เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เฟื่องแก้ว ที่ 31 ม.ค. 06, 18:11



กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 31 ม.ค. 06, 18:11
 สวัสดีค่ะ สมาชิกใหม่รายงานตัว และจะขอความช่วยเหลือด่วนค่ะ
จะต้องเขียนข่าวเรื่อง Convention for the Safeguarding ntangible Cultural Heritage เป็นภาษาไทย
แต่ไม่ทราบจะแปล the Intangible Cultural Heritage ว่าอย่างไรดี
ไม่ทราบว่า อนุสัญญานี้ มีการแปลเป็นทางการอย่างไรคะ

ขอความกรุณาด้วยค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 01 ก.พ. 06, 00:34
 ลองสืบค้นดูสิคะ มีคนชงคำถาม mirror image และมีคนตอบเสร็จแล้ว You can just open can and drink.

(ยูเนสโก) และรัฐบาลประเทศตุรกีได้จัดการประชุมโต๊ะกลมของรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมครั้งที่ 3 เรื่อง
The Intangible Cultural Heritage : A Mirror of Cultural Diversity” ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน พ.ศ 2545
ณ เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี...


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 01 ก.พ. 06, 10:18
 สวัสดีครับ สมาชิกเก่า (มาก) รายงานตัวด้วยครับ หายไปนานหน่อย

ผมเช็คกับกรมสนธิสัญญาและกฏหมาย กระทรวงการต่างประเทศแล้ว เขายืนยันว่าไทยเรายังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่ว่านี่ จึงเลยยังไม่มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยเก็บไว้ที่กระทรวงการต่างประเทศ (บรรดาอนุสัญญา สนธิสัญญา กติกาสัญญา และสัญญา/กรรมสารระหว่างประเทศอื่นๆ ที่ไทยเซ็นแล้วทั้งหมดเก็บไว้ที่นั่นครับ ใครสนใจเรื่องอื่นๆ ที่เราเป็นภาคีแล้วก็ค้นได้ที่ www.mfa.go.th คลิกตรงหน้าภาษาไทยหน้าแรก ทางซ้ายของจอ จะมีแถบหลายๆ แถบ แถบหนึ่งเรียกว่า คลีนิกกฏหมายระหว่างประเทศ/ค้นหาสนธิสัญญาระหว่างประเทศ คลิกเข้าไปจะเจอเซิร์จเอนจิ้น ค้นได้ครับ แต่เฉพาะฉบับนี้ไม่มี ผมค้นไม่เจอครับ เลยต้องถามเขา ก็ได้ความว่าไม่มีจริงๆ)

ลองเช็คอีกทีกับเว็บไซต์ของยูเนสโก ก็ได้ความตรงกันว่าไทยยังไม่ได้เซ็นจริงๆ

เอ้า - ลองแปลดู แต่เป็นการแปลโดย "อัตโนมติ" คือความเห็นส่วนตัว ของนิลกังขานะครับ ไม่ใช่การแปลทางการ ("อัตโนมัติ" ที่จริงศัพท์เดิมแปลว่ามติส่วนตัว ความเห็นส่วนตัว แต่ที่กลายมาใช้สำหรับแปลคำว่าออโตเมติก หรือสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองนั้น เป็นการใช้ภายหลัง)

ตามอัตโนมติของข้าพเจ้า ขอแปลว่า "มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นนามธรรม" หรือ" มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องมิได้" ครับ

ขอเชิญเจ้าของกระทู้ พิจารณาเอาตามชอบใจเองเทอญ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 01 ก.พ. 06, 10:28
 Intangible cultural heritage ใช้ภาษาไทยว่าอย่างไรคะ
สวัสดีค่ะ ขอสอบถาม ขอความกรุณาผู้รู้ด้วยนะคะ
คำว่า Intangible cultural heritage ใช้ศัพท์ในภาษาไทยว่าอย่างไร
(แปลเองได้อย่างเดียวว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (นามธรรม) เท่านั้นค่ะ)
กำลังเขียนรายงานอยู่ อยากได้คำที่เป็นศัพท์ทางการ
คิดว่าน่าจะฟังเข้าท่ากว่าที่แปลออกมาเอง มันเยิ่นเย้อด้วย
ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

จากคุณ : *ProuD*   - [ 18 ม.ค. 49 21:49:07 ]


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 01 ก.พ. 06, 10:43
 สงสัยว่าจะไม่มีคำที่ไม่เยิ่นเย้อน่ะสิ คุณ ProuD  เพราะมันแปลว่ายังงั้นจริงๆ

จะแปลคำว่า "ที่จับต้องไม่ได้" Intangible เป็นรูปศัพท์บาลีสันสกฤตคำเดียว ก็คงทำได้หรอก แต่ผมไม่แน่ใจว่าแปลยังงั้นแล้ว คนไทยจะรู้เรื่อง เพราะเป็นภาษาแขก

อย่างศัพท์กฎหมาย มีคำว่า สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้ (คือที่ดิน) วิญญาณกทรัพย์ ทรัพย์ที่มีวิญญาณ คือเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น ช้างม้าวัวควาย ฯลฯ (สมัยก่อนคงนับรวมทาสที่เป็นมนุษย์ด้วย) อวิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่มีชีวิตไม่มีวิญญาณ เช่น เงินทอง (แต่มีอำนาจครอบงำวิญญาณคนได้????)

ถ้าเราจะผูกศัพท์ขึ้นมา ให้แปลว่า ที่จับต้องไม่ได้ ก็คงจะได้หรอก คงเป็น อ... อะไรสักอย่างหนึ่ง

ลองยังงี้ไหม มรดกนามธรรมทางวัฒนธรรม ?


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 01 ก.พ. 06, 11:15
 มรดกวัฒนธรรมอรูปนัย?

คือไม่มีรูป จับไม่ได้

(บอกแล้ว ว่าถ้าใช้ภาษาแขกก็ต้องอธิบายต่อยังงี้แหละ)


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 01 ก.พ. 06, 11:25
 ไม่ใช่เห็นไม่เด่นชัดครับ (ล้อเล่นหรือเปล่า อิอิ)

ผมให้คำ "มรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดทางภูมิปัญญา" หรืออันที่จริงก็คือ "ภูมิปัญญา" นั่นแหละครับ

เพราะตาม ครอบความคิด ของเรื่องนี้ เค้าจะพูดถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (โบราณวัตถุ โบราณสถาน งานศิลปะ อะไรก็ตามที่เป็นรูปธรรม) กับ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (ภูมิปัญญา หลักปรัชญา ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ)

จากคุณ : Dies Dominicus (Hotacunus)  - [ 22 ม.ค. 49 09:07:57 ]


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 01 ก.พ. 06, 11:32
 "ภูมิปัญญา" ครอบคลุมไม่หมดง่ะ

เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็นส่วนสำคัญด้วย แต่มิใช่ทั้งหมด

ป.ล. โดยยังไม่ได้อ่านตัวอนุสัญญานี้ ผมชักสงสัยว่า แล้วเขาจะ safeguard มัน (ภูมิปัญญา + มรดกทางวัฒนธรรมไร้รูป เอ๊ย อรูปนัยอื่นๆ) ยังไงกันหว่า?


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 01 ก.พ. 06, 14:35
 ใครเคยอ่านหนังสือจีนกำลังภายในมั่งครับ

มีคำอยู่ชุดหนึ่ง คู่กันสองคำ คือ "ไร้สภาพ" กับ "มีสภาพ" (หรือ "วัตถุมีสภาพ") ซึ่งผมคิดว่าเขาตั้งใจใช้แปล Intangible และTangible นี่แหละ

ตัวอย่างเช่น พระเอกจอมยุทธเกร็งกำลังภายในเร่งเร้าลมปราณถึงสิบส่วน จนเสื้อโป่งพองออกดุจวัตถุมีสภาพ... หรือ กำลังภายในกล้าแข็งปะทะอาวุธลับกระเด็นไปดังปะทะกับกำแพงมีสภาพ... ฯลฯ

ถ้า ไร้สภาพ แปลว่าไม่มีรูปที่จับได้ เราจะแปลคำว่า intangible cultural heritage เป็น "มรดกทางวัฒนธรรมไร้สภาพ" ได้มั้ย?

...



... แต่นึกอีกที่อย่าดีกว่าครับ เดียวจะกลายเป็น มรดกทางวัฒนธรรม "หมดสภาพ" เสียก็จะยุ่ง  - !


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 06, 15:16
 นึกแล้วว่าถ้าคุณ นกข.กลับเข้ามา กระทู้จะคึกคัก เพิ่มค.ห.พ.ต. ทันตาเห็น

ดิฉันไม่ทราบว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์ Intangible เป็นภาษาไทยว่าอะไร  
แปลเองว่า
"จับต้องไม่ได้" คือสัมผัสไม่ได้
อ+ ผัสสะ  เป็นไงคะ

มรดกทางวัฒนธรรมอผัสสะ?
อผัสสะมรดกทางวัฒนธรรม
หรือ
มรดกทางอผัสสะวัฒนธรรม


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 01 ก.พ. 06, 18:58
 ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือนะคะ

คุณนุชนาคะ ใช่ค่ะ ดิฉันเคยไปตั้งกระทู้ไว้ในห้องสมุดของพันทิพมาก่อน
เพราะพยายามสมัครสมาชิกของวิชาการไม่ได้
แต่ตอนนั้น ต้องส่งงานด่วน จึงไม่ได้เข้าไปอ่านคำตอบอื่นๆ อีก
โดยเขียนเพียงแค่ "มรดกทางวัฒนธรรม" เท่านั้น
กำกับภาษาอังกฤษในวงเล็บอีกครั้งเท่านั้น

ขอบคุณคุณนิลกังขาและคุณเทาชมพูอย่างมากด้วยค่ะ
(ดิฉันแอบเป็นแฟนติดตามอ่านบทความคุณเทา-ชมพูมานาน
เลยอยากเข้ามาเป็นสมาชิกน่ะค่ะ)

พยายามค้นหาดูแล้วนะคะ สำหรับอนุสัญญาดังกล่าว
ทั้งกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรมก็ยังไม่มีใครบัญญัติศัพท์เป็นทางการ
อย่างอนุสัญญาอีกฉบับเว่าด้วยการอนุรักษ์และส่งเสริม Diversity of Cultural
ทางสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติใช้คำว่า พหุวัฒนธรรม  
(แทนความหลากหลายทางวัฒนธรรม)
มีคนแย้งว่า แปลได้ไม่ตรงความหมายนัก
ไม่ทราบว่า มีความเห็นเป็นอย่างไรคะ

ดิฉันก็กลุ้มใจจังนะคะ แต่อ่าน ๆ คหพต. หลายๆ ข้อก็ชอบใจค่ะ

อย่างตัวเองเคยคิดออกมาแนวๆ นี้ มรดกทางวัตนธรรมทางจิดใจ
อรูปวัฒนธรรม (อรูปนัย เพราะกว่านะคะ)
วัฒนธรรมทางภูมืปัญญา  (อันนี้ คิดเหมือนกันว่า ภูมิปัญญาก็กว้างไป
ไม่เจาะจงว่ามัน จับต้องไม่ได้)

อผัสสะวัฒนธรรมก็เข้าท่าดีนะคะ ตรงตัวมากๆ

แล้วก็อดขำกิ๊กไม่ได้เลยค่ะ ตอนอ่านถึง ไร้สภาพ อิอิ
แอบขำเล็กน้อย เพราะนึกไพล่ไปถึงคำว่า หมดสภาพ น่ะค่ะ

ฮ่าๆ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

กำลังเรียบเรียงข่าวเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ฮืออออออ
เขียนว่า มรดกทางวัฒนธรรมไร้สภาพ ถ้าจะดีนะคะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 02 ก.พ. 06, 02:13
 ผมก็ยังคงเห็นว่า Intangible Culture ก็คือ "ภูมิปัญญา" ครับ

การแปลบางครั้งจะเลือกคำตรงๆ กับภาษาอังกฤษไม่ได้ครับ มันต้องเป็นคำที่สื่อกับเนื้อหาด้วย (นี่คือเอกลักษณ์อีกประการของภาษาไทย อิอิ) ซึ่งบางครั้งจะแปลตรงๆ จากคำภาษาอังกฤษไม่ได้ เพราะถ้าแปลแล้ว ก็ต้องมานั่งแปลไทย (แขก) เป็นไทย อีกทีหนึ่ง

อย่างคำว่า safeguarding ผมจะแปลว่า "การธำรงไว้ซึ่ง"

ทำไมผมยังคงแปลว่า "ภูมิปัญญา" ลองอ่านบทความนี้ดูครับ

Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 29 September - 17 October 2003 Paris, 32nd Session.

