เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 31 ก.ค. 14, 15:03



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ก.ค. 14, 15:03
Ямал - невероятная воронка Giant Hole in the ground - Yamal (Russia) (http://www.youtube.com/watch?v=2kMs05VaOfE#ws)

ปริศนาไซบีเรียเข้มข้น"หลุมลึกลับ"โผล่ไม่หยุด

- +

หลุมลึกลับโผล่ไซบีเรียต่อเนื่อง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้ คาดอาจเกิด
ปฏิกิริยาบางอย่างใต้พื้นดิน

ปริศนาเกี่ยวกับหลุมยุบขนาดยักษ์ที่ปรากฏขึ้นในเขตไซบีเรีย สร้างความฉงนใจให้กับนักวิทยาศาสตร์
มาตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ทันที่จะไขความลับของปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเกิดจากอะไร ล่าสุด
มีผู้พบหลุมยุบมหึมาในลักษณะเดียวกันอีกแล้วถึง 2 หลุม ในพื้นที่เขตไซบีเรีย

หลุมยักษ์ทั้งสองหลุมค้นพบโดยคนเลี้ยงกวางเรนเดียร์ ในพื้นที่ทางภาคเหนือของไซบีเรีย ตั้งอยู่ห่าง
จากกันคนละทิศละทาง โดยหลุมแรกมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 15 ม. อยู่ในคาบสมุทรยามัล เขตที่ผืน
ดินและผืนน้ำเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี เนื่องจากอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ และยังเป็นพื้นที่เดียวกับที่พบหลุมแรก

ส่วนหลุมที่ 2 ที่ค้นพบใหม่ในเวลาไล่เลี่ยกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 15 ม. อยู่ในคาบสมุทรไท
มูร์ ทางตะวันออกของเขตไซบีเรีย จากการรายงานของหนังสือพิมพ์ไซบีเรียน ไทมส์

ทั้งคู่อยู่ห่างจากกันเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร และมีลักษณะคล้ายกัน คือปากหลุมเป็นรูปกลม ที่ขอบหลุมมี
เศษดินกองไว้เหมือนถูกขุดขึ้นมา เบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์คาดว่าทั้งสองหลุมมีความลึกราว 60-100
ม. วงรอบเฉลี่ย 4 ม.

การค้นพบครั้งนี้ยิ่งตอกย้ำความงุนงงสับสนกับสาธารณชนที่พากันร่ำลือถึงที่มาที่ไป แต่จนแล้วจนรอดก็
ไม่อาจพบคำตอบที่แน่ชัดได้ จนลือกันไปว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของโลก หรือถูกอุกกาบาตพุ่ง
ชน หรือบ้างก็ลือกันไปว่าอาจเป็นฝีมือของมนุษย์ต่างดาวเลยทีเดียว

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเขตหนาวของโลก (IEC) ที่สำรวจหลุมแรกความลึก 70 ม. ตั้งแต่
วันที่ 16 ก.ค. ก็ยังมืดแปดด้าน โดย มารีนา ไลบ์มาน ผู้อำนวยการสถาบันกล่าวกับสำนักข่าว
URA.RU ว่า แม้ในขณะนี้จะยังไม่สามารถสรุปได้ แต่เชื่อว่าการปรากฏตัวของหลุมยักษ์อย่างต่อเนื่อง
จะช่วยไขข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ทีละน้อยๆ

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ทราบจากการลงไปสำรวจที่ก้นหลุมแรกก็คือ ที่ก้นหลุมเป็นทะเลสาบใต้ดินที่เย็น
จัดจนเป็นน้ำแข็ง แต่ก็ไม่มีเค้ามูลอะไรอีก ได้แต่เก็บตัวอย่างดินและน้ำแข็งมาตรวจสอบ

http://www.posttoday.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/309894/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B9%82%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94 (http://www.posttoday.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/309894/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B9%82%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ก.ค. 14, 19:53
เอาหลุมลึกลับนี้มาฝากคุณตั้งค่ะ  เผื่อนักธรณีวิทยาจะเล่าอะไรให้พวกเราฟังได้บ้าง


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ก.ค. 14, 22:59
ได้ติดตามข่าวอยู่เหมือนกันครับ 

ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องที่จะเกิดเฉพาะในเขตพื้นที่ๆมีอากาศหนาวจัด  เป็นพื้นที่ๆน้ำใต้ผิวดินเป็นน้ำแข็งเกือบตลอดทั้งปี เป็นพื้นที่ค่อนข้างจะราบ อยู่ในเขตพื้นที่ๆปราศจากต้นไม้ใหญ่  คิดว่าน่าจะเป็นพื้นที่ๆอยู่แถวๆเหนือเส้นละติจูดที่ 60 องศา น. ขึ้นไป  พื้นที่ลักษณะนี้พบในอลาสก้า แคนาดาตอนเหนือ และบางส่วนของไซบีเรียของรัสเซีย    ชื่อเรียกของพื้นที่แบบนี้ ที่ออกไปทางวิชาการ คือ arctic tundra

ในแว๊บแรกของนักธรณีวิทยา ที่ได้ยินได้ฟัง ได้เห็นในรูปภาพหรือเห็นด้วยตาของตนเอง จะนึกถึงหลุมยุบ_sinkhole_ในทันที และก็จะนึกถึงว่าใต้ผิวดินของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะต้องเป็นหินปูน_limestone     ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีถ้ำ มีโพรงอยู่ใต้พื้นดินมากมาย รวมทั้งอาจะพบว่ามีลำธารใต้ดินด้วย_subterranean stream     

พื้นที่ที่เป็นหินปูนหลายแห่งในโลกถูกน้ำกัดเซาะจนทำให้เกิดเป็นสภาพของป่าหิน_stone forest  ดังเช่น กุ้ยหลิน ในยุนนาน     บางแห่งก็กัดเซาะได้ไม่ลึก มีดินไปถมอุดอยู่ระหว่างร่องและโพรง โผล่ให้เห็นเฉพาะยอดแหลมของหิน_pinnacle     พื้นที่ๆเป็นลักษณะดังกล่าวนี้รวมเรียกกันว่า karst topography     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ก.ค. 14, 23:20
ในบ้านเราก็มีเรื่องหลุมยุบเหมือนกันนะครับ มีอยู่ทั่วไปหมดในทุกภาค  แต่ในภาคใต้จะมีมากสักหน่อย

การพบหลุมขนาดใหญ่และลึกในเขต arctic tundra นี้  ก็ยังคงใช้คำอธิบายบางส่วนคล้ายกับหลุมยุบนอกเขต  แต่กลไกและสภาพการเกิดต่างกันออกไปค่อนข้างมากทีเดียว

สงสัยว่าจะต้องเล่าเรื่องน้ำของแข็งขั้วโลก_Glacial บางส่วน ร่วมเข้าไปด้วยเสียแล้วละครับ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ส.ค. 14, 13:22
เริ่มปูเรื่องอย่างนี้ก็แล้วกันครับ

สภาพภูมิประเทศต่างๆบนโลกใบนี้ (geomorphology & landform) เกือบทั้งหมดเกิดมาจาก 4 กระบวนการ คือ กระบวนการผุพัง (weathering) กระบวนการกัดกร่อน (erosion) กระบวนการพัดพา (transportation)  และกระบวนการตกตะกอนสะสม (depodition)

กระบวนการผุพัง_weathering นั้น เกิดขึ้นได้ด้วยหลายวิธีการ คือ 
     - disintegration การแตกยุ่ยหรือแยกตัวออกจากกัน   
     - alteration การเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในตัว เนื่องจากสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกับกับตอนเกิด   
     - decomposition องค์ประกอบของเนื้อในเปลี่ยนไปเนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ (Eh=oxidation,reduction    pH=ความเป็นกรด/ด่าง  Pressure=แรงบีบ/แรงอัด   temperature=ความร้อน/ความเย็น)
     - decay เน่าเปื่อย

กระบวนการกัดกร่อน_erosion นั้น เกิดขึ้นจากการกระทำของแรงหรือพลังที่เคลื่อนอยู่รอบตัว คือ
     - wind erosion กัดกร่อนโดยแรงลม เช่น butte และ mesa ที่พบในอริโซน่า สหรัฐฯ ที่หนังคาวบอยชอบเอามาเป็นฉากหลัง ฯลฯ
     - running water erosion กัดกร่อนโดยการไหลของน้ำ เช่น ภูหินร่องกล้า บรรดาถ้ำทั้งหลาย ห้วยต่างๆ ฯลฯ
     - wave erosion กัดกร่อนโดยคลื่นทะเล  เช่น อ่าวเล็กอ่าวน้อยทั้งหลายแถบชายทะเล และรอยเว้าแหว่งในเขาหินในอ่าวพังงา ฯลฯ
     - glacial erosion กัดกร่อนโดยน้ำแข็ง เช่น fjord และอื่นๆ ที่จะเป็นเรื่องที่จะเล่าในต่อไป
     - และอื่นๆ - ความต่างของอุณหภูมิในระหว่างวัน  รากไม้ที่ชอนไชไปในรอยแตกของหิน ...     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ส.ค. 14, 10:00
เมื่อกัดกร่อนออกมาเป็นชิ้นส่วนย่อยได้ ก็ต้องมีกระบวนการนำพาออกไป ซึ่งก็คือตัวกลางต่างๆ
    - gravity  เป็นไปตามกฎของแรงดึงดูด (แรงโน้มถ่วง) เช่น วัตถุเคลื่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
    - ลม เช่น การนำพามวลทรายในทะเลทรายให้เคลื่อนที่
    - น้ำไหล ก็ดังที่เห็นๆกันอยู่ในชีวิตประจำวัน
    - คลื่นลมทะเล 
    - น้ำแข็ง (glacier) เช่น ก้อนหิน ตะกอนทั้งหลายที่ถูกอุ้มอยู่ในธารน้ำแข็ง

เมื่อความสามารถของตัวกลางในการนำพา (competency) ให้วัตถุเคลื่อนที่ไปลดลงหรือหมดไป วัตถุเหล่านั้นก็จะหยุดอยู่กับที่ ซึ่งก็คือการตกตะกอน (deposition).....(ย้อนไปดู ปรากฎว่าพิมพ์ deposition ผิดไป กลายเป็น depodition   ขออภัยครับ)......คราวนี้มีหลากหลายชื่อมากเลยครับ คงจะไม่สามารถกล่าวถึงทั้งหมด เอาพอเป็นสังเขปเบาๆ เช่น ในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำก็มี อาทิ delta, mud lump, subaerial levee, mouth bar, mud flat, ฯลฯ  หรือบริเวณชายฝั่งทะเลก็มี อาทิ berm, tidal flat, offshore sand bar, spits (..แหลมตะลุมพุก) ฯลฯ

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนเล็กน้อยที่เรียนกันในวิชา Geomorphology (Landform processes) แต่ไปเข้าใจในกระบวนวิธีการของแต่ละเรื่องในวิชา Sedimentology


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 14, 16:16
ดิฉันเป็นคนเรียนวิชาภูมิศาสตร์ไม่เข้าหัวเลย      ยิ่งมาเจอธรณีวิทยายิ่งตายสนิท
เดาจากสภาพหลุมว่าข้างใต้มันคงเป็นโพรง หรือพื้นดินที่ไม่แน่น   ก็เลยเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นค่ะ

ไปหายอด 10 หลุมลึกลับบนพื้นโลกมาให้คุณตั้งดูเพิ่มเติมค่ะ   หลุมบางแห่งสวยมากๆ

http://www.smashinglists.com/top-10-strange-holes-in-the-world/ (http://www.smashinglists.com/top-10-strange-holes-in-the-world/)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 14, 16:17
บางหลุมน่าจะเรียกว่าธรณีสูบของจริง


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ส.ค. 14, 10:24
ข่าวเกี่ยวกลับหลุมลึกลับนี้ ในฝ่ายทางนักสำรวจค้นหาปิโตรเลียม ให้ความเห็นว่า เดิมอาจจะมีก๊าซอยู่ใตดินแล้วปะทุ ขึ้นมาเหนือดินทะลุชั้นหินทำให้ เป็นการระเบิดจากในสู่นอกครับ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ส.ค. 14, 19:30
เลียบค่ายนานไปหน่อยนะครับ
เพียงตั้งใจจะเล่าให้ครบองค์ว่า องค์ประกอบในการพิจารณาและสรุปว่าเกิดอะไรขึ้นนั้น ก็คือ การเข้าใจ geomorphological processes
และเลยต้องขอข้ามเรื่องการเกิดและลักษณะภูมิประเทศอันเกิดมาจากกระบวนการของน้ำแข็ง (glacier landform) เพื่อความรวดเร็วครับ ทั้งนี้หากยังสนใจอยู่ก็จะเล่าในภายหลังครับ

เข้าเรื่องเลยครับ คือ

ข้อมูลพื้นฐาน
    - หลุมลึกลับนี้พบอยู่ในพื้นที่ราบชายฝั่งมหาสมุทร ในแถบเขต arctic circle  (เขตแหลม Yamal ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ Siberia)   ซึ่งหมายความว่า เป็นเขตอากาศเย็นจัด เย็นขนาดทะเลเป็นน้ำแข็งหนาในฤดูหนาว (ถึงระดับต้องใช้เรือตัดน้ำแข็งแน่ๆ) ส่วนในบริเวณที่เป็นผืนแผ่นดินก็จะเกิดมีสภาพ permafrost คือ น้ำในเนื้อดิน ในโพรงใต้ดินแข็งเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี  ทำให้ในพื้นที่ลักษณะเช่นนี้ มีพืชพรรณไม้ที่เกิดขึ้นเป็นพวกพืชคลุมดินเท่านั้น ไม่มีพวกไม้ยืนต้นที่ต้องหยั่งรากลึกลงไปในดิน (ดังพื้นหลังของภาพที่เขาถ่ายออกมา) ก็เนื่องจากต้นไม้ไม่สามารถแหย่รากให้งอกลึกลงไปในดินซึ่งแข็งเป็นน้ำแข็งทั้งปีได้   แต่หากจะบอกว่า ก็เห็นมีต้นไม้เป็นป่าเลย อยู่เขตไซบีเรียนี่ (+ Siberian tiger  ;D)    ครับ ก็มีได้เพราะอยู่ในเขตที่ละติจูดที่ต่ำลงมา ที่มี permafrost ไม่รุนแรงมาก     
(บริเวณรอยต่อของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมือนกันสองประเภทนี้ เขาเรียกว่า ecotone)   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ส.ค. 14, 20:01
พื้นที่ของแผ่นดินที่เป็นที่ราบกว้างขวางบริเวณรอยต่อกับทะเลนี้ เกิดมาจากกระบวนการตกตะกอนมากกว่าที่จะเกิดมาจากกระบวนการกัดกร่อน

พื้นที่ราบที่เกิดมาจากกระบวนการตกตะกอนซึ่งมีระดับไม่สูงกว่าระดับน้ำทะเลนี้ เป็นบริเวณที่พลัง (competency) ของกระบวนการธรรมชาติน้อย  ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ตกจะกอนของตะกอนขนาดเล็ก ที่เราเรียกว่าดินโคลน

ในแต่ละปีจะมีสภาพทางธรรมชาติเกิดสลับกัน คือ หิมะตกหรืออากาศเย็นจนอยู่ในภาวะเยือกแข็งเป็นน้ำแข็งเป็นเวลานาน กับมีช่วงฤดูที่น้ำแข็งละลายจนเห็นผิวดินและมีน้ำชุ่มฉ่ำและเกิดการงอกเงยของพืชในกลุ่ม moss และ lichen พืชตระกูลหญ้า      แล้วก็กลับไปเย็นจัดจนพืชตายแล้วก็เกิดใหม่ เป็นวัฏจักรนานนมชั่วนาตาปี เป็นพันเป็นหมื่นปี 

เราจึงเห็นดินเป็นชั้นๆสลับกันระหว่างสีเทาอ่อนกับสีดำ เรียกกันว่า varve clay       เ

อ..clay กับ  mud ต่างกันตรงใหน..?


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 14, 15:41
ไทม์ออฟอินเดีย - ทะเลสาบลึกลับปรากฏขึ้นมาอย่างปริศนาในทะเลทรายของประเทศตูนิเซีย แปรเปลี่ยนผืนแผ่นดินที่อ้างว้างกลายเป็นชายหาดอย่างฉับพลันภายในชาติที่ถูกครอบงำด้วยภาวะภัยแล้ง พร้อมกันนั้นยังดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายร้อยคน แม้มีคำเตือนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนสารพิษก็ตาม
      
       ทะเลสาบแห่งนี้ถูกพบโดยคนเลี้ยงแกะทะเลทรายเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน และจนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถหาคำอธิบายได้ว่าทะเลสาบที่ได้รับการตั้งชื่อว่า “กัฟซา บีช (Gafsa Beach)” โผล่ขึ้นมาอย่างฉับพลันได้อย่างไร
      
       ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่า ทะเลสาบแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ราว 6.25 ไร่ มีความลึกระหว่าง 10 ถึง 18 เมตร ดังนั้นจึงคาดหมายว่าปริมาณน้ำในทะเลสาบน่าจะอยู่ราวๆ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000087592 (http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000087592)

بحيرة قفصة: مياه مغرية للسباحة لكنها خطرة (http://www.youtube.com/watch?v=rpMhlQXp8P0#ws)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 14, 18:10
ต่อเรื่องหลุมลึกลับก่อนนะครับ

ผมไปหยุดตรงที่มีชั้นดิน 2 สีวางตัวสลับกันตลอดความหนาของชั้นดิน

ชั้นสีดำนั้นมาจากจากการเน่าเปื่อย ย่อยสลายของพืช
   - ในสภาพมีอากาศ (มีอ๊อกซิเจน) โดยกลุ่มแบคทีเรียที่ใช้อากาศหายใจ (aerobic bacteria) ซึ่งแบคทีเรียพวกนี้นิยมกินส่วนนิ่มๆของพืช เช่นเนื้อในของเซล (cytoplasm) เหลือแต่โครงของเซลที่เป็น cellulose  สิ่งที่เหลือจึงคือเศษพืชที่ยังเห็นโครงสร้างเป็นกิ่งไม้ เป็นก้าน ทำนองนี้
   - กับอีกสภาพหนึ่งที่ไม่มีอากาศ (ไม่มีออกซิเจน) โดยกลุ่มแบกทีเรียที่ไม่ใช้อากาศในการหายใจ (anaerobic bacteria) คือในสภาพที่มีดินตะกอนละเอียดปิดทับจนไม่มีการถ่ายเทของอากาศ  ซึ่งแบคทีเรียพวกนี้ดำรงชีพด้วยการใช้ออกซิเจนจากแร่ธาตุและสารประกอบในธรรมชาติที่เป็นพวก  sulfate (_SO4) เมื่อดึงเอาออกซิเจนออกไปใช้แล้ว ก็จะเหลือแต่กำมะถัน (Sulphur) ซึ่งจะไปจับคู่กับธาตุเหล็กและก๊าซไฮโดรเจน เป็นแกสไข่เน่า ที่เรามักได้กลิ่นในป่าชายเลน   แบคทีเรียพวกนี้กินดะ ไม่สนว่าจะเป็นเนื้อนิ่มๆหรือแข็ง  ผลก็คือพืชถูกย่อยสลายจนไม่เหลือโครงสร้างให้เห็น (คือ เละเป็นโจ๊กไปเลย)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 14, 18:50
ในดงของป่าชายเลน เราจึงมักจะเห็นเศษต้นไม้อยู่แต่บนผิวดิน พอขุดลึกลงไปสักหน่อยก็จะเป็นแต่ดินโคลนสีดำ ก็เพราะบริเวณพื้นผิวและใต้ดินลงไปไม่ลึกนักนั้น เป็นที่อยู่และอุดมไปด้วย aerobic bacteria  พอลึกลงไปก็เป็นที่อยู่ของพวก anaerobic bacteria

สีดำนั้นเกิดมาจากสารประกอบที่คงเหลือ คือ คาร์บอนกับไฮโดรเจน    ซึ่งมาจากการตัด ย่อย หรือแยก เอาออกซิเจนออกไป ให้เหลือแต่ไฮโดรเจนกับคาร์บอน ที่เรียกกันว่า ไฮโดรคาร์บอนนั่นแหละ   (องค์ประกอบหลักทางเคมีของสิ่งมีชีวิต ก็คือ Hydrogen, Carbon, Oxygen)   

ไปเรื่องเคมีนิดนึงนะครับ   แบคทีเรียทั้งหลายจะช่วยย่อยสลาย โดยไปกัดกินส่วนที่เป็นสายโยงเชื่อมต่อยึดโยงระหว่างโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนทั้งหลาย (ซึ่งเป็นพวกโมเลกุลขนาดไม่ใหญ่และเบา เช่น มีเทน) ทำให้เกิดการคายหรือปล่อยก๊าซมีเทนออกมาสู่บรรยากาศ (เป็นแกสเรือนกระจกเหมือนกัน) และทำให้โมเลกุลที่ใหญ่กว่าขยับมาใกล้กัน เกิดเป็นมวลหนาหนักเทอะทะ (เช่น C8H16)   
    หากต้นกำเนิดเป็นพืช ผลก็จะเป็นถ่านหินและกาซ  และหากเป็นสัตว์ ผลก็จะเป็นน้ำมันและกาซ       


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 14, 19:40
ทุ่งหญ้าในพื้นที่ที่พบหลุมนี้ จะเป็นพื้นที่ชื้นแฉะ จะเรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ก็คงไม่ผิด มีพืชคลุมดินมากมายหนาแน่น และคงจะทับซ้อนกันจนหนา  เมื่อตายไป ถูกปิดทับด้วยน้ำแข็ง พอน้ำแข็งละลายก็เกิดใหม่อยู่บนพวกเก่าที่ตายไป  ส่วนที่ตายรองพื้นอยู่ข้างใต้นั้นจะค่อยๆถูกเปลี่ยนไปเป็น peat (ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนต่อไปด้วยความร้อนและความดันที่เพิ่มขึ้นให้เป็น brown coal เป็น lignite แล้วก็อาจจะเป็น anthracite ในที่สุด)

พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า bog land ก็ได้ เรียกว่า bog swamp ก็ได้     พื้นที่พรุทั้งหลายในปักษ์ใต้บ้านเรา ก็เข้าข่ายใช้ชื่อนี้เรียกได้  และที่เกิดไฟใหม้พรุที่เกิดด้วยตนเองโดยธรรมชาติทั้งหลายนั้น ก็เกิดเพราะการสันดาบของสารประกอบ เหล็กและกำมะถัน ที่เป็นผลิตผลมาจากการดำรงชีวิตของ anaerobic bacteria นั่นเอง


anaerobic bacteria มันทำให้เราตายได้ไม่ยากนัก เมื่อเกิดแผลลึกและเป็นแผลปิดจึงต้องทำการฉีดยาบาดทะยักกันไว้ก่อนเสมอครับ  แม้กระทั่งการกินเครื่องกระป๋องที่เก๋าเกิน หรือบรรดาของต้มเก็บในปี๊บ ก็อาจบริโภคแบคทีเรียพวกนี้เข้าไปได้   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 14, 19:41
นอกจากเราจะเห็นในภาพว่ามีชั้นตะกอนดินสลับสีกัน แล้วเรายังเห็นร่องรอยเป็นลายเส้น (striae) ในแนวดิ่ง ซึ่งแสดงถึงว่ามีอะไรสักอย่างมาครูดกันและทิ้งร่องรอยไว้  อันนี้ง่ายมาก เพราะลักษณะเช่นนี้เกือบจะเป็นเอกลักษณ์ของการกัดกร่อนแบบเสียดสีจากน้ำแข็ง  (ใน glacier นั้นไม่ใช่น้ำสะอาด มีเม็ดกรวด หิน ดิน ทรายเต็มไปหมด เป็นกระดาษทรายอย่างดีเลยทีเดียว)

ถึงตรงนี้ก็พอจะสรุปได้แล้วว่า ฉาก ตัวแสดงหลัก ตัวรอง ตัวประกอบในเรื่องนี้จะมีหน้าตาท่าทางเป็นอย่างไร

คำตอบแบบง่ายๆ คือ เป็นเรื่องของแกสระเบิด ในสิ่งแวดล้อมที่สภาพ permafrost เปลี่ยนไป   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ส.ค. 14, 19:59
เรื่องราวน่าจะเป็นดังนี้ครับ

โลกได้เกิดยุคน้ำแข็ง (glacial period หรือ ice age) ครั้งหลังสุด เริ่มเมื่อประมาณ 100,000+ ปีมาแล้ว ทำให้น้ำในมหาสมุทรต่างๆได้ลดระดับลง จนทำให้หลายพื้นที่ได้กลายเป็นแผ่นดินเชื่อมติดต่อกันเป็นผืนใหญ่  เกิดมีการเคลื่อนย้ายพื้นที่หากินและถิ่นอาศัยของสรรพสัตว์บกกระจัดกระจายไปในที่ต่างๆที่เป็นแผ่นดิน (รู้ได้จากซากและ fossil ต่างๆ) รวมทั้งพืชพันธ์ุไม้ต่างๆด้วย (รู้ได้จากการศึกษาเกษรของพืช_pollen_ในชั้นดินต่างๆตามหลักวิชา Palynology)    เป็นยุคที่มีมนุษย์และเพื่อนมนุษย์ในสกุล Homo เกิดอยู่ในโลกนี้แล้วแน่นอน 

เมื่อเข้าสู่ยุคน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลของโลกโดยรวม (eustatic sea level) ก็ค่อยๆจะสูงขึ้น  ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีช่วงเวลาของระดับน้ำสูงและต่ำอย่างที่เราประสบพบกันในโลกทุกๆวันนี้  ในคาบสมุทร Yamal ที่พบหลุมลึกลับก็เช่นกัน     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ส.ค. 14, 18:26
ระดับน้ำทะเลที่สูงต่ำในแต่ละช่วงของปี ทำให้เกิดมีตะกอนแผ่เข้ามาสะสมได้ตามการขึ้นลงของระดับน้ำ ผนวกกับการมีฤดูเย็นจัดกับฤดูอบอุ่นสลับกัน ทำให้มีฤดูน้ำแข็งปกคลุมและมีฤดูน้ำแข็งละลายชุ่มฉ่ำสลับกัน ทำให้พืชเกิดเติบโตและตายสลับกัน

พืชที่ตายไปจะแปรเปลี่ยนไปเป็นดินอินทรีย์ (ดินดำ_humus) ซึ่งกระบวนการย่อยสลายไปเป็นดินอินทรีย์นี้ เป็นกระบวนการที่ได้ผลิตผลส่วนหนึ่งเป็นแกสมีเทน (การคายหรือปล่อยแกสออกมา)     ตะกอนดิน (clay) และทรายที่ละเอียด (silt) ก็จะเข้ามาเข้ามาปิดทับพืชที่ตายในแต่ละปี (เพราะน้ำทะเลในชายทะเลที่ค่อนข้างราบจะไม่มีความสามารถ (competency) ในการนำพาตะกอนขนาดใหญ่เข้ามา)
 
ผลก็คือ ในระหว่างการย่อยสลายแปรสภาพของพืช ซึ่งในขณะที่กระบวนการยังไม่สิ้นสุดและยังคงมีการคายแกสมีเทนออกมาอย่างต่อเนื่องนั้น  ก็เกิดมีตะกอนดินมาปิดทับ นานเข้าตะกอนดินก็จะหนัก เกิดการบดอัดทำให้น้ำที่อยู่ในระหว่างเม็ดของตะกอนดินทรายละเอียดนั้นถูกบีบดันตัวแทรกตัวหนีออกมา ไปรวมตัวอยู่เป็นกระเปาะ (pocket) บ้าง  หรือเซาะเป็นช่อง เป็นท่อ เป็นปล่องขึันไปสู่ผิวดิน     



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ส.ค. 14, 19:20
น้ำที่ถูกบีบออกมาเป็นกระเปาะและที่ค้างอยู่ในปล่องนั้น เมื่ออากาศเย็นจัดก็จะเป็นน้ำแข็ง ซึ่งหากอากาศเย็นจัดต่อเนื่องไม่อบอุนเข้าสู่ระดับที่น้ำแข็งจะละลายได้หรือได้บ้างเล็กน้อย ก็จะเกิดสภาพของพื้นที่ที่เรียกว่า permafrost คือใต้ผืนดินเป็นน้ำแข็งทั้งปี   
(รถไฟสายธิเบตของจีน เส้นทางคมนาคม อาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างทั้งหลายในหลายๆประเทศที่อยู่เหนือละติจูด 40 องศาขึ้นไป จึงเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ    งานทางวิศวกรรมในพื้นที่เช่นนี้จึงมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าปรกติมาก  ที่จริงแล้วงานทางวิศวกรรมในพื้นที่ดินอ่อนเช่นเราก็มีค่าใช้จ่ายมากเช่นกัน แต่มันเป็นแบบ ++ เสียเยอะ)

ครับ เมื่อน้ำเย็นเข้าจนเป็นน้ำแข็ง มันก็จะมีการขยายตัว (ร้อนมันก็ขยายตัวเหมือนกัน)  การขยายตัวจะมีแรงมากมายขนาดใหนก็ไม่ทราบ แต่มันก็ทำให้ขวดน้ำที่มีน้ำเต็มขวดที่ปิดฝาแล้วนำไปใส่ช่องแข็งในตู้เย็นก็เกิดขวดแตกได้     

การขยายตัวนี้ก็เกิดในกระเปาะน้ำใต้ดินและในปล่องน้ำหนีเหมือนกัน  โดยเฉพาะที่ปล่องน้ำหนีนั้น มีทั้งขยายตัวออก (เพราะมีน้ำใหม่มาเพิ่ม) และมีระดับน้ำขึ้นลง ซึ่งก็คือทำให้เกิดกระบวนการ erosion ขึ้น ปล่องเล็กก็กลายเป็นปล่องใหญ่ เกิดการขัดสีรอบๆปล่องจนเห็นลักษณะ  striae เป็นต้น 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ส.ค. 14, 19:39
ส่วนแกสมีเทนนั้น (Methane) (ซึ่งโดยความจริงแล้วมีแกสอื่นๆร่วอยู่ด้วย) บางส่วนก็จะระบายออกสู่อากาศ  แต่ก็มีส่วนที่ไม่มีช่องทางไปสู่อากาศ ก็เลยถูกกักไว้ในช่องว่างต่างๆ ทั้งในที่ที่เป็นโพรง (cavity) และในรูพรุน (porespace) ของตะกอนต่างๆ แถมถูกปิดทับด้วยชั้นผ้าห่มดิน (ชั้นตะกอนละเอียด_clay blanket) อีกหลายชั้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ชั้นตะกอนยังไม่แห้งสนิทและแข็งตัวเต็มที่นั้น (semiconsolidated) แกสต่างๆก็สามารถซึมผ่านหินตะกอนเหล่านี้ได้ ไปสะสมในที่ๆเหมาะมากกว่าได้ง่าย


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ส.ค. 14, 18:34
ในฤดูหนาว พื้นที่ทั้งหมดก็ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่แข็งตัวมาจากน้ำที่ชุมฉ่ำทั่วผิวดินและจากหิมะที่ตกมาสะสมในแต่ละปี เมื่อเข้าฤดูอากาศอบอุ่น น้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นผิวดินก็ละลาย แต่น้ำแข็งในปล่องอาจจะไม่ละลายตามไปด้วย เพราะใต้พื้นดินยังก็เย็นจัดอยู่ ยังเป็น permafrost อยู่  ก็เลยเกิดสภาพของเนินดินที่มีตะกอนดินทรายปิดทับอยู่ (hydrolaccolith)

หลุมลึกลับที่ได้เกิดขึ้นนี้ บ่งบอกเรื่องสำคัญบางประการ คือ ธรรมชาติอาจจะกำลังบอกว่า  ความเย็นจัดของอากาศและช่วงระยะเวลาของสภาพนี้กำลังลดถอยลง ซึ่งทำให้สภาพ permafrost กำลังเปลี่ยนไป     
   ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามวัฏจักรของระบบ (cycle)  หรือ อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ   
   ก็นำไปสู่หลากหลายความคิดตามความเชื่อและข้อมูลที่จะใช้อ้างอิงกัน เช่น เรื่องโลกร้อนขึ้น   เรื่องกาซเรือนกระจก  หรือเรื่องโลกกำลังเข้าสู่ยุคน้ำแข็งละลายเต็มตัว (inter-glacial period)

ครับ เมื่อน้ำแข็งละลายและ permafrost หมดไป กาซมีเทนที่สะสมใต้ดินอยู่จึงดันพลุ่งขึ้นสู่อากาศทางปล่อง ระเบิดเอาตะกอนดินทรายที่ปิดทับปากปล่องออกไปกองอยู่ข้างๆรอบปากปล่อง น้ำที่พบอยู่ก้นปล่องก็คือน้ำของกระเปาะน้ำแข็งเดิม


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ส.ค. 14, 19:10
ผืนแผ่นดินที่พบหลุมลึกลับนี้ เป็นพื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของรัสเซีย    ผมเข้าใจว่าเป็นแหล่งที่พบช้าง mammoth น้อยที่ถูกแช่เย็นไว้โดยน้ำแข็งมานาน และเป็นแหล่งที่พบงาช้าง mammoth มากมายอีกด้วย


ความสนใจเป็นพิเศษของผมในกรณีหลุมยักษ์ลึกลับนี้ คือ เรื่องของ methane hydrate หรือ methane clathrate  ซึ่ง คือ ก๊าซมีเทนที่จับตัวกันเป็นแน่นในโครงสร้างคล้ายน้ำแข็งสะสมตัวร่วมอยู่กับตะกอนดินทราย ซึ่งมีการค้นพบในหลายๆแห่งในโลกแล้วในบริเวณที่มีน้ำเย็นจัด หรือในน้ำลึก (เช่น ในอลาสกา ในทะเลสาปไบคาล และในตะกอนที่ฐานของไหล่ทวีป)  ครับก็เป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่น่าสนใจ ซึ่งขณะนี้รู้ว่ามีศักยภาพที่น่าสนใจ แต่จะควบคุมมันอย่างไรดี 

ครับ หลุมที่เกิดก๊าซดันพลุ่งออกมานี้ มาจาก methane hydrate หรือเปล่าก็ไม่รู้ ???


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ส.ค. 14, 19:38
คำอธิบายเรื่องของหลุมลึกลับก็น่าพอเพียงเท่านี้นะครับ 

ไม่ทราบว่าจะทำให้พอเห็นภาพได้บ้างหรือไม่ครับ ว่าเกิดได้อย่างไร
   
ส่วนสำหรับเรื่องคำอธิบายจะพอฟังได้หรือไม่ รวมทั้งจะถูกจะผิด หรือจะเชื่อได้หรือไม่นั้น ก็สุดแท้แต่จะพิจารณา ซึ่ง ณ ขณะนี้ น่าจะมีข้อมูลจากการสำรวจเพิ่มเติมและมีคำอธิบายที่สอดคล้องกับสิ่งที่พบ ลองควานหาเปิดอ่านดูครับ

ดินแดนนี้เป็นหนึ่งในความฝันของผมที่อยากจะไปเข้าไปสัมผัส  เป็นอีกหนึ่งของ wilderness ที่อยากจะเข้าไปมีประสบการณ์ โดยเฉพาะการเดินทางโดยใช้รถตีนตะขาบ (track vehicle) และการพักแรมแบบชนบทท้องถิ่นกับพวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน





กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 14, 14:02
ขอขอบคุณคุณตั้งอย่างมาก  ที่สละเวลามาให้ความรู้ในเรื่องที่หายากอย่างในกระทู้นี้ค่ะ      ดิฉันได้แต่นั่งฟังอย่างเดียวเวลาคุณตั้งตั้งอกตั้งใจติวความรู้ให้   แต่ก็ได้ความรู้อะไรหลายอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อน

ก่อนจบกระทู้นี้ เจอข่าวหลุม(ไม่)ลึกลับอีกแล้ว

โคราชผวา ! เขาใหญ่เกิดแผ่นดินยุบ พบโพรงหินปูนใหญ่อื้อ-จี้เร่งสำรวจป้องกัน

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา-โคราชผวาเขาใหญ่แผ่นดินยุบ พบโพรงหินปูนขนาดใหญ่เสี่ยงเกิดแผ่นดินทรุดและยุบตัวอื้อ เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องหารือแนวทางการป้องกันด่วน เผยประสานสำนักธรณีวิทยาลงสำรวจพื้นที่เสี่ยง 12 ตำบล อ.ปากช่อง และ 2 ตำบล อ.วังน้ำเขียว เพื่อให้รู้ข้อมูลแท้จริง ด้าน ผอ.สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน เสนอ 4 มาตรการเพื่อป้องกัน เผยผลสำรวจแม้เสี่ยงไม่สูงแต่บางจุดน่าเป็นห่วงและมีโอกาสเกิดหลุมยุบได้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้เรียกประชุมด่วนการป้องกันและแก้ไขปัญหาโพลงหินปูนในพื้นที่เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 8 ส.ค. โดยมี นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา , ตัวแทนสำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 5 นครราชสีมา , สำนักงานธรณีวิทยาเขต 2 (ขอนแก่น) , ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา ,สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา และ ผู้แทนทหารจากมณฑลทหารบกที่ 21 (มทบ. 21) กองทัพภาคที่ 2
       
       นายชยาวุธ กล่าวว่า สืบเนื่องกรณีที่ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ได้เปิดเผยผลสำรวจทางธรณีวิทยาบริเวณพื้นที่เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พบว่า เกิดโพรงหินปูนซึ่งเสี่ยงจะเกิดแผ่นดินทรุด และยุบตัวมากขึ้น หากมีการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้จำนวนมาก รวมทั้งหินปูนดังกล่าวได้ไหลอุดตันการไหลเวียนของแหล่งน้ำใต้ดิน ขัดขวางการอุ้มน้ำไว้ในพื้นที่ภูเขา ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลากได้ ฉะนั้น เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาหารือและเตรียมแผนรองรับเช่นกัน
       
       ทั้งนี้จากรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปได้ว่า โพรงหินปูนที่มีจำนวนมากในพื้นที่ อ.ปากช่อง 12 ตำบล และ อ.วังน้ำเขียว อีก 2 ตำบล นั้น ยังไม่อยู่ในระดับที่เสี่ยงมากเหมือนบางพื้นที่ของภาคใต้ โดยหลุมยุบที่พบในพื้นที่ ต.หมูสี อ.ปากช่อง นั้นเกิดมานานกว่า 30 ปีแล้ว ซึ่งโพรงหินปูนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังค่อนข้างแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงในบางจุดซึ่งจะต้องหาแนวทางในการป้องกัน
       
       ขณะที่สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 5 นครราชสีมา ระบุว่า บ่อน้ำบาดาลที่เจาะบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง มีความลึกระหว่าง 15-60 เมตร ระดับน้ำบาดาล อยู่ระหว่าง 5-20 เมตร ขึ้นอยู่กับว่าบ่อน้ำบาดาลนั้น เจาะบนที่ลุ่มหรือเนิน การไหลของน้ำบาดาล พบว่าเส้นระดับน้ำบาดาลในพื้นที่รอบอุทยานฯ มีระดับความสูง 300-380 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีทิศทางการไหลลงสู่ลำห้วยสายต่างๆ ที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งระดับกักเก็บน้ำสูงสุดของอ่างอยู่ที่ 278.5 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
       
       จะเห็นได้ว่าระดับน้ำบาดาลอยู่สูงกว่าระดับกักเก็บน้ำของอ่างฯ จึงยังคงมีน้ำบาดาลไหลลงสู่อ่างอย่างต่อเนื่องจึงไม่เป็นสาเหตุที่จะทำให้ลำตะคองแห้งและพื้นที่ดังกล่าวเป็นหินปูนที่มีความแข็งแรงเก็บน้ำได้ดี เสี่ยงต่อการเกิดการยุบตัวของดินด้านบนได้น้อย
       
       อย่างไรก็ตามทางจังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจได้เสนอให้หน่วยงานด้านธรณีวิทยาลงมาสำรวจพื้นที่เสี่ยงใน อ.ปากช่อง และวังน้ำเขียวเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและเพื่อให้ความกระจ่างแก่ประชาชนซึ่งหากมีความเสี่ยงสูงจะได้เตรียมการในการรับมือได้อย่างทันท่วงที
       
       ด้าน ผศ.ดร.ประเทือง เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในช่วงที่ผ่านมา ได้พบกับหลุมยุบในพื้นที่ ต.หมูสี และมีน้ำผุดซึ่งเกิดจากการโพรงหินปูนดังกล่าวหลายแห่ง โดยพื้นที่เสี่ยงที่มีโพรงหินปูนอยู่ใน 12 ตำบลของ อ.ปากช่อง ประกอบด้วย ต.ปากช่อง, กลางดง ,จันทึก, วังกระทะ ,หมูสี, หนองสาหร่าย, ขนงพระ, โป่งดาลอง, คลองม่วง, หนองน้ำแดง, วังไทร และ ต.พญาเย็น ส่วนที่ อ.วังน้ำเขียว มี 2 ตำบล คือ ต.วังน้ำเขียว และ ต.ระเริง
       
       ทั้งนี้ทางสถาบันฯ ได้เสนอให้ทางจังหวัดหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไข ประกอบด้วย 1. ควรมีการสำรวจโดยกรมทรัพยากรธรณี หรือ กรมทรัพยากรน้ำบาดดาล เพื่อให้เห็นลักษณะและโครงสร้างโพรงหินปูนใต้ดินใน อ.ปากช่อง โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ที่มีสิ่งก่อสร้างต่างๆ แล้วเผยแพร่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นหรือประชาชนได้รับทราบ
       
       2. หลุบยุบเป็นภัยที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ใน อ.ปากช่อง จึงควรมีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องภูมิประเทศศาสตร์ ในโรงเรียน 12 ตำบลของ อ.ปากช่อง และ 2 ตำบลใน อ.วังน้ำเขียว
       
       3.ควรมีการจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ศาสตร์ของ อ.ปากช่องและ อ.วังน้ำเขียวโดยกำหนดให้อยู่ในข้อกำหนดงานของการจัดทำอุทยานธรณี ตามเกณฑ์ของยูเนสโก
       
       และ 4. ควรจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์เผยแพร่ใน อ.ปากช่อง เช่น ภัยจากหลุมยุบสามารถป้องกันได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้นำเสนอไปทางจังหวัดนครราชสีมาเรียบร้อยแล้ว

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000090716 (http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000090716)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ส.ค. 14, 19:26
ขอบคุณสำหรับคำขอบคุณครับ   

แล้วก็ต้องขอขอบคุณ อ.เทาชมพู ย้อนกลับไป   ที่ได้เลือกตั้งประเด็นขึ้นมา    เป็นความตั้งใจของผมอยู่แล้วที่จะพยายามระบายความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการคืนไปให้กับชนรุ่นหลังให้มากที่สุด แต่ช่องทางที่จะกระทำได้นั้นมีจำกัดมาก   จะไปตั้งหัวข้อเอง ตั้งหัวเรื่องเองก็กระไรอยู่ ดูจะเป็นการอวดภูมิไปเสียมากกว่า

หลายๆครั้งก็เกิดการหงุดหงิดที่มีคำบอกเล่าอธิบายอะไรๆแปลกๆ คล้ายกับกรณีเรื่องใน คห.ของ อ.เทาชมพูก่อนหน้า คห.นี้  ที่ได้กล่าว (โดยสรุป) ว่า ระดับน้ำบาดาลในพื้นที่เนินรอบอ่างลำตะคองสูงกว่าระดับกักเก็บน้ำของอ่าง จนทำให้ (ในทำนองนี้) ไม่ต้องกลัวว่า อ่างเก็บน้ำจะแห้ง   

มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแต่มีผลน้อยนิดมากๆๆที่จะไม่ทำให้น้ำในอ่างไม่แห้งลงไป    เพราะมันเป็นเพียงระบบน้ำใต้ผิวดิน (subsurface water table) ซึ่งในธรรมชาติก็เกือบจะเรียกได้ว่ามีระดับสอดคล้องไปตามความรูปทรงและความสูงต่ำของภูมิประเทศ     ทั้งนี้ ถ้าเนินเขารอบอ่างน้ำมีต้นไม้และพืชพรรณไม้หนาแน่นสมบูรณ์ตั้งแต่ระดับพุ่มยอดของไม้ใหญ่ ลงมาถึงไม้ความสูงระดับกลาง จนถึงไม้คลุมดิน แล้วก็มีฝนตกชุ่มชื้นในปริมาณมากละก็ ก็เป็นไปได้จริงๆที่จะมีน้ำเติมเข้าอ่างตลอดเวลา  แล้วก็ยังไปเกี่ยวพันกับขนาดของพื้นที่รับน้ำ (catchment area) รวมทั้งระบบและปริมาณของลำธารสาขาอีกด้วย


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ส.ค. 14, 19:41
เลยเถิดไปไกลครับ     เพียงตั้งใจจะบอกว่า คงจะพอในเรื่องหลุมลึกลับ แล้วจะต่อไปเรื่องของหลุมยุบ (sink hole) ที่เกิดขึ้นอยู่กลางเมืองดังภาพใน คห.7  แล้วก็จะต่อไปยังเรื่องของทะเลสาบเล็กๆในทะเลทราย ใน คห.11  ก็บังเอิญ อ.เทาชมพู ได้กล่าวถึงเรื่องโพรงใต้ดินแถวๆ อ.ปากช่อง ใน คห.23

ก็จะขออนุญาตต่อไปเรื่องทะเละสาบเล็กๆในทะเลทรายก่อนนะครับ แล้วค่อยมาต่อเรื่องของหลุมยุบ   



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 14, 20:01
ทะเลสาบในทะเลทราย   Desert Gafsa Beach

Mysterious Lake Appears In The Middle Of Tunisian Desert Gafsa Beach | VIDEO (http://www.youtube.com/watch?v=Xqq5oipCH6M#ws)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ส.ค. 14, 19:11
กรณีทะเลสาปเล็กๆนี้ เมื่อดูวิดีโอแล้ว ผมพอจะเล่าเรื่องได้ดังนี้ครับ

สิ่งที่ผมเห็นในภาพมีอะไรบ้าง
   - ผมเห็นตะกอนทรายเรียงตัวทับถมกันเป็นชั้นๆเอียงเทไปในทิศทางเข้าอ่างน้ำ
   - ที่บริเวณฐานของชั้นหินที่เอียงเท เหนือระดับน้ำเล็กน้อย ผมเห็นมีโพรงซึ่งมีลักษณะเกิดจากการพังลงของชั้นหินส่วนที่ถูกปิดทับ
   - ผมเห็นมีแผ่นหินและเศษหินที่บริเวณชายหาด ในทำนองเดียวกันก็เห็นพื้นที่ปกคลุมด้วยทราย แต่ไม่หนานัก เพราะว่า คนเดินแล้วไม่ยุบดังที่เดินบนกองทรายแห้งๆ
   - ภาพข้างต้นนี้ แสดงว่าในพื้นที่นี้ รองรับด้วยทรายที่บดอัดกันแต่ยังไม่แข็งตัวเต็มที่จนกลายเป็นหินแข็ง จัดเป็นหินตะกอนประเภทที่เรียกกันว่า semi consolidated rock 

   - ผมเห็นมีไม้พุ่มเกิดอยู่ที่บริเวณหาดทราย
   - เห็นก้อนหินเป็นก้อนๆวางเรียงกันที่บริเวณรอยต่อระหว่างชายหาดกับพื้นน้ำ
   - แล้วก็เห็นตะพักชายหาด (berm) เหนือกองหินที่ได้กล่าวถึงนี้
   - ภาพนี้พอสรุปได้ว่า ทะเลสาบเล็กๆนี้ คงจะมิใช่เพิ่งจะเกิด น่าจะเป็นเพิ่งค้นพบเสียมากกว่า หรือมิฉะนั้นก็อาจจะเป็นเรื่องราวที่ปั้นขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือ......อะไรสักอย่าง


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ส.ค. 14, 20:31
คราวนี้ก็มาถึงเรื่องว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

เบื้องแรกก็ต้องปรับความคิดเสียแต่แรกเริ่มว่า ในทะเลทรายนั้นไม่ได้แห้งแล้งจนไม่มีน้ำเอาเลย

พื้นที่ๆมีสภาพเป็นทะเลทรายนั้น เกิดมาจาก 2 เรื่องผสมผสานกัน คือ โดยทั่วไปก็คือการมีฝนตกในปริมาณน้อยมากๆ หรือไม่มีฝนตกต่อเนื่องมาหลายๆปีหรือนานมากมาแล้ว  ซึ่งก็มีต้นเหตุมาจากการที่พื้นที่นั้นๆอยู่ห่างไกลมากจากชายขอบของรอยต่อระหว่างผืนน้ำกับผืนแผ่นดิน หรือพื้นที่นั้นๆถูกบังด้วยเทือกเขาสูง ไปปิดเมฆฝนมิให้พัดผ่านเข้ามาในพื้นที่

ในทะเลทรายมีน้ำบนพื้นผิวดินหรือใกล้ผิวดินที่อาจจะจำกัดอยู่เฉพาะที่และมีพื้นที่จำกัด  แล้วก็มีน้ำบาดาลอยู่ใต้แผ่นดินเช่นกัน มากน้อยต่างกันไป 

 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ส.ค. 14, 19:41
ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม ว่าอยู่ทะเลสาบนี้อยู่ที่ใหน  อ้อ อยู่ในประเทศตูนีเซียนี่  แล้วก็เลยอ้าว ก็อยู่ในอัฟริกาเหนืออีกฝั่งแผ่นดินหนึ่งที่ซึ่งฝั่งตรงกันข้ามเป็นปลายหัวรองเท้าบูทของอิตาลีซึ่งเป็นบริเวณที่มีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่  ฉะนั้น คงจะต้องประสบกับเรื่องของแผ่นดินไหวด้วย

ก็เลยพอจะได้คำอธิบายการเกิดของทะเลสาบเล็กๆนี้ ดังนี้  ค่อนไปทางเดานะครับ เพราะมีข้อมูลและความรู้กับพื้นที่น้อยมาก

เรื่องแรก คือ ได้กล่าวแล้วว่า ใต้พื้นทรายที่ปกคลุมเป็นทะเลทรายนั้น ก็มีน้ำอยู่เหมือนกันใน 2 รูปแบบ คือ ที่อยู่ใกล้ผิวดิน กับที่อยู่ในชั้นหินลึกใต้ทะเลทราย
สำหรับที่อยู่ใกล้ผิวดินนั้น บางจุดก็โผล่พ้นผิวดิน หรืออยู่ใกล้ผิวมากๆ จนกลายเป็นพื้นที่โอเอซีส (Oasis) ชั้นน้ำพวกนี้ไม่อยู่ในสภาพที่มีแรงอัด คือ ไม่อยู่ในลักษณะที่มีชั้นอะไรที่น้ำผ่านไม่ได้มาปิดกดทับไว้ (unconfined aquifer) ต่างกับน้ำบาดาลที่อยู่ลึกใต้ดินซึ่งจะมีชั้นหินที่อยู่เหนือกว่ามาปิดทับ ทำให้น้ำที่อยู่ในรูพรุนของหินอยู่ภายใต้สภาวะที่มีแรงอัดหรือแรงดัน (confined aquifer)

เรื่องที่สอง คือ ในภาพวิดีโอนั้น จะเห็นว่าชั้นของหินทรายที่ยังไม่แข็งตัวเต็มที่นั้น ไม่วางตัวในลักษณะราบๆแต่วางตัวแบบเอียงเท  แล้วก็เห็นว่ามีด้านที่ชัน (escarpment slope) ทีคล้ายกับมีอะไรมาตัดความต่อเนื่องของชั้้นหินออกๆไป  และก็มีด้านที่ไม่ชัน (dip slope) ที่เอียงเทลงเข้าหาแอ่งน้ำ คล้างกับของกะละมัง
ลักษณะของด้านชันที่กล่าวถึงนี้ แสดงว่าในพื้นที่นี้ต้องมีรอยแตก (crack) ไม่ว่าจะเป็นรอยเลื่อน (fault) หรือรอยแตกอย่างเป็นระบบ (joint)  ซึ่งก็คือรอยแตกที่น้ำสามารถจะซึมผ่านไปได้

เรื่องที่สาม คือ พื้นที่นี้อยู่ในแถบที่มีภูเขาไฟ หรือในอีกนัยหนึ่งก็คือ มีจุดร้อนกว่าปรกติอยู่ข้างใต้   ในสภาพเช่นนี้ น้ำบาดาลก็ย่อมขยายตัว ส่งผลให้แรงอัดหรือแรงดันในชั้นน้ำบาดาลมีมากขึ้น พร้อมที่จะพุ่งฟุ้งกระจายไปตามรอยแตกรอยแยกต่างๆ

เรื่องที่สี่ คือ ในพื้นที่นี้มีแผ่นดินไหวอีกด้วย

เมื่อเอาเรื่องทั้งสี่มาผสมผสานกัน ก็เลยทำให้เห็นภาพว่า แรงเขย่าจากแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งได้ช่วยขยับขยายร่องรอยแตกต่างๆให้กว้างขึ้น น้ำบาดาลที่อยู่ภายใต้แรงอัดหรือแรงดันก็พยายามจะดันออกมา วันดีคืนดี ก็สามารถดันทะลุออกมาได้และไหลนองไปสะสมในที่ต่ำ  ก็คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง คือ น้ำในบ่อน้ำตื้น จะดันขึ้นมาล้นปากบ่อ หรือไม่ น้ำในบ่อก็แห้งลงไป  เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวที่เชียงรายเร็วๆนี้ ก็เกิดสภาพคล้ายๆกัน (หากตามดูข่าวก็จะเห็นมีข่าวว่ามีโคลนทะลักออกมาจากปากบ่อน้ำ)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ส.ค. 14, 19:38
ตามข่าว เขาใช้คำว่า lake    ในทางวิชาการผมก็ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร   ที่นึกขึ้นได้ขณะนี้ก็คือ perched pond   ซึ่งเป็นคำที่อย่างน้อยก็พอจะสื่อสารกันทางวิชาการได้ว่า มันเป็นแอ่งน้ำที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำผิวดิน (water table และการ seepage)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ส.ค. 14, 19:27
เมื่อวานนี้นึกไม่ออกจริงๆว่าจะเรียกว่าอย่างไร วันนี้พอจะนึกคำเรียกแบบชาวบ้านๆได้ว่า  หากจะเรียกว่า แอ่งน้ำซับ ก็น่าจะพอรับได้นะครับ

มีคำเรียกชื่อแอ่งน้ำที่เกิดในระบบของธารน้ำแข็งอยู่หลายคำ ซึ่งแต่ละคำก็บ่งชี้ถึงการเกิดของมัน อาทิ kettle lake, moraine lake (end moraine, side moraine, moraine dam) และ glacier lake   แต่แหล่งน้ำในระบบของทะเลทรายคงจะมีอะไรมากไปกว่าที่เรียกว่า Oasis เท่านั้น  มีแต่ชื่อเรียก dune ที่มีอยู่หลายคำตามลักษณะ อาทิ bachan dunes, longitudinal dunes, และ concavo-convex dunes

อาจจะแปลกๆนะครับที่ผมไปรู้จักคำต่างๆที่ยกตัวอย่างมา   เป็นเรื่องที่ต้องเรียนและต้องรู้ครับ อยู่ในวิชา Geomorphology  ที่ต้องรู้และต้องเข้าใจกระบวนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงแปรตัวของมัน เพราะว่ามันเล่าเรื่องสภาพทางธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้น ขอบเขตและความรุนแรงต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่การค้นพบทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่างๆ หรือใช้เพื่อทำให้เกิดความสุขของมนุษย์แบบยั่งยืนในการที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบไม่ขัดต่อกัน (sustainable living in harmony with nature)

อาจจะมีความไม่ถูกต้องที่ไปแปลหรือเข้าใจความหมายของคำว่า Geomorphology ว่าเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับเรื่องของสัณฐานของภูมิประเทศ และเป็นการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เลยทำให้ภาคการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่มีการสอนอย่างจริงจังในวิชานี้ ซึ่งแท้จริงแล้วในเนื้อหาของวิชามันเป็นเรื่องในบริบทของระบบและการพลวัตต่างๆ (dynamic)     ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุใดๆหรือจะแสดงความไม่เห็นด้วยใดๆในโครงการที่ไปเปลี่ยนแปลงธรรมชาติทั้งหลาย  ข้อมูลที่นำมาถกแถลงจึงมักจะเป็นไปในลักษณะการแสดงออกในภาพของคำ "คิดว่า" เท่านั้น

ไม่ต่อละนะครับ  ไปเรื่องหลุมยุบดีกว่า



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ส.ค. 14, 19:53
หลุมยุบ (sink hole) เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปรกติในพื้นที่ๆมีหินปูนรองรับอยู่ข้างใต้ 

ที่จริงแล้ว คำว่า "หินปูน" ในที่นี้ก็ดูจะไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ความหมายจริงๆที่กล่าวถึง คือ เป็นหินที่มีคาร์บอเนต (CO3) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งครอบคลุมถึง หินปูน, หินอ่อน, หิน travertine, หิน tufa, หิน dolomite ฯลฯ

พื้นที่ใดมีหินปูน (ในความหมายรวมๆดังกล่าวข้างต้น) พื้นที่นั้นต้องมีถ้ำ มีหลืบหินใต้ชะง่อนผา มีสันเขาที่เป็นหนอกสูงต่ำสลับกันไป ในห้วยมักจะมีคราบหินปูนจับเกาะกิ่งไม่ มีอ่างน้ำเล็กๆเป็นชั้นๆที่เราเรียกว่าน้ำตก  มีดินดำแล้วก็มีดินแดงที่กลายเป็นดินเหนียวเมื่อฝนตก และอื่นๆ   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 ส.ค. 14, 19:23
ก่อนจะไปต่อไป จะขอขยายความไปในทางวิชาการหน่อย เพื่อและเผื่อจะทำให้เกิดความกระจ่างขึ้นในบางเรื่องที่จะกล่าวถึงต่อไปนะครับ

สารประกอบทางเคมีในธรรมชาติที่มีองค์ประกอบเป็น Carbonate ซึ่งกลายเป็นแร่ต่างๆ ซึ่งบ้างก็รวมตัวกันเป็นกระจุก กลายเป็นแหล่งแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐิจ (mineral deposit) บ้างก็อยู่กระจัดกระจายอยู่ในเนื้อหิน เป็นแร่ประกอบหิน (rock forming minerals)นั้น

สารประกอบคาร์บอเนตที่เกิดในธรรมชาตินั้น เกิดได้ทั้งในสภาพแวดล้อมของการเกิดหินอัคนี (Igneous rocks) และในสภาพของการเกิดของหินชั้น (Sedimentary rocks)   แต่การเกิดในสภาพแวดล้อมของหินชั้นนั้นง่ายกว่ามาก จึงพบในปริมาณมากๆและพบกระจายอยู่ทั่วโลกตลอดช่วงเวลาพัฒนาการของโลกนับเป็นเวลาพันๆล้านปีมาแล้ว  ซึ่งวิธีการเกิดก็คือการตกตะกอนในน้ำ คล้ายกับการตกตะกรันหินปูนในหม้อน้ำ กาน้ำ ขวดน้ำต่างๆ   ในปัจจุบันนี้ก็มีการเกิดอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น ในอ่าวเม็กซิโก เป็นต้น



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 ส.ค. 14, 20:01
นั้นก็คือกระบวนการเกิดหินปูน

แต่ในธรรมชาตินั้น นอกจากธาตุแคลเซียม (Ca) จะจับตัวเป็น CaCO3 ได้ง่ายจนตกตะกอนกลายเป็นหินปูนแล้ว ก็ยังมีธาตุแม็กนีเซียม (Mg) ที่ชอบจับตัวเป็น MgCO3 แต่เนื่องจากสภาพไม่ค่อยจะอำนวยนัก จึงพบว่าเกิดปนอยู่ใน CaCO3     

เราเรียกหินปูนที่มี CaCO3 เกือบทั้งหมดว่า limestone     เรียกหินที่มี MgCO3 มากๆว่า dolomite    และหากมีผสมกันเราก็เรียกว่า dolomitic limestone

เมื่อเปลือกโลกปรับตัว หินปูนก็ถูกยกขึ้นมาพ้นการแช่น้ำ แต่ไม่พ้นการสัมผัสกับความชื้น น้ำฝน และน้ำไหล 

เล่ามาถึงตรงนี้ก็เลยไปติดกับกับตัวธาตุ C หรือธาตุคาร์บอน ซึ่งดูจะเป็นเนื้อในของตัวที่ไปเกี่ยวโยงกับเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงๆต่างๆของโลก ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์     ผมเข้าใจว่า ด้วยต้นเหตุดังกล่าวนี้เอง ในวงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงได้เกิดกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า Carbon footprint  ซึ่งกำลังจะกลายเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมที่ดีหรือไม่ดี ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากหรือไม่มาก (ในกระแสสังคมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)   ครับก็มีส่วนเป็นทั้งเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศและเรื่องทางวิชาการปรกติ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ส.ค. 14, 19:34
นอกจาก CaCO3 จะตกตะกอนมาสะสมตัวเป็นหินปูนแล้ว  ก็ยังมี CaCO3 ที่เกิดจากซากของสัตว์ทะเล (กระดูก เปลือกหอย ปะการัง) ซึ่งแม้จะมี CaCO3 เป็นองค์ประกอบหลัก ก็มีธาตุอื่นๆร่วมอยู่ด้วย โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ที่จับตัวกันเป็นฟอสเฟต (phosphate_P2O5)

คาร์บอนเมื่อจับกับอ๊อกซิเจนก็กลายเป็นเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide_CO2) เมื่อไปพบเข้ากับไฮโดรเจน (Hydrogen_H) ในสภาพที่มีความชื้นก็กลายเป็น กรดคาร์บอนิค (carbonic acid_H2CO3)

ก๊าซที่พวยพลุ่งออกมาจากภูเขาไฟทั้งหลาย ต่างก็มีก๊าซที่เมื่อพบกับความชื้นหรือน้ำในสภาวะที่เหมาะสม ก็จะทำเกิดเป็นน้ำกรดต่างๆ เช่น กรดกำมะถัน (H2SO4) กรดเกลือ (HCl) 

ความชื้นในธรรมชาติและน้ำฝนจึงคงจะต้องมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆเสมอ 



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ส.ค. 14, 20:34
ย้อนกลับไปสมัยที่ยังต้องท่อง กรด+ด่าง = เกลือ+น้ำ

หินปูนที่ถูกฝนกรด / น้ำกรดซึมผ่านไปตามรอยแตกรอยแยก ก็ย่อมต้องถูกละลาย รอยแยกขยายใหญ่ขึ้น เป็นโครงข่ายมากขึ้น ในที่สุดก็กลายเป็นโพรง เป็นถ้ำ เป็นหลืบหิน เป็นร่องน้ำต่อเนื่องกลายเป็นลำธารใต้ดิน     ซึ่งการละลายจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ก็ไปเกี่ยวข้องกับเนื้อหินว่ามันมีส่วนผสมอย่างไร (Ca, Mg, P2O5, ดินโคลน ฯลฯ)  ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดรูปร่างหรือช่องว่างของโพรงที่แตกต่างกันไป

ซึ่งด้วยระดับน้ำผิวดินบ้าง ระดับน้ำใต้ดินบ้าง ที่มีการไหลถ่ายเทพร้อมกับการกัดเซาะไปเรื่อยๆ ทั้งด้านข้างและด้านพื้น ผนวกกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับน้ำในช่วงกาลเวลาทางธรณีวิทยา ผนวกกับการยกตัวหรือยุบตัวลงของพื้นที่ในช่วงกาลเวลาทางธรณีวิทยา  โพรงหรือถ้ำจึงมีได้หลายระดับ



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ส.ค. 14, 21:46
น้ำใต้ดิน


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ส.ค. 14, 18:19
ผมจะหายหน้าไปจนถึงสิ้นเดือนครับ

ขออภัยที่ทำให้เรื่องไม่ต่อเนื่องครับ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 14, 19:01
 ;D


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.ย. 14, 18:51
กลับมา on net ต่อครับผม

สรุปเสียก่อนอีกครั้งว่า หินที่มีเนื้อเป็นปูนคาร์บอเนตหรือมีคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบ (เรียกชื่อโดยรวมๆว่า calcareous rocks) จะถูกละลายโดยน้ำมี่มีสภาพเป็นกรด ทำให้เกิดการเว้าแหว่ง เกิดโพรง เกิดชะง่อนผา เกิดถ้ำ และเกิดภูมิประเทศที่เรียกว่า Karst topography  (ซึ่งตัวอย่างของลักษณะที่เห็นได้เด่นชัดมากๆก็เช่น พื้นที่ กุ้ยหลิน ในประเทศจีน) 

