เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Tivakara ที่ 28 ก.พ. 19, 02:03



กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: Tivakara ที่ 28 ก.พ. 19, 02:03
สอบถามท่านผู้รู้ทุกท่านครับ
เกี่ยวกับการนั่งกระหย่ง(กระโหย่ง)เท้าที่เดิมเป็นท่านั่งแสดงความเคารพของพระภิกษุ ที่พม่า ลังกา ก็ยังนั่งและกราบด้วยวิธีนี้ ทราบว่าเป็นการนั่งไหว้ของไทยแต่โบราณ แต่ปัจจุบันไม่นิยมหรือเลิกไปแล้ว อยากเรียนถามท่านผู้รู้ว่าพอจะทราบสาเหตุไหมครับ เนื่องจาก เคยมีผู้บอกว่ารัชกาลที่4ทรงสั่งให้ยกเลิก เปลี่ยนมานั่งแบบคุกเข่าแทน อ้างว่ามีในพระราชหัตถเลขารัชกาลที่5อ้างถึง ผมลองค้นคร่าวๆไม่พบพระราชหัตถเลขาเรื่องดั่งกล่าว ไม่ทราบจริงเท็จอย่างไร จึงขอเรียนถามท่านผู้รู้ในเรือนไทยครับ
ขอบคุณครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 10:47
ไม่เคยเห็นใครใช้ศัพท์นี้มานานมากแล้วค่ะ

ท่านรอยอินราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า

กระโหย่ง ๑[-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.[-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

ใครพอจะตอบได้บ้างคะ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 11:32
https://www.facebook.com/190364831088988/posts/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%81/522419744550160/


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 12:02
คำที่น่าจะสื่อความให้เข้าใจโดยทั่วกันเห็นจะเป็น "นั่งยอง ๆ"   ;D

วินิจฉัยเรื่องการนั่งกระโหย่ง (หรือกระหย่ง)


ในการทำสังฆกรรมและแสดงอาบัติเป็นต้นของภิกษุ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติให้ภิกษุผู้สวดต้องนั่งกระโหย่ง โดยคำนี้แปลจากคำบาฬีว่า อุกฺกุฏิกํ

แต่การนั่งกระโหย่งนี้ พระไทยกับพระพม่านั่งต่างกัน โดยพระไทยส่วนมากจะนั่งคุกเข่า ส่วนพระพม่านั่งยอง ๆ

แล้วตกลง การนั่งกระโหย่งในวินัยคือการนั่งอย่างไรกันแน่ ?

จริง ๆ คำว่า นั่งกระโหย่ง ในสำนวนแปลก็มีความหมายชัดอยู่แล้วว่าเป็นการนั่งยอง ๆ แต่มีบางท่านเข้าใจว่า การนั่งยอง ๆ ไม่ควร เพราะฉบับแปลบางฉบับแปลคำว่า อุกฺกุฏิกํ ในอุกกุฏิกสิกขาบท (ว่าด้วยการเดินเขย่งเท้าเข้าหมู่บ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ) ในเสขิยวัตรว่า เดินกระโหย่ง เลยพลอยไปเหมาเอาว่านั่งกระโหย่งไม่ควรไปด้วย ซึ่งถึงจะแปลแบบนั้น กระโหย่งเท้าในเสขิยวัตรก็หมายถึงเขย่งเท้าโดยเอาปลายเท้าลงหรือส้นเท้าลงอยู่ดี หาเหมือนกับการนั่งกระโหย่งไม่ จริง ๆ หากแปลว่า "เดินเขย่งเท้า" น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า (ดูหลักฐานในอุกกุฏิกสิกขาบทอรรถกถา) (การเดินเขย่งเท้านี้เป็นกิริยาที่ไม่ควรทำหากเข้าไปในละแวกบ้าน ถ้าเดินเขย่งเท้าในวัดก็ไม่มีอาบัติ)

