เรือนไทย

General Category => ชั้นเรียนวรรณกรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 12, 16:14



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 12, 16:14
มีสหายท่านหนึ่งเพึ่งรู้จักมักจี่กันมินานนัก  ได้สอบถามว่าเคยอ่านหนังสือพิมพ์ราชกุมารหรือไม่

ก็ตอบไปว่า เคยเห็นผ่านตาแต่เป็นสำเนาที่มีคนอื่นคัดมาลงเอาไว้หนังสือเล่มหนึ่ง

สหายท่านร้องว่า  อยากอ่านบ้าง   จึงได้รับปากไปว่า  ถ้าได้ตัวเล่มหรือสำเนาหนังสือนั้นมาก

จะเอามาเล่าในเรือนไทย  แล้วสหายก็กล่าวอนุโมทนา


ณ บัดนี้  ผมได้้หนังสือดังกล่าวมาแล้ว  ก็จะคัดบ้าง เล่าด้วยสำนวนตนเอง ให้สหายและมวลมิตร

ในเรือนไทยได้ทราบพอเป็นตัวอย่างว่า  หนังสือพิมพ์ราชกุมารนี้เป็นฉันใดกันหนอ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 12, 16:32


๐ น่าต้น  หนังสือพิมพ์ราชกุมาร ฯ ะ




กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 12, 17:02
๐สิทธิการิยะ  กิร ดังได้สดับมาหนหลังความว่า  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง
โรงเรียนราชกุมารขึ้นพระบรมมหาราชวัง  เพื่อเป็นสถานที่สำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ แลหม่อมเจ้าได้ทรงศึกษา
สรรพวิชาความรู้  มีวิชาหนังสือ หนังสือภาษาต่างประเทศ วิชาเลข แลวิชาภูมิศาสตร์ เป็นอาทิ
โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้มิศเตอร์มอรันต์ พระอาจารย์แห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เป็นผู้จัดการ
ก่อตั้งโรงเรียนราชกุมารขึ้นที่อาคารสถานเบื้องหลังแห่งพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ครั้นวันที่  ๗  แห่งเดือนมกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑  อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เวลาเช้าแล้วยามหนึ่ง  จึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จฯ จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปยังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วเสด็จฯ ออก
ไปยังโรงพักที่ประทับ  ซึ่งมีนักเรียนเข้าแถวรอรับเสด็จอยู่  นักเรียนถวายคำนับ แล้วกล่าวขับคำ
พรรณนาพระเดชพระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จบแล้ว  เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้า
คลุมแผ่นป้ายกระดาษ ซึ่งมีข้อความนามโรงเรียนที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า "โรงเรียนราชกุมาร"
ในขณะนั้น  นักเรียนเปล่งวาจาแสดงความยินดีปรีดาว่า "โห่ฮิ้ว" ขึ้น ๓ ลา ๒ ครั้ง  พิณพาทย์ที่อยู่
ณ หน้าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทำเพลงสรรสเริญพระบารมี  จากนั้น  จึ่งเสด็จฯ เข้า
ในอาคารโรงเรียนราชกุมาร ทอดพระเนตรห้องหับต่างๆ ภายใน  แล้วเสด็จฯ ออกมาพระราชทาน
พระบรมราโชวาทแก่นักเรียนที่เข้าแถวอยู่ ณ ที่นั้น  รายละเอียดพิสดารมีมากครั้นจะเก็บมากล่าวก็เกินแก่เหตุจำเป็น
จึงขอรวบรัดตัดความแต่เท่านี้  ผู้ใดมีแก่ใจจะเอื้อเฟื้อมาเพิ่มภาพหรือข้อมูลอันที่เกี่ยวข้องก็เชิญตามอัธยาศัยนะขอรับ
 ;D ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ค. 12, 17:20
อาคารทางขวาภาพ คือ ตึกโรงเรียนราชกุมาร  ริมประตูพิมานไชยศรี  ในพระบรมมหาราชวัง
โรงเรียนนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเป็นสถานที่เล่าเรียนของพระราชโอรสและบุตรหลานข้าราชบริพาร  เมื่อพระราชกุมารทรงจบการศึกษาชั้นต้นและเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศแล้ว  ได้พระราชทานตึกนี้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กของกระทรวงมหาดไทย  

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อแรกพระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในวันที่  ๒๙  ธันวาคม  ๒๔๕๓  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเปิดการเล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารปีกด้านซ้ายติดประตูพิมานไชยศรี  จนถึงวันที่  ๑  มิถุนายน  ๒๔๕๔  จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งปัจจุบันซึ่งในระชกาลที่ ๗ ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย  ส่วนปีกด้านขวาติดกับกระทรวงมหาดไทยที่ศาลาลูกขุนเดิม  คงเป็นที่ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กที่โปรดพระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อโรงเรียนนี้ย้ายไปอยู่ที่หอวังแล้ว  จึงได้มีพระบรมราชโองการให้ประดิษฐานเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อ  ๒๖  มีนาคม  ๒๔๕๙


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4423.0;attach=21761;image)

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ค. 12, 17:31
รายละเอียดการเปิดโรงเรียนราชกุมาร ขอเชิญอ่านได้จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙ หน้า ๓๘๑ - ๓๘๓ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/043/381_2.PDF)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 12, 17:39
เมื่อโรงเรียนราชกุมารเปิดดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
พระเจ้าลูกยาเธอ แลหม่อมเจ้าที่ทรงเป็นทรงเรียนในขณะนั้น ได้มีพระดำริร่วมกัน
ที่จะออกหนังสือพิมพ์ชื่อ หนังสือพิมพ์ราชกุมาร  หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เริ่มออก
แบับแรกเมื่อวันที่เท่าไรนั้นไม่ทราบได้  แต่คงตกในช่วงเดือนใดเดือนหนึ่งของปี ร.ศ. ๑๑๒
หรือมิเช่นนั้นก็อาจจะออกมาตั้งแต่ปีร,ศ, ๑๑๑  น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ราชกุมารอายุสั้น
เนื่องจากมีอุบัติเหตุบางประการทำให้ต้องยุติการออกไป  อุบัติเหตุที่ว่านั้น คือ
(โปรดพิจารณาเอกสารด้านล่างประกอบ)v
v
v
v
v
v
v
(ขออภัย  เนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องบางประการทำให้ไม่สามารถขึ้นรูปได้
ผู้ใดมีความกระตือรือร้น  กรุณาหาดูภาพเอาเอง)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ค. 12, 17:48
คุณกรุ่มเล่าว่า "หนังสือพิมพ์ราชกุมาร" เจ้านายที่ทรงเรียนโรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงช่วยกันเขียน (และเป็น บรรณาธิการ - แม่แวร ) ออกอยู่ได้ไม่นาน ก็เลิกไป เพราะเครื่องพิมพ์เสีย ดังเอกสารแจ้ง ........ หนังสือพิมพ์นี้เป็นหนังสือสำคัญ เพราะเจ้านายหลายพระองค์ ทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ มาลงไว้ (น่าจะเป็นเรื่องนิทานทรงแต่ง สมัยยังทรงพระเยาว์ และอาจจะเป็นข่าวในพระราชสำนักสำหรับเจ้านายทีทรงพระเยาว์ เป็นต้น - อันนี้ คุณกรุ่ม ก็สันนิษฐานเอา ไม่ทราบท่านถามเจ้าคุณปู่หรือไม่ ) ท่านใดมีเอกสารนี้อยู่บ้างไหมครับ?

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5100.0;attach=32242;image)

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 24 พ.ค. 12, 18:02
ต่อไปนี้  จะได้เล่าเนื้อความที่มาของหนังสือพิมพ์ราชกุมารต่อไป
ซึ่งได้มาจากหนังสือที่คุณหรรษา หงสกุล ได้จัดพิมพ์ฉลองพระเดชพระคุณเจ้าคุณตา
มหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์) ในงานพระราชทานเพลิงศพ
เมื่อปี ๒๔๘๕  หนังสือนั้นใช้ชื่อเรื่องว่า รวมเรื่องเด็ก  ของ นิด  อุดมศักดิ์

คุณหรรษา  หงสกุล หรือหรรษา  บัณฑิตย์ เป็นธิดาของพระพี่เลี้ยงหวน  อนุภาณสิศยานุสรรค์
กับหลวงอนุภาณสิศยานุสรรค์ (เรื่อ  หงสกุล)  เป็นหลานสาวของท่านเจ้าคุณสุรนันทน์ฯ
คุณหรรษาได้ประกอบอาชีพเป็นครู  และเพิ่งแก่กรรมไปไม่กี่ปีมานี้  (หนังสืองานศพปกสีส้มสวยงาม
พิมพ์งานเขียนของคุณหรรษา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็ก นักเรียน และตัวเธอเอง)

เป็นไปได้ว่า  ท่านอาจจะเป็นเก็บหนังสือพิมพ์ราชกุมารของเจ้าคุณตาไว้



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ค. 12, 19:08
รูป มหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม สุรนันทน์) ถ่ายเมื่อยังเป็นพระยาบำรุงราชบริพาร (ภาพนี้ท่านมอบให้พระพี่เลี้ยงหวน อนุภาณศิษยานุสรรค์ บุตรีของท่าน)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5100.0;attach=32264;image)

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 พ.ค. 12, 21:18
โรงเรียนราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงจ้างครูใหญ่ชาวอังกฤษ ชื่อ "มิสเตอร์มอรันต์" มาสอนแก่พระโอรส ท่านได้แต่งตำราเพื่อใช้ในการศึกษา มีชื่อว่า "หนังสือบันไดอังกฤษ"
และมีครูสอนอีกท่านคือ "มิสเตอร์เจมส์"

ภาพแพรแถมเข็มโรงเรียนราชกุมาร (ภาพจากเวป)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ค. 12, 21:52
เหรียญหรือเข็มหนอ

เหรียญโรงเรียนราชกุมาร พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ.๑๑๑) ค่ะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4423.0;attach=21714;image)

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 พ.ค. 12, 16:19
ในการเรียนการสอนของครูมอรันต์ (Robert Morant) ได้นำความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นของแปลกใหม่มาให้พระโอรสได้เรียนรู้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การเขีนยจดหมายระหว่างกัน มีการสร้างดวงตราสำหรับปิดจดหมายขึ้นใช้งานด้วย เป็นการพิมพ์บนกระดาษ ไม่มีการปรุ แต่ใช้วิธีการตัดด้วยกรรไกร หน้าดวงมีราคา ๑ เสี้ยว ๑ ซีก และ ๑ อัฐ และมีการสร้างตราประทับ "RAJAKUMAR POST BANGKOK SIAM" ไว้สำหรับขีดฆ่าดวงตราที่ใช้งานแล้ว ซึ่งก็นับได้ว่าครูมอรันต์ ได้นำความรู้ด้านไปรษณีย์มาจากอังกฤษและถ่ายทอดให้พระโอรสได้ทดลองใช้กัน


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 พ.ค. 12, 16:35
ต่อมาได้จัดทำดวงตราที่สวยงามขึ้นเพื่อใช้กันอย่างจริงจัง ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยใช้การพิมพ์บนกระดาษกาว เป็นภาพถ่ายและพิมพ์บนกระดาษเจาะรู ประกอบด้วยภาพเจ้านาย ๑๐ พระองค์


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 25 พ.ค. 12, 16:57
ครูมอรันต์ (Robert Morant) นี้  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล เล่าไว้ว่า เป็นหลานของฟลอเรนซ์  ไนติงเกล  และเมื่อกลับไปอังกฤษแล้วได้ดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการอังกฤษ

จากข้อความในตอนต้น  คุณหลวงท่านเล่าไว้ว่า
ครั้นวันที่  ๗  แห่งเดือนมกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑  อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เวลาเช้าแล้วยามหนึ่ง  จึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จฯ จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปยังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วเสด็จฯ ออก
ไปยังโรงพักที่ประทับ  ซึ่งมีนักเรียนเข้าแถวรอรับเสด็จอยู่  นักเรียนถวายคำนับ แล้วกล่าวขับคำ
พรรณนาพระเดชพระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จบแล้ว  เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้า
คลุมแผ่นป้ายกระดาษ ซึ่งมีข้อความนามโรงเรียนที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า "โรงเรียนราชกุมาร"
ในขณะนั้น  นักเรียนเปล่งวาจาแสดงความยินดีปรีดาว่า "โห่ฮิ้ว" ขึ้น ๓ ลา ๒ ครั้ง  พิณพาทย์ที่อยู่
ณ หน้าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทำเพลงสรรสเริญพระบารมี 

จากคำบอกเล่าข้างต้นแสดงว่าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารนั้นน่าจะอยู่ตรงข้ามกับอาคารโรงเรียนราชกุมารซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก  ทสงด้านทิศตะวันตกของประตูพิมานไชยศรี  แธนั้น พระตำหยักน่าจะอยู่ที่ด้านหลังศาลาสหทัยสมาคม  ตรงที่เป็นตึกสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันหรือไม่?


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 พ.ค. 12, 17:21
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้ง “โรงเรียนราชกุมาร” ขึ้น ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยว่าจ้างนายโรเบิร์ต โมรันต์ (Mr. Robert Morant) ชาวอังกฤษ แต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษให้แก่พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ และนักเรียนมักเรียกสั้น ๆ ว่า “ครูโรฟ” ในการเรียนการสอน ครูโรฟได้ใช้แสตมป์เป็นสื่อการเรียนการสอน โดยสอนให้มีการเขียนจดหมายส่งถึงกันและกัน หรือจะส่งถึงครูโรฟก็ได้

ครูโรฟได้ออกแบบแสตมป์ออกมา ๑ ชุด เรียกว่า “แสตมป์ชุดราชกุมาร” มีราคา ๑ อัฐ, ๑ เสี้ยว และ ๑ ซีก ขึ้นมาในเวลานั้น เพื่อใช้ติดเป็นค่าฝากส่งของจดหมาย และประทับตราของโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “RAJAKUMAR POST BANGKOK SIAM”

ส่วนแสตมป์อีกชุดหนึ่ง เรียกว่า “แสตมป์ชุดราชสำนัก” หรือ “แสตมป์ชุดเจ้านาย” สันนิษฐานว่าเป็นแสตมป์อีกชุดหนึ่งที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของโรงเรียนราชกุมารในช่วงนั้น แสตมป์ชุดนี้ไม่ระบุราคา มี ๑๐ ดวง เป็นภาพของรัชกาลที่ ๕ และพระบรมวงศานุวงศ์ แสตมป์ทั้งสองชุดในปัจจุบันหาดูได้ยากและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องและภาพจาก หนังสือคู่มือแสดมป์ไทย ฉบับสมบูรณ์ ๒๕๕๑ ฉลอง ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย (http://www.hobbyinter.com/hobby-dw/thai-stamp-catalogue.pdf)

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 พ.ค. 12, 17:31
ครูมอรันต์ (Robert Morant) นี้  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล เล่าไว้ว่า เป็นหลานของฟลอเรนซ์  ไนติงเกล  และเมื่อกลับไปอังกฤษแล้วได้ดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการอังกฤษ

ครูวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Laurie_Morant) บอกว่าตำแหน่งสุดท้ายของ "ครูโรฟ" คือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 พ.ค. 12, 21:39
ครูพุ่ม สอนที่โรงเรียนราชกุมาร ร.ศ. ๑๑๕


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 พ.ค. 12, 11:35

จากข้อความในตอนต้น  คุณหลวงท่านเล่าไว้ว่า
ครั้นวันที่  ๗  แห่งเดือนมกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑  อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เวลาเช้าแล้วยามหนึ่ง  จึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จฯ จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปยังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วเสด็จฯ ออก
ไปยังโรงพักที่ประทับ  ซึ่งมีนักเรียนเข้าแถวรอรับเสด็จอยู่  นักเรียนถวายคำนับ แล้วกล่าวขับคำ
พรรณนาพระเดชพระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จบแล้ว  เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้า
คลุมแผ่นป้ายกระดาษ ซึ่งมีข้อความนามโรงเรียนที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า "โรงเรียนราชกุมาร"
ในขณะนั้น  นักเรียนเปล่งวาจาแสดงความยินดีปรีดาว่า "โห่ฮิ้ว" ขึ้น ๓ ลา ๒ ครั้ง  พิณพาทย์ที่อยู่
ณ หน้าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทำเพลงสรรสเริญพระบารมี 

จากคำบอกเล่าข้างต้นแสดงว่าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมารนั้นน่าจะอยู่ตรงข้ามกับอาคารโรงเรียนราชกุมารซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก 
ทสงด้านทิศตะวันตกของประตูพิมานไชยศรี  แธนั้น พระตำหยักน่าจะอยู่ที่ด้านหลังศาลาสหทัยสมาคม 
ตรงที่เป็นตึกสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันหรือไม่?


