เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7662 การ์ตูนญี่ปุ่น
สมชาย
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 13 ก.ค. 01, 07:11

ผมเคยหยิบการ์ตูนญี่ปุ่นมาอ่านดู ต้องสารภาพว่าอ่าน(ดู)ไม่รู้เรื่องแฮะ มันไม่มีคำบรรยาย กระทั่งคำพูดก็ไม่ค่อยจะมี คนอ่านคงจะต้องมีจินตนาการกว้างไกลจึงจะอ่าน(ดู)รู้เรื่อง
แต่ผมเป็นห่วงว่าเด็กที่อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นมากๆ ความสามารถในการสื่อสารจะลดน้อยลงนะ แล้วก็ไม่อยากพูดซะด้วย
ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ในสังคม มันควรจะเป็น two way นะ และถ่าเราไม่สามารถ express ความในใจ ความคิดของเราได้ชัดเจน มันจะเป็นปัญหาได้ไหม
ผมไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี่ที่โรงเรียนยังมีวิชาเรียงความอยู่หรือไม่ หรือเอาแต่ยัดเยียดวิชาสอบเข้าสมองเด็ก ผมว่าที่ประเทศอื่นๆเขายังเน้นการเขียน essay อยู่นะ มันช่วยในการทำงานได้เยอะเลย
นอกเรื่องซะแล้ว
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 พ.ค. 01, 02:07

คุณสมชายครับ ผมขออนุญาติชี้แจงหน่อย เพราะรู้สึกว่าคุณสมชายพึ่งเข้ามาเล่นใหม่น่ะครับ
เลยตั้งกระทู้ไม่ค่อยถูกกลุ่มนัก ความจริงก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่หรอกครับ
แต่ถ้าตั้งกระทู้ผิดกลุ่มก็จะไม่มีคนมาร่วมแสดงความเห็นเท่าไหร่นัก
คุณสมชายก็อาจจะคุยไม่สนุกเท่าที่ควรน่ะครับ

ในห้องนี้ส่วนใหญ่สนใจเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภาษา และ ศิลปะวัฒนธรรม กันน่ะครับ
ถ้าเป็นกระทู้เกี่ยวกับวิจารณ์สังคม การเมือง ต้องเป็นที่ห้องบ้านนี้เมืองนี้
ถ้าเป็นเกี่ยวการศึกษาเช่นกระทู้นี้ที่ห้องครูอาจารย์จะดีกว่าครับเพราะมีครูอาจารย์
เข้ามาเล่นเยอะ คุณครูเขาอาจจะมองอีกแง่หนึ่งก็ได้อันนี้ผมก็ไม่ทราบ

การตูนญี่ปุ่นนี่ผมไม่ได้อ่านมาหลายปีแล้วครับ เลยไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร
แต่เมื่อก่อนอ่าน ( ตอนเป็นเด็ก ) ก็สนุกดี
บันทึกการเข้า
วรวิชญ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 พ.ค. 01, 08:29

การ์ตูนเป็นเรื่องของศิลปวัฒนธรรมครับ อย่าไปสร้างกำแพงปิดกั้น จะเห็นได้ง่ายเช่น ยุคสมัยหนึ่งคนไทยชอบอ่านหนังสือการ์ตูนเรื่องจักรๆวงศ์ๆ เนื่องจากคนในสังคมไทยยังอยู่ใกล้ชิดกัน แต่เมื่อสังคมขยายตัว รับวัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น เราจึงได้เห็นการ์ตูนเรื่องราวสะท้อนชีวิต ได้เห็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่หลั่งไหลเข้ามาแทนที่การ์ตูนไทยมากขึ้น ผมเห็นด้วยกับคุณสมชาย ที่ดูการ์ตูนญี่ปุ่นไม่ค่อยจะรู้เรื่อง  ยังนึกไม่ออกว่าเด็กไทยที่ดูการ์ตูนจะเข้าใจได้สักเพียงไร
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 พ.ค. 01, 09:40

ขอบคุณคุณjorครับ ตอนแรกผมจะคุยแต่เรื่องการ์ตูน แต่อดไม่ได้ต้องใส่ความเห็นเรื่องอื่นด้วยเพราะมันสัมพันธ์กัน ว่าจะโพสต์ในบ้านนี้เมืองนี้ด้วยเหมือนกันแหละ (คงต้องโพสต์ทั้งสองBoard)
อย่างที่คุณวรวิชญกรุณาบอกไว้ ผมว่ามันก็เป็นวัฒนธรรม
แล้วก็รู้สึกว่า(อาจจะเป็นความรู้สึก)จะมีคนเข้าในเรือนไทยเยอะกว่าบ้านนี้เมืองนี้
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 พ.ค. 01, 12:24

