เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: han_bing ที่ 19 มิ.ย. 13, 08:22



กระทู้: ใครทราบประวัติงานฟุตบอลประเพณีจากมุมธรรมศาสตร์บ้าง
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 มิ.ย. 13, 08:22
ข้าพเจ้าเห็นศิษย์เก่าฟากรั้วสีชมพูเล่าถึงประวัติงานฟุตบอลอย่างสนุกสนาน ท่านใดพอจะมีงานฟุตบอลจากด้านธรรมศาสตร์มาเล่าสู่กันฟังบ้างไหม

จากเด็กธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ รุ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ คนหนึ่ง


กระทู้: ใครทราบประวัติงานฟุตบอลประเพณีจากมุมธรรมศาสตร์บ้าง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 มิ.ย. 13, 14:33
จากคำบอกเล่าของเด็กศิลปศาสาตร์ รุ่นแรก ๒๕๐๑ กล่าวว่า

เมื่อมีงานฟุตบอลประเพณี มีความสนุกสนานและคึกคัก เพราะทุกปีจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพฟุตบอลกัน ถ้าจัดที่จุฬา ชาวธรรมศาสตร์ก็จะเดินแถวกันไปงานบอลอย่างครึกครื้น มีการกินเลี้ยงกันระหว่างสองสถาบันด้วย


กระทู้: ใครทราบประวัติงานฟุตบอลประเพณีจากมุมธรรมศาสตร์บ้าง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 13, 14:58
สงสัยจะพิมพ์ผิด นะคะคุณหนุ่มสยาม
ศิลปศาสตร์เปิดระดับปริญญาตรีรุ่นแรกเมื่อพ.ศ. 2508   เด็กคนนั้นเรียนตั้งแต่ 2501 ได้ยังไงคะ

คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504  เพื่อให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีเรียนภาษาต่างประเทศและความรู้ทั่วไปในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นพื้นฐานก่อนที่จะเข้าศึกษาแขนงวิชาเฉพาะด้านในคณะต่างๆ  เปิดสอนหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปในปี พ.ศ. 2505
ต่อมาคณะศิลปศาสตร์ยังได้ปิดสอนระดับปริญญาตรี    ได้ผลิตบัณฑิตรุ่นแรกของคณะศิลปศาสตร์ในปี พ.ศ. 2508 ค่ะ


กระทู้: ใครทราบประวัติงานฟุตบอลประเพณีจากมุมธรรมศาสตร์บ้าง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 มิ.ย. 13, 18:45
สงสัยจะพิมพ์ผิด นะคะคุณหนุ่มสยาม
ศิลปศาสตร์เปิดระดับปริญญาตรีรุ่นแรกเมื่อพ.ศ. 2508   เด็กคนนั้นเรียนตั้งแต่ 2501 ได้ยังไงคะ

คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504  เพื่อให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีเรียนภาษาต่างประเทศและความรู้ทั่วไปในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นพื้นฐานก่อนที่จะเข้าศึกษาแขนงวิชาเฉพาะด้านในคณะต่างๆ  เปิดสอนหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปในปี พ.ศ. 2505
ต่อมาคณะศิลปศาสตร์ยังได้ปิดสอนระดับปริญญาตรี    ได้ผลิตบัณฑิตรุ่นแรกของคณะศิลปศาสตร์ในปี พ.ศ. 2508 ค่ะ

พิมพ์ผิดครับ ดังนั้นจะขอหยอดภาพนิสิตศิลปศาสตร์รุ่นแรก ๒๕๐๕ ให้ชมกันครับ

จากหนังสือ ๕๐ ปีธรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์กล่าวว่า

"วันสำคัญอีกวัน คือ การแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ เมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว กับปัจจุบันนี้ต่างกันลิบลับ ใครมีรถอะไรก็ขับออกไปตระเวน
 ทั่วกรุงฯ นั่งกันเต็ม จนถึงล้นคันรถ ทุกคนใส่เสื้อเชียร์ เจอหน้ากันไม่ว่าที่ไหนก็ร้องเพลงเชียร์ให้กัน มีการจัดขบวนพาเหรด เน้นความสวยงาม
 และแปลกตาล้อการเมือง จัดแปรอักษรบนอัตจรรย์ที่มีข้อความน่ารัก หยิกแกมหยอก ฝึกร้องเพลงเชียร์

 จำนวนเชียร์ลีดเดอร์มีไม่มาก ล้วนเป็นผู้ชายมีบุคคลิกองอาจ กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีความเป็นผู้นำสูง ไม่เหมือนสมัยนี้ เน้นความหวานแหวว เต้นเก่ง
 เป็นสำคัญ ออกมา "หลีด" แต่ละเพลงก็ออกมาเป็นกลุ่มจนเป็น "เต้นโชว์"