คุณวีมีท่าทางจะรีบร้อนมาก  เลยสะกดคำผิดพลาดไปหลายแห่ง  ดีว่าพอจะเดาความได้ 

หามิได้ครับ  คุณวีมีสันนิษฐานที่ตั้งของพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกูฎราชกุมาร คลาดเคลื่อนไปแล้วครับ 

ขอเท้าความไปเมื่อครั้งทูลกระหม่อมใหญ่ยังทรงพระเยาว์ ประทับอยู่ที่ตำหนักประธาน
หรือพระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระตำหนักนี้  เดิมรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็น
ที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง
ครั้นเมื่อสมเด็จพระนางสุนันทากุมารีรันต์ สิ้นพระชนม์แล้ว  คงเหลือแต่สมเด็จพระนางเจ้า ๒ พระองค์
ประทับพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดา  ภายหลังสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
เสด็จฯ ไปประทับที่พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์  ในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระตำหนักนี้ ยังคงเหลือสิ่งที่แสดงถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมารหลายสิ่ง ประการหนึ่งคือตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น
(ตราจุลมงกุฎขนนก) ที่หน้าบัน  บานกระจกของตู้ ซุ้มประตูเหล็ก ฯลฯ
ตราเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงว่า ที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อทรงพระเยาว์
พระตำหนักนี้ในในเขตพระราชฐานฝ่ายใน  อนึ่งทราบว่า  พระตำหนักนี้มีสะพานเรือกที่เชื่อมต่อกับ
หมู่พระทั่งจักรีมหาปราสาทด้วย  ต่อมาได้ทำการรื้อลง  เนื่องจากผุพังและไม่ได้ใช้งาน


ส่วนพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในกาลต่อมา
คือ อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  อาคารนี้ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
ดดยชั้นแรกคงเป็นที่ทำการราชการอยู่ก่อน  (หมู่อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีฯ และพระที่นั่งอมรินทรฯ
ได้มีการรื้ออาคารทำการราชการเก่าออกเพื่อสร้างใหม่ ให้มีรูปแบบอาคารรับกับพระที่นั่งจักรีฯ
ถ้าหันหน้าเข้าพระที่นั่งจักรีฯ ตรงปากประตูพิมานไชยศรี  ด้านซ้ายมือ คือศาลาว่าการพระราชวัง
(กระทรวงวัง) ส่วนด้านขวามือ คือ อาคารศาลารัฐมนตรีสภา  ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  ภายหลังได้ทรงผ่านพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อปี ๒๔๓๓ แล้ว
ทั้งนี้เป็นะรรมเนียมในราชสำนักมาแต่เดิมว่า  พระราชโอรสที่ทรงเจริญวัยและผ่านพระราชพิธีโสกันต์แล้ว
ต้องเสด็จออกไปประทับนอกเขตพระราชฐานชั้นใน  (ส่วนเหตุผลเป็นเพราะอะไร  คงไม่ต้องกล่าวถึง
เพราะเข้าใจซึมทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะอภิปรายขยายกันต่อก็ไม่ว่ากระไร)  อาคารหลังนี้ได้เป็นที่ประทับ
ของทูลกระหม่อมใหญ่มาจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๓๗  ต่อมาอาคารหลังนี้ก็ได้กลายเป็น
ที่ประชุมรัฐมนตรีสภา  และเป็นเก็ยสิ่งของสำคัญของกรมราชเลขานุการและกระทรวงมุรธาธร

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ อาคารหลังนี้ ได้เคยเป็นที่ทำการกรมพระตำรวจหลวงและห้องเวรชาววัง
จนท้ายที่สุด  อาคารหลังนี้ ได้ใช้เป็นอาคารสำนักราชเลขาธิการ  ดังปรากฏชื่อสำนักที่ด้านหน้าอาคาร
อาคารหลังนี้  มีบันไดทางขึ้นตรงกลางขนาดใหญ่  เมื่อขึ้นที่ชั้นพักจะมีประตูเปิดเข้าสู่ชั้นลอยของอาคาร
ซึ่งเข้าใจว่าเป็นส่วนที่ต่อเติมปรับปรุงขึ้นภายหลัง  เดิมน่าจะเป็นประตูที่เชื่อมต่อกับสะพานเรือกหรือทางเชืื่่อมต่อ
กับโรงเรียนราชกุมาร  ซึ่งอยู่ด้านหลัง  ต่อมาเมื่อ คงรื้อลง และต่อเติมส่วนนนี้เป็นชั้นลอยสำหรับในเป็นที่ทำการ
จากบันใดใหญ่ มีบันแยกขึ้นชั้น ๒ ซ้ายขวา   ชั้นสองนี้เป็นท้องโถงเพดานสูง  ด้านตะวันตกมีบันไดขึ้นไปยัง
ที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช   อาคารหลังนี้ ภายหลังได้ใช้เป้นอาคารทำการ
ของฝ่ายห้องสมุดเฉพาะ  สำนักราชเลขาธิการ   และเรียกชื่อว่า อาคารสำนักราชเลขาธิการเดิม บ้าง
ในปัจจุบันอาคารหลังนี้  (๒๕๕๕) กำลังอยู่ในระหว่างบูรณะซ่อมแซมทั้งหลัง เพื่อใช้ประดยชน์ในการอื่น
ส่วนหน่วยราชการที่เคยปฏิบัติในอาคารดังกล่าวได้ย้ายไปอยู่ที่ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ
ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 

ฉะนั้นคุณวีมีสันนิษฐานมานั้น  จึงไม่ถูกต้องด้วยประการฉะนี้   


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 พ.ค. 12, 13:22
จัดแผนที่สิ่งก่อสร้างให้คุณ V_mee จะได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นครับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 28 พ.ค. 12, 08:27
ขอบพระคุณคุณหลวงและคุณ Siamese เป็นอย่างยิ่ง
ทั้งสองท่านได้ช่วยกันไขปริศนาเรื่องพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่พระราชฐานชั้นกลางที่เป็นที่สงสังมาช้านานให้กระจ่างชัดขึ้นครับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 28 พ.ค. 12, 10:57
มารออ่ีาน ด้วยความกระหายรู้ ขอบพระคุณขอรับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 พ.ค. 12, 19:04

คุณวีมีท่าทางจะรีบร้อนมาก  เลยสะกดคำผิดพลาดไปหลายแห่ง  ดีว่าพอจะเดาความได้  

หามิได้ครับ  คุณวีมีสันนิษฐานที่ตั้งของพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร คลาดเคลื่อนไปแล้วครับ  

ขอเท้าความไปเมื่อครั้งทูลกระหม่อมใหญ่ยังทรงพระเยาว์ ประทับอยู่ที่ตำหนักประธาน
หรือพระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระตำหนักนี้  เดิมรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็น
ที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง
ครั้นเมื่อสมเด็จพระนางสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์แล้ว  คงเหลือแต่สมเด็จพระนางเจ้า ๒ พระองค์
ประทับพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดา  ภายหลังสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
เสด็จฯ ไปประทับที่พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์  ในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระตำหนักนี้ ยังคงเหลือสิ่งที่แสดงถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมารหลายสิ่ง ประการหนึ่งคือตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น
(ตราจุลมงกุฎขนนก) ที่หน้าบัน  บานกระจกของตู้ ซุ้มประตูเหล็ก ฯลฯ
ตราเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงว่า ที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อทรงพระเยาว์
พระตำหนักนี้ในในเขตพระราชฐานฝ่ายใน  อนึ่งทราบว่า  พระตำหนักนี้มีสะพานเรือกที่เชื่อมต่อกับ
หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้วย  ต่อมาได้รื้อลง  เนื่องจากผุพังและไม่ได้ใช้งาน


ส่วนพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในกาลต่อมา
คือ อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  อาคารนี้ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
โดยชั้นแรกคงเป็นที่ทำการราชการอยู่ก่อน  (หมู่อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีฯ และพระที่นั่งอมรินทรฯ
ได้มีการรื้ออาคารทำการราชการเก่าออกเพื่อสร้างใหม่ ให้มีรูปแบบอาคารรับกับพระที่นั่งจักรีฯ)
ถ้าหันหน้าเข้าพระที่นั่งจักรีฯ ตรงปากประตูพิมานไชยศรี  ด้านซ้ายมือ คือศาลาว่าการพระราชวัง
(กระทรวงวัง) ส่วนด้านขวามือ คือ อาคารศาลารัฐมนตรีสภา  ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  ภายหลังได้ทรงผ่านพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อปี ๒๔๓๓ แล้ว
ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมในราชสำนักมาแต่เดิมว่า  พระราชโอรสที่ทรงเจริญวัยและผ่านพระราชพิธีโสกันต์แล้ว
ต้องเสด็จออกไปประทับนอกเขตพระราชฐานชั้นใน  (ส่วนเหตุผลเป็นเพราะอะไร  คงไม่ต้องกล่าวถึง
เพราะเข้าใจซึมทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะอภิปรายขยายกันต่อก็ไม่ว่ากระไร)  อาคารหลังนี้ได้เป็นที่ประทับ
ของทูลกระหม่อมใหญ่มาจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๓๗  ต่อมาอาคารหลังนี้ก็ได้กลายเป็น
ที่ประชุมรัฐมนตรีสภา  และเป็นคลังที่เก็บสิ่งของสำคัญของกรมราชเลขานุการและกระทรวงมุรธาธร

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ อาคารหลังนี้ ได้เคยเป็นที่ทำการกรมพระตำรวจหลวงและห้องเวรชาววัง
จนท้ายที่สุด  อาคารหลังนี้ ได้ใช้เป็นอาคารสำนักราชเลขาธิการ  ดังปรากฏชื่อสำนักที่ด้านหน้าอาคาร
อาคารหลังนี้  มีบันไดทางขึ้นตรงกลางขนาดใหญ่  เมื่อขึ้นที่ชั้นพักจะมีประตูเปิดเข้าสู่ชั้นลอยของอาคาร
ซึ่งเข้าใจว่าเป็นส่วนที่ต่อเติมปรับปรุงขึ้นภายหลัง  เดิมน่าจะเป็นประตูที่เชื่อมต่อกับสะพานเรือกหรือทางเชื่อมต่อ
กับโรงเรียนราชกุมาร  ซึ่งอยู่ด้านหลัง  ต่อมาเมื่อ คงรื้อลง และต่อเติมส่วนนี้เป็นชั้นลอยสำหรับเป็นที่ทำการ
จากบันไดใหญ่ มีบันไดแยกขึ้นชั้น ๒ ซ้ายขวา   ชั้นสองนี้เป็นท้องโถงเพดานสูง  ด้านตะวันตกมีบันไดขึ้นไปยัง
ที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช   อาคารหลังนี้ ภายหลังได้ใช้เป้นอาคารทำการ
ของฝ่ายห้องสมุดเฉพาะ  สำนักราชเลขาธิการ   และเรียกชื่อว่า อาคารสำนักราชเลขาธิการเดิม
ในปัจจุบันอาคารหลังนี้  (๒๕๕๕) กำลังอยู่ในระหว่างบูรณะซ่อมแซมทั้งหลัง เพื่อใช้ประโยชน์ในการอื่น
ส่วนหน่วยราชการที่เคยปฏิบัติในอาคารดังกล่าวได้ย้ายไปอยู่ที่ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ
ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม  

ฉะนั้นคุณวีมีสันนิษฐานมานั้น  จึงไม่ถูกต้องด้วยประการฉะนี้  


มาแก้ไข  เนื่องรีบพิมพ์  ทำให้มีที่ผิดพลาดหลายแห่ง   ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 พ.ค. 12, 19:48
เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร 

ผมสงสัยเรื่องมิศเตอร์ มอรันต์ (มอแรนต์)  กับ ครูโรฟ เป็นคนเดียวกันจริงหรือ?
เพราะข้อมูลที่ค้นได้ในปี ร,ศ, ๑๑๑ ระบุว่า

คนต่างประเทศรับราชการในกระทรวงธรรมการ มีดังนี้

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย  มิศเตอร์ เอม. เอ. คัลเบิดซัน

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ บิี. เอ. ดักคลัศ

ครูโรงเรียนฝึกหัดอาจาริย์  มิศเตอร์ บี. เอ. ครินดรอด

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ เอม. ดี. เฮส

นักปราชญ์พิพิธภัณฑสถาน  ดอกเตอร์ ฟิ. ดิ. ฮาเซ

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ เยมส

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ บี. เอ. ลูวิส

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย ดอกเตอร์ ดี. ดี. แมกฟาแลนด์

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ ยอชแมกฟาแลนด์

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์ เอม. เอ. มอรันต์

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ

ครูโรงเรียนใหม่  บาบู รามสวามี

ครูโรงเรียนศัพทเลข  มิศเตอร์ ซันเดอร์สัน

ครูช่างเขียน  ซิยวร ตรุกี

ครูช่างปั้น  ซิยวร โตรสะเชล

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ ยัง

 ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 พ.ค. 12, 20:15
พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พระยาเทเวศร์วงษวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน)
พระอาจาริย์มอแรนต์
เจ้าหมื่นไวยวรนารถ
นายจ่ายง
นายจ่าเรศ บาญชีเงิน

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์))
มิสเตอร์ เชยมส์  อาจาริย์
มิสเตอร์ เลวิส  อาจาริย์
มิสเตอร์ โรล์ฟ  อาจาริย์
ขุนบำนาญวรวัจน์  อาจาริย์
ขุนบัญญัติวรวาท  อาจาริย์
นายนกยูง  อาจาริย์  (ใช่นายนกยูง ที่แปล "ความพยาบาท" หรือเปล่า?)


ฟากกระทรวงธรรมการให้ข้อมูลว่า

โรงเรียนอังกฤษ  พระตำหนักสวนกุหลาบ

อาจารย์ใหญ่  มิศเตอร์โรลฟ  ยืมไปรับราชการ
เปนอาจารย์โรงเรียนราชกุมาร แทนอาจารย์ใหญ่ มิศเตอร์ยัง

อาจารย์  นายพุ่ม

เอาล่ะสิ  ตกลง  ครูโรฟ  กับครูมอรันต์  เป็นคนคนเดียวกัน หรือเป็นครูคนละคนกันแน่
ช่วยกันอภิปรายกันหน่อยนะครับ ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ค. 12, 20:19
เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร  

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์ เอม. เอ. มอรันต์

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ


Robert Laurie Morant น่าจะเป็น อาร์ แอล มอรันต์ มากกว่า เอม. เอ. มอรันต์

ฤๅจะเป็น M.A. = Master of Arts

 ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 พ.ค. 12, 20:54
เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร  

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์ เอม. เอ. มอรันต์

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ


Robert Laurie Morant น่าจะเป็น อาร์ แอล มอรันต์ มากกว่า เอม. เอ. มอรันต์

ฤๅจะเป็น M.A. = Master of Arts

 ???


ถูกแล้วครับ   ;D

เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร  

ผมสงสัยเรื่องมิศเตอร์ มอรันต์ (มอแรนต์)  กับ ครูโรฟ เป็นคนเดียวกันจริงหรือ?
เพราะข้อมูลที่ค้นได้ในปี ร,ศ, ๑๑๑ ระบุว่า

คนต่างประเทศรับราชการในกระทรวงธรรมการ มีดังนี้

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย  มิศเตอร์ คัลเบิดซัน  เอม. เอ.

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ ดักคลัศ บิี. เอ.

ครูโรงเรียนฝึกหัดอาจาริย์  มิศเตอร์ ครินดรอด บี. เอ.

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ เฮส เอม. ดี.

นักปราชญ์พิพิธภัณฑสถาน  ดอกเตอร์  ฮาเซ ฟิ. ดิ.

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ เยมส

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ ลูวิส บี. เอ.

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย ดอกเตอร์  แมกฟาแลนด์ ดี. ดี.

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ ยอชแมกฟาแลนด์

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์  มอรันต์  เอม. เอ.

