เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ค. 16, 21:08



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ค. 16, 21:08
ขอขึ้นกระทู้ใหม่  ต่อจากกระทู้เก่าค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5929.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5929.0)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 16, 15:19
ขอบคุณครับอาจารย์ใหญ่ 
บางครั้งเราทำอะไรบ่อยๆคนเขาอาจจะคิดว่าเราผิดปกติ
อย่างที่เรียกว่า obsessive compulsive  ยํ้าคิดยํ้าคำ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 พ.ค. 16, 16:27
ไม่เห็นย้ำคิดย้ำทำตรงไหนเลยค่ะ   ภาพพวกนี้ดูได้ไม่เบื่อ 
ความจริง กระทู้ควรไปถึง รูปเก่าเล่าเรื่อง 15 แล้วด้วยซ้ำ    ดิฉันปล่อยกระทู้ 10  ยาวเกินไป

อยากจะเขียนนิยายให้ตัวเอกเดินกลับเข้าไปในกรุงเทพสมัยบ้านเมืองยังสวยงาม   มีที่ว่างให้หายใจ   ไม่มีมลพิษ   อย่างภาพข้างบนนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 พ.ค. 16, 16:53
เสริมรูปเปิดกระทู้

๒ ภาพนี้ถ่ายห่างกัน ๓ ปี  รูปที่สะพานผ่านพิภพลีลายังไม่ได้สร้างถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ส่วนรูปที่เห็นสะพานถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ทางด้านซ้ายคือเรือนจำลหุโทษ ซึ่งต่อมาคือที่ตั้งของรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47711;image) (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47713;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 พ.ค. 16, 12:53
สะพานพระราม 6
เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย
ลงนามในสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2465
เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465
วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดย กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อกัน
โดยให้บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมา
เนื่องจากชนะการประมูลโดยอาศัยค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่อ่อนตัว (1 บาทแลกได้ 5 ฟรังก์)
เมื่อเปรียบเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษที่ผูกติดกับทองคำ (1 ปอนด์แลกได้ 11 บาท)
ในเวลานั้นเงินบาทสยามผูกติดกับเงินปอนด์อังกฤษด้วย โดยค่าก่อสร้างเท่ากับ 2,714,113.30 บาท

สะพานสร้างเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2469
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าสะพานพระราม 6
ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
และโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีเปิดสะพานให้ขบวนรถไฟเดินผ่านข้ามเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2470 แล้ว)
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยใช้รถจักรไอน้ำ " บอลด์วิน " ล้อแบบแปซิฟิก หมายเลข 226 ทำขบวนเสด็จ

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐและอังกฤษทิ้งระเบิดอย่างหนัก
ในที่สุดช่วงกลางสะพานขาดเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
และได้ซ่อมแซมใหม่โดยบริษัทดอร์แมนลอง (ผู้รับเหมาจากประเทศอังกฤษที่เคยประมูลการก่อสร้างสะพานพระราม 6 แต่แพ้การประมูลเพราะค่าเงินปอนด์แข็งเกินไป)
และบริษัทคริสเตียนนี แอนด์ นีลเส็น (ไทย) จำกัด (ผู้รับเหมาเดนมาร์กที่ภายหลังได้เป็นผู้รับเหมาไทยเต็มตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพราะย้ายฐานมาเมืองไทย มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นสำคัญ)
ในระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2496


สะพานพระราม 6 ขณะกำลังระเบิด เมื่อโดนระเบิดจากเครื่องบินสัมพันธมิตร

ภาพเมื่อโดนระเบิดแล้ว  สะพานขาดกลาง ตอม่อแยกจากกัน คานเหล็กขวางยังขาดจากกัน

ภาพสุดท้าย หลังโดนระเบิดใหม่ๆ 2489


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 16, 13:23
พระบรมรูปทรงม้า เปิดเมื่อปี 2451 ในโอกาสเฉลิมฉลองครบ 40 ปีที่ ร 5 ครองราช
พระที่นั่งอนันตสมาคมเริ่มสร้างเมื่อ 2451 เสร็จในปี 2458



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 16, 13:54
ภาพเก่าของวัดพิชยญาติการาม (ตกแต่งเล็กน้อย)
น่าจะยืนถ่ายบนสะพานหกที่อยู่หน้าวัดอนงคารามและอยู่หน้าวัดพิชยฯ ด้วย เป็นคลองสามแยก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 16, 13:57
วัดอนงคารามที่อยู่ใกล้ๆกันกับวัดพิชยญาติการาม คงจะถ่ายพร้อมๆกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ค. 16, 11:42
สะพานมัฆวานรังสรรค์
สะพานมัฆวานรังสรรค์ออกแบบโดย มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาลี วิศวกรคุมงานคือ นายคาร์โล อัลเลกรี
ลักษณะสถาปัตยกรรมสะพานเป็นแบบอิตาลีผสมสเปน
เป็นสะพานโครงเหล็ก พื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนประดับคือราวสะพานที่เป็นเหล็กหล่อทำลวดลายสวยงาม
ที่กลางราวสะพานด้านนอกประดับดวงตรารูปเศียรช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์
หัวมุมสะพานทั้ง 4 มุม มีเสาไฟหินอ่อนรองรับโคมไฟสำริด
ส่วนบนเป็นโลหะสลักลวดลาย ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน
นับเป็นสะพานที่สวยงามและโอ่อ่าที่สุดของกรุงเทพมหานครในยุคนั้น

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างถนนกับสะพานในปี พ.ศ.2443
ใช้เวลาก่อ สร้าง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ
เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดถนนและสะพานในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2446


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 08 พ.ค. 16, 15:15
วัดอนงคารามที่อยู่ใกล้ๆกันกับวัดพิชยญาติการาม คงจะถ่ายพร้อมๆกัน


เห็นรูปเก่าพวกนี้เปรียบเทียบกับสภาพคลองหน้าวัดในปัจจุบันซึ่งน้ำดำปิ๊ดปี๋ แล้วเศร้าใจจังค่ะ :(


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ค. 16, 16:03
เอาคลองน้ำใสมาปลอบใจคุณ Anna ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 08 พ.ค. 16, 22:07
ชอบสะพานมัฆวานรังสรรค์มากครับ  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 16, 06:21
พบภาพคลองโอ่งอ่างริมวัดสระเกศ 
ตามรูปที่หนึ่งถ้าสังเกตุให้ดีมีความผิดปกติ
ผิดอย่างไรให้เปรียบกับภาพที่สอง 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 09 พ.ค. 16, 07:01
กลับข้างกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 16, 07:21
กลับข้างกัน

นี้ก็กลับข้าง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 16, 18:38
สะพานอันงดงาม สามแห่งของถนนราชดำเนิน  


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 16, 10:34
เข้าไปอ่านในเวป 2 bangkok .com
ที่เห็นตามรูปที่หนึ่ง ท่านเขียนไว้ว่า
-ภาพถ่ายประมาณ คศ .1903  พศ. 2446
-ขบวนทหารเดินผ่านกองลหุโทษ สังเกตป้อมที่อยู่ด้านซ้าย
-ยังไม่มีสะพาน(ผ่านภิภพลีลา)ในขณะนี้
-ปลูกต้นไม้(มะขาม)รอบสนามหลวงปี คศ.1902 (พศ 2445)

ขยายให้ชัดในภาพที่สอง
ภาพที่สามบอกว่าถ่ายเมื่อประมาณปี พศ 2449 หลังจากภาพแรกสามปี

ถ้าสังเกตุจะเห็นว่าต้นมะขามปี 2446 โตกว่าปี 2449
ถนนราชดำเนินใน(สะพาน)สร้างเสร็จปี 2446  

ไม่ได้มาดิสเครดิท ท่านผู้เขียนเวปนี้
เพียงแต่นั่งดูแล้วคิดๆ  ได้ไอเดียเพิ่มตามที่เคยรับรู้มา
แต่ท่านกล้าพูดว่าต้นมะขามสนามหลวง ปลูกเมื่อปี 2445  (ท่านเดียวที่เคยเจอ)
ลองเปิดในกูเกิลมีแต่ลอกกันมาเหมือนๆกันว่า
ต้นมะขามปลูกกี่ต้นกี่แถวห่างกันเท่าไหร่ แต่ไม่มีใครบอกว่าปลูกเมื่อไหร่


ถ้าปลูกต้นมะขามปี 2445 ในปี 2446 ตามรูปที่สอง ปลูกแค่ปีเดียวต้นโตมากเกินกว่าอายุแน่
ต้องมีอะไรผิดพลาดไปบางอย่าง  
เราต้องช่วยหาคำตอบกันต่อไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 16, 10:39
ภาพนี้น่าจะเริ่มปลูกต้นมะขาม
มีอาคารกระทรวงกลาโหมแล้ว  ซึ่งสร้างเสร็จ ปี  พศ 2425  
จะปลูกหลัง 2425  กี่ปียังบอกไม่ได้  
ที่ท่านบอกในเวป 2 bangkok .com ว่าปลูกปี 2445 เป็นไปได้มาก
ในตำนานวังหน้าของสมเด็จดำรงฯ ท่านเขียนว่าขยายสนามหลวงไปทางทิศเหนือ
พร้อมกับทำถนนราชดำเนินใน หลังจาก ร 5เสด็จกลับจากยุโรปในปี 2440
ต้นมะขามต้องปลูกหลังปี 2440 อาจจะเป็น 2445 ตามที่เวปเขียนไว้ก็ได้
ทหารที่เดินแถว คงจะหลังจากนั้นสี่ห้าปี (คาดคะเนจากขนาดต้นมะขาม)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 16, 16:00
อนุสาวรีย์ชัยฯ  ดูบ่อยๆชำนาญขึ้น สีฟ้าคือ คลองสามเสน ที่ไปสะพานควาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 พ.ค. 16, 18:35
การปลูกต้นไม้ริมถนนราชดำเนินน่าจะมีมาก่อนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐  หรือหลังจากนั้นไม่นานนัก
เพราะพบหลักฐานว่า ภายหลังจากที่ได้มีการหารือเรื่องถนนสายเชียงใหม่ – ลำพูน ในการประชุมเมื่อวันที่  ๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๔๒ แล้ว  อีก  ๓ เดือนถัดมา 
หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์  (ม.ร.ว.ประยูร  อิศรศักดิ์) ข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ก็ได้มีโทรเลขลงวันที่  ๑๔  พฤษภาคม  ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยว่า 

ถนนที่เมืองนครเชียงใหม่  ตั้งแต่สนามแข่งม้า จนถึงต่อแดนเมืองนครลำพูน  หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์  ได้ให้เจ้าราชบุตร เปนแม่กองใหญ่  เจ้าน้อยมหาวัน  พระยาสุนทร  พระยา
ธรรมพิทักษ์     พระยาเทพวงษ  ท้าวขุนแก้ว  เปนผู้ช่วยให้แบ่งน่าที่กันทำเปนตอน ๆ  ถนนสายนี้ได้ทำเสร็จแล้ว  เมื่อวันที่  ๗  พฤษภาคม  รัตนโกสินทร ศก ๑๑๙  เจ้าอุปราช แลข้าราชการอีกหลายนาย  พร้อมด้วยหม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์  ได้ไปตรวจดูถนนสายนี้  เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเรียบร้อยดีพอใช้  รถเทียมม้าได้ตลอดทาง  แลเปนที่กว้างมาก  ข้างริมคันถนน  เจ้าราชบุตรได้สั่งให้ปลูกต้นยางได้ปลูกแล้วบ้าง  แลยังกำลังปลูกอีกต่อไป  การทำถนนสำเร็จได้โดยเร็วดังนี้  ควรเปนที่สรรเสริญเจ้าราชบุตร  แลผู้ที่ช่วยทำนั้นเปนอันมาก  กับทั้งเจ้าอุปราชก็ได้ช่วยเปนธุระสั่ง  ในเรื่องทำถนนสายนี้โดยแข็งแ
รง”

 ที่มา : “โทรเลขข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ แลใบบอกข้าหลวงประจำเมืองน่าน”, ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ (๑๗ มิถุนายน ๑๑๙), หน้า ๑๑๔.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 16, 09:34
ตอนเด็กเคยอ่านเรื่องผักตบชวา
จำฝังหัวว่าสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นผู้ที่นำเข้ามาเมืองไทย
ไม่รู้ว่าผมจำผิดหรือว่าคนเขียนผิด
เมื่อไม่นานไปอ่านเจอเรื่องกลับเป็นอีกแบบ

จากวิกิพีเดีย........................................
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม
โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย
ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย
และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น
 ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป
และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

...................................................
ส่วนอีกบทความที่อ่านเจอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 16, 09:37
Chao Phya [Chao Phraya river] & Bangkok Yai Klong. November 6, 1935.
เห็นผักตบชวาบ้างแล้วในปี พศ.2478 ในคลองบางกอกใหญ่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 16, 09:40
Amphur Derm Bang Nang Buat and north on Supan River [Suphan Buri river], August 22, 1936.
ออกนอกกรุงเทพหน่อยวันนี้    ที่แม่นํ้าสุพรรณบุรี เดิมบางนางบวช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 16, 09:50
Down Menam Noi--Chao Phraya Amphur BangSai  1937


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ค. 16, 14:59
ตอนเด็กเคยอ่านเรื่องผักตบชวา
จำฝังหัวว่าสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นผู้ที่นำเข้ามาเมืองไทย
ไม่รู้ว่าผมจำผิดหรือว่าคนเขียนผิด
เมื่อไม่นานไปอ่านเจอเรื่องกลับเป็นอีกแบบ

จากวิกิพีเดีย........................................
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม
โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย
ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย
และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น
 ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป
และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา"

เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี

ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........

จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ

๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี


๒. ไม้น้ำชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นทั่วไปตามร่องน้ำข้างถนนที่ชะวา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ทรงรถเสด็จไปตามถนน ทอดพระเนตรเห็นต้นดอกไม้น้ำชนิดนี้มีดอกเป็นช่อสีม่วงสลับงามอย่างแววมยุรา จึงได้นำเอาต้นมากรุงเทพฯด้วย ทรงเลี้ยงไว้ที่ตำหนักของพระองค์และอยู่ข้างจะหวงแหนมาก ต่อมาไม้น้ำนี้ซึ่งเรียกว่า "ผักตบชวา" งอกงามเจริญเร็วมาก เต็มไปหมดจนถึงกระจายออกไปตามลำแม่น้ำลำคลอง ส่วนพวกชาวจังหวัดต่าง ๆ เห็นดอกสวยงามก็นำไปเลี้ยงบ้าง เลยแพร่พันธุ์กระจายทั่วไป เช่นที่กว๊านพระเยาก็เต็มไปหมด ซึ่งเจ้าคุณพ่อก็ได้ไปเห็นมากับตาท่านเอง

๓. ปาล์มขวด (bottle palm) เป็นต้นไม้สวยงามคล้ายต้นมะพร้าว ลำต้นมีลักษณะคล้ายขวด หลวงสุนทรโกษา (คออยู่เหล ณ ระนอง) เป็นผู้นำมา

๔. กวางดาว ซึ่งมีพันธุ์เลี้ยงอยู่สวนสัตว์เขาดินวนาขณะนี้ ก็ทรงได้มาจากประเทศชะวาในการประพาสคราวนี้เหมือนกัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 16, 15:20
ขอบคุณครับ ผมจะได้รับรู้เรื่องที่ถูกต้อง
ข้อมูลของพระยาวินิจวนันดร และของหมอนวรัต  ตรงกัน
ผู้ที่นำเข้ามาคือ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระนามเดิม: หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ค. 16, 15:39
ที่ไม่ตรงกันคือ พ.ศ. ที่นำเข้ามา พระยาวินิจวนันดรบอกว่า พ.ศ. ๒๔๔๔ (เสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๓)  ส่วนหมอนวรัตบอกว่า พ.ศ. ๒๔๓๙ (เสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๒)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 16, 16:18
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนัก(เรือนแพ)ริมนํ้า ของเดิมเสีย
แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นดิน และสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่ง
เป็นพลับพลาสูงตรงกลางองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งชลังคพิมานต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก
มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต
พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย
มีพระที่นั่งข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือเป็นที่พักฝ่ายใน พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์
ส่วนตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ
โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่งก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้าน
มีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานนามว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์
ป้อมข้างใต้ตรงชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศร
และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่า ท่าอันประเสริฐของพระราชา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 พ.ค. 16, 18:18
ตอนเด็กเคยอ่านเรื่องผักตบชวา


เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา"

เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี

ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........

จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ

๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี





ต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส นำเมล็ดมาจากเวียดนาม นำมาปลูกที่ รร.อัสสัมชัญ ร.ศ. 104


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 16, 19:38
ชมบ้านเรือนริมแม่นํ้าเจ้าพระยา
มีเรือปิดประทุนอย่างรุ่นเก่าๆจอดอยู่
หลังคายังมุงจาก ยังไม่ถึงยุคสังกะสี
ได้มาจากเวปภาษาเยอรมัน ไม่บอกเวลา
บอกแต่ว่าริมแม่นํ้าเจ้าพระยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 16, 07:43
ต้นแบบ street vendor
ห้างสรรพสินค้าเคลื่อนที่ บริการถึงบ้าน
ของจำเป็นในยุคก่อนคงมีไม่มากอย่างปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 16, 08:55
แม่ค้าไทย บนถนนเจริญกรุง ไม่รู้ขายขนมอะไร?
สังเกตเงาของแม่ค้าขวางถนนคือทำมุม 90 องศากับถนน
ถนนเจริญกรุงช่วงนี้ต้องอยู่ในแนวเหนือใต้
ถ้าถนนอยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก (อย่างถนนช่วงในกำแพงเมือง)เงาจะทอดไปตามถนน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 พ.ค. 16, 14:21
สิ่งก่อสร้างที่หายไปจากพระบรมมหาราชวัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 16, 14:44
ภาพในสมัย  ร 5 มีพระที่นั่งจักรีฯแล้ว มีอาคารกระทรวงกลาโหมแล้ว
สีบนหลังคาเปลี่ยนจากดำเป็นขาว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ค. 16, 12:27
ลอกข้อความจากตำนานศุลกากร ของพระยาอนุมานราชธน มาให้อ่านกัน
พร้อมกับรูปศุลกสถานหรือโรงภาษีร้อยชักสามริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ใกล้สถานทูตฝรั่งเศส
ตึกนี้สร้างแล้วเสร็จในปี พศ 2433


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ค. 16, 14:38
วันนี้สมาชิกหายหน้าหายตากันไปมาก
------------------------------------------
ประตูช่องกุดที่เราได้ฟังเขาเล่ายังเป็นภาพที่จินตนาการไม่ค่อยออก
ผมเลยมีภาพมาให้ลองดู
อาจจะเป็นช่องกุดแบบหนึ่งของกำแพงเมืองกรุงเทพ
ไม่น่าเป็นช่องที่ชาวบ้านทุบกันเอาเอง
น่าเป็นช่องกุดทีทำพร้อมกับกำแพงเมืองแรกเริ่ม
เป็นช่องขนาดเล็กกว้างประมาณเมตรเดียว
เป็นช่องที่ออกไปบริเวณป้อมหมู่ทะลวง ไปยังคลองโอ่งอ่าง

ตาแป๊ะที่ยืนอยู่หน้าสุดจะเห็นยืนอยู่หลายภาพ  หรือเป็นนายแบบของ Steve Van Beek  555


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ค. 16, 14:40
อยู่เฝ้าเรือนค่ะ  ไม่ได้ออกไปไหน
ช่องที่ว่า เข้าออกต้องปีนข้ามไปงั้นหรือคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ค. 16, 14:48
อาจารย์ครับเป็นช่องที่ออกนอกเมืองได้โดยไม่ต้องผ่านประตูเมือง
ตามภาพจะเห็นแม่อุ้มเด็กแล้วมีเด็กเล็กตามออกมา
เป็นช่องเปิดของกำแพงเมือง เดินผ่านไม่ต้องปีน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ค. 16, 14:53
เพิ่งดูออกค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 14 พ.ค. 16, 15:14
น่าสังเกตว่า มียวดยานน้อยมากถึงน้อยทีสุด เห็นรถลากเพียงคันเดียว รถรางที่วิ่งเลาะกำแพงเมืองยังไม่เกิด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 พ.ค. 16, 11:25
เชิญชมหนังสือยุวราชสกุลวงศ์
ภาพพระราชโอรสพระราชธิดา ร 5

http://valuablebook2.tkpark.or.th/2015/15/flipbook.html (http://valuablebook2.tkpark.or.th/2015/15/flipbook.html)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 พ.ค. 16, 18:48
วันนี้สมาชิกหายหน้าหายตากันไปมาก
------------------------------------------
ประตูช่องกุดที่เราได้ฟังเขาเล่ายังเป็นภาพที่จินตนาการไม่ค่อยออก
ผมเลยมีภาพมาให้ลองดู
อาจจะเป็นช่องกุดแบบหนึ่งของกำแพงเมืองกรุงเทพ
ไม่น่าเป็นช่องที่ชาวบ้านทุบกันเอาเอง
น่าเป็นช่องกุดทีทำพร้อมกับกำแพงเมืองแรกเริ่ม
เป็นช่องขนาดเล็กกว้างประมาณเมตรเดียว
เป็นช่องที่ออกไปบริเวณป้อมหมู่ทะลวง ไปยังคลองโอ่งอ่าง

ตาแป๊ะที่ยืนอยู่หน้าสุดจะเห็นยืนอยู่หลายภาพ  หรือเป็นนายแบบของ Steve Van Beek  555


เป็นประตูช่องกุดหน้าคุกใหม่ (คำเรียกสมัย ร.5) เป็นช่องทางออกไปยังบ้านหลวงจำเนียรวัตกี และประตูช่องกุดมีตังอย่างให้เห็นได้ที่แนวกำแพงเมืองหน้าวัดราชนัดดา ครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 16, 06:37
ภาพถ่ายที่เก็บไว้นานจะเสื่อมไปตามเวลา ต้องเอามาทำเป็น digital data
เพื่อรักษาความชัดเจนไว้ อย่างภาพในยุวราชสกุลวงศ์  คุณภาพไม่ค่อยดีแล้ว
เมื่อเอามาตกแต่งก็พอจะดีขึ้นบ้าง  แต่ดีได้ระดับหนึ่งเท่านั้นเอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 16 พ.ค. 16, 09:48
เกาะติดตลอดครับชอบมาก แต่จากกรุงเทพมาหลายปีแล้ว สถานที่ต่างๆเลยจำไม่ค่อยได้ แฮะๆๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 16, 15:49
เกาะติดตลอดครับชอบมาก แต่จากกรุงเทพมาหลายปีแล้ว สถานที่ต่างๆเลยจำไม่ค่อยได้ แฮะๆๆ
ยังมีภาพให้ดูกันเรื่อยๆ

ภาพที่หนึ่งเราเอามาทำเป็นภาพที่สองได้
ใช้วิธีโคลนนิ่งเอา
ภาพที่สองด้านขวามือตึกโรงภาษีเป็นสถานทูตฝรั่งเศส มีธงชาติบนยอดเสา
บางภาพมีลายนํ้าติดมาผมเอามาลบออก  ได้ภาพแปลกมาเพิ่ม
บางทีว่างงานเอามาฝึก  ใช้โปรแกรมสร้างภาพใหม่
แต่คงเอามาเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ แค่ดูเพลินๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 16, 16:05
เมื่อวานลงภาพงานพระศพ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี
ซึ่งเป็นพระราชธิดาของเจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์แค่อายุ 2 ปี กว่านิดๆ(ปี 2435)
มีเกร็ดจากนิทานชาวไร่ที่ท่านเล่าเอาไว้มาฝาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 16, 16:06
ต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 16, 16:08
ภาพนี้เป็นบรรยากาศในพระราชวังดุสิต  ดูแล้วชอบเป็นธรรมชาติมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 16 พ.ค. 16, 19:11
นิทานชาวไร่เรื่องเสด็จในกรมหลวงพิชิตปรีชากรนี้ออกจะผิดจากความจริงตามที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไปไกลมา

ในพระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ที่เจ้าแก่วนวรัฐฯ เป็นผู้เรียบเรียงและพิมพ์เผยแพร่ในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชชายาฯ ระบุว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นผู้นำพระราชชายาเจ้าดารารัศมีลงมาถวายตัวรับราชการเป็นบาทบริจาริกาตามคำสั่งเสียของเจ้าเพพไกรสรผู้เป็นชายา

ส่วนเจ้าทิพเกสรที่เป็นเจ้าจอมมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีนั้น  ตามประวัติกล่าวว่าเจ้าจอมมารดาเป็นธิดาของนายน้อยมหาพรม และเป็นหลานปู่ของพระเจ้ามโหตรประเทศ พระเจ้านครเชียงใหม่ที่ ๕  ในรัชกาลที่ ๔ นายน้อยมหาพรมมีเหตุขัดแย้งกับเจ้านายเมืองนครเชียงใหม่ด้วยกัน  รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีตราหาตัวลงมาตัวนายน้อยมหาพรมลงประจำรับาชการอยู่ ณ กรุงเทะฯ  พระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาอุตรการโกสล พร้อมพานทองเครื่องยศ  คงรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่ได้กลับไปเชียงใหม่อีกเลยจนถึงอนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕  ฉะนั้นผู้ที่นำเจ้าจอมมารดาทิพเกสรขึ้นถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในรัชกาลที่ ๕ จึงเป็นพระยาอุตรการโกศลผู้เป็นบิดา  และน่าจะถวายตัวก่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเสด็จไปเชียงใหม่  เพราะพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีนั้น  ตามพระประวัติระบุว่า ประสูติเมื่อวันเสาร์  เดือน ๖  ขึ้น ๙ ค่ำ  ปีวอก  ฉศก  จ.ศ. ๑๒๔๖  ตรงกับวันที่  ๓  พฤษภาคม ๒๔๒๗  ซึ่งช่วงเวลาที่ประสูตินั้น เสด็จในหลวงพิชิตปรีชากรยังคงจัดการปกครองอยู่ที่เมืองนครเชียงใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ค. 16, 20:36
กำลังนึกถึงคุณ V_Mee อยู่ทีเดียว    อยากจะบอกว่าอ่านเรื่องนิทานชาวไร่ตอนนี้แล้ว  ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ค่ะ
นิทานชาวไร่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเบื้องหลังประวัติศาสตร์ที่ท่านผู้เล่า น.อ.สวัสดิ์ จันทนี ฟังจากปากคำของผู้เล่าคนนั้นบ้างคนนี้บ้าง แล้วบันทึกลงอีกทีหนึ่ง      โอกาสจะคลาดเคลื่อนก็มีอยู่สูง  ตามความทรงจำของแต่ละท่านที่ฟังเล่ากันต่อๆมาอีกทีหนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 พ.ค. 16, 06:43
ขอบคุณอาจารย์  V_Mee สำหรับข้อมูล
นาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี ผู้เขียนนิทานชาวไร่
มี referent เป็นหู ท่านก็ฟังจากผู้อื่นเล่าต่อมาอีกที
ท่านเป็นยอดนักอ่านเหมือนกัน
สมัยก่อนการหาข้อมูลอ้างอิงยากกว่าสมัยนี้
ท่านคงไม่ได้อ่านราชกิจจานุเบกษาทุกหน้า
ต่อไปเราจะได้เตรียมใจว่าจะเชื่อได้หรือไม่

ในฉบับนี้ เป็น นาวิกศาสตร์ เดือน พค. 2505 มีเนื้อหายาว
นอกจากเรื่องเจ้าชายาดารารัศมี เจ้าทิพย์เกษร แล้ว
มีกล่าวถึง  สงครามไทยฝรั่งเศส ที่อัดตะปือ แสนปาง สีทันดร
ที่เป็นต้นเหตุ รศ 112
โดยท่านฟังคำบอกเล่าจาก     หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตะเวช)
เป็นแพทย์โดนเกณฑ์ไปในสงครามคราวนั้น
เรื่องราวนี้น่าเป็นข้อมูลปฐมภูมิ
แล้วแต่ผู้ที่เล่าว่าจำได้แม่นยำแค่ไหน ยกเมฆแค่ไหนอีก

เราว่ากันต่อไปฟังหูไว้หู  แล้วตรวจสอบความถูกต้องกันต่อไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 พ.ค. 16, 07:54
งานพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง ไม่รู้ว่าเขียน พศ.ถูกหรือไม่
งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าฟ้านภาจรฯ ปี 2433
------------------------------------------------------------------------
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา
ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246
ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427
เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 45
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระชนนีคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
++พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดาประชวรเป็นไข้
มาตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2432
พระอาการทรงและทรุดเรื่อยมา
จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 31 สิงหาคม ศกนั้น เวลาเช้า 5 โมงเศษ
สิริพระชันษา 5 ปี 118 วัน
ประดิษฐานพระศพในหอธรรมสังเวช
และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทอดผ้าสดับปกรณ์
 และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433

ภาพนี้น่าสนใจ สภาพท้องสนามหลวงเมื่อปี 2432-2433
มองไม่เห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ที่มองได้ชัดคือประตูวิเศษไชยศรี ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ด้านทิศเหนือของพระราชวัง
น่าเสียดาย มองไม่เห็นวังหน้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 16, 08:39
ภาพพอร์ทเตรทของ คุณจิตร จิตราคนี  ประมาณปี 2408-2413
แสดงการแต่งกาย ทรงผม ลักษณะนิยมทั่วไป อย่างสมัย ร ๔
ภาพนี้ ตอน LOAD มาเป็นจุดขาวทั่วไป อย่างกับคนเป็นไข้ทรพิษ เอามา HEAL จนดูดีขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 พ.ค. 16, 09:24
มองเห็นแฟชั่นสตรีไทยชาวเมืองหลวง สมัยปลายรัชกาลที่ 4 ต่อกับต้นรัชกาลที่ 5
-ผมสั้นมาก แทบไม่ต่างจากผู้ชาย
-ห่มสไบจีบ นุ่งโจงกระเบน
-ไว้เล็บยาวในมือซ้าย  มือขวาซึ่งต้องหยิบจับงานต่างๆรวมทั้งเปิบข้าวเข้าปาก คงไม่สะดวกที่จะไว้เล็บยาว
- การที่มีภาพถ่ายในสตูดิโอ ยุคที่ถ่ายภาพกันน้อยมาก  สตรีผู้นี้น่าจะเป็นใครสักคนที่ไม่ใช่คนโนเนม    แต่เธอไม่มีอาภรณ์ประดับกายเลย   เหมือนแต่งกายในชีวิตประจำวันมาถ่ายรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 16, 14:39
น่าจะเป็นคนไม่ธรรมดา อย่างอาจารย์ว่า
แต่ไม่รู้จะหาข้อมูลของท่านได้อย่างไร

เอารูปมาฝากคงจะเคยได้ผ่านตากันมาบ้าง
ส่วนมากไม่ค่อยมีคุณภาพคงเส้นคงวา
ส่วนท้ายพระราชวัง ถ่ายจากหอกลองเก่า
เราพอจะรู้ตำแหน่งหอกลอง
มีป้อมอนันตคีรีที่อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้สุด
ถนนสนามชัย มองเห็นถนนแยกต้นสายที่จะกลายเป็นถนนเจริญกรุง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 16, 09:23
ประตูฉนวนวัดพระแก้วออกสนามหลวง จากหนังสือของอาจารย์ ส.พลายน้อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 16, 09:59
ภาพทั้งสองเป็นผลงานของท่านจิตร จิตราคนี
ถ่ายมาจากที่เดียวกันเป็นมุมแคบและมุมกว้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 16, 13:08
ภาพในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙
ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย
ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สังเกตุเห็นว่าเป็นภาพที่คล้ายกัน แต่เป็นคนละช่าง
ภาพแรกของท่านจิตร จิตราคนี
ภาพที่สองเป็นของ คาร์ล ดอห์ริ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ค. 16, 13:29
ภาพในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙
ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย
ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สังเกตุเห็นว่าเป็นภาพที่คล้ายกัน แต่เป็นคนละช่าง
ภาพแรกของท่านจิตร จิตราคนี
ภาพที่สองเป็นของ คาร์ล ดอห์ริ่ง


