เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 11:46



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 11:46
ท่านทั้งหลาย

ประวัติข้าราชการแต่ครั้งเก่าก่อนเป็นข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายกันอยู่
ยังไม่ได้รวบรวมให้ค้นหาได้ง่าย   โดยเฉพาะประวัติข้าราชการ
ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา เป็นข้อมูลที่น่าสนใจและค้นคว้าหากันมาก
ในเรือนไทยและในอินเทอร์เน็ตนั้นก็มีอยู่ไม่น้อย

ด้วยเหตุนี้  ก็ใคร่เชิญชวนท่านทั้งหลายได้ช่วยกันรวบรวมประวัติ
ของพระยาแต่ละคนอย่างละเอียดๆ จากข้อมูลแหล่งต่างๆ
มาใส่ไว้ในกระทู้นี้ พร้อมกับระบุแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน 

จะไปคัดลอกข้อมูลลงมาใส่ไว้ทั้งหมดก็ได้  พร้อมระบุแหล่งข้อมูล
หรือถ้าคัดลอกมาไม่สะดวก  ก็พิมพ์ชื่อพระยา (ชื่อตัว - นามสกุล)
แล้วใส่ลิงก์ให้สามารถคลิกเข้าไปเปิดอ่านได้  อย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน

ส่วนท่านจะแนบภาพหรือไม่  สุดแต่ท่านเห็นเหมาะเห็นงาม

ในเบื้องต้นนี้  ขอประวัติพระยาสัก ๕๐ คนก่อน  เป็นไปได้ช่วยใส่เลขเรียงลำดับให้ด้วย
จะได้นับถูกต้อง   ขอขอบคุณทุกท่านที่มีใจยินดีมีน้ำใจให้ความร่วมมือกับกระทู้นี้

( :oโอ๊ะๆ  ไม่ต้องแย่งกันลงนะครับ ;D)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 11:48
๑. ประวัติมหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)

จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3233.0

เขียนโดยคุณเทาชมพู


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 11:51
๒. ประวัติมหาอำมาตย์โท พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์)

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3599.0

เขียนโดยคุณวันดี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:02
๒. ประวัติมหาอำมาตย์โท พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์)

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3599.0

เขียนโดยคุณวันดี

ช่วยเข้าลิ้งก์ให้คุณหลวง

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3599.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3599.0)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:13
๓. ประวัติพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) - คุณวันดี

จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4891.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4891.0)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 14:13
ขอบคุณคุณเพ็ญฯ ครับ ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:18
๔. ประวัติมหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร(ฉิม โปษยานนท์) - คุณเทาชมพู

จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4827.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4827.0)

หมายเหตุ ขออภัยคุณเทาชมพูที่ลงข้อมูลผิดพลาด แก้ไขแล้วตามคำทักท้วงของคุณวันดี # ๙

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:22
๕. ประวัติพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) - คุณวันดี

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4649.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4649.0)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:25
๖. ประวัตินายพลโท  พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) - คุณหลวงเล็ก

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4510.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4510.0)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 05 ม.ค. 12, 14:28


ขอประทานโทษค่ะ  คคห ๖   คุณเทาชมพูเขียนค่ะ



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ม.ค. 12, 14:29
๖. ประวัตินายพลโท  พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) - คุณหลวงเล็ก

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4510.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4510.0)

 ;D

หมายเหตุ   ประวัติอย่างย่อเขียนเสร็จแล้ว  แต่อย่างพิสดารยังเขียนไม่เสร็จ
ถ้าว่างเมื่อไรจะกลับไปเขียนต่อ (สถานะเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา  ๑๔.๒๙  นาฬิกา)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:32
๗. ประวัติพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) - คุณวันดี

จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4464.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4464.0)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:34
๘. ประวัติพลตรี พระยาพิชัยรณณรงค์สงคราม (จารุทัต รณณรงค์สงคราม) - คุณวันดี

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4531.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4531.0)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:41
๙. ประวัติมหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) - คุณเทพกร  วารสารเศรษฐกิจและสังคม  เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3640.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3640.0)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ม.ค. 12, 14:47
( :oโอ๊ะๆ  ไม่ต้องแย่งกันลงนะครับ ;D)

โอ๊ะ โอ่ เห็นเข้าคิวกันแน่นเรือนเชียว ให้โอกาสท่านอื่นบ้าง

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ม.ค. 12, 19:18
๑๐. ประวัติพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๖

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1f1fe6d01629002a



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ม.ค. 12, 19:24
๑๑. ประวัติพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๖

http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1800.0



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ม.ค. 12, 19:49
๑๒. ประวัติพระยาวิจิตรธรรมปริวัตร (นามเดิม คำ  พรหมกสิกร)

เจ้ากรมราชบัณฑิต ในสมัยรัชกาลที่ ๖

http://guideubon.com/news/view.php?t=34&s_id=109&d_id=109



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 05 ม.ค. 12, 21:13
๑๓.พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_11.html (ftp://http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_11.html)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 05 ม.ค. 12, 21:18
๑๔.พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร(บุญจวน  บุณยะปานะ)
http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article02.pdf (ftp://http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article02.pdf)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 05 ม.ค. 12, 21:19
๖. ประวัตินายพลโท  พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) - คุณหลวงเล็ก

จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4510.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4510.0)

 ;D

หมายเหตุ   ประวัติอย่างย่อเขียนเสร็จแล้ว  แต่อย่างพิสดารยังเขียนไม่เสร็จ
ถ้าว่างเมื่อไรจะกลับไปเขียนต่อ (สถานะเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา  ๑๔.๒๙  นาฬิกา)

ผมรออ่านด้วยครับ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ม.ค. 12, 09:42
ลิ้งก์ที่คุณชัชวาลให้ไว้สำหรับพระยาลำดับที่ ๑๓ และ ๑๔ ขัดข้องทางเทคนิคเข้าไปไม่ได้

๑๓.พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_11.html (ftp://http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_11.html)

ลองเข้าใหม่ที่

http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_11.html (http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_11.html)

๑๔.พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร(บุญจวน  บุณยะปานะ)
http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article02.pdf (ftp://http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article02.pdf)

ลองเข้าใหม่ที่

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article02.pdf (http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article02.pdf)

 ;D




กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ม.ค. 12, 15:33
๑๕.ประวัติพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน  หุตะสิงห์) 
นายกรัฐมนตรีไทยคนแรก


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2_(%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99_%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C)

หรือ

http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2/

หรือ ถ้ายังไม่จุใจกรุณาไปโหลดพีดีเอฟไฟล์บทความ
ของคุณณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ยาว ๔ ตอนจบ ในรัฐสภาสาร
มาอ่านจากลิงก์ต่อไปนี้

http://librarymb.parliament.go.th/snacm/sapasarn_simple_search.jsp

(ใส่ชื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ลงในช่องคำค้น แล้วคลิกค้นหา
ก็จะปรากฏชื่อบทความและไฟล์พีดีเอฟหน้าวารสารให้โหลดอ่านได้ตามอัธยาศัย)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ม.ค. 12, 15:40
๑๕.ประวัติพระยามโนปกรร์นิติธาดา (ก้อน  หุตะสิงห์)  
นายกรัฐมนตรีไทยคนแรก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2_(%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99_%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C)

ขออนุญาตนำทางเข้าลิ้งก์

http://th.wikipedia.org/wiki/พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (http://th.wikipedia.org/wiki/พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์))

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ม.ค. 12, 15:45
๑๖.ประวัติพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์  พหลโยธิน)
อดีตนายกรัฐมนตรี


อ่านจากบทความของคุณณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม
ในวารสารรัฐสภาสาร  ความยาว ๕ ตอนจบ
ตามลิงก์นี้

http://librarymb.parliament.go.th/snacm/sapasarn_simple_search.jsp

(วิธีการอย่างเดียวกันกับเปิดอ่านประวัติพระยามโนปกรณ์นิติธาดา)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 06 ม.ค. 12, 16:47
๑๗.พระยาอัชราชทรงสิริ(แม้น  อรุณลักษณ์)
 (ftp://http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p045.html)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 06 ม.ค. 12, 16:48
๑๗.พระยาอัชราชทรงสิริ(แม้น  อรุณลักษณ์)
http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p045.html (http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p045.html)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ม.ค. 12, 16:51
^
^
อีกภาพหนึ่ง

จาก http://mail.senate.go.th/w3c/senate/senator.php?url=profile&HR_ID=1904&v=0

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 06 ม.ค. 12, 16:56
๑๘.มหาเสวกตรี พระยานรรัตนราชมานิต(ตรึก จินตยานนท์)
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-nor/lp-nor_hist-02.htm (http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-nor/lp-nor_hist-02.htm)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 06 ม.ค. 12, 17:06
สงสัยต้องไปค้นข้อมูลตามหนังสืองานศพเก่าๆ แล้วกระละมั้ง  ;)

ราชกิจจานุเบกษาก็มีมาก แต่ไม่ละเอียดพอตามเสนาบดีกระทู้ต้องการ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ม.ค. 12, 17:20
สงสัยต้องไปค้นข้อมูลตามหนังสืองานศพเก่าๆ แล้วกระละมั้ง  ;)

ราชกิจจานุเบกษาก็มีมาก แต่ไม่ละเอียดพอตามเสนาบดีกระทู้ต้องการ

ตอนนี้ควานหาในอินเทอร์เน็ตไปก่อนเถิด พนาย
ส่วนในราชกิจจาฯ นั้น  ถ้าพนายพอมีเวลาค้นหา
ก็เอามาลงเถิด  เพราะในราชกิจจาฯ ก็มีข้อมูลละเอียดดีเหมือนกัน
โปรดอย่าเอาผู้ตั้งกระทู้เป็นเป้าหมายว่า
จะต้องหาให้ละเอียดพิสดารลึกล้ำ เอาเป็นว่า  อ่านรู้ว่าเป็นใคร
มีรายละเอียดการทำงาน  เลื่อนยศ  จำนวนบุตรธิดา ภริยา อนุภรรยา
เกิดตาย  เจ็บไข้ได้ป่วยอะไร  ฯลฯ  เท่านี้ก็พอแล้ว
แต่ถ้าใครหาข้อมูลได้ละเอียดกว่า  ก็เอามาเติมหรือเขียนเพิ่มเกทับบลัฟกันไป
ให้หน้าม้านกันตามสมควรเถิด 8)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ม.ค. 12, 16:52
พนายเมืองมอญ รับนิมนต์ใต้เท้า  ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ม.ค. 12, 17:01
๑๙. มหาอำมาตย์ตรี พระยารำไพพงศ์บริพัตร (จิตร บุนนาค)

บุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เกิดวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๗
พ.ศ. ๒๔๒๐ ศึกษาวิชา ณ ประเทศเยอรมัน ๑๓ ปี
พ.ศ. ๒๔๓๓ รับราชการเป็นล่ามกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๓๔ อุปสมบท ณ วัดพิชัยญาติการาม ๑ พรรษา แล้วรับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วย กรมรถไฟหลวง
พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นนายช่างภาต
พ.ศ. ๒๔๓๘ รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรำไพพงศ์บริพัตร
พ.ศ. ๒๔๔๘ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็น อำมาตย์ตรี
พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นนายช่างนายด้าน
พ.ศ. ๒๔๕๖ เลื่อนยศเป็น อำมาตย์โท
พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็น อำมาตย์เอก
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นพระยาในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นนายช่างก่อสร้างเอก
พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็น มหาอำมาตย์ตรี
พ.ศ. ๒๔๗๐ ออกจากราชการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ
พระยารำไพพงศ์บริพัตร ป่วยเป็นไข้พิษ ถึงอนิจกรรมวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๖๔ ปี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ม.ค. 12, 17:09
๒๐. มหาอำมาตย์ตรี พระยาประเสนะชิตศรีพิไลย (ดัด บุนนาค)

บุตรพระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) เกิดวันที่ ๒๑ กุมภาพันธูุ์ พ.ศ. ๒๔๑๙
พ.ศ. ๒๔๓๙ รับราชการเป็นเสมียนกรมศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๔๔๑ อุปสมบท ณ วัดพิชัยญาติการาม ๑ พรรษา แล้วเป็นมหาดเล็กเวรเดช
พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นนักเรียนกฏหมาย ๓ ปี สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตชั้น ๒
พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นผู้พิพากษาศาลโปริสภาที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๔๖ รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นหลวงนฤนัยสรนารถ
พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลชุมพร
พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลพิษณุโลก
พ.ศ. ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็น อำมาตย์เอก และเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลราชบุรี
พ.ศ. ๒๔๕๗ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระราชศาสตร์นาถสภาบดี
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลอยุธยา
พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็น พระยาประเสนะชิตศรีพิไลย
พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็น มหาอำมาตย์ตรี
พระยาประเสนะชิตศรีพิไลย ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการและอัมพาต ถึงแก่กรรม วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๕๒ ปี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ม.ค. 12, 17:23


อ่า...ท่านที่นับถือ     จะกระโดดกลับไปกลับมาอย่างนี้หรือ

เริ่มจากหนังสือสีส้ม  รัชกาลที่ ๓  เถิด

สกุลบุนนาคเขาก็ทำไว้ค่อนข้างจะดีแล้วนา   ต้องยกย่องในเรื่องนี้  



เราก็ศิษย์ท่านสุเมธเหมือนกัน  แต่เราอยู่ก้นครัว




กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ม.ค. 12, 10:06


        หนังสือ Siam Directory 1912   หน้า  170 - 172      มีรายชื่อพระยา  ๘๙  ราย

พิมพ์ตัวเล็กจิ๋ว     ถ้าสามารถถอดความและใส่ประวัติแบบย่อก็เหมาะนักหนา  เพราะเป็นคนรุ่นเดียวกัน

รายละเอียดของผลงานเป็นเรื่องสำคัญที่สุด     สาแหรกนั้นถ้าคนอ่านสามารถโยงใยความสัมพันธ์

หรือเจอข้อมูลใหม่ที่หลายคนมองข้ามไป  ก็เป็นประโยชน์ในการศึกษาและเข้าใจประวัติศาสตร์

ว่าบรรพบุรุษของไทยได้เล่าเรียนและปฎิบัติราชการอย่างแหลมคม  จนนำสยามผ่านมาจนทุกวันนี้

ญาติของขุนนางชั้นผู้ใหญ่นั้น   ถ้าไม่เก่งจริง  ไม่ได้ผ่านการทำงานมาตั้งแต่เป็นชั้นผู้น้อย    ก็จะได้ดีไปไม่ได้

        ขอสนับสนุนคุณอาร์ท47   ในการค้นราชกิจจา ฯ



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 08 ม.ค. 12, 17:21
ได้รับเทียบเชิญจากคุณหลวงแล้ว  จะไม่ร่วมวงไพบูลย์ก็ดูจะเป็นการขัดศรัทธา  จึงขอเริ่มประชุมประวัติพระยาท่านแรกด้วยประวัติท่านเจ้าคุณผู้เป็นครูคนสำคัญของกระผม คือ



๒๑. มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา)

บุตร       หลวงราชดรุณรักษ์ (ม.ร.ว.สอาด  อิศรเสนา)  กับนางราชดรุณรักษ์ (เอี่ยม  อิศรเสนา)

เกิด      วันที่  ๑๙  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๒๙

การศึกษา     โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ,  โรงเรียนราชวิทยาลัย  แล้วได้รับพระราชทานทุนกระทรวงธรรมการออกไปเล่าเรียนที่โรงเรียน Oundle ประเทศอังกฤษ  แล้วเข้าศึกษาวิชาครูที่ London University  เหลืออีกเพียง ๑ ภาคการเรียนจะจบหลักสูตรปริญญาตรี  แต่กระทรวงธรรมการเรียกตัวกลับเสียก่อน  จึงได้รับเพียง Diploma in Education
   
การรับราชการ   
พ.ศ. ๒๔๕๓   เป็นอาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนราชวิทยาลัย  แล้วโอนย้ายไปรับราชการกรมมหาดเล็กเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  
พ.ศ. ๒๔๕๘    เป็นผู้ช่วยเลขานุการกระทรวงธรรมการ  แล้วเป็นพนักงานจัดการโรงเรียนจังหวัดพระนครกลาง  และเป็นปลัดกรมสามัญศึกษา  
พ.ศ. ๒๔๖๓    เป็นผู้รักษาการเจ้ากรมกรมการสอบไล่อีกตำแหน่งหนึ่ง  
พ.ศ. ๒๔๖๔    เป็นผู้ปกครองนักเรียนไทยในประเทศอังกฤษ    
พ.ศ. ๒๔๖๘     เป็นเลขานุการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๔๖๙    เป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
พ.ศ. ๒๔๗๒   เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
พ.ศ. ๒๔๗๕     กราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ  พ.ศ. พ.ศ. ๒๔๘๖    เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  

ราชการพิเศษ   
พ.ศ. ๒๔๕๙     เป็นเลขาธิการสมาคมฟุตบอลแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๔๖๗     เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมลูกเสือโลก ณ ประเทศเดนมาร์ค
พ.ศ. ๒๔๗๖     เป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๙๐     เป็นสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. ๒๔๙๒     เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภากรรมการลูกเสือแห่งชาติ

ยศ      
พ.ศ. ๒๔๔๗   มหาดเล็กวิเศษ
พ.ศ. ๒๔๕๔   รองหุ้มแพร  แล้วเลื่อนเป็นหุ้มแพร
พ.ศ. ๒๔๕๕   จ่า
พ.ศ. ๒๔๕๘   อำมาตย์ตรี  แล้วเลื่อนเป็นอำมาตย์โท
พ.ศ. ๒๔๖๐   อำมาตย์เอก
พ.ศ. ๒๔๖๑   รองหัวหมื่นพิเศษ (กรมมหาดเล็ก)
พ.ศ. ๒๔๖๖   มหาอำมาตย์ตรี

บรรดาศักดิ์   
พ.ศ. ๒๔๕๔   หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๕๘   หลวงประพนธ์เนติประวัติ
พ.ศ. ๒๔๕๙   พระปรีชานุศาสน์
พ.ศ. ๒๔๖๓   พระยาภะรตราชา  

อนิจกรรม   ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ณ บ้านพักในวชิราวุธวิทยาลัย  เมื่อวันที่  ๒๘  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๑๘  รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  ๓๒ ปี  ๑๑ เดือน  ๒๘ วัน


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 08 ม.ค. 12, 20:43
จำได้ว่า ผมก็เคยนำเอาประวัติของ พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มาลงไว้เช่นกันนะครับ...........