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ

ครูโรงเรียนใหม่  บาบู รามสวามี

ครูโรงเรียนศัพทเลข  มิศเตอร์ ซันเดอร์สัน

ครูช่างเขียน  ซิยวร ตรุกี

ครูช่างปั้น  ซิยวร โตรสะเชล

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ ยัง


คุณเพ็ญฯ ช่างสังเกตดีมากครับ ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 พ.ค. 12, 21:20
จากเวปของราชสกุลอาภากร

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ 28 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

การศึกษาเมื่อทรงพระเยาว์

ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง สมัยนั้นเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มจัดการศึกษาในรูปโรงเรียน ทรงเลือกเฟ้นหาครูดีมาถวายพระอักษรแด่พระเจ้าลูกยาเธอทั้งหลาย เช่น พระศรีสุนทรโวหาร หม่อมเจ้าประภากร (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  ต้นราชสกุลมาลากุล) พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร) พระองค์เจ้าอาภากร ศึกษาวิชาภาษาไทยกับ พระยาอิศรพันธุ์โสภณ และศึกษาวิชาภาษาอังกฤษกับ มิสเตอร์ โรเบิร์ต มอแรนต์ ซึ่งเป็นหลานของฟลอเรนซ์ ไนติงเกิล

และทรงเข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนหลวง ณ พระตำหนักสวนกุหลาบจนถึง พิธีโสกันต์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 111 )


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 พ.ค. 12, 21:29
ยินดีต้อนรับคุณ NAVARAT.C ที่กรุณามาเยี่ยมเยือนกระทู้นี้ครับ  รู้สึกเป็นเกียรติมากครับ :D

หลังจากตั้งโรงเรียนราชกุมารแล้ว  ต่อมาไม่นาน ก็มีโรงเรียนราชกุมารีขึ้นในพระบรมมหาราชวังตามมา
ในขณะนั้น เรียกว่า  ศึกษาสถานพิเสศ  โรงเรียนราชกุมารี
พระอาจารย์ใหญ่  พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (ม.ร.ว.หนู  อิศรางกูร)
อาจารย์  นายริด
อาจารย์  นายธูป  ปเรียญ



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 พ.ค. 12, 21:34
ขยับจะเข้าหลายทีแล้วครับ คุณเพ็ญชมพูเฉือนไปก่อนแทบชนกลางอากาศทุกครั้ง


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 พ.ค. 12, 21:42
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) บรมครูภาษาไทย

พ.ศ. 2416 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอาจารย์สอนพระราชวงศ์ที่ยังพระเยาว์ และบุตรหลานข้าราชการ ได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ 60 บาท


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 พ.ค. 12, 23:51
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร) ท่านมีพื้นเพเป็นชาวแปดริ้ว 
ท่านเป็นมหาเปรียญ ๗ ประโยคมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓  ได้เป็นพระราชาคณะที่พระประสิทธิสุตคุณ
อยู่ที่วัดสระเกศ  ในสมัยรัชกาลที่ ๔  แล้วลาสิกขามารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๔
ความรู้ภาษาไทยภาษาบาลีของท่านเจ้าคุณนับว่าเป็นเลิศ   ตำราภาษาไทยของท่านหลายเล่ม
เป็นเครื่องยืนยันความรู้ความสามารถท่านได้อย่างดี   เสียดายที่อาจารย์สอนภาษาไทยสมัยนี้
ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากผลงานของท่าน   หนังสือตำราภาษาไทยของท่านยังหาซื้อได้อยู่ ไม่ขาดตลาด
มีทั้งถูกและแพง

พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (ม.ร.ว.หนู  อิศรางกูร) นี่ก็เก่งภาษาไทยเหมือนกัน  แต่ผลงานท่านมีน้อย
เรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับท่านจำได้ติดใจ  คือ เรื่องที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าให้ท่านตรวจแก้บทละครเรื่องมิกาโด
ที่ทรงแปลหรือพระเจ้าลูกยาเธอทรงแปลจำไม่ได้  ท่านแก้สำนวนแปลบทละครจนกลายเป็นสำนวนแปลบาลี
(เรียกว่า ติดสำนวนวัด)  รัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรเห็นดังนี้  จึงทรงนำมาปรับเป็นพระราชนิพนธ์ ชื่อ
เทศนาเรื่องมิกาทุระ  สำนวนแปลเป็นอย่างพระแปลบาลีทีเดียว  หนังสือเรื่องนี้ หาอ่านยากอยู่สักหน่อย
เพราะพิมพ์ไม่กี่ครั้ง และพิมพ์เผยแพร่ไม่มาก

พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (ม.ร.ว.หนู  อิศรางกูร) เป็นมหาเปรียญ ๗ ประโยค อยู่วัดบรมนิวาศ 
ลาสิกขาเป็นฆราวาสในสมัยรัชกาลที่ ๔  รับราชการในกรมสรรพากร สังกัดกรมท่า  แล้วย้ายมารับราชการ
ในกระทรวงวัง   ท่านได้เป็นพระยา  แต่ไม่ได้รับพระราชทานพานทองจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม
แต่ได้รับพระราชทานโกศบรรจุศพมีเกียรติยศเสมอด้วยพระยาพานทอง


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 พ.ค. 12, 06:47
มาเข้ากระทู้นี้แล้วได้ความรู้ใหม่หลายเรื่อง ต้องขอขอบคุณคุณหลวงเล็กครับ
และที่ดีใจอย่างแรงคือได้ทราบว่าอนุสาวรีย์ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในตัวเมืองฉะเชิงเทรา ไม่ไกลจากวัดหลวงพ่อพระพุทธโสธรนัก ผมขับรถผ่านไปนับสิบๆครั้งแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นของท่านผู้ใด คิดว่ารัชกาลที่๔แต่ใจไปตำหนิผู้สร้างว่าพระพักตร์ไม่เหมือน เครื่องประดับต่างๆก็ไม่มี ว่าจะจอดรถดูก็แดดร้อน จะมาทำการบ้านต่อก็ลืม บัดนี้เข้าเวปเจอโดยบังเอิญ

อนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร)  ตั้งอยู่บริเวณสามแยกถนนศรีโสธรตัดใหม่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นเพื่อยกย่องปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2364 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นปราชญ์ชาวฉะเชิงเทรา ที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุนทรโวหาร โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้เป็นองคมนตรีที่ปรีกษาราชการและทำหน้าที่เป็นเลขานุการสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เป็นผู้มีความรู้แตกฉานทั้งภาษาไทย ภาษาขอม บาลีสันสฤต และการแต่งคำประพันธ์ฉันทลักษณ์เป็นอย่างดี ผลงานสำคัญที่เป็นคุณเอนกอนันต์แก่ประเทศชาติ คือท่านได้แต่งแบบเรียนภาษาไทยไว้หลายเล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ อนันตวิภาค เขมรากษมาลา ปกีรณพจนาดถ์ พรรณพฤกษา สัตวาภิธาน และนิติสารสาธก สมเด็ยพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2542

(จากเว็บไซต์จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ผมขอน้อมจิตระลึกพระคุณท่านบรมครูภาษาไทย ณ โอกาสนี้ ด้วยบทนมัสการอาจริยคุณ ประพันธ์โดยตัวท่านเองที่เด็กไทยทุกคนต้องกล่าวพร้อมกันในวันครูทุกๆปี


    ปาเจราจริยาโหนฺติ    คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต   ทินฺโนวาเท นมามิหํ

  อนึ่งข้าคำนับน้อม      ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุน     อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
  ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ   ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน       ขยายอรรถให้ชัดเจน
  จิตมากด้วยเมตตา    และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์   ให้ฉลาดและแหลมคม
  ขจัดเขลาบรรเทาโม   หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์      ก็สว่างกระจ่างใจ
  คุณส่วนนี้ควรนับ     ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน     จิตน้อมนิยมชม
 


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 10:28
ขยับจะเข้าหลายทีแล้วครับ คุณเพ็ญชมพูเฉือนไปก่อนแทบชนกลางอากาศทุกครั้ง

มาเข้ากระทู้นี้แล้วได้ความรู้ใหม่หลายเรื่อง ต้องขอขอบคุณคุณหลวงเล็กครับ

หามิได้ครับคุณนวรัตน  กระทู้เกิดขึ้นมาไม่ใช่เพราะตัวผมเป็นต้นเหตุ  แต่เพราะมีสหายท่านหนึ่ง
ได้ไต่ถามหลังไมค์เกี่ยวกับเรื่องหนังพิมพ์ราชกุมารมา  ทำให้ผมได้ค้นข้อมูล  ค้นไปค้นมา
แล้วก็เกิดอยากรู้เรื่องโรงเรียนราชกุมารและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย  และยังได้รู้ว่า
ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่มีใครรวบรวมเอาเขียนให้เป็นเรื่องราว  ต้องอาศัยปะติดปะต่อเรื่องจากเอกสารต่างๆ
และความช่วยเหลือจากคนอ่าน   ฉะนั้น  ถ้าความดีจากกระทู้นี้จะบังเกิดมี  ย่อมไม่ใช่เฉพาะตัวผมคนเดียว
แต่ยังมีคุณเพ็ญฯ คุณนวรัตน  คุณหนุ่มสยาม ฯลฯ ที่ได้มาช่วยกันเพิ่มเติมข้อมูลให้ละเอียดกว้างขวาง
ส่วนเรื่องชนกันกลางอากาศนั้น  ก็เป็นธรรมดาครับ  บางทีช้าเร็วเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลเหมือนกัน
แต่ทั้งนี้ ใครค้นหาได้เร็วตอบได้ไว ก็ไม่ได้หมายว่า  จะถูกต้องเสมอไป  เพราะข้อมูลในโลกออนไลน์
มีทั้งที่ถูกและผิด  ต้องตรวจสอบให้ดีครับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 พ.ค. 12, 10:41
อยากจะทราบวิชาการที่เรียนในโรงเรียนราชกุมาร ว่าในคาบ ในวันหนึ่งบรรจุวิชาอะไรลงไป

ทั้งนี้ในระยะเวลาดังกล่าว การศึกษาของไทยเริ่มเบ่งบานมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มีโรงเรียนเอกชนก็มีแล้ว โรงเรียนแห่งแรกที่วัดมหรรณฯ ก็เกิดแล้ว จึงอยากถามคุณหลวงดูว่า วิชาการในแต่ละคาบ เรียนอะไรบ้าง  ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 12:55
^ ออกขุนตั้งคำถามได้ดีมาก  แต่หาคำตอบได้ยาก    ผมยังค้นไม่เจอคำตอบที่กระจ่างแจ้ง
มีแต่ข้อมูลที่กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างรวมๆ ไม่ได้มีการระบุการแบ่งคาบ รายวิชาที่สอน  และโปรแกรมรายวิชา
ที่สอนใน ๑ สัปดาห์    ครั้นจะอนุมาน (เดา หรือสันนิษฐานเทียบเคียง)  ก็เกรงว่าจะผิดพลาดได้
เพราะการเรียนการสอนเจ้านายย่อมไม่กำหนดตายตัว  อย่างโรงเรียนทั่วไป    อาจจะเรียนเฉพาะครึ่งวันเช้า
แล้วบ่ายก็ว่าง  ไม่มีการเรียนการสอน  หรือถ้าหากิจกรรมอื่นๆ ให้นักเรียนทำเพื่อเพิ่มทักษะ  ก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี คาดว่า  ตารางเรียนของโรงเรียนราชกุมารอาจจะคล้ายกันกับตารางเรียนของโรงเรียนมหาดเล็ก
ซึ่งอยู่ใกล้กัน   แต่ที่ทราบแน่ๆ ว่าสอนวิชาอะไรบ้าง  ก็มี วิชาหนังสือไทย และหนังสืออังกฤษ เป็นหลัก
หนังสือไทยนี้  คงใช้ตำราแบบเรียนของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  แล้วใช้หนังสือ
พงศาวดารไทย พงศาวดารจีนบ้าง  วรรณคดีไทยเป็นแบบฝึกอ่าน  

ทั้งนี้ในปีก่อนที่จะเริ่มเปิดกิจการของโรงเรียนราชกุมาร  ก็ได้มีการแต่งตำราเรียนขึ้นมาหลายเล่ม
แต่ก็ยังหนักไปทางตำราเรียนหนังสือไทยและแบบหัดอ่าน   ที่เป็นตำราวิชาอื่นมีน้อย
แต่หลังปี ร,ศ, ๑๑๙ เป็นไป  ตำราเรียนเริ่มมีมากขึ้นและมีเนื้อหาวิชาที่หลากหลาย

ถ้าออกขุนจะช่วยหาข้อมูลว่า โรงเรียนราชกุมาร  สอนวิชาอะไรบ้าง จัดแบ่งคาบเรียนแต่ละวันในแต่ละสัปดาห์อย่างไร
ก็ดีไม่น้อย  

ทั้งนี้  ต้องขอบบอกว่า  วิชาการที่สอนของแต่ละโรงเรียนในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมากเน้นไปที่ วิชาหนังสือไทย
และวิชาเลข   ส่วนวิชาภาษาอังกฤษนั้น  ยังต้องอาศัยครูฝรั่งเป็นผู้สอน ซึ่งก็มีน้อยนัก   โรงเรียนตามวัด
ก็เป็นแต่พระสงฆ์ หรือมหาเปรียญ หรือทิดลาสิกขามาทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือ  ซึ่งก็รู้แต่ภาษาไทยเป็นพื้น
อีกอย่าง  แต่ละโรงเรียนก็กำหนดการเรียนการสอนไม่เหมือนกันนัก  ขึ้นอยู่กับโรงเรียนแลครูผู้สอนจะจัดการ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 13:05
ขอแก้ไขข้อมูลเล็กน้อย

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พระยาเทเวศร์วงษวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน)
พระอาจาริย์มอแรนต์
เจ้าหมื่นไวยวรนารถ
นายจ่ายง
นายจ่าเรศ บาญชีเงิน (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์))

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (ชื่อ เนตร  ยังไม่ทราบนามสกุล)
มิสเตอร์ เชยมส์  อาจาริย์
มิสเตอร์ เลวิส  อาจาริย์
มิสเตอร์ โรล์ฟ  อาจาริย์
ขุนบำนาญวรวัจน์  อาจาริย์
ขุนบัญญัติวรวาท  อาจาริย์
นายนกยูง  อาจาริย์  (ใช่นายนกยูง ที่แปล "ความพยาบาท" หรือเปล่า?)



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 พ.ค. 12, 13:18
กิจกรรมของโรงเรียนราชกุมาร

ร.ศ. ๑๑๑ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดแสดงนิทราชาคริต เป็นภาพนิ่งชุดเด็กขึ้นอีกของโรงเรียนราชกุมาร

๑. หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล

๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95)

๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%A1)

๔. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2)

๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C)

๖. หม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล

๗. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%98%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C)

๙. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8E%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7)

๑๐. หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์

๑๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A)

๑๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8A)

๑๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3)

๑๔. สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%96_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%96)

๑๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99)


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=27722;image)

๘. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ?

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 13:33
ผมจะขอข้ามรายละเอียดเรื่องโรงเรียนราชกุมารไว้ก่อน  แต่ถ้าใครมีรายละเอียดจะเพิ่มเติมก็เชิญลงได้

ผมจะขอเล่าประวัติมหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์) แต่พอสังเขป
แล้วจะได้เข้าเรื่องหนังสือพิมพ์ราชกุมารต่อไป


พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)  

-เป็นบุตรพระยาอภัยพิพิธ (เสพ  สุรนันทน์) กับคุณหญิงเปลี่ยน

-เกิดปีระกา เดือน ๔ วันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ  (๒๔ เมษายน ๒๔๐๓)

-เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนโรงละครหลังวัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวัง
สอบไล่ได้ชั้นพิศาลการันต์ อันเป็นหลักสูตรสูงสุดในขณะนั้น เมื่อปี ๒๔๑๙

-อายุได้ ๑๖ ปี บิดาพาเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ หน้ายามไชยขรรค์ เวรศักดิ์
ได้เบี้ยหวัดปีละ ๘ บาท

-๒๔๒๑  เป็นมหาดเล้กรับใช้ในพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร  เบี้ยหวัด ๑๖ บาท

-๒๔๒๗ ได้เบี้ยหวัดเพิ่มเป้น ๔๐ บาท

-๒๔๒๙ เป็นนายรองพิจิตรสรรพการ  เบี้ยหวัด ๖๐ บาท เงินเดือน ๕ บาท

-๒๔๓๐ เป็นผู้ดูแลเก็บรักษาเครื่องทรงพระอักษรของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เบี้ยหวัด ๘๐ บาท

-๒๔๓๑ เงินเดือนขึ้นเป็น ๑๐ บาท

-๒๔๓๓ เป็นนายสนิท หุ้มแพรนายยามเวรศักดิ์  เบี้ยหวัด ๑๒๐ บาท

-๒๔๓๔ เบี้ยหวัดเพิ่มเป็น ๑๖๐ บาท เงินเดือน ๓๐ บาท

-๒๔๓๖ เป็นนายจ่าเรศ  ปลัดเวรฤทธิ์ และรับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร  เงินเดือน ๖๐ บาท

-๒๔๔๑  เป็นเลขานุการในกองบัญชาการ กรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๑๒๐ บาท

-๒๔๔๒  เป็นหลวงเดช นายเวรเวรเดช  เงินเดือน ๑๖๐ บาท

-๒๔๔๗  เป็นผู้ดูแลโรงเรียนราชกุมาร  เงินเดือน ๒๐๐ บาท

-๒๔๔๙ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนมหาดเล้ก  เงินเดือน ๓๐๐ บาท

-๒๔๕๒ โปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้ากรมหลวงนครราชสีมา  เงินเดือน ๓๔๐ บาท