คาร์ล ดอห์ริ่ง นำภาพพระราชพิธีไปตีพิมพ์ลงหนังสือภาพสยามครับผม ในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ มิศเตอร์คาร์ล ดอห์ริ่ง เพิ่งจะมีอายุได้ ๗ ขวบครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 พ.ค. 16, 13:31
ภาพในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙
ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย
ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ใน จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  (http://valuablebook.tkpark.or.th/image/DIARY/vc.html) หน้า ๑๕๙-๑๖๐ บันทึกไว้ดังนี้
เหตุการณ์ในวันสำคัญ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5828.0;attach=45110;image)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5828.0;attach=45107;image)
 
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5828.0;attach=45113;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 16, 14:37
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
ภาพมุมสูงของพิธี  น่าจะมีอีกหลายภาพเท่าที่เคยดูผ่านๆ
อย่างน้อยก็สามแบบ ทั้งหมดอาจจะเป็นของท่านจิตร
เมื่อนำออกมาขายผู้อื่นนำไปพิมพ์ต่อโดยไม่ได้ให้เครดิตเจ้าของ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 16, 14:40
ภาพถนนมหาไชย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ค. 16, 15:47
อาคารศาล และกระทรวงศึกษา ในอดีตอยู่ริมคลองคูเมืองเดิม (เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 พ.ค. 16, 10:07
บรรยายว่า Galileo Chini sul fiume Chao Prhaja. Bangkok era conosciuta come la Venezia d'Oriente
เป็นรูปที่อยู่ในปี 2454-2456 ช่วงระยะเวลาที่คีนิอยู่ในเมืองไทย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 พ.ค. 16, 10:23
ภาพของคีนี รักษาได้ดี  สีเป็นของเดิมไม่ได้ตกแต่งอะไร
คำบรรยายติดอยู่ในภาพด้านล่าง
ภาพข้างบนภาพแรกมีรอยพับยาว และสีเป็นสีม่วงๆ เอามาแต่งใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 พ.ค. 16, 20:10
เคยมีการประมูลกระดาษเขียนวรรณกรรมที่นางแอนนาชื่นชอบ
ผมแปลไม่ได้ใจความ   ไม่เข้าใจความหมาย   
ใครที่เข้าใจความหมายลองเขียนให้อ่านหน่อย
มีหลายท่านที่เป็นนักแปลเก่งๆในเวปนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 พ.ค. 16, 20:54
ในเมื่อไม่รู้ที่มาของโคลงบทนี้ จะให้แปลก็คงจับต้นชนปลายไม่ถูกค่ะ อาจารย์หมอ
รอคนที่รู้ดีกว่า เดี๋ยวคุณหมอเพ็ญชมพูอาจจะไขปริศนาได้

ตอนนี้ปั่นเรตติ้งกระทู้ไปพลางๆก่อน

เท่าที่อ่าน แกะรอยได้ว่า แหม่มแอนนาเธอแปลโคลงบทนี้จากกวีนิพนธ์ของกวีชาวเปอร์เชีย ชื่อ Hafiz of Shiraz   
เป็นบทที่กวีออกคำสั่งใครคนหนึ่งชื่อ Saki   ให้นำชามที่เรียกว่า Imperial bowl มาให้
ชามใบนี้ไม่ใช่ชามธรรมดา  แต่เหมือนกับเป็นชามศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่าง
เพราะขยายความว่า เป็นชามที่สามารถนำวิญญาณให้เข้าสู่ความปีติโสมนัส
เป็นชามที่เป็นเสมือนพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า
เป็นชามที่นำไปสู่ภวังค์อันเคลิบเคลิ้มเหมือนขึ้นสู่สวรรค์

ดิฉันก็ไม่รู้ว่าคนเปอร์เชียสมัยนั้นเขาใช้ชามไว้บรรจุอะไร     ถ้าเป็นถ้วยเหมือนฝรั่งยุโรปใช้กัน   ก็อดคิดไม่ได้ว่า น่าจะเป็นชามบรรจุเหล้าชั้นดีเสียละมัง
เพราะที่บรรยายในโคลงนี้ เหมือนบรรจุน้ำอมฤตอะไรสักอย่าง  ไม่น่าจะใช่ชามเปล่าๆ 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 พ.ค. 16, 21:13
ขอบคุณครับอาจารย์
ผมไปเปิดอ่านกวีของท่านนี้ตั้งนาน
มีฝรั่งแปลกันเยอะ
แต่ไม่มีบทที่ว่านางแอนนาชื่นชอบ
แปลเป็นไทยก็มี แต่เป็นบทอื่นที่อ่านง่ายๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 พ.ค. 16, 07:25
 ragazza  เป็นภาษาอิตาลี่แปลว่าสาว
เป็นภาพความละเอียดสูงขยายได้มากยังชัดเจน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 พ.ค. 16, 07:33
เป็นพ่อค้าหาบกล้วย ที่ท่าเรือคลองเตย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 พ.ค. 16, 08:18
 อีกภาพน่าสนใจมาก เป็นสภาพบ้านเรือน เขียนคำบรรยายว่า Capanne abitazioni intorno a Bangkok
กูเกิลแปลว่าบ้านเรือนทั่วไปในกรุงเทพ     มียอดแหลมสูงน่าจะเป็นยอดวิหารคริสต์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 พ.ค. 16, 08:48
สาวน้อยคนนี้หน้าตาคมขำ สวยทีเดียวแหละ
เคยอ่านพบในหนังสือของนักรวบรวมอดีตท่านหนึ่ง จำชื่อไม่ได้แล้ว  บอกว่าภาพถ่ายหญิงไทยที่ฝรั่งถ่ายมาได้สมัยรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕  ล้วนเป็นโสเภณี    ชาวบ้านจะไม่ให้ลูกสาวมาโพสท่าถ่ายภาพให้ฝรั่ง   ต้องจ้างหญิงบริการแทน


บ้านเรือนข้างบนนี้ไม่เหลือร่องรอยแล้ว  แต่โบสถ์คริสต์น่าจะยังเหลืออยู่
ถ้าคุณ Siamese แวะเข้ามา  ขอถามว่าพอจะดูออกไหมคะว่าโบสถ์ที่ไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 พ.ค. 16, 09:07
ในเมื่อไม่รู้ที่มาของโคลงบทนี้ จะให้แปลก็คงจับต้นชนปลายไม่ถูกค่ะ อาจารย์หมอ
รอคนที่รู้ดีกว่า เดี๋ยวคุณหมอเพ็ญชมพูอาจจะไขปริศนาได้

เท่าที่อ่าน แกะรอยได้ว่า แหม่มแอนนาเธอแปลโคลงบทนี้จากกวีนิพนธ์ของกวีชาวเปอร์เชีย ชื่อ Hafiz of Shiraz    
เป็นบทที่กวีออกคำสั่งใครคนหนึ่งชื่อ Saki   ให้นำชามที่เรียกว่า Imperial bowl มาให้
ชามใบนี้ไม่ใช่ชามธรรมดา  แต่เหมือนกับเป็นชามศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่าง
เพราะขยายความว่า เป็นชามที่สามารถนำวิญญาณให้เข้าสู่ความปีติโสมนัส
เป็นชามที่เป็นเสมือนพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า
เป็นชามที่นำไปสู่ภวังค์อันเคลิบเคลิ้มเหมือนขึ้นสู่สวรรค์


Saki มาจากภาษาอาหรับว่า  sāqī ساقی  หมายถึง ผู้เสิร์ฟไวน์ หรือ ผู้รินไวน์ ปรากฏหลายแห่งในบทกวีของเปอร์เซีย ซึ่งมักใช้ซากีแทนความหมายของผู้นำทางจิตวิญญาณ และไวน์แทนความรักของเพื่อนมนุษย์

https://wahiduddin.net/saki/saki_origins.htm (https://wahiduddin.net/saki/saki_origins.htm)
http://ahlbeyt.com/book/1/3.pdf (http://ahlbeyt.com/book/1/3.pdf)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 พ.ค. 16, 09:44
นึกถึงรุไบยาต ของโอมาร์ คัยยัม  เลยละค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 21 พ.ค. 16, 15:52
อีกภาพน่าสนใจมาก เป็นสภาพบ้านเรือน เขียนคำบรรยายว่า Capanne abitazioni intorno a Bangkok
กูเกิลแปลว่าบ้านเรือนทั่วไปในกรุงเทพ     มียอดแหลมสูงน่าจะเป็นยอดวิหารคริสต์

เดานะครับ
เดาว่าเป็นโบสถ์กาลหว่าร์ ตลาดน้อย สัมพันธวงศ์ กับคลองผดุงกรุงเกษม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 พ.ค. 16, 16:07
อีกภาพน่าสนใจมาก เป็นสภาพบ้านเรือน เขียนคำบรรยายว่า Capanne abitazioni intorno a Bangkok
กูเกิลแปลว่าบ้านเรือนทั่วไปในกรุงเทพ     มียอดแหลมสูงน่าจะเป็นยอดวิหารคริสต์
เดานะครับ
เดาว่าเป็นโบสถ์กาลหว่าร์ ตลาดน้อย สัมพันธวงศ์ กับคลองผดุงกรุงเกษม


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6507.0;attach=61583;image) (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4935.0;attach=28645;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 พ.ค. 16, 14:39
คุณจารุณี   เขียนบทความลงในหนังสือเมืองโบราณ
พร้อมกับนำภาพสะสมของ Galileo Chini สามภาพมาแสดง
คุณจารุณีเล่าถึงผู้ผลิตภาพถ่ายและโปสการ์ดในยุคปลายศตวรรษที่19 ต่อ 20
มีสามกลุ่มใหญ่คือ
robert lenz & co
siam photo supply (กลุ่มเดียวกับ โรเบอร์ต เลนซ์)
J Antonio จากร้าน charoen Krung Photographic Studio


ภาพเหล่านี้จะขายในต่างประเทศเป็นส่วนมาก
เล่าต่อไปว่าภาพที่จะดึงดูดความสนใจลูกค้าในเมืองนอก
ต้องมีเอกลักษณ์ความเห็นไทย มีช้าง มีผ้าเหลือง มีคลองมีแม่นํ้าของเวนิสตะวันออก
แม้แต่ Chini ก็บอกว่ากรุงเทพเป็นเวนิสตะวันออก   Bangkok era conosciuta come la Venezia d'Oriente

ผมนำภาพสะสมของ Chini มาให้ดูกว่าสามภาพแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 พ.ค. 16, 09:26
ภาพสะสมของ กาลิเลโอ คีนิ ต่อ
pescatori แปลว่า ชาวประมง
ภาพที่สอง แปลว่า พระสงฆ์
ภาพที่สาม แปลว่า ชุมชนอิตาลีในคริสตจักรคาทอลิก
ภาพสุดท้าย viaggio-verso-Bangkok  แปลว่า การเดินทางไปกรุงเทพ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 23 พ.ค. 16, 10:45
ภาพสะสมของ กาลิเลโอ คีนิ ต่อ
pescatori แปลว่า ชาวประมง
ภาพที่สอง แปลว่า พระสงฆ์
ภาพที่สาม แปลว่า ชุมชนอิตาลีในคริสตจักรคาทอลิก
ภาพสุดท้าย viaggio-verso-Bangkok  แปลว่า การเดินทางไปกรุงเทพ



คุณอิตาเลี่ยนแกเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าคะ ในเรือตั้งกะทะเหมือนจะทอดกล้วยแขกขายอย่างที่เห็นตามตลาดน้ำเปี๊ยบเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 พ.ค. 16, 11:12
ภาพสะสมของ กาลิเลโอ คีนิ ต่อ
pescatori แปลว่า ชาวประมง
ภาพที่สอง แปลว่า พระสงฆ์
ภาพที่สาม แปลว่า ชุมชนอิตาลีในคริสตจักรคาทอลิก
ภาพสุดท้าย viaggio-verso-Bangkok  แปลว่า การเดินทางไปกรุงเทพ



คุณอิตาเลี่ยนแกเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าคะ ในเรือตั้งกะทะเหมือนจะทอดกล้วยแขกขายอย่างที่เห็นตามตลาดน้ำเปี๊ยบเลย

เขาเขียนสั้นๆว่า pescatori a bangkok  
ไม่มีคำอธิบายต่อให้ละเอียดกว่านี้
ผมขอเดาต่อว่าเป็นหมู่บ้านชาวประมง ที่เป็นจุดสนใจของเขา
คนที่ซื้อของเป็นชาวประมง การซื้อขนมเขา(อาจจะ)ไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของเขา
เขาอาจจะสนใจการขายขนมด้วย   แต่ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร พูดเท่าที่เขารู้ว่าเป็นชาวประมง
เป็นไปได้ทุกอย่าง
หรือเขาอาจจะอธิบายผิดหรือผมแปลผิด
คำว่า pescatori แปลจากกูเกิล ว่าชาวประมงหรืออาจจะแปลเป็นอย่างอื่นได้ไหม เช่นค้าขายทางเรือ?
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 พ.ค. 16, 11:33
ลองอ่านของคุณ ซำเหมา  จะมีภาพสะสมของคีนีที่ผมเอามาให้ดู หลายภาพแต่ไม่ค่อยชัด  ภาพชัดผมมีอยู่บ้าง
ซำเหมาพาตะลุยถิ่นไฮโซฯ..ชมงานของจิตกรสองแผ่นดินหัวใจสยามผู้รังสรรค์งานศิลป์ในพระที่นั่งอนันต์ฯ

http://www.oknation.net/blog/buzz/2008/06/08/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/buzz/2008/06/08/entry-1)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 23 พ.ค. 16, 12:46
มีกล้วย ๒ หวีอยู่หัวเรือ วันนี้น่าจะขายแค่นี้ (ไม่เห็นภาชนะที่ใส่กล้วยชุบแป้งเตรียมทอด)
ได้รับเชิญมาเป็นโมเดลพอดี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 พ.ค. 16, 15:00
ทดสอบภาพใหญ่จะชัดขึ้นไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 พ.ค. 16, 08:38
โปสการ์ดใบนี้ ของมูลนิธิเล็ก ประไพ สวยดี ชอบมาก     แต่ติดที่มีลายนํ้าเต็มไปหมด
เคยเอามาลบลายนํ้าออกซึ่งเสียเวลา และได้ภาพที่ไม่สะอาด
จนมพบภาพโปสการ์ดใบต้นฉบับที่สะอาดสวยงาม

เป็นภาพคลองสมเด็จที่เริ่มจากแม่นํ้าเจ้าพระยา ไหลมาจบกับคลองสานที่หน้าวัดพิชยญาติฯ
ส่วนคลองสานมาจากเจ้าพระยาที่ปากคลองสาน ไหลขนานกันจนไปออกที่คลองบางกอกใหญ่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 พ.ค. 16, 08:45
ผลงานของ คาร์ล ดอห์ริ่ง ประมาณปี พศ. 2449-2456