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ม.ค. 12, 20:50
๒๒. ประวัติพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ  ศรียาภัย)

 
  ก่อนอื่นขอกล่าวถึง โรงเรียนศรียาภัย อันเป็นสถานศึกษาของผมก่อนนะครับ ว่าทำไมถึงชื่อโรงเรียนศรียาภัย เนื่องจากได้รับการบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างอาคารเรียนจาก คุณชื่น  ศรียาภัย คหปตานีชาวไชยา ซึ่งเป็นธิดาคนโตของ พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณที่มีต่อโรงเรียน จึงนำเอานามสกุลของท่านมาเป็นชื่อโรงเรียน นามว่า โรงเรียนศรียาภัย ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้มีอายุ 113 ปี เป็นโรงเรียนประจำจังหวัีดชุมพรแบบสหศึกษา มีนักเรียนกว่าสามพันคน...

นามสกุล "ศรียาภัย" เป็นนามสกุลพระราชทาน ที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานให้กับพระยาวจีสัตยารักษ์ (ฃำ)  ผู้กำกับถือน้ำ  กระทรวงมหาดไทย  บิดาคือพระศรีสรราชสงรามรามภักดี (ปาน)  ปู่คือพระอภัยณรงค์สงคราม (แพ)


ประวัติของพระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มีดังนี้


   พระยาวจีสัตยารักษ์  เดิมชื่อ ขำ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน 11 แรม 12  ค่ำ  ปีมะโรง  พ.ศ. 2387  ตรงกับรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  นายขำมีบุตร 5 คน  คือ คุณชื่น  ศรียาภัย  พระยาประชุมพลขันธ์(ขัน  ศรียาภัย)  นายจวน  นายเขต  และนางเฉลิม
  
    นายขำ  ศรียาภัย  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4  ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสำนักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  สมุหพระกลาโหมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญหลายด้าน  เช่น  การค้าขาย  การจับ  และฝึกหัดช้าง  และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต  ผู้ช่วยราชการเมืองไชยา  ในรัชกาลที่ 4
  
    ในสมัยรัชกาลที่ 5  ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม  ปลัดเมืองไชยาและดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา  10 ปี  มีความชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีนที่เมืองภูเก็ต  จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือก  ขั้นที่ 5

พ.ศ. 2422  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี  ผู้ว่าราชการเมืองไชยา  ทำความดีความชอบจนได้รับ

พ.ศ. 2422  ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล  พระยาวิชิตภักดีได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์  จางวางเมืองไชยา

พ.ศ. 2449  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์

    เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์  เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ได้  พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำเสด็จ  และเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ได้เป็นผู้นำตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก  ตั้งแต่มณฑลปัตตานี  ถึงเมืองเพชรบุรี  นอกจากนี้ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย
  
     พระยาวจีสัตยารักษ์ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2457  รวมอายุได้  70 ปี  ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา(เก่า)  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3436.0;attach=14767;image)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 08 ม.ค. 12, 23:03
ประวัติของพระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มีดังนี้


   พระยาวจีสัตยารักษ์  เดิมชื่อ ขำ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน 11 แรม 12  ค่ำ  ปีมะโรง  พ.ศ. 2387  ตรงกับรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  นายขำมีบุตร 5 คน  คือ คุณชื่น  ศรียาภัย  พระยาประชุมพลขันธ์(ขัน  ศรียาภัย)  นายจวน  นายเขต  และนางเฉลิม
  



ครูเขตร์  ศรียาภัย


เพิ่มเติม

ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ เป็นผู้นำ นายปล่อง จำนงทอง เข้ามาเปรียบมวยหน้าพระที่นั่ง งานพระศพกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ที่ท้องสนามหลวง  และได้ขึ้นเปรียบมวยกับ นักมวยโคราช ที่กำกับมาโดย พระเหมสมาหาร ผลปรากฏว่า นายปล่อง เป็นฝ่ายชนะ โดยการทุ่มทับตามรูปแบบของมวยไชยา จึงได้รับพระราชทานเป็นที่ หมื่นมวยมีชื่อ ในเวลาต่อมา


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ม.ค. 12, 08:31
ชื่นใจจริงๆ ที่ทุกท่านให้ความร่วมมือช่วยกันใส่ประวัติพระยา
ส่วนแต่ละท่านจะเอาข้อมูลจากแหล่งใดมาใส่ ก็ฝากตรวจสอบให้แน่ใจ
ว่าถูกต้องควรเชื่อถือ   ไม่ต้องเรียงลำดับพระยาตามรัชกาลก็ได้
เพราะแต่ละท่านไม่ได้มีทรัพยากรข้อมูลเท่าเทียมกัน
ใครมีหรือเจอประวัติพระยาจากแหล่งใด  เห็นควรเผยแพร่กัน
ก็เอามาใส่ไว้  หรือเห็นว่า  น่าจะเพิ่มเติมข้อมูลหรือเก็ดเล็กน้อย
เกี่ยวกับพระยาบางท่านที่มีคนได้เอามาลงไว้แล้ว  แต่ยังบกพร่องอยู่
ก็พึงเติมเพิ่มข้อมูลได้  เช่นกัน อย่าได้เกรงใจ

ที่สำคัญคืออยากให้มีภาพมาประกอบด้วย
จะได้ทราบว่าพระยาแต่ละคนหน้าตาเป็นเช่นไร

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกรุณาแก่กระทู้นี้
หวังว่าทุกท่านจะได้ช่วยเติมกระทู้นี้ต่อไปอีก :)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ม.ค. 12, 11:48
๒๓.ประวัติมหาอำมาตย์ตรี พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน  จามรมาน)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/nitiphaisan.pdf


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ม.ค. 12, 11:54
๒๕.ประวัติพระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/witulpahun.htm


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ม.ค. 12, 11:57
๒๖.ประวัติพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/sit.htm


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ม.ค. 12, 12:05
๒๗.ประวัติพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์  ลัดพลี)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article07.pdf


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 09 ม.ค. 12, 16:42
๒๘.พระยาอุภัยพิพากสา(เกลื่อน ชัยนาม)
http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/klaen.htm (http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/klaen.htm)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 09 ม.ค. 12, 16:48
๒๙.พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง)
http://www.naranong.net/history04.html (http://www.naranong.net/history04.html)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 09 ม.ค. 12, 16:56
๓๐.พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริยพาหะ(น้อย อาจารยางกูร)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=26-06-2007&group=1&gblog=30 (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=26-06-2007&group=1&gblog=30)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 ม.ค. 12, 10:55
๓๑. มหาอำมาตย์ตรี พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์)

บุตรพระยาไกรโกษา (เทศ ภูมิรัตน์) เกิดวันที่ ๒๒ กุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๔๑๐
พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นมหาดเล็กวิเศษในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
พ.ศ. ๒๔๒๗ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายนเรศรธิรักษ์
พ.ศ. ๒๔๒๙ เป็น หลวงชาญภูเบศร์
พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นผู้ช่วยราชทูตสยามประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นผู้ช่วยข้าหลวงใหญ่นครเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็นข้าหลวงประจำนครน่าน
พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็น พระพรหมสุรินทร์
พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นข้าหลวงพิเศษชำระความเมืองชลบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็น พระยาชลบุรานุรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็น พระยามหิบาลบริรักษ์ พระอภิบาล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นอัครราชทูตสยามประเทศรัสเซีย
พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นข้าหลวงใหญ่บริเวณแขก ๗ หัวเมือง
พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพร
พ.ศ. ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็น มหาอำมาตย์ตรี และเป็นเสวกเอก กรมวังพิเศษ
พ.ศ. ๒๔๕๕ ปลดออกนอกราชการ
พระยามหิบาลบริรักษ์ ป่วยเป็นโรคหืดและหัวใจอ่อน ถึงแก่กรรม วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๖๐ ปี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 10 ม.ค. 12, 11:01
๓๒. พระยากัลยาณมิตรนิกรวงศ์ (คง กัลยาณมิตร)

บุตรเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) เกิดวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๓
อุปสมบท ณ วัดบรมนิวาส ๑ พรรษา
พ.ศ. ๒๔๑๙ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕
พ.ศ. ๒๔๒๑ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายรองพลพัน
พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็น นายพลพัน
พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็น นายจ่ารง
พ.ศ. ๒๔๒๙ เป็น หลวงเดชนายเวร
พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็น พระพลัษฎานุรักษ์
พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็น พระยาภักดีภูบาล แล้วปลดออกนอกราชการ
พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็น พระยากัลยาณมิตรนิกรวงศ์
พระยากัลยาณมิตรนิกรวงศ์ ป่วยเป็นโรคชรา ถึงแก่กรรม วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๖๗ ปี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 12, 11:13
พระยามหิธรมนูปกรณ์โกศลคุณ  
นามเดิม         Tokichi  Masao ( โทคิชิ  มาซาโอะ )  ไทยเรียกว่า โตกิจิ  มาเซา  หรือรู้จักกันในนาม หมอมาเซา
เกิด              พ.ศ. ๒๔๑๒
สัญชาติ          ญี่ปุ่น
การศึกษา        ปริญญาเอกทางกฎหมายจาก  Yale University สหรัฐอเมริกา  และมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
หน้าที่การงาน    
พ.ศ. ๒๔๔๐    เดินทางเข้ามารับราชการในประเทศไทย  เป็นที่ปรึกษากฎหมาย   ให้ข้อแนะนำและช่วยในการตรวจชำระกฎหมายลักษณะอาญา พระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่
พ.ศ. ๒๔๕๕    ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการศาลฎีกา    ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหิธรมนูปกรณ์โกศลคุณ
พ.ศ. ๒๔๕๖    ลาออกจากราชการ เพื่อกลับไปรักษาอาการป่วยที่ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. ๒๔๖๓    ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จึงได้เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยอีกครั้ง
พ.ศ. ๒๔๖๔    ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพมหานคร


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 12, 11:37
ภาพพระยามหิธร (ซ้ายสุดแถวยืน)   กับภรรยา (คนกลางแถวนั่ง)  ถ่ายกับนักเรียนไทยชายหญิงในญี่ปุ่นรุ่นแรก  เมื่อพ.ศ.2447
เสียดายว่าไม่ทราบชื่อนักเรียนไทยเหล่านี้


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 12, 11:39
พระยามหิธร(คนกลางในภาพ)  ถ่ายภาพร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ(ขวามือแถวหน้า) และกงสุลมิคูมะ (Mikuma) หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อมีนาคม พ.ศ.2464   ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสยาม


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ม.ค. 12, 11:59
พลอากาศโท  พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี  สุวรรณประทีป)

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ม.ค. 12, 17:26
ขอบคุณพนายอาร์ท ๔๗ ที่มีแก่ใจค้นหาประวัติพระยา ๒ คนจากราชกิจจานุเบกษามาเติมไว้
หวังว่า  พนายคงจะได้นำประวัติพระยาคนอื่นๆ มาลงต่อไปอีก

และขอบคุณคุณเทาชมพู  ที่กรุณามาร่วมเติมประวัติพระยาอีก ๒ คน พร้อมภาพประกอบชัดเจน
เป็นสาระประโยชน์แก่ผู้สนใจอย่างยิ่ง 

ตอนนี้  เราได้ประวัติพระยามาแล้ว  ๓๔ คน  นับว่าเกินครึ่งทางยกแรกแล้ว
กระนั้นก็ยังมีประวัติพระยาอีกมากที่ยังไม่ได้นำมาลงรวมไว้ 
หากท่านผู้ใดพบเห็นประวัติพระยาจากแหล่งข้อมูลใดที่ไม่ซ้ำกับที่ได้ลงมาแล้ว
หรืออาจะซ้ำชื่อพระยา  แต่มีข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมให้ประวัติมีรสชาติมากขึ้น
ก็เชิญมาต่อมาเติมมาเพิ่มมาแต่งได้เสมอ   ยินดีรับข้อมูล แต่ขอให้ระบุชื่อพระยาไว้
ที่ต้นความคิดเห็นด้วย  จะได้ทราบว่าเป็นพระยาคนใด คนอ่านจะจะได้ต่อข้อมูลถูก
ขอบคุณครับ ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ม.ค. 12, 18:17
ตอบข้อสอบท่านอาจารย์ใหญ่ครับ  นักเรียนชายหญิงทั้ง ๘ ท่านนั้น  มีชื่อตามลำดับดังนี้ครับ
นักเรียนหญิง นางสาวพิศ (นางประกาศโกศัยวิทย์ - พิศ  ภูมิรัตน)  นางสาวนวล (ไม่ทราบนามสกุล)  นางสาวหลี (คุณศรีนาฏ บูรณะฤกษ์)  นางสาวขจร  ทับเป็นไทย (ท่านผู้หญิงภะรตราชา - ขจร  อิศรเสนา)
นักเรียนชาย หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ  ทวีวงศ์  ม.ร.ว.โป้ย  มาฃากุล (พระยาเทวาธิราช)  นายจำเริญ  สวัสดิ์ - ชูโต (พระยานรเทพปรีดา)  นายเสริม  ภูมิรัตน (หลวงประกาศโกศัยงิทย์)
 ในภาพนั้นจะนั้่งเรียงกันตามรายชื่อนี้หรือไม่  ไม่ทราบครับ  แจ่ดูเค้าหน้าแล้วนักเรียนหญิงคนที่นั่งขวาสุดน่าจะเป็นท่านผู้หญิงขจร  ภะรตราชา

นักเรียนไทยที่ไปเรียนญี่ปุ่นชุดนี้  เล่ากันมาว่า เป็นเพราะเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖) เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕  ได้แวะประพาสประเทศญี่ปุ่น  และในการเสด็จประพาสครั้งนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ (สนั่น  เทพหัสดิน ณ อยุธยา - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) และขุนอนุกิจวิธูร (สันทัด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา - พระยาอนุกิจวิธูร) เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจจัดการศึกษาออกไปรอรับเสด็จที่ญี่ปุ่น  ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าฯ ข้าหลวงพิเศษฯ ได้ตรวจการจัดการศึกษาของญี่ปุ่นโดยละเอียดจนสามารถก๊อปปี้แผนการศึกษาของญี่ปุ่นมาทั้งฉบับ  และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ คงจะได้ทอดพระเนตรการศึกษาของเยาวชนญี่ปุ่นด้วย  เมื่อเสด็จนิวัติกรุงเทพฯ แล้วจึงได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันปีหลวง ขอให้ทรงสั่งนักเรียนหญิงไปเรียนที่ญี่ปุ่น ๔ คน  ในขณะเดียวกันก็ทรงคัดเลือกมหาดเล็กในพระองค์ออกไปเล่าเรียนด้วยทุนส่วนพระองค์อีก ๔ คน  จบกลับมานักเรียนหญิงได้เป็นครโรงเรียนราชินี  นักเรียนชายคงรับราชการในพระราชสำนัก

นางเสริม และนางสาวพิศ  เมื่อสมรสแล้วมีธิดาคนหนึ่งเป็นนนักเขียนมีชื่อ คือ คุณสุภาว์  เทวกุล


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ม.ค. 12, 13:47
๓๕.ประวัติพระยาราชประสิทธิพิพิธสมบัติพิพัศดุราชภักดี (นุด)