-๒๔๕๓ เป็นพระยาบำรุงราชบริพาร  จางวางมหาดเล็ก เงินเดือน ๔๐๐ บาท

-๒๔๕๕  รับราชการในกองทะเบียน กรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๖๐๐ บาท

-๒๔๕๖  ได้ยศจางวางตรี  ในกรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๗๐๐ บาท

-๒๔๕๘  เป็นปลัดบาญชี  กรมมหาดเล็กรับใช้

-๒๔๖๓  โปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการเพื่อรับพระราชทานบำนาญเนื่องจากสูงอายุและรับราชการมานาน
รับบำนาญปีละ ๔๒๐๐ บาท

-๒๔๗๐ เป็นพระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล

-สมรสกับคุณหญิงแฝง  ธิดาพระยาอร่ามมณเฑียร (โหมด  หงสกุล) เมื่อ ๒๔๒๒

-มีบุตรธิดา  ๔  คน  ๑  บุตรไม่มีชื่อถึงแก่กรรมแต่เยาว์  ๒  คุณหญิงบุนนาค พิทักษ์เทพมณเฑียร
๓  พระพี่เลี้ยงหวน  อนุภาณสิศยานุสรรค์   ๔  พระภูมีสวามิภักดิ์ (เกริ่ม  สุรนันทน์)

-๒๔๖๕  ป่วยเป็นอัมพาต  เดินไม่ได้

-๑๑ เมษายน ๒๔๘๐  ถึงแก่อนิจกรรม  อายุ ๗๖ ปี ๑๑ เดือน ๑๗ วัน



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 พ.ค. 12, 23:02
นำหนังสือพิมพ์ของโรงเรียนราชกุมารมาให้ชม ราคาฉบับละ ๑ สลึง ใช้ชื่อว่า "กุมารวิทยา" ตรงกลางเป็นตราอาร์มห้าเหลี่ยม แหลมลงล่าง พื้นที่ภายในแบ่งเป็น ๓ ช่อง ช่องซ้ายเป็นรูปวงหน้าสวมมงกุฎ ช่องขวาเป็นตราพระเกี้ยวบนหมอน ด้านล่างเป็นหนังสือกางไว้  บนกรอบห้าเหลี่ยมเป็นตราพระราชจักรีวงศ์ คือ จักรและตรี

พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ กุมารวิทยา บริษัท


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 พ.ค. 12, 23:06
มิสเตอร์โรเบิตร์ มอรันต์ หรือที่เรียกว่า ครูโรฟ ได้รับเงินพระราชทานค่าจ้างสอนปีละ ๖๐๐ ปอนด์ พร้อมบ้านพักอาศัย (ตกเดือนละ ๕๐ ปอนด์) และชะตาชีวิตของครูโรฟ หันเหไปเมื่อเกิดวิกฤตการณ ร.ศ. ๑๑๒ ครูโรฟถูกเลิกจ้างและเดินทางกลับบ้านที่อังกฤษ ไปรับราชการที่ประเทศอังกฤษจนได้รับตำแหน่ง "เซอร์"


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 พ.ค. 12, 10:31


        นิยมคุณหนุ่มสยามที่กรุณาโพสรูปหายากมาให้ดูกัน     

รู้จักแต่มิสเตอร์มอรันต์ค่ะ           แล้ว "โรฟ"  นี่จะไปหาอ่านได้จากไหนคะ   


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ค. 12, 11:06
ภาพนี้เจอในเวป บรรยายว่าเป็นโรงเรียนราชกุมารสมัยรัชกาลที่๕

ท่านชมกันแล้ว คิดว่าใช่หรือไม่ใช่?


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ค. 12, 12:09
คำบรรยายภาพมีเพียงว่า "โรงเรียนในสยาม"


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ค. 12, 12:51
^

ขอบคุณครับ ชัดขึ้นเยอะเลย

ไม่ใช่โรงเรียนธรรมดาๆแน่ๆ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 พ.ค. 12, 13:00
ประวัติเซอร์โรเบิร์ต  มอแรนต์ (อย่างสังเขป) จากเอกสารทางไทย

เซอร์โรเบิร์ต  มอแรนต์  เป็นชาวอังกฤษ
เกิดเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๔๐๖  ณ ตำบลแฮมสเต็ค  กรุงลอนดอน
เป็นบุตรนายและนางโรเบิร์ต  มอแรนต์  
มร.มอแรนต์ ได้เดินทางเข้ามาปฏิบัติราชการในสยามนาน ๗ ปี
จากนั้นได้เดินทางกลับไปยังประเทศอังกฤษ รับราชการอยู่ ๒๕ ปี
ได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษา และปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ถึงแก่กรรมเมื่อปี ๒๔๖๒  สิริอายุได้  ๕๗  ปี


มร.มอแรนต์  เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนอนุบาลใกล้บ้าน
แล้วย้ายไปเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนฮีทเมานต์ เมื่อปี ๒๔๑๔
จากนั้น  ได้ไปเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนวินเชสเตอร์  เมื่อปี ๒๔๑๙
ในระหว่างที่เรียนหนังสืออยู่นั้น  มร.มอแรนต์มีนิสัยเด่นอย่างหนึ่ง คือ
ชอบเดินเล่นเป็นระยะทางไกลๆ  ชอบเล่นกีฬายิมนาสติก  ชกมวย  และสควอช
ต่อมา  ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เมื่อปี ๒๔๒๔
มร.มอแรนต์ เป็นนักเรียนดีแต่มีฐานะยากจน  ทางมหาวิทยาลัยจึุงได้หาทุนมาช่วยเหลือ
จำนวน ๒ ทุน

ในระหว่างที่ปิดภาคเรียน  มร.มอแรนต์ ยังได้หารายได้โดยรับจ้างเป็นครูพิเศษ
เมื่อเรียนจบในระยะเวลา ๔ ปี ก็ได้ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม
...



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 พ.ค. 12, 13:13
ในกระดานดำ ครูอาจารย์ท่านเขียนอะไรให้เด็กน้อยท่องอ่านกันหนอ  ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ค. 12, 13:22
มาอีกรูปนึงแล้ว โรงเรียนแห่งแรกในสยาม (ตามรูป)
ลองตามไปอ่านในเวปดูเถอะครับ ผมไม่ทราบจะวิจารณ์อย่างไร เชิญท่านอื่นก็แล้วกัน

http://veryhistory.pad-soa-th.com/documentary/6565


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ค. 12, 13:32
ในกระดานดำ ครูอาจารย์ท่านเขียนอะไรให้เด็กน้อยท่องอ่านกันหนอ  ???

น่าจะเป็นโจทย์วิชา "คณิตศาสตร์"

เดาคำหนึ่งได้ว่า "๓๕๐๐ บาท"

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 พ.ค. 12, 13:39
ประวัติเซอร์โรเบิร์ต  มอแรนต์ (อย่างสังเขป) จากเอกสารทางไทย (ต่อ)

...ครั้นถึงปี ๒๔๒๘ มร.มอแรนต์ ได้ไปสมัครเป็นครูโรงเรียนเทมเปิลโกรฟ  เมืองอีสต์ซีน
ในระหว่างนี้ ท่านได้อ่านหนังสือประทีปแห่งเอเซีย (The Light of Asia)แล้วเกิดความสนใจ
พระพุทธศาสนาเป็นกำลัง  คิดอยากจะเดินทางมาทำงานในเอเชียอยู่

ต่อมา ปี ๒๔๒๙  ท่านได้รับคัดเลือกให้มารับหน้าที่เป็นครูถวายพระอักษร
พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์
เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น
ในครั้งนั้น มร.มอแรนต์ ได้ฝึกให้นักเรียนเดินเล่นเป็นระยะทางไกลๆ
เพื่อออกกำลังกาย อยู่เป็นประจำ

ปี ๒๔๓๑  ท่านได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับหน้าที่
เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  สยามมกุฎราชกุมาร  และพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๕

ปี ๒๔๓๗ เดินทางกลับมาตุภูมิ

อนึ่งในระหว่างที่ได้รับหน้าที่เป็นพระอาจารย์นั้น  มร.มอแรนต์ ได้กราบถวายบังคมลา
กลับไปพักผ่อนที่ประเทศอังกฤษครั้งหนึ่ง  และได้ช่วยจัดหาอาจารย์ชาวต่างประเทศ
มาช่วยสอนในโรงเรียนราชกุมารและในโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ด้วย

มร.มอแรนต์ เมื่อมารับราชการเมืองสยาม ได้แต่งหนังสือแบบเรียนภาาษอังกฤษไว้ ๕ เล่ม คือ
แบบเรียนเล่ม ๑ สอนอ่าน    แบบเรียนเล่ม ๒ สอนเขียน  แบบเรียนเล่ม ๓ สอนแปลอังกฤษเป็นไทย
แบบเรียนเล่ม ๔ สอนแปลไทยเป็นอังกฤษ   และแบบเรียนเล่ม ๕ สอนการเขียนจดหมายและไวยากรณ์
แบบเรียนทั้ง ๕ เล่มนี้ เป็นแบบเรียนที่ มร.มอแรนต์ แต่งขึ้นเพื่อใช้สอนนักเรียนไทยโดยเฉพาะเชียวนะ.
 


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 พ.ค. 12, 13:59
ภาพชั้นเรียนที่มีนักเรียนนั่งเรียนเป็นแถวนั้น  ชะรอยว่าจะไม่ใช่โรงเรียนราชกุมาร
เนื่องด้วยเหตุผลดังนี้ 

๑.ครูที่สอนเป็นสตรี  ไม่น่าจะมาสอนในโรงเรียนราชกุมารที่อยู่ฝ่ายหน้า

๒.นักเรียนในภาพดูจะไม่ใช่เจ้านาย แต่อาจจะมีนักเรียนชั้นสูงถึงหม่อมเจ้าบ้างบางคน

๓.บรรยากาศนอกเรียนที่แลเห็นต้นไม้นั้น  ดูไม่สัมพันธ์กับที่ตั้งของโรงเรียนราชกุมาร
ซึ่งอยู่ด้านหลังตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และมีอาคารอื่นๆ ของฝ่ายวังอยู่ใกล้เคียง

๔.ภาพนี้เคยเห็นผ่านตาอยู่  ดูจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ไปทางท้ายวัง แตจ่ไม่กล้าชี้ชัดว่า
เป็นโรงเรียนอะไร  โรงเรียนสุนันทาลัย  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  ?????


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 พ.ค. 12, 18:13
ภาพหน้าหนังสือพิมพ์ กุมารวิทยา นั้นน่าสนใจ  ดดยเฉพาะหน้านี้เป้นที่อ้างอิงกันมาก
เพราะมีบทความเกี่ยวกับการถ่ายรูป  จำได้คุณเอนกเป็นผู้เอามาอ้างถึงคนแรก
แล้วหลังจากนั้นคนอื่นก็เอาไปอ้างต่อจนแพร่หลาย

หนังสือพิมพ์ราชกุมาร กับหนังสือพิมพ์ กุมารวิทยา มีที่กำเนิดจากแหล่งเดียวกัน
คือ โรงเรียนราชกุมาร  แต่เกิดต่างเวลากัน  หนังสือพิมพ์ราชกุมารเกิดขึ้นก่อน
แล้วจึงเกิดหนังสือพิมพ์กุมารวิทยาในกาลต่อมา 
ต้องขอบคุณออกขุนที่เสาะหามาให้ชม  อันที่จริงจะชมแต่เช้า
แต่ก็ติดพันเขียนตอบกระทู้โน้นนี้และทำงานมิได้ว่าง  จนละเลยทิ้งไว้จนถึงยามเย็น


อนึ่ง  การที่มร.มอแรนต์ (มอรันต์) ได้เข้ามาถวายพระอักษรสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
และพระเจ้าลุกยาเธอทั้งหลาย  ก็คงเป็นเพราะพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์
ทรงชักชวนมร.มอแรนต์และกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ เป็นแน่  นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าค้นคว้าต่อไป

อนึ่ง  ดรงเรียนราชกุมารนี้  สำเร็จขึ้นได้ ก้เพราะมิสเตอร์มอแรนต์ได้รับพระราชดำริจากรัชกาลที่ ๕
ให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนราชกุมาร (เป็นการลับ ไม่เป็นทางการ) นี่หากว่ามร.มอแรนต์ไม่ได้เป็นครูมาก่อน
คงจะจัดการตั้งโรงเรียนตามพระราชประสงค์มิได้รวดเร็วและเรียบร้อย


อันที่จริงก็อยากรู้ต่อไปว่า  แล้วมร.มอแรนต์ได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทนพระราชทาน
ในการเป็นพระอาจารย์ตลอดเวลาที่รับราชการเมืองไทย นอกจากเงินเดือนและบ้านพักพระราชทาน ??? ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ค. 12, 19:16
๔.ภาพนี้เคยเห็นผ่านตาอยู่  ดูจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ไปทางท้ายวัง แตจ่ไม่กล้าชี้ชัดว่า
เป็นโรงเรียนอะไร  โรงเรียนสุนันทาลัย  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  ?????

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเล่าเรื่องการไว้จุกของนักเรียนโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ไว้ในบทความเรื่องความระลึกของนักเรียนสวนกุหลาบเดิม หนังสือรายเดือน "สวนกุหลาบวิทยา" ฉบับ "ฉัตรมงคลสาร" ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ว่า

นักเรียนสวนกุหลาบสมัยนี้เห็นจะไม่มีใครไว้จุก ถ้าไว้จุกจะเสียเปรียบมาก เพราะเรามีพนักงานคอยเกล้าจุกทุกวัน ยายนั่นแกมีการเกล้าจุกเป็นอาชีวะ หรือถ้าไม่ใช่อาชีวะแท้ก็จวนจะเป็น เพราะแกไม่มีทางได้อย่างอื่นเป็นแน่

ทุก ๆ วันพอเวลาสายหน่อย แกก็ออกมาจากในวัง มีหีบเครื่องใช้คือ หวีและขี้ผึ้ง น้ำมัน เป็นต้น มาพร้อม แกถือหีบเดินเร่ไปในโรงเรียนเวลาหยุดเรียน พบเด็กคนไหนจุกยุ่ง แกก็จับตัวเกล้าให้

เด็กบางคนถือหัวไม่ให้ใครจับไม่ให้แกเกล้าต้องยอมจุกยุ่งไปจนวันพระ

ข้าพเจ้าเองเคยได้ทุกข์ด้วยเหตุนั้นครั้งหนึ่งเพราะจุกลุ่ยลงมาเมื่อกำลังสอบไล่ มัวเป็นห่วงจุกจนเขียนหนังสือผิดไปเป็นกอง


 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 พ.ค. 12, 19:33
อยากจะทราบวิชาการที่เรียนในโรงเรียนราชกุมาร ว่าในคาบ ในวันหนึ่งบรรจุวิชาอะไรลงไป

ทั้งนี้ในระยะเวลาดังกล่าว การศึกษาของไทยเริ่มเบ่งบานมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มีโรงเรียนเอกชนก็มีแล้ว โรงเรียนแห่งแรกที่วัดมหรรณฯ ก็เกิดแล้ว จึงอยากถามคุณหลวงดูว่า วิชาการในแต่ละคาบ เรียนอะไรบ้าง  ???

เท่าที่ทราบมีวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภูมิศาสตร์ วิชาเลข  ;)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 พ.ค. 12, 19:52
ประวัติเซอร์โรเบิร์ต  มอแรนต์ (อย่างสังเขป) จากเอกสารทางไทย

เซอร์โรเบิร์ต  มอแรนต์  เป็นชาวอังกฤษ



นามของครูมีชื่อกลาง ซึ่งชื่อเต็มคือ "Sir Robert Laurie Morant" โรฟอาจนะเป็นชื่อกลางที่เรียกัน  ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ค. 12, 20:08
น่าจะมาจากชื่อแรก  Robert  ชื่อเรียกสั้น ๆ คือ Rob ร็อบ 

นักเรียนออกเสียงเป็น โรบ  คนบันทึกเป็น โรฟ

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 พ.ค. 12, 20:14
อันที่จริงก็อยากรู้ต่อไปว่า  แล้วมร.มอแรนต์ได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทนพระราชทาน
ในการเป็นพระอาจารย์ตลอดเวลาที่รับราชการเมืองไทย นอกจากเงินเดือนและบ้านพักพระราชทาน ??? ???