วัดพิชยญาติการาม เดิมเป็นวัดร้าง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา
ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ พ.ศ. 2372 - 2375 ในรัชกาลที่ 3 (คลองสมเด็จน่าจะขุดในช่วงที่ทำวัด เพื่อใช้ขนส่งวัสดุก่อสร้าง)
เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยขณะนั้นเป็นจางวางพระคลังสินค้า
มีเรือสำเภาค้าขายกับจีน จึงได้นำอับเฉาเรือ กระเบื้องสี และหินมาจากจีน
สถาปัตยกรรมวัดนี้มีลักษณะแบบไทยผสมจีน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยนั้น
เมื่อบูรณะวัดเสร็จแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า "วัดพระยาญาติการาม"
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพิชยญาติการาม"
หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า "วัดพิชัยญาติ"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 พ.ค. 16, 08:53
คลองที่วิ่งจากขวามาซ้ายคือคลองสาน
คลองที่อยู่ด้านล่างคือคลองสมเด็จ
ช่างยืนถ่ายภาพนี้บนสะพานหกที่ข้ามคลองสมเด็จ

พระยาอนุมานราชธนเล่าว่าท่านเคยพายเรือมากับแม่จากปากคลองสาน
คงจะผ่านหน้าวัดพิชัยญาติ ช่วงนี้ ไปออกที่คลองบางกอกใหญ่

อีกครั้งท่านเล่าว่าพายเรือฝั่งพระนครจากปากคลองตลาด
ลัดเลาะไปจนออกปากคลองคูเมืองเดิมที่ท่าช้างวังหน้า
พายเรือข้ามไปอีกฝั่ง ไปยังปากคลองบางกอกน้อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 พ.ค. 16, 10:03
เกาะกลางนํ้าหน้าวัดแจ้ง
มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่และหายไปเมื่อไหร่ไม่มีใครเขียนบอกไว้
ภาพขยายใกล้ๆจะเห็นสิ่งที่มีบนเกาะ
มีต้นอินทผาลัมอยู่ด้านซ้ายสุด
ต้นนี้บางภาพมีขนาดสูงเกือบเท่าต้นไม้ที่เป็นฉากหลัง
ต้นที่สองขนาดเล็กกว่าอินทผาลัม บอกไม่ได้ว่าเป็นต้นไม้ชนิดไหน
ตรงกลางเป็นศาลาจัตุรัส พื้นปูนเสาไม้หลังคากลมซ้อนสองชั้น ยอดแหลม ขนาดกว้าง 3-4 เมตร
ต่อไปด้านขวาสุดน่าจะเป็นต้นดอกแก้วที่มีอายุมาก

ทางวัดได้รักษาเกาะนี้โดยการก่ออิฐรอบๆ
คงสู้กระแสนํ้าไม่ไหว โดนกระแสนํ้าพัดหายไปในที่สุด
ภาพนี้ไม่ทราบว่าเป็นภาพของใคร เขียนว่าปี 2413(นํ้าที่อยู่ด้านหน้าใช้โปรแกรม Gimp2 สร้างขึ้นมา)

ภาพที่สองเป็นของ ท่านจิตร จิตราคนี แน่นอน ปี 2408


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 พ.ค. 16, 10:18
ภาพของท่านจิตร จิตราคนี อีกภาพ
เวลาที่อยู่ในภาพเอามาจากแคปชั่นเดิม
ไม่รู้ว่าใครเขียน อาจจะไม่ตรงก็ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 พ.ค. 16, 10:52
ภาพถ่ายเกาะน้อยแบบชัด ๆ แต่เป็นตอนน้ำขึ้น  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5149.0;attach=32585;image)

ตะพานท่าน่ามุขมีสี่หน้า
รูปกุมภาทำด้วยหินดิ้นไม่ไหว
สองตัวคู่ริมท่าชลาไลย
ตรงนั้นไซร้มีช่องร่องวาริน

แผ่นผาศิลาลาดดูหยาดเหยาะ
ทำเป็นเกาะฝั่งท่าชลาสินธุ์
มีเขื่อนคั่นรายรอบเป็นขอบดิน
ปลูกต้นอินทผลัมมีหนามคม


นิราศยี่สาร - ก.ศ.ร. กุหลาบ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5921.msg71191#msg71191 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5921.msg71191#msg71191)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 พ.ค. 16, 10:46
  J Antonio ร้าน charoen krung photographic studio  คงไม่ตกขบวน
มีรูปวัดอรุณ   แต่พิมพ์เป็นโปสเตอร์ในนาม siam photo supply เหมือนกัน
แสดงว่า siam photo supply เอาภาพจากหลายร้านมาพิมพ์จำหน่าย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 พ.ค. 16, 10:49
ของเครือช่างญี่ปุ่น มีนายไว เอบาต้า เป็นผู้นำ มีภาพวัดอรุณหลายภาพ ประมาณปี 2463



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 พ.ค. 16, 10:53
ภาพนี้ของนาย Y Ebata มีการลงสีด้วย
ประทับตราไปรษณีย์ เดือนกุมภาพันธ์ 2464


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 พ.ค. 16, 15:54
วัดพิชัยญาติ ปี 2439 มีคลองสานผ่านด้านหน้าจากซ้ายไปขวา
มีคลองสมเด็จที่อยู่ด้านล่างเริ่มจากแม่นํ้าเจ้าพระยามาบรรจบกับคลองสานที่หน้าวัด
ภาพใหญ่คือภาพเดิม เอามาครอปกันจนภาพด้านขอบหายไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 16, 09:27
บันไดพระปรางค์วัดแจ้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 16, 09:35
แผงขายทุเรียน พศ.2442 
เป็นภาพพิมพ์และภาพถ่าย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดที่เดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 พ.ค. 16, 15:10
วัดอรุณ ภาพสะสมของนางมาร์กาเร็ท แลนดอน ที่มอบให้มหาวิทยาลัยวีตัน
เธอเป็นนักเก็บตัวฉกาจ เก็บภาพทุกอย่างในชีวิต   ภาพของเมืองไทยที่ผ่านตา มีประมาณ 400 รูป
ภาพที่เก็บไว้มีลายนํ้า ภาพต้นฉบับคงจะสวยงามน่าดู  เป็นแหล่งที่มีภาพเมืองไทยอีกที่หนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 พ.ค. 16, 15:30
ถนนเจริญกรุง(ลงมาหลายรอบแล้ว)
เป็นโปสการ์ด มีขายในสมัยนั้น   มีผู้สนใจซื้อไปชมเก็บเป็นที่ระลึก
คุณมาร์กาเร็ท แลนดอน ซื้อเก็บไปด้วย
น่าจะเป็นชนิด RPPC----- real photo postcard
ภาพล่างคือต้นฉบับที่มีขาย  ไม่รู้ว่าเป็นของร้านไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 16, 09:58
ภาพสะสมของคุณมาร์กาเร็ต
ที่ได้มาไม่ชัด ภาพต้นฉบับอาจจะชัด(คิดว่าชัด)
คนที่สูงกว่าคือภรรยาคนแรกของหมอจอร์จ แม็คฟาร์แลนด์ ที่ชื่อรู้ด
ท่านตั้งชื่อบ้านของท่านที่ริมถนนสาทรว่า โฮลี่รู้ด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 16, 10:01
นักเรียนโรงเรียนวังหลัง ปี 2428


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 16, 10:03
view in bangkok shops at the mouth of ong ang canal
ไม่ทราบเวลาที่ถ่ายภาพนี้ อาจจะเหลืออยู่แค่รูปเดียวก็ได้??


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 16, 10:07
กรุงเทพเมื่อมองจากภูเขาทอง  เห็นโบสถ์ วิหารวัดสุทัศน์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 พ.ค. 16, 10:05
อาคารกระทรวงกลาโหมสร้างเสร็จในปี 2425 เมื่อกรุงเทพครบรอบร้อยปี
ด้านหลังของอาคารที่อยู่เชิงสะพานช้างโรงสี      มีหอสูงห้าชั้น  ตามภาพที่หนึง
เมื่อขึ้นไปบนชั้นห้า     มองไปตามถนนบำรุงเมือง       เห็นตามภาพที่สอง
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ    เสาชิงช้ายังอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม      ต่อมาได้ย้ายมาอยู่แนวถนนบำรุงเมือง
ที่กลางถนนบำรุงเมืองเห็นประตูเมืองไกลๆคือประตูสำราญราษฎร์
เมื่อมายืนบนสะพานช้างโรงสีจะเห็นถนนบำรุงเมืองและร้านค้าริมถนน  ตามภาพที่สาม
ร้านแรกทางขวามือเคยเป็นห้างแบดแมนแอนโก ก่อนจะย้ายไปอยู่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 พ.ค. 16, 10:18
ภาพถนนบำรุงเมืองที่เก็บไว้ที่วีตัน เป็น real photo postcard


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 พ.ค. 16, 14:53
Edna Bruner Bulkley
ผู้บันทึกเรื่อง Siam Was Our Home  หรือชื่อ " สยามคือบ้านของเรา"
เดินทางเข้ามากรุงเทพเมื่อเดือนตุลาคม 2446 สมัยพระปิยะมหาราช
เคยเป็นมิชชั่นนารี - ครู ที่กรุงเทพ ครูที่เพชรบุรี -เป็นเมียหมอที่จังหวัดตรัง
ถึงแก่กรรมในปี 2505 ที่แคลร์มอนต์ อเมริกา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 30 พ.ค. 16, 20:17
ภาพสะสมของคุณมาร์กาเร็ต
ที่ได้มาไม่ชัด ภาพต้นฉบับอาจจะชัด(คิดว่าชัด)
คนที่สูงกว่าคือภรรยาคนแรกของหมอจอร์จ แม็คฟาร์แลนด์ ที่ชื่อรู้ด
ท่านตั้งชื่อบ้านของท่านที่ริมถนนสาทรว่า โฮลี่รู้ด
ชื่อบ้านโฮลี่รู้ด มาจาก Holyrood Palace ในสก็อตแลนด์ หมอไฮเอ็ทตั้งชื่อบ้านก่อนหมอแมกฟาร์แลนด์เข้าพำนัก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 พ.ค. 16, 08:26
ขอบคุณสำหรับรายละเอียด
ผมเขียนจากความทรงจำ
เท่าที่จำได้เท่าไหร่ว่ากันเท่านั้นไม่ได้เปิดหนังสือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 พ.ค. 16, 08:29
ภาพโปสการ์ดแบบพิมพ์กับชนิดรูปถ่าย
รูปล่างมีลายนํ้า ลบออก เวลาลบยังคงไม่สวยงาม ถ้าต้นฉบับที่ไม่มีลายนํ้าจะดูดีกว่านี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 พ.ค. 16, 08:48
รถคันนี้เคยวิ่งอยู่ในกรุงเทพฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 พ.ค. 16, 08:53
โปสการ์ดสวยรูป เรือนแพ พิมพ์โดย Raphael Tuck & Son
จำหน่ายโดย ห้าง Whiteaway Laidlaw & co ที่อยูหน้าไปรษณีย์กลาง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 มิ.ย. 16, 09:40
สามแยกเยาวราชกับเจริญกรุง ประมาณ ปี 2443
ภาพเล็กอยู่ในหนังสือรวมภาพของคุณเทพชู ทับทอง
ภาพเดิมกว้างเห็นถนนทั้งสองสาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 มิ.ย. 16, 13:42
ห้างบีกริมม์ แอนโก สามยอด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มิ.ย. 16, 12:44
เมื่อตึกเปลี่ยนเป็นที่ทำการของการไฟฟ้าสยาม
ภาพกลางคืน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 16, 12:54
ไปได้ภาพเหล่านี้มาจาก FB  แล้วไม่ทันเซฟชื่อเจ้าของภาพไว้  หาอีกก็ไม่เจอแล้ว
บางภาพก็ดูออกว่าเป็นชีวิตคนกรุงเทพในอดีต  แต่บางภาพอย่างภาพนี้ ไม่แน่ใจว่าละแวกในกรุงเทพหรือเปล่า
ใครทราบช่วยตอบด้วยนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 16, 12:55
อาหารโต้รุ่ง?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 16, 12:56
นักเรียนร.ร.ไหนคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 16, 12:57
โรงงิ้วเยาวราช?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 16, 09:37
คลองเจสัวยม (คลองสาทร)ไม่ทราบปีที่ถ่าย
น่าจะเป็นช่วงต้นคลองใกล้แม่นํ้าเจ้าพระยา
มีเรือบันทุกไม้ฟืนมาจอดขาย
รูปยาซิกาแร็ตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๗


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 16, 10:53
คลองเจสัวยม (คลองสาทร)ไม่ทราบปีที่ถ่าย
น่าจะเป็นช่วงต้นคลองใกล้แม่นํ้าเจ้าพระยา
มีเรือบันทุกไม้ฟืนมาจอดขาย
รูปยาซิกาแร็ตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๗
บรรทุก ไม่ใช่  บันทุก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มิ.ย. 16, 19:46
ไปได้ภาพเหล่านี้มาจาก FB  แล้วไม่ทันเซฟชื่อเจ้าของภาพไว้  หาอีกก็ไม่เจอแล้ว
บางภาพก็ดูออกว่าเป็นชีวิตคนกรุงเทพในอดีต  แต่บางภาพอย่างภาพนี้ ไม่แน่ใจว่าละแวกในกรุงเทพหรือเปล่า
ใครทราบช่วยตอบด้วยนะคะ

ตึก 7 ชั้นถนนเยาวราช โดดเด่นอยู่ด้านอาคารไม้ทรงสวยๆ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 04 มิ.ย. 16, 20:23
คลองเจสัวยม (คลองสาทร)ไม่ทราบปีที่ถ่าย
น่าจะเป็นช่วงต้นคลองใกล้แม่นํ้าเจ้าพระยา
มีเรือบันทุกไม้ฟืนมาจอดขาย
รูปยาซิกาแร็ตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๗

ดิฉันต้องไปสาทรอาทิตย์ละครั้ง ออกจากบ้านไปลงรถไฟใต้ดิน แล้วไปโผล่ที่สถานีลุมพินี ใกล้ๆตึกคิวเฮาส์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที พอเห็นรูปนี้แล้วก็นึกขำ นี่ถ้าดิฉันต้องไปสาทรสมัยนั้น จะต้องพายเรือออกจากบ้านตั้งแต่กี่โมงกัน ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 16, 20:37
ขอบคุณค่ะคุณหนุ่มสยาม  จำเยาวราชไม่ได้เลย
มุมนี้สวยมาก จนนึกว่าเป็นต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งในเอเชียเสียอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มิ.ย. 16, 11:23
ภาพชุดตรึงกำลังปิดเยาวราช "กรณีทีงั่วที"
ทีงั่วที หรือ ทีหว่อที เข้าใจว่า คือ เทียนกัวเทียน เป็นชื่อโรงหนัง
รายละเอียดอยู่ในเวปไซด์
มีภาพให้ดูหลายภาพ กดที่ภาพจะขยายใหญ่
ภาพแรกเป็นแยกราชวงศ์

http://roowaisa.blogspot.com/2015/05/blog-post_23.html (http://roowaisa.blogspot.com/2015/05/blog-post_23.html)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มิ.ย. 16, 13:05
แผนที่เก่า คศ 1917
เขียนชื่อเก่าอยู่
ถนนประแจจีน-เพชรบุรี
ถนนหัวลำโพง-พระราม 4
ถนนสระปทุม-พระราม1


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มิ.ย. 16, 15:06
ภูเขาทอง --- ป้อมมหากาฬ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มิ.ย. 16, 08:00
แม่นํ้าเจ้าพระยาเมื่อปี 2436 ถ่ายจากฝั่งธนบุรีตรงไปเหนือจากท่าราชวรดิษฐ์
มองไปข้างหน้าคิดว่าเป็น ท่าพระหรือท่าช้างวังหลวงเดิม
ที่เห็นตรงกลางสูงกว่ารอบๆ เป็นอุโบสถวัดบวรสุทธาฯเป็นรูปจตุรมุข
ตรงที่มีเรือนแพมาก   น่าจะตรงกับวัดพระมหาธาตุ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 08 มิ.ย. 16, 12:47
เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มิ.ย. 16, 18:35
เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)

ขอบคุณครับ แต่ผมไม่มีความรู้ หรือรู้จักเรือรบมากมายจำได้แค่ มหาจักรี พระร่วง เรือดำนํ้าฯลฯ

ต่อไปเป็นภาพของ    นายไว เอบาต้า ร้านพร้อมโฟโต ถนนเจริญกรุง
เป็นบ่อนในกรุงเทพสมัยก่อน
บ่อนยกเลิกไปหมดเมื่อปี 2460 (ตาม อ.-ส. พลายน้อย)
อาจารย์สถิตย์ เสมานิล เล่าเรื่องบ่อนไว้ในหนังสือวิสาสะ (เท่าที่จำได้)
นายอากรบ่อนคือขุนพัฒน์บุรีรมย์(คู่กับนายอากรหวย คือขุนบานบุรีรัตน์)
บ่อนกำถั่วที่ท่านเคยเห็นเป็นห้องกว้าง
ตรงกลางปูเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ทำมาจากเมืองจีน กว้าง 7-8 เมตร
มีตะเกียงนํ้ามันเพื่อให้แสงสว่าง  ถ้าไฟฟ้าดับเมื่อไหร่จะมีความวุ่นวายได้
ลูกค้ายืนรอบๆ มีเจ้ามือสี่คน คนเขี่ยถั่วเจ้ามือ  ผู้ช่วย ซ้ายคน ขวาคน แล้วมีคนจ่ายเงิน
ท่านเล่าได้ตรงกับภาพที่ผมเพิ่งเจอ..............