เป็นบุตรของพระรัตนพิมล (เกด)
เดิมนายนุดได้รับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๒
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ทำหน้าที่ดูรายงานต่างๆ
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๑๐ ตำลึง 
ต่อมา  ดปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่จมื่นราชนาคา  ปลัดพระคลังในขวา
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๑ ชั่ง ๕ ตำลึง
จากนั้น ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นพระสมบัตธิบาล  เจ้ากรมพระคลังในขวา
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ต่อจากนั้น  ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเมืองสมุทรสงคราม
แต่เมื่อกลับขึ้นมาพระนคร ได้กระทำการล่วงพระราชอาชญา ทำให้ทรงกริ้ว
ต้องโทษทัณฑ์ประการใดไม่ปรากฏ
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระสุนทรสมบัติ  เจ้ากรมพระคลังวิเศษ
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ต่อมา  ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นพระยาราชประสิทธิพิพิธสมบัติพิพัศดุราชภักดี
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๓ ชั่ง รับพระราชทานเงินรดน้ำ ปีละ ๑๐ ตำลึง ผ้าสองสำรับ
ต่อจากนั้น  ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปขัดตาทัพอยู่ ณ เมืองอุดงฦาไชย
ในรัชกาลที่ ๕  ยังรับราชการอยูตามตำแหน่งเดิมอยู่
ครั้นเดือน ๕ ปีวอก จัตวาศก ป่วยเป็นโรคเพื่อวาโยกระษัย  หมอประกอบยาให้  อาการดีขึ้นบ้าง
ต่อมา เดือน ๔ ปีกุน  สัปตศก  อาการทรุดลง 
จนกระทั่งวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ยังสัปตศก
เวลาบ่าย ๒ โมงเศษ  ถึงแก่กรรม  อายุได้ ๗๖ ปี



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 12 ม.ค. 12, 15:23
๓๖.  พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เที่ยนฮี้ สารสิน)

เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๑๐ (พ.ศ. ๒๓๙๑)
เป็นบุตร นายปั้นจู๊ลั่ว กับ นางหนู
เมื่อยังเป็นเด็กได้เล่าเรียนที่สำนักพระอาจารย์ทอง วัดทองนพคุณ เป็นเวลา ๗ ปี
แล้วเข้าเรียนที่โรงเรียนมิชชันนารีที่สำเหร่ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
ต่อมาได้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสแตนท์  หมอเฮาส์ มิชชันนารีจึงส่งให้ไปเรียนวิชาแพทย์ที่สหรัฐอเมริกา
สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ แล้วเดินทางกลับเมืองไทย

เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ เป็นช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ หมอเฮาส์ได้นำพระยาสารสินฯ ไปสมัครรับราชการกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเป็นผู้ช่วยนายแพทย์ รับราชการในกรมทหารมหาดเล็ก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๕ เป็นต้นมา
พ.ศ. ๒๔๒๓ ย้ายไปรับราชการในกรมหทารหน้า
พ.ศ. ๒๔๒๘ ไปราชการปราบฮ่อครั้งที่หนึ่ง  และอีกครั้งหนึ่งต่อมา
พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่อเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ไปเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ พระยาสารสินฯไปเป็นล่ามประจำกระทรวง ได้เป็นหลวงดำรงแพทยาคุณ
พ.ศ. ๒๔๓๗ ย้ายไปเป็นผู้ตรวจการโรงพยาบาล และครูในโรงเรียนแทพย์ สังกัดกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ
พ.ศ. ๒๔๔๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขอย้ายพระยาสารสินฯ ไปรับราชการในกระทรวงมหาดไทย
ได้เลื่อนเป็นพระมนตรีพจนกิจ ตำแหน่งเจ้ากรมฝ่ายเหนือ
พระยาสารสินฯ รับราชการได้ไม่นานเนื่องจากต้องทนทุกข์กับโรคเกาต์ จึงกราบบังคมลาออกจากราชการ เมื่่อ พ.ศ. ๒๔๔๔
แต่ก็ยังช่วยราชการอย่างต่อเนื่อง รัชกาลที่ ๖ จึงพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท และต่อมาเลื่อนเป็นพระยาสารสินสวามิภักดิ์ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐
ถึงแก่กรรมเม่ื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุ ๗๘ ปี
บุตรชายท่านหนึ่ง คือ คุณพจน์ สารสิน เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ม.ค. 12, 23:58
๓๗.พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมหลวงสิริ  อิศรเสนา)

เป็นบุตรเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น  อิศรเสนา) อดีตเสนาบดีกระทรวงวัง
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น  อิศรเสนา) เป็นบุตรในหม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา

มารดาของพระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ ชื่อ คุณขลิบ  เป็นธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร  บุนนาค)

พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๓๘
ที่บ้านถนนพระอาทิตย์ (วังเดิมของพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช)

เจ้าคุณมีพี่น้องรวมทั้งตัวท่านด้วย  ๒๖  คนดังนี้

๑.ม.ล.อุ่น  อิศรเสนา
๒.พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ล.สิริ  อิศรเสนา)
๓.พระปราบพลแสน (ม.ล.พงศ์พันธุ์  อิศรเสนา)
๔.ท่านผู้หญิงเยี่ยม  จรัญสนิทวงศ์
๕.พระสมรรคราชกิจ (ม.ล.สายันห์  อิศรเสนา)
๖.ม.ล.ฟื้น  อิศรเสนา
๗.ม.ล.เนื่อง  อิศรเสนา
๘.ม.ล.ปลั่ง  อิศรเสนา
๙.ม.ล.ยวง  อิศรเสนา
๑๐.หลวงพิสูจน์พาณิชย์ลักษณ์ (ม.ล.เพิ่มยศ  อิศรเสนา)
๑๑.ม.ล.พิศ  อิศรเสนา
๑๒.ม.ล.เรียม  อิศรเสนา
๑๓.ม.ล.พุ่มพวง  อิศรเสนา
๑๔.ม.ล.ยิ่งศักดิ์  อิศรเสนา
๑๕.ม.ล.พร  อิศรเสนา
๑๖.ม.ล.เรียบ  อิศรเสนา
๑๗.ม.ล.รื่น  อิศรเสนา
๑๘.น.ต. ม.ล.สนธยาย  อิศรเสนา ร.น.
๑๙.ม.ล.เรี่ยม  อิศรเสนา
๒๐.ม.ล.รสคนธ์  อิศรเสนา
๒๑.ม.ล.สาวดี  อิศรเสนา
๒๒.ม.ล.สันธยา  อิศรเสนา
๒๓.ม.ล.ฉันทนา  อิศรเสนา
๒๔.ม.ล.สุพร  อิศรเสนา
๒๕.ม.ล.สุพรรณ  อิศรเสนา
๒๖.ม.ล.พัฒนประไพ  อิศรเสนา

เมื่อเจ้าคุณอิศรพงศ์พิพัฒน์ ยังเด็ก  ได้เริ่มเรียนหนังสือกับผู้ใหญ่ที่บ้าน
ต่อมาได้ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัยที่ต.โรงเลี้ยงเด็ก และ ต.คลองสาน จ.ธนบุรี  ตามลำดับ
เมื่ฮโรงเรียนปิดเรียน  ได้ติดตามบิดาไปพร้อมกับม.ล.อุ่น  และม.ล.พงศ์พันธุ์  เข้าไปอยู่ที่ตำหนัก
เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ และเจ้าจอมมารดาโหมด  ผู้เป็นป้า  อยู่บ่อยๆ  ทำให้รู้จักญาติที่ทำราชการฝ่ายใน
สกุลบุนนาค   และได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมในวัง

เจ้าคุณนั้นเคยเล่าให้ลูกฟังเกี่ยวกับ  ป้าอ้น หรือ เจ้าจอมอ้น ในรัชกาลที่ ๕ 
และพี่เชย หรือ เจ้าจอมเชย ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งคนนี้มีฉายาว่า คุณเชยแห่
ฉายานี้มีคนเล่าลือต่อกันมาผิดๆ ว่าท่านบังอาจกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเจ้าจอม
จึงถูกลงพระราชอาชญาให้จับนุ่งร่างแหแล้วแห่ออกไปนอกพระบรมมหาราชวัง
ในความจริงแล้ว   ที่ท่านมีฉายาเช่นนั้น เพราะเจ้าจอมเชยเคยเป็นนางสระเข้ากระบวนแห่
ในคราวโสกันต์พระเจ้าลุกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ต่างหาก


คุณเชยต่อมาได้กราบบังคมลาออกมาสมรสกับหลวงอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (อัด บุนนาค)
มีบุตรคือ หลวงวิจิตรประมวลการ (อุทัย  บุนนาค) เป็นเพื่อนสนิทกับเจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ


เจ้าคุรได้เคยตามเสด็จรัชกาลที่ ๕ ไปที่พระราชวังบางปะอินหลายครั้ง
และจำได้ว่า  ในการพระราชทานเพลิงศพในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการจุดบั้งไฟ
มักเกิดระเบิดมีบาดเจ็บและตายบ่อยๆ

เมื่อเจ้าคุณอายุ ๑๒ ปี  พี่ชายอายุได้ ๑๓ ปี  บิดาได้พาเข้าเฝ้าฯ
ถวายบังคมลารัชกาลที่ ๕ เพื่อเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิส
ตอนนั้นพี่ชายยังมีชื่อว่า เคล้า ตามอักษรชื่อของฝ่ายมารดา ซึ่งเป็นชื่อเรียกลำลองมาแต่เกิด
บิดาได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อแก่ ม.ล. "เคล้า"
มีรับสั่งว่า  บิดาชื่อเย็น  ลูกก็ชื่ออุ่นแล้วกัน  ส่วนเจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ
ตอนนั้นมีชื่อว่า พงศ์ศิริ  อยู่แล้ว  จึงไม่ได้ขอพระราชทานชื่อใหม่

.......


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ม.ค. 12, 08:25
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ส่งบุตรชายไปเรียนหนังสือ ณ ต่างประเทศ
โดยไม่ได้ขอพระราชทานทุนเล่าเรียนจากพระเจ้าอยู่หัว  อย่างขุนนางคนอื่นนิยมทำกัน
เพราะเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ทำกิจการการค้าหลายอย่าง
เช่น  โรงสีข้าว  โรงเลื่อยไม้  และโรงเผาอิฐ  อยู่ที่บางบัวทอง  
(ตอนหลังมีกิจการเดินรถไฟสายบางบัวทอง  มีเอกสารกิจการรถไฟของท่าน
อยู่ในครอบครองของคหบดีมหาศาลท่านหนึ่ง  ซึ่งใจดีนักหนา
กรุณาให้ผู้เขียนได้ทัศนาเอกสารที่มีคุณทางประวัติศาสตร์กิจการรถไฟเอกชน
เอกสารนั้นดีเลิศ  และช่วยเติมเต็มข้อมูลหลายประการ ที่คุณเอนกหาไม่พบ)
ทำให้มีรายได้มากพอเป็นทุนทรัพย์ส่งเสียบุตรชาย  จำนวน ๖ คน ไปศึกษาที่ต่างประเทศได้อย่างสบาย

เจ้าคุณอิศรพงศ์กับหม่อมหลวงอุ่น พี่ชาย ได้เข้าศึกษา ที่ Chateau de Lancy ใกล้เมือง Geneva
เรียนได้ประมาณ ๔ ปี  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ ได้เสด็จมาทรงแวะเยี่ยมทั้งสองท่าน
ที่โรงเรียนดังกล่าว  และมีพระดำริว่า  โรงเรียนนี้ออกจะฟุ่มเฟือย  ค่าใช้จ่ายกินอยู่เล่าเรียนแพงนัก
เป็นที่สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์มาก  จึงโปรดให้ย้ายนักเรียนไทยในโรงเรียนดังกล่าวทั้งหมด
รวมทั้งท่านทั้งสองนั้น ไปเรียนหนังสือที่อังกฤษและฝรั่งเศสแทน

เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ กับพี่ชายได้ย้ายมาเรียนที่ Haileybury College  เรียนได้ ๔ ปี  
จากนั้น  เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ ได้ไปศึกษาด้านวิศวกรรมก่อสร้าง ที่โรงเรียน City and Guilds, Imperial College ในมหาวิทยาลัยลอนดอน
เมื่อเรียนจบก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ รัชกาลที่ ๖ ทรงประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน
และโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไปช่วยกองทัพฝ่ายพันธมิตรรบที่ยุโรป
ในครั้งนั้น  เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ และหม่อมหลวงอุ่น พี่ชายซึ่งเรียนจบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
ได้อาสาสมัครเข้าเป็นทหารร่วมรบด้วยในครั้งกระนั้น   เป็นที่น่าเสียใจที่หม่อมหลวงอุ่น  พี่ชายของเจ้าคุณ
ต้องเสียชีวิตในราชการสงครามครั้งนั้น  เมื่อความทราบถึงบิดามารดา ทั้งสองเศร้าเสียใจมาก
เนื่องจากหม่อมหลวงอุ่นเป็นบุตรชายคนโตของสกุล  เจ้าคุณอิศรพงศ์จึงกลายเป็นพี่ชายคนโตในสกุลสืบต่อมา

......


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ม.ค. 12, 08:27
เมื่อเจ้าคุณอิศรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมหลวงสิริ) เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ
ภายหลังปฏิบัติภารกิจในการสงครามที่ยุโรปแล้ว  เจ้าคุณได้รับพระราชทานยศ
เป็นนายดาบ  และได้รับพระราชทานเหรียญรามมาลาเข้ากล้ากลางสมร
จากนั้น  เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ ได้เริ่มเข้ารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย
และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอิศรพงศ์พิพัฒน์ในกาลต่อมา

ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ ได้ย้ายมารับราชการที่กระทรวงวัง
จนกระทั่งได้รับตำแหน่งเจ้ากรมวังนอก  ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการก่อสร้างต่างๆ
การซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างในเขตพระราชฐานและสถานที่ของทรัพย์สิ่นส่วนพระมหากษัตริย์
มีการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง  เป็นต้น  

ต่อมา  เจ้าคุณได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์
ซึ่งเป็นคราวเดียวกันกับพระยารัตนพิมพา (หม่อมราชวงศ์สวัสดิ์  อิศรางกูร)
และพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์  พหลโยธิน) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
พระยาทั้งสามคนนี้ เป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาคราวสุดท้ายของสยาม

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  ภาวะทางการเมืองผันแปรมาก
เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ พลอยได้รับผลกระทบด้วย  ท่านไม่มีงานทำอยู่หลายปี
จนกระทั่งท่านได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งในกรมโยธาธิการ  กรมทางหลวงแผ่นดิน
และ อ.จ.ส. ตามลำดับ

..........


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ม.ค. 12, 08:43
ในช่วงก่อนที่พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์จะแต่งงานนั้น  ท่านได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานมาก
และเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป  เนื่องจากท่านมีบ้านตึกส่วนตัวอยู่ริมคลองหลอด 
บ้านตึกหลังนี้ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ผู้เป็นบิดาได้จัดซื้อหาเตรียมไว้ให้ท่าน
และที่บ้านตึกหลังนี้  ก็ได้เป็นที่ชุมนุมสังสรรค์ของบรรดาสตรีสาวแก่แม่หม้ายมากหน้าหลายตา
เพราะมักมีหนุ่มๆ เหล่าขุนนางมาประชุมพบปะสังสรรค์กันอยู่เสมอ
เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ เองก็เปิดบ้านตึกรับแขกอยู่ตลอดเวลาด้วย

พระยาอิศรพงศ์ฯ ใช้ชีวิตสำเริงสำราญตามประสาหนุ่มโสดอยู่หลายปี
จนกระทั่งได้สมรสกับหม่อมหลวงสำลี  กุญชร  บุตรีเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์
(หม่อมราชวงศ์หลาน  กุญชร)  เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ จึงได้เปลี่ยนวิถีชีวิต
จากหนุ่มเจ้าสำราญมาเป็นผู้อยู่ในคลองธรรม

เจ้าคุณมีบุตรธิดา ๓ คน ดังนี้

๑.นายพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  สมรสกับนางบุนนาค  สกุลเดิม หงษ์เหิน
มีบุตร คือ  นายพิพัฒน์พงศ์  อิศรเสนา ณ อยุธยา

๒.เรืออากาศโท นุรักษ์  อิศรเสนา ณ อยุธยา

๓.นายนัดดา  อิศรเสนา ณ อยุธยา  สมรสกับนางเสาวนีย์  สกุลเดิม ทองเจือ
มีบุตรธิดา คือ นายวรศิษฏ์    นายวรงศ์    และนางสาวพัทรี

พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ เริ่มป่วยหนักจนไม่สามารถเดินเหินได้ เมื่ออายุได้ ๘๙ ปี
จากนั้นร่างกายท่านก็ทรุดโทรมลงตามวัย  และถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ
อายุได้ ๙๔ ปี ๒ เดือน  เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม  ๒๕๓๒ ฯ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ม.ค. 12, 09:03
๓๘.พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น  วสันตสิงห์)

เกิดที่บ้านริมถนนอัษฎางค์  อำเภอพระนคร  จังหวัดพระนคร
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน  ๒๔๒๖

บิดา  หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (สิงห์โต  วสันตสิงห์)
มารดา  นางท้วม  วสันตสิงห์
ปู่   พระภิรมย์ราชา  (แย้ม  วสันตสิงห์)
(ตระกูลนี้รับราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยติดต่อกัน ๓ ชั่วคน)

มีพี่น้องตามลำดับอายุดังนี้

๑.ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี 
๒.หม่อมลำดวน  ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศืเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๓.นางเย็น  ยงใจยุทธ
๔.พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น  วสันตสิงห์)
๕.พระสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เข็ม  วสันตสิงห์)

อายุ ๙ ขวบ  เข้าเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
เมื่อสอบไล่ได้จบหลักสูตรแล้ว  ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดราชการกระทรวงมหาดไทย
จากนั้น  สอบไล่ได้สำเร็จแล้ว  จึงเริ่มรับราชการในกระทรวงมหาดไทย
ในตำแหน่งเสมียนสามัญ เมื่อปี ๒๔๔๐  ขณะนั้นอายุได้ ๑๕ ปี 

ปี ๒๔๔๑  ทางกระทรวงมหาดไทยได้ส่งตัวไปเรียนระเบียบแบบแผนการปกครอง
ที่มณฑลอยุธยา

ปี ๒๔๔๒  สอบระเบียบการอำเภอได้  จึงกลับเข้ารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย
ในตำแหน่งนายรองเวรวิเศษ

ปี ๒๔๔๔  ได้รับบรรดาศักดิ์ประทวนเป็นขุนพินิจโวหาร และได้เลื่อนขึ้นเป็นนายเวรวิเศษ

..........


