เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 18:04



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 18:04
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) ได้ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขึ้น ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๗) มีจำนวนทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 495 กม. เป็นโครงข่ายสายหลัก 8 เส้นทาง และโครงข่ายสายรอง 4 เส้นทาง โครงข่ายสายหลักประกอบด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train, CT) จำนวน 2 เส้นทาง ร่วมกับระบบรถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ตลิงก์ 1 เส้นทาง รวมระยะทาง 176 กม. และโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit, MRT) จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทาง 217 กม. และโครงข่ายสายรองที่เป็นระบบขนส่งมวลชนรอง จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทาง 102 กม.

http://www.otp.go.th/th/Bkk_mrt/progress.php





กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 18:18
ระบบขนส่งมวลชนทางรางนี้ มีทั้งระบบเหนือดิน ได้แก่ระบบรถไฟฟ้า BTS ระบบรถไฟฟ้า Airport Links และระบบระไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดิน ได้แก่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน MRT

ในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแบบเหนือดินที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕) ได้แก่
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ในส่วนความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางบัวทอง-บางซื่อ) ในส่วนความรับผิดชอบของ รฟม.
รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ในความรับผิดชอบของ รฟม.
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และท่าพระ-บางแค) ในความรับผิดชอบของ รฟม.

ในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแบบใต้ดินที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-ท่าพระ)





กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 18:27
ในเส้นทางการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดินสายสีน้ำเงินส่วนขยาย สายหัวลำโพง-ท่าพระ จะมีช่วงหนึ่งของเส้นทางที่จะผ่านพื้นที่ประัวัติศาสตร์และพื้นที่อนุรักษ์
คือถนนเจริญกรุง จากหัวลำโพงถึงถนนสนามไชย โดยการก่อสร้างเส้นทางจะอยู่ใต้ดินในแนวถนนเจริญกรุงทั้งหมด และจะเบนเส้นทางเข้าถนนสนามไชยที่ใกล้กับปากคลองตลาด
ก่อนที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปสู่ฝั่งธนบุรี เข้าสู่สถานีที่สี่แยกท่าพระต่อไป

ในช่วงเส้นทางนี้จะมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินรวม ๓ สถานี คือ
๑. สถานีัวัดมังกร ตั้งอยู่ระหว่างแยกถนนแปลงนามถึงซอยอิศรานุภาพ
๒. สถานีวังบูรพา ตั้งอยู่ระหว่างสี่แยกสามยอดถึงสี่แยกอุณากรรณ และ
๓. สถานีมหาไชย ตั้งอยู่ถนนมหาไชยข้างโรงเรียนวัดราชบพิธ

ลักษณะของสถานีจะเป็นสถานี ๔ ชั้นแบบชานชาลาซ้อนกัน (Stacked Platform) แบบเดียวกับสถานีสามย่าน สถานีลุมพินี สถานีสีลม





กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 18:44
ถนนเจริญกรุงมีประวัติความเป็นมากว่า ๑๖๐ ปี ย่อมจะมีอะไรๆ ให้ศึกษาและระลึกถึงมากมาย
มีเวปอื่นๆ มากมายที่เสนอประวัติความเป็นมาและรายละเอียดอื่นๆ
แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อการอนุรักษ์สิ่งเก่าๆ ที่ทรงคุณค่าก็นำเข้าใช้ประสมประสานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด
แต่ก็จำเป็นต้องสูญเสียสิ่งเก่าๆ ที่มีคุณค่าไปบ้างตามความจำเป็น
และกระทบกระเทือนถึงประชาชนผู้พักอาศัยและประกอบการค้าข้างเส้นทางก่อสร้างด้วยอย่างแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

....



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 18:50
เทคโนโลยีการขุดเจาะอุโมงค์ด้วยเครื่องเจาะทันสมัยและวิธีการอันเหมาะสมกับสภาพดินของกรุงเทพฯ จะช่วยให้สิ่งก่อสร้างบนดินได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
หรืออาจจะไม่ทราบเลยว่าขณะนี้ ที่ใต้พื้นดินเขากำลังขุดเจาะอุโมงค์กัน


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 18:58
ลักษณะของชั้นดินจากการขุดเจาะสำรวจจากสถานีหัวลำโพงจนถึงสถานีท่าพระในแนวเส้นทางก่อสร้าง ประมาณได้ดังภาพ



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 19:06
ด้วยหัวเจาะระบบ EPB (Earth Balance Pressure) ที่ได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับลักษณะของชั้นดินเหนียว ชั้นดินปนทราย และชั้นทราย ในกรุงเทพมหานคร



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.ค. 12, 20:13
หัวลำโพง ... จุดเริ่มต้นของการก่อสร้าง

ประวัติศาสตร์ของแห่งนี้มีมากมาย มีแพร่หลายอยู่แล้วในเวปต่างๆ จึงไม่ขอกล่าวถึงอีก



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ค. 12, 21:17
ได้ข่าวว่า ตลอดถนนเยาวราชจะไม่มีสถานีเลย เพราะเดิมจะสร้างแถววัดเล่งเน่งยี่ ถูกเจ้าถิ่นต่อต้าน เลยไม่ทราบจะเอาไปไว้ที่ไหน

จริงหรือมั่วนิ่มครับ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ก.ค. 12, 05:45
เส้นทางก่อสร้างจะอยู่ในแนวถนนเจริญกรุงตลอดสายครับ มิได้ล่วงล้ำเข้าถนนเยาวราชแม้แต่น้อย
ในช่วงนี้จะมีสถานีวัดมังกรเพียงสถานีเดียว ก่อสร้างอยู่ระหว่างปากซอยอิศรานุภาพจนถึงหน้าโรงพยาบาลกว่องสิว มีแยกแปลงนามอยู่เหนือสถานีครับ
ตัวสถานีส่นเหนือดินจะอยู่นอกแนวถนนครับ
ตามผังที่แสดง




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ก.ค. 12, 05:47
สถานีัวังบูรพา




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ก.ค. 12, 05:51
และสถานีสนามไชย ก่อนที่แนวอุโมงค์รถไฟฟ้าจะมุดลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งธนบุรี



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ก.ค. 12, 05:57
ก่อนที่จะเข้าสถานีสนามไชย แนวอุโมงค์จะลอดใต้อาคารกรมการรักษาดินแดนเดิม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร? เรียกไม่ถูก
เป็นพื้นที่เดียวที่ล่วงล้ำออกนอกแนวถนนหลวง (กรุงเทพมหานคร) เข้าที่หลวง (กระทรวงกลาโหม)


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ค. 12, 16:37
สถานีวังบูรพา จัดภาพเปรียบเทียบมาให้เพื่อเป็นภาพประวัติศาสตร์ต่อไป

ภาพซ้ายมือถ่ายโดยลุงไก่ จากอาคารสูงลงมายังอาคารเก่าซ้ายมือถนนมหาไชย ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งห้องแถวเก่า และโรงหวยด้านหลัง ซึ่งอนาคตจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าวังบูรพา

ส่วนภาพขวาเป็นภาพอาคารก่อนรื้อถอนครับ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ก.ค. 12, 21:21
ไม่ใช่นะครับคุณหนุ่ม ตึกที่ผมขึ้นไปถ่ายภาพบนดาดฟ้าคือตึกขาว ๔ ชั้นที่อยู่ถัดจากตึกเก่าไปต่างหาก