มร.มอแรนต์ ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยในการจัดหาครูมาสอนเพิ่มเติม เป็นความก้าวหน้าด้านการศึกษาของประเทศสยาม โดยทรงมอบหมายให้เป็นธุระของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปรึกษากับมร.มอแรนต์ ให้คัดเลือกครูสตรีจำนวน ๖ ท่าน และให้มาสอนในสกูลในสังกัดสมเด็จพระนางเจ้า ซึ่งต่อมาคือ "โรงเรียนราชินี"

แต่ใช่ว่าจะมอบความไว้วางพระทัยแล้วครูมอแรนต์ ยังจะติดนิสัยค่อนไปทาง ทะนงตนนิดหน่อย ในเรื่องที่ไม่ยอมรับครูสอนเพิ่มเติมซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสที่จะรับเข้ามาช่วยสอนภาษาในโรงเรียนราชกุมาร มร.มอแรนต์อาจจะหัวเสียสักหน่อย


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 30 พ.ค. 12, 20:22
รอชม หนังสือพิมพ์ราชกุมาร จนผ่านไป ๔ หน้าแล้ว คุณหลวง ก็ยังรำหน้าม่าน ไม่จบขบวน ขออาราธนา ขึ้นตัวหนังสือให้ชมเทอญ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ค. 12, 20:25
นิดนึงครับ


อ้างถึง
น่าจะมาจากชื่อแรก  Robert  ชื่อเรียกสั้น ๆ คือ Rob ร็อบ  

นักเรียนออกเสียงเป็น โรบ  คนบันทึกเป็น โรฟ

Rob ฝรั่งอ่านออกเสียงว่า โรบ จริงๆด้วย

http://www.howjsay.com/index.php?word=rob&submit=Submit


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 พ.ค. 12, 21:02


คุณหนุ่มสยาม

        โปรดสั่งวงซ้อมฉุยฉายไว้คอยท่า


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 พ.ค. 12, 21:16


คุณหนุ่มสยาม

        โปรดสั่งวงซ้อมฉุยฉายไว้คอยท่า

ฉุยฉายก็แล้ว เชิญแขกก็แล้ว .... กลัวแต่เกรงว่า จะปิดวิกหนี  ;D ;D ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 12, 08:45
รอชม หนังสือพิมพ์ราชกุมาร จนผ่านไป ๔ หน้าแล้ว คุณหลวง ก็ยังรำหน้าม่าน ไม่จบขบวน ขออาราธนา ขึ้นตัวหนังสือให้ชมเทอญ



คุณหนุ่มสยาม

        โปรดสั่งวงซ้อมฉุยฉายไว้คอยท่า

ฉุยฉายก็แล้ว เชิญแขกก็แล้ว .... กลัวแต่เกรงว่า จะปิดวิกหนี  ;D ;D ;D

ขึ้นเรือนมาเพลาเช้า  ตะวันฉายแสงแจ่มจ้า  บรรยากาศกำลังแจ่มใสอยู่แท้ๆ
ก็ต้องหยิบดาบมามารำกรายที่หน้าม่านแต่เช้า  ซึ่งดูจะไม่เข้ากับบรรยากาศยามเช้า
แต่ด้วยความจำเป็นบางประการ  ก็ต้องทำ

ท่านทั้งหลาย  ผู้มีความกระหายใคร่รู้ในสรรพวิชาการต่างๆ ย่อมแสวงหาความรู้อยู่เสมอ
แลการแสวงหาความรู้นี้  แต่ละคนก็มีวิธีการเรียนรู้แตกต่างกันไปตามพื้นฐานและอัธยาศัยของตน
ความรู้บางอย่างเป็นของใหม่  ไม่ใช่เรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจรู้จักกันอย่างซึมทราบ
เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งจะเริ่มศึกษาค้นคว้าหรือนำไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่น  จำต้องพิจารณาพื้นฐานความรู้ของตน
หรือผู้ที่รับฟังด้วย   จริงอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน  นักเรียนบางคนอาจจะมีพื้นความรู้ยิ่งกว่า
นักเรียนคนอื่นๆ ด้วยอาศัยเหตุว่าได้พบได้เห้นได้อ่านมามาก  อันทำให้ได้เปรียบนักเรียนในห้อง
แต่นั่นจะเป็นเหตุให้ผู้สอนจะทำการรวบรัดตัดความเข้าสู่เนื้อหาหลักที่ต้องการสื่อต้องการถ่ายทอด
โดยไม่ได้คำนึงถึงนักเรียนคนอื่นๆ ที่มีพื้นฐานประสบการณ์น้อยหาได้ไม่  หากทำเช่นนั้น
ผู้ที่รู้มากก็จะกระโดดก้าวพ้นกำแพงไป  ส่วนคนที่เหลือซึ่งยังมีความรู้ไม่กว้างพอ  ก็จะต้องมานั่งหาความรู้
เพิ่มเติม  เพื่อปะติดปะต่อเรื่องราวความรู้ที่อยู่ในระหว่าง  เพื่อจะเข้าใจสิ่งใหม่นั้น  แน่นอนว่าย่อมจะมีคำถามตามมาอีกมาก
คำถามเหล่านี้  หลายคำถามเป็นคำถามที่พึงไขความเสียก่อน  เพื่อให้ผู้รับฟังได้มีพื้นความรู้พอๆ กัน

หากจะยกตัวอย่างในกระทู้นี้  ก็พึงยกเรื่องตำแหน่งที่ตั้งโรงเ้รียนราชกุมาร  บางท่านก็ยังชี้ตำแหน่งคลาดเคลื่อน
ครูอาจารย์ในโรงเรียนแห่งนั้นมีใครบ้าง แต่ละคนมีประวัติอย่างไร  หลายคนก็ไม่ทราบ  หรือทราบแต่เพียงผิวเผิน
ยังไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็ควรจะทำความเข้าใจ ค้นหาข้่อมูลมาสอบสวนจนแน่ใจว่า
สิ่งที่ได้เล่ามานี้ถูกต้องเชื่อถือได้   

ฉะนั้น  ที่ผ่านมา ๔ หน้ากระทู้  บางท่านอาจจะไม่พอใจ  เห็นว่าผมใจเย็นมัวแต่รำฉุยฉายหน้าม่าน
หรือมัวแต่ขี่ม้ารำทวนเลียบค่ายข้าศึก  ไม่ยอมบุกประจันบานประมือกับปรปักษ์ให้เห็นฝีมือ
แท้จริงแล้ว  หาเป็นเช่นนั้นไม่   การที่ผมหน่วงให้เนิ่นช้ามาถึง ๔ หน้ากระทู้นี้  จะว่าเป็นการเรียกแขกเข้าเรียนก็ได้
แต่ก็พึงเข้าใจด้วยว่า  ใน ๔ หน้ากระทู้นี้  หาใช่ผมมารำอยู่คนเดียวไม่  มีหลายท่านมาช่วยกันรำเป็นสนุกสนาน
รื่นเริงด้วยความรู้อันเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งสิ้น  บางคนมีใจเอื้อเฟื้อหาข้อมูลตรงโน้นตรงนี้มาใส่มาเสริมเพิ่มให้ 
บางคนหาภาพมาประกอบเรื่องให้คนอ่านเข้าใจ  ในเมื่อยังมีหลายเรื่องที่ยังไม่แน่ใจ  ก็ต้องค้นคว้าตรวจสอบ
ให้แน่ใจและเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันก่อน  จากนั้นจะเคลื่อนกระบวนต่อไปอย่างไร  ก็ย่อมจะสะดวกดาย

แน่นอนว่า  ท่านที่ใจร้อน  อาจจะทนรอมิไหว  ด้วยเวลานาทีของท่านมีค่า   หากมาเสียเวลากับละครเบิกโรงเช่นนี้
อาจจะทำให้พลาดโอกาสอันอื่นไปด้วย เหมือนเจรจาซื้อหนังสือเก่า  บางทีคนขายมีเวลาน้อย  อยากจะปล่อยของ
แต่คนซื้อเจรจาต่อรองราคาอยู่จนออกจะหน่าย  คนขายอาจจะตัดสินไม่ขายแล้วเอาไปเสนอขายคนอื่นรายถัดไปทันที


แต่การเรียนรู้จะเอาความเร่งรีบเป็นที่ตั้งไม่ได้   ผมอยากให้ผุ้สนใจทุกคนมีส่วนร่วมกับกระทู้นี้
จึงไม่รีบเล่าเรื่องหนังสือพิมพ์ราชกุมารทันที   เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น  ผมสแกนหน้าเอกสาร ๑๐-๒๐ หน้า
มาลงทีเดียว  แล้วปิดกระทู้เป็นอันจบ  ใครไม่เข้าใจก็ปล่อยให้เป็นไปยถากรรม  ถ้าทำเช่นนั้นจะเกิดประโยชน์แก่คนส่วนน้อย
ดุลปลายนิ้วอันแห้งที่คนผู้หนึ่งได้วางลงบนจานเมล็ดงา  ย่อมได้เมล็ดงาติดไม่มาก 

ผมขออนุญาตรำดาบในยามเช้าแต่เพียงเท่านี้  เนื่องจากมีภารกิจต้องไปตรวจเอกสารราชการในต่างท้องที่

ส่วนพิณพาทย์ตะโพนของออกขุนที่รับเชิญมาตามคำของคุณวันดี  ถ้าช่วงนี้ยังว่างงาน ไม่มีใครจ้างไปไปที่ไหน
ก็ฝากบรรเลงหน้าม่านไปพลางๆ ก่อน  ส่วนใครจะทนรอไม่ได้   กรุณาไปเยี่ยมเยือนกระทู้อื่นก่อนก็ได้

อ้อ  ส่วนเรื่องปิดวิกหนีนั้น  ไม่คิดจะทำ  ด้วยเห็นแก่ประโยชน์ความรู้ที่เป็นที่ตั้ง  ไม่ใช่ชื่อเสียงของตัวผมเอง
ฉะนั้น  อย่าได้คิดเกรงกลัวไปเองให้ฟุ้งซ่านจนธาตุทั้งสี่ในร่างกายแปรปรวนไปเลยครับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 31 พ.ค. 12, 09:22


        เมื่อมีดาบกับม่านก็คงเป็นขุนแผนแสนศักดิ์

         รำได้หมดจดสง่างาม   น่าส่งไปในงานหนังสือเก่ากลางเดือนหน้านัก


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 09:52
มร.มอแรนต์ เมื่อมารับราชการเมืองสยาม ได้แต่งหนังสือแบบเรียนภาาษอังกฤษไว้ ๕ เล่ม คือ
แบบเรียนเล่ม ๑ สอนอ่าน    แบบเรียนเล่ม ๒ สอนเขียน  แบบเรียนเล่ม ๓ สอนแปลอังกฤษเป็นไทย
แบบเรียนเล่ม ๔ สอนแปลไทยเป็นอังกฤษ   และแบบเรียนเล่ม ๕ สอนการเขียนจดหมายและไวยากรณ์
แบบเรียนทั้ง ๕ เล่มนี้ เป็นแบบเรียนที่ มร.มอแรนต์ แต่งขึ้นเพื่อใช้สอนนักเรียนไทยโดยเฉพาะเชียวนะ.

แบบเรียนภาษาอังกฤษ บันไดเล่ม ๑  เสอรฺ โรเบิต มอแรนดฺ เรียบเรียง


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 10:01
(ต่อ)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 10:07
ตัวอย่างหนังสือจาก เว็บหนังสือหายาก (http://www.digitalrarebook.com/index.php?lay=show&ac=cat_show_pro_detail&cid=6932&pid=70752)

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 10:27
หลังจากที่ เสอรฺ โรเบิต มอแรนดฺ เดินทางกลับประเทศอังกฤษแล้ว ท่านก็ยังเป็นธุระดูแลนักเรียนทุนหลวงของกระทรวงธรรมการอยู่  

คราเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) นักเรียนทุนหลวงกระทรวงธรรมการไปศึกษาวิชาครูต่อที่ประเทศอังกฤษ ณ วิทยาลัยฝึกหัดครูเบอโรโรด (Borough Road College) ณ เมืองไอส์ลเวิซท์ (Isleworth) ทางใต้ของกรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ก็อยู่ภายใต้การดูแลของท่านเสอรฺ โรเบิต มอแรนดฺ

ข้อมูลจาก คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5_(%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%93_%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2))

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 12, 16:28
ท่านทั้งหลาย  วันนี้ผมได้ไปตรวจเอกสารราชการมา  
ได้ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับโรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนราชกุมารี
แต่ครั้นจะเอามาลงเผยแพร่ในกระทู้นี้  ก็เห็นว่ายังไม่ถึงเวลา
ควรจะชะลอไว้จนกว่าจะเลยกลางเดือน ๗ ไปแล้ว

อนึ่ง  มีข้อมูลเรื่องนายมอแรนต์น่าสนใจอยู่พอสมควร  
ตอนท้ายของการสอน  นายมอแรนต์แผลงฤทธิ์จนฝ่ายสยามเห็นจะจ้าง
ให้เป็นพระอาจารย์สอนพระราชกุมารต่อไปมิได้  เหตุผลมาจากตัวนายมอแรนต์
ทำให้ทรงเบื่อหน่ายนั่นเอง

ครูโรล์ฟ มีปัญหาสุขภาพ  หมอไนติงเกลแนะนำให้ไปรักษาตัวที่ยุโรป
ไม่เช่นนั้นคงได้ฝังที่เมืองไทย   ยังมีครูอีกหลายคน  ทุกคนมีเรื่องให้ทรงหนักพระทัย
เช่น  ขอขึ้นเงินเดือน   ขอโน่นขอนี่  

อ้อ  ที่น่าสนใจอีกประการคือ  การบ้านแบบฝึกหัดของบรรดาพระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕
เป็นลายพระหัตถ์แท้จริง (ที่ไม่ใช่มหาดเล็กคัดเขียนถวาย)

นอกจากนี้ยังตารางเรียนวิชาการของโรงเรียนราชกุมารที่ใครบางคนอย่างเห็นนักหนา
ก้มีให้ดู  

อีกหน่อย  แถมท้าย  ผมอยากจะให้ท่านช่วยกันทายว่า  โรงเรียนราชกุมารีนั้นตั้งอยู่ที่ไหน
ในพระบรมมหาราชวัง ??? ;D



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 16:31
^
^
พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 12, 16:32
อ้อ  ลืมไป  ขอบคุณคุณเพ็ญฯ ที่มีแก่ใจหาแบบเรียนที่นายมอแรนต์แต่มาประกอบกระทู้
มีแค่เล่มเดียวหรือครับ  ถ้าครบชุดก้จะดีไม่น้อย   แถวทุ่งพระเมรุจะขายไหมหนอ
จะไปซื้อสัก ๒-๓ ชุด  อิอิ  (ไม่เอาดีกว่า  เดี๋ยวหอบกลับบ้านไม่ไหว) ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 12, 16:33
พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย

ทำไมถึงเป็นที่นั่น  ขอเหตุผลครับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 01 มิ.ย. 12, 09:34
ท่านทั้งหลาย  วันนี้ผมได้ไปตรวจเอกสารราชการมา  
ได้ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับโรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนราชกุมารี
แต่ครั้นจะเอามาลงเผยแพร่ในกระทู้นี้  ก็เห็นว่ายังไม่ถึงเวลา
ควรจะชะลอไว้จนกว่าจะเลยกลางเดือน ๗ ไปแล้ว


คุณหลวง กล่าวเสียจนอยากรู้ต่อ เรื่องโรงเรียนราชกุมารนี้ อยากทราบมานานแล้ว แต่ไม่ได้ใส่ใจค้นหาเรื่องราวเสียที  วันนี้ โชคดี ที่คุณหลวงเปิดประเด็น กระทั้งไปตรวจเอกสารราชการมาเผยแพร่ ยินดียิ่งแล้วครับ 



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 01 มิ.ย. 12, 17:06
นอกจากวิชาสามัญดังที่คุณหลวงได้หยิบยกขึ้นกล่าวแล้ว  ไม่ทราบว่าในโรงเรียนราชกุมารมีการสอนวิชาเพลงอาวุธด้วยหรือไม่ครับ?  เคยได้ฟังจอมพลประภาส  จารุเสถียร ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งท่านเป็นนักเรียนนายร้อยนั้น  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จไปงานโรงเรียนนายร้อย ในวันนั้นทรงรำทวนซึ่งเป็นยุทธกีฦาอย่างหนึ่งให้ครูและนักเรียนนายร้อยได้ชม  ท่่านว่าตลอดชีวิตของท่านไม่เคยเห็นผู้ใดรำทวนได้งดงามเสมอเหมือนล้นเกล้าฯ อีกเลย


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มิ.ย. 12, 10:41
อันที่จริงก็อยากรู้ต่อไปว่า  แล้วมร.มอแรนต์ได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทนพระราชทาน
ในการเป็นพระอาจารย์ตลอดเวลาที่รับราชการเมืองไทย นอกจากเงินเดือนและบ้านพักพระราชทาน ??? ???

