เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: สุภาวดี ที่ 29 ก.ค. 11, 10:31



กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับช่างไม้สำเภา ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ขอคำอธิบายด
เริ่มกระทู้โดย: สุภาวดี ที่ 29 ก.ค. 11, 10:31
 ๑. ช่างหยก
๒.   ช่างชาดสีสุก
๓.   ช่างดีบุก
๔.   ช่างต่อกำปั่น
๕.   ช่างขุนพราหมณ์เทศ
๖.   ช่างไม้สำเภา
๗.   ช่างปากไม้
๘.   ช่างเรือ
๙.   ช่างทำรุ



กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับช่างไม้สำเภา ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ขอคำอธิบายด
เริ่มกระทู้โดย: สุภาวดี ที่ 31 ก.ค. 11, 09:20
ช่าง19หมู่ค่ะ


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับช่างไม้สำเภา ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ขอคำอธิบายด
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ก.ค. 11, 09:52
"ช่างสิบหมู่" กระมัง ไม่เคยได้ยินคำว่า "ช่างสิบเก้าหมู่"   ;D

คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88) อธิบายไว้ว่า

"ช่างสิบหมู่" ในสมัยก่อนเป็นกรม ๆ หนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงอธิบายประทานแก่พระยาอนุมานราชธน ในหนังสือบันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ว่า

"ตามปกติการปกครองเมืองสมัยโบราณ จัดเป็นจตุสดมภ์ คือเป็นกระทรวงเวียง วัง คลัง นา กระทรวงใดมีกิจจะต้องทำสิ่งซึ่งต้องอาศัยฝีมือช่าง ก็ต้องหาช่างชนิดที่ต้องการใช้มารวบรวมตั้งไว้ในกระทรวงนั้นเพื่อใช้ จึงได้มีการช่างมากมายกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ หลายกระทรวงด้วยกัน ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสไว้ ดังจะยกตัวอย่างให้เห็น เช่น กระทรวงวัง มีกรมทหารในกรมรักษาพระองค์ แต่มีกรมช่างทหารในขึ้นอยู่ในกรมทหารในนั้นอีกชั้นหนึ่ง เจ้ากรมคือหลวงประดิษฐ์นิเวศน์ เห็นได้ตามชื่อว่ามีหน้าที่ปลูกสร้างเรือนหลวงในพระราชนิเวศน์ คงมีขึ้นด้วยเหตุที่เจ้ากรมหรือปลัดกรมคนใดคนหนึ่งในกรมทหารในเป็นผู้เข้าใจการปลูกสร้างจึงตรัสใช้ ผู้รับสั่งนั้นก็ต้องเสาะหาช่างมาเป็นลูกมือ งานมากขึ้น ช่างมากขึ้นก็ต้องตั้งขึ้นเป็นกรมทหารใน แม้แต่กรมมหาดเล็กก็ยังมีกรมช่างมหาดเล็ก เป็นอีกกรมหนึ่งเหมือนกัน มีช่างเขียน ช่างปั้นและอื่น ๆ ช่างสิบหมู่จึงเป็นชื่อกรมที่รวบรวมช่างไว้มีสิบหมู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าในบ้านเมืองมีช่างแค่สิบอย่างเท่านั้น ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมารวมไว้เรียกว่า "ช่างสิบหมู่" "

แท้จริงช่างไทยมีอยู่มากกว่า ๑๐ หมู่ แต่ที่เรียกว่า "ช่างสิบหมู่" ก็เพื่อต้องการจะรวบรวมช่างที่เป็นส่วนสำคัญไว้ก่อนเพียง ๑๐ หมู่ ต่อมาภายหลังจึงได้เพิ่มเติม หรือแยกแขนงออกไปอีกตามลักษณะของงานนั่นเอง ตามบัญชีชื่อช่างที่ขึ้นทำเนียบเป็นช่างหลวงมีดังต่อไปนี้ ช่างเลื่อย ช่างก่อ ช่างดอกไม้เพลิง ช่างไม้สำเภา ช่างปืน ช่างสนะ(จีน) ช่างสนะ (ไทย) ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างรัก ช่างมุก ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างบุ ช่างปูน ช่างหุงกระจก ช่างประดับกระจก ช่างหยก ช่างชาดสีสุก ช่างดีบุก ช่างต่อกำปั่น ช่างทอง

