เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ประภาวัฒน์ ที่ 10 พ.ย. 14, 10:34



กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ประภาวัฒน์ ที่ 10 พ.ย. 14, 10:34
วันนี้จะมาขอรับความรู้ จากเว็บเรือนไทยครับ ว่าโขนแต่โบราณเป็นยังไงต่างกับปัจจุบันมากไหม ทำไมจึงเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง รูปถ่ายและหลักฐานการแสดงในสมัยโบราณ พอมีไหมครับ
พอดีเมื่อวานผมได้เขาไปฟังสอนเสริมของ มสธ. วิชาไทยศึกษา พอได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับโขน และหุ่นแสดงต่างๆ ซึ่งหุ่น หลายตัวเพิ่งจะเคยได้ยินชื่อ เช่นหุ่นหลวง นี้เล่นกันอย่างไร ทุกวันนี้จะหาดูได้ยังไงครับ
หลายท่านอาจ งง ว่า และนึกในใจว่า เมื่อ สูเจ้า สงสัยใยจึงไม่สอบถามอาจารย์ มาถามพวกตูทำไม google ก็มี (ดักไว้ก่อน อิอิ กลัวเจอ แบบใน พันดริฟ) ถามแล้วครับแต่ก็ได้คำตอบแบบไม่ค่อยมากนัก อาจารย์ท่านไม่ได้ศึกษา มาทางนี้ และรูปประกอบก็ไม่ค่อยมี ส่วนพันดริฟนี้เกรียนเยอะเกินไปครับ บ้านที่ผมอยู่ค่อนข้างไกลจากแหล่งความรู้ดีดี ค่อนข้างมาก เป็นเขตอุตสาหกรรมครับ จึงอยากจะขอรบกวนทุกท่านช่วยต่อเติมความรู้สักคราครับ

ปล.ขอบคุณ คุณอา Navarat C. ด้วยนะครับ เอารถถังกับรถยนต์ไป วางไว้ให้ดู จริงๆ คราวหน้าขอเรื่อง รถพระที่นั่งจัดเต็ม สักกระทู้นะครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 พ.ย. 14, 10:44
หลานคนนี้ ตามมาจากวิกโน้น

http://pantip.com/topic/32770533 (http://pantip.com/topic/32770533)

ผมเคยลงเรื่องและรูปคล้ายกันในวิกนี้มาแล้ว จะลงที่นี่อีกก็คงซ้ำซาก และอยากให้ผู้ที่ชอบเรื่องทหารๆในประวัติศาสตร์ได้อ่านเรื่องทำนองนี้ให้มากๆขึ้น นานๆก็เลยแวะไปเยี่ยมที่โน่นที ไปมากไม่ได้ ขี้เกียจโต้ตอบกับเด็กแว้น


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 พ.ย. 14, 10:46
อ้อ ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูกับดร.ประกอบด้วยนะครับ ที่ตามไปให้กิฟ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 11:10
อ้อ ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูกับดร.ประกอบด้วยนะครับ ที่ตามไปให้กิฟ

คุณชายประกอบเทพเรียนจบ เป็นดร.แล้วหรือคะ  จะได้แสดงความยินดีด้วย


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 พ.ย. 14, 11:57
เราก็เรียกไปก่อนได้ครับ Ph.D Candidate ก็พอมองเห็นอนาคตใสๆ

ฟังเท่ห์ดี เหมือนเวลาเรียก ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ แบบสั้นๆ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 10 พ.ย. 14, 13:27
ตอนนี้ยังเป็นด็อกเฉยๆ อยู่ครับ เตอร์ยังไม่มา  เตอร์มาเมื่อไหร่จะหาซื้อหอยทากกระป๋องไปฝากท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายเลย



กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 13:33
มีเต้อร์เมื่อไรบอกนะคะ  จะเชิญท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายในเรือนไทย มาตัดริบบิ้นเปิดเรือนเลี้ยงอาหารทะเลสักมื้อ   


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 พ.ย. 14, 14:24
พอดีเมื่อวานผมได้เขาไปฟังสอนเสริมของ มสธ. วิชาไทยศึกษา พอได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับโขน และหุ่นแสดงต่างๆ ซึ่งหุ่น หลายตัวเพิ่งจะเคยได้ยินชื่อ เช่นหุ่นหลวง นี้เล่นกันอย่างไร ทุกวันนี้จะหาดูได้ยังไงครับ

เรื่องการแสดงหุ่นเคยบรรยายไว้โดยคณาจารย์เรือนไทยแล้วในชื่อกระทู้ว่า "เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย" (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4248.msg79596#msg79596) กล่าวถึงหุ่น ๔ ประเภท คือ

๑.  หุ่นหลวง
๒.  หุ่นวังหน้า สมัยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
๓.  หุ่นกระบอก  
๔.  หุ่นละครเล็ก

คุณประภาวัฒน์ลองเข้าไปอ่านดูก่อน  ;D



กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 10 พ.ย. 14, 14:45
ดร.สุรัตน์ จงดา คณะไก่แก้วการละคร เพิ่งจัดแสดงหุ่นหลวงครั้งแรกหลังจากสูญหายไปกว่า 150 ปีที่ลานหน้าพระอุโบสถ วัดบวรสถานสุธาวาส เมื่อวันที่ 9 พ.ย. นี้เองค่ะ โดยหุ่นหลวงครั้งนี้เห็นว่าอาจารย์ออกทุนเอง มีได้ทุนมาจากรีเจนซี่ด้วย ซึ่งการแสดงหุ่นหลวงครั้งนี้เป็นการร่วมงานแสดงเทศกาลหุ่นโลกค่ะ เห็นว่าวันนี้มีแสดงอีกเป็นวันสุดท้ายนะคะ นี่ถ้าไม่ติดว่าต้องรีบกลับบ้านที่ชลบุรี เมื่อวานนี้ก็ว่าจะรอชมด้วยค่ะ เห็นว่าแสดงเรื่องราชาธิราช

ภาพจากเฟสบุ๊คอ.สุรัตน์ค่ะ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ประภาวัฒน์ ที่ 10 พ.ย. 14, 15:23
คุณนางมารน้อยครับ แล้วนี่เขาเล่นกันอย่างไรหรือครับ ปรกติกาลสมัยก่อนนี้เล่นในโอกาศใดบ้างครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ประภาวัฒน์ ที่ 10 พ.ย. 14, 15:30
อาจารย์ เพ็ญชมพู ครับ ตัวหุ่นนี้แต่เดิมในยุครุ่งเรืองนี่มีความสวยงามกว่านี้หรือไม่ครับ พอดีได้อ่านจากเว็บนึงมา ระบุว่า "ยุครุ่งเรืองของโขนละคร อยู่ในช่วงต้นกรุง เขาว่ามาเสื่อมเอาตอนรัชกาลที่ ๔" แล้วยุคนั้น หุ่นละครมีความแพร่หลายขนาดใดกันครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 10 พ.ย. 14, 21:09
คุณประภาวัฒน์เคยไปดูการซ้อมหุ่นตะเลงพ่าย  ของอ.จักรพันธุ์หรือยังคะ? ถ้ายัง  เชียร์ให้ไปค่ะ เป็นการแสดงหุ่นที่สุดยอดจริงๆ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 พ.ย. 14, 07:21
โขนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ เป็นการแสดงให้เห็นระหว่างความดีกับความชั่ว (ตามที่ฝรั่งเขียนบรรยายไว้) โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า

โขนโบราณที่หายไปจากสังคมไทยแล้วคือ "โขนนั่งราว" ซึ่งจะเล่นบนเวทีมีนั่งร้านให้ตัวแสดงนั่งบนไม้ไผ่

ส่วนโขนกลางแปลง ก็ยังมีให้เห็นอยู่เช่น การแสดงโขนที่อัมพวา เป็นการแสดงโขนในที่โล่ง ไม่มีเวที ก็เรียกว่าโขนกลางแปลง


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 09:42
อาจารย์ เพ็ญชมพู ครับ ตัวหุ่นนี้แต่เดิมในยุครุ่งเรืองนี่มีความสวยงามกว่านี้หรือไม่ครับ พอดีได้อ่านจากเว็บนึงมา ระบุว่า "ยุครุ่งเรืองของโขนละคร อยู่ในช่วงต้นกรุง เขาว่ามาเสื่อมเอาตอนรัชกาลที่ ๔" แล้วยุคนั้น หุ่นละครมีความแพร่หลายขนาดใดกันครับ

ขออนุญาตเท้าความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีบันทึกของลา ลูแบร์เกี่ยวกับเรื่องหุ่น (สำนวนแปลของคุณสันต์ ท. โกมลบุตร) ดังนี้

"หุ่นกระบอกในประเทศสยามนั้นเป็นใบ้ไม่ออกเสียง (คุณสันต์อธิบายตรงนี้ว่าหมายถึงไม่มีคนพากย์  ท่าลาลูแบร์จะหลงไปถนัด) หุ่นกระบอกที่มาจากประเทศลาวนั้น ยังมีคนชอบดูมากกว่าของประเทศสยามเองเสียอีก แต่ไม่ว่าจะเป็นหุ่นกระบอกของชาติไหนในสองประเทศนี้ ก็เป็นมหรสพพื้น ๆ ไม่ขึ้นหน้าขึ้นตาในประเทศด้วยกันทั้งคู่"

ในกระทู้ที่แนะนำไว้ข้างต้น มีภาพหุ่นหลวงและหุ่นวังหน้าทั้งก่อนและหลังการบูรณะโดยคุณจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓ หลายภาพทีเดียว คุณประภาวัฒน์คงตัดสินได้ว่ามีความสวยงามประการใด

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ หุ่นที่มีการเล่นเป็นของวังหน้าแสดงทั้งในงานหลวงและงานราษฎร (ระดับบิ๊ก) ดังที่คุณเทาชมพูเล่าไว้ดังนี้

     หุ่นวังหน้าเรื่องรามเกียรติ์ ได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานสมโภชช้างเผือกที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์  บันทึกไว้ในหนังสือข่าวราชการ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๙ ว่า
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พลับพลาหน้าโรง    ทอดพระเนตรหุ่นอย่างใหม่ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้ทรงคิดขึ้นใหม่นั้น    ปลูกโรงลงในท้องถนนตรงหน้าพลับพลา    โรงนั้นยาวประมาณ ๑๐ วา    ตัวหุ่นนั้นสูงประมาณ ๑๐ นิ้ว ฯลฯ   เมื่อเชิดนั้นไม่เห็นตัวคนเชิด    และเจรจาหรือพากย์ก็ดี   ไม่เห็นตัวคนพากย์คนเจรจา    มีแต่ตัวหุ่นออกมาเต้นรำทำท่าต่างๆ    และในโรงนั้น รางพื้น รางเพดานเพื่อจะได้เชิดแลเหาะ"

     และใน  ราชกิจจานุเบกษา บันทึกว่า
     "ในงานทำบุญสมภพในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ครบ ๗๑ ปี    กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจัดหุ่นไปช่วยเพลา ๑"


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 10:14
โขนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ เป็นการแสดงให้เห็นระหว่างความดีกับความชั่ว (ตามที่ฝรั่งเขียนบรรยายไว้)

ลองฟังฝรั่งอีกคนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ คือ ลา ลูแบร์ (เจ้าเก่า) เล่าเกี่ยวกับโขนสมัยนั้นไว้ดังนี้

"โขน (Cône) นั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว นาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่เป็นหน้าปีศาจ (ยักษ์)

ผู้ที่เล่นระบำ (Rabam) หรือเล่นโขนเท่านั้นที่สวมชฎาทำด้วยกระดาษทองน้ำตะโกทรงสูงปลายแหลมเกือบเหมือนลอมพอกของพวกขุนนาง แต่ครอบลงมาข้างล่างจนปรกปลายหู และประดับอัญมณีเก๊ ๆ กับตุ้มหูทำด้วยไม้ทาทองไว้ด้วย โขนกับระบำนั้นมักหาไปแสดงในงานปลงศพ ลางทีก็หาไปเล่นในงานอื่น ๆ บ้าง และมีท่าทีว่าการมหรสพประเภทนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการพระศาสนาแต่อย่างใด ด้วยเป็นสิ่งต้องห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์ดู"


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley04.png)


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 10:38
โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า

โขนของพม่าใส่หัวโขนทั้งพระราม พระลักษมณ์ และทศกัณฐ์  ;D



กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 10:45
เขมรก็มีโขนโดยรับไปจากราชสำนักสยาม  ;D

หนุมานและนางสุพรรณมัจฉา


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 10:49
โขนของไทยฉากนี้ คุณ Cherokee1 บอกว่าดูแล้วน้ำตาแทบไหลเชียว อยากทราบเหมือนกันว่าหาก ลา ลูแบร์ขึ้นไทม์แมชชีนมาชมโขนไทยชุดนี้แล้ว จะวิจารณ์อย่างไร  ;D

ภาพโขนพม่า เขมร และไทย จาก มหกรรมรามายณะนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๖-๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ถ่ายโดย คุณ Cherokee1  (http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E11478620/E11478620.html)  แห่งพันทิป 


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 11 พ.ย. 14, 11:12
โขนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ เป็นการแสดงให้เห็นระหว่างความดีกับความชั่ว (ตามที่ฝรั่งเขียนบรรยายไว้) โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า

โขนโบราณที่หายไปจากสังคมไทยแล้วคือ "โขนนั่งราว" ซึ่งจะเล่นบนเวทีมีนั่งร้านให้ตัวแสดงนั่งบนไม้ไผ่

ส่วนโขนกลางแปลง ก็ยังมีให้เห็นอยู่เช่น การแสดงโขนที่อัมพวา เป็นการแสดงโขนในที่โล่ง ไม่มีเวที ก็เรียกว่าโขนกลางแปลง

ไม่ทราบว่า โขนชักรอก จะจัดอยู่ในหมวดไหนได้บ้างครับ ?