การประชุมเรื่องการธำรงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดทางภูมิปัญญา

Cultural preservation has long been dominated by the concern of restoring and safeguarding tangible forms of cultural expressions. Vast monuments like the temple of Borobudur and other works of art, as paintings and sculptures are due to their scale and beauty generally perceived as genius expressions of human creativity as well as impressive technical achievements of those who created them. Thus there has been a widespread concern among all peoples over the world to safeguard and preserve these works of art belonging to the visible heritage of humanity.

Not visible, intangible cultural heritage has until recently received less attention. Yet, UNESCO responded to warnings of researchers and anthropologists, saying that intangible cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples are due to their means of transmission and their ephemeral character fragile to deconstruction. Among the actions of UNESCO was the recently formulated Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.

As it is also stated in the convention, the vehicle of intangible cultural heritage such as oral tradition and literature is language. Thus, the safeguarding and preserving of languages is an important factor in the process of safeguarding intangible cultural heritage. Although intangible cultural heritage is part of every people`s cultural heritage, that at greatest risk of disappearance is the cultural heritage of minority people. Due to their small scale and number, their little political influence minority people often face difficulties to voice and enforce their demands. A large gap between local and national cultures often resulting in a persistent image of minority people as "technically and economically backward" among the majority groups has lead to a certain blindness of countries concerning the importance of safeguarding those treasures. Yet the issue of safeguarding the traditional culture of ethnic minorities has been taken into consideration in several countries and thus reflects the demand and wish of keeping those treasures lively and vivid.

-----------------------------------------

ขอยกประโยคสำคัญมาแล้วกันครับ
Yet, UNESCO responded to warnings of researchers and anthropologists, saying that intangible cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples are due to their means of transmission and their ephemeral character fragile to deconstruction.

จะเห็นได้ว่า Intangible Cultural Heritage ก็คือ วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม เช่น นิทานที่เล่ากันปากต่อปาก วรรณกรรม การแสดง ดนตรี เป็นต้น ซึ่งจะเน้นหนักไปยังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

พูดง่ายๆ นะครับ สิ่งเหล่านี้ก็คือ "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" นั่นเอง ซึ่งผมมองว่า คำว่า ภูมิปัญญา ก็ครอบคลุมทุกประเด็นที่เป็นผลผลิตทางปัญญาของมนุษย์อยู่แล้วครับ

ถ้าท่านใดมีคำที่น่าสนใจอื่นๆ ก็ยินดีแลกเปลี่ยนครับ (หรือ เหตุผลที่ชัดเจนว่า คำว่าภูมิปัญญา ไม่ครอบคลุม Intangible Culture Heritage ก็ยินดีครับ)


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 02 ก.พ. 06, 09:06
อ่านบทความภาษาฝรั่งและความเห็นประกอบของคุณ Hotaconus แล้ว เลยต้องขอยกมือเห็นแย้งครับ แต่คราวนี้แย้งไปสุดอีกข้างหนึ่ง (ซึ่งเป็นการแย้งตัวผมเองใน คห. ก่อนหน้านี้ด้วย)

ถ้า ภูมิปัญญา หมายรวมถึงทุกอย่างที่เป็นผลผลิตจากปัญญาของมนุษย์แล้ว คราวนี้ผมไม่ยักคิดว่าภูมิปัญญาไม่ครอบคลุมไอ้เจ้า ICH นี้แล้วแหละ แต่กลับคิดว่าถ้าใช้ในความหมายนี้ คำว่าภูมิปัญญาจะครอบคลุมมากเกินไป คือคลุมอย่างอื่นที่ไม่ใช่ ICH ด้วย คลุมรวมไปถึง TCH ด้วยไหม เช่น ปิรามิดทั้งอันนั่น มันจับต้องได้แน่ๆ และจะว่ามันมาจากภูมิปัญญาของมนุษย์ก็ได้เหมือนกัน  หรือถ้ามันใหญ่ไป เครื่องจักสานอันหนึ่งก็เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และมาจากภูมิปัญญามนุษย์อีก (แต่วิธีการจักสานจับต้องไม่ได้) ...เอ พูดเองก็ชักงงเองแฮะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.พ. 06, 09:39
 ภูมิปัญญา = พื้นความรู้ความสามารถ    
(เป็นคำนามที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นนามชนิดไหน จับต้องได้หรือเปล่า)
เอามาจากพจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ พ.ศ. 2542  เล่มหนัก 6 กิโลเล่มนั้นละค่ะ

ถ้าจะมองว่า ภูมิปัญญา ก่อให้เกิด ผลผลิตทางปัญญา  อย่างแรกก็เป็น intangible อย่างหลังเป็น tangible

คุณนกข. มี "ภูมิปัญญา " ทางภาษาที่สั่งสมกันมาตั้งแต่เรียนประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ฯลฯ ทำให้คุณสร้าง " ผลผลิตทางปัญญา" เป็นงานแปลชิ้นหนึ่งขึ้นมาได้

เราจับต้องไม่ได้ว่าภูมิปัญญาของคุณนกข.หน้าตาเป็นยังไง ขนาดเท่าใด หนักเท่าใด   แต่เรารู้ว่า "ผลผลิตทางปัญญา" ที่เป็นงานแปลของคุณ หน้าตาเป็นยังงี้ๆ ชื่อยังงี้  
จับต้องได้ เห็นได้ อ่านได้ แล้วก็สนุกได้ด้วย

อยากให้คุณจขกท. ทำงานแปลชิ้นนี้เสร็จเร็วๆ ส่งให้นายพิจารณา  เพื่อจะดูว่าท่านตอบลงมาว่ากระไร กับคำที่แปลส่งขึ้นไป


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 02 ก.พ. 06, 10:03
 เออ... อ่าน ๆ แล้วผมว่าเรากำลังจะเข้าไปถกปัญหาทางด้าน epistemology กับปัญหาว่าด้วยว่า โลก ของเรา เป็น phenomenal หรือ noumenal กันแน่

ถ้าเถียงกันอย่างนี้ โลกแตก หรือ ไม่ก็ เอเลี่ยนบุกกันพอดีมั้งครับ

แต่ผมขอแสดงความเห็นว่า อผัสสะวัฒนธรรม น่าสนใจทีเดียวครับ

แต่ผมก็ขอเสนอข้อสงสัยครับว่า วัฒนธรรมไม่สามารถจับต้องได้ เป็นการ imply ว่า วัฒนธรรมต้องมีการผลิตสิ่งของที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่า วัตถุ สิ่งของ หรือ ความเชื่อต่าง ๆ ขึ้นมาหรือเปล่าครับ (วัฒนธรรมที่จับต้องได้) และสำหรับวัฒนธรรมไม่สามารถจับต้องได้ เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด เพราะถ้าหากเป็นเพราะมันเป็นสิ่งที่เราเองก็ไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไร รูปร่างอย่างไร แล้วเราจะจับต้องมันได้อย่างไร? เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว แม้ว่าเราได้ เห็น ได้ จับ ได้ สัมผัส แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรครับ??? เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะอนุมานว่ามี "วัฒนธรรม" ที่ไม่สามารถเอ่ยนาม กล่าวถึง หรือ ล่วงรู้ได้ (อะ+นาม+วัฒนธรรม? ไม่แน่ใจว่าจะเรียกอะไรดี) หรือไม่?

เวียนหัว...


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.พ. 06, 10:23
 ในที่สุด คุณ Peking Man ก็ก้าวเข้ามาใน"โลกแตกคลับ"  จะด้วยจงใจหรือเผลอก็ตาม

คุยกันเพื่อแตกกิ่งก้านสาขาความคิดไปเรื่อยๆ  เพิ่มรอยหยักให้สมอง  
โดยไม่ต้องมาตั้งหน้าตั้งตาหาคำตอบหนึ่งเดียว ให้จงได้
ก็เป็นความบันเทิงอย่างหนึ่งของนักวิชาการนะคะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 02 ก.พ. 06, 23:49
 http://unesdoc.unesco.org/images/0013/001325/132540e.pdf  

Above is the report from UNESCO in regard to this convention, it has the definition of words which we have been discussing about

Article 2 – Definitions
For the purposes of this Convention,

1. The “intangible cultural heritage” means the practices, representations, expressions,
knowledge, skills – as well as the instruments, objects, artefacts and cultural spaces associated
therewith – that communities, groups and, in some cases, individuals recognize as part of their
cultural heritage. This intangible cultural heritage, transmitted from generation to generation,
is constantly recreated by communities and groups in response to their environment, their
interaction with nature and their history, and provides them with a sense of identity and
continuity, thus promoting respect for cultural diversity and human creativity.

For the purposes of this Convention, consideration will be given solely to such intangible cultural
heritage as is compatible with existing international human rights instruments, as well as with
the requirements of mutual respect among communities, groups and individuals, and of
sustainable development.

2. The “intangible cultural heritage”, as defined in paragraph 1 above, is manifested inter
alia in the following domains:
(a) oral traditions and expressions, including language as a vehicle of the intangible
cultural heritage;
(b) performing arts;
(c) social practices, rituals and festive events;
(d) knowledge and practices concerning nature and the universe;
(e) traditional craftsmanship.

3. “Safeguarding” means measures aimed at ensuring the viability of the intangible
cultural heritage, including the identification, documentation, research, preservation,
protection, promotion, enhancement, transmission, particularly through formal and nonformal
education, as well as the revitalization of the various aspects of such heritage.


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 03 ก.พ. 06, 01:21
 สวัสดีค่ะ ขอบคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง นะคะ น่าสนใจจริงๆ

จะมาแจ้งว่า...
ส่งงานไปแล้ว...ดิฉันอับจนหนทางจริงๆค่ะ จึงใช้คำว่า...

".....อนุสัญญาฉบับนี้ ทำให้กระบวนการกำหนดกรอบมาตรการ
ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม(รูปธรรม) ขององค์การยูเนสโกสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
และมีเป้าหมายในการอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ ที่แสดงออกในรูปของการร้อง ขับลำนำ หรือ อ่าน
(รวมทั้งภาษา ซึ่งเปรียบได้กับสื่อกลางของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้)
ศิลปะการแสดง ธรรมเนียม ปฎิบัติทางสังคม พิธีกรรม เทศกาลรื่นเริงต่าง ๆ ..."

(อีตอนแปลคำว่า oral traditions and expressions นี่ ดิฉันเหงื่อตกเลยค่ะ)

ส่วนหัวข้อ ดิฉันใช้ทับศัพท์ไปเลยค่ะ
เจ้านายดิฉันก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเขาบัญญัติศัพท์สำหรับอนุสัญญาฉบับนี้หรือยัง
ท่านเห็นดิฉันเขียนสำเนาแรกเพียงแค่ มรดกทางวัฒนธรรม
ท่านก็ให้หาคำที่แปลว่า จับต้องไม่ได้
ดิฉันเลยต้องหันหน้ามาพึ่งผู้รู้ในวิชาการ ฯ นี่แหละค่ะ แหะๆ

จริงๆ ดิฉันก็ทำอย่างคุณนิลกังขานะคะ คือถามกระทรวงการต่างประเทศ
และเช็คกับเว็บไซต์ของกว. ก็ไม่เจอ
ตอนที่มาตั้งกระทู้สอบถามนี่ จนปัญญาจริงๆค่ะ
คือ ใจอยากจะได้คำศัพท์ที่เป็นทางการ
ตัวอย่างเช่นคำว่า สิทธิมนุษยชน สำหรับคำว่า -Human Rights - ที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
(ตอนนี้ ยูเนสโกกำลังพยายามนิยามความหมายของ Human Security อีกแล้ว
อีกเดี๋ยวคงได้มาถามอีกค่ะ ไม่ทราบว่า มีศัพท์บัญญัติออกมา
นอกเหนือจาก ความมั่นคงของมนุษย์ หรือเปล่าน๊า)

แต่หากไม่มีผู้ใดทราบก็คิดว่า ยังไม่มีศัพท์บัญญัติของคำนี้ จริงๆ
เจ้านายก็ยอมรับได้ค่ะ ใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์ทับเสียงไปก่อนแล้วกัน
(ดิฉันมีปัญหาเรื่องการแปลงานวิชาการค่ะ มันจะติดไปข้างบันเทิงซะเรื่อย)
อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น
หลากหลายแง่มุมอันเป็นประโยชน์นะคะ

((ส่งงานไปแล้วแต่ยังอภิปรายกันได้ต่อนะคะ จะกลับมาอ่านค่ะ
แล้วก็คงจะมีปัญหากวนใจมาถามเรื่อยๆ นะคะ หวังว่าคงจะให้ความกรุณาได้
ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ))


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 03 ก.พ. 06, 02:23
 From above, including the source of knowledge from Khun Hotaconus.....I have an idea expressed in the followings,

I think "Intangible cultural heritage" cannot be defined base on it original word "Tangible cultural heritage" by saying it is opposite to one another because of prefix "in" .......