ส่วนตึก ๒ ชั้นเดิมในภาพ คือตรงสี่แยกอุณากรรณ สภาพปัจจุบันมีการต่อเติมขึ้นเป็นอาคาร ๔ ชั้น ซึ่งจะต้องถูกรื้อถอนออกเช่นกัน ขอบคุณกับภาพที่แสดงสภาพเดิมๆ มาให้ได้รับชม

มาดูส่วนนี้กันก่อน เป็นส่วนผนังกำแพงคอนกรีต (Diaphragm Wall) ที่หัวเจาะจะเริ่มต้นขุดผ่านในกรอบวงกลมที่เตรียมเอาไว้ เราเรียกว่า "ส่วนตาอ่อน (Soft Eye Area)" หรือจะเรียกว่า "พื้นที่ตาหวาน" ก็น่าจะได้เช่นกัน

อยู่ที่จุดตั้งต้นที่หลุมกลางถนนหน้าสถานีหัวลำโพงนั่นแหละครับ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ก.ค. 12, 21:32
ดูสภาพผังอาคารเดิมจากการขุดสำรวจทางโบราณคดี ก่อนที่พื้นที่ตรงจะสูญสลายไปกลายเป็นถนนแล้วในวันนี้


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 06 ก.ค. 12, 11:20
สถานีวังบูรพา จัดภาพเปรียบเทียบมาให้เพื่อเป็นภาพประวัติศาสตร์ต่อไป

ภาพซ้ายมือถ่ายโดยลุงไก่ จากอาคารสูงลงมายังอาคารเก่าซ้ายมือถนนมหาไชย ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งห้องแถวเก่า และโรงหวยด้านหลัง ซึ่งอนาคตจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าวังบูรพา

ส่วนภาพขวาเป็นภาพอาคารก่อนรื้อถอนครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5206.0;attach=33758;image)

ยืนยันตามที่คุณ siamese ว่าค่ะ ตึก 2 ชั้นภาพด้านซ้าย อยู่ที่แยกสามยอด ปัจจุบันรื้อทิ้งไปหมดแล้ว ในตำแหน่งที่วางลูกศรไว้ในภาพด้านขวา
ลุงไก่ คงไปถ่ายรูปจากตึก 4 ชั้นที่เตรียมจะรื้อ ที่แยกอุณากรรณอยู่ถัดมาค่ะ (แยกเฉลิมกรุง-อุณากรรณ-สามยอด) เรียงตามเส้นทางเดินรถค่ะ

เสียดายตึก 2 ชั้น ตรงนี้มาก เป็นร้านขายรองเท้าชื่อ เซ่งชง เก่าแก่โบราณ ได้รับพระราชทานตราครุฑด้วย


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 12, 11:32
กรุงเทพเปลี่ยนแปลงไปมากในแต่ละทศวรรษ   รวมๆกันแล้ว ก็แทบไม่มีอะไรเหลือ  ที่ยังอยู่ยงคงกระพันเห็นจะเป็นวัด เพราะรื้อถอนไม่ได้
ถ้าเป็นอาคารพาณิชย์ บ้านเรือนผู้คน แม้แต่สถานที่ราชการ   ก็เปลี่ยนไปหมดแล้วค่ะ
น่าขอบใจภาพถ่ายเก่าแก่ที่ยังบันทึกความจริงไว้ว่าสมัยก่อนกรุงเทพเคยสวยงามขนาดไหน


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: giggsmay ที่ 06 ก.ค. 12, 11:54
 :'( เฮ้อเสียดายจังของเก่าของแก่ คนไทยนี่ไม่เห็นคุณค่าเลยนะคะรากเหง้าของเราเอง เอะอะทุบเอะอะทุบ เสร็จแล้วก็มานั่งจัดงานรำลึกกัน  :'( :'( :'( :'( :'(


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 12, 12:34
 ;D


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ค. 12, 13:36
เสียดายตึก 2 ชั้น ตรงนี้มาก เป็นร้านขายรองเท้าชื่อ เซ่งชง เก่าแก่โบราณ ได้รับพระราชทานตราครุฑด้วย

ใช่ครับ ร้านรองเท้าเช่งชง มีประวัติที่ดีเด่น ได้รับพระราชทานครุฑไว้หน้าร้าน ก็น่าเสียดายนะครับ แต่ตัวสินค้ายังไปหาซื้อกันได้ครับ ภาพที่ลงเอามาจากเฟสบุคได้ลงไว้ เขาบอกว่า "ร้าน"เซ่งชง" ที่ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ถูกเวนคืนที่ดินเพื่อไปสร้า​งรถไฟฟ้า และร้านใหม่ที่ตั้งอยู่บนถน​นนครสวรรค์ หลังสถานีตำรวจนางเลิ้ง"


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 07 ก.ค. 12, 01:37
เสียดายวังบูรพาด้วยเช่นกันครับ ถ้าทายาทรักษามาได้จนถึงป่านนี้คงสวยงามมากแน่ ๆ

อีกที่ก็คือพระอุโบสถวัดราชบุรณะ ของเดิมโดนระเบิดทำลายไปแล้ว น่าเสียดายอีกเช่นกัน


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 ก.ค. 12, 06:52
"เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป"  ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ดังคำสอนของพระพุทธองค์ อย่าไปคิดมากเลยครับ

สังคมมันต้องพัฒนา คนเราโหยหาเรียกร้องคุณภาพชีิวิต ความสะดวกสบสบาย



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 07:18
(น่าจะเป็น) ท่อระบายน้ำเก่า ใต้พื้นทางเท้าทางด้านถนนมหาไชย หน้าตึกที่ผมเคยบอกว่าเป็นโรงหวยเก่า ฝีมือการถ่ายภาพของอาจารย์เสลาจากเวปพันทิป ที่ท่านแวะมาเยี่ยมถึงที่ทำงานเมื่อบ่ายวานนี้

ท่านมุดเข้าไปถ่ายภาพเอง

ที่ทางเท้าด้านหน้าตึกด้านถนนเจริญกรุง ตรงแนวหน้าร้านเซ่งชง ก็จะมีท่อระบายน้ำเก่าแบบนี้เช่นเดียวกัน


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ค. 12, 08:38
(น่าจะเป็น) ท่อระบายน้ำเก่า ใต้พื้นทางเท้าทางด้านถนนมหาไชย หน้าตึกที่ผมเคยบอกว่าเป็นโรงหวยเก่า ฝีมือการถ่ายภาพของอาจารย์เสลาจากเวปพันทิป ที่ท่านแวะมาเยี่ยมถึงที่ทำงานเมื่อบ่ายวานนี้

ท่านมุดเข้าไปถ่ายภาพเอง

ที่ทางเท้าด้านหน้าตึกด้านถนนเจริญกรุง ตรงแนวหน้าร้านเซ่งชง ก็จะมีท่อระบายน้ำเก่าแบบนี้เช่นเดียวกัน

รบกวนลุงไก่และอ. เสลา ช่วยดูรอยการระบายของน้ำด้วยว่า ท่อระบายนี้รองรับน้ำจากอาคารบ้านเรือน หรือ น้ำฝนจากถนน ซึ่งถ้าวิเคราะห์แล้วจะเห็นการก่ออิฐและด้านบนเป็นอิฐโค้ง ซึ่งควรทำกับการตัดถนนแห่งนี้ซึ่งก็คือ ถนนมหาไชย ก็คงเป็นสมัยรัชกาลที่ ๕ มากกว่าสมัยรัชกาลที่ ๔

(ทำไมลุงไก่ให้ อ.เสลา ลงไปมุดละครับ ระวังอันตรายด้วยครับ  ;D)

