เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 09 พ.ค. 06, 20:10



กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 09 พ.ค. 06, 20:10
 วันนี้เจ้าหมูฯอยากจะชวน ทุกๆท่านในบ้านเราคุยเรื่อง “ ที่มาของสำนวน โวหาร ภาษิต สุภาษิต คำพังเพย ของไทย เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ , ไม่กินเส้น ฯลฯ ปกติเราก็จะทราบความหมายของคำเหล่านี้ ทั้งความหมายตรง และความหมายแฝง ดีอยู่แล้ว หรือถ้าไม่ทราบอย่างไร ก็ใช้ พจนานุกรมหรือใช้  www.goolgle.co.th ก็จะทราบได้ แต่ด้วยความรู้น้อย ด้อยมารยา ของหมูน้อยฯก็เลยเกิดความสงสัยว่า แล้วต้นสายปลายเหตุ ที่มาของคำ , ประโยค,วลี เหล่านั้น(บางคำ บางวลี บางประโยค) มาจากไหนกัน (ที่จริงก็มีใจอยากจะชวนทุกท่านคุยให้คลายเหงาด้วย)

เคยสงสัย ว่าทำไม “ต้องตกกระไดพลอยโจร” ด้วย .. ขึ้นกระไดมิได้รึ???  หรือทำไมไม่ “ตกกระไดพลอยตำรวจ”????

ผู้รู้อธิบายไว้ว่า
……….ตกกระไดพลอย"โจน" เป็นตำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องครับ
คือ โจน = กระโจน หรือ กระโดดลงมา นั่นเอง
ส่วนความหมายที่ถูกต้อง คงจะมีผู้รู้เข้ามาอธิบายให้ทราบต่อไป

โดย: ลุงแก่ [IP: 202.183.228.67]
วันที่ 19 ต.ค. 2543

………..สำนวนนี้น่าจะมาจาก
ไม่ได้ตั้งใจจะกระโดดลงบันได
แต่เสียหลักตอนกำลังลงบันได
เมื่อไม่อยากเจ็บตัวก็เลยกระโดดลงมาเสียเลย
เปรียบเทียบคนที่ทำไม่ดีอะไรบางอย่างที่ทำเพราะสถานการณ์พาไป
เนื่องจากมักเป็นเรื่องไม่ค่อยดี คนก็นึกว่าไปเป็นโจร
อย่างนักท่องราตรีตอนตีสองไปแล้วบางที่
เห็นเขาทะเลาะกันก็เลยแถมบาทาเข้าอีกอัน
(เกี่ยวหรือเปล่านะนี่)
ก็อย่าโจนกันบ่อยนักก็แล้วกันนะครับ

โดย: นิรันดร์ [IP: 203.121.130.34]
วันที่ 20 ต.ค. 2543

……………..ไหน ๆก็ตกบันไดหล่นลงมาอยู่แล้ว เลยพลอยกระโจนลงมาเสียเลย ถูกแล้วครับ ไม่เกี่ยวกับขโมยขโจรใดๆ

โดย: นกข. [IP: 156.106.223.98]
วันที่ 21 ต.ค. 2543

นั่งอ่าน “ กับข้าวชาววัง “ ของอาจารย์เทาชมพู ก็ได้สำนวนที่ว่า “ เกลียดตัวกินไข่” มา    (ถ้าอยากทราบที่มา ก็ได้โปรดกลับไปอ่านเสียดีๆ)

มีสำนวน ภาษิต ฯ อื่นอีก เช่นว่า
………..ไก่ตาแตก นี่มาจากไก่ชน ที่ชนกันแล้วโดนเดือยคู่ต่อสู่แทงตา (แตก หรือ บอดไป) หรือเปล่าครับ ?
วันที่ 6 มิ.ย. 2544 - 19:10:39
โดย: เปียว
………….เรื่องตัดหางปล่อยวัดนี่ทีแรกผมเข้าใจว่าเป็นการตัดหางหมา เพราะ
ไปติดคำว่า "หมาหางด้วน" กับ "หมาวัด" ตกลงเป็นการตัดหางไก่
หรือครับ สงสัยว่าคำนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมต้องตัดหางด้วย
ปล่อยวัดเฉยๆ ไม่ได้หรือ พยายามหาในเน็ตแล้วไม่เจอที่มาเลย...
เรื่องไก่กับเรื่องวัด มีสำนวน "สมภารกินไก่วัด" ด้วยนะครับ...

วันที่ 7 มิ.ย. 2544 - 17:26:28
โดย: แจ้ง ใบตอง

…………….ไก่ได้พลอย
-ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
-ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
-ไก่แก่แม่ปลาช่อน
ฯลฯ
แจ้ง ใบตอง [IP: 203.170.191.2] วันที่ 8 มิ.ย. 2544
เหล่านี้ล้วนมีที่มาด้วยกันทั้งนั้นอย่าง จากกระทู้ของคุณ ติบอ ที่เราเคยคุยเรื่องรามเกียรติ์ ผมก็นึกได้อีกหลายสำนวน เช่น วัดรอยเท้า , งอมพระราม, ศรศิลป์ไม่กินกัน ฯลฯ จำพวกนี้ก็มีต้นสายปลายเหตุจากวรรณคดีไทย และสามารถอธิบายได้ว่ามาจากตอนไหน เพราะอะไร
แต่อีกหลาย10 หลาย 100 ในสำนวนไทยนี้ ยังรอทุกท่านในบ้านนำมาแบ่งปันแจกแจงถึงที่มาที่ไปกัน(ให้สนุก )ครับ



“   (ขอคุยถึงสำนวน สุภาษิต ฯ เฉพาะของไทยและขออนุญาตยกเว้นคำคมนะครับ เพราะเดียวจะไปคล้ายกับกระทู้ http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=20&Pid=25801&PHPSESSID=7ffe8450b28f321428579ee772ac9433   เข้า)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 09 พ.ค. 06, 20:26
 ขออนุญาตเริ่มก่อนเลยก็แล้วกันครับ ด้วยสำนวนที่ว่า
" ลูกทรพี"
หมายถึงคนที่ไม่รู้จักคุณบิดามารดา
มีที่มาจาก ตอนศึกทรพี-ทรพา  
พระอิศวรสาปให้นนทกาลไปเกิดเป็นกระบือเผือก ชื่อ ทรพา และเมื่อมีลูกชายชื่อ ทรพี ขณะที่ให้กำเนิดทรพีนั้น นางนิลาได้พาหนีไปฝากเทพยดาให้ช่วยเลี้ยงดูที่ถ้ำสุรกานต์ เนื่องจากกลัว
ทรพาจะจับฆ่าเสีย เนื่องจากลูกตัวผู้ก่อนหน้านี้ก็ถูกทรพาฆ่าตายหมด เมื่อทรพีเติบใหญ่ก็ออกเดินทางตามหารอยเท้าพ่อ จนพบรอยเท้าใหญ่เหมือนกันจึงได้เกิดการต่อสู้ กับทรพาตามคำสาปของพระอิศวร แล้วทรพาถูกทรพีขวิดจนตาย

ตรงนี้ยังมีสำนวนเพิ่มมาอีกสำนวนหนึ่ง คือ " วัดรอยเท้า"
ซึ่งหมายความว่า เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ ,  พยายามลบหลู่ ต่อสู้ แข่งดี ผู้มีอำนาจสูงกว่า

ปล.ตรงนี้เข้าใจว่าแทบทุกท่านก็คงทราบถึงที่มาของ 2สำนวนนี้ดีอยู่แล้ว แต่หมูน้อยฯก็อยากนำมาเป็นตัวอย่างก่อน เป็นการเรียกน้ำย่อยนะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 09 พ.ค. 06, 22:28
 แวะเข้ามาถามสำนวนจากรามเกียรติ์อีกเล็กน้อยนะครับ
เพราะผมไม่ทราบจริงๆ ว่าสำนวนนี้มีที่มาอย่างไร


สืบเนื่องมาจากมีสมาชิก อยากเป็น "นางมณโฑ" ขึ้นมา
เลยทำให้ผมนึกถึงสำนวนอีกสำนวนนึงออก คือ "ฑ นางมณโฑ นมโตข้างเดียว"
แต่ถ้าเอาไปโพสต์ไว้ในกระทู้นั้นจะไปคล้องกับเรื่องใยบัวบน "สไบ" ของนางพิรากวน (มากไปหรือเปล่า)
เลยขอเอามาถามที่นี่ดีกว่าครับ ว่าสำนวนนี้มีที่มายังไง ทำไมถึงต้องโตข้างเดียว





ปล. ผมเดาเอาว่า ทศกัณฑ์ พิเภก พาลี และหนุมานคงถนัดขวา นางมณโฑก็คงถนัดขวา เวลาอุ้มอินทรชิตกินนม คงต้องให้กินข้างซ้าย
เพราะฉะนั้น เดาว่านมข้างซ้ายของนางมณโฑเป็นข้างที่โต แต่ไม่รู้ว่าทำไมต้องโตข้างเดียวอ่ะครับ แหะๆ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 09 พ.ค. 06, 22:49
อุ๊ย มีคนชวนคุย คุยด้วยก็ได้
เดี๋ยวจะหาว่าเรา สวยแล้วหยิ่ง

มีคำพังเพยอยู่อันหนึ่งนะคะ
ที่ดิฉันเพิ่งเกิดความคลางแคลงใจในความหมาย
คือ คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ
เพราะเข้าใจว่า แปลว่า เป็นธรรมดาโลกเมื่อมีคนรัก ย่อมมีคนชัง
แต่เพิ่งทราบว่า มีคนจำนวนไม่น้อย
แปลว่า มีจำนวนคนรักน้อยกว่าจำนวนคนชัง
(หรือมีคนชังจำนวนมากกว่า คนรัก ว่างั้นก็ได้)
เพราะเทียบระหว่างขนาดผืนหนัง กับผืนเสื่อ

พอพูดถึงผืนหนัง กับผืนเสื่อ
จิตดิฉันก็เจ้ากรรมนายเวรอะไรไม่ทราบ
ประหวัดไปถึง หนังกลางแปลง
(ทำไมไม่นึกถึงหนังตะลุงก็ไม่ทราบค่ะ)
ถ้าอย่างนั้นละ ผืนหนัง ใหญ่กว่าผืนเสื่อแน่ๆละ

หรือถ้าเทียบระหว่าง หนังช้าง กับ เสื่อใบเตย ล่ะ
ผืนหนัง ก็ย่อมใหญ่กว่าแน่ๆเลย

หรือดิฉันฟุ้งซ่านคะเนี่ย ช่วยตอบที


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 09 พ.ค. 06, 22:55
ขอต่ออีกหน่อย เพื่อประกันความฟุ้งซ่าน

การที่ดิฉันพยายามจะให้ผืนหนัง ใหญ่กว่าผืนเสื่อ
เพื่อให้จำนวนคนรัก มากกว่าคนชังเนี่ย
จะตีความอีกอย่างได้ไหมคะ ว่าเป็นคนมองโลกในแง่ดี
แบบน้ำเต็มครึ่งถ้วย อะไรอย่างนั้นน่ะค่ะ อิอิ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 06, 09:02
 สำนวนตัดหางปล่อยวัด  มีที่มาจากการสะเดาะเคราะห์   นิยมเอาไก่ไปปล่อยวัด แล้วเด็ดหางทิ้งเป็นการแก้เคล็ด  ถือว่าหมดเคราะห์แต่เพียงเท่านั้น  
มีหลักฐานอยู่ในประกาศรัชกาลที่ ๔ ค่ะ
ต่อมา เอามาใช้ในความหมายว่า ตัดขาด ไม่เลี้ยง  ไม่เกี่ยวข้องอุปถัมภ์ หมดความสนใจไยดีด้วยอีก

หนูเฟื่องจ๋า
คนรักเท่าผืนหนัง   หมายถึงหนังสัตว์ จะสัตว์อะไรก็ได้ ที่เขาลอกหนังออกมาเป็นชิ้นขนาดย่อมๆ    ส่วนเสื่อทอเป็นผืนใหญ่นั่งกันได้หลายคน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 06, 09:04
 สำนวนที่เกี่ยวกับหมู   นำมาฝากคุณหมูน้อยให้เลือกเอาค่ะ  ชอบสำนวนไหน
หมูเขาจะหาม  เอาคานเข้าไปสอด
หมูในอวย
หมูไปไก่มา
หมูสนาม


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 พ.ค. 06, 11:31
 คุณเฟื่องนี้ ก็
คิดอะไรไม่ค่อยเหมือนคนอื่นเขาอีกแล้ว!

อย่างนี้ละเขาถึงว่า

"น้ำเชี่ยวอย่าเข็นครกขึ้นภูเขา"

???????


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 พ.ค. 06, 11:34
 สำนวนของคุณติบอนั้น อ่านความเห็นแล้วก็ได้แต่ยิ้มๆไม่รู้จะต่อ ยอดยังไงดี สำหรับผมคิดว่าคงไม่ใช่สำนวนแต่อาจเป็นคำที่ใช้โดยคนอง หรือเป็นคำล้อเลียนเสียมากกว่า  แท้จริงแล้วเป็นยังไง ไม่ทราบได้

...เรียนอาจารย์ครับ
เมื่อตอนยังเด็กน้อยผมเคยเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดในโรงเรียนเล็กๆแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ผมเคยได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิตไทย ในตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายสักเท่าไหร่ อาศัยดูภาพซะเป็นส่วนใหญ่  ที่จำได้ดีในหนังสือเล่มนั้น คือสำนวนตัดหางปล่อยวัด ในภาพประกอบเป็นภาพคนถือพร้ายืนอยู่หน้าอุโบสถ   และมีภาพหมากำลังเลียหางที่กุดของตัวเอง ที่จำได้ดีเพราะว่าผมสงสารหมา  ใต้ภาพเค้าบอกประมาณว่าคนสมัยก่อนถ้าจะนำหมามาปล่อยวัด ก็มักจะตัดหางทิ้งเสียก่อนเพื่อจะได้ไม่มีใครจำได้ ว่าเป็นหมาของใคร เจ้าของเดิมที่นำหมามาปล่อยจะได้ไม่ถูกชาวบ้านตำหนิ การตัดหางหมาจึงเป็นที่มาของสำนวน “ตัดหางปล่อยวัด” อะไรทำนองนี้
ตอนนี้เห็นอาจารย์นำหลักฐานที่น่าสนใจมายืนยัน(ได้ความรู้ใหม่)  ก็เลยแปลกใจ เลยสงสัยว่าเป็นไปได้ไหม ที่บางสำนวนอาจจะมีที่มา จากหลายที่ต่างกัน

สำนวน
หมูเขาจะหามฯ  คือ เข้าไปขัดขวางขณะที่ เขาทำอะไรกำลังจะสำเร็จ อันนี้ก็พอจะทราบที่มาครับ
หมูในอวย ก็คง จะเหมือนหมูที่ถูกขังอยู่ในอวยรออยู่แล้ว ไปไหนไม่รอดแล้ว จะจับเชือด จับขาย หรือทำอะไร ก็ง่ายดาย
หมูไปไก่มา ก็คงมีที่มาอยู่ในลักษณะการแลกของซึ่งกันและกัน เอาหมูแลกไก่
( เดาถูกรึเปล่าก็ไม่ทราบ)
อย่างงั้นผมเลือกอยากทราบความเป็นมาของ  “หมูสนาม” ครับอาจารย์


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 พ.ค. 06, 16:42
 อีก 2 สำนวนที่น่าสนใจและมีที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์  ซึ่งปัจจุบันมีการนำไปใช้ผิดความหมายจากเดิมไปมาก ก็คือ
1.ศรศิลป์ไม่กินกัน
ศรศิลป์ไม่กินกัน มีที่มาจากรามเกียรติ์ ตอนที่พระรามและพระมงกุฎ พระลบ ต่อสู้กัน เพราะเข้าใจผิดไม่ทราบว่าแต่ละคนเป็นพ่อเป็นลูกกัน พระรามแผลงศรไปเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนศรของพระมงกุฎพระลบ กลายเป็นข้าวตอกดอกไม้ ทำอันตรายกันไม่ได้ คำนี้จึงมีความหมายตามเนื้อเรื่องคือ ทำอันตรายกันไม่ได้ ต่อมาความหมายกลายไปจากเดิม ใช้ในความหมายใหม่ว่า ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน

2. สิบแปดมงกุฎ
สิบแปดมงกุฎ เกิดจากเทวดาจำนวน ๑๘ องค์ ขอแบ่งภาคมาเกิดเป็นทหารลิง ๑๘ นาย เรียกว่า สิบแปดมงกุฎ โดยแยกกันไปเกิดที่เมืองขีดขินบ้าง ที่เมืองชมพูบ้าง
มีดังนี้
๑. เกยูร
๒. โกมุท
๓. ไชยามพวาน
๔. มาลุนทเกสร
๕. วิมล
๖. ไวยบุตร
๗. สัตพลี
๘. สุรกานต์
๙. สุรเสน
๑๐. นิลขัน
๑๑. นิลปานัน
๑๒. นิลปาสัน
๑๓. นิลราช
๑๔. นิลเอก
๑๕. วิสันตราวี
๑๖. มายูร
๑๗. กุมิตัน
๑๘. เกสรทมาลา

โดย: บอกไป [IP: 207.109.8.79]
วันที่ 3 ต.ค. 2543

………..ความหมายของสิบแปดมงกุฎที่กลายไปจากเดิม มีความเป็นมาว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีนักเลงการพนันชั้นยอด รู้จักกันแพร่หลายพวกหนึ่ง สักรูปมงกุฎที่ตัวค่ะ จนชาวบ้านตั้งสมญาว่า "สิบแปดมงกุฎ"
ต่อจากนั้นใครเป็นนักเลงการพนันที่ขึ้นชื่อ ก็พากันเรียกว่าเป็นพวกสิบแปดมงกุฎ ไม่เกี่ยวอะไรกับทหารพระรามอีกแล้ว
จาก "สำนวนไทย" ของขุนวิจิตรมาตรา ค่ะ
พอมาถึงปัจจุบัน สิบแปดมงกุฎ เปลี่ยนความหมายไปอีก สื่อมวลชนใช้เรียกหมายถึงพวกอันธพาล ประเภทต้มตุ๋นฉ้อโกง ไม่ใช่การพนันอย่างเดียว
โดย เทาชมพู
วันที่ 6 ต.ค. 2543


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 พ.ค. 06, 16:57
 กระทู้ชวนคุย…นี้ใช่ว่าจะเป็นกระทู้แรกที่คุยเกี่ยวกับเรื่อง สำนวน สุภาษิตไทย จะว่าไปแล้วใน เว็บ วิชาการของเรานี้ก็มี กระทู้ที่เกี่ยวกับที่มาของสำนวน สุภาษิตอยู่มากมายหากอ่านย้อนหลังไปหลายๆปี ก็จะเจอ หลายกระทู้ทีเดียว เพียงแต่กระจัดกระจายอยู่คนล่ะทิศล่ะทาง  ถ้าจะนำมารวมๆไว้ให้อ่านให้ศึกษาในที่เดียว ก็คงจะดีไม่น้อย เดี๋ยวหมูฯจะลองรวบรวมมาให้อ่านๆกัน

เจอแล้วอีก 1

สำนวนที่ถูกต้องคือ "หัวมังกุ ท้ายมังกร" ค่ะ ทั้งมังกุและมังกรเป็นชื่อเรือคนละชนิดกัน
โดย: เทาชมพู
วันที่ 23 มี.ค. 2549


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 06, 17:18
 เข้ามาตอบการบ้านคุณหมูน้อยฯ ค่ะ

ตัดหางปล่อยวัด มีหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่าเป็นไก่ ไม่ใช่ หมา
๑) ประกาศในรัชกาลที่ ๔
" เมื่อคนที่มีศรัทธาฤๅคนถือการเสียเคราะห์  เอาไก่ไปปล่อยวัดไม่ขาด"
สมัยโน้นเอาไก่ไปปล่อยวัดเป็นการสะเดาะเคราะห์   คล้ายกับสมัยนี้เราปล่อยปลาไหล  ปล่อยเต่ากัน

๒) ในพระราชนิพนธ์อิเหนา  ตอนปันหยีชนไก่  

สองฝ่ายให้น้ำสรรพเสร็จ..........เสียเคราะห์ทำเคล็ดเด็ดหาง
ดีดมือถือไก่เข้าไปวาง.............ในกลางสังเวียนสนามพลัน

ที่มา "สำนวนไทย" ของหลวงวิจิตรมาตรา( กาญจนาคพันธุ์)