คงต้องอ่านภาษาญี่ปุ่นภึงจะรู้เรื่อง
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 พ.ค. 01, 14:49

หมายถึงว่าการ์ตูนญี่ปุ่นที่แปลเป็นไทยกับการ์ตูนที่ญี่ปุ่นไม่เหมือนกันหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 พ.ค. 01, 15:13

เรียน คุณภูมิที่นับถือ
ต้องการรู้เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นนิดนึงครับ ผมจะpostอันใหม่ก้เกรงว่าชื่อผมจะปรากฎมากไปหน่อย เพิ่งเข้ามาแท้ๆ
แต่ละชาติแต่ละภาษาเนียะ จะบ่งบอกวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของตัวเอง เช่นภาษาจีนจะมีคำที่เกี่ยวกับฟ้า(เทียน)ไว้เยอะ ภาษาเอสกิโมก็จะมีคำที่พูดถึงหิมะ นำ้แข็งไว้เยอะ ภาษาไทยก็จะเกี่ยวกับใจ ทางafricaก็จะมีคำทีพูดถึงทุ่งหญ้าและสีเขียว ผมอยากทราบว่าภาษาญี่ปุนจะเป็นอย่างไร ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 พ.ค. 01, 21:54

เรื่องการ์ตูนญี่ปุ่น ดูเหมือนมีคุณหมอท่านหนึ่ง (นพ.ประเสริฐ ผลิตผล ..? นามสกุลจำไม่ได้ครับ) วิเคราะห์ไว้น่าสนใจมาก

ผมว่า การสื่อสารด้วยลายเส้นนำอารมณ์ก็เป็นการสื่อสารครับ อาจถือได้ว่าเด็ก หรือคนอ่านการ์ตูน กำลังเสพงานศิลปะอย่างหนึ่ง เหมือนผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ชอบงานศิลปะแอ็บสแตร็ก ที่เด็ก หรือผู้ใหญ่เองกลุ่มอื่นๆ อาจจะไม่ชอบบอกว่าไม่รู้เรื่อง
แต่การพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างอื่นก็สำคัญ เห็นด้วยครับ
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ค. 01, 00:37

เห็นจะจริงครับ อาจจะเป็นเพราะผมมีอคติกับการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่ ก่อนที่จะเอามาอ่าน เพราะทีอย่างอื่นมีแต่รูป ผมก็ดูได้ดูดี คงต้องไปหาที่เจ๋งๆ ( การ์ตูนนะ่ )แล้วลอง ( อ่าน ) ดู
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ค. 01, 07:48

ผมเคยเป็นแฟนการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่นาน 2525-2534 ซื้อมากและอ่านมาก ไม่เคยมีปัญหาอ่านไม่รู้เรื่อง แต่ก็รู้จักหลายคนที่อ่านแล้วบ่นว่าไม่รู้เรื่อง หลายคนบอกว่าการ์ตูนญี่ปุ่นไม่สร้างสรรค์ และหาสาระไม่ได้ แต่ผมเห็นว่ามันไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นนั้น ผมได้ความรู้หลายอย่างจากการอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น แต่ก็ยอมรับว่าในเวลาเท่าๆกันนั้น การอ่านหนังหนังสือที่เป็นเรื่องเป็นราวจะได้สาระมากกว่า ถึงกระนั้นก็ตาม มีอยู่อย่างหนึ่งที่การ์ตูนให้ได้มากกว่าหนังสือปกติ คือจินตนาการในบางแง่มุมที่ยากจะอธิบายโดยใช้การบรรยายเพียงอย่างเดียว
ถึงวันนี้ ผมถือว่าเลิกเป็นแฟนการ์ตูนมานาน ด้วยเหตุที่ว่าหาเวลาอ่านยาก รวมกับความที่รู้สึกว่าการ์ตูนแพงขึ้นมาก(พร้อมกับการมาถึงของการ์ตูนลิขสิทธิ์) แต่ถ้ามีโอกาสก็จะหยิบจับขึ้นมาอ่านบ้าง หลายครั้งก็อ่านไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ก็เป็นเพราะการ์ตูนพวกนี้เป็นเรื่องยาว เรามาอ่านตอนกลางเรื่องคงจะรู้เรื่องยาก แต่ที่เห็นอย่างหนึ่งและอยากฝากไว้คือ ไม่ว่ายุคก่อนหรือยุคนี้ มีการแปลที่ผิดพลาด(คนแปลมีความรู้ไม่ถึง?) ทำให้เป็นการให้ความรู้ผิดๆกับคนอ่านด้วย
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 พ.ค. 01, 08:27

เคยอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นสมัยทำวิทยานิพนธ์ (แก้เครียดได้ดี)  นอกเหนือไปจากบทบรรยาย หรือคำพูดแล้ว  คิดว่าเทคนิคของนักเขียนการ์ตูนเขาเก่งมาก ๆ เลย
บางเหตุการณ์เขาเจาะจงให้คนอ่านตาม "สัญญ" คล้ายกับการตัดต่อภาพยนต์
 การสื่อในแต่ละช่องของการ์ตูนพวกนี้ ทำให้คนอ่านต้องใช้จินตนาการอย่างต่อเนี่อง  จะไม่เหมือนการ์ตูนช่องสี่เหลี่ยมต่อ ๆ กันไป
อันที่จริงแล้ววิธีการนี้ทำให้คนอ่านต้องใช้สมองมากกว่าอ่านภาพและตัวหนังสือตรง ๆ
 เลยคิดว่าคนที่อ่านและเข้าใจเรื่องราวในการ์ตูนญี่ปุ่นที่คนเขียนมีฝีมือจริง ๆ แล้วช่วยด้านพัฒนาการมากกว่าเป็นผลร้าย
 แต่ เนื้อหาเป็นอีกเรื่องนึง  เพราะยอมรับว่าการ์ตูนญี่ปุ่นบางเรื่องรุนแรงเกินไป  ซึ่งก็สะท้อนสภาพจิตใจของคนในบ้านเขา   และแทรกซึมเข้าบ้านเราแล้ว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก ได้แก่ การ์ตูนสยองขวัญ หรือผี ทำนองนั้น  ของญี่ปุ่นจะสยองมาก ๆ เลย  และบางเรื่องก็เกินไปกว่าแนวคิดทางจริยธรรมของบ้านเรา
บันทึกการเข้า
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 พ.ค. 01, 20:15

เห็นประเด็นนี้แล้วขออนุญาตกระโดดเข้าแจมทันทีในฐานะที่อ่านการ์ตูนมาชั่วชีวิต อิ อิ

1) การ์ตูนญี่ปุ่นอ่านไม่ยากค่ะ คุณต้องเรียงตามช่องจากซ้ายไปขวาจากบนลงล่าง
การ์ตูนญี่ปุ่นฉบับแปลเป็นภาษาไทยเขาจะกลับฟิล์มให้เราอ่านจากด้านซ้ายมือมาขวามือ
ซึ่งถ้าเป็นต้นฉบับจะต้องอ่านกลับหลังคือจากขวามาหน้าแบบหนังสือจีน แรกๆถ้าไม่คุ้น
ก็อ่านยากหน่อยแต่พอชินแล้วคราวนี้จะฉลุยเลยค่ะ

2) เป็นธรรมชาติของการ์ตูนไม่ว่าชาติไหนๆจะเน้นความสำคัญที่ภาพเป็นหลักดำเนินเรื่อง
ด้วยบทสนทนานะคะ งานเขียนของนักเขียนการ์ตูนชั้นครู (ของญี่ปุ่น) บางคน เช่น อาดาจิ
มิซึรุ ภาพเพียงภาพเดียวทานคำพูดได้เป็นล้านๆคำค่ะ ดิฉันเองก็เห็นด้วยว่าถ้าเด็กเริ่มต้นจาก
การอ่านการ์ตูนและอ่านแต่การ์ตูนอย่างเดียวอาจทำให้พัฒนาการด้านการอ่านของเขาสะดุดได้
เพราะจะขี้เกียจอ่านอะไรที่มันยาวๆอีกแล้ว คิดว่านะคะผุ้ปกครองน่าจะส่งเสริมและชี้แนะให้เด็กๆ
ได้อ่านหนังสืออื่นที่นอกเหนือจากการ์ตูนควบคู่กันไปด้วยค่ะ

3) นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ค่ะเป็นคนแรกที่เขียนถึงการ์ตูนอย่างมีเมตตาปราณี
ที่สุดและสามารถนำเรื่องดีๆที่หลายคนมองข้ามหรือมองเห็นแต่ก็ไม่พูดถึงละเลยออกมาเสนอต่อ
สังคมในเชิงวิชาการ ตอนนี้หนังสือรวมบทความการ์ตูนที่รักออกมาเล่ม 2 แล้วค่ะ

