เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29410 จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 14:20

ถึง  สมาชิกเรือนไทยและผู้ที่ผ่านไปผ่านมาในเรือนไทยทุกท่าน

ท่านทั้งหลายพอจักทราบหรือไม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทั้ง ๓ พระองค์ ได้เคยทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธย
จ.ป.ร.  ว.ป.ร.  และ ป.ป.ร.  ไว้ทั้งหมดกี่แห่ง
ทรงจารึกไว้ ณ สถานที่ใดบ้าง  
ทรงจารึกไว้เมื่อวันเดือนปีใด  

ถ้าได้ภาพประกอบด้วยก็ดี
และถ้าสามารถเรียงลำดับเวลาที่ทรงจารึกด้วยจะดีมาก ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 14:37

ถามแบบนี้มีคะแนนให้สักกี่มากน้อยขอรับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 14:45

ถ้าตอบดี  ข้อมูลถูกต้อง มีแหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิงชัดเจน
ไม่พิมพ์ตกหล่น  พิจารณาแล้วให้ข้อมูลจารึกแห่งละ  ๑๐  คะแนน
ตกลงตามกติกานี้ ไหม

(นี่ๆ  มันคนละกระทู้กันแล้วคุณไซมีส   อย่าทำให้เขวสิ  ลังเล)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 14:48

น้ำตกธารเสด็จ เกาะพงัน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาส ๑๔ ครั้ง และทรงสลัก "หิน จ.ป.ร. ที่๑ " ทุกครั้งที่เสด็จประพาส

ก) จารึกบนก้อนหินข้างพลับพลาที่ประทับมีอักษร จปร. ปี ๑๒๖๓ (จุลศักราช),รศ. ๑๒๐,ภปร. ๒๓ เมษายน ๒๕๐๕ และ ปปร. ๒๔๖๙,๒๔๗๑
(จปร. เป็นพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๕, ปปร. เป็นพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๗ และ ภปร. เป็นพระปรมาภิไธย ย่อของรัชกาลที่ ๙)

ข) จารึกอักษรคำว่า ธารเสด็จ อยู่บริเวณปลายน้ำตก ด้านหน้าพลับพลาที่ประทับ

ค) จารึกพระปรมาภิไธย ภปร. วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๐๕ และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ รพ.๑๐ เมษายน ๒๕๑๕ (รพ. เป็นพระปรมาภิไธยย่อ ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน รัชกาลที่ ๗)

ง) จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ๑๐๘ มีจารึกปีจุลศักราช ๑๒๐๕,๑๒๕๑,๑๒๕๒,๑๒๕๘, ๑๒๖๐,๑๒๖๑ ๑๒๖๒,๑๒๖๓,๑๒๖๗,๑๒๗๑ บนก้อนหินก้อนเดียวกันแต่คนละด้าน ด้านหลังของก้อนหินนี้มีพระปรมาภิไธยย่อ ๑๓๐ วปร. (พระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๖) ด้านตรงข้ามลำธารมีหินอีกหนึ่งก้อนที่สลักพระปรมาภิไธยย่อ ปปร.รพ. ๒๔๖๙ ไว้ด้วย

จ) จารึก จปร. อยู่ห่างจากจารึกจุลศักราช ขึ้ไปทางต้นน้ำประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ ชาวบ้านใต้เรียกท้องชะนาง พบไร่ พริก มะเขือ กล้วย จึงได้จารึกอักษร จปร.บรรทัดล่างจารึกว่า ต่อไปมีไร่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 14:50

พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒ เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๘

เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ  ทอดปากอ่าวเมืองสงขลา
วันที่  ๒๙  กรกฎาคม  รัตนโกสินทร๒๒ศก ๑๐๘

ถึง  ท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ

ด้วยแต่ก่อนได้บอกข่าวคราวเข้ามาเพียงวันที่ ๒๐ เดือนกรกฎาคม  จะขอบอกข่าวต่อไปตามลำดับ......