ที่เราคิดว่าเป็นหมา อาจจะเป็นเพราะชินกับหมาวัด มากกว่ามั้งคะ
ส่วนเหตุผลการตัดหางหมาเพื่อไม่ให้จำได้ว่าเป็นหมาใคร    ดิฉันไม่ค่อยเห็นด้วย  
เพราะเวลาดูหมา กี่คนจะเลือกไปจดจำหางมากกว่าจำหน้ามันว่านี่หมาเราหรือหมาใคร


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 06, 17:39
 หมูสนาม เป็นสำนวนที่ไม่เก่ามากนัก คงจะไม่กี่สิบปี

คณะสิงห์ดำในสมัยหนึ่ง มีเพลงเชียร์ว่า สิงห์เผ่น สิงห์เผ่นสิงห์ผยอง สิงห์คะนองจะลงสนาม
ถูกคณะคู่ปรับ นำไปแปลงว่า
หมูแผ่น หมูแผ่น หมูหยอง  หมูกระป๋องจะลงสนาม...
คุณนกข.เคยร้องหรือเปล่าไม่ทราบ  หมายถึงเพลงของแท้นะคะ ไม่ใช่เพลงแปลง

ที่ยกมาเพื่อจะอธิบายว่า คำว่าหมู คำเดียวล้วนๆ เป็นสำนวนมานานแล้วว่า ง่าย ง่ายดาย สะดวก ไม่เก่ง  ไม่มีชั้นเชิง ไม่ยากอะไร
คงเป็นเพราะหมูเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่ในคอก หนีไปไหนไม่ได้   ต้อนเข้าเล้าหรือต้อนออกมาใส่กระสอบส่งโรงฆ่าก็ไม่ยาก

จึงเอาคำนี้ไปประกอบคำอื่นๆ เช่นเรื่องหมูๆ  แปลว่าเรื่องง่ายๆ
พอประกอบคำว่าสนาม ก็คือไม่เก่งในการแข่งกีฬา


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 พ.ค. 06, 17:47
 ระหว่างที่ไปหาคำตอบ กลับมาก็เห็นคำตอบอาจารย์ วางไว้บนหน้าจอเสียแล้ว

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ ถ้า เป็นผม ผมก็จำได้ว่าหมาใคร และถ้าคนสมัยก่อนนิยมตัดหางหมาเหมือนในสมุดภาพที่ผมเคยเห็นนั้น หมามันคงน่าสงสารแย่

...........ตัดหางหมาหรือหางไก่เนี่ย ตามคำตอบสุดท้ายของคุณไตรภพแห่งเกมเศรษฐี เค้ายืนยันว่าหางไก่นะคะ ไม่ได้บอกด้วยว่าอ้างอิงจากไหนค่ะ

โดย: อ้อยขวั้น [IP: 203.144.223.74]
วันที่ 7 มิ.ย. 2544


แล้ว "หมูสนาม" ของผมล่ะครับ


.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 พ.ค. 06, 17:55
 ????
ไอ้หย่า....โพส ช้ากว่าอาจารย์ คำถามเลยมาก่อนคำตอบเลย..??
หมูสนาม มีที่มาแปลกกว่าที่คิดเสียอีก ??
แม้ว่าจะเข้าใจความหมายแต่ก็ไม่เคยได้รู้ที่มา (เดี๋ยวผมรีบต้องไปต่อ ยอดเอาเองเกี่ยวกับคณะสิงห์ดำเสียแล้ว)
ขอบพระคุณอาจารย์ครับ.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 10 พ.ค. 06, 18:00
 ขออนุญาต หยิบอีกหลายๆสำนวนในกระทู้อื่นๆมาแปะรวมๆไว้ในกระทู้นี้นะครับ

***   --- คำว่า ร้อนตับจะแตก มีที่มาอย่างไรคะ
อยากทราบว่า คำว่า ร้อนตับจะแตกมีที่มาจากไหน ทำไมต้องเป็นตับด้วย
ขอบคุณค่ะ
โดย just somebody

จะมาจากเวลาทำอาหารหรือเปล่าครับ
จำได้ว่าถ้าต้มน้ำเดือดมากเกินไป ตับจะกระด้าง
แต่ไม่เคยต้มเองซะด้วยสิครับ เลยไม่แน่ใจว่าจะแตกหรือเปล่า

โดย: ติบอ
วันที่ 20 มี.ค. 2549

***   ---  ทำไมไม่ร้อยย่านน้ำ หรือ สองร้อยเอ็ด
แล้วทำไมไม่แปดหรือ ห้าย่านน้ำ
หรือเพื่อเป็นคำคล้องจอง

เปิดพจนานุกรมดู กเห็นว่า ร้อยเอ็ดแปลว่าแยะ มาก
เรียนผู้รู้ กรุณาไขข้อข้องใจด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
โดย นิรันดร์

……………….เรียนอาจารย์นิรันดร์ครับ

ต่อไปนี้เป็นการเดาของผมเอง
ร้อยเอ็ดแปลว่า แยะ มากมาย จริงๆ ครับ ดังนั้นในทาง "คณิตศาสตร์วรรณคดี" ไม่ใช่คณิตศาสตร์จริงๆ 101 จึงเท่ากับ 500 และ 108 และ 1009 คือต่างก็แปลว่าเยอะแยะมากมายทั้งนั้น

ตัวอย่างมีเช่น กษัตริย์หัวเมืองต่างๆ ที่เป็นตัวประกอบ ไม่ใช่พระเอก ในนิยายอินเดียและนิยายไทยโบราณ จะมาจาก 101 เมืองแทบทุกเรื่อง ไม่ค่อยเคยได้ยินว่ามาจาก 99 หัวเมือง หรือ 200 เมือง หรือ 78 เมือง ฯลฯถ้าจะว่ากันทางความเชื่อ ดูเหมือนเลข 7 กับ 108 จะมีความศักดิ์สิทธิ์บางประการสำหรับคนโบราณ (พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ รวมกันได้ 108 ประการ ส่วนเลข 7 ในตำนานต่างๆ มีตัวอย่างนับไม่ถ้วน) เอา 108 ลบ 7 ก็ได้ 101 เวลาพูดต่อกันเป็น ร้อยเอ็ดเจ็ด... ยังฟังคล้องจองกันดีซะอีก นี่จะเป็นสาเหตุของการพูดสำนวนนี้ได้หรือไม่?……………
โดย: นกข.

…………ดิฉันสันนิษฐานว่าเจ็ดย่านน้ำมาจากความเชื่อของคนไทย ด้านภูมิศาสตร์โลกโบราณที่เรารู้จากไตรภูมิพระร่วง (ซึ่งมาจากอินเดียอีกที)
หมายถึงทะเลสีทันดรซึ่งหมายความรวมถึงทะเล ๗ แห่ง คั่นเขาสัตบริภัณฑ์ ค่ะ

เจ็ดคาบสมุทร เป็นสำนวนเกิดขึ้นทีหลัง เท่าที่จำได้คือประกอบหนังเรื่องซินแบด ผจญภัยเจ็ดคาบสมุทร
เพราะในนิทานบอกว่าซินแบดเดินทางไป ๗ ครั้ง ตามทะเลต่างๆ
โดย: เทาชมพู


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ศนิ ที่ 10 พ.ค. 06, 19:39
 ขอยกมือ เสนออีกสำนวนค่ะ
ทำไมต้องฉลาดเป็นกรด ฉลาดเป็นกลางหรือฉลาดเป็นเบสไม่ได้หรือคะ
ขอบพระคุณค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ชื่นใจ ที่ 10 พ.ค. 06, 21:35
 ด้วยคนสิคะ

"พูดเป็นต่อยหอย" มีที่มาอย่างไรคะ อิฉันเดาว่าสำนวนนี้ไม่น่าจะเก่าเท่าไรนัก (มังคะ)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 10 พ.ค. 06, 21:59
คหพต หมูสนาม แต่แปะรูป หมาราว อิอิ

ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์
อาจารย์อธิบายเห็นภาพเลย
สรุปว่า คนรักน้อยกว่าคนชังหรือคะ แง๊
(โลกสีชมพูของหนูเฟื่องแตกดังโพละ)

ตกลง กระทู้นี้ อาจารย์เหนื่อยเลย
มีแต่นักเรียนรุมถาม แหะๆ
เอ๊ เมื่อเช้า เฟื่องอ่านหนังสือในเมโทร
เจอสำนวนอะไรหนอ
นึกไม่ออกค่ะ ไว้นึกออกจะมาใหม่

กระทู้นี้สนุกจริงๆ ได้ความรู้ด้วย
ขอให้เจ้าภาพจงเจริญ ขอบคุณนะคะ
คุณหมูย่างกะทิ
(เอามะพร้าวที่เคยอยู่ในกะลาแหละ มาย่างหมู อิอิ)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ค. 06, 07:55
 ฉลาดเป็นกรด    เห็นจะต้องเดาค่ะ

คนไทยเรานิยมเปรียบเทียบความฉลาด ด้วยคุณศัพท์ที่แสดงให้เห็นถึงของแหลม /ของคมที่เจาะทะลุอะไรได้ปรุโปร่ง
อย่างคำว่าแหลมคม  หรือหลักแหลม ก็แปลว่าฉลาด    พูดจาคมคาย ก็คือพูดจาฉลาด
ก็เลยมีคนหยิบยก "กรด" มาใช้   เพราะกรดมันก็มีคุณสมบัติ กัดทะลุอะไรต่อมิอะไรได้ง่าย ไม่ว่าผ้าหรือของใช้อื่นๆ
จึงมีคำว่า ฉลาดเป็นกรด  ไม่ใช่ฉลาดเป็นด่าง หรือฉลาดเป็นน้ำ  เพราะสองอย่างหลังไม่มีคุณสมบัตินี้

ต่อยหอย   เวลาคนเขาต่อยหอยออกจากแง่หินที่มันเกาะอยู่  ต่อยโป๊กเดียวไม่จบ  ต้องต่อยๆๆๆติดต่อกันไม่ขาดสาย  
จึงเอามาเปรียบกับคนที่พูดเก่งพูดไม่หยุดไงคะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 11 พ.ค. 06, 11:04
 ที่จริงแล้วกระทู้นี้ กะจะให้ทุกๆคนช่วยกันนำ สำนวนที่แต่ละคนพอจะรู้ที่มา ของสำนวน มาแบ่งปันกันโดยการช่วยกันโพสลงไปคน ล่ะสำนวน 2สำนวน แบ่งปันความรู้กันไป
ตอนนี้กลายเป็นว่า เราพากันเฮโลมาถามอาจารย์หมด อาจารย์ของเราท่านก็เหนื่อยกันพอดี..
( แต่ก็อดสงสัยตามคำถามของแต่ละท่านไม่ได้….)
อย่างเรื่องกรด นี้ยังมี เร็วเป็นกรด อีกคำ  
ส่วนคำที่เสียงคล้ายกันก็มี พระจันทร์ทรงกลด ที่หมายถึง พระจันทร์ที่เปล่งรัศมี กลมๆออกมาโดยรอบ

สำนวนที่มีความหมายคล้ายๆกับ พูดเป็นต่อยหอย ก็มี สำนวนว่า พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง  ซึ่งหมายถึงพูดๆๆๆไม่หยุดปากเช่นกัน ต่างกันเพียงที่ สักแต่ว่าพูดๆ แต่ไม่รู้ความหมาย..จ้า


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 พ.ค. 06, 15:17
 พูดเป็นนกแก้วนกขุนทองนี่ ถ้าเป็นสำนวนฝรั่ง
จะแปลว่า คนที่พูดเลียนคนอื่น ซ้ำๆซากๆ นะคะ
ตอนมาใหม่ๆ เพิ่งรู้จักแม่บ้านประจำตึก
แมวที่บ้านก็ไม่ทราบว่าเธอชื่ออะไร เรียกแต่มาดามๆ
เฟื่องเลยแอบเรียกมาดามว่า พอลลี่
เพราะเธอขยันพูดเสียจริง แจ้วๆๆๆ ไม่ขาดปาก
ตามความหมายสำนวนไทย นกแก้วนกขุนทอง

ตอนนี้ รู้ว่าเธอชื่อ มิเชลล์
ก็ยังแอบเรียกกับแมวสองคนว่า พอลลี่
แหะๆ  


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ค. 06, 17:42
 เร็วเป็นกรด   สำนวนเต็มคือ "เร็วเป็นลมกรด" ค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 พ.ค. 06, 17:55
 ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์
หนูจะไปค้นมาเอง ว่า ลมกรด คืออะไร
เพราะเดี๋ยวคงมีคำถามต่อมาอีกแน่ๆ ฮ่าๆ
(หนูก็ไม่รู้จักค่ะ ลมกรด อิอิ)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 พ.ค. 06, 18:00
 ลมกรด คือ แถบกระแสลมซึ่งมีความเร็วประมาณ 200 ถึง 400 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง
แนวกระแสลมกรดนี้ โดยมากพัดจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
และเป็นแนวโค้งคดเคี้ยวคล้าย ๆ กับแม่น้ำโค้ง (meandering rivers)
กระแสลมกรดส่วนมากอยู่ในระดับสูงระหว่าง 9 ถึง 12 กิโลเมตร
แนวกระแสลมกรดจะมีความลึกหรือความหนาเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร กว้างเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร
ยาวเป็นพัน ๆ กิโลเมตร เกิดขึ้นในบริเวณละติจูด 30 ถึง 40 องศาเหนือ
และพัดโค้งไปมาคล้ายแม่น้ำ จากละติจูดสูงไปละติจูดต่ำ หรือจากละติจูดต่ำไปละติจูดสูง

กระแสลมกรดมีความสำคัญต่อการบินมาก
ได้มีการค้นพบกระแสลมกรดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ซึ่งบินและเห็นจุดหมายอยู่แล้ว
แต่ไม่สามารถไปใกล้จุดหมายนั้นได้
เนื่องจากบินสวนทิศกับกระแสลมกรดอยู่เรื่อย
ซึ่งทำให้ความเร็วของเครื่องบินลดลงไปมาก
นอกจากนั้นแล้วบริเวณกระแสลมกรดอากาศ จะมีความแปรปรวนปั่นป่วนมาก
เนื่องจากความแตกต่างของความแรงของกระแสลมกรด กับอากาศที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
ลมกรดยังมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนอง
โดยส่งผลให้มี ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้

จากเว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 11 พ.ค. 06, 20:01
 ขอบคุณคุณเฟื่องแก้วครับสำหรับ “ลมกรด” โดยเฉพาะประโยค “การค้นพบกระแสลมกรดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ “ เคยอ่านหนังสือประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 พบว่าระเบิดปรมาณูที่ไปทิ้งที่นางาซากินั้น เดิมทีไม่ตั้งใจให้ไปทิ้งที่นั่นแต่ต้องเปลี่ยนเป้าหมายกระทันหันเพราะภูมิทัศน์, หมอกและกระแสลม ลมที่กว่านั้นคือ กระแสลมกรดนี่เอง

พูดถึงเรื่องความเร็ว ผมมีอีกสำนวนหนึ่งที่จำได้ คือ สำนวนว่า “ชั่วพริบตา” หมายถึงโดยทันทีทันใดนั้น  โดยฉับพลันทันที หรือ รวดเร็วมากๆ อีกสำนวนที่ความหมายเดียวกัน คือ “ เพียงพริบตาเดียว” มีที่มาจากการเปรียบเทียบกับความรวดเร็วของการกระพริบตา


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 11 พ.ค. 06, 20:20
 เห็นนกแก้วนกขุนทองก็อดคิดถึงสำนวนนี้ไม่ได้ครับ

“ เจื้อยแจ้ว”


เจื้อยแจ้วเหมือนนกแก้วนกขุนทอง
เจื้อยแจ้ว คือการพูดไม่หยุดไม่หย่อน ทำให้เรารำคาญ (คุณเฟื่องชอบเจื้อยแจ้วไหมหนอ .. แต่ไม่ต้องห่วงเพราะคุณติบอชอบฟัง !! )  แต่เมื่อก่อนเจื้อยแจ้ว คือเสียงร้อง ไพเราะๆที่ร้องยาวต่อเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันความหมายก็แปลงไปเป็นอย่างที่เห็น.


.  


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 11 พ.ค. 06, 21:46
 ใครมีเตภูมิกถาลองตรวจดูหน่อยเถิด จำได้ว่ามีพูดถึงลมกรด หรือน้ำกรด ในตอนพรรณานรก
ผมห่างมาก็นานแล้ว (......หนังสือนะจ๊ะ หนูเฟื่อง ไม่ใช่นรก)
จำไม่ถนัดว่ามีหรือไม่

ถ้าใช่ คำนี้ก็เก่าพอกับภาษาไทย
แต่เก่ากว่า วิชาเคมีในประเทศไทยแน่ๆ

ส่วน 108 มีคำอธิบายที่พอฟังได้ใน คอคิดขอเขียน เกี่ยวกับการนับข้อนิ้วระหว่างบริกรรมคาถา

101 มาจากเมืองร้อยเอ็ดนครในชาดกกระมัง

เรื่องอกตัญญูนี่ สำนวนเลื่อนมาเรื่อย
จอมพล ส. เคยให้สัมภาษณ์ถึงจอมพล ป. ว่า ผมไม่ "วัดรอย" ท่านดอกครับ โบราณใช้แค่นี้เองไม่ต้องเพิ่มเครื่องปรุง

สิบกว่าปีก่อน ผมซึมมมมไปเล็ย มีโฆษณารายการประกวดผู้ประกาศข่าวในสถานีหนึ่ง ทำเสียงประกอบเป็นกุมารีเจื้อยแจ้วว่า
หนูอยาก วัดรอย คุณแม่ค่า....
ผมงี้ อยากล้วงมือเข้าไปในวิทยุ หยิกแม่หนูน้อยสักเขียวหนึ่ง
ไม่รู้ที่ต่ำที่สูงเลย (นี่ก็สำนวนเหมือนกัน)

สุดท้าย เรื่องผืนหนัง
หนังเป็นราชูปโภคครับ มีน้อยอย่างยิ่ง ตอนปลายอยุธยา ได้มาผืนหนึ่ง (เรื่องหนังราชสีห์ของเฒ่าสา) ถึงจดลงพงศาวดารเชียว
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีการเชิญมาปูด้วย
อาจจะเป็นคติตกค้างมาจากไศวนิกาย ที่พระอิศวรห่มหนังเสือ
ทั้งหมดนี่ เดาล้วนๆครับ

สำนวนที่ผมชอบคือ
โง่นอนเตียง
ใครแปลออกมั่ง

รูปมาจาก DownTheRoad.org ฝูงฤาษีที่ริมไกรลาศ ปราสาทตาพรม
.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 พ.ค. 06, 22:30
กิ๊กเลย แหม พี่พัฒน์ เดี๋ยวนี้ ดักคอล่วงหน้า เฟื่องแซวไม่ถูกเลย

ขอจัดการคนนี้ก่อน จะไม่ย่างหมูแล้ว

เจี๋ยน เลย นี่แน่ะๆๆ หาว่าเราเจื้อยแจ้ว


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 11 พ.ค. 06, 22:33
 มาช้าไปแยะเลย
ขอคุ้ยความคิดเห็นที่ 1 ของคุณหมูน้อยฯ ขึ้นมา
เรื่อง"ลูกทรพี"

ผมค่อนข้างมีความเห็นขัดแย้งกับคนอื่น ๆ ในสำนวนนี้
ถ้า"พ่อทรพา"ยังอยู่ต่อ เห็นว่าลูกควายจะต้องตายไปเปล่า ๆ อีกแยะ
แม่ควายทั้งหลายก็จะต้องเศร้าโศกเสียใจกันไม่รู้จักจบ เพราะมีลูกเป็นตัวผู้ปั๊บก็จะถูกพ่อฆ่าทุกตัวไป

ความผิดของทรพี ไม่น่าจะอยู่ที่มันฆ่าพ่อตัวเอง เพราะพ่อทำบาปชั่วช้าไว้มาก สมควรตายได้
และก็เป็นคำสาบให้ต้องถูกลูกฆ่า ความผิดที่ลูกฆ่าพ่อ น่าจะอยู่ที่เทวดาที่ซี้ซั๊วสาป มากกว่า
แต่ความผิดของทรพีอยู่ที่กำเริบเสิบสาน ลืมบุญคุณของเทวดาที่รักษาเขาและตีนทั้งหก


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 พ.ค. 06, 22:34
 พี่พัฒน์ หนูเคยได้ยินแต่ โง่แล้วอยากนอนเตียง

ส่วนโง่นอนเตียงของพี่พัฒน์ แปลไม่ได้ค่ะ
หนูโง่นั่งเรือบิน อิอิ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 11 พ.ค. 06, 22:42
 โง่แล้วอยากนอนเตียง คอเอียงแล้วอยากหนุนหมอน