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ม.ค. 12, 08:27
ในช่วงที่พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ปฏิบัติราชการในกระทรวงมหาดไทย
ระหว่างปี ๒๔๔๐ ถึงปี ๒๔๔๔  เวลากลางวันท่านจะไปปฏิบัติหน้าที่
ที่กระทรวงมหาดไทย   ครั้นเวลาค่ำ  ท่านมีหน้าที่ต้องไปคอยรับใช้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ที่วังวรดิศ
การปฏิบัติหน้าที่ที่วังวรดิศ ได้แก่ อ่านหนังสือราชการถวาย
ร่างหนังสือตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมีรับสั่งให้เขียน
เป็นอาทิ

ในช่วงที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปทรงตรวจราชการ
ตามหัวเมืองต่างๆ  หรือโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จประพาสหัวเมืองหรือต่างประเทศ   พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ก็ต้องตามเสด็จ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไปด้วย   เพราะต้องไปปฏิบัติหน้าที่
เลขานุการส่วนพระองค์เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสมอ 

พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ได้ตามเสด็จสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไปทรงตรวจราชการ
ตามหัวเมืองทุกมณฑล  ได้ตามเสด็จไปปีนัง สิงคโปร์ และชวา 
ทำให้ท่านได้มีโอกาสเรียนรู้การงานของกระทรวงมหาดไทยอย่างกว้างขวาง

นอกจากนี้  ด้วยเหตุว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ยังได้ทรงดำรงตำแหน่ง
หน้าที่อื่นๆ ในการบริหารราชการบ้านเมืองอีกหลายตำแหน่ง 
ทำให้พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ได้พลอยเรียนรู้ราชการบ้านเมืองด้านต่างๆ มากขึ้น
และเป็นต้นทุนสำคัญในการรับราชการต่อมา

.......


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ม.ค. 12, 08:45
ปี ๒๔๔๔  พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ได้เริ่มออกไปรับราชการตามหัวเมือง
โดยได้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการมณฑลกรุงเก่า  แล้วได้เลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่ง
เป็นเลขานุการมณฑลในปีเดียวกัน  ในระหว่างนี้  พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ได้รับ
การอบรมสั่งสอนราชการจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์
สมุหเทศาภิบาลกรุงเก่าในขณะนั้น

ปี ๒๔๔๕  พระยาเพ็ชรพิไสยฯ สอบประโยคมณฑลได้  โปรดให้ดำรง
ตำแหน่งเป็นนายอำเภอในจังหวัดกรุงเก่า  จากนั้นได้เลื่อนขึ้นเป็น
ปลัดจังหวัดสิงห์บุรี  และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น
หลวงพิทักษ์ฤทธิรงค์

ปี ๒๔๔๖  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวงมหาดไทยประจำมณฑลนครสวรรค์ 
และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ใหม่เป็นหลวงวิชิตเสนี

ปี ๒๔๔๗  ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้ากรมพลำภังเป็นการชั่วคราว
นาน ๖๐ วัน  และในปีเดียวกันนี้   พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ได้สมรสกับ
นางสาวเรียบ  บุตรีพระบริหารหิรัญราช (สาย  สุวรรณสุภา)

ปี ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ช. เป็นบำเหน็จ
ที่ได้จัดระเบียบแบบแผนการปกครองอำเภอได้เรียบร้อยดี  และได้ปฏิบัติ
ราชการออกไปตรวจราชการถึงเมืองเมียวดี  ประเทศพม่า

ปี ๒๔๕๐  ได้เลื่อนเป็นผู้รั้งปลัดมณฑลนครสวรรค์   และได้ช่วย
สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์จัดการรับเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  สยามมกุฎราชกุมาร  ในคราวที่เสด็จประพาสหัวเมือง
ฝ่ายเหนือ  การเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี   ได้รับพระราชทานหนังสือ
พระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงเป็นรางวัล  และมีพระราชหัตถเลขา
และพระบรมนามาภิไธยพระราชทานมาในหนังสือเล่มดังกล่าวด้วย

............


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ม.ค. 12, 14:53
ปี ๒๔๕๑ ได้เป็นปลัดมณฑลนครสวรรค์  และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเฑียรฆราษ

ปี ๒๔๕๓  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
กระทรวงมหาดไทยได้รับแจ้งข่าวว่า  มีช้างพลายเชือกหนึ่ง เป็นช้างสำคัญ
อาศัยอยู่ในเขตป่ารอยต่อระหว่างเมืองนครสวรรค์กับเมืองพิจิตร
กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีตราสั่งให้ท่านคุมกำลังคนหาช้างต่อในเมืองนครสวรรค์
ออกไปสมทบกับกองของพระยาพิไชยรณรงค์สงคราม  ผู้ว่าราชการเมืองพิจิตร
เที่ยวแซกโพนหาช้างสำคัญเชือกดังกล่าว  และให้ตระเตรียมช้างต่อ เสบียงอาหาร
สำหรับกินอยู่ในป่าได้ครบ ๓ เดือน  ถ้าไม่พบช้างสำคัญก็อย่ากลับให้กลับเข้ามา

การติดตามหาช้างสำคัญคราวนั้นมีความยากลำบากหลายประการ ได้แก่
เมื่อท่านขี่ช้างติดตามไปกับช้างต่อเที่ยวตรวจช้างเถื่อนอยู่นั้น  บังเอิญ
ระหว่างทางพบช้างพังแม่โขลงแล่นเข้ามาชนช้างที่ท่านขี่อยู่อย่างแรง
ทั้งช้างแม่โขลงและช้างที่ท่านขี่นั้นต่างกระเด็นถอยหลังไปด้วยแรงประทะทั้งสองฝ่าย
ต่อจากนั้น  มีช้างพังแม่โขลงอีกเชือกหนึ่ง วิ่งไล่ตามหลังช้างที่ท่านขี่
หมายจะทำอันตราย  โชคดี  หมอช้างไสช้างต่อมาขวางได้ทัน
ช้างพังแม่โขลงเห็นงาช้างต่อเข้าก็ล่าถอยหนีไป

พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ออกตามหาช้างสำคัญอยู่หลายวันด้วยความยากลำบาก
จนกระทั่งประสบพบช้างสำคัญเข้า  ทั้งนี้ด้วยเป็นพระบารมีแห่งรัชกาลที่ ๖
ที่จะทรงได้ช้างสำคัญคู่รัชกาลของพระองค์  บันดาลบให้กองช้างต่อของพระยาเพ็ชรพิไสยฯ
ได้พบช้างสำคัญดังกล่าว  และได้คล้องได้สำเร็จเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๕๔
ต่อมาช้างสำคัญเชือกนี้  ได้ผ่านพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง  มีนามว่า

    "พระเศวตวชิรพาห อุดมลักษณคชินทร
รัตนกุญชรทุติยเศวต โลมเนตร์นัขนฤมล
เอกทนต์ทักษิณ ปรัศอุบัติพ้องต้องตำรา
เทพามหาพิฆเนศวร์ อัคนิเทเวศน์รังสฤษดิ์ประสิทธิ์
ผลชนมายุยืนยง กำเนิดคงแขวงนครสวรรค์
พลันมาสู่พระบารมี นฤบดีฉัฏฐรัชกาล
คู่สมภารภูเบศร์ พิเศษสรรพมงคล
สุภัทรผลเพียบพูล จรูญพระเกียรติภูมินทร์ หัสดินประเสริฐเลิศฟ้า ๚"

เป็นช้างเผือกคู่พระบารมีรัชกาลที่ ๖ ซึ่งได้ยืนโรงมาจนตลอดรัชกาล
และล้มลงเมื่อปี ๒๔๘๘

การคล้องช้างสำคัญได้คราวนั้น  พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ได้ลงมาเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทาน
เข็มข้าหลวงเดิม ที่กรุงเทพฯ ในเดือนเดียวกันนั้น  และในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน
ก็ได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท  เดือนกันยายนถัดมา  ได้ช่วยสมุหเทศาภิบาล
มณฑลนครสวรรค์จัดการรับเสด็จสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง
เสด็จประพาสเมืองนครสวรรค์  และได้รับพระราชทานดุมทองคำลงยา ส.ผ.เป็นบำเหน็จรางวัล
นอกจากนี้ ก็ยังได้รับพระราชทานชื่อบุตรธิดาด้วย จำนวน ๔ คน ว่า ศิริเลิศ  แม้นวาด
กองกาญจน์  และเมืองเริง

..........


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ม.ค. 12, 15:17
เดือนตุลาคม  ๒๔๕๔  รัชกาลที่ ๖ เสด็จฯ ไปยังจังหวัดนครสวรรค์
ในพระราชพิธีสมโภชช้างสำคัญ   พระยาเพช็รพิไสยฯ ต้องจัดการรับเสด็จ
แทนสมุหเทศาภิบาลที่ติดไปราชการนอกพื้นที่   ท่านได้รับพระราชทานยศเสือป่า
เป็นที่นายหมู่ตรี กองเสือป่า  ได้รับพระราชทานธงประจำตัว  ได้รับพระราชทาน
บรรดาศักดิ์เป็นพระยายอดเมืองขวาง  ตำแหน่งปลัดมณฑลนครสวรรค์
ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๔   ครั้นถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน
ท่านได้เดินทางลงมาเข้าเฝ้าฯ ในพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง
พระเศวตวชิรพาห ที่กรุงเทพฯ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ช.

ปี ๒๔๕๕  รับพระราชทานยศเสือป่าเป็นนายหมู่โท

ปี ๒๔๕๖  ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี   
ได้รับพระราชทานยสเสือป่าเป็นนายหมู่เอก 

ปี ๒๔๕๗  ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีว่างลง
ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเพชรบุรี
ปีเดียวกันนี้  ได้รับพระราชทานนามสกุล "วสันตสิงห์"
เดือนมกราคมปีเดียวกัน  จัดการรับเสด็จรัชกาลที่ ๖
และต้อนรับกองราชบริพาร ๑๗๖๐ คนที่เสด็จฯ มาและมาพักแรม
ที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อเสด็จฯ ออกจากเพชรบุรี
ท่านได้คุมกองเสือป่าเพชรบุรีสมทบกองเสือป่าหลวงเดินทางไกล
ได้รับพระราชทานยศเสือป่าเป็นนายหมวดเอก ผู้บังคับกองพันที่ ๒
กองเสือป่าเพชรบุรี

ปี ๒๔๕๘ เดือนพฤศจิกายน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
ด้วยเหตุได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายในจังหวัดเพชรบุรีจนราบคาบ
และได้ทำถนนหนทางในจังหวัดให้สามารถเดินทางได้สะดวก
เดือนธันวาคม ได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก
เดือนกุมภาพันธ์  ได้นำเสือป่าเพชรบุรีเข้าร่วมฝึกหัดวิธียุทธ
สมทบกับกองเสือป่าหลวง   ได้รับพระราชทานยศนายกองตรี

.............


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ม.ค. 12, 15:40
ประวัติการรับราชการของพระเพ็ชรพิไสยฯ นั้นมีรายละเอียดมากนัก
จะขอรวบรัดตัดความเอามาลงแต่ที่เห็นว่าสำคัญๆ ดังนี้

ปี ๒๔๕๙ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประทานชื่อบุตรคนหนึ่งของพระเพ็ชรพิไสยฯ ว่า ลาภ
ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ต.จ.ว. พร้อมโต๊ะทอง กาทอง

ปี ๒๔๖๐ ย้ายไปเป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่

ปี ๒๔๖๒ เป็นนายกองโท กองเสือป่า

ปี ๒๔๖๔  เป็นมหาอำมาตย์ตรี

เมื่อมาประจำหน้าที่ที่เชียงใหม่ ได้รับประทานชื่อบุตรคนหนึ่ง
จากพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ว่า อรอวล
ได้จัดสร้างโรคพยาบาลสุขาภิบาลที่เชียงใหม่
เป็นผู้บอกบุญเรี่ยไรเงินชาวเชียงใหม่จัดซื้อเครื่องแพทย์สำหรับโรงพยาบาลดังกล่าว
วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๖๗  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์
ได้เสด็จไปทรงเปิดโรงพยาบาลดังกล่าว

จัดสร้างสนามบินจังหวัดเชียงใหม่
ชักชวนชาวเชียงใหม่บริจาคเงินซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศ
จำนวน ๒ ลำ (เครื่องบินเชียงใหม่ ๑ และเชียงใหม่ ๒)

ปี ๒๔๖๙  จัดการรับเสด็จรัชกาลที่ ๗ ในคราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพ
และจัดการพระราชพิธีสมโภชช้างเผือกด้วย  ได้รับเครื่องราชฯ ท.ม.
ซองบุหรี่อักษรพระปรมาภิไธย  เหรียญจักรพรรดิมาลา (ทำราชการครบ ๒๕ ปี)
และยังได้รับพระราชทานชื่อบุตร ๔ คน ว่า พวงเพ็ชร สุเทพ สุพรหม และใจใส

ปี ๒๔๗๐  คุมช้างเผือกจากเชียงใหม่ลงมาที่กรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ
เพื่อขึ้นระวางสมโภช ได้รับพระราชทานแหนบทองคำลงยารูปช้างเผือก

ปี ๒๔๗๑  ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
ปี ๒๔๗๓  ได้จัดการรับเสด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์กและพระราชวงศ์
ในคราวเสด็จฯ มาทรงเยือนจังหวัดแพร่
ปี ๒๔๗๔  ย้ายมาเป็นปลัดบัญชาการนครบาล
และดำรงตำแหน่งผู้รักษาราชการจังหวัดพระนครและธนบุรี



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 18 ม.ค. 12, 22:15
พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์(แม้น  วสันตสิงห์) ใช่บิดาของหม่อมศิริเลิศ  เทวกุล ณ อยุธยาหรือไม่ครับ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 ม.ค. 12, 15:53
ปี ๒๔๗๔ พระยาเพ็ชรพิไสยฯ ได้เป็นผู้ริเริ่มจัดการศึกษาประชาบาลขึ้นในจังหวัดพระนครและธนบุรี
ตามพระราชบัญยัติประถมศึกษา  ทำให้เกิดโรงเรียนประชาบาลในกรุงเทพฯ ทั่วไป
โดยชั้นแรกท่านเจ้าคุณฯ ได้กราบทูลขอใช้สถานที่เมรุปูนวัดสระเกศ
จากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  มาแก้ไขดัดแปลงซ่อมแซมใช้เป็นอาคารเรียน
โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านบาตร ๑   ต่อมาได้สร้างโรงเรียนอาชีพช่างเหล็ก
แล้วจัดเมรุปูนนี้เป็นสถานที่กลางใช้อบรมวิชาต่างๆ แก่ครูประชาบาล
รวมทั้งมีการจัดสอบเลื่อนฐานะทุกวิชาด้วย

ปี ๒๔๗๖ มีโรงเรียนประชาบาลในกรุงเทพฯ มีทั้งสิ้น ๒๒๖ โรงเรียน

๖ ๗ ๘ เมษายน ๒๔๗๕  ท่านเจ้าคุณได้ทำหน้าที่จัดงานสมโภชพระนคร
๑๕๐ ปี และสมโภชพระปฐมราชานุสรณ์  ฉลองสะพานพระพุทธยอดฟ้า สำเร็จเรียบร้อยดี

ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕  พระยาจ่าแสนบดี  สมหพระนครบาล
ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
พระยาเพ็ชพิไสยฯ จึงได้ทำการในตำแหน่งสมุหพระนครบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง
ทำให้ท่านต้องทำการสั่งการประจำที่ศาลาว่าการนครบาลทั้งกลางวันกลางคืน
อยุ่บ่อยครั้ง  เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติประจำ

เดือนมีนาคม ๒๔๗๖ ออกรับพระราชทานบำนาญ  ฐานรับราชการมานาน
(๓๒ ปี)

หลังจากนี้  พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น  วสันตสิงห์) ก็ยังได้รับเชิญ
ไปดำรงตำแหน่งต่างๆ อีกมาก  มีกรรมการและเลขาะการจัดการสลากกินแบ่ง เป็นต้น

พระยาเพ็ชรพิไสยฯ มีบุตรธิดากับคุณหญิงเรียบ  วสันตสิงห์  ดังนี้

๑ หม่อมศิริเสิศ  เทวกุล ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ  เทวกุล

๒.นางสาวแม้นวาด  วสันตสิงห์

๓.นางสาวกองกาญจน์  วสันตสิงห์

๔.นายเมืองเริง  วสันตสิงห์  สมรสกับหม่อมหลวงปานตา  มาลากุล

๕.นายลาภ  วสันตสิงห์  สมรสกับนางพรรณเลิศ  เกตุทัต

๖.เด็กชายแอ๋น  วสันตสิงห์

๗.นายพวงเพ็ชร  วสันตสิงห์

๘.นางอรอวล  อิศรางกูร ณ อยุธยา  สมรสกับนายจรูญพันธุ์  อิศรางกูร ณ อยุธยา

๙.นาวาโท สุเทพ  วสันตสิงห์

๑๐.พันเอก สุพรหม วสันตสิงห์  สมรสกับนางเพ็ญโฉม  โชติกเสถียร

๑๑.นางใจใส  บุนนาค  สมรสกับนายประธาน  บุนนาค

ต่อมา เมื่อคุณหญิงเรียบ  เพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ถึงแก่กรรมแล้ว
ท่านได้ทำการสมรสกับคุณหญิงเจียมจิต  น้องสาวคุณหญิงเรียบ 
ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน

.........................