เขาคูหาสวรรค์ที่ไปนั้น  เมื่อจะเข้าเขตวัดมีสระ ๆ หนึ่ง  ทางที่เข้าไปมีลูกเขาบังต้องเดิรเฉียงไป  พื้นแผ่นดินแดงเหมือนเขาจันทบุรีตลอด  ที่ตรงน่าวัดมีบ่อ ๆ หนึ่งว่าน้ำจืดสนิท  แต่เวลานี้น้ำแห้ง  มีถ้ำอยู่ที่ลูกเขาข้างน่าเป็นโพรงเล็กๆ  มีพระพุทธรูปขึ้นไปบนชานชั้นบนอีกชั้นหนึ่งสูงสัก ๗ -๘ ศอก  เปนพื้นราบกว้างสักสามสิบวา  มีต้นไม้ใหญ่ปลูกรายรอบร่มรื่นดี  ที่กลางลานนั้นยกพื้นอีกชั้นหนึ่งสูงสักศอกหนึ่ง  มีโบสถ์สามห้องไม่มีผนังอย่างโบสถ์บ้านนอกข้างหัวเมืองตวันตกทั้งปวง  มีพระประธนใหญ่ที่ลานชั้นกลางมีการเปรียญและกุฏิสงฆ์  ลูกพลับพลาประทับร้อนบนนั้น  ว่าข้างภูมที่ท่วงทีเขาดีอย่างยิ่ง  เหมือนอย่างเรานึกทำเล่น  ถ้าจะทำเปนวัดหลวงจะงามกว่าวัดมหาสมณารามมาก

ขึ้นเนินลาด ๆ ไปอีกหน่อยหนึ่งจึงถึงปากถ้ำ  ที่ปากถ้ำนั้นก็มีเทือกเขาบัง  ต้องเดิรเฉียงเข้าไปเหมือนกัน  ถ้ำยาวสักสิบห้าวา  ข้างแคบๆ กว่าหน่อยหนึ่ง  แสงสว่างเข้าได้เต็มน่าเพราะปากช่องใหญ่  ถ้ำนี้เรียกว่าถ้ำน้ำเงิน  เพราะน้ำซึมตะไคร่จับเขียวไปทั้งถ้ำ  มีพระพุทธรูปนอนใหญ่องค์หนึ่ง  นั่งใหญ่องค์หนึ่ง  ย่อมๆ ลงมาอีกยี่สิบหกองค์  พระพุทธรูปนั้นก็น้ำเงินไปด้วยกันโยมาก  ข้างหลังพระมีปล่องลงไปได้จนถึงพื้นล่างมีน้ำ  ในนั้นทำนองถ้ำหมีแควป่าสัก  แต่มืดต้องจุดเทียน  ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. ไว้ที่เพิงน่าถ้ำอีกแห่งหนึ่ง   แล้วเดิรกลับลงมาเลี้ยวไปตามทางข้างเขาอีกหน่อยหนึ่งถึงถ้ำนางคลอด  ปากถ้ำสูงประมาณสี่วา  เปนเวิ้งเข้าไปตื้น ๆ ไม่อัศจรรย์อันใด

รอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ปปร. ภปร. และ พระนามาภิไธยย่อ สก.ที่ผนังถ้ำวัดคูหาสวรรค์  จังหวัดพัทลุง



พระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อ ๒๖ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘)

พระปรมาภิไธยย่อ ปปร. เมื่อ ๒๕ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๗๑

พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และ พระนามาภิไธยย่อ สก.  เมื่อ ๑๗ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๐๒

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 14:55

แผ่นหินที่จารึกอักษรที่น้ำตกธารประพาส


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 14:59

อักษรพระนามาภิไธย ที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่ นอร์ทเคป ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:12

อักษรย่อพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงจารึกอักษรย่อพระปรมาภิไธย  จ.ป.ร.  คราวเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายู ในปี  พ.ศ.  ๒๔๓๓  ได้เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองชุมพรมาประทับ  ณ  เมืองกระ  และเมืองระนอง      เมื่อเสด็จมาถึงแนวเขตแดนระหว่างจังหวัดชุมพรและระนอง      พระองค์ทรงจารึกอักษรย่อพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ไว้บนก้อนหิน ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายูรัตนโกสินทร์ ๑๐๙ ความว่า 