ในแผนที่โบราณสมัยรัชกาลที่ ๕ พบกว่ามีรอยการระบายน้ำนี้ออกไปจรดคลองสะพานถ่าน และท่อระบายน้ำนี้วนรอบกลุ่มอาคารพาณิชย์ทั้งแปลง ฝั่งโรงหวยมีท่อระบายน้ำ แต่ฝั่งตรงข้ามเป็นเส้นทางรถราง


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 08:56
(น่าจะเป็น) ท่อระบายน้ำเก่า ใต้พื้นทางเท้าทางด้านถนนมหาไชย หน้าตึกที่ผมเคยบอกว่าเป็นโรงหวยเก่า ฝีมือการถ่ายภาพของอาจารย์เสลาจากเวปพันทิป ที่ท่านแวะมาเยี่ยมถึงที่ทำงานเมื่อบ่ายวานนี้

ท่านมุดเข้าไปถ่ายภาพเอง

ที่ทางเท้าด้านหน้าตึกด้านถนนเจริญกรุง ตรงแนวหน้าร้านเซ่งชง ก็จะมีท่อระบายน้ำเก่าแบบนี้เช่นเดียวกัน

รบกวนลุงไก่และอ. เสลา ช่วยดูรอยการระบายของน้ำด้วยว่า ท่อระบายนี้รองรับน้ำจากอาคารบ้านเรือน หรือ น้ำฝนจากถนน ซึ่งถ้าวิเคราะห์แล้วจะเห็นการก่ออิฐและด้านบนเป็นอิฐโค้ง ซึ่งควรทำกับการตัดถนนแห่งนี้ซึ่งก็คือ ถนนมหาไชย ก็คงเป็นสมัยรัชกาลที่ ๕ มากกว่าสมัยรัชกาลที่ ๔

(ทำไมลุงไก่ให้ อ.เสลา ลงไปมุดละครับ ระวังอันตรายด้วยครับ  ;D)

ไม่อันตรายหรอกครับ ลึกลงไปแค่เมตรกว่าๆ ผมยืนเป็นกำลังใจให้ตรงปากหลุม ตามแนวถนนเจริญกรุงด้านร้านเซ่งชงที่หลายคนบ่นว่า้เสียดาย ก็ยังมีท่อแบบนี้อยู่ แต่ต้องถูกขุดทิ้งจากการก่อสร้างหละครับ

เชื่อไหมครับว่าท่อระบายน้ำนี้ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยที่ กทม ทำบ่อพัก (Manhole) ขึ้นใหม่เท่านั้น จะหวั่นใจตรงที่ตรงนี้ถูกเจาะไปแล้ว เพราะต้องทำบ่อดันท่อน้ำประปา (Pipe Jacking Pit)ลอดใต้ถนนมหาไชยจากฝั่งตรงข้ามมาบรรจบท่อเดิม

คงต้องซ่อมแซมชดใช้คืนให้  กทม แต่จะให้เหมือนของเดิมคงไม่ได้แล้ว


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 09:00
สถานีวังบูรพา จัดภาพเปรียบเทียบมาให้เพื่อเป็นภาพประวัติศาสตร์ต่อไป

ภาพซ้ายมือถ่ายโดยลุงไก่ จากอาคารสูงลงมายังอาคารเก่าซ้ายมือถนนมหาไชย ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งห้องแถวเก่า และโรงหวยด้านหลัง ซึ่งอนาคตจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าวังบูรพา

ส่วนภาพขวาเป็นภาพอาคารก่อนรื้อถอนครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5206.0;attach=33758;image)

ยืนยันตามที่คุณ siamese ว่าค่ะ ตึก 2 ชั้นภาพด้านซ้าย อยู่ที่แยกสามยอด ปัจจุบันรื้อทิ้งไปหมดแล้ว ในตำแหน่งที่วางลูกศรไว้ในภาพด้านขวา
ลุงไก่ คงไปถ่ายรูปจากตึก 4 ชั้นที่เตรียมจะรื้อ ที่แยกอุณากรรณอยู่ถัดมาค่ะ (แยกเฉลิมกรุง-อุณากรรณ-สามยอด) เรียงตามเส้นทางเดินรถค่ะ

เสียดายตึก 2 ชั้น ตรงนี้มาก เป็นร้านขายรองเท้าชื่อ เซ่งชง เก่าแก่โบราณ ได้รับพระราชทานตราครุฑด้วย

ภาพตอนกำลังรื้อถอนครับ



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 08 ก.ค. 12, 09:09
วันที่พระราชทานบรรดาศักดิ์หลวงประดิษฐ์บาทุกานั้น  มีอีกท่านหนึ่งที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เหมือนกันคือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง)

ช่างตัดเสื้อหลวงที่ได้รับพระราชทานตราตั้งพิเศษและบรรดาศักดิ์คือ หลวงวิจิตรพัสตราภรณ์ (เพี้ยน  แสงรุจิ) เจ้าของร้านวิวิธภูษาคารที่หลังกระทรวงมหาดไทย  ปัจจุบันที่เดิมถูกเวนคืนเลยย้ายมาอยู่ที่ปากทางเข้าแพร่งสรรพสาตร์


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 12:09
เสียดายวังบูรพาด้วยเช่นกันครับ ถ้าทายาทรักษามาได้จนถึงป่านนี้คงสวยงามมากแน่ ๆ

อีกที่ก็คือพระอุโบสถวัดราชบุรณะ ของเดิมโดนระเบิดทำลายไปแล้ว น่าเสียดายอีกเช่นกัน

ภาพถ่ายทางอากาศของวัดราษฎร์บูรณะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เห็นพลับพลาด้านมุมขวาบนของภาพ น่าจะเป็นด้านทางลาดฝั่งขาขึ้นของสะพานพระพุทธยอดฟ้า เตรียมการรับเสด็จในพิธีเปิดสะพานฯ

ถนนด้านขวามือของภาพน่าจะเป็นถนนตรีเพชรติดกับตึกยาวของโรงเรียนสวนกุหลาบ



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 12:17
รถรางบนถนนพระรามสี่ ผมคุยกับลุงที่ยังอาศัยอยู่ที่ตึกหลังในภาพเรื่องหลีกรถราง(ตรงที่เห็นรถรางกำลังแล่นในภาพ) ลุงบอกว่าอยู่ตรงสี่แยกมหานคร (ที่ทางด่วนตัดผ่าน) ซึ่งขัดแย้งกับที่ตั้งอาคารซึ่งยังคงอยู่ (อยู่ตรงข้ามกับศาลแขวงปทุมวัน เดิมเป็นโรงงานยาสูบสะพานเหลือง)

ผมถามถึงรถไฟสายปากน้ำ ลุงบอกว่าอยู่ตรงกับเกาะกลางถนนเดี๋ยวนี้นี่แหละ ฝั่งโน้นเป็นคลอง พอเขาถมทำถนน เขาก็เอาท่อระบายน้ำที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมใหญ่ๆ มาทำระบายน้ำแทน

ซึ่งผมก็ตามไปดูให้รู้แน่ตรงข้างๆ สะพานเจริญสวัสดิ์ริมคลองผดุงกรุงเกษม ก็เป็นดังที่ลุงบอกไว้