ส่วนเรื่อง "นั่งกระโหย่ง" ในการทำสังฆกรรมหรือแสดงอาบัติเป็นต้น หมายถึง นั่งยอง ๆ เห็นได้จากในอรรถกถาปฐมปวารณาสิกขาบท (เรื่องห้ามภัตแล้วเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถแล้วจะฉันไม่ได้อีก มิฉะนั้นจะต้องอาบัติปาจิตตีย์) มีกล่าวถึงภิกษุนั่งกระโหย่งฉันอยู่ แล้วมีคนเอาตั่งมาสอดไว้ข้างใต้ ท่านก็สามารถนั่งบนตั่งนั้นแล้วฉันต่อได้ (ดู วิ.อฏฺ.๒/๓๖๖) ก็ทำให้คิดได้ว่า ถ้านั่งกระโหย่งหมายถึงนั่งคุกเข่า แล้วตอนเขาเอาตั่งสอดเข้ามานี่จะทำได้อย่างไร

การนั่งยอง ๆ ขณะทำสังฆกรรมนี้ มิใช่เป็นประเพณีของพระพม่าแต่อย่างใด แต่เป็นวิธีการที่เป็นพุทธบัญญัติ จึงเป็นสิ่งพุทธบริษัทควรให้ความเคารพ ส่วนที่พระไทยจำนวนหนึ่งเปลี่ยนมานั่งแบบคุกเข่าแทน ไม่ทราบว่ามีขึ้นสมัยใด แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพราะเห็นว่าการนั่งยองๆ ดูไม่ค่อยเรียบร้อยก็เป็นได้

**วินิจฉัยนี้เพียงแค่ชี้แจงตอบข้อสงสัยที่มีผู้ทักมาในเรื่องการนั่งกระโหย่งเพื่อให้ทราบถึงหลักฐานที่มาตามคัมภีร์เท่านั้น มิได้จะตำหนิการนั่งคุกเข่าของพระไทยส่วนมากแต่อย่างใด เพราะการนั่งแบบนั้นก็ดูเรียบร้อยดี ถึงจะไม่ใช่การนั่งกระโหย่งแบบในคัมภีร์ก็มิได้ทำให้สังฆกรรมเสียแต่อย่างใด เพราะมิได้จัดอยู่ในวิบัติของสังฆกรรมข้อใดข้อหนึ่ง

***การนั่งกระโหย่งนี้ ถึงจะวินิจฉัยว่าหมายถึงการนั่งยอง ๆ แต่ถ้าร่วมสังฆกรรมในบางวัดที่ท่านใช้วิธีนั่งคุกเข่าแทน หากเราไปนั่งยองๆ อยู่รูปเดียวก็จะทำให้ถูกเพ่งเล่งเอาได้ ฉะนั้น ก็ควรดูหมู่กลุ่มที่เราไปอยู่ด้วยว่าในที่นั้นเขามีธรรมเนียมแบบไหน เพราะถึงนั่งคุกเข่าก็มิได้ผิดอะไร

พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน

จาก https://www.facebook.com/100008488951390/posts/1723620897930859?sfns=mo


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 12:44
นั่งกระโหย่ง


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 12:55
.


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 28 ก.พ. 19, 13:07
คือการนั่งยองๆแบบเขย่งปลายเท้าครับ เข่าจะชี้ไปด้านหน้าเพื่อการทรงตัว ต่างจากที่หลวงพ่อคูณท่านนั่งนิดหน่อยที่เข่าชี้ขึ้นด้านบน


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 13:34
สาวทางซ้ายมือ(คนที่ลูกศรชี้)  นั่งท่ากระโหย่งใช่ไหมคะ?