ฟังแล้ว เหมือนสำนวนที่เหยียด ๆ คนอื่นแบบว่าแบ่งชนชั้นวรรณะ
แบบว่าไม่สมควรได้แล้วอยากได้ก็เลยถูกดูถูกเอา

คล้าย ๆ กับหน้าอย่างแก ขาอ่อนก็ไม่ได้แอ้ม  
เกี่ยวกันหรือเปล่าเนี่ย    


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 พ.ค. 06, 23:54
 ฮ่า ๆ อาจารย์นิรันดร์ เปรียบได้จี้จริงๆ เลย

สงสัยจะเกี่ยวกันแน่ๆ ค่ะ อิอิ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 พ.ค. 06, 00:03
 โง่ (แล้วอยาก) นอนเตียง นี่มันประโยค ไม่ใช่สำนวน
แหนะ ไปเถียงจอมภาษา คราวที่แล้วอัดเราเรื่อง ร หรร ยังจำซึ้งใจ

คำเฉลยอยู่ที่พ่อขุนรามฯ ถ้าเชื่อว่าท่านเป็นเจ้าของหินแท่งนั้นจริง
เบื๋องหววนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรณณภูมิ ราชบูรี เพช(บู)รี ศรีธรมมราช ฝ่งงทเลสมุทรเปนที่แล๋ว (http://olddreamz.com/inscript/ramkhamhaeng.html)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 12 พ.ค. 06, 10:40
 พระจันทร์ทรงกลดหรือพระอาทิตย์ทรงกลดก็ตาม กลด นะครับไม่ใช่กรด แปลง่ายๆ ว่าพระจันทร์พระอาทิตย์กางร่มไงครับ  รู้จักกลดพระธุดงค์ไหมครับ ที่ลักษณะเป็นร่มใหญ่ๆ กลมๆ วงรัศมีกลมๆ ล้อมพระจันทร์พะอาทิตย์เลยเรียกว่ากลดไปด้วย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 12 พ.ค. 06, 10:46
 http://olddreamz.com/inscript/ramkhamhaeng.html  


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 12 พ.ค. 06, 10:49
 ผมก็ห่าง ... หนังสือไตรภูมิ ไม่ใช่นรก มานานเหมือนกันครับคุณ pipat แต่จำได้เหมือนกันว่ามีการพูดถึงลมกรด หรือมิฉะนั้นก็น้ำกรดในนรกขุมใดขุมหนึ่ง คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นนรกที่หนาวเย็นสุดๆ

มีความรู้สึกว่าแนวคิดที่ว่าหนังราชสีห์เป็นเครื่องราชูปโภคสำคัญสำหรับพระมหากษัตริย์นั้น จะมาทางอาหรับเปอร์เซียทางโน้น แต่ไม่แน่ใจ ที่แน่ๆ ไทยเรากำหนดให้เอาหนังราชสีห์ปูลาดพระที่นั่งให้พระมหากษัตริย์ประทับในพิธีการสำคัญๆ หลายพิธี ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องทางอำนาจเดชาศักดาฤทธิ์ จำได้อีกอย่างซึ่งไม่รู้จะเกี่ยวกันไหม ว่า ตามตำราพรหมชาติ ราชสีห์เกี่ยวข้องอยู่กับพระอาทิตย์ เจ้าแห่งความร้อนแรงและเดชะ เพราะสิงโตเป็นวัตถุดิบที่พระอิศวรเอามาป่น กี่ตัวไม่รู้ ห่อผ้าแดง พรมน้ำทิพย์ เสกพ้วง - ก็ได้พระอาทิตย์มาดวง (องค์) หนึ่ง


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 12 พ.ค. 06, 11:04
 นึกไม่ออกแล้วว่าเคยไปรบกวนคุณ pipat เรื่อง "ร หรร" ไว้ตั้งแต่สมัยไหน
ความรู้ภาษาไทยผมก็เรียนแค่มัธยมซึ่งก็นานเกิน 30 ปีไปหลายปีแล้ว
ระเบียบของการเรียกสำนวนหรือประโยคอาจเปลี่ยนไปมากมาย

อย่างการนับรูปพยัญชนะ เสียงสระ เดี๋ยวนี้ก็ต่างกับสมัยที่ผมเรียนไปไกล
สัปดาห์ จะอ่าน สับ ดา หรือ อ่าน สับ ปะ ดา ก็ได้
แต่ก่อนอ่านผิด ถูกตีมือหัก
เดี๋ยวนี้ ใครตีเด็ก ถูกตัดเงินเดือน ถูก ถูก ...

อย่างไรก็ขอบคุณที่เอาศิลาจารึกมาฝากนะครับ
แล้วก็ทำลิ้งค์ให้แล้วด้วย

เห็นศิลาจารึกก็นึกถึงสมัยที่ยังจีบสาวอยู่
ก็อาศัยศิลาจารึกนี่แหละ กับประวัติวรรณคดีและการประพันธ์ ของท่านอาจารย์เสนีย์ วิลาวัลย์
เป็นต้นแบบในการเขียนจดหมายปริศนา ด้วยภาษาพ่อขุนราม จีบกัน
แล้วก็อยู่อาศัยด้วยกันมาจนลูกโตจะสามสิบขวบเข้าไปแล้ว


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 พ.ค. 06, 16:38
 จอมภาษา ไม่ใช่ คุณนิรันดร์ เป็นอันขาดนะครับ

เจ้าตัวเธอชอบแอบแหย่ชาวประชาอยู่แถวนี้
ดูเหมือนเจอ spirited away เข้าไป
หายจ้อยเล็ยยย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 06, 17:04
 เอาสำนวนแปลกๆ  มาวางไว้  ให้คุณหมูน้อยฯน้ำลายหก   อาจจะไม่เคยได้ยินแล้วค่ะยุคนี้

เห่อสักหลาด
ให้เหยื่อเสือผอม
อิน (คนละอย่างกับ "อิน" ในยุคนี้)
ล้มขร
มันเทศขึ้นโต๊ะ
ธงแดง
นกกระจอก
เต็มสติม


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 12 พ.ค. 06, 18:11
 แหม พี่พรรฒน์ ได้ทีขี่แพะไล่ เลยนะคะ
ทำงานค้า ทำงาน เลยไม่ค่อยได้เข้าเรือน

อาจารย์คะ เห่อสักหลาด นี่ หนูพูดเองเรื่อย
แต่ยังเข้าใจ (ไปเองอีกแล้ว) ว่ามันเขียนว่า
เห่อศักราช ..เอาเข้าไป

ล้อมขร มาจากทศกัณฑ์ล้มขร หรือเปล่าคะ
แปลว่า นอนเอี่ย.. เหมือนตาย อิอิ
หนูแซวคนด้วยคำนี้เสมอๆ

มันเทศขึ้นโต๊ะ เดาว่าแปลว่า ของธรรมดาที่มีดาษดื่น
เอามาทำให้หรูหรา อวดแขกเหรื่อ หรือเปล่าคะ
หรือเปล่าคะ

นกกระจอก เคยได้ยินประกอบ กินน้ำ
แต่นกกระจอกตัวเดียว ไม่เคยได้ยินค่ะ

เดี๋ยวจะหาว่า เรากินแรงอีก
เอาสำนวน แมวๆ มาฝากคุณหมูสักอันก็ได้

แมวพึ่งพระ แปลว่า คนที่อาศัยบารมีผู้ใหญ่เป็นที่พึ่ง
ลำพังตัวเองไม่มีฝีมือ แต่เพียรคลอเคลีย
ประจบประแจงเอาใจ เหมือนแมววัดประจบพระ

แต่ถ้าสำนวน หมาวัด นี่ฟังกระจอกกว่ากันมาก
จริงๆ ในวัดต่างๆ ก็อุดมไปด้วยหมาและแมว
แต่แมวอยู่ในกุฏิ ตามศาลา ใกล้ชิดพระมากกว่า
แต่หมาอยู่ตามลานวัด หรือตามร่มชายคา
ไม่ค่อยมีอภิสิทธิ์เท่าแมว

และ หมาวัด มักจะหมายปอง ดอกฟ้า


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 พ.ค. 06, 18:54
 ขี่แพะไล่ ที่ใหนจะทันแมวเฟื่อง

เอางี้ มีกี่เฟื่องในสำนวนไทย ตอบได้ปะ

ผมชอบสำนวนไทยมากกกก ตลกลึกและผิดคาดหมาย แถมยังซ่อนเงื่อนหลายชั้น

ลูบหน้า ปะตะหมูก
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
กลับตาลิปัตร
......

แต่คำนี้น่าจะเป็นแสลงกระมัง
กุละ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: Rinda ที่ 12 พ.ค. 06, 20:01
 ขออนุญาตสื่อถึงค.ห. 38 ชั่วคราว ค่ะ

ดิฉันจบแล้ว แต่ในเมื่อคุณยังไม่จบ ก็จะอธิบายเป็นครั้งสุดท้ายว่า.....” หากอ่านอย่างระมัดระวัง
จะเห็นว่าดิฉันไม่ได้ล่วงเกินคุณทางวจีกรรม/มโนกรรมเลย แม้แต่น้อย


1. ดิฉันชี้แจงต่ออาจารย์เทาชมพู ใน sms โดยการวิเคราะห์รูปประโยคให้ท่านดู
ว่าดิฉันหมายความว่าอย่างไร

อาจารย์เทาชมพูตอบว่า.....”การขอโทษไม่ได้แปลว่าคุณเป็นผู้กระทำสิ่งไม่ดี แต่
เป็นมารยาทหากว่าได้ทำให้คนอื่นเข้าใจไปในทางไม่ดี”

ผู้ส่ง : เทาชมพู (2006-05-08 11:20:47)

ดังนั้น หากดิฉันทำให้คุณเข้าใจไปในทางไม่ดี  ก็ขอโทษ
แต่...ไม่ได้แปลว่าดิฉันเป็นผู้กระทำสิ่งไม่ดีต่อคุณ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: Rinda ที่ 12 พ.ค. 06, 20:08
 2. ดังจะพิสูจน์ต่อไป....ถ้าดิฉันใช้ภาษาเพื่อทำลายคุณให้ได้รับความเสียหาย
ขอให้ 1 ล้านเท่าของความเลวร้ายนั้น จงสะท้อนกลับสู่ตัวดิฉัน บิดามารดาและ
ครอบครัว ให้พินาศย่อยยับไม่รู้ฟื้น

ถ้าหากดิฉันไม่ได้ว่าคุณ ขอให้บุญกุศลที่ดิฉันและครอบครัวได้ทำมาช่วยดลบันดาลให้
คุณใจสงบ ผ่องใส และใช้สติในทางสร้างสรรค์

----------------------------------------------------------------------
1. “เมื่อ ร. 3 ทรงประชวรหนัก สมเด็จเจ้าพระยาเตรียมตัวมาเทียบเชิญ
เจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองบัลลังก์ เราคิดว่าเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระทัยใสสะอาด
ในร่มกาสาวพักตร์ (ร่วม 27 วัสสา) เกินกว่าจะทรงมีจิตรคิดการแยบยล
ต่ำกว่าสะดือ
ดั่งเหตุที่คุณพี ยกอ้างทุกครั้งๆ (รวมทั้งเรื่องซื้อแผ่นดินที่
สิงหะ+ปุระ 11 ไร่ – ที่ 370 ถนนออร์ชาร์ด) แต่อย่างใดไม่ “

For the underlying phrase, meaning “พระองค์ไม่คิดอกุศล”

นั่นคือ........[พระจอมเกล้าสะอาด] เกินกว่าจะทรงมีจิตคิดการแยบยลต่ำกว่าสะดือ

ไม่ได้ว่า.....ว่าคุณ pipat คิดต่ำกว่าสะดือเลยแม้นิดเดียว

------------------------------------------------------------------------
2. ดั่งเหตุที่คุณพี ยกอ้างทุกครั้งๆ (รวมทั้งเรื่องซื้อแผ่นดินที่สิงหะปุระ 11 ไร่...)
ตรงนี้อาจเป็นเหตุที่เข้าใจผิด....เหตุที่คุณพี ยกอ้างได้แก่ 3 ข้อต่อไปนี้:
2.1...รัชกาลที่ 4 ต้องการสถาปนาน้องชายเพื่อคานอำนาจบุนนาค


“สมเด็จพระจอมเกล้า ทรงเห็นการณ์ไกลมาตั้งแต่พระปิ่นเกล้ายังอยู่แล้วละครับ
ท่านไปแอบซื้อที่ดินไว้กลางสิงค์โปร์”
(ท่อนนี้แยกแยะได้ 2 ความสำคัญ) คือ....
2.2...รัชกาลที่ 4 ทรงระแวงพระปิ่นเกล้า
2.3...รัชกาลที่4 ทรงแอบไปซื้อที่ดินที่สิงคโปร์

หลักฐาน: ข้อความในวงเล็บในข้อ 2 ที่ขีดเส้นยังอยู่ในทอปปิคคือเรื่องที่ดิน ดังนั้นเหตุที่คุณพี
ยกอ้างทุกครั้งๆ....ซึ่งนำหน้าวงเล็บ ก็ยังต้องยิ่งกว่าอยู่ในทอปปิค ซึ่งแสดงว่าดิฉันไม่ได้
ลากการสนทนาไปสู่เรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องเซ็กส์ แต่ประการใด


กลับไปอ่านทบทวนใหม่โดยระมัดระวัง ยิ่งจะเห็นว่าดิฉันบริสุทธิ์ใจ สะอาดหมดจด


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 06, 20:28
คุณรินดา
ค.ห. 38 ดิฉันเข้าใจว่าคุณพิพัฒน์แซวหนูเฟื่อง รุ่นน้องสถาบันเดียวกันต่างหากล่ะคะ
เรื่อง ร หัน ที่หนูเฟื่อง เคยท้วงคุณพิพัฒน์ในกระทู้ไหนสักกระทู้ก่อนหน้านี้
หนูเฟื่องเธอก็รับ"มุข" ได้ถึงเรียกว่า พี่พรรฒน์ในค.ห. 40

คุณรินดา  คุณเป็นอะไรไปน่ะ    
หยุดเสียทีได้ไหมคะ ขอร้องละค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 12 พ.ค. 06, 22:05
 เฮ้อ ...
กระเซ้าเย้าแหย่กันพอสนุก ๆ อย่าถือเป็นจริงจังมากนักนะครับ
มันจะทำให้เจ้าของกระทู้เสียความตั้งใจดีดีที่จะรื้อฟื้นสำนวนไทยขึ้นมาขยายกัน

ถ้าเห็นว่าข้อความใดมันบาดตาบาดใจนักก็บอกเว็บมาสเตอร์ให้ลบออกไป
เดี๋ยวก็ลืม แล้วมาคุยกันสนุก ๆ ดีกว่านะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ศนิ ที่ 12 พ.ค. 06, 22:38
 สำนวนที่อาจารย์เทาชมพูยกมา ที่พอได้ยินอยู่บ้างก็คือ เต็มสติม
สำนวนนี้ยกมาจากภาษาต่างประเทศรึเปล่าคะ????
เคยได้ยิน เดาๆ ว่าความหมายน่าจะเป็น เต็มกำลัง เต็มแรงค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 12 พ.ค. 06, 23:27
 หนูกำลังจะเข้ามาขอบพระคุณอาจารย์ทีเดียวค่ะ
ว่าจะเข้ามาแก้ ร หรร ให้พี่พรรฒน์ เสียหน่อย
พอดีอาจารย์เขียน ร หัน ให้แล้ว

หนูเคยเรียนเกี่ยวกับสำนวนไทยบางสำนวน
ที่ใช้ผิดบ่อยๆ ที่เราเห็นเรื่อยๆ คือ กงเกวียน กำเกวียน
ที่คนมักพูดเป็น กงกำ กงเกวียน

อีกสำนวนที่หนูเรียนรู้มา
แล้วเลยใช้จนเคยปาก คือ
ไก่เห็นนมไก่ งูเห็นตีนงู
คุณครูอธิบายว่า พวกเดียวกันเท่านั้น ถึงจะรู้ไส้กันเอง
ไก่จะไปเห็นตีนงู กระไรได้
ต้องงูด้วยกันนั่นแหละ
ถึงจะรู้ว่า งู ก็มีตีน (นะจ๊ะ)

อีกอันหนึ่งคือ กระต่ายแก่ แม่ปลาช่อน
เพราะกระต่ายเด็กๆ เท่านั้น ที่ตื่นตูม
กระต่ายแก่ๆ นี่ จะร้ายลึก หนึบใน ค่ะ

ไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว ต้นฉบับเดิมเขาเรียกอย่างนี้
จริงไหมคะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 14 พ.ค. 06, 07:19

ไม่ควร ฟื้นฝอยหาตะเข็บ
อาจจะเจ็บตะเข็บต่อยฝากรอยแผล
มิตรภาพถนอมด้วยช่วยดูแล
คนไทยแท้ควรอภัยให้แก่กัน
 


มาตามคำเชิญชวนของเจ้าของกระทู้ เพื่อเติมน้ำมิตรไว้ให้ยืนนาน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: จิตแผ้ว ที่ 14 พ.ค. 06, 08:14
 ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด มีความหมายว่า ฟังไม่ได้ความชัดหรือรู้แจ่มแจ้ง
แล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิดๆพลาดๆ ก็คือตัวของกระผมเอง เจ้าของกระทู้บอกว่าต้องเป็นสำนวนไทยเท่านั้นอย่างอื่นไม่เกี่ยวต้องขออภัย บ้ากลอนซะจนเกินงามไปแล้ว แหม!ทำไปได้


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ค. 06, 18:49
 มาไขปริศนาค่ะ

เห่อสักหลาด
ผ้าสักหลาดเป็นผ้าฝรั่ง    ตอนตกเข้ามาใหม่ๆคนไทยนำมาตัดเสื้อกางเกง ใช้ในโอกาสที่ต้องการความโก้หรู
ทั้งที่ผ้าสักหลาดใส่แล้วร้อนแทบตาย    
ใครสวมก็ถือกันว่าเห่อของฝรั่ง อยากโก้เหมือนฝรั่ง  จึงเกิดสำนวนว่า "เห่อสักหลาด"
ไม่ใช่ "เห่อศักราช" นะจ๊ะหนูเฟื่อง

ให้เหยื่อเสือผอม
แปลว่าไปอุปถัมภ์ช่วยเหลือเกื้อกูลคนเลว    พอเขาชักได้ดีขึ้นก็ย้อนกลับมาทำร้ายผู้มีพระคุณ    เหมือนไปเห็นเสือผอมก็สงสาร เอาเหยื่อไปป้อน  พอเสือมีกำลังก็ขย้ำคนป้อน
สำนวนนี้เตือนใจไม่ให้ไปช่วยเหลือทำดีกับคนพาล  คล้ายๆชาวนากับงูเห่า ค่ะ

ที่เหลือรอคุณหมูน้อยฯ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 14 พ.ค. 06, 23:51
 ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

คิดว่าน่าจะมาจากเรื่องสังข์ทองที่ว่า

ถึงจะตกน้ำก็ไม่ไหล
ตกในกองกูณฑ์ไม่สูญชื่อ

แต่จะเว้นวรรคหรือเปล่าก็ไม่รู้    


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 15 พ.ค. 06, 11:41
 จากคหพต.ที่45 ผมอยากมอบช่อดอกไม้ขอบคุณท่านอาจารย์นิรันดร์เหลือเกิน

ยิ่งกว่านั้นอยากมอบสวนดอกไม้ทั้งสวนให้อาจารย์เทาชมพูเป็นที่สุด สำนวนที่ให้มานั้น ยั่วน้ำลายเสียเหลือเกิน
จริงอย่างที่อาจารย์ว่า ทั้งหมดนั้นผมเคยได้ยินแต่
เห่อสักหลาด(แต่ก็ยังไม่ทราบที่มา จนกระทั่งอาจารย์บอกนี่แหละครับ)

กับ นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ ( แต่ของอาจารย์ไม่มีน้ำ แสดงว่าไม่ใช่สำนวนเดียวกัน)