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ย. 14, 11:53
โขนชักรอกต้องเล่นในโรงนะครับ โขนกลางแปลงคงเล่นไม่ได้ ไม่เนียน


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 11 พ.ย. 14, 15:38
โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า

โขนของพม่าใส่หัวโขนทั้งพระราม พระลักษมณ์ และทศกัณฐ์  ;D



เขาว่าสมัยก่อนของไทยเองพระรามพระลักษณ์ก็สวมหัวโขน แต่พอเอาโขนกับละครมารวมกัน ตอนหลังตัวพระก็ไม่ใส่หัวโขน


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 14, 15:53
พระราม พระลักษมณ์ สวมหัวโขนแบบโบราณ

ภาพจาก หนังสือโขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๒


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ประภาวัฒน์ ที่ 11 พ.ย. 14, 17:48
เอากันตามจริงๆแบบสมบรูณ์เลย โขนมีกี่ตอนกันแน่ครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 พ.ย. 14, 19:05
เอากันตามจริงๆแบบสมบรูณ์เลย โขนมีกี่ตอนกันแน่ครับ

บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ไม่ได้แบ่งเป็นตอนๆ แต่แต่งยาวกันไป ส่วนบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็แต่งเนิรมเติมกันมาเรื่อยๆ

ภายหลังครูโขนละครได้แต่งต่อเนื่องกันมา และสามารถแบ่งเป็นตอนหลัก ๆ ตั้งแต่กำเนิดนนทุก จนถึงครองเมืองจักรวรรดิ์ได้ทั้งสิ้น ๑๐๙ ตอนครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 11 พ.ย. 14, 20:46
จำได้ว่าหัวโขนของตัวพระเหลือแต่ชฎาไม่มีหน้ากากเกิดจากพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๖ ตั้งแต่นั้นสืบมา โขนตัวพระเลยไม่มีหน้ากาก

อันนี้เท็จจริงไม่มีหลังฐาน เพราะตอนเรียนรำคุณครูเล่ามา

(เห็นจีนๆอย่างนี้ จริงๆเป็นโขนธรรมศาสตร์นะเออ...)


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 ธ.ค. 14, 19:56
ส่งภาพจากงานอยุธยามรดกโลก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมาประกอบครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:03
            ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะข่าวพิพาทเรื่อง โขนของใคร (ของใครๆ ก็ต้องหวง) เมื่อไทยตระเตรียม
ขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโก

            ไม่กี่วันมานี้ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ(เจ้าเก่า) เล่าเรื่องนี้ลงนสพ.มติชนว่า

ไทย-กัมพูชา ร่วมกันศึกษาโขน

           โขนมาจากไหน? ไทยกับกัมพูชาควรร่วมกันค้นคว้าวิจัยให้ลุ่มลึกลงรายละเอียดรอบด้าน ซึ่งต้องใช้เวลานาน
หลายปีหรืออาจตลอดไปก็ได้ เพราะไม่มีข้อยุติตายตัว
           โดยเลิกแสดงตนเป็นเจ้าของ เพราะเป็นไปไม่ได้ รังแต่จะก่อให้เกิดประวัติศาสตร์บาดหมางที่เพิ่งสร้างใหม่


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:05
          โขน ไม่ได้มาจากอินเดียทั้งหมด (อย่างที่เข้าใจทั่วไป) แต่มีอย่างน้อย 2 ส่วน ผสมผสานปะปนกัน ได้แก่

          (1.) วัฒนธรรมอินโด-เปอร์เซีย หมายถึง อินเดีย กับ อิหร่าน ได้แก่ เนื้อเรื่อง, เครื่องแต่งตัว ฯลฯ และ
          (2.) วัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิมของอุษาคเนย์ ได้แก่ คำว่าโขน, ท่าโขน, ดนตรี ฯลฯ

          เนื้อเรื่อง รับจากรามายณะอินเดีย แล้วปรับบางอย่างเข้ากับประเพณีท้องถิ่น เรียกใหม่ว่า รามเกียรติ์

          เครื่องแต่งตัว ส่วนมากรับจากวัฒนธรรมเปอร์เซีย (อิหร่าน) เช่น มงกุฎ, ชฎา, ผ้านุ่ง ฯลฯ

          โขน เป็นคำมีรากจากตระกูลภาษาชวา-มลายู ว่า Legon เขมรว่า ละโคน ไทยว่า ละคอน (ปัจจุบันสะกดว่า ละคร)

          ท่าโขน เป็นท่าพื้นเมืองดั้งเดิมของอุษาคเนย์ (ไม่มาจากอินเดีย) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
          (1.) พระ กับ นาง มีหลักคือ ยืด กับ ยุบ
          (2.) ยักษ์ กับ ลิง มีหลักอยู่ที่ตั้งเหลี่ยม, กางขา, ย่อเข่า, ก้นเตี้ย


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:08
          ดนตรี วงดนตรีประกอบการแสดงโขน เขมรเรียกวงพินเพียด (พิณพาทย์) ไทยเรียกวงปี่พาทย์ ประกอบด้วย
เครื่องดนตรีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ของอุษาคเนย์ (ไม่มีในอินเดีย) เช่น ฆ้องวง, ระนาด, กลองทัด, ปี่ แต่มีเครื่องดนตรี
ศักดิ์สิทธิ์จากอินเดียอย่างเดียวประสมวงด้วย คือ ตะโพน (กลองสองหน้าบนขาตั้ง)
 
          ทำนองบรรเลงปี่พาทย์ เรียก เพลง มาจากภาษาเขมร ส่วนเพลงศักดิ์สิทธิ์ประกอบกิริยาเคลื่อนไหวของเทวดา
เรียก ตระ เป็นภาษาเขมร แปลว่า เพลง, ทำนอง

          ไทยต้องนอบน้อมเรียนรู้อีกมากจากกัมพูชา ขณะเดียวกันกัมพูชาก็ต้องเรียนรู้พัฒนาการจากไทย

และ จากคำสัมภาษณ์  คุณสุจิตต์ กล่าวถึง หม่อมเจ้าฉวีวาด ที่โครงกระดูกในตู้ ของคุณชายคึกฤทธิ์ เล่าว่า

           โรงละครเขมร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนเขมร เพราะเกี่ยวเนื่องกับหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด หนีไปทั้ง
โรงละคร นั่นเอง


            คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:10
แผ่นปลิว โขน มาจากไหน? โดยกรมศิลปากร

http://www.sujitwongthes.com/2014/08/khon-roied/ (http://www.sujitwongthes.com/2014/08/khon-roied/)

(คำบรรยายรูปประกอบมุมขวาล่าง -   ภาพสลักรูปรามเกียรติ์บนปราสาทหินในกัมพูชา)


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:11
ต่อ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:12
ต่อ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:13
ต่อ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:14
บทความ  โขน มาจากไหน? อย่างละเอียด โดยคุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ

http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2013/04/khon3april1530.pdf (http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2013/04/khon3april1530.pdf)
 


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 16, 14:47
๑.
             โขนมาจากไหน? ไทยกับกัมพูชาควรร่วมกันค้นคว้าวิจัยให้ลุ่มลึกลงรายละเอียดรอบด้าน ซึ่งต้องใช้เวลานาน
หลายปีหรืออาจตลอดไปก็ได้ เพราะไม่มีข้อยุติตายตัว
           โดยเลิกแสดงตนเป็นเจ้าของ เพราะเป็นไปไม่ได้ รังแต่จะก่อให้เกิดประวัติศาสตร์บาดหมางที่เพิ่งสร้างใหม่

เรื่องนาฏศิลป์และดนตรี ถ้าเทียบกันระหว่างลาวและเขมร ของเขมรจะมีส่วนคล้ายไทยมากกว่า จนหลายคนเข้าใจว่าไทยรับเอามาจากเขมร และคนเขมรเองก็อาจเช่นนั้น

ความจริงแล้ว วัฒนธรรมมีการถ่ายเทกันไปมา อินเดียถ่ายทอดเรื่องนาฏศิลป์ให้เขมร ต่อมาสมัยอยุธยาตอนต้นก็รับอิทธิพลมาจากเขมรอีกทอดหนึ่ง จนเมื่อตอนต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ไทยก็ถ่ายทอดวิชากลับให้เขมร


๒.
จากคำสัมภาษณ์  คุณสุจิตต์ กล่าวถึง หม่อมเจ้าฉวีวาด ที่โครงกระดูกในตู้ ของคุณชายคึกฤทธิ์ เล่าว่า

           โรงละครเขมร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนเขมร เพราะเกี่ยวเนื่องกับหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด หนีไปทั้ง
โรงละคร นั่นเอง


            คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา


เรื่องนี้หม่อมเจ้าฉวีวาดคงไม่เกี่ยวกระมัง

ประวัติละครเขมรนั้น เริ่มต้นขึ้นใหม่สมัยสยามยกทัพไปช่วยเขมรรบญวนครั้งรัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็ได้นำละครติดกองทัพไปด้วย และเมื่อว่างศึกสงครามก็ช่วยสอนละครให้กับนางในราชสำนักเขมร
ต่อมาสมัยสมเด็จพระนโรดมพรหมหริรักษ์ ก็ให้หาครูละครมาจากกรุงเทพมาเพิ่ม ได้ครูละครวังหน้าของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม ละครพระองค์เจ้าดวงประภา ละครพระองค์เจ้าสิงหนาท และละคอนโรงอื่นๆ ไปเป็นครูอีกหลายคน ตัวอิเหนาของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม ได้เป็นเจ้าจอมในสมเด็จพระนโรดม เปลี่ยนชื่อเป็นหม่อมเหลียง

แม้แต่ครูละครเดี่ยวๆ ประวัติทางเขมรยังบันทึกชื่อไว้ ถ้าละครเจ้าจอมอำภาทั้งโรงมีจริง ในรัชกาลที่๕ ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังรัชกาลที่ ๓ หลายสิบปี  ย่อมมีตัวตนหลักฐานยืนยันได้มากกว่า  แต่ไม่ปรากฏว่ามีใครบันทึกถึงละครที่ม.จ.ฉวีวาดพาไปแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ว่าละครเขมรเดี๋ยวนี้หัดจากละครท่านป้าฉวีวาดทั้งสิ้น จึงเป็นการกล่าวตู่อย่างที่สุด


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 17 มิ.ย. 16, 15:38
           ความหมายนั้นคือว่า ที่บางคนเข้าใจว่า ม.จ.ฉวีวาด นำโขนไทยไปเขมรนั้น - ไม่ใช่, หากแต่เป็น
ละครอิเหนา


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 16, 20:49
          ดนตรี วงดนตรีประกอบการแสดงโขน เขมรเรียกวงพินเพียด (พิณพาทย์) ไทยเรียกวงปี่พาทย์ ประกอบด้วย
เครื่องดนตรีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ของอุษาคเนย์ (ไม่มีในอินเดีย) เช่น ฆ้องวง, ระนาด, กลองทัด, ปี่ แต่มีเครื่องดนตรี
ศักดิ์สิทธิ์จากอินเดียอย่างเดียวประสมวงด้วย คือ ตะโพน (กลองสองหน้าบนขาตั้ง)
 
          ทำนองบรรเลงปี่พาทย์ เรียก เพลง มาจากภาษาเขมร ส่วนเพลงศักดิ์สิทธิ์ประกอบกิริยาเคลื่อนไหวของเทวดา
เรียก ตระ เป็นภาษาเขมร แปลว่า เพลง, ทำนอง

          ไทยต้องนอบน้อมเรียนรู้อีกมากจากกัมพูชา ขณะเดียวกันกัมพูชาก็ต้องเรียนรู้พัฒนาการจากไทย

และ จากคำสัมภาษณ์  คุณสุจิตต์ กล่าวถึง หม่อมเจ้าฉวีวาด ที่โครงกระดูกในตู้ ของคุณชายคึกฤทธิ์ เล่าว่า

           โรงละครเขมร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนเขมร เพราะเกี่ยวเนื่องกับหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด หนีไปทั้ง
โรงละคร นั่นเอง


            คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา

โอ้ นาร้ายน์ นารายน์
จนป่านนี้ น้าสุจิตต์ยังเชื่อเรื่องท่านป้าฉวีวาดอีกหรือ ? ?