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 09 มิ.ย. 16, 08:27
เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)

ขอบคุณครับ แต่ผมไม่มีความรู้ หรือรู้จักเรือรบมากมายจำได้แค่ มหาจักรี พระร่วง เรือดำนํ้าฯลฯ

ต่อไปเป็นภาพของ    นายไว เอบาต้า ร้านพร้อมโฟโต ถนนเจริญกรุง
เป็นบ่อนในกรุงเทพสมัยก่อน
บ่อนยกเลิกไปหมดเมื่อปี 2460 (ตาม อ.-ส. พลายน้อย)
อาจารย์สถิตย์ เสมานิล เล่าเรื่องบ่อนไว้ในหนังสือวิสาสะ (เท่าที่จำได้)
นายอากรบ่อนคือขุนพัฒน์บุรีรมย์(คู่กับนายอากรหวย คือขุนบานบุรีรัตน์)
บ่อนกำถั่วที่ท่านเคยเห็นเป็นห้องกว้าง
ตรงกลางปูเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ทำมาจากเมืองจีน กว้าง 7-8 เมตร
มีตะเกียงนํ้ามันเพื่อให้แสงสว่าง  ถ้าไฟฟ้าดับเมื่อไหร่จะมีความวุ่นวายได้
ลูกค้ายืนรอบๆ มีเจ้ามือสี่คน คนเขี่ยถั่วเจ้ามือ  ผู้ช่วย ซ้ายคน ขวาคน แล้วมีคนจ่ายเงิน
ท่านเล่าได้ตรงกับภาพที่ผมเพิ่งเจอ..............


แอบสยองเล็กๆ มีรูปศีรษะคนลอยอยู่ตรงประตู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มิ.ย. 16, 09:36
เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)

ขอบคุณครับ แต่ผมไม่มีความรู้ หรือรู้จักเรือรบมากมายจำได้แค่ มหาจักรี พระร่วง เรือดำนํ้าฯลฯ

ต่อไปเป็นภาพของ    นายไว เอบาต้า ร้านพร้อมโฟโต ถนนเจริญกรุง
เป็นบ่อนในกรุงเทพสมัยก่อน
บ่อนยกเลิกไปหมดเมื่อปี 2460 (ตาม อ.-ส. พลายน้อย)
อาจารย์สถิตย์ เสมานิล เล่าเรื่องบ่อนไว้ในหนังสือวิสาสะ (เท่าที่จำได้)
นายอากรบ่อนคือขุนพัฒน์บุรีรมย์(คู่กับนายอากรหวย คือขุนบานบุรีรัตน์)
บ่อนกำถั่วที่ท่านเคยเห็นเป็นห้องกว้าง
ตรงกลางปูเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ทำมาจากเมืองจีน กว้าง 7-8 เมตร
มีตะเกียงนํ้ามันเพื่อให้แสงสว่าง  ถ้าไฟฟ้าดับเมื่อไหร่จะมีความวุ่นวายได้
ลูกค้ายืนรอบๆ มีเจ้ามือสี่คน คนเขี่ยถั่วเจ้ามือ  ผู้ช่วย ซ้ายคน ขวาคน แล้วมีคนจ่ายเงิน
ท่านเล่าได้ตรงกับภาพที่ผมเพิ่งเจอ..............


แอบสยองเล็กๆ มีรูปศีรษะคนลอยอยู่ตรงประตู
เป็นภาพเก่าที่เลือนบางส่วน อาจจะมองส่วนร่างกายไม่ชัด

ภาพต่อไปเป็นภาพของ โรเบอร์ต เล็นซ์ เวลาที่ถ่ายราว 2439-2449
ช่วงเวลาที่มาเปิดร้านในเมืองไทยของเล็นซ์ ไม่ตรงกัน
ใน twentieth century impression of siam บอกมาเปิดร้าน ปี 2437
ผู้เชี่ยวชาญหอจดหมายเหตุของไทย ว่าเปิดปี 2439
ร้านได้ขายต่อให้นายอีมิล กรูเต และนายซี ปรูส ปี 2449
ภาพสุดท้ายตำแหน่งร้านของ Robert Lenz


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มิ.ย. 16, 12:40
royal esplanade


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มิ.ย. 16, 15:16
คาร์ล ซิกเฟร็ด เดอห์ริง เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2422 ที่เมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี
สำเร็จการศึกษา สาขา สถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อปี พ.ศ.2449
ขณะมีอายุ 26 ปี ความสนใจและประทับใจในสถาปัตยกรรม และลวดลายประดับประดาตกแต่งสถาปัตยกรรมของประเทศในแถบภาคพื้นเอเชียอาคเนย์
ดึงดูดใจให้สถาปนิกหนุ่มสมัครเข้ารับราชการในประเทศสยามทันที หลังจากที่สำเร็จการศึกษา
เขาเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง เมื่อ พ.ศ.2449
และได้ออกแบบก่อสร้างอาคารต่างๆ สำหรับกรมรถไฟไว้ หลายแห่ง
ต่อมาในปี พ.ศ.2452 เขาจึงได้ย้ายไป ดำรงตำแหน่งเป็นสถาปนิกและวิศวกร กรมศุขาภิบาล สังกัดกระทรวงมหาดไทย
การเข้ารับตำแหน่งใหม่ในกระทรวงมหาดไทย
นับเป็นการปูทางให้สถาปนิกหนุ่ม มีโอกาสได้คุ้นเคยและใกล้ชิดกับ
พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่รับราชการอยู่ในกระทรวงนี้
เช่น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพและพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๒ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ทรงว่าจ้างให้ เดอห์ริง
ออกแบบก่อสร้างวังของพระองค์

 ในเดือนกันยายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่เพชรบุรี

ในปี พ.ศ.2454 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงว่าจ้าง เดอห์ริง
ให้ออกแบบก่อสร้างวังใหม่ของพระองค์ ที่ถนนหลานหลวง (วังวรดิศ)

ในปีเดียวกันนี้ เขายังได้รับความไว้วางพระทัยจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ให้ออกแบบก่อสร้างตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดาของพระองค์ (ตำหนักสมเด็จ) ในวังบางขุนพรหมอีกด้วย

ความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อันเนื่องมาจากการหักโหมงานหนัก
 อีกทั้งบรรยากาศในการทำงานที่เต็มไปด้วย ความแก่งแย่งชิงดี ระหว่างชาวต่างประเทศ
ทำให้ เดอห์ริง ล้มป่วยลงอย่างหนัก ในปี พ.ศ.2456
จนกระทั่ง คณะแพทย์ มีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรส่งผู้ป่วยกลับไปทำการรักษาในทวีปยุโรปโดยด่วนที่สุด

ภาพจากหนังสือ SIAM ของคาร์ล ดอห์ริ่ง ภาพเรือนแพในกรุงเทพ
เรือนแพไม่ได้ใช้แพลูกบวบ แต่เป็นแพแบบใหม่น่าจะเป็นโลหะหรือซีเมนต์?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มิ.ย. 16, 12:48
ภาพจากมุมสูงของถนนราชดำเนินกลาง ปี 2493
สะพานเฉลิมวันชาติข้ามคลองบางลำพู ทีมีเรือเดินอย่างคึกคัก
ถนนสิบสามห้าง ถนนบวรนิเวศนฺ์



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มิ.ย. 16, 17:27
ทิวทัศน์แม่นํ้าเจ้าพระยามองจากท่านํ้าหน้าวัดแจ้ง พศ.2433


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มิ.ย. 16, 10:30
สะพานมัฆวานรังสรรค์ และ ถนนราชดำเนินนอก



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒

ถนนราชดำเนินประกอบด้วยถนนสามสาย คือราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง และราชดำเนินใน
ถนนราชดำเนินนอกถูกตัดขึ้นเป็นสายแรก โดยเป็นถนนถมดินปูอิฐ เริ่มตัดในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. ๒๔๔๒
เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินสู่วังสวนดุสิต3 ใช้เวลาตัดสองปี

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ
ให้ตัดถนนราชดำเนินกลางต่อในทันที
ส่วนถนนราชดำเนินในคงเริ่มสร้างในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

ถนนสามสายถูกเรียกรวมว่า “ถนนราชดำเนิน”
ตลอดแนวถนนพาดผ่านคลองสำคัญสามสาย คือคลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองผดุงกรุงเกษม
รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการ
ก่อสร้างสะพานสมัยใหม่ด้วยรูปแบบศิลปะตะวันตกขึ้นเพื่อเชื่อมร้อยถนนราชดำเนินทั้งสามให้ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกัน
คือสะพานผ่านพิภพลีลา ผ่านฟ้าลีลาศ และมัฆวานรังสรรค์


การสร้างสะพานและถนนเสร็จลงในพุทธศักราช ๒๔๔๖
ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์และถนนราชดำเนินนอก

เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๖

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕๐ ปี อันนับเป็นมงคลสมัย

สะพานมัฆวานรังสรรค์ออกแบบโดย มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาลี
วิศวกรคุมงานคือ นายคาร์โล อัลเลกรี ลักษณะสถาปัตยกรรมสะพานเป็นแบบอิตาลีผสมสเปน
เป็นสะพานโครงเหล็ก พื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ส่วนประดับคือราวสะพานที่เป็นเหล็กหล่อทำลวดลายสวยงาม
ที่กลางราวสะพานด้านนอกประดับดวงตรารูปเศียรช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์
หัวมุมสะพานทั้ง 4 มุม มีเสาไฟหินอ่อนรองรับโคมไฟสำริด ส่วนบนเป็นโลหะสลักลวดลาย
 ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน
นับเป็นสะพานที่สวยงามและโอ่อ่าที่สุดของกรุงเทพมหานครในยุคนั้น
ในยุคแรกเป็นสะพานที่เปลี่ยว นานๆถึงจะมีผู้คนผ่านสักครั้ง
ต้องมีพลตะเวนคอยยืนรักษาความปลอดภัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มิ.ย. 16, 10:36
อีกรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มิ.ย. 16, 11:29
ภาพเหตุการณ์ในวันศุกร์ ที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๒๙
เนื่องในพิธี ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
มีเรือล้อมวงรอบพลับพลาพิธีริมนํ้า ท่าราชวรดิษฐ์
เรือลำใหญ่คือเรือเวสาตรี
อีกภาพเป็นภาพแม่นํ้าเจ้าพระยา เห็นเรือล้อมรอบอีกด้านหนึ่ง
รายละเอียดของพิธีในวันนั้นคุณหมอเพ็ญชมพูเคยเล่าไว้แล้ว 
ไปหาอ่านได้  จะไม่เอามาลงอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มิ.ย. 16, 11:57
รายละเอียดของพิธีในวันนั้นคุณหมอเพ็ญชมพูเคยเล่าไว้แล้ว 
ไปหาอ่านได้  จะไม่เอามาลงอีก

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6507.msg152149#msg152149 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6507.msg152149#msg152149)  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 มิ.ย. 16, 10:31
ถนนเจริญกรุง สองภาพแรกเป็นภาพเดียวกันแต่ภาพแรกไปตัดขอบออก
ภาพที่สองเห็นมุมมองที่กว้างกว่า
น่าจะเป็นบริเวณลงจากสะพานเหล็กโค้งไปขวาเข้าทิศทางตรงของถนนเจริญกรุง
ตรงที่รถรางจอดคันหน้า น่าจะเป็นแถวเวิ้งนาครเขษม

ตามภาพที่สาม อาจารย์ ส. พลายน้อย อธิบายว่าเป็นฟากตะวันออกของสะพานเหล็ก
อาจจะเป็นสถานที่เดียวกันทั้งสามภาพในระยะต่างยุคต่าง พศ.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 มิ.ย. 16, 10:55
สองภาพที่ถ่ายในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
เวลาที่เขียนในภาพคือ วันที่ 5 เมษายน 2454
รถรางเปลี่ยนจากม้าลากเป็นรถรางไฟฟ้าคือปี 2437
ภาพนี้ควรจะอยู่หลังปี 2437 แต่ไม่น่าจะช้าถึงปี 2454


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มิ.ย. 16, 09:24
ถนนเจริญกรุงต่อจากเมื่อวาน
ภาพแรกเป็นของ Robert Lenz  ชื่อ new road with first electric tram
เป็นรถรางไฟฟ้ายุคแรกที่วิ่งบนถนนเจริญกรุง
รูปร่างรถรางขนาดจะเล็กสั้นกว่าในยุคต่อมา
น่าจะถ่ายราวปี พศ 2437 หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย
เลนซ์ เข้ามาตั้งร้านใน กรุงเทพปี  2437( ตาม twentieth century impressions of siam)
รถรางสายนี้เป็นสายแรก  ครั้งแรกวิ่งจากบางรักมายังหลักเมืองในปี 2430
ต่อมาในปี 2431 บริษัทเพิ่มทุน 200 หุ้น ขยายเส้นทางจากบางรักถึงตลาดบ้านใหม่(น่าจะอยู่ที่บางคอแหลม)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มิ.ย. 16, 09:33
ถนนเจริญกรุง  ไม่ระบุเวลา  เป็นภาพหลังปี 2437 น่าจะราวๆ 2443
สถานที่นี้น่าจะไม่ไกลจากสะพานเหล็ก
ภาพแรกเคยลงในหนังสือ bangkok then and now ของ Steve Van Beek
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพ new road with first electric tram น่าจะเป็นสถานที่ใกล้เคียงกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มิ.ย. 16, 17:53
รถรางไฟฟ้ารุ่นแรก ปี 2437 โดย Ric Francis


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มิ.ย. 16, 18:02
รถรางรุ่นต่อมา ที่สถานีหลักเมือง มองเห็นต้นมะขามที่สนามหลวงด้านหลังรถ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มิ.ย. 16, 18:51
เห็นชื่อลุงไก่เพิ่งเข้ามา ช่วยดูด้วย
ผมลงรูปนี้ไม่รู้ว่าจะถูกหรือไม่
ต้องถามลุงไก่ที่อยู่ทำงาน คลุกคลี แถวนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มิ.ย. 16, 07:28
อาคารราชการตั้งอยู่ตามถนนราชดำเนินนอก (คล้ายอาคารสำนักงานสันติธรรม)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มิ.ย. 16, 12:45
เวิ้งนาครเขษม  2493
แผนที่เวิ้ง พิมพ์ ปี พศ.2450


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มิ.ย. 16, 15:45
ถนนเจริญกรุง
ภาพแรกน่าจะเป็นแถวเวิ้งนาครเขษม
เวลาของภาพแรก ตามคำอธิบายในภาพที่สอง ของคุณ Ric Francis
ภาพที่สามเวลาเขียนไว้บนภาพคือปี 2454
ที่ถูกน่าจะเป็น  คือ ปี 2439 ตามภาพที่สี่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มิ.ย. 16, 07:39
ภาพห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ปี พ.ศ.2528