4) การ์ตูนญี่ปุ่นเปิดโลกทรรศน์และจินตนาการมากนะคะ จำได้ว่าเริ่มอ่านครั้งแรกจากเรื่อง
คำสาปฟาโรห์และเรื่องนี้เองทำให้ต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลของอารยธรมอียิปต์รวมถึงอารยธรรมอื่น
ที่ร่วมสมัยนั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นมักหยิบเอาเรื่องนั้นเรื่องนี้จากเรื่องราว
หรือตำนวน ฯลฯ ทั่วโลกและก็มาแต่งเติมเสริมแต่งสร้างกระแสการแสวงงหาความรู้เพิ่มเติม
ให้กับคนอ่านได้ดีทีเดียว ที่สำคัญจินตนาการให้คิดการผูกเรื่องของเขายอดเยี่ยมจริงๆ

5) เซ็กส์และความรุนแรงในการ์ตูนญี่ปุ่นปัจจุบัน ดิฉันยอมรับว่าน่ากลัวมาก เป็นเพราะการสะท้อนภาพ
ของสังคมญี่ปุ่นส่วนหนึ่งด้วยค่ะ การ์ตูนผู้หญิงปัจจุบันเห็นเรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมดา อาจด้วยเพราะ
นักเขียนการ์ตูนก็ยังเป็นนักเขียนเด็กๆอายุไม่มาก ร่วมสมัยกับสังคมที่เขียน การ์ตูนผู้ชายก็เน้นความรุนแรง
ต่อสู้หลายเรื่องต่อสู้แบบไม่มีศิลปะเอาเลยทีเดียว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากๆค่ะที่จะคัดเลือกการ์ตูน
ที่เหมาะสมให้กับเด็กๆอ่าน อีกอย่างหนึ่งบ้านเราไม่มีการกำหนดอายุคนอ่านไว้ด้วยยิ่งทำให้เป็นเรื่องยากเข้าไปใหญ่
และตราบใดที่ธุรกิจนี้ยังสามารถทำกำไรได้เป้นกอบเป้นกำเราคงจะหาความหวังเอากับนายทุนให้ช่วยพิจารณา
เรื่องที่จะพิมพ์ไม่ได้หรอกค่ะ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 12:27

ตอบคุณสมชาย
ผมอ่านแล้วก็งง ไม่ทราบว่าคุณต้องการอะไร  :-)
เพราะการใช้คําแต่ละก็จะแสดงทัศนคติต่อเหตุการณ์หนึ่งๆ ซึ่งผมคิดว่าไม่มีอะไรที่
จะสรุปรวบยอด
อย่างไทยที่คุณสมชายว่ามาว่ามีคําว่าใจเป็นหลัก ผมก็ว่าไม่น่าใช่

เรื่อง การ์ตูนที่รัก รู้สึกออกเล่ม๓แล้วนะครับ
บางเรื่อง ผมก็รู้สึกว่าคุณหมอ วิจารณ์แปลกๆ
อย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกคือ การ์ตูนญี่ปุ่นในเมืองไทยผ่านการแปลมาชั้นหนึ่ง
ดังนั้นจึงมีการใส่ความรู้สึกของผู้แปลเข้าไปด้วย ทําให้หลายจุดมีความแตกต่างจากต้นฉบับ
หลายคนแปลเอามันไว้ก่อน บางคนก็ไม่รู฿้จริง
บางทีจะรู้สึกว่า เรื่องในเมืองไทยกับต้นฉบับเป็นคนละเรื่องก็มี
เวลาวิจารณ์ก็จะยิ่งขยายส่วนเบี่ยงเบนนี้ออกไปอีก

ในความรู้สึกของผม การ์ตูนของญี่ปุ่นก็คือหนังสือของไทยฃ
ในความหมายของผมคือ หนังสือก็มีตั้งแต่หนังสือวิชาการยันหนังสือปกขาว
การเหมารวมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง
เพราะการ์ตูนในเมืองไทยมีไม่ถึงหนึ่งในสิบของการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งหมด
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 21:29

เรียน คุณภูมิที่นับถือ
ไม่ได้หมายความว่าเป็นหลักหรอกครับ คนไทยเป็นคนที่คำนึงถึงจิตใจเป็นรากแห่งวัฒนธรรม ก็เลยมีคำที่เกี่ยวกับใจที่ภาษาอื่นอาจจะไม่มี ถ้าแปลเป็นภาษาื่อื่นอาจต้องใช้คำอธิบายยืดยาวกว่าจะเข้าใจเช่น น้อยใจ ใจน้อย เกรงใจ รันทดใจ ใจง่าย ใจอ่อน อ่อนอกอ่อนใจ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 23:12

งั้นอย่างชื่อปลาแปลกๆ ที่คนไทยเหมารวมไปหมด เช่นปลาตาเดียว ปลาอินทรีย์
น้อยใจ  ใจน้อย suneru
เกรงใจ enryou
รันทดใจ kanashii
ใจง่าย uwakishou
ใจอ่อน amai
อ่อนอกอ่อนใจ akireru
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 21 คำสั่ง