สารละลายที่เกิดจาการกัดกร่อนระหว่างกรดกับด่างนี้ จะต้องถูกนำพาออกไปยังที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นแม่น้ำ ทะเล หรือตกตะกอน ณ ที่ใดที่หนึ่งก็ได้     แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพ (ของ eh _oxidation/reduction,  ph _ความเป็นกรด/ด่าง,  pressure _สภาพความกดดันของบรรยากาศ, temperature _อุณหภูมิ) ที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่และกาลเวลา (space and time) และรวมถึงช่วงคาบเวลาการคงสภาพแวดล้อม (residence time)  ในระหว่างการเดินทางของสารละลายนี้ ก็เกิดการตกผลึกตกตะกอนได้     
    - ในลำห้วยบางห้วย เราจึงเห็นว่ามีซากต้นไม้ กิ่งไม้ ที่ถูกหินปูนพอก (เรียกว่า tufa) กั้นการไหลของน้ำ ซึ่งอาจจะมีหินปูนพอกต่อทำให้เกิดแอ่งน้ำเป็นระยะๆ กลายเป็นน้ำตกหลายนๆชั้นที่พบในห้วยเดียวกัน เช่น น้ำตกไทรโยค สาริกา นางรอง (ต่างจากน้ำตกที่เกิดจากสภาพโครงสร้างทางธรณี เช่น Niangara, และกลุ่มน้ำตกในเทือกดอยอินทนนท์ 
    - ในถ้ำเราก็เห็นหินงอก (stalactite) และ หินย้อย (stalagmite) 
    - หากสารละลายไม่ไหลไปใหน หรือไหลลงแอ่ง ก็จะไปสะสมตัวกันเป็นชั้นๆ แผ่เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเรียกกันว่า travertine ซึ่งมักจะมีสีออกไปทางเหลืองๆ
    - และหากเป็นสารลายที่เป็นน้ำใสสะอาดมากๆหน่อย ก็อาจจะตกผลึกเป็นแร่ calcite ที่มีผลึกเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ไม่ว่าจะทุบให้แตกย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพียงใด


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.ย. 14, 19:03
ขยายความต่อไปนิดเดียวว่า  หิน travertine นี้ ก็มีการตัดเอามาทำใช้ ทั้งนำมาปูเป็นพื้นห้องที่ออกสีเหลืองๆ และมักจะมีลายเส้น (ซึ่งเรียกกันว่าหินอ่อนเหมือนกัน) รวมทั้งนำมาปรับให้เป็นรูปทรงต่างๆ (เช่น ทำเป็นโคมไฟ)  ชื่อทางการค้าก็มักจะเรียกตามภาษาอิตาลีว่า travertino 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 14, 19:08
ขอต้อนรับกลับเรือนไทยค่ะ คุณตั้ง
ได้ข่าวแผ่นดินไหวที่คาลิฟอเนียแล้วใช่ไหมคะ

calcareous rocks


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.ย. 14, 20:43
ย้อนกลับมาเรื่องของหลุมยุบต่อไป

เมื่อเกิดโพรง เกิดเป็นถ้ำ อยู่ใต้ดิน แล้วก็มีดินปิดทับถมอยู่หนาทีเดียว       ก็เป็นเหตุอันสมควรที่พื้นที่เหล่านี้จะต้องมีเกษตรกรเข้ามาบุกเบิกอยู่อาศัย เนื่องจากพื้นที่ๆมีหินปูนหรือรองรับด้วยหินปูนนี้ มักจะมีดินที่มีต้นกำเนิดมาจากการย่อยสลายของหิน calcareous ต่างๆ (หินชั้นที่เกิดร่วมกับหินเหล่านี้) อันเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างจะสูงมาก อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและแร่ดิน (clay minerals) ซึ่งในโมเลกุลของกลุ่มแร่ดินเหล่านี้มันมีแขนขาที่ขชอบจะจับธาตุสำคัญ (essential elements) ซึ่งเป็นที่ต้องการในการเจริญเติบโตของพืชพรรณต่างๆ     ดินในพื้นที่หินปูนเหล่นนี้จึงมักจะมีสีดำ เนื่องจากมีอุดมไปด้วยสารอินทรีย์ (humus จากพืชต่างๆ) หรือมีสีแดง เนื่องจากมีความสามารถในการจับคู่กับธาตุเหล็กได้ดี     ครับ ป่าที่ถูกบุกรุกมากที่สุด ก็จึงเป็นป่าในพื้นที่ของหินพวกนี้แหละครับ (พื้นที่ อ.ปากช่องเป็นตัวอย่างที่ดี)

จากการทำเกษตรกรรม ก็พัฒนากลายเป็นเมือง  ความสั่นสะเทือนบนผิวดินก็มากขึ้นและเปลี่ยนไป (จากสิ่งแวดล้อมในกลุ่มสร้างความถี่ต่ำ_low frequency เปลี่ยนไปเป็นความถี่สูง_high frequency) และรวมทั้งการเกิดถ้ำพัง (cave collapse) ซึ่งเกิดขึ้นเองในธรรมชาติมากมาย    การเกิดหลุมยุบในฉับพลัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจึงเกิดขึ้นได้    ทั้งนี้ ในกรณีที่ยกมาในกระทู้นี้ จึงเป็นไปได้ทั้งที่เกิดจากลักษณะที่เรียกว่า piping คือ เม็ดดินทรายแต่ละเม็ดค่อยๆเคลื่อนที่หลุดลงไปในหลุม ค่อยๆเปิดให้เกิดช่องกว้างมากขึ้น จนในที่สุดก็เกิดการเทพรวดลงไป (เขื่อนกั้นน้ำก็เกิดพังได้ด้วยวิธีนี้)  หรือเกิดจากการที่หลังคาถ้ำพังลง ยุบตัวลงไป ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 14, 21:03
ถ้ำพัง แบบนี้ใช่ไหมคะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.ย. 14, 21:48
ก่อนอื่น ก็ต้องขออภัยอย่างแรงมากๆ  ด้วยผมได้สลับศัพท์คำว่า หินงอก กับ หินย้อย ด้วยความเผลอเลอเป็นอย่างยิ่ง ทั้งๆที่ต้อง
ท่องจำไว้ตลอดว่า .......tite คือย้อยเหมือนเน็คไทด์   

ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ หินงอก = stalagmite   และ  หินย้อย = stalactite   

ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการตกผลึกของสารละลาย CaCO3 ที่เป็นหยดน้ำ

ความรู้ที่เกี่ยวพันกับการเกิดของหินงอกและหินย้อย ทำให้เรา (ซึ่งคงทราบกันโดยทั่วไปแล้ว) นำมาแก้ปัญหาบางอย่างได้ เช่น ฝ้าที่เกิดขึ้นกับหูจับ ก๊อกน้ำ อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ หม้อน้ำ กาน้ำ เครื่องครัวต่างๆ และของใช้ในห้องน้ำ ฯลฯ ที่เราเรียกว่าคราบตะกรันที่ทำให้อุปกรณ์เกิดฝ้า ไม่เงางดงาม ทั้งที่เกิดบนผิวของสแตนเลสหรือเซรามิกส์ ล้วนแล้วแต่เป็นคราบของหินปูน หรือ calcium carbonate ทั้งสิ้น  ดังนั้น เพียงเราใช้ฟองน้ำชุบน้ำส้มสายชูกลั่น ซึ่งเป็นกรดอ่อนๆ  เช็ดไปมาไม่กี่ครั้ง แล้วเอาน้ำล้าง อุปกรณ์ทั้งหลายก็จะกลับมาฉายความเงามันเช่นเดิม





กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.ย. 14, 21:58
สำหรับภาพของถ้ำพังที่ อ.เทาชมพู ได้ยกมานั้น  ก็ใช่ครับ   แม้ว่าจะคงยังไม่ถึงระดับที่เรียกว่า collapse cave หรือ cave collapse จริงๆ  แต่ก็แสดงให้เห็นถึงกองหินที่กองอยู่ที่พื้นบริเวณปากทางเข้าถ้ำ ซึ่งก็มากองอยู่ด้วยการพังลงมาทั้งนั้น    

ที่ผมได้กล่าวว่า ถ้ำพังนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ หากเราเข้าไปเที่ยวในถ้ำ แล้วลองสังเกตุดูที่พื้นถ้ำ เรามักจะพบว่ามีก้อนหินอยู่ที่พื้นมากบ้างน้อยบ้าง  นั่นแหละครับ คือ การตกลงมาของหินจากหลังคาถ้ำหรือผนังถ้ำ  


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 14, 22:38
สงสัยชาตินี้จะเรียนวิชาธรณีวิทยาไม่ได้เสียแล้ว
พยายามอีกครั้งค่ะ  หินงอกหินย้อย


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ก.ย. 14, 19:08
ย้อนกลับไปอ่าน จึงได้พบว่าตัวเองเขียนรวบรัดไปหน่อยครับ

หินงอกและหินย้อย เกิดจากน้ำที่มีสารละลายคาร์บอเนตอยู่ในเนื้อค่อยๆหยดลงมาจากหลังคาถ้ำที่ละหยด  เมื่อที่ส่วนที่เป็นน้ำค่อยๆระเหยไป ก็จะเกิดสภาพมีความเข้มข้นมากขึ้น ยังผลให้เกิดการค่อยๆตกผลึกของแร่แคลไซท์ (Calcite) ทีละน้อย ค่อยๆพอกออกมาทั้งจากจุดที่น้ำหยดลงมา และในจุดที่น้ำหยดลงไป 

เนื่องจากหินงอกและหินย้อยเกิดจากการหยดของหยดน้ำที่มีสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต  ดังนั้น เราจึงพบเป็นภาพปรกติว่า ปลายแหลมของหินย้อยจะอยู่ตรงกันกับยอดแหลมของหินงอกเสมอ   

สำหรับเนื้อในของทั้งหินงอกและหินย้อยนั้นก็คือแร่ calcite ที่มีคุณสมบัติสามารถหักเหแสงให้เห็นเป็นภาพซ้อน _double refraction (เมื่อเรามองผ่านลงไปยังพื้นผิวที่มันวางทับอยู่)   ก็ด้วยเหตุของคุณสมบัตินี้ ผนวกกับพื้นผิวของผลึกที่สะท้อนแสงได้คล้ายกระจกเงา จึงทำให้เกิดแสงระยิบระยับเมื่อกระทบกับแสงไฟ  ถ้ำที่เปิดสำหรับการท่องเที่ยวทั้งหลาย ก็เลยเพิ่มความวิลิศมาหราเข้าไปอีกด้วยการใช้แสงที่มีสีต่างๆส่องแสงเข้าไป ก็เลยเกิดความวิจิตรสวยงามตระการตาเป็นอย่างยิ่ง

อันที่จริงแล้ว คำว่าหินงอก (stalagmite) และ หินย้อย (stalactite) นั้น เป็นคำเรียกรวมๆของรูปทรงที่ปรากฎ    ในโพรงถ้ำที่เกิดจากการไหลของหินละลาย (lava) ของภูเขาไฟ ก็พบเห็นได้เช่นกัน  และรวมทั้งในโพรงถ้ำในธารน้ำแข็ง (glacier) ด้วย   เพียงแต่วิธีการเกิดต่างกันออกไป   แต่อย่างไรก็ตาม ก็เช่นกัน ที่โดยทั่วๆไป ทั้งหินงอกและหินย้อย เรามักจะหมายถึงเฉพาะที่พบในถ้ำหินปูน


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.ย. 14, 19:24
เรื่อยๆต่อมาถึงกรณีโพรงใต้ดินย่านอำเภอปากช่อง (โดยเฉพาะในเขตตำบลหมูสี ที่ปรากฏอยู่ในข่าว) และพื้นที่รอบๆของเขตอำเภออื่นๆที่อยู่ต่อเนื่องกันนั้น

พื้นที่ในย่านนี้ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างที่ราบภาคกลางกับที่ราบสูงโคราช (หรือที่รู้จักกันมานานแต่ดั้งเดิมว่า ดงพญาไฟ ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น ดงพญาเย็น) โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.ปากช่องนั้น   รองรับด้วยหินปูน ดังนั้นจึงเกิดการกัดเซาะด้วยน้ำได้ง่าย เป็นเรื่องปรกติที่ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่มีหลุม มีแอ่ง มีโหนกหิน มีพื้นผิวดินตะปุ่มตะป่ำ มีโพรง มีถ้ำ ซึ่งมีชื่อเรียกขานพื้นที่ในลักษณะนี้กันว่า karst topography

ขอทำความกระจ่างเพิ่มอีกสักนิดนึงว่า karst topography นั้น เป็นคำเรียกในเชิงกายภาพของพื้ันที่ที่เกิดมาจากผลของการกัดเซาะด้วยวิธีการละลาย ซึ่งครอบคลุมทั้งที่ปรากฎให้เห็นบนผิวดินหรือใต้ดิน 
   
ดังนั้น karst topography จึงพบได้ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งแร่ยิปซั่ม (gypsum) ได้ด้วย   ซึ่งไทยเราก็พอมีนะครับ แต่ ณ เวลานี้คงสังเกตเห็นได้ยากเสียแล้ว ก็คือพื้นที่ราบโล่งช่วงต่อเขต อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์  กับ อ.บางมูลนาค จ.พิจิตร    (แต่ก่อนนั้น จำได้ว่า กว่าจะข้ามทุ่งนี้ได้ ยังกับเดินทางอยู่บนผิวดาวพระอังคาร ทารุณเอาเรื่องอยู่ทีเดียว ทำให้เข้าใจเลยว่า ทำไมตามตะเข็บรอยต่อระหว่างนครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก จึงมีเรื่องราวของไอ้เสือเอาวาอยู่หลายชื่อหลายแก้งค์ทีเดียว )


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.ย. 14, 18:48
karst ที่มีดินปิดทับอยู่จนเป็นที่เกือบจะราบเรียบ เช่น แถว ต.หมูสี ที่ได้กล่าวถึงมา   บางส่วนแถวเขต อ.ไพศาลี อ.ตาคลี    และพื้นที่ที่เรียกว่าเขาสามชั้นของ อ.วังโพ จ.กาญจนบุรี   

ลักษณะของ karst ที่ถูกดินปิดทับเหล่านี้ มีชื่อเรียกขานกันว่า buried karst หรือ covered karst     ชื่อที่เกี่ยวข้องกับ karst topography มีเยอะแยะมากมาย เอาเท่านี้ก็น่าจะพอแล้วนะครับ

ภูมิประเทศแบบ karst นี้ มีการศึกษากันจนกลายเป็นแขนงวิชาหนึ่ง หลายๆแห่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ หลายแห่งเป็นพื้นที่สวยงามของโลก โด่งดังมาก ดึงดูดคนให้ไปท่องเที่ยวและเที่ยวชมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี จัดได้เป็นพื้นที่ทำเงินรายได้ที่สำคัญทีเดียว เช่น กุ้ยหลินของจีน  Andalusia ของสเปญ   ฮาลองเบย์ของเวียดนาม    อ่าวกระบี่ของไทย   เมือง Trieste ของ Slovenia และย่านภูเขา Jura ของฝรั่งเศส เป็นต้น     ย่าน อ.ปากช่อง ของเราก็ไม่น้อยหน้านักสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.ย. 14, 19:08
เรื่องก็เดินมาโยงเข้ากับภาพใน คห.23 และ คห.37

ภาพของ คห.23 นั้น สังเกตได้ว่ามีน้ำอยู่ที่ก้นหลุม  ในความเห็นขอผมนั้น เห็นว่าเป็นเพียงแอ่งน้ำเล็กๆที่ขังอยู่ตามซอกตามร่องของหินปูน ทั้งนี้ ในพื้นที่นี้น่าจะต้องมีแอ่งน้ำ (หรือที่เรียกว่าหนองน้ำธรรมชาติ) ที่ชาวบ้านใช้ในการดำรงวิถีชีวิตสืบต่อกันมา แอ่งน้ำในพื้นที่เช่นนี้เรียกกันว่า karst pond

ภาพใน คห.37 นั้น เกิดจากการละายออกไปของหินปูนจนกระทั่งเป็นโพรง โพรงในหินนี้ก็คืออ่างเก็บน้ำใต้ดินดีๆนั่นเอง (underground reservoir)       ในพื้นที่แห้งแล้ง หากผู้ใดต้องเจาะหาน้ำบาดาลมาเพื่อใช้ ปะเหมาะเคราะห์ดีไปเจอเอาโพรงนี้เข้า ก็สบายแฮไปเลย ในไทยเราก็มีการพบกันไม่น้อยอยู่เหมือนกัน    ด้วยลักษณะของพื้นที่ๆเป็น karst และมีอ่งน้ำใต้ดินของ อ.ปากช่องนี้เอง ได้ทำให้เกิดกิจการเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรกรรมมากมาย  


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 21:47
karst?


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.ย. 14, 23:11
ตามนั้นครับ

karst มักจะใช้เรียกลักษณะของพื้นที่กว้างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะดังภาพที่แผ่กระจายต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้าง

หากพื้นที่ปรากฎคล้ายสภาพตามภาพที่แสดงนี้ ก็จัดเป็น well developed karst   สำหรับกรณีพื้นที่แถบปากช่องที่ได้กล่าวถึง คงจะเรียกได้เพียง covered karst area เท่านั้น  และในกรณีของอ่าวพังงา หรือ Halong Bay  ก็คงจะใช้คำว่าเป็น karst region 

คำว่า karst นั้น จำได้ว่าเอามาจากชื่อเมือง จึงมักใช้ในความหมายของลักษณะของพื้นที่ เมื่อมีการศึกษามากขึ้น มีการสำรวจถ้ำมากขึ้น มีการท่องเที่ยวในลักษณะของพื้นที่สวยงามมากขึ้น ก็มีการผนวกรวมเอาชื่อลักษณะนามหลากหลายคำมารวมกันเป็นองค์ประกอบของ karst   มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเรื่องราวการเกิด จำแนกย่อยและลงลึกไปในรายละเอียดต่อไปอีก จนในที่สุดก็มีหลากหลายกลุ่มแนวคิด (school of thought) ก็แล้วแต่ผู้ใดจะนิยมแนวใด 

ที่น่าทึ่งก็คือ ปรากฎว่า จีนได้จัดทำหนังสือเรื่องราวและภาพของพื้นที่ Karst ในประเทศของตน เป็นหนังสือปกแข็งขนาดประมาณ 30x35 ซม.หนาประมาณ 3 ซม. จุดประสงค์เพื่อโชว์และแสดงของดีของจีน เลยกลายเป็นตำราและมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกันไปทั่วโลก  เหตุก็คงเพราะ karst ในจีนเป็นพวก well developed karst มีลักษณะ รูปร่าง ทรง องค์ประกอบ และสภาพแวดล้อมของการกำเนิดที่หลากหลาย สมบูรณ์และเห็นได้ชัดเจน

 



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 14, 15:02
ย่าน อ.ปากช่อง ของเราก็ไม่น้อยหน้านักสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย    

หากขับรถไปเขาใหญ่ตามถนนธนะรัชต์ถึงหมูสี กิโลเมตรที่ ๑๕ ทางซ้ายมือจะมีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งคิดว่าเกิดจากลักษณะ karst topography อย่างที่คุณตั้งว่า ชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า "น้ำผุด" คือมีน้ำไหลขึ้นมาจากใต้ดินตลอดเวลา คาดว่าจะมาจากแหล่งน้ำโพรงหินปูนใต้ดิน น้ำสีเขียวอมฟ้าใสแจ๋ว ถ้าปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณนั้นให้สวยงามน่าจะเป็นสถานที่ท่องเทียวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งของปากช่อง   ;D

http://www.youtube.com/watch?v=tgS97qOK2XI#ws (http://www.youtube.com/watch?v=tgS97qOK2XI#ws)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.ย. 14, 19:42
ตามนั้นแหละครับ

อันที่จริงแล้วแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเป็นที่นิยมของไทยนั้น มีเป็นจำนวนมากๆที่อยู่ในพื้นที่ของหินปูน จะกล่าวว่าเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ จะยกเว้นก็เฉพาะในพื้นที่อิสานเท่านั้น   

ในข้อเท็จจริงแล้ว การเกิด karst นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่จำกัดเป็นหย่อมๆเท่านั้น มันเป็นการเกิดที่ต่อเนื่องเชื่อมกัน แยกเป็นแต่ละช่วงกาลเวลา คือเกิดเป็นชุดๆแยกกันในแต่ละช่วงเวลา   ชุดที่กล่าวถึงนี้ คือ มีได้ทั้งบนดินและใต้ดินแยกกันหรือเกิดพร้อมกัน  ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ในปัจจุบันเฉพาะแบบที่ปรากฏให้เห็นเฉพาะบนดิน เฉพาะใต้ดิน  หรือทั้งใต้ดินและบนดินเชื่อมกันก็ได้  แล้วก็มีทั้งที่อยู่ใต้ผิวน้ำ (submersed Karst) เช่น หมู่เกาะอ่างทอง และอ่าวพังงา อีกด้วย

ก็ดังที่ได้เล่าไว้ว่า karst เกิดในพื้นที่หินปูน แหล่งท่องเที่ยวทั้งหลายของไทยก็อยู่ในพื้นที่หินปูนเป็นส่วนมาก  เราก็จึงอาจจะเพิ่มแนว (category) ของการท่องเที่ยวได้ในอีกแพคเกจในเรื่อง อาทิ A trip through karst topography of Pangna Bay, Follow the karst of Permian Limestone (อายุหิน) in Kanchanaburi Province,  etc.




กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.ย. 14, 18:40
ผมคิดว่าหลายท่านอาจจะได้เคยเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของหลุมยุบมาแล้ว เพียงแต่ไม่ทราบว่านั่นคือหลุมยุบ   

เส้นทางรถยนต์ระหว่าง อ.ทองผาภูมิ กับ อ.สังขละบุรี ของ จ.กาญจนบุรี ก็ผ่านหลุมยุบ  หลุมแรกก็คือ บึงเกริงกราเวีย ที่บ้านเกริงกราเวีย (ห่างจากตัว อ.ทองผาภูมิ ประมาณ 20 กม.เห็นจะได้) บึงนี้ ได้ฟังกะหรี่ยงเล่าว่า มีจระเข้ด้วย ตัวสุดท้ายถูกจับไปเมื่อปี พ.ศ. 2475 ?? จากเกริงกราเวียไม่นานก็จะสังเกตเห็นว่า ทางรถจะลาดลงไปเรื่อยๆและเลาะอยู่ข้างขอบเขา  แล้วทางรถก็จะค่อยๆไต่ระดับสุงขึ้นไปจนเข้าเขต อ.สังขละบุรี  ครับ ทางรถไต่เลาะอยู่ข้างหลุมยุบขนาดใหญ่

เส้นทางเลาะชายแดนระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไป จ.น่าน ก็มีลักษณะคล้ายกัน เป็นเส้นทางผ่านหลุมยุบเหมือนกัน


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 14, 18:49
บึงเกริงกะเวีย


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.ย. 14, 19:17
ก็ยังมีหลุมยุบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่หลุมยุบที่เรียกว่า sink hole ดังที่ได้กล่าวถึงมา แต่เป็นการทรุดตัวลงของผืนดินสืบเนื่องมาจากผลจากการกระทำของคน ซึ่งจะเรียกกันในลักษณะรวมๆว่า man made ground subsidence (หากเป็นพื้นที่กว้าง) หรือ man made sinkhole (หากเป็นพื้นที่ไม่กว้างนัก)

man made ground subsidence นั้น ชื่อก็บอกว่าเป็นลักษณะของการทรุดตัวหรือยุบตัวลงของผืนดิน ซึ่งเกิดได้จากหลากหลายการกระทำของคน (จะค่อยๆขยายความไปนะครับ) ดังเช่น
     - การทำเหมืองใต้ดินด้วยวิธีการ ที่เรียกว่า solution mining
     - การขุดเจาะทำอุโมงค์ใต้ดิน ที่เรียกว่า underground tunneling
     - การสูบน้ำบาดาล หรือ สูบน้ำมันเอาออกมาใช้
    


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.ย. 14, 19:45
แผ่นดินทรุดเนื่องมาจากการทำเหมืองในแบบที่เรียกว่า solution mining (หรือ in situ leach process หรือ in situ recovery process)

in situ มีความหมายถึง ในที่ของมัน

โดยหลักการของการทำเหมืองด้วยวิธีการนี้ คือ การเจาะหลุมลึก 2 หลุม หลุมนึงสูบของเหลวตัวทำละลายอัดลงไป ให้ไปละลายสินแร่ในแหล่งที่มันสะสมอยู่ อีกหลุมนึงทำการดูดสารละลายนั้นกลับขึ้นมาทำการแยกเอาตัวแร่ธาตุออกไป 

การทำเหมืองอย่างนี้มีการทำกับสินแร่บางชนิด (ที่สะสมตัวอยู่ในลักษณะจำเพาะบางอย่าง) เช่น แร่ซิลไวต์ (Sylvite) สูตรเคมี KCl ต้นทางของปุ๋ยโปแตส    เกลือหิน (Rock salt หรือ แร่ Halite) สูตรเคมี NaCl ต้นทางในอุตสาหกรรมหลากหลายอย่างเหลือเชื่อ    แร่ Azurite และ Malachite สินแร่ต้นทางของโลหะทองแดง     สินแร่ทองคำและสินแร่ Uranium 
 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.ย. 14, 20:32
แร่ Malachite _ green กับ Azurite _ blue นี้ ท่านที่เป็นหญิงทั้งหลายคงจะรู้จักดี   แร่ทั้งสองชนิดนี้ เป็นทั้งแหล่งแร่ต้นทางของโลหะทองแดง (copper ore)  เป็นทั้งแร่อัญมณี (mineral gems หรือ gem minerals)   และเป็นทั้งหินมีค่า (precious stone)

สีเขียวอันสวยงามของแร่มาลาไคต์ และสีน้ำเงินของแร่อาซูไรต์ประด้วยสีทอง (ไม่ใช่ทองคำนะครับ) มีอิทธิพลต่อโทนสีที่ใช้ในการตกแต่งภายในของห้องต่างๆในปราสาทและราชวังต่างๆที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย และรวมถึงเครื่องใช้และเครื่องประดับทั้งหลายด้วย
 

 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.ย. 14, 20:51
ผลจากการละลายสินแร่ให้เป็นสารละลายแล้วดูดออกไป ก็ทำให้เกิดช่องว่างเป็นรูพรุนในเนื้อหิน ทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักของชั้นหินนั้นๆลดลง ทำให้เกิดการทรุดอัดแน่นลงมา เป็นผลต่อเนื่องให้ผืนดินทุดตัวเป็นแอ่งตามไปด้วย

ในกรณีของการทำเหมืองโปแตสและเกลือหินนั้น (ด้วยวิธีการนี้) จะทำให้เกิดโพรงถ้ำคล้ายดังภาพใน คห.37    เมื่อหลังคาถ้ำพังลง ก็ยังผลให้ผืนดินที่อยู่เหนือขึ้นไปทรุดลงไปด้วย      ในไทยนั้นรู้สึกว่าจะพอเห็นได้ในพื้นที่ทำเหมืองเกลือเขต อ.พิมาย จ.นครราชสีมา   

ส่วนโพรงถ้ำใต้ดินนั้น หากประสงค์ที่จะได้เห็นจริง ก็คงจะต้องเดินทางไปไกล ซึ่งจะเห็นได้หลายๆแห่งที่เคยเป็นเหมืองเกลือเก่าในยุโรป เช่น ที่เมือง Hallstatt ในออสเตรีย   จะเห็นภาพดังภาพใน คห.37 เลยทีเดียว


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ก.ย. 14, 18:10
ทำเหมืองเกลือหินและแร่ sylvite ด้วยวิธีการละลายในใต้ดินแล้วสูบออกมาจนเกิดเป็นโพรงถ้ำ ก็เพราะว่ามันเป็นการละลายสินแร่ออกมาทั้งมวลเลย  แต่สำหรับสินแร่อื่นนั้นเป็นในอีกภาพหนึ่ง

สินแร่ที่อื่นที่ว่านี้เกิดเป็นผลึกหรือเป็นเม็ดอยู่ระหว่างเม็ดแร่ที่ประกอบกันเป็นเนื้อหิน หรือเป็นสารประกอบอยู่ในตัวแร่ตัวใดตัวหนึ่งที่ประกอบกันเป็นเนื้อหินนั่นแหละ  การทำเหมืองโดยการอัดของเหลวตัวทำละลายลงไปแล้วสูบสารละลายกลับขึ้นมาสำหรับสินแร่ที่มีลักษณะการเกิดแบบนี้ มิใช่เป็นการไปละลายเนื้อหินออกมา  เนื่องจากสารตัวทำละลายนั้นจะซึมเข้าไปทำการละลายเฉพาะตัวเม็ดสินแร่ที่ต้องการ
 
แล้วทำได้อย่างไรครับ

ก็เนื่องจากสินแร่พวกนี้จะเกิดในลักษณะของการถูกพัดพามาตกตะกอนพร้อมๆไปกับตะกอนดินทรายอื่นๆ ต่อมาก็เปลี่ยนไปเป็นหินชั้นหรือหินตะกอน (sedimentary rocks) ก็คล้ายกับเราเอากองลูกเทนนิสมาเทลงในถาด เราก็จะเห็นช่องว่างระหว่างลูกเทนนิส เป็นรูพรุนต่อเนื่องกัน คราวนี้เอาใหม่ เอาลูกปิงปอง (แสร้งว่าเป็นเม็ดสินแร่) ผสมเข้าไปด้วยแล้วเทลงในถาดเช่นเดิม เราจะเห็นว่าปริมาณช่องว่างลดลง แต่ก็ยังมีรูพรุนที่น้ำหรือของเหลวจะไหลผ่านได้  (น้ำบาดาลก็คือน้ำที่อยู่ในรูพรุนเหล่านี้นั่นเองครับ) เป็นหลักการที่ดูง่ายนะครับ แต่แท้จริงแล้วไม่ง่ายเลย   

พอละลายเอาลูกปิงปอง (เม็ดแร่) ออกไป โครงสร้างการค้ำยันลูกเทนนิสก็เปลี่ยนไป เกิดอ่อนแอลง ในที่สุดก็ทรุดตัวอัดแน่นกันใหม่ ส่งผลให้เห็นผืนดินยุบเป็นแอ่ง



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ก.ย. 14, 18:34
กรณีการสูบน้ำมันหรือน้ำบาดาลแล้วทำให้เกิดแผ่นดินทรุด จะต่างไปจากกรณีที่กล่าวมา เนื่องจากเป็นการดูดออกมาอย่างเดียว จนทำให้เกิดสภาพสองสภาพ คือ
   - เมื่อน้ำหรือน้ำมันที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนถูกดูดออกไป มันก็คล้ายกับกรณีเราให้เวลากับการปล่อยให้ดินหรือทรายถมที่ทรุดตัวอัดแน่น เนื่องจากน้ำจะค่อยๆซึมออกจากดินหรือทรายที่ใช้ถมที่ดินนั้นๆ (ขอไม่อธิบายในเรื่องกระบวนการทางเทคนิคนะครับ จะมีอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวพันด้วย)
   - กรณีน้ำบาดาล เมื่อน้ำในชั้นน้ำบาดาลแห้งลง น้ำจากชั้นน้ำที่อยู่เหนือขึ้นไปก็จะไหลซึมลงมาเติม เลยทำให้เกิดการร่วมกันทรุด ทำให้เกิดแผ่นดินทรุดเป็นพื้นที่กว้าง     กรุงเทพฯทรุดก็ด้วยสาเหตุหลักดังกล่าวนี้แหละครับ     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 14, 20:24
เอาเรื่องนี้มาแจม  คุณตั้งจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้นะคะ

จัดเข้าประเภทหลุมลึกลับหรือเปล่าก็ไม่ทราบ   กล่าวคือ อยู่ๆทะเลสาบก็กลายเป็นหลุมแห้งๆไปได้ภายใน 2 เดือน
เกิดขึ้นที่ Lake Cachet II in Aysen, Chilean Patagonia ค่ะ   

น้ำในทะเลสาบแห้งหือดหายไปหมด ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ  แต่ดิฉันสงสัยว่าถ้ามันระเหยหายไปหมด อุณหภูมิแถวนั้นมิต้องสูงกว่า 100 C  เชียวหรือ



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 ก.ย. 14, 19:37
ตอบครับ   และก็คงจะต้องมีชื่อและศัพท์ภาษาอังกฤษปนอยู่มากพอควรเลยทีเดียว

คำตอบสั้นๆ คือ น้ำมิได้แห้งไปด้วยการระเหย แต่แห้งไปด้วยการไหลซึมผ่านกองหินที่มาสะสมตัวกันจนเป็นสันเขื่อนกั้นขวางร่องน้ำที่เกิดมาจากธารน้ำแข็งกัดเซาะ     เป็นเหตุการณ์ปรกติที่เกิดขึ้นได้ แม้จะไม่บ่อยครั้งและไม่ค่อยจะเป็นข่าวให้ได้รับรู้กันมากนัก

คำศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้กับแอ่งน้ำหรืออ่างน้ำชนิดนี้ เรียกว่า Moraine lake  เป็นอ่างน้ำที่กำเนิดเฉพาะในพื้นที่ๆมีธารน้ำแข็งและมี permafrost (น้ำที่อยู่ในดินเป็นน้ำแข็ง  ไม่ทราบคำเรียกภาษาไทยครับ)

แล้วค่อยขยายความครับ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ก.ย. 14, 21:34
อย่าเพิ่งแปลกใจนะครับว่า ทำไมจึงไปรู้เรื่องของเขตหนาวด้วย
   เป็นเรื่องที่ต้องเรียนและต้องรู้ทุกกระบวนการหลักที่เกิดขึ้นหมุนเวียนในโลกของเราครับ 

แล้วเคยได้ใช้ความรู้นี้หรือไม่
   เคยครับ แล้วก็เกี่ยวข้องกับพื้นที่ของไทยด้วย โดยเฉพาะด้านตะวันตกตั้งแต่ประมาณเพชรบุรีลงไปถึงภูเก็ตโน่นแน่ะครับ

สำหรับตัวผมเองอาจจะโชคดีที่ได้มีโอกาสเห็นและสัมผัสของจริงสองสามครั้ง เมื่อครั้งไปควบคุมงานอยู่ที่กรุงอ๊อตาวา ประเทศแคนาดา อยู่สองช่วงเวลา 

เพื่อความเข้าใจ ผนวกเข้าเป็นองค์ความรู้รอบตัว และเผื่ออาจจะได้มีโอกาสได้เห็น ได้สัมผัสและอยู่กับของจริง  กรณีได้เดินทางท่องเที่ยวในประเทศแคนาดาและรัสเซีย (และแม้กระทั่งในรัฐตอนเหนือของสหรัฐฯ)     ผมจึงจะขอเล่าเรื่องของ glacier (ธารน้ำแข็ง) ในภาพกว้างนะครับ



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ก.ย. 14, 19:46
เนื่องจากโลกมีทรงกลม  จึงได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากในแถบเส้นศูนย์สูตร แล้วได้รับน้อยลงไปเรื่อยๆไปตามเส้นละติจูดที่สูงขึ้นไป จนเข้าเขตขั้วโลก ความเย็นในแถบไกล้ขั้วโลกทำให้หิมะที่ตกลงมาทับถมกันแน่น กลายเป็นแผ่นน้ำแข็งผืนใหญ่ (ice sheet หรือ ice cap)   แต่เมื่อน้ำแข็งก็มีน้ำหนัก มันจึงต้องมีการเคลื่อนที่ตามกฏของแรงดึงดูด คือ ย่อมเคลื่อนที่ไปหาที่ต่ำกว่า   ซึ่งมวลน้ำแข็งที่เคลื่อนที่นี้ก็คือธารน้ำแข็ง (glacier) ที่ไปสร้างให้เกิดภูมิประเทศหลากหลายรูปร่าง สวยงามจนต้องไปเที่ยวชมกัน

น้ำมีคุณสมบัติที่สำคัญบางประการ คือ เป็นสารประกอบทางเคมีที่มีความสามารถสูงมากในการแปรเปลี่ยนหรือทำลายโครงสร้างของสารประกอบอื่นๆ (solvent) น้ำสามารถซึมแทรกเข้าไปในรู รอยร้าวหรือรอยแตกที่มีขนาดเล็กมากๆๆได้ (penetration)   น้ำสามารถพองตัวเองเมื่อได้รับความร้อนหรือความเย็น (expansion)   น้ำสามารถแปรสภาพทางกายภาพของตนเองเป็นไอน้ำก็ได้ เป็นของเหลวก็ได้ เป็นของแข็งก็ได้   แถมยังสามารถแยกตัวกันเป็นกาซไฮโดรเจนกับอ๊อกซีเจนแล้วก็กลับมารวมตัวกันเป็นน้ำเหมือนเดิมได้อีก


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 14, 21:37
ด้วยความสามารถของน้ำดังกล่าวมา พอมันแปรสภาพเป็นน้ำแข็ง น้ำที่ซึมอยู่ตามรอยแตกรอยแยกต่างๆก็เบ่งตัวแล้วบิหินออกมาเป็นก้อนๆได้ไม่ยาก แล้วมันก็ยังสามารถอุ้มหินนั้นไว้ในเนื้อตัวของมันแล้วพาเอาออกไป พอน้ำแข็งละลายก้อนหินนั้นก็ตกลงสู่พื้นห่างไกลจากแหล่งเดิมของมัน    พอหน้าหนาวใหม่มาเยือน มันแบ่งย่อยก้อนหินให้เล็กลง แล้วก็อุ้มพาต่อไป

น้ำแข็งในธารน้ำแข็งนั้นมิได้มีความสะอาด นอกจากจะพบว่ามีก้อนหินอยู่ในตัวมันแล้ว ยังมีกรวดทรายและขี้ผงต่างๆอีกด้วย ซึ่งทำให้มันมีลักษณะเป็นตะไบอย่างดี ที่จะครูดและขูดผิวของร่องธารของมันให้กว้างและลึกมากขึ้นๆ 

 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 14, 21:44
เเมื่อน้ำแข็งก็มีน้ำหนัก มันจึงต้องมีการเคลื่อนที่ตามกฏของแรงดึงดูด คือ ย่อมเคลื่อนที่ไปหาที่ต่ำกว่า   ซึ่งมวลน้ำแข็งที่เคลื่อนที่นี้ก็คือธารน้ำแข็ง (glacier) ที่ไปสร้างให้เกิดภูมิประเทศหลากหลายรูปร่าง สวยงามจนต้องไปเที่ยวชมกัน


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 14, 22:16
ผลจากการกัดเซาะและแซะออกไป ทำให้เกิดยอดเขาที่มียอดแหลม เรียกว่า horn คล้ายกับการตักไอซ์ครีมเป็น scoop วนรอบจุดใดจุดหนึ่ง ก็จะทำให้เกิด horn   ส่วนร่องที่เกิดจากการควักไอติมออกไป รอบๆ horn นี้ เรียกว่า cirque  

ยอดเขาในเทือกเขาแอลป์จึงมีชื่อเรียกที่ลงท้ายด้วยคำว่า horn    ส่วนคำว่า peak นั้นจะใช้ในลักษณะเป็นคำลักษณะนาม (? คิดว่าใช้ศัพท์ถูกต้องนะครับ)

ร่อง cirque นี้ จะเป็นร่องทอดยาวต่อเนื่องเป็นร่องของธารน้ำแข็งจนถึงทะเล  เมื่อธารน้ำแข็งละลายออกไปหมด ก็จะเหลือแต่หุบเขาที่มีภาพตัดขวางเป็นรูปตัว U   เรียกหุบเขาแบบนี้ว่า U shape valley  หุบเขานี้ลึกมาก เมื่อยุคน้ำแข็งหมดไป ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น น้ำก็เข้ามาท่วมใน U shape valley นี้ กลายเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีลักษณะพิเศษ  เรียกว่า Fjord shoreline   น้ำลึกจนเรือเดินทะเลสามารถแล่นเข้าไปได้ เป็นภาพของการท่องทะเลในระหว่างหุบเขาสองฝั่งที่สูงชัน (fjord)   จะได้เห็นปากร่องห้วยหรือสบห้วย (เมื่อครั้งยังมีน้ำแข็งเต็มอยู่) แขวนลอยอยู่ที่หน้าผา เรียกว่า hanging valley ซึ่งหลายห้วยก็จะมีน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงชันมากๆ

ร่องน้ำที่เกิดจากธารน้ำแข็งจะมีภาพตัดขวางเป็นรูปตัว U  ในขณะที่ร่องน้ำที่เกิดจากน้ำไหลตามปรกติจะมีภาพตัดขวางเป็นรูปตัว V เรียกว่า V shape valley  


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ก.ย. 14, 22:27
ขอบพระคุณสำหรับรูปครับ 

เวลาพอเหมาะพอดีเลยครับ กำลังจะก้าวออกจากเรื่องของการขูดออก (destruction) เข้าไปสู่เรื่องของการพอกพูน (accretion) 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 14, 22:44

ร่องน้ำที่เกิดจากธารน้ำแข็งจะมีภาพตัดขวางเป็นรูปตัว U  ในขณะที่ร่องน้ำที่เกิดจากน้ำไหลตามปรกติจะมีภาพตัดขวางเป็นรูปตัว V เรียกว่า V shape valley  


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 14, 22:54
ผลจากการกัดเซาะและแซะออกไป ทำให้เกิดยอดเขาที่มียอดแหลม เรียกว่า horn คล้ายกับการตักไอซ์ครีมเป็น scoop วนรอบจุดใดจุดหนึ่ง ก็จะทำให้เกิด horn   ส่วนร่องที่เกิดจากการควักไอติมออกไป รอบๆ horn นี้ เรียกว่า cirque  

ยอดเขาในเทือกเขาแอลป์จึงมีชื่อเรียกที่ลงท้ายด้วยคำว่า horn    ส่วนคำว่า peak นั้นจะใช้ในลักษณะเป็นคำลักษณะนาม (? คิดว่าใช้ศัพท์ถูกต้องนะครับ)

นึกถึงเทือกเขา Big Horn ใน Wyoming ที่เคยขับรถข้ามไปแล้วเมื่อออกจากโคโลราโดจะไปเที่ยวเยลโล่สโตน  มันเป็นเทือกเขายาวเหยียด  มีถนนวนขึ้นไปถึงยอดแล้ววนลงไปอีกด้านหนึ่งของเขา     ตอนไป หิมะตกบนยอดเขาอยู่ด้วย  รถคันอื่นๆที่ตอนแรกก็ขับตามกันมาดีๆ   แล้วหายไปทีละคัน   ไม่รู้ว่าเลี้ยวไปทางไหน  มีแต่รถเราคันเดียวขับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ 
ดูจากเมฆลอยผ่านหน้ารถไป ก้อนแล้วก้อนเล่า ทำไมมันสูงขนาดนี้   จะเลี้ยวกลับก็ไม่มีทางเลี้ยว  เพราะเป็นทางไหล่เขา    ค่อยๆไต่ไป จนข้ามเขาไปได้ในที่สุด   
นึกว่าจะเอาชีวิตไปทิ้งในเหวข้างทางเสียแล้วค่ะ

มารู้ทีหลังว่ากางแผนที่ไปผิดทาง   เพราะตอนดูแผนที่  ผู้ไม่ชำนาญการไปเลือกทางสั้นที่สุดซึ่งต้องข้ามเขาไป แทนที่จะเลือกทางเลียบเชิงเขาที่ไกลกว่าแต่ปลอดภัยกว่าค่ะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 ก.ย. 14, 21:47
Wyoming และ Colorado เป็นรัฐที่ไม่มีโอกาสได้ไปเยือนเลย ได้เห็นแต่ภาพว่าสวยมาก เคยวาดฝันไว้แต่ดั้งเดิมถึงการไปพำนักอยู่ในกระต๊อบกลางป่าบนภูเขา เดินลุยหิมะอยู่ในดงต้น Birch  ใส่เสื้อ flannel นั่งอยู่กับเตาผิง   

แต่ก็ได้มีโอกาสสัมผัสสถานที่คล้ายแบบนี้ในรัฐ Quebec ในแคนาดา แต่เป็นช่วงฤดูร้อนที่อากาศยังคงหนาวเย็น ได้ช่วยเขาตัดต้น birch ตัดเป็นท่อนๆแล้วผ่าเป็นฟืน  ใช้ส้วมหลุม  ได้พายเรือแคนนูในแอ่งน้ำขนากเล็กที่เรียกว่า lake ที่น้ำใสจนกระทั่งมองเห็นพื้น   ทะเลสาบนี้เป็นผลมาจากการกระทำของธารน้ำแข็ง ซึ่งเรียกแอ่งน้ำแบบนี้ว่า kettle lake