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 12:35
ตามภาพคือปากซอยสามยอดด้านถนนมหาไชย
สันนิษฐานว่าในระยะที่มีการก่อสร้างอาคารสามยอดพลาซ่า ทางผู้รับเหมาได้วางท่อระบายน้ำ คสล. อย่างกลม (ดังในภาพ) ทับเข้าไปในทางระบายน้ำเดิม
มองจากผนังอิฐมอญด้านข้างท่อ คสล. กับภาพในความเห็นที่ ๒๓ ที่อาจารย์เสลาท่านมุดลงไปถ่ายภาพไว้
ทั้งสองจุดนี้ห่างกันประมาณ ๘ เมตร อยู่ในแนวเดียวกัน ใต้ทางเท้าถนนมหาไชย

ส่วนนี้อยู่นอกพื้นทีก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า แต่ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องจัดการซ่อมแซมให้ทางเท้ากลับสู่สภาพเดิม
แต่คงไม่ลงไปก่ออิฐฉาบปูนให้เหมือนเดิมหรอกครับ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 12:40
ลองมองหน้าตัดท่อ ขนาดของแผ่นอิฐ วิธีการวางเรียงอิฐ



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 15:18
(น่าจะเป็น) ท่อระบายน้ำเก่า ใต้พื้นทางเท้าทางด้านถนนมหาไชย หน้าตึกที่ผมเคยบอกว่าเป็นโรงหวยเก่า ฝีมือการถ่ายภาพของอาจารย์เสลาจากเวปพันทิป ที่ท่านแวะมาเยี่ยมถึงที่ทำงานเมื่อบ่ายวานนี้

ท่านมุดเข้าไปถ่ายภาพเอง

ที่ทางเท้าด้านหน้าตึกด้านถนนเจริญกรุง ตรงแนวหน้าร้านเซ่งชง ก็จะมีท่อระบายน้ำเก่าแบบนี้เช่นเดียวกัน



ในแผนที่โบราณสมัยรัชกาลที่ ๕ พบว่ามีรอยการระบายน้ำนี้ออกไปจรดคลองสะพานถ่าน และท่อระบายน้ำนี้วนรอบกลุ่มอาคารพาณิชย์ทั้งแปลง ฝั่งโรงหวยมีท่อระบายน้ำ แต่ฝั่งตรงข้ามเป็นเส้นทางรถราง

ผมเปิดดูแบบการก่อสร้างอาคารสถานีแล้ว เป็นที่น่าเสียดายว่าแนวท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าทางด้านถนนเจริญกรุงตรงกับแนวที่จะสร้างกำแพงใต้ดิน (Diaphragm Wall) พอดี จะต้องทำการขุดเป็นร่องเพื่อทำ Guide Wall ก่อน

คงจะต้องไปยืนเฝ้า นั่งเฝ้า นอนเฝ้า ถ่ายภาพแน่ๆ

อยากเห็นภาพแผนที่น่ะ รบกวนคุณหนุี่่มสยามอีกสักครั้ง


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 ก.ค. 12, 15:24
เสียดายวังบูรพาด้วยเช่นกันครับ ถ้าทายาทรักษามาได้จนถึงป่านนี้คงสวยงามมากแน่ ๆ

อีกที่ก็คือพระอุโบสถวัดราชบุรณะ ของเดิมโดนระเบิดทำลายไปแล้ว น่าเสียดายอีกเช่นกัน

ภาพของวัดราษฏร์บูรณะในอีกมุมหนึ่ง


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ค. 12, 09:44
เสียดายวังบูรพาด้วยเช่นกันครับ ถ้าทายาทรักษามาได้จนถึงป่านนี้คงสวยงามมากแน่ ๆ

อีกที่ก็คือพระอุโบสถวัดราชบุรณะ ของเดิมโดนระเบิดทำลายไปแล้ว น่าเสียดายอีกเช่นกัน

ภาพถ่ายทางอากาศของวัดราษฎร์บูรณะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เห็นพลับพลาด้านมุมขวาบนของภาพ น่าจะเป็นด้านทางลาดฝั่งขาขึ้นของสะพานพระพุทธยอดฟ้า เตรียมการรับเสด็จในพิธีเปิดสะพานฯ

ถนนด้านขวามือของภาพน่าจะเป็นถนนตรีเพชรติดกับตึกยาวของโรงเรียนสวนกุหลาบ



ตามกระทู้นี้เลยครับ "วัดราษฎร์บุรณะ - วัดเลียบ - วัดขรัวอีโต้ "
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K12222423/K12222423.html


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 14 ก.ค. 12, 14:51
คิดอยู่นานว่าประตูสามยอดอยู่ตรงไหนของถนนเจริญกรุง
พอได้อ่านรายงานการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี ก็กระจ่างใจเสียทีว่าอยู่ตรงนี้นะ
แต่ในรายงานตอนหนึ่งกล่าวว่า หลักฐานทางโบราณคดีในส่วนฐานรากนี้เสียหายยับเยิน จากการวางระะสาธารณูปโภคต่างๆ ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 14 ก.ค. 12, 18:39
น่าจะอยู่อีกฝั่งหนึ่งนะคะ คุณลุงไก่

ตรงด้านซ้ายมือของรูป ด้านถนนมหาไชย
สี่แยกนี้ เรียก แยกสามยอด ค่ะ
ส่วนที่คุณลุงไก่วาดไว้ เป็นฝั่งถนนเจริญกรุง

โรงแรมมิราม่า ที่มีหน้าต่างปูดมาเป็นช่องแอร์สีส้มนั้น เป็นป้อมเสือทะยาน อยู่เชิงสะพานดำรงสถิตย์ค่ะ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.ค. 12, 22:17
ตำแหน่งตามรูป


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ค. 12, 22:39

พอได้อ่านรายงานการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี ก็กระจ่างใจเสียทีว่าอยู่ตรงนี้นะ



รายงานกล่าวว่าอย่างไรบ้างครับ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.ค. 12, 22:42
ตามรูป


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ค. 12, 23:04
จัดแผนที่แนวกำแพงเมือง (สีส้ม) และโครงสร้างประตูเมือง ใช้ชมกันอีกลักษณะหนึ่ง


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ก.ค. 12, 06:43
เมื่อทำการขุดเปิดผิวการจราจรที่ ตำแหน่ง 1 ตามภาพบนข้างตึกบริษัทจเจรำกัด จะพบลักษณะการเรียงตัวของชั้นดินใต้ผิวจราจร ตามภาพล่าง
ในตำแหน่งที่ ของภาพบน จะเห็นแนวหลีกรถราง ตำแหน่งนี้จะทำกาขุดเปิดในวันนี้ (อาทิตย์ที่ ๑๕ กค)
จากลักษณะแนวอิฐดินเผาก่อเป็นชั้นลักษณะคล้ายกำแพง จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างถนนเจริญกรุงในยุคแรกและการขยายถนนเจริญกรุงในยุคต่อมาหรือไม่
ขอเวลาสืบค้นก่อนครับ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ก.ค. 12, 06:54
ฝากให้คุณหนุ่มสยามดูสถาปัตยกรรมท่อระบายน้ำด้านถนนมหาไชยไปพลางๆ ก่อน แนวภาพมองออกไปทางถนนเจริญกรุง

ตำแหน่งเดียวกับที่อาจารย์เสลาท่านมุดลงไปถ่ายภาพนั่นแหละ แ่ต่ผมมุดลงไปได้ลึกกว่า แต่ไม่ได้ชมแล้วหละ เพราะต้องโบกปูนปิดไ้ว้เนื่องจาก กทม ยังใช้งานระบายน้ำอยู่