Imagine if you say that "Tangible Cultural Heritage" means possibly touchable, understandable, realizable, and material able cultural heritage….then you will say that “Intangible Cultural Heritage” is untouchable, unrealizable, immaterial able cultural heritage……It might not represent the true meaning.

2 keywords that I have found from Khun Hotaconus’s information including mine are

(1)   “Visible heritage of humanity” which are vast monuments, like the temple of Borobudur and other works of art, as paintings and sculptures. Because they are large in term of scale as well as being concern widespread all peoples over the world……these call as tangible forms of cultural expressions or “Tangible cultural Heritage” ……….while not visible, intangible cultural heritage is referred to the cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples.

Therefore, it would be very difficult to agree if you say that “Intangible Cultural Heritage” is อผัสสะวัฒนธรรม or มรดกวัฒนธรรมอรูปนัย, or มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ since literature, visual arts or music in minority group of people are touchable or จับต้องได้.

However, why intangible cultural heritage is considering as non-visible cultural expression….because it just transfers and circulates among a small group of people, or locally exists…… which doesn’t know or see among people worldwide.  

(2)   From the definition I gave you above (from UNESCO), you can see that they refered Intangible cultural heritage as practices, representations, expressions, knowledge, skills – as well as the instruments, objects, artefacts and cultural spaces associated therewith – that communities, groups and, in some cases, individuals recognize as part of their cultural heritage

If you say “Intangible cultural heritage is มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้….how do you explain instruments and objects in the definition…..They are touchable, aren’t they? ….

The better way to think about the definition is another keyword hidden among this group of sentences…. it is  “Communities and groups” or other word “Minority”.  This word has made a huge impact to the definition of “Intangible Cultural Heritage” in which I can interpret that “Intangible Cultural Heritage” is the practices, representations, expressions, knowledge, skills happened and being continued among minority people. This cultural heritage is invisible in term of being hidden under the vast majority of people over the word.

Consequently, I agree to Khun Hotaconus that “Intangible Cultural Heritage” should, at least in this moment, refers to “ภูมิปัญญาท้องถิ่น"

Regards

Andreas


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 06, 07:32
 ไม่อยากให้คุณเฟื่องแก้วเหงื่อตกมากกว่านี้เลย  แต่ว่าสะดุดใจคำว่า
"การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม(รูปธรรม)"

รูปธรรม   หมายถึงสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5  คือเห็นได้ ได้กลิ่น ได้ยิน ชิมได้ สัมผัสได้
คือเป็นสิ่งที่ concrete  
Of or relating to an actual, specific thing or instance; particular: had the concrete evidence needed to convict.
Existing in reality or in real experience; perceptible by the senses; real: concrete objects such as trees

ตรงกันข้ามกับ นามธรรม  abstract    
abstract noun ก็อย่างคำที่ขึ้นต้นด้วย ความ- ทั้งหลาย เช่นความดี ความงาม ความรัก

คุณแปล intangible ว่า รูปธรรม  มันก็ตรงข้ามกับความหมายซึ่งเป็นสิ่งที่สัมผัสไม่ได้น่ะซีคะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 03 ก.พ. 06, 10:11
 ภาคภาษาไทยมาแล้วครับ.....นึกอยากให้คอมพ์ที่ที่ทำงานพิมพ์ภาษาไทยได้จังเลยครับ...จะได้ไม่ต้องมาพิมพ์สองครั้ง...เฮ้อ...

สรุปว่าวันนี้นั่งอ่านบทความที่ว่าด้วยเรื่อง Intangible Cultural Heritage มาซักสองสามอัน รวมถึงที่ผมและคุณ Hotaconus เอามาโพสต์ด้วยครับ

อ่านไปอ่านมา...ก็อย่างที่บอกในภาคภาษาอังกฤษครับ....ว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับคำว่า สัมผัสได้ หรือ สัมผัสไม่ได้หรอกครับ มันเกี่ยวกับเรื่องการกระจายตัวของวัฒนธรรมนั้นมากกว่าครับว่าจะกระจายตัวให้คนรับรู้ในวงกว้างได้ขนาดไหน ถ้ากว้างมากระดับชาติหรือนานาชาติ ก็เรียกว่า Tangible Cultural Heritage

นิยามมันจึงอยู่ที่ว่า Intangible Cultural Heritage คือ มรดกทางวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย .....(ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นชาวเขาเสมอไป) เป็นมรดกทางปัญญา การสื่อสาร ศิลปะ การแสดง ดนตรี และความชำนาญ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งของต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาในกลุ่มคนกลุ่มๆเล็กๆ หรือรายบุคคล ที่ง่ายต่อการถูกกลืนหายไปในโลกปัจจุบัน (ย้อนขึ้นไปอ่านนิยามที่ผมคัดลอกมาจากเอกสารรายงานการประชุมได้ครับ)

ทิ้งไว้แค่นี้ก่อนครับ...รอท่านที่อ่านนิยามที่ผมเอามาให้แล้ว.....แล้วมาอภิปรายกันใหม่ครับ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 06, 10:40
 ย้อนกลับขึ้นไปอ่านอีกครั้ง  
ถ้าเป็นอย่างที่คุณ Andreas ว่า    ก็แปลผิดกันระเนนระนาดน่ะซิคะ
กลายเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของสิ่งที่ถูกมองข้ามไป ไม่ค่อยเห็นกัน เช่นวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย  หรือวัฒนธรรมเล็กๆน้อยๆในสังคมใดสังคมหนึ่งที่ไม่ได้กว้างขวางออกสู่สายตาประชาโลก    ทำให้ง่ายต่อการถูกกลืนหายไปในสังคมใหญ่
โดยเฉพาะในระบบโลกาภิวัตน์ที่"ส่วนเล็ก" จะถูกปรับให้เป็นส่วนประกอบของ "ส่วนใหญ่"

คุณเฟื่องแก้วคงต้องดึงเอกสารกลับมาลบคำผิด แก้ใหม่เสียแล้วละมั้ง


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 03 ก.พ. 06, 11:18
 Oh sweet! (Please do excuse my many grammatical mistakes, however I feel that I would be able to express myself better if I were able to use English as medium for communication. Again, I apologise for my inconsiderate manner.)



Dear khun Andreas,



Thank you for taking the trouble to find for us the document in question (why didn't I think of that...mental note to self, be more thoughtful ).



With the document clearly stating the definition of the term "intangible cultural heritage" our task is then undeniably much easier. And according to the document, I am also wavered to lean toward the idea that in this particular context, the term "intangible cultural heritage" should be translated into thai as "ภูมิปัญญา" which stands well to encompass the multi facetted nature of the term which includes all aspects of human life.



Taking what I have said above into account, then khun Andreas comment



"If you say “Intangible cultural heritage is มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้….how do you explain instruments and objects in the definition…..They are touchable, aren’t they? "



would come as natural  



However, upon being more stringent with my judgement,I  find that khun Andreas's argument to be also somewhat problemmatic.



Khun Andreas's attempt to capture the essence and meaning of the term "intangible" does also raise some interesting points.





First of all, simple negation is definitely not sufficient to refute or assert claims, explanation, or otherwise. However, most of the point that khun Andreas attacks are those which have been made before we were able to read what the UN convention stipulates, hence khun Andreas attacks upon comments made before her should be rendered null and void.    



Secondly, from this passage extracted from above



"tangible forms of cultural expressions or “Tangible cultural Heritage” ……….while not visible, intangible cultural heritage is referred to the cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples"



is there not a big cross section of "tangible" and "intangible" cultural heritage that are intertwined and coexists with one another? should it then be conceptualised as a complimentary set of cultures, where there are several layers which while all having thickness varies and changes in time, and that the term "tangible" and "intangible" are similar to those of "phenomenal and noumenal", or otherwise?



Thirdly, khun Andreas have brought into play the role of minority group which is in a sense "invisible" (whether through ignorance or other wise) of which while meeting a requirement of being "intangible" - not a lot of people identify with it or understand it, does however possess other attributes which belongs to those that are "tangible".



Therefore, in conclusion... there is no conclusion that could satisfy everyone but there are more and more questions to answer.



Is this the fate of man, or as Laozi once said warning us that nothing is permanent and that no greater diaster could you begotten than that of getting what you want and no worse faults could you commit than not knowing the word "enough".


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 03 ก.พ. 06, 12:18
 สวัสดีครับคุณ Peking Man

ผมมีได้มีเจตนาที่จะยกเอาความคิดเห็นก่อนหน้ามาอ้างถึง หลังจากที่เอานิยามที่แท้จริงมาให้อ่านหรอกครับ....เพียงแต่พยายามจะชี้แจงให้เห็นว่า บางครั้งเราแปลตรงๆจากพจนานุกรมมา มันก็อาจทำให้ผิดไปได้ครับ เพราะถ้าเราแปล Tangible แปลว่าสัมผัสได้ แล้วเราแปล Intangible แปลว่าสัมผัสไม่ได้ มันก็จะทำให้ผิดความหมายไปอย่างมากครับ

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเราสัมผัสวัฒนธรรมได้ครับ....เราสัมผัสภาษาจากการอ่านและได้ยิน เราสัมผัสดนตรีจากการฟัง เราสัมผัสภาพศิลป์หรือ visual art ด้วยการมองเห็น เราสัมผัสภูมิปัญญาต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าของเราไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งครับ แต่ผมว่าประเด็นของเรื่องนี้มันไม่ได้อยู่ที่ว่าวัฒนธรรมคือสิ่งที่สัมผัสได้หรือไม่ได้

เพียงแต่ UN เค้าใช้ Tangible แทนวัฒนธรรมที่สัมผัสได้โดยคนหมู่มาก (visible worldwide) และใช้ Intangible แทน วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย (non-visible by vast majority of people)

....ตอบมาอีกที..มันจะช่วยอะไรมั้ยครับนี่..... ขออนุญาตไปนอนหลับ แล้วตื่นมาอ่านสิ่งที่คุณ Peking Man เขียนใหม่ครับ.....ต้องขอออกตัวไว้ก่อนครับ....ผมเป็นนักเคมีอ่ะครับ....ไม่สันทัดศัพท์ทางภาษาศาสตร์ด้วยประการทั้งปวงครับ....ต้องขอโทษล่วงหน้าด้วยครับ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 03 ก.พ. 06, 16:16
 เหงื่อตกสิคะ พิมพ์ผิดค่า ขอบพระคุณที่เตือน
ไอ้ตอนพิมพ์ก็คิดถึงนามธรรม ทำไม๊ ตอนพิมพ์ มันกลายเป็นรูปธรรมไปได้ก็ไม่ทราบ แหะๆ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 03 ก.พ. 06, 17:50
 ....แก้เรียบร้อยแล้วค่ะ ขอบพระคุณมาก คุณเทา-ชมพู
as a wise man said...
No greater diaster could you begotten than that of getting what you want
and no worse faults could you commit than not typing the word "correctly"  

ดิฉันเห็นด้วยกับคุณเทา-ชมพูใน คหพต.ที่ 21

ตามที่ดิฉันอ่านเอกสารอนุสัญญาฉบับดังกล่าว
จุดประสงค์การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เหล่านี้
คือต้องการปกป้องจากการคุกคามของกระแสโลกาภิวัฒน์และวิถีชีวิตร่วมสมัย
เพื่อไม่ให้ถูกกลืนจนสูญหายนั่นเอง

แวะเอาเว็บไซต์ของรายการมรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ มาฝากนะคะ
(มีของประเทศเพื่อนบ้านเราเยอะเชียว แต่ไม่มีมรดกของไทย ฮือ)
ชมดูแล้วเชิญกลับมาอภิปรายกันต่อค่ะ

 http://www.unesco.org/culture/intangible-heritage/

ดูแล้วยังคิดว่า บ้านเรามรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เยอะมาก
ลิเก เพลงกล่อมลูก สวดพระมาลัย ลำตัด หมอลำ ช่างสิบหมู่
การอ่านบทประพันธ์ร้อยกรอง
(ตอนนี้ เด็กนักเรียนเลิกท่องอาขยานแล้ว ไม่ต้องพูดถึงสวดโอ้เอ้วิหารราย
แต่ได้ยินว่า ตอนนี้ ราชินีหมอลำ โปงลางสะออนกำลังดังใหญ่นี่นะคะ)
แต่ไม่มีหน่วยงานใดนำเสนอยูเนสโก เพื่อส่งเสริมมรดกเหล่านี้เลย

เสียดายจริงๆ ค่ะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 03 ก.พ. 06, 18:42
 อาทิตย์ที่ผ่านมาจอคอมของดิฉันเกิดเบลอขึ้นมาเฉยๆค่ะ เลยไม่ได้เข้าไปเพ่งกระทู้ที่
ต้องถกเกียงกันนาน ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์กระทู้นี้ยังไม่จบ วันนี้เลยขอนำความเห็นจากแหล่งต่างๆมาฝาก

ก่อนอื่นต้องถามพวกเราก่อนว่าเห็นด้วยไหมกับไอเดีย  Keep it simple. เหมือนกฎหมายน่ะค่ะ
เขาร่างเป็นข้อชัดๆ แต่ทนายโจทย์และจำเลยก็พยายามแปล กม. มาตราเดียวกัน
ให้เข้าข้างตนเอง ดังนั้นจึงต้องมีผู้พิพากษาเข้ามาเป็นผู้ตีความ กม.

