เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 12595 วัดนางอัญมณีแห่งบางขุนเทียน
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


 เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:26

วัดนางนองเป็นวัดที่คนที่ศึกษาศิลปะไทยและคนที่เป็นคนไทยควรไปชมงานศิลปะกรรมล้ำค่าของวัดนี้  เนื่องจากช่วงนี้กรมศิลปากรได้เข้าไปทำการบูรณะซ่อมแซม ผมเลยคิดว่าในวันอาทิตย์นี้จะไปถ่ายเก็บเป็นหลักฐานงานศิลปะก่อนซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้งก่อนที่ีอารมณ์ความรู้สึก  ความงามแบบเดิมจะสูญหายไป   ตอนที่ไปถ่ายรูปที่วัดนางนองครั้งก่อนนั้นผมใช้กล้องคอมเเพ็คถ่ายซึ่งบางครั้งชัดบางครั้งไม่ชัดต้องขออภัยเอามาเรียกน้ำย่อยก่อนแล้วกันครับ

"วัดนางนองวรวิหาร" ตั้งอยู่ถนนวุฒา กาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเขตจอมทอง โดยเฉพาะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่คับคั่งมาแต่โบราณ คือ คลองด่าน หรือคลองสนามชัย อยู่ริมคลองฝั่งใต้ตรงข้ามวัดหนัง
วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานของการสร้าง แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ประมาณสมัยสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ 8 (ขุนหลวงสรศักดิ์) ราวปีพ.ศ. 2245-2252
ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพ.ศ. 2375 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้ทำเป็นงานใหญ่ รื้อของเก่า และปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม ดังปรากฏงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในพระองค์ที่พระอุโบสถและพระวิหารคู่
การทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางนองนั้น สืบเนื่องจาก วัดนางนองใน แขวงบางนางนอง เดิม เป็นนิวาสสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระนามเดิมคือ เจ้าจอมมารดาเรียม พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดนางนอง จึงมีศิลปะแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ศิลปกรรมที่เลียนแบบศิลปะจีนได้ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมเป็นหลัก จากรูปแบบการวางแผนผังพระอารามในรัชสมัยและงานสถาปัตยกรรมไทยที่สร้างสรรค์ ผสมผสานศิลปะจีน
การบูรณปฏิสังขรณ์ใช้เวลาหลายปีจึงแล้วเสร็จ ได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถเมื่อพุทธศักราช 2384
ทั้งนี้ พระพุทธรูปประธานประดิษฐานประจำพระอุโบสถวัดนางนองวรวิหาร มีพระ นามว่า "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"
พระพุทธมหาจักรพรรดิ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย พระพักตร์พุทธศิลป์สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร 25 เซนติ เมตร หรือประมาณ 4 ศอกครึ่ง เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ทำเครื่องทรงเครื่องประดับตกแต่งทุกชิ้น แยกออกจากองค์พระสวมทับลงไว้ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ปั้นลายปิดทองประดับกระจก กล่าวได้ว่า พระพุทธมหาจักรพรรดิ ถือ เป็นงานประติมากรรมชิ้นเอก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีความงามอย่างวิจิตรอลังการ ให้ความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้เข้ามาสักการะมีความอิ่มเอิบยึดมั่นในพระพุทธ ศาสนาอย่างสงบเยือกเย็น
มีเรื่องเล่าขานถึงมงกุฎทรงของพระพุทธมหาจักรพรรดิ เฉพาะเครื่องศิราภรณ์ คือ มงกุฎของพระพุทธมหาจักรพรรดิ มีประวัติว่า องค์ที่สวมอยู่นี้ เป็นองค์ที่ 2 องค์แรกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดให้สูงขึ้นจากเดิม
ทั้งนี้ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นสัญลักษณ์ชาติไทยสิ่งหนึ่งที่ชาวโลกรู้จัก สร้าง
ขึ้นด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยมีพระราชดำริเห็นว่าพระปรางค์เดิมสูง 8 วานั้น ยังย่อมอยู่ กรุงรัตนโกสินทร์ได้ตั้งขึ้นเป็นราช ธานี ยังไม่มีพระมหาธาตุ ควรเสริมสร้างให้ใหญ่เป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร
จึงทรงโปรดฯให้ลงมือขุดราก แต่การได้ค้างอยู่เพียงนั้นก็สิ้นรัชกาล
พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติได้ทรงโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม ต่อมา มีพระราชดำริออกแบบพระปรางค์เสริมให้สูงขึ้น เสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษ์ในปีที่ทรงผูกพัทธสีมาวัดนางนอง คือ พ.ศ.2385 ครั้นพระปรางค์สำเร็จเป็นพระมหาเจดีย์ โปรดยกยอดพระปรางค์ซึ่งเดิมเป็นยอดนภศูลตามพระปรางค์แบบโบราณได้เสด็จพระราช ดำเนินทรงเททองหล่อยอดนภศูลพระปรางค์เมื่อเดือน 12 พ.ศ.2390
มีหมายรับสั่งกำหนดวันยกยอดพระปรางค์ในเดือนอ้ายปีเดียวกัน ครั้นใกล้วันพระฤกษ์ ทรงโปรดฯให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานใน วัดนางนองมาสวมต่อบนยอดนภศูล
เกี่ยวกับเรื่องให้ยืมมงกุฎพระประธานวัดนางนอง ไปสวมบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "ความทรงจำ" ตอนหนึ่งว่า "จะเป็นด้วยพระราชดำริอย่างไร จึงทำเช่นนั้นหาได้ตรัสให้ใครทราบไม่ และการที่เอามงกุฎขึ้นต่อบนยอดนภศูล ก็ไม่เคยมีแบบอย่างที่ไหนมาก่อน"
คนในสมัยนั้น จึงพากันสันนิษฐานว่า มีพระราชประสงค์จะให้คนทั้งหลายเห็นเป็นนิมิตว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ จะเป็นยอดของบ้านเมืองต่อไป
กาลเวลานับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์นานกว่า 200 ปี สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งแท่นฐานชุกชี พระพุทธมหาจักรพรรดิได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ทำให้องค์พระประธานเอนไปด้านหลัง จึงได้บูรณะซ่อมแซมเสริมความมั่นคง ตลอดทั้งพระอุโบสถด้วย
พระพุทธมหาจักรพรรดิ เดิมไม่มีพระนาม แต่ได้ถวายพระนามในภายหลัง ด้วยพิจารณาว่า พุทธลักษณะแสดงถึงพระพุทธมหาจักรพรรดิทางธรรม


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:30


 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"




บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:32

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:33

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:34

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:34

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:35

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:36

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:36

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:39

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:39

 "พระพุทธมหาจักรพรรดิ"


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:41

ส่วนลวดลายฐานพระ


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:41

ส่วนลวดลายฐานพระ


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:42

ส่วนลวดลายฐานพระ


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:43

ส่วนลวดลายฐานพระ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 18 คำสั่ง