คุณ POJA อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องทิศทางของถนนครับ คือถนนมหาไชยเป็นถนนที่ตัดเลียบขนานมากับแนวกำแพงเมืองเดิมนะครับ




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ก.ค. 12, 07:13

พอได้อ่านรายงานการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี ก็กระจ่างใจเสียทีว่าอยู่ตรงนี้นะ



รายงานกล่าวว่าอย่างไรบ้างครับ

รายงานบอกว่า ฐานกำแพงและประตูเดิมถูกทำลายไปจนเกือบหมดจากการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคใต้ดินในยุคหลัง
หลักฐานที่ขุดค้นได้จึงขาดความต่อเนื่องครับ (ก็คือต้องใช้การเดาอย่างมีวิชาการเข้าไปประกอบรายงานด้วยน่ะ)
หมายเหตุ - ถ่ายภาพมาจากด้านสะพานดำรงสถิต




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 ก.ค. 12, 07:31
แนวตามภาพล่าสุด อาจจะเลยหลังที่แท็กซี่เหลืองไปนิด อยู่บนถนนไม่ใช่แนวบ้านคน  น่าจะใช่


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ก.ค. 12, 07:40
ประมาณปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า จะต้องขุดเปิดพื้นที่ตรงนี้เพื่อก่อสร้างกำแพงใต้ดินของตัวสถานี คุณพี่ visitna คงต้องรอหน่อยครับ

ยังไม่ทราบว่าจะพบอะไรบ้าง

ภาพถนนเจริญกรุง มองจากสี่แยก เอส เอ บี มาทางสะพานดำรงสถิต
แนวรถรางที่ห่างจากขอบทางเท้าและเสาไฟฟ้าที่ยังปักอยู่บนผิวจราจรถนนเจริญกรุง บ่งบอกเป็นหลักฐานการขยายถนนให้กว้างขึ้นได้เป็นอย่างดี ว่าการขยายถนนเจริญกรุงมีการขยายออกทางด้านทิศใต้
หรือทางด้านขวามือ หากมองตามทิศทางการจราจรปัจจุบัน




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ค. 12, 09:18
แนวตามภาพล่าสุด อาจจะเลยหลังที่แท็กซี่เหลืองไปนิด อยู่บนถนนไม่ใช่แนวบ้านคน  น่าจะใช่

ก็ควรเป็นเช่นนั้นครับ เนื่องจากเป็นแนวกำแพง ถูกรื้อออกก็กลายเป็นถนนในที่สุด ดังนั้นลุงไก่น่าจะกระเถิบไปอีกนิด ครับผม


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.ค. 12, 12:09
แนวที่เปิดเห็นเป็นแผ่นอิฐ
อาจจะเป็นพื้นถนนครั้งแรกสุดที่เริ่มทำ(ถ้าผิวถนนตอนนั้นปูด้วยอิฐ)


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ก.ค. 12, 12:38
ขอคุยเรื่องสะพานเหล็กบนหรือสะพานดำรงสถิตก่อนที่จะคุยกันถึงการก่อสร้างถนนเจริญกรุง
ก่อนที่จะมีการก่อสร้างสะพานเหล็กนั้น ผมเข้าใจว่าได้มีสะพานไม้ข้ามคลองที่ตรงนี้อยู่แล้ว ผมไปอ่านพบว่าสะพานเดิมเป็นสะพานไม้สำหรับคนเดินข้าม ลาดสะพานชันมาก เวลาที่รถลาก (คือรถเจ๊กที่เราเรียกกัน) จะข้ามสะพาน จะต้องออกแรงมาก บางครั้งก็ต้องช่วยกันดันท้ายรถกันขึ้นไป ถ้าเป็นรถเข็นบรรทุกของ ก็ต้องช่วยกันดันขึ้นสะพานกันอย่างทุลักทุเล

ลักษณะของสะพานไม้ข้ามคลอง ผมสันนิษฐานว่าน่าจะมีลักษณะเดียวกับสะพานไม้ข้ามคลองที่บริเวณป้อมที่ผ่านฟ้าใกล้ปากคลองมหานาค ดังในภาพบน

สะพานไม้นี้ได้รื้อทิ้งไปและก่อสร้างสะพานใหม่เป็นสะพานเหล็กแบบเปิดได้แทน เมื่อได้มีการตัดถนนเจริญกรุงทั้งด้านนอกและด้านในพระนครแล้ว

จากหนังสือ "เล่าเรื่องไทย เล่ม ๒" โดยเทพชู ทับทอง กล่าวถึงสะพานเหล็กบนว่า ... จากหนังสือพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวถึงรายละเอียดการสร้างสะพานเหล็กทั้ง ๒ ว่า ... การถนนแล้วยังไม่มีสะพาน ได้บอกบุญขุนนางและเจ๊สัวตามแต่ผู้ใดจะศรัทธาทำสะพานข้ามคลองที่ตรงถนนใหม่ข้าม ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม รับทำสะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุงริมวังเจ้าเขมรข้าม ติดตั้งเหล็กสะพาน ค่าจ้างไม้ ค่าอิฐ รวมเป็นเงิน ๑๖๐ ชั่ง ที่สะพานหันข้ามคลองรอบกรุงลงไปวัดจักรวรรดิ ทำสะพานเหล็กอีกสะพานหนึ่งเป็นของหลวง ราคาเครื่องเหล็กที่สั่งเข้ามาก็เหมือนกัน ..."

ถ้าจะอ้างข้อความในพระราชพงศาวดารนี้ ผมคิดว่าสะพานเหล็กบนที่ก่อสร้างครั้งแรกนี้น่าจะมีรูปร่างเดียวกับสะพานเหล็กที่สะพานหันนี้ ตามภาพล่าง

เพิ่มเติม - จากข้อเขียนของเทพชู ทับทอง ในหนังสือเล่มเดียวกัน กล่าวขยายความว่า สะพานเหล็กทั้งสามสะพานนี้ (หมายรวมถึงสะพานเหล็กล่างหรือสะพานทิพยเสถียรด้วย) เมื่อแรกสร้างได้ความว่าเสาและคานเป็นเครื่องไม้ เป็นเหล็ก แต่โครงส่วนที่พื้นสะพานมีล้ออยู่ข้างล่างและที่คานไม้มีรางเหล็ก เมื่อขึ้นจักร์สะพานก็จะแยกออกจากกันได้









กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ก.ค. 12, 13:06
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ สะพานเหล็กทั้ง ๓ จึงได้สร้างใหม่แทนสะพานเหล็กของเดิมอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนสะพานเหล็กที่สะพานหัน ต่อมาได้รื้อสร้างใหม่เป็นสะพานโค้ง มีร้านค้าอยู่บนสะพานแบบสะพานรีอัลโต ในประเทศอิตาลี



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: saimai ที่ 30 ก.ค. 12, 20:32
สวัสดีค่ะ เพิ่งเป็นสมาชิกเรือนไทยได้ไม่นานค่ะ ได้รับความรู้มากมายจากที่นี่ ;D
มีรูปร้านเซ่งซงมาร่วมโพสค่ะ ถ่ายไว้เมือปี2553 เพราะชอบที่บ้านเ็ป็นสีชมพู มีครุฑด้วย แต่เพิ่งรู้ว่าเป็นร้านทำรองเท้าก็วันนี้เอง