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 ม.ค. 12, 16:15
พระยาเพ็ชรพิไสยฯ มีความสามารถในทางหนังสืออยุ่มาก
ท่านสนใจค้นคว้าวรรณคดี และโบราณคดี  ชอบแก่กาพย์กลอน

ในระหว่างที่รับราชการอยู่ที่เชียงใหม่  ท่านได้เรียบเรียง
หนังสือความรู้รอบตัวให้ครูทดลองใช้สอนนักเรียน
เรียบเรียงหนังสือตำนานจังหวัดเชียงใหม่  โดยย่อความจาก
พงศาวดารและตำนานโยนก   แต่งบทร้องคำกลอนสอนจรรยา
ให้นักเรียนร้องประจำตามลำดับชั้น จำนวน ๒๕ บท เคยได้พิมพ์ใช้
ในมณฑลพายัพ

บทร้องดังกล่าว เมื่อท่านย้ายมาประจำที่กรุงเทพฯ ได้แต่งเพิ่มเติม
เป็น ๓๐ บท ให้นักเรียนโรงเรียนประชาบาลในกรุงเทพฯ ขับร้อง

ปี ๒๔๗๐  ท่านกับพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ  แต่งหนังสือโคลงระยะทาง
พระวิมาดา  กรมพระสุทธาสินีนาฎ เสด็จประพาสเชียงใหม่และล่องลำน้ำปิง

ปี ๒๔๗๐ แต่งฉันท์ว่าด้วยเบญจกัลยาณี  ความงามของสตรี ๕ อย่าง

ปี ๒๔๗๗  ท่านแต่งฉันท์เรื่องนกไนติงเกลและดอกกุหลาบ  ส่งไปลงพิมพ์
ในวารสารวิทยาจารย์   และได้เรียบเรียงแก้ไขพระราชพงศาวดารสังเขป
ซึ่งได้แต่งไว้ตั้งแต่ครั้งรับราชการอยู่เชียงใหม่  จนเสร็จบริบูรณ์  รวม ๓ ภาค

งานประพันธืของท่านคงมีอีกมาก  นอกจากนี้ท่านยังชอบเล่นกีฬา
เช่น ฟุตบอล เทนนิส และกีฬาคล้องช้างที่ท่านชอบและชำนาญมาก
สามารถทำท่าคล้องช้างได้งามสง่า   

ท่านเจ้าคุณสนิทกับท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดีมาก
มักไปมาหาสุ่กับประจำ จนกระทั่งท่านผู้หญิงถึงแก่อนิจกรรม
ท่านจึงดูเหงาหงอยลงมาก   และต่อมาท่านก็ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด
จนกระทั่งอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕ เวลา ๒๒.๒๕ น.
อายุได้ ๗๘ ปี ๕ เดือน ๒๓ วัน 

อนึ่ง  พระยาเพ็ชรพิไสยฯ นี้เป็นคนที่รอบคอบ  ท่านได้เตรียมสมุดประวัติ
และบันทึกการรับราชการของท่านใส่ซองไว้พร้อมแล้วนำไปมอบแก่
นายเมืองเริง เก็บรักษาไว้  ตั้งแต่ปี ๒๕๐๐  ซึ่งเอกสารเหล่านั้น
เจ้าภาพงานศพพระยาเพ็ชรพิไสยฯ ได้นำมาเรียบเรียงไว้ในหนังสืองานศพได้
อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง.

หมายเหตุ  ประวัติพระยาเพ็ชรพิไสยฯ นี้มีรายละเอียดมาก 
ได้ตัดทอนออกไปหลายส่วน  เก็บมาเล่าเท่าที่อยากให้ท่านผู้อ่านทราบ
ผู้ใดสนใจประวัติอย่างละเอียดเชิญไปอ่านในหนังสืองานศพของเจ้าคุณเถิด.


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 ม.ค. 12, 16:36
๓๙.ประวัติขุนตำรวจตรี  พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ  สุวรรภารต)

เป็นบุตรนายทองอยู่  สุวรรณภารต  โขนหลวง
เป็นพี่ชายต่างมารดา ของพระยานัฎกานุรักษ์ ( ทองดี สุวรรณภารต)
เป็นศิษย์ของครูบัว ทศกัณฐ์ตัวดีมีชื่อเสียง ซึ่งปู่ของจมื่นสมุหพิมาน หรือ หลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ อินทรนัฏ)

เกิด ๒๑ สิงหาคม ๒๔๐๔
๒๔๓๓ เข้ารับราชการเป็นโขนหลวง
๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนระบำภาษา
๒๔๕๓ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระบำภาษา
๒๔๕๔  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระระบำภาษา
๒๔๕๘  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพรหมาภิบาล
๒๔๕๙  ได้ย้ายมาประจำกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์
สังกัดกระทรวงวัง  ได้รับพระราชทานยศ ขุนตำรวจตรี
๒๔๖๙  ปลดออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ

๒๘ กุมภาพันธุ์ ๒๔๖๙  ถึงแก่กรรม  อายุได้ ๖๖ ปี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 22 ม.ค. 12, 09:06
พระยาอภัยพิพิธ (เสศ หรือ เศษ หรือเสพ สุรนันทน์)

บุตร์ นายพลพ่าย (เรือง) (สืบเชื้อสายมาแต่ พระยารามจตุรงค์ ผู้จับกุมพระยาสรรค์ สำเร็จโทษ และอันเิชิญ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ขึ้นครองสิริราชสมบัติ) ท่านฉิมชู เป็นมารดา

- ทำราชการ เป็น มหาดเล็ก ในแผ่นดิน พระพุทธเลิศหล้าฯ

- ฝากตัวอยู่ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามหามกุฏ ในปลายแผ่นดินที่ ๒

- ตามเสด็จเจ้าฟ้ามหามกุฏ ไปอยู่วัดมหาธาตุ เมื่อทรงผนวช.

- ในแผ่นดินพระนั่งเกล้า ได้ทำราชการอยู่ในกรมพระราชวังที่ ๓ ได้ตามเสด็จในงานพระราชสงครามปราบปรามขบถอนุเวียงจัน มีความชอบ โปรดตั้งให้เป็น นายปรีดาราช หุ้มแพร.

นายปรีดาราช ได้ท่่านน้อย บุตร์พระยารัตนมณเฑียร (เนียม) เป็นภรรยา มีบุตร์ด้วยกัน ๓ คน.

บุตร์ที่ ๑ หญิง ชื่อ ฟ้อน เป็นภรรยา ขุนอินทรักษา (บุด)

บุตร์ที่ ๒ ชื่อ ป่อง ตายแต่เล็ก

บุตร์ที่ ๓ ชาย ชื่อ - ตายแต่เล็ก

อยู่บ้านในตรอกศาลเจ้าครุฑ. เมื่อกรมพระราชวังที่ ๓ สวรรคตแล้ว ได้ลงมาทำราชการในวังหลวง. ท่านน้อย ป่วยโรคป่วง (?) ถึงแก่กรรมที่บางอีร้า ขณะกลับจากไปนมัสการพระพุทธบาท.

นายปรีดาราช ได้ท่านพุ่ม บุตร์คุณไภย (เป็นโอรสสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ชื่อเจ้าฟ้าทัศไภย) ข้าหลวงในทูลกระหม่อมฟ้ามหามกุฏ เป็นภรรยา มีบุตร์ด้วยกัน ๒ คน.

บุตร์ที่ ๑ ชาย ชื่อ เลื่อน (เป็นพระยาราชสัมภารากร)

บุตร์ที่ ๒ ชาย คลอดได้ ๗ วันตาย.

ยกมาอยู่บ้าน ถนนใหม่ตรงหน้าวัดมหรรณ์.

ท่านพุ่ม ป่วยโรคลมมหาสดม (?) ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๓๕ ปี.



ในแผ่นดินพระนั่งเกล้า

โปรดให้เป็ฯ นายจ่าเนด แล้วเลื่อนเป็น หลวงอินทรโกษา ปลัดกรมพระคลังราชการ

- ได้ท่านน้อย เป็นภรรยา ได้ย้ายมาอยู่บ้านเก่าที่ทำโรงหวยทุกวันนี้ .

ประมาณปีเศษ ก็มิได้อยู่ด้วยกัน เพราะท่านน้อยทำไม่ชอบอัทธยาศรัย

-ได้ท่านจั่น บุตร์หลวงเพ็ชร์อินตรา ข้าหลวงในทูลกระหม่อมฟ้ามหามกุฏ เป็นภรรยา มีบุตร์ด้วยกัน ๑ คนเป็นชาย ตายแต่เล็ก

ได้ย้ายมาอยู่บ้าน ข้างบ้านบาตร์ข้างใต้.

ประมาณ ๒ ปีเศษ ท่านจั่น ป่ายยเป็นวรรณโรคที่ถันประเทศ(?) ถึงแก่อนิจจกรรม.



ในแผ่นดินพระจอมเกล้า.

- โปรดให้เป็น พระยาพิพัฒโกษา ราชปลัดทูลฉลองในกรมท่ากลาง.

- พระราชทาน เจ้าจอมวัณ บุตร์พระอินทรเดชะ (นิ่ม, ฉิม) ซึ่งเป็นเจ้าจอมอยู่งานในสมเด็จพระนั่งเกล้า. ให้เป็นภรรยา

ได้รับพระราชทาน คนโฑ...(อ่านไม่ออกครับ)   คนระนาดหม่อมไกรษร ภรรยานายทั่งกลนท ๑ บุตร์ชาย ๑


เมื่อเป็นพระยาพิพัฒโกษา ได้รับพระราชทาน

โต๊ะทองคำรองล่วม  คณโฑน้ำทองคำ  กระโถนทองคำ  สลักพุ่มโคมเพ็ชร์

ภายหลังได้พระราชทาน เหรียญทองคำใหญ่มีตราแผ่นดินดวงหนึ่ง สำหรับติดเสื้อ. พานหมากทองคำเหลี่ยนมไม้สิบสองมีเครื่องกินครบ คณโฑกระโถนทองคำ ถมปักลายสมปักปูมเขมร เสื้อเข้าขามอย่างน้อย ส่านแหวนพิรอด ทองคำแท่งหนึ่ง หนัก หกตำลึง เบี้ยหวัดปีละ ๗ ที่บ้านที่ปากคลองผดุง แต่ท่าวัดแก้วฟ้าถึงริมแม่น้ำ



ในแผ่นดินพจะจุลจอมเกล้า.

โปรดให้เป็น พระยาอภัยพิพิธ ตำแหน่งในกรมท่ากลาง ยศเดิม ได้รับพระราชทาน ตราสำหรับสวมคอ มัณฑา..อาภรณ์ดวงหนึ่ง และทุติยจุลจอมเกล้าดวงหนึ่ง

อายุได้ ๗๒ ปี ก็ถึงแก่กรรม ท่านมีบุตร์กับภรรยาอื่นๆ อีก ๙ คน.


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 22 ม.ค. 12, 09:24
พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน)

บุตร์ พระยาอภัยพิพิธ (เสศ) ท่านพุ่ม บุตร์คุณไภย เป็นมารดา.

ในแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ

รับราชการเป็นมหาดเล็ก. ( มหาดเล็กหลวงในพระจอมเกล้าฯ เมื่อยังทรงผนวชอยู่ หมาดเล็กรายงานตรวจราชการพระคลัง รัชการที่ ๔  เป็น นายรองสรรพวิไชย เอกสารอีกฉบับว่า เป็นนายสรรพวิไชย หุ้มแพร นายยาม ยามพระแสงเวรเดช ในรัชกาลที่ ๔ บวชในสำนักสมเด็จพระวันรัตน (ทับ) วัดโสมนัส)

ในแผ่นดินพระจุลจอมเกล้าฯ

เป็นหลวงอินทรโกษา ในกรมพระคลังราชการ (ปลัดกรมพระคลังราชการ)

เป็นพระยาราชสัมภารากร เจ้ากรมพระคลังราชการ ภายหลังได้รับพระราชทานยศ เป็นข้าหลวงใหญ่ ผู้สำเร็จราชการนครเชียงใหม่. แล้วกลับมาประจำ กรมพระคลังราชการ จนถึงอนิจกรรม.

แต่งโคลงรามเกียรติต้องไมยราบ(?) และโคลงต่างๆ ถวาย. ไปเป็นข้าหลวงใหญ่รักษาราชการ ณ เมืองนครเชียงใหม่ี ได้รับพระราชทาน โต๊ะทอง กาทอง. แต่งโคลงนิราชระยะทางเมืองนครเชียงใหม่ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ได้รับพระราชทานเครืองราชอิศริยาภรณ์ ช้างเผือกสยามชั้นที่ ๓ ถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ ๕

มีบุตร์เท่าที่ทราบ.

บุตร์ที่ ๑. ชาย ชื่อ  เฉื่อย เป็นหลวงอินทรโกษา

บุตร์ที่ ๒. หญิง ชื่อ เลือง รับราชการในกระบรมมหาราชวัง ในรัชกาลที่ ๕, แล้วกราบบังคมลาออกไปได้สามีชื่อ พระณรงค์.

บุตร์ที่ ๓. หญิง ชื่อ ขาว คุณหญิง ปริก ราชสัมภารากร มารดา. หม่อมห้าม ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม (ม.จ.เณร)

บุตร์ที่ ๔ ชาย ชื่อ พื้น

บุตร์ที่ ๕ ชาย ชื่อ เพี้ยง

บุตร์ที่ ๖ หญิง ชื่อ พิง


*** ท่านพุ่ม บุตร์คุณไภย
 คุณไภย คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย ทัศไภย พระราชโอรสที่ ๒  ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สิน) กับ กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เจ้าหญิงฉิม หรือเรียกในราชสำนักนครศรีธรรมราชว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่ ราชธิดาของเ้จ้าพระยานครศรีธรรมราช.

ถึงรัชกาลที่ ๒ เป็นพระอินทอำไพ หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระอินทรอภัย ถูกสำเร็จโทษในพ.ศ. ๒๓๕๘.


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 22 ม.ค. 12, 09:30
หลวงอินทรโกษา (เฉื่อย สุรนันทน์)

บุตร - มหาอำมาตย์ตรี พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันทน์) และคุณหญิง มอญ ธิดาพระยาราชสัมภารากร (เทศ) หลานปู่พระยามหานิเวศน์ (ยัง) ผู้สร้างวัดพระยายัง.