ท่านั่งยองๆ เป็าท่าที่เคยนั่งตอนเด็กๆ   จำได้ว่าถ้าอยากดูอะไรนานๆ แล้วไม่มีเก้าอี้นั่ง   และไม่อยากลงไปนั่งบนพื้นดิน  ก็ลงนั่งยองๆเพราะเมื่อยที่จะยืน   
แต่นั่งยองๆสักพักก็เมื่อยอีก    เป็นท่าที่ไม่เอื้อต่อการนั่งได้นานเลย
พบว่าคนรุ่นเก่านั่งยองๆได้นานมาก
นั่งยองๆไม่ได้เขย่งเท้า   ฝ่าเท้าวางแบนราบบนพื้น   กระโหย่งเห็นทีจะต่างกันตรงเขย่งปลายเท้าอย่างคุณยูนิคอร์นว่ามั้งคะ
เลยนำไปสู่คำถามกับตัวเองว่า  เขย่งปลายเท้า น้ำหนักทิ้งลงบนส่วนปลายเท้านิดเดียว   ขาก็พับงอ   ไม่เมื่อยแย่เลยหรือ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 28 ก.พ. 19, 13:35
เท่าที่เคยได้ยินมาก็คล้ายๆท่าโยคะท่า toe balance ครับ

ตามรูปที่อาจารย์ลงมานั่นแหละครับ แต่มันมีวิธีแก้เมื่อย โดยสลับวางเท้าราบลงไป ชันเข่าข้างนึงขึ้นมา สลับกันไปทีละข้างครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: Tivakara ที่ 28 ก.พ. 19, 14:12
ขอบพระคุณทุกท่านครับ
ท่านั่งกระหย่งที่หมายถึงคือแบบเดียวกับท่านั่งยองๆนั่นหละครับ ถ้าเปรียบเทียบกันน่าจะนั่งสบายกว่าท่านั่งทับส้นที่เรียกว่าเทพบุตรมากครับ ผู้เคยบวชน่าจะทราบ ท่านั่งกระหย่งนี้ยังเห็นอยู่เวลาพระแสดงอาบัติกัน พระที่อายุพรรษามากๆ ก็จะนั่งกระหย่งหันหน้าเข้าหากันอยู่ แต่กรณีอื่นๆไม่ค่อยเห็นแล้ว น่าจะเพราะว่าอาจดูไม่เรียบร้อย


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 14:19
ท่านั่งทับส้น  ท่านี้ใช่ไหมคะ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 14:22
หรือท่านั่งทับส้น คือท่านี้(ท่าเทพบุตร)


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: Tivakara ที่ 28 ก.พ. 19, 14:57
หมายถึงท่าเทพบุตรที่ตามภาพล่างครับ ปัจจุบันพระสงฆ์ทำสังฆกรรมใดๆก็มักจะนั่งเป็นหลัก ยิ่งคนอ้วนน่าทรมานมากทีเดียา ท่าตามรูปบนที่เรียกกันว่าเทพธิดา แบบนั่งราบ ลางคนก็เรียกนั่งทับขา นั่งทับน่อง หรือนั่งแบบญี่ปุ่น ซึ่งสบายกว่ากัน เคยได้ยินว่าระยะยาวไม่ดีต่อขา ไม่ทราบจริงเท็จอย่างไรครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 28 ก.พ. 19, 15:18
สงสัยอีกคำครับ เด็กๆเคยโดนดุว่า นั่งยงโย่ยงหยก เพราะ นังไม่เรียบร้อย แต่ปรกติ ถ้านั่งยองๆ ที่บ้านก็เรียกนั่งยองๆอยู่แล้ว แต่อาการยงโย่ยงหยกนี่แบบไหนกันแน่ครับ เพราะเคยทั้งนั่งยองบนปลายเท้า หรือนังขัดสมาธิแต่ชันเข่าก็โดนดุแบบเดียวกัน