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มิ.ย. 16, 20:52
           ความหมายนั้นคือว่า ที่บางคนเข้าใจว่า ม.จ.ฉวีวาด นำโขนไทยไปเขมรนั้น - ไม่ใช่, หากแต่เป็น
ละครอิเหนา

แล้วคุณSILAเข้าใจว่าอย่างไรละครับ ขอประทานโทษ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มิ.ย. 16, 21:01
            คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา

โอ้ นาร้ายน์ นารายน์
จนป่านนี้ น้าสุจิตต์ยังเชื่อเรื่องท่านป้าฉวีวาดอีกหรือ ? ?

คุณลุงท่านไม่ได้เข้ามาอ่านเรือนไทยมั้งคะ 


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มิ.ย. 16, 08:12
บทความเรื่องโขน ละคร โดยคุณธนิต อยู่โพธิ์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2496


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 18 มิ.ย. 16, 09:40
            ประโยคสัมภาษณ์สั้นๆ(ไม่ได้จด;จำมา) ของคุณสุจิตต์นั้น หาไม่พบแล้ว หากแต่พบบทความนี้โดยคุณสุจิตต์
จากมติชน

      ท่านป้าฉวีวาด ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ขนละครไทยไปอยู่เขมร ไม่ได้ไปสอนเขมรเล่นโขน แต่ไปหลบราชภัย

               http://www.matichon.co.th/news/169698 (http://www.matichon.co.th/news/169698)

(ป.ล. มหากาพย์ชำแหละโครงกระดูกและตำนานท่านป้า - ยาวจัด,อ่านไม่จบ)


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มิ.ย. 16, 11:42
อ้างถึง
(ป.ล. มหากาพย์ชำแหละโครงกระดูกและตำนานท่านป้า - ยาวจัด,อ่านไม่จบ)

น่าเสียดายครับ
ถ้าเข้าไปอ่านเสียหน่อย เลือกเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องอื่นข้ามๆไปบ้างก็ได้ ก็คงจะไม่ออกมาในแนวนี้ อาจทำให้คนนำไปอ้างอิงกันผิดๆต่อไปอีก


 
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0)


 
 


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 18 มิ.ย. 16, 12:15
             คิดว่า ไม่น่ามีใครนำไปอ้างอิงผิด ครับ เพราะจากที่คุณสุจิตต์กล่าวก็เข้าใจได้ว่า

          ท่านป้าฉวีวาด ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ขนละครไทยไปอยู่เขมร ไม่ได้ไปสอนเขมรเล่นโขน แต่ไปหลบราชภัย
          ท่านป้ามีส่วนอะไรในละครเขมร - ยังไม่พบหลักฐาน
          อาจ มีส่วนเพิ่มเติมละครในราชสำนักเขมรบ้างก็ได้ (ในละครอิเหนา ที่ทางเขมรไม่ได้แต่ง)
          จะให้เชื่อว่าละครเขมรได้จากไทยย่อมเป็นไปไม่ง่าย


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มิ.ย. 16, 13:02
ท่านป้าฉวีวาด ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ขนละครไทยไปอยู่เขมร ไม่ได้ไปสอนเขมรเล่นโขน แต่ไปหลบราชภัย
          ท่านป้ามีส่วนอะไรในละครเขมร - ยังไม่พบหลักฐาน
          อาจ มีส่วนเพิ่มเติมละครในราชสำนักเขมรบ้างก็ได้ (ในละครอิเหนา ที่ทางเขมรไม่ได้แต่ง)
          จะให้เชื่อว่าละครเขมรได้จากไทยย่อมเป็นไปไม่ง่าย

ด้วยความเคารพ ตรงที่เน้นสีแดงก็ผิดแล้วครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 18 มิ.ย. 16, 15:22
อ้างถึง
อาจทำให้คนนำไปอ้างอิงกันผิดๆต่อไปอีก
เช่นนั้นก็คงต้องแจ้งคุณสุจิตต์ด้วยวิถีใดที่ไม่ใช่อินทรเนตรที่คุณสุจิตต์บอกว่าตัวเองโลวเทค
ใช้ไม่เป็น(อาศัยคนอื่นทำเว็บให้,ไม่มีช่องติดต่อ)


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มิ.ย. 16, 16:22
ผมไม่ได้ติดต่อน้าเค้านานแล้ว แต่หวังว่าน้าเค้าจะยังคงจำผมได้อยู่ วันหลังผมจะส่งเป็นตัวพิมพ์ไปให้เองครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มิ.ย. 16, 17:01
อ้างถึง
(ป.ล. มหากาพย์ชำแหละโครงกระดูกและตำนานท่านป้า - ยาวจัด,อ่านไม่จบ)

น่าเสียดายครับ
ถ้าเข้าไปอ่านเสียหน่อย เลือกเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องอื่นข้ามๆไปบ้างก็ได้ ก็คงจะไม่ออกมาในแนวนี้ อาจทำให้คนนำไปอ้างอิงกันผิดๆต่อไปอีก
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0)
จากข้างบนนี้แสดงว่าคุณสุจิตต์เข้ามาอ่านในเรือนไทยแล้ว  แต่ไม่ได้สนใจพอจะอ่านให้จบ  
ถ้าคุณ Navarat ส่งไปให้ท่านอ่าน  ก็อาจจะลงเอยแบบเดียวกัน


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 18 มิ.ย. 16, 17:55
ป.ล.นั้นไม่ใช่ข้อความของคุณสุจิตต์ครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มิ.ย. 16, 19:55
งั้นเป็นของใครล่ะคะ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 มิ.ย. 16, 09:32
It's SILA's.

ส่วนประวัติท่านป้าในวิกกี้ซึ่งอ้างอิงถึง....ด้วย    


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 มิ.ย. 16, 09:33
ได้เล่าไว้ว่า


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 16, 10:36
ประเด็นละครไทยสู่ราชสำนักเขมร   

“ละครเขมรที่เห็นกันเดี๋ยวนี้ เขมรเอาอย่างไทยชัดๆ หัดจากละครท่านป้าฉวีวาด ปราโมช ทั้งสิ้น” ก็มาดูกันครับ ม.จ.ฉวีวาด ได้เป็นผู้นำละครเจ้าจอมอำภาไปรื้อฟื้นการละครให้เขมร จริงตามที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เขียนไว้หรือไม่

เจ้าจอมอำภานั้น เคยเป็นนางละครรุ่นเล็กในรัชกาลที่ ๑ เล่นบทนางกัญจะหนาในละครในเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นบทเด็กเล็กๆอายุไม่เกิน ๑๐ขวบ เมื่อเป็นสาวแล้วได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๒ กำเนิดพระองค์เจ้าถึง ๖ องค์ ที่เด่นๆก็คือ พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ต้นราชสกุลกปิตถา และพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ต้นราชสกุลปราโมช
แม้จะยังไม่พบหลักฐานว่าเจ้าจอมมารดาอำภาถึงแก่กรรมเมื่อใด แล้วละครของท่านได้เป็นมรดกตกทอดมาถึงม.จ.ฉวีวาด ผ่านใครต่อใครมาบ้างได้อย่างไร แต่ในปีเกิดวิกฤตวังหน้า เป็นปีซึ่งห่างจากปีสุดท้ายในรัชกาลที่ ๒ มาถึง ๕๐ ปี  นางละครที่เจ้าจอมมารดาอำภาได้ฝึกหัดไว้ก็คงแก่หง่อมกันไปหมดแล้ว


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 16, 10:37
" โครงกระดูกในตู้" กล่าวว่านางละครของเจ้าจอมอำภาไปเป็นครูละครโรงอื่นกันตั้งแต่รัชกาลที่ ๓  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อสิ้นเจ้าของแล้ว ละครโรงนั้นก็วงแตกแยกย้ายกันไปหมด หากจะมีใครยังอยู่ในวังวรจักรของราชสกุลปราโมชมาได้จนถึงรัชกาลที่ ๕  ก็คงจะเป็นละครระดับตัวประกอบที่หาที่ไปไม่ได้ ลูกผัวก็ไม่มี ต้องพึ่งใบบุญเจ้านายมีข้าวกินไปวันๆ ทั้งในต้นรัชกาลที่ ๕  ก็ไม่ปรากฏว่าวังวรจักรหรือ ม.จ.ฉวีวาดจะขึ้นชื่ออยู่ในวงการละครของสยาม ดังนั้นถ้าท่านป้าตั้งใจจะหนีจากบ้านเกิดเมืองนอน ไปลงหลักปักฐานในเขมรจริง ก็อาจจะเอานังเล็กๆไปเป็นบริวาร ไม่ถึงระดับดาราที่จะไปปรากฏชื่อว่าเป็นครูละครของราชสำนักเขมร
   
ตามประวัติศาสตร์นั้น ศิลปะการฟ้อนรำของเขมรได้ถือกำเนิดมานมนานแล้ว วัตถุพยานคือภาพสลักหินที่นครวัต แสดงท่าร่ายรำของนางอัปสรา โดยเน้นกางมือ กางขา เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียใต้ แม้จะไม่เหมือนกันเพี้ยะก็ตาม
 
ครูบาอาจารย์บอกว่านาฏศิลป์เป็นวัฒนธรรมที่เปราะบางมาก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้เข้ากับสมัยนิยม ดังนั้น ช่วงเวลาสักร้อยปีเท่านั้น ก็ทำให้การฟ้อนรำของเขมร แตกต่างไปจากแม่บทอินเดียไปได้พอสมควรทีเดียว   
เมื่อกษัตริย์กรุงศรีอยุธยายกทัพไปทำลายราชอาณาจักรเขมร แล้วถ่ายโอนนาฏศิลป์มาสู่ราชสำนักสยามโดยการกวาดต้อนผู้คนเข้ามา เวลานั้นคนไทยก็มีดีของตนเองอยู่บ้างแล้ว โดยจะเอามาจากมอญ หรือยวนล้านนาก็ตามที แต่ที่เห็นแน่ๆ คือท่าฟ้อนรำแบบยกแข้งยกขานั้น ไทยไม่เอาเลย จะมีก็แต่ในท่าโขนเท่านั้น แล้วช่วงเวลาผ่านไปอีกหลายร้อยปี ก็ทำให้ไทยมีรูปแบบนาฏกรรมที่ไม่เหมือนของใคร
   
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง ๔ พระราชวงศ์เขมรที่เข้ามาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ภายใต้ร่มพระบารมีพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น มีถึง ๓ รุ่นด้วยกัน คือ นักองเอง ซึ่งกลับไปครองราชย์เป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี เมื่อเสด็จสวรรคต พระราชโอรส ๒ องค์ คือ นักองจัน ขึ้นครองราชย์ก่อน เป็น สมเด็จพระอุทัยราชา หลังจากนั้น พระอนุชาคือนักองด้วง ที่ประทับอยู่เมืองไทยแต่ทรงพระเยาว์ จนพระชนษาสี่สิบเศษ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงโปรดให้เสด็จกลับไปมาตุภูมิพร้อมกับกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่ยกไปขับไล่ญวนออกจากแผ่นดินเขมร แล้วให้ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี

นักองด้วงนั้น ทรงโปรดละครไทยขนาดหนัก ถึงกับขอพระบรมราชานุญาต ให้ครูละครของเจ้าพระยาบดิทรเดชาซึ่งขัดตาทัพที่เมืองอุดงค์มีไชย เมืองหลวงราชอาณาจักรกัมพูชาและได้พาละครผู้หญิงไปด้วย ให้ฝึกสอนโขนละครให้คนในพระราชสำนักของพระองค์ เดิมหัดโขนให้เล่นละครผู้ชาย ต่อมาจึงหัดละครผู้หญิงให้ ราชสำนักเขมร ซึ่งแต่เดิมมีเฉพาะละครนอกสมัยรัชกาลที่ ๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระหริรักษ์จึงมีละครใน ที่เป็นละครผู้หญิงแต่บัดนั้น

เมื่อเสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์ที่ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อคือนักองราชาวดี ทรงพระนามว่าสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ คนไทยมักจะเรียกสั้นๆว่าสมเด็จพระนโรดมที่ “โครงกระดูกในตู้” กล่าวถึงในท้องเรื่อง กษัตริย์เขมรพระองค์นี้ทรงโปรดละครเป็นชีวิตจิตใจ ละครพระราชทรัพย์หรือละครหลวงในราชสำนักนอกจากจะมี ครูเรือง ครูอิ้ว ละครผู้หญิงของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สืบทอดจากรัชสมัยของพระราชบิดาแล้ว ยังมีครูละครชื่อนายเพ็ง จากละครกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ และนายแสง ซึ่งเป็นตัวนายโรงละครเจ้าจอมมารดาอำภา ได้ออกไปถวายตัวอยู่กับท่านตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ ที่ ๔  ไม่มีความเกี่ยวพันอันใดกับท่านป้าฉวีวาด ซึ่งไปเขมรในสมัยรัชกาลที่ ๕ เลยแม้นิดเดียว