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 12, 20:42
มาต้อนรับค่ะ   ถ้ามีรูปสวยๆแบบข้างบนนี้ ที่เคยถ่ายไว้ ก็ขอเชิญให้นำมาแบ่งปันกันดูบ้างนะคะ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: saimai ที่ 30 ก.ค. 12, 22:09
ขอบคุณค่ะ  คุณเทาชมพู  :D ตอนนี้พยายามกลับไปหาดูรูปเก่าๆที่เคยได้่ถ่ายไว้ เพื่อนำมาแบ่งปันกันค่ะ เสียดายสถานที่ที่สำคัญหลายๆแห่ง ที่ได้สูญหายไป

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ก.ค. 12, 07:19
ร้านเซ่งชงโดนเวนคืนไปทำสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเรียบร้อยแล้วครับ
ร้านนี้เดิมเป็นร้านขายอาภรณ์ภัณฑ์ลือชื่อแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ  ที่มีชื่อเสียงมากคือเครื่องม้าและรองเท้า
เจ้าของร้านได้ตัดเครื่องหนังถวายรัชกาลที่ ๖ สำหรับทรงใช้ในราชการเสือป่า  จึงได้รบพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
หลวงประดิษฐ์บาทุกา หรือล้อกันว่า "ประดิษฐ์บาทากู" ในวันเดียวกับจางวางศร  ศิลปบรรเลง
ได้รับพระาชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ

ครุฑทองที่หน้าร้านนั้นเป็นครุฑที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานไว้ในฐานะเป็นร้านหลวง
ต่อมาในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เปลี่ยนครุฑตราตั้งนี้เป็นครุฑแเงดังที่เห็นกันอยู่ตามหน้าตึกธนาคาร


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ส.ค. 12, 17:45
วนเวียนอยู่ที่วังบูรพา ไม่ได้ไปตั้งต้นที่หัวลำโพงตามความตั้งใจสักที

ดูรูปแบบอาคารสถานีรถไฟฟ้าวังบูรพาในกระดาษไปพลางๆ ก่อน



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 16 ส.ค. 12, 11:37
ไม่ปลื้มค่ะ

อุตส่าห์รื้อตึกดี ๆ ทิ้งไป สร้างใหม่ก็ไม่ได้ดีกว่าเดิม
ไม่มีระยะ setback ตาม กม.ควบคุม
ไม่ได้คิดสร้างอะไรที่รองรับ mass ของมวลชนที่จะโผล่จากใต้ดินขึ้นมาตรงนี้
ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่า ทำศูนย์การค้า

 :(  :(  >:(


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ส.ค. 12, 13:49
น่าจะเริ่มต้นเรื่องราวที่หัวลำโพงได้สักที

สัปดาห์หน้าก็จะเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์อย่างเป็นทางการแล้ว









กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ส.ค. 12, 20:09
คิดว่าเวนคืนที่ดินเกินความจำเป็น
ส่วนของสถานีเอาพื้นที่แค่สถานีน่าจะพอ
เมื่อเวนคืนควรห้ามเอาที่ดินไปเปิดร้านค้า
ใช้ทำได้เฉพาะเป็นส่วนของการบริการผู้โดยสาร


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ส.ค. 12, 21:23
เรื่องเวนคืนที่ดินเกินความจำเป็นคงไม่เป็นไปตามนั้นหรอกครับ เพราะต้องจ่ายเงินค่าเวนคืนมากขึ้น ซึ่งก็เป็นต้นทุนค่าก่อสร้างเช่นกัน ถ้าทราบราคาค่าเวนคืนและค่าชดเชยอาคารที่จะต้องจ่ายแล้วก็อาจจะตกใจว่าทำไมมันแพงบรรลัยอย่างนั้น แต่ก็ทำไปตามกฎหมายเรื่องการชดเชยการเวนคืนทุกประการ

ส่วนการห้ามเอาที่ดินไปทำร้านค้า ในความเห็นของผมก็คงจะห้ามยาก เพราะมีการโอนกรรมสิทธิในที่ดินไปแล้ว ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิทำอะไรที่เป็นการสร้างรายได้ของโครงการนอกเหนือจากค่าโดยสาร ซึ่งจะต้องนำกลับไปจ่ายคืนเงินกู้และดอกเบี้ย ไม่ใช่ได้เงินค่าก่อสร้างมาเปล่าๆ

และถ้าดูจากภาพหน้าตัดสถานีที่ผมนำมาเสนอนั้น ก็เป็นการใช้พื้นที่อย่างประหยัดที่สุดแล้ว ซึ่งการออกแบบก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลทุกเรื่อง โดยเฉพาะด้านความแข็งแรงของโครงสร้างและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ถ้าเปรียบเทียบกับของจริงในปัจจุบันว่าทำไม่ตัวสถานีถึงยาวกว่าขบวนรถนัก ก็ขอบอกว่าเป็นการออกแบบเผื่อไ้ว้ในอนาคตให้รับจำนวนตู้โดยสารได้ ๖ ตู้ต่อขบวน ซึ่งปัจจุบันยังมีเพียง ๓ ตู้ต่อขบวน



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 17 ส.ค. 12, 10:28
คิดว่าเวนคืนที่ดินเกินความจำเป็น
ส่วนของสถานีเอาพื้นที่แค่สถานีน่าจะพอ
เมื่อเวนคืนควรห้ามเอาที่ดินไปเปิดร้านค้า
ใช้ทำได้เฉพาะเป็นส่วนของการบริการผู้โดยสาร

เท่าที่ทราบ ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของทรัพย์สินฯ ค่ะ


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 17 ส.ค. 12, 12:29
ดังเช่นที่คุณ POJA กล่าวถึงครับ ที่ดินที่เวนคืนเกือบทั้งหมดอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเจ้าของอาคารใช้สิทธิเช่าที่ดินเท่านั้น ที่เหลือประมาณ 5% คือที่ดินส่วนของมูลนิธิจุมพฏ บริพัตร ซึ่งเป็นการเช่าที่ดินเช่นกันรวมกับที่ดินของเอกชนบางราย

แต่ทั้งนี้ทาง รฟม ก็ต้องจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชยอาคารให้แก่ผู้ครอบครองอาคารตามมูลค่าปัจจุบันให้กับสำนักงานทรัพย์สินฯ และมูลนิธิฯ และเจ้าของอาคารเช่นกัน

ยกเว้นในพื้นที่ใต้ถนนในส่วนความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นแนวโครงสร้างของอุโมงค์รถไฟฟ้าที่ไม่ต้องจ่ายค่าเวนคืน

สำหรับสะพานเจริญสวัสดิ์ที่หัวลำโพงทีรื้อถอนออกเพราะต้องใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างในขณะนี้ ก็จะต้องสร้างกลับคืนให้กับ กทม ในรูปแบบเดิม







กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 28 ส.ค. 12, 21:52
งานขุดสำรวจเพื่อรื้อถอนฐานรากประตูสามยอดเริ่มขึ้นแล้ว ..



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 28 ส.ค. 12, 21:57
สังเกตลักษณะโครงสร้างของฐานรากประตู ... ทำให้รู้ว่าการก่อสร้างผิวการจราจรของถนนเจริญกรุง สร้างทับไปบนฐานรากโดยตรง โดยที่ไม่ได้ขุดทำลายทิ้งแต่อย่างใด

ขออนุโมทนาต่อกรุงเทพมหานครที่ทำให้เรายังเห็นร่องรอยของอดีตเมื่อกว่าร้อยห้าสิบปีมาแล้ว ...