1) แม้ UN จะให้คำจำกัดความไว้แล้ว แต่องค์กรฝรั่งที่ยกมาให้ดู 3 องค์กร ตีความ
คำจำกัดความ อย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมา ว่าจับต้องได้หรือไม่ได้

1.1 Asia/Pacific Cultural Center for UNESCO ซึ่งเป็นแขนขาของ UN ให้คำจำกัดความ
ตรงตัว ตาม ค.ห. เดิมๆ ด้านบน

Intangible cultural heritage (ICH) in its many forms such as music, dance,
craft technique, ritual, and oral traditions, is a valuable gift passed down
from person to person for many generations…..

Unlike tangible cultural heritage, in the forms of historical monuments or
buildings and art objects, it is human bodies and souls which are the medium
for transmitting intangible heritage. Therefore, such heritage is vulnerable and
susceptible to changes
in life styles and values which globalisation brings.

สรุปตามภาษาชาวบ้านที่ดิฉันเข้าใจคือ “อะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆตามยุคสมัย” เช่นวรรณคดี,
ดนตรี, ศิลปการแกะสลัก (craft technique – ย้ำว่า ไม่ใช่ชิ้นงานแกะสลัก) ก็คือ
intangible cultural heritage ดังนั้นภูมิปัญญาชาวบ้าน “the art of making…,
not the physical objects should be considered ICH.”


ส่วนอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน สัมผัสได้ ก็เท่ากับ tangible cultural heritage
 http://www.accu.or.jp/en/culture/cul01.shtml  


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 03 ก.พ. 06, 19:04
 1.2 Wiki Encyclopedia
Intangible culture is the opposite of culture which is tangible or touchable such as a castle,
a statue, musical score, or a painting. Intangible culture includes song, music, drama, skills,
and the other parts of culture that can be recorded but cannot be touched and interacted with,
without a vehicle for the culture. These cultural vehicles are called "Human Treasures" by the UN.
 http://en.wikipedia.org/wiki/Intangible_culture

1.3 Office of the Auditor General of Canada
Protection of Cultural Heritage in the Federal Government
Cultural heritage means the tangible evidence of human experience, such as artifacts, archives,
and printed material, and intangible evidence such as folklore, language, customs, traditions,
and know-how.
 http://www.oag-bvg.gc.ca/domino/reports.nsf/html/20031106ce.html#ch6hd3b

ทั้ง 3 อันที่ยกมายึดหลัก Keep it simple. แต่ยังไม่จบค่ะ พอมีนักวิชาการเข้ามายุ่งเกี่ยวทีไร (แฮะๆ not me!)
จะต้องตีความให้มากเรื่องดังจะโพสต์ให้ดูอีกอันหนึ่งค่ะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 03 ก.พ. 06, 21:31
 2) มุมมองผู้แต่งหนังสือ A Richer Heritage: Historic Preservation in the 21st Century
ขออภัยที่ด่วนตำหนินักวิชาการ จอมอนิเตอร์ใหม่ยังไม่มาค่ะ พออ่านจนท่อนสุดท้ายของหน้า
กลายเป็นว่านักวิชาการก็เห็นด้วยกับ 3 แหล่งด้านบน ซึ่งผู้เขียนยอมรับว่าการแบ่งแยกวัฒนธรรม
ระหว่างอันที่จับต้องได้และไม่ได้เป็นเรื่องชวนปวดขมอง  เขาจึงเพิ่ม grey area สำหรับ
วัฒนธรรมที่ไม่สามารถตัดสินได้ชัดว่าจะอยู่ได้ฝั่งไหนแน่ (ดูรูปประกอบ)

At the level of cultural expressions, one may distinguish between tangible expressions
( a pot, quilt, building) and intangible expressions (a story, riddle, and song).
But still there remain categorical problems: a dance or a meal seem tangible,
yet their form is fleeting, making the performances more than artifacts.
And even the most concrete artifacts gradually change over time……….
…They make cultural expressions, whether intangible or tangible in their original form,
tangible in a new fixed form analogous to their original creative work.


ดูย่อแรกหน้า 442 หรือขยันก็ดูตั้งแต่ 441 ค่ะ

 http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN0807854514&id=4kQyYUzDrHYC&dq=intangible+cultural+heritage&prev=http://books.google.com/books%3Fq%3Dintangible%2Bcultural%2Bheritage&lpg=PA442&pg=PA442&sig=vzm7pLYbihQOAo5WI1BcHVe1TM0  


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.พ. 06, 23:01


 
To be (intangible), or not to be(intangible) :

that is the question:

Whether 'tis nobler in the mind to suffer  

The slings and arrows of cultural heritage,

Or to take arms against a sea of interpretations.  


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 04 ก.พ. 06, 05:20
 This topic has been bothering me for 2 days.... Today I still have time to go and check the information in UNESCO website......after reading and collecting what has been addressed about ICH.....I therefore decided to give you more links in order to take a look as well as come up with a good thai word. I focused only to UNESCO website only since it is the original source of definition........

An official link of UNESCO talking about IHC

 http://portal.unesco.org/culture/en/ev.php-URL_ID=16429&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html

This is another link telling you examples of what are called "Intangible Cultural Heritage" ...It is an information kit.

 http://unesdoc.unesco.org/images/0014/001412/141247E.pdf
 
For Whom do not have time to take a look into these links, I have pasted you an interesting paragraph right here.....

The definition developed for the 2003 Convention also indicates that the intangible cultural heritage that is to be safeguarded by this Convention

is transmitted from generation to generation;

is constantly recreated by communities and groups, in response to their environment, their interaction with nature, and their history;

provides communities and groups with a sense of identity and continuity;

promotes respect for cultural diversity and human creativity;

is compatible with international human rights instruments;

complies with the requirements of mutual respect among communities, and of sustainable development

............

Special focus : Basic concepts and criteria

The intangible cultural heritage (ICH) is traditional
and living at the same time. It is constantly
recreated and mainly transmitted orally.

It is difficult to use the term authentic in relation to
ICH; some experts advise against its use in relation
to living heritage (See the Yamato Declaration).
The depository of this heritage is the human mind,
the human body being the main instrument for its
enactment, or embodiment. The knowledge and
skills are often shared within a community, and
manifestations of ICH, too, often are performed
collectively.

Many elements of the ICH are endangered, due to
effects of globalization, homogenizing policies, and
lack of means, appreciation and understanding
which – taken together – may lead to the erosion of
functions and values of such elements and to lack
of interest among the younger generations.

**************
Finally I still would like to point out that Intangible Cultural Heritage should not be considering as มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ....... It would be better, in my idea, to say Intangible Cultural Heritage is มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น or มรดกทางวัฒนธรรมของชนกลุ่ม or ภูมิปัญญาท้องถิ่น which is mainly transmitted through each generation orally.


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 04 ก.พ. 06, 10:45
 Hmm... I too krup khun Andreas have been thinking about this thing for 2 days now.



While, I haven't really paid attention to the defined and given definition that UNESCO came up with, since it is nonetheless very possible that the meaning of the name might not be at all related to the actual content that it represents. Therefore as an experiment I have chosen to first disregard the terms "intangible" and "tangible" and rather focus my attention on "cultural heritage".



First of all, the culture that produce "cultural heritage" cannot occur in a vacuum that is devoid of human activity i.e. interaction and that it is through this very process of interaction that culture and cultural heritage are produced. Hence we can establish that there is a real and necesary relationship between the two.



Secondly, since culture isn't created by accident and that it is created through repeated and concerted efforts of creation, reproduction, and transmission over a period of time, the key being "creation" "reproduction" through the process of "transmission" indicates that there is "will" and "intent" in these action which suggests the involvement of "cognition" which is best representation that the person perceives that what he is doing is "concrete" "comprehendable" and hence in an abstract sense "material".

 



Thirdly, since Change is inevitable, and that change does not happen in a unified fashion. As a result, cultures produced over time, of which will in time leave behind a cultural heritage is one that is uneven and may or may not be similar in form, content, and meaning imply that to some it might be undetectable, invisible, or unrecognisable, while to others it might be self evident.



From the above three points, I think that it is very appropriate to post a classic question:



"Is the glass half full or is it half empty?"



To some it might seem half full and to others half empty.



Therefore, I think that as long as you provide in the footnote the definition of the term, in this case "ICH" , that is fine.



This raises another point, language as we know it is a tool that has its limits, however at present, it is the most efficient and capable one that we human possess.



While words and language are more exacting and helpful in communicating with a large audience than the uncommunicable facial expressions and feelings. It is precisely the relatively fixed nature of language itself which limits itself to express a particular aspect of knowledge and neglecting others, denying the audience of other rich hidden meanings of the message that had been exchanged.



OH.... the fate of the thinking man... who is conscious of himself, those around him, and the world at large in which he exists.


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 06 ก.พ. 06, 01:11
 ไม่ได้เข้ามาหลายวันตกใจจริงๆ ครับ อิอิ เพิ่มมาตั้ง ๒๐ ความเห็น

ได้รับทราบความเห็นที่เป็นประโยชน์มากเลยครับ ก็ติดตามอ่านอยู่นะครับ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 06 ก.พ. 06, 10:26
 มึนงงอย่างสนุกสนาน หรือ สนุกสนานอย่างมึนงง?

ถ้า Context ของคำเป็นอย่างนั้น ผมก็จำเป็นต้องยอมรับคำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะดูเหมือนว่านั่นเป็นสิ่งที่ผู้กำหนดคำเขาตั้งใจจะหมายถึง

แต่ต้องขอบ่นต่อ ตั้งแต่ต้นเลยว่า แล้วทำมั้ยทำไมอีตา หรืออียายก็ไม่รู้ คนที่คิดคำนี้ขึ้นมาเป็นคนแรก ต้องเลือกที่จะเรียกภูมิปัญญาท้องถิ่นว่า มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ให้มันยุ่งไปเปล่าๆ ด้วยล่ะวุ้ย... ไหงไม่เรียกซะตรงๆ ว่า indigenous wisdom หรืออะไรเทือกๆ นั้นเล่า

ปล. "ความมั่นคงของมนุษย์" ยังเป็นศัพท์บัญญัติสำหรับ Human Security อยู่ครับ ผมยังไม่ได้ขาวว่ามีการกำหนดคำใหม่ มีอรรถาธิบายว่า คือ Freedom from Want // and Freedom from Fear


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 ก.พ. 06, 00:16
 ก็ขอขยายเกี่ยวกับ I.C.H. อีกหน่อยนะครับ คำว่าภูมิปัญญา ก็คือองค์ความรู้ที่สะสมผ่านต่อกันมาหลายรุ่น ซึ่งในประเด็นที่ฝรั่งเลือกใช้คำว่า จับต้องไม่ได้ ก็น่าจะมีนัยหมายถึง "ความคิด และกระบวนการปฏิบัติ" ครับ ส่วน ผลที่เกิดจากความคิด และกระบวนการปฏิบัติก็คือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ซึ่งเป็นรูปธรรม

อันนี้ อธิบายง่ายๆ นะครับ ซึ่งจริงๆ ก็อาจมีประเด็นอะไรอีกมากมายที่ต้องมาใช้ช่วยในการนิยาม  

ส่วน Human Security ผมชอบใช้ว่า "ความสุขกายสบายใจ"

ผมมองว่า บางครั้ง "ผู้ที่มีอำนาจบัญญัติคำศัพท์" มุ่งแต่จะแปลให้ตรงกับคำอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงเนื้อหา และมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่บัญญัติมาก็ใช้ตามครับ เพราะใช้ๆ ไปเดี๋ยวก็ชินเอง อิอิ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 07 ก.พ. 06, 09:16
 ขอยกมือเห็นด้วยกับคุณ Hotacunus สองมือเลยครับ เรื่องที่ผู้มีอำนาจทั้งหลายแหล่ แปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษมาโดยไม่ได้เอาบริบทเข้ามาประกอบคำแปลด้วยครับ......

ส่วนประเด็นที่คุณ Peking Man บอกมา ผมรับทราบครับ....แต่ผมขออนุญาตไม่แสดงความเห็นในเรื่องของตัววัฒนธรรมนะครับ เพราะผมไม่สันทัดในเรื่องนี้เลยครับ ...เนื่องจากคุณเฟื่องแก้ว ต้องการแค่นิยาม ผมก็เลยเอานิยามมาให้อ่านครับ

ถึงผมจะขออนุญาตไม่พูดต่อเรื่องวัฒนธรรม...แต่ก็เข้ามาอ่านเรื่อยๆนะครับ ....