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มิ.ย. 16, 09:27
บริเวณแยกสามยอดที่มีประตูสามยอดบนถนนเจริญกรุงเป็นแหล่งบรรเทิงที่สำคัญในอดีต
ภาพแรกเป็นห้างประตูสามยอดสโตร์ อาจจะเป็นชื่อเดียวกับห้างบี กริมม์
ภาพนี้ผู้ถ่ายภาพ ยืนหันหลังให้ประตูสามยอด
อาคารนี้ต่อมาสร้างใหม่เป็นตึกสามชั้น เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลหมอทาเคดา แล้วเปลี่ยนเป็นห้างศรีจันทร์โอสถของหมอเหล็ง
ปัจจุบันตึกนี้ยังคงอยู่กลายเป็นร้านขายอะไหล่เครื่องอิเล็คโตรนิค
เมื่อขยับกล้องไปทางซ้ายจะเห็นตามภาพที่สอง
ถนนด้านซ้ายในภาพคือถนนมหาไชยที่พ้นแยกสามยอดไปยังป้อมมหาไชยและวังบูรพา
ตรงด้านขวาของถนนมหาไชยที่มีต้นไม้เคยเป็นวังของกรมหลวงพิชิตปรีชากร
พ้นวังกรมหลวงพิชิตฯจะถึงวังบูรพาภิรมย์
ส่วนเป็นแท่งซีเมนต์ด้านซ้ายสุดของภาพไม่แน่ใจว่าเป็นส่วนของกำแพงเมืองหรือกำแพงรั้วของบ้านท่านผู้ใด
ถัดจากแท่งซีเมนต์นี้ไปเป็นกำแพงเมืองแล้วเป็นป้อมมหาไชย ต่อจากป้อมเป็นถนนเข้าเยาวราช

ภาพนี้จะถ่ายเมื่อไหร่บอกให้ชัดเจนไม่ได้ แต่พิจารณาจากภาพที่สอง คงจะเป็นหลังปี 2437


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มิ.ย. 16, 12:56
เวิ้งนาครเขษม 2493 เด็กในรูปตอนนี้อายุหกสิบเจ็ดสิบกว่าปี ส่วนผู้ใหญ่ไม่มีใครอยู่แล้ว
ขอแก้ภาพที่แล้ว บรรเทิงขียนผิดที่ถูกคือบันเทิง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มิ.ย. 16, 19:34
ชมภาพสุดท้ายของโรงหนังศรีเยาวราช
ก่อนจะเลือนหายไป
ยังพอมีเค้าโครงของหน้าโรงหนังในยุครุ่งเรือง
ส่วนศรีราชวงศ์กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาคารกาญจนทัตไปเสียแล้วอยู่ขวามือของตึกนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มิ.ย. 16, 08:56
โรงหนังศรีเยาวราชและศรีราชวงศ์ เมื่อปี พศ. 2491
ภาพที่สองเป็นศรีเยาวราช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 18 มิ.ย. 16, 10:53
โรงหนังศรีเยาวราชและศรีราชวงศ์ เมื่อปี พศ. 2491
ภาพที่สองเป็นศรีเยาวราช

ชอบบรรยากาศภาพนี้
ท่ามกลางยวดยานที่จอแจ ผู้คนพื้นๆ  มีสตรีสวมชุดกี่เพ้าสีเข้มเดินข้ามอยู่กลางถนน (ชุดยาวแบบนี้เรียกกี่เพ้าหรือเปล่า)
ถ้าเป็นภาพสีคงสวยมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มิ.ย. 16, 09:48
โรงหนังศรีเยาวราชและศรีราชวงศ์ เมื่อปี พศ. 2491
ภาพที่สองเป็นศรีเยาวราช

ชอบบรรยากาศภาพนี้
ท่ามกลางยวดยานที่จอแจ ผู้คนพื้นๆ  มีสตรีสวมชุดกี่เพ้าสีเข้มเดินข้ามอยู่กลางถนน (ชุดยาวแบบนี้เรียกกี่เพ้าหรือเปล่า)
ถ้าเป็นภาพสีคงสวยมาก
ศรีเยาวราช ประมาณปี 2520 ไม่มีกี่เพ้าแล้ว
อาคารอีกด้านของถนนมังกร ฝั่งเดียวกัน สร้างใหม่เป็นตึกสูงคือห้างทองเล่งหงษ์
ฝั่งตรงกันข้าม ริมถนนมังกร  (ที่มองไม่เห็น)   ด้านหนึ่งเป็นตึกเก้าชั้น อีกด้านเป็นโรงหนังคาเธ่ย์
ตึกเก้าชั้นปัจจุบันเห็นด้านหน้าเป็นร้านทองฮั่วเซ่งเฮง ส่วนคาเธ่ย์เปลี่ยนเป็นธนาคารไอซีบีซี

ภาพที่สองเป็นภาพเก่าแยกราชวงศ์มองเห็นถนนเยาวราชทั้งสองฝั่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มิ.ย. 16, 14:38
โรงภาพยนต์แถวไชน่าทาวน์ มีทางเข้าเป็นตึกแถว
ตัวโรงจะอยู่ข้างในหลังตึกแถว
ตึกแถวริมถนนเยาวราชที่สร้างครั้งแรกมีช่วงลึกน้อยสักสิบเมตร

ตามรูปของ William Hunt ปี 2489 ทีเยาวราช
เมื่อมองจากที่สูงเห็นตัวโรงของนาครสนุกอยู่หลังตึกแถว
ตัวโรงภาพยนต์อื่นๆในเยาวราชน่าจะเป็นแบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 มิ.ย. 16, 11:45
ลองเอาภาพถนนเจริญกรุงมาขยายที่บริเวณประตูสามยอด
มองเห็นอาคารสองข้างที่ใกล้ประตูสามยอดไม่อยู่ในแนวเดียวกับตึกที่ทำใหม่
ทำให้ถนนตรงนี้แคบกว่าปกติ
ประตูสามยอดสร้างแทนประตูยอดเดียวที่เรียกว่าประตูใหม่เมื่อปี 2428
แต่รื้อลงเมื่อใดไม่มีการบันทึกไว้
อาจารย์สมบัติ พลายน้อยท่านไปอ่านเจอในหนังสือพิมพ์สยามไมตรี ปี 2441 ว่า
    "ได้ทราบข่าวว่าพอขึ้นวันที่ 1 เดือนธันวาคม รศ 117 (พศ 2441)
กระทรวงโยธาจะรื้อประตูสามยอด แลแก้ไขตะพานเหล็กให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
แลตะพานน่าวังบูรพาก็จะให้แล้วทัน รถจะได้เดินไปทางนั้น
แลถึงถนนเยาวราช จะตัดทะลุไม่ทัน
จะให้รถออกทางถนนราชวงษ์ เลี้ยวลงถนนเจริญกรุงตามเดิม"

ในภาพมีรถรางดูเหมือนจะยังใช้ม้าลาก ไม่มีสายไฟสาลี่ให้เห็น

จากข่าว ----สะพานภานุพันธ์ สร้างในปี พศ.2441 เช่นกัน
ภาพแรกถ่ายเมื่อประมาณ ปี พศ.2430-2437

ภาพที่สองประตูสามยอดเมื่อมองจากด้านสะพานเหล็ก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มิ.ย. 16, 11:41
เรื่องเยาวราชต่ออีกนิด
ผมไปอ่านความคิดเห็นท่านที่เติบโตมาในถิ่นนี้หลายท่าน
ได้ความรู้มาบ้างอาจไม่ถูกต้องหมดเพราะเราไม่ได้เติบโตในถิ่นนี้
เขียนสั้นๆให้เด็กๆที่สนใจ อ่านง่าย  เข้าใจง่าย
ตึกสูงอันแรกของเมืองไทยคือตึก 6 ชัั้น ที่ใกล้แยกเฉลิมบุรี
นับได้หกชั้นจริง

ตามรูปแรกของคุณ Latbin Bonnak ที่เขียนว่าตึกเก้าชั้น ของพระยาสมบัติไพศาลน่าจะไม่ถูก(แม้ภายหลังจะมาต่อเติม)
ตึกนี้คือตึก 6 ชั้น แยกเป็นสองเจ้าของ

ตามรูปที่สอง ตึกหมายเลขหนึ่งเป็นของพระยาสารสินสวามิภักดิ์(หมอเทียนฮี้)
ส่วนหมายเลขสองไม่ทราบว่าเป็นของพระยาสมบัติไพศาลหรือไม่
:ชื่อพระยาสมบัติไพศาล ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่
มีชื่อที่คล้ายกัน คือพระยาไพบูลย์สมบัติ(เดช บุนนาค บุตร พระยาอิศรานุภาพ-เอี่ยม บุนนาค):


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มิ.ย. 16, 11:47
ตึก 6 ชั้น อยู่เลยแยกเฉลิมบุรี เห็นป้ายเฉลิมบุรีอยู่ด้านขวา
ภาพแรกน่าจะเป็นปี 2493 ?(หรือ ปี 2499)
ภาพที่สอง ปี 2524


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มิ.ย. 16, 11:53
ตึก 7 ชั้นอยู่ตรงกันข้ามกับตึก 6 ชั้น แถวแยกเฉลิมบุรีเหมือนกัน
นับชั้นครบเจ็ดชั้นตามชื่อ
ตามภาพที่ 1 ปี 2463
ภาพที่ 2 ปี  2483


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มิ.ย. 16, 12:07
สุดท้ายแล้ว
ตึกเก้าชั้นตัวจริง
ตามภาพที่หนึ่ง จะอยู่หลังจากโรงหนังคาเธ่ย์ มีถนนมังกรขวางอยู่

ภาพที่สองมองจากทิศตรงข้าม
ตึกเก้าชั้นอยู่ตรงข้ามโรงหนังศรีเยาวราชที่มีป้าย "ล่าอุตลุด"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 16, 16:17
ในบันทึกของหมอบรัดเลย์กล่าวว่า
นาย ร.ศ. สกอตต์ เจ้าของห้างสกอตต์แอนด์โก
ได้นำไฟแก๊สเข้ามาใช้ในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๙ สมัยรัชกาลที่สี่
โดยตั้งโรงแก๊สที่ในพระบรมมหาราชวัง
ถึงรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๗ เกิดโรงแก๊สระเบิด
จึงมาสร้างโรงแก๊สที่บริเวณเสาชิงช้า
มีกำแพงทึบ ๔ ด้าน ด้านหน้าตรงกับวัดสุทัศน์เป็นประตูใหญ่
ข้างในขุดเป็นสระใหญ่เลี้ยงจรเข้ให้คนเข้าไปดูได้
ตามภาพที่หนึ่ง ที่ถ่ายเมื่อปี พศ.2423
ตามภาพนี้เสาชิงช้ายังอยู่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาอยู่กลางถนนบำรุงเมือง


ต่อมามีบริษัทไฟฟ้าเกิดขึ้นจึงรื้อโรงแก๊สลงหมด
แล้วย้ายเสาชิงช้าออกมาตั้งตรงที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้
ตรงโรงแกสที่รื้อสร้างเป็นตลาด ลักษณะเป็นตึกแถวยาวหักวกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจรดกันสี่ด้าน
เว้นช่องเป็นประตูตรงกลางทุกด้าน ภายในทำเป็นตลาดใหญ่
จึงย้ายตลาดเสาชิงช้าเดิมมาตั้งที่สร้างใหม่นี้ เปิดตลาดใหม่นี้ เมื่อปี ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๔)
ตามจดหมายเหตุกล่าวว่าผู้สร้างตึกชื่อ มิสเตอร์ สุวาราโต
ตามภาพที่สอง-สาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 22 มิ.ย. 16, 22:22
รูปในความเห็น 153 ตำรวจถึงกับตั้งรังปืนกลกันเลยทีเดียว  ::)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 16, 09:30
รูปในความเห็น 153 ตำรวจถึงกับตั้งรังปืนกลกันเลยทีเดียว  ::)
เป็นทหารมาปราบจราจลที่เยาวราช ที่เรียกว่าจราจลเทียนกัวเทียน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
http://roowaisa.blogspot.com/2015/05/blog-post_23.html (http://roowaisa.blogspot.com/2015/05/blog-post_23.html)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 16, 09:37
ภาพต่อจากเมื่อวาน
เมื่อย้ายโรงแก๊สจากพระราชวังมาอยู่ที่บริเวณใกล้เสาชิงช้า
จากภาพจะเห็นโรงแก๊สอยู่หลังเสาชิงช้า
ในวงกลมมีเสาโคมไฟที่ให้แสงสว่างด้วยแก๊สเวลากลางคืน
มีอยู่ริมถนนใหญ่เช่นเจริญกรุงบำรุงเมืองฯลฯ
ภาพนี้ควรจะอยู่ในระยะเวลา พศ.2417-2444


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 16, 09:43
เมื่อมีไฟฟ้าใช้แล้วรื้อโรงแก๊ส
สร้างตลาดขึ้นมาแทนพร้อมย้ายเสาชิงช้าไปอยู่หน้าวิหารวัดสุทัศน์
ภาพนี้เป็นด้านหน้าของตลาดเสาชิงช้าใหม่
ปลูกต้นไม้เป็นแถวด้านหน้า ทำตลาดอย่างสวยงาม เป็นตลาดที่ทันสมัยมากในสมัยนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 16, 09:55
ร้านค้าหน้าโบสถ์พราหม โค้งถนนบำรุงเมืองถนนดินสอ
ที่อยู่ตรงกันข้ามกับตลาดเสาชิงช้าใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มิ.ย. 16, 10:05
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (พระยศในขณะนั้น)
เสด็จจากประตูพระราชวังดุสิต เพื่อร่วมขบวนรถรางพระที่นั่ง โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ในงานพิธีฝังน๊อตรางอันสุดท้ายของรถรางสายใหม่อีกสายหนึ่ง ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ บริษัทรถรางไทย
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ (จาก วิกิซอร์ซ https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87)


โดยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จขึ้นประทับบนรถรางพิเศษ
ซึ่งได้จัดที่ไว้เป็นรถพระที่นั่ง พร้อมด้วยรถตามเสด็จอีกรวม ๑๖ คัน
หนึ่งในนั้นก็คือขบวนรถรางที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในนั่นเอง
ซึ่งแต่ละคันได้ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามมาก
รถรางที่เปิดเดินสายใหม่นี้ คือรถรางสายรอบเมือง หรือที่เรียกว่าสายดุสิตนั่นเอง
และเนื่องจากตัวรถทาด้วยสีแดง จึงเรียกกันอีกชื่อว่า รถรางสายแดงนั่นเอง

ประตูที่เห็นคือประตูวังสวนดุสิต
ปัจจุบันที่ประตูรูปทรงอย่างนี้ยังมีให้เห็น  เช่นประตูชื่อประตูประสาทเทวริทธิ์ ด้านถนนราชวิถี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มิ.ย. 16, 09:35
พระราชพิธีทรงบรรพชาเป็นสามเณรของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ในพุทธศักราช ๒๔๓๔

มีการตกแต่งกระจาดบูชากัณฑ์เทศมหาชาติ เป็นรูปเรือสำเภาใหญ่ใส่เครื่องไทยธรรม
ประกอบด้วยขนม ผลไม้ ข้าวสาร อาหารแห้ง ตามแต่จะหาได้
ซึ่งหม่อมเจ้าหญิง พูนพิสมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเล่าถึงบรรยากาศงานเมื่อครั้งนั้นเอาไว้อย่างละเอียดในหนังสือ “เรื่องเบ็ดเตล็ดจากสวนดุสิต” ความว่า

