันดามัน ปรากฏการณ์ IOD (Indian Ocean Diploes) มีปลาแปลก ๆ เข้ามาตามมวลน้ำเย็น เมื่อไม่กี่วันก่อนก็มีโมล่าติดอวน ลูกเรือช่วยกันปล่อยไปแล้ว จึงเป็นไปได้ว่า oarfish ตัวนี้จะเข้ามาตามน้ำ เมื่อพิจารณาจากจุดจับได้ เป็นเขตน้ำไม่ลึกมาก คงเป็นปลาวัยรุ่นที่อาจเข้ามาตามมวลน้ำเย็น เท่าที่ทราบ จับได้โดยเรืออวนล้อม หมายถึงปลาขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปได้ แต่ไม่เกิดขึ้นบ่อย"



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 04 ม.ค. 24, 16:35

ปลาออร์ที่พบ (เป็นทางการ) ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวานนี้ (๓ มกราคม ๒๕๖๖) นำไปไว้ที่สำนักงานประมงจังหวัดสตูล วันนี้ (๔ มกราคม ๒๕๖๖) และจะนำไปเก็บรักษาไว้ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเพื่อไว้ศึกษาในโอกาสต่อไป



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 05 ม.ค. 24, 09:35

มีปลาออร์อีกตัวหนึ่งซึ่งอ้างว่าพบเป็นตัวแรกในประเทศไทย อยู่ที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี ดองใส่ตู้เอาไว้

ประวัติของปลาตัวนี้ไม่ชัดแจ้งว่าพบบริเวณใด มีข้อมูลใน เว็บของอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อ้างจากผู้เชี่ยวชาญ (?) ว่า ปลาตัวนี้ได้มาจากหัวเกาะสุมาตรา ที่น่านน้ำเหลื่อมทับกันกับของไทยและมาเลเซีย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 05 ม.ค. 24, 09:35

คำบรรยาย (ลอกตามต้นฉบับตัวเขียน) ที่หน้าตู้ปลา มีว่า

"ปลาใบพาย (Oarfishes) จัดอยู่ในครอบครัว Regalecidae มีชื่อสากล Regalecus glesne ASCANIUS,1772 ลักษณะลำตัวยาวขนาดใหญ่และแบนข้างมาก ปากตั้งฉากกับลำตัว ขากรรไกรแผ่กว้าง ฟันขนาดเล็ก ครีบหลังยาว

มีความยาวตลอดลำตัว ก้านครีบส่วนหน้า 8-10 ก้าน งอกเป็นเส้นยาวมาก ครีบท้องมีก้านครีบก้านเดี่ยวยาว ไม่มีครีบก้น ครีบเหลือก้านครีบยาว ๆ 3 เส้น ไม่มีเกล็ด ขณะทีชีวิตลำตัวมีสีเงินแวววาว แถบสีคล้ำพาดขวางลำตัว

ส่วนหัวสีน้ำเงิน ครีบสีแดงเข้ม ความยาวของตัว 360 ซ.ม. ชีวประวัติ ปลาใบพายเป็นปลาที่หายาก อาศัยอยู่ในน้ำค่อนข้างลึกในมหาสมุทร เมื่อพบที่ผิวน้ำ หรือซากที่ไม่มีชีวิต มักจะเกี่ยวข้องกับการเกิดพายุรุนแรง หรือแผ่นดินไหว ปลาตัวนี้เป็นปลาตัวแรกของประเทศไทย

จาก Olney J.E. ใน Carpenter. KE. 1999 FAO SPECIES IdEnFICAtion GUIDE FOR FISHERIES PURPOSE   (เรือวิศวดี 9 ถวายให้เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว)"

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 19 คำสั่ง