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 06, 09:24
 ถ้าคุณเฟื่องแก้วว่าง เชิญแวะเข้ามาเล่าถึงผลงานการแปลคำนี้บ้าง ว่านายเห็นเป็นไงบ้างคะ
ถ้าหากว่าแปลว่า ภูมิปัญญา อาจจะเข้าใจชัดขึ้น แต่ไม่ทราบว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญท้วงไหมว่า แปลไม่ตรงกับ intangible นี่นะ
ต้องแปลว่า"จับต้องไม่ได้ "ซี

เห็นด้วยมากๆค่ะกับการแปลโดยคำนึงถึงบริบท
เพราะการแปล คือการถ่ายทอดความเข้าใจในวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง
ความหมายตรงตัวตามศัพท์ตามที่บอกไว้ใน dictionary เป็นสิ่งรอง  
ส่วนความสำคัญที่สุดคือ "ถ่ายทอดความเข้าใจ" วัตถุประสงค์ของผู้เขียนเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ออกมาเป็นภาษาของผู้อ่าน
โดยสื่อความหมายได้ใกล้เคียงกับความประสงค์เดิมให้มากที่สุด


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 07 ก.พ. 06, 17:21
 คุณเทาชมพูคะ นายคงยุ่งค่ะ แปลออกมาแล้วก็ส่งกระทรวง ฯ เลย
แต่ตอนแรกดิฉันเขียนทับศัพท์ (อาจารย์ของดิฉันท่านหนึ่ง
ยืนยันหัวชนฝาว่า ตามจริงควรเรียกว่า "คำทับเสียง") ไปแล้ว
ท่านส่งลงมาให้หาคำที่แปลว่า "จับต้องไม่ได้"
ดิฉันเลยเขียนวงเล็บกำกับไว้ว่า "นามธรรม" แทน

จริงๆ คำว่า นามธรรม ก็ยังไม่ใช่เสียทีเดียวนะคะ
เมื่อนำมาใช้ขยายนามคือ คำว่า วัฒนธรรม
เวลาแปล ดิฉันจะค่อนข้างเคร่งครัดในการยึดต้นฉบับเดิมในภาษาผู้เขียน
แต่ไม่แปลทุกตัวอักษร เนื่องจากคนอ่าน อ่านแล้วจะงง
ต้องอาศัยความเข้าใจของตัวเองแล้วถ่ายทอดเป็นภาษาไทยน่ะค่ะ
เท่าที่เห็นเอกสารราชการบางกระทรวง เขาแปลง่ายค่ะ
ใช้คำทับศัพท์ กันแพรวพราวไปทั้งฉบับ
แต่สงสัยดิฉันจะหัวโบราณหน่อยๆ
เลยพยายามจะแปลให้ได้มากที่สุด นอกจากสุดวิสัยจริงๆ
อย่างกรณีนี้เป็นต้น (เป็นกลาง และเป็นท้าย)

ศัพท์บัญญัติ บางคำก็ช่างซื่อตรงต่อเจ้าของเดิมเสียจริงๆนะคะ
อย่างกระด้างภัณฑ์ ละมุนภัณฑ์ นี่ เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานจริงๆหรือเปล่าคะ
อันนี้ ถามเป็นความรู้จริงๆ นะคะ เพราะบางคนเขาก็ว่า คนบัญญัติกันเองเพื่อล้อเลียนราชบันฑิตย ฯ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 07 ก.พ. 06, 17:27
 กระด้างภัณฑ์ คือ ฮาร์ดแวร์ (ส่วนอุปกรณ์)
ละมุนภัณฑ์ คือ ซอฟท์แวร์
คำในวงเล็บ เป็นศัพย์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ส่วนที่ไม่ได้วงเล็บนั้นไม่ทราบครับ
ป.ล. ที่คุณเฟื่องแก้วพูดมาถูกต้องครับ ละมุน-กระด้างภัณฑ์ เป็นศัพย์ล้อเลียนราชบัณฑิต


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 08 ก.พ. 06, 02:44
 ท่านเคานต์ นีโล ฯ ไม่เข้ามาแล้วหรือคะ
ว่าจะแอบแซวเสียนิดหน่อย พอไม่ให้เสียบรรยากาศวิชาการ
(ดิฉันเชยค่ะ เพิ่งรู้จักบทบาทท่านวันนี้เอง ชอบใจจัง)

วันก่อน ไปฟังการประชุมหารือวางแผนการพิมพ์เอกสาร เรื่องความมั่นคงของมนุษย์
ดิฉันก็นั่งฟังแบบรู้เรื่องนิดๆหน่อยๆ ตามประสาอึ่งน้อย (ปัญญามีเท่าหาง)
เขายกมือให้คำนิยามคำว่า "Human Security" อยู่อย่างเอาเป็นเอาตาย
แต่ประทับใจดิฉันอยู่คนเดียวค่ะ
เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง
(จากอาฟกานิสถาน หรืออะไรแถวๆ นั้นน่ะค่ะ ต้องเช็คอีกครั้ง)
แสดงความเห็นว่า จริงๆ ไม่ควรใช้คำว่า Human Security หรอกนะ
เพราะไม่ครอบคลุมเพียงพอ
ถ้าจะให้มีความหมายครอบคลุมถึงความมั่นคงทั้งใจ-กายละก็
ควรจะเรียกเสียใหม่ว่า Human Dignity ดีกว่า
เป็นที่ฮือฮา (ไปคนละทิศละทาง) ในที่ประชุม
ใจดิฉันนะคะ อยากให้เจ้าของเอกสารฉบับนี้
เห็นด้วยกับอาจารย์คนนี้จริงจริ๊ง
คงสนุกขึ้นพิลึกเลย เวลาดูเขามานั่งเถียงกันถึง Dignity ของมนุษย์
แทนความมั่นคงของมนุษย์ตามนิยามเก่า
เพื่อหาบรรทัดฐาน มาตรการ ปฎิบัติการ Workshop ฯลฯ
ในการปกป้องกียรติภูมิของมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหัสวรรษ
...อะไรทำนองนั้น

นับถือจริงๆ ค่ะ คนที่คิดคำอะไรออกมาแล้วติดปากติดหูคน
คนช่างคิดนี่ ต้องยกให้จริงๆ
อย่างเมื่อสักปีหนึ่งมาแล้ว ดิฉันก็สะดุดหูกับการให้คำจำกัดความ
และแบ่งกลุ่มของประเทศต่าง ๆ
ที่เคย ๆ ได้ยินมา ก็จะมีประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศด้อยพัฒนา
คำที่ฟังแล้วชื่นใจหน่อยสำหรับดิฉันคือ
ประเทศกำลังพัฒนา (แหม เหมือนให้ยาหอม)
ถัดมาอีกยุค เมืองไทยก็อยากเป็นนิกส์ ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
(ตอนนั้น ยังเด็กมา แต่สำหรับดิฉันยังคิดอยู่นั่นเองว่า
ประเทศไทยเหมาะจะเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สุด)

จนกระทั่งมีคนคัดแยกประเทศเป็นสองกลุ่ม
คือ ประเทศอุตสาหกรรม และประเทศวัฒนธรรม
ดิฉันเลยสะดุดหูอย่างที่เล่า ก็ต้องถามว่ายังไงคะ
เพราะหลาย ๆ ประเทศนี่ ก็ร่ำรวยทั้งอุตสาหกรรมและวัฒนธรรม
แล้วจะแยกยังไง

เขาก็ตอบว่า อ๋อ ถ้ากรณีนี้ ต้องดูเป็นประเทศ ๆ ไปสิ
ประเทศอุตสาหกรรมนี่ พอจะมีลู่ทางทำนั่นทำนี่ มาหากินเลี้ยงตัวได้
ในขณะที่ประเทศวัฒนธรรม ไม่มีอะไรจะขายแล้วไง
นอกจากขุดวัฒนธรรมออกมาปัดฝุ่นขาย
หายใจเข้าออกเป็นนักท่องเที่ยว ว่างั้นเถอะ

ฟังแล้วกลับรู้สึกแย่ เหมือนหลอกด่าประเทศวัฒนธรรมเขายังไงไม่รู้
ดิฉันว่า ออกจะน่าภูมิใจ หากประเทศมีความร่ำรวยทางวัฒนธรรม
เพราะเป็นสิ่งที่คนทั้งชนชาติช่วยกันสร้าง ช่วยกันสั่งสมมา
มีเงินร่ำรวยจากอุตสาหกรรมแค่ไหน ก็ใช้เงินซื้อวัฒนธรรมไม่ได้นะคะ

(แต่ในยุคนี้ ประเทศวัฒนธรรมเอง รุ่มรวยแค่ไหน กลับต้องดิ้นรนหาเงินงก ๆ

เลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนทั้งชาติแทบไม่ไหวเหมือนกัน แย่จัง)


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 08 ก.พ. 06, 11:16
 สรุปว่าคุณเฟื่องแก้ว ยังแปลคำว่า Intangble Cultural Heritage ว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือครับ......

ขอประทานโทษที่ต้องเรียนถามครับ...เพราะเท่าที่ผมเอาบริบทมาให้ ดูเหมือนว่าคำนี้น่าจะแปลเป็นไทยคำอื่นที่อ่านดูแล้วเหมาะสมกว่าครับ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 08 ก.พ. 06, 17:49
เปล่าค่ะ คุณ Andreas ดิฉันไม่ได้แปลว่า
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
(รับรองว่าไม่ได้เขียนลงไปอย่างนั้นจริงๆ )

ใจดิฉันอยากใช้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมใจจะขาด
แต่ไม่ทราบว่า คนอื่นเขาจะคล้อยตามไหม
(นายดิฉัน ยังไล่มาหาคำที่แปลว่า จับต้องไม่ได้ เลยค่ะ)
ดังนั้น ดิฉันจึงเลี่ยงเสีย โดยใช้คำกำกับในวงเล็บว่านามธรรม
หรือใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์ไปเลย
ทั้งนี้ ดิฉันพิจารณาดูแล้วว่า บริบทของคำที่วงเล็บไว้
ได้ขยายความคำในวงเล็บให้ผู้อ่านใช้วิจารณาญาณ
และทำความเข้าใจเอาเอง
(ดังที่คนแปลทำมาแล้วนั่นเอง
รับมรดกทางภูมิปัญญาไปเสียพร้อมๆ กันเลยแล้วัน)

ไม่อย่างนั้น ดิฉันคงต้องยกบริบทของคุณ Andreas ไปวางไว้ข้างล่างเป็นบรรณานุกรมประกอบข่าวแน่ๆ ค่ะ

ขอบพระคุณอีกครั้ง


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 10 ก.พ. 06, 15:59
 อัญขยมนิลกังขา รายงานตัว ซัวสะเด็ย บาท

ผมเพิ่งกลับจากไปทำงานที่พระนครพนมเปญมาครับ

(ส่วนท่านเคานต์นีโลฯ น่ะ แกเล่นละครจบบทบาทไปแล้ว ก็ปล่อยๆ แกไปกับคุณนางฟ้าเฮอะ-)

คำว่า ความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีคำอรรถกถาขยายความว่า ประกอบด้วย feedom from want/ fear (ซึ่งคนที่คิดเรื่องนี้ก็ไปเอามาจากคำกล่าวของประธานาธิบดีวิลสันอีกที) นั้น ในความเห็นส่วนตัวผมเอง เห็นว่า เป็นแนวความคิดใหม่ที่ที่จริงแล้วก็ไม่ใหม่เสียทั้งหมด และจะว่ามันคืออะไรแน่ๆ ก็พูดยากอยู่ เพราะแนวความคิดนี้ผมเห็นว่ายังอยู่ระหว่างการวิวัฒนาการอยู่ แต่ในชั้นนี้ ได้อิทธิพลจากเรื่องหลายเรื่องที่เคยเป็นประเด็นมาแต่เดิมรวมๆกัน เกือบๆ จะเป็น เหล้าเก่า เปลี่ยนแต่ขวดข้างนอกเป็นขวดใหม่

เพราะถ้าเรานิยามว่าการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ เป็นการทำให้มนุษย์ปลอดพ้นปราศจากความกลัว และความขาดแคลน แล้ว ก็เกือบจะเรียกได้ว่าครอบคลุมงานทั้งหมดทุกด้านของสหประชาชาติเลย

ในแง่นี้ คำว่าความสุขกายสบายใจอาจจะครอบคลุมได้กว้างมากๆ พอๆ กันครับ เฉพาะความหมายนะครับ