" ในกลางที่แจ้งเป็นตร่อน้ำแบ่ง มีศิลาก้อนใหญ่จมดินครึ่งหนึ่ง  มีก้อนเล็กซ้อน   ซึ่งเห็นจะเป็นก้อนหินลอยทั้งสองก้อน  ให้เขาหามาไว้จะจารึกเห็นก้อนใหญ่จะศูนย์ยากกว่า จึงให้กลิ้งก้อนเล็กลงเสีย ให้กรมสรรพสิทธิ์เขียน จ.ป.ร. อย่างอัฐกับกรมสมมติเขียน ๑๐๙ มอบเครื่องมือให้ผู้ช่วยเมืองไชยาอยู่เราะ แล้วให้รอเขียนอยู่  ๗  มินิต"

http://www.loveranong.com/index.php?topic=63.0


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:17

อนุสาวรีย์ศิลาสลักพระปรมาภิไธย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ในเขตตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี ตรงข้ามกับโรงเรียนบ้าน จปร. หลักกิโลเมตรที่ 525 ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร ห่างจากตัวเมืองระนอง 86 กิโลเมตร
อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ “หินสลักพระปรมาภิไธย จปร.” ของรัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงจารึกไว้ ครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จประพาส โดยขบวนช้างและม้าจากจังหวัดชุมพร มาประทับแรมคืนที่พลับพลาดอนวังทู้ หมู่ที่ 1 ตําบลปากจั่น เพื่อไประนอง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2433
ได้ทรงทำการแบ่งเขตแดนระหว่างชุมพรกับระนอง ณ หลักกิโมตรที่ 525 ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี และได้ทรงรับสั่งให้สลักพระปรมาภิไธย ย่อ จปร. ลงบนก้อนหินที่อยู่บริเวณนั้น



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:19

ที่กล่าวว่าโปรดฯให้สลักอักษร ตามแบบเหรียญ คือ ตามอย่างเหรียญกษาปณ์รุ่นช่อมะกอกนี้ คือ มีอักษรย่อพระปรมาภิไธย ภายใต้พระเกี้ยว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:26

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสถ้ำสาริกา (เดิมชื่อถ้ำหนองตีเหล็ก) ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2442 ในช่วงเวลาที่เสด็จประพาสนั้น เป็นฤดูน้ำหลากทุ่งเขางู ขบวนเรือพระที่นั่งออกจากพลับพลาค่ายหลวงหลุมดิน เสด็จประพาสถ้ำหนองตีเหล็ก ทอดพระเนตรภายในถ้ำจนทั่วแล้วจึงเสด็จขึ้นมาประทับที่แคร่ไม้ปากถ้ำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า ถ้ำสาริกา แล้วโปรดฯ ให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร.๑๑๘ ไว้เหนือปากถ้ำ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 34



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:28

๑. พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.
๒. พระปรมาภิไธย่อภปร.
๓. พระนามาภิไธยย่อ สก.

ที่ตั้ง : ตำบลกะช่อง  อำเภอนาโยง  จังหวัดตรัง
พิกัดแผนที่  : ระวาง ๔๙๒๔ II  ลำดับชุด L ๗๐๑๗ พิมพ์ครั้งที่ ๒ - RTSD จังหวัดตรัง  พิกัดกริด  ๔๗ NNJ ๘๖๖๓๔๔
ประวัติสังเขป
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จ พระราชดำเนินจังหวัดตรัง  เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๑ ได้ทรงใช้รถยนต์พระที่นั่งเสด็จธารน้ำตกโตนปลิว เขากระช่อง  และทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ปปร.ที่ข้างลำธาร ตำหนักโปร่งฤทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ  และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมราษฎรที่ตำบลนาโยงเหนือ จังหวัดตรัง  เมื่อวันที่ ๑๗  มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒  และทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และ พระนามาภิไธยย่อ สก. ไว้บนหน้าผาน้ำตกเดียวกับพระ ปรมาภิไธยย่อ ปปร. ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:34

พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒ เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๘

เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ  ทอดปากอ่าวเมืองสงขลา
วันที่  ๒๙  กรกฎาคม  รัตนโกสินทร๒๒ศก ๑๐๘

ถึง  ท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ

ด้วยแต่ก่อนได้บอกข่าวคราวเข้ามาเพียงวันที่ ๒๐ เดือนกรกฎาคม  จะขอบอกข่าวต่อไปตามลำดับ......