แต่ก็คาดว่ามีส่วนที่ถูกทำลายไปแล้วด้วยจากการขุดเพื่อวางท่อน้ำประปา ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ท่อร้อยสายโทรศัพท์ใต้ดิน แต่คงไม่มากนัก (ขอให้เป็นอย่งที่คิดเถอะ)





กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 29 ส.ค. 12, 08:08
เห็นภาพการขุดเจาะฐานรากประตูสามยอดที่ "ลุงไก่" กรุณานำมาให้ชมแล้ว  ก็เกิดคำถามตามมาว่า ในการขุดรื้อ,านรากนี้มีนักโบราณคดี่ร่วมขุดเจาะและบันทึกข้อมูลเก็บไว้หรือไม่?
เพราะโอกาสที่จะบันทึกความรู้เช่นนี้คงจะหาไม่ได้อีกแล้ว  อีกทั้งยังจะเป็นรากฐานอ้างอิงสำหรับการขุดค้นประตูเมืองโบราณของไทยต่อไปอีกหลายแห่ง  อย่างเช่นประตูเมืองเชียงใหม่
ที่มีทั้งบันทึกและแผนที่ระบุว่าเป็นประตูเมืองสองชั้น  แต่เมื่อกรมศิลปากรไปขุดค้นกลับถูกต่อต้านว่าจะเป็นการฝังรูปฝังรอยทำร้ายคนอยู่ต่างแดนไปโน่น  จึงใคร่ขอเรียนเสนอว่าถ้าเป็นไปได้
น่าจะมีการเผยแพร่ข่าวขุดค้นฐานรากประตูสามยอดนี้ผ่านสื่อต่างๆ ให้กว้างขวาง  เพื่อให้ได้รับรู้ถึงคุณค่าการศึกษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์แทนที่จะหลงงมงายเชื่อถือโชคลางโดยไม่มีเหตุผล


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 09:23
ตอนปี 2539 ผมสร้างบ้านตึก แม่ผมเอาแผ่นทองเงินนาค สามแผ่นมาฝังที่พื้นบ้าน

ประตูเมืองโบราณต้องมีการวางคาถาอาคมไว้      น่าจะมีเหลืออยู่ให้เห็นบ้าง


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 12, 19:22
เห็นภาพการขุดเจาะฐานรากประตูสามยอดที่ "ลุงไก่" กรุณานำมาให้ชมแล้ว  ก็เกิดคำถามตามมาว่า ในการขุดรื้อ,านรากนี้มีนักโบราณคดี่ร่วมขุดเจาะและบันทึกข้อมูลเก็บไว้หรือไม่?
เพราะโอกาสที่จะบันทึกความรู้เช่นนี้คงจะหาไม่ได้อีกแล้ว  อีกทั้งยังจะเป็นรากฐานอ้างอิงสำหรับการขุดค้นประตูเมืองโบราณของไทยต่อไปอีกหลายแห่ง  อย่างเช่นประตูเมืองเชียงใหม่
ที่มีทั้งบันทึกและแผนที่ระบุว่าเป็นประตูเมืองสองชั้น  แต่เมื่อกรมศิลปากรไปขุดค้นกลับถูกต่อต้านว่าจะเป็นการฝังรูปฝังรอยทำร้ายคนอยู่ต่างแดนไปโน่น  จึงใคร่ขอเรียนเสนอว่าถ้าเป็นไปได้
น่าจะมีการเผยแพร่ข่าวขุดค้นฐานรากประตูสามยอดนี้ผ่านสื่อต่างๆ ให้กว้างขวาง  เพื่อให้ได้รับรู้ถึงคุณค่าการศึกษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์แทนที่จะหลงงมงายเชื่อถือโชคลางโดยไม่มีเหตุผล

ก่อนหน้านี้ได้มีการสำรวจทางโบราณคดีเพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนในความควบคุมของกรมศิลปากรไปแล้วครับ

การขุดครั้งนี้เพื่อยกย้ายฐานรากประตูฯ ออกจากพื้นที่ก่อสร้างและนำส่งมอบให้กับกรมศิลปากรต่อไปครับ



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 ก.ย. 12, 19:12
ประตูสามยอดอยู่ไกลๆ  ทิศทางน่าจะมองจากในเมือง
ถ้ามองจากเวิ้ง   สะพานจะบังเพราะมีมุมเอียงตรงแถวสะพาน


กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 ก.ย. 12, 09:52
ตรงกลางภาพระหว่างตึกแถว จะมีสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายราวสะพาน ถ้าเป็นการมองออกไปทางนอกเมือง ช่องว่างระหว่างตึกน่าจะเป็นสี่แยกถนนตรีเพชรตัดถนนเจริญกรุง สังเกตจากรถรางที่กำลังเลี้ยวที่กลางสี่แยก







กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ก.ย. 12, 13:36
จากหนังสือกรุงเทพเมื่อวานนี้ ของขุนวิจิตรฯ

อธิบายภาพของถนนเจริญกรุงไว้-----

--- เมื่อลงจากสะพานมอญ

ด้านขวามือ เป็นตึกแถวสองชั้น ตรงมุมเดิมใครเช่าไม่ทราบต่อมาเป็นโรงพิมพ์ศรีกรุง
ที่พิมพ์ ศรีกรุงรายเดือน และสยามราษฏร์ฉบับละ 3 สตางค์
ต่อจากนั้นเจ็ดแปดห้องเป็นร้านเสริมสวยร้านแรกในประเทศเป็นของสาวสวยชื่อ ประพี
แล้วสุดตึกแถวเป็นห้าง แอล.ยี.ริกัลตี (ต่อมาเปลี่ยนเป็นห้างเสนามาตยาภรณ์) ถึงแยกสี่กั๊กพระยาศรี

ข้ามถนนไปเป็นห้าง ย.ร.อันเดร ขายของเยอรมันและเพชรพลอย
แล้วเป็นตึกแถวยาวไปจนถึงถนนตรีเพชร(ที่ผ่าน รร.สวนกุหลาบฯ)
ช่วงประมาณกลางตึกแถวนี้มีตรอกชื่อ ตรอกพระยาวิสูตร์ ในตรอกมีบ้านหลายหลัง
หลังหนึ่งคือ พระวรเวทย์พิสิฐ (ซึ่งเป็นพ่อของ ดร.วิทย์ ศิวะศริยานนท์)
ส่วนบ้านริมถนนของใครบ้างไม่รู้ มีห้องหนึ่งเป็นของหมอทาเคดาหมอหนุ่มชาวญี่ปุ่น
ต่อมาหมอย้ายออกไป  ห้องกลายเป็นร้านหนังสือกรุงเทพบรรณาคาร
สมัยสงครามโลกครั้งที่สองร้านนี้โดนระเบิดลง


ห้องจากตรอกพระยาวิสูตร์ไปห้องหนึ่งเป็นร้านบางกอกบรรรณกิจของนายแช เศรษฐบุตร

ข้ามถนนตรีเพชรไปหัวมุมเป็นตึกแถวธรรมดาสามสี่ห้อง (ทางด้านถนนตรีเพชรเหมือนกัน)
หมดตึกแถวทั้งสองด้านเป็นที่กว้างลึกเข้าไปเรียกว่าสนามนํ้าจืด(ต่อมาทำเป็นโรงหนังเจริญกรุง)
สมัยนั้นสนามนํ้าจืดเป็นเวิ้งกว้างมากมีทางออกทั้งถนนทหารบกทหารเรือ(หลังวังบูรพา) และออกถนนตรีเพชรอีกทาง
ในนั้นไม่เห็นมีสนามหญ้า มีแต่บ่อนํ้า มีการจัดการละเล่นต่างๆ ยิงเป้า โยนห่วง ลูกกลิ้ง
บางคราวมีม้าหมุน
มีออกร้านและการแสดงแปลกๆ มนิลาโชว์