แต่ถ้าพิจารณาที่มาที่ไปของคำ อาจจะต้องยังเก็บคำว่า "ความมั่นคง" ไว้ตามเจตนาเดิมของคนคิดคำ เพราะเขาพยายามจะบอกว่า ไอ้เรื่องปัญหาความมั่นคง ซึ่งระบบระหว่างประเทศสมัยก่อน (โดยเฉพาะช่วงสงครามเย็น) ให้ความสำคัญเหลือเกินนั้น ที่จริงมันมุ่งที่ "ความมั่นคงแห่งชาติ" หรือความมันคงของรัฐ (หรือรัฐชาติ)เสียจนเกินพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็เรื่องการทหาร เขาเห็นว่าควรจะหันกลับมามองปัญหาความมั่นคงในมุมมองใหม่ คือความมั่นคง หรือ "สิ่งที่เรียกว่าความมั่นคง" ของมนุษย์ ไม่ใช่ของรัฐ บ้าง เช่นว่า เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องความยากจน ปัญหาสังคม  ฯลฯ ซึ่งกระทบถึงตัวมนุษย์แต่ละคนโดยตรงเองเลย

ก็เลยกลายเป็นศัพท์ว่า Human Security ด้วยประการฉะนี้ ซึ่งแม้ว่าโดยสาระ จะไม่ผิดจากคำว่า "ความสุขกายสบายใจ" ก็ตาม แต่ผมเชื่อว่า ฝรั่งคนบัญญัติที่พยายามจะสร้างมูลค่าเพิ่มของคำให้เห็นเก๋ โดยอุตส่าห์เอาไปพันกับแนวคิดเรื่องความมั่นคง (แห่งชาติ) คงร้องไห้ตายเลยครับ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 10 ก.พ. 06, 16:30
ที่จริง Human Security ก้ไม่ผิดอะไรกับ Happiness มากนัก โดยเนื้อหาสาระความหมาย หรือไม่ก็อาจเรียก Human Happiness (ย่อว่า HH?) แต่ก็อย่างที่ว่า ฝรั่งคนคิดคำค้อนตายเลย เขาอุตส่าห์หาคำบิ๊กเวิร์ดมากๆ เก๋เริ่ดมากๆ  คุณ Hotacunus ดั๊นเอาไปเทียบให้เท่ากับ "คำบ้านๆ" เสียได้ ;-)

พูดถึง HH ... เอ๊ย ความสุขกายสบายใจแล้ว เลยนึกได้ว่า ภูฏานก็เพิ่งเสนอแนวความคิดใหม่ ไม่กี่ปีมานี้ แต่จะมีใครในโลกนี้เอาด้วยตามประเทศเล็กๆ อย่างภูฏานรึเปล่าก็ไม่ทราบนะครับ ผมเองเห็นว่าน่าสนใจทีเดียว คือเขาว่า การใช้ทฤษฎีทุนนิยมวัดความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วย GNP / GDP อะไรก็ตามแต่นั้น ก็ดีดอก เป็นตัวชี้ตัวหนึ่ง ทราบนะครับ GDP Gross Domestic Product / GNP ก็ Gross National Product แต่ชีวิตมนุษย์ไม่ได้มีแต่การผลิต น่าจะวัดจากตัวอื่นๆ ด้วย รัฐบาลภูฏานเลยเสนอแนวคิด GHP - Gross Happiness Product ครับ ลองช่วยๆ นึกแปลเป็นไทยหน่อยสิครับ

แต่ผมว่าไอเดียนี้เก๋แฮะ (ท่านนายกคนปัจจุบัน ซึ่งรักเงินมาก อาจไม่เห็นด้วยกับผมและรัฐบาลภูฏานนักก็ได้)

เรื่องประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศด้อยพัฒนา นั้น ก็ฝรั่ง (และฝรั่งที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมด้วยกระมัง) นั่นแหละเริ่มคิดแบ่งและกำหนดคำก่อน โดยดูจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอีกนั่นแหละเป็นหลัก อาจจะการพัฒนาด้านอื่นๆ บ้างประกอบ

เดิมจริงๆ น่ะ เขาเรียก Developed countries หมายถึงพวกเขา (ก็ว่าได้) ไทยแปลว่า ประเทศพัฒนา หรือประเทศพัฒนาแล้วกับ Undeveloped countries ก็แปลว่า ประเทศด้อยพัฒนา หรือ Underdeveloped ก็ได้

ต่อมามีการโวยกัน ก็เลยปรับเปลี่ยนแปลงศัพท์ใหม่ เอาใจพวกเราที่ไม่ใช่ฝรั่ง กลายเป็น Developed กับ Developing countries ดีขึ้นนิดหนึ่ง คือแปลว่า ประเทศกำลังพัฒนา "กำลัง" จะพัฒนาอยู่นะเฟ้ย เดี๋ยวก็คงจะไล่ตามพัฒนาทันกันหรอกน่ะ  ก็ยังดีกว่าไม่พัฒนาซะเลยคือ "UN" developed

ต่อมาอีก ก็มีคำเรียกใหม่ แต่ใช้เรียกเฉพาะประเทศที่จนมากๆ ระดับการพัฒนาต่ำมากๆ เท่านั้น เรียกว่า LDCs - Least Developed Countries แปลวว่าประเทศพัฒนาน้อยที่สุด อันนี้คงจะพอเทียบได้กับคำว่าอันเดอร์ดีเวลลอปด์สมัยก่อน

แต่ผมอดคิดเอาเองไม่ไดว่า ถ้า LDCs ย่อมาจากที่ว่าแล้ว ก็ต้องแปลว่าตอนนี้ฝรั่งถือว่าทุกประเทศ "พัฒนาแล้ว" ทั้งหมดน่ะสิ แต่จะพัฒนาแล้วได้แค่ไหนเท่านั้นเอง คือ พัฒนาน้อยที่สุด ต่อมาก็อย่างเราซึ่งคงจะเรียกว่า พัฒนากลางๆ - Fairly developed???? (เพียงแต่เขาไม่เรียกกันเท่านั้น) แล้วก็ประเทศพัฒนาแล้วคำเดิม ถ้าจะว่าตามตรรกะ ต้องเรียกว่า "พัฒนาแล้วมากหน่อย" หรือไงหว่า?

งั้นเรียกใหม่ซะเลยดีไหมว่า ประเทศ "พัฒนามานานแล้ว" กับ ประเทศ "เพิ่งพัฒนามาได้เดี๋ยวเดียว" ...


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 10 ก.พ. 06, 16:33
อดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ท่านหนึ่งเคยบ่นในสมัยโน้นว่า ทำไมนะ (ตอนนั้น) เราถึงอยากจะเป็น NIC กันนัก (ขณะนั้นคนไทยยังไม่รู้จักคำว่า วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง) อยากเป็นเสือตัวที่ห้าเหลือเกิ๊น

สำหรับท่านเอง ท่านอยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่ nice มากกว่าNIC ครับ (ไม่ได้หมายความว่าเมืองนีซนะครับ)


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 ก.พ. 06, 00:06
 เจอแล้ว เจ้าคารมคมนิยามตัวจริง
...แฟร์รี่ เดเวล็อปท์..พัฒนากลาง ๆ
อ่านสักประเดี๋ยว เจอ..ประเทศพัฒนามาเดี๋ยวเดียว เข้าอีก
ต้องกิ๊กออกมาเลย โอย ..

คุณนีโล เอ๊ย นกข. เป็นอาจารย์หรือเปล่าคะ
คุยได้สาระและฮาเหลือเกิน
นี่ ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ ลูกศิษย์ลูกหาคง "ขึ้น" น่าดู
จะไปสมัครเป็นลูกศิษย์ด้วยคนค่ะ
(แต่อย่ามาแยกร่างให้ดูนะ เผ่นจริงๆ ด้วย)

ดัชนี Gross National Happiness (หรรษามวลรวมระดับชาติ ?)
ของราชา Jigme Singye Wangchuck นั่นน่าสนใจนะคะ
ดิฉันชอบใจจัง ดูจะเป็นอุดมคติไปสักนิด
แต่เป็นแนวคิดที่น่านำมาปฏิบัติจริงที่สุดสำหรับดิฉัน
รู้สึกว่า แนวคิดนี้จะมีพื้นฐานมาจากแนวคิดทางพุทธศาสนาด้วย


กำลังคิดอยากย้ายไปอยู่ภูฏานแล้วสิคะ :)


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 11 ก.พ. 06, 02:10
 Thanks indeed to Khun เฟื่องแก้ว for your kind answer to my question....

Please accept my apology, I reply you so late..

Regards

Andreas


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 ก.พ. 06, 06:50
 Khun Andreas, it didn't really matter!

so, no need to apology!!

I truly appreciate your point of view on this topic!



Cheerio!!


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 11 ก.พ. 06, 07:41
 Oops!! typo!  

** no need to apologise kha!!


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 11 ก.พ. 06, 13:32
ขออภัย พิมพ์เพลินไปหน่อย จริงๆ แล้วความคิดของรัฐบาลภูฏาน เป็นอย่างที่คุณเฟื่องแก้วเขียนมา คือ Gross Domestic Happiness หรือ Gross National Happiness. คือแทนที่คำว่า product ด้วย happiness ใจก็คิดอย่างนั้นนะ แต่เวลาพิมพ์ สติลอยเผลอไปเป็นอย่างที่เขียน

ถ้าจะแปลว่า หรรษามวลรวมระดับชาติ ก็เก๋ดีครับ

ผมออกจะเชื่อเหมือนกันว่า ภูฏานได้ความคิดแนวนี้มาจากพระพุทธศาสนา


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 11 ก.พ. 06, 13:43
 ตอบปุจฉา ขอวิสัชนาว่า เกล้ากระผมไม่ได้เป็นอาจารย์สอนประจำอยู่ที่ไหนทั้งสิ้นเป็นความสัตย์ เพียงแต่บางทีก็เป็นติวเตอร์บ้าง ไปสอนพิเศษตามที่มีคนชวนบ้างนานๆ หน งานประจำยุ่งครับ

อันที่จริง คำว่าความสุขของประเทศนั้น ทำให้ผมย้อนคิดไปถึงอีกคำหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะเสนอให้ใช้เป็นคำแปลของ GNH/GDH นะครับ เพียงแต่แนวคิดชวนใจให้ประหวัดไปถึงเท่านั้น

คือพระปรมาภิไธย (ชื่อ) ของในหลวง ร. 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตามศัพท์แปลได้ตรงตัวเลยว่า ทรงเป็น "ความชื่นใจของแผ่นดิน"

สำหรับพระปรมาภิไธยในหลวงรัชกาลปัจจุบันนี้ ผู้ทรงเป็นพระอนุชาธิราชในพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระองค์นั้น ก็คือ "ภูมิพล" อดุลยเดช ตามศัพท์ ก็แปลได้เช่นเดียวกันว่า พระผู้ทรง "เป็นกำลังพลังของแผ่นดิน" เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่

พระปรมาภิไธยที่เชิญมาอ้างอิงทั้งสองนี้ มีมาก่อนแนวคิด GDH/GNH หลายสิบปีครับ

ขอจงทรงพระเจริญ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 11 ก.พ. 06, 14:13
 นอกจาก "ความสุขส่วนรวมระดับชาติ" ที่ควรเป็นเกณฑ์วัดความเจริญของสังคมหนึ่งๆ ที่ภูฏานเสนอไว้แล้ว

ไทยเรายังมีพระปฐมบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลปัจจุบันนี้ ที่พระราชทานไว้เมื่อเกือบหกสิบปีที่แล้วด้วย ว่า

...เราจะครองแผ่นดิน "โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"...

เห็นส่วนที่ผมขอพระราชทานใส่เน้นไว้ในเครื่องหมายคำพูดไหมครับ

ดังนั้น GDH อาจจะโยงให้ไปเกี่ยวกับแนวคิดว่าด้วย "ประโยชน์สุขโดยธรรมแห่งมหาชน" ด้วยได้ไหม?