เก็บตกเรื่องมร.มอแรนต์ จาก

รายละเอียดการเปิดโรงเรียนราชกุมาร ขอเชิญอ่านได้จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙ หน้า ๓๘๑ - ๓๘๓ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/043/381_2.PDF)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มิ.ย. 12, 09:45
อันว่าวิชาความรู้ที่สอนกันในโรงเรียนราชกุมารเขาแบ่งเป็นคาบวิชาอย่างไร
ผมได้คัดลอกมาแต่เอกสารราชการกระทรวงธรรมการ  เชิญทัศนาให้จุใจ

ชั้นที่ ๒

เวลาทรงเรียนภาษาไทย

ตอนบ่ายเวลาเดียว

วันจันทร์     อ่านพระราชพงศาวดารย่อ         เรียงจดหมายสั้นๆ

วังอังคาร     อ่านหิโตปเทศ                     เรียงนิทานง่ายๆ

วันพุธ        อยุด                                อยุด

วันพฤหัสบดี   อ่านสยามไวยากรณ์              เรียงคำเลกเชอร์

วันศุกร์       อ่านภูมิสาตร                      เรียงคำถาม

วันเสาร์       อยุด                              อยุด


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มิ.ย. 12, 09:49
ชั้นที่ ๕

เวลาทรงเรียนภาษาไทย

ตอนเช้าเวลาเดียว

วันจันทร์   อ่านเรียนเร็ว เล่ม ๓     เขียนปกีรณำพจนาตถ์

วันอังคาร   อ่านวิชาน่ารู้            เรียงจดหมายเรื่องสั้นๆ

วันพุธ      อ่านอักขรวิธี            สอบคำใช้

วันพฤหัสบดี  อ่านคำแปล           เขียนหิโตปเทศ

วันศุกร์      อ่านพระราชพงศาวดารย่อ    เรียงนิทานง่ายๆ

วันเสาร์     อ่านภูมิสาตร            เขียนพระราชพงศาวดารย่อ



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มิ.ย. 12, 09:53
ชั้นที่ ๖

เวลาทรงเรียนภาษาไทย

วันจันทร์             อ่านเรียนเร็ว เล่ม ๒   เขียนเรียนเร็ว เล่ม ๒

วันอังคาร            อ่านเรียนเร็ว เล่ม ๓   เขียนจดหมาย

วันพุธ                สอบคำใช้              อยุด

วันพฤหัสบดี         อ่านวิชาน่ารู้             เขียนอิศปปกรณัม

วันศุกร์              อ่านพระราชพงศาวดารย่อ    เขียนปกีรณำพจนาตถ์

วันเสาร์              สเปลคำใช้              อยุด



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มิ.ย. 12, 10:00
เวลาเช้า

วันจันทร์   ลงวัน  อักขรวิธี  อ่านเขียนปกีรณำพจนาตถ์

วันอังคาร  ลงวัน  อ่านวิธีตัวสะกด    เขียนพระราชพงศาวดารย่อ

วันพุธ      ลงวัน   แบบเรียนเร็ว เล่ม ๓    เขียนวิธีตัวสะกด

วันพฤหัสบดี  ลงวัน    แบบเรียนเร็ว เล่ม ๓  เขียนวิธีตัวสะกด

วันศุกร์     ลงวัน    วจีวิภาค        อ่านภูมิสาตร

วันเสาร์     ลงวัน    สอบที่เรียนมาแล้ว


เวลาบ่าย

วันจันทร์    อ่านตัวสะกด       เขียนพระราชพงศาวดาร   สเปลตัวสะกด

วันอังคาร   แบบเรียนเร็ว เล่ม ๓   อ่านภูมิสาตร   เขียนตัวสะกด

วันพุธ      -------------------------------------------

วันพฤหัสบดี   อ่านภูมิสาตร     เขียนปกีรณำพจนาตถ์   วจีวิภาค

วันศุกร์        อ่านตัวสะกด     เขียนพระราชพงศาวดาร    อักขรวิธี

วันเสาร์     ------------------------------------------



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มิ.ย. 12, 10:03


๐  หน้าปลาย  หนังสือพิมพ์ราชกุมาร  ฯ ะ



กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มิ.ย. 12, 10:17
หนังสือพิมพ์ราชกุมาร

วันที่ ๒  กรกฎาคม  ร,ศ, ๑๑๒  มหาวชิราวุธ  ต้นเวร


แจ้งความ

ขอแจ้งความมายังท่านทั้งหลายทราบ   บรรดาที่ได้รับหนังสือ
พิมพ์นี้ทราบทั่วกัน   ด้วยสิ้นเดือนมิถุนายนแล้วแลขึ้นเดือนใหม่ 
ขอให้ท่านทั้งหลาย  ส่งเงินค่าหนังสือพิมพ์มายังผู้จัดการ 
ฉะบับละ ๔ อัฐ  ไปในวันที่ ๓ กรกฎาคมนี้เถิด.

๐                 ๐                  ๐


ช่างเขียนสองนาย

นายช่างเขียนสองคน   นัดกันไว้ว่าจะเขียนรูปมาเทียบดูฝีมือว่า
ผู้ใดจะดีกว่ากัน   แล้วต่างคนก็ลงมือทำ  นายช่างเขียนคน ๑
ซึ่งจะเรียกว่านายพินนั้นเขียนพวงองุ่น  ซึ่งดูเหมือนจริงจนนกบินเข้าไป
จะจิกกิน   ครั้นถึงวันนัด  นายพินไปที่บ้านช่างเขียนอีกคนนั้น
ที่เราจะสมมุติให้ชื่อนายแสง  พบนายแสงนั่งอยู่  นายพินถามว่า
"รูปของแกอยู่ไหนเล่า"  นายแสงตอบว่า  "ขอดูของแกก่อน 
รูปของฉันอยู่ในม่าน"  นายพินก็ให้ดูแล้วเล่าเรื่องนกให้ฟัง
แล้วก็เดินเข้าไปเอารูปของนายแสง  พอยกมือขึ้นเปิดม่าน
ก็.........................................................


เชิญท่านทั้งหลายช่วยกันทายสิว่า  ตอบจบของนิทานเรื่องนี้  จะเป็นอย่างไร ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 12, 10:35
บอกใบ้ให้ว่านิทานเรื่องนี้ เอามาจากตำนานกรีก
เรื่องการแข่งขันวาดภาพระหว่างจิตรกรเอก ชื่อ  Zeuxis และ  Parrhasius   
คนหลังเป็นฝ่ายชนะ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 มิ.ย. 12, 11:43
วันที่  ๙  กรกฎาคม  ร,ศ, ๑๑๒  เพ็ญ ต้นเวร

พระราชหัตถเลขา ถึงพระองค์เจ้าอาภากร

ในการที่หนังสือพิมพ์เวรพระองค์เจ้าบูรฉัตร  แลพระองค์เจ้าอาภากร
ต้องเลื่อนสองคราวติดๆ กันนั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงลายพระราชหัตถ์  เป็นการตักเตือนมาถึงพระองค์เจ้าอาภากรว่า
"มีความเสียพระไทยในการที่ต้องเลื่อนติดๆ กันดังนี้  แลก็เป็น
การเล็กน้อยไม่ควรจะให้ไม่ทัน  ทำอะไรไม่ควรจะให้คั่งค้าง 
ควรจะมีความอุตสาหะให้สำเร็จ"  ข้าพเจ้า (ผู้เป็นลูกเวรคราวนี้)
เห็นเป็นเครื่องเตือนใจ  จึงได้นำมาลงหนังสือพิมพ์  เพื่อท่านผู้อ่าน
จะได้จำใส่ใจไว้.

                                        มหาวชิรุณหิศ  รองเวร.

๐                     ๐                      ๐


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 มิ.ย. 12, 13:59
ในนิทานกรีก ซีอูซีส วาดภาพองุ่นที่เหมือนจริงมากจนนกบินมาจิก
ส่วน พาร์ราซีอุส วาดรูปม่านคลุมภาพวาด ที่เหมือนจริงจนคนนึกว่าภาพวาดของเขามีผ้าม่านคลุมอยู่ ค่ะ

ส่วนนิทานเรื่อง นายพินและนายแสง ของคุณหลวงจบอย่างไรคะ.. ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 มิ.ย. 12, 14:18
วันจันทร์   ลงวัน  อักขรวิธี  อ่านเขียนปกีรณำพจนาตถ์

ปกีรณำพจนาดถ์ ผู้แต่งคือพระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

ตัวอย่างหนังสือจาก บล็อกของคุณ Insignia Museum  (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=klongrongmoo&month=03-12-2011&group=17&gblog=9)

(http://www.bloggang.com/data/k/klongrongmoo/picture/1310177473.jpg)   (http://www.bloggang.com/data/k/klongrongmoo/picture/1310177494.jpg)  

มีตัวอย่างอยู่อีกหลายหน้า

ลองเข้าไปดูกันเถิด

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 มิ.ย. 12, 08:09
หนังสือพิมพ์ราชกุมาร

วันที่ ๒  กรกฎาคม  ร,ศ, ๑๑๒  มหาวชิราวุธ  ต้นเวร


แจ้งความ

ขอแจ้งความมายังท่านทั้งหลายทราบ   บรรดาที่ได้รับหนังสือ
พิมพ์นี้ทราบทั่วกัน   ด้วยสิ้นเดือนมิถุนายนแล้วแลขึ้นเดือนใหม่ 
ขอให้ท่านทั้งหลาย  ส่งเงินค่าหนังสือพิมพ์มายังผู้จัดการ 
ฉะบับละ ๔ อัฐ  ไปในวันที่ ๓ กรกฎาคมนี้เถิด.

๐                 ๐                  ๐


ช่างเขียนสองนาย

นายช่างเขียนสองคน   นัดกันไว้ว่าจะเขียนรูปมาเทียบดูฝีมือว่า
ผู้ใดจะดีกว่ากัน   แล้วต่างคนก็ลงมือทำ  นายช่างเขียนคน ๑
ซึ่งจะเรียกว่านายพินนั้นเขียนพวงองุ่น  ซึ่งดูเหมือนจริงจนนกบินเข้าไป
จะจิกกิน   ครั้นถึงวันนัด  นายพินไปที่บ้านช่างเขียนอีกคนนั้น
ที่เราจะสมมุติให้ชื่อนายแสง  พบนายแสงนั่งอยู่  นายพินถามว่า
"รูปของแกอยู่ไหนเล่า"  นายแสงตอบว่า  "ขอดูของแกก่อน 
รูปของฉันอยู่ในม่าน"  นายพินก็ให้ดูแล้วเล่าเรื่องนกให้ฟัง
แล้วก็เดินเข้าไปเอารูปของนายแสง  พอยกมือขึ้นเปิดม่าน
ก็.........................................................


เชิญท่านทั้งหลายช่วยกันทายสิว่า  ตอบจบของนิทานเรื่องนี้  จะเป็นอย่างไร ;D


เรื่องนี้  ในหนังสือพิมพ์ราชกุมารจบว่า

ก็รู้ว่าม่านนั้นเป็นรูปเขียนที่ฝา   นายแสงหัวเราะแล้วพูดว่า
"แน่ะ  แกอวดว่าแกหลอกนกได้  ก็เดี๋ยวนี้ฉันหลอกคนได้
จะว่ากระไร   ใครจะดีกว่ากันแน่". ;D

..............................................................

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม  ร,ศ, ๑๑๒  จักรพงษ  ต้นเวร

พระราชนิพนธ์

เรื่องฝนดินสอ

(ก่อนจะเล่าเรื่องฝนดินสอนี้  ควรแนะนำเสียก่อนว่า
เรื่องนี้เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงนำประสบการณ์เมื่อยังทรงพระเยาว์มาเป็นอุทาหรณ์
สอนเด็กๆ ให้รู้จักความเพียร  เนื้อความมีว่าอย่างไร
ผมอยากให้ทุกท่านช่วยกันเดา  เผื่อจะมีคนเดาถูกอีกก็เป็นได้ :) :) )


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มิ.ย. 12, 08:43
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ราชกุมาร ฉบับลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๒

ประมาณ ๒๙ ฤๅ ๓๐ ปีมาแล้ว (คือปีชวด ฉอศก จุลศักราช ๑๒๒๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๗) เรากำลังอยู่ในตำแหน่งที่ลูกเธอแลนักเรียน ธรรมเนียมวิสาขบูชาในรัชกาลที่ ๔ ถึงว่าไม่มีการอันใดมากกว่าเดี๋ยวนี้ก็เป็นพระราชธุระยิ่งนัก กลางเดือนแลแรมค่ำ ๑ แรม ๘ ค่ำ ๓ คืน มักไม่ได้เข้าที่บรรทมตลอดยังรุ่ง ด้วยเกี่ยวข้องในเรื่องบูชานั้นแลมีราชการมากก็มิได้ละเว้น จึงต้องทำให้ใช้เวลามากในระยะนั้น เรื่องที่จะเล่าบัดนี้คือเป็นวันขึ้น ๑๑ ฤๅ ๑๒ ค่ำในเดือนนั้น ผู้ใดไม่ทราบนำชาดหรคุณมาถวาย โตประมาณสักเท่านิ้วชี้ ชาดหรคุณนี้เป็นดินสอสำหรับทรงลงยันต์ ในเวลาการพิธีเช่นนั้นด้วยกระดาษปิดทองพระซึ่งทรงเก็บไว้ล่วงหน้าประมาณ ๑๕๐ แผ่นฤๅกระไร สำหรับเผาโรยลงในน้ำมนต์วิสาขะ ดินสอเดิมที่เคยทรงลงนั้นเป็นด้ามทองคำสั้นเล็กยังมีใช้ได้อยู่ แต่เพราะมีผู้นำมาถวายใหม่แท่งโตแลยาวขึ้นไปกว่าจึงพระราชทานให้เราในเวลาค่ำด้วยคำดำรัสว่า ให้เจ้าฝนเองอย่าวานใคร อย่าให้ผู้หญิงจับให้แล้วทันวันกลางเดือน

เมื่อเราได้รับรับสั่งแลดินสอชาดหรคุณนั้นมา มีความหนักใจเป็นอันมาก ด้วยรูปชาดหรคุณนั้นเป็นเหลี่ยม แลยาวเหมือนแท่งครั่งฝรั่งที่ใช้ตีตรา แต่โตกว่านั้น สังเกตดูเนื้อแข็งขนาดดินสอแก้วพม่าอย่างแข็ง แลจำจะต้องหลาวให้แล้วเสร็จใน ๓ วัน จะให้ผู้ใดช่วยก็ไม่โปรด ถ้าไม่แล้วจะเสียคนเป็นเหลวไหลไป ได้รับพระราชทานมาในเวลาค่ำ ได้ลองขูดด้วยมีดก็ไม่เข้า ต้องใช้ฝนด้วยศิลาลองดูนิดหนึ่งในวันแรก แล้วก็เก็บซ่อนไว้บนหัวนอน นอนไม่ใคร่หลับสนิท เพราะกะโปรแกรมว่าพรุ่งนี้จะทำอย่างไรต่อไปเป็นต้น

พอเวลา ๑๑ ทุ่มตื่นขึ้นฝน แต่ชาดนั้นกรวดอยู่ในนั้นมากพอฝนเข้ารูปจวนจะเรียบก็มีโปขึ้น เมื่อฝนโปนั้นจะให้หายก็หลุดออกมาเป็นเม็ดกรวดเป็นรอยโหว่ ต้องฝนที่อื่นแก้ทำให้เกลี้ยง แต่อย่างนี้หลายครั้งหลายหน จนกินข้าวก็ต้องให้คนป้อน

ในวันนั้นเราได้ตั้งใจหรือจะได้บอกไปด้วยจำไม่ได้ว่าจะขอหยุดเรียนหนังสืออังกฤษสัก ๑ ฤๅ ๒ วัน แต่ไม่ได้บอกว่าเหตุอะไร ด้วยดูเหมือนเป็นแต่เรื่องเล็กน้อยของผู้ใหญ่ แต่เป็นการใหญ่ของเราผู้เป็นเด็กอายุศม์ ๑๑ ฤๅ ๑๒ ปี อย่างข้างไทย เพราะเวลาเรียนนั้นตั้งแต่ ๔ โมงเช้าจน ๔ โมงเย็นมีเวลาหยุดกลางวันครู่หนึ่ง แต่ไม่ได้กลับมาเรือน เวลาตั้งแต่บ่าย ๕ โมงล่วงไป เป็นเวลาเฝ้าจนหัวค่ำบ้างดึกบ้างมีเวลาทำงานอยู่แต่เช้าตื่นนอน จนเวลาเรียนเท่านั้นที่จะได้ทำงาน เวลาทำมี ๓ วันเป็นอย่างช้าที่จำจะต้องแล้ว เพราะฉะนั้นในวันรุ่งขึ้นจึงได้งดเสียไม่ไปโรงเรียน

แต่ครั้นเวลา ๕ โมงเช้าครูของเราได้มาตามถึงเรือนเอง เห็นเวลาทำการอยู่ดุเอาว่ามัวเล่น เราก็ไม่อาจอธิบายเหตุผล เพราะเห็นว่าศาสนาต่อศาสนาตรงกันข้ามนัก ในเวลานั้นกำลังอเมริกันมิสชันรีวิวาทต่อพุทธศาสนานักอยู่ ถ้าเล่าเรื่องให้ฟังคงจะไปมีอาติเคลในหนังสือพิมพ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นที่พึงพระราชหฤทัย เราจึงตกลงยอมไปเรียนตามเวลาแลรับคำติเตียนว่าช้าไปชั่วโมงหนึ่งในวันนั้นด้วย