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 16, 10:38
คราวที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จเยือนกรุงพนมเปญ เป็นเหตุให้ทรงรู้จักสนิทสนมกับพระองค์หญิงมัลลิกา พระธิดาของสมเด็จพระนโรดม และทรงเล่าไว้ตอนหนึ่งในพระนิพนธ์ “นิราศนครวัต” ว่าละครเขมรนั้น ครั้งแรกสมเด็จกรมพระหริรักษ์ ได้ครูไทยมาจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา หัดเล่นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ แต่เล่นเป็นอย่างละครเจ้าต่างกรม ต่อมาสมัยพระนโรดม ก็หาครูละครมาจากกรุงเทพมาเพิ่ม ได้ละครวังหน้าตัวดีของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ละครพระองค์เจ้าดวงประภา ละครพระองค์เจ้าสิงหนาท และละครโรงอื่น ๆ มาเป็นครูเพิ่มขึ้นอีกอีกหลายคน

“มีคนจำนวนหนึ่งคือผู้หญิงไทยชาวกรุงเทพฯ ที่ออกมาเป็นครูละครหรือเป็นพนักงานอยู่ในวังแต่ครั้งสมเด็จพระนโรดม ซึ่งเราได้เคยรู้จักเมื่อเขาอยู่ในกรุงเทพฯบ้าง ไม่รู้จักบ้าง พากันมาหลายคน มีนายโรงปริงตัวอิเหนาของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นต้น ออกมาอยู่กรุงกัมพูชา ได้เป็นหม่อมสมเด็จพระนโรดม เปลี่ยนชื่อว่าหม่อมเหลียง พวกเหล่านี้ถึงแม้คนที่เคยรู้จักอยู่แต่ก่อน ก็จำไม่ได้เกือบทั้งนั้น ด้วยมาอยู่เมืองเขมรเสียตั้ง ๓๐-๔๐ ปี จนหัวหงอกฟันหัก แรกพบรู้ว่าเป็นไทยแต่ด้วยน้ำเสียง ต้องถามนามและโคตรจึงได้รู้ว่าเป็นใครต่อใคร พวกเหล่านี้มักยังมีความขวยเขินในข้อที่ทิ้งบ้านเมืองมา พอใจจะชี้แจงเหตุแก่เรา โดยอ้างว่ายากจนเป็นต้น ต้องตอบตัดความเสียว่าเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมรักสุขชังทุกข์เป็นธรรมดา จะอยู่เมืองไทยหรือเมืองเขมรที่ไหนเป็นสุขก็ควรอยู่ที่นั่น สำคัญแต่อย่าทำความชั่วให้เขาติเตียนขึ้นชื่อได้ว่าไทยเลวทราม ได้ไต่ถามถึงที่ออกมาอยู่ได้ความว่าที่เป็นครูละครครั้งสมเด็จพระนโรดมนั้น สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ชุบเลี้ยงให้เป็นครูละครต่อมาได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๒๐ เหรียญ ลงมาจน ๒๑ เหรียญ ดูก็ควรจะมีความสุข”

ไม่มีคำที่ทรงกล่าวถึง ม.จ.ฉวีวาดเลย แม้จะทรงกล่าวว่าได้พบ ม.จ.ปุก ในพระนามว่าพระองค์อรรคนารี บัดนั้นอายุ ๗๖ ปี ทูลขอมาพบด้วย ทรงเล่าว่า “แต่จะแปลกๆไป กิริยาดูพันทาง จะเป็นเขมรก็ไม่ใช่ ไทยก็ไม่เชิง ไม่ชวนสมาคมเหมือนเจ้านายพวกกรุงกัมพูชา”

อย่างไรก็ดี คำว่าอรรคนารีและพระยศชั้นพระองค์เจ้า แสดงว่าม.จ.ปุกเป็นพระภรรยาเจ้าของพระนโรดมจากการสู่ขอเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่จับพลัดจับผลูได้เป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามธรรมดาๆแล้วโปรโมทขึ้นไปแน่นอน    


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 16, 10:39
จากการใช้อินทรเนตรส่องตามรอยสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์หรือนักองราชาวดีไป พบว่าพระองค์ทรงมีพระราชสมภพเดือนกุมภาพันธ์ ๒๓๗๗ ที่เสียมราฐ แต่มาทรงเติบโตในกรุงเทพ เสด็จกลับกัมพูชาเมื่อพ.ศ.๒๔๐๐ และเสด็จมากรุงเทพฯอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๔๑๒

อนุมานจากข้อมูลที่ว่า ม.จ.ปุกทรงพบกับสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ คราวเสด็จกรุงพนมเปญเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗  เมื่อชนมายุ ๗๖ชันษา  ตรงกับที่ว่าท่านหญิงประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑   
ในปีที่นักองราชาวดีเสด็จมาครั้งที่ ๒ ม.จ.ปุก ทรงมีชนมายุยี่สิบเศษนิดๆ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดเกล้าให้ราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เขมรที่พระอุโบสถวัดโพธิ์นั้น มีความเป็นไปได้สูงว่าท่านหญิงได้ถวายตัวตามราชประเพณีโบราณอย่างเป็นพิธีการ หากเสด็จไปโดยวิธีอื่นแล้วคงไม่แคล้วพระราชอาญากันทั้งโคตร

สมัยนั้นกรุงเทพฯยังมีหลักเขตสี่ทิศ  คือมีเสาหินปักอยู่เหนือใต้ออกตก เป็นเครื่องหมายสุดเขตเหมือนเสาหินปักเขตที่ดินสมัยนี้ พระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จไปไหนตามพระทัยชอบไม่ได้ ถ้าจะเสด็จออกพ้นเสาหินดังกล่าวต้องกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตเสียก่อน แม้จะอยู่ในพระราชอาณาจักรก็ตาม ไม่งั้นเจอโทษสถานหนักเข้าข่ายกบฎ ถ้าเอาตัวกลับมาลงโทษไม่ได้ พ่อแม่และสามีภรรยาจะต้องรับโทษแทน

อย่างนี้ประเด็นที่ว่า ม.จ.ฉวีวาดเป็นผู้นำ ม.จ.ปุกไปเขมรก็แน่ชัดว่าไม่ใช่แล้ว  และประเด็นที่ว่าละครเขมรเอาอย่างไทยชัดๆ เพราะหัดจากละครท่านป้าฉวีวาด ปราโมช ทั้งสิ้นก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ จึงเหลือปุจฉาอยู่ว่า แล้วอยู่ๆท่านป้าได้บ่ายหน้าไปเขมรทำไม ซึ่งจะวิสัชนากันต่อไป


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 16, 10:41
ประเด็นเรื่องชีวิตท่านป้าในเขมร

ปุจฉาที่ว่า เมื่อหนีไปเขมรเสมือนไปตายเอาดาบหน้านั้น ม.จ.ฉวีวาดบุญมาวาสนาส่งได้เป็นเจ้าจอมของสมเด็จพระนโรดม และมีพระราชโอรสชื่อพระองค์เจ้าพานคุรี จริงหรือไม่นั้น
ในหนังสือเรื่อง “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (เล่ม ๒)” เขียนโดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ราชบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ได้เชิญพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งมาลงไว้ ความว่า 
ถึงผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน   

ด้วยหม่อมฉวีวาดในกรมขุนวรจักรหนีไปครั้งนี้ ฉันมีความวิตกคงจะเป็นที่เสียเกียรติยศมาก ได้ให้ชำระความมารดาก็ไม่ได้ความตลอด เจ้าพระยาภาณุวงศ์เอาตัวบรฮิมมาถาม ความแจ้งอยู่กับเจ้าพระยาภาณุวงศ์แล้ว การมาเป็นดังนี้เป็นที่อัปยศนัก ได้ปรึกษากับคุณสุรวงศ์ และท่านกรมท่าคิดว่าจะให้เรือไฟไปตาม แต่กลัวไม่ทันการ เรื่องนี้จะควรทำอย่างไรได้ ขอให้เจ้าคุณช่วยด้วย เป็นที่อับอายทั่วกันทั้งราชตระกูล
(พระปรมาภิไธย)
วันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำเดือน ๑๑ ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘

ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘ นั้นตรงกับพุทธศักราช ๒๔๑๙ หลังเหตุการณ์วิกฤตวังหน้าจบไปแล้วถึง ๒ ปี  ถือเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าม.จ.ฉวีวาดมิได้หนีราชภัยไปเขมรในวันรุ่งขึ้นหลังจากเกิดเหตุระเบิดวังหลวง แต่ทรงหนีไปด้วยเหตุอันใดหรือ พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเกรงว่าจะอับอายถึงเพียงนั้น 


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 16, 10:46
เอาละครับ คัดมาให้อ่านพอหอมปากหอมคอ ใครอยากทราบคำเฉลยของปุจฉาข้างบน กรุณาคลิ๊กเข้าไปอ่านกันเอง ยาวนักเดี๋ยวจะออกนอกกรอบของกระทู้นี้มากไป


http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0)


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 มิ.ย. 16, 11:34
คราวที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จเยือนกรุงพนมเปญ เป็นเหตุให้ทรงรู้จักสนิทสนมกับพระองค์หญิงมัลลิกา พระธิดาของสมเด็จพระนโรดม และทรงเล่าไว้ตอนหนึ่งในพระนิพนธ์ “นิราศนครวัต” ว่าละครเขมรนั้น ครั้งแรกสมเด็จกรมพระหริรักษ์ ได้ครูไทยมาจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา หัดเล่นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ แต่เล่นเป็นอย่างละครเจ้าต่างกรม ต่อมาสมัยพระนโรดม ก็หาครูละครมาจากกรุงเทพมาเพิ่ม ได้ละครวังหน้าตัวดีของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ละครพระองค์เจ้าดวงประภา ละครพระองค์เจ้าสิงหนาท และละครโรงอื่น ๆ มาเป็นครูเพิ่มขึ้นอีกอีกหลายคน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4316.0;attach=17964;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4316.0;attach=17972;image)


“มีคนจำนวนหนึ่งคือผู้หญิงไทยชาวกรุงเทพฯ ที่ออกมาเป็นครูละครหรือเป็นพนักงานอยู่ในวังแต่ครั้งสมเด็จพระนโรดม ซึ่งเราได้เคยรู้จักเมื่อเขาอยู่ในกรุงเทพฯบ้าง ไม่รู้จักบ้าง พากันมาหลายคน มีนายโรงปริงตัวอิเหนาของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นต้น ออกมาอยู่กรุงกัมพูชา ได้เป็นหม่อมสมเด็จพระนโรดม เปลี่ยนชื่อว่าหม่อมเหลียง พวกเหล่านี้ถึงแม้คนที่เคยรู้จักอยู่แต่ก่อน ก็จำไม่ได้เกือบทั้งนั้น ด้วยมาอยู่เมืองเขมรเสียตั้ง ๓๐-๔๐ ปี จนหัวหงอกฟันหัก แรกพบรู้ว่าเป็นไทยแต่ด้วยน้ำเสียง ต้องถามนามและโคตรจึงได้รู้ว่าเป็นใครต่อใคร พวกเหล่านี้มักยังมีความขวยเขินในข้อที่ทิ้งบ้านเมืองมา พอใจจะชี้แจงเหตุแก่เรา โดยอ้างว่ายากจนเป็นต้น ต้องตอบตัดความเสียว่าเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมรักสุขชังทุกข์เป็นธรรมดา จะอยู่เมืองไทยหรือเมืองเขมรที่ไหนเป็นสุขก็ควรอยู่ที่นั่น สำคัญแต่อย่าทำความชั่วให้เขาติเตียนขึ้นชื่อได้ว่าไทยเลวทราม ได้ไต่ถามถึงที่ออกมาอยู่ได้ความว่าที่เป็นครูละครครั้งสมเด็จพระนโรดมนั้น สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ชุบเลี้ยงให้เป็นครูละครต่อมาได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๒๐ เหรียญ ลงมาจน ๒๑ เหรียญ ดูก็ควรจะมีความสุข”[/size]

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4316.0;attach=17984;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4316.0;attach=17988;image)


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 07:03
ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะข่าวพิพาทเรื่อง โขนของใคร (ของใครๆ ก็ต้องหวง) เมื่อไทยตระเตรียมขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโก

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6130.0;attach=61965;image)

พิพาทเรื่องกันเรื่องโขนมาเนิ่นนาน  อย่างน้อยวันนี้ก็พอมีข้อสรุปในระดับหนึ่ง  ;D

“โขนไทย” ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

การประชุมประจำปีของคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ UNESCO ที่เมืองพอร์ตหลุยส์ ประเทศมอริเชียส กลายเป็นเวทีประวัติศาสตร์ของไทย เพราะเมื่อวาน (๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) “โขน” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยรายการแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage of Humanity) ของ UNESCO มีทั้งหมด ๓ ประเภท คือ