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 12 ก.พ. 06, 18:06
 ดิฉันกำลังทำตาโต (ทึ่ง)

จริงๆ ด้วยสิคะ ต๊ายยย คุณนกข. คิดได้ลึกซึ้งจังเลย
จะว่าไปก็แปลว่า ประโยชน์สุขแห่งมหาชน จริงๆ แหละ
คำมั่นสัญญาประโยคนี้ ได้ยินคราวไรก็
"เลือดซ่าน แล่นพล่านทรวง" ทุกครั้งไป
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อม

(ดราม่าอีกแล้วเรา เฮ้อ)


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: ครูไผ่ ที่ 13 ก.พ. 06, 00:08
เพิ่งได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ค่ะ
จากที่นั่งอ่านมาหลายชั่วโมงจนตาแฉะ

ดิฉันเห็นด้วยอย่างมากที่จะแปล intangible cultural heritage ว่า
มรดกทางวัฒนธรรมภายในชนกลุ่ม ค่ะ  

เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันภายในชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งมักจะไม่ได้จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ใช้วิธีบอกเล่าและปฏิบัติต่อ ๆ กันมา
ยังไม่ได้จัดให้มีการเรียนรู้กันอย่างเป็นแบบแผนสากล
จึงยังไม่เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายในระดับชาติหรือนานาชาติ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 13 ก.พ. 06, 00:18
 The idea of Gross National Happiness is one which reminds me of a Daoist concept elaborated by none other than the great Chinese sage Lao Tzu or Lao Zi himself in his great masterpiece (though it is still a hotly debated subject whether or not Lao Zi was the writer of the text and the fact that whether he himself had existed at all) "Dao De Jing" where it outlines the path to contentment and the creation of an idealised state via mitigating man's habit of conceptualisation (naming name such as that which is beautiful, ugly, good, bad, etc...) and the eradication of desires and wants that deviates from necessity. Or as he puts it in chapter 12;

 

"The 5 colors causes you to go blind,

the 5 notes causes you to go deaf,

the 5 flavors causes your taste to be confused,

...

for this reason the sage acts (in order to fulfill his) stomach and not his eyes

... "


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 16 ก.พ. 06, 23:35
สวัสดีค่ะ กลับมาแล้วพร้อมกับคำตอบที่เพิ่งค้นพบ
กระทู้เงียบๆ ไป ไม่ทราบจะมีใครเข้ามาอ่านหรือเปล่านะคะ


เมื่อวานเพิ่งเห็น Intangible World  Heritage โดยใชภาษาไทยว่า..

"มรดกวัฒนามธรรม"

อ่านแล้วดิฉันก็ไม่ทราบว่าถูกหลักการเชื่อมการชน
(การสร้างคำใหม่) ของภาษาบาลีสันสฤตกับภาษาไทยหรือไม่
((ความรู้ลางเลือนเต็มทีค่ะ คืนอาจารย์ไปหมดแล้ว))

ผู้รู้ช่วยตอบให้หายข้องใจทีนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้า

อย่างไรก็ตาม เห็นแล้วก็นึกว่า คิดคำได้กลมกลืนเก๋ไก๋ดีค่ะ
ทั้งนี้ ดิฉันไม่ทราบว่าเป็นคำศัพท์ทางการหรือไม่นะคะ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบค่า...


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.พ. 06, 07:53
 สมัยเรียน มีคำว่า สมาส และ สนธิ
ถ้าเป็นสนธิ คำหลังขึ้นต้นด้วย อ
พอสนธิ คำว่า อ ก็หายไป
เช่น เทว + อาลัย  (ที่อยู่ของเทวดา)
ก็มาเป็น เทวาลัย
ถ้าเป็นสมาส  คือเชื่อมคำสองคำเข้าด้วยกัน
คำหลัง ไม่มีคำขึ้นต้นว่า อ
พอสมาสก็คือเรียงคำเข้าด้วยกันเป็นคำใหม่ขึ้นมา
อย่างสามัคคี+ สโมสร
ก็เป็นสามัคคีสโมสร

วัฒนามธรรม  ไม่แน่ใจว่าคุณเฟื่องแก้วสะกดถูกหรือเปล่า
ถ้าดูตามหลักข้างบนนี้
ถ้าคำเดิมคือ วัฒน+นามธรรม จะลดตัว น ลงไปดื้อๆตัวหนึ่งไม่ได้
ต้องเป็นวัฒนนามธรรม
แต่ถ้ามาจากคำว่า วัฒ+นามธรรม
ยังงี้ละก็เป็น วัฒนามธรรมได้ค่ะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: ครูไผ่ ที่ 17 ก.พ. 06, 08:45
 "วัฒนามธรรม"  ฟังแล้วสื่อความไปคนละเรื่องกับที่อภิปรายกันมาอย่างมากมายข้างต้นค่ะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 17 ก.พ. 06, 16:33
 Hmm.... ฟังดูแล้วไม่ค่อยสื่อความหมายที่จะต้องการเท่าไหร่ สงสัยคงต้องติดเครื่องหมายดอกจัทร์ไว้แหละครับ ไม่งั้นผู้อ่านก็คงงงกันเป็นแน่แท้


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 17 ก.พ. 06, 16:54
 ขออนุญาตถามคุณเฟื่องแก้วว่า สอท. ที่ว่านี่ ย่อมาจากอะไรครับ

ในแวดวงงานของผม สอท. คือ สถานเอกอัครราชทูต

แต่ได้ทราบว่า ในแวดวงอื่น สอท. หมายถึง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ได้


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 17 ก.พ. 06, 17:01
วัฒนามธรรม? ฟังแปลกๆ

ผมมีความรู้สึกว่า วัฒนธรรม ธรรมอันเป็นเครื่องหมายของความเจริญ อันเป็นคำที่ปราชญ์ไทย (พระองค์วรรณฯ) ทรงบัญญัติขึ้นใช้ในภาษาไทย เพื่อแทนคำว่า culture นั้น ไม่น่าจะฉีกคำแยกได้ ทั้งคำเป็นหน่วยเดียวคือ "วัฒนธรรม" นั้น คือ culture ถ้าไปฉีกแยกเป็น วัฒน + "X" + ธรรม  มันจะไม่แปลว่าวัฒนธรรมน่ะสิครับ

ถ้าจะเอากันจริงๆ "นามวัฒนธรรม" ยังจะดีเสียกว่า หมายความว่าดีกว่า "วัฒนนามธรรม" โดยเปรียบเทียบ แต่ผมก็ว่าคำว่า นามวัฒนธรรมก็ยังแปลก ๆ อยู่ดี


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.พ. 06, 17:12
 ก็คงต้องย้อนกลับไปไล่ความดู เหมือนงูกินหาง
ว่า intangible หมายถึงนามธรรมจริงหรือเปล่าน่ะค่ะ
ดิฉันยังติดใจคำแปลของคุณ Andreas มากกว่า


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 18 ก.พ. 06, 20:40
ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูและคุณ นกข. นะคะ
ที่ช่วยอธิบายให้เฟื่องกระจ่างใจ
คือตอนแรกเห็นแล้วก็คิดว่า มันทะแม่งชอบกล
แต่ด้วยความที่ไม่รู้แน่ (คืนความรู้อาจารย์ไปหมดแล้ว)
จึงไม่กล้าวิจารณ์ ตามความเข้าใจงูๆ ปลาๆ ของตัวเอง
แต่คนคิดช่างคิดเหลือเกิน ผสมคำออกมาจนได้สิน่ะ
จริงๆ นึกขอบคุณเขาอยู่เหมือนกัน  
เพราะตอนโทรไปถามเขาไม่ได้ให้คำนี้มา
สงสัยจะผสมเองสดๆ ร้อน ๆ ตอนตัวเองต้องร่างหนังสือนั่นแหละ

เฟื่องเอง พอขียนรายงานเองยังไม่กล้าแปลเลยนี่คะ
นอกจากกำกับศัพท์เดิมไว้ และขยายความให้เข้าใจอีกหน่อย

เฟื่องทำงานคนละแวดวงงานกับคุณ นกข.ค่ะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 19 ก.พ. 06, 09:36
พอกลับมาอ่านกระทู้นี้ทีไรผมก็หัวใจหวั่นไหวทุกทีครับ....มิใช่ว่าเพราะเกิดความรักดอกนะครับ.....แต่หวั่นไหวเพราะความประหลาดใจที่เกิดขึ้นครับ

พอคุณเฟื่องแก้วบอกว่า  intangible cultural heritage แปลว่าเป็น วัฒนามธรรม .....ผมขอเรียนตามตรงว่า ประหลาดใจมากครับ....เพราะไม่คิดว่าจะสรรหาคำออกมาได้...และผมยังไม่แน่ใจว่าจะแปลคำไทยนี้เป็นไทยได้อย่างไร

ผมจำได้ว่าอ่านเวปของนิตยสารสกุลไทย เป็นการอภิปรายในหัวข้อ “วรรณศิลป์ไทยในกระแสสังคมโลกาภิวัตน์” ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ในฐานะนักวิชาการทางวรรณกรรม ได้พูดไว้ว่า "เวลาลูกศิษย์เรียนจบ ประกาศรับแต่เอกอังกฤษ เอกเยอรมัน เอกฝรั่งเศส ไม่มีเอกภาษาไทย แต่พอรับไปสักพักหนึ่งก็โทรศัพท์กลับมาต่อว่ากันเกรียวกราว ลูกศิษย์เธอใช้ภาษาไทยไม่ได้เรื่อง เขียนหนังสือโต้ตอบ เขียนจดหมายโต้ตอบก็ไม่ได้ รับโทรศัพท์ก็ไม่รู้เรื่อง ดิฉันก็สงสัยว่า ทำไมเวลาประกาศรับ ไม่ประกาศรับเอกภาษาไทยล่ะคะ เพราะว่าเวลาไปทำงานแล้ว ไม่ได้ใช้หรอกค่ะ เอกโน่นเอกนี่ ที่ประกาศรับน่ะ"

ทำไมผมถึงยกประเด็นนี้ขึ้นมา....เพราะผมเห็นว่า ถ้าเป็นนักภาษาศาสตร์ที่มีพื้นภาษาไทยที่ดีแปลแล้ว...มิน่าจะใช้คำนี้ หรือแม้แต่คำว่า "นามธรรม" เพราะ intangible มิใช่นามธรรม แต่เป็นรูปธรรมชัดเจน เพียงแต่แฝงและฝังตัวอยู่ในชุมชนและสถานที่เล็กๆเท่านั้น..... (ทำไมคนแปลถึงมิได้เอาบริบทมาประกอบด้วย) อย่างในกรณีที่อาจารย์สุวรรณา ยกขึ้นมา....ก็เพราะหลายๆแห่งไม่รับเอกภาษาไทย..รับแต่เอกอื่น พอมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยโดยตรงแล้ว จึงมีปัญหาเกิดขึ้น......

ผมอาจจะไม่เข้าใจหลักการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเท่าไหร่ครับ เพราะจำได้ว่าถูกกีดกันจากภาควิชาภาษาอังกฤษ ตอนเรียนปริญญาตรี .....เนื่องจากว่า เค้าให้เฉพาะนักศึกษาที่เรียนเอกภาษาอังกฤษ หรือ นักศึกษาที่เรียนสายศิลป์ มีสิทธิ์เรียนได้ เนื่องจากสายวิทย์เรียนตัว Fundamental  English คนละตัวกับพวกสายศิลป์ เลยกระโดดข้ามไปเรียนตัวสูงๆของเอกอังกฤษไม่ได้..... นั่นคือเหตุผลที่ผมไม่สามารถลงทะเบียนเรียนวิชาการแปลได้ครับ....แต่ถึงกระนั้นด้วยโชคชะตาพาไป หลังจากเรียนจบจากคณะวิทยาศาสตร์ ต้องไปเป็นล่ามเฉพาะกิจให้กับทีมนักวิจัยทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ ...และทำต่อไปเรื่อยๆกันกระทั่งจับผลัดจับผลูเป็นล่ามให้กับองค์กรข้ามชาติแห่งหนึ่ง....รวมทั้งสิ้นห้าปีทีเดียวครับ ..... ประสบการณ์ที่ผมได้รับมา ผมจึงไม่ทราบว่ามันจะเหมือนกับที่เรียนในห้องเรียนหรือไม่

สิ่งที่ผมทราบจากประสบการณ์คือ เวลาแปลออกมาแล้ว ต้องให้กระจ่างชัดถึงความหมาย ความเข้าใจ และตัวตนของภาษาเรา.....ผมไม่ชอบแปลจากอังกฤษเป็นไทย แล้วต้องแปลคำไทยนั้นเป็นภาษาไทยอีกทีให้ชาวบ้านเข้าใจ ..... และเวลาแปล ผมจะพิจารณาบริบท หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจากต้นฉบับหรือผู้สันทัดในสาขาวิชานั้นๆเสมอ..... เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน และทำให้ผมสื่อออกมาเป็นภาษาไทยได้ชัดเจนและตรงกับความหมายของคำภาษาอังกฤษ

หลายครั้งเพื่อนร่วมงานคิดคำหรูๆ ขึ้นมาและเอามาใช้กับชาวบ้าน...กับคนในท้องถิ่น ที่มิใช่นักวิชาการ.....ผลก็คือต้องมานั่งทำความเข้าใจภาษาไทยเป็นไทยอีกครั้ง.....