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: Tivakara ที่ 28 ก.พ. 19, 15:29
สันนิษฐาน(เดา) เข้าใจว่าที่เรียกว่านั่งหย่งอาจจะเพราะเมื่อกราบต้องมีการยกส้นเท้ายอบตัวไปข้างหน้า ว่ากริยา “หย่ง” คืออาการครึ่งนั่งครึ่งยืน ผู้ใหญ่ถึงดุกระมังครับ ด้วยครึ่งๆกลางๆจะนั่งก็ไม่นั่งจะยืนก็ไม่ยืน ดูไม่เหมาะ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.พ. 19, 16:21
หมายถึงท่าเทพบุตรที่ตามภาพล่างครับ ปัจจุบันพระสงฆ์ทำสังฆกรรมใดๆก็มักจะนั่งเป็นหลัก ยิ่งคนอ้วนน่าทรมานมากทีเดียา ท่าตามรูปบนที่เรียกกันว่าเทพธิดา แบบนั่งราบ ลางคนก็เรียกนั่งทับขา นั่งทับน่อง หรือนั่งแบบญี่ปุ่น ซึ่งสบายกว่ากัน เคยได้ยินว่าระยะยาวไม่ดีต่อขา ไม่ทราบจริงเท็จอย่างไรครับ

ในเรือนไทยมีคุณหมอหลายท่านเป็นสมาชิกประจำค่ะ    คงจะเข้ามาอธิบายได้ว่าไม่ดีต่อขาอย่างไร
ส่วนตัวดิฉันถูกญาติผู้ใหญ่ห้ามนั่งบนพื้นห้อง  บอกว่าการนั่งพับขาไม่ว่าท่าไหนจะทำให้ไม่ดีต่อสุขภาพเมื่ออายุมาก
ก็เลยนั่งพับขาไม่เก่ง ไม่ว่านั่งพับเพียบ  นั่งยองๆ  นั่งท่าเทพบุตรเทพธิดา  นั่งได้ไม่นานทั้งนั้น

พจนานุกรมให้คำอธิบายว่า
ยงโย่ยงหยก   ก. กิริยาที่จะยืนก็ไม่ใช่จะนั่งก็ไม่เชิง.


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ก.พ. 19, 18:27
นั่งคุกเข่าในท่ากระโหย่ง ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น จะเห็นตามภาพนี้ครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ก.พ. 19, 18:29
มีอีกศัพท์หนึ่งเรียกท่าคุกเข่านี้ว่า ท่าเทพบุตร หรือท่าเทวดา


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ก.พ. 19, 18:33
และท่าเทพธิดาของสตรี


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ก.พ. 19, 18:41
การนั่งกับพื้นเป็นวิถีไทยมาแต่ครั้งโบราณกาล ถ้าทำอยู่เป็นอาจิณก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะเส้นสายมันยืดหดเข้าที่แล้ว พระภิกษุชราที่บวชมาตั้งแต่อายุยังน้อยท่านก็ยังนั่งกับพื้นนานๆได้สบายมาก
ส่วนฆราวาสที่ชีวิตประจำวันนั่งแต่บนเก้าอี้ หากไปฝึกนั่งกับพื้นใหม่จะมีปัญหากับอาการปวดเข่ามาก  จึงไม่ควรฝืน

พระท่านก็ทราบปัญหานี้ดี จึงได้จัดที่นั่งสำหรับผู้สูงอายุไว้บ้างแล้วในโบสถ์หรือในวิหาร  หากจะนั่งฝึกสมาธิ ท่านก็แนะนำให้นั่งเก้าอี้ตามสบาย ซึ่งก็ได้ผลไม่ต่างกับคนสมัยโบราณที่ยังไม่มีเก้าอี้ใช้เหมือนกัน


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ก.พ. 19, 18:46
ส่วนท่านี้เรียกว่าท่านั่งยองๆครับ เมื่อก่อนพระไทยก็ใช้อยู่ แต่พอเป็นธรรมยุติท่านว่าดูเป็นกิริยาไม่งาม ให้เลิกเสีย


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 มี.ค. 19, 08:10
นั่งกระหย่ง หรือนั่งกระโหย่ง คือคำเดียวกันครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 19, 15:11
ฝ่ายในกรุงกัมพูชาโกนผม นั่งกระโหย่ง