๑. รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List)
๒. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (Need of Urgent Safeguarding List)
๓. รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Good Safeguarding Practice)

โดยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. ๒๕๔๖ ของ UNESCO ในลำดับที่ ๑๗๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเสนอ “โขน” เข้าสู่การพิจารณาของ UNESCO เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรม ประเภท Representative List โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Khon, masked dance drama in Thailand”

ขณะที่ก่อนหน้านั้นในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ Lakhon Khol Wat Svay Andet  หรือ ละครโขลวัดสวายอันเดต (នៅ វត្តស្វាយអណ្ដែត วัดมะม่วงลอย) ของกัมพูชา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในกลุ่มจำเป็นต้องได้รับการปกป้องอย่างเร่งด่วน หรือ Need of Urgent Safeguarding โดยในเอกสารที่กัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการฯ ระบุว่า ทุกวันนี้มีครูละครโขลสูงวัยอยู่เพียง ๕ คน แต่ละคนอายุราว ๗๐-๘๐ ปี แม้ทุกวันนี้ยังมีการฝึกสอนเยาวชนอยู่ แต่ผลกระทบจากการปกครองโดยเขมรแดง ก็ทำให้ไม่สามารถฝึกสอนบทสำคัญ เช่น พระราม พระลักษณ์ นางสีดา ได้ ซึ่งในเอกสารยื่นเสนอ “ละครโขลวัดสวายอันเดต” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กัมพูชาได้ระบุไว้ด้วยว่าขอให้ UNESCO ช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนบ้านด้วย

ข่าวจาก http://news.thaipbs.or.th/content/276021


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ย. 18, 07:29
สรุปแล้วนี่ครับ
ไทยกับกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนโขนกันทั้งสองประเทศ

โขนกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนประเภท ๒ คือเป็นมรดกวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการปกป้องอย่างเร่งด่วน
เขมรเฮกันยกใหญ่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีไปจนถึงประชาชนคนเดินถนนไปวันนึง  
ครั้นวันรุ่งขึ้นยูเนสโกก็ประกาศให้โขนไทยให้ขึ้นทะเบียนประเภท ๑ คือให้เป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
คนไทยก็ได้เฮบ้าง เพราะศักดิ์ศรีมันต่างกันแยะ

ต่อไปทั้งเขมรและไทยก็จะมีรูปแบบโขนของตนเองให้อนุรักษ์ความแตกต่าง แบบศิลปะของใครของมัน


อนุสัญญาที่ยูเนสโกประกาศเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เปิดช่องให้ระดมเงินบริจาคระหว่างประเทศสมาชิกยูเนสโกมาใช้เพื่อการทำนุบำรุงมรดกที่ขึ้นทะเบียนแล้ว  อันนี้น่าที่ทางเขมรจะต้องการ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ของการได้ขึ้นทะเบียนในประเภท ๒
ส่วนของไทย คงไม่ต้องการเงินจากต่างชาติในเรื่องนี้มากนัก เพราะถ้าเอาแล้วเขาก็มีสิทธิ์จะเข้ามาบงการว่าคุณควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้  ซึ่งในกรณีย์นี้ไม่น่าจะจำเป็น

ยกตัวอย่างกระบวนเรือพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารค ที่เคยมีข้อเสนอว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นมากที่สุดอย่างหนึ่ง ทำไมไทยไม่ขอเป็นมรดกโลก คำตอบก็ชัดเจนว่าเรามีปัญญารักษาเองได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินทุนจากใคร และไม่ยินดีให้ใครมาบงการ

แต่การที่โขนไทยเป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ  อันนี้น่าจะมีความหมายแฝงนิดๆ  สอดคล้องกับการที่กัมพูชาขอให้ยูเนสโก้ช่วยประสาน ขอความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้าน(ยังหยิ่งเกินไปที่จะระบุชื่อประเทศ)ในการรักษาโขนของกัมพูชา

ดูเหมือนว่า การเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ก็อาจเป็นภาวะจำยอมให้ชาติอื่นมาถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้นๆไปได้ด้วย(โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้กองทุนมรดกโลกคงเป็นผู้จ่าย)

ก็คอยดูกันไปครับ


Khon, masked dance drama in Thailand.
Upload to Youyube by UNESCO

http://www.youtube.com/watch?v=ZD6Zug4fWQY (http://www.youtube.com/watch?v=ZD6Zug4fWQY)



กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 07:34
ในเอกสารที่กัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการฯ ระบุว่า ทุกวันนี้มีครูละครโขลสูงวัยอยู่เพียง ๕ คน แต่ละคนอายุราว ๗๐-๘๐ ปี แม้ทุกวันนี้ยังมีการฝึกสอนเยาวชนอยู่ แต่ผลกระทบจากการปกครองโดยเขมรแดง ก็ทำให้ไม่สามารถฝึกสอนบทสำคัญ เช่น พระราม พระลักษณ์ นางสีดา ได้

กัมพูชาได้ระบุไว้ด้วยว่าขอให้ UNESCO ช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนบ้านด้วย

ข้อความทั้งหมดในเอกสารสามารถอ่านได้จากลิงก์ข้างล่าง

https://ich.unesco.org/doc/download.php?versionID=47550

เรื่องที่จะดำเนินต่อไปมีแนวโน้มว่า ไทยอาจจะต้องเป็นครูสอนโขนให้เขมรอีกคราหนึ่ง ดังข้อสังเกตของคุณ YPG แห่งพันทิป  ;D

https://pantip.com/topic/38052931


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ย. 18, 09:35
จาก FB ของคุณ Kornkit Disthan

30 สิงหาคม

ปัญหาของ Troll คลั่งชาติจากกัมพูชาคือ ไม่ค่อยจะหาความรู้ใส่ตัว ทั้งๆ ที่ปัจจุบันจะศึกษาที่มาของโขนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าไม่เชื่อหลักฐานฝ่ายไทย ก็ศึกษาจากงานวิจัยของสถาบันระดับโลกได้ ล้วนแต่บอกว่า "ลโคนโขล" ของเขมรรับไปจากโขนของไทย

แต่ผมไม่อยากทวงหรอกครับ โขนไทยเหมือนรากแก้ว ลโคนโขลเหมือนรากฝอย ความยิ่งใหญ่โอฬารมันเทียบกันไม่ติด มองด้วยตาก็เห็นชัดว่าความละเอียดสู้กันไม่ได้ โชคร้ายที่เขมรหลายคนถูกอาการคลั่งชาติบังตา จึงมองไม่เห็นข้อเท็จจริง มีแต่ปัญญาชนเขมรเท่านั้นที่เห็น แม้จะน้อยแต่ก็ใช่ว่าไม่มีเลย

ดังนั้นเราไม่ควรเสวนากับคนที่มืดบอดทางปัญญา พึงสนทนาอย่างคนมีความรู้จะดีกว่า

ไทยเรียกโขน เขมรเรียกลโคนโขล โปรดสังเกตว่าแค่คำเรียกก็ต่างกันแล้ว มิพักจะเอ่ยว่าคำ ลโคนโขล (ល្ខោនខោល) ของเขมรมันก็คำมาจากไทยเสียครึ่งหนึ่ง

ในพจนานุกรมฉบับสมเด็จพระสังฆราช (จวน นาถ) แห่งกัมพูชา ท่านอธิบายว่า

ลโคน (ល្ខោន) เป็นคำนามศัพท์ มาจากภาษาสยาม (ភាសាសៀម) มาจากคำว่า ละคร (លះគរ) อ่านว่า ละคร (ល៉ៈខន) - หมายเหตุ คำหลังสะกดด้วย ข เพราะตัว ค ในภาษาเขมรออกเสียงก้องแบบ ก

โขล (ខោល) เป็นคำนามศัพท์ หมายถึง พวกละครบุรุษ (รำเรื่องรามเกียรติ์) เรียกว่า ลโคนโขล - หมายเหตุ ผมแปลคำอธิบายตรงๆ จากพจนานุกรม

พจนานุกรมนี้เป็นที่ยอมรับอย่างสูงทั้งในกัมพูชาและต่างประเทศ ใครจะกล้าเถียงสมเด็จพระสังฆราช (จวน นาถ) พหูสูตแห่งกรุงกัมพูชาธิบดีเล่า?

พิเคราะห์จากศัพท์ ผมคิดว่า โขล (ออกเสียงว่า เขาล) ที่เขมรบอกว่าใช้ผู้ชายเล่น ตรงกับที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า เดิมโขนนั้นผู้ชายเล่น แต่ครูผู้ชายเสียไปหมดสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะรัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงโปรดละคร ในรัชกาลที่ ๕ มีการฟื้นฟูจึงต้องใช้ครูผู้หญิง (ละครใน) มาสอนท่ารำโขนจึงไม่ขึงขังดังเดิม

ต่อมานักองค์ด้วง เจ้าเขมรในบางกอกกลับไปครองแผ่นดินในรัชกาลที่ ๓ ก็ทูลขอครูโขนในราชสำนักไทยไปสอนที่กัมพูชาด้วย (เรียกว่า ละครพระราชทรัพย์ หรือ ละครหลวง ល្ខោនហ្លួង คำหลังเป็นภาษาไทย ตามที่พจนานุกรมฉบับสมเด็จพระสังฆราชระบุไว้) ชะรอยว่าจะเป็นทีมงานผู้ชาย นิยามของ "โขล" ของเขมรจึงบอกว่าเป็นพวกละครบุรุษ

ดังนั้น นาฏศิลป์นี้เขมรรับมาจากกรุงเทพฯ แน่นอนล้านเปอร์เซนต์ด้วยหลักฐานลายลักษณ์อักษรฝ่ายไทย และการยืนยันจากปากของคนละครในวังชาวเขมรเอง

หลักฐานที่ทนโท่ที่สุดคือเทปสัมภาษณ์ครูละครโขนชาวเขมรโดย Khmer Dance Project ล้วนแต่บอกว่าโขนมาจากไทย สอนด้วยภาษาไทย และร้องเพลงไทย

ท่าน Son Soubert นักการเมืองคนสำคัญและนักชาตินิยมเขมร ยังบอกว่า เคยได้ยินคนละครร้องเพลงไทย และบอกว่า "เราควรจะตระหนักว่าองค์ด้วงเคยอยู่ที่บางกอก พระเจ้าแผ่นดินไทยช่วยให้องค์ด้วงได้บัลลังก์กัมพูชา ขับไล่พวกเวียดนามออกไป เมื่อองค์ด้วงกลับมาก็ทรงพาคนไทยมาด้วย (และพูดถึงการนำเข้านิกายธรรมยุติ) จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ในเวลานั้นกัมพูชาอยู่ใต้อิทธิพลไทย" ท่านยังบอกว่า ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่ 20 เพลงละครร้องเป็นภาษาไทย เพิ่งจะเปลี่ยนเป็นภาษาเขมรในสมัยพระเจ้าสีสุวัตถิ์ ในอดีตยังไม่ใช่พิณพาทย์เขมร แต่ใช้ปี่พาทย์ ไทย ท่าน Son ยังตั้งข้อสังเกตส่วนตัวว่า เดิมไทยรับไปจากกัมพูชา แล้วรักษาไว้ จากนั้นส่งคืนกลับกัมพูชา

Em Theay นางละครเก่าในวังหลวง บอกว่าไม่รู้ว่าครูสอนละครมาจากไหน แต่ในวังหลวงพูดภาษาไทยกันทั้งนั้น เจ้าแผ่นดินก็พูดไทย (ตัวท่านเองก็รู้เพลงไทย)

Yit Sarin ครูโขนวัดสวายอัณแดตบอกว่า ท่านก็อยากรู้ว่าโขนสำนักท่านมาจากไหน จึงถามครู ปรากฎว่าครูของท่านไปเรียนท่ารำมาจากเมืองไทย (ตอนไปพนมเปญปีที่แล้ว ผมซื้อหนังสือเรื่องโขนวัดสวายอัณแดตมาด้วย ถามว่ามีเขมรคนไหนได้อ่านบ้าง?) หลังถูกเขมรแดงกำจัดไป ปัจจุบันโขนวัดสวายอัณแดตเป็นลโคนโขลท้องถิ่นแห่งเดียวที่เหลืออยู่ และเชื่อว่าสืบทอดมาแต่ครั้งหลังองค์ด้วงสุรคต เมื่อสุรคตแล้วคนละครชายล้วนในราชสำนักไปตั้งกลุ่มในชนบท

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของปากคำเท่านั้น

ไทยรับวัฒนธรรมเขมรมาก็ไม่เคยโกหกว่าไม่ได้รับมา เพราะปัจจุบันไทยเราเริ่มตระหนักในความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ และความหลากหลายมันเป็นดีเอ็นเอหนึ่งของวัฒนธรรมไทยไปแล้ว