 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:41

1.พระปรมาภิไธยย่อ จปร.
2.พระปรมาภิไธยย่อ วปร.

สถานที่ : น้ำตกธารมะยม เกาะช้าง จังหวัดตราด

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จน้ำตกธารมะยมถึง 9 ครั้ง โปรดให้บันทึกบรรยายความงามของน้ำตกธาร มะยมไว้อย่างละเอียด และมีการจารึกพระปรมาภิไธยย่อ " จ.ป.ร. " ไว้ที่น้ำตกทั้ง 3 ชั้น

การเสด็จประพาสของพระองค์ในครั้งที่ 2 พ.ศ. 2419 นอกจากทรงจารึกพระปรมาภิไธย และปีที่เสด็จแล้ว พระองค์ทรงทำ "เกรน" หรือกองศิลา ไว้เป็นที่ระลึกแห่งหนึ่งใกล้ๆ บริเวณน้ำตก โดยทรงพระราชหัตถเลขาว่า
" เราสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม รัชกาลที่ 5 ได้มาถึงที่นี้ 2 ครั้งๆ หนึ่งเมื่อปีระกา เบญจศก จุลศักราช 1235 กับครั้งนี้วัน 4 ฯ 2 ค่ำ ปีชวด อัฐศก ศักราช 1238 เราทั้งปวง บรรดาที่มาพร้อมกันได้ลงชื่อไว้ท้ายหนังสือนี้ " พร้อมทั้งลงพระพระปรมาภิไธยของพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จ
เสร็จแล้วพับแผ่นกระดาษนั้นบรรจุในกล่องตลับยาสูบเงินนอก แล้วใส่ลงในถ้วยน้ำชาที่มีตราประจำพระองค์ พร้อมเอาจานปิดทับข้างบนไว้ วางถ้วยลงบนพื้นหินและเอาหินก้อนเล็กก้อนใหญ่วางทับไว้ ต่อมา มีการค้นหาเกรนแห่งนี้ แต่ไม่พบร่องรอยแต่อย่างใด

และในปีพ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ น้ำตกธารมะยม และโปรดเกล้าให้สลักพระปรมาภิไธยย่อ วปร. และปีพ.ศ. ที่เสด็จไว้ด้วย



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:42

อักษรพระนามาภิไธย ที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่ นอร์ทเคป ครับ


วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ รัชกาลที่ ๕ เสด็จเยือนแหลมเหนือหรือนอร์ทเคป ประเทศนอร์เวย์

จากพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน

...พระยาชลยุทธได้ตระเตรียมเครื่องมือขึ้นมาตามเคยที่จะจาฤก จ.ป.ร. แต่อยู่ข้างกันดารมาก จะหาศิลาก้อนใหญ่บนนั้นไม่มีเลย มีอยู่ก้อนเดียว ซึ่งเปนศิลาติด ไม่ใช่กลิ้งได้ ลงมือปราบน่า พวกช่างไม้แลคนที่หามรวม ๕ คน ด้วยกัน ช่วยกันสกัด พ่อไปเขียน จ.ป.ร. แลเลขฝรั่ง ๑๙๐๗ แล้วพวกนั้นสกัด สกัดของเขาดีแลคนทำงานก็แขง ๕ คนเท่านั้น ไม่ช้าเท่าใดก็แล้ว พวกเราไปพักถ่ายรูปแลกินของต่าง ๆ ซื้อโปสก๊าดเขียนโปสก๊าด จนการแล้วเสร็จ ไปถ่ายรูปในที่นั้น ออกคิดถึงพวกแตรของเรา เพราะธรรมเนียมสลัก จ.ป.ร. เวลาแล้ว เคยเป่าแตรบอกสำเร็จ ถ้าเรือมหาจักรีมาเปนได้เป่ากัน...

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 21 คำสั่ง