“..งานที่น่าตื่นเต้นซึ่งเจ้านายบรรดาที่ทรงมีพระชนมายุพอทันเห็น
จะต้องทรงจำได้ไม่มากก็น้อยอีกงานหนึ่งนั้นก็คืองานเทศน์มหาชาติเครื่องกัณฑ์ใหญ่
งานนี้จัดขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมฯ พระองค์นั้นทรงผนวชเณรตามราชประเพณี
เมื่อทรงผนวชเณรก็จะต้องเสด็จเข้าไปถวายเทศน์
และถวายพระกุศลสมเด็จพระชนกนาถ และสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระบรมฯ
ทรงเทศน์มหาชาติกัณฑ์ (รับสั่งว่าดูเหมือนกัณฑ์สักกบรรพ)
ตามธรรมดาเทศน์มหาชาตินั้นไม่ว่ามีที่ไหนก็เป็นงานเอิกเกริกอยู่แล้ว

เมื่อสมเด็จพระบรมฯ เป็นผู้ทรงเทศน์ถวายสมเด็จพระชนกนาถ
งานนั้นก็ย่อมต้องเป็นมหาชาติครั้งพิเศษอยู่เอง 
ศูนย์กลางความครึกครื้นจนคนจำได้ข้ามสมัยนั้นก็คือเครื่องกัณฑ์
ซึ่งจะพระราชทานองค์ธรรมกถึก
เครื่องกัณฑ์ที่เรียกกันว่ากระจาดใหญ่ หมายถึงเครื่องกัณฑ์เทศน์ขนาดใหญ่ต้องใส่กระจาดซ้อนกันมิรู้กี่ชั้นต่อกี่ชั้น
เช่นนี้ ได้เคยมีมาแล้วในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ
เมื่อครั้งทรงผนวชและเสด็จเข้าไปถวายพระธรรมเทศนาในวัง
ครั้งนั้น ถึงกับเรียกกันติดปากเรื่อยมาว่า มหาชาติกระจาดใหญ่
มาคราวนี้เครื่องกัณฑ์ขนาดใหญ่นี้ไม่เป็นรูปกระจาด แต่พิสดารขึ้นไปอีก
เป็นรูปเรือสำเภาอย่างโบราณลำหนึ่ง และเรือกำปั่นอย่างฝรั่งอีกลำหนึ่ง
ตั้งอวดไว้ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์
คนดูกันแน่นตลอดเวลา เพราะเรือทำน่าดูจริงๆ
ที่ว่าน่าดูคือน่าดูความคิดของผู้ทำ เหมือนการเล่นอย่างอื่นๆ ที่ใช้ความคิดสติปัญญาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในสมัยนั้น

ตัวเรือนั้นทำด้วยไม้เป็นโครงใน ข้างนอกใช้อ้อยทั้งๆ ลำมัดตรึงเข้า
สำหรับลำที่เป็นสำเภาพวกลูกเรือตัวทำด้วยน้ำตาล อย่างที่เราเคยเห็นเขาทำสิงโตน้ำตาลไหว้เจ้า
หรือถวายพระเข้าพรรษา ทั้งนี้ เพราะลูกเรือสำเภาเป็นเจ๊กตัวต้องขาว 
สำเภานี้บรรทุกเครื่องกินทุกอย่างจากเมืองจีน ใส่ถังไม้ย่อมๆ พูนปากถัง แลเห็นส้มจีน ลูกพลับ เครื่องจันอับ น่าน้ำลายไหล
แต่พอถึงลำที่เป็นกำปั่น พวกกลาสีแขกนั้นตัวดำเมี่ยม ตรงกันข้ามกับลำโน้น ตัวกลาสีดำเมี่ยมนั้นปั้นด้วยกาละแม
 ทั้งนี้เพราะลูกเรือกำปั่นที่เราเคยรู้จักเห็นกันชินตาโดยมากเป็นพวกแขก เช่น แขกจามซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงเก่า
พวกแขกจามยังมีเชื้อสายมาจนถึงรัชกาลที่ ๕
ส่วนของกินที่บรรทุกเรือลำนี้ก็เป็นของนอกอย่างเมืองฝรั่ง
ส่วนที่พื้นรอบลำเรือทั้งสองมีลูกคลื่นทำแสนที่จะเหมือน มีเต่า ปลา และสัตว์น้ำผุด มีไข่เต่า ไข่จะละเม็ดวางเรียงราย
ล้วนแต่ของกินได้ทั้งนั้น ตามประเภทของทะเล อย่างนี้คนจะไม่ดูกันแน่นอย่างไรได้...”


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มิ.ย. 16, 09:52
ภาพแรกเป็นขบวนแห่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เข้าพิธีบรรพชาสามเณร
ภาพสองสามคือเครื่องติดกัณฑ์เทศน์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มิ.ย. 16, 10:42
วัดอนงคาราม เสาจุดประทีปหน้าวัดมีสี่ต้น  ต้นด้านซ้ายสุดมองไม่เห็น
ไม่ทราบปีที่ถ่าย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มิ.ย. 16, 12:32
สะพานพระราชเทวี บนถนนพญาไท ที่ข้ามคลองเลียบถนนเพชรบุรี
สร้างครั้งแรกเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
มีลูกกรงเป็นปูนปั้น ทอดข้ามคลองริมถนนเพชรบุรี
สมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีโปรดให้สร้างสะพานนี้ขึ้นเพื่อเป็นสาธารณกุศล
ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา
บนป้ายเขียนวันที่ 10 พค. รศ 130
การสร้างสะพานในครั้งนั้นเป็นการดำเนินตามพระราชนิยม
ด้วยทรงมีพระราชประสงค์อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า
เมื่อสร้างสำเร็จทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานนี้ว่า "สะพานพระราชเทวี"
ต่อมาเมื่อมีการถมคลองสร้างถนน สะพานนี้จึงถูกรื้อถอนไป
เป็นที่มาของชื่อเรียก    สี่แยกราชเทวี
ภาพนี้ปี พศ. 2498

ป้ายชื่อสะพานได้รื้อเก็บไว้ที่สวนผักกาด

ส่วนบ้านหลังใหญ่ที่เห็นในภาพคือบ้านของ บ้านม.ร.ว.เทวาธิราช ป มาลากุล
หาอ่านได้ในหลายเวป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มิ.ย. 16, 14:31
แม่นํ้าเจ้าพระยาเยื้องวัดแจ้ง
ภาพอยู่ในหนังสือของ ฟูร์เนอโร ผู้ตรวจการศิลปศึกษาและพิพิธภัณฑ์ของฝรั่งเศส
เปรียบเทียบภาพวาดกับภาพถ่าย
ฟูร์เนอโร เข้ามาเมืองไทยปี 2435 ภาพนี้น่าจะอยู่ในประมาณปีนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 มิ.ย. 16, 11:29
ภาพถนนเจริญกรุงหน้าโรงหนังศาลาเฉลิมกรุง
น่าจะเป็นสมัยที่เปิดฉายใหม่ๆปี 2476


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 มิ.ย. 16, 10:51
 ห้าง B Grimm & Co  ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 2421
เริ่มตั้งร้านขายยาในซอยโอเรียลเตล  ถนนเจริญกรุง
ย้ายสถานที่ไปหลายแห่งทั้ง  ปากคลองตลาด แยกสามยอด 
ปัจจุบันทำธุรกิจมาแล้วร่วม 138 ปี  นับเป็นบริษัทแรกๆของไทย
ภาพแรก ห้างบีกริมที่สามยอดปี 2455


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มิ.ย. 16, 11:25
ถนนเจริญกรุงหน้าศาลาเฉลิมกรุง ดูเป็นถนนกว้างขวางมากค่ะ
ราวกับเป็นคนละถนนในปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 28 มิ.ย. 16, 13:58
ดูจากภาพ อาคารศาลาเฉลิมกรุงใหญ่โตมโหฬารมาก เมื่อเทียบขนาดกับผู้คนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ
อยู่ยงคงกระพัน ผ่านร้อนหนาว รวมทั้งลูกระเบิดจากท้องฟ้า มาใกล้ร้อยปี สมศักดิ์ศรี เฉลิมแห่งแรกของกรุงฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 มิ.ย. 16, 14:43
โรงหนังแห่งแรกของไทยคือโรงหนังญี่ปุ่น(หลวง) อยู่ในเวิ้งนาครเขษม
สร้างเมื่อปี 2445   อ.สถิตย์ เสมานิล ได้เล่าว่าไปดูหนังที่โรงนี้เมื่อ ปี 2456 
ซึ่งช่วงนั้นโรงหนังนี้กำลังอยู่ในยุคเสื่อมไม่มีหนังดีมาป้อน
กลายเป็นโรงมโหรสพอื่นมาเล่นแทน   รื้อไปเมื่อราวปี 2459

ปี 2459  มีโรงหนังเวิ้งนาครเขษมมาเปิดแทน  เป็นโรงหนังโรงแรกที่มีอาคารเป็นคอนกรีต
ก่อนหน้านี้โรงหนังเป็นโครงสร้างไม้ หลังคาสังกะสี ไม่ว่าเป็นโรงหนังปีระกา (เปิด ปี 2453 ฉายครั้งแรกไฟไหม้หมด)
 โรงพัฒนากร โรงวังพระองค์เจ้าปรีดา  โรงรัตนะ( จาก อ.ชัย เรืองศิลป์ ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน?)

พอปี 2476 เรามีศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงหนังมาตราฐาน ชั้นดูเรียงเป็นขั้นบันได ไม่บังกัน ติดแอร์
ต่อมา เรามีโรงหนังติดแอร์โรงที่สอง  คือ โรงหนังโอเดียน ตรงสามแยก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มิ.ย. 16, 08:24
ถนนสุรวงศ์และถนนเดโชสร้างเมื่อปี 2440

เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสีหราชเดโชชัย
เป็นเจ้าของที่ดินแถบนั้นได้ตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าว ๒ สาย
และได้กราบบังคมทูลถวายถนนให้เป็นถนนหลวง พร้อมขอพระราชทานนามถนน
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
พระราชทานนามว่า "ถนนสุรวงศ์" และ "ถนนเดโช"
เพื่อเป็นอนุสรณ์ตามนามบรรดาศักดิ์ของท่านเจ้าของถนน

ภาพหนึ่งและสอง เมื่อปี 2443 เมื่อมองจากถนนสุรวงศ์
ภาพที่สามและสี่เมื่อมองจากถนนเจริญกรุง ห้างขายยาอังกฤษตรางูอยู่ขวามือ




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มิ.ย. 16, 10:46
ขบวนตำรวจบนถนนอัษฎางค์  ริมกำแพงวัดราชบพิธฯ ปี 2500


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 29 มิ.ย. 16, 19:37
ศาลาเฉลิมกรุงสวยงามมากครับ แท่งที่อยู่กลางถนนไว้ทำอะไรครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มิ.ย. 16, 20:21
สัญญาณจราจรค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มิ.ย. 16, 20:33
เห็นรูปแล้วอยากจะเดินผ่านประตูเวลา ไปหาบ้านอยู่แถวถนนสุรวงศ์ค่ะ
อยากอยู่ในยุคที่นอนในบ้านก็เย็นสบาย   เพราะลมพัดฉิวเข้ามาได้ตลอดเวลา   ไม่มีเหล็กดัด ไม่มีหน้าต่างกระจก   
มีระเบียงให้นั่งกินข้าวเช้า และข้าวเย็นได้ 
ไม่มีเสียงรถ  ไม่มีฝุ่นดำๆเหนียวหนับจากถนน 
ฝนตกก็เล่นน้ำฝนได้  ไม่เป็นหวัด เล่นจนเปียกโชก หนาวสั่นวิ่งขึ้นบ้าน  เช็ดตัวเช็ดผม สวมเสื้อนอนผ้าสำลี  มุดเข้าใต้ผ้าห่มอุ่นๆ  สวรรค์อยู่ตรงนั้นเอง
หลังสองทุ่ม  นอกบ้านเงียบสงัดแล้ว   ทำการบ้านเสร็จนอนไม่เกินสามทุ่ม

 (http://www.youtube.com/watch?v=QEm67QbgEGY[/url)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มิ.ย. 16, 20:38
ศาลาเฉลิมกรุงสวยงามมากครับ แท่งที่อยู่กลางถนนไว้ทำอะไรครับ
คำถามนี้ยอดมาก ไม่เคยมีใครให้คำอธิบายมาก่อน
เคยเห็นภาพเก่าๆ ในต่างจังหวัดก็มีเสาแบบนี้ตามสี่แยก
ลองค้นดูไม่เจอภาพแบบนี้ ที่เมืองนอก ทั้งอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย
ไม่ทราบว่าเราซื้อมาจากประเทศอะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มิ.ย. 16, 21:57
เสาแบบนี้  พอใกล้เคียงไหมคะคุณหมอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มิ.ย. 16, 22:36
เสาแบบนี้  พอใกล้เคียงไหมคะคุณหมอ

อาจารย์ครับ
สำหรับผมคิดว่าเป็นเสาแสงสว่าง
อาจจะไม่ใช่เสาสัญญาณไฟ
เดาแบบมั่วๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 มิ.ย. 16, 09:19
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบร้อยปีของสถานีรถไฟหัวลำโพง
นับตั้งแต่เริ่มเปิดบริการ ในปี ๒๔๕๙
ส่วนกิจการรถไฟ รถไฟของไทย  เริ่มเมื่อ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเปิดรถไฟสายกรุงเทพ-อยุธยา ในวันที่  ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙

ภาพข้างล่างคือ ตึกบัญชาการรถไฟ หรือตึก เบ็ธเก้ ตามชื่อนาย K. Bethge ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ
ที่อยู่ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ ในสมัยเริ่มแรก

ต่อมามีการสร้างตึกประสาน ด้าน-เหนือ-ตะวันตก-ใต้  จนรอบ เป็นตึกสี่ด้าน
ตึกนี้อยู่ด้านเหนือของสถานีหัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ตรงข้ามวัดเทพศิรินทร์ฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 มิ.ย. 16, 10:26
เสาแบบนี้  พอใกล้เคียงไหมคะคุณหมอ

อาจารย์ครับ
สำหรับผมคิดว่าเป็นเสาแสงสว่าง
อาจจะไม่ใช่เสาสัญญาณไฟ
เดาแบบมั่วๆ

ดิฉันก็ไม่รู้ชัดเจนเหมือนกันค่ะว่ามันคืออะไร  สงสัยจะเกิดไม่ทัน  หรือทันก็ยังเล็กมาก จำไม่ได้
แต่มันตั้งอยู่ตรงสี่แยก  ก็เลยคิดว่ามันเป็นสัญญาณจราจรแบบหนึ่งค่ะ   อาจเป็นได้ว่ามีสีสะท้อนแสง  ให้รถเห็นจะได้หยุด หรือเลี้ยวอ้อมไปแบบวงเวียน 
ภาษาอังกฤษ ค้นที่คำว่า traffic cone ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 มิ.ย. 16, 10:49
เสาแบบนี้  พอใกล้เคียงไหมคะคุณหมอ

อาจารย์ครับ
สำหรับผมคิดว่าเป็นเสาแสงสว่าง
อาจจะไม่ใช่เสาสัญญาณไฟ
เดาแบบมั่วๆ

ดิฉันก็ไม่รู้ชัดเจนเหมือนกันค่ะว่ามันคืออะไร  สงสัยจะเกิดไม่ทัน  หรือทันก็ยังเล็กมาก จำไม่ได้
แต่มันตั้งอยู่ตรงสี่แยก  ก็เลยคิดว่ามันเป็นสัญญาณจราจรแบบหนึ่งค่ะ   อาจเป็นได้ว่ามีสีสะท้อนแสง  ให้รถเห็นจะได้หยุด หรือเลี้ยวอ้อมไปแบบวงเวียน 
ภาษาอังกฤษ ค้นที่คำว่า traffic cone ค่ะ
อาจารย์เติมคำนี้ "เลี้ยวอ้อมไปแบบวงเวียน  "  น่าจะสมบูรณ์แล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 มิ.ย. 16, 15:25
หลวงพ่อมงคลบพิตร  เมื่อยังไม่ได้ซ่อม
ภาพแรกน่าจะไม่ค่อยได้เห็น
ภาพที่สองเคยเห็นบ่อย เอามาเปรียบเทียบกัน
ออกนอกกรุงเทพไปอยุธยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.ค. 16, 09:22
เสาไฟสัญญาณจราจร บริเวณแยกแปลงนาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.ค. 16, 10:55
เสาไฟสัญญาณจราจร บริเวณแยกแปลงนาม

