เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: prasit ที่ 17 มี.ค. 10, 19:56



กระทู้: มีหลักการอ่านอย่างไงครับ
เริ่มกระทู้โดย: prasit ที่ 17 มี.ค. 10, 19:56
ในหนังสือเขาอ่านว่า จุลศักราช 712 ปีขาล (พ.ศ.1893) วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 เวลา 9 นาฬิกา 54 นาที
ผมเดาว่าวันศุกร์นี้คงนับจากวันอาทิตย์เป็น 1 จันทร์เป็น 2 ศุกร์เป็น 6 แต่วันที่กับเดือนนี้สิครับ มีหลักการอ่านอย่างไง งงครับ
เพราะมันเป็นเลข 6 กับเลข 5


กระทู้: มีหลักการอ่านอย่างไงครับ
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 17 มี.ค. 10, 22:07
๖ ตัวแรก คือ วันศุกร์  
๖ ตัวสอง คือ ขึ้น ๖ ค่ำ (อยู่ด้านบน ฯ เป็นข้างขึ้น  อยู่ด้านล่าง ฯ เป็นข้างแรม)
๕ คือ เดือน ๕ (นับแบบโบราณ คือ เดือนอ้าย ยี่ สาม สี่ ... เดือนห้า คือ ประมาณเมษายน)
รุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา คือ ผ่าน ๖.๐๐ น. มาแล้ว ๓ ชั่วโมง คือ ๓ โมงเช้า ปัจจุบันคือ ๙.๐๐ น.
(ดู http://nokbindeaw.spaces.live.com/Blog/cns!F70D387225D80489!554.entry?sa=332817568 (http://nokbindeaw.spaces.live.com/Blog/cns!F70D387225D80489!554.entry?sa=332817568))
๑ บาท เท่ากับ ๖ นาที (๑ นาฬิกา หรือ ๑ ชั่วโมง มี ๑๐ บาท)
เป็นการเขียนวันที่ เวลา ทางจันทรคติ แบบดั้งเดิมของไทย

ส่วนที่ตัวอย่างยกมาอ่านเป็น ปฏิทินสุริยคติและเวลาแบบปัจจุบัน (วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 เวลา 9 นาฬิกา 54 นาที) นั้น
คงเป็นการเทียบ ปฏิทินจันทรคติ มาเป็น ปฏิทินสุริยคติ และเวลาแบบโบราณที่เปลี่ยนวันตอนย่ำรุ่ง มาเป็นสมัยใหม่ที่เปลี่ยนวันตอนเที่ยงคืน เพื่อง่ายต่อการเข้าใจครับ


กระทู้: มีหลักการอ่านอย่างไงครับ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 30 มี.ค. 10, 19:50
อ่านเฉพาะวันนะครับ อ่านว่า วันศุกร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ปีขาล