มีธิดา ๑ คนชื่อ พร้อง ต่อมาเป็น คุณท้าวอนงค์รักษา (พร้อง ทองเจือ ต.จ.) ภรรยา มหาเสวกตรี พระยาไพชยนต์เทพ (ทองเจือ ทองเจือ)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ม.ค. 12, 08:54
ขอบคุณคุณ piyasann  ที่กรุณามาลงประวัติพระยาจากตระกูลสุรนันทนน์อีก ๒ คน
ตอนนี้  ได้ประวัติพระยาแล้ว ๔๑ คน  เหลืออีก ๙ คนก็จบประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ แล้ว
 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 23 ม.ค. 12, 16:13
๔๒.พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร)
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&group=1&date=30-04-2007&gblog=22 (http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&group=1&date=30-04-2007&gblog=22)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 23 ม.ค. 12, 18:10
๔๓.มหาเสวกเอก พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา(หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2_(%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99_%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D) (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2_(%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99_%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D))


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 26 ม.ค. 12, 11:50
๔๔.  พระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะ (ศุข โชติกเสถียร)
เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๕๑๔ เปนบุตรเจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) ๆ เปนบุตรพระยาโชดึกราชเศรษฐี (เถียน) ผู้ต้นสกุลโชติกเสถียร
เมื่อครั้งพระยาโชดึก ฯ เถียน ยังไม่ได้ทำราชการ ทั้งตัวพระยาโชดึก ฯ แลท่านสุ่นผู้ภรรยา ได้ถวายตัวเปนข้าหลวงอยู่ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
เพราะฉนั้นสกุลโชติกเสถียรจึงเปนสกุลข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทุกชั้นมา พระยาโชดึกฯ ได้ถวายบรรดาบุตรเปนมหาดเล็ก
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังไม่ได้เสวยราชย์ ส่วนเจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) บิดาของพระยารณไชยชาญยุทธนี้
ทรงใช้สอยสนิทติดพระองค์มาแต่ยังเสด็จประทับอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดให้รับราชการอยู่ในกรมมหาดเล็ก
ทรงใช้สอยติดพระองค์อยู่อย่างเดิม ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเปนขุนสมุทโคจร แล้วเลื่อนเปนนายชิดหุ้มแพรเปนนายจ่ายง เปนหลวงนายสิทธิ
แล้วเปนเจ้าหมื่นเสมอใจราชแต่ถึงแก่กรรมเสียในที่นั้น ไม่ทันที่จะได้รับพระราชทานยศบันดาศักดิยิ่งขึ้นไป เจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) แต่งงานกับ
ถมยา ธิดาพระยาโชดึกฯ (ฟัก) มีบุตรธิดาหลายคน พระยารณไชยชาญยุทธนี้เปนบุตรใหญ่ ได้ถวายตัวเปนมหาดเล็กแต่ยังเด็ก ตามประเพณีผู้ที่อยู่ในสกุลข้าหลวงเดิม
แล้วไปเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนวัดบพิตรภิมุข จนสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยค ๑ เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยารณไชยชาญยุทธ
เปนพระพี่เลี้ยงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันนี้ ตั้งแต่อายุพระยารณไชย ฯ ได้ ๑๒ ปี ต่อมาเมื่อปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓
พระราชทานสัญญาบัตรเปนนายบำเรอบรมบาท ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๓๕ ได้เลื่อนเปนนายกวด หุ้มแพรมหาดเล็กต้นเชือก ปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๓๖ เลื่อนเปนนายจ่ายง
 
เมื่อจัดหัวเมืองเปนมณฑลเทศาภิบาล จะจัดตั้งมณฑลนครไชยศรี ตำแหน่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทสาครว่าง จะหาตัวผู้ซึ่งสมควรเปนผู้ว่าราชการจังหวัด
จัดการปกครองตามแบบที่ตั้งใหม่ทรงพระราชดำริห์ว่า นายจ่ายงหลักแหลมอยู่คน ๑ ในข้าราชการชั้นหนุ่ม จึงพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเปนพระสมุทสาครานุรักษ์
ออกไปเปนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทสาคร เมื่อปีระกา พ.ศ.๒๔๔๐ ออกไปอยู่ไม่ช้าก็ปรากฎ คุณวุฒิข้อสำคัญของพระยารณไชย ฯ อย่าง ๑
คือที่สามารถอาจจะทำให้กรมการตลอดจนราษฎรมีความนิยมนับถือทั่วไป คุณวุฒิอันนี้เปนเหตุอย่างสำคัญที่พระยารณไชย ฯ ทำการงานสำเร็จได้ผลดี
มีความชอบมาแต่ไปว่าราชการจังหวัด สมุทสาครครั้งนั้น และในที่อื่น ๆ ซึ่งพระยารณไชย ฯ ได้รับราชการต่อมาจนตลอดอายุ พระยารณไชย ฯ
ว่าราชการจังหวัดสมุทสาคร อยู่ ๔ ปี ปรากฎว่าคุณวุฒิควรจะรับราชการในตำแหน่งสำคัญกว่านั้นได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเปน
พระยาศิริไชยบุรินทร์ ย้ายมารับราชการในตำแหน่งปลัดมณฑลซึ่งมีน่าที่ว่าราชการจังหวัดนครปฐม มณฑลนครไชยศรี เมื่อปี ฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔
รับราชการในตำแหน่งนี้อยู่จนตลอดรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ ในปีแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ว่าง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้เปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ แล้วพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเปนพระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะถือศักดินา ๑๐๐๐๐
พระราชทานพานทองเปนเกียรติยศ รับราชการในตำแหน่งนั้นต่อมาจนตลอดอายุ
 
มีเรื่องซึ่งควรจะกล่าวเปนพิเศษ ให้ปรากฎในประวัติของพระยารณไชญชาญยุทธอย่าง ๑ ด้วยพระยารณไชยชาญยุทธได้เปนพระพี่เลี้ยงเปนข้ากลวงเดิม
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันนี้ดังกล่าวมาแล้ว พอเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติก็ประจวบตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ว่าง
ได้เปนตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลขึ้นไปอยู่มณฑลนครสวรรค์ พอไปถึงในหมู่นั้นเองก็ได้พระแสงศรกำลังรามมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเปนศิริมงคล
แลต่อมาไม่อิกกี่เดือนก็ได้พระยาช้างเผือก คือพระเสวตรวชิรพาหะมาถวายเพิ่มภูลพระบารมีติดต่อกันไป ของที่เกิดชูพระเกียรติยศทั้งนี้ ล้วนได้มาแต่มณฑลนครสวรรค์
ในเวลาแรกพระยารณไชยชาญยุทธขึ้นไปเปนสมุหเทศาภิบาลทั้ง ๒ อย่าง จึงเห็นเปนอัศจรรย์
 
พระยารณไชยชาญยุทธได้เคยรับราชการจรเปนพิเศษหลายครั้งหลายอย่าง ครั้งแรกตั้งแต่ยังเปนนายจ่ายงมหาดเล็ก ก็ได้เปนข้าหลวงไปตรวจราชการทาง
มณฑลปราจิณถึงมณฑลบุรพา เมื่อ ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ คราว ๑ นอกจากนั้นก็ล้วนในราชการที่เกี่ยวข้องด้วยปกครองหัวเมืองตามน่าที่ ซึ่งไม่จำต้องยกมาพรรณา
 
พระยารณไชยชาญยุทธได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลหลายครั้ง ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๕ เปนต้นมา เครื่องราชอิศริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานเปนอย่างสูง
ในเวลาเมื่อถึงอนิจกรรม คือ รัตนวราภรณ์ มหาสุราภรณ์ มงกุฎสยามชั้นที่ ๑ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ นิภาภรณ์ ช้างเผือกชั้นที่ ๓ รัตนาภรณ์ ว. ป. ร. ชั้นที่ ๓
เข็มพระชนมายุสมมงคลรัชกาลที่ ๕ เข็ม ว.ม. ชั้นที่ ๑ พระราชทานแต่ในรัชกาลที่ ๕ เข็ม ว.ป.ร. ชั้นที่ ๑
นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานเหรียญที่รฦกในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ตามบันดาศักดิ
 
พระยารณไชยชาญยุทธได้แต่งงานกับท่านหุ่นมีบุตรธิดาด้วยกัน คือ
๑. ธิดาชื่อสร้อย เปนภรรยาพระชวกิจบรรหาร ( เลื่อน ณ ป้อมเพ็ชร)
๒. บุตรชื่อนายส่าน ถวายตัวเปนมหาดเล็ก ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ไปเรียนวิชาอยู่เมืองอังกฤษในเวลานี้
๓. นายโสดถิ์ คนเล็กยังเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน

พระยารณไชยชาญยุทธถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ คำนวณอายุได้ ๔๕ ปี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 ม.ค. 12, 13:18
๔๔.  พระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะ (ศุข โชติกเสถียร)
เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๕๑๔ เปนบุตรเจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) ๆ เปนบุตรพระยาโชดึกราชเศรษฐี (เถียน) ผู้ต้นสกุลโชติกเสถียร

พ.ศ. ๒๕๑๔  ?  หรือว่าเป็น พ.ศ. ๒๔๑๔  ???


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 26 ม.ค. 12, 19:00
๔๕. มหาอำมาตย์ตรี พระยาโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน)

   พระยาโอวาทวรกิจ  นามเดิม เหม  ผลพันธิน  เป็นบุตรของหลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย ผลพันธิน) และนางธรรมานุวัติจำนง (เพ้ง ผลพันธิน)  เกิดที่บ้านหลังวัดราชนัดดา จังหวัดพระนคร  เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๐  เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง  สอบไล่ได้ประโยคสอง ซึ่งเป็นประโยคสูงสุดในสมัยนั้นเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๔๓๔ แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่เรียนในโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เป็นรุ่นแรกเมื่อวันที่  ๑๒  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๓๕  มีนักเรียนร่วมชั้นเรียน ๓ คน  และในปลายปีเดียวกันนั้นมีนักเรียนสอนเข้าใหม่อีก ๓ คน แต่คนเก่าก็ลาออกไปเสียก่อนที่จะเรียนจบหลักสูตร ๒คน พระยาโอวาทฯ เป็นนักเรียนที่เรียนสำเร็จจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์รุ่นแรก สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถมเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๔๓๗ และได้เป็นครูสอนวิชาภาษาไทย ต่อจากนั้นได้อุปสมบท ณ วัดเทพธิดาราม จังหวัดพระนคร เป็นเวลาหนึ่งพรรษา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปาน) เป็นอุปัชฌาย์
พระยาโอวาทวรกิจ เริ่มรบราชการครั้งแรกเป็นครูฝึกหัดอยู่ในโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์แล้วได้เลื่อนหน้าที่ขึ้นเป็นลำดับ จนได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสายสวลีสัณฐาคารเมื่ออายุเพียง ๒๐ ปี  แล้วได้เป็นอาจารย์สอนพิเศษที่โรงเรียนแผนที่  กรมแผนที่ทหารบกที่สระปทุม  และโรงเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง  วิชาที่ท่านสอนได้อย่างช่ำชอง คือ ภาษาไทย  ต่อมาท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมสูงเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕  ครั้นกระทรวงธรรมการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตกขึ้นที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเดิมที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาใน พ.ศ. ๒๔๔๖  ท่านก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูแห่งนั้น  และได้แสดงความสามารถในการปกครองโรงเรียน อีก ๓ ปีต่อมาจึงได้ย้ายไปเป็นผู้ตรวจการโรงเรียนแขวงมัธยมของกรมศึกษาธิการ  แล้วเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนราชแพทยาลัย 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นแทนพระอารามหลวงประจำรัชกาลเมื่อวันที่  ๒๙  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว  ได้โปรดเกล้าฯ ให้โอนย้ายพระยาโอวาทวรกิจซึ่งเวลานั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระโอวาทวรกิจมาสังกัดกรมมหาดเล็ก  และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นคนแรก  เมื่อวันที่  ๑๗  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๕๔  ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงวันที่  ๘  กันยายน  พ.ศ. ๒๔๕๕  กระทรวงธรรมการได้ขอตัวกลับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพณิชยการ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพาณิชยการพระนคร) ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖
   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านได้กลับเข้ารับราชการเป็นพนักงานสอบไล่ในกรมศึกษาธิการซึ่งเป็นกรมใหญ่คู่กับกรมธรรมการ  โดยกรมศึกษาธิการนั้นแบ่งออกเป็นกรมย่อยๆ มีหัวหน้ากรมเป็นชั้นเจ้ากรม คือ กรมสามัญศึกษา กรมวิสามัญศึกษา และกรมราชบัณฑิต ส่วนกรมธรรมการมีหน้าที่จัดการพระศาสนา พระยาโอวาทฯได้แสดงความสามารถในทางบริหารการศึกษา ยังประโยชน์ให้แก่กรมศึกษาธิการเป็นอันมาก จึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นข้าหลวงตรวจการศึกษาภาคหนึ่ง ดูแลการศึกษาในห้ามณฑลคือ กรุงเก่า (อยุธยา)  นครไชยศรี  ราชบุรี  ปราจิณ และจันทบุรี  ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้ากรมวิสามัญศึกษา มีหน้าที่จัดอาชีวศึกษาและโรงเรียนสตรี เป็นกรมคู่กับกรมสามัญศึกษา  ทั้ง ๒ กรมนี้เป็นหน่วยงานสังกัดกรมศึกษาธิการ  นอกจากนั้นท่านยังได้ทำหน้าที่ธรรมการมณฑลกรุงเทพฯ มีสำนักงานอีกแห่งหนึ่งในกระทรวงนครบาลแต่ครั้งยังไม่ได้รวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทย   ตำแหน่งสูงท้ายในราชการของท่านคือ ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ  แล้วได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานบำนาญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ มีเรื่องเล่ากันว่า เนื่องจากรัฐบาลฝืดเคืองในเรื่องการเงินจำเป็นต้องดุลยภาพข้าราชการ  สำหรับกระทรงศึกษาธิการจะต้องตัดงบประมาณเงินเดือนลงราวปีละหนึ่งแสนบาท  กระทรวงก็จำเป็นที่จะต้องคัดข้าราชการและครูออกเพื่อจะได้ลดงบประมาณเงินเดือนให้เป็นไปตามความต้องการของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  ท่านจึงได้ลาออกรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ  เพื่อช่วยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องออกจากราชการน้อยคน  แต่เสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการในเวลานั้น  เห็นว่าท่านทำราชการได้ดีและปฏิบัติหน้าที่ถึง ๒ ตำแหน่งยังไม่สมควรที่จะออก  แต่ท่านก็ไปวิงวอนและชี้แจงเหตุผลให้ฟัง  จึงได้ออกสมประสงค์ เมื่อท่านลาออกนั้น มียศเป็นมหาอำมาตย์ตรี  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า (พานทอง)  ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก และทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย เป็นบำเหน็จราชการ ชีวิตในกระทรวงศึกษาธิการของท่านจึงสิ้นสุดลงเพียงนี้
ศาสตราจารย์ รอง  ศยามานนท์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่คุ้นเคยกับพระยาโอวาทวรกิจมาแต่เยาว์วัยได้กล่าวถึงท่านไว้ว่า ท่านเป็นผู้ที่มีนิสัยร่าเริง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา เคยเล่นฟุตบอลมาตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม  แต่เมื่อร่างกายไม่อำนวยให้ท่านเล่นกีฬาหนักๆ ได้  ท่านก็ยังชอบกีฬาอื่นๆ สารพัด ทั้งมีน้ำใจเป็นนักเลงพร้อมกันไปด้วย  ท่านเขียนเรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอลลงในหนังสือวิทยาจารย์  มีข้อความที่น่าสังเกตคือ
“จรรยาของผู้ดู จะเป็นพวกข้างใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ หรือดูเป็นกลางๆ ก็ได้แต่ไม่ควรจะมีกริยาวาจาส่อให้เห็นว่าตนทุจริตประการใดประการหนึ่ง เช่น บอกว่าให้ผู้เล่นโดยผิดกติกา หรือ เยาะเย้ยฝ่ายศัตรูในเวลาล้มหรือเตะผิดหรือแพ้ จะช่วยด้วยการบอกก็ดี หรือท่าทางก็ดี ไม่เป็นการห้ามปราม เช่นบอกให้เตะโกล์ บอกให้หลบ บอกเตะแรง ให้หน้าให้ตาก็ได้
การผิดกติกาของการเล่น บางคราวผู้ดูบางคนที่เป็นพวกฝ่ายพวกเล่นมักจะส่งเสริม คนชนิดนี้ได้ชื่อว่าไม่ใช่นักเลง”
   น้ำใจนักกีฬาพาให้ท่านมีเพื่อนฝูงกว้างขวางในวงสังคมและได้รับเลือกเป็นกรรมการคนหนึ่งในสมาคมฟุตบอลแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์มาแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๕๙  นอกจากนั้นยังกล่าวกันว่า ท่านมักจะหาเรื่องพูดตลกขบขันเล่าให้เพื่อนฝูงฟังอย่างสนุกสนาน ท่านเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และรักษาตัวของท่านตามแบบไทย  ชอบไปเที่ยวตามต่างจังหวัดกับพระยาไพศาลศิลปสาตร (รื่น  ศยามานนท์ – ต่อมาเป็นพระยาราชนกูลวิบุลยภักดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย) อธิบดีกรมกรมศึกษาธิการและปลัดกระทรวงธรรมการอยู่เป็นนิจ  นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้แสดงละครเก่งคนหนึ่ง และก็ได้แต่งบทละครไว้หลายเรื่อง  เช่น เรื่องเสียรอย เรื่องใครผิด เป็นต้น กล่าวโดยย่อก็คือ ท่านเป็นครูรอบด้าน เป็นครูสอนหนังสือ เป็นครูแต่งแบบเรียน เป็นครูที่มีความสามารถทางบริหารการศึกษา ทั้งเป็นครูที่เชียวชาญในการแสดงละคร การโต้วาที และยิ่งกว่านั้น ท่านยังเป็นคนใจใหญ่ เมื่อคราวชนะเลิศในการโต้วาทีที่กรมศิลปากร ท่านก็ได้ยกเงินรางวัลทั้งหมดบำรุงกองทัพอากาศเพื่อเสริมสร้างการป้องกันบ้านเมืองของเรา ครูที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาทั้งหมดเช่นนี้ ย่อมหาได้ยาก
   ท่านได้แต่งหนังสือ วิธีสอนเลขเบื้องต้น และมีจิตใจรักอาชีพครู ทั้งยังได้เขียนบทความเรื่องการเป็นครู โดยใช้นามปากกาว่า “ครูทอง” ลงในหนังสือวิทยาจารย์ดังนี้
“ไม่ต้องสงสัย พวกครูที่ไม่ได้ประกาศนียบัตรครูมักเข้าใจตนเองว่า ตนไม่มีความรู้ดีในการเป็นครู และคงไม่ใคร่ได้รับตำแหน่งสูงความเข้าใจเช่นนี้ เป็นการดีอยู่ เพราะตนจะได้พยายามค้นคว้าหลักฐานในการเป็นครูมากขึ้น และคนที่เป็นครูมีประกาศนียบัตรแล้วมักเข้าใจตนเองว่าเป็น ผู้มีความสามารถในการสอนตามใบประกาศนียบัตรที่ตนมีอยู่ และคงเดินเข้าสู่ตำแหน่งเป็นลำดับไป ความเข้าใจเช่นนี้ เป็นการไม่ดี เพราะจะพาให้จิตของตนฟุ้งซ่านไป และภายหลังจะปรากฏขึ้นว่า การสอนของตนเลวทรามลง ความจริงครูจะดีหรือเลวอยู่ที่ตัวบุคคล และอยู่ที่การงานที่สอนที่ปกครองโรงเรียน ผลที่สุดคือ ศิษย์ที่ออกไปแพร่หลายอยู่ในกิจการอันชอบด้วย ขนบธรรมเนียมของบ้านเมือง ส่วนสำนักที่ตั้งขึ้นเพื่อรับคนที่มีนิสัยเป็นครูที่เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดครูนั้น ในสถานที่นั้นก็สอนพวกนั้นให้มีความรู้ความต้องการที่จะให้ออกไปเป็นครู มีกำหนดเวลาเล่าเรียนเป็นขีด เมื่อถึงกำหนดแล้วก็สอบความรู้ พวกที่เรียน นักเรียนคนใดที่มีความรู้ตามที่หลักสูตรวางไว้ ก็ให้นับว่าผู้นั้นเป็นครุได้ ให้ประกาศนียบัตรถือว่าเป็นสำคัญ ใบประกาศนียบัตรนั้น เป็นแต่แสดงความว่าเป็นผู้มีความรู้ เมื่อแรกออกไปรับราชการเป็นครู ก็ได้รับพระราชทานเงินเดือนตามอัตราที่กำหนดไว้ สำหรับชั้นประกาศนียบัตร ส่วนการต่อไปภายหน้า อาศัยกิจการที่ตนได้กระทำไปแล้ว ถ้ากิจการเหล่านั้นได้ดำเนินขึ้นไปเจริญดี ตนย่อมได้รับความยกย่องเป็นพิเศษ เหตุฉะนั้นจึงมีบางคนในพวกเดียวกัน ต่างกันไปในตำแหน่งต่างๆ กันไม่ควรจะเข้าใจผิดในเรื่องเช่นนี้”