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 ก.ย. 14, 22:16
ได้เล่าวิธีการบิหินให้เป็นชิ้นๆ วิธีเซาะร่องโดยใช้การครูด วิธีการอุ้มพาก้อนหินและดินทรายต่างๆ แล้ว    คราวนี้ก็มาถึงการเอามากองรวมกัน

พวกก้อนหินดินทรายที่ถูกอุ้มมาโดยธารน้ำแข็งนี้ ไม่ใช้คำเรียกว่าตะกอนที่ตรงกับคำว่า sediments   แต่ใช้คำว่า till   ซึ่งเมื่อน้ำแข็งละลาย พวก till ก็จะหลุดออกมากองรวมกัน เรียกว่า moraine     

till คือพวกหินดินทรายที่ถูกน้ำแข็งพัดพามา มีความร่วน ยังไม่จับตัวกันแน่นจนกลายเป็นหิน  แต่หากกลายเป็นหินก็จะเรียกว่า tillite

มีอีกคำหนึ่งที่ควรจะได้ทราบไว้ คือ esker  ซึ่งเป็น till ที่กองรวมกันเป็นสันคันดินยาวคดโค้งไปมา


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 ก.ย. 14, 22:35
ถ้ามีโอกาสได้บินจากเมือง Seattle ของสหรัฐฯ หรือจาก Vancouver ของแคนาดา ไป Toronto หรือ Ottawa หรือ Montreal   ให้นั่งด้านซ้ายริมหน้าต่างนะครับ อากาศดีๆจะได้เห็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำแข็งและธารน้ำแข็งทั้งหมดเลย

จะเห็น esker เป็นสันคันดิน เป็นเส้นค่อนข้างตรงยาวเหยียด   จะเห็น kettle lake ก็คือบรรดาทะเลสาบทั้งหลายมากมายนับไม่ถ้วน จะ moraine ชนิดต่างๆ (end moraine, side moraine)  จะเห็น bog swamp หรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หรอมแหรม แล้วก็เห็นพื้นที่ราบๆที่ถูกปกคลุมไปด้วย peat (การแปรเริ่มต้นก่อนที่จะไปเป็นถ่านหิน)

พรุ่งนี้จะได้เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งระบบเลยครับ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ก.ย. 14, 18:10
เมื่อธารน้ำแข็งค่อยๆเคลื่อนไหลลงมาในร่องรูปตัว U   พร้อมๆกับอุ้มเอาก้อนหิน เศษหิน ดิน ทราย ซากพืช ซากสัตว์ มาพร้อมกับตัวมัน
พวกเศษและซากเหล่านี้ ไม่ได้มีโอกาสได้กลิ้งหมุน ตกกระทบ กระแทกกันเองหรือปะทะกับท้องร่องที่มันเคลื่อนที่ผ่าน  ไม่เหมือนกับการอุ้มพาไปโดยลม น้ำไหล หรือคลื่นทะเล ซึ่ง (ด้วยตัวกลางที่นำพาไปนั้นมิได้เป็นเกราะแข็งดังน้ำแข็ง) ทำให้เกิดการย่อยให้เล็กลง (breaking down) และเกิดการคัดขนาด (sorting) ให้มีความใกล้เคียงกันในด้านขนาดบ้าง ด้านน้ำหนักบ้าง และด้านรูปร่างและรูปทรงบ้าง (ขึ้นอยู่กับมิติของพลังในองคาพยพของสิ่งแวดล้อมต่างๆนั้นๆ)

   .....โดยหลักการพื้นฐานปรกติ ก็คือ ตะกอนยิ่งมีขนาดเล็กมากเพียงใด ยิ่งมีความมนและใกล้ทรงกลมมากขึ้นเพียงใด ก็ย่อมแสดงถึงการถูกพัดพามาเป็นระยะทางไกลมากๆจากต้นกำเนิด      และตะกอนที่มีขนาดใกล้เคียง (well sorted) กันย่อมแสดงว่าได้อยู่ในกระบวนการนำพาของตัวกลางนั้นๆเป็นเวลาค่อนข้างนาน.....
 
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ตะกอนที่ถูกอุ้มพามาโดยธารน้ำแข็งจึงมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากตะกอนที่เกิดจากตังกลางอื่นๆ คือ มีขนาดคละกัน มีความเป็นเหลี่ยม คม และมน ต่างๆกันไป


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ก.ย. 14, 18:34
ในระหว่างที่ธารน้ำแข็งไหลนั้น พื้นผิวด้านที่สัมผัสกับอากาศของมันก็มีการละลายด้วย  น้ำที่ละลายจากน้ำแข็งนั้นก็จะนำพาตะกอนไหลลงไปทางด้านข้าง  เรียกตะกอนที่สะสมอยู่เป็นทิวด้านข้างของธารน้ำแข็งนี้ว่า side moraine     

ที่ปลายของธารน้ำแข็งดังรูปของ อ.เทาชมพู (คห.69) เรียกว่า glacier tongue   ที่ปลายสุดนี้ก็คือบริเวณที่มีการละลายของธารน้ำแข็งมาก ก็จะเกิดกองตะกอน เรียกว่า end moraine    คราวนี้ ธารน้ำแข็งก็ไหลดันลงมา การละลายก็เกิดขึ้นพร้อมๆกันไป ในความสมดุลย์นี้ ก็จะเกิดการสะสมของตะกอนให้เป็นกองสูงเป็นสันสูงขึ้นเป็นวงรอบปลายธารน้ำแข็งนั้นๆ  เมื่อถึงจุดหนึ่ง ธารน้ำแข็งก็จะหดตัวเข้าไป แต่น้ำที่ละลายมาจากธารน้ำแข็งนั้นก็ยังคงไหลลงสู่อ่างในวงรอบของ end moraine เกิดเป็นทะเลสาบ ดังที่ อ.เทาชมพู หยิบยกขึ้นมาปาฐก



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ก.ย. 14, 18:39
ยังมีทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการละลายของธารน้ำแข็งในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า kettle lake  ซึ่งดูจะกักเก็นน้ำได้ค่อนข้างจะถาวรมากกว่า end moraine lake


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ก.ย. 14, 21:09
ที่บริเวณปลายธารน้ำแข็ง (glacier tongue) นั้น ธารน้ำแข็งจะแตกเป็นร่องขวาง  น้ำแข็งที่ละลายจะช่วยเซาะร่องแตกนี้ (เรียกว่า crevasse) ให้ใหญ่ขึ้น  ซึ่งในที่สุดก็จะตัดแบ่งธารน้ำแข็งออกมาเป็นก้อนใหญ่ๆ  (คล้ายกับภาพที่เราเห็นในสารคดีที่มีการท่องเรือไปชมก้อนน้ำแข็งปริหลุดออกมาจากธารน้ำแข็ง ลอยฟ่องกลายเป็นภูเขาน้ำแข็งในทะเล)

ในพื้นที่บนบก ก้อนธารน้ำแข็งนี้มีน้ำหนัก ก็จะกดทับดินให้ยุบเป็นแอ่ง พร้อมไปกับค่อยๆละลาย พวก till ก็จะลงมากองอยู่รอบๆ กลายเป็นสันขอบแอ่งน้ำ ในที่สุดก็เป็นทะเลสาบที่เรียกว่า kettle lake กระจายอยู่ทั่วไป

ถึงตอนนี้ก็พอจะเห็นภาพแล้วนะครับว่า end moraine lake นั้นมันอยู่ในร่องของธารน้ำแข็ง แต่พวก kettle lake นั้นจะพบอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบ 



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ก.ย. 14, 17:04
end moraine lake นั้น ในความเห็นของผมแล้ว คำเรียกที่น่าจะตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด น่าจะเรียกว่า end moraine reservoir  เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับการที่ตะกอนตกมาสะสมกันจนเป็นเสมือนสันเขื่อน กักน้ำจนเป็นอ่างเก็บน้ำเสมือนกับการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทั่วๆไป

ก็เข้ามาถึงเรื่องว่า แล้วทำไมน้ำจึงไม่รั่วซึมแต่แรก เพิ่งจะมารั่วซึมในภายหลัง ??

ผมจะพยายามอธิบายนะครับ แต่จะต้องขออภัยแต่แรกเริ่มเลยว่า เรื่องอาจจะวกวนและสลับไปมาบ้าง   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ก.ย. 14, 19:04
เอาลูกเทนนิสหลายๆลูกมาเทใส่ลงในท่อน้ำขนาดสัก 8 นิ้ว ยาวสัก 1 เมตร วางตั้งไว้โดยให้ปลายด้านล่างเปิดลอยไว้   เอาลูกปิงปองมาเทใส่ในท่อแบบเดียวกันอีกท่อหนึ่ง  เอาลูกปัดขนาดประมาณเม็ดไข่มุกมาใส่เทใส่ในอีกท่อหนึ่ง แล้วก็เอาลูกปัดขนาดประมาณหัวเข็มหมุดมาเทใส่ในอีกท่อหนึ่ง   
เมื่อลองสังเกตดูก็จะเห็นได้ในทันที่ว่า รูพรุนของกลุ่มลูกเทนนิสมีขนาดใหญ่สามารถเห็นได้ด้วยตา แต่รูพรุนของกลุ่มลูกปัดขนาดหัวเข็มหมุด เราแทบจะมองไม่เห็นรูพรุนเหล่านั้นเลย
คราวนี้ เทน้ำสักประมาณปีบหนึ่งลงไปในแต่ละท่อ เราจะเห็นว่าน้ำในท่อที่ใส่ลูกเทนนิสจะไหลผ่านได้สดวกและเร็วมาก ในขณะที่น้ำจะไหลผ่านท่อที่ใส่ลูกปัดขนาดหัวเข็มหมุดช้ากว่าท่ออื่นๆทั้งหมด 

โดยข้อเท็จจริงแล้ว วัสดุทรงกลมไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม เมื่อนำมากองรวมกัน จะเกิดมีช่องว่างระหว่างวัสดุแต่ละหน่วยมากที่สุด หรือมีความพรุน (porosity) มากที่สุด     แต่กระนั้นก็ตาม น้ำจะไหลผ่านช้าลงตามลำดับขนาดของขนาดวัสดุที่เล็กลง เนื่องจากขนาดช่องว่างระหว่างวัสดุเล็กลง ความสามารถใหนการซึมผ่านวัสดุตัวกลางใดๆนี้เรียกว่า permeability   

คราวนี้ ลองทำในแบบเดิม แต่เอาลูกกลมที่ได้กล่าวถึงมา มาคลุกคละกัน  ทั้งแบบสองชนิด สามชนิด และสี่ชนิด  และในสัดส่วนที่ต่างกัน  เราจะเห็นได้ในทันทีว่า ความสามารถในการไหลผ่านของน้ำจะลดลงกว่าเดิมมาก ยิ่งมีสัดส่วนของวัสดุต่างขนาดคละอยู่มาก น้ำก็จะยิ่งไหลผ่านช้ามาก หรือแทบจะไม่ไหลผ่านได้เลย

ข้อเท็จจริงมีอีกว่า วัสดุที่มีขนาดต่างกันและมีรูปทรงต่างกัน (เหลี่ยม มน กลม แบน ฯลฯ) เมื่อคละอยู่ร่วมกัน จะมีสภาพแทบจะไม่มีความพรุน และไม่มีคุณสมบัติที่จะให้สารใดๆไซึมผ่านได้เลย  (impermeable)   
 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ก.ย. 14, 19:29
ในการสำรวจและเจาะหาน้ำบาดาล น้ำมัน แกสธรรมชาติ นั้น    หนึ่งในข้อมูลสำคัญก็คือ สภาพของ porosity และ permeability ของชั้นหินต่างๆนี้เอง  โดยเฉพาะในด้านวิชาการเกี่ยวกับปิโตรเลียมจะใช้โยงไปเป็นข้อมูลสำคัญใช้ในการประเมินปริมาณสำรอง (บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ุหลัก PV=nrT  ซึ่งคนที่เรียนมาเป็นนักเคมี วิศวกร นักฟิสิกส์ และนักวิชาการในอีกหลากหลายสาขาจะรู้จักและคุ้นเคยดี)


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ย. 14, 18:17
ผ่านกระบวนวิธีกำเนิดมาแล้ว  คราวนี้ก็มาถึงเรื่องของวาระสุดท้าย

ตะกอนหินดินทรายที่ธารน้ำแข็งพามาตกอยู่รวมกันนี้ แม้จะมีความพรุนและความสามารถในการซึมผ่านของน้ำในระดับต่ำมาก น้ำก็ยังพยายามเคลื่อนซึมผ่านไปตามรูพรุนต่างๆ ด้วยอัตราการซึมที่ค่อนข้างช้า เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว น้ำในรูพรุนทั้งหลายก็แข็งตัวปิดกั้นไม่ให้เกิดการซึมผ่านได้  แล้วก็เกิดเป็นการอุดตันด้วยน้ำที่แข็งอย่างถาวร  ก็จนกระทั่งเกิดช่วงอากาศอบอุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนั่นแหละ น้ำที่แข็งอยู่ในรูพรุนจึงละลาย น้ำก็จะซึมผ่านได้ต่อไป


 






กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ย. 14, 18:24
ที่ผมได้กล่าวว่า จนกระทั่งเกิดช่วงอากาศอบอุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นั้น ก็จะขอเล่าเรื่องที่ได้จริงที่ได้พบมาด้วยตนเอง ดังนี้ครับ

ที่เคยเล่าว่าผมไปคุมงานอยู่ที่กรุง Ottawa เมืองหลวงของแคนาดานั้น ผมไปอยู่ช่วงฤดูหนาว จึงได้สัมผัสกับสภาพของอากาศทั้งแบบ หิมะตกมากๆอุณหภูมิลบมากๆ (


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ย. 14, 18:34
 ฤดูหนาวในอ๊อตตาวา


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ย. 14, 19:07
ขออภัยครับ ไม่ทราบว่าไปถูกอะไรเข้า มันเลยส่งข้อความไปเลย

ต่อครับ

หิมะตกมากมายมากๆ (แถวๆ +/- 0 องศา) หิมะบางส่วนจะละลาย (เนื่องจากความร้อนจากผิวดิน) กลายเป็นน้ำ พออุณหภูมิลดต่ำลงไปอีก น้ำบนผิวถนนที่ละลายจากหิมะก็แข็งตัวเป็นเหมือนกระจก (เรียกกันว่า black ice) เมืองเขาก็จะเอาเกลือเม็ดผสมหินมาโรยตามถนนเพื่อให้แผ่นน้ำแข็งบนผิวถนนนั้นละลาย รถจะได้สัญจรได้ แล้วก็จะนำรถมากวาดหิมะเพื่อเปิดช่องทางการจราจรให้กว้างมากขึ้น ขนเอาหิมะไปเทกองไว้ในที่ๆเตรียมไว้ไม่ไกลจากแหล่งที่ขนมา    
บังเอิญบ้านเช่าที่อยู่นั้น อยู่บนถนนสายหลัก ใกล้คลอง Rideau ใกล้ศูนย์การค้ากลางเมือง และอยู่ใกล้กับแหล่งกองหิมะที่ขนมาทิ้ง ก็เลยได้สัมผัสกับความต่างที่เราไม่คิดว่าจะมี คือ เข้าไปกลางเดือนเมษายน อุณหภูมิอบอุ่นมากพอที่จะใส่เสื้อยืดนั่งชมดนตรีในสวนได้อย่างสะบาย  แต่กองน้ำหิมะนั้นยังละลายไม่หมดเลย   จากนั้นก็ได้เห็นในอีกหลายที่ในยุโรป ในญี่ปุ่น ว่าในช่วงที่อากาศกำลังสะบายนั้น ก็ยังคงมีกองหิมะที่แข็งเป็นน้ำแข็งยังละลายไม่หมด

เล่ามาเพื่อจะให้เห็นภาพว่า สันเขื่อนของ end moraine lake นั้น น้ำที่อยู่ในรูพรุนจะยังคงความสามารถคงสภาพเป็นน้ำแข็งได้อยู่หลายเดือน คร่อมช่วงฤดูอากาศอบอุ่นได้อย่างสะบายๆ   เขื่อนจึงยังไม่รั่วซึม  จนกระทั่ง...    


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ย. 14, 19:41
ขอบพระคุณสำหรับรูปหน้าหนาวในอ๊อตตาวาครับ

ทำให้ย้อนรำลึกถึงครั้งไปปฏิบัติงานคร่อม 2 ช่วงฤดูหนาว กับช่วงสั้นๆใน 1 ช่วงอบอุ่น   ช่วงหนึ่งที่ไปอยู่นั้นหนาวจัดลงไปมากกว่า -30 องศา ปรกติก็แถวๆ -15+/- ทำให้ทราบเลยว่า บรรดาเสื้อผ้าที่เรียกว่าใช้กับหน้าหนาวที่มีขายกันอยู่ในตลาดทั่วไปในต่างประเทศนั้น สามารถใช้ได้และให้ความอบอุ่น (แม้สวมทับ ใส่หลายชั้น ...) ได้ไม่เกินประมาณ -20 องศา ใส่แล้วทนได้ไม่เกินประมาณ 20 นาที อาการเหมือนกับโดนเข็มความเย็นแทงทะลุเสื้อผ้าเข้ามาถึงผิวหนังเลย  ถุงมือที่เหมาะสมที่สุดคือแบบนวมนักมักมวย แบบแยกนิ้วเอาไม่อยู่ครับ

เสื้อผ้าสำหรับอุณหภูมิที่มากกว่า -20 นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งเฉพาะสำหรับเขาเลยทีเดียว


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ก.ย. 14, 18:15
ผ่านเรื่องรูพรุนของ moraine ถูกอุดด้วยน้ำแข็งจนน้ำซึมผ่านไม่ได้  คราวนี้ก็มาถึงเรื่องว่า แล้วน้ำรั่วซึมออกไปจนหมดได้อย่างไร
ก็คงจะอธิบายได้ดังนี้

เมื่อน้ำในรูพรุนกลายเป็นน้ำแข็งนั้น น้ำก็เบ่งขยายตัวเอง ซึ่งมีกำลังมากพอที่จะเบ่งกองที่เป็น moraine ทั้งกองให้พองขึ้น และขยับปรับการเรียงตัวของพวกเศษหินดินทรายที่เป็นส่วนประกอบของกอง moraine นั้นๆ

เมื่อเข้าสู่ช่วงอบอุ่น น้ำแข็งในรูพรุนบริเวณส่วนผิวของ moraine ก็จะละลายไหลซึมออกมา แต่ส่วนลึกยังคงมีความเย็นและยังเป็นน้ำแข็งอยู่ พอเข้าช่วงอากาศเย็นจัด น้ำในรูพรุนในส่วนลึกของ moraine คงสภาพแข็งต่อไป แต่รูพรุนในบริเวณกลับกลายเป็นรูพรุนที่ว่างลง เนื่องจากน้ำซึมออกไปแล้ว พอเข้าช่วงอากาศอบอุ่นอีกครั้ง น้ำในรูพรุนในส่วนลึกจากผิวมากกว่าเดิมก็จะละลายซึมออกไป เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำๆจนในที่สุดก็ไม่เหลือน้ำแข็งอุดอยู่ในรูพรุน   น้ำก็จะซึมผ่านได้อย่างสะบาย


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ก.ย. 14, 18:44
แล้วน้ำซึมผ่านจนอ่างน้ำแห้งได้อย่างรวดเร็วหรือช้าเพียงใด

ลองสังเกตดูกองดินกองทรายขนาดใหญ่ๆที่ยังชุ่มน้ำ ที่ยังเห็นน้ำซึมออกมาเฉอะแฉะมากมายไปหมด     เราจะเห็นว่า น้ำที่ซึมออกมานั้นมีตะกอนเล็กๆปนออกมาด้วย บางครั้งก็อาจจะเห็นน้ำผุดออกมาคล้ายออกมาจากปลายท่อน้ำ   

ภาพที่เราเห็นนั้นก็คือ การที่น้ำพยายามจะเปิดทางให้ตัวเองไหลเป็นเส้นตรงมากที่สุด มิใช่ไหลหักไปมาตามรูพรุนระหว่างรูปทรงของเศษหินดินทราย   

การพยายามเปิดช่องไหลของน้ำนี้เรียกกันว่าเกิด piping ซึ่งเป็นเรื่องที่วิศวกรสร้างเขื่อนกลัวมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วแก้ไขยากมาก หรือถึงขนาดต้องทิ้งเขื่อนน้้นไปเลยเพราะจะกลายเป็นเขื่อนที่รั่ว กักเก็บน้ำไม่ได้  อันตรายมากไปกว่านั้นก็คือ ทำให้เกิดเขื่อนพังได้เหมือนกัน

end moraine lake ก็เกิดสภาพดังกล่าวนี้ได้เหมือนกัน
ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องต่างก็กลัวว่ามันจะพังทลายคล้ายเขื่อนพัง ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียค่อนข้างมาก  ดังนั้น การที่มันแห้งไปจึงดูจะเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความสะบายใจมากกว่า



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ต.ค. 14, 19:10
ทำให้นึกถึงอีกเรื่องนึง คือ glacier outwash plain   ซึ่งก็คือที่ราบที่เกิดจากน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งไหลบ่าไปในที่ราบพร้อมๆกับตะกอนเม็ดค่อนข้างเล็กหรือละเอียด  ด้วยความเป็นพื้นที่ฉ่ำน้ำ จึงมีวัชพืชเจริญเติบโต พอหน้าหนาวพืชก็ตาย เข้าหน้าอากาศอบอุ่นก็มีตะกอนมาใหม่ วัชพืชก็เกิดงอกใหม่ทับถมอยู่บนตัวมันเอง  นานเข้าก็กลายเป็นชั้นหนาที่มีแต่วัชพืชและตะกอนดินละเอียดทับถมกันอยู่ เป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาลมาก มีทั้งแบบที่พื้นดินยังฉ่ำน้ำอยู่ เช่น ในตอนเหนือของแคนาดา และในไซบีเรีย   มีทั้งเป็นแบบพื้นที่ดินแห้งแต่ชุ่มชื้น เช่น ทุ่งราบแพรรี แล้วก็มีแบบที่มีน้ำขังและมีต้นไม้ยืนต้น เช่น พื้นที่ระหว่างเมืองโตรอนโตกับอ็อตตาวาของแคนาดา