จริงๆประเด็นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากนะครับ....เราต้องยอมรับคนไทยในเมืองไทยเอง มีสองประเภทคือ คนไทยธรรมดา ที่อาจมีโอกาสเล่าเรียนหรือไม่ได้เล่าเรียนหนังสือ กับ พวกนักวิชาการ.....ถ้าในกรณีทีสนธิสัญญานี้มีการลงนามเข้าร่วมโดยประเทศไทย .....เราจะเลือกแปลให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจ หรือ จะเลือกแปลให้เฉพาะนักวิชาการเข้าใจและถกเถียงกัน..... ผมมองว่า ถ้าเราต้องการให้คนส่วนใหญ่หันมาเห็นความสำคัญของ intangible cultural heritage เราก็ต้องแปลให้คนส่วนใหญ่เข้าใจใช่มัยครับ เพื่อให้เขาทราบว่า วัฒนธรรมในชนกลุ่มหรือท้องถิ่นของพวกเขากำลังได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และถือว่าต้องอนุรักษ์ไว้เพื่อความเป็นตัวตนของตนเอง....เด็กๆรุ่นใหม่เองจะได้ภมิใจ และยอมรับวัฒนธรรมนั้นโดยไม่ต้องคิดว่า มันล้าหลังและไม่ได้รับการยอมรับ

สำหรับแวดวงการทำงานของผมซึ่งเป็นสายวิทยาศาสตร์ ...ต้องยอมรับเช่นกันว่า พวกเราใช้ภาษาที่ยากแก่การเข้าใจและใช้ศัพท์เฉพาะเป็นหลัก....เวลานักวิจัยผลิตผลงานออกมา ผลปรากฏว่า น้อยคนนักที่จะอ่านรู้เรื่อง เพราะกำแพงภาษานั่นเอง..ทั้งๆที่รายงานเขียนเป็นภาษาไทย .....เมื่อเป็นอย่างนี้ แล้วประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร ถ้าคนส่วนใหญ่อ่านรายงานวิจัยหรืองค์ความรู้ใหม่ๆ แล้วไม่เข้าใจ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง เขาตระหนักเรื่องนี้มาก แม้ว่าเค้าจะมีอัตราคนมีความรู้มากกว่าคนไทย ...เค้าเองยังต้องมีหน่วย
ที่เรียกว่า Information Transfer Unit ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆที่เป็นภาษาที่เข้าใจยาก ให้กลายเป็นเรื่องอ่านสนุก และไม่เป็นอุปสรรคต่อการอ่านสำหรับคนทั่วไป แม้กระทั่งเด็กๆเอง .....

เดี๋ยวกับมาต่อครับ....ผมมีเรื่องสนุกๆกับการแปลแบบนี้มาเล่าให้ฟังอีกครับ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 06, 10:12
 ดิฉันก็ค่อนข้างจะหนักใจกับการแปลศัพท์อย่างตรงตัวโดยไม่คำนึงถึงบริบท
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณไปเจอหนังสือเก่าเล่มหนึ่งเกี่ยวกับสังคมอินเดีย เจอคำว่า the Untouchables
ถ้าเปิดดิคฯ ก็ฟันธงลงไปเลยว่า อ๋อ  ผู้แตะต้องมิได้  
ต่อจากนั้นในเอกสารนั้นก็จะมีคำว่า ผู้แตะต้องมิได้ เต็มไปหมด  

อ่านแล้วรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ไม่สำคัญ เพราะแปลตามตัวมันยังงั้นนี่นา

แต่ถ้าเป็นหลักการแปลอย่างถูกต้องแล้วเขาจะต้องคำนึงถึงบริบทด้วยว่าหมายถึงอะไร หรือใคร
คำนี้หมายถึงพวกจัณฑาล ค่ะ
ถ้าแปลยังงี้ก็รู้เรื่องกันในนาทีแรก ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยกันให้เหนื่อยอีก  


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 19 ก.พ. 06, 21:26
 เห็นด้วยครับว่า บริบทสำคัญอย่างยิ่งในการแปล การที่สักแต่ว่าแปลมักจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 20 ก.พ. 06, 04:57
 สวัสดีค่ะ ดิฉันกำลังรู้สึกเดือดร้อน (ตัวฺ) นิดหน่อย
ไม่ควรพูดพาดพิงสถานทูตแต่แรกเลยค่ะ
คือ เกรงว่าจะกลายเป็นการกล่าวหากันไปน่ะค่ะ
ไม่ทราบว่า ที่นี่จะแก้ไขปรับปรุงข้อความที่โพสไปแล้วได้อย่างไรคะ
ขอบคุณค่ะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 ก.พ. 06, 07:37
 เรียนคุณเฟื่องแก้ว

คงต้องรอให้คุณเทาชมพูกรุณาช่วยลบข้อความที่อ้างอิงถึง..... ออกครับ เพราะคุณเทาชมพูเป็นผู้ดูแลเรือนไทย ท่านลบข้อความได้ครับ

-----------------------

เห็นคุณเฟื่องแก้วเดือดร้อน(ใจ) ขึ้นมา....ผมก็เริ่มหวาดๆอยู่เหมือนกันครับ ...กะว่าจะเล่าเรื่องการแปลที่เคยเจอมา แล้วก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งทุกวันนี้ยังหาข้อสรุปกันไม่ได้.....แต่คิดอีกที ขอไม่อ้างถึงดีกว่าครับ เนื่องจากเพราะผมยังอยู่ในแวดวงของการวิจัยเรื่องดังกล่าวอยู่ พูดอะไรออกไป มันตามตัวกันได้ง่ายครับ...เลยเลือกที่จะเงียบก่อนดีกว่าครับ....เอาไว้รอให้ผมแก่อาวุโสกว่านี้หน่อย แล้วคงจะพอมีปากมีเสียงให้นักวิชาการรุ่นใหญ่ๆ หันมาฟังกันบ้างครับ.....


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 06, 07:58
 ดิฉันลบไปให้แล้วนะคะ  
คุณ Andreas ไม่ต้องกลัวหรอกค่ะ   คุณสามารถเอ่ยถึงได้โดยไม่ต้องระบุชื่อหน่วยงาน สถานที่  คณะกรรมการ หรือชื่อบุคคล
เราพูดกันถึงการทำงาน ที่ยังมีข้อติติงให้พัฒนามากกว่านี้ได้  
ไม่ได้โจมตีใครเป็นรายบุคคล


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 20 ก.พ. 06, 14:24
กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูค่ะ

บางทีดิฉันก็เรื่อยเปื่อยไปอย่างนี้เอง ไม่ได้ตั้งใจติใครเลยค่ะ
คือ มีเพื่อนเคยมีปัญหาคล้ายๆ อย่างนี้มาแล้วค่ะ
การติเพื่อก่อนี่แหละ จุดไฟเผาบ้านตัวเองแท้ๆ


อ้าว คุณAndreas เลยไม่เล่าแล้วหรือคะ เรื่องการแปล
ดิฉันไม่ค่อยอ่านเรื่องแปลแล้วช่วงหลัง ๆ
(อ่านแต่ตอนเด็กๆ ที่อ่านภาษาอังกฤษยังไม่แตกฉานค่ะ
ตอนนี้ อ่านได้และยังไม่แตกฉานอยู่นั่นแล้ว)
แต่เคยพบกระทู้ในห้องสมุดของพันทิพ
อ่านแล้วตกใจค่ะ ที่ผู้แปลบางคนแปลคำง่าย ๆ ออกมา
แบบไม่ระวังบริบท สถานการณ์ ของการใช้คำนั้น
หรือเลือกความหมายพ้องของคำมาใช้แปลผิดไปจากต้นฉบับก็มี
คนอ่าน อ่านภาคภาษาไทยของหนังสือเล่มนั้นเลยอ่านไปงงไปค่ะ
แปลไทยเป็นไทยอีกที

หนักกว่านั้น เคยมีเพื่อนมาเล่าให้ฟังนะคะ
ว่ามีโอกาสได้คุยกับนักเขียน/แปล ชื่อดังเชียวค่ะ
ที่แปลเรื่องออกมาแล้วดัดแปลงเนื้อเรื่องเอาเองดื้อๆ เลย
แถมบอกว่า ฉันแต่งตอนจบได้ดีกว่าคนเขียนเสียอีก
อย่างนี้ก็มีค่ะ

กรณีนี้คือ เขียนหนังสือและแปลได้ราบรื่นเสียจน
คนอ่านไม่ทราบว่า ผิดไปจากต้นฉบับเดิมอย่างไร
อันนี้ ดิฉันก็ว่าผิดจรรยาบรรณในการแปลนะคะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 20 ก.พ. 06, 18:08
 เรื่องนินทา เอ๊ยติเพื่อก่อเหล่านี้ เล่ากันหลังไมค์ก็ได้ครับ ผมก็อยากฟัง แต่ก็เห็นใจเหมือนกันว่าถ้าเล่าตรงนี้ อาจก่อความกระทบกระเทือนได้ แม้เราจะมีแต่ความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้งก็ตามเถอะ แต่คนที่ถูกว่าเขาไม่ยอมถืออย่างนั้นด้วย...

... ผล ก็คือ น้ำใบบัวบกสำหรับคนที่ไปช่วย (หรือเรานึกเองว่าเป็นการช่วย) ชี้ที่ผิดให้เขาครับ

ชักซีเรียสไปหน่อยเฮะ


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 20 ก.พ. 06, 18:12
 ในฐานะที่เรียนมาทางวิทยาศาสตร์เหมือนกันตอนมัธยม ผมจำคำๆ หนึ่งที่ ดร. ไอแซค อาซิมอฟยกมาได้ เป็นตัวอย่างว่าภาษาอังกฤษนั้นมันดิ้นได้ขนาดไหนสำหรับคนที่เรียนมาคนละสาขาวิชากัน

แกยกคำว่า Unionization แล้วแกก็อธิบายเสร็จว่า สำหรับนักฟิสิกส์อนุภาค เห็นคำนี้ อาจจะนึกว่า เป็นกระบวนการ Un + ionize คือทำไม่ให้เป็นไอออน (เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ ผมคืนวิชาฟิสิกส์ไปให้อาจารย์หมดแล้ว) แต่สำหรับนักแรงงานสัมพันธ์ อาจจะมองเป็น union + ization แล้วก็เลยแปลว่า กระบวนการทำให้เป็นสหภาพ เช่นสหภาพแรงงานเป็นต้น


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: เฟื่องแก้ว ที่ 20 ก.พ. 06, 19:36
อะแฮ้ม ดิฉันยังไม่ทันติ ไม่ทันก่อเลยนะคะ ท่านเคานต์
แค่อิงๆ พิงๆ นิดหน่อย กลัวน้ำใบบัวบกนี่แหละค่ะ
(แต่ใบบัวบกสด หม่ำกับผัดไทย อร่อย..)

ว่าแต่หลังไมค์นี่ ไมค์ ไทสันหรือเปล่าคะ
จะได้บังดิฉันมิด ตัวมิใช่เล็ก ๆ ค่ะ
(มุขนี้ ถ้าแอคคอร์ดดิ้งทู ดร. อาซิมอฟ
ดิฉันต้องเป็นนักมวยแน่นอน ใช่ไหมคะ)

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณ Andreas จะนินทา เอ๊ย ติเพื่อก่อหลังไมค์
อย่าลืมเรียกดิฉันด้วยนะคะ ดิฉันจะวิ่งไปซื้อน้ำใบบัวบกแช่แข็งมาเสิร์ฟแก้คอแห้งค่ะ
(หลังไมค์ที่ไหนกันคะ ?)


กระทู้: ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เริ่มกระทู้โดย: little camel ที่ 08 มิ.ย. 06, 20:44
 หลังจากที่อ่านกระทู้มานาน  หนูเป็นคนหนึ่งที่เคยได้เรียนเรื่อง  Cultural Heritage และอาจารย์ก็ยังสอนว่า Tangible Cultural Heritage แปลว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถจับต้อง  และสัมผัสได้ (หมายถึงที่เห็นออกมาเป็นรูปธรรม) แล้วส่วน Intangible Cultural Heritage แปลว่ามรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม  แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือความรู้สึกนึกคิด  ความรู้  ขั้นตอน  กระบวนการที่สามารถทำให้เกิด  Tangible Cultural Heritage  แบบนี้ความหมายผิดใช่รึเปล่าค่ะ  หากจะแปล  หรือตีความให้ถูก จากการบัญญัติศัพท์ให้เป็นคำไทย (เพราะตอนนี้อะไรก็ต้องพึ่งความรู้ต่างชาติมาอ้างอิง  เพราะต่างชาติเป็นคนให้ความหมาย)  ถ้าหากว่าผิดจริง ๆ ในความหมายรุ่นน้องหนูที่เรียนอยู่ต่อ ๆ ไปมิแย่เหรอค่ะ  อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เผยแผ่ความรู้ที่น่าจะถูกต้องที่สุดจัง  จะได้เข้าใจได้ตรงกัน  ** หรือว่าความจริงไม่ได้มีชุดเดียวจริง ๆ !