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 มี.ค. 19, 21:46
ภาษาเขมรจะเรียกท่านั่งนี้ว่ากระโหย่งหรือเปล่าผมไม่ทราบ แต่ภาษาไทยเรียกท่านั่งยองๆแน่นอน


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 19, 22:59
คำนี้เห็นจะพูดกันได้อีกยาว
เพิ่งรู้จักคำว่า  squat  ไปเปิดกูเกิ้ลดูพบว่า มันน่าจะเรียกว่ายงโย่ยงหยกมากกว่านั่งยองๆ  นะคะ
ฝรั่งคงไม่สามารถจะลดตัวต่ำลงไปจนก้นเกือบถึงพื้น    ไม่สามารถชันเข่าขึ้นมา   ทำได้เพียงเหมือนกับนั่งเก้าอี้ บนความว่างเปล่า


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 มี.ค. 19, 06:14
ส้วมแบบที่เห็นในภาพ คงไม่ต้องบอกนะครับเวลาใช้จะต้องนั่งท่าไหน


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 มี.ค. 19, 06:45
นี่คือโถส้วมแบบที่ฝรั่งเรียก squat toilet


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 มี.ค. 19, 06:55
squat toilet ไม่ใช่อารยธรรมของฝรั่ง มาเจอส้วมแบบนี้ในเอเซียคงจะใช้ท่ายงโย่ยงหยกขจัดความทุกข์ออกไปให้พ้นตัวโดยเร็วที่สุดก็ได้ ไม่แปลก ผมเองก็เคยใช้บ่อยๆเวลาเจอส้วมสาธารณะบางแห่งที่อุบาทว์เกินบรรยาย อย่างไรก็ดี เขาก็มีข้อแนะนำกันเองว่าควรจะใช้ส้วมนั่งยองนี้อย่างไร


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 มี.ค. 19, 07:21
ผมก็ยังสงสัยอยู่ดีแหละว่าเวลาฝรั่งไปเที่ยวป่า เกิดสถานการณ์คับขันขึ้นมาแล้วจะทำยังไงอีท่าไหน
ตามไปถามคุณกู๋ๆก็ให้ภาพมา ทั้งท่า squat ท่าโหน และท่านั่งบนไม้ บนหิน เป็นอันว่าฝรั่งไม่รู้จักท่านั่งยองๆจริงๆ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 มี.ค. 19, 07:40
ถ้าจะให้ตรงจริง ๆ เห็นจะต้องขยายความว่าเป็นท่า squat ของคนเอเซีย

นั่งยอง ๆ = Asian squat


https://youtu.be/NpkDqkwjvUg


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มี.ค. 19, 08:26
คลิปนี้ทำได้น่ารักน่าเอ็นดูมาก    ;D ;D
นั่งยองๆแบบไทยน่าจะช่วยการทรงตัวได้ดีกว่า เพราะวางเท้าเต็มฝ่าเท้า  ทำให้พื้นที่รองรับน้ำหนักตัวมีมากกว่าท่านั่งเขย่ง ใช้แค่ปลายเท้ารับน้ำหนักทั้งหมด
ส่วนท่าเทพบุตรนั่งสบายกว่า เพราะใช้เข่ารับน้ำหนักส่วนใหญ่

วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมบนพื้นราบ คือนั่ง นอน  ทำกิจกรรมอะไรต่อมือะไรบนพื้นห้อง   ส่วนวัฒนธรรมฝรั่งอยู่บนที่สูง คือยืน  นั่งเก้าอี้ นอนบนเตียง    ยายแหม่มแอนนาถึงปฏิเสธว่าจะไม่ยอมหมอบคลานเป็นอันขาด   นางถือว่าหมอบคลานคือ crawl  อันเป็นลีลาของสัตว์เลื้อยคลาน
 คนไทยสมัยก่อนเก้าอี้จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน สามารถนั่งๆนอนๆ เอนๆ รางกายบนพื้นห้องได้ทั้งวัน  แต่จับไปนั่งห้อยขาบนเก้าอี้จะเมื่อยเร็ว     ผู้หญิงเองนั่งเก้าอี้ก็ต้องฝึกหัดท่าทางอิริยาบถเสียใหม่ ให้นั่งตัวตรง  ไม่ใช่นั่งหลังค้อมอย่างเวลานั่งทำงานบนพื้นห้อง
ท่านั่งแบบไทย มีหลายแบบ  นั่งพับเพียบ  นั่งขัดสมาธิ  นั่งยองๆ  นั่งชันเข่า นั่งค้อมหลัง  ผู้ชายมีท่านั่งพับขาข้างหนึ่งชันขาอีกข้างหนึ่ง 
เด็กเจนเนอเรชั่น X Y Z  คงนั่งกับพื้นได้คล่องก็ท่าขัดสมาธิ  หรือนั่งชันเข่า    นั่งยองๆคงนั่งได้เดี๋ยวเดียว


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 04 มี.ค. 19, 11:00
คลิปนี้ทำได้น่ารักน่าเอ็นดูมาก    ;D ;D
นั่งยองๆแบบไทยน่าจะช่วยการทรงตัวได้ดีกว่า เพราะวางเท้าเต็มฝ่าเท้า  ทำให้พื้นที่รองรับน้ำหนักตัวมีมากกว่าท่านั่งเขย่ง ใช้แค่ปลายเท้ารับน้ำหนักทั้งหมด
ส่วนท่าเทพบุตรนั่งสบายกว่า เพราะใช้เข่ารับน้ำหนักส่วนใหญ่

วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมบนพื้นราบ คือนั่ง นอน  ทำกิจกรรมอะไรต่อมือะไรบนพื้นห้อง   ส่วนวัฒนธรรมฝรั่งอยู่บนที่สูง คือยืน  นั่งเก้าอี้ นอนบนเตียง    ยายแหม่มแอนนาถึงปฏิเสธว่าจะไม่ยอมหมอบคลานเป็นอันขาด   นางถือว่าหมอบคลานคือ crawl  อันเป็นลีลาของสัตว์เลื้อยคลาน
 คนไทยสมัยก่อนเก้าอี้จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน สามารถนั่งๆนอนๆ เอนๆ รางกายบนพื้นห้องได้ทั้งวัน  แต่จับไปนั่งห้อยขาบนเก้าอี้จะเมื่อยเร็ว     ผู้หญิงเองนั่งเก้าอี้ก็ต้องฝึกหัดท่าทางอิริยาบถเสียใหม่ ให้นั่งตัวตรง  ไม่ใช่นั่งหลังค้อมอย่างเวลานั่งทำงานบนพื้นห้อง
ท่านั่งแบบไทย มีหลายแบบ  นั่งพับเพียบ  นั่งขัดสมาธิ  นั่งยองๆ  นั่งชันเข่า นั่งค้อมหลัง  ผู้ชายมีท่านั่งพับขาข้างหนึ่งชันขาอีกข้างหนึ่ง 
เด็กเจนเนอเรชั่น X Y Z  คงนั่งกับพื้นได้คล่องก็ท่าขัดสมาธิ  หรือนั่งชันเข่า    นั่งยองๆคงนั่งได้เดี๋ยวเดียว

สองท่านี้ที่บ้านนี่ห้ามเหมือนกัน โดนเฉพาะเวลาผู้ใหญ่อยู่ด้วย
นั่งกอดเข่า จะโดนว่า อมทุกข์
นั่งชันเข่า นี่ถือว่าไม่เรียบร้อย โดยเฉพาะผู้หญิง