ต่อจากทางเข้าสนามนํ้าจืดเป็นตึกแถวสี่ห้าห้องถึงมุมที่เป็นถนนทหารบกทหารเรือ(หลังวังบูรพา)
ข้ามถนนไปเป็นตึกแถวยาวจดถนนมหาไชยที่อยู่ริมกำแพงเมือง
ข้ามถนนมหาไชยตรงมุมเป็นห้าง บี กริม ที่อยู่เชิงสะพานเหล็ก

กลางตึกแถวช่วงนี้มีช่องเข้าไปเป็นโรงละครปราโมทัยของพระโสภณอักษรกิจ
ขุนวิจิตรบอกว่าท่านเดินไปดูหนังที่โรงหนังญี่ปุ่นเชิงสะพานเหล็กบ่อยแต่จำร้านแถวนี้ได้ไม่หมด
ริมทางเข้าโรงละครเป็นร้านสรรพานิชขายเหล้า
ต่อไปห้างปุสตาคารของนายกิมเจ็ง สุสังกรการ
ร้านขายแสตมป์ของนาย วีซี เทียน
ช่วงหลังมีห้างเซ่งซง ตัดรองเท้าของหลวงประดิษฐ์บาทุกา
ห้างจาตุรงค์อาภรณ์ขายเครืองแบบข้าราชการ-เสือป่า
สุดตึกที่มุมถนนมหาไชยเป็นห้างขายยาหมอเหล็ง

เอาทางด้านซ้ายของถนนเจริญกรุงบ้าง(พิมพ์ลำบากเอาแบบย่อๆ)
เริ่มที่ถนนตีทองทางซ้ายซึ่งตรงกับถนนตรีเพชรขางขวามือ
ร้านหัวมุมก่อนจะข้ามถนนตีทองเป็นร้านโรเบิร์ต เลนซ์ ต่อมากลายเป็นห้องฉายานรสิงห์
ข้ามถนนไปเป็นห้องแถวสองชั้นยาวถึงถนนอุณากรรณ (ตรงกับถนนทหารบกทหารเรือ)
เข้าใจว่าเนื้อที่เป็นเขตวังกรมพระยาเทวะวงศ์ ทัังหมด
ตัววังอยู่เลยมาทางสะพานถ่าน เป็นวังใหญ่  
รื้อลงสมัย ร6 ทำเป็นตลาดบำเพ็ญบุญ
เป็นตลาดสมัยใหม่ในยุคนั้น เป็นตึกสูง  
ชั้นบนมีระบำนายหรั่งหัวแดงที่โด่งดัง

ข้ามฟากถนนที่เป็นแยกอุณากรรณ-บูรพา
เป็นตึกแถวยาวถึงถนนมหาไชย
กึ่งกลางตึกแถวมีตรอกใหญ่เหมือนถนน
ลึกไปราวสี่ห้าวาเป็นโรงหนังปริ้นเที่ยเตอร์ หันหน้าไปทางถนนมหาไชย
จากหน้าโรงหนังมีตรอกตรงไปออกถนนมหาไชย(คิดว่า   โรงหนังหน้าหน้าไปตามถนนนี้)
ในตรอกนี้มีห้องแถวยาวตลอดทั้งสองด้านเป็นบ่อนบ้างที่อยู่บ้าง

ต่อจากตรอกโรงหนังปริ้นซ์ฯ ริมถนนเจริญกรุง
เป็นตึกแถวสองชั้นเหมือนอีกฟาก ยาวเกือบสิบห้อง
เคยมีร้านรองเท้าชื่อ ฟุงหลี  ที่มีชื่อดังเหมือนร้านเซ่งซง ที่อยู่ตรงข้าม(ตอนนี้ขุนวิจิตรจำชื่อร้านสับกันหรือไม่?)





กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.ย. 12, 11:43
อ้างจากข้อความในความเห็นที่ ๖๘

 เมื่อลงจากสะพานมอญ

ด้านขวามือ เป็นตึกแถวสองชั้น ตรงมุมเดิมใครเช่าไม่ทราบต่อมาเป็นโรงพิมพ์ศรีกรุง
ที่พิมพ์ ศรีกรุงรายเดือน และสยามราษฏร์ฉบับละ 3 สตางค์
ต่อจากนั้นเจ็ดแปดห้องเป็นร้านเสริมสวยร้านแรกในประเทศเป็นของสาวสวยชื่อ ประพี



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.ย. 12, 11:45
อ้างจากข้อความในความเห็นที่ ๖๘

ต่อจากทางเข้าสนามนํ้าจืดเป็นตึกแถวสี่ห้าห้องถึงมุมที่เป็นถนนทหารบกทหารเรือ(หลังวังบูรพา)

(ห้องตรงกลางตึก คือร้านกาแฟ ออน ล๊อก หยุ่น ... ยังหาโอกาสไปนั่งทานกาแฟโบราณไม่ได้เลย สองห้องสุดท้ายเป็นร้านขายยา

ร้านปืนเพ็ญจันทร์ เมื่อก่อนเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ชื่อร้านมิตรโภชนา ปัจจุบันร้านนี้ไปอยู่ที่ท่าพระจันทร์ ตามคำบอกเล่าของลุงแว่น แห่งห้องไร้สังกัด พันทิป)




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.ย. 12, 11:51
อ้างถึงข้อความในความเห็นที่ ๖๘

สุดตึกที่มุมถนนมหาไชยเป็นห้างขายยาหมอเหล็ง (อาคารศรีจันทร์)

ปัจจุบันคือร้านขายอะไหล่เครื่องอิเลคทรอนิคส์ ชื่อร้าน บริษัทจเรจำกัด




กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.ย. 12, 12:03
อ้างจากความเห็นที่ ๖๘

ส่วนบ้านริมถนนของใครบ้างไม่รู้ มีห้องหนึ่งเป็นของหมอทาเคดาหมอหนุ่มชาวญี่ปุ่น ต่อมาหมอย้ายออกไป  
ห้องกลายเป็นร้านหนังสือกรุงเทพบรรณาคาร สมัยสงครามโลกครั้งที่สองร้านนี้โดนระเบิดลง

ปัจจุบันคือร้านหนังสือ นิพนธ์



กระทู้: จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.ย. 12, 12:15
อ้างถึงความเห็นที่ ๖๘

ช่วงประมาณกลางตึกแถวนี้มีตรอกชื่อ ตรอกพระยาวิสูตร์ ในตรอกมีบ้านหลายหลัง
หลังหนึ่งคือ พระวรเวทย์พิสิฐ (ซึ่งเป็นพ่อของ ดร.วิทย์ ศิวะศริยานนท์)

ตรงนี้ท่านขุนวิจิตรฯ จำผิดครับ ตรอกที่ท่านอ้างถึงนี้คือตรอกภาณุมาศ(ซอยเจริญกรุง ๒) ส่วนตรอกพระยาวิสูตร์อยู่ฝั่งตรงข้ามของถนนเจริญกรุง (ซอยเจริญกรุง ๑)

ชุมชนในซอยนี้ถูกลูกหลงจากระเบิดคราวเดียวกับที่สัมพันธมิตรมาทิ้งลงที่โรงไฟฟ้าวัดเลียบรวมไปถึงโรงเรียนเพาะช่างด้วย (ข้อมูลจากคุณพี่สมชัยครับ)