ก็ข้ามาถึง คำอีกสองสามคำ คือ peat, peat bog และ bog swamp

วัชพืชที่ทับถมกันจนหนานั้น เมื่อถูกย่อยสลายด้วยแบ็คทีเรียที่ใช้อ็อกซิเจนในการดำรงชีพ ทำให้เกิด peat ซึ่งเป็นแรกเริ่มของกระบวนการเปลี่ยนไปเป็นถ่านหิน (peat -->bituminus, brown coal -->lignite -->anthracite)  peat นี้แหละครับที่คนในพื้นที่หนาวเหน็บย่านนั้นเขาเอาพลั่วตัดให้เป็นก้อน แล้วยกเอามาวางทับบนหลังคาบ้านและข้างผนังบ้าน เป็นฉนวนกันความเย็น

ในพื้นที่ๆมีวัชพืชสะสมอยู่เป็นชั้นหนาอยู่เช่นกัน แต่ยังคงชุ่มชื้นและฉ่ำไปด้วยน้ำ เรียกกันว่า bog land  พื้นที่ลักษณะนี้ เมื่อจะใช้พื้นที่ก็จำเป็นที่จะต้องระบายน้ำออกไปให้แห้ง  ให้ความรู้สึกที่แปลกดีครับ เดินเหยียบก็รู้สึกสวกๆ เป็นพื้นที่มีสีเขียวสดใสแล้วก็มีผลไม้ลูกเล็กๆสีแดงอยู่กับพื้นหญ้า ก็ผลสตรอเบอรี่นั่นเอง (ประเภทมีกลิ่นหอมแต่ไม่มีรสเลย หรือกินไม่ได้นั่นเอง) เดินข้ามร่องน้ำเล็กๆที่เซาะเพื่อระบายน้ำ ก็เห็นน้ำซึมไหลอยู่ในร่อง  เป็นความรู้สึกที่กลับทางกับที่เราคุ้นเคยมา คือ เราเซาะร่องเพื่อเอาน้ำเข้าพื้นที่ แต่เขาทำเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่

สำหรับพื้นที่ๆฉ่ำน้ำจริงๆจนเห็นผิวน้ำนั้น เรียกกันว่า bog swamp หรือ swamp  เป็นพื้นที่ๆทำการเกษตรไม่ได้เลย นอกจากทำอุตสาหกรรมทำไม้ (ตัดไม้ ปลูกไม้ทดแทน)  พื้นที่นี้มียุงและแมลงดูดเลือดพวกริ้นชุมจริงๆ   จะด้วยตายอดตายอยากช่วงฤดูหนาวที่ยาวนานกระมัง มันไม่กลัวอะไรเลย บินตรงชนแล้วปักปากดูดเลือดอย่างเดียว 



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ต.ค. 14, 19:19
ขยายความต่อไปอีกเรื่องนึงครับ

พวกเศษหินดินทรายและตะกอนละเอียดที่ธารน้ำแข็งอุ้มพามาวางกองรวมกันนี้ ยังได้ให้ลายแทงขุมทรัพย์แก่เราอีกด้วย  การสำรวจและศึกษากองตะกอนและลงในรายละเอียดถึงเนื้อในของแต่ละก้อนเศษหิน จากนั้นจึงค่อยๆย้อนกลับไปตามเส้นทางที่ธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ผ่านมา ก็ทำให้ได้พบแหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น ทองคำ และ PGE (platinum group elements  ซึ่งจะต่อเนื่องไปถึงพวกธาตุโลหะหนัก_heavy rare earth elements_ที่เรานำมาใช้ใน hardware ของโลก IT ในปัจจุบัน)

เมื่อกองเศษหินดินทรายที่ธารน้ำแข็งอุ้มพามานี้แข็งตัวกลายเป็นหิน ก็จะเรียกว่าหิน tillite    แต่หากเป็นตะกอนละเอียดจากก้อนภูเขาน้ำแข็งละลายแล้วตกลงไปสะสมอยู่พื้นท้องทะเล เรียกว่า ice raft deposits 

นำพาเรื่องมาก็เพื่อจะเล่าเรื่องน่าสนใจของไทยเราครับ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ต.ค. 14, 19:29
outwash plain


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ต.ค. 14, 19:10
เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการพบเพชรในแหล่งแร่ดีบุกทางภาคใต้ของไทยใหมครับ

ผมจำไม่ได้ว่าที่แหล่งแร่ใดบ้า่ง จำได้แต่ว่าแถวพังงาและภูเก็ต พบในรางล้างแร่ของเรือดูดแร่ขนาดใหญ่  และซึ่งตัวผมเองก็เคยเห็นเพียงไม่กี่เม็ดเท่านั้น

เป็นเรื่องที่รู้และล่าขานกันมานานแล้ว แต่ดูจะไม่มีใครสนใจติดตามมากนัก รวมทั้งยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบฯเพื่อติดตามศึกษาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจนถึงปัจจุบัน  โดยสรุปก็คือ เราเกือบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับที่มาที่ไปของมันเลย  เดาแบบผู้มีความรู้ทางวิชาการลูกเดียวเลยครับ




กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ต.ค. 14, 18:37
ขอขอบพระคุณ อ.เทาชมพูอีกครั้งสำหรับภาพประกอบ outwash plain

ภาพนี้ดีมากเลยครับ    ฉากหลังของภาพนี้จะเห็นเหมือนกับภูเขาที่ถูกที่ตักไอซ์ครีมขูดออกไปเป็นร่อง ที่เรียกว่า cirque     ได้เห็นยอดเขาที่เกิดจากการถูกขูดออกไปในทิศทางต่างๆจนกลายเป็นยอดแหลม ที่เรียกว่า horn    ได้เห็นตัวธารน้ำแข็งที่ยังคงอยู่ในร่องระหว่างยอดเขา    ได้เห็นร่องธารน้ำแข็ง ที่เรียกว่า glacier valley และ U shape valley     ได้เห็นกองหินดินทรายที่ธารน้ำแข็งนำมากองรวมกัน (เนินด้านหน้าของภาพทั้สองฝั่ง) ที่เรียกว่า moraine  ซึ่งในภาพนี้น่าจะเป็น side moraine    ได้เห็นที่ราบด้านซ้ายที่มีระดับสูงกว่าที่ราบส่วนที่มีลำธารไหล ซึ่งคือที่ราบจากการที่ธารน้ำแข็งละลาย แล้วน้ำที่ละลายนั้นก็นำพาเอาเศษหินดินทรายสาดกระจายไปทั่วๆ  ที่เรียกว่า outwash plain (ทั้ง 2 ระดับ) ซึ่งเป็นพื้นที่ๆถูกปูด้วย till   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ต.ค. 14, 18:46
กลับมาเรื่องเพชรในแหล่งลานแร่ดีบุกครับ

ผมรู้สึกว่าจะเสียมารยาทมากไปหน่อยที่อธิบายข้อสงสัยในกระทู้แล้วก็เลยยึดเอากระทู้ของ อ.เทาชมพู มาเป็นเสมือนหนึ่งของตนเอง มาเล่าในเรื่องอื่นๆ

กราบขออภัยจริงๆครับ   แล้วก็จะเลยขออนุญาติเจ้าของกระทู้ เล่าเรื่องเพชรต่อให้จบสิ้นกระบวนความครับ



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 14, 18:59
กำลังจะเข้ามาบอกคุณตั้งว่าสนใจเรื่องเพชรในเหมืองแร่ดีบุกค่ะ อยากฟังต่อ

ส่วนตัวคิดว่า มันอาจมีเพชรเล็กน้อยมาก จนค้นหาแล้วไม่คุ้ม เลยไม่มีใครทำเป็นล่ำเป็นสัน     
คงไม่ใช่ว่า พวกหัวใสรู้แล้วก็ขุดเพชรกันเงียบๆไม่กระโตกกระตากให้พวกเรารู้จนบัดนี้   เหมือนบ่อน้ำมันที่หายไปวันละแสนบาร์เรลนะคะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ต.ค. 14, 18:33
ถูกของอาจารย์ครับ พบน้อยมาก  พบในรางล้างแร่ แล้วก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาเฝ้าสังเกตุให้ดี จึงจะมีโอกาสได้พบสักเม็ดหนึ่ง  ผมเดาไม่ออกว่าเป็นหนึ่งในจำนวนเม็ดทรายเท่าใดที่ผ่านรางล้างแร่

ความน่าสนใจของเรื่องราวเป็นดั่งนี้ครับ

เพชรที่พบนั้นมีขนาดเม็ดพอๆกับเม็ดทรายหยาบ (ก็เล็กกว่าหัวก้านไม้ขีดไฟ)  มีรูปทรงเป็นผลึกแบบ Octahedral ชัดเจน (ทรงแปดเหลี่ยมเหมือนเอาฐานของปิรามิดสองปิรามิดมาชนกัน) ซึ่งเป็นรูปทรงของผลึกเพชรที่พบในธรรมชาติ

ความน่า่สนใจเรื่องแรก คือ การที่เพชรยังคงรูปทรงที่เป็นผลึกสมบูรณ์     
   ซึ่งดูจะขัดกับการได้พบในแหล่งแร่แบบลานแร่ (placer deposits) เนื่องจากแหล่งแร่ประเภทนี้เกิดมาจากการที่น้ำพัดพาเอาเม็ดแร่ที่หลุดออกมาจากการผุพังของแหล่งต้นกำเนิด นำพามาตกตะกอนรวมกันจนมีความสมบูรณ์มากพอที่จะคุ้มค่าลงทุนทำเหมือง
   กระบวนการพัดพาโดยน้ำไหลนี้ ในระหว่างทางการพัดพามา จะมีทั้งการกระแทก การกลิ้ง การถูกกระทบ ฯลฯ ซึ่งจะยังผลให้เหลี่ยมของผลึกถูกลบไปมากเลยทีเดียว     ถึงแม้ว่าเพชรจะมีความแข็งมากกว่าแร่และหินใดๆก็ตาม ก็คงมิอาจจะทนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการนำพามาที่จะทำให้มันยังคงสภาพความสมบูรณ์ได้ดังที่ได้พบ     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ต.ค. 14, 18:41
Octahedral diamond


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ต.ค. 14, 19:05
นำพาไปสู่ความน่าสนใจในหลายๆเรื่องเลยทีเดียว อาทิ  มันน่าจะถูกพัดมาไม่ไกลนักจากแหล่งกำเนิดของมัน  แหล่งต้นกำเนิดนั้นจะอยู่ที่ใดในไทย ?  ในพม่า ?  หรือ อินเดีย/บังคลาเทศ ?    และ ฤาในย่านนี้จะมีหินต้นกำเนิดเพชร (หิน Kimberlite ในเมือง Kimberley ของ S.Africa) ดังที่เป็นแหล่งเพชรสำคัญทั่วโลก

    

    

  


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ต.ค. 14, 20:12
รูปผลึกของเพชรของอาจารย์เทาชมพู ทำให้ผมคิดไปถึง คำว่า ราคา (price) กับ คุณค่า (value)

ในความเห็นส่วนตัวของผมนั้น ผมคงจะชื้อเพชรที่อยู่ในทรงรูปผลึกที่สมบูรณ์ (ซึ่งราคาน่าจะถูกกว่ามาก) แล้วนำไปทำเรือนประกอบเพื่อเปล่งประกายความหายากหรือความสมบูรณ์ของมัน ให้มันมีทั้งค่าและราคาเหมาะสมแก่ตัวของมัน  โดยนัยก็คือ ผมให้ความสำคัญกับ value ในตัวตนของมันมากกว่า price
   
ผมเห็นว่าราคาที่เกิดมาจากการเจียระไน การปรุงแต่งให้มันเปล่งประกายความงามของมันออกมานั้น  ในหลายๆรัตนชาติได้ทำให้ตัวตนเดิมๆหรือคุณค่าของมันหายไปมาก   แต่ก็มีมากมายหลายๆรัตนชาติที่จำเป็นต้องปรุงแต่งมัน มันจึงจะฉายแววความมีค่าและราคาของมันออกมา         

นานาจิตฺตํ ครับ   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ต.ค. 14, 20:29
คุณตั้งคงหมายถึง uncut diamond  เพชรที่ยังไม่ได้เจียรนัย    มันก็สวยไปอีกแบบหนึ่งนะคะ  เลยไปหารูปมาให้ดู
สองรูปบนน่าจะถูกใจคุณตั้ง  ส่วนดิฉันชอบล่างซ้าย
กำไลที่นำมาให้ดู เห็นแล้วนึกถึงเพชรซีกของไทย  ไม่รู้ว่ามันคือ uncut diamond  ประเภทหนึ่งหรือเปล่า


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ต.ค. 14, 18:43
หากต้องเลือกเอาเพียงวงเดียว อาจารย์ก็เดาใจผมถูก   ที่จริงแล้วก็ชอบทุกวงครับ

สำหรับกรณีที่เรียกว่าเพชรซีกนั้น  เท่าที่ผมได้เคยมีโอกาสสัมผัสและดูด้วยตาเปล่าอยู่บ้าง ผมเห็นว่ามีทั้งที่เป็นเพชรซีกที่เป็น uncut diamond จริงๆ และที่ไม่ใช่เพชรแต่เป็นแร่ชนิดอื่น โดยเฉพาะเป็นแร่ Topaz ที่มีความโปร่งใสแต่ไร้สี 

Topaz นี้ก็คือ บุษราคัม ซึ่งหากมีเนื้อที่มีความบริสุทธิ์ ก็จะคล้ายแก้วใสๆ  แต่ส่วนมากจะพบแบบมีสี เนื่องจากมีธาตุมลทินบางธาตุเกิดร่วมอยู่ในเนื้อ จึงมีหลากสีอีกด้วย   ไทยเราเรียกพลอยในตระกูล Corundum (บรรดาพลอยจันทร์ทั้งหลาย) ที่มีสีออกไปทางเหลืองว่า บุษราคัม   ซึ่งสำหรับผมเห็นว่า แต่เดิมนั้นก็เรียกว่าพลอยน้ำบุษฯ ต่อมาคำว่า น้ำ หายไป เลยกลายเป็นบุษราคัม แล้วก็มีกำกับอีกด้วยว่า ของดีจริงคือ มีสีดั่งน้ำเหล้าแม่โขง     

ผมเดาเอาว่า สมัยก่อนโน้น ภาษาไทยคงจะใช้คำเรียกรวมๆว่า เพชรซีก สำหรับบรรดารัตนชาติเม็ดเล็กๆทั้งหลายที่มีความใสคล้ายแก้ว   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 14, 19:02
ไปดูรูปเพชรซีกในกูเกิ้ล เห็นมีหลายแบบ  บางแบบก็เหมือนเพชรเจียรนัยอย่างหยาบๆ  บางชิ้นก็เหมือน uncut diamond
รูปนี้เขาบรรยายว่าเป็นแหวนเพชรซีกโบราณ     หน้าตาคล้ายๆเพชรขุดขึ้นมายังไม่ได้เจียนะคะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 14, 19:04
แบบนี้ เจียรนัยแล้วแน่นอน


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 14, 19:09
ค้นคำว่าบุศราคัม เขาแปลว่า yellow sapphire ค่ะ 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ต.ค. 14, 19:09
ผมมีข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆที่อยากจะให้นำไปพิจารณาดังนี้ครับ

เพชรเป็นแร่ที่มีความแข็งมากที่สุดในบรรดาสารประกอบทั้งหลายที่เกิดในธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า มันทนต่อการขูดขีดให้เกิดริ้วรอยใดๆบนผิวหน้าของตัวมัน  ดังนั้น ไม่ว่ามันจะมีรูปทรงเช่นใด มันก็จะคงดำรงความใสของมันอยู่เช่นนั้น และไม่ว่าจะผ่านการใช้งานนานมาแล้วเพียงใดก็ตาม

แต่เรื่องของความแวววับ การเล่นไฟ หรือน้ำของมันนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการปรับแต่งที่เหมาะสม

ครับ เพชรซีกคงจะไม่ผ่านกระบวนการปรับแต่ง (enhancement) ใดๆมากนัก แต่ไม่ว่ามันจะถูกใช้งานมานานเพียงใดก็ตาม มันก็ควรจะยังคงสภาพความใสดังแก้วของมันเหมือนกับที่เขาเอาความงามใสของมันมาประกอบเป็นเครื่องประดับแต่แรกเริ่ม
 
ที่เรียกว่าเพชรซีกที่อยู่ในเครื่องประดับสมัยก่อนๆโน้น หากมีความขุ่นมัว ก็จึงน่าจะมิใช่เพชรแท้  น่าจะเป็นพลอย Topaz ซึ่งมีความแข็งน้อยกว่าเพชรไม่มากนัก หรือ อาจจะเป็นพลอย Corundum ก็ได้

ว่าไปตามหลักทางวิชาการนะครับผม    


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 14, 19:20
เคยเห็นพลอยขาวชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเพชร  เรียกว่าเพทาย   บางคนนำไปทำแหวนออกมาเหมือนเพชร แต่ราคาถูกกว่ามาก
ไม่ทราบว่ามันคือ Corundum หรือเปล่าค่ะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ต.ค. 14, 22:08
เพทาย ไม่ใช่ corundum ครับ  เป็นแร่ชื่ิอ Zircon  เป็นพวกที่มีได้หลากสีเช่นกัน  มีตวามแข็งกว่าแร่ Quartz (เขี้ยวหนุมาณ) เล็กน้อย จะเรียกว่าพอๆกันก็ได้ ส่วนมากจะพบเป็นเม็ดขนาดเม็ดทรายในลานแร่ดีบุก โดยเฉพาะในกองทรายท้ายรางล้างแร่ดีบุก ซึ่งหากนำมาผ่านเครื่องแยกแร่อีกครั้ง ก็จะเพิ่มจำนวนเม็ดมากขึ้น จัดเป็นกลุ่มแร่พวก heavy minerals


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ต.ค. 14, 19:11
เซอร์คอนเป็นแร่ที่เกิดร่วมกับหินแกรนิต และพบในหิน Pegmatite vein (ซึ่งเป็นสายแร่ที่นำพาแร่ที่มีคุณค่าทั้งทางอุตสาหกรรมและเครื่องประดับ และรวมทั้งตัวมันเองด้วย) 

zircon ที่พบในเนื้อหินแกรนิตจะมีขนาดเม็ดเล็กมาก แต่หากพบในหิน pegmatite ก็จะมีขนาดโตพอจะนำมาทำเครื่องประดับได้ 

แร่นี้มีคุณสมบัติพิเศษบางประการ คือ มันมักมีฟองอากาศ (ทั้งแบบมีและไม่มีของเหลวในฟองนั้น เรียกว่า inclusions หรือ fluid inclusions)   แล้วตัวมันเองก็มีเชื้อของธาตุยูเรเนียม (Uranium) ธาตุธอเรียม (Thorium) และธาตุอื่นๆติดอยู่ด้วย (เรียกว่ามี trace elements) จึงทำให้มันเกิดมีสีได้สารพัดสี    ในทางวิชาการเราใช้ข้อมูลที่ถูกกักเก็บไว้ใน inclusion ในแร่นี้ เพื่อสืบรู้สภาพต่างๆในช่วงเวลาของการกำเนิดหินและแร่ชนิดต่างๆ     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ต.ค. 14, 19:44
ไปค้น Zircon สีต่างๆมาประกอบกระทู้ค่ะ รวมทั้ง Zircon ที่เจียรนัยแล้ว


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ต.ค. 14, 20:18
กลับมาเรื่องเพชรที่พบในแหล่งแร่ดีบุกครับ

เรารู้แน่นอนว่า แร่ดีบุกพบอยู่ในหิน pegmatite ที่เกิดแทรกขึ้นมาเป็นสาย (vein) ในช่วงสุดท้ายของกระบวนการเกิดหินแกรนิต   เรารู้ว่าอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ (temperature & pressure) ของการเกิดแร่ดีบุกนั้นไม่สูงนัก  (ไม่ขยายความนะครับว่ารู้จากอะไร เพราะจะต้องเข้าไปในเรื่องทางเคมี)  โดยนัยก็คือ ดีบุกเกิดในสภาวะใกล้กับธรรมชาติบนพื้นผิวโลก

แต่เพชรนั้น เกิดในสภาพที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง    เพชรเกิดในสภาวะที่มีความเข้มสูงมากๆ โดยเฉพาะในเรื่องของอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ    เพชรสังเคราะห็จึงทำได้ยากมากกว่าพลอยสังเคราะห์

อย่างไรก็ตาม ในแหล่งแร่ดีบุกที่พบเพชรนี้  ขนาดของเม็ดแร่ดีบุกมีขนาดเล็กมาก (พอๆกับละเอียดสีดำ) ในขณะที่ขนาดเม็ดของเพชรที่พบมีขนาดใกล้หัวไม้ขีดไฟ    แต่เมื่อความถ่วงจำเพาะของเพชร (ประมาณ 3.5) น้อยกว่าแร่ดีบุก (ประมาณ 7.5)  ก็พอจะสอดคล้องกันในเชิงของ hydraulic equivalent (ขนาดต่างกันแต่น้ำหนักเท่ากัน จะตกจะกอนพร้อมกัน)    


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ต.ค. 14, 19:04
ก็เพราะตกตะกอนอยู่ด้วยกัน ก็แสดงว่าน่าจะถูกพัดพามาด้วยตัวกลางเดียวกันตัวใดตัวหนึ่งในสี่นี้_น้ำไหล ลม คลื่น น้ำแข็ง  หรือถูกนำพามาด้วยตัวกลางชนิดหนึ่งแล้วก็มาร่วมอยู่ด้วยกันให้อีกตัวกลางหนึ่งนำพาต่อไป