“ช่างสิบหมู่” ช่างสิบหมู่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นจำนวนสิบ แต่สิบตัวนี้เป็นภาษาบาลีความเดิมเขียนว่า สิปปะ และหดไปเหลือ ป. ตัวเดียว แล้วลดมาเป็น บ. เป็นสิบ จะให้เข้าใจง่ายว่าช่างสิบประเภทก็เลยไม่มีใครเข้าใจภาษาดั้งเดิม ช่างสิปปะตรงกับในสันสกฤตแปลว่า “ศิลปะ” เพราะในภาษาสันสกฤตใช้ตัว ศ. ศิลปะกับสิปปะในบาลีจึงมีความหมายตรงกัน ช่างสิบหมู่คือช่างงานศิลปะ โดยในราชการของหลวงก็ต้องทำของใช้ในส่วนของราชการส่วนพระ ส่วนราชกุลสกุล และบริการแก่ศาสนา บริการแก่ประชาชนจึงต้องมีช่างไว้มากมายหลายประเภท ช่างเหล่านี้ก็มาจากการรวบรวมคนที่มีความสามารถมีฝีมือจากพื้นถิ่นพื้นบ้านเอามาเป็นช่างหลวงรวมไว้ในหมู่ กรมช่างสิบหมู่เดิมก็ถูกรวมเป็นกรมศิลปากรแล้วก็มาเป็นกองหัตถศิลป์ใน สุดท้ายเปลี่ยนเป็นกรมศิลปากร ในปัจจุบัน ฉะนั้นแล้วช่างสิบหมู่จึงไม่ได้หมายความว่าเป็นช่าง ๑๐ ประเภทอย่างที่บางคนเข้าใจ

สงสัยเหมือนกันว่าชื่อช่างบางหมู่นั้นทำอะไรบ้าง เช่น ช่างสนะ (จีน-ไทย) ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างทำรุ ช่างหุงกระจก  ช่างชาดสีสุก และอื่น ๆ

 ???





กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับช่างไม้สำเภา ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ขอคำอธิบายด
เริ่มกระทู้โดย: สุภาวดี ที่ 01 ส.ค. 11, 08:18
ก็งงเหมือนกันพอดีครูให้หาช่าง10หมู่กับช่าง19หมู่แต่ก็หาไม่ได้อ่ะค่ะ


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับช่างไม้สำเภา ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ขอคำอธิบายด
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ส.ค. 11, 09:05
กฎหมายตราสามดวง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมรวมช่างสิบหมู่ไว้ดังนี้

พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน มี
ช่างเลื่อย ช่างปืน ช่างก่อ ช่างสะนะ ช่างดอกไม้เพลิง จีนช่างสะนะ ช่างชุมพราหมเทษ ช่างรัก ช่างเงิน ช่างมุก


พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง มี
ช่างทำลุ ช่างปั้น ช่างเขียน ช่างหุ่น ช่างแกะ ช่างรัก ช่างสลัก บุ ช่างกลึง ปูน ช่างหล่อ


พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง (ในกรมทหารฝ่ายอื่น) ปรากฏช่างดังนี้
ช่างปืนเลว ในกรมพัน ,  ช่างปากไม้ ในกรมทหารใน , ช่างเรือ ในกรมช่างเรือ


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับช่างไม้สำเภา ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ขอคำอธิบายด
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ส.ค. 11, 09:07

สงสัยเหมือนกันว่าชื่อช่างบางหมู่นั้นทำอะไรบ้าง เช่น ช่างสนะ (จีน-ไทย) ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างทำรุ  ช่างหุงกระจก   ช่างชาดสีสุก และอื่น ๆ

 ???


ช่างทำรุ หรือ ช่างทำลุ คือ ช่างที่ทำการรื้อถอน

ช่างสนะ (จีน - ไทย) คือ ช่างเย็บ ช่างชุน รวมไปถึงบรรดาเสื้อเกราะ เสื้อหนังต่าง ๆ

ช่างหุงกระจก คือ ช่างทำแก้วหุงบนแผ่นตะกั่ว เกิดกระจกไว้ประดับตามสถาปัตยกรรมไทย และวัตถุต่าง