เขมรรับละครจากไทยไปก็ไม่ควรจะโกหกเช่นกัน ความจริงไม่มีวันตาย คนที่ไม่รับความจริงต่างหากที่จะละอายในภายหลัง ทั้งยังเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ตัวเอง ดูถูกบรรพชน และครูของบรรพชน อย่าลืมว่า คนละครเขานับถือครูกันมาก ไปตู่ครูท่านไม่ได้

อาจกล่าวได้ว่า โขนจึงไม่ใช่ของเขมร และลครโขลก็ไม่ใช่ของไทย แม้ว่ามันจะมาจากไทย ครูอาจารย์เขมรได้คิดเติมขึ้นมา แปลงคำพากษ์และเพลงร้องจากไทยเป็นเขมร หากท่านยังจำได้ไม่ลืมว่าครูคือไทย

เหมือนละครมโหรี งะงักกุ (雅楽) ของญี่ปุ่น รับมาจากมโหรีหงาง็อก (雅樂) สมัยราชวงศ์สุยของจีน แต่ปรับให้เป็นของตัวเอง

งะงักกุ กับหงาง็อก มันเป็นคำเดียวกัน แต่ออกเสียงต่างกัน เหมืองโขนกับโขลนั่นเอง และจีนถ่ายวิธีเล่นให้ ญี่ปุ่นรักษาของเดิมเป็นแกน แต่ต่อยอดจนมีเอกลักษณ์เฉพาะ พอจะจดทะเบียนกับ UNESCO เป็น Oral and Intangible Heritage of Humanity ก็ไม่เห็นจีนจะโวยวาย เอ็งขโมยของข้ามา

เขาไม่ทำ เพราะแสดงถึงความโง่เขลาทางวัฒนธรรมไงครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 11:11
จาก FB ของคุณ Kornkit Disthan

https://www.facebook.com/719626953/posts/10155595175501954/


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 11:12
เมื่อวานคุณกรกิจ ดิษฐานก็ได้เขียนแนะนำละครโขลวัดสวายอันเดตของเขมร  ที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

หนังสือ "ละเขานเขาล วัตตสวายอัณแดต" (ល្ខោនខោល វត្តស្វាយអណ្ដែត) ซื้อมาจากกัมพูชา ว่าด้วยละคอนโขลวัดสวายอัณแดตของเขมรที่ยูเนสโกเพิ่งจะขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

ตอนนี้ไม่ต้องดราม่าแล้วนะครับ เขมรกับไทยได้ไปทั้งคู่ และส่งชิงกันคนละสาขา ของไทยเป็นสาขาเอกลักษณ์ของชาติ ของเขมรเป็นสาขาใกล้สาบสูญ

ส่วนเรื่องใครเป็นต้นตำรับว่ากันตามหลักฐาน ซึ่งหลักฐานมี จะมาเหมาว่าเป็น "วัฒนธรรมร่วม" หมดไม่ได้หรอก

เคยเขียนไปตั้งแต่วิวาทะโขนไทย -โขลเขมรเมื่อหลายเดือนก่อนว่า คณะวัดสวายอัณแดตเรียนมาจากขนบโขนไทยโบราณในราชสำนักกัมพูชาที่นักองค์ด้วงขอมาจากราชสำนักบางกอก เป็นโขนชายล้วนซึ่งต่อมาของไทยขาดผู้สืบทอดไป ซึ่งคณะนี้เป็นคณะเชลยศักดิ์  ต่อมาสิ้นองค์ด้วงแล้วคณะผู้ชายหมดความนิยมลง ในราชสำนักเขมรจึงเลิกเล่นโขนผู้ชายเหมือนบางกอก พวกมหาดเล็กเก่าเอาของในวังมาเล่นกันต่อนอกวัง จึงเหลือเวอร์ชั่นชายที่วัดสวาย

ต่อมาละคอนโขลเขมรเจอพิษภัยสงคราม ครูละครดี ๆ หายไปเกือบหมด คณะวัดสวายอัณแดตรอดมาได้คณะเดียว แต่เพราะมันเป็นคณะเชลยศักดิ์ เครื่องแต่งกาย หัวโขนเป็นของพื้นบ้านไปหมด (ทั้งยังนิยมเล่นตอนกุมภกรรณทดน้ําเป็นหลัก) เทียบไม่ได้กับโขนหลวง ยิ่งไม่ต้องเทียบกับต้นฉบับคือของไทย

แต่คณะวัดสวายอัณแดตไม่ใช่ของไทย มันมีวิวัฒนาการของตัวเองที่ห่างจากไทยมาพอสมควรแล้วโดยเฉพาะเครื่องแต่งกายที่ออกพื้น ๆ ตอนนี้ยังหาคนสืบทอดได้ยาก ทางกัมพูชาขอให้ยูเนสโกประสานงาน "เพื่อนบ้าน" ให้ไปช่วยอนุรักษ์ ซึ่งผมเข้าใจว่าไทยนั่นเอง (ก็เรียกไทยไปเลยง่ายกว่า) ปัญหาคือ โขนไทยวิจิตรพิสดารกว่า เกรงว่าจะครอบของพื้น ๆ เวอร์ชั่นเขมรจนเสียของเดิมไป

ที่เรียกว่าวัฒนธรรมร่วมมันร่วมแค่บทรามเกียรติ์นะครับ รายละเอียดปลีกย่อยของใครของมัน

https://www.facebook.com/719626953/posts/10155783160861954/


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 11:42
ลโคนโขล

https://www.youtube.com/watch?v=bSjiDO5J56Q


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 11:49
อีกชุดหนึ่งค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=S1EslY-FUVo


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 11:51
มาดูโขนไทยบ้าง

https://www.youtube.com/watch?v=gE8dqiuJZ9Y


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 11:53
ชอบฉากนี้และตอนนี้มากค่ะ  เลยเอาคลิปมาให้ดูกัน
https://www.youtube.com/watch?v=oECYY1IFOnA


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 12:03
https://www.youtube.com/watch?v=__UTcW52V4E


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 18, 15:58
ละครโขลวัดสวายอันเดต เป็นการแสดงของชุมชนแห่งหนึ่งห่างจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันออกราว ๑๐ กิโลเมตร ชุมชนนี้เป็นชุมชนเกษตร และทุกปีจะต้องจัดการแสดงละครโขล เพื่อบวงสรวง “เนียกตา” ผู้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน ผู้จะบันดาลให้การเพาะปลูกได้ผลดี การแสดงมีลักษณะเป็นพิธีกรรมสูง มีการเข้าทรง และละครโขลต้องแสดงจนเป็นที่พอใจของเนียกตา

http://oknation.nationtv.tv/blog/paikaew/2018/11/30/entry-1

https://youtu.be/elSxA_KpQfA


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 02 ธ.ค. 18, 10:41
นี้เป็นข้อความจากหน้าฟบ. อ.Surapone Virulrak (สุรพล วิรุฬห์รักษ์)

              การที่ประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียน โขน เป็นมรดกโลกเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง
ผมใคร่ขออนุญาตทำความกระจ่างตรงนี้สักเล็กน้อย

กล่าวคือ ก่อนวันประกาศผลของประเทศไทยหนึ่งวัน เราก็ได้ทราบข่าวว่าคณะกรรมการสหประชาชาติได้
ประกาศผลการขึ้นทะเบียนมรดกโลก "ละคอลโขล" ของกัมพูชา

อันที่จริง "ละคอลโขล" ของกัมพูชา ถ้าว่าอย่างทางไทย ก็คือละครผู้หญิงเล่นเป็นแนว"ละครใน" สวมหัวคือ"โขน"
แสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงเรียกว่า ละครโขน สหประชาชาติจัดเป็นการแสดงประเภท endanger คืออยู่ในภาวะวิกฤติ
ใกล้จะสาบสูญ จึงจำเป็นต้องจดทะเบียนไว้เป็นมรดกโลกสำคัญ จะได้หาทางคุ้มครองต่อไป

ส่วน "โขน" ของไทย อยู่ในประเภทที่เป็น"ตัวแทนศิลปะการแสดง"ที่มีการทำนุบำรุง การพัฒนา การส่งเสริม อุดมด้วย
ศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ การอนุรักษ์ การสืบทอด การศึกษา การฝึกหัดอย่างเข้มงวด และการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ดังจะเห็นได้จากโขนพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 รวมทั้งโขนกรมศิลปากร
โขนสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โขนสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนต่างๆ

ในการจดทะเบียนมรดกโลกส่วนที่เป็นศิลปะที่จับต้องไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องโขนคงต้องให้ชื่นชมกับรัฐบาลไทยโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ท่านได้เอาใจใส่มุ่งมั่นดำเนินการมาโดยตลอดแต่ในที่นี้
ผมขออนุญาตชื่นชมคนที่ทำงานหนักที่สุดในเรื่องนี้ อย่างต่อเนื่องมานานหลายปี คือ คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ คณะทำงาน
และคณะเลขานุการ ผมจึงขอเสนอว่ารัฐบาลควรเรียนเชิญท่านมาแถลงความเป็นมา ความละเอียดอ่อนในการดำเนินงาน และ
ความสำเร็จที่เกิดขึ้น เพื่อให้คนทั่วไปได้ทราบและร่วมกันภาคภูมิใจ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน

สุรพล วิรุฬห์รักษ์
๑ ธันวาคม ๒๕๖๑


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 11:51
อันที่จริง "ละคอลโขล" ของกัมพูชา ถ้าว่าอย่างทางไทย ก็คือละครผู้หญิงเล่นเป็นแนว"ละครใน" สวมหัวคือ"โขน"

ตรงนี้ต่างจากที่คุณศรีสรรเพชญ์เขียนไว้ใน เฟซบุ๊กวิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/1046096062120530/posts/1919208714809256/)

โขนของกัมพูชาเรียกว่า “ลโคนโขล” (ល្ខោនខោល) คำว่า ลโคน (ល្ខោន) มาจากคำภาษาไทยคือ ละคร ส่วน โขล (ខោល) แปลว่า “ละครผู้ชาย” แตกต่างจากไทยที่เรียกแยก “โขน” กับ “ละคร” เป็นมหรสพคนละประเภทมาตั้งแต่สมัยอยุทธยา


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 12:00
คุณศรีสรรเพชญ์ยังอธิบายเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ลโคนโขลของเขมร และ โขนของไทย ด้วยว่า

น่าเชื่อว่ากัมพูชาได้อิทธิพลจากโขนของไทยตั้งแต่สมัยอยุทธยาแล้ว เนื่องจากมีการพบคำพากย์รามเกียรติ์อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึง ๒๓ แต่เพิ่งปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงการแสดง “ลโคนโขล” อย่างชัดเจนในรัชสมัยสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึง ๔ ของไทย

เหตุที่กัมพูชาเรียกมหรสพว่าเป็น “ลโคนโขล” ซึ่งหมายถึงละครผู้ชายนั้น ผู้เขียนสันนิษฐานว่าเป็นเพราะได้รับอิทธิพลโขนผ่านทางละครของไทย ทั้งนี้ปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ยกเลิกละครหลวง บรรดาเจ้านายผู้มีบรรดาศักดิ์จึงฝึกหัดละครขึ้นเองทำให้ละครเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เจ้านายหลายองค์แต่เดิมทรงฝึกหัดโขนอยู่ก่อน ก็หัดโขนให้เล่นละครด้วย ครูโขนหลายคนก็ผันตัวมาเป็นครูละคร เช่น นายเกษ เป็นตัวพระราม เป็นโขนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นครูละครของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ในรัชกาลที่ ๓

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็หัดโขนให้เล่นเป็นละครผู้ชาย ต่อมาจึงหัดละครผู้หญิงขึ้น เมื่อคราวยกไปขัดตาทัพอยู่ที่เมืองอุดงค์มีชัยพาละครผู้หญิงไปด้วย ซึ่งได้ไปเป็นครูหัดละครผู้หญิงของสมเด็จพระหริรักษ์ขึ้นอีกโรง ทำให้มีละครในกัมพูชานับแต่นั้น (เดิมมีแต่ละครนอกซึ่งสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ทรงได้ครูละครออกไปจากกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ) เขมรเอาละครนอก-ละครในมาปะปนกันเล่น เรียกรวมว่า “ละครพระราชทรัพย์” (របាំព្រះរាជទ្រព្យ) หรือ “ละครหลวง” (ល្ខោនហ្លួង) ซึ่งมีการนำวรรณคดีของไทยหลายเรื่องไปเล่น

สันนิษฐานว่าอาจจะมีครูละครที่เป็นโขนเข้าไปยังกัมพูชาในเวลานั้นด้วย จึงเป็นไปได้ว่าทางเขมรจะเข้าใจว่าโขนเป็นละครประเภทหนึ่งสำหรับผู้ชาย เลยปรากฏเรียกว่า “ลโคนโขล” มานับแต่นั้น