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มี.ค. 19, 11:36
ท่านั่งกอดเข่า  เป็นท่านั่งอมทุกข์อย่างคุณยูนิคอร์นว่า จนเรียกกันว่า กอดเข่าเจ่าจุก
เป็นที่มาของสำนวนว่า "น้ำตาเช็ดหัวเข่า"   
ถ้านั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ   คงก้มลงเช็ดน้ำตากับหัวเข่าไม่สะดวกนักละค่ะ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มี.ค. 19, 11:39
ท่านั่งแบบต่างๆของไทย
นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งชันเข่าข้างหนึ่ง
ท่านอนของเด็กในรูป  น่าจะเรียกว่า "นอนเอกเขนก" คือนอนเล่นตามสบาย  ไม่ใช่นอนชนิดตั้งใจจะหลับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 19, 21:05
ท่านั่งกระหย่ง (กระโหย่ง)  หรือท่านั่งเทพบุตร


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 19, 21:22
ที่นั่งท่านี้เพราะไม่สามารถทิ้งน้ำหนักตัวลงนั่งบนซ่นเท้าได้ มันเจ็บ เพราะไม่เคยหัดนั่งตั้งแต่เล็ก

คนแก่ หรือคนต่างชาติที่มาบวช เจอท่าบังคับให้นั่งกระโหย่งตอนสวดบางบท มักจะนั่งท่ายกก้นขึ้น ซึ่งพระอุปัชฌาย์ท่านก็เมตตาอนุโลมเป็นรายๆไปครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มี.ค. 19, 19:24
ภาพเมื่อ พ.ศ. 2493 นั่งกระหย่งไหว้พระแก้วมรกต โดย LIFE


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 มี.ค. 19, 21:12
นี่ก็นั่งยองครับ แบบเดียวกับนั่งส้วมนะคุณหนุ่ม


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มี.ค. 19, 21:35
สังเกตว่าในรูป #36  นั่งยองกันทั้งหญิงชายนะคะ   
สมัยนั้นผู้หญิงนุ่งผ้าถุง   นั่งยองก็สะดวกและมิดชิดดี   ถ้านุ่งสั้นอย่างสมัยนี้คงนั่งไม่ได้  แม้แต่ไม่สั้นแต่เป็นกระโปรงแคบก็นั่งยองไม่ไหวเหมือนกัน

นั่งยองน่าจะเหมาะสมกับการนั่งในบริเวณที่ไม่มีเก้าอี้     ถ้าหากว่าพื้นไม่สะอาดนัก  เกรงว่ากางเกงหรือผ้านุ่งจะเปื้อนคราบฝุ่นหรือดิน ถ้าลงนั่งสัมผัสพื้น      นั่งยองก็ปลอดภัยจากปัญหานี้


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 มี.ค. 19, 22:16
ด้วยเหตุผลที่ว่า เดี๋ยวนี้คนบ้านนอกทั้งหญิงและชายจึงยังนิยมท่านั่งนี้อยู่ครับ

ในความคิดของผม น่าจะไม่เหมาะกับสุขภาพเท่าไหร่ถ้าต้องนั่งนานๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 มี.ค. 19, 08:45
เด็ก ๆ ในหมู่บ้านนั่งไหว้พระสงฆ์ บ้างก็คุกเข่า บ้างก็นั่งยอง ภาพถ่ายโดยคุณนวรัตน เมษายน ๒๕๐๘

https://www.facebook.com/1174884455908584/posts/1351008971629464?sfns=mo


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 มี.ค. 19, 09:02
ขอบคุณครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: Tivakara ที่ 18 เม.ย. 20, 03:52
ขอบคุณทุกท่านครับ
ผมเพิ่งพบพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ ลงวันที่24 พฤษภาคม ร.ศ.129
แสงความว่า การคุกเข่ากราบเป็นท่าประดิษฐ์ใหม่เกิดขึ้นเมื่อ จ.ศ.1226 เดิมพระทำสังฆกรรมเห็นจะนั่งยองๆที่ผมเรียกส่านั่งกระหย่งนั่นเองครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องท่านั่งกระหย่ง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 20, 11:50
 ;D