จะเป็นภาพใดก็ได้ แต่มันก็แสดงว่าแหล่งต้นตอนั้นมันอยู่ในพื้นที่ในบ้านเราและชายขอบ คือ ภายในวงรอบของพื้นที่รับน้ำ (catchment area) ของแม่น้ำสาละวินและอิระวดี  (ซึ่งก็อาจจะไปได้ไกลถึงเขตของแม่น้ำพรหมบุตรได้เช่นกัน)

หากเป็นเช่นนั้นจริง มันก็มีสองเรื่องที่ต้องนำมาคิด คือ ในพื้นที่ละแวกเอเซียตอนล่างนี้ ต้องมีหิน kimberlite ซึ่งเป็นหินแม่ของเพชร    หรือว่าเพชรนั้นถูกอุ้มมาพร้อมๆกับตะกอนอื่นๆโดยภูเขาน้ำแข็งที่ลอยฟ่องอยู่ในทะเล (ice rafts) นมนานกาเลมาแล้ว พอน้ำแข็งละลาย พวกเศษหินดินทรายก็จะตกลงสู่ก้นทะเล เหมือนกับเราเอาก้อนหินโยนลงไปในเลนที่กำลังเริ่มแห้ง   ซึ่งในกรณีภูเขาน้ำแข็งนี้ เราก็พบว่ามีชั้นหินที่แสดงภาพของก้อนหินหล่นลงมาฝังอยู่ในตะกอนดินก้นท้องทะเล (drop stone)  พบทางด้านตะวันตกของเราตั้งแต่แถวเขตราชบุรีลงไปจนถึงฝั่งตะวันออกตอนบนของเกาะภูเก็ต   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ต.ค. 14, 18:25
ให้บังเอิญว่า หิน kimberlite ซึ่งเป็นหินอัคนีชนิดหนึ่ง กับหินตะกอนที่เราพบตลอดแนวตามด้ามขวานของประเทศเรา ซึ่งเป็นหินตะกอน นั้น มีสีดำเหมือนกัน  และเราเองต่างก็ไม่เคยได้เห็นได้สัมผัสกับหิน kimberlite กันเลย แถมการสำรวจในภาคสนามก็อยู่ในช่วงของความขัดแย้งในความคิดด้านระบบการปกครอง มีข้อจำกัดมากของการเข้าไปในพื้นที่และการเดินสำรวจในพื้นที่ป่าเขา  ก็เป็นอันว่ามีข้อมูลจำกัดมาก

อย่างไรก็ตาม เราก็พอจะรู้อยู่บ้างว่า หินของเราที่ว่านี้ก็พบอยู่ในอินเดียในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเขาเรียกหินชนิดนี้ว่า Diamictite แล้วก็มีรายงานว่า มีการพบเพชรอยู่ในตะกอนที่พัดพามาจากพื้นที่ภายในเขตพื้นที่รับน้ำที่มีแต่หินชนิดนี้ เหมือนกัน

ก็เลยทำให้เกิดเรื่องเป็นงงกันในวงวิชาการว่า แล้วเพชรมาจากใหน?  ก็ยังคงควานหาคำตอบคำอธิบายกันอยู่ แต่คำอธิบายเรื่องหินนั้นดูจะยอมรับกันแล้ว ก็คือ หินตะกอนนี้มีต้นกำเนิดมาจากการเกิดตะกอนถล่ม (submarine slide) ที่บริเวณปลายขอบที่ราบของใหล่ทวีปใต้ทะเล ซึ่งพื้นที่จะหักลาดชันลงไป (continental slope) สู่พื้นท้องมหาสมุทร (abyssal plain) ที่เราพบปลาหน้าตาประหลาดเยอะแยะไปหมด     ขื่อเรียกของหินชนิดนี้ ดูจะมีหลายชื่อ นอกจาก diamictite แล้ว ก็ได้แก่ greywacke, flysch, และ terbidite 
     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ต.ค. 14, 18:56
diamond kimberlite


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ต.ค. 14, 18:57
 diamictite


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ต.ค. 14, 19:20
ครับ ก็ได้เล่ามาว่า เรื่องของเพชรนี้ดูจะไปผูกพันกับหิน kimberlite เท่านั้น  แล้วเป็นความจริงดังนั้นหรือไม่ ?

ก่อนจะไปต่อ จะขอเกริ่นเรื่องว่า ในวงการวิชาการนั้น   การเรียนรู้ใดๆก็ตาม   ที่เรียกว่ารู้นั้น มีสองลักษณะ คือ รู้ในลักษณะของการมีความรู้แบบ Empirical approach (รู้ตามที่เขาได้พบได้มีการศึกษามา)   กับการรู้ในทาง Theoretical approach (รู้ในทางแก่นหรือหัวใจของเรื่องราว)    นักวิชาการที่อยู่ในสองระบบนี้จึงมีความขัดแย้งในเชิงความคิดและกระบวนการทำงาน

ผมเป็นพวกควบกล้ำครับ ไม่แน่จริงสักอย่างนึง   เป็นเป็ดครับ แล้วก็คิดว่าน่าจะเป็นพวกนกเป็ดน้ำ (มีสีสรรสวยหน่อยครับ)



กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ต.ค. 14, 19:07
ในเรื่องของเพชรกับหิน kimberlite ก็เช่นกัน
 
ที่ผ่านมาในอดีต หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ก็ตาม  เมื่อจะหาแหล่งเพชร เกือบร้อยทั้งร้อยก็จะมุ่งไปสำรวจหาหิน kimberlite   ซึ่งเป็นผลทำให้กระบวนการสำรวจทั้งหลายในแต่ละขั้นตอน มุ่งไปสู่การพิสูจน์ทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงสำหรับแต่ละเรื่อง ที่ใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีแหล่งแร่ ตามที่เคยพบกันมาแล้ว ความคิดทั้งหลายจึงถูกจำกัดอยู่ในกรอบของข้อมูลและเรื่องอื่นๆที่ได้พบกันมา   นี่คือ การสำรวจแบบ empirical approach   
 
ซึ่งวิธีการมาตรฐานของนักสำรวจทั้งหลาย ก็คือ การใช้วิธีการทางธรณีเคมี (Geochemical prospecting) และการบินสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Airborne geophysical prospecting) เพื่อเอาข้อมูลจากการสำรวจเหล่านี้ไปกำหนดพื้นที่ให้แคบลง แล้วเดินสำรวจตรวจสอบในสนาม กำหนดพื้นที่ให้แคบลงอีก จากนั้นจึงถึงขั้นเจาะสำรวจทั่วไป (scout drilling) เพื่อพิสูจน์ทราบ แล้วก็ไปอีกหลายขั้นตอนจนถึงขั้นการทำเหมือง   
การดำเนินการต่อไปในแต่ละวันในแต่ละขั้นนั้นเสียค่าใช้จ่ายมากมาย เป็นการลงทุนที่สูงมาก   ดังนั้น ในกระบวนการสำรวจทรัพยากรธรณีทั้งหลายจึงต้องมีการตัดสินใจกันทุกวัน _จะไปต่อ หรือ พอแล้ว (go or no go)_  นักสำรวจทรัพยากรธรณีตัวจริงทั้งหลายจึงจำเป็นต้องมีความรู้หลากหลาย และมีฐานความรู้มากพอที่จะฟังและพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์สาขาอื่นๆได้บ้างอย่างมีความเข้าใจ

 

 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ต.ค. 14, 19:34
แล้ว theoretical approach เป็นอย่างไร

เอาจากเรื่องจริงที่ออสเตรเลียได้พบแหล่งเพชรนอกกรอบหิน kimberlite นะครับ

มีนักศึกษาระดับปริญญาเอกมากมายทำการศึกษาวิจัยในเรื่องของสถานะหรือสภาวะของสารประกอบต่างๆ (ที่พบอยู่ในธรรมชาติ) เมื่ออยู่ภายใต้แรงอัดสูงและอุณหภูมิสูง เรียกกันง่ายๆว่า high pressure and temperature lab.   
นักธรณีวิทยาที่เรียนมาจากโรงเรียนที่สอนวิชาธรณีวิทยาจริงๆ จะได้เรียนในเรื่องนี้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในวิชาที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของแร่ในหินอัคนีและหินแปร (Igneous petrology และ Metamorphic petrology)    เรียกกันว่า phase diagram ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของธาตุในสภาพความร้อนและความดันต่างๆ ทำให้เกิดแร่ต่างๆ เช่น กลุ่มธาตุโซเดียม แคลเซียม และโปแตสเซียม และกลุ่มธาตุแม็กนีเซียม และเหล็ก


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ต.ค. 14, 21:38
เขารู้ความเป็นจริงอยู่แล้วว่า เพชรเป็นธาตุ Carbon ที่เกิดในสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีความร้อนและความดันสูง  เกิดอยู่ในหิน kimberlite ซึ่งเป็นหินอัคนีที่เป็นทรงแท่งตั้งตรง แสดงถึงการพุ่งแทรกขึ้นมา   

ก็คิดต่อไปว่า แล้วจะเป็นหินอัคนีชนิดอื่นที่เกิดในสภาวะสิ่งแวดล้อมแบบนี้จะมีบ้างได้ใหม หากเกิดได้ก็น่าจะเกิดเพชรได้ เพราะองค์ประกอบของการสร้างเพชรที่สำคัญหลีกๆก็มีเพียง ธาตุ carbon ความร้อนสูงๆ แล้วความดันมากๆ เท่านั้น


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ต.ค. 14, 18:17
ก็ไปควานหาข้อมูลจากบรรดาการศึกษาวิจัยที่ทำกันใน high pressure high temperature lab. โดยเฉพาะในเรื่องของสถานะการอยู่ร่วมทางเคมีและทางกายภาพของสารประกอบต่างๆ (ที่เรียกว่า eutectic point ใน phase diagram)  ทำให้ได้ทราบตัวบ่งชี้ที่อยู่ในเนื้อหินที่บอกว่าเกิดมาในสภาพที่มีความร้อนและความดันสูง และสภาพอื่นๆดังที่พบใน kimberlite

ยังผลให้ออสเตรเลียได้พบแหล่งเพชรขนาดใหญ่มาก (ๆ) ในหินที่มิใช่ kimberlite   และเป็นแหล่งเพชรสีชมพูอีกด้วย

ความสำเร็จในการค้นพบแหล่งเพชรนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้พื้นฐานทางทฤษฎี (theoretical approach) ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ

โดยความเป็นจริงแล้ว ในการต้ดสินใจดำเนินการในเรื่องใดๆก็ตาม มักจะตั้งอยู่บนฐานของ empirical approach   จะตั้งมั่นอยู่บนฐานทางทฤษฎีอย่างเดียวก็ดูจะไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก   ความสำเร็จต่างๆที่เราได้เห็นได้รับรู้กันทั่วๆไป ซึ่งจัดเป็นนวัตกรรมในเรื่องหนึ่งๆหนี่งนั้น เป็นการผสมผสานทั้งทางทฤษฎีและตัวอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาทั้งสิ้น จะเป็นสัดส่วนเท่าใดก็สุดแล้วแต่

คิดเป็น กับ ทำเป็น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการ คิดเป็น หรือ ทำเป็น เพียงอย่างอย่างหนึ่งอย่างใด     


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ต.ค. 14, 18:42
เมื่อผนวกเข้ากับเรื่องในหลักคิด System sponsor (ผู้มีอำนาจสั่งการ), System mentor (ผู้บริหารที่รู้เรื่อง), และ Operator (ผู้ปฏิบัติการ) ที่ผิดฝาผิดตัว ผิดเพี้ยนไป ก็ได้เรื่องสิครับ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 14, 18:44
เขาบอกว่าเป็นเพชรสีชมพูที่หายากของออสเตรเลียค่ะ  ชื่อ the Argyle Pink Jubilee
ขนาด 12.76 กะรัต ใหญ่ที่สุดเท่าที่เจอมา
ราคาประมูลน่าจะอยู่ระหว่าง £20 ถึง £25 ล้านปอนด์


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ต.ค. 14, 19:15
สรุปเอาดื้อๆว่า เราก็เลยยังไม่รู้ว่า เพชรที่พบในลานแร่ดีบุกของเรานั้น มีต้นทางหรือต้นกำเนิดมาจากใหน  น่าสนใจตรงที่ไม่มีรายงานพบเพชรในแหล่งแร่แถวปากอ่าวชายทะเลเมืองทะวายในเขตพม่าเลย (หรือผมไม่รู้ก็ไม่ทราบได้)  มีพบแต่ในเขตไทย    ฉะนั้นแล้ว แล้วต้นตอจะมิอยู่ในเขตไทยหรือ ? (มโนไปหน่อยครับ)    

หรือว่ามันเป็นตะกอนส่วนหนึ่งที่กระจายอยู่ในหิน diamictite (หรือ หินในชื่ออื่นๆ) ที่พบอยู่ทางด้านตะวันตกของไทย   ซึ่งแท้จริงแล้ว หินนี้จะมีกำเนิดมาจากตะกอนถล่มใต้ท้องทะเล ? หรือว่าจะเป็นตะกอนที่อยู่ในระบบการนำพามาของธารน้ำแข็ง ?    ซึ่งก็จะบ่งชี้ทิศทางของต้นตอที่ต่างกัน
  


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ต.ค. 14, 19:36
สวยเนอะครับ อาจารย์ครับ

uncut diamond หรือ uncut stone หลายๆชนิด ต่างก็มีความงามอยู่ในตัวของเขา  เพียงทำการ enhance (ขัดสีฉวีวรรณ) เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เขามีความสวยงามเพิ่มขึ้น เกิดเสน่ห์ลุ่มลึกมากขี้น    หลงไหลเขาก็ตรงนี้แหละครับ มิใช่ที่การ make up ขึ้นมา  ;D   


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 14, 19:44
สวยจริงๆค่ะ คุณตั้ง สวยแบบไม่ศัลยกรรม

uncut stones  ชนิดต่างๆค่ะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ต.ค. 14, 19:20
อาจารย์เลือกใช้คำ ศัลยกรรม   ผมชอบใจคำนี้ครับ เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเปรยที่ให้ความความหมายลึกซึ้งดีครับ

เลยอยากจะถามอาจารย์   มีอีกคำหนึ่งที่ใช้กัน คือ noble โดยเฉพาะการใช้เป็นคำอธิบายคุณสมบัติทองคำและอีกหลายโลหะธาตุ     

noble metal จะแปลหรือใช้คำเปรียบเปรยเช่นใดดีครับ   อยู่ยงคงกระพัน ?? 


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ต.ค. 14, 20:13
เขาใช้คำว่า โลหะมีสกุล หรือ โลหะมีตระกูล ค่ะ   ถ้าเป็นคนก็คงเรียกว่า ผู้ดีมีสกุล หรือ ชั้นสูง มั้งคะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ต.ค. 14, 20:33
ขโมยกระทู้นี้มานานแล้ว เรื่องต่างๆก็ดูจะจบลงด้วยความกังขาที่น้อยลง

ผมก็เลยของเสนอเรื่อง หลุมลึกลับ ในประเทศของเราบ้าง  ซึ่งผมได้เห็นอยู่สองสถานที่ คือ  
   ในพื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของหมู่บ้านเกริงกราเวีย (ดูเหมือนว่าในปัจจุบันนี้จะสะกดว่า เกริงกระเวีย) ไปจนชิดขอบเขาเนินสวรรค์-บ.สองท่อ (เขตต่อระหว่าง อ.ศรีสวัสดิ์ กับ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี)     และในพื้นที่บริเวณที่เรียกว่า บ.สองท่อ ในเขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่สูงกว่าพื้นที่แรก      คือ มีหลุมแฝดอยู่ติดๆกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละหลุมประมาณ 80 - 100 ซม. แต่ละหลุมลึกประมาณ 3 - 4 เมตร ที่ก้นหลุมมีโพรงเชื่อมติดกัน    ผมไม่เคยได้มีโอกาสนับว่ามีทั้งหมดกี่หลุม ที่แน่ๆก็คงมีในหลักร้อย

    อีกแห่งหนึ่ง คือ เจดีย์บุอ่อง หรือโบอ่อง ในเขตบ้านวังปาโท่ ต.ชะแล อ.สังขละบุรี  (ชื่อเพี้ยนมาหลายทอด ตั้งแต่ ตำรองพาดู๊ ภาษากะเหรี่ยงที่หมายถึงตลื่งแม่น้ำสูง มาเป็นวังปลาโท้ ก่อนจะมาเป็นวังปาโท่ แล้วก็ไม่เหลือให้เห็นเพราะถูกน้ำของอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลมท่วมหมด)  เห็นเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนโขดหินกลางแอ่งที่มีน้ำและต้นบัวล้อมรอบ แล้วต้องนึกถึงพระราชวังที่เมืองมัณฑะเลย์ของพม่า  น้ำของเขื่อนเขาแหลมท่วมหมดแล้วครับ  ผมไม่รู้ประวัติที่แท้จริง เดาเอาว่าเป็นสถานที่ทางจิตวิทยาของทัพพม่าในสมัยสงครามเก้าทัพ

   ไม่รวมอีกหลายหลุมตื้นๆที่พบตามแนวเส้นทางรถไฟสายมรณะ (สันเนินดิน) ซึ่งเป็นหลุมจากการทิ้งระเบิด และรวมทั้งหลุมที่ล้อมด้วยเนินดินเป็นวงกลม ที่พบให พบเคื่องเชี่ยนหมาก พบหอก ดาบ โกลนม้า ฯลฯ ในแถบบ้านวังปาโท่ ซึ่งเป็นหลุมศพกลาง ?  


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ต.ค. 14, 20:58
เจดีย์บุอ่อง หรือโบอ่อง


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ต.ค. 14, 18:54
ขอบพระคุณภาพนี้ของอาจารย์ครับ 

ภาพนี้คงจะถ่ายในช่วงเขื่องเขาแหลมกำลังสร้าง เพราะเป็นช่วงที่ทางอำเภอได้เริ่มจัดงานบุญประจำปีอย่างจริงจังของเจดีย์นี้ ก่อนหน้านี้มีสภาพเป็นศาสนสถานร้าง แทบจะไม่มีใครรู้จักเลย เพราะอยู่นอกเส้นทางหลักระหว่าง อ.ทองผาภูมิ กับ อ.สังขละบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางที่ไปได้เฉพาะในหน้าแล้ง เส้นทางแยกไปหาเจดีย์นี้ก็ไม่มีป้ายใดๆ เป็นที่ราบๆ เป็นป่าแพะ (ป่าโปร่ง)  พอเข้าหน้าฝนการสัญจรระหว่างอำเภอก็จะไปใช้เรือหางบาวขนาดเล็กแทน  เรือหางขนาดใหญ่หน่อยก็ไปไม่ได้เพราะมีแก่งเยอะมาก     สมัยประมาณปี พ.ศ.2516 นั้น ค่าเช่าเหมาเรือขึ้นไป อ.สังขละฯ ราคาประมาณ 1,500 บาท แพงแสบทรวงเลยใหมครับ เพราะต้องเสี่ยงกันทั้งเรือและผู้ว่าจ้างว่าจะรอดไปถึง อ.สังขละฯ ได้อย่างปลอดภัยใหม
 
ก็จนกระทั้งเมื่อ กฟผ.เริ่มสร้างเขื่อนเขาแหลมนั่นแหละครับ จึงได้เริ่มมีข้อกังขากันว่า จริงๆแล้วน้ำของอ่างเก็บน้ำจะท่วมวัดวังวิเวการาม (หรือวัดของหลวงพ่ออุตตมะ) หรือไม่ ซึ่งเป็นช่วงที่โบสถ์ของวัดได้ปูพื้นหินอ่อน (ของ บ.หินอ่อน จก._รัฐวิสาหกิจ) เสร็จพอดี จึงได้มีการทำการรังวัดตรวจสอบอย่างจริงจัง ก็พบว่า เส้นชั้นความสูงในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ณ จุดที่ตั้งของวัดนั้น สูงกว่าความเป็๋นจริงประมาณ 20 เมตร (ขณะที่ ณ จุดบ้านอีต่อง_เหมืองปิล๊อก ก็ต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 31 เมตร) น้ำจะต้องท่วมแน่ๆ ต้องย้ายวัดแน่ๆ  แถมเป็นช่วงที่หลวงพ่อก็กำลังดังสุดๆ     นั่นแหละครับ เป็นเหตุให้มีคนสัญจรมากขึ้น เส้นทางคมนาคมจึงมีการดูแลบูรณะให้ดีมากขึ้นพอที่จะพอสัญจรได้ตลอดทั้งปี   พ่วงกับการต้องอพยพชาวบ้านหลายหมู่บ้านออกนอกพื้นที่น้ำท่วม   เส้นทางไปเจดีย์บุอ่องจึง (ที่จริงผ่าน) สะดวกมากขึ้น ก็เลยเกิดงานประจำปีที่ราชการเข้าไปยุ่งด้วย


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ต.ค. 14, 19:37
ผมจะหายหน้าไปประมาณ 1 สัปดาห์ครับ ไป ตจว. เช่นเคย

ที่จริงกำลังนึกถึงการเล่าเรื่อง สองท่อ ด้วย   เพราะเป็นเรื่องทั้งทางสังคม เทคโนโลยี และประวัติศาสตร์ ปนๆกันอยู่ ว่าจะยังอยู่ในเรื่องของกระทู้นี้ หรือจะแยกเป็นอีกกระทู้หนึ่ง เพราะเกี่ยวกับพื้นที่การเคลื่อนไหวของสงครามเก้าทัพในย่านนี้จนถึงสมัยแรกๆของยุครัตนโกสินทร์


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 14, 21:20
ตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่าค่ะ  เนื้อหาน่าสนใจมาก และน่าจะยาวด้วย
ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ


กระทู้: หลุมลึกลับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ต.ค. 14, 18:29
ครับผม  อวย ( ;D ทันสมัยหน่อย) ไปตามอาจารย์แนะนำครับ

จะขอตั้งชื่อกระทู้ว่า  "สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ"  ครับ  และน่าจะอยู่ในกลุ่มเรื่องประวัติศาสตร์ไทย