ครั้นเลิกเรียนในเวลาบ่าย เย็นก็ขึ้นไปเฝ้าตามเคย ต่อกลับมากลางคืนจึงได้ทำงาน แลตื่นขึ้นเวลาเช้าจนถึงเวลาเรียนก็ไปเรียนไม่ให้ต้องเตือนอีก แต่ในเวลานั้นเราเคยเรียนหนังสือขอมอยู่ด้วยชั่วโมงหนึ่งก่อนเรียนหนังสืออังกฤษ บอกลากันได้โดยความเข้าใจซึมทราบดี

การที่ทำคือฝนดินสอนั้น เมื่อแต่งตัวกลมเข้าเป็นรูปดีแล้ว จะทำให้เกลี้ยงก็หลุดออกเป็น ๒ อัน เพราะเป็นกาบประสานกันอยู่ จึงได้กลายเป็นดินสอสองอันขึ้น อัน ๑ ยาวอัน ๑ สั้น แต่ต้องฝนใหม่ทั้งสองอันด้วยความร้อนใจเป็นอันมาก แล้วสำเร็จได้ในเวลากลางคืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ได้นำไปถวายที่หอพระเจ้าต่อพระที่นั่งไพศาลในเวลา ๔ ทุ่มฤๅ ๕ ทุ่ม แต่มีความหวาดหวั่นครั่นคร้ามมาก ด้วยเหตุว่าของเดิมยาวท่อนเดียว มาทำหักออกให้เป็น ๒ ท่อน แลไม่เกลี้ยงเกลาเหมือนอย่างของเดิมที่ทรงมีอยู่เพราะมือเด็กชา ๆ เพียงเท่านั้นฝน แลเวลาก็น้อย

แต่ครั้นเมื่อได้กราบทูล ทูลกระหม่อมกลับโปรดชมเชยว่ามีความเพียร ทรงรับไว้แต่ท่อนยาว ท่อนสั้นนั้นพระราชทานให้เราแลรับสั่งว่าจะสอนวิชาทั้งปวงนี้ให้ต่อ ๆ ไปด้วยฯ

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 มิ.ย. 12, 09:19
ดีมากครับคุณเพ็ญฯ  ประหยัดเวลาผมไปได้มากทีเดียว  แต่ตอนท้ายขาดไปนะครับ
เอามาลงด้วยนะครับ  จะได้สมบูรณ์ทั้งพระราชนิพนธ์ ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 05 มิ.ย. 12, 21:01
รออ่านต่อค่ะ..... ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 มิ.ย. 12, 15:34
ตอนท้ายของพระราชนิพนธ์เรื่ิองฝนดินสอ ซึ่งคุณเพ็ญฯ ไม่ได้คัดลอกเอามาลงนั้น
มีว่า...

เรื่องราวจบเพียงเท่านี้  เปนอุทาหรณ์ความเพียรของเด็ก  ถึงว่าเปนอย่างโบราณอยู่
หน่อยหนึ่ง   ก็ไม่ต้องการที่จะเอาตรงเรื่องนี้ให้เปนอย่างตีพิมพ์เดียวกัน  แต่ควร
เด็กทั้งปวงจะมีความอุสาหะในการงาน  แลการเล่าเรียนเท่านั้น  จึงสามารถที่จะส่งเรื่องนี้
ให้แก่หนังสือพิมพ์ราชกุมาร.

                                                    จปร.  ลายพระราชหัดถเลขา.

๐                         ๐                      ๐

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 มิ.ย. 12, 15:36
วันที่  ๒๓ กรกฎาคม  ร,ศ, ๑๑๒  สมมติวงษ  ต้นเวร

ด้วยความที่ขี้เกียจพิมพ์ทั้งหมด  จึงจะขอลงเฉพาะบางเรื่องที่น่าสนใจและหัวเรื่องเท่านั้น

เรื่องตลกชื่อบอย
ความชั่วของสุรา


มีเนื้อเรื่อง ๒ บรรทัด  และโคลงจบว่า

   ผู้ซึ่งคิดเรื่องนี้            สองคน
นามว่าบริพัตร์ตน            หนึ่งนี้
อีกสมมติวงษ์ปน            ช่วยแต่ง  บ้างแฮ
คำผิดขอโปรดชี้             ขีดแก้เสียเทอญ

๐                 ๐                        ๐

พระบรมราชูปถัมภก

เมื่อ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยุ่หัวพระราชทานเงินอุดหนุนหนังสือพิมพ์ราชกุมาร เป็นเงิน ๑๖๐ บาท
ผู้จัดการหนังสือพิมพ์นี้แลต้นเวรทั้งหลาย  ซึ่งได้เปนมา มีความยินดีขอบพระเดช
พระคุณเปนอย่างยิ่ง  แลหวังใจว่า  หนังสือพิมพ์นี้คงจะยืนยาวต่อไป.

๐                    ๐                         ๐

เรื่องประหลาด

(เข้าใจว่าเป็นเรื่องแปลจากภาษาอังกฤษง่ายๆ ไม่ยาวนัก)

๐                      ๐                         ๐


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มิ.ย. 12, 08:54
เรื่องประหลาด

(เข้าใจว่าเป็นเรื่องแปลจากภาษาอังกฤษง่ายๆ ไม่ยาวนัก)

๐                      ๐                         ๐

ที่บอกว่าประหลาด   ประหลาดนั้นเป็นฉันใด

 ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มิ.ย. 12, 10:05
^ เป็นเรื่องอ่านเล่น  ไม่สู้มีสาระนัก  ผมเลยไม่เอามาเล่าให้ยาวเยิ่นเย้อ

วันที่ ๖ สิงหาคม ร,ศ, ๑๑๒  มหาวชิรุณหิศ  ต้นเวร

เรื่องไม่กลัวผี

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  ทรงแต่ง

เรื่องนี้  มีบางท่านอาจจะเคยอ่านมาบ้างแล้ว  ฉะนั้นจึงไม่เอามาลง ;D ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มิ.ย. 12, 10:13

วันที่  ๒๗  สิงหาคม  ร,ศ, ๑๑๒  บุรฉัตร  ต้นเวร

ความเสียใจ

ต้นเวรทั้งหลายซึ่งได้เป็นมามีความเสียใจเป็นอันมาก   ด้วย..........
......................................................................
ซึ่งได้เคยเป็นต้นเวรมา  เสด็จ....................................เสียแล้ว.

๐                      ๐                        ๐

ให้ท่านทั้งหลายช่วยกันเดาว่า  ข้อความที่เว้นไว้นั้น  แจ้งเรื่องหรือข่าวอะไรกันแน่ ??? ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มิ.ย. 12, 13:37
วันที่ ๖ สิงหาคม ร,ศ, ๑๑๒  มหาวชิรุณหิศ  ต้นเวร

เรื่องไม่กลัวผี

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  ทรงแต่ง

เรื่องนี้  มีบางท่านอาจจะเคยอ่านมาบ้างแล้ว  ฉะนั้นจึงไม่เอามาลง ;D ;D

เรื่อง ไม่กลัวผี ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานนั้น ในรัชกาลที่ ๕ ฉันไม่เคยจำได้ว่าเปนอื่นนอกจากที่เก็บของเก่า ๆ และปิดมืดครึมเครืออยู่โดยมาก. จึ่งมีกลิ่นอับ ๆ และอากาศในนั้นเย็นชืด ๆ และคนโดยมากกลัวผีในที่นั้นกันนัก. ฉันยังจำได้ว่าวัน ๑, เปนเวลาพลบค่ำแล้ว ทูลกระหม่อมต้องพระราชประสงค์ของอะไรอย่าง ๑ ซึ่งอยู่ในพระที่นั่งจักรพรรดิ์. รับสั่งขึ้นว่า "ลูกไปเอามาคน ๑ เถิด." ไม่มีใครลุกขึ้นไปเลยจนคนเดียว  ทูลกระหม่อมทรงเหลียวไปไม่เห็นใครเข้าไป จึ่งทรงหยิบเทียนที่จุดอยู่เล่ม ๑ ข้างพระองค์ แล้วรับสั่งว่า "ชายใหญ่, เอ้า เอาเทียนนี่ถือไป" และตรัสชี้แจงโดยแจ่มแจ้งว่าของที่ต้องพระราชประสงค์นั้นอยู่ในตู้ในพระฉาก ทูลกระหม่อมใหญ่ท่านนั่งนิ่ง ไม่รับเทียนจากพระหัตถ์ทูลกระหม่อม, และไม่ทูลว่ากระไรจนคำเดียว เห็นพระพักตร์ซีดพิกล, ทูลกระหม่อมรับสั่งเตือนว่า "อย่างไรเล่า?  ใช้ไม่ไปหรือ?" ทูลกระหม่อมใหญ่จึ่งกราบบังคมทูลอ้อมแอ้มว่า จะไปแต่ขอผู้ใหญ่เข้าไปด้วยสักคน ๑ ทูลกระหม่อมรับสั่งถามว่า "ทำไม? กลัวอะไร?" ทูลกระหม่อมใหญ่กราบบังคมทูลตอบว่ากลัวผี.  ทูลกระหม่อมพระพักตร์บึ้ง ทรงเหลียวไปทางฉัน, แล้วตรัสว่า, " โต จะรับใช้พ่อได้หรือไม่ได้?"  ฉันก็กราบบังคมทูลว่าได้, และรับเทียนจากพระหัตถ์แล้วเข้าไปในพระที่นั่งจักรพรรดิ์ แขงอกแขงใจเดิรอย่างหน้าตาเฉยขึ้นอัฒจันท์ไป, แต่ก็ชอบกล พอเข้าไปถึงในพระที่นั่งแล้วก็หายกลัว เพราะใจมุ่งแต่ที่จะไปหยิบของที่ต้องพระประสงค์. เมื่อได้ของออกมาแล้ว ทูลกระหม่อมทรงชมเชยทับถมทูลกระหม่อมใหญ่เสียขนานโต. ทรงกอดฉันและตรัสว่า, "อย่างนี้สิเป็นลูกพ่อแท้ ลูกพ่อกลัวผีไม่ได้" ก็เปนธรรมดาที่ฉันจะต้องยินดีมากที่ได้รับทรงชมเชยอย่างนั้น, แต่ฉันต้องรับสารภาพว่า ถึงฉันจะได้นึกกลัวผีอยู่สักเท่าใดก็ยังกลัวทูลกระหม่อมมากกว่า ฉันจึ่งได้สู้แขงใจเข้าไปตามที่ทูลกระหม่อมทรงใช้. ภายหลังต่อแต่นั้นมาอีกนาน, เมื่อทูลกระหม่อมใหญ่สวรรคตแล้ว ทูลกระหม่อมจึ่งได้มีพระราชดำรัสแก่ฉันว่า "พอพ่อใช้ชายใหญ่ให้เข้าไปในพระที่นั่งจักรพรรดิ์เขาไม่ยอมเข้าไปเพราะกลัวผี, พ่อก็นึกรู้ในใจทีเดียวว่าชายใหญ่คงจะไม่มีบุญพอที่จะได้ใช้ที่นั้นเปนที่อยู่, แล้วก็พอโตกล้ารับใช้เข้าไป พ่อก็รู้ว่าโตคงจะต้องเปนแทนตัวพ่อต่อไป

เรื่องเดียวกันหรือเปล่าหนอ

 ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 มิ.ย. 12, 16:35
^ คนละเรื่องครับ  ไม่ใช่เรื่องที่ทรงเล่าไว้ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

ผมนึกว่าคุณเพ็ญฯ เคยอ่านแล้วเสียอีก  สงสัยคุณวีมีและคุณปิยะสารณ์อาจจะเคยอ่านแล้วก็เป็นได้ :) :)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 มิ.ย. 12, 22:14

วันที่  ๒๗  สิงหาคม  ร,ศ, ๑๑๒  บุรฉัตร  ต้นเวร

ความเสียใจ

ต้นเวรทั้งหลายซึ่งได้เป็นมามีความเสียใจเป็นอันมาก   ด้วย..........
......................................................................
ซึ่งได้เคยเป็นต้นเวรมา  เสด็จ....................................เสียแล้ว.

๐                      ๐                        ๐

ให้ท่านทั้งหลายช่วยกันเดาว่า  ข้อความที่เว้นไว้นั้น  แจ้งเรื่องหรือข่าวอะไรกันแน่ ??? ???

 ;D
แจ้งข่าวการเสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ของ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 มิ.ย. 12, 08:28
^ คนละเรื่องครับ  ไม่ใช่เรื่องที่ทรงเล่าไว้ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

ผมนึกว่าคุณเพ็ญฯ เคยอ่านแล้วเสียอีก  สงสัยคุณวีมีและคุณปิยะสารณ์อาจจะเคยอ่านแล้วก็เป็นได้ :) :)

ไม่เคยอ่านครับ โปรดเฉลย.........


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มิ.ย. 12, 08:40
คุณ ดีดี เดาข้อความได้ถูกต้องครับ  เก่งมาก ;D ;D ;D ;D ;D
ข้ความเต็มสมบูรณ์มีว่า


วันที่  ๒๗  สิงหาคม  ร,ศ, ๑๑๒  บุรฉัตร  ต้นเวร

ความเสียใจ

ต้นเวรทั้งหลายซึ่งได้เป็นมามีความเสียใจเป็นอันมาก   ด้วยสมเด็จ
พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  พระองค์เจ้าอาภากร 
ซึ่งได้เคยเป็นต้นเวรมา  เสด็จไปเล่าเรียนในประเทศยุโรปเสียแล้ว.

๐                      ๐                        ๐


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มิ.ย. 12, 08:42
^ คนละเรื่องครับ  ไม่ใช่เรื่องที่ทรงเล่าไว้ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

ผมนึกว่าคุณเพ็ญฯ เคยอ่านแล้วเสียอีก  สงสัยคุณวีมีและคุณปิยะสารณ์อาจจะเคยอ่านแล้วก็เป็นได้ :) :)

ไม่เคยอ่านครับ โปรดเฉลย.........

อุแม่เจ้า  จริงดิครับ   :o   เหลือแต่คุณวีมีเป็นความหวังอยู่  ถ้าท่านไม่เคยอ่านอีกคน
เห็นจะต้องลงมือเล่าเองเสียแล้ว :)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 08 มิ.ย. 12, 09:36
จำไม่ได้ว่าเคยอ่านหรือเปล่าครับ  ขออาราธนาคุณหลวงจัดการบรรเลงเลยครับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 มิ.ย. 12, 10:14
จำไม่ได้ว่าเคยอ่านหรือเปล่าครับ  ขออาราธนาคุณหลวงจัดการบรรเลงเลยครับ

หมดกันความหวัง กะว่าจะหาตัวช่วยสักหน่อย  ว้า  ต้องออกแรงเองเสียแล้ว


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มิ.ย. 12, 15:15
ระหว่างรอเรื่อง "ไม่กลัวผี"

ขอคั่นรายการด้วยเรื่อง "พบผี"

ขอเล่าเกร็ดอีกเรื่อง  คราวนี้เรื่องผี  คงจะมีคนในเว็บรู้จักเรื่องนี้กันบ้างแล้วนะคะ  เพราะเป็นเรื่องแพร่หลาย ตีพิมพ์ลงในหนังสือวชิราวุธานุสรณ์ แต่ที่เล่านี่   เผื่อคนที่ยังไม่รู้

เป็นเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล   วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘    พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ สิ้นพระชนม์   
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพ  ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ซึ่งมีเฉลียงทั้งบนและล่าง เชื่อมต่อกับพระที่นั่งอัมพรสถาน 
มีอัฒจันทร์(บันได)หินอ่อนทอดลงไปที่ถนนสำหรับรถยนต์พระที่นั่งเข้าเทียบ
หากมีพระราชประสงค์จะเสด็จขึ้นลงจากตรงนั้นก็ทรงทำได้
แต่ปกติแล้วรถจะเทียบหน้าพระที่นั่งอัมพรสถาน   บรรดาราชองครักษ์และมหาดเล็กตามเสด็จก็จะไปรอรับเสด็จที่พระที่นั่งอัมพรสถาน