ลโคนโขลเองได้รับอิทธิพลจากโขนของไทยในราชสำนักสมัยรัตนโกสินทร์เข้าไปมาก เพราะมีกระบวนพากย์และเจรจาเป็นตัวอย่างเหมือนกับของไทย เพราะคำพากย์รามเกียรติ์ของเขมรฉบับโบราณนั้นไม่มีการแบ่งเป็นบทพากย์บทเจรจา มีแต่บทพากย์อย่างเดียวเหมือนกับบทพากย์รามเกียรติ์ของไทยสมัยอยุทธยา

ลโคนโขลนั้นกล่าวกันว่ากำเนิดในชนบทก่อน แล้วไปเฟื่องฟูในราชสำนักภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระหริรักษ์ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ลโคนโขลจึงกระจัดกระจายไปอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ ๑๙๗๐ พบว่ามีชุมชนโขนเหลืออยู่ประมาณ ๘ แห่ง ซึ่งหลายครั้งก็ถูกเชิญให้ไปแสดงในราชสำนัก แต่หลังจากการกวาดล้างวัฒนธรรมของยุคเขมรแดงแล้วจึงเหลือเพียงแห่งเดียวที่ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน คือ โขนวัดสวายอัณแดต (Vat Svay Andet) ยังคงขนบเล่นโขนชายล้วนอย่างโบราณเหมือนโขนไทยสมัยอยุทธยาถึงรัชกาลที่ ๒ ต่างจากโขนปัจจุบันที่ได้อิทธิพลของละครในเข้าไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ และมีผู้หญิงเล่นด้วย

Yit Sarin ครูลโคนโขลอาวุโสแห่งวัดสวายอัณแดต ได้ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ ว่า ไม่แน่ใจว่า "ลโคนโขล" นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากไหน ครูของท่านเล่าไว้ว่าลโคนโขลไม่ได้มาจากราชสำนัก แต่มีครูมาจากอำเภอเกียนสวาย (Kien Svay) ซึ่งมีตำรารามเกียรติ์มาเป็นผู้สอนเต้นท่ายักษ์ท่าลิงและการพากย์ให้กับคนในชุมชนวัดสวายอัณแดต และได้เริ่มไปแสดงในราชสำนักในยุคที่กัมพูชาอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส ตัวท่านเองเรียนมาจากครูที่ไปศึกษาโขนมาจากไทยและลาว   และเคยได้ยินว่าในอดีตเคยมีการประลองระหว่าง "ลโคนโขล" ของกัมพูชากับ "โขน" ของไทยในพระที่นั่งโพชนี ในพระราชวังหลวงกรุงกัมพูชาด้วย

ลโคนโขลที่จัดแสดงในกัมพูชาปัจจุบันมีการฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วงทศวรรษ ๑๙๘๐ ถึง ๑๙๙๐ ซึ่งก็มีผู้หญิงเล่นด้วยเหมือนกันโขนของไทยในปัจจุบัน

นอกจากลโคนโขล ยังคงมีการเล่นละครหลวงเรื่องรามเกียรติ์อยู่ นาฏศิลป์ของกัมพูชาในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดี) และ สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (ช่วงรัชกาลที่ ๔ ถึง ๗) เมื่อศึกษาจากหลักฐานภาพถ่ายแล้วพบว่ามีความใกล้เคียงกับโขนของราชสำนักสยามมาก จนหลายครั้งแทบแยกไม่ออก ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่านาฏศิลป์ของกัมพูชาในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากไทยมาก มีครูนาฏศิลป์เป็นชาวไทย และเดิมใช้ภาษาไทยเป็นหลักก่อนจะเปลี่ยนเป็นภาษาเขมรภายหลัง ดังที่ปรากฏใน “นิราสนครวัด” ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงการเสด็จประพาสกัมพูชาใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่า

“ละคอนหลวงกรุงกัมพูชานี้ ทราบเรื่องตำนานว่าแรกมีขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระหริรักษ์ ได้ครูไทยมาจากเจ้าพระยาบดินทรเดชาสิงห์เสนี หัดเล่นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร แต่เล่นเปนอย่างละคอนเจ้าต่างกรม ต่อมาถึงสมเด็จพระนโรดมจึงเล่นเอาอย่างละคอนหลวงครั้งรัชกาลที่ ๔ เมื่อสมเด็จพระนโรดมครองกรุงกัมพูชาอยู่นั้น พยายามหาครูละคอนมาจากกรุงเทพฯ ได้ใครออกมาก็ยกย่องชุบเลี้ยงได้ละคอนตัวดีของเจ้าคุณจอมมารดาเอมบ้าง ละคอนพระองค์เจ้าดวงประภาบ้าง ละคอนพระองค์เจ้าสิงหนาทบ้าง และละคอนโรงอื่น ๆ มาเปนครูอิกหลายคน ละคอนหลวงครั้งสมเด็จพระนโรดมเล่นแต่ภาษาไทยอย่างเดียว มาถึงครั้งสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ก็โปรดเล่นละคอน ได้ละคอนของสมเด็จพระนโรดมประสมโรงเล่นต่อมาบ้าง หัดขึ้นใหม่บ้าง แต่เล่นทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร”

ข้อความนี้สอดคล้องกับคำให้การของครูนาฏศิลป์และข้าราชสำนักกัมพูชาหลายคนที่ระบุว่าโขนละครในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากไทยมามาก

และทรงมีพระวิจารณ์ไว้ว่า “กระบวนรำเต้น ถึงเทียบกับละคอนกรุงเทพ ฯ ที่ควรชมว่ารำดีก็มี กระบวรร้องและเจรจาเปนภาษาไทย ที่ชัดเหมือนชาวกรุงเทพฯ ก็มี ที่แปร่งก็มี เครื่องแต่งตัวมีผิดกับละคอนกรุงเทพฯ แต่บางอย่าง คือมงกุฎสัตรี มีแต่กระบังหน้ากับยอดตั้งตรงกลางกระหม่อมสูงโทงเทงดูน่าเกลียด ชฎาทรงก็อยู่ข้างสูงไป ผ่าห่มนางตัวดีห่มสะไบเฉียง (ว่าเปนแบบของสมเด็จพระหริรักษ์) ก็ไม่น่าดู ด้วยต้องปล่อยแขนเปล่าให้แลเห็นรักแร้อยู่ข้างหนึ่ง เครื่องแต่งตัวยักษ์นั้น เจียรบาททำเปนชายปลิวอย่างรูปปั้น” ก็สะท้อนให้เห็นว่าแม้กัมพูชาจะรับวัฒนธรรมจากไทย แต่ก็ค่อย ๆ มีการปรับให้เป็นรูปแบบที่เฉพาะตนมากขึ้น จนต่างออกไปจากไท

ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น ศิลปวัฒนธรรมของแทบทุกอารยธรรมบนโลกล้วนแต่มีความเป็น “พลวัต” ที่มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันไปมาเป็นธรรมดา ในแต่ละอารยธรรมก็สามารถนำศิลปวัฒนธรรมของอารธรรมอื่นมาประยุกต์ ต่อยอด และพัฒนาจนมี “อัตลักษณ์” หรือ “เอกลักษณ์” เฉพาะตัวมากกว่าเดิมได้

ในยุคพระนครที่เขมรมีอิทธิพลเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของภูมิภาค ก็ส่งต่ออิทธิพลทางวัฒนธรรมให้สังคมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยา และส่งผลมาถึงกรุงศรีอยุทธยาตอนกลาง จนต่อมา กรุงศรีอยุทธยาสืบเนื่องมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ได้พัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมของตนเองจนเป็น “เอกลักษณ์” กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักของภูมิภาค ก็ได้ส่งต่อวัฒนธรรมของตนกลับไปยังกัมพูชาที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมน้อยลงกว่าในอดีต ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็มีการประยุกต์ให้มีความเฉพาะตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ในวัฒนธรรมทั่วโลก

โขนของไทย ลโคนโขลของกัมพูชา รวมถึงโขนของชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดทางวัฒนธรรม และพัฒนาต่อยอดจนมีรูปแบบเป็นของตนเองตามกระบวนการดังกล่าว มีสถานะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสอดคล้องต่อสังคมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศเหมือนกัน

ทั้งนี้ หากมีความเข้าใจได้ว่าศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันได้ ใช้ร่วมกันได้ ก็คงไม่มีปัญหาความพยายามผูกขาดวัฒนธรรมไว้กับชาติตนเพียงชาติเดียวครับ


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 12:06
คุณศรีสรรเพชญ์ได้หมายเหตุต่อท้ายไว้ว่า

บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ ผู้ดูแลเพจขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลที่เผยแพร่ในเพจไปแก้ไข ตัดทอน ดัดแปลง คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น และห้ามนำไปแสวงหาผลกำไรทางพาณิชย์โดยเด็ดขาด หากมีความประสงค์จะขอบทความของเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ไปเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ในทุกกรณี ยกเว้นแต่การ "แชร์ (share)" ในเฟซบุ๊กจากหน้าเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์โดยตรงที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

จึงเรียนขออนุญาตมา ณ ที่นี้  ;D


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 14:48
เส้นใต้บรรทัด
จิตกร บุษบา
วันอาทิตย์ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561, 02.00 น.
โขน’ ไทย...ไม่ใช่มรดกโลก

มีความเข้าใจผิด สับสน กับข่าวการขึ้นทะเบียน “โขน” (Khon) ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientificand Cultural Organization) หรือที่คนไทยรู้จักในนาม“ยูเนสโก” ว่าเป็นการขึ้นทะเบียน “มรดกโลก” ความเข้าใจผิดนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับประชาชนและพลเมืองออนไลน์ แต่สำนักข่าวหลายแห่งก็เข้าใจผิดเช่นกัน

ทั้งยังมีดราม่า เรื่อง “โขนไทย” กับ “ละครโขน” ของกัมพูชาปะปนเข้ามาอีก บางคนเดือดแค้นพลุ่งพล่าน ว่ากัมพูชาชิงตัดหน้าเอาโขนไปขึ้นทะเบียนกับยูเนสโกแล้ว ประเทศไทยมัวแต่ทำอะไรอยู่ บวกรวมกับก่อนหน้านี้ ในโลกไซเบอร์ มีสงคราม (war) ย่อยๆ ถกเถียงกันว่าโขนเป็นของไทยหรือของกัมพูชากันแน่

ดึงสติกลับมา แล้วเรียนรู้เรื่องนี้ไปด้วยกัน

1) ยูเนสโก เป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชน มีการ “ขึ้นทะเบียน” (ขึ้น คือ ประกาศ ไม่เกี่ยวกับการแสดงความเป็นเจ้าของหรือลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งนั้น) มรดกสำคัญๆ ของโลกและมนุษยชาติอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน คือ
   1.1 มรดกโลก (World Heritage Site) แบ่งเป็น2 แบบ คือ มรดกโลกทางวัฒนธรรมกับทางธรรมชาติ

มรดกโลกทางวัฒนธรรม อันหมายถึง พื้นที่ สถานที่ แหล่งอารยธรรมทางกายภาพ ที่จับต้องได้ เที่ยวชมได้ เช่น นครประวัติศาสตร์อยุธยา, นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง, นครหลวงพระบาง, เมืองโบราณฮอยอัน ในเวียดนาม, บุโรพุทโธ ในอินโดนีเซีย, โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ เป็นต้น

มรดกโลกทางธรรมชาติ ก็หมายถึง พื้นที่ สถานที่ที่มีความสมบูรณ์ในทางธรรมชาติ หรือบางแห่งนิยามว่า สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะ ทางกายภาพและชีวภาพ อันมีคุณค่าโดดเด่นในด้านความล้ำเลิศ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง, ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่, หมู่เกาะกาลาปาโกส, นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ (Rice Terraces of the Philippine Cordilleras) อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ ของฟิลิปปินส์, อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู ของมาเลเซีย เป็นต้น

มรดกโลกแต่ละแห่ง เป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น เป็นสถานที่ จับต้องได้ทางกายภาพ ดังนั้น “โขน” จึงไม่อาจเป็น “มรดกโลก” ได้


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 14:48
1.2 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) ที่บ้างก็แปลตามตัวอักษรว่า “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” นิยามแบบยาวๆ ก็คือ “การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม อันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณี ปัจเจกบุคคล ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง มีการทำซ้ำและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์ปละความต่อเนื่อง” อันนี้แหละ ที่ทั้งกัมพูชาและไทย ยื่น “โขน” ของตัวเองไป “ขึ้นทะเบียน”

โขนไทยที่ยื่น เป็นโขนแบบแผน โขนราชสำนัก ขณะที่โขนกัมพูชา ที่เรียกว่า “ละครโขน” เป็นโขนวัด โขนชาวบ้าน รูปแบบการแต่งกาย การแสดง ไม่ได้เหมือนกัน และไม่ได้แย่งชิงตำแหน่งอะไรกันทั้งสิ้น