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 26 ม.ค. 12, 19:04
๔๖. หัวหมื่น พระยาบริหารราชมานพ (ศร ศรเกตุ)

   หัวหมื่น พระยาบริหารราชมานพ (ศร ศรเกตุ) เกิดวันที่ ๑๐ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๓๐ ในรัชกาลที่ ๕ นามเดิม ศร ได้รับพระราชทานนามสกุลในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นสกุล ศรเกตุ ได้ศึกษาวิชาสำนักโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  กับโรงเรียนอาจารย์ สอบไล่ได้จบหลักสูตรตามยุคบัญญัติ แล้วเข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ อายุ ๑๙ ปี สืบมาตั้งแต่เวลานั้น แลถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ เวลา ๔.๕๕ ก.ท. ในรัชกาลที่ ๖ ในคราวเกิดไข้หวัดใหญ่แพร่หลาย คงได้รับราชการอยู่ ๑๔ ปี อายุได้ ๓๒ ปี
   ในระหว่าง ๑๔ ปี ที่ได้รับราชการมานี้ แรกได้เป็นครูโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร์ ๔ ปี ต่อมมาได้ย้ายไปเป็นครูโรงเรียนมัธยมพิเศษวัดประทุมคงคา ๒ ปี ครั้นเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ทระงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ตั้งแต่ยังตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จนได้เลื่อนออกมาตั้งอยู่ที่พระราชวังดุสิต ริมถนนราชวิถี ตลอดจนได้เป็นอาจารย์ปกครองแลผู้บังคับการโรงเรียนนั้น ภายหลังได้เป็นเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นที่สุด
   รวมเวลาได้รับราชการอยู่ในสำนักกระทรวงศึกษาธิการ ๖ ปี ได้รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่เดือนละ ๖๕ บาท จนถึงเดือนละ ๑๐๐ บาท และได้รับราชการอยู่ในพระราชสำนัก ๘ ปี ได้รับพระราชทานเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีก จนถึงเดือนละ ๖๐๐ บาท เมื่อถึงอนิจกรรมแล้วยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินเดือนเท่าที่ได้รับพระราชทานในที่สุดเป็นจำนวนอีก ๓ เดือน ให้เป็นกำลังแก่บุตรแลภรรยาต่อมา
   การที่ได้มาเป็นข้าในพระราชสำนักนี้ในระหว่าง๘ ปีนั้น หัวหมื่น พระยาบริหารราชมานพ ได้รับพระมหากรุณาอีกหลายประการ กล่าวโดยสังเขป คือ
   ๑.ได้มีโอกาสถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง เป็นข้าในหลวงที่ได้มีโอกาสเฝ้าใกล้ชิดใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ฟังกระแสพระราชนิยมเป็นทางปฎิบัติราชการแลปฎิบัติตน ให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นได้อยู่เสมอ
   ๒.ได้พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์มีนาม อภิรักษ์ราชฤทธิ์ ตั้งแต่ชั้นหลวงถึงชั้นพระ จนได้เป็นพระยาบริหารราชมานพ มีตำแหน่งราชการในกรมมหาดเล็กสืบมา
   ๓.ได้รับพระราชทานยศตั้งแต่ชั้น หุ้มแพร จ่า รองหัวหมื่น จนเป็น หัวหมื่น ตามลำดับในกรมมหาดเล็ก
   ๔.ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ตราตติยจุลจอมเกล้าพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องยศโต๊ะทองกาทอง มงกุฎสยามตั้งแต่ชั้น ๕ ถึงชั้น ๓ ช้างเผือกสยามตั้งแต่ชั้น ๕ ถึงชั้น ๔ ตราวชิรมาลา เหรียญบรมราชาภิเษก เหรียญราชจูรี เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๔ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
   ๕.ได้รับพระราชทานเสื้ออาจารย์ กับเหรียญครู เครื่องหมายของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงตามตำแหน่งและวุฒิ
   ๖.เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้น ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่ารับราชการเสือป่าด้วยอีกส่วนหนึ่ง มาตั้งแต่แรกๆ จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศนายเสือป่าถึงชั้นนายกองโท มีตำแหน่งเป็นราชองครักษ์ด้วย
   หัวหมื่น พระยาบริหาราชมานพ ได้ทำการวิวาหมงคลกับ คุณหญิงทรัพย์ บริหารราชมานพ มีบุตรชายแลหญิง รวม ๗ คน ชาย ๑ หญิง ๖ ส่วนบุตรชาย ๑ กับบุตรหญิง ๓ คนนั้น ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว คงเหลืออยู่เวลานี้บุตรหญิง ๓ คน
   หัวหมื่น พระยาบริหารราชมานพ ป่วยเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เวลาเช้าที่บ้านตำบลหลังวัดเทพธิดา ในสมัยเมื่อไข้หวัดใหญ่กำลังแพร่หลาย ชั้นต้นก็ป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา แล้วจึงกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ หุ้มแพรหลวงศรีวโรสถ กับมหาดเล็กวิเศษ บุญรอด โรจนารุณ แพทย์ประจำโรงเรียนมหาดเล็กหลวงได้ตรวจอาการแลรักษา มีอากาทรงแลทรุดเป็นลำดับมา ครั้นวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ แพทย์เห็นอาการทวีขึ้นทำให้ปอดพิการ จึ้งได้เชิญนายพันโท พระศักดาพลรักษ์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาช่วยในการรักษา นายพันโท พระศักดาพลรักษ์ ตรวจดูอาการแล้วแนะนำให้ไปอยู่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แล้วหัวหมื่น พระยาบริหารราชมานพ ได้ไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนั้น นายแพทย์ได้พร้อมกันจัดการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เต็มตามความสามารถ แต่หากเป็นเวลาที่ หัวหมื่น พระบริหารราชมานพ ได้ถึงกาลกำหนดแห่งอายุ อาการของโรคจึงกำเริบขึ้นสุดวิสัยที่นายแพทย์จะรักษาได้ ครั้นวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เวลา ๔.๕๕ ก.ท. ถึงแก่อนิจกรรม พระราชทานน้ำอาบศพแลหีบทองทึบเป็นเกียรติยศ ภายหลังได้ทรงพระกรุราโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดการพระราชทานเพลิงศพ เป้นของหลวงเป็นเกียรติยศพิเศษด้วยอีก ส่วนหนึ่ง ณ วัด จักรวรรดิราชาวาศ ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓ แลได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินแลบ้านเรือนให้บุตรและภรรยาอีกด้วย
   หัวหมื่น พระบริหาราชมานพ เป็นผู้มีสติปัญญาอย่างสุขุม แลอัทยาศัยเยือกเย็นโอบอ้อมอารีแก่ผู้น้อย มีกิริยาอันสุภาพ ทั้งประกอบด้วยความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท รับราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยความสุจริต แลดำเนินการตามกระแสพระบรมราโชวาททุกประการ เป็นที่พอพระราชหฤทัยตลอดมาจนตราบเท่าถึงอนิจกรรม



กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.พ. 12, 14:46
กระทู้เลื่อนหล่นกระดานไป  จึงต้องออกแรงดึงขึ้นมา

๔๗.ประวัติสังเขปเสวกเอก พระยานครราชเสนี (สหัด  สิงหเสนี)

พระยานครราชเสนี เป็นบุตรของนายพลตรี พระสิงหเสนีศรีสยเมนทรสวามิภักดิ์ (สอาด  สิงหเสนี)
กับคุณหญิงหงษ์  สิงหเสนี

เกิดที่ ต.หัวลำโพง อ.ปทุมวัน จ.พระนคร เมื่อวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒  ปีมะเมีย  ๒๔๒๕

เริ่มศึกษษวิชาการที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส  จากนั้นได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนดังต่อไปนี้
โรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาส  โรงเรียนอัสสัมชัญ  โรงเรียนราชวิทยาลัย

พ.ศ.๒๔๔๒ เดินทางไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ  ณ โรงเรียนปรีแปเรตตอรีสกูล  เมืองเคนชิงตัน
และที่ลิงคนซอินลอนดอน  จนสอบได้เนติบัณฑิตอังกฤษ

พ.ศ.๒๔๕๐ เดินทางกลับสยาม มาศึกษาต่อที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน (โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในกาลต่อมา)

ธันวาคม ๒๔๕๐ เข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในรัชกาลที่ ๕

พ.ศ.๒๔๕๑ อุปสมบทและจำพรรษาที่วัดโสมนัสวิหาร

ก.พ. ๒๔๕๐  รับราชการเป็นผู้ช่วยกองล่าม ฝึกหัดราชการ

ก.ค. ๒๔๕๑  รับราชการเป็นผู้พิพากษาในกองข้าหลวงพิเศษ และไปพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี

พ.ย. ๒๔๕๑ เป็นผู้พิพากษาศาลโปริสภาที่ ๒

ม.ค. ๒๔๕๑ รั้งตำแหน่งหัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบุรี

พ.ค. ๒๔๕๒ ช่วยศาลมณฑลนครไชยศรี

ส.ค. ๒๔๕๒ ช่วยศาลนนทบุรี

พ.ย. ๒๔๕๒ เป็นผุ้พิพากาษศาลมณฑลอีสาน

พ.ย. ๒๔๕๔ เป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ

ก.พ. ๒๔๕๖ รับตำแหน่งตุลาการศาลรับสั่ง กระทรวงวัง

ต.ค. ๒๔๖๑ รับตำแหน่งเจ้ากรมกรมการเมือง  กระทรวงมหาดไทย

ธ.ค. ๒๔๖๓ เป็น ผวจ.นครราชสีมา

มี.ค. ๒๔๖๕ เป็น ผวจ.ภูเก็ต

พ.ค. ๒๔๗๑  ออกจากราชการ

...


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.พ. 12, 15:45
ราชการเสือป่านั้น  พระยานครราชเสนีได้เป็นสมาชิกเสือป่ากองราบหลวงรักษาพระองค์
เมื่อ ๒๔๕๔  จากนั้นได้รับพระราชทานยศเป็นนายหมู่โท  เมื่อ เมษายน ๒๔๕๗
ต่อจากนั้น ได้เป็นเสือป่าราชองครักษ์เวร เมื่อ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐ 

มีนาคม ๒๔๖๐ เป็นนายกองตรี ประจำแผนกเสนาธิการ  กองเสนาน้อยราบเบา
และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นครูสอนวิชาธรรมะระวางประเทศ  ในโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือ
ต่อมา เมษายน ๒๔๖๔  เป็นผู้บังคับการกรมเสือป่านครราชสีมา  ในกองเสนาตะวันออก

การเลื่อนยศบรรดาศักดิ์

พ.ค.๒๔๕๔  รับพระราชทานยศ อำมาตย์ตรี มหาดเล็กหุ้มแพร  บรรดาศักดิ์ที่นายหัสบำเรอ หุ้มแพรวิเศษ

พ.ค. ๒๔๕๗  รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระศรีวิกรมาทิตย์

พ.ย. ๒๔๕๗  รับพระราชทานยศ เสวกโท

เม.ย. ๒๔๕๘ รับพระราชทานยศ เสวกเอก

เม.ย. ๒๔๖๒  รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระยาราชเสนา

ต.ค. ๒๔๖๓  เปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็น พระยานครราชเสนี

ชีวิตสมรส  สมรสกับคุณหญิงถนอม  บุตรีพระเหมสมาหาร (เพิ่ม  สิงหเสนี) กับนางพร้อม สิงหเสนี
หลานพระยาประชาชีพบริบาล (เหม สิงหเสนี) กับคุณหญิงเกษ  สิงหเสนี (สกุลเดิม อินทรกำแหง)
มีบุตรี คือ นางนัดดา  สิงหเสนี  คุณหญฺงถนอม  ถึงแก่กรรมเมื่อ ๑๕ มิ.ย. ๒๔๖๓

ต่อมา  พระยานครราชเสนี ได้สมรสกับคุณหญิงเจือ  สิงหเสนี
ธิดาพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง  สิงหเสนี) กับคุณหญิงตุ่ม  สิงหเสนี
ไม่มีบุตรด้วยกัน

พระยานครราชเสนี มีบุตรกับภรรยาดังนี้

๑.นางนัดดา  สิงหเสนี  ภรรยานายอรุณ  สิงหเสนี
๒.นายสุขเกษม  สิงหเสนี บุตรนางชื้น 
๓.นางสาวศรี  สิงหเสนี  บุตรีนางชื้น
๔.นางประสนีย์  พหลโยธิน  บุตรีนางประยงค์
ภรรยาหลวงอนุสรนนทิกิจ (ชด  พหลโยธิน)
๕.นายเสริม  สิงหเสนี  บุตรนางผิว

พระยานครราชเสนีมีหลานดังนี้

นายสุขเกษม  สิงหเสนี มีบุตรกับหม่อมราชวงศ์ภัทรา  ทวีวงศ์
ธิดาหม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ  ทวีวงศ์ ดังนี้
๑.นายสืบสาย  ๒.นายสุนัย  ๓.นางสาวสิวลี  ๔.เด็กหญิง(ยังไม่มีชื่อ)

นางประสนีย์ พหลโยธิน  มีบุตรกับหลวงอนุสรนนทิกิจ ดังนี้
๑.นายนึกรัก  ๒.นางสาวเจตจันทร์  ๓.นางสาวระวาด

พระยานครราชเสนี ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๒๕ พ.ย. ๒๔๘๐
อายุ ๕๕ ปี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 12, 11:04
๔๘.ประวัติพระยาศรีอัคราช (เมือง)

พระยาศรีอัคราช (เมือง) เป็นบุตรเจ้าพระยาอัครมหาเสนา (บุนนาค)

ได้เป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๕ ตำลึง

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  คงรับราชการในกรมมหาดเล็ก

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์
เป็นหลวงสุนทรโกษา  สังกัดกรมท่ากลาง  รับพระราชทานเบี้ยหวัด อีกปีละ ๑๐ ตำลึง
รวมเป็นปีละ ๑๕ ตำลึง   ทรงใช้สอยคุ้นเคยแลได้ราชการตามพระราชประสงค์
ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงแก้วอายัด  สังกัดกรมท่ากลาง
เพิ่มเบี้ยหวัดขึ้นอีก ๑๐ ตำลึง  รวมเป็นปีละ ๑ ชั่ง ๕ ตำลึง

จากนั้น  หลวงแก้วอายัด (เมือง) ป่วย  จึงกราบบังคมทูลลาออกนอกราชการ
แลคงได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๑ ชั่ง  จนกระทั่งหายป่วยไข้แล้ว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการตามเดิม  แลโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่หลวงสุนทรโกษา
รับเบี้ยหวัดเท่าเดิมจนสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๓