วันนั้น พระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากพระที่นั่งอุดร ตรงไปที่พระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อจะประทับรถพระที่นั่งจากตรงนั้น
ระหว่างเสด็จมาตามลำพังพระองค์เดียว เพราะผู้คนไปรอที่อัฒจันทร์ด้านพระที่นั่งอัมพรกันหมด   พอเลี้ยวจากอัฒจันทร์ชั้นบนจะลงมาที่ชั้นล่าง  ก็ทอดพระเนตรเห็นนายพันโทจมื่น ฤทธิ์รณจักร (กรับ โฆษะโยธิน)  ผู้บังคับการทหารรักษาวัง และราชองครักษ์เวร  มายืนเฝ้าถวายการเคารพอยู่ริมถนนเชิงอัฒจันทร์
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านไป ทรงรับความเคารพ ด้วยความแปลกพระทัยที่องครักษ์เวรมายืนเฝ้าอยู่ตรงนี้ตามลำพัง แทนที่จะไปรอเฝ้าที่หน้าพระที่นั่งอัมพรอย่างที่ควรทำ
แต่ก็ทรงนึกว่า หรือราชองครักษ์จะรอเฝ้าเพราะมีเรื่องกราบบังคมทูลเป็นส่วนตัว    แต่ท่าทีเขาก็ไม่เห็นจะถวายหนังสือหรือมีเรื่องกราบบังคมทูล
และที่แปลกพระทัยอีกอย่างคือ แทนที่จะแต่งเต็มยศขาวตามหมายกำหนดการ  จมื่นฤทธิ์ฯกลับแต่งเต็มยศใหญ่
จะทรงทักว่าแต่งผิด ก็เกรงว่าจมื่นฤทธิ์ฯจะตกใจ   จึงเสด็จผ่านไปเฉยๆ 


จนกระทั่งเสด็จกลับจากงานพระศพ  กลับมาที่พระที่นั่งอุดร   ทรงลืมเรื่องของจมื่นฤทธิ์ฯไปแล้ว
ทอดพระเนตรเห็นพานดอกไม้ธูปเทียนกราบถวายบังคมทูลลาตาย วางอยู่

เป็นระเบียบของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนข้าราชสำนัก จะต้องมีญาติพี่น้องทำหนังสือกราบบังคมทูลในนามผู้ตาย ถวายบังคมลาตายส่งไปที่กระทรวงวัง พร้อมดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไปด้วย
เจ้าหน้าที่กระทรวงวังจะได้นำพานและหนังสือ ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อทราบใต้ฝ่าละอองฯ
หลังจากนั้นสำนักพระราชวังก็จะจัดน้ำหลวงอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศส่งไปให้ผู้ถึงแก่กรรม

หนังสือลาตายที่ทรงเปิดทอดพระเนตร  เป็นหนังสือลาตายของนายพันโท จมื่นฤทธิ์รณจักรนั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็ทรงระลึกได้ทันทีว่า บ่ายนี้ที่จมื่นฤทธิ์ฯมาเฝ้าในเครื่องแต่งกายเต็มยศใหญ่   ก็คงเป็นเพราะประสงค์จะมาถวายบังคมลาตายด้วยตัวเองนั่นเอง

เรื่องนี้ ทรงเล่าให้ข้าราชสำนักฟัง รวมทั้งพระยาบำรุงราชบริพาร ซึ่งนำเรื่องมาบันทึกลงไว้ในหนังสือในภายหลังค่ะ


 :o


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 มิ.ย. 12, 15:56
ู^เรื่องผีข้างต้น  ผมตรวจสอบข้อมูลแล้ว  มีข้อพึงใคร่ครวญตามข้อเท็จจริงด้วยเหตุผล  ดังต่อไปนี้

๑.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ สิ้นพระชนม์  เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๖๘  เวลา ๑๐ นาฬิกา ๒๕ นาที หลังเที่ยง
( ๒๒.๒๕ น. ) รัชกาลที่ ๖ เสด็จฯ ไปพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ  วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๖๘  เวลา ๖ นาฬิกา หลังเที่ยง
( ๑๘.๐๐  น. )

๒.ไม่มีข้าราชการวายชนม์ในปี ๒๔๖๘  ที่ชื่อ นายพันโท  จมื่นฤทธิ์รณจักร (กรับ โฆษะโยธิน)
แต่ไปปรากฎข้อมูลในปี ๒๔๖๔ ว่า

"นายพันโท  พระฤทธิรณจักร์ (กรับ  โฆษะโยธิน)  ฯลฯ  กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. อายุ  ๓๘  ปี
เปนลม  ถึงแก่กรรม วันที่  ๒๖ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๔"


สงสัยว่า  เรื่องผีเรื่องนี้จะถูกเล่าต่ิอๆ กันมาจนคลาดเคลื่อนไป  วันเพ็ญฯ ระวังถูกหลอกนะครับ ;D ;D


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 มิ.ย. 12, 18:18
ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก เคยเล่าว่า เมื่อครั้ง คุณพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) ถวายตัวเป็นมหาดเ็ล็ก ในหลวง รัชกาลที่ ๖ โดยท่านเจ้าคุณพี่ชาย เป็นผู้เบิกตัวถวาย

ไม่ทราบว่า ด้วยความที่ท่านเป็น "ลูกน้ำเค็ม" เป็นเด็กชาวน้ำ ธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ได้ถูกเลี้ยงมาอย่างทนุถนอม หรือไม่ ในหลวง รัชกาลที่ ๖ จึงมีพระราชดำรัสถามเมื่อตอนถวายตัวว่า "เคยเห็นผี" หรือไม่ ถึงสองครั้ง   แต่อาจารย์ระพี ก็จำไม่ได้ว่า คุณพระฯ ท่านตอบไปว่าอย่างไร ........


เรื่องผี กับในหลวงองค์ ๖ ซักจะมีเยอะขึ้นแล้วซี หากันต่อดีไหม?


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 มิ.ย. 12, 19:13
ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก เคยเล่าว่า เมื่อครั้ง คุณพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) ถวายตัวเป็นมหาดเ็ล็ก ในหลวง รัชกาลที่ ๖ โดยท่านเจ้าคุณพี่ชาย เป็นผู้เบิกตัวถวาย

ไม่ทราบว่า ด้วยความที่ท่านเป็น "ลูกน้ำเค็ม" เป็นเด็กชาวน้ำ ธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ได้ถูกเลี้ยงมาอย่างทนุถนอม หรือไม่ ในหลวง รัชกาลที่ ๖ จึงมีพระราชดำรัสถามเมื่อตอนถวายตัวว่า "เคยเห็นผี" หรือไม่ ถึงสองครั้ง   แต่อาจารย์ระพี ก็จำไม่ได้ว่า คุณพระฯ ท่านตอบไปว่าอย่างไร ........


เรื่องผี กับในหลวงองค์ ๖ ซักจะมีเยอะขึ้นแล้วซี หากันต่อดีไหม?

เรื่องผีในสมัยรัชกาลที่ ๖ เรื่องหนึ่ง คือ "ท้าวหิรัญพนาสูร" เป็นที่กล่าวถึงและทรงจำลองรูปปั้นขึ้นมา ปัจจุบันอยู่ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

อีกเรื่องเป็นเรื่องลี้ลับเมื่อปลายรัชกาลที่ ๖ เรื่องน้ำฝนตกต้องนพดลมหาเศวตรฉัตร และ กลิ่นเหม็นประหลาดติดกันหลายวัน ก่อนวันสวรรตไม่นาน


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 มิ.ย. 12, 19:14
เรื่องผีๆ ในรัชกาลที่ ๖ คุณพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคริก) เล่าไว้ว่า
วันหนึ่งกำลังทรงพระอักษร  คุณพระฯ นั่งเฝ้าฯ อยู่ไม่ห่าง  แล้วจู่ๆ ล้นเกล้าฯ ก็ทรงเปล่งพระสุรเสียงขึ้นมาเหมือนตกพระทัย
พอวันรุ่งขึ้นมีดอกไม้ธูปเทียนพร้อมหนังสือกราบบังคมทูลลาของกรมหลวงชุมพรฯ มาถวาย  ก็มีรับสั่งว่า "รู้แล้ว"

หรือมีอีกเรืองที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันว่า  กำลังประทับเป็นประธานในที่ประชุมเสนาบดี  แล้วจู่ก็เสด็จจากโต๊ะประชุมไปประทับที่ริมพระแกล  ทันใดนั้นโคมไฟเพดานก็หล่นลงมาบนโต๊ะประชุม
ในเรื่องนี้มีผู้วิจารณืว่าน่าจะเป็นพระปรีชาญาณที่ทรงได้รับการฝึกหัดมาจากโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์  จึงทำให้ทรงสังเกตทุกสิ่งรอบพระองค์


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 13 มิ.ย. 12, 00:07
ก่อนอื่น ท่านใดก็ได้ช่วยแก้ให้ที  จาก "เคยเห็นผี" เป็น ทรงถามว่า "ผีมีจริงหรือเปล่า" สองประโยคนี้ ดูจะเป็นเรื่องผีๆ เหมือนกัน แต่เจตนาของผู้ถามต่างกัน พิมพ์ แล้วก็มานึกขึ้นได้ ว่า อาจารย์ระพี ท่านเล่าว่าอย่างหลัง  คือ ในหลวงถามคุณพระฯ ว่า ผีมีจริงหรือเปล่า ? ไม่ใช่ เคยเห็นผีหรือเปล่า แก้ไขครับ.......




กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 12, 09:05
กระทู้หนังสือพิมพ์ราชกุมารกลายเป็นกระทู้เล่าเรื่องผีในสมัยรัชกาลที่ ๖ ไปเสียแล้ว

ออกขุนกล่าวถึงท้าวหิรัญพนาสูรขึ้นมา  ก็มีคำถามสงสัยว่า 
ท้าวหิรัญพนาสูรถือไม้เท้าด้วยมือข้างซ้ายหรือข้างขวา ???


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 13 มิ.ย. 12, 09:46
กระทู้หนังสือพิมพ์ราชกุมารกลายเป็นกระทู้เล่าเรื่องผีในสมัยรัชกาลที่ ๖ ไปเสียแล้ว

ออกขุนกล่าวถึงท้าวหิรัญพนาสูรขึ้นมา  ก็มีคำถามสงสัยว่า 
ท้าวหิรัญพนาสูรถือไม้เท้าด้วยมือข้างซ้ายหรือข้างขวา ???


แทนตอบออกขุนได้หรือไม่ใต้เท้า

ท้าวหิรัณพนาสูร ในปัจจุบันนั้นมีอยู่ ๔ องค์ คือ

๑. องค์ที่พระราชทานจางวางเอก พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ)
๒. องค์ที่พระที่นั่งราชกรัณยสภา
๓. องค์ที่ประดับอยู่กับรถพระที่นั่ง
๔. องค์ที่พระราชวังพญาไท

องค์ที่ ๒-๔ ท้าวหิรัณพนาสูร ถือไม้เท้าด้วยมือข้างขวา

มีแต่... องค์ที่ ๑ เพียงองค์เดียว ที่ท้าวหิรัณพนาสูร ถือไม้เท้าด้วยข้างซ้าย


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 มิ.ย. 12, 09:55
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7657042/K7657042.html

เขียนไว้ที่วิกโน้น นานมาแล้วครับ


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 มิ.ย. 12, 10:02
ใครมีความรู้ก้เชิญมาตอบได้พนาย  มิได้หวงห้าม  ขอบคุณน้ำใจจากพนายและคุณ NAVARAT.C ครับ ;)


กระทู้: ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 13 มิ.ย. 12, 17:17
ถ้าจะให้ครบตามจำนวนที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นต้องตอบว่า ๕ องค์ครับ
องค์แรกถือไม้เท้าด้วยมือซ้าย  เข้าใจว่าเป็นต้นแบบ  พระราชทานให้แก่พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)  ปัจจุบันอยู่ที่บ้าน พลเอก เฟื่องเฉลย  อนิรุทธเทวา
องค์ที่ ๒ - ๔ มีขนาดไม่เท่ากัน  ไม่แน่ใจว่าหล่อพร้อมกันหรือไม่  แต่ทั้ง ๓ องค์นี้ถือไม้เท้าด้วยมือขวา

องค์ ๑ เล่ากันว่า ประดิษฐานไว้ข้างพระแท่นบรรทม  เวลาเสด็จแปรพระราชฐานไปที่ใด  ก็โปรดให้มหาดเล็กเชิญไปในกระเป๋าหนังสีแดงตามเสด็จไปทุกหนแห่ง  องค์นี้ตกมาเป็นพระราชมรดกในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  ซึ่งก็โปรดให้ประดิษฐานและเชิญตามเสด็จตามแบบพระราชนิยมในล้นเกล้าฯ  ปัจจุบันไม่ทราบว่ายังประดิษฐานที่วังรืนฤดีหรือไม่

องค์ ๑ พระราชทานไว้ที่กรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก  เมื่อยุบรวมกรมมหาดเล็กเข้ากับกระทรวงวังในรัชกาลที่ ๗ แล้ว  ดูเหมือนจะเชิญขึ้นไปไว้บนพระที่นั่งราชกรีณยสภา  และมีการตั้งเครื่องเสวยต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖  เท่าที่ทราบในรัชกาลปัจจุบันก็ยังมีปิ่นโตจากห้องเครื่องส่งไปให้นักเรียนเก่าพรานหลวง ฉัตร  สุนทรายน อดีตหัวหน้าแผนก  กองมหาดเล็ก  สำนักพระราชวัง  ตั้งสังเวยทุกวันตอนเพลที่ห้องทำงานคุณฉัตรที่งานพระบรมมหาราชวัง  กองชาวที  ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งราชกรัณยสภา  เมื่อคุณฉัตรยังมีชีวิตอยู่ท่านเคยชวนให้ผมรับพระราชทานเครื่องสังเวยที่เลื่อนมานั้นอยู่บ่อยๆ  ปัจจุบันทราบว่าย้ายไปประดิษฐานที่วังศุโขทัยแล้ว

องค์ ๑ เคยประดิษฐานอยู่หน้ารถยนต์พระที่นั่ง  บ้างก็ว่ารถโอเปิล  บ้างก็ว่าเป็นรถเนเปียร์  เลยไม่ทราบว่ายี่ห้อใดแน่  ดูเหมือนจะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่เครื่องบินอเมริกันมาทิ้งระเบิด  เข้าใจว่าจะมาบอมบ์โรงไฟฟ้าหลวงสามเสนที่ย้ายจากศรีย่านมาเปิดทำการที่สนามด้านหลังโรงเรียนวชิราวุธ  ทางด้านเหนือของหมวดรถยนต์หลวง  แต่ทิ้งผิดไปโดนตึกนอนนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธที่อยู่ทางทิศตะวันออกติดกับโรงรถยนต์หลวงพังไปทั้งหลัง  และมีสะเก็ดไปตกในโรงรถยนต์บางส่วน  แต่รถยนต์พระที่นั่งองค์นี้ไม่ได้รับอันตรายใดๆ จะเป็นช่วงนั้นหรือหลังสงครามนี่แหละที่ชาวพนักงานพระราชพาหนะได้จัดการถอดรูปท้าวหิรันย์ขึ้นไว้บนหิ้งบูชา  แล้วก็นัดกันตั้งเครื่องบวงสรวงสังเวยต่อๆ กันมาทุกปีในช่วงวันสงกรานต์  พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช ท่านเล่าไว้ว่า เมื่อครั้งที่ควีนอลิซาเบธที่ ๒ เสด็จฯ เยือนเมืองไทยครั้งแรก  แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรเมืองโบราณที่บางปู  แล้ววันนั้นเจ้าหน้าที่ในขบวนเสด็จของควีนเกิดไปพูดอะไรเข้าคงจะเป็นทำนองลบหลู่ท่านท้าวเข้า  วันนั้นรถยนต์พระที่นั่งที่ควีนทรงเกิดไปตายกลางถนนแถวปากซอยทองหล่อเอาดื้อๆ  ต้องเปลี่ยนให้ประทับรถพระที่นั่งรองแทน  เพราะแก้ไขกันอย่างไรก็ไม่สำเร็จ  ที่สำคัญรถพระที่นั่งองค์นั้นเป็นยร่ห้อเดมเลอร์ของอังกฤษเสียด้วย   ปัจจุบันทราบใาว่าย้ายไปประดิษฐานที่วังศุโขทัยแล้วเหมือนกัน

องค์สุดท้ายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นมีขนาดเท่าคนจริง  ประดิษฐานที่ศาลท้ายพระราชวังพญาไท  องค์นี้ก็มีเรื่องเล่าอีกว่าตอนเชิญขึ้นประดิษฐาน  มร.แกเลตตี นายช่างชาวอิตาเลียนเอาเชือกไปผูกรอบคอรูปปั้นแล้วใช้ปั้นจั่นยกขึ้นประดิษฐานในศาล  เล่ากันว่าหลังจากนั้นไม่กี่วัน มน.แกเลตตีไม่ไปทำงาน  พระยาอาทรธุระศิลป์ นายงานของกรมศิลปากร ไปพบนอนป่วยหายใจไม่ออกมีรอยเขีบวช้ำที่รอบคอ  ต้องตั้งเครื่องสังเวยขอขมาลาโทษจึงหายป่วย

รูปหล่อทั้ง ๕ องนี้เป็นผลงานการปั้นหล่อของ พระเทพรจนา (สิน  ปฺฏิมาประกร) นายช่างประติมากรรมคู่พระบารมีทั้งหมด