1.3 มรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) อันนี้เป็นแผนงานที่ยูเนสโก กำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อการอนุรักษ์และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลก ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดหรือของประเทศใดก็ตาม ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลาย จากสังคมในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน และเพื่อที่จะสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต โดยมี 3 มาตรการรองรับ คือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุรักษ์โดยวิธีที่เหมาะสมที่สุด, เพื่อช่วยเหลือให้มีการเผยแพร่เอกสารมรดกอย่างกว้างขวางที่สุด และเพื่อเผยแพร่ความตระหนักในความสำคัญของเอกสารมรดกอย่างกว้างขวางทั่วโลก

ในประเภทนี้ ของไทยเราได้รับการรับรองให้ขึ้นทะเบียนไว้ไม่น้อย อาทิ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง), เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสยาม (พ.ศ. 2411-2453), จารึกวัดโพธิ์, ฟิล์มกระจกหลวงและภาพต้นฉบับ เป็นต้น

1.4 อุทยานธรณี (Geopark) คือ พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญอย่างโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยา (geology) รวมถึงคุณค่าทางด้านโบราณคดี (archaeology) นิเวศวิทยา (ecology) และวัฒนธรรม (culture) ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ด้วย โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

• อุทยานธรณีระดับท้องถิ่น (Local Geopark) หมายถึงอุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น

• อุทยานธรณีระดับจังหวัด (Provincial Geopark) หมายถึงอุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับจังหวัด และมีแผนการบริหารจัดการอุทยานธรณี

• อุทยานธรณีระดับประเทศ (National Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับประเทศ และมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการแล้ว


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 14:51
• อุทยานธรณีระดับโลก (Global Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับโลก

อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล ได้รับการประกาศเป็น “อุทยานธรณีระดับประเทศ” ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 และทางยูเนสโกได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาทำการประเมินในปี 2560 จนในที่สุด ยูเนสโกก็ได้ประกาศให้อุทยานธรณีสตูล เป็น “อุทยานธรณีโลก” หรือ Satun UNESCO Global Geopark แห่งแรกของประเทศไทย ทั้งยังเป็นอุทยานธรณีโลกประเทศที่ 36 ของโลก เป็นแหล่งที่ 5 ของอาเซียนอีกด้วย

สรุปว่า ในทุกประเภทที่ยูเนสโก รับขึ้นทะเบียน ของไทยเรามีครบหมดทุกประเภท

2) ดราม่าโขนไทย-กัมพูชา สิทธิในการขอขึ้นทะเบียนและผลเมื่อยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว

เรื่องนี้ Sun Thathong โพสต์เฟซบุ๊คในประเด็น “ขอเคลียร์ #ดราม่า #โขน ไทย-กัมพูชา” ว่า

1. การขึ้นทะเบียนของ กพช. ไม่กระทบ “สิทธิ์” ทางกฎหมายใดๆ ของไทย

อย่างแรกโปรดสังเกต ผมใช้คำว่า “ขึ้นทะเบียน” ไม่ใช่ “จดทะเบียน” การ “ขึ้น” ทะเบียนไม่ใช่การอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของเหนือมรดกทางวัฒนธรรมนั้นๆ แต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากการ “จด” สิทธิ์ (อาทิ สิทธิบัตร) การขึ้นทะเบียนเป็นเพียงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมรดกฯ นั้นๆ ว่ามีคุณค่าต่อมนุษยชาติ/ชุมชน คู่ควรแก่การรักษา เชิดชู ไม่ได้เป็นการห้าม ปท. อื่นใช้/แบ่งปัน/ปฏิบัติ/อ้างความเป็นเจ้าของแต่อย่างใด จริงๆ แล้ว นี่คือวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage Convention) ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ไม่ใช่การให้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ

โปรดอย่าสับสนระหว่างระบบของอนุสัญญาฯ ภายใต้ UNESCO กับระบบทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ WIPO/WTO ที่ให้ exclusive rights ความเป็นเจ้าของแก่ผู้จดสิทธิ์รายบุคคล โปรดสังเกตด้วยว่า การ “ขึ้น” ทะเบียนมรดกฯ กระทำได้โดยรัฐเท่านั้น ส่วนการ “จด” สิทธิ์เหนือสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมนั้นกระทำได้โดยบุคคลหรือนิติบุคคลไม่ใช่รัฐ ต่างกันอย่างมาก โปรดอย่าสับสน และที่สำคัญ มันจะมี “ชัยชนะ” ได้อย่างไร ในเมื่อมันไม่มีการแข่งขันกันตั้งแต่ต้น?


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 14:52
2. อย่าลืมว่า ไทยก็ได้ขึ้นทะเบียน และสังเกตให้ดีด้วยว่า มันคนละ list กันกับของกัมพูชา

ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับระบบของอนุสัญญาฯ คือว่า ภายใต้อนุสัญญาฯ มันมีระบบการขึ้นทะเบียน 2 lists คือ 1. List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding และ 2. Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity

List แรกนั้น มีไว้สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมที่เสี่ยงต่อการ “สูญพันธุ์” หากไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลเร่งด่วน จะสูญหายไป การขึ้นทะเบียน list นี้ จะได้รับ priority ในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลมรดกทางวัฒนธรรมของโลกโดยเฉพาะภายใต้ UNESCO อาทิ ขอความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการเก็บบันทึกข้อมูล ขอความรู้ด้านการวางแผนบริหารจัดการ ขอความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรม ฯลฯ

ส่วน List ที่สองนั้น มีไว้สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติและต่อชุมชนผู้เป็นผู้รักษาสืบทอดมรดกฯ นั้นๆ ส่วนใหญ่รัฐจะขอขึ้นทะเบียนนี้ เพื่อเพิ่ม visibility และเป็นการประชาสัมพันธ์มรดกฯ ของตน เพราะมรดกฯ ที่ขึ้นทะเบียนจะได้รับการเผยแพร่บนเว็บของ UNESCO และมีการลงวีดีโอ รัฐสามารถใช้การขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ การขึ้นทะเบียนที่สองนี้ ก็สามารถขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ ได้เช่นเดียวกับมรดกฯ ใน list แรก เพียงแต่จะต้องให้ priority แก่มรดกฯ ใน list แรกก่อนเท่านั้น

ข้อเท็จจริงคือ กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนใน list แรก ส่วนไทยก็ได้ขึ้นทะเบียนเหมือนกัน แต่เป็น list ที่สอง (เสนอขอขึ้นทะเบียนคนละประเภทกันตั้งแต่ต้น)* ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะว่า (ดูคำชี้แจงในข้อ 3 ด้านล่างประกอบด้วย) สิ่งที่ กพช. ขอขึ้นทะเบียนนั้นมันใกล้ “สูญพันธุ์” จริงๆ ช่วงเขมรแดง/สงคราม มันทำให้มรดกฯ ชิ้นนี้ขาดผู้สืบทอดมากขึ้นทุกทีๆ จนตอนนี้เหลืออยู่แค่ชุมชนเดียว ย้ำ“แค่ชุมชนเดียว” ส่วนโขนของไทย โอ้ยยยย.... เมื่อเทียบกับของกัมพูชา มันอย่างฟ้ากับดิน เรามีนโยบายอนุรักษ์และส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่อง (อาจขาดช่วงไปบ้างตอนยุคเปลี่ยนระบอบฯ แต่ก็ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ใน nation-wide scale)

ดังนั้น หากมองจากมุมมองที่เป็นกลาง ก็สมควรแล้ว ที่มรดกฯ ของกัมพูชา จะได้ขึ้นทะเบียนแรก เพราะเขาต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพื่อความอยู่รอดจริง ๆ โปรดอย่าอิจฉาโดยใช่เหตุ โปรดอย่าเหมารวมว่าเขา “ขโมย” ของๆ เรา และโปรดอย่าคิดว่าสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมไทยนั้น มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยคนเดียว! เราไม่ได้อยู่ในเกาะนะครับ แต่โบราณกาล วัฒนธรรมมันลื่นไหล ผสมผสาน ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มคน ข้ามเส้นเขตแดนที่สมมุติขึ้นภายหลัง และนี่เป็นสิ่งสวยงาม!

3.มรดกฯ ที่กัมพูชาขึ้นทะเบียน มันต่างกับ “โขน” ของไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ท้ายที่สุด และสำคัญที่สุด ท่านควรเข้าไปศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้ก่อนที่จะด่วนสรุปว่ากัมพูชา เขา “ชิง” อะไรของเราไป มรดกฯ ของกัมพูชา ชื่อว่า “Lkhon Khol Wat Svay Andet” ส่วนของไทยใช้ชื่อว่า “Khon, masked dance drama in Thailand”

สรุปสั้น ๆ คือ “Lkhon Khol” ของกัมพูชา เป็นมรดกฯ จำกัดอยู่แค่เฉพาะชุมชนเล็กๆ ชุมชนเดียว แถววัด “Svay Andet” ผู้แสดงเป็นชาวบ้านและเป็นชายล้วนทั้งหมด และจะแสดงเพื่อขอพรและเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชุมชนชาวนา

ส่วนโขนของไทยเป็นศิลปะการแสดง เป็น “high art cultivated by the Siamese/Thai courts” แสดงได้ทั้งเพื่อความสนุกสนาน เพื่อเทิดพระเกียรติ หรือใช้ในงานมหรสพต่างๆ แสดงได้ทั้งชายและหญิง และถือเป็นมรดกของคนทั้งชาติ

Lkhon Khol และโขน แม้จะมีความเหมือนในภาพลักษณ์ แต่ก็มีความต่างในวัตถุประสงค์และรูปแบบไม่ใช่น้อย อย่างไรก็ดี ทั้งสองล้วนแต่มีความสำคัญกับกลุ่มคนผู้สืบทอดทั้งนั้น และแน่นอนว่ามีรากฐานมาจากกลุ่มคนเดียวกัน พี่น้องกัน

แทนที่เราจะมาเถียงกันเรื่องความเป็นเจ้าของ และตกเป็นเหยื่อของชาตินิยมสุดโต่ง อันบั่นทอนความสัมพันธ์ฉันญาติมิตรระหว่างไทยกับกัมพูชา เราควรหันมาฉลองมรดกทางวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน เห็นความเหมือนในความแตกต่าง ชื่นชม เชิดชู และเคารพซึ่งกันและกัน เพราะในที่สุดแล้ว ไม่ว่าไทย กัมพูชา หรือชาติไหนๆ ก็เป็นคนเหมือนกัน วัฒนธรรมไทย กัมพูชา หรือชาติไหนๆ ก็ถือเป็นวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ที่ควรเป็นเหตุแห่งการเฉลิมฉลอง ไม่ใช่การทะเลาะกันนะครับ! // ด้วยความปรารถนาดี จากนักศึกษาวิชากฎหมายมรดกทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศคนหนึ่ง”

ทั้งหมดที่ผมรวบรวมมานี้ เพื่อสร้าง “ความเข้าใจที่ถูกต้อง” ต่อการขึ้นทะเบียน “มรดก” ประเภทต่างๆ ของยูเนสโก ซึ่งหัวใจสำคัญ ไม่ใช่เพื่อสร้าง “ความลำพอง-ลุ่มหลง” หรือ “คลั่งชาติ” ของตน ว่ายิ่งใหญ่เก่าแก่ดีเลิศกว่าใครไหน

แต่เพื่อให้มนุษยชาติตระหนักร่วมกันว่า มนุษย์และโลกที่เขาอยู่อาศัย พึ่งพิงและขัดเกลากันมานาน แปรเปลี่ยน ขัดเกลา ให้เกิดความงามทั้งกายภาพและวัฒนธรรม ตลอดจนจิตวิญญาณอันควร
ที่คนรุ่นหลังพึงหยั่งรู้ เรียนรู้ รักษา และส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป

การประกาศขึ้นทะเบียน จึงมุ่งสร้างความตระหนักในคุณค่าร่วมกัน ไม่ใช่เอามาข่มกันหรือขัดแย้งกัน อย่างที่บางคนกำลังเป็น!!


https://www.naewna.com/politic/columnist/38100


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 15:20
ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับระบบของอนุสัญญาฯ คือว่า ภายใต้อนุสัญญาฯ มันมีระบบการขึ้นทะเบียน 2 lists คือ 1. List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding และ 2. Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity

ความจริงมี ๓ รายการ

การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage of Humanity) ของ UNESCO มีทั้งหมด ๓ ประเภท คือ

๑. รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List)
๒. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (Need of Urgent Safeguarding List)
๓. รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Register of Good Safeguarding Practice)

https://en.wikipedia.org/wiki/UNESCO_Intangible_Cultural_Heritage_Lists


กระทู้: โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ธ.ค. 18, 16:37
ถ้าเปิดลิงก์ข้างบน ดูในรายการแรก Representative list of the Intangible Cultural Heritage of Humanity หลายวัฒนธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของมนุษยชาติร่วมกันได้ โดยไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกัน อย่างเช่น เนารูซ หรือ การฉลองเทศกาลปีใหม่แบบเปอร์เซีย สามารถขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติในนามประเทศต่าง ๆ ถึง ๑๒ ประเทศ

https://youtu.be/GSIjMxxBKO8