เคยได้ยินแต่ยกธงขาว ไม่เคยได้ยิน ธงแดง

ล้มขร?? เจ้าหมูสมองกบ เคยได้ยินแต่ ล้มหมอนนอนเสื่อ ,คนล้มอย่าข้าม , ช้างล้ม ฯลฯ

เต็มสตีม เตยได้ยินแต่ เต็มเหนี่ยว , เต็มรัก



ถ้าใครมาเห็นหมูตอนนี้ จะพบว่ามีอาการ งุ่นง่าน หงุดหงิด งงงวย เสียจริงๆ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 15 พ.ค. 06, 12:05
 เต็มสตีมได้ยินบ่อยครับ
เดาว่าเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรไอน้ำ
ถ้าผิดก็จะรอคุณเทาชมพูเฉลย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 15 พ.ค. 06, 13:04
 นั่งอ่านกระทู้
วิทยาการรหัสลับ
ของ คุณบุญฤทธิ์ อินทิยศ
 http://www.vcharkarn.com/magazine/issue6/issue006_ken.php
และ
กบฎ ร.ศ. ๑๓๐
ของ อ.เทาชมพู
 http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=220
เลยนึกไปถึง รหัสลับ และก็ทำให้คิดถึงสำนวนฤาษีแปลงสาร
เมื่อไปค้นดูที่มา ก็พบว่า

ฤาษีแปลงสาร หมายถึง คนที่เปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร โดยเจตนาให้ผู้รับข้อความนั้นเข้าใจผิดไปจากเดิม
สำนวน "ฤาษีแปลงสาร" ได้มาจากเรื่องพระรถเมรี ตอนที่พระรถเสนถือสารของนางยักษ์ไปให้นางเมรี ข้อความในสารนั้นให้ฆ่าพระรถ แต่ด้วยความสงสารพระฤาษีจึงเปลี่ยนความในสารเป็นให้เมรีแต่งงานกับพระรถเสีย การเปลี่ยนแปลงข้อความในสาร นั้นจึงนำมาเรียกวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณ กลับตัวอักษรข้างหลังมาไว้ข้างหน้า แต่สมัยนี้ วิธีเขียนหนังสือลับดังกล่าวก็เลิกใช้ไปแล้ว สำนวนนี้จึงนำมาใช้ หมายถึงคนที่เปลี่ยนแปลงข้อความในจดหมายหรือสาร เพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ค. 06, 17:44
 แวะเข้ามาตอบคุณหมูน้อยฯก่อน ให้อิ่ม  
แล้วค่อยเชิญไปนั่งผึ่งพุงในกระทู้สยองขวัญ    จะย่อยเร็วค่ะ

นกกระจอก  หมายถึง เลี้ยงไม่เชื่อง    ใช้ว่าเด็กที่ดื้อ หัวแข็ง ทำอะไรเอาแต่ใจตัว  ไม่เคารพผู้ใหญ่   ตักเตือนไม่ได้
โดยมากใช้เป็นคำเปรียบเทียบเต็มๆว่า อ้ายนกกระจอกเลี้ยงไม่เชื่อง

ธงแดง  หมายถึงร้านเหล้า   เพราะสมัยหนึ่งหน้าร้านเหล้าที่ได้รับอนุญาตให้ขายได้   เขาปักธงแดงไว้เป็นเครื่องหมาย
พวกธงแดง ก็คือพวกนักเลงเหล้า

เต็มสติม  สติมคือ steam เอามาจากการเดินเรือสมัยใช้เครื่องจักรไอน้ำ    เรือเดินเร็วก็คือเร่งสตีมเต็มที่
เต็มสติม ก็คือใช้กำลังเต็มที่    ไม่ว่าวิ่ง ทำงาน เดิน  อะไรก็ตาม


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 16 พ.ค. 06, 01:17
 คุณหมูน้อย ไม่รู้จักเครื่องจักรกังหันไอน้ำหรือคะ ที่เรียกว่า steam turbine น่ะค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 16 พ.ค. 06, 03:37
 อาจารย์พูดถึงธงแดง ทำให้นึกถึงโคมเขียวน่ะค่ะ

เพราะแต่ก่อนเขาติดโคมเขียวหน้าบ้านเหมือนกันหรือคะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 16 พ.ค. 06, 08:45
 หน้าร้านจ๊ะแม่เฟื่อง ไม่ใช่หน้าบ้าน!!
ถ้าหน้าบ้านละก้อ......


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 06, 09:05
 สงสัยว่าหนูเฟื่องไร้เดียงสา ไม่รู้ว่าโคมเขียวคืออะไร  ทำเอาคุณหมูน้อยฯเกือบช็อค
ถ้าท่านพัฒน์ พี่ของหนูผ่านมาเห็นคงช่วยช็อคไปอีกราย

โคมเขียวไม่ได้เอาไว้ส่องสว่างหน้าบ้านเหมือนโคมรั้วนะคะ   มันเป็นโคมไฟ ทำด้วยกระจกสีเขียวสลัวๆ      พอค่ำก็มีคนไปจุดไฟในโคม เพื่อแสดงว่าได้เวลาเปิดกิจการแล้วจ้า
ตอนกลางวัน เขาจะปิดสถานที่ นอนพักผ่อนกันหมดค่ะ   เริ่มเปิดกันเมื่อตะวันตกดินไปแล้ว  ไปจนกระทั่งเช้า
แถวแพร่งสรรพศาสตร์ มีแยะ เป็นแหล่งของเขา   อ้อ แหล่งขึ้นชื่อเรียกว่าตรอกเต๊า ดูเหมือนอยู่แถวเจริญกรุง

เป็นสถานที่ที่หนูเฟื่องหากว่าเกิดเมื่อร้อยปีก่อน  พ่อแม่จะไม่ให้เฉียดแม้แต่เดินผ่าน
ถ้าหนูพาซื่อไปซื้อโคมสีเขียวมาติดหน้าบ้าน   พ่อแม่จะตีหนูตายแน่นอน

ในหนังหรือนิยายจีนเขาเรียกว่าสำนักนางคณิกา   นึกออกรึยังจ๊ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 พ.ค. 06, 09:41
 ว่าจะแวะไปดูโคมเขียวหน้าบ้านหนูสักกะหน่อย
กำลังรอรถลาก
กะหมวกสักกะหลาดที่ส่งไปซักแห้งอยู่

เดี๋ยวเจอกัน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 06, 10:24
 "อิน" แปลว่าเงอะงะ  เชื่องช้า งุ่มง่ามอย่างแก้ไม่หาย   มาจากคำว่า incurable  คือแก้ไม่หาย
ในสมัยรัชกาลที่ ๕  มีท่านมหาแก่วัดหลายท่านสึกออกมาเป็นฆราวาส
แต่ก็ติดความประพฤติแบบมหาที่สำรวมเคร่งครัด จนกระทั่งกลายเป็นเชื่องช้าไม่ทันโลก   เจ้านายท่านจึงเรียกว่า incurable  
ย่อสั้นๆว่า "อิน"

ตัวอย่าง
คุณพัฒน์   นั่งรถลากทำมั้ย   "อิน" จะตาย    
เอารถแข่งซิ่งไปดูหน้าบ้านดีกว่ามั้ง


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 06, 10:29
 ล้มขร   แปลว่านอนด้วยความเหน็ดเหนื่อยหมดแรง
มาจากหนังใหญ่ ที่ชอบเล่นตอนพระยาทูต พระยาขร ออกรบ  
เล่นกันถึงสองยามกว่าจะถึงตอนพระยาขร ถูกศรพระรามตาย  เรียกว่าขรล้ม    ถึงตอนนั้นคนเชิดก็หยุดเล่น ถึงเวลาพัก
คนดูจึงเรียกติดปากว่า ล้มขร   กลายเป็นความหมายว่า นอนเพราะหมดแรง

คู่กับสำนวน กลิ้งทูต  
คำนี้ไม่ได้แปลว่าข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ส่งไปประจำในประเทศต่างๆ ไปกลิ้งอยู่ที่ไหน
แต่หมายถึงพระยาทูต รบกับพระรามแล้วถูกศรพระรามตายอีกเหมือนกัน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 06, 10:33
 มันเทศขึ้นโต๊ะ
มันเทศเป็นของราคาถูก   ชาวบ้านซื้อกินได้ทั่วไป  ไม่ถือว่าเป็นอาหารชั้นดี
ถ้าจัดโต๊ะงานเลี้ยง ซึ่งควรใช้อาหารอย่างดีหรูหราสำหรับแขกแล้วไปเอามันเทศมาให้กินก็ไม่เหมาะ

สำนวนนี้ใช้กันสมัยที่สังคมไทยยังแบ่งชั้นวรรณะกันมาก    อย่างในบ้านทรายทอง   ถ้าคุณชายกลางไปได้เมียที่หม่อมแม่เห็นว่าชั้นต่ำ ยากจน ไม่ได้เป็นผู้ดีอย่างเธอ
เอามาเชิดชูเป็นคุณผู้หญิงของบ้านทรายทอง  ก็เรียกว่าเอามันเทศขึ้นโต๊ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 พ.ค. 06, 11:12
 ผมได้ทราบสำนวน "อิน" มาอีกทางหนึ่งครับ
แปลว่า "แก่วัด"
คือเอะอะอะไร ท่านจะลากให้ไปเกี่ยวกับพระศาสนาทุกที

อิน มาจาก พระอินทร์ ซึ่งเป็นตัวแสดงใหญ่ในวรรณคดีพระพุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์

ผมไม่มีหนังสืออยู่ในมือ แต่จำได้ว่า ท้ายเล่ม พระราชหัตถเลขา ที่ ร. 5 พระราชทานแด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จยุโรบหนแรก มีประชุมคำแผลงอยู่
น่าจะมีกล่าวถึงคำนี้ครับ

ใครมีลองสอบหน่อยเถอะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 16 พ.ค. 06, 11:30
 กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูที่ได้กรุณานำที่มาของสำนวนภาษามาแจงให้เด็กรุ่นหลังได้ทราบโดยทั่วถึงกันครับ

อาจารย์อธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นได้แจ่มชัดเลยทีเดียวครับ

ว่าแต่.. กองทัพนักกลอนของหมูฯที่ไปปะเหลาะมานั้นไปไหนกันหมด หนีทัพเสียก็ไม่รู้ ต้องวานให้แม่กินรีเฟื่องฯ บินไปตามกลับมาเสียแล้ว..


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 06, 11:44
คงพากันไปล้มขรมั้งคะ   คุณหมูฯ
เดี๋ยวก็คงกลับมา นักเลงอดเพลงไม่ได้

สำนวนนี้แปลว่า ใครที่ชอบทางด้านไหนก็อดไม่ได้ที่จะไปทำทางนั้นเมื่อโอกาสให้

ที่มา คือการเล่นเพลง อย่างลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัยฯลฯ ที่ร้องโต้กันไปตอบกันมา  
ใครที่ชอบเล่น  เห็นที่ไหนก็อดไปร่วมวงไม่ได้  
คนที่มีนิสัยชอบทำอะไรอย่างหนึ่งจนชำนาญ  โบราณเรียกว่านักเลง  จะทางไหน ก็ต่อด้วยคำที่ตัวเองชอบทำ
อย่างนักเลงกลอน  นักเลงเพลง   นักเลงไพ่

สุนทรภู่เรียกตัวเองว่า
นักเลงกลอนนอนฝันเป็นสันดาน   เคยเขียนอ่านอดใจมิใคร่ฟัง


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 16 พ.ค. 06, 16:34
ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์
เฟื่องรู้จักนะคะ บ้านโคมเขียว น่ะค่ะ
เพียงแต่สงสัยว่า เขาเรียกแบบนี้ เพราะติดโคมสีเขียวจริงๆ
แบบร้านเหล้าปักธงแดงหรือเปล่า

เพราะทีหนังสือปกขาว ยังไม่เห็นปกขาวเสียหน่อย
(แต่ก่อนซื่อมากค่ะ คิดว่า หนังสือ ปกสีขาว จริงๆ)

เอ่อ คุณหมูศักดิ์คะ อิฉันน่ะ กินนอนค่ะ มิใช่กินรี
ต่อให้ติดปีกเหล็ก หางไอพ่น จงอยคองคอร์ด
ก็บินไม่ไหวแร้ววววววววววว


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 06, 16:46
 เอาสำนวน ที่เกี่ยวกับสี มาฝาก
ธงแดง โคมเขียว ปกขาว แล้วก็คางเหลือง

สมัยโบราณถือว่าร่างกายมนุษย์มีจุดอ่อนอยู่ 8 แห่ง   คางก็เป็นหนึ่งในแปด
โดนเข้าแรงๆ ก็สลบหรือตายได้  อย่างนักมวยถูกน็อคปลายคาง ก็ล้มนับสิบแพ้ไป
คางถูกกระแทกแรงเมื่อไร มักจะย่ำแย่   ถ้ารอดตายก็ต้องประคบประหงมรักษาแผลฟกช้ำหรือแผลแตก ด้วยการฝนไพลทา
ไพลมีสีเหลืองติดผิวหนังเวลาทา
ก็เลยเป็นสำนวนว่าคางเหลือง หมายถึง เกือบตาย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 06, 16:53
 ดำเป็นเหนี่ยง  เคยได้ยินไหมคะ
เหนี่ยง คืออะไร
มันเป็นสัตว์เล็กๆชนิดหนึ่งค่ะ  เขาว่าคล้ายด้วงมะพร้าว แต่สีดำมะเมื่อม  อาศัยอยู่ในน้ำเป็นฝูงๆ หรือตามแปลงควาย
ตอนนี้ยังมีอยู่หรือสูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่ทราบ
เด็กไทยในชนบท สมัยก่อนผิวดำแดงอยู่แล้ว   มาเลี้ยงควายตากแดด  บุกน้ำดำโคลนเสียตัวดำเมื่อม  
ผู้ใหญ่ก็เลยเปรียบว่า ดำเป็นเหนี่ยง

ด้วงมะพร้าวมันก็หนอนชนิดหนึ่งนี่ละ   เคยอ่านสี่แผ่นดินไหมคะ  ชาววังเขาเอามาทอดจนสุก หั่นเป็นแว่นๆจิ้มน้ำจิ้ม   กินกันได้ลงยังไงไม่รู้ซี


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 16 พ.ค. 06, 18:48

เอาภาพมาให้หนูเฟื่องดูจ้ะ ข้างในคงจะใส่ไฟเขียวๆเอาไว้ โคมแลนเทอร์นกระดาษพวกนี้มีหลายเชป
สี่เหลี่ยมก็มี เพนตากอนก็มี  มีทุกทรง


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 16 พ.ค. 06, 20:03
 พูดถึงสี หมูฯนึกถึง สำนวน ดำเป็นตอตะโก
หมายความว่า ดำเหมือนต้นตะโกที่มีสีดำ

นี่ต้นตะโกครับ

.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 16 พ.ค. 06, 20:04

ให้เห็นชัดๆ

.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 16 พ.ค. 06, 20:13
 อ้อ....ในสมัยนี้เขาก็ใช้ธงแดงปักหน้าร้านเหมือนกันนะครับ แต่ไม่ใช่ร้านเหล้า เป็นร้านขายอาหาร??
บอกไปก็ทำลายขวัญของพวกเราในกระทู้
........"น้องๆของเรา ที่เลี้ยงไว้ในบ้าน" ........
เสียหมด


เพราะธงนี้เขาปักไว้หน้าร้านแถวๆ จังหวัดสกลนคร

.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 16 พ.ค. 06, 23:38
 กรี๊ดดดดดดดดดดดดดด หมาร้อน

เดี๋ยวนี้ นอกจากธงแดงแล้ว
ก็มีร้านปักธงเหลืองด้วยไม่ใช่หรือคะ

อ้อ มีสำนวน ยกธงขาว อีกอัน แปลว่า ยอมแพ้
มาจากการรบสงครามในสมัยโบราณใช่ไหมคะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 16 พ.ค. 06, 23:45
เอ วันนี้ พี่พรรฒน์ ไปไหนเนี่ย กุ๊กกู
ไม่มีใครอยู่ยวนชวนทะเลาะด้วยเลย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 17 พ.ค. 06, 01:00
 โซ้ด
โคม
ชิดดิษฐ์

แปลได้ปะ นู๋เฟื้อง ...เอ้ย เฟื่อง


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 17 พ.ค. 06, 01:48
 ต๊ายยยยยยยย เฟื่องกระสันถึงปู่ ปู่ก็มา
หายไปไหนมาคะเนี่ย

เขาเต็มบาทนะจ๊ะ อย่าลดค่าเหลือแค่เฟื้อง

โซ้ด นี่ ไม่ใช่เด็กหัวนอก หรือคะ ?

ส่วน โคม นี่ ถ้าพี่พรรฒน์ไปถามหาแถวบ้านยายหนู
จะได้ออกมาเป็น "กาละมัง" เลยค่ะ
(รู้จักแต่ภาษาถิ่นนี่นา อิอิ)  


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 17 พ.ค. 06, 20:28
 พูดถึงสีดำ เรามักเปรียบเทียบได้หลายอย่าง เช่นว่า
ดำเหมือนถ่าน
ดำเหมือนอีกา
ดำเหมือนหมิ่นหม้อ
ดำเป็นตอตะโก
ดำเป็นเหนี่ยง
ดำเป็นนิล
ฯลฯ
มันก็คือดำเหมือนกันหมด
แต่แปลก เพราะบางทีคำเปรียบเทียบว่าดำนั้น ก็ไม่สามารถนำมาประกอบประโยค
แทนกันหรือใช้แทนกันได้ทุกคำ  เพราะความหมายอาจเปลี่ยนไป หรือแลดู ขัดๆหู
ชอบกล  เช่นว่า

“ผมเธองดงามดกและดำเป็นตอตะโกเชียว..”

?????

หรือ “ ศพถูกไฟคลอกดำเป็นนิล”

?????

หรือ “เด็กคนนี้ตากแดดทั้งวันตัวดำเป็นพระกาฬเลย”

หรือ “ ตาของคุณช่างกลมโตและดำเป็นอีกาเหลือเกิน”

ภาษาไทยนี่ดิ้นได้หลากหลายดีนะครับ ว่าไหม ??นอกจากจะฟังดูขัดหูแล้ว
ยัง ฟังดูตลก อีกด้วย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 17 พ.ค. 06, 20:31
 กร๊ากกกกกก ตาดำเหมือนอีกา

ช่างคิดจริงๆ เล้ย คุณหมูเนี่ย

เอามาฝากอีกสำนวนแล้วกัน สำหรับคนดำๆ

กาคาบพริก (เห็นภาพมากๆ )


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 17 พ.ค. 06, 20:50
 ก็คุณเฟื่องเล่นส่องกระจกอยู่นะสิ ถึงเห็นภาพน่ะ...    


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 17 พ.ค. 06, 22:07
 ฮิๆ เฟื่องต้องส่องกระจกหลังตกถังถ่านแน่ะ
ถึงจะกลายเป็นกาไปได้

เฟื่องน่ะ แค่ใจดำเหมือนอีกา จ้ะ
ตัวน่ะ ขาวยังกะหลอดนีออน (กลมๆ) เดินได้

ไม่ได้ว่าใครดำนะจ๊ะ เห็นกล่าวถึงอะไร ดำๆ มาก่อนหน้านี้นี่นา
นึกออกเลยเขียนต่อ

อีกอันนึงนะ สำลีเม็ดใน อันนี้ เฟื่องว่าร้ายนะ
ถ้าเปรียบคนว่า ขาวเหมือนสำลีเม็ดใน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 17 พ.ค. 06, 22:34
 นู๋เฟื่อง ยังตอบไม่หมด ถ้ายอมแพ้ จงไปกราบไหว้วิงวอนครูไหวมาเฉลย

ทีนี้น้องหมู-มัง

ชอบอ้างสี

รู้เป่า ดำไม่ใช่ black ไม่ใช่แปลว่าสีที่ตรงข้ามกับขาว
ภาษาไทยเดิม สี blackเขาเรียกอีกคำหนึ่ง

ให้เวลาเจ็ดปี

หาคำตอบมาให้ได้
งบไม่จำกัด ออกไปก่อนไม่ต้องขี้เหนียว


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 18 พ.ค. 06, 00:24
 ชิดดิษฐ์
ไปอ่านตำนานเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นของสมเด็จดำรงฯ
ในนั้นมีแสลงใหม่ๆ เมื่อร้อยปีก่อนอยูพะเรอเกียน
(คนบ้านนอกออกเสียงกล้ำ ก-ว ไม่ได้ง่ะ)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 18 พ.ค. 06, 05:25
 เอาสำนวนเกี่ยวกับหมากรุกมาฝากบ้าง

ไม่ดูตาม้าตาเรื่อ
อับจนหนทาง
ไล่ไม่จน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 18 พ.ค. 06, 11:01
 พี่พิพัฒน์ ใบ้ให้หน่อยได้ไหมครับ ??
คิดไม่ออกเลย หากจะให้เดาก็คงเป็นคำว่า
หม่น, กาฬ , มืด , มินหม้อ
ตอนนี้คิดได้เท่านี้( มีเวลาเหลืออีก6ปี 364วัน)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 18 พ.ค. 06, 11:47
 คนบ้านนอก เขาเรียกหมาสีนิลว่าอย่างไร
(มีเวลาเหลืออีก6ปี 363.6วัน)
แล้วงบล่ะ เหลือเท่าไร หมูน้อย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 18 พ.ค. 06, 12:26
 ขออนุญาตอาจารย์ครับ อีตายักษ์ตัวนั้นที่อยู่กระทรวงการต่างประเทศ... เอ๊ยไม่ใช่ ที่อยู่กรุ๊ปเดียวกับพญาขร และตรีเศียรนั้น ผมจำได้ว่าเห็นเคยเขียนสะกดชื่อว่า ทูษณ์ ด้วยครับ

แต่นั่นแหละ ชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ก็มีการสะกดไม่ตรงกันนัก น้องชายพระรามนั้น เคยเห็นเรียกชื่อพระลักษณ์เฉยๆ แต่ถ้าจะให้ถูกแท้ก็มีการเรียกอีกอย่างว่า พระลักษมณ์ เหมือนกัน แขกเรียกว่า ลักษมัณ หมดเรื่องไป น้องอีกคนฉบัไทยเรียก สัตรุด ง่ายๆ ยังงั้น แต่ดูเหมือนบางฉบับเรียกอ่านยากว่า ศัตรุฆ... หรืออะไรทำนองนั้น เขียนก็ยาก อ่านก็ยาก


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 18 พ.ค. 06, 17:08
 Give it a shot เลยนะ พี่พัฒน์

สีดำ เขาเรียก สีหมึก หรือเปล่าคะ

ถ้าเรียกหมา เขาเรียก ไอ้ตูดหมึก ค่ะ อิอิ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 18 พ.ค. 06, 17:15
 นั่นมันหมาแถวสะพานปลา น้องเฟื่อง
ตูดหมึกนี่เป็นวิชาไสย์เวทกระมัง บรื๋ยยยย์ หนูนี่นึกมาแต่ละเรื่อง เรทเอ๊กคลูปสีฟทั้งนั้น

เขา   บอก   ว่า

เ  ว  ล  า      เ  ด็  ก   ต  า  ย

เ  อ  า  ห   มึ   ก   ป้  า  ย   ตู   ด

แล้วดูเด็กเกิดใหม่


ตูดหมึกหรือเปล่า .....


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 18 พ.ค. 06, 17:27
 ฮ่าๆๆๆๆ
น่าน เห็นไหม ล้วงตับพี่พัด ได้ความรู้ใหม่มาอีกเรื่อง

เหลือเวลาอีกเท่าไหร่คะ
สำหรับสีนิลสมัยดึกดำบรรพ์ของพี่พัด

อีกสำนวนเพิ่งอ่านเจอในหนังสือ

กินข้าวลิง

สำนวนนี้ คนรุ่นเฟื่องก็ไม่ค่อยพูดกันแล้ว
แต่ได้ยินมาจากเพื่อนคนหนึ่ง สาวเมืองเพชรค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 18 พ.ค. 06, 17:37
 สวัสดี ทุกๆ ท่านที่เคารพครับ
1. ขออนุญาตเพิ่มเติมสำนวนในวงการหมากรุกครับ
ล้มกระดาน
รุกฆาต
2. ขออนุญาตตอบความเห็นที่ 68 ครับ
2.1 ผมเข้าใจว่า โคมเขียวเป็นสำนวนที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ครับ
ใช้เรียก ซ่อง หรือสถานบริการทางเพศ ครับ
น่าจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขึ้นทะเบียนโสเภณีในสยาม แต่ที่มาผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเอาโคมเขียวมาไว้ที่หน้าร้านดังกล่าวหรือเปล่าครับ
2.2 ปกขาว หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับเพศ ทำนองปลุกใจเสือป่าครับ
เพราะว่า สมัยก่อนผู้ที่ทำหนังสือแบบนี้มักจะทำหน้าปกเป็นปกขาวครับ คนที่ไม่ทราบจะได้ไม่รู้ว่าในนี้มีเรื่องอะไรครับ
3. เพิ่มสำนวนอีกข้อหนึ่งครับ
นั่นคือ ยื่นซองขาวครับ
4. ขออนุญาตปิดท้ายด้วยเพลง สิงโตเล่นหางครับ
สิงโตเล่นหาง
ม.จ. พิจิตรจิราภา เทวกุล
อันความผิดนิดหนึ่งอย่าพึงโกรธ ควรยกโทษกันและกันให้พลันหาย
อย่าอาฆาตบาดหมางจนวางวาย เป็นกรรมร้ายติดตัวชั่วกัปกัลป์
ข้างหนึ่งโกรธข้างหนึ่งนิ่งเสียนั้นไซร้ เป็นคุณได้ดับร้อนช่วยผ่อนผัน
เหมือนตบมือข้างเดียวไม่ดังพลัน เป็นมิตรกันดีกว่าเกลียดเดียดฉันท์เอย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 20 พ.ค. 06, 22:00
 เนื้อทั่งสันหลังเหล็ก


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: Little Sun ที่ 21 พ.ค. 06, 00:15
 ฮาจริงๆนะคะกระทู้นี้


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิรันดร์ ที่ 21 พ.ค. 06, 11:13
 ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 17 มิ.ย. 06, 13:09
 ตอบคุณพิพัฒน์ที่เคยถามไว้ครับเกี่ยวกับสีดำ

ได้ทราบมาจากคุณยายท่านหนึ่ง    ท่านว่าเมฆฝนที่ครึ้มๆมืดๆลอยมา ท่านเรียกว่า เมฆสีเขียว

ม้ากะเลียวเขียวขำ ท่านก็ว่าเป็นม้าสีดำ

ตอนเด็กๆซนหน่อยต่อยตีกะเพื่อนมา ขอบตาช้ำดำปี๋ เขาก็ว่าอ้ายตาเขียว (ท่าจะไปกันได้กับอ้ายคางเหลือง)

เพราะฉน้าน น น ผมขอตอบว่าสีเขียว ค๊าบบบบบบ
(พรุ่งนี้จะไปรับรางวัล ฮ่าๆ)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 17 มิ.ย. 06, 14:52
 ขอบฟ้าเขา"เขียว"........
ใครเคยอยู่กลางทุ่ง สมมติว่าที่แม่แจ่ม ขอบฟ้าจะเป็นสีเข้มเกือบดำ คนบ้านนอกเรียกหมาดำว่า "ไอ้เขียว"
ส่วนผม เมื่อยังเด็กนานนนนนมากแล้ว เวลาอ้างถึง green เราจะเรียกว่าเขียวใบไม้ บางทีก็ใช้เขียวสด ให้ต่างจากเขียวธรรมดา ซึ่งมักจะเรียกว่าเขียวปี๋ แสดงว่าความหมายยังไม่กร่อนไปมากนัก

ผมจับทางแล้ว เขียวนี่ น่าจะหมายถึงสุดทางด้านหนึ่ง ยิ่งยวด และสีที่หมดสิ้นสภาพแล้ว คือไม่รู้แล้วล่ะ ว่ามันสีอะไร

ต๊ดตู่ของผมท่านนิยามว่า
"สีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว"

เก่งมากหมูน้อยฯ
ผมจะให้รางวัลคุณยายท่านนั้นได้อย่างไร...55555


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 มิ.ย. 06, 13:13
 ล่วงเลยมาจนวันนี้   สงสารคุณยาย เห็นทีจะชวดรางวัล
ทั้งคุณหลานและคนให้รางวัล พร้อมใจกันเงียบหาย   คงชักดาบกันไปแล้ว
*************
เอามาฝากอีกสำนวนค่ะ  ใช้กันบ่อยแต่เคยเจอว่าเข้าใจกลับตาลปัตรไปตรงข้าม

ชั่วช่างชี  ดีช่างสงฆ์
แปลว่า ไม่สน   ใครจะทำดีเลวยังไงก็เพิกเฉยไม่เอาธุระด้วย

ในประกาศรัชกาลที่ ๔  เรื่องห้ามคฤหัสถ์ไม่ให้คบภิกษุสามเณร มีระบุไว้ว่า
"เพราะเหตุด้วยคฤหัฐชายหญิงทั้งปวง  ถือลัทธิผิด เข้าใจว่าชั่วชั่งชี ดีชั่งสงฆ์  
ถึงจะรู้ว่าภิกษุสามเณรรูปใดประพฤติอนาจารทุจริตกระทำความผิดสิ่งใดๆ ที่สุดจนถึงปาราชิกก็ดี   ถ้าไม่โกรธกันแล้ว ก็นิ่งเพิกเฉยเสีย"

บางทีก็ใช้สำนวน  "ชั่วชั่งชี ดีชั่งพราหมณ์"  ดูได้จากประกาศอีกฉบับหนึ่ง
"ถ้าเป็นแต่รู้เห็น   มิได้ช่วยสื่อสน  ไม่เอาความมาร้องฟ้องว่ากล่าว   ด้วยคิดเห็นว่าชั่วช่างชี ดีช่างพราหมณ์
เป็นคนใจบุญนอกทางดังนี้  จะปรับผู้นั้นตามโทษละเมิดลาหนึ่ง   เอาเป็นพินัยไปจำหน่ายทำพระอารามหลวง"

เดี๋ยวนี้ เคยอ่านพบว่าเข้าใจตรงข้าม    "ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์" กลายเป็นคำขวัญให้ทำตามนี้เสียอีกแน่ะ  คืออย่าไปเอาผิดกับพระที่ประพฤติผิด
ถ้าเป็นสมัยรัชกาลที่ ๔  คนคิดแบบนี้ เจอข้อหาถูกปรับเอาง่ายๆ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 26 มิ.ย. 06, 15:47
 ถ้าเป็นสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เห็นจะเกินกว่าถูกปรับ
ท่านถือเคร่งเหมือนพระเจ้าแผ่นดินลังกา
ไม่สึกครับ อลัชชี
ท่านกุดหัว
ถือว่าเบียดเบียนพระศาสนา เป็นบาปหนักสุด ตายสถานเดียว

สำหรับคุณยายของหมูน้อยฯ นั้น ถ้าเจอตัว จะถามแกว่า
กวีกรีก รุ่นโฮเมอร์กับน้องๆ ทำไมไม่เคยพรรณาถึงสีท้องฟ้าและห้วงน้ำอันแสนสดใสของทะเลเอเจียน

เผื่อแกจะตอบได้อีก .....ฮิฮิ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 มิ.ย. 06, 16:36
 คุณยายงกเงิ่นตำหมาก ๓ ที    แล้วฝากตอบมา  พร้อมตะบันหมากเขวี้ยงมาด้วย

"หลอกกันรึเปล่าหลานเอ๊ย   ทำไมจะไม่เคยพรรณนา
ไม่งั้นใครล่ะที่พูดว่า
"The Aegean, sea of many a green. It is sea of love and wine."
*********************
ไม่เกี่ยวกับคุณยายข้างบนนี้ค่ะ  ขอเอาสำนวนมาฝากอีก ๑ คำ  
คำนี้ดูเหมือนไม่มีใครรู้จักกันแล้ว

ลมพามา

หมายถึง คนจีน
ฟังเพราะดีนะคะ  poetic เชียว
เพราะเมื่อสมัยก่อนคนจีนที่เดินทางมาตั้งถิ่นฐานในไทย มาโดยเรือสำเภา   เรือสำเภาต้องอาศัยลมในการเดินทาง
คนไทยเลยเรียกคนจีนว่า  พวก "ลมพามา"


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 26 มิ.ย. 06, 17:05
 เคยได้ยินเหมือนกันครับ แต่ได้ยินเป็นสำนวนเชิงคำถามว่า "ไม่เจอกันซะนาน ลมอะไรหอบมาล่ะครับยาย ? "

(สงสัยจะเป็นพายุเทอร์นาโด ถึงสามารถหอบมาได้)
( ถ้าเป็นผมล่ะก็ ..เป็นลมบ้าหมู ชัวร์)

เคยได้ยินอีกเช่นว่า " เจ้าติบอนี่ มาหาทีไรก็พาฟ้าพาฝนมาด้วยทู๊ก..ก ที "


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 มิ.ย. 06, 21:06
 มีใครกี่คนรู้ว่า สำนวน มะพร้าวห้าวยัดปาก เป็นสำนวนเก่าแก่ ชนิดถอยหลังไปเกิด ๕ ชาติก็ยังไม่เก่าเท่า
เพราะว่ามีมาตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองค่ะ  อยู่ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง

เป็นโทษสำหรับคนที่..."ใจโลภ มักใหญ่ใฝ่สูงเกินศักดิ์    ถ้อยคำมิควรเจรจาก็เอามาเจรจา เข้าในระวางราชาศัพท์"

มะพร้าวที่เอายัดปาก  กาญจนาคพันธุ์อธิบายว่าปอกเปลือกเสียก่อน เหลือแต่แก่นกลมข้างใน (คงจะเหมือนมะพร้าวเผา)แล้วยัดเข้าปาก  เพราะปากไม่ดี ไปพูดสิ่งที่ไม่ควรพูดมาใช้ในราชาศัพท์

ก็เลยกลายเป็นสำนวนจดจำกันมา แม้ว่าตัวกฎหมายไม่เหลือแล้ว


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 27 มิ.ย. 06, 21:12
 เอ ขอยกมือสงสัย

คห. 100 ของคุณหมูกับ คห. 99 ของคุณครูเทาชมพู น่าจะคนละสำนวนกันนะครับผมว่า แม้ว่าความจะคล้ายกันก็ตาม

ยอมรับว่าผมเพิ่งทราบว่ามีสำนวน ลมพามา ซึ่งหมายถึงคนจีนโพ้นทะเลที่มากับเรือสำเภา ฟังเก๋ดีครับ

แต่คำถามที่คุณหมูหลบลมอยู่ใต้กะลาเคยได้ยิน ว่า "ลมอะไรหอบ (ไม่ใช่พา) มา" นั่น ผมกลับนึกไปถึงนางบุษาครับ จำได้ไหมครับ นางเอกเรื่องอิเหนาที่ถูกองค์ปะตาระกาหลาเทวดาบันดาลเป็นลมพายุหอบนางไปตกที่ไกลๆ พรากจากอิเหนาน่ะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 27 มิ.ย. 06, 21:14
 ความเห็นที่ 92 ของคุณครูนิรันดร์ ผมเคยได้ยินว่า คอทั่งสันหลังเหล็กครับ แต่จะแปลว่าอะไรนั้นก็จนด้วยเกล้าเหมือนกัน

น่าจะเป็นอะไรแข็งๆ คอก็เป็นทั่งตีเหล็ก สันหลังก็เป็นเหล็ก กะโหลกเป็นอะไรก็ไม่รู้ แต่คงจะแข็งพอกัน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 27 มิ.ย. 06, 21:25
 เรื่องของสี ผมเคยสงสัยมานานแล้วว่า

คำเรียกสีของไทยเราปัจจุบัน (ซึ่งไม่ตรงกับคำเรียกสีของช่างไทยโบราณ - พระเจ้าตาพิพัฒน์ของผมคงอธิบายได้) มีที่มาจากไหนบ้าง เช่น สี "เทา" นั้นเกี่ยวอะไรหรือไม่กับคำว่า ขี้ "เถ้า"  

สีฟ้านั้นออกจะเห็นได้ง่ายว่ามาแต่สีของท้องฟ้ายามที่เป็นสีฟ้า (?) - คือผมหมายความว่า ไม่ใช่สีท้องฟ้ายามที่เป็นสีแดงหรือสีดำนะครับ

สีครามก็เห็นชัดว่ามาแต่ธาตุชนิดนั้น คือคราม อย่างที่เขาเอามาซักผ้าสมัยก่อน มันสีอย่างนั้นก็ใช้เป็นคำเรียกสีด้วย

สีส้มเป็นสีของผลไม้ชนิดนั้น แต่ถ้าเป็นคำเรียกรส แปลว่าเปรี้ยว อันเป็นรสของผลไม้ตระกูลนั้นอีกแหละ

สีน้ำตาล มาแต่ไหน น้ำตาลที่รินหรือตัดจากต้นตาลโตนด จริงๆ แล้วสี brown หรือเปล่า? ผมว่าไม่เชิงจะเป็นน้ำตาลสีช็อกโกแลตอย่างที่เราหมายถึงสีน้ำตาลเดี๋ยวนี้นะ แต่ก็ออกโทนน้ำตาลนวลๆ เหมือนกัน - อ้อ เดิมอาจจะหมายถึงสีของน้ำตาลตอนที่เป็นน้ำตาลปึกก็ได้ ส่วนสีของน้ำตาลเมานั้นดูจะใสเกินไป ไม่เป็นสีน้ำตาล

สีน้ำเงิน อันนี้ก็น่าคิดว่ามายังไง สีครามมันเป็นน้ำเงินจริง เพราะครามก็เป็นสีน้ำเงิน หรือสีนี้ถ้าเรียกว่าสีกรมท่า ก็มีประวัติ เพราะกรมท่าหรือกระทรวงการต่างประเทศสมัยโน้นใช้สีนี้ประจำกรม แต่ "น้ำเงิน" ? ผมก็ไม่เคยเรียนวิชาการถลุงโลหะ ไม่เคยเห็นธาตุเงินตอนที่มันหลอมเหลว จึงนึกไม่ออกว่า ถ้าเงินตอนปกติมันสีเงินๆ แล้ว เวลามันละลายเป็นน้ำ มันออกสี blue หรือเปล่า? คำเรียกสี blue ของเราในภาษษไทยถึงได้เรียกกันมายังงั้น?


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ค. 06, 17:45
 คอทั่งสันหลังเหล็ก   หมายความว่าไม่ระคายผิว  ไม่ว่าจะโดนทุบตีแรงแค่ไหนค่ะ  
ใช้ในความกล้าบ้าบิ่นไม่กลัวเจ็บก็ได้     หรือถ้าในทางลบ หมายถึงด้าน จนไม่เจ็บก็ได้

เรื่องสีต่างๆ ไม่รู้ที่มาอยู่หลายคำ   ชมพูเห็นจะมาจากสีชมพู่   ม่วงนี่ไม่รู้ เพราะผ้าที่เรียกว่าผ้าม่วงก็มีหลายสี  
สีแดง  คำว่าแดงมาจากไหนก็ยังจนปัญญา


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 03 ก.ค. 06, 18:06
 หมากม่วง ก็มีสีเขียว(ดิบ) กับ สีเหลือง(สุก) ไม่มีสีม่วง
สีส้ม อาจมาจากสีผิวผลส้ม ??
แล้วสีแสดล่ะ ???

บางครั้งเราเรียกสีแดงว่า สีชาด
กาชาด คือกากบาดสีชาด ฯลฯ

มีใครเคยได้ยิน สีโอรส ??บ้างไหมครับ (โอรด โอลด โอรถ ไม่ทราบเหมือนกันว่าสะกดอย่างไร?) ใครมีนิยามของสีนี้บ้างครับ ตกลงเป็นสีสรร อย่างไรกันแน่


ผมว่าท่าทางเราจะมีหัวข้อคุยเรื่องเรื่องสีๆ นี่อีกมากเลยนะครับ    


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 03 ก.ค. 06, 18:08
 ถ้าพูดเรื่องสี เห็นทีผมคนนึงล่ะครับที่งงไม่หาย เพราะเคยสังเกตดูพบว่าส่วนมากสีของคนไทย มีอยู่แค่ "เขียว" กับ "แดง" นะครับ

อะไรที่ออกมาเป็นส้ม แสด ชมพู ม่วงแดง น้ำตาลอ่อน น้ำตาลแดง พี่ไทยเรียกรวมๆกันว่า "แดง"
ส่วนอะไรที่ออกมาเป็นฟ้า น้ำเงิน ขี้ม้า เขียว กรมท่า ดำ น้ำตาลเข้ม เทาแก่ พี่แกก็เรียก "เขียว" น่ะแหละ

แต่พอพูดว่า "ทาหน้ามาเขียวๆแดงๆ" ก็เห็นภาพชัดแจ๋ว ว่าทาหน้ามา "สีสด" ไม่ใช่ทาหน้าเป็นตุ๊กตางิ้วหรือหุ่นกระบอก
หรือบอกให้ "เดินไปหยิบตะกร้าสีเขียวให้หน่อย" เดินไปเจอตะกร้าสีฟ้า สีแดง สีขาววางอยู่ก็หยิบได้นี่ครับ อิอิ




ปล. ถึงอาจารย์เทาชมพูครับ ผ้าม่วงเป็นผ้าที่ทอมาจากโรงงานในเมือง "หม่วง" มณทลเซี่งไฮ้ ประเทศจีนครับ
ชื่อก็เลยถูกเรียกเพี้ยนออกมาเป็น ผ้าม่วง เหมือนที่คนไทยเรียกผ้าที่ทอมาจากแคว้น "กุศราจ" ในอินเดีย ว่าผ้า "กุสราด" น่ะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 03 ก.ค. 06, 18:27
 ขออนุญาตเดาว่าสีที่คุณหมูฯถามถึง คือ "สีกุหลาบแก่" หรือสีOld Rose (ชื่อภาษาไทยก็แปลมาทั้งดุ้นน่ะแหละครับ แหะๆ)
แต่พอมาพูดเข้า "สีกุหลาบแก่" (ผมคลับคล้ายคลับคลาว่าดอกไม้สดจะเคยใช้คำนี้อยู่เหมือนกัน)
ฟังแล้วสื่อความหมายได้ไม่เหมือนสีOld Rose นะครับ ทั้งๆที่คนไทยก็คุ้นกับกุหลาบมอญสีชมพูอยู่
หรือไม่ชื่อนี้ก็ฟังแล้วมัน "ไม่โก้" เลยไม่ถูกหูคนชอบพูดภาษาต่างประเทศอย่างคนไทย ผมก็ไม่ทราบได้
ชาวบ้านเลยติดคำว่า "สีโอโร๊ด" ตามภาษาเดิม หรือหนักๆเข้าก็พูดเป็น "โอรด" เหมือนที่คุณหมูฯถามมาร่ะครับ



ปล. พูดถึงชื่อสีแล้วผมนึกถึง "สีเขียวหัวเป็ด" "สีแดงเลือดนก" "สีเขียวขี้นกการเวก" ฯลฯ
ฟังแล้วชวนให้คิดว่าคนไทยรู้จักชื่อสีอยู่ไม่กี่สี อยากบอกว่าสีไหนก็ค่อยเอาคำอื่นๆมาขยายความต่อ ว่าสีที่ว่าสีเหมือนอะไร
เวลาเขียนตำราสอนภาษาอังกฤษ พูดเรื่องสีให้เด็กฟังก็พูดแค่สีที่ภาษาไทยมีชื่อเรียก นับแล้วก็มากกว่าสีรุ้งอยู่ไม่กี่สี
ไม่เหมือนฝรั่งที่มีชื่อเรียกสีที่แทบจะไม่ต่างกันเลยสารพัดไปหมด อย่าง crimson หรือ cyan นี่เด็กไทยสักกี่คนจะรู้จักก็ไม่ทราบนะครับ
แค่ violet กับ purple เด็กไทยตั้งหลายคนที่ไม่ละเมียดละไมในการใช้ภาษา(เช่นผมเป็นต้นล่ะครับ แหะๆ)
จนโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังแปลเป็นภาษาไทยไปโล้นๆว่า "สีม่วง" เหมือนกันหมดนะครับ อิอิ


ปล. ใครพอนึกถึงสีขาบ หรือสีบัวโรย ออกมั้ยครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 03 ก.ค. 06, 19:46
 สมแล้วที่เป็นคุณติบอ

ไม่เสียแรงที่ผมชื่นชมคุณให้คนโน้นคนนี้ฟังเสมอ ว่าคุณเก่งนัก (เก่งจริงนะ ตัวแค่เนี๊ย!!)

ขอบคุณสำหรับความรู้(เก่าสำหรับคนอื่นแต่)ใหม่ๆสำหรับผมครับ
     


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 20:38
 ครั้งหนึ่งนานมาแล้วในเว็บอื่น เราเคยคุยกันเรื่องสีเบจ และสีโอลด์โรสนี่ด้วย มีใครท่านหนึ่งบ่นขึ้นมาว่า สี "โอโร้ด" ในเมืองไทยนั้น ไม่ตรงกับสีโอลด์โรสต้นตำรับในเมืองฝรั่ง ดูเหมือนโอลด์โรสจะเป็นชมพูหม่น แต่โอโร้ดในเมืองไทย ดูจะเป็นชมพูอมส้ม หรือไงนี่แหละ

ชาด มีสีแดงครับ ฉะนั้นอะไรที่เป็นสีแดงก็เรียกว่าสีชาดได้

ผมเคยคุยกับคุณบัวดินและคุณ B (และอีกหลายท่าน) ในเว็บอื่นเหมือนกัน ว่าด้วยชมพู่ ชมพู Jambu และลูกหว้า รวมทั้งลูกไม้อื่นๆ ที่คนหลายชาติแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยืมเอาคำว่า ชัมพุ ของภาษาบาลีไปใช้เรียกในภาษาของตน (ดั้งเดิมแขกอินเดียเขาตั้งใจจะให้หมายถึงลูกหว้า)

ถ้าว่ากันตามเดิมจริงๆ สี "ชมพู" ไม่เชิงจะเป็นสีที่เรารู้จักว่าเป็น pink แต่คงเป็นสีลุกหว้าค่อนไปทางม่วงๆ ก่อนที่คำว่าชัมพุเองจะกลายเป็นใช้เรียกชมพู่ไปในหลายภาษา


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 20:43
 และเผอิญ ชมพู่นั้นสีชมพู (แต่ที่สีเขียวก็มี)

ผมเคยสงสัยมานานแล้วเหมือนกัน ว่า ม่วง มาจากไหน ไทยเรามีคำว่า สีม่วง และ มะม่วง หรือหมากม่วง แต่มะม่วงก็ไม่เห็นจะสีม่วงเลย ที่จริงสีตรงกันข้ามกับม่วงคือเหลือง (เวลาสุก) ด้วยซ้ำ

เคยรู้ว่า ภาษาเขมร (ที่ผมรู้มาตกๆ หล่นๆ นี้อาจจะเป็นภาษาเขมรภูมิภาค ไม่ใช่เขมรพระนคร - ใครรู้ภาษาเขมรจริงช่วยกรุณาแก้ไขผมด้วยครับ) ก็มีคำคู่นี้ คือทั้งมะม่วง และสีม่วง เขมรเรียก สวาย ทั้งคู่

ก็น่าจะแปลว่าตาคนไทยโบราณกับตาคนเขมรโบราณ เห็นผลไม้นี้สีคล้ายๆ กันซิ? และไม่ใช่สี "ม่วง" purple อย่างเดี๋ยวนี้ด้วย?

ทำให้นึกเลยเถิดต่อไปว่า แล้วปลาสวายในภาษาไทย คนไทยและคนเขมรสมัยโน้นเห็นเป็นสีอะไร?


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 22:27
 เปิดวิกิพีเดียเรื่อยส่งเดชเรื่องชื่อสีในภาษาอังกฤษ หาคำชื่อสีว่าโอลด์โรสไม่ยักกะเจอครับ หาต่อไปอีกหลายเว็บ ไม่เจอเหมือนกัน ?

แต่การส่งเดชของผมก็ทำให้สะดุ้งได้ เพราะเปะปะไปเจอบทความฝรั่งบทหนึ่ง เดี๋ยวจะลากลิ๊งก์ให้ครับ ทำไม่ค่อยเป็น แต่สรุปความได้ว่า Orange สีส้มและผลส้มในภาษาฝรั่งน่ะ ที่จริงเป็นภาษาแขก ข้อนี้ผมรู้อยู่แล้วคร่าวๆ มาก่อนว่า สเปนเรียกส้มว่านารังฮ่า หรืออะไรเทือกนั้น แต่พอหลุดไปอยู่ในภาษาฝรั่งเศสกับอันกฤษ ทำเสียง น. หน้าคำตกหาย กลายเป็นอะรังฮ่าและออเรนจ์จ้าต่อมา ทีนี้ สเปนได้คำนี้มาจากไหน ความรู้เดิมผมรู้ว่ามาจากอาหรับ ก็ไม่ติดใจอะไร

ภาษาสเปนได้คำจากอาหรับแยะมากหลายคำนะครับ เพราะอารยธรรมอาหรับเคยเจริญอยู่แถวนั้น อันนี้ก็ความรู้เดิม

ที่ผมสะดุ้งเมื่ออ่านบทความเมื่อกี้ เป็นความรู้ใหม่ก็คือ ฝรั่งรายนั้นเขาว่า อาหรับได้ชื่อคำเรียกส้มและสีส้มนี่ มาจากเปอร์เซีย และเปอร์เซียก็ได้มาจากอินเดียอีกต่อ แล้วว่า ที่จริงรากเดิมของคำว่า Orange นั้น เป็นภาษาสันสกฤต     !

ประกาศขอตัวช่วยด่วน ปุจฉา - อันว่าคำว่าส้ม ทั้งที่เป็นผลไม้ และสีสันวรรณะทั้งคู่นั้นแล พระบาลีท่านว่ากระไร ขอนมัสการกราบเรียนถามมาด้วยความเคารพ ณ ที่นี้

(เพราะภาษาบาลีก็ต้องสืบได้กับสันสกฤตน่ะแหละ)


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 22:36
 บทความที่ว่า ครับ

 http://www.worldwidewords.org/articles/colour.htm

"The colour orange derives originally from the Sanskrit word narangah for the fruit, whose name moved westwards through Persian narang and Arabic naranj to Spanish (the Arabs imported it into Europe via Moorish Spain in medieval times); in French it became corrupted to orange, in part by the process called metanalysis but also through being strongly influenced by the name of the town of Orange in south-eastern France which used to be a centre of the orange trade."

ที่ผมรู้มา ทำนองยังงี้ด้วยว่า จากที่เคยเรียกว่า a naranj ส้ม หนึ่งลูก กลายเป็น an orange ส้มหนึ่งลูก ไป เสียงตัว N ย้ายที่ ไปติดกับอาร์ติเกิ้ล เลยชื่อในภาษาใหม่กลายเป็น โอเร้นจ์ เสียง น ต้นคำ หาย

แต่ที่เขาว่าที่จริงแล้วรากเดิมเป็นภาษาสันสกฤตว่า Narangah นี่สิ ผมทึ่ง จริงตามที่ฝรั่งว่าจริงๆ เหรอ?

นรังคห์? ณรงคห์? (มั่วครับ) นรางเคราะห์? .... มั่วไปก็ไม่ได้เรื่อง ยอมแพ้ดีกว่า

ลองนึกตามพระบาลี (ซึ่งนักภาษาศาสตร์ว่า ภาษาบาลีก็เป็นรูปที่ง่ายลงหรือที่เพี้ยนไปแล้วรูปหนึ่ง ของภาษาสันสกฤต) ฉัพพรรณรังสี หรือรัศมีหกสีของพระพุทธเจ้า มีสีส้มอยู่ด้วยรึเปล่านะครับ? และสีส้มถ้ามีนั่นน่ะ พระบาลีท่านเรียกว่าอะไรหนอ?


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 22:39
 พจนานุกรมว่า อย่างนี้ครับ

"คำ :  ฉัพพรรณรังสี
เสียง :  ฉับ-พัน-นะ-รัง-สี
คำตั้ง :  ฉัพพรรณรังสี
ชนิด :  น.
ที่ใช้ :  แบบ
ที่มา :  (ป. ฉพฺพณฺณรํสี)
นิยาม :  รัศมี ๖ ประการคือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ)."

เป็นอันจบเห่ ไม่มีสีส้มในนี้แฮะ มีแต่สีเฉดแดงๆ เหลืองๆ คล้ายๆ จะเป็นส้มได้ แต่ก็ยังไม่ตรง และไม่มีคำเรียกสีที่ฟังเสียงคล้ายนรังฮ่าซักสีเดียว


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 22:48
 มีข้อสังเกตว่า ตาแขกโบราณก็เห็นสีต่างๆ ปนๆ กันพอๆ กับไทยโบราณเหมือนกัน นีลนั้น มาถึงสมัยนี้ไทยเราว่าเป็นสีดำ อย่างรัตนชาติที่ชื่อนั้น แต่ในฉัพพรรณรังสีพระพุทธเจ้า พระโบราณาจารย์ท่านกำหนดให้เป็นสี "เขียว" แต่บอกว่าเขียวเหมือนดอกอัญชัน ซึ่งใครจะยังไงไม่ทราบนะครับ สำหรับผม (ซึ่งเป็นไทยสมัยนี้) น่ะ ผมว่าดอกอัญชันมันสีน้ำเงินนี่ครับ?

สรุปว่า นีล ของแขกอาจจะเป็นสีดำ เขียว น้ำเงินเข้ม ได้ทั้งนั้น ม่วงก็ดูเหมือนจะได้ด้วย สีน้ำทะเลก็ดูเหมือนจะได้ ออกไปทางเฉดทำนองนั้นหมด

โลหิตกับมัญเชฐนั้น ผมอ่านแล้วมีความรู้สึกว่าออกเฉดแดงทั้งคู่แต่คนละเฉดกัน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 22:57
 ไล่ชื่อผลไม้ต่อ

ชัมพุ อย่างในชื่อชมพูทวีป เป็นลูกหว้า สีน่าจะม่วง แต่มาถึงภาษาไทยกลายเป็นชมพู (แล้วสีชมพู พระบาลีว่ากระไร?) ในภาษาจีนกลาง สีแดงเรียกว่า หง (- อั๊ง ในภาษาแต้จิ๋ว) และชมพูเรียกว่า เฝิ่นหง มีคนบอกผมว่า เฝิ่นในคำจีนกลางคำนั้น มีรากศัพท์สัมพันธ์กับคำว่า ฝุ่น ในภาษาไทย หมายความว่าเป็นสีแป้งผิดหน้าหรือทาหน้า (สมัยนี้จะเรียกว่า "รูจ" ก็คงได้กระมัง?) คือคนที่เล่าเขาบอกผมว่า คนจีนเรียกชมพูว่า "แดงฝุ่น" หรือ แดงอย่างแป้งผัดหน้า เท็จจริงอยู่ที่คนเล่าครับ ผมก็ไม่ทราบ  

มะม่วง ภาษาฮินดีสมัยนี้ก็ยังเรียกว่า อัม อยู่เลย บาลีสมัยโบราณเรียก อัมพะ (อัมพวัน แปลว่าป่ามะม่วง) ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเกี่ยวกับสี (ไม่เหมือนในภาษาเขมรและไทย)

ส้ม ยังหาศัพท์ไม่เจอ

ในวิชากสิณ มีการเพ่งเอาสีต่างๆ เป็นอารมณ์กำหนดจิตเหมือนกัน เห็นจะต้องลองไปค้นดูว่ามีสีชื่อบาลีว่าอะไรบ้าง


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 03 ก.ค. 06, 23:02
 นึกเตลิดไปว่า ตัวการ์ตูนฝรั่งของ DC คอมิก (บริษัทเดียวกับที่วาดการ์ตูนซูเปอร์แมน มนุษย์ค้างคาว และสาวน้อยมหัศจรรย์วันเดอร์วูแมนออกขาย) มีตัวหนึ่ง ชื่อเดอะกรีนแลนเทิร์น ซึ่งห้ามแปลเป็นไทยว่าวีรบุรุษโคมเขียวเป็นอันขาด จะความหมายเพี้ยนไกลลิบลับเลยทีเดียว

อีตากรีนแลนเทิร์นนี้ ดูเหมือนมีฤทธิ์วิเศษเกี่ยวกับอะไรก็ตามที่เป็นสีเขียวๆ

ถ้าแกเป็นพุทธ ผมว่าแกคงต้องเล่นกสิณแล้วเพ่งสีเขียวเป็นอารมณ์แน่เลยครับ ถึงได้มีฤทธิ์แบบนั้น


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 03 ก.ค. 06, 23:33
 เห็นคุณนิลกังขาเปิดเรื่องมาเรื่องลูกหว้า ก็ขอเล่าที่ตัวเองเคยได้ยินมาบ้างแล้วกันครับ
ผมเคยสงสัยเรื่องทองชมพูนุช ว่าทำไมถึงเรียกว่าทองชมพูนุช มันไม่เห็นจะชมพูตรงไหนเลย ออกจะทองๆ แดงๆ ม่วงหน่อยๆด้วยซ้ำไป
ก็เลยไปลองค้นหนังสือดู เท่าที่จำได้ความของผมในครั้งนั้นไปจบที่ "ไตรภูมิพระร่วง" ของพระยาลิไทครับ

เรื่องที่ค้นเจอ เริ่มจากที่เล่าว่าเหนือชมพูทวีป (นี่ก็ชมพูล่ะ อิอิ ก็ มาจากชื่อ "ต้นหว้า" น่ะแหละครับ ไม่ใช่ทวีปเป็นสีชมพูแจ๋หรอก)
เพราะฉะนั้น เหนือทวีปที่ว่านี่ก็เลยมีไม้หว้าต้นใหญ่มโหฬารขึ้นอยู่ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปไกลพอดู
เล่ากันว่าเมื่อผลจากไม้หว้าต้นนี้หล่นลงบนพื้นเมื่อใด ผลไม้นั้นก็จะกลายสภาพไปเป็นทอง เรียกว่า "ทองชมพูนุช" ครับ
ผมเลยได้ถึงบางอ้อ ว่าเจ้าทองสีก่ำๆที่เรียกว่าทองชมพูนุช มันมีที่มาประการฉะนี้นี่เอง


ปล. ว่างๆคงต้องไปค้นเพิ่ม มีเรื่องน่าสนใจอีกปานตะไทรอให้ผู้สนใจไปค้นนะครับ อิอิ

ปล.2 ไม่ทราบจะจำมาถูกหมดหรือเปล่านะครับ หลายปีแล้วน่ะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 04 ก.ค. 06, 02:38
 สีม่วง ผมว่า อาจเป็นสี มะม่วงเน่า นะครับ
มันออกม่วงๆ อยู่เหมือนกัน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 04 ก.ค. 06, 10:20
 อาจจะเป็นได้ครับว่าเป็นสีมะม่วงสุกแก่จัด (ใกล้เน่า) ไม่เช่นนั้นผมก็นึกไม่ออกว่าจะมีสีม่วงมาแต่ไหน

คห. 108 คุณติบอเงยหน้าดูธงไทยไตรรงค์ จะเจอสีขาบเป็นหนึ่งในสามสีของธงชาติไทยครับ สีขาบ คือ สีน้ำเงินเข้มแก่ และเป็นสีที่ ดั้งเดิมในหลวง ร. 6 ทรงกำหนดให้เป็น 1 ใน 3 สีธงไตรรงค์ที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้นพระราชทานให้ไว้แก่ชาติไทย แทนธงชาติเดิมที่เป็นธงช้าง ดูเหมือนมีคำนี้ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติธงด้วยซ้ำ (อย่างน้อยก็ในฉบับแรกที่กำหนดธงชาติใหม่นี้)

แต่ก็แปลกหน่อย คือ สีขาบในพระราชนิยม ร. 6 ซึ่งมาเป็นสีธงชาตินั้น เป็นน้ำเงินแก่ เดี๋ยวนี้ในธงชาติเราก็เห็นเป็นน้ำเงินแก่ แต่พจนานุกรมราชบัณฑิตให้ความหมายคำว่า ขาบ ว่าเป็น "น้ำเงินแก่อมม่วง" ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าธงชาติไทยปัจจุบันแถบสีน้ำเงินตรงกลางนั้น มีม่วงเจือด้วยหรือเปล่า มีความรู้สึกว่าไม่เห็นมี?


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 04 ก.ค. 06, 10:22
 ส่วนสีบัวโรย ผมรู้สึกว่าน่าจะเป็นสีชมพูซีดๆ ใช่หรือเปล่าครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 04 ก.ค. 06, 10:33
 ตาม คห. 95 96 และ 107

ต่อไปนี้นิลกังขาจะขอมั่ว ยกทฤษฎีเดาชั่นตามใจฉัน เรื่อยเปื่อยตามประสา

ผมกำลังจะเดาต่อจากที่คุณพิพัฒน์เกริ่นไว้ และคุณติบอรับลูกต่อครับ ว่า ผมคิดว่าคำเรียกสีในภาษาไทยเดิม หรือในความรู้สึกของคนไทยโบราณนั้น ท่านแบ่งกว้างๆ เป็นสีสองพวกเท่านั้นแหละ คือสีโทนร้อนกับโทนเย็น อินกัหยาง มืดกับสว่าง เป็นแนวคิดปรากฏการณ์คู่ตรงข้าม

ที่จริงตามทฤษฎีสี (ซึ่งผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว ถ้าผิดพลาด ขอความกรุณาขาใหญ่ศิลปากรหรือเพาะช่างแถวนี้เมตตาแต่กระผมผู้ไม่รู้เรื่องสีด้วย -) นั้น แม่สีมันควรจะเป็นสามกลุ่ม ไม่ใช่สอง คือเหลือง น้ำเงิน และแดง แต่ผมออกจะรู้สึกว่าคนไทยเก่าท่านขีดเส้นแบ่งหลักๆ คร่าวๆ เป็นแค่สองฝั่ง เอาสีสว่าง และสีร้อนอย่างเหลืองกะแดงไว้ด้วยกันฟากหนึ่ง แล้วเอาสีมืดบรรดามี ทั้งดำ น้ำเงิน เขียว ม่วง ฯลฯ รวบไว้ด้วยกันอีกฟาก

จึงเป็นที่มีของคำว่า "เขียวๆ แดงๆ" ของคุณติบอ ซึ่งความหมายสามารถแตกลูกออกมาได้เป็นสารพัดสี เพราะพูดคร่าวๆ ด้วยตัวแทนสุดโต่งของทั้งสองข้างไว้แล้ว


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 04 ก.ค. 06, 10:51
 เขียว ในเซนส์หนึ่งจะเป็นดำได้ ทำนองเดียวกัน แดง เหลือง ขาว สว่าง ในเซนส์หนึ่งก็เป็นพวกดียวกัน

หลักฐานในการมั่วของผมมีไหม มีครับ แต่อย่าเอาอะไรกะผมมาก ผมบอกแล้วว่าผมมั่ว

- ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อย ที่มีการแบ่งในพระปรมาภิไธยกษัตริย์ เป็น อินทราทิตย์ จันทราทิตย์ ข้างหนึ่งเราหมายเอาตะวัน ฟากสว่าง ผู้เป็นใหญ่แห่งวัน อีกข้างหมายเอาพระจันทร์ ผู้เป็นใหญ่แห่งราตรี

ชื่อคนธรรมดาแม้แต่ที่เป็นหญิง ก็มีลูกอิน ลูกจัน ชายก็มี อิน จัน
เข้าใจว่าข้างอินจะใหญ่กว่าข้างจัน น่าจะเป็นฝั้งพระอาทิตย์ จันนั้นพ้องกับจันทร์ด้วย

- แต่เป็นไปได้ว่า ธรรมดาของสิ่งที่เป็นคู่ มาด้วยกันเป็นชุดนั้น อาจจะสลับสับสนกันได้ โดยเฉพาะเมื่อเรารับคำว่าจันทร์จากแขกมา (เดิมเราเรียกของเราว่าเดือน) ทำให้จันคำไทยไปได้ความหมายเป็นราตรีไป สลับข้าง เพราะว่า "อิน" ในภาษาจีนกลาง นั้น คือสิ่งเย็นสุด มืดสุด และ "หยาง" คือสว่างสุด คือร้อนสุด "หยาง" กับ "จัน" ก็ใกล้กัน และผมเชื่อว่าไทยคบหรือรับแนวคิดจากจีนก่อนรู้จักอารยธรรมอินเดีย แต่พอมีคำว่า จันทร์ เข้ามา เลยความหมายสลับข้างกัน

- เราอยู่อินโดจีน รับมันทั้งครูจีนครูแขก จึงผสมปนเป ต่อมาเรารู้จักพระอินทร์ รู้ด้วยว่าตัวเขียว เลยเกณฑ์ให้อินทร์ เป็นเขียว (กลับไปตามความหมายดั้งเดิม แต่ไม่ตรงกับที่เราเคยใช้ใน อินทราทิตย์ ซึ่งน่าจะแดง) เรารับความคิดเรื่องพรหมของแขกมาด้วย เมื่อเดิมเรามีเป็นคู่ ต่อมาเรามีอินทร์รอท่าอยู่แล้ว ก็จับพรหมมาเป็นคู่ซะ

ที่จริงตามตำราแขกดั้งเดิม พระอินทร์กับพระพรหมนั้นไม่คู่กันแน่ คนละชั้น ท่านหนึ่งเป็นมหาเทพ อีกท่านเป็นเจ้าสวรรค์ดาวดึงส์เท่านั้น แต่ในกระบวนแห่ไทย เทวดา (คือคนแต่งเป็นเทวดา) พวกหนึ่งที่นำเสด็จหรือตามเสด็จในกระบวน เราเรียกว่าอินทร์ ก็จะแต่งเครื่องเขียว อีกพวกเราเรียกของเราว่าพรหม ก็จำเป็นต้องแต่งเครื่องแดง เดินกันเป็นแถวยาวยืดคู่กัน ดูจะเป็นซ้ายข้าง ขวาข้าง ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่าใครข้างไหน แต่แนวคิดเอาอินทร์กับพรหม (หลายๆ คนเป็นแถวด้วย ไม่ใช่ 1 อินทร์ 1 พรหม) มาคู่กันนี้ ผมไม่เชื่อว่ามีในอินเดียเดิม


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 04 ก.ค. 06, 18:26
 สวัสดีค้า คุณพระนิล ฯ คุณติบอ ขอร่วมวงด้วยคน
ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะได้ฟัง (อ่าน) หนุ่มๆ วิเคราะห์สีกันอย่างละเอียดละออขนาดนี้
เพราะวันก่อน ไปซื้อกางเกงให้แมว เฟื่องบอกคนขายว่า ตกลงเอาสีเขียว ไม่เอาสีทราย
จริงๆ กางเกงทั้งสองตัว เป็นสีโทนเบจทั้งคู่ แต่สำหรับเฟื่อง
ตัวนึงเป็นเบจออกเฉดเขียว อีกตัวออกเฉจน้ำตาลเหมือนสีทราย
แต่..แมว ก็คือ แมวค่ะ ดูไม่ออกหรอก กางเกงตัวเองแท้ๆ นะ

สีขาบนี่ เป็นสีม่วงอมน้ำเงินใช่ไหมคะ คุณติบอ (หรือน้ำเงินอมม่วง ?) แต่บัวขาบเดี๋ยวนี้ก็มีหลายๆ สีแล้ว
ส่วนสีกลีบบัวโรยนี่ ชมพูเจือม่วงนิ้ดดดเดียว แล้วก็ออกซีดๆ ไม่สดอย่างคุณพระว่า
เหมือนดอกบัวหลวงสีชมพูที่โรยแล้วจริง ๆ

ส่วนทอง ชมพูนุช ที่ว่านี่ เขียน ชมพูนุท หรือเปล่าคะ
บางทีเคยได้ยินเรียกเป็น ชามพูนุท ก็มี

"ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด
บราลีที่ลดมุขกระสัน
มุขเด็ดทองคาดกนกพัน
บุษบกสุวรรณชามพูนุท"

จากเนื้อร้องของระบำดาวดึงส์ค่ะ หรือจะเขียนแบบนี้
เพื่อให้ได้เสียงที่ไพเราะเวลาร้องก็ไม่ทราบ

คุณครูพัด จะมาไหมคะเนี่ย ขอถามเป็นความรู้หน่อยสิคะว่า
สีเขียว เวอริเดียนเนี่ย ...เป็นอย่างไรคะ
สีเขียวไข่กาอีกสีค่ะ ที่เฟื่องไม่รู้จัก


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 04 ก.ค. 06, 18:59
 สวัสดีครับพี่เฟื่อง
ไม่เจอกันตั้งหลายอาทิตย์แนะ!!


มีใครพอจะมีรูปของ ดอกม่วง หรือเปล่าครับ(ไม่ใช่ดอกเบี้ยใบสีม่วงๆนะ) มันเป็นสีม่วงแบบไหนหนา ผมก็ไม่เคยเห็นสักทีใช้ กูลเกิ้ล ดูภาพ มันก็ไม่ เกื้อกูล กันเอาเสียเลย

สีม่วงอาจจะมาจาก ดอกม่วง นี้เอง
หรือคำว่า ดอกม่วง นั้นอาจมาจากดอกมันสีม่วง เขาจึงเรียกดอกม่วงก็ได้ (โอ้ย งง ??)


แต่ที่แน่ๆผมไม่อยากเชื่อเลยครับว่าคำว่าสีม่วง จะมาจากสีของมะม่วงเน่า !!
ไม่รู้เพราะอะไรเหมือนกัน


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 04 ก.ค. 06, 19:18
 ดอกม่วง เป็นไงครับ
ผมเคยได้ยิน ช่อม่วง แต่นึกว่าเป็นของกิน ไม่นึกว่าเป็นดอกไม้

สวัสดีครับคุณเขวี้ยงแก้ว หรือคุณเฟืองเก่า ยินดีต้อนรับกลับบ้านครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 04 ก.ค. 06, 19:21
 สีกากี ไทยเรียกตามฝรั่งอังกฤษ แต่ฝรั่งเรียกตามคำเปอร์เซียหรืออินเดียอีกทีหนึ่ง คำเดิมแปลว่า สีของฝุ่นหรือทราย

เมื่อวานนี้ผมเพิ่งมีเหตุเกี่ยวกับการแต่งชุดสีกากีมาหยกๆ ครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 04 ก.ค. 06, 19:23
 จริงแล้วภาษาบาลี กากะ แปลว่านกกาหรืออีกา ดังนั้นสีกากี น่าจะเป็นสีดำถ้าใช้พจนานุกรมบาลีเทียบ แต่เผอิญมันไม่ใช่ภาษาบาลี เป็นภาษาแขกตระกูลอื่น เลยรอดตัวไป

กากบาท แปลว่าตีนกา หรือเครื่องหมาบรูปตีนกา ก็คือ + หรือ x


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 04 ก.ค. 06, 20:28
 เกิดเหตุอะไรกับเครื่องแบบสีกากีคะ คุณนิลกางขา เอ๊ย กังขา

คุณนิลนี่ มักจะมีเกร็ดเด็ดๆ มาแจกประจำ
ต่อไปเราจะได้ทักทายพี่ ๆ ว่า ไม่เจอกันนาน กากบาทเพียบเลยนะคะ
(ฟังดูดีกว่าแยะ คิกๆ)

แว้บไปชวนครูพัดมาวิเคราะห์สีด้วยดีก่า
เรียนจนจบมาเป็นสิบปี ไม่เคยรู้เลยว่า สีประจำมหาวิทยาลัยตัวเองนี่ หน้าตาเป็นไง


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 04 ก.ค. 06, 22:33
 ที่จริง ถ้าสนใจจิตรกรรมไทยจะเจอชื่อสีแปลกๆอยู่อีกหลายสีเลย
เช่น สีหงดิน หงเสน ฯลฯ (จำไมได้แหล่วครับว่ามีอะไรบ้าง)


ที่จริง ผมมาทิ้งเรื่อง "สีขาบ"กับ "สีบัวโรย" เอาไว้ให้งงกันเล่น เพราะ(แอบ)อยากชวนคุยเรื่องอื่นล่ะครับ อิอิ
2 สีนี้เป็นชื่อสีที่ชวนให้นึกถึงความผูกพันของคนไทยกับดอกบัวอยู่มากทีเดียวนะครับ
(พอดีเห็นว่าสมาชิกท่านหนึ่งที่มาถกกันเรื่องสีเนี่ยะ สัญลักษณ์ของที่ทำงานเป็นดอกบัว ผมเลยว่าจะถือโอกาสเปิดเรื่องค้างไว้ต่อน่ะครับ อิอิ)





.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 04 ก.ค. 06, 22:49
 พูดถึงสีขาบก่อนแระกัน

ครั้งแรก ที่ผมเดาว่าสีขาบคือสีอะไร ก็ตอนที่รู้จักผ้าชนิดหนึ่งครับเรียกว่า "ผ้าเข้มขาบ"
ผ้าชนิดนี้เป็นผ้ายกทองชนิดหนึ่ง ลายผ้าเป็นลายริ้วตามแนวยาวขนานไปกับริมผ้า
ส่วนมากมักทอเป็นทองสลับกับสีแก่ และตัวอย่างผ้าที่ผมเห็นจำนวนมากส่วนที่เป็นสีแก่จำนวนมากก็เป็นสีที่ย้อมด้วยคราม


ขออนุญาตอธิบายเพิ่มนิดนึงว่าเนื้อของสีย้อมจากธรรมชาติอย่างครามเนี่ยะ สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามปัจจัยหลายอย่างเลยล่ะครับ
เช่นเปลี่ยนตามสภาพความชื้น แสงสว่าง หรือความเป็นกรด-ด่างรอบตัวได้
(ถ้าใครนึกไม่ออก ลองนึกถึงเวลาเรียนเคมีตอนประถมที่คุณครูเอาดอกอัญชันมาเติมน้ำมะนาวแหละครับ)

นอกจากนั้น เนื้อสีของครามยังสามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศได้อีกตะหาก
โดยเมื่อทำปฏิกิริยาแล้วเนื้อสีจะมีสีที่ออกไปทางสี "เขียว" หรือสีน้ำเงินอมเขียวมากขึ้น
(ถ้าใครเคยเห็นผ้าครามของคนอิสานคงพอนึกออกว่ามีหลายสีเสียเหลือเกิน)



ขี้เกียจเล่าแล้วครับ เรื่องสีเดี๋ยวเยิ่นเย้อไป สรุปว่าครั้งแรกที่ผมเจอชื่อผ้า"เข้มขาบ"
ผมก็เลยนึกเอาว่าสีขาบเป็นสีเหมือนผ้าฝ้ายย้อมครามน่ะแหละ เพราะสีมันออกมาแบบนั้นนี่นา



เอาภาพผ้าเข้ขาบแบบอินเดียมาให้ชมกันครับ สีแบบนี้ล่ะที่ผมเล่าถึง (ใครอยากเห็นของไทยไปชมที่พิพิธภัณฑ์นะครับ)





.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 04 ก.ค. 06, 23:17
 แต่แล้ว เมื่อผมไปค้นตำราเพิ่มเติม ในบันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ ซึ่งสมเด็จครูประทานแก่พระยาอนุมานราชธน
ลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ทรงอธิบายถึงผ้ายกไว้หลายชนิดว่า "ถ้าลายเป็นริ้วเห็นทองกับพื้นเท่ากันเรียกว่าเข้มขาบ จัดว่าเป็นที่ 2"

ส่วนจดหมายของพระยาอนุมานราชธน ซึ่งขอประทานกราบทูลฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ทูลสมเด็จฯ ว่า
"ในภาษาเปอร์เซีย มีคำว่า tash และ kimkhab แปลว่าผ้าทอง ไม่อธิบายอะไรอีก"

จากข้อมูลส่วนนี้ก็เลยทำให้ผมกลับไปสรุปว่า "ผ้าเข้มขาบ" เรียกว่า "เข้มขาบ" เพราะมีสีขาบ ไม่ได้แล้ว
เพราะชื่อผ้าน่าจะมาจากภาษาต่างชาติมากกว่าที่จะมาจากชื่อของสีในภาษาไทย ?


ข้อสรุปใหม่ก็เลยทำให้ "สรุปไม่ได้" ว่าสีของผ้าเข้มขาบเป็นสีขาบ (อ่านแล้วสับสนมั้ยครับ อิอิ)



ปล. "ผ้าKimkab" ในอินเตอร์เนตที่ผมหาเจอเป็นผ้าแบบผืนด้านล่างนี่แหละครับ
หน้าตาต่างจาก "ผ้าเข้มขาบ" ของคนไทยที่บันทึกไว้ในบันทึกของพระยาอนุมานราชธนหลายขุมนะครับ แหะๆ




.


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 05 ก.ค. 06, 00:22

.










เอา "บัวขาบ" มาพูดถึง "สีขาบ" แทนดีกว่า เพราะผ้า "เข้มขาบ" มันใช้ไม่ได้แล้ว

"บัวขาบ" ภาษากวีก็เรียกให้ไพเราะเพราะพริ้งจนฟังแล้วนึกไม่ออกว่าเป็นดอกอะไรเลยล่ะครับ ว่า "นิโลตบล"
อันที่ครูภาษาไทย ม.3 ชอบเอามาสอนน่ะแหละครับ ว่าเป็นการสมาสเสียงแบบ "สนธิ" (ไม่ใช่ลิ้มทองกุลนะครับ อิอิ)
มาจากคำว่า "นิล" ซึ่งเป็นชื่อสีสีหนึ่งในภาษาแขก กับ "อุบล" ที่แปลว่าจังหวัดใหญ่ทางภาคอิสาน เอ๊ย...! ไม่ใช่ๆ แปลว่าดอกบัว
รวมๆแล้วผมก็เลยอนุมานไปเองได้ว่า "บัวขาบ" เป็นบัวที่มีสีแบบที่ภาษาแขกเรียกว่า "สีนิล" ล่ะครับ


แต่ก็อย่างที่คุณเฟื่องแก้วบอกไว้ล่ะครับ บัวขาบ หรือที่ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Nymphaea cyanensis
(บางทีผมก็เห็นเรียกว่า Nymphaea capensis Thunberg) เนี่ยะ มีหลายสีครับ (ไม่ใช่แค่สี cyan นะครับ อิอิ)
เพราะตามธรรมชาติของบัวโดยเฉพาะบัวในกลุ่มบัวสาย สีและรูปทรงของดอกจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆครับ เช่น อุณหภูมิน้ำ หรืออายุของดอกครับ

ยิ่งหลังๆมานี่ผมเห็นบางเวบเอาภาพ "บัวขาบ" กับ "บัวเผื่อน" มาปนกันอีกให้ผู้อ่านสับสนเล่น บัวขาบก็เลยยิ่งมีสีก็เยอะเข้าไปอีกล่ะครับ เพราะบัวเผื่อนน่ะเปลี่ยนสีได้นะครับ หุหุ



เล่าเรื่องไม่ค่อยมีสาระมาตั้งหลายความเห็นเพิ่มเติมแล้ว ผมก็ยังตอบตัวเองไม่ได้ซะทีว่า "สีขาบ" เป็นสีอะไร
รู้แค่ว่า "สีขาบ" น่าจะสีตรงกับสีของ "บัวขาบ" มากกว่าสีของ "ผ้าเข้มขาบ" ครับ
เพราะคำว่า "ขาบ" ของ "บัวขาบ" น่าจะมาจากสีของดอกบัว ที่ผมอนุมานเอาว่าน่าจะมีสีขาบ
ส่วนคำว่า "ขาบ" ของ "ผ้าเข้มขาบ" น่าจะมาจากเสียงในภาษาต่างประเทศนะครับ

ว่าแล้วก็เดาต่อไปว่า "สีขาบ" น่าจะมีส่วนคล้ายกับ "สีนิล" อยู่บ้างนะครับ เพราะภาษาแขกเรียกบัวขาบว่า "นิโลตบล"
แต่ "สีนิล" จะเป็นสีอะไร คงต้องรบกวนสมาชิกท่านอื่นที่น่าจะรู้จักชื่อสีดีกว่าผมมาตอบดีกว่าครับ อิอิ






ปล. เอาคำประพันธ์มาฝากกันครับ


.......โกมลเดียรดาษท้อง...................สินธู
วาลุการะดับดู..................................ดั่งแก้ว
ปารังระบัดปู....................................ปุยนุ่น...เปรียบฤๅ
เปิดจอกกระจับแผ้ว...........................ผ่องน้ำเห็นปลา

......เรืองรองน้ำจันทรมณี...............บุษปะสระศรี
สโรชนิโลตบล
......บัวบานมณีสุริยพิมล................บงกชจงกล
ลนีนิโลตบลบาน
......ขจรคนธตรหลบโอฬาร............ฟุ้งฟ้าจักรพาฬ
ก็พูนบำเทิงหฤทัย
......รายรอบสระศรีเรียงไร.............ย่อมรัตนอำไพ
รุวาลุกายับยับ
......กรวดแก้วกรวดรัตนประดับ.......ทรายทองรายกับ
รัชฎดาษเดียรดาษ



จากอนิรุทธคำฉันท์ ของศรีปราชญ์ครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 06, 10:03
 สี old rose หมายถึงสีชมพูคล้ำๆอย่างสีกุหลาบ(สีชมพู)โรย
แต่คนไทยออกเสียง โอลด์ ไม่ถนัดเพราะเราไม่มีเสียงตัวสะกด ล &  ด ควบกัน   ก็เลยออกแต่ตัวแรก เป็น โอ
แต่พอมาใช้ นานๆเข้า สีโอโรสที่หมายถึง  ไม่ยักใช่สีชมพูคล้ำ  แต่กลับเป็นสีตรงกับที่ฝรั่งเรียกว่า peach คือสีชมพูอมส้ม ค่ะ


นิล  เดิมหมายถึงสีฟ้า หรือเฉดน้ำเงิน  ไม่ได้หมายถึงดำ
นิลวรรณ ไม่ได้แปลว่าผิวดำ  แต่แปลว่าสิ่งที่มีผิวสีน้ำเงิน หมายถึงพลอยสีน้ำเงิน  ซึ่งรวมหลายเฉด ตั้งแต่น้ำเงินอ่อนไปจนน้ำเงินแก่เกือบดำ
ส่วนคำว่าสีดำ  คือ กาฬ  
คำนี้แม้แปลว่าดำตรงตัว  แต่ไทยไปใช้ในชื่อพระกาฬ   กวีก็คงไม่อยากเอามาบรรยายความงาม
ฟันงามเลยกลายเป็นดำเหมือนนิล  อนุโลมเรียกสีดำว่านิล ในคำว่า เจ้างามทนต์กลนิลเจียระไน  ฟังแล้วนิ่มหูว่ากาฬ เยอะค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 06, 10:12
 คุณติบอ
ข้อสันนิษฐานส่วนตัวก็คือ ผ้าเข้มขาบเมื่อมาถึงอยุธยา น่าจะเป็นผ้าสีครามยกทอง หรือไม่ถ้ามีหลายสี  ก็มีสีนี้เป็นที่นิยมกันมากกว่าเพื่อนในสมัยนั้น
จึงเรียกสีน้ำเงินเฉดนี้ว่าผ้าสีขาบ  
แล้วก็ยกคำว่า "ขาบ" ไปใช้เป็นคุณศัพท์ประกอบของอย่างอื่น อีก เช่นสีของบัว  เรียกว่าบัวขาบ
พลอย หรือผลึกแก้วสีน้ำเงินอ่อน ก็เรียกว่าแก้วสีขาบ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 06, 10:29
 คำว่ากากี  ไทยอาจจะเอามาจากโปรตุเกสก่อนอังกฤษก็เป็นได้ค่ะ เพราะเราติดต่อค้าขายกับโปรตุเกสมาก่อน

ลอกกลอนบรรยายสี จากพระอภัยมณี  มาให้อ่าน  ตอนพระอภัยมณีไปขมภูเขาเพชรที่กรุงลังกา
คำไทยที่บรรยายสีคงมีจำกัดไม่กี่คำ กวีจึงต้องเพิ่มคำเปรียบเทียบและคำพรรณนาเข้าไปด้วยเพื่อให้เห็นสีชัดเจน

ฝ่ายเหล่าองค์พงศ์กษัตริย์ไม่ขัดข้อง
ทรงฉลองพระบาทเดินขึ้นเนินหิน
ชำเลืองเลียบเหยียบเตร็จชมเพชรนิล
กระจ่างจินดาดวงดูร่วงรุ้ง

เรืองจำรัสรัศมีสีต่างต่าง
บ้างเขียวด่างสีกุหร่าดังตากุ้ง
บ้างเหลือบลายพรายแพรวแววนกยูง
อร่ามรุ่งเรืองงามอยู่วามแวม

บ้างเขียวขาวพราวพร้อยทั้งน้อยใหญ่
เหมือนเจียระไนเรียบเรียมเป็นเหลี่ยมแหลม
สีเมฆหมอกดอกตะแบกขึ้นแทรกแซม
บ้างเกิดแกมเตร็จแก้วดูแพรวพราว
...............................
ที่แดงก่ำปัทมราชดังชาดเสน
แก้วโกเมนโมรามุกดาสลับ
โน่นหมู่เพชรเม็ดหลีกปีกแมงทับ
ดูซ้อนซับใหญ่น้อยล้วนพลอยเพชร

แก้วกาลีสีอินทนิลคล้ำ
นั่นเพชรน้ำตะกั่วตัดดูตรัสเตร็จ
เหมือนหิ่งห้องพลอยพรายกระจายเม็ด
เกิดกับเตร็จก้อนหินซอกศิลา


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 05 ก.ค. 06, 11:02
 อีกสีหนึ่งที่คิดว่าหาที่มา ได้ไม่ยากก็คือ สีน้ำตาล
ชื่อก็บอกว่าเป็นสี อย่าง น้ำของตาล

ปกติสีน้ำตาลสดนั้นออกจะเหลืองใส
สีน้ำตาลที่เป็นสีที่เห็นในปัจจุบัน น่าจะมาจากสีของน้ำตาลเคี่ยว หรือ น้ำตาลอ้อย หรือน้ำตาลปี๊บ
ถ้าเคี่ยวแบบไฟแรงๆ หรือนานเกินไป อาจได้น้ำตาลอีกเข้มกว่า ที่เรียกว่าสีน้ำตาลไหม้

   


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 05 ก.ค. 06, 13:25
 มีภาษาปาก ภาษาแสลง คำหนึ่งที่เกี่ยวกับสีเหมือนกัน
คือคำว่า อัดถั่วดำ ที่หมายถึงว่า การเสพสังวาททางทวารหนัก

เคยสงสัยว่าทำไม ไม่เป็นอัดถั่วแดง หรือถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแขก ถั่วแระ ฯลฯ
วันหนึ่งไปพบข้อมูลว่า




...........อัดถั่วดำ...

คำนี้ ฮิตติดตลาดมา ๖๐ กว่าปีแล้ว ต้นเรื่องมาจาก ชายผู้มีชื่อเล่นว่า "นายถั่วดำ" ทำวิตถารกับเด็ก ๆ ดังที่ปรากฏข่าวใน หนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ฉบับประจำวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ มีรายละเอียดว่า
.......เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนนี้ เวลา ๑๘ น. ร.ต.ท. แสวง ทีปนาวิณ สารวัตร สถานีตำรวจป้อมปราบ ได้จับตัว นายการุณ ผาสุข หรือ นายถั่วดำ ตำบลตรอกถั่วงอก อำเภอป้อมปราบ มาไต่สวนยัง สถานีป้อมปราบ
 .......เหตุที่นายการุณ หรือถั่วดำ ถูกจับนั้น ความเดิมมีว่า ร.ต.ท. แสวง เห็นห้องแถวเช่า ซึ่งนายถั่วดำ เช่าอยู่ มีเด็กชายตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๖ ปี อยู่ในห้องมากมาย จึงสงสัยว่า เด็กชายเหล่านั้น จะเป็นเด็กที่ ประพฤติในทางทุจริต ร.ต.ท.แสวง ได้ออกสืบสวนอยู่ ๒-๓ วัน จึงทราบว่า นายถั่วดำ เป็นคนไม่มีภรรยา และเป็นผู้ชักชวนเด็ก ๆ ผู้ชาย ไปดูภาพยนตร์บ้าง ซื้อของเล่นบ้าง ให้ขนมรับประทานบ้าง แล้วก็พากันมาที่ บ้านพัก ของนายถั่วดำ ก็กระทำการ สำเร็จความใคร่ แก่เด็กชาย ที่พามาเสียก่อน และต่อจากนั้นแล้ว ก็จะจัดเด็กเหล่านั้น รับสำเร็จความใคร่ กับแขกบ้าง เจ้าสัว และจีนบ้าบ๋าบ้าง พวกที่มา ต้องเสียเงินเป็นรางวัล ให้แก่นายถั่วดำ เยี่ยงหญิงโสเภณี
.......จากนั้นคำว่า "ถั่วดำ" ก็กลายมาเป็น ศัพท์เฉพาะ ที่รู้ทั่วกันว่า หมายถึง การเสพสม ทางทวารหนัก เมื่อต้นปี ๒๕๔๑ ก็มีข่าว ข้าราชการ ชื่อเล่นว่า "ตุ๋ย" ทำมิดีมิร้าย กับเด็กชาย หนังสือพิมพ์ก็ใช้คำ "ตุ๋ย" พาดหัวข่าว แทนความหมายดังว่า อยู่พักหนึ่ง คำนี้ จะได้รับความนิยมสู้ "ถั่วดำ" ได้หรือไม่ เราคงต้อง ติดตามกันต่อไป

ขอขอบคุณ คุณศิวสิทธิ์ วนรังสรรค์ ผู้พิมพ์ .....
 http://www.sarakadee.com/108/volume8/frame.htm?/108/volume8/855toui.htm

สรุปว่าที่แท้คือไม่ได้เกี่ยวกับสีเลย แต่เกี่ยวกับชื่อของคนที่กระทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆจนกลายเป็นเรื่องดัง
ชื่อของคนนั้นๆจึงกลายเป็นตัวแทนแห่งการกระทำดังกล่าวแทนไปโดยปริยาย  

เห็นคำนี้แล้วคิดถึง คำว่า ประเทือง ที่ภายหลังมีคนกลุ่มหนึ่งใช้แทนคำว่าถั่วดำหรือตุ๋ยอยู่พักหนึ่ง นั่น เพราะมาจากเนื้อหาของเพลงฮิตเพลงหนึ่งในหมู่วัยรุ่นอยู่สมัยหนึ่งนั่นเอง


โธ่เอ๋ย..คำดีๆ กลายเป็น คำแสลงเสียหมด


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 05 ก.ค. 06, 16:28
 ตอนเลื่อนลงมาเจอถั่วดำ พี่เฟื่องช็อคไปเสี้ยววินาที รีบปิดไปเลยนะ
แล้วค่อย ๆ ย้อนกลับมาอ่านตอนท้ายขึ้นไปข้างบน อิอิ

โตะจายโหมะเลยยย


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 05 ก.ค. 06, 17:02
 เออ..... ถั่วดำของคุณหมูฯ ทำเอาผมเห็นภาพ หนุ่มผิวคล้ำท่าทางสกปรกจับเอาเด็กผู้ชายตัวผอมกะหร่อง อายุไม่กี่ขวบหน้าตามอมแมมเข้าไปในกระท่อมโกโรโกโสเพื่อประกอบกิจส่วนตัว พอสักพักก็ปล่อยเด็กเดินร้องไห้ขี้มูกโป่ง น้ำตากบตาออกมาอย่างน่าเวทนา นึกแล้วก็สงสารจับใจ
แบบนี้นักข่าวปี 2549 ไปเห็นเข้าคงต้องเรียกใหม่ว่า "ตุ๊ดใจโหด" หรือเปล่าหว่า หุหุ


ว่าแล้วเปลี่ยนไปกินกล้วยบวดชีแทนดีกว่า ก็ความเห็นของคุณหมูฯน่ะ ทำผมกินถั่วดำไม่ลงแหล่ว


ปล. ทำไมกล้วยต้อง "บวดชี" อ่ะครับ หรือคำว่ากล้วยในภาษาไทยเป็น "อิถีลึงค์" ??
ส่วนฟังทองเป็น "ลึงค์" เลยได้ไป "แกงบวด" ไม่ต้อง "บวดชี" อิอิ


ปล.2 บวดนะครับ ไม่ใช่บวด แล้วก็ไม่ใช่ยาบวดหายด้วย หุหุ


ปล.3 ภาษาปากอย่างคำว่า "กะเทย" "ตุ๊ด" "ประเทือง" "เกย์" นี่ก็มีความหมายแตกต่างกันมากพอดูนะครับ
เหมือนเวลาพูดกับเพื่อนสักคนว่า "มันเป็นตุ๊ด" ฟังแล้วดูไม่รุนแรงเท่าเวลาพูดว่า "มันเป็นประเทือง" นะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 05 ก.ค. 06, 19:45
 กล้วยบวดชีนี่ เฟื่องก็สงสัยเหมือนคุณติบอค่ะ
ทีเวลาฟักทองมาทำจะเป็น ฟักทองแกงบวดไม่ยักกะบวดพระหรอกนะ เหลืองอร่ามออกจะตายไป
อ้อ ตามข้อสันนิษฐานของคุณติบอนะคะ
ในภาษาฝรั่งเศสน่ะ กล้วยเป็นเพศหญิง ฟักทองเป็นเพศชายจริงๆ ด้วยละ อิอิ


อย่างไรก็ตาม คำว่า บวด มันอาจจะพ้องเสียงกับ บวช เท่านั้นเองนะคะ
ส่วนชี อาจจะมาแนวเดียวกับ "ชี" ที่ว่ายน้ำไม่เป็น  ก็ได้


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 05 ก.ค. 06, 19:58
 อ้อ ๆ ลืมค่ะ เคยถามเพื่อนที่เป็นเกย์นะคะ
เขาบอกว่า เรียกว่า เกย์ นางกอ หรือ กระเทย นี่ไม่หยาบคาย
แต่ถ้าเรียก ตุ๊ด นี่ ถือว่าหยาบคายค่ะ
คำนี้ มาจากหนังเรื่องTootsie หรือเปล่าคะ

ประเทืองนี่.. ฟังแล้วจะออกไปทาง transvestism
สะแลงภาษาอังกฤษเรียก Drag Queen น่ะค่ะ
บางคน สวยกว่าเราเสียอีก ฮืออออๆๆ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 05 ก.ค. 06, 20:14
 เห็นคำว่า "จีนบ้าบ๋า" ในโพสของคุณหมูน้อยแล้วก็คิดขึ้นมาได้ว่าเคยอ่านเจอ แต่ก็จำรายละเอียดไม่ได้จนต้องเปิดพจนานุกรม

บ้าบ๋า น. เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า บ้าบ๋า คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย

แต่เคยได้ยินมาคนละอย่างกับพี่หมูน้อยน่ะครับ สงสัยตำนานถั่วดำจะเลือน คือที่ผมได้ยินมามันเป็นแขกขายถั่วน่ะครับ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 06 ก.ค. 06, 01:14
 ไม่ได้เกี่ยวกับถั่วหรอกนะคะ
แต่เกี่ยวกับย่าหยา กับบ้าบ๋า
ดิฉันก็งงๆว่าทำไมเคยได้ยินคนไทยเรียกย่าหยา
แต่เมื่อไปมะละกาเจอแต่คำว่าบาบ้า กับนอนย่าหรือ ญอนย่า คิดว่าคงกร่อนมาจากคำนั้น
ถามเพื่อนและอ่านเอาจากหนังสือที่ซื้อมาจากที่นั่นเลยทราบว่า
บาบ้า เป็นชาย
นอนย่าเป็นหญิง
ทั้งคู่เป็นรุ่นลูกหลานของคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพมาตั้งครอบครัวและแต่งงานมีลูกมีหลานอยู่ในมาเลย์เซียและสิงคโปร์ มีวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหารและภาษามาเลย์แนวของตัวเอง เรียกรวมว่าพวกPeranakans
เพื่อนปีนังและสิงคโปร์หลายคนของดิฉันเป็นทั้งบาบ้า และนอนย่า เขาบอกมา
รู้งี้เปิดพจนานุกรมก่อนก็ดี


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 06, 18:27
 กล้วยบวชชีค่ะ  ไม่ใช่บวดชี  
ดิฉันเดาง่ายๆว่าอยู่ในกระทิสีขาวนั่นแหละ  เขาเอาไปเทียบกับห่มผ้าขาวของแม่ชี

เอาสำนวนโบราณมาฝากอีกที
"เป็นแดน"  แปลว่าทำอยู่เป็นประจำ
แต่ว่าที่มานั้นค่อนข้างไกลกับความหมาย   มาจากประกาศรัชกาลที่ ๔
ท่านห้ามพระสงฆ์สามเณรเล่นการพนันและนำของต้นภาษีผ่านด่าน
ซึ่งเป็นการหนีภาษี
ท่านระบุว่า
"ฝ่ายภิกษุซึ่งลักลอบเล่นการพนัน  ชนไก่ ชนนก ชนปลา นี้ เอาพระราชบัญญัติเป็นแดน  กระทำเบียดบังพระราชทรัพย์ซึ่งเป็นภาษีหลวงให้ขาด"

"เป็นแดน "หมายถึงเอาเป็นที่กำหนด  หนักๆเข้าก็เลยหมายถึงยึดแบบนี้แหละเป็นแบบประจำ

ในสุภาษิตสอนหญิง  พูดถึงสำนวนนี้ว่า

พูดก็มากปากก็บอนแสนงอนนัก
เห็นเขารักกันไม่ได้ใจอิจฉา
เที่ยวรอนรานจนเพื่อนบ้านเขาระอา
นั่งที่ไหนนินทาเขาเป็นแดน

หมายเหตุ : ที่ยกๆมาเล่านี่ส่วนใหญ่มาจากหนังสือ สำนวนไทย ของขุนวิจิตรมาตรา หรือกาญจนาคพันธุ์ ค่ะ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ก.ค. 06, 20:22
 อาจจะมาจากคำว่า กระยาบวช
กระยาแปลว่าคละกัน ไม่เป็นแก่นสารแบบไม้กระยาเลย
กระยาบวชคงแปลว่าของไม่คาว คือเครื่องเจ
แต่อาจจะเกี่ยวกับมะพร้าวด้วยกระมัง เห็นอะไรที่ถูกบวชนี่ต้องมีมะพร้าวเสมอ


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ก.ค. 06, 20:49
 ตอบนู๋เฟื่อง
สีเขียว เวอริเดียนเนี่ย ...เป็นอย่างไรคะ
ก็เป็นอย่างที่เธอนุ่งตอนเป็นน้องใหม่นั่แหละจ่ะ
เป็นเขียวที่ออกสว่าง เอาเป็นว่า ที่ตัววีท้ายชื่อแต่ละคน ที่มีวงรีสีเขียวโดนทับอยู่นั่นแหละเกือบเป็นเวอริเดียนแล้ว สมมติว่ามีผ้าสีนี้นะครับ เอาไปเช็ดโต๊ะเสียหน่อยละก้อ ใช่เลย
เอผมก็ชักเลอะเลือน หรือว่ามันจะใช้เฉพาะเด็กจิดกำหว่า

สีเขียวไข่กาอีกสีค่ะ ที่เฟื่องไม่รู้จัก
ผมก็ไม่รู้จักเหมียนกัลล์ ไว้จะไปถามอีกาหลังบ้าน ว่าไข่เอ็งสีไร....5555

เข้มขาบในศิลปะไทย ไม่ใช่สีครับ เป็นชื่อลาย ลายเข้มขาบ คือลายที่ต่อเนื่องไปทางยาว แบบที่คุณติบอเอามาอวดอย่างนั้นแหละครับ เป็นลายเนื่องมีลูกแปรนิดหน่อย แต่เจอในลายผ้ามากกว่าที่อื่น

สีของเอเชียผมว่าจะไม่แบ่งเป็นร้อนเย็น หยินหยางอะไรเทือกนั้นนา กำนันนิลฯ...
ผมว่าแบ่งตามราคาครับ

เอเชียไม่สร้างรูปตามตาเห็น
อย่างอาเจ้กทั้งหลายนี่ เป็นจิตรกรตาบอดสีทั้งนั้น จึงไม่ได้แบ่งตามจิตวิทยาการมองเห็น
แต่แบ่งตามจิตวิทยาเศรษฐศาสตร์
คือสีแพงนี่ของฮ่องเต้ พวกแดง พวกเหลือง พวกทอง
แล้วก็สีของจีนต้องไปวัดจากเครื่องกระเบื้อง เพราะเป็นแหล่งเดียวที่ตีราคาตามคุณภาพสี
อันนี้ฝรั่งไม่รู้จักครับ ฝรั่งเพิ่งมาหายงื่นเอาตอนอิมเปร๊สชั่นนิสต์นี่เองนะครับ ก่อนหน้านั้น ยังเอาโคลนเขียนรูปอยู่เลย
อย่างตอนปลายเรอเนซองค์มาบาโร๊คนี่ เพิ่งรู้จักสีคราม ด้วยความเห่อ ศิลปินบางคนหาเรื่องใช้มันแต่สีนี้แหละครับ โครงสีกระโดดไปมาหาความเป็นเอกภาพไม่เจอ บางทีบ้าหนักเข้า ให้ตัวละคอนห่มผ้าสีครามผืนบะเร่อเท่อ เพราะอยากเขียนสีนี้ พิลึกพิลั่นยังกะเจ๊กตื่นไฟ

คนแรกที่บ้าสีคืออีตาเดลาคัวส์ นั่นต้องไปถึงตะวันออกกลาง เพื่อไปดูสีสรรค์กลางแดดสะอาด กลับมาเป็นที่ฮือฮา คนอื่นถึงได้เอาอย่าง

คุณนิลคงจะจำได้ ว่าพระเจ้าชาละมังน่ะ หนังขาวดำทั้งเรื่องนะครับ....55555555


กระทู้: กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 09 ก.ค. 06, 03:00
 เขียวต้องเขียวปีกแมลงทับ
มักจะใช้อธิบายสีดาบกระบี่ ชนิดพิเศษ
เราทำงานกับเหล็กมาพอสมควร ดูอย่างไรเหล็กก็ไม่เป็นสีเขียว

เหล็กจะเป็นสีเขียวก็ต่อเมื่อเป็นอิออน
แสดงว่าดาบวิเศษที่ตัดเหล็กประดุจหยวกกล้วย เปล่งประกายอิออนออกมาซินะ น่าสนใจ  
สมัยนี้ต้องเรียกดาบนาโนซะแล้ว