ผมไปอ่านประวัติเสาไฟจราจรของโลก  ตั้งแต่เมื่อวานสนุกดี
เสาไฟจราจรอันแรกของโลกอยู่ที่อังกฤษใกล้รัฐสภา ประมาณ ปี 2403 กว่าๆ
เป็นเสาสูง 22 ฟุต มีแขนกางออก แขนนี้พับลงได้ 45 องศา
ใช้ไฟแก๊ส(คงเป็นแบบเคยให้แสงตามถนนในเมืองไทย)ในตอนกลางคืน
มีแค่สองคำสั่ง คือ stop กับ caution โดยใช้คนบังคับแขน
ถ้าแขนยื่นออกในแนวนอนให้  "Stop" หยุด
แขนห้อยลงมา 45 องศาคือ "Caution" ให้ไปได้
เสาแบบนี้ไปใช้แพร่หลาย ในอเมริกาอยู่พักหนึ่ง

ไฟจราจรสามสีแบบทุกวันนี้   แรกมีที่ปารีส ฝรั่งเศส ปี พศ. 2455
เอาคร่าวถ้าสนใจไปอ่านดู
เสาสั้นๆแบบนี้ไม่มีกล่าวถึงไว้

เสาแบบนี้น่าจะเป็นแค่
-ให้แสงสว่างตอนกลางคืน
-แสดงว่าเป็นสีแยก
-เป็นวงเวียน เพื่อจัดการจราจรของสี่แยก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.ค. 16, 11:46
เมื่อวานไปอยุธยาวันนี้ขอไปพระพุทธบาท
ที่ชาวพุทธไปแสวงบุญตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้

ภาพแรกที่ Wilhelm Burger  อ้างว่าเป็นเจ้าของภาพ ปี 2412  ยังคงเป็นปริศนาว่าจริงไหม
เบอร์เกอร์ เดินทางจากไทย ไปจีน ไปญี่ปุ่น
ภาพนี้บางท่านเชื่อว่าเป็นของคุณจิตร จิตราคนี

ภาพที่สอง อยู่ในมุมกล้องเดียวกัน เป็นภาพที่มีมุมสวยงาม
ไม่ทราบว่าเป็นของท่านผู้ใด

สองภาพนี้เป็นของคนเดียวกันได้ไหม?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 01 ก.ค. 16, 17:18

น่าจะมาจากต้นฉบับเดียวกันครับ
แต่อีกอันลบรูปพระกางร่มออกไป



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.ค. 16, 19:27
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ Koratian
และขอบคุณที่พิจารณาอย่างละเอียด
ตกเป็นหน้าที่ผมที่จะต้องชี้แจงว่าเป็นยังไง
ผมลองดูว่าสองภาพจะแตกตา่งกันหรือเหมือนกัน
ยอมรับว่าสองภาพเหมือนกันมาก

ภาพแรกเอียงไปทางขวา
ภาพที่สองอาคารมณฑปตั้งตรงดี
ถ้าเราเอาฟิลมภาพแรกมาอัดและมาตั้งให้ตรง relation of structures จะคงเดิม
ถ้าเราถ่ายใหม่   โดยตั้งกล้องให้มณฑปตรง relation ของสรรพสิ่งในรูปจะเปลี่ยนไป

ดูตามรูปทั้งสองแล้ว relation อาคาร เจดีย์ ต้นไม้เมื่อเทียบกัน แทบจะเป็นอันเดียวกัน
เหมือนกับว่าเอาฟิล์มมาอัดใหม่
แต่มีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง ตามวงกลมที่ผมวงไว้
ไม่รู้ว่าจะ significant หรือไม่
เพราะภาพถ้าเราจัด brightness contrast gamma color ต่างกันทำให้ดูต่างกันไปได้

ในยุคอนาลอคการลบหรือเพิ่ม สิ่งของในภาพไม่รู้ว่าทำกันยากง่ายแค่ไหน
เพราะในภาพที่สองที่มีพระยืนอยู่เป็นภาพในหนังสือเมื่อปี พศ.2447

ในวงกลมสีส้ม ถ้าเป็น artifact  ในฟิล์ม ก็คงจะเป็นภาพเดียวกันอย่างแน่นอน

ภาพทั้งสองเมื่อเอามาเทียบกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.ค. 16, 19:33
ที่มาของภาพที่สอง
เป็นหนังสือในห้องสมุด ตามรูป
ได้ภาพนี้โดยบังเอิญแท้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 ก.ค. 16, 00:40

ตามลายแทงที่คุณ visitna ให้มา
หนังสือ The Kingdom of Siam (1904) ใน Preface บรรณาธิการบอกว่า
ข้อมูลทั้งหลายเขียนโดยชั้นผู้ใหญ่ของไทยหลายๆคนครับ
ดังนั้นภาพที่เอามาใส่ จึงน่าจะเป็นแบบที่บรรดาเหล่าลูกน้องบริวารทั้งหลายจัดมาให้
เอามาใส่ประกอบบรรยากาศในแต่ละบท และบางครั้งไม่ตรงกับเนื้อความเท่าใดนัก

ลองเปรียบเทียบ รูปมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีในหน้า 85 กับหน้า 219 ของหนังสือเล่มเดียวกัน
จะเห็นว่าทั้งสองภาพถ่ายในระยะเวลาห่างกันหลายปี และภาพที่มีพระกางร่มน่าจะเก่ากว่าครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.ค. 16, 07:38

ตามลายแทงที่คุณ visitna ให้มา
หนังสือ The Kingdom of Siam (1904) ใน Preface บรรณาธิการบอกว่า
ข้อมูลทั้งหลายเขียนโดยชั้นผู้ใหญ่ของไทยหลายๆคนครับ
ดังนั้นภาพที่เอามาใส่ จึงน่าจะเป็นแบบที่บรรดาเหล่าลูกน้องบริวารทั้งหลายจัดมาให้
เอามาใส่ประกอบบรรยากาศในแต่ละบท และบางครั้งไม่ตรงกับเนื้อความเท่าใดนัก

ลองเปรียบเทียบ รูปมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีในหน้า 85 กับหน้า 219 ของหนังสือเล่มเดียวกัน
จะเห็นว่าทั้งสองภาพถ่ายในระยะเวลาห่างกันหลายปี และภาพที่มีพระกางร่มน่าจะเก่ากว่าครับ

ภาพในหนังสือเล่มนี้เอามาจากรูปที่มีขายตามร้านในระยะนั้น
ไม่ได้จัดการถ่ายเพื่อหนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะ

ภาพในห้องเรียนภาพนี้คงเห็นกันบ่อยมี แบบรูปและแบบโปสการ์ด
เป็นของสยามโฟโต สัปพลาย ของโรเบอร์ต เล็นส์
ผมหวังว่าวันหนึ่งเราจะได้ดูภาพที่ชัดจนอ่านข้อความในกระดานได้
ตอนนี้ยังหาที่ชัดมากๆไม่ได้(ภาพนี้มีอยู่ในหนังสือ The Kingdom of Siam 1904 ด้วย)
ในภาพนี้พอจะเห็น เลข ๕๑๐ มีคำว่า หญิง  น่าจะเป็นการสอนวิชาเลข


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.ค. 16, 08:18
ห้องเรียน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 02 ก.ค. 16, 09:13
    ๑ ห้องเรียนโปร่งโล่ง เพดานสูง อากาศถ่ายเทดี แสงสว่างพอเพียง
    ๒ นักเรียน สวมเครื่องแบบสะอาดเรียบร้อย นั่งตัวตรง ตั้งอกตั้งใจฟังคุณครูสอนวิชา
    ๓ มีกระดานดำเป็นอุปกรณ์การสอน นักเรียนมีสมุดหนังสือครบทุกโต๊ะ
    ๔ แถวโต๊ะเก้าอี้นักเรียนเข้าแนวเดียวกันเป๊ะ ไม่มีการล้ำเส้น
    ๕ สัดส่วนครู ๓ คนต่อนักเรียน ๓๐
       แสงสว่างจากหน้าต่างห้องเรียนจะรบกวนสายตานักเรียนหรือเปล่า เข้าทางด้านหน้าเต็มๆ
       อาจทำให้มองกระดานดำไม่ชัด

       


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 02 ก.ค. 16, 09:22
มโนภาพห้องเรียนใน"เรือนไทย" น่าจะประมาณนี้
อาจจะทันสมัยกว่านี้นิดนึง และมีนักเรียนออกไปยืนขาเดียวคาบไม้บรรทัดน้ำลายยืดอยู่บ้าง
ที่ต่างมากคือนักเรียนส่วนใหญ่วัยค่อนข้างใกล้คุณครู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.ค. 16, 11:02
ภาพโรงเรียนเด็กหญิงตามข้างต้น  น่าจะหาข้อมูลง่าย
แต่จริงๆแล้วยาก ที่จะระบุว่านี่คือโรงเรียนอะไร
ข้อมูลเบื้องต้น  รร.นี้ต้องมีมาก่อนปี พศ 2446-2447

โรงเรียนสตรีในกรุงเทพที่เรารู้จักโรงเรียนแรกคือ รร.วังหลัง
ของแหม่มเฮาส์ก่อตั้งเมื่อ พศ.2417
ดูครูสอนเป็นคนไทยล้วนน่าจะไม่ใช่ รร.วังหลัง(แต่ยังมีโอกาสเป็นไปได้ )

โรงเรียนที่สองคือ รร.เสาวภา ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ อยู่ถนนบ้านหม้อ(ใกล้โรงเรียนสวนกุหลาบ)
ก่อตั้งปี 2440  รร.นี้เดิมอยู่บนเกาะสีชัง เป็นการตอบแทนนํ้าใจชาวเกาะที่เป็นห่วงคราวสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์ป่วย
ย้ายมาที่กรุงเทพปีไหน?

โรงเรียนที่สาม คือโรงเรียนที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ทรงก่อตั้งอีกโรงเมื่อปี 2446
อยู่ที่หัวถนนอัษฎางค์ต่อถนนจักรเพ็ชร
เมื่อเปิดเทอมที่สองย้ายไปอยู่ที่ใหม่ริมถนนพระอาทิตย์ใกล้วังกรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์
จนถึงปี 2448 ย้ายมาตั้งที่โรงเรียนสุนันทาลัย ปากคลองตลาด พัฒนาเป็นโรงเรียนราชินีล่าง

ข้อมูลทั้งหมดจากหนังสือ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้านสังคม ปี 2352- 2453 ของ อ.ชัย เรืองศิลป์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 02 ก.ค. 16, 15:00
โรงเรียนเสาวภาที่เกาะสีชังเปิดประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๕ ปิดเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ไม่ได้ย้ายไปกรุงเทพฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.ค. 16, 15:43
อาจารย์ชัย   ท่านอาจจะพูดห้วนไปนิด คือ เอาชื่อมาใช้ใหม่
ไม่ได้ย้ายโรงเรียน   ไม่ได้ย้ายนักเรียนมา  (แต่ไม่แน่ใจว่ารื้ออาคารมาสร้างที่ กรุงเทพหรือไม่ )
รร.เสาวะภาเกาะสีชังเปิดปี 2435 ปิด 2436  เปิดได้ปีเดียวปิด
 
สมเด็จฯท่านมาตั้งโรงเรียนใหม่ที่กรุงเทพ  ชื่อเสาวภา(ผ่องศรี ?) ปี 2440  
โดยอยู่ที่บริเวณข้างโรงเรียนราชินีก่อน
แล้วต่อมาย้ายไปรวมกับ รร บำรุงสตรีวิชา ที่อยู่บ้านหม้อหลัง รร.สวนกุหลาบ
รวมเป็น รร.เสาวภา

ปัจจุบันเป็น รร.อาชีวะแต่คงชื่อ รร.เสาวภา
รร.เสาวภา นี้ เด็กสวนกุหลาบรุ่นก่อนๆ รู้จักดี
ผมไม่ได้เรียนที่สวนกุหลาบแต่มีคนเคยเล่าให้ฟัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 16, 16:59
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6507.0;attach=62182;image)

ร.ร.นี้ตั้งเมื่อไหร่ก็ตาม  แต่ยุคสมัยในภาพ เป็นสมัยรัชกาลที่ 6   น่าจะช่วงต้นหรือกลางรัชกาล  ก่อนพ.ศ. 2462  สังเกตจากการแต่งกายของครูและนักเรียนค่ะ
เด็กนักเรียนหญิงไว้จุกเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางคนปล่อยผมยาวประบ่า  บางคนไว้ผมยาว    เป็นทรงผมเด็กนักเรียนในสมัยรัชกาลที่ 6  
ครูและเด็กหญิงแต่งกายเรียบร้อยสวยงามทันสมัย   นักเรียนสวมเสื้อผ้าแบบเดียวกันเป็นระเบียบ  แสดงว่าเป็นลูกผู้มีฐานะดี   พ่อแม่สามารถตัดเสื้อให้ใส่ตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียน  ไม่ใช่เสื้อผ้าตามสะดวกอะไรก็ได้
ลักษณะห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรียน ซึ่งโอ่อ่าสำหรับยุคสมัย   โต๊ะครูและโต๊ะเก้าอี้นักเรียนจัดมาเป็นชุดสำหรับห้องเรียนโดยเฉพาะ  ไม่ใช่โต๊ะไม้ต่อเองง่ายๆ   ยิ่งโต๊ะและเก้าอี้นักเรียน สร้างมาเป็นชุด  หน้าตาเป็นของตะวันตกทีเดียว  มีเครื่องประดับห้องเช่นรูปภาพและนาฬิกาแขวนผนัง  ร.ร.ระดับปานกลางไม่มี
สันนิษฐานว่าเป็นร.ร ไฮโซ ชื่อสุนันทาลัย  พัฒนามาเป็นร.ร.ราชินีค่ะ้

นักเรียนในห้องนี้มีหลายวัย  แสดงว่ามีหลายชั้นเรียนรวมกันในห้องเดียว   ร.ร.หญิงในต้นและกลางรัชกาลที่ 6 ก็เป็นแบบนี้ละค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ค. 16, 17:54
ปัจจุบันเป็น รร.อาชีวะแต่คงชื่อ รร.เสาวภา
รร.เสาวภา นี้ เด็กสวนกุหลาบรุ่นก่อนๆ รู้จักดี
ผมไม่ได้เรียนที่สวนกุหลาบแต่มีคนเคยเล่าให้ฟัง

สมัยผม อาคารพระเสด็จมีปัญหาตึกทรุดเอียง จนต้องสรุปสร้างใหม่
คือ ตัวตึกทรุดเอียงลงเข้าหาด้าน โรงเรียนเสาวภา
สงสัยว่าบรรดาหนุ่มสก. คงจะไปยืนออกันด้านริมหน้าต่าง จนตึกทรุดเอียงกระมังครับ
??? ;D

หน้าต่างตรงหน้าต่าง     หนุ่มมองบ้างสาวมองมา
กระดาษร่อนไปหา        ตามประสาวัยคะนอง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5926.0;attach=21303;image)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 16, 19:24
ู^
คุณหมอเพ็ญทบทวนประสบการณ์?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ม.ค. 20, 16:54
ไม่รู้ว่าตรงกับจุดไหนในปัจจุบัน  ใกล้ๆ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์หรือเปล่าคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ม.ค. 20, 17:07
ไม่รู้ว่าตรงกับจุดไหนในปัจจุบัน  ใกล้ๆ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์หรือเปล่าคะ
ประมาณที่ดินเชิงสะพานมหาดไทยอุทิศครับ