ครั้นถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิไชยาธิบดีศรีรณรงคฦาไชยอภัยพิริยภาหะ
ผู้สำเร็จราชการเมืองจันทบุรี  แลได้รับพระราชทานพานทองคำเหลี่ยม  เต้าน้ำ  
แลกระโถนทองคำเป็นเครื่องยศด้วย

พระยาวิไชยาธิบดีศรีรณรงคฦาไชยอภัยพิริยภาหะ (เมือง) รับราชการมาช้านาน
จนอายุล่วงได้ ๗๐ ปีเศษ  จึงได้กราบถวาบบังคมลาออกนอกราชการ
ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่งยศเป็นที่พระยาศรีอัคราช สังกัดกรมท่ากลาง
รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๒ ชั่ง  แลกลับเข้ามารับราชการใกรุงเทพพระมหานคร

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้รับพระราชทานดวงตรา
ทุติยจุลจอมเกล้า เป็นเครื่องยศ  

วันเดือน ๑๒  ปีกุน  ๑๒๓๗  ป่วยเป็นโรคชรา  จนถึงวันเสาร์  เดือน ๗ แรม ๑๑ ค่ำ
ปีชวด ๑๒๓๘  เวลา ๗ ทุ่ม  ถึงอาสัญกรรม  อายุได้ ๘๒ ปี
พระราชทานโกศกรมให้ใส่ศพ  ตั้งบนแท่น ๒ ชั้น  ฉัตรตีพิมพ์ ๔ คู่  กลองชะนะ
พื้นเขียว ๔ คู่  พระราชทานพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม  ๓ คืน  เป็นเกียรติยศ


พระยาศรีอัคราช (เมือง) นี้  เป็นบรรพบุรุษของสกุล บุรานนท์  ซึ่งเป็นสกุลย่อยในสายสกุลบุนนาคสายหนึ่ง


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 12, 11:30
๔๙.ประวัติพระยาดำรงคราชพลขัน (จุ้ย  คชเสนี)

พระยาดำรงคราชพลขัน (จุ้ย) เป็นบุตรของเจ้าพระยามหาโยธา (ธอรุ)

เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ผ่านการบรมราชาภิเษกแล้ว  นายจุ้ยจึงได้มารับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๕ ตำลึง

จากนั้น  ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปราชการทัพกับเจ้าพระยามหาโยธา ผู้บิดา
รบเจ้าอนุ เมืองเวียงจันท์   ครั้นสำเร็จศึก  เดินทางกลับเข้ามาแล้ว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระธนูสิน
ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์  รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๒ ชั่ง

ต่อจากนั้น  มีพระบรมราชโองการให้ไปทำการร่อนทองคำที่เมืองกำเนิดนพคุณ
เมื่อเดินทางกลับเข้ามาพระนคร  ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระนครเขื่อนขันธรามัญราช
ชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม  ผู้สำเร็จราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์
แลได้รับพระราชทานถาดหมากทองคำ  คนโททองคำ  สมปักปูมพกหนึ่ง
เป็นเครื่องยศพระยาเจ้าเมือง  กับเพิ่มเบี้ยหวัดเป็นปีละ ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง

ครั้นถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์ในแผ่นสัญญาบัตรเป็น
พระยาดำรงราชพลขันรามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม
ผู้สำเร็จราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์   แลได้รับพระราชทานประคำทอง ๑ สาย
เพิ่มเบี้ยหวัดเป็นปีละ ๓ ชั่ง  

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ได้รับราชการ
ฉลองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหน้าที่เดิม  จนกระทั่งวันเดือน ๓ ปีกุน ๑๒๓๗
ป่วยเป็นโรคบิด ได้หาหมอเชลยศักดิ์มารักษา  อาการทรงอยู่

วันเดือน ๗ ปีชวด ๑๒๓๘  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์
โปรดให้หลวงจินดาโอสถมาตรวจดู  ว่าเป็นโรคชรา  ประกอบยาให้รับประทาน
อาการผันแปรไป ทรงบ้าง หนักลงบ้าง  

วันเดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ศกเดียวกัน  ขับถ่ายไม่เป็นครั้ง ได้ตามหมอกาแวล
มาตรวจดู  อาการทรุดลงอีก  รวมป่วยมาได้ ๕ เดือนเศษ

ครั้นวันอังคาร เดือน ๙ แรม ๑๐ ค่ำ  เพลาทุ่มหนึ่งเศษ ถึงแก่อนิตยกรรม
อายุได้ ๗๒ ปี  


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 ก.พ. 12, 16:32
มีเกร็ดประวัติ พระยานครราชสนี (สหัด  สิงหเสนี) ที่คุณหลวงท่านนำมาบันทึกไว้ในความเห็นที่ ๘๒ คือ
เมื่อเจ้าคุณรับหน้าที่เป็น เจ้ากรมกรมการเมือง  กระทรวงมหาดไทย  เมื่อเดือนตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๖๑  ประจวบกับเริ่มจะมีการเลือกตั้งครั้งแรกในดุสิตธานี  หม่อมเจ้าปราณีเนาวบุตร  นวรัตน สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลดุสิตราชธานี จึงได้เชิญท่านราม  ณ กรุงเทพฯ (ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖) มาอำนวยการเลือกตั้ง  ต่อจากนั้นไม่นานมีการประกาศใช้ธรรมนูญลักษณปกครองดุสิตธานี  ซึ่งก็คือรัฐธรรมนูญของดุสิตธานี  คณะนคราภิบาลผู้บริหารดุสิตธานีชุดแรกจึงต้องพ้นหน้าที่และต้องมีการเลือกตั้งใหม่  ท่านสมุหเทศาภิบาลก็ได้ไปเชิญท่านราม  ณ กรุงเทพฯ มาจัดการเลือกตั้งอีกครั้ง  แต่ท่านรามติดธุุระสำคัญ  จึงแนะนำให้ไปเชิญพระยาราชเสนา เจ้ากรมการเมืองที่เพิ่งรับตำแหน่งมาไม่นานให้มาจัดการเลือกตั้งในดุสิตธานีแทน

ข้อสังเกตคือ ท่านเจ้าคุณเพิ่งจะมารับหน้าที่เจ้ากรมการเมืองได้ราวสองเดือนก็ต้องมาอำนวยการเลือกตั้ง  และได้ทำหน้าที่นี้ต่อมาอีกหลายคราว  หรือนี่คือพระราชประสงค์ที่จะสอนข้าราชการในพระองค์ด้วยวิธี Play to Lrarn


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 12, 16:51
๕๐.ประวัติของพระยาวิชิตชลทีศรีสงคราม (ยัง)  ต้นสกุล  สถาณุวัต

เป็นบุตรของพระมหามนตรี (ซับ) ที่แต่งบทละคอนเรื่องระเด่นลันได

พระยาวิชิตชลทีศรีสงคราม (ยัง) เดิมเป็นจางวางในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
ครั้นพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์แล้ว  
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายยัง จางวาง
เป็นที่จมื่นมหาสนิท  ปลัดกรมพลพันขวา  รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๑ ชั่ง
มีหน้าที่สำหรับทรงใช้สอยให้หาต้นไม้ดอกไม้ผลต่างๆ  รับราชการมาด้วยดีจึงโปรดเกล้าฯ
พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นไชยพร  ปลัดกรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย  เบี้ยหวัดเป็นปีละ ๓๐ ตำลึง

ครั้นขึ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจองเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นไปสืบราชการทัพ
ณ เมืองเชียงใหม่  เมื่อคราวไปรบทัพเมืองเชียงตุงครั้งหนึ่ง  ครั้นเดินทางกลับเข้ามาพระนคร
โปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่งยศเป็นพระอินทรเทพ  เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา
แลพระราชทานสมปักปูมดอกเล็กพกหนึ่ง  เพิ่มเบี้ยหวัดเป็นปีละ ๓ ชั่ง  
จากนั้น  โปรดเกล้าฯ ให้ไปชำระกองพวกอ้ายผู้ร้ายลักกระบือที่กรุงเก่า  จนได้ตัวผู้ร้ายหลายคน
มีความดีความชอบในราชการเป็นอันมาก  เมื่อกลับลงมารับราชการในพระนคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาเพชรปาณี  ราชปลัดทูลฉลองในกรมพระนครบาล
และมีพระบรมราชโองการให้ไปว่าความศาลต่างประเทศ  รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ ๔๕ บาท
ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๔ ชั่ง

ครั้นขึ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร
เป็นพระยาวิชิตชลทีศรีสุรสงครามรามราไชยอภัยพิริยภาห  ผู้ว่าราชการเมืองตาก
แลได้พระราชทานถาดหมากทองคำ๑  คนโททองคำ ๑  ประคำทองสาย ๑  กระบี่บ้างทองคำกระบี่ ๑
มาลาเลื้อย  เลื้อทรงประพาศ  แลสัปทน เป็นเครื่องยศ  แล้วกราบถวายบังคมลาขึ้นไปเมืองตาก

วันเดือน ๕ ปีชวด ๑๒๓๘  ป่วยเป็นโรคริดสีดวงเพื่อวาโย  หาหมอเชลยศักดิ์มารักษาประกอบยาให้กิน
อาการก็ทรงอยู่  พระยาวิชิตชลทีศรีสุรสงครามเห็นว่าหัวเมืองตากนี้  หาหมอรักษาได้ยาก
อาการแห่งโรคมีแต่จะทรุดลงไป  จึงได้ให้พาท่านลงเรือเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันเดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ
ได้หานายอาด  นายเวรกรมพระตำรวจนอกซ้าย ผู้รู้วิชาหมอมารักษา  อาการทรงอยู่ ๙-๑๐ วัน
แล้วก็ทรุดลงอีก   เจ้าคุณวิชิตเห็นว่าอาการของโรคคราวนี้คงจะรักษาให้หายยากเป็นแน่แล้ว
จึงได้เรียกประชุมบุตรี มีนางปริก ๑  แลนางหลิน ๑  พร้อมด้วยบุตรที่เป็นผู้ช่วยราชการเมืองตาก
มาสั่งความว่า  เจ้าคุณป่วยคราวนี้เห็นจะไม่รอดตลอดไปได้แล้ว  เจ้าทั้ง ๓ คนพี่น้อง
จงดูแลเข้าของทองเงินข้าทาษที่บ้านบิดาให้เจ้าทั้ง ๓ คนแบ่งปัน

วันเดือน ๑ อาการของโรคกำเริบมากขึ้น  หลวงอภิบาลภูวนารถ (ขาว)
เจ้ากรมทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกขวา บุตรเขย
หลวงยุทธการบัญชา หลานเขย  แลหลวงสารภัณฑวิสุทธิ (เอม)
พนักงานเบิกของต่างๆ สำหรับกรมทหาร หลานเขย
ได้หาหมอเชลยศักดิ์มารักษาหลายหมอ  อาการก็หาคลายลงไม่  
ตั้งแต่ป่วยมานับได้ ๙ เดือนเศษ  ครั้นวันอาทิตย์ เดือน ๒  แรม ๑ ค่ำ ปีชวด ๑๒๓๘ เพลา ๕ ทุ่ม
พระยาวิชิตชลทีศรีสุรสงคราม ถึงอนิตยกรรม  อายุได้ ๗๐ ปี  

พระราชทานหีบทองทึบใส่ศพ  บุตรเขยทั้งสองและหลานเขยได้จัดการศพ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.พ. 12, 17:12
ขอบคุณคุณวีมีที่กรุณามาเพิ่มเพิมข้อมูลเกร็ดประวัติพระยานครราชเสนี (สหัด  สิงหเสนี)
ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ให้คนอ่านได้ทราบโดยทั่วกัน
อันที่จริงมีเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ - ๗ อีกหลายเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้
บางเรื่องก็ถูกทำให้หายไปจากเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่  ครั้นได้อ่านจากต้นฉบับเต็ม
ก็รู้ว่า  อ้อ  นี่ถ้าเขาไม่ตัดออก  คงทำให้เจ้าตัวและทายาทเดือดร้อน  เพราะบางเรื่อง
ก็แทบจะหาคนรู้ไม่ได้แล้ว  เช่นเรื่องเจ้านายกับหญิงสาวในสกุลสำคัญ
ได้กระทำเรื่องไว้มากมาย จนภายหลังต้องพากันไป...ที่ศาลาว่าการ...อย่างเงียบๆ เป็นต้น

ตอนนี้  กระทู้ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐) ได้เดินทางมาจนถึง
ประวัติพระยาคนที่ ๕๐ แล้ว   ฉะนั้น  ผมจะเปิดกระทู้ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
ต่อไป  ทั้งนี้  หากท่านผู้ใดมีข้อมูลจะเพิ่มจากประวัติพระยาที่ได้นำเสนอไป ๕๐ คนข้างต้น
ก็ยังสามารถนำมาลงไว้ได้ หรือจะสนทนาแลกเปลี่ยนความเกี่ยวกับพระยาที่ได้นำมาลงไว้แล้ว
ก็ยังสามารถทำได้   แต่ถ้าจะนำประวัติพระยามาลงใหม่ขอเชิญให้ไปเขียนลงในกระทู้
ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)  เพื่อจะได้เรียงลำดับหมายเลขไม่สับสน ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 12, 10:15
ตรวจสอบกระทู้แล้ว  เห็นว่า  ข้ามลำดับที่ ๒๔ ไป  ทำให้ประวัติพระยายังไม่ครบ ๕๐ คน

จึงลงประวัติเพิ่มให้ครบเต็มจำนวน  

๒๔.ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

http://www.thaiclassic.net/ver2011/index.php?option=com_content&task=view&id=27&Itemid=43


กระทู้: ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 12, 10:17
สรุปชื่อพระยาที่ได้ลงประวัติไปแล้วในประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑-๕๐)

๑.มหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
๒.มหาอำมาตย์โท พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์)
๓.พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)
๔.มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร(ฉิม โปษยานนท์)
๕.พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย)


๖.นายพลโท  พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์)
๗.พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)
๘.พลตรี พระยาพิชัยรณณรงค์สงคราม (จารุทัต รณณรงค์สงคราม)
๙.มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)
๑๐.พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)


๑๑.พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์)
๑๒.พระยาวิจิตรธรรมปริวัตร (คำ  พรหมกสิกร)
๑๓.พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
๑๔.พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร(บุญจวน  บุณยะปานะ)
๑๕.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน  หุตะสิงห์)


๑๖.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์  พหลโยธิน)
๑๗.พระยาอัชราชทรงสิริ(แม้น  อรุณลักษณ์)
๑๘.มหาเสวกตรี พระยานรรัตนราชมานิต(ตรึก จินตยานนท์)
๑๙.มหาอำมาตย์ตรี พระยารำไพพงศ์บริพัตร (จิตร บุนนาค)
๒๐.มหาอำมาตย์ตรี พระยาประเสนะชิตศรีพิไลย (ดัด บุนนาค)


๒๑.มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา)
๒๒.พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ  ศรียาภัย)
๒๓.มหาอำมาตย์ตรี พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน  จามรมาน)
๒๔.พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
๒๕.พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)


๒๖.พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)
๒๗.พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์  ลัดพลี)
๒๘.พระยาอุภัยพิพากสา(เกลื่อน ชัยนาม)
๒๙.พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง)
๓๐.พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริยพาหะ(น้อย อาจารยางกูร)

๓๑.มหาอำมาตย์ตรี พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์)
๓๒.พระยากัลยาณมิตรนิกรวงศ์ (คง กัลยาณมิตร)
๓๓.พระยามหิธรมนูปกรณ์โกศลคุณ   (Tokichi  Masao ( โทคิชิ  มาซาโอะ )  ไทยเรียกว่า โตกิจิ  มาเซา  หรือรู้จักกันในนาม หมอมาเซา)
๓๔.พลอากาศโท  พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี  สุวรรณประทีป)
๓๕.พระยาราชประสิทธิพิพิธสมบัติพิพัศดุราชภักดี (นุด)

๓๖.พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เที่ยนฮี้ สารสิน)
๓๗.พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมหลวงสิริ  อิศรเสนา)
๓๘.พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น  วสันตสิงห์)
๓๙.ขุนตำรวจตรี  พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ  สุวรรภารต)
๔๐.พระยาอภัยพิพิธ (เสศ หรือ เศษ หรือเสพ สุรนันทน์)

๔๑.พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์)
๔๒.พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร)
๔๓.มหาเสวกเอก พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา(หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
๔ู๔.พระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะ (ศุข โชติกเสถียร)
๔๕.มหาอำมาตย์ตรี พระยาโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน)

๔๖.หัวหมื่น พระยาบริหารราชมานพ (ศร ศรเกตุ)
๔๗.เสวกเอก พระยานครราชเสนี (สหัด  สิงหเสนี)
๔๘.พระยาศรีอัคราช (เมือง) ต้นสกุล บุรานนท์
๔๙.พระยาดำรงคราชพลขัน (จุ้ย  คชเสนี)
๕๐.พระยาวิชิตชลทีศรีสงคราม (ยัง)  ต